ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Post Reply
Who Can Post? All users can post new topics and all users can reply.
Username   Need to register?
Password:   Forgot password?
Subject: (optional)
Icon: [*]
Formatting Mode:
Normal
Advanced
Help

Insert Bold text Insert Italicised text Insert Underlined text Insert Centered text Insert a Hyperlink Insert E-mail Hyperlink Insert an Image Insert Code Formatted text Insert Quoted text Insert List
Message:
HTML is On
Smilies are On
BB Code is On
[img] Code is On

Disable Smilies?
Use signature?
Turn BBCode off?
Receive email on reply?
Attachment:
    

Topic Review
สมศรี

[*] posted on 28/7/08 at 10:06
งั้นเหรอค่ะ มีไรก็แสดงความเห็นที่ดีมาได้อีกนะคะ
พุทธไชยศรี

[*] posted on 26/7/08 at 17:33
ผมไม่ได้อ่านทั้งหมด
ทราบแต่ว่า
" เศวต " แปลว่า สีขาว
ฉัตรสีขาว หรือ เศวตฉัตร ถ้า 9 และ 7 ชั้นใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน
aneeko

[*] posted on 27/4/08 at 12:09
สาธุนานๆเข้ามาอ่านทีครับขออนุโมทนาสาธุที่ท่านให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์..
ต่อการทำบุญเพราะจะได้เข้าใจในการกระทำที่เกิดบุญยิ่งๆขึ้นไป..:)
อิทธิเดช

[*] posted on 24/4/08 at 13:09
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑



อานันทเถราปทานที่ ๑๒ (๑๐)
ว่าด้วยผลแห่งการกางฉัตรถวายพระพุทธเจ้า
[๑๒] พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตระ เสด็จออกจากประตูพระอารามแล้ว ทรง
ยังเมล็ดฝนอมฤตให้ตกอยู่ ยังมหาชนให้เย็นสบาย พระขีณาสพผู้เป็น
นักปราชญ์เหล่านั้นประมาณตั้งแสน ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก แวดล้อม
พระสัมพุทธเจ้า ดุจพระฉายาตามพระองค์ ฉะนั้น เวลานั้น เราอยู่บน
คอช้าง ทรงไว้ซึ่งฉัตรขาวอันประเสริฐสุด ปีติย่อมเกิดแก่เราเพราะได้
เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มีรูปงาม เราลงจากคอช้างแล้วเข้าไปเฝ้าพระนราสภ
ได้กั้นฉัตรแก้วของเราถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระมหาฤาษี
พระนามว่าปทุมุตระ ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงหยุดกถานั้นไว้
แล้วตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดได้กั้นฉัตรอันประดับด้วยเครื่องอลังการ
ทอง เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว สัตว์ผู้นี้ไปจาก
มนุษยโลกแล้ว จักครอบครองดุสิต จักเสวยราชสมบัติ มีนางอัปสร
ทั้งหลายแวดล้อม จักเสวยเทวราชสมบัติ ๓๔ ครั้ง จักเป็นอธิบดีแห่งชน
ครอบครองแผ่นดิน ๘๐๐ ครั้ง จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๘ ครั้ง จัก
เสวยราชสมบัติในประเทศราชอันไพบูลย์ในแผ่นดิน ในแสนกัลป พระ-
ศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช
จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้จักเป็นโอรสแห่งพระญาติของพระพุทธเจ้าผู้เป็น
ธงชัย แห่งสกุลศากยะ จักเป็นพุทธอุปัฏฐาก มีนามชื่อว่าอานนท์
จักมีความเพียร ประกอบด้วยปัญญา ฉลาดในพาหุสัจจะ มีความ
ประพฤติอ่อนน้อม ไม่กระด้าง ชำนาญในบาลีทั้งปวง พระอานนท์นั้นมี
ตนส่งไปแล้วเพื่อความเพียร สงบระงับ ไม่มีอุปธิ จักกำหนดรู้อาสวะ
ทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน มีช้างกุญชรอยู่ในป่า อายุ ๖๐ ปี
ตกมันสามครั้ง เกิดในตระกูลช้างมาตังคะ มีงางอนงาม ควรเป็นราช-
พาหนะฉันใด แม้บัณฑิตทั้งหลายก็ฉันนั้น ประมาณได้หลายแสน มี
ฤทธิ์มาก ทั้งหมดนั้น ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้ไม่มีกิเลส
เราจักมนัสการทั้งในยามต้น ในยามกลาง และในยามสุด เรามีจิต
ผ่องใส ปลื้มใจ บำรุงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เรามีความเพียร
ประกอบด้วยปัญญา มีสติสัมปชัญญะ บรรลุโสดาปัตติผล ฉลาดใน
เสขภูมิ ในแสนกัลปแต่ละกัลปนี้ เราก่อสร้างกรรมใด เราบรรลุถึง
ภูมิแห่งกรรมนั้นแล้ว ศรัทธาตั้งมั่นมีผลมาก การมาในสำนักพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐสุดของเรา เป็นการมาดีหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว พระ-
พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว
ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระอานันทเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อานันทเถราปทาน.


พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์-จริยาปิฎก
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อปทาน
ภัททาลิวรรคที่ ๔๒
เอกฉัตติยเถราปทานที่ ๒
ว่าด้วยผลแห่งการกางเศวตฉัตรถวายพระพุทธเจ้า
[๒] ข้าพระองค์ได้สร้างอาศรมซึ่งมีทรายสีขาวสะอาดเกลื่อนกล่นใกล้แม่
น้ำจันทภาคา และได้สร้างบรรณศาลาไว้ แม่น้ำจันทภาคานั้น
เป็นแม่น้ำที่มีฝั่งลาด มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ สมบูรณ์ด้วยปลา
และเต่า อันจระเข้เสพอาศัย หมี นกยูง เสือเหลือง นกการะเวก
และนกสาลิกา ร่ำร้องอยู่ทุกเวลา ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์ให้
งดงาม นกดุเหว่าเสียงหวาน และหงส์มีเสียงเสนาะ ร้องอยู่ใกล้
อาศรมนั้น ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม ราชสีห์ เสือ
โคร่ง หมู นกยาง หมาป่า และหมาไน บันลือเสียงอยู่ที่ช่องเขา
ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม เนื้อทราย กวาง หมาจิ้งจอก
สุกร มีมาก บันลือเสียงอยู่ที่ช่องเขา ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์
ให้งดงาม ต้นราชพฤกษ์ ต้นจำปา ไม้แคฝอย ไม้ยางทราย ไม้
อุโลก และต้นอโศก ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม ต้นปรู
ต้นคัทเค้า ต้นตีนเป็ด เถาตำลึง ต้นคนทีสอ ไม้กรรณิการ์
ออกดอกอยู่ใกล้อาศรมของข้าพระองค์ ไม้กากะทิง ต้นรัง และ
ต้นสน บัวขาว ดอกบานสะพรั่ง ใกล้อาศรมนั้น กลิ่นหอมฟุ้ง
ไป ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม และที่ใกล้อาศรมนั้นมี
ไม้โพธิไม้ประดู่ ไม้สะท้อน ต้นรัง และไม้ประยงค์ ดอกบานสะพรั่ง
ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม ต้นมะม่วง ต้นหว้า ต้น
หมากหอมควาย ต้นกระทุ่ม ต้นรังที่งดงาม มีกลิ่นหอมฟุ้งขจรไป
ย่อมทำอาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม ต้นอโศก ไม้มะขวิด และ
ต้นภคินีมาลา ดอกบานสะพรั่ง มีกลิ่นหอมฟุ้งขจรไป ย่อมทำ
อาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม ต้นกระทุ่ม ต้นกล้วย ถั่วฤาษี
และต้นมะกล่ำดำ มีผลอยู่เป็นนิตย์ ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์
ให้งดงาม ต้นสมอไทย มะขามป้อม มะม่วง หว้า สมอพิเภก
กระเบา ไม้รกฟ้า มะตูม ผลิผลอยู่ใกล้ๆ อาศรมของข้าพระองค์
ในที่ไม่ไกลอาศรม มีสระโบกขรณี มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ
ดารดาษไปด้วยบัวขม กอปทุมและกออุบล กอปทุมกอหนึ่ง
กำลังดอกตูม กออื่นๆ มีดอกบาน บ้างก็มีใบและกลีบหลุดลง
บานอยู่ใกล้อาศรมของข้าพระองค์ ปลาสลาด ปลากระบอก ปลา
สวาย ปลาเค้าและปลาตะเพียน ว่ายอยู่ในน้ำใส ช่วยทำอาศรม
ของข้าพระองค์ให้งดงาม มะม่วงหอมที่น่าดู กับต้นเกดที่ขึ้นอยู่ริมฝั่ง
มีกลิ่นหอมฟุ้งขจรไป ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม น้ำ
หวานที่ไหลออกจากเหง้า รสหวานปานดังน้ำผึ้ง นมสดและเนยใส
มีกลิ่นหอมฟุ้งขจรไป ย่อมทำอาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม ใกล้
อาศรมนั้น มีกองทรายที่สวยงาม อันน้ำเสพแล้วเกลื่อนไป ดอกไม้
หล่นไป ดอกไม้บาน สีขาวๆ ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์ให้
งดงาม ฤาษีทั้งหลายสวมชฎามีหาบเต็ม นุ่งหนังสัตว์ทั้งเล็บ ทรงผ้า
เปลือกไม้กรอง ย่อมยังอาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม ฤาษีทั้งหลาย
ทอดตาดูประมาณชั่วแอก มีปัญญา มีความประพฤติสงบ ไม่ยินดี
ในความกำหนัดในกาม อยู่ในอาศรมของข้าพระองค์ ฤาษีทั้งหลาย
ผู้มีขนรักแร้และเล็บงอกยาว ฟันเขลอะ มีธุลีบนศรีษะ ทรงธุลี
ละอองและของเปรอะเปื้อน ล้วนอยู่ในอาศรมของข้าพระองค์ ฤาษี
เหล่านั้นถึงที่สุดแห่งอภิญญา เหาะเหินเดินอากาศได้ เมื่อเหาะขึ้น
สู่ท้องฟ้า ย่อมทำให้อาศรมของข้าพระองค์งดงาม ครั้งนั้น ข้า
