วัดบางนมโคในอดีต
ลำดับเจ้าอาวาสวัดบางนมโค
.......เจ้าอาวาสวัดนี้เดิมทีจะมีกี่รูปไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เริ่มจะมีการบันทึกเป็นหลักฐาน
คือ...
1. เจ้าอธิการคล้าย
2. พระอธิการเย็น สุนทรวงษ์ มรณภาพ ปี พ.ศ. 2478
3. ท่านพระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนันโท) รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 มีโอกาสได้เป็นเจ้าอาวาสได้เพียง 2 ปี ก็มรณภาพลง เมื่อวันที่ 26
ก.ค. 2480
4. พระอธิการเล็ก เกสโร
5. พระอธิการเจิม เกสโร
6. พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
7. พระอาจารย์อำไพ อุปเสโน
8. พระครูวิหารกิจจานุยุต (อุไร กิตติสาร) ได้รับการอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 - เวลานี้มรณภาพไปหลายปีแล้ว
9. เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ชาติภูมิของหลวงพ่อปาน
..........ท่านได้ถือกำเนิดที่ย่าน "วัดบางนมโค" เมื่อปี พ.ศ. 2418 (หลวงพ่อบอกว่าไม่ทราบวันเดือนที่เกิด แต่พอถึงวันแรม 14 ค่ำ เดือน 8
ท่านจะทำบุญหมดตัวทุกปี) โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์
โดยอาชีพทางครอบครัว คือ "การทำนา" สาเหตุที่โยมบิดาขนานนามท่านว่า "ปาน" เนื่องจากท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวคือ ปานแดง อยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนนิ้ว ถึงปลายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว
ประวัติหลวงพ่อปาน (ชุดเก่า)
ณ โอกาสต่อไปนี้ จะได้เล่าประวัติความเป็นมาของ
"หลวงพ่อปาน" วัดบางนมโค ให้ท่านทั้งหลายได้ทราบตามที่พอจะนึกได้ เพราะฉันเองก็ทราบแต่เพียงประวัติบางประการเท่านั้น
ไม่ใช่ว่าจะทราบเรื่องราวของท่านตลอดชีวิตก็หาไม่ จะเล่าให้ท่านทั้งหลายได้รับทราบ หรือเล่าสู่กันฟังเท่าที่พอจะจำได้ หรือเท่าที่พอจะรู้เรื่องมา
แต่ความจริงเวลากาลก็ได้ล่วงเลยมาหลายสิบปีแล้ว ฉันก็อาจจะหลงๆ ลืมๆ ไปบ้าง
เอ้า! ต่อแต่นี้ไปก็ขอได้เริ่มต้นเล่าเรื่องราวของ หลวงพ่อปาน
ให้ทราบเท่าที่พอจะจำได้....
.......วัดบางปลาหมอ
อยู่ในอำเภอเสนา "วัดบางปลาหมอ" เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อ "วัดประชุมญาติ" เมื่อเสียกรุงครั้งที่ 2 กลายเป็นวัดร้างไป
........ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 หลวงปู่สุ่นนอกจากเก่งในทางวิปัสสนาแล้ว ท่านยังเป็นพระที่มีวิชาในทางรักษาโรคด้วย ต่อมาชื่อวัดได้เพี้ยนไปกลายเป็น
“บางปลาหมอ” จนปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยหลวงปู่สุ่นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด ในยุครัตนโกสินทร์ได้สร้างพระพุทธไสยาสน์ ถวายนามว่า
“พระไสยาสน์มงคลสรรเพชญ”
