พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อหลอกหลวงคน... (เล่ม ๒๕ หน้า ๒๒๑ )
◄ll กลับสู่ด้านบน
praew - 1/8/08 at 13:09
(Update 1 ส.ค. 51 ตอนที่ 2)
เทวดา
โดย ก.ษ.ป.
จาก ธัมมวิโมกข์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 74
ใครทราบบ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสถึงเทวดาไว้ว่าอย่างไร ?
จะรู้กันอย่างหลวมๆเสียละกระมังว่าพระพุทธศาสนากล่าวว่า ทำดีขึ้นสวรรค์ ทำชั่วตกนรก
คงรู้กันแค่นี้เสียมากกว่า
ถ้าหากมีความรู้แค่นี้ ก็ควรอยู่หรอกที่จะมีความเห็นว่า เรื่องนรกสวรรค์เป็นคำพูดหลอกหลวง ให้คนไม่กล้าทำความทำความชั่ว
ใครเชื่อก็โง่เง่าเต่าล้านปี
จะคิดต่อไปอีกสักนิดก็ไม่ได้ว่าถ้าศาสนาคือขู่ไม่ให้คนทำชั่วละก็ทางศาสนาเองจะได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาบ้าง ใครจะทำชั่วทำดี
ภิกษุในศาสนาไม่เห็นจะต้องเดือนร้อนไปด้วยนี่ อย่างเก่งพระท่านก็พึ่งชาวบ้านแค่ข้าววันละมื้อ (และคนทำชั่วก็ไม่ใช่ว่าจะทำทานไม่ได้)
ถึงพระเองที่ไปเที่ยวบิณฑบาตรชาวบ้าน ก็ไม่ใช่ว่าพระจะสิ้นไร้ไม้ตอก
อย่าง พระพุทธเจ้า ท่านก็จะขึ้นครองราชย์สมบัติต่อไปอยู่แล้ว ท่านโมคคัลลาน์ ท่านสารีบุตร มีทรัพย์คนละ ๘๐ โกฎิ ต่างทิ้งหมด มาบิณฑบาตรกิน
บางทีก็อด อีกหลายๆองค์ก็เช่นกัน
เพราะฉะนั้นเหตุผลที่จำเป็นต้องไปหลอกหลวงชาวบ้านก็ไม่มี พระพุทธเจ้าท่านตรัสอยู่แล้วว่า เราเป็นแต่เพียงผู้บอก
ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามใจ เพราะเหตุนี้ท่านก็ไม่มีความจำเป็น จะต้องไปหลอกหลวงชาวบ้านอีกเหมือนกัน
ท่านตรัสตามความเป็นจริงที่ท่านทรงทราบ สวรรค์มีก็บอกว่าสวรรค์มี เชื่อไม่เชื่อก็แล้วแต่
เรื่องของคนโง่ ที่คิดว่าตนฉลาดเช่นนี้น่าอ่อนใจจริงๆ ก็ลองคิดดูซิ เอามาค่อนขอดกันอยู่ได้ว่า
พระพุทธเจ้าทรงลำเอียงที่ตั้งพระสารีบุตรและพระโมคัลลาน์ เป็นพระอัครสาวกขวาซ้าย เขากล่าวว่าที่จริงควรตั้งพระปัญจวัคคีย์มากกว่าเพราะมีอาวุโส
ก็เขาเหล่านั้นทำไมไม่คิดบ้างว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ตั้งแต่ท่านทั้งสองเดินเข้ามาทีแรกยังไม่ได้บวชด้วยซ้ำไปว่า ท่านทั้งสองเป็นคู่สาวก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนนั้นคือโกลิตะและอุปติสสะ
กำลังมานั้นจักเป็นคู่สาวกของเรา จักเป็นคู่เจริญชั้นเยี่ยมของเรา (เล่ม ๔ หน้า ๑๒)
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต่างก็มีคู่สาวกอย่างนี้ทั้งนั้น ก็ทำไมพระพุทธเจ้าทรงทราบได้ตั้งแต่ยั้งไม่บวชล่ะว่าท่านทั้งสองจะเป็นคู่สาวก?