พระองค์อันศิษย์เหล่านั้นแวดล้อมอยู่ในป่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วย
ความยินดีในฌาน ไม่รู้กลางวันกลางคืน ก็สมัยนั้นพระผู้มีพระภาค
มหามุนี พระนามว่าอัตถทัสสี เป็นนายกของโลก เสด็จอุบัติขึ้น
ยังความมืดให้พินาศไป ครั้งนั้นศิษย์คนหนึ่งได้มายังสำนักของข้า
พระองค์ เขาประสงค์จะเรียนลักษณะชื่อว่าฉฬังคะ ในคัมภีพระเวท
พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้เป็นมหามุนี ทรงอุบัติขึ้นใน
โลก เมื่อทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงแสดงอมตบท ข้าพระองค์เป็น
ผู้ยินดี ร่าเริงบันเทิงจิต มีหมวดธรรมอย่างอื่นเป็นที่มานอน ออก
จากอาศรมแล้ว พูดดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าผู้มีลักษณะอันประเสริฐ
๓๒ ประการ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก มาเถอะท่านทั้งหลาย เรา
ทุกคนจักไปยังสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศิษย์เหล่านั้นผู้
ปฏิบัติตามคำสั่งสอนถึงที่สุดในสัทธรรม แสวงหาประโยชน์อย่าง
เยี่ยมได้รับปากว่า ดีแล้ว ในกาลนั้น พวกเขาผู้สวมชฎามีหาบ
เต็ม นุ่งหนังสัตว์พร้อมทั้งเล็บ เสาะหาประโยชน์อย่างเยี่ยม ได้
ออกจากป่าไป สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้มีพระยศใหญ่พระนามว่า
อัตถทัสสี เมื่อทรงประกาศสัจจะ ๔ ได้ทรงแสดงอมตบท ข้า
พระองค์ถือเศวตฉัตรกั้นถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ข้าพระองค์
ครั้นกั้นถวายวันหนึ่งแล้ว ได้ถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
ก็พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี เชษฐของโลก ประเสริฐกว่า
นรชนประทับนั่งในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า ผู้ใดมีจิตเลื่อมใส ได้กั้นเศวตฉัตรให้เราด้วยมือทั้งสอง
ของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเมื่อผู้นี้
เกิดในเทวดาหรือมนุษย์ ชนทั้งหลายจักคอยกั้นเศวตฉัตรให้ทุกเมื่อ
นี้เป็นผลแห่งการกั้นฉัตรถวาย ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๗๗ กัป
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง จักเสวยราชสมบัติ
ในเทวโลก ๗๗ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดย
คณนานับไม่ถ้วน ในกัปที่ ๑,๘๐๐ พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม
ศากยบุตร จักเสด็จอุบัติ กำจัดความมืดมนอนธการให้พินาศ เขาจัก
เป็นทายาทในธรรมของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรม
นิรมิตแล้ว จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะปริ-
นิพพานในระหว่างกาล นับตั้งแต่ข้าพระองค์ได้ทำกรรม คือ ได้
กั้นเศวตฉัตรถวายแด่พระพุทธเจ้ามา ข้าพระองค์ไม่รู้จักเศวตฉัตร
ที่ไม่ถูกกั้น ชาตินี้เป็นชาติหลังสุดของข้าพระองค์ ภพสุดท้ายกำลัง
เป็นไปอยู่ ทุกวันนี้ เหนือศรีษะของข้าพระองค์ได้มีการกั้นเศวตฉัตร
ซึ่งเป็นไปตลอดกาลเป็นนิตย์ โอข้าพระองค์ได้ทำกรรมไว้ดีแล้ว
แด่พระพุทธเจ้าพระนามว่า อัตถทัสสี ผู้คงที่ ข้าพระองค์เป็น
ผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี ข้าพระองค์เผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูก ดัง
ช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่ข้าพระองค์ได้มาใน
สำนักพระพุทธเจ้าของข้าพระองค์นี้ เป็นการมาดีแล้ว วิชชา ๓
ข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าข้าพระองค์
ได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพระองค์ทำให้เสร็จแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
ข้าพระองค์ได้กระทำแจ้งแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกฉัตติยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ เอกฉัตติยเถราปทาน