".......ในเมื่อถึงเวลาบวช
เมื่อบวชจริงๆ ท่านบวชที่ "วัดบางปลาหมอ" เพราะว่าเวลานั้น "วัดบางนมโค" เวลานั้นเดิมทีเป็นวัดร้าง
........หลวงปู่คล้ายนี่..เป็นพระจากจังหวัดธนบุรี ขึ้นมาเริ่มสร้างวัดบางนมโคองค์แรก หมายความว่าสร้างทับที่เดิม เดิมมีกุฏิอยู่ ๒ - ๓ หลัง
ยังไม่ทันจะมีโบสถ์ ถ้าวัดไหนไม่มีอุโบสถหรือโบสถ์ วัดนั้นก็ยังบวชพระไม่ได้ ต้องไปบวชพระที่วัดที่สร้างพระอุโบสถแล้ว
........เมื่อบวชพรรษาแรก หลวงปู่คล้ายบอกว่า "ควรจะอยู่กับอุปัชฌาย์ ๑ ปีก่อน เพราะอุปัชฌาย์จะได้อบรมสั่งสอนวิชาการต่างๆ"
เมื่อขณะที่หลวงพ่อปานบวชขณะนั้น พอดี หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ กำลังสร้างพระอุโบสถใหม่
........อันนี้จะเล่าถึงตัวท่าน ท่านบอกว่าเมื่อได้เห็นอาการอย่างนั้น จากพระอุปัชฌาย์และคู่สวดก็มีความเลื่อมใสมาก ก็เลยจำพรรษาอยู่วัดบางปลาหมอ ๑
พรรษา คือพรรษาแรก ทั้งๆ ที่จะไกลบ้านสักหน่อยก็ตามที แต่เพราะอาศัยจิตที่รักวิชาประเภทนี้คือกรรมฐาน
..........หลวงพ่อสุ่นได้เริ่มสอนหลวงพ่อปานให้เริ่มฝึกพระกรรมฐานตามแบบ วิสุทธิมรรค คือใน กรรมฐาน ๔๐ ครบถ้วน
โดยให้ท่องหัวข้อกรรมฐาน ๔๐ ให้จำได้ และก็แนะวิธีการปฏิบัติทุกอย่าง ตามในหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
..........แล้วต่อแต่นั้นไปเมื่อหลวงพ่อปานมีความสนใจในด้านอภิญญาสมาบัติ หลวงพ่อวัดบางปลาหมอ คือหลวงพ่อสุ่น ก็มอบกุญแจให้หนึ่งดอก แล้วบอกว่า
..........เมื่อท่านกลับมาถึงวัด ทีแรกก็กลับเข้ามา วัดบางปลาหมอ
หลวงพ่อสุ่น ก็บอกว่า ปาน..วัดบางปลาหมอ นี่มันมีวัตถุครบถ้วนทุกอย่าง มีโบสถ์ มีศาลา มีกุฏิ มีอะไรต่ออะไรพร้อม แต่ว่า
วัดบางนมโค นี่ยังไม่มีอะไร เป็นวัดร้างมาก่อน
..........หลวงปู่คล้าย มารื้อถอนขึ้น เป็นวัดโบราณจริง ๆ เป็นวัดเก่า มีพระบรมสารีริกธาตุ อยู่ที่วัดนั้น เธอจงไปบูรณะ
วัดบางนมโค เถิด เป็นวัดในตระกูลของเธอ และเธอควรจะบูรณะให้สมบูรณ์บริบูรณ์ เธอทำได้ เพียงท่านมีบัญชา หลวงพ่อปานก็ปฏิบัติตาม
และท่านสั่งว่า....
..........เมื่อไปถึงวัดละก็ให้สร้างเจดีย์ก่อน ท่านบอกสถานที่ให้สร้าง ท่านบอกว่า ที่ตรงนั้น
หน้าโบสถ์เก่า มีพระบรมสารีริกธาตุโบราณ ท่านโบราณาจารย์ฝังเอาไว้ ๓ องค์ เมื่อมาถึงแล้ว ท่านก็เริ่มปรารภการสร้างเจดีย์ ชาวบ้านเขาก็เห็นชอบด้วย
แล้วพร้อมกันนั้น ท่านก็ตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม สอนบาลี และก็สอนนักธรรม คือความรู้ในด้านพระธรรมวินัยตามที่ศึกษามา ปรากฏว่ามีนักเรียนทั้งหมด
ประมาณสัก ๓๐๐ คนเห็นจะได้ ท่านว่าอย่างนั้น
(รูปปั้นหลวงพ่อสุ่น ณ วัดบางปลาหมอ)
".......และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่ท่านรักษา ท่านไม่เคยเรียกเงินเรียกทอง ท่านทำเป็นสาธารณประโยชน์จริง ๆ หมายความว่ารักษาให้ด้วยการสงเคราะห์จริง ๆ