ควรจะสงสัยตอนนี้ดีกว่า ไปหาว่าพระพุทธเจ้าลำเอียงหาเรื่องลงนรกเปล่าๆ (คงไม่เชื่ออีกแหละว่ามีนรก) เดี๋ยวจะออกนอกเรื่องไปกันใหญ่
ย้อนมาดูหลักฐานเรื่องเทวดากันก่อน (ไม่พูดถึงนรกละ) ในพระไตรปิฎก มีเรื่องเทวดานับไม่ถ้วนแห่ง
แต่ขอนำมาแสดงเฉพาะที่พระพุทธเจ้าตรัสและที่เกี่ยวกับธรรมะเท่าที่พอจับเนื้อหากันได้เท่านั้น
๑. คติ ๕ (เล่ม ๑๑ หน้า ๒๒๔, เล่ม ๑๒ หน้า ๑๑๗, เล่ม ๒๓ หน้า ๔๒๔) ได้แก่
- กำเนิดสัตว์นรก
- กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
- เปรตวิสัย
- มนุษย์
- เทวดา
สัตว์โลกเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในคติทั้ง ๕ นี้แหละ (ล่ม ๑๙ หน้า ๕๒๙)
๒. ภูมิ ๔ (เล่ม ๓๑ หน้า ๘๓)
- กามาวจรภูมิ นับแต่อเวจีมหานรก ขี้นไปจนถึงเทวดาชาวปรนิมมิตวสวัสดี
- รูปาวจรภูมิ นับแต่พรหมโลกไปถึงเทวดาชั้นอกนิฏฐ์
- อรูปาวจรภูมิ นับแต่เทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ ไปจนถึงเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญยตนภพ
- โลกุตรภูมิ มรรค ผล และนิพพาน ธาตุอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งเป็นโลกุตตระ
๓. เทวดาชั้นต่างๆ (เล่ม ๑๔ หน้า ๑๙๒)
- จาตุมหาราชิกา
- ดาวดึงส์
- ยามา
- ดุสิต
- นิมานรดี
- ปรนิมมิตสวัสดี
( ต่อไปเป็นชั้นของพรหมจะไม่นำมาแสดงไว้ )
๔. เทวดาไม่แก่เหมือนมนุษย์ ไม่มีเส้นเอ็น (เล่ม ๒๗ หน้า ๒๙๗)
๕. อายุเทวดา (เล่ม ๒๓ หน้า ๒๒๘)
- เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ ๕๐๐ ปีทิพย์ ( ๑ วันเท่ากับ ๕๐ ปีมนุษย์)
- เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอายุ ๑๐๐๐ ปีทิพย์ ( ๑ วันเท่ากับ ๑๐๐ ปีมนุษย์) เป็นต้น
๖. นิมิต ๕ ที่เทวดาจะจุติ ( ตาย )
- ดอกไม้เหี่ยวแห้ง
- ผ้าย่อมเศร้าหมอง
- เหงื่อไหลจากรักแร้
- ผิวพรรณเศร้าหมอง
- ไม่ยินดีในทิพอาสน์ของตน
๗. ผู้ไม่เลื่อมใสพระพุทธเจ้าหรือคนนับถือศาสนาอื่นก็เป็นเทวดาได้
เทพบุตรผู้เป็นสาวกเดียรถีย์ต่างๆ (เล่ม ๑๕ เล่ม ๙๔) เดียรถีย์ คือพวกที่อยู่นอกศาสนาพุทธ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยมากยักษ์มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเลย (เล่ม ๑๑ หน้า ๑๗๔)
เป็นคำกราบทูลของท้าวมหาราช ทรงพระนามว่า เวสสุวัณ เป็นนายของเทวดาชั้นจาตุมหาราชทิศเหนือ
เทวดาเหล่านี้เวลาออกทำงานแสดงรูปเป็นยักษ์ เทวดาที่มาจากศาสนาอื่นคงจะอยู่ในสวรรค์ชั้นต่ำสุด คือ จาตุมหาราชิกากันมากไม่ค่อยไปสูงกว่านี้
จึงเป็นพวกไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
เทวดาที่ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ย่อมครอบงำเทวดาอื่นๆด้วยฐานะ ๑๐ คือ อายุ, วรรณะ, สุข,
ยศ, ความเป็นใหญ่, รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, อันเป็นทิพย์(เล่ม ๑๘ หน้า ๓๐๘)
สำหรับในตอนนี้จะขอชี้ให้เห็นเสียก่อนว่า หากจะหลอกกันในเรื่องนรกสวรรค์แล้ว เพียงแค่บอกว่ามีอยู่ก็พอแล้วไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดขนาดว่า
แบ่งเป็นกี่ชั้นมีอายุเท่าใด ไม่มีเส้นเอ็น และอาการที่บ่งว่าเทวดาจะตายต่างๆเหล่านี้เลย รายละเอียดอย่างนี้แน่นแฟ้นเกินไป จนน่าจะเห็นได้ว่า
ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะแต่งขึ้นมาสำหรับจะหลอกกัน