...แค่นี้ก่อนนะครับ...เดี๋ยวจะเบื่ออ่านกัน....สาธุ...สาธุ...สาธุ
...ขอถึงซึ่งนิพพาน...ในชาติปัจจุบัน....
...นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง...
สมศรี

[*] posted on 24/4/08 at 09:49
ขออนุโมทนาเช่นเดียวกันค่ะ คุณอิทธิเดช ที่อุตส่าห์ค้นคว้าหามาเพิ่มเติมอีก จึงอยากชักชวนให้สมาชิกทุกท่าน ได้เข้ามาพูดคุยเรื่องที่เป็นสาระประโยชน์เช่นนี้อีกนะค่ะ

เพราะ "ฉัตร" มีความหมายมาก ไม่เฉพาะเพียงแค่มนุษย์โลกเท่านั้น ในขณะที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จลงจากจำพรรษาสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านพระอินทร์ยังได้กางเศวตฉัตรถวายพระพุทธเจ้า ณ เมืองสังกัส ด้วยนะคะ ใช่ไหมค่ะ
อิทธิเดช

[*] posted on 21/4/08 at 13:29
ฉัตร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฉัตร ถือเป็นของสูงการที่ฉัตรมีหลายชั้น คือการสวรรค์แต่ละชั้นนั้นเอง และเป็นจุดศูนย์รวมของจักรวาล ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจ หรือจุดศูนย์รวมนั้นเอง ฉัตร เป็นเครื่องสูงสำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เพื่อเป็นเกียรติยศ ฉัตรมีรูปร่างคล้ายร่มที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ประเภทและชนิดของฉัตรมีดังนี้