เพราะอาศัยการสงเคราะห์เป็นปัจจัยนี่เอง เวลาที่ท่านจะสร้างโบสถ์วิหารการเปรียญ ท่านไม่ต้องเรี่ยไร ฎีกาของท่านที่แจกออกไปนั้น
ท่านบอกเลยว่าฉันจะทำอย่างนั้น อย่างนี้ ( หลวงพ่อปานเนี่ย สร้างวัดถึง ๔๐ วัดกว่า )
.........แต่ว่าการทำอย่างนี้ไม่มีการเรี่ยไร ฎีกาที่ใครได้รับไปแล้ว ถ้าบุคคลใดที่นำฎีกาไปแล้ว จะขอรับเงินมา ท่านบอกว่า "
จงอย่ามอบมาเป็นอันขาด " ฉันไม่ได้ใช้ไปเรี่ยไร เป็นแต่เพียงว่าฎีกานี้บอกข่าวเท่านั้น ถ้าใครจะทำบุญให้มาทำบุญกับฉันที่วัด อย่าไปทำหรืออย่าให้
กับคนที่ถือฎีกาเป็นอันขาด "
.........ในฎีกาของท่านบอกไว้อย่างนี้เสร็จเรียบร้อย แต่ว่าทั้ง ๆ ที่ท่านจำกัดอย่างนั้นนะ คนที่อยู่ไกล ๆ บางทีเราจะคิดว่าถ้าไม่ฝาก เขาจะมาไม่ได้
ไม่เป็นเช่นนั้น ทุกคนที่ได้รับข่าวแล้วมาตามนัด หมายความว่ามาตาม กำหนดของฎีกาครบถ้วน
..........ท่านจะสร้างโบสถ์สร้างศาลาสักเท่าไหร่ก็ตาม ท่านก็ทำได้ง่าย ๆ จะสร้างโบสถ์สักหลังหนึ่ง สร้างศาลาสักหลังหนึ่ง จะสร้างวัดสักวัดหนึ่ง
ท่านสั่งของมาก่อน ท่านไม่ได้หาเงินก่อนแล้วสร้าง สั่งของมาทำจนเสร็จก่อน เมื่อเสร็จแล้วท่านก็ประกาศงานฉลอง
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
".......ตอนนี้เมื่อเล่าถึง วิธีการแจกพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะเล่าถึงตำรา มันจะเป็นตอนหลัง ๆ ก็ช่างเถอะ แต่ว่าเรื่องมันสืบกัน คือก่อนที่ท่านจะตาย
๑ ปี ปรากฏว่าท่านอาจารย์แจง ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน ลงมาจากเมืองสวรรคโลก มาบอกท่านบอกว่า ท่านต้องการตำราเล่มสำคัญ คือตำราของท่านอาจารย์แจง
ที่มอบให้หลวงพ่อปานไว้น่ะมี ๓ เล่ม ( เป็นตำราสมุดข่อย ) ต้องการตำราเล่มสำคัญเล่มนั้น เอาไปเพื่อจะทบทวนความรู้ ท่านว่าอย่างนั้น แล้วท่านก็จะส่งให้
หลวงพ่อปานท่านก็มอบให้ไป
........พอมอบให้ไปแล้ว ก็ปรากฏว่าพอไปถึงบ้าน ภายในระยะปีนั้น อาจารย์แจงก็ตาย แล้วหลวงพ่อปานก็ตายเหมือนกัน เรียกว่าตายปีเดียวกัน ต่างคนต่างไม่รู้
ที่รู้ว่าอาจารย์แจงตายก็เพราะว่า ให้คนไปบอกว่าเวลานี้หลวงพ่อปานตายแล้ว ให้ท่านลงมา หรือว่าท่านจะทำอย่างไรก็ช่าง ในฐานะที่ท่านเป็นครูบาอาจารย์
.........พอไปทางโน้น ภรรยาของท่านอาจารย์ ก็บอกว่า ท่านอาจารย์ก็ตายแล้วเหมือนกัน อายุท่านไล่เลี่ยกัน แต่เมื่อหลวงพ่อปานตายแล้ว พวกเราทำศพหลวงพ่อแล้ว
ก็คิดถึงตำราเล่มที่ ๓ ขึ้นมา ว่าตำราเล่มนั้นฉันเอง ก็เคยอ่านว่ามีธงมหาพิชัยสงคราม คือธงออกรบ ซึ่งตำราของอาจารย์อื่น ๆ
ฉันไปดูแล้วไม่มี ถึงจะมีก็ไม่เหมือน ไม่ละเอียดละออเหมือน
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
Update 29 ก.ย. 51