น้ำหนักที่ดียิ่งคือ หากจะหลอกก็หลอกเพื่อประโยชน์ของพระในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ควรจะหลอกว่า พวกนับถือศาสนาพุทธเท่านั้นจึงจะเป็นเทวดา
ถ้าไม่นับถือจะตกนรก แต่ท่านก็แสดงให้เห็นว่าคนจากศาสนาอื่นก็มีที่เป็นเทวดาได้ แสดงว่าภาพนี้เป็นสภาพสากล ใครทำดีก็เป็นเทวดา(หลังจากตายแล้ว)
พูดอีกนัยหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงกล่าวสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่จริงตามธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้จึงไม่ผิดและสามารถพิสูจน์ได้ เพราะเทวดาเป็นทิพย์
จะดูก็ต้องดูกันด้วยตาทิพย์ตาธรรมดาดูไม่เห็นดอก ถึงแม้ท่านจะมาอยู่ใกล้ๆก็ตาม หากจะเห็นด้วยตาเนื้อธรรมดาก็ต้องเป็นเรื่องที่
เทวดานั้นทำให้เห็นด้วยฤทธิ์ของท่านให้เห็น
ภิกษุใดรู้แจ้งมนุษย์โลก เทวโลก พร้อมทั้งพรหมโลก อันมีประเภทตั้งพันได้ในเวลาครู่เดียว
ทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญในคุณคืออิทธิฤทธิ์ และในจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นย่อมเห็นเทพเจ้าได้ตามประสงค์ (เล่ม ๒๖ หน้า
๓๙๐ อนุรุทธเถรคาถา)
เล่ม ๑๓ หน้า ๓๐๓ บ่งว่า ผู้บรรลุ จตุตถฌาน(ฌาน๔) สามารถยืนด้วยกัน เจรจากัน สนทนากันกับเทวดาทั้งหลายได้
วิธีที่จะเห็นหรือพิสูจน์ว่าเทวดามีนั้นมีอยู่ ผู้ใดมีคุณสมบัติตามนั้นก็คงจะเห็นได้
ผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติแล้วประกาศออกมาอย่างหน้าตาเฉยว่าเทวดาไม่มีนั้น ไม่ควรจะมีคนเชื่อถือเลย แต่สิ่งประหลาดในโลกย่อมมีไม่มีที่สิ้นสุด
เพราะปรากฏว่าชนจำนวนมากทีเดียวกลับเชื่อถือยกย่อง ในเมื่อมีผู้ฝึกได้ เห็นเทวดาได้เข้าจริงๆกลับหาว่าเขาอุปาทาน หรือสะกดจิตตัวเองไปเสียฉิบ
เห็นจะเป็นเพราะเหตุนี้เองที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนไว้ว่า ถ้าเขาชอบใจจะเชื่อของเขาอย่างนั้นก็อย่าไปพูดด้วยคนอย่างนี้ เขาไม่ฟังเหตุผลอะไรหรอก
คราวนี้ลองมาดูทางบทธรรมกันดูบ้าง
๘. กรรมสมควร ๔ ด้วยทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร (เล่ม ๒๑ หน้า๗๗)
- เลี้ยงตนให้เป็นสุข
- ป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากทรัพย์
- ทำพลี ๕ ประการ ญาติพลี, อติถิพลี, ปุพพเปตพลี, ราชพลี, เทวตาพลี
- ยังทักษิณาอันมีผลในเบื้องบน
- หากใช้นอกจากนี้เรียกว่าไม่สมควรแก่เหตุ
พึงสังเกตที่ท่านตรัสว่า ทรัพย์อันหามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร (ในเล่ม ๒๔ หน้า ๑๓๙ ตรัสไว้อีก
ว่าความเกียจคร้านเป็นอันตรายต่อโภคทรัพย์) แสดงว่าท่านให้ขยันหมั่นเพียร แต่ ผู้มีปัญญาสูง หลายท่านกลับกล่าวว่า เพราะพระพุทธศาสนาสอนให้สันโดษ
จึงเป็นการทำให้คนไทยเฉื่อยชาเกียจคร้าน ก็ในเมื่อท่านสอนให้ขยัน ท่านก็ย่อมไม่สอนให้เกียจคร้านเป็นธรรมดา
แสดงว่าผู้กล่าวโทษความสันโดษนั้นไม่รู้ความหมายของคำว่าสันโดษ อย่างน้อยก็ไม่รู้ละว่าสันโดษเป็นองค์แห่งความเป็นภิกษุไม่ใช่ธรรมของฆราวาส
และไม่ใช้ให้ภิกษุเกียจคร้าน เพราะภิกษุไม่ใช่ผู้ประกอบการงานแบบชาวบ้านอยู่แล้ว ประกอบแต่การงานอันประเสริฐ คือปฏิบัติเพื่อพระนิพพานเท่านั้น
โปรดสังเกตในข้อสามว่า ท่านตรัสว่า การทำเทวตาพลีเป็นการกระทำอันสมควร
๙. กุลบุตรที่เป็นผู้ปกครองหวังได้รับความเจริญส่วนเดียวไม่มีเสื่อมด้วยธรรม ๕ (เล่ม ๒๒ หน้า ๗๖) คือ
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นแก่
- มารดา บิดา
- บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และ คนใช้
- เพื่อนชาวนา คนที่มาร่วมงาน
- เทวดาผู้รับพลีกรรม
- สมณพราหมณ์
เทวดาผู้ได้รับพลีกรรม ได้รับสักการะนับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่าขอจงมีชีวิตยืนนาน
มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้วพึงหวังได้ความเจริญส่วนเดียวไม่มีเสื่อม (เล่ม ๒๒ หน้า ๗๗ )
๑๐. เล่ม ๕ หน้า ๘๗ พระพุทธเจ้าทรงตรัสพระคาถาแก่สุนีธะและวัสสการะมหาอำมาตย์แคว้นมคธ
บัณฑิตชาติอยู่ในประเทศใด เลี้ยงดูท่านผู้มีศีล ผู้สำรวม ประพฤติพรหมจรรย์ในประเทศนั้น
และได้อุทิศทักษิณาแก่เหล่าเทพยดา ผู้สถิตย์ในสถานที่นั้น เทพยดาอันบัณฑิตชาติบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ
อันบัณฑิตชาตินับถือแล้วย่อมนับถือตอบซึ่งบัณฑิตชาตินั้น แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์บัณฑิตชาติ ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิดแต่อก ฉะนั้น
คนที่เทพยดาอนุเคราะห์แล้วย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ
เอาละซิ เทพยดาผู้สถิตอยู่ในสถานที่นั้น อาจจะเป็นอย่างที่เรียกว่า พระภูมิก็ได้
พวกชอบไปรื้อศาลพระภูมิเขาจะทำอย่างไงล่ะ จริงอยู่เทวดาก็มีวิมานของเทวดา แต่ศาลพระภูมิก็เป็นเรื่องของศรัทธาชาวบ้านเขาจะทำของเขาอย่างนั้น
ที่สร้างถวายเป็นการแสดงความเคารพสักการะต่อเทวดา จะเรียกว่าเป็นการทำลายศรัทธาของชาวบ้านได้ไหม? แต่นั่นแหละ พระพุทธเจ้าว่าเทวดามี
ท่านว่าเทวดาไม่มีจะไปทำยังไงกะท่านได้
ความจริงภิกษุในพระพุทธศาสนาก็สรรเสริญพระพุทธเจ้าอยู่ทุกวัน ว่าเป็นผู้ฝึกสอนคนที่ควรฝึกอย่างประเสริฐ ควรจะศึกษาลีลาของท่านไว้บ้าง
เช่นอย่างไปพบพราหมณ์กำลังไว้ทิศ ๖ อยู่ ท่านก็ถามว่าทำอะไรนะ พอทราบแล้วท่านก็บอกว่า อ้อ... ทิศ ๖ ในศาสนาพุทธก็มีเหมือนกัน เป็นอย่างนี้ๆ
หรือว่าไปได้ยินพราหมณ์ เขามีวิธีละบาปของเขาอย่างนั้นๆ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างนั้นๆ (คือเปลื้อง ราคะ โมหะ โทสะ )
ไม่มีเลยที่ท่านจะตรัสว่าอย่างนั้นมันไม่ได้ความอะไรเลย เหลวไหลงมงายชัดๆทำอย่างที่ตถาคตสอนจึงจะถูก ซึ่งโดยหลักแล้วท่านก็ใช้การแสดงธรรมเป็นการสอน
ไม่ตำหนิว่าที่เขาทำอยู่นั้นไม่ดี อย่างที่ตรัสไว้ว่า
พึงรู้จักการยกยอและตำหนิ ครั้นรู้จักการยกยอและตำหนิแล้ว ไม่พึงยกยอและตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
(เล่ม ๑๔ หน้า ๓๖๐) ตีความได้ว่า ยกบทธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆมาแสดงให้ฟัง
๑๑. อนุสสติ ๖ (เล่ม ๒๒ หน้า ๒๙๖)
- พุทธานุสสติ
- ธัมานุสสติ
- สังฆานุสสติ
- สีลานุสสติ
- จาคานุสสติ
- เทวตานุสสติ
และในเล่ม ๒๒ หน้า ๒๙๗ พระอรหันต์ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมเนืองๆ คือ
- ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ
- ย่อมระลึกถึงพระธรรมเนืองๆ
- ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์เนืองๆ
- ย่อมระลึกถึงศีลของตนเนืองๆ