ฉัตรแขวนหรือปัก
เป็นเครื่องแสดงพระอิสริยยศของผู้ทรงฉัตร แยกเป็น 4 ชนิดคือ

1. เศวตฉัตร เป็นฉัตรผ้าขาวกว้าง มี 4 แบบ ดังนี้
พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร เป็นฉัตร 9 ชั้น สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระราชพิธีบรมราชภิเษกตามโบราณราชประเพณีแล้ว ฉัตรแบบนี้เรียกโดยย่อว่า "พระมหาเศวตฉัตร"
พระสัปตปฎลมหาเศวตฉัตร เป็นฉัตร 7 ชั้น ซึ่งมีลักษณะอื่น ๆ เหมือนพระนพปฎดลมหาเศวตฉัตรทุกประการ สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษก สมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี โดยหากใช้กับสมเด็จพระบรมราชชนนี หรือสมเด็จพระอัครมเหสี จะเรียกชื่อว่า "พระเศวตฉัตร 7 ชั้น" แต่ถ้าใช้กับสมเด็จพระยุพราช จะเรียกว่า "พระบวรเศวตฉัตร"
เบญจปฎดลเศวตฉัตร เป็นฉัตร 5 ชั้น สำหรับพระราชวงศ์ที่ดำรงพระอิสริยยศ "เจ้าฟ้า" พระมเหสีชั้นพระบรมราชเทวี พระอัครชายาเธอ และสกลมหาสังฆปรินายกที่ได้รับสมณุตมาภิเษกเป็น "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า"
เศวตฉัตร 3 ชั้น เป็นฉัตร 3 ชั้น สำหรับสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก
2. ฉัตรขาวลายทอง เป็นฉัตรพื้นสีขาวเขียนลายทอง มี 5 ชั้น สำหรับพระบรมราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็น "เจ้าต่างกรม" ชั้นสมเด็จกรมพระยา
3. ฉัตรตาด มี 2 แบบคือ
ฉัตรตาดขาว 5 ชั้น เป็นฉัตรสำหรับพระราชโอรส หรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม ชั้น "กรมพระ"
ฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น เป็นฉัตรสำหรับพระราชโอรส หรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม ชั้น "กรมหลวง" กับเป็นฉัตรสำหรับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
4. ฉัตรโหมด มี 5 แบบคือ
ฉัตรโหมดขาว 5 ชั้น สำหรับพระราชโอรส หรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระอิสริยยศป็นพระองค์เจ้าต่างกรม ชั้น "กรมขุน"
ฉัตรโหมดเหลือง 5 ชั้น สำหรับพระราชโอรส หรือราชธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม ชั้น "กรมหมื่น"
ฉัตรโหมดทอง 5 ชั้น สำหรับพระราชโอรส หรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้า แต่มิได้ทรงกรม
ฉัตรโหมดเงิน 3 ชั้น สำหรับพระราชโอรส หรือพระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้าที่ดำรงพระยศเป็น พระองค์เจ้าต่างกรม
ฉัตรโหมดทอง 3 ชั้น สำหรับพระราชโอรส หรือพระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้าที่มิได้ทรงกรม

ฉัตรสำหรับตั้งในพิธี หรืออัญเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ
มี 6 ชนิดด้วยกันคือ

1. พระมหาเศวตฉัตรกรรภิรมย์ เป็นฉัตร 5 ชั้น ทรงชะลูด
2. พระอภิรุมชุมสาย เป็นฉัตรเครื่องสูงใช้เป็นเกียรติยศประจำสถานที่หรือใช้เฉพาะงาน
3. ฉัตรเครื่องสูงวังหน้า เป็นฉัตร 3 ชั้น สำหรับเป็นเครื่องสูงของสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
4. ฉัตรเครื่อง เป็นฉัตร 5 ชั้น สำหรับใช้เชิญออกในกระบวนแห่ศพของพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ชั้นสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีบรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยา (ทั้งชั้นพระสุพรรณบัฏและหิรัญบัฏ) ประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ที่ถึงแก่อสัญกรรมขณะอยู่ในตำแหน่ง
5. ฉัตรเบญจา เป็นฉัตร 5 สี ซึ่งหมายรวมไปถึงฉัตรที่เขียนลายที่เรียกว่า "ฉัตรกำมะลอ" ด้วยฉัตรชนิดนี้ใช้สำหรับเชิญตั้งหรืออัญเชิญเข้าร่วมขบวนแห่ในงานศพของพระราชวงศ์ชั้น "หม่อมเจ้า" ที่ไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือได้รับพระราชทานแต่ต่ำกว่าชั้น ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ลงมา
6. ฉัตรราชวัติ เป็นฉัตรที่ใช้ปักเป็นระยะในงานพระราชพิธีสำคัญของพระมหากษัตริย์
นอกจากฉัตรต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วยังมีฉัตรที่ใช้ประดับบนยอดพระโกศที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระราชวงศ์ ซึ่งมีแตกต่างกัน 4 แบบ ตามพระอิสริยยศ คือ

ฉัตรทองคำลงยา 9 ชั้น สำหรับพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์
ฉัตรทองคำลงยา 7 ชั้น สำหรับพระบรมอัฐิของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระอัครมเหสี
ฉัตรทองคำลายสลักโปร่ง 7 ชั้น สำหรับพระอัฐิของสมเด็จพระบวรราชเจ้า
ฉัตรทองคำลายสลักโปร่ง 5 ชั้น สำหรับพระอัฐิของสมเด็จรัชทายาทสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอที่ได้รับการสถาปนาพระเกียริเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชเทียบเท่ากับสมเด็จพระรัชทายาท

อ้างอิง
ISBN : 974-527-684-7 รอบรู้ประเทศไทย
คัดลอกจาก...

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3
สมศรี

[*] posted on 16/4/08 at 10:26
โมทนาด้วยค่ะ ที่คุณอภิมุขได้ค้นคว้าหาข้อมูลมาได้ละเอียดยิ่งขึ้น
apimook

[*] posted on 16/4/08 at 02:36
ฉัตร ก็คือร่มที่ซ้อนเป็นชั้นๆ เรียกเถา มีมากสุด ๙ ชั้น เรียก นพปฎลเศวตฉัตร
สมัยแรกเริ่มใช้ร่มเป็นเครื่องยศ ผู้มียศก็มีร่มหลายคัน ยศสูงขนาดไหนให้นับจำนวนร่ม มีผู้เคยตั้งข้อสังเกตรูปสลักระเบียงประวัติศาสตร์ที่ปราสาทนครวัด ว่าถ้าจะรู้กลุ่มไหนสำคัญมากน้อยขนาดไหน ก็ให้นับจำนวนร่มใบบัวมีเท่าไร?
แต่ผมไม่เคยนับ และไม่เคยรู้ว่ามีใครนับได้เท่าไร? ขบวนแห่ชาวสยามมีจำนวนร่มใบบัวกี่คัน? เมื่อเทียบกับขบวนอื่นๆแล้วมีต่างกันอย่างไร? ฯลฯ ใครจะบอกได้บ้าง? ขอความกรุณาด้วย
หนังสือสารานุกรมอ้างถึงพระนิพนธ์ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนหนึ่งมีความว่า
"ต่อมาเมื่อได้มีผู้ประดิษฐ์ร่มขึ้นใช้แทนใบบัว คนที่เป็นหัวหน้าจะไปไหนก็มีคนคอยกั้นร่มให้ นายทัพนายกองเมื่อไปสนามรบก็มีคนกั้นร่มให้ เพราะนอกจากจะเป็นการถนอมหัว ก็ยังเป็นประโยชน์ที่จะให้ไพร่พลได้รู้ว่านายทัพนายกองของตนอยู่ที่ไหน จะได้รับคำสั่งได้ถูกต้อง
เมื่อนายทัพนายกองต่างมีร่มเป็นสัญญาแล้ว เวลารบกันฝ่ายชนะจึงยึดร่มของฝ่ายแพ้ไว้เป็นพยานในชัยชนะแห่งตน เมื่อยึดมาแล้วจะไปไหนก็จัดให้มีคนถือร่มที่ยึดได้ตามไปในกระบวนเป็นการประกาศชัยชนะของตนด้วย
ต่อมาการถือร่มเข้ากระบวนก็กลายเป็นเกียรติยศของผู้เป็นประธานในกระบวน เช่น กระบวนแห่ของจีนและญวน มีคนถือวัตถุเป็นกระบอกไปรอบๆตัวผู้เป็นประธานในกระบวนจนเป็นแพเต็มไปหมด
แต่ไทยเราเห็นว่ากระบวนแห่ทำนองนั้นไม่เป็นระเบียบและไม่สวยงาม ซ้ำปิดบังผู้เป็นประธานเสียด้วย จึงคิดจับร่มนั้นซ้อนกันเสียให้เป็นเถา เรียกว่า "ฉัตร" และถือเป็นคตินิยมว่า ฉัตรไม่ว่าจะกี่ชั้นก็ตามเป็นของตนเอง ๑ ชั้น นอกนั้นมีซ้อนอยู่อีกกี่ชั้นก็หมายความว่าเป็นผู้ชนะกี่ทิศ เช่น
ฉัตร ๓ ชั้น หมายถึง ผู้ชนะใน ๒ ทิศ ฉัตร ๕ ชั้น หมายถึง ผู้ชนะใน ๔ ทิศ ฉัตร ๗ ชั้น หมายถึง ผู้ชนะใน ๖ ทิศ และฉัตร ๙ ชั้น หมายถึงผู้ชนะใน ๘ ทิศ"
โดยเหตุที่ร่มเป็นของสำหรับกางกั้นภายนอกอาคาร และเมื่อฉัตรก็คือร่มที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆดังกล่าว ควรใช้แต่ภายนอกอาคาร จะนำมาใช้ภายในอาคารด้วยน่าจะไม่ถูกต้อง
ดังนั้น เสนบดีกระทรวงวังในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาเรียนพระราชปฏิบัติ ว่าฉัตรนั้นควรจะใช้เฉพาะภายนอกอาคาร หรือควรใช้ทั้งภายนอกภายในดังที่ใช้กันอยู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชาธิบายโดยพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๔ ว่า
"เรื่องฉัตรจับครูเดิมที่อินเดียเห็นใช้ทั้งนอกทั้งใน คือเหนือยอดพระราชวังที่เคลลิแลลักเนา เป็นร่มชั้นเดียว พระแท่นทำนองธรรมาสน์วัดพระแก้ว พนักหลังปักร่มบนพนักทั่วทุกแห่ง แต่ที่ต่อหลายชั้นในอินเดียไม่มีเลย คงเกิดแถบพม่าและเรา ยาวาที่เขารับตรงจากอินเดียก็ชั้นเดียวทั้งนั้น และออกจะเป็นทองทั้งอินเดียและยาวา ไม่ใช่ขาว"
จากพระราชหัตถเลขานี้จะเห็นได้ว่า ฉัตรเมื่อใช้สำหรับเกียรติยศแล้วก็กางกั้นทั้งนอกและในอาคาร
(คัดจาก คอลัมน์สยามประเทศไทย มติชน ฉบับวันอังคารที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๙)
puang_malai

[*] posted on 10/4/08 at 23:12
ขอบคุณค่ะ เพราะเคยเห็นในนิมิตของสมาธิ เห็นเจดีย์ และฉัตรซึ่งมีทั้งสีเงินและสีทองเห็นพระราชวังที่ใก้ลกับสนามหลวงเห็นวัดพระแก้ว รู้จักชื่อแต่ไม่รู้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร ตอนนี้เข้าใจแล้วค่ะเชื่อว่าคงจะมีีคนอีกจำนวนมากที่่รู้ว่าสิ่่งนี้เรียกว่าอะไรแต่ถ้าถามว่ามีความหมายว่าอย่างไร หรือเอาไว้ใช้สำหรับทำอะไร คงจะตอบไม่ได้กันหลายคน อันนี้หมายถึงสิ่งทั่วไปซึ่งมีความสำคัญแต่คนไม่ค่อยรู้ความหมาย
webmaster

[*] posted on 10/4/08 at 06:58
คำว่า "ฉัตร" สามัญชนหมายถึง "ร่ม" แต่ถ้าเป็นบุคคลผู้สูงศักดิ์ เช่น พระมหากษัตริย์ เป็นต้น เรียกกันว่า "เศวตฉัตร" ตามพระราชประเพณีเรียกกันว่า "เครื่องสูง" เป็นการสถาปนาพระเกียรติยศ สำหรับผู้ที่ควรแก่การ
ยกย่องเชิดชู เช่น การถวายเศวตฉัตร 7 ชั้น ให้แก่ สมเด็จพระพี่นางฯ เป็นต้น

ตามธรรมเนียมของคนไทย โดยเฉพาะในเรื่องพระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ เชื่อว่าตัวเลขที่เป็นมงคล ต่างก็ให้ความหมายไว้ดังนี้
- เลข 3 ได้แก่ พระรัตนตรัย คือ แก้วทั้ง 3 ประการ
- เลข 5 อาจจะหมายถึง พระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์
- เลข 7 น่าจะหมายถึง โพชญงค์ 7 (คุณเครื่องแห่งความสำเร็จ)
- เลข 9 คนไทยถือว่าเป็นเลขดี มีความก้าวหน้าเป็นต้น โดยเฉพาะทางพุทธศาสนาหมายถึง มรรค 4 ผล 4 และนิพพาน 1

ฉะนั้น การจะถวายฉัตรให้แก่พระสงฆ์ผู้มีสมณศักดิ์ชั้นสูง หรือถวายเศวตฉัตรให้แก่พระมหากษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงก็ตาม คงจะถวายไปตามลำดับความสำคัญของบุคคลนั้นๆ ซึ่งเป็นไปตามพระราชประเพณีมาแต่โบราณ

ส่วนอานิสงส์การถวาย "ร่ม" หรือ "ฉัตร" นั้น ในทางพระพุทธศาสนาถือว่ามีอานิสงส์สูง สมัยที่พระพุทธเจ้ายังเป็นหน่อเนื้อพระบรมโพธิสัตว์ พระองค์ยังทรงเคยถวายร่มให้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วย การถวายร่มหรือถวายอาสนะ เชื่อกันว่าจะได้เกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน

โดยเฉพาะสมัยพุทธกาล พระภัททิยะ ได้เกิดในตระกูล "ศากยราช" เมื่อออกบวช (ออกบวชพร้อมพระอานนท์) แล้วพระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่องว่า "เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง" ตามประวัติเล่าว่า ชาติก่อนท่านได้เคยถวายอาสนะเป็นต้น ด้วยอานิสงส์ทั้งหลายเหล่านี้ ท่านได้เกิดในตระกูลกษัตริย์ติดต่อกันถึง 500 ชาติ เพราะตามธรรมดาคนทั่วไปมักจะเกิดสลับชาติกัน บางชาติเป็นคนธรรมดา บางชาติเป็นบุคคลสูงศักดิ์ อย่างนี้ เป็นต้น
puang_malai

[*] posted on 10/4/08 at 00:09
อยากให้นำเอาเรื่องของฉัตรมาลงบ้างค่ะ ว่ามีความหมายอย่างไรเพราะมีทั้งอยู่ในพระมหาราชวังและในวัดแล้วบางทีก็มีซ้อนกันหลายชั้น ๓ชั้น ๕ชั้น๗บ้าง ๙บ้างมีความหมายว่าอย่างไรคะ
Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved