(Update 3 ก.พ. 54) ประวัติพระพุทธศาสนา โดย.."อุณากรรณ" ( เล่ม 2 )
kittinaja - 21/11/08 at 20:01
◄ ย้อนอ่าน เล่มที่ 1
สารบัญ
(เลือก "คลิก" อ่านได้แต่ละตอน)
01. บทที่ ๒๘ ยุค ๓ (พุทธันดรที่ ๓) ขุนแผนเมืองฟ้า-ดวงขวัญใจ
02. พิธีการแต่งงานแบบไทยมีมานานแลัว
03. ชฎิลเศรษฐี
04. พระกัสสปทศพลสุวรรณเจดีย์
05. บทที่ ๒๙ คนแผน
06. ขุนอู่ทอง (ผู้สร้างเมืองพงตึก)
07. "เอ่ยเชิญขวัญ" (ผู้คิดร้องรำทำเพลง)
08. บทที่ ๓๐ "ต้นผีไทย"
09. ขอมต้นปีอิน ๑๑๗๘ (ก่อน พ.ศ. ๕๑๖๓)
10. บทที่ ๓๑ "ประวัติพ่อขุนสือไทย"
11. บทที่ ๓๒ "ร่องรอยไทย" ทั้ง "ตัวสือไทย" (Update 31-5-53)
12. บทที่ ๓๓ "ภู" พุ่มคู่ทรวง หรือ ภูหุบผาสถูปลอมฟาง ซึ่งธรรมชาติสลัก-จารึกไว้ (Update 4-6-53)
Update 23 ต.ค. 51
บทที่ ๒๘
ในตอนที่แล้วนั้น ได้มาสิ้นสุดยุติลงตรงที่พุทธันดรที่ ๒ ตรงกับยุคไทย ขุนแถนเทียน ฟ้า-สีทองงาม
เป็นกาลที่สมเด็จพระโกนาคมทรงอุบัติขึ้นในโลก จารึกจาก "กระเบื้องจาร" ได้เล่า "ยุคไทย" สมัยต่อไปว่า...
ยุค ๓ (พุทธันดรที่ ๓) ขุนแผนเมืองฟ้า-ดวงขวัญใจ
ขุนแผนเมืองฟ้า ขุนหญิงดวงขวัญใจ
ทั้งคู่ทองสำริดได้จากปากท่อ (ราชบุรี) เฉพาะรูปขุนแผนนั้น ความจริงเป็นพระพุทธรูปปางขอฝน รูปขุนแผนเมืองฟ้าไม่ได้มา ทั้งเคยเห็น
พระขุนแผนเมืองสุพรรณบุรี เช่นขุนแผนปราบศึก มีดาบขุนแผนทรงพลมีรัดแขน ที่เป็นรูปก็เป็นพระพุทธรูป จึงกราบขอยืมเพื่อเป็นหลักฐานขุนแผน
ทั้งมีส่วนกายวิภาคเหมือนกัน ซึ่งยังยืนยันว่า ช่างเดียวกัน ทั้งมือขวากวัก โดยเป็นชาวต้น คนของ "ขุนอิน" และ "นางกวัก" สร้างใน สมัย "สุวัณณภูมิ"
ประมาณ พ.ศ.๒๓๕ - ๓๐๐
ในภาวะ "ผีฟ้า" ดูคล้ายมหาพรหมปุโรหิต ซึ่งเป็นที่ปรึกษาแผนความรู้ต่าง ๆ "ขุนนาง ดวงขวัญใจ" ดํารงอุดมเทพมารดาถึงมหาพรหมี
กึ่งเทพกัญญาหมู่ดาวกัญญา "ผีฟ้าชาย" แต่งตัวเหมือนขุนนางมีรัดเกล้าชั้น สะไบมีเชิงบ่าเป็นดอกไม้ ส่วน "ขุนหญิงผีฟ้า" แต่งตัวเหมือนรูปนี้
และบางเบาปรากฏเพศชัดเจนตลอด
คนไทยสมัยนั้นคงมี วิชาสางใส จึงรู้ว่า "ต้นนั้น" ตายไปเป็น "ผีฟ้า" ตลอดทั้ง ๓ ยุค สมัย จึงใช้ชื่อตามว่า ชาวสรวง ชาวแถน ชาวแผน ชาวแมน
ชาวทองไทย ตลอดมา "ชื่อ" และ "เรื่อง" เคารพบูชาบวงสรวงจึงปรากฏ มาถึงกาลปัจจุบัน แต่กาลนี้ไทยเลิกกันไปเป็นส่วนมาก
ยังเหลือชาวชนบทที่ยังกระทํากันอยู่ เพราะเหตุนี้ "รูป" และ "เรื่อง" จึงปลอมแปลงกันไม่ได้ เพราะมีอยู่ก่อนแล้ว
"ยุคนี้...พันล้านปีที่ ๔ ที่ ๕ นี้ พอจะเข้ายุคระยะปลายแล้ว ซึ่งได้สืบต่อและทําสิ่งต่าง ๆ ได้ทิ้งไว้พอจะพบเห็นกันได้
ในครั้งแรกที่ออกมาเริ่มชีวิตกันใหม่ เพราะทุกอย่างเคยเป็นกันมาแล้ว ต่างประพฤติดีร่วมกัน อายุจึงเริ่มขึ้นไปถึงอสงไขยกาลตลอด ๕๐๐ ล้านปี
ปลายของพันล้านปีที่ ๓ นั้น
เมื่อยังเป็นอสงไขยอายุนั้น ดํารงกาลตอน ๕๐๐ ล้านปี ต้นพันปีที่ ๔ ได้เกิดประมาท ประกอบอกุศลกรรม จึงเริ่มเสื่อมลง จารึกลําดับแผ่นอ่านที่ ๗๑๕ หน้า ๑
มีเส้นหนัก ขีดมุมล่าง ๓ ขีดบอกกาล ๓ หรือยุค ๓ ขุนสือไทย ฟัง จ้าวขุนสรวง เล่าแล้วจดลงจารึกไว้ว่า
"เมื่อคนเหลืองสองสิ้นนานล้นหลาย เมืองนี้ชื่อ เมืองแผน ขุนชื่อ แผนเมืองฟ้า ขุนหญิงชื่อ ดวงขวัญใจ หมู่มึงชื่อ ลวไทย
ถึง คนเหลืองสาม ก็ดีมาสอนเหล่ามึง มื้อนั้น ข้าฟังด้วยสางมิลุอื่น ลุแผน (พรหม) หมู่ลวไทย ไปสู่เมืองแสงใสมาก กูยังอยู่กับมึง"
แผ่น ๗๑๕ นี้ คําชื่อ "สือไทย" "แผน" และ "ขีด ๓ ขีด" ที่มุมล่างซ้ายนั้นเห็นชัดเจน คุณวิเชียรถ่ายตัวลายได้ชัดพอเห็นได้
ได้นําหน้า ๑ นี้ ทําแผ่นพิมพ์เพื่อเป็นหลักฐานเรื่อง ทางตะวันออก โดยเฉพาะ "เรื่องไทย" และ "ชื่อไทย" ซึ่งมีอยู่จริงอยู่ชัดเพียงบางตัว
แต่หลายตัวก็เลือนลางมาก แต่ก็พออ่านได้ ได้อ่านไว้และได้ความที่จารึกไว้อย่างนี้
เมื่อได้ความอย่างนี้และมีอยู่อย่างนี้ เป็นหลักฐานเรื่อง "ต้นไทย" และสิ่งที่ได้สร้างไว้คือ ลายสือไทย และ จำนวนเลข คือ "นับ" นั้น
มีอยู่แล้ว หรือตั้งใช้กันมาแล้วนานนับพันปี หรือตั้งแต่ ๖,๖๐๐ ปีกว่ามาแล้ว เพราะสิ่งเหล่านี้มีอยู่ มีคนทำขึ้นซึ่งได้คงอยู่ต่อมากระทั่งถึงพวกเราในบัดนี้
และในบัดนี้ไทยก็ยังทํา,เรียน, เขียน,อ่าน ออกเป็นหนังสือพิมพ์ไปทั่ว หมู่คนไปอยู่ที่ไหน พอเห็นก็รู้ว่าเป็นคนไทย ไทยจึงยังคงอยู่ด้วยของไทย
ไทยจึงเป็นตัวของไทยอยู่ตลอดกาล
"ข้างหน้านูน จะมีคนเหลืออีกสอง เมื่อคนเหลืองสามสิ้นนานมา หมู่มึงสู้กันอีกฆ่ากันตาย หลายล้น เหลืออยู่ในถ้ำเขา ออกมารวมกันสร้างเมือง
ยังชื่อเมืองแผน ขุนชื่อ ขุนแผนเมือง ฟ้า ขุนหญิงชื่อ ดวงขวัญใจ ตามที่จําได้ อยู่ลุมาถึง ขุนอิน แลมึงชื่อเมืองแมน เมื่อถึง โลลาย
ชื่อเมืองทองไทยลว้าไท"
เรื่องในพระพุทธศาสนา
ได้เล่าความตอนนี้ไว้ว่า เมื่อเกิดมัวเมาประมาทแล้ว ต่างประกอบอกุศลกรรม อายุก็เริ่มลดลงจากอสงไขยกาลนั้น กระทั่งถึงกาล มีอายุ ๒ หมื่นปี
(วีสะติวัสสะสะหัสสานิ (๒๐ พันปี) และทั้ง ๓ องค์นี้ อุบัติ ณ สกุล "พราหมณ์" จึงไม่ใช้ "เจ้า")
พระกัสสปโพธิสัตว์อุบัติ ครองฆราวาส อยู่ ๒ พันปี จึงออกมหาภิเนษกรมณ์ ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธดํารงพระชนม์ชีพ อยู่ตลอด ๒ หมื่นปี
ดับขันธปรินิพพานเข้า เมืองแสงใส (คือเมืองแก้วแสงใส ชื่อไทยนี้ ไทยคงเรียก "นิพพาน" มานานแล้ว ปราชญ์ บัณฑิตโบราณาจารย์จึงกล่าวเสมอ ๆ
เช่น ถึง "เมืองแก้ว" อันกล่าวแล้ว คือ อมตมหานคร นฤพาน-มหาเวสสันดรเทศนา กุมารกัณฑ์)
ในพุทธันดรนี้ ต้นเรื่อง ติโรกุฑฑสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าว่า พระกัสสปสัมมาสัมพุทธได้ตรัสตอบ "หมู่เปรต" เหล่านั้นว่า
"อนาคตแผ่นดินใหญ่สูงขึ้นประมาณ ๑ โยชน์ พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ จะได้ในกาลนั้น"
เมื่ออายุลดลงถึงกาลมิคสัญญีนั้น แผ่นดินสูงได้ครึ่งโยชน์ (เท่ากับ ๘ ก.ม.) จึงเต็มพุทธันดรที่ ๓ และเต็มพันล้านปีที่ ๓ เริ่มเข้าพันล้านปีที่ ๔
เมื่อขึ้นไปถึงอสงไขยอายุกาลนั้น ถึง ๕๐๐ ล้านปีหรือกว่า และดํารงกาลอสงไขยนั้น อีกยาวนานถึงอสงไขยเต็มพันล้านปีที่ ๔ เริ่มหรือกําลังเป็นพันล้านปีที่ ๕
คือ เอาตัวเลข ๕๐๐ ปี ว่าอายุตะกั่วมีมาก่อนโลกนั้นด้วยจะได้ ๕๐๐ ล้านปีในพันล้านปีที่ ๕ เพราะอายุเลื่อนลงถึง ๘๐ ปี
"ยุคแผน" ในพุทธันดรที่ ๓ นี้ ตามที่มีเรื่องเล่าเหตุการณ์ไว้นั้น เมื่อมิคสัญญีอันเป็นกาลสิ้นสุดพุทธันดรที่ ๒ นั้น เริ่มพุทธันดรที่ ๓
อายุจะยืนยาวขึ้นไปถึงอสงไขย คือนับไม่ได้ ก็เกิดประมาทขึ้น ประพฤติอกุศลต่าง ๆ อายุ จะลดลงกระทั่งถึงกาล พระกัสสปสัมมาสัมพุทธ ซึ่งมีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี
เมื่อดับขันธปรินิพพานแล้ว อายุก็ยังลดลงเรื่อย ๆ กระทั่งถึงกาลมิคสัญญี ซึ่งเป็นกาลสิ้นสุดพุทธันดรที่ ๓ ก็เริ่มพุทธันดร ที่ ๔ อายุจะเจริญขึ้นถึงอสงไขย
คือนับไม่ได้ ก็เกิดประมาท ประพฤติอกุศลต่าง ๆ อายุจะลดลง กระทั่งถึงระยะกาลอายุ ๘๐ พระโคตม สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้
ในระหว่างก่อนพระพุทธกาลนั้น พระ พุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติเป็นมหาสุตโสมราชา ได้ทรงขอวโรกาส เพื่อจะทรงสดับพระพุทธภาษิต ของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธ
ซึ่ง นันทบัณฑิต ได้แสดงให้พระองค์ได้สดับ นี้แสดงถึงพระธรรมของพระองค์ ยังมีหมู่ชนในภายหลังได้สืบต่อกัน
กระทั่งถึงกาลของพระเจ้าสุตโสมบรมโพธิสัตว์นั้น พออ้างได้
ส่วนในทางของเรานี้ มีชื่อว่า เมืองแผน ขุนแผนเมืองฟ้า และ คนชาวแผน ตามที่ ขุนสรวง เล่าและ ขุนสือไทย ได้จารึกไว้ คง
ไม่มีอะไรอื่นมาก ชื่อ "เมืองแผน" คําว่า "เมือง" ในสมัยนั้น อาจเป็นประเทศหรือทวีป ครั้นต่อมา "เมือง" ลดลงมาแค่ "จังหวัด" จึง ต้องใช้ว่า
"ประเทศ"
ส่วน "ขุน" เมื่อใครสืบต่อ ก็คงขึ้นชื่อว่า "ขุนแผนเมืองฟ้า" อย่างพระนามว่า ในหลวง พระร่วง พรหมทัต ฮ่องเต้
ส่วนชื่อประจําตัว ก็คงมีต่าง ๆ กัน ครั้นจะระบุขึ้นก็คงจําและจดไม่หมด เพื่อง่ายจึงใช้ว่า "คนแผน" หรือ "ชาวแผน" นั้นสั้นและจํารู้ง่าย
คงอยู่กันมา ตลอดกาลนานนั้น
ขุนสรวง ได้เล่าบอกสั้น ๆ ย่อ ๆ แต่ก็ พอให้รู้ว่ามีอยู่และสืบกันมาในชื่อว่า "ชาวแผน" หรือ "คนแผน" คือ "คนไทย" ที่ใช้ชื่ออย่างนั้น
เป็นแน่ได้ว่า "ยุคขุนแผนต้น" ของ ขุนอิน และ "เมืองแผน" นั้น มีอยู่เป็นหลักฐานแล้ว ไม่มีอะไรอ้างได้มากไปกว่านี้
พระพุทธกัสสปกาล (ยุคไทย ขุนแผน)
ในยุคไทย ขุนแผน นั้น ตรงกับพุทธันดร พระกัสสปสัมมาสัมพุทธองค์ ใน อนาคตวงศ์ ก็มีเรื่อง นันทมาณพ ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธองค์
ทรงพระนามชื่อว่า พระนรสีหสัมมาสัมพุทธองค์ เป็นพระองค์ที่ ๘ ในอนาคต กาลนั้น
"อนาคตวงศ์" เล่าถึงกาลพระกัสสปสัมมาสัมพุทธองค์นั้น ชมพูทวีป ก็ได้มีชื่อว่า "ชมพูทวีป" อย่างนั้น กับมีชื่อว่า "มัชฌิมชนบท" หรือ
"มัธยมประเทศ" แล้ว ซึ่งมีชาวชนอยู่ ตลอดถึงจัมปากรัฐ ต่อจากนั้นก็ถึงดินแดนทอง หรือ ไทยทวาลาว ซึ่งท่านเขียนเป็นภาษามคธว่า "ทฺวารวติ"
ก็คือที่เป็นชื่อคําภาษาไทยว่า กรุงเทพทวารวดี หรือ กรุงเทพทวาราวดี นั่นเอง ก็เจริญรุ่งเรืองมาตามที่มีพระพุทธองค์ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ๒
พระองค์ ซึ่งวางระบบ "ศีลธรรม" และ "ยุติธรรม" เป็นแบบแผนอยู่
ถึงแม้จะเสื่อมเซือยสูญหายไปก็ตาม กระนั้นเค้าความหลักฐานก็มีอยู่ เช่น ศีล ๕ หรือ นิจศีล ก็ยังมีอยู่ ซึ่งมีดาบส ฤษี ชี ผ้าขาว ฯลฯ
ประพฤติกันมาแล้ว แม้จะมิใช่ธรรมวินัยแท้ หรือศีลธรรมตลอดก็ตาม แท้ที่ จริงบางส่วนก็ชื่อว่ายังมีอยู่ และจํานวนมากก็ได้ฌาน สมาบัติ อภิญญา ก็มีอยู่
ในด้าน อาณาจักรแถนไทย หลังกาล "ยุคมิคสัญญี" แล้ว ก็ได้เปลี่ยนชื่อว่า แถน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า แผน หรือ แผนไทย หรือ
ไทยแผน ได้มีการสร้างบ้านเมือง ทํานาค้าขาย ประดิษฐ์ทําเครื่องมือเครื่องใช้ จึงเป็นวิชาชีพ ต่าง ๆ แต่งตั้งกฎหมาย ระบบการปกครอง ทั้งตนเองและอื่น ๆ
ตลอดถึงบ้านเมือง ค้นหาให้มีเป็นวิทยาการต่าง ๆ
และก็ยังมีการกระทําคิดค้นหาสิ่งเล้นลับ เช่น กฎธรรมชาติที่เป็นอยู่และแน่นอน รู้จักคุณภาพของหิน แร่ ธาตุ ยางประสาน สารไม้ สารรส สารดิน น้ำ ลม ไฟ อาย
(อากาศ) ซึ่งเป็นหลักการแล้ว ก็ได้นํามาประสม, ปน, ก่อสร้างเป็นตึกอิฐ ตึกดิน ปราสาท วิมาน หอห้อง หอคอย หอรบ ผนัง กําแพง คันคู บ้านเรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ
รู้จักเก็บ รู้จักตากแห้ง รู้จักสร้างสม สร้างใหม่ รู้จักปั้นเคลือบเผา, อบ, ปิ้ง, ย่าง, ตากแห้ง
ยิ่งกว่านั้นยังได้คิดค้นหา ลายสือ เดิม ซึ่งสูญหายไปคิดค้นขึ้นใหม่ ทั้ง ตัวเลข ใช้จด ข้อความและจํานวนจํา ตลอดกระทั่งทําหลักฐาน คํานวณ
ทําระยะ หรือกําหนดการต่าง ๆ รู้จัก เอาแร่ธาตุมาตั้งเป็นมาตรามูลค่าแลกเปลี่ยน ซื้อขายกัน กระทั่งคิดยวดยานเครื่องใช้ต่าง ๆ และศิลปวิทยาการ จึงมีโรงเรียน
โรงหมอ ร้านค้า ถนนหนทาง บ้างก็สลักภูเขาทําบ้านเมือง ก็มี ซึ่งนับได้ว่าเจริญตลอดกัน การไปมาหาสู่ ก็มีเป็นประจํา
เพระเหตุที่ได้คิดสร้างทําเรือเล็ก, เรือมาด กะสวย, เรือมาด, เรือยาว, เรือสําเภา, รู้จักใช้แรงสัตว์ เช่น ช้าง ม้า งัวควาย คิดสร้างทําเกวียน ระแทะ
ตะเฆ่ รถ กระทั่งรู้จักให้แรงธรรมชาติ เช่น แรงลม ใช้ใบ ใช้กังหัน ใช้ไฟหุง, ต้ม, ปิ้ง, เผา, ดินใช้ปั้น ปลูก ทําถนน ฉาบ ทา ประสาน เผาเครื่องใช้ ใช้กิน
และทดน้ำเอาไปใช้ กระทั่งใช้แรงเครื่องยนต์ เครื่องกล แม้เครื่องใช้ทุกอย่างในกาลนี้ก็ยังใช้ธาตุ๔ เหล่านี้ตลอดทุกชนิด
และก็จากกาล "ยุคมิคสัญญี" มาแล้ว ก็มี พ่อขุนแผนเมืองฟ้า กับ ดวงขวัญใจ ซึ่งได้ออกมาจากที่หลบ "มิคสัญญีภัย" รอดพ้น มาได้นั้น
ต่างก็ได้ร่วมกันยกขึ้นเป็น พ่อขุน-แม่ขุน (ผู้นํา) จึงได้นําเพาะปลูกทําขึ้นเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตแล้ว จึงนําปลูกบ้านสร้างเมืองขึ้น
ได้อยู่อาศัยกันแล้ว ต่างได้เรียกกันเป็น ประจําว่า "พ่อขุน-แม่ขุน" จึงเป็น "พ่อขุนแผน เมืองฟ้า" "แม่ขุน หรือ ขุนหญิงดวงขวัญใจ"
ตลอดมา
เมื่อมีความเจริญมากขึ้นต่างก็บุกเบิกตัดต้นไม้ ถางป่า ขยายให้กว้างขวางออกไปแต่ละแห่งแต่ละด้าน กระทั่งทะลุถึงกันเจอกันแล้ว
จึงได้ติดต่อไปมาหาสู่กันจึงแลกเปลี่ยน ครั้นมากเข้าก็ถางป่า รานไม้ จับงัวควาย เก้ง กวาง ช้าง ม้า มาใช้งาน และเป็นที่บรรทุกขนส่งกับ ขับขี่เดินทางไกล
ทั้งยังค้นไปถึง ทรงสาง หรือ ร่างแสง อันเป็นโลกอื่น กระทั่งทราบชัดถึงสรวงสวรรค์ ได้สนับสนุนและยกย่องส่งเสริม
กระทั่งเป็นที่รู้และกระทําได้ตลอดกัน
จึงเป็นระบบแบบไทยซึ่งยังอยู่ประจํามาแล้ว ได้บําบวง บวงสรวง "ท่านต้น" ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่างก็ได้ทราบกันว่า ทุกคนที่ตายไป แล้วก็ได้ลอยเกิดเป็น
ร่างแสง ก็คือ ทรงสาง หรือ ผีสาง จ้าวพ่อ จ้าวแม่ จ้าวต้นขุน จ้าวต้นขุนหญิง ซึ่งเป็นผีฟ้าแสง หรือแสงหล่น จ้าวที่ จ้าวทุ่ง จ้าวท่า จ้าวเขา จ้าวไร่
จ้าวนา จ้าวบ้าน จ้าวเมือง จ้าวกรุง จ้าวพระกาฬไชยศรี จ้าวพระทรงเมือง จ้าวพระเสื้อเมือง จ้าวพ่อขุนตาย หรือ จ้าวพ่อเจตภุก ตลอดถึงต้นขุนสรวง ต้นแม่นางสาง
ต้นปู่ย่าแถน ต้นพ่อขุนแผน ดวงขวัญใจ และต้นผู้ทําอะไรได้ ก็ยกขึ้นเป็น ขอม, บา (ครูบาอาจารย์)
ทั้งนี้ พ่อขุนแผนเมืองฟ้า ได้สร้างวางขึ้น ใช้ชื่อว่า "แผน" ที่ให้เป็นแบบระบบ "บวงสรวง" หรือ "บําบวง" เชิญมางานเชิญมาทําขวัญต่าง ๆ
ได้สร้างเฉพาะเช่น ร้านสาง หรือศาลเพียงตา เรือนสาง หรือศาลจ้าว ศาลพระภูมิ โต๊ะ เครื่องบําบวง (โต๊ะบูชา) พานบูชา ตะลุ่มบูชา กะบะบูชา โตกบูชา บัดพลี
บายศรี กับร่มฉัตร ได้วางแผนกระทําเป็นแบบ เช่น แบบยืนไหว้ ก้มไหว้ ก้มค้อมคํานับ หรือก้มคํานับ นั่งไหว้ นั่งกราบ และคุกเข่ากราบ
ได้วางสร้างแผนคําแต่งเป็นคํากล่าว บวงสรวง บําบวง (บูชา) บนบาน เช่น ขอบวงสรวง บวง บูชา แต่วางแผนคํานอบน้อม เช่น ขอนอบน้อม น้อมไหว้ ขอไหว้ เป็นต้น
และวางแผนแต่งคําเชิญ หรือคําเชื้อเชิญ เช่น "เชิญเอย... ขอเชิญ..." กับวางแผนคําอ้อนวอน คําขอร้อง คําขอพร เช่น ขอโปรดเอ็นดู ขอได้อํานวยอวยโชคชะตา
ขอให้เจริญงอกงาม ขอให้สําเร็จ ขอจงประสิทธิ
พร้อมกับแผนเป็นแบบระบบกระทํา เช่น แบบแผนแรกนาขวัญ หรือ พิธีแรกนาขวัญ ก็คือเอามื้อแรกนาขวัญนั่นเอง แบบแผนบําบวง แม่โพสบ
กระทําทั้งบูชาและสังเวย เป็นแบบแผนพิธีสังเวย แม่ย่านาง กระทําบัดพลี เครื่องบวงสรวงสังเวย ทั้งคําเชิญคําฝาก "แม่ย่านาง"
กระทําเครื่องบายศรีบวงสรวง และแต่งคําเชิญขวัญ เป็นแบบแผนเชิญขวัญหรือสู่ขวัญ ตลอดกระทั่งทําขวัญเสา ทําวันเกิด โกนผมไฟ โกนจุก กระทั่งวันตาย
ทั้งตั้งดอกไม้ ธูปเทียน เวียน เทียน ดอกไม้ไฟ พลุ พราวเนียง ช่อระทา กังหันไฟ ฯลฯ
ซึ่งเป็นความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา ณ ชมพูทวีป มัชฌิมชนบท ต่างก็ได้มีระบบแบบขึ้น เช่น กฎหมายและธรรมพรต ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และลัทธิพิธีการ
ทั้งยัญพิธี หรือ พิธีไสยศาสตร์มากมาย ที่จัดเป็นความเจริญรุ่งเรืองตลอดกันได้มีขึ้น และสร้างสรรสืบต่อกันมาตลอด
และกาลชีพอายุมนุษย์ก็ลดลงมาถึงกาล มีอายุ ๒ หมื่นปีเป็นอายุขัยนั้น พระกัสสปบรมโพธิสัตว์มหาบุรุษ ได้อุบัติขึ้น ได้ครองฆราวาสอยู่ ๒ พันปี
จึงออกมหาภิเนษกรมณ์ ได้ทรงทําความเพียรแล้วได้ตรัสรู้ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธองค์เป็นที่ ๓ นับแต่ พระกุกกุสันธะ มาในภัทรกัปนี้ ได้แสดง "พระ
ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร" ปฐมเทศนาจบแล้ว มีพระอรหันตสงฆ์เป็นบริวารครบพระรัตนตรัยแล้ว ได้เสด็จจาริกโปรดเวไนยชนตลอดชมพูทวีปมัชฌิมชนบท ถึงจัมปากรัฐและ
"แผนไทยชนบท"
◄ll กลับสู่ด้านบน
พิธีการแต่งงานแบบไทยมีมานานแลัว
เมืองไทยหรืออาณาจักรไทยแผนนั้น พ่อขุนแผนก็ได้ปกครองกันสืบ ๆ มา ผู้ที่ได้เป็น "พ่อขุน" ก็ขนานชื่อว่า ขุนแผนเมืองฟ้า แม่หญิงใดที่ได้ขึ้นที่
"ขุนหญิง" ก็มีชื่อว่า ดวงขวัญใจ ตลอดมาแล้ว กระทั่งถึง "ขุนแผนเมืองฟ้า" ชื่อ ไทยสกาว กับ "ขุนหญิงดวงขวัญใจ" ชื่อ ขวัญใจ และ
"ขุนหญิงจวงแจ่มใจ" ชื่อ แจ่มใจ นั้น ทั้งสองนี้ได้ขึ้นที่ "ขวาซ้าย" ต่างก็มีลูกชาย หญิงด้วยกันคือ
"ขุนหญิงดวงขวัญใจ" มีลูกชายชื่อ ชาญ ฟ่องฟ้า และมีลูกหญิงชื่อ ฟ้าส่องแสง "ขุนหญิงจวงแจ่มใจ" มีลูกหญิงชื่อ เฉิมพรฟ้า
มีลูกชายชื่อ กล้าก่องแก้ว ต่างก็เจริญวัยขึ้นเป็นหนุ่มสาวตามกาลแล้ว ทั้งเป็นกาลเหมาะสมที่จะพึงกระทําตามระบบแบบแผนที่ตกทอดสืบกันมานั้น
พ่อขุนแผนก็ได้กระทําตามระบบแบบแผนที่มีสืบต่อกันมานานแล้วนั้น มองเห็นพี่น้องต่างแม่กันนั้น ได้มีสนิทสนมกลมเกลียวกันดีเสมอมา
ทั้งได้ทะนุถนอมประคับประคองกันตลอดมา จึงตกลงใจกระทําตามระบบแบบแผนที่มีมา จึงได้ซักถามทราบความแล้ว พร้อมทั้งพ่อแม่ญาติพี่น้องจึงตกลงที่จะจัดแจง
จึงกําหนดเห็นชอบพร้อมกันว่าตั้ง ชาญฟ่องฟ้า เป็น "ขุนแผนเมืองฟ้า" กับตั้ง เฉิมพรฟ้า เป็น "ขุนหญิงดวงขวัญใจ" ครองสืบต่อไป ตั้ง
กล้าก่องแก้ว เป็น "ขอมบาไทย" เป็นที่รอง ปกครองบ้านเมืองไทยสืบต่อไป จึงได้ตระ เตรียมพิธีการอันใหญ่นั้น ๆ
จึงสร้างเรือนยาว ๙ ห้อง ณ ตะวันออก ๑ ใต้ ๑ ตะวันตก ๑ เหนือ ๑ ตรงกลางสร้างเป็นหอนั่งประชุมเป็นเรือนหอ ๒ หอเหมือนกัน หอใต้ให้เป็น หอวังขุนแผน
หอเหนือให้เป็น หอวังขอมบา สร้างนอกหอวังเดิม จึงเป็นการขยายเมืองออกไป และทั้งสองหอนั้นได้สร้าง ห่างกัน ๓ เส้น
ที่ ๑ เส้นนั้นได้สร้างเป็นท้องโรงกว้างใหญ่เต็มที่ ๑ เส้นนั้น ทําพื้นยกเป็นที่นั่งประชุม และยกพื้นเป็นที่นั่งแต่งงานเท่ากันและเหมือนกัน
สร้างเครื่องแต่งตัวชุด "ขุนชาย-ขุนหญิง" และชุด "ขอมชาย-ขอมหญิง" ประดับดวงแก้ว และดอกไม้ทองคํา ให้สร้างให้เหมือนกันตลอด ถึงรัดเกล้ายอดและเกือกยอด
แม้พวงเปียจอน ก็ให้ใช้ทองคําทําเป็นดอกจําปีประดับแก้วพริบพลี
ให้สร้างบายศรีทองคํา ๕ ชั้น ให้สร้างผ้ายกทองหุ้มบายศรีต้นทั้งคู่นั้น ให้สร้างเครื่องแบบหมอหลวงทําขวัญ ให้ใช้ทองคําเป็นช่อดอกไม้ ประดับขอบคอ ขอบแขน
ขอบหน้า ขอบเชิง ให้กระทําพานทองรองขันทองรองน้ำหลั่งนั้น ให้ใช้สังข์เรี่ยมฉลุทองคําเป็นเครื่องหลั่งน้ำ ได้จับมงคลคู่ และได้จัดผอบแป้งเจิมพร้อมด้วย
ครั้นเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว และถึงกาลที่ได้กําหนดไว้แล้ว จึงให้มีการเล่นและเลี้ยงกันเป็นเวลา ๓ วัน ณ วันที่ ๔ มักให้ตรงกับวันศุกร์
เมื่อประชุมกันพร้อมแล้ว คู่หนุ่มสาวได้แต่งตัวชุดนั้น พร้อมเพื่อนหนุ่ม-เพื่อนสาว และขบวนแห่ ก็ได้เคลื่อนมายังท้องโรงใหญ่นั้น
พระเจ้าพ่อขุน-พระเจ้าแม่ขุนได้นั่งรออยู่แล้ว หมอหลวงนั้น ได้เดินเข้ารับและพามายังที่นั่ง นั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว
พระเจ้าพ่อขุนแผนได้ลุกขึ้นยืน ทุกคนทั้งคู่แต่งงานด้วยลุกขึ้นยืนพร้อมกัน พระเจ้าพ่อขุนได้กล่าวประกาศตั้ง เจ้าชายฟ่องฟ้า เป็น
"ขุนแผนเมืองฟ้า" ตั้ง เจ้าเฉิมพรฟ้า เป็น "ขุนหญิงดวงขวัญใจ" ตั้ง เจ้ากล้าก่องแก้ว เป็น "ขอมเมืองกล้าก่องแก้ว" ตั้ง เจ้าฟ้าส่อง
แสง เป็น "ขอมหญิงฟ้าส่องแสง"
ได้รับรัดเกล้ายอดสวมแล้ว ใช้แป้งเจิมให้ทุกองค์แล้วได้ประกาศแต่งงาน "ขุนแผนเมือง ฟ้า" กับ "ขุนหญิงดวงขวัญใจ" (เฉิมพรฟ้า) และ
"ขอมเมืองกล้าก่องแก้ว" กับ "ขอมหญิง ฟ้าส่องแสง" แล้วได้รับมงคลคู่ สวมให้ทั้งสองคู่นั้น เมื่อได้รับหอยยอดใหญ่เรี่ยมฉลุทองคํา
จ้วงน้ำแล้วหลั่งลงบนมือคู่ครองนั้น ๆ เสร็จแล้ว หมอหลวงได้กระทําพิธีเบิกบายศรี กล่าวคําทําขวัญคู่ครองหรือบ่าวสาวแล้วได้จุดเทียน ณ
แว่นเวียนตลอดแล้วส่งให้ "ต้น"
"ต้น" รับใช้อุ้งคู่มือประคองด้ามแว่นยกขึ้นแค่ทรวง วงโค้งลงนอกแล้วยกขึ้นด้านใน ๓ รอบ บางทีก็รอบเดียว ตอนขึ้นนี้ ถ้ารอบเดียว ก็ใช้มือซ้ายจับไว้
มือขวายกขึ้นเหนือเปลวเทียน โบกควันเทียนไปทางคู่มงคลสมรสนั้น พร้อมกับออกคําอวยชัยให้พร อย่างนี้ตลอดวงประชุมนั้น อย่างนี้เรียก
เวียนเทียนทําขวัญแต่งงาน หรือ "เวียนเทียนทําขวัญบ่าวสาว"
บางทีก็หลั่งน้ำอย่างเดียว ถ้าใช้สังข์ก็เรียก "หลั่งน้ำสังข์" ถ้าใช้ขันหลั่งก็เรียก "หลั่งน้ำ" เฉย ๆ ถ้าสาดน้ำก็เรียกว่า "ซัดน้ำ"
บางทีก็ทําสายสิญจน์ตัดเป็นท่อนยาวประมาณ ๑ คืบ ใช้ผูกข้อมือเรียกว่า "ผูกขวัญ" บางทีก็มีหนุ่มสาววัยรุ่นคู่พระนาง มีเครื่องร่ายบรรเลงให้จังหวะ
คู่พระนางต่างมีมือ ซ้ายถือพานข้าวตอกดอกไม้กลีบกุหลาบ ฟ้อนรําพร้อมทั้งใช้มือขวากําโปรยเหวี่ยงไป และมีการเล่นเป็นที่สนุกสนานรื่นเริงกัน กระทั่งเย็น
จึงเลี้ยงอาหารกัน ตกกลางคืนได้ส่งตัวสู่หอ แล้วเป็นอันเสร็จลงด้วยดี
จากนั้น "พ่อขุน-แม่ขุนหญิงเดิม" ก็เลื่อนขึ้นเป็น "พระเจ้าพ่อขุน-พระเจ้าแม่ขุน" ส่วนที่ทํางานนั้นก็เป็นที่เดิม ขุนแผนเมืองฟ้า และ
ขอมบาไทย ได้มาทํางานตามที่เคยมาทุกอย่าง "พระเจ้าพ่อขุน-พระเจ้าแม่ขุน" ได้มาดูแลความเรียบร้อยเสมอมาตลอด ๖ เดือนนั้น
ทุกอย่างก็เป็นระเบียบเรียบร้อยดีตลอดกาล
ในกาลนั้นทางชมพูทวีปมัชฌิมชนบท พระกัสสปทศพล ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธองค์แล้ว ได้ตรัส "ปฐมเทศนา" และได้วางพระศาสนาแล้ว
ได้เป็นพระรัตนตรัย กับมีบริษัท ๔ ครบบริบูรณ์แล้ว พระกิตติคุณได้แพร่ไปตลอดแล้ว ซึ่งมีพุทธพรรษาได้ ๑ หมื่น ๑ พันปี ชนมายุได้ ๑ หมื่น ๔ พันปีแล้ว
พระเจ้าพ่อขุนแผนเมืองฟ้าเห็นประจักษ์แจ้งชัดลูกทั้ง ๔ นั้น ซึ่งตั้งอยู่ในหน้าที่ดีตลอด ทั้งประชาราษฎร์ ก็ชื่นชมสาธุการทั่วกัน
ไม่มัวเมาในอธรรมศักดิ์อับศรีไร้เกียรติคุณ และสดชื่นดีในยุติธรรม และทรงทศพิธราชธรรม ตามที่พระกัสสปทศพลประกาศแล้ว
ประชาชนได้ปฏิบัติรักษาศีลประพฤติธรรมทั่วไป ได้ทรงทราบชัดอย่างแน่แท้แล้ว จึงคิดว่าได้หลุดพ้นจากราชภารธุระแล้ว เพราะทรงตั้งปณิธานปรารถนาพระโพธิญาณ
และทรงบําเพ็ญพระบารมีทางทศพิธราชธรรมครบมาแล้วตลอดกาลนั้น จึงคิดว่าจะออกไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อจะได้ฟังพุทธพยากรณ์ เช่น "โพธิอํามาตย์" นั้น
ถึงกระนั้นก็ได้ล่าช้ามิได้ฉับพลัน เหมือนท่านอื่น ๆ จึงชื่อว่ายังไม่พร้อมด้วยองค์คุณ ซึ่งกรรมบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้น จึงพร้อมทุกประการไม่ได้
ครั้นตระเตรียมพร้อมแล้ว จึงสละทั้งราชอาณาจักรและราชสมบัติ ถือผนวชครองขาวแล้ว จึงเสด็จดําเนินไปถึงพระมหาวิหาร ได้เข้าเฝ้าและอาราธนาให้แสดงธรรมว่า
"พระองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สละราชสมบัติ บุตรภรรยา ยศ สมบัติ ครองเรือนทุกประการ เพื่อสําเร็จพระโพธิญาณในอนาคต
ขอพระองค์ได้ทรงโปรด แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "น้องเราผู้พุทธางกูร ตถาคตรออยู่หนึ่งหมื่นกับพันปีแล้ว หากกรรมบันดาลให้เป็นไป จึงมีเหตุให้เป็นไปอย่างนี้
จึงไม่มีองค์คุณยอดสูงสุดคือ พระอรหันต์ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ ไม่มีในกาลนี้ และในการเช่นนี้ ผู้เป็น "นิยตบรม โพธิสัตว์" แล้ว
จึงยังไม่ลุถึงองค์คุณยอดสูงสุด
น้องเราได้อธิฐานสําเร็จเป็นเพศดาบส ผนวชแล้ว ได้เจริญฌานสมาบัติให้เกิดขึ้นแล้ว จงอุปสมบทเป็นภิกษุในธรรมวินัยนี้แล้ว
จงประพฤติวิสุทธิธรรมให้บริสุทธิ์ จะเป็นอุปนิสัยให้ลุถึงองค์คุณยอดสูงสุดนั้นพร้อมสมบูรณ์
ในกาลว่างพระศาสนาระหว่างพุทธันดรนี้ กับพุทธันดรพระโคดมสัมมาสัมพุทธองค์ ในกาลนั้น น้องเราจะได้เกิดเป็น นันทมาณพ พาณิช
เป็นพ่อค้าได้เที่ยวค้าขายได้ผลกําไร เป็นทรัพย์สมบัติมากแล้ว และยังเที่ยวค้าขาย อยู่ในกาลนั้นมีพระปัจเจกพุทธองค์ ๕๐๐ องค์
องค์หนึ่งได้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว คิดว่าจะไปโปรด จึงได้เดินเที่ยวบิณฑบาตมาตามทางนั้น ซึ่ง นันทมาณพ ได้เห็นแล้วเกิดความเลื่อมใสขึ้น
จึงยกผ้ากัมพลแดงผืนหนึ่งกับทองแสนตําลึง กระทําเป็นเครื่องไทยทานถวายแล้ว จึงได้ตั้งปรารถนา พระปัจเจกพุทธองค์จะอนุโมทนา ทั้งจะมี "กุมารีสาว"
คนหนึ่งจะถวายผ้าห่มแล้วปรารถนาร่วมด้วย
ครั้งนั้น น้องจะได้ผลองค์คุณยอดสูงสุดครบบริบูรณ์ บัดนี้ กาลยังไม่พร้อมจงบวชเป็นภิกษุเถิด จึงตรัสให้เป็น "เอหิอุปสมบท" เป็น "เอหิภิกขุ" แล้ว
ครั้นเป็นภิกษุแล้วก็ได้กระทําความเพียรทาง วิสุทธิธรรม ๗ ครั้งถึง สัจจานุโลมิกญาณ ก็หยุดยั้งอยู่แค่นั้น เมื่อ โชติปาลมาณพ
(พระสมณโคดมคราวเสวย พระชาติเป็นพระโพธิสัตว์) บวชแล้วก็ได้ดําเนินธรรมปฏิบัติร่วมกัน ถึงอายุขัยแล้วต่างก็ไปเกิด ตามคติวิสัยชั้นดุสิตภพ
พระผู้มีพระภาคพระกัสสปสัมมาสัมพุทธองค์นั้น ในกาล ๕ พันปีหลังเป็นปัจฉิมกาล ได้ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อศาสนธรรมวินัย จะได้คงอยู่ตามกาลที่สมควร
จึงมีบริษัท ๔ คือ พระภิกษุ พระภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ครบบริบูรณ์แล้ว เมื่อมีพระชนมายุครบ ๒ หมื่นปีแล้ว ก่อนที่จะปรินิพพานทรงมีพระพุทธ
ประสงค์มิให้พระบรมสารีริกธาตุกระจาย พระองค์จึงทรงอธิษฐานให้เป็นแท่งทึบสถิตอยู่
พระบรมธาตุเจดีย์ทองคำ
ครั้นเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ก็ได้ถวายพระเพลิงแล้วก็สถิตอยู่อย่างนั้น บริษัท ๔ จึงประชุมพร้อมกันสร้าง สุวัณณเจดีย์ คือ
พระเจดีย์ทองคําเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ ในกาลที่กําลังสร้างนั้น ธรรมบท เรื่อง ชฏิลัตเถรวัตถุ ได้เล่าว่า
ในครั้งที่สร้าง พระสุวัณณเจดีย์ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุยังค้างอยู่นั้น พระอรหันตมหาขีณาสพเถระองค์หนึ่ง
ไปสู่ฐานพระเจดีย์มองดูแล้วถามว่า มุขทิศเหนือพระเจดีย์ทําไมไม่สร้าง ได้ยินบอกว่า ทองคําไม่พอ ได้กล่าวกับพวกเขาว่า เราจะเข้าไปสู่บ้านแล้ว
เที่ยวชักชวนเอง ท่านทั้งหลายได้เอื้อเฟื้อ กระทําเถิด
ท่านกล่าวแล้วจึงเข้าไปสู่นครชักชวนมหาชนว่า ญาติโยมทั้งหลายพระเจดีย์ของพวกเรา ณ มุขหนึ่งทองคําไม่พออยู่ ขอพวกท่าน จงรู้ทองคําเถิด
ท่านกล่าวอย่างนี้กระทั่งถึงตระกูลช่างทอง ในขณะนั้นนั่นเองช่างทองกําลังนั่งทะเลาะกับภรรยาอยู่ พร้อมกับที่พระเถระ กล่าวว่า ทองคํา ณ
มุขที่พวกท่านจะเอาเข้า สร้างไว้ในเจดีย์ยังไม่พอ ควรรู้ร่วมกันเถิด ดังนี้ เพราะโกรธนั้นเขาจึงกล่าวว่า
"จงโยนพระศาสดาของท่านลงน้ำไปเถิด" ดังนี้แล้ว พลันนั้นภรรยาได้กล่าวว่า "เธอได้กระทํากรรมหุนหันพลันยิ่งนัก
เพราะโกรธฉันก็ควรด่าว่าหรือทุบตีเฉพาะฉัน เพราะเหตุไรจึงได้กระทําเวรในพระพุทธเจ้า ทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบันแล้ว" ช่างทองได้เกิดสังเวชพลัน
ได้เข้าไปหมอบใกล้บาทมูลพระเถระแล้วกล่าวว่า
"กระผมขอขมาโทษเถอะครับ" ดังนี้แล้ว พระเถระกล่าวว่า "โยมท่านไม่ได้กล่าวอะไรกับอาตมา โปรดขอพระศาสดาให้อดโทษเถิด" ดังนี้แล้ว เขาได้ถามว่า
"กระทําอย่างไรจึงจะให้พระองค์อดโทษได้ครับ" ได้ฟังท่านกล่าวว่า
"จงทําพุ่มดอกไม้ทอง ๓ พุ่ม บรรจุเข้า ณ ที่บรรจุพระบรมธาตุข้างในนั้นแล้ว จงทําผ้าแต่งตัวให้ชุ่มน้ำ ชุบผมให้ชุ่มน้ำแล้วให้พระองค์ อดโทษเถิดโยม"
ดังนี้แล้วได้รับคําท่านว่า "ดีละครับ" ดังนี้
ครั้นรับคําแล้ว เมื่อจะทําพุ่มดอกไม้ทอง ก็ลูกชายทั้ง ๓ คนนั้น ได้เรียก "ลูกคนโต" มาก่อนแล้วกล่าวว่า
ลูกรัก...พ่อได้กล่าวคํามีเวรกะ พระศาสดาแล้ว ฉะนี้ จึงต้องทําพุ่มดอกไม้ทองเหล่านี้ เอาบรรจุในภายในที่บรรจุพระบรมธาตุ แล้วจักขอขมา
เจ้าจงเป็นเพื่อนร่วมทําเถิด ดังนี้ แล้วได้ฟังลูกตอบว่า ผมไม่ได้ใช้ให้กล่าวคํามีเวร คุณพ่อทําเองเถิด ดังนี้แล้ว จึงเรียก "ลูกคนกลาง"
มาแล้วก็กล่าวชวนอย่างนั้น ก็ได้ฟังคําตอบอย่างนั้น ไม่ต้องการทําเช่นเดียวกัน
จึงเรียกลูกคนเล็กมาแล้วได้กล่าวชวนเช่นนั้น ซึ่งได้ฟังคํากล่าวว่า กิจที่เกิดขึ้นแก่พ่อ ย่อมเป็นภาระของลูกด้วย จึงเป็นเพื่อนร่วมช่วยกระทํา
ช่างทองได้กระทําพุ่มดอกไม้ ๓ พุ่มนั้น สูงประมาณคืบหนึ่งให้สําเร็จแล้ว ได้บรรจุเข้าภายในที่บรรจุพระบรมธาตุแล้ว ได้ชุบผ้าชุบผมให้เปียกชุ่มน้ำแล้ว
ได้ขอขมาพระบรมศาสดา...
◄ll กลับสู่ด้านบน
kittinaja - 21/11/08 at 20:01
Update 3 พ.ย. 51
ชฎิลเศรษฐี
ในครั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้ เขาจึงได้ถูกปล่อยน้ำไปในกาลเกิดถึง ๗ ครั้ง ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายเขาได้เกิดเป็นบุตรของพาราณสี เศรษฐีธิดา
ซึ่งเศรษฐีธิดานี้เมื่อเป็นสาวก็ถูกบิดามารดาส่งขึ้นไปให้อยู่ ณ ปราสาทชั้นที่ ๗ วันหนึ่งนางได้เปิดหน้าต่าง ก็พอดีกับ วิทยาธร องค์หนึ่ง
เหาะมาเห็นแล้วจึงเข้าไปร่วมรักด้วยเสมอ
ต่อมานางได้มีครรภ์ครบกําหนดแล้วก็ได้คลอด จึงให้นางทาสีไปหาภาชนะผอบใหญ่มาแล้ว จึงให้ทารกนอนข้างในได้ปิดฝาครอบแล้ว
จึงวางพวงดอกไม้ข้างบนแล้วสั่งทาสีว่า เจ้าจงใช้ศีรษะทูนภาชนะนี้ไปปล่อยให้ลอยไปแม่น้ำคงคา และถ้าใครถามก็จงบอกว่า พลี กรรมของนายหญิง
สั่งแล้วนางทาสีก็ได้กระทําตามที่สั่งนั้น
กาลนั้นทางใต้แม่น้ำคงคา หญิงสองคนกําลังอาบน้ำอยู่ ได้เห็นภาชนะผอบลอยน้ำมา แล้ว คนหนึ่งกล่าวว่าภาชนะของฉัน อีกคนหนึ่ง กล่าวว่าของข้างในของฉัน
ได้เก็บขึ้นมาเปิดดู แล้วจึงเห็นเด็ก ต่างเถียงกันอยู่ไม่อาจตกลงกันได้ แม้ถึงศาลก็ไม่สามารถตัดสินได้ จึงเข้าเฝ้าพระราชาทรงตัดสินให้แล้ว หญิงคนที่ได้เด็ก
เป็นอุปัฏฐายิกาของ พระมหากัจจายนะ ได้เลี้ยงไว้เพื่อให้บวช เพราะไม่ได้อาบน้ำชําระล้างมลทินครรภ์ในวันเกิด ผมจึงหยิกยุ่ง จึงให้ชื่อว่า ชฏิล
แล้ว
ครั้นใหญ่โตเดินได้แล้ว จึงนําไปถวายพระเถระ ซึ่งท่านก็ได้มองเห็นว่ามีบุญมาก จะได้เสวยสมบัติยิ่งใหญ่ จึงนําไปฝากอุปัฏฐากคนหนึ่ง ณ เมืองตักสิลา
ซึ่งมีเพียงลูกสาว ก็ได้รับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
ครั้นเจริญวัยแล้ว วันหนึ่งพ่อค้านั้นมีธุระไปที่อื่น จึงให้ "ชฏิล" นั้นขายแทน ได้บอกราคาไว้ตลอดทุกอย่าง วันเดียวนั้นขายได้หมด
บิดากลับมาได้ฟังและเห็นสินค้าหมดร้านแล้ว ได้แน่ใจว่าคนนี้เป็น "อนัคฆบุรุษ" ซึ่งมีคุณค่าสําคัญมาก ทั้งได้เห็นว่ามีวัยสมควรแล้ว
จึงยกลูกสาวคนเดียวนั้นให้ กับได้ปลูกเคหาสน์ใหม่ให้ด้วย
ในวันขึ้นบ้านใหม่ "ชฏิล" พอก้าวเท้าเหยียบธรณีเท่านั้น ภูเขาทองคําสูงประมาณ ๘๐ ศอกก็ได้ทําลายพื้นดิน ณ ส่วนหลังเรือนนั้นตั้งขึ้นแล้ว
พระราชาทรงทราบจึงพระราชทานเศรษฐฉัตรตั้งให้ จึงได้เป็น ชฏิลเศรษฐี แล้ว ต่อมาได้มีลูกชาย ๓ คนเจริญวัยแล้ว
ได้ส่งคนไปสืบเศรษฐีและสมบัติเศรษฐีที่ยิ่งกว่า นักข่าวต่างก็ได้นําข่าวมหาเศรษฐีและมหาสมบัติ เศรษฐี เช่น เมณฑกเศรษฐี และ
โชติกเศรษฐีเป็นต้น มาแจ้งให้ทราบ
จึงเรียกลูกชายทั้ง ๓ มาแล้วส่งจอบให้ไปขุดภูเขาทองนั้น มีลูกชายคนเล็กเพียงคนเดียวที่ขุดได้ จึงบอกเป็นโอวาทว่า
มีลูกคนเล็กคนเดียวที่ได้ทําบุญร่วมกันมา ครั้นโอวาทแล้ว จึงออกไปอุปสมบทและได้บรรลุอรหัตผลไม่นานนัก มีชื่อว่าพระชฎิลัตเถระ ในพระศาสนา
พระสมณโคดมในกาลบัดนี้
ในระหว่างกาลพระศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธองค์ กับกาลพระศาสนาของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จึงเป็นกาลว่างพระศาสนา
คือกาลพระกัสสปพุทธันดรได้สิ้นสุดลงแล้ว ส่วนกาลพระโคดมสัมมาสัมพุทธ ศาสนาก็ยังไม่ถึง จึงเป็นกาลว่างพระพุทธองค์
ถึงกระนั้นพระธรรมของพระผู้มีพระภาคพระกัสสปทศพลนั้นก็ยังมีอยู่ เช่น
พระคาถาที่ นันทบัณฑิต นํามาแสดงแก่ พระเจ้าสุตโสมบรมโพธิสัตว์ และพระคาถา
คําถามและคําตอบ ที่พระผู้มีพระภาคพระกัสสป ทศพลตรัสประทานแก่บุรพชนของ อาฬวกยักษ์ ถึงคําตอบจะหายไป แต่ที่เป็นคําถามนั้นยังมีอยู่
ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระสมณโคดมได้ตรัสเป็นคําตอบทั้งหมด จึงเป็นต้นเรื่องให้มี อาฬวก สูตร ขึ้นแล้ว
ความเป็นมาของป่าอิสิปตนมิคทายวัน
และในกาลว่างนี้ ยังมีชื่อปรากฏอีกแห่งหนึ่งคือ อิสิปตนมิคทายวัน อันแปลว่า ป่าเป็นที่พระราชทานอภัยแก่สัตว์เนื้อ อันเป็นที่ซึ่ง
พระฤษีลอยขึ้น คําชื่อต้นว่า อิสิ อันแปลว่า ฤษี ซึ่งสมัยกาลนั้นมหาชนยังเรียกพระปัจเจกพุทธองค์ว่า อิสิ ก็คือ ฤษี
ก็ครั้งนั้นกุลบุตร ๕๐๐ ได้สําเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธองค์แล้ว (บางแห่งว่า องค์หนึ่ง เป็นลูกชายของพระนางมหาปชาบดีหัวหน้า) คราวแรกได้ไปอยู่ ณ
ถ้ำนันทมูลบรรพต ต่อมาหวังจะโปรดทาสี ๕๐๐ ได้เหาะลอยมาลงป่าอิสิปตนมิคทายวันนั้น ซึ่งทาสีเหล่านั้นมีพระนางมหาปชาบดีเป็นหัวหน้า
ได้ร่วมกันสร้างกุฏิเป็นที่จําพรรษาถวายแล้ว จึงรับอยู่จําพรรษาและก็ได้รับอาหารบิณฑบาตตลอดพรรษา
ครั้นออกพรรษาแล้วก็ได้ถวายไตรจีวรครบทุกองค์แล้วทั้ง ๕๐๐ องค์นั้นพร้อมกันแล้ว จึงลอยขึ้นแล้วได้ลอยไปสู่เงื้อมนันทมูล บรรพต ต่างได้สถิตอยู่ ณ
เงื้อมนั้น ด้วยเหตุ ที่ได้เห็นพระปัจเจกพุทธองค์ซึ่งกาลนั้น ต่าง เรียกกันว่า อิสิ ซึ่งลอยมาและกลับไป จึงต่างกล่าวกันว่า อิสิปตนะ
"ฤษีลอย"
ต่อมาอีก พระเจ้าพรหมทัต ราชาแห่งกรุงพาราณสีนั้นได้ทราบแล้ว ทั้งทรงเห็น ณ ป่านั้น มีสัตว์มากมายจึงเสด็จเพื่อล่าสัตว์ ครั้นเห็นสัตว์ต่าง ๆ
ไม่ทําร้ายกัน จึงทรงงดล่าสัตว์ ทั้งโปรดตรัสพระราชทานอภัยแก่มิคชาติทุกชนิด จากนั้นจึงมีชื่อตามที่ได้รับพระราชทานไว้นั้นว่า อิสิปตนมิคทายวัน
เป็นประจํามาตลอด ถึงกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแสดง "ปฐมเทศนา" และครั้งที่ ๒ ทั้งได้เสด็จจําพรรษาแรก ณ ป่านี้ จึงมีชื่อปรากฏใน ธัมมจักกัปป
วัตตนสูตร และ อนัตตลักขณสูตร เป็นต้น ว่า อิสิปตนมิคทายวัน "ป่าฤษีลอย อันเป็นที่ พระราชทานอภัยแก่สัตว์เนื้อ"
โตไทยพราหมณ์
ในกาลว่างพระศาสนานี้ ใน "อนาคตวงศ์" เล่าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเล่าประวัติ โตไทยพราหมณ์ ว่า ในกาลว่างพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้า ๒
พระองค์ คือ พระพุทธกัสสป สิ้นสุดลงแล้ว พระพุทธโคดม ยังไม่ได้เสด็จอุบัติตรัสรู้นั้น โตไทยพราหมณ์นี้ได้เกิดในตระกูลพาณิชมีชื่อว่า
นันทมาณพ ได้ เที่ยวค้าขายไปในที่ต่าง ๆ กระทั่งมั่งมีขึ้นพอ สมควรแล้ว
ด้วยเหตุที่ได้ตั้งปรารถนาพระสัมมาสัมโพธิญาณจึงได้บําเพ็ญบารมี ๑๐ ได้เป็นจํานวนมากแล้ว ครั้งเป็นพระราชา หรือ พ่อขุนแผน
ก็เคยได้ไปเฝ้าพระกัสสปสัมมาสัมพุทธองค์นั้น เพราะเป็น "สัทธาธิกะ" ให้ทรงเชื่อยิ่งหลายอย่าง จึงเป็นเหตุให้ล่าช้า
เมื่อไปก็เสด็จไปเพราะชรามิใช่แรงกล้า แห่งสติ และวิริยะ สัจจะ อธิษฐาน ซึ่งถือ พละญาณนั้น จึงชื่อว่าไม่ถึงพร้อมด้วยองค์คุณ
แต่สมเด็จพระพุทธกัสสปก็ทรงพระกรุณา ตรัสเป็นดุจทรงพยากรณ์ล่วงหน้าให้ทราบไว้ เพราะพระดํารัสเป็น "สัจจาธิษฐานบารมี" จึงมีผลส่งให้มีขึ้น
ในกาลนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งในจํานวนนั้น ได้เข้าอยู่ในนิโรธสมาบัติครบกําหนดแล้ว ก็ได้ออกเพื่อจะแสวงหาบิณฑบาต เพื่อเลี้ยงอัตภาพตามธรรมดาโลก
ได้ตรวจดูจึงมองเห็น นันทมาณพ ซึ่งได้รับพยากรณ์จาก พระสัมมาสัมพุทธองค์แล้ว หวังเพื่อโปรดให้สําเร็จผล จึงไปปรากฏเฉพาะหน้า
"นันทมาณพพาณิช" เห็นแล้วมีจิตเกิดศรัทธาปสาทะ คือความเชื่อเลื่อมใสเต็มที่ เพราะผลสมณธรรมที่ได้กระทําในสมัยกาลพระกัสสปสัมมาสัมพุทธองค์นั้น
เป็นเหตุให้เกิดศรัทธาปสาทะขึ้นเต็มเปี่ยมแล้ว จึงเอาผ้ากัมพลแดง กับทองคําแสนตําลึง กระทําเป็นเครื่องไทยธรรม ถวายแก่พระปัจเจกพุทธองค์เป็นมหาบริจาค
แล้วกระทําปณิธานปรารถนาว่า
"พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยแก่พระสัพพัญญุตญาณในเบื้องหน้าเถิด"
พระปัจเจกพุทธองค์ได้รับทองคําซึ่งพลันนั้น ก็กลายเป็นอาหารบิณฑบาตด้วยพุทธานุภาพ และห่มผ้ากัมพลแดงปกปิดรอบองค์แล้ว เหลือแต่หัตถ์และบาทประมาณศอกหนึ่ง
พ่อค้านันทมาณพเห็นดังนั้น จึงตั้งปรารถนาเป็นครั้งที่ ๒ ว่า "ด้วยทานนี้ ขอข้าพระองค์จงมีเดชานุภาพ
แผ่ไปตลอดอาณาจักรทั่วไปในใต้แผ่นพื้นปฐพีนี้โยชน์หนึ่ง"
พระปัจเจกพุทธองค์จึงกล่าวอนุโมทนาด้วย "ปัจเจกพุทธคาถานุโมทนา" ว่า "อิจฉิตัง ปัฏฐิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สมิชฌะตุ... สิ่งที่ท่านประสงค์แล้ว
ปรารถนาแล้ว จงสําเร็จพลันเถิด
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะ ระโส ยะถา... ดําริทั้งปวง จงเต็มที่เหมือนจันทร์เพ็ญ ฉะนั้น"
ครั้นอนุโมทนาแล้ว จึงเดินทางไปจากที่นั้น ในระหว่างกลางทางนั่นเอง มีกุมารีสาวน้อยคนหนึ่ง มองเห็นพระปัจเจกพุทธองค์ห่มผ้ากัมพลแดงเดินมาจึงถามว่า
"พระคุณเจ้าขา ผ้าที่พระคุณเจ้าห่มมีสีแดงงามนั้น ใครถวาย เจ้าคะ ?" ก็ได้ฟังท่านตอบว่า "สีกา...ผ้าแดงนี้ พาณิชนันทมาณพถวาย"
จึงถามต่อไปว่า "เขาถวายแล้วปรารถนาอะไร?" ก็ได้ฟังคำตอบว่า "มาณพนั้นถวายแล้ว ได้กระทําปรารถนา ๒ ประการ คือ ปรารถนา พระสัพพัญญู ประการหนึ่ง
กับปรารถนา สิริราชสมบัติ อีกประการหนึ่ง
ครั้นได้ฟังแล้ว กุมารีสาวนั้น จึงเอาผ้าของตนถวายแล้วตั้งปรารถนาว่า "พระคุณเจ้าผู้ทรงคุณยิ่ง ด้วยผลทานนี้
ถ้าว่านันทมาณพพาณิชนั่นได้เสวยสิริราชสมบัติ เป็นพระบรมกษัตริย์แล้ว ดิฉันขอปรารถนาเป็น นางพระยาราชมเหสีเถิด"
พระปัจเจกพุทธองค์นั้นได้มองเห็นผลสําเร็จก็ได้กล่าว "ปัจเจกพุทธคาถา" เดิมนั้นเป็น ครั้งที่ ๒ จึงหลีกไป ได้ลอยขึ้นไปทางอากาศ
ได้นําอาหารบิณฑบาตไปสู่เงื้อมนันทมูลบรรพต ได้แบ่งถวายแก่พระปัจเจกพุทธองค์ ๕๐๐ นั้น ครบแล้ว
ตามธรรมนิยมและวัตรปฏิบัติของพระปัจเจกพุทธองค์เป็นประจํามาแล้ว บิณฑบาตนั้นก็เกิดสมบูรณ์เพียงพอด้วยพระพุทธานุภาพ
เพื่ออนุเคราะห์พระบารมีพระสัมมาสัมโพธิญาณนั้น
ด้วยเดชะผลกรรมที่กุมารีสาวนั้น ได้พลอยกระทําบุญตามนันทมาณพนั้น ทั้งสองจึงได้สมัครใจอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยาในชาตินั้น
ต่อมาจึงได้คิดอ่านการกุศลให้มากขึ้น จึงได้สร้างศาลาหลังหนึ่งในที่นั้น และให้ช่างสลักเป็นรูปพระปัจเจกพุทธองค์แล้ว จึงประดิษฐานตั้งไว้ในศาลา
ฝ่ายนางกุมารีได้โกนผมเอาเส้นเกศานั้นชุบน้ำมันหอม กระทําสักการบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้เอาผมนั้นเป็นไส้เทียนจุดเป็นประทีบต้นตามถวายบูชา
ตรงหน้าพระปัจเจกพุทธรูป ในศาลานั้นตามสมควร ทั้งสองได้กระทํากุศลอย่างนี้ ครั้นกระทํากาลกิริยาก็ได้เคลื่อนไปเกิด ณ ดาวดึงสพิภพ เสวยทิพยสมบัติอยู่ช้านาน
เมื่อถึงกาลสิ้นอายุจึงจุติเคลื่อนลงมาเกิดในราชสกุล สุวรรณภูมิประเทศ ทรงเจริญวัยแล้ว ก็ได้ราชาภิเษกเป็นพระบรมกษัตริย์ "สุวรรณจักรพรรดิ"
ณ กรุงเทพทวาราวดี แห่งสุวรรณภูมิประเทศ ทรงทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ทั้งทรง "ธรรมศาสตร์" และทรง "ศีลธรรม" "บารมี ๑๐" จึงมีพระนามว่า
ธรรมราชาธิราชเจ้า อีกด้วย
ส่วนนางฟ้ากุมารีนั้น ก็จุติลงมาเกิดในสกุลมหาเศรษฐี อันมีสมบัติมากในกรุงเทพทวาราวดีนั้น ครั้นนางกุมารีมีชันษาไทย ๑๖
ก็ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าบรมกษัตริย์สุวรรณจักรพรรดินั้น ได้อุปภิเษกสถาปนาชื่อ ว่า พระมงคลราชเทวี มีแสนสาวสุรางค์แวดล้อมเป็นยศศักดิ์บริวาร
๑๐ แสน
ณ กาลวันหนึ่ง พระเจ้าสุวรรณจักรพรรดิ กรุงเทพทวาราวดี เสด็จแวดล้อมด้วยพระสนมข้างใน ๑๖ แสน
ทรงมีพระทัยประสงค์จะทดลองพระบุญญาธิการของสมเด็จพระนางมงคลราชเทวีนั้น ให้ปรากฏแก่ทุกพระสนม
ตรัสสั่งหมู่นางพระเครื่องต้นให้จัดแต่งสํารับทุกคนพร้อมกันนั่งบริโภคตรงหน้า ก็มิได้ปรากฏสิ่งพิเศษกว่าปกติ
ส่วนพระนางมงคลราชเทวีล้างพระหัตถ์ ณ สุวรรณภาชนะแล้ว รับกระยาหารกระทําเป็นคํายกขึ้นใส่พระโอษฐ์เสวย ทุกนิ้วพระหัตถ์ได้กลายเป็นทองคําทุกคําเสวยนั้น
ด้วยผลทานที่จัดตกแต่งอย่างประณีต ทุกพระสนมนางได้เห็นนิ้วเป็นทองคําเช่นนั้นก็แจ้งประจักษ์ว่า พระนางพระยาเจ้ามีบุญญาธิการมาก ต่างจึงมิได้มีจิตคิดริษยา
ตั้งแต่วันนั้น ก็มีแต่ระทวยอ่อนน้อมยําเกรงพระนางมงคลราชเทวีเป็นอันมาก แม้สมเด็จพระเจ้าบรมกษัตริย์สุวรรณจักรพรรดินั้น
ก็ทรงรักเสน่หาการุณนิยมเป็นอันมาก จึงได้ตั้งไว้ในตําแหน่งเอกอัครมเหสีครบถ้วนทุกประการ
พระเจ้าสุวรรณจักรพรรดินั้น ได้ครอบครองกรุงเทพทวาราวดี ได้ทรงทราบพระราชธรรมประจําพระราชสํานักครบถ้วน จึงทรงทศพิธราชธรรมตลอดกาล
ทั้งได้ตั้งปรารถนามานานแล้วนั้น จึงทรงระลึกถึงพระบารมีธรรมได้ จึงทรงบําเพ็ญเป็นพระบารมีตลอด จึงทรงเกษมสุขสําราญทุกประการ พืชพรรณธัญญาหาร
ก็อุดมสมบูรณ์ตลอดราชอาณาจักร
ประชาชนพลเมืองจึงอยู่เย็นเป็นสุขทั่วกัน และรื่นเริงสนุกสนานสําราญรมย์ทุกคืนวัน ฉะนี้ พระเจ้าบรมกษัตริย์สุวรรณจักรพรรดิ
จึงมีพระราชโอรสธิดาต่างลําดับชั้นหลายพระองค์ ตามตําแหน่งสุวรรณจักรพรรดินั้นมีถึง ๕๐๐ องค์
ครั้งถึงอายุขัยกาลแล้ว ก็ได้เคลื่อนและท่องเที่ยวไปกับ "กุมารีมงคลราชเทวี" นั้น ทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก กระทั่งพระพุทธกาล
พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ก็ได้มาอุบัติ เป็น โตไทยพราหมณ์ (ไทยใหญ่) ณ หมู่บ้านไทยใหญ่ชื่อว่า โตไทยคาม และกุมารีมงคลราชเทวีนั้น
ก็ได้มาเกิดในสกุลพราหมณ์ชื่อว่า มงคลณีพราหมณี ซึ่งได้มีพราหมณ์พิธีเษกสมรส แล้วได้มีลูกชายทรวดทรงงดงามคนหนึ่ง ชื่อว่า สุภมาณพพราหมณ์
ซึ่งได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าหลายครั้ง ได้ให้มีพระสูตรขึ้นหลายสูตร
บ้านโตเทยยคาม หรือโตไทยคามนี้ เพิ่งมีชื่อขึ้นในภายหลัง ในพระศาสนาของพระกัสสปทศพลนั้น ใน ฆฏิการสูตร ปรากฏมี ชื่อว่า "เวภฬิคะ"
(อรรถกถาว่าเวภัลลิคะ ฉบับสีหลและพม่าว่า เวภฬิงคะ) ในกาลพระกัสสปทศพลนั้นว่า เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ มี ประชาชนคับคั่ง และเป็นที่ที่พระพุทธเจ้า ๒
พระองค์ได้เสด็จประทับแล้ว คือในกาลนั้น พระกัสสปทศพลได้เสด็จมาประทับอยู่แล้ว ในกาลนี้ พระสมณโคดมพุทธเจ้าก็ได้เสด็จมา ประทับอีกพระองค์หนึ่ง ใน
"ฆฏิการสูตร" นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราตรัสว่า
พระองค์ได้อุบัติในสกุลพราหมณ์ชื่อว่า โชติปาลมาณพ ซึ่งได้เป็นปิยสหายของช่างหม้อ ผู้เป็นสกุลพ่อค้าพาณิชชื่อ ฆฏิการมาณพ
ซึ่งมีอาชีพปั้นหม้อขายเลี้ยงชีวิตกับบิดามารดา ซึ่งตาบอดทั้งคู่ ผู้มีอุปนิสัยแห่งมรรคผลอยู่ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปทศพล
จึงเสด็จมาโปรดให้ฆฏิการมาณพได้บรรลุอนาคามีผลแล้ว พระองค์พร้อมพระภิกษุสงฆ์ก็ยังประทับอยู่
ฆฏิการะจึงชวนโชติปาลมาณพให้ไปฟังธรรมด้วยความพยายาม คราวแรกโชติปาละได้กล่าวดูถูก เพราะสําคัญตนเองว่า "อภิญญู" คือผู้รู้ยิ่งกว่า อย่างปรากฏใน
อปาทาน ว่า "การตรัสรู้จะมีแก่สมณะโล้นแต่ที่ไหนหนอ... เพราะว่าการตรัสรู้เป็นของได้ยากอย่างยอดยิ่ง"
(เพราะกล่าวปรามาสดังนี้ จึงเป็นเหตุปัจจัยให้พระองค์ต้องกระทํา "ทุกรกิริยา")
แต่ที่สุดก็ยอมไปได้ฟังพระสัทธรรมพยากรณ์แล้ว จึงสละทรัพย์สมบัติเกลี่ยเป็นทานหมดแล้ว จึงออกอุปสมบทเป็นภิกษุ บําเพ็ญเนกขัมมบารมี
แม้ช่างหม้อฆฏิการะนั้น ได้บรรลุอนาคามีผลแล้ว ครั้นตายแล้วได้ไปอุบัติ ณ อวิหา (ชั้นสุทธาวาส) คอยดูเพื่อน "โคดม โพธิสัตว์" นั้น
กระทั่งถึงกาลเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ จึงมาในส่วนของ "ฆฏิการมหาพรหม" ได้แสดง เพศภิกษุ อันเป็นเพศพระสัมมาสัมพุทธองค์
จะต้องทรงเป็นก่อนอื่นในกาลของพระองค์นี้ แล้วได้ถวายบริขาร ๘ แล้วได้กลับไปยัง สุทธาวาส พระองค์ก็ได้ทรงเพศภิกษุนั้นตลอดกาลของพระองค์ และจึงมี
ฆฏิการสูตร ปรากฏในมัชฌิมนิกาย ณ สุตตันตปิฎก
ฆฏิการสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ พระอานนทเถระ ระบุชื่อว่า "เวภฬิคนิคม" ซึ่งเป็นดินแดนที่พระพุทธองค์พระกัสสปทศพล
เสด็จมาประทับโปรดชาวนิคม ซึ่งมี ฆฏิการมาณพ กับพระองค์ซึ่งเป็น โชติปาลมาณพ ซึ่งในบัดนี้ก็มีชื่อว่า โตไทยคาม
ซึ่งปรากฏอยู่ระหว่างทางไม่ไกลจากกรุงสาวัตถีนัก และไปถึงพาราณสีได้
ครั้นได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้เสด็จประทับ ในกาลที่พระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้ว
ประชาชนชาวเวภฬิคนิคมได้ร่วมใจกันสร้างพระสุวรรณเจดีย์ (และชื่อว่า "กนกเจดีย์") เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมสรีรธาตุ จึงมีเรื่องปรากฏขึ้น และ "พระ
ธรรมสังคาหกาจารย์" ได้รวบรวมขึ้นไว้ในพระคัมภีร์ตลอดแล้ว จึงยืนยงคงมาได้แล้ว...
ll กลับสู่ด้านบน
กสฺสปทสพลสุวณฺณเจติยวัตถุ
(อ่านว่า..กัสสะปะทสพลสุวัณณะเจติยะวัตถุ)
พระกัสสปทศพลสุวรรณเจดีย์นี้ มีปรากฏใน ธัมมปทัฏฐกถา (ธรรมบท) ภาค ๖/๑๑๕ จะได้ย่อเรื่องพอได้ใจความเป็นหลักฐานแห่งพุทธันดร
และเรื่องประวัติสถานที่ที่ปรากฏตามที่ได้พบ
พระตถาคตเจ้าทรงมีพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จออกจากกรุงสาวัตถี จะเสด็จไปพาราณสี เสด็จถึง "เทวสถาน" แห่งหนึ่งใกล้ โตไทยคาม ได้ประทับ ณ
โคนต้นไทรต้นหนึ่ง ณ ที่นั้น ตรัสสั่งพระภิกษุรูปหนึ่งให้ไปเรียกพราหมณ์คนหนึ่ง ซึ่งกําลังทํานาอยู่ ณ ที่ไม่ไกล พราหมณ์นั้นมาแล้วไม่ได้กราบไหว้พระองค์
แต่ได้ยืนไหว้เทวสถานนั้นเท่านั้น จึงตรัสถามว่า
"ท่านรู้หรือไม่ว่าสถานที่นี้ชื่ออะไร" เขาทูลว่า "พระโคดมผู้เจริญ พวกเราไหว้ด้วยจิตคิดว่า เป็นเจดียสถานที่มีมาตามประเพณี" จึงตรัสต่อไปว่า
"พราหมณ์...ท่านไหว้เจดีย์นี้ ก็ชื่อว่าได้กระทําดีแล้ว"
พระภิกษุทั้งหลายได้เกิดสงสัยจึงทูลถาม เพื่อทรงให้หายสงสัยจึงตรัส "ฆฏิการสูตร" ด้วยพระพุทธานุภาพได้ทรงนิรมิตแสดง พระกนกเจดีย์
อันสูง ๑ โยชน์ของพระกัสสปทศพลแล้ว และนิรมิต กนกเจดีย์อื่น อีกในอากาศ ให้เห็นแสดงแก่มหาชนแล้ว ได้ตรัสบูชาบุคคล ผู้ควรบูชา ๔ คือ
๑.พระพุทธองค์ ๒.พระ อรหันต์ ๓.พระเจ้าจักรพรรดิ ๔.บิดามารดา
แล้วได้ตรัสเจดีย์ตามนัยมหาปรินิพพาน สูตร ๔ คือ ๑. พระสรีรธาตุเจดีย์ ๒. บริโภคเจดีย์ ๓. อุเทสิกเจดีย์ ๔. ธรรมเจดีย์ คือ คัมภีร์ต่าง ๆ เช่น
ไตรปิฎกเป็นที่ ๔ แล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาว่า
"ปูชาระเห ปูชะยะโต พุทเธ ยะทิจะ สาวะเก ปะปัญจะสะมะติกกันเต ติณณะ โสกะปริททะเว เต ตาทิเส ปูชะยะโต นิพพุเต อะกุโตภะเย นะ
สักกา ปุญญัง"
"เมื่อบูชาผู้ควรบูชา คือพระพุทธองค์ หรือพระสาวกก็ตาม ซึ่งก้าวล่วงธรรมเนิ่นช้าได้ ทั้งข้ามพ้นโศกคร่ำครวญได้แล้ว ได้บูชา ท่านผู้คงที่เหล่านั้น
ซึ่งนิพพานแล้ว ไม่มีภัยที่ไหน ใคร ๆ ไม่อาจคํานวณนับบุญว่า บุญนี้มีจํานวนเท่านี้ได้เลย ดังนี้แล"
ในตอนท้ายพราหมณ์นั้น ได้เป็นโสดาบันแล้ว พระธรรมเทศนานั้นเป็นของมีประโยชน์ เป็นอันมากเกิดแก่บริษัทแล้ว
พระกนกเจดีย์ตั้งอยู่ในอากาศ กับพระกัสสปทศพลเจดีย์นั้น ได้ตั้งอยู่ตลอด ๗ วัน จึงมีมหาสมาคมใหญ่ ต่างได้กระทําบูชากัน ตลอด ๗ วันนั้นด้วยพุทธานุภาพ
กนกเจดีย์นั้นได้ไปสู่สถานของตนแล้ว ในขณะที่หายไปนั้นนั่นเอง ก็ได้มี มหาปาสานเจดีย์ เกิดขึ้นแทน
โตไทยคาม หรือ โตเทยยคามนิคม คือ หมู่บ้านไทยใหญ่ นั้น ที่ปรากฏใน "สุวัณณเจดีย์วัตถุ" ก็ดี และยังมีปรากฏในพระสูตร เช่น
จูฬกัมมวิภังคสูตร และ สุภสูตร ฯลฯ มีระบุว่า "โตเทยยคาม" เช่นเดียวกัน
ในเรื่องสุวัณณเจดีย์นี้ ระบุอยู่ระหว่างทางจาก "กรุงสาวัตถี" และ "พาราณสี" นั้น ในอรรถกถาทั้ง ปปัญจสูทนี และ สุมังคลวิลาสินี
มีระบุว่าเล่ากันว่านามชื่อว่า ตุทิคาม คือ บ้านตุทิ นั้นมีอยู่ในที่ไม่ไกลจากกรุงสาวัตถี เพราะเป็นบ้านที่ใหญ่ยิ่ง จึงถึงการนับชื่อว่า
โตเทยยะ คือ โตไทยะ "ไทยใหญ่"
สําหรับพราหมณ์ผู้เป็นต้นนั้น ชื่อว่า "โตเทยยะ" ซึ่งได้เป็นปุโรหิตพราหมณ์ของ พระเจ้าปเสนทิโกศลราชา
เพราะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ประจําบ้านตุทินั้น จึงมีชื่อว่า โตเทยยพราหมณ์ (ไทยออกเสียงว่า โตไทยะ) เฉพาะศัพท์ชื่อว่า ตุทิ
เป็นภาษามคธแปลว่า ทุกข์ ลําบาก รบกวน และอ้วน ใหญ่ ถ้าเป็น โต คําโดดแปล ว่า เก่า, อ้วน, โตทนะ ปะฏัก โตเทยยะ หรือ โตไทยะ
ตรงความว่า ใหญ่ไทย หรือ ไทยใหญ่
และก็โตไทยพราหมณ์นี้ ซึ่งเป็นปุโรหิตพราหมณ์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเป็นข้าราชการด้วย ทั้งเป็นผู้มีทรัพย์ถึง ๘๗ โกฏิ
แต่เป็นผู้ตระหนี่ถี่เหนียวแน่นยอดยิ่ง ก็เป็นทั้งปุโรหิตพราหมณ์และเศรษฐีพราหมณ์มหาศาลด้วย กับ มังคลาณีพราหมณ์ จึงมีลูกชายคนหนึ่งชื่อ สุภะ
ผู้มีรูปน่าชมและมีผิวพรรณผ่องใส เพราะเหตุที่มีรูปร่างงดงามนั้น พวกญาติจึงตั้งชื่อว่า สุภมาณพ เฉพาะคําชื่อว่า "มาณพ" เขาเรียกกันในเวลาเป็นเด็ก
ในกาลเจริญวัยแล้ว ก็ยังใช้โวหารเรียกอย่างนั้นว่า "สุภมาณพ" ฉะนี้
สําหรับวงศ์สกุลพราหมณ์แล้ว ชื่อต้นเดิม ก็คงใช้เป็นชื่อสกุลด้วยว่า โตไทยพราหมณ์ หรือ โตเทยยพราหมณ์ และอาจใช้ชื่อมารดาว่า
มังคลาณีบุตร แต่คงไม่มีใช้กัน
ใน อนาคตวงศ์ ตรัสว่า ทั้งสองนี้เป็น "นิยตโพธิสัตว์" จะได้ตรัสรู้เป็นพระองค์ที่ ๘ พระนามว่า นรสีหพุทธองค์ เป็นที่ ๒ ใน มัณฑกัปนั้น
ฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระสมณโคดม จึงเสด็จเสมอเพื่อเป็นหลักฐานสถานที่สําคัญนั้นด้วย ทั้งทรงต้องการโปรด พระพุทธางกูร คือเนื้อหน่อพระพุทธองค์ด้วย
จึงเกิดมีพระสูตร และเรื่องต่าง ๆ เป็นต้นเหตุ ให้ตรัสถึงจึงปรากฏแล้ว
สําหรับโตไทยพราหมณ์นั้น ได้เกิดเป็น นันทมาณพพาณิช ได้ถวายทานและตั้งปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูพุทธองค์
กับสมบัติสุวรรณจักรพรรดิต่อพระปัจเจกพุทธองค์แล้ว จึงได้เป็นพระเจ้าบรมกษัตริย์มั่งคั่งทรัพย์สมบัติ แล้วก็ตาม ครั้นมาเกิดในพระพุทธกาลนี้ คงจะเป็น
"มัจเฉรจิต" บังเกิดขึ้น แม้ได้เป็นปุโรหิตพราหมณ์มหาศาล ถึงกระนั้นก็ปลูกปั้นให้เป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่นอย่างยอดยิ่ง ถึงมีนามระบุคุณลักษณะพิเศษว่า
ปรมมัจฉรี หรือ "บรมตระหนี่" จึงคิดเสมอว่า ผู้ให้ทานนั้นชื่อว่า "โภคจะไม่สิ้นไป..ไม่มี" จึงได้กล่าวคํานี้เสมอว่า
"อัญชะนานัง ขะยัง ทิสวา วัมมิกานัย จะยะ สัญจะยัง มะธะนัญจะ สะมาหารัง ปัณฑิโต ฆะระมาวะเสติ"
"เพราะเห็นการสิ้นไปแห่งยาหยอดตา และการสะสมของเหล่าปลวก กับการรวบรวมของปวงผึ้ง บัณฑิตพึงครองเรือนได้ ก็เพราะได้ประกาศให้รู้ทั่วกันอย่างนี้
ตลอดกาลนานทีเดียว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จเสมอ เพื่อโปรดให้สร้างเสริมบารมี ในฐานะหน่อเนื้อพระพุทธางกูร ก็มิได้เคารพนับถือ"
ถึงแม้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธองค์ จะได้เสด็จมาประทับอยู่ ณ พระธูรวิหารใกล้ ๆ กันนั้น ถึงจะทักทายรู้จักบ้าง ก็มีแต่คําข่มและขับขามเท่านั้น
ไม่เคยถวายข้าวสักกระบวยหนึ่ง หรือข้าวสวยสักทัพพีหนึ่งเลย เพราะโลภทรัพย์สมบัติ และมีมัจฉริยจิตครอบงําแล้ว ตลอดกาลชีวิตนั้น
ครั้นกระทํากาลกิริยาแล้วก็ได้เกิดเป็น สุนัข ในบ้านนั้นนั่นเอง สุภมาณพมีความรักใคร่สุนัขนั้นยิ่งนัก ได้ให้กินข้าวที่ตนบริโภคนั่นเอง
กับอุ้มให้นอน ณ ที่นอนอันประเสริฐ สะอาดเรียบร้อยตลอดกาลนั้น
ต่อมา ณ วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกในกาลสมัยเช้ามืด ได้ทอดพระญาณเห็นสุนัขนั้น ทรงดําริรู้ตลอดว่าเพราะ "ธนโลภ"
โตไทยพราหมณ์จึงเกิดเป็นสุนัขในเรือนของตน ในวันนี้เมื่อเราไปสู่เรือนของสุภมาณพแล้ว สุนัขเห็นเราจะเห่าขึ้น เราจะกล่าวคําหนึ่งแก่เขานั้น
สุนัขนั้นจะรู้แจ้งว่า พระสมณโคดมรู้จักเราอยู่ จะไปนอน ณ ที่ใกล้เตาไฟ จากต้นเรื่องนั้น จะมีถ้อยคําสนทนาถามตอบขึ้น ระหว่างเรากับสุภมาณพ
สุภมาณพนั้นฟังธรรมแล้ว จะตั้งอยู่ในสรณคมน์ ส่วนสุนัขนั้นทํากาละแล้วจักไปเกิดในนรก
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงทราบอย่างนี้แล้ว ในเช้าวันนั้นทรงกระทําพระสรีรกิจแล้ว เฉพาะพระองค์เดียวเท่านั้น เสด็จเข้าไปสู่บ้าน
ในกาลที่มาณพออกไปนอกบ้านแล้ว จึงเสด็จสู่เรือนนั้นเพื่อทรงบิณฑบาต สุนัขได้เห็นแล้ว จึงเห่าขึ้นอยู่ได้เดินเข้าไปใกล้แล้ว พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าได้ตรัสกับสุนัขนั้นว่า
"โตไทยะ...แม้ในกาลก่อนท่านได้กล่าวคําข่มขับขามเราว่า "โภ...โภ...ผู้เจริญ ๆ" ดังนี้ จึงเกิดเป็นสุนัขแล้ว แม้ในกาลนี้ก็กระทําการเห่า
จักไปสู่อเวจี"
สุนัขได้ฟังพระดํารัสนั้น จึงเกิดความเดือดร้อนว่า สมณโคดมรู้เราอยู่ ได้ลดคอลงไป นอนลงบนเถ้าระหว่างเตาไฟ
คนเหล่านั้นไม่อาจเพื่ออุ้มยกขึ้นให้นอนบนที่นอนอันประเสริฐได้ เมื่อสุภมาณพกลับมาเห็นแล้วกล่าวว่า สุนัขนี้ใครให้ลงจากที่นอน ได้ฟังตอบว่า ไม่มีใครเลย
และได้ฟังประวัตินั้นแล้ว มาณพได้ยินแล้วจึงโกรธว่า
"บิดาของเราไปเกิด ณ พรหมโลก สุนัขชื่อ "โตไทยะ" ไม่มี แต่สมณโคดมทําพ่อให้เป็นสุนัข ท่านนั่นแล จะกล่าวคําอะไรเล่นคล่องปากเท่านั้น"
ต้องการข่มพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยมุสาวาท จึงไปสู่วิหารเข้าไปทูลถามประวัตินั้นแล้ว แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสแก่เขา อย่างนั้นนั่นเอง
เพื่อไม่ให้โต้แย้งกันมากจึง ตรัสว่า
"มาณพ...ก็ทรัพย์ที่บิดาของท่านไม่ได้บอกไว้นั้น มีอยู่หรือ?" ก็ได้ทูลว่า
"พระโคดมผู้เจริญ มีอยู่..คือ สุวรรณมาลา มีค่าแสนหนึ่ง รองเท้าทองคํามีค่าแสนหนึ่ง ถาดทองคํามีค่าแสนหนึ่ง และกหาปณะอีกแสนหนึ่ง"
พระองค์ได้ตรัสต่อไปว่า "ท่านจงไปให้สุนัขนั้นบริโภคข้าวปายาส มีน้ำน้อยแล้วให้นอนบนที่นอน ในกาลที่หลับไปแล้วหน่อยหนึ่ง จงถามดูเถิด
จะบอกทั้งหมดแก่ท่าน ลําดับนั้นแล ท่านพึงรู้ซึ่งสุนัขนั้นว่า บิดาของเราแน่"
สุภมาณพยินดีแล้วด้วยเหตุ ๒ อย่างว่า ถ้าเป็นความจริงก็จะได้ทรัพย์ ถ้าไม่จริงจะข่มพระสมณโคดมด้วยมุสาวาท จึงกลับไปแล้วได้กระทําอย่างนั้น
สุนัขรู้แล้วว่าลูกนี้เป็นผู้รู้เราแล้ว จึงกระทําเสียงฮื่อ ๆ เดินไปสู่ที่ฝังทรัพย์ แล้วใช้เท้าขุดคุ้ยแผ่นดินเป็นการให้สัญญาณแล้ว
สุภมาณพเก็บทรัพย์หมดแล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
"ร่องรอยปฏิสนธิอันสุขุมอย่างนี้ ชื่อว่า ภพปกปิดแล้ว ยังปรากฏแก่พระสมณโคดมแล้ว พระองค์ต้องเป็นพระสัพพัญญูแน่นอน" จึงปรับปรุงแต่งปัญหา ๑๔ ข้อ
เกียรติคุณเลื่องลือว่า เขานั้นเป็นนักบรรยายองควิทยา เพราะเหตุนั้น เขาจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราจะถือเอาธรรมบรรณาการไปถามเป็นปัญหากับพระสมณโคดมโดยครั้งที่ ๒ นั้น จึงเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับแล้วได้นําปัญหา ๑๔ ข้อนั้นทูลถาม
คราวแรก ตรัสตอบรวมกันเป็นอย่างเดียวกันว่า เพราะกรรมจําแนกให้ดีและเลว เมื่อมาณพทูลว่าไม่เข้าใจ จึงตรัสจําแนกเป็น อย่าง ๆ ได้ ๑๔ อย่าง
ซึ่งยาวพอสมควร และได้เป็นสูตรชื่อว่า จูฬกัมมวิภังคสูตร อันแปลว่า "สูตรจําแนกกรรมน้อย" ที่คู่กับ มหากัมมวิภังคสูตร อันแปลว่า
"สูตรจําแนกกรรมใหญ่" พอจบแล้วสุภมาณพได้กราบทูลสรรเสริญ กับกล่าวถึงสรณะ และได้ประกาศตนเป็นอุบาสกแล้ว
ใน "อนาคตวงศ์" พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพยากรณ์พ่อลูกทั้งสองนี้ คือ โตไทยพราหมณ์ และ สุภมาณพพราหมณ์
นี้จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธองค์ทั้งสองท่าน ในมัณฑกัปที่ ๓ ข้างหน้านั้น ในมัณฑกัปนั้น สุภมาณพพราหมณ์นี้ จะได้ตรัสรู้ก่อนทรงพระ นามว่า
พระเทวเทพสัมมาสัมพุทธองค์ เพราะบุญญานุภาพปรมัตถบารมีที่ได้สร้างไว้ ในกาลพระโคนาคมน์สัมมาสัมพุทธองค์นั้น
ก็ในกาลพระศาสนาพระโคนาคมน์นั้น สุภมาณพนี้ได้เกิดเป็นช้างสกุลฉัตรทันต์ ซึ่งมีคุณพิเศษ คือมีงาทั้งสองเหมือนฉัตร คือร่ม เมื่อได้เห็น
พระอัญญาโกณฑัญญะ อรหันตมหาขีณาสพ สาวกของพระโคนาคมน์พุทธองค์นั้น ซึ่งได้ไปปรินิพพาน ณ บริเวณลานฝั่ง "ฉัตรทันตสระ" นั้น
พระยาคชเศวตฉัตรทันต์เผือกขาวสะอาดนั้น ซึ่งได้ปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณมาแล้ว จึงมีจิตคิดประสงค์จะปลงศพท่าน ได้สละงาทั้งสองนั้น
อธิษฐานให้ได้เลื่อยทิพย์มา แล้วให้เลื่อยทั้งสองออกแล้ว ได้ทํางาข้างหนึ่ง เป็น "เหม" คือโกศใส่ศพสรีรธาตุ
งาอีกข้างหนึ่ง ได้สลักทําเป็นรูปนกยูงยกคอกางปีก ชูลําแพนหางเป็นเชิงสร้างรองโกศ บรรจุพระอัญญาโกณฑัญญะ อรหันตสงฆ์สาวกพระโคนาคมน์สัมมาสัมพุทธองค์นั้น
เอาผมขนบนศีรษะเป็นไส้ประทีบเทียนตามถวายสักการบูชา ฝ่ายคชบริวาร ๘ หมื่น ๔ พัน ประชุมทําสมโภชรื่นเริงบันเทิงใจพร้อมกัน
เจ้าพระยาช้างเผือกคชราชา ได้ใช้งวงยกนกยูงให้ตั้งโกศบนหลัง และช้างบริวารก็ใช้งวงช่วยประคอง ยกขึ้นตั้งบนกระพองศีรษะเรียบร้อยแล้ว
จึงพร้อมกันประชุมเพลิง ขณะที่ไฟกําลังลุกไหม้อยู่นั้น นกยูงทองดุจมีวิญญาณ ได้บินไปมาในเวหาให้ลมกระพือไฟไหม้หมด
แต่อัฐิธาตุตกลงเรี่ยรายบนพื้นแผ่นดินในที่นั้น เทพยดาทั้งหลายตกแต่งพระเจดีย์บรรจุพระธาตุไว้ ณ ครั้งนั้นนั่นเอง
เจ้าพระยาฉัตรทันตคชราชาได้กระทําปณิธานตั้งปรารถนาว่า
"ด้วยเดชะผลสละงาทั้งสอง เพื่อกระทําสักการบูชาและถวายเพลิงศพพระอรหันตเจ้านี้ ขอจงเป็นปัจจัยได้สําเร็จแก่พระสรรเพชรดาญาณ ในอนาคตกาลเถิด"
ดังนี้แล้ว ครั้นเสียชีวิตแล้ว ก็ได้ไปเกิด ณ ดุสิตสวรรค์ เป็นเทพบุตรเสวยทิพสมบัติในวิมาน เกษมสําราญตลอดกาลแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแด่พระสารีบุตรเถระว่า
"ด้วยเดชะผลปรมัตถทานบารมียอดสูงสุดนั้น จะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธองค์ทรงนามว่า พระเทวเทพพุทธองค์ เป็นพระองค์ที่ ๗
และจะบันดาลให้มีพระพุทธรัศมี เป็นฉัพพรรณรังสี ๖ ประการ มีสัณฐานเหมือนช่อฝักบัวเมื่อยังอ่อน ๆ ปราศจากเย็นและร้อน กับทั้งรุ่งเรืองอยู่เป็นนิตยกาล
พระองค์และทุกคนทั้งหมด ก็มีสรีรร่างเสมือนสีทองละเอียดดีงามตลอด พื้นแผ่นดิน เกิดมีข้าวสาลีมีกลิ่นโอชารสหอมวิเศษ
และต้นไม้กัลปพฤกษ์มีผลเป็นเครื่องบริโภค และเป็นเครื่องอุปโภคใช้ได้ จึงมีสุขเกษมสําราญ สดชื่นบานเป็นอาทิ พระองค์มีพระกายสูง ๘๐ ศอก และมีพระชนมายุอยู่ ๘
หมื่นปี เป็นพระ องค์ที่ ๑ ในมัณฑกัปนั้น แต่เป็นพระองค์ที่ ๗ แต่กาลนี้
โตไทยพราหมณ์ ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็น พระนรสีหสัมมาสัมพุทธองค์ นั้น ด้วยบุญญานุภาพปรมัตถทานบารมียอดสูงสุดนั้น
ที่ได้สร้างไว้ในกาลที่เป็น นันทมาณพพาณิช ในระหว่างกาลว่างพระศาสนา พระกัสสปทศพล ที่ล่วงไปแล้ว และยังไม่ถึงกาล พระสมณโคดม นั้น
ก็จะดลบันดาลให้พระองค์ประกอบด้วย พระพุทธรัศมีรุ่งเรือง อันงามดุจดวงแก้วมณีรัตนโชติรส และมีเศวตฉัตรแก้วกางกั้นเป็นนิตยกาล ทั้งพระองค์และมนุษย์ทั้งหลาย
มีรูปอันงดงาม มีผิวพรรณเหลืองดังสีทอง
แผ่นดินบังเกิดข้าวสาลีอันหอมมีโอชารส เป็นปกติเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ให้เกิดต้นกัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง มีสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ
มวลมนุษย์จึงมีแต่สุขเกษมสําราญตลอด พระองค์มีพระกายสูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุ ๘๐ ปี เป็นพระองค์ที่ ๒ ในมัณฑกัปนั้น และเป็นพระองค์ที่ ๘ แต่กาลนี้
ยุคขุนแผน พุทธันดรที่ ๓ กาลพระกัสสปสัมมาสัมพุทธ เต็มพันล้านปีที่ ๓ คร่อม เข้าไปพันล้านปีที่ ๔ แผ่นดินสูงขึ้น ๑ โยชน์ คือ ๑๖ ก.ม.
ตรงกับสมัย "แผน" ที่จะขุดลึกลงไปได้ถึง ๑๖ ก.ม. นั้นคงจะยาวมาก จึงสุดกําลังที่จะเจาะพิสูจน์กาลนั้น ๆ ได้
ยุคแผนนี้ มีชื่อต่อลงมาได้ถึงคนปัจจุบัน และไทยรู้จักชื่อและคําไทยดีด้วย ตามชื่อที่อ้างมาคนไทยรู้จักกันอยู่ คือ แผน แถน สรวง
ซึ่งอ้างตามเรื่องว่ามีมาเมื่อต้นกัปย่อมไม่เป็นที่เชื่อถือ ยิ่งถ้าพูดตามอายุกาล ๔ พุทธันดร ๕ พัน ๕ ร้อยล้านปีแล้วจะยิ่งไปกันใหญ่
โลกวิทยา ว่าโลกนี้กําลังลุกเป็นไฟอยู่แล้ว เพิ่งมาเริ่มเย็น เมื่อ ๑,๗๕๐ ล้านปีนี่เอง ใช้เวลาเย็นอยู่ ๕๐๐ ล้านปีจึงสงบ
ทั้งเริ่มมีสิ่งมีชีวิตและเป็นโลก และมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เมื่อ ๑,๒๕๐ ล้านปีนี่เอง ว่าตามโลกวิทยาคือ เอกสารหินของ "กรมทรัพยากรธรณี"
แต่ในฐานะที่เป็นคนและพุทธศาสนา จึงมีหน้าที่เต็มที่จะเชื่อคนไทยและเชื่อพระรัตนตรัย คือมี "ตถาคตโพธิสัทธา" อยู่แล้ว ซึ่งมีหน้าที่พูดอย่างสมบูรณ์
ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่ผิดถูกอะไร ผู้เขียนไม่มีหน้าที่ไปว่าใครด้วยฉะนี้ จึงเล่าเรื่องที่คนไทยได้เชื่อถือมา จึงสร้างรูปยืนยันกันมา แม้ในเรื่อง
"ยุค" หรือ "พุทธันดร ทั้ง ๓" ก็เชื่อถือกันมาอย่างน้อยก็ ๒ พันกว่า ปีมาแล้ว..."
◄ll กลับสู่ด้านบน
( โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป )
kittinaja - 21/11/08 at 20:02
Update 16 พ.ย. 51
บทที่ ๒๙
เรื่องราวจากบทที่แล้ว ได้ดำเนินเรื่องมาถึง พุทธันดรที่ ๓ ซึ่งตรงกับ "ยุคไทย" สมัย ขุนแผนเมืองฟ้า-ดวงขวัญใจ
ซึ่งมีคำอธิบายต่อไปว่า...
คนแผน
คําชื่อ "แผน" นี้ ในความรู้จักของไทยว่า แผนพูม หรือพูมแผน อันหมายถึงว่า เจริญ สวย และ รู้ ฉลาด คล่อง ฉะนี้
"คนแผน" จึงตรงกับชื่อใหม่ ๆ นี้ว่า "วัฒนชน อารยชน" จริงอยู่ "คนแผน" เท่าที่กล่าวมาเป็นชื่อ คน "ยุคชาดก" ซึ่งเหลือที่จะพบหลักฐานแม้ชั้น "ซาก"
ก็คงจะหาไม่ได้ ถึงกระนั้นชื่อคําไทยก็มี อยู่แล้วใน "ยุคชาดก" หรือ "ยุคผี" นั้นได้กล่าว จาก "สุดหลัง" หรือ "ต้นก่อน"
ในที่นี้จะกล่าวแต่กาลนี้ถอยหลังลงไป ซึ่งหมายความว่า เอาเรื่องหรือหลักฐานที่พบ และรู้ใหม่ ๆ นี้ ที่เชื่อถือกันว่าเป็น "วิทยาการ"
เป็นหลักฐานจากนี้ย้อนไปถึงสมัยนั้น
อย่างได้กล่าวมาแล้วว่า "คนแผน" คือ "คนเจริญ" ในเวลานี้ "วิทยาการ" เขาว่าเพิ่งมี คนมาเมื่อ ๔๕ ล้านปี แต่ยังเป็นแบบ "ลิง" คือ
มีแต่เสียง ไม่มีภาษาหรือคําหมายรู้ และไม่รู้จักนุ่งผ้า ทั้งมีขนและไม่มีลูกสะบ้าเข่า และบอกว่า มีเกิดหรือพบที่ เอธิโอเปีย เขาว่ามีกะโหลกหนา
แสดงว่ามีมันสมองน้อย คือไม่มีปัญญา พอจะตั้งคําพูดใช้ได้
ที่ว่าเป็น "ลิง" ก็เพียงเห็นฟันมีลักษณะแหลม ซึ่งอาจเป็นฟันคน คือเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ เมื่อสมัยที่ยังกินของดิบอยู่
ธรรมชาติอาจสร้างให้แหลมคมเพื่อขบกระดูก และกัด หั่น เช่น เด็กหนุ่มยังใช้ฟันกัด หรือตัดลวดได้ จะอย่างไรก็ดี ถึงจะเป็น "คนลิง" ก็ยังมีนามว่า "คน"
อยู่
ถึงกระนั้น ก็เพียง "ฝรั่ง" ชั้นคนธรรมดานี่ แหละ พูดขึ้นตามที่คิดเอาเอง ทําไม "คนไทย" ที่มีสติปัญญาศึกษาจบชั้นไหน ๆ มาแล้ว
จะไม่ลองพิจารณาดูบ้างว่า ที่กล่าวไว้นั้นจะเป็นการโกหกกันเล่นสนุก หรือเพื่อขายเอากําไร อย่างที่เขาบรรยายโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์
ส่วนของเรา โดยเฉพาะ "ตํานานพระพุทธศาสนา" และเรื่องของไทยจึงมีสติปัญญาตลอด และดีเด่น วิจารณ์ไทยว่า โกหกและป่าเถื่อน เช่น รอยพระพุทธบาท,
ตํานานผีไทย ซึ่งเป็นของมีอยู่แล้วกับคนไทย ถิ่นแดนไทย และประจํามากับคนไทย ทําไมจึงไม่เชื่อกันได้ ผู้เขียนจะเชื่อและพูดว่าเป็นจริงบ้าง
ทั้งพิจารณาว่าเป็นของจริง เป็นอารยธรรม หรือ "ต้นอ้าย" หรือ "เอื้อยไทย" บ้าง จะมีโทษผิดที่ตรงไหน ทั้งอาจมีคนเดียวเท่านั้น ฉะนี้ จึงเล่า
เรื่องยุคเก่ากันมา
(ในตอนนี้ท่านได้อ้างเรื่องการถือกำเนิดของโลกตาม ตำราชีววิทยา ที่มนุษย์ได้สำรวจ แล้วบันทึกไว้ แต่เนื่องจากมีเนื้อที่จำกัด ผู้รวบ
รวมจึงขอลงแต่รูปไว้เท่านั้น)
แมน = ไทย
เมืองแมน คนไทยแมน กับ เมืองแผน คนแผน ก็คืออันเดียวกันเปลี่ยนเพียงชื่อเท่านั้น เท่าที่เปลี่ยนนี้ดี เพราะทําให้กําหนดกาลเวลาได้
และชื่อยังคงอยู่ในคําไทย จึงเป็นหลักฐาน ว่ามีอยู่แล้ว กับมีชื่อคําไทยอยู่มาถึงปัจจุบัน และมีไปตลอดที่คนไทยไปมีอยู่
ในระยะกาลสมัย "เมืองแผน" คือ หมื่นปีมาถึง ๘ พันปีก่อนนั้น นับว่าไกลจากกาลนี้อยู่ อาจเลือนลางมาจาก "ยุคมิคสัญญี" เปลี่ยน พุทธันดรที่ ๓
เริ่มพุทธันดรที่ ๔ และเหมือนกันตลอดโลก ถ้าขืนพูดว่าเจริญมาก่อนหมื่นปี จะคัดค้านกับคํา "ฝรั่ง" ทั้งจะไม่เป็นที่น่าเชื่อ
ถือตลอดไป
ในที่นี้ก็ขอกล่าวว่า เมืองไทยนี้เจริญมา ก่อนหมื่นปี เข้าระยะกาลคิดทำประดิษฐ์ต่าง ๆ เมื่อก่อนหมื่นปีมาแล้ว ตอนนั้นยังคิดหนังสือไม่ได้
จึงไม่มีการบันทึกหรือเขียนกันไว้ เมื่อเข้าบันทึกหรือจารึกนั้น ก็เมื่อ ๘ พันปีมาแล้ว จึงเรียงตามบันทึก แต่ใช้สํานวนปัจจุบัน ทั้งคําชื่อ "เมืองแมน"
นี้ บัดนี้ไทยรู้จักกันว่า "สวรรค์ชั้นฟ้า"
ขุนอินเขาเขียว กับ ขุนหญิงกวักทองมา เมื่อเกิดมาแล้วและได้กัน รักกันอยู่ร่วมกัน มีลูกชายหญิงถึง ๒๐ คน ได้ใช้ชื่อลูกตั้งเป็นชื่อ ปี,
เดือน, วัน กับได้ตั้งชื่อ เมืองแมน และได้สร้างให้ "ไทย" มีสิ่งของไทยอีกมาก ซึ่งก็รวมเป็นคู่กับ "ขุนหญิงกวักทองมา" ตลอดกาลมา
จึงขึ้นเป็นที่เคารพคู่กัน เมื่อสร้างเป็นรูปเคารพ ก็สร้างคู่กัน
ครั้นขึ้นเป็นที่ พระอิน หรือว่าตายไป เกิดเป็นตัวผี... "พระอินสรวงสวรรค์" แล้ว ได้เห็นเป็นรูปเดียวมาก ทั้งได้ไปพ้องกับ
พระอินทรสักกเทวานมินท์ และ พระอิศวร อีกด้วย และจึงไม่ปรากฏในระบบชื่อไทย หรือเป็นคนไทย "พระอินคนไทย" หรือ "ขุนอินไทย"
ที่ได้ขึ้นถึงฐานันดรศักดิ์เป็น พระอินทรเทวราช แล้ว ได้มีชื่อว่า พระอินทราธิราช หรือ พระสยามเทวาธิราช หรือ พระไทยเทวาธิราช
ต่างก็มีชื่อเป็นชมพูทวีป (อินเดีย) ไปแล้ว
ที่เป็นไทยมีชื่อในจารึกสุโขทัยว่า "พระทรงเมือง" มีคําระลึกถึงถือเป็นมนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์ประจํามา ได้ฟังผู้ใหญ่สอนจําได้เป็นบางคํา
ได้เรียงขึ้นใหม่ตามเค้า "มนต์นางกวัก" ว่า
"โอม...โอ...พ่อขุนพระอินเขาเขียว ทรงเรี่ยวแรงแผลงโผนแผ้ว พร้อมเพร้วพันตาแจ่มกระจ่าง ข่ามขลังฉมวกแก้วห้ายอด กําจัดตลอดรอดร้ายระรานบารมี
มีพระยอดมิ่งขวัญ คู่พระศรีศักดิ์ พระนางกวักทองมา
ขอทรงประทานล่ำทําไร่สวนนาข้าวกล้า ค้าขายดีมีลาภผล...ทุกหนแห่ง ถิ่นที่ขอให้เจริญศรีมีลาภผล ดลดาลโฉลกโชคชน...พลเดชฤทธิ์สิทธิศักดิ์อัครยศ
รสระรื่นชื่นใจชาย หญิงทุกถ้วนหน้า สาระพัดผลรับทรัพย์สิน ขอ พระอิน ช่วยลูกปลูกปั้นสรรเจริญ ขอเชิญคุ้มครองป้องกันสรรพภัย ทุกสถานกาล
เวลาทุกทิศานุทิศ เป็นกรรมสิทธิ์แก่ลูกทุกเมื่อ...เทอญ"
ในความรู้จักของชาวพื้นเมืองไทย มี "คํามนต์" หรือ "คําขอ" เป็นประจําว่า "จ้าวพระคู๊ณ... ขุนพระอินช่วยลูกด้วย..!"
พระพุทธรูปหรือพระสงฆ์มักบอกว่า "หลวงพ่อ...ช่วยลูกด้วย!"
ส่วน นางกวัก หรือ กวักทองมา นั้น มีรูปเคารพมากอยู่แล้ว และรูปนั้นมักทําเป็นมือขวากวัก มือซ้ายถือถุงเงินทอง ถือเป็น
"จ้าวแม่ทรัพย์สินเงินทอง" จึงนิยมสร้างกันมาก นอกจากนี้ยังยกเป็น "จ้าวแม่ค้าขาย" กระทั่งมีมนต์นางกวักว่า
"โอม...ปู่เจ้าเขาเขียว มีลูกคนเดียวซื่อ "นางกวัก" หญิงเห็น หญิงรัก ชายเห็น ชายทัก ทุกถ้วนหน้า โอมมะพลับพลา...จะไปค้าเมืองแมน
ให้ได้แสนคะนานทอง นึกเงินให้ได้เงินมากอง นึกทองให้ได้ทองมาเป็นหาบ วันนี้ให้มีลาภ สามเดือนกลับมาเรือนให้ได้เป็นเศรษฐี สามปีให้ได้ค้าตะเภาทอง
โอม...ปู่จ้าวเขาเขียว ยกให้แก่ลูกคนเดียวเป็นกรรมสิทธิ์..." ฉะนี้
"จ้าวแม่นางกวัก" จึงเป็น "ต้น" และ "จ้าว" ผู้ประสิทธิ์ประสาทอาชีพ ทรัพย์สินค้าขาย ขึ้นเป็น "จ้าวแม่ผี" ผู้ศักดิ์สิทธิ์
จึงสร้างรูปเคารพ เป็นเครื่องเคารพนับถือบูชา สักการะระลึกถึงตลอดมากระทั่งบัดนี้ "นางกวัก" จึงขึ้นชื่อลือเรื่องอยู่ในหมู่คนทั่วไป
สำหรับ ขุนพระอิน และ นางกวักทองมา ซึ่งเป็นผู้ทำความเจริญไว้แก่ไทย ไทยทั่วไปจึงยกขึ้นเป็นที่ระลึกถึง บวงสรวง กราบไหว้ ขอให้ช่วย
ทั้งไทยได้กระทำกันมาตลอดนั้น กระทั่งถึงกาลบัดนี้ ในหมู่ชาวชนบทหรือชาวบ้าน ทั่วไปยังกระทำกันอยู่ แต่ "ผู้รู้" หรือ "นักรู้ อดิศักดิชน"
ได้เปลี่ยนไปเป็นไหว้อื่น ๆ หมด
ในภาคใต้ คนไทยที่เป็นนักเพลง "โนรา" และ "หนัง" ยังมีเพลงไหว้ครูระบุถึง "ขุนอิน" "นางกวัก" ซึ่งถือกันว่าเป็น "ต้นไทย" และเป็น "ต้นบา"
"ต้นขอม" "ต้นครูบาไทย" (ได้ขอร้อง พระเดช ฌานปิโย วัดนี้ ช่วยหาให้ ได้จดมา ๔ หน้ากระดาษดูก็ถูกเปลี่ยนไปแล้ว) เช่น "ขุนอิน" มีเพียงว่า
"ไหว้ท้าวอินโทในชั้นโสฬส"
มีเล่าว่า เดิมว่า "ไหว้ขุนพระอินนางกวัก ในชั้นโสฬส" กับ "ขุนแรกต้น" และ "แม่โสพบ" ก็เปลี่ยนว่า "ไหว้พระปริถวีราชา (จ้าวที่ทุ่งนา)
ภุมมาหาลาภหาไชย ไหว้นางโพกภาวดี (โพสบ) นบไหว้นางธรณีคงคาเป็นแม่ใหญ่..." "แม่ซื้อ" เป็น "แม่ธรณี" "แม่ย่านาง" เป็น "แม่คงคา"
ถึงอย่างนี้ก็ได้เห็นเป็นหลักฐาน จึงสุดซึ้งใจมากขอขอบคุณด้วย
ณ ภาคกลางในของหลวง เช่น แม่โพสบ เป็นแม่หญิงไทยรู้จักทำข้าว ไทยจึงยกขึ้นเป็น "จ้าวแม่ข้าว" ได้บำบวงบูชากันมา ก็ยกไปให้อินเดียแล้ว และเช่น
"เพลงขุนอิน" และ "ขุนหญิงนางกวัก"ได้เข้าไปเป็นเพลงโขน เล่นเรื่อง "รามเกียรติ์" ก็ต้องเปลี่ยนไหว้ "ครูไทย" ไปไหว้ "นารายณ์ อิศวร พรหม"
อันเป็นของชมพูทวีป (แขกแท้ ไม่มีชื่อว่า "พระ")
แม้ใน "พระนิพนธ์" (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์) จะย่อพอได้ความว่า "ไหว้ครู" นั้นเองควรจะเป็นว่า ศิษย์ไหว้ครู
ผู้สอนวิชาให้แก่ตนแต่มีเครื่อง...ตั้งในการไหว้ครูให้เคารพด้วย จึงพาให้เข้าใจไปว่าไหว้ผี...เหล่านั้นเป็นผีอะไรก็ไม่ทราบ ทำให้พวกครูเดือดร้อน
เห็นว่าเลวเกินไป จึงคิดหาเทวดาเข้ามาปรับให้เป็น "ผีฟ้า" จะได้มีศักดิ์โดยสมควร
พวกโขนเล่นเรื่อง "รามเกียรติ์" อยู่แล้ว จึงเลิกไหว้ "ครูบาไทย" ได้พร้อมกันไหว้ ถวายบังคม "นารายณ์ อิศวร พรหม" อันเป็นเทวดาแขกนั้น "บาไทย
ขอมไทย ครูบาไทย" ผู้สร้างระบบรำ ระบบเสียงร้อง ระบบเสียงเครื่องทำเพลง ก็ต้องหลบเข้าฉากไปหมด แม้การรำเพลงไหว้แบบไทย ตั้งบายศรีต้น ใช้มือรำไหว้ บังคม
ก้มไหว้ ฯลฯ เวลานี้ เปลี่ยนไปตามแบบอินเดีย คือถาดใส่เครื่องเซ่นบูชา เอาธูปปัก ใช้มือช้อนขึ้นชูรำยื่นถวายพระเป็นจ้าวแล้ว เพราะไทยดูถูกกันเองอย่างนี้
ของไทยก็ค่อยสูญไป ของแขกเข้ามาแทนที่ "ไทยนักรู้" "ไทยผู้รู้" ทั้งหลาย จึงยกไปให้แขกหมดแล้ว ทั้ง ๆ ที่แขกไม่มีเลย ก็ได้ไปแล้ว ดูเขาจะไม่ยอมรับ
"ต้นเรื่องไทย" และ "ชื่อต้นไทย"
กระเบื้องจารเล่าเรื่องว่า ขุนแผนเมืองฟ้า และ นางดวงขวัญใจ มาเขาทะเล สร้าง เมืองแผน อยู่ด้วยกันมา มีลูกชายคนแรกชื่อ
"อิน" และมีลูกสาวชื่อ "ฟ้า" หรือ "ฟ้าอยู่เรือน" ครั้นขุนแผนเมืองฟ้าตาย ขุนอินได้ครองต่อ อยู่มาแม่ดวงขวัญใจตายอีก จึงครองต่อมา
ยังไม่มีเมีย น้องสาว "ฟ้าอยู่เรือน" เล่าว่า
"สาวกวักทองมา" ลูกขุนเขาเขียว-แม่ขวัญทองมา เมืองอินนั้นสวยงามนัก ขุนอินได้ยินจึงใคร่ไปดู และได้ปลอมตัวเองเป็น "ขอม"
เที่ยวไปถึงเมืองอินถิ่นเขาเขียว ขึ้นต้นไม้นั่งที่คบคอยดู ตอนบ่าย "กวักทองมา" (คงมีเพื่อนด้วย) ออกจากถ้ำมาอาบน้ำในบึงสะพังห้วย "ขุนอิน" เห็นแล้ว
"สาวกวักทองมา" มีรูปร่างสวยงามอย่างเล่าลือกัน มีความพอใจลงจากต้นไม้ ดําน้ำไปโผล่ที่ใกล้
คราวแรกนางกลัวจะขึ้นหนี ขุนอินจับขา นางลงไปอาบน้ำด้วยกัน จับปูนาชูให้ คุยกัน ว่ายน้ำไปเก็บใบบัวดึงสายขึ้นมา เอาสายคล้องคอให้ใบห่มตัว
และเอาสายพันเอวให้ใบไว้หน้าและหลัง พอมืดขึ้น นางกวักพาขุนอินหลบตาพ่อแม่เข้าไปในถ้ำห้องของตัว นอนด้วยกันตลอดคืน
รุ่งเช้าขุนเขาเขียวและแม่ขวัญทองมา มาแยกลูกสาวออก จับขุนอินขังไว้ในถ้ำนั้น ๑๕ วัน เมื่อ "อ้าย" (พ่อ) "เอม" (แม่) เผลอ นางเอาสายบัว กล้วย
ผลไม้ไปให้ขุนอินกลางคืน เมื่อพ่อแม่หลับนางแอบไปหาและนอนกับขุนอิน บางทีพ่อแม่ก็ไม่ว่าอะไร นางจึงไปขอสัญญาปากคําว่ารักแท้ จะขอไปอยู่เมืองแผนด้วย
เมื่อขุนอินรับแล้ว พอได้โอกาสคืนวัน ๑๕ นางแก้ขุนอินปล่อยหลบพ่อแม่ออกมา เดินกลางคืนไปสู่เมืองแผน ยังไม่เข้าบ้านเมือง รุ่งเช้าอาบน้ำเล่นน้ำ
เก็บฝักบัว กะจับ กินกัน หยอกล้อกัน สนุกสนานด้วยกัน ร้องรําสรวลเสกัน ไม่ได้ห่วงอะไร
กระทั่งขุนเขาเขียว ขวัญทองมา และคน อื่น ๆ ยกพวกกันมาตามทันเข้า ขุนเขาเขียวถือท่อนไม้ใหญ่มา ขุนอินจึงคว้าท่อนไม้แห้งแข็งอันหนึ่ง
ได้ร้องประกาศชื่อแล้วกระโดดเข้าไปที่ขุนเขาเขียว ขุนเขาเขียวยกท่อนไม้รับ ด้วยกําลังแรงจึงเซล้มลง ขุนอินเงื้อท่อนไม้จะฟาดลง นางกวักร้องว่า
"อย่าทำอ้าย...(พ่อ) เอม...(แม่)"
ขุนอินหยุด ขุนเขาเขียวลุกขึ้นได้ยกพลอง จะตีขุนอิน นางกวักร้องว่า "อย่าเหี้ยมผัว"
"เอม" (แม่ขวัญทองมา) ถามว่า "ผัวเจ้า?" นางบอกรับต่อหน้าพ่อและแม่ว่า นางได้เสียกับขุนอินมากครั้งแล้ว
ขุนเขาเขียวจึงตกลงยอมรับขุนอินเป็นลูกเขยด้วย "พิธีการ" คือเอาชื่อตัวต่อเข้ากับขุนอินว่า ขุนอินเขาเขียว
จากนั้นมา "ขุนอิน" จึงมีชื่อเต็มว่า "ขุนอินเขาเขียว" ทั้งหมดได้พากันเข้าเมืองแผน จัดแจงเลี้ยงดูกัน เป็นการแต่งงานในคราวนั้น แล้ว
"ขุนเขาเขียว" และ "ขวัญทองมา" กับพวกต่างพากันกลับไปยัง "เมืองอิน" เดิม ขุนอินเขาเขียวอยู่เป็นคู่ครองกับนางกวักทองมา
ครั้งแรกได้นับปีที่ได้กวักทองมานั้นเป็น "ปีอิน ๑" เป็นการเริ่มปีไทย หรือศักราชไทย และเปลี่ยนชื่อเมืองแผนว่า "เมืองแมน"
ซึ่งเป็นการเริ่มสมัยเมืองแมน
ส่วนน้องสาว "ฟ้าอยู่เรือน" นั้น ไม่ได้กล่าวว่า มีผัวชื่ออะไร ต่อไปมีลูก จึงแน่ว่าคงได้แต่งงานกับคนอื่น ซึ่งยืนยันว่าไม่ใช่มีอยู่เพียงพวกเดียว
คนอื่นหรือหมู่อื่นก็มีอยู่แล้ว ขุนอินเขาเขียวอยู่ร่วมกับนางกวักทองมา หรือขุนหญิงกวักทองมา ตอนนั้นอาจไม่ต้องทําอะไรอื่นเพราะคนมีน้อย ข้าวทั้งข้าวจ้าว
ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ขึ้นเอง เผือก มัน ลูกไม้ วัว ควาย ช้าง ม้า เป็ด ไก่ ปู ปลา มีตามธรรมชาติมากมาย ต้องการเมื่อไรก็ออกไปเก็บ จับเอา
ซึ่งไม่ต้องทําเลี้ยง รักษา ก็มีเวลาว่างมาก
จึงคิดว่า "เมืองแผน" คับแคบ จึงย้ายไปหาที่อยู่ ใช้ช้างล้มต้นตะเคียนนํามาตั้งเรียงกัน เข้าสิบต้น สองแถว เอาไม้ไผ่เรียงลํา เอาใบโตนดมุงหลังคา
นางกวักทองมาเอาหญ้ารองพื้น ใช้นุ่นแแทรก ก็เป็นพื้นนอนอ่อนนุ่ม เป็นถิ่นสุขสําราญสําเริงรสรัก จึงเป็น "เมืองแมน แดนสวรรค์"
ขุนอินได้เพิ่มชื่อเรียกใหม่ว่า ขุนหญิงกวักทองมา ปีอินได้ ๒ นางมีครรภ์ คลอดลูกชายคนแรกให้ชื่อลูกว่า "อู่ทอง"
พ่อขุนเขาเขียวและแม่ขวัญทองมา มาขอเอาไปเป็น "ละอ่อน" คือ "ลูกเล็ก" คราวแรก "ขุนอินเขาเขียว" ไม่ยอมให้ นางเล่าว่า
"ขุนและข้อยยังอยู่ มื้อค่ำเมื่ออยู่เดียว มิมีละอ่อน เอาผัว รู้เอา นี่พาข้อยรู้สอดเสิงสรวง ออยรอยเริงใจ เลื้อเทื้อมิมีอิ่ม มีละอ่อน
เมียผัวรวมใจก่อลูก เอาหลายมะ (คงมีอีกมาก) ขอ "ขุนอิน" ให้ยกลูก "อู่ทอง" ให้ "อ้าย-เอม" พ่อแม่ขุนอินยอมจึงมอบให้ไป นางชวนขุนอินว่า
เมียผัวเสิงสะออนใจ มีลูกชาย ๑๓ คน และมีลูกหญิง ๗ คน
จดเล่าเพียงว่า จาก "ขุนอู่ทอง" อีกปี "เดือนอ้าย-ปีชวด" มีลูกชายตั้งชื่อว่า อ้ายชวดขุนชาย
อีกปีมี "เดือนยี่-ปีฉลู" ตั้งชื่อว่า ยี่ฉลู ขุนชาย
อีกปี "เดือนสาม-ปีขาน" มีลูกชายตั้งชื่อว่า สามขานขุนชาย
อีกปี "เดือนสี่-ปีเถาะ" มีลูกชายตั้งชื่อว่า สี่ฐอขุนชาย
อีกปี "เดือนห้า-ปีมะโรง" มีลูกชายตั้งชื่อว่า ห้ามะโรงขุนชาย
อีกปี "เดือนหก-ปีมะเส็ง" มีลูกชายตั้งชื่อว่า หกมะเส็งขุนชาย
อีกปี "เดือนเจ็ด-ปีมะเมีย" มีลูกชายตั้งชื่อว่า เจ็ดมะเมียขุนชาย
อีกปี "เดือนแปด-ปีมะแม" มีลูกชายตั้งชื่อว่า แปดมะแมขุนชาย
อีกปี "เดือนเก้า-ปีวอก" มีลูกชายตั้งชื่อว่า เก้าวอกขุนชาย
อีกปี "เดือนสิบ-ปีระกา" มีลูกชายตั้งชื่อว่า สิบระกาขุนชาย
อีกปี "เดือนสิบเอ็ด-ปีจอ" มีลูกชายตั้งชื่อว่า เอ็ดจอมขุนชาย
อีกปี "เดือนสิบสอง-ปีกุน" มีลูกชายตั้งชื่อว่า สิบสองกุนขุนชาย
อีกปีมีลูกสาว "วันอา" ตั้งชื่อว่า อาขุนนางสาว
อีกปี "วันอัน" มีลูกหญิงสาวตั้งชื่อว่า อันขุนนางสาว
อีกปี "วันอาง" มีลูกหญิงสาวตั้งชื่อว่า อางขุนนางสาว
อีกปี "วันอุ่น" มีลูกหญิงสาวตั้งชื่อว่า อุ่นขุนนางสาว
อีกปี "วันเอื่อย" มีลูกหญิงสาวตั้งชื่อว่า เอื่อยขุนนางสาว
อีกปี "วันอู่" มีลูกหญิงสาวตั้งชื่อว่า อู่ขุนนางสาว
อีกปี "วันอี่" มีลูกหญิงสาวตั้งชื่อว่า อี่ขุนนางสาว
เมื่อรู้ทําเจริญ
ต่อมา "ชื่อ" ที่คงอยู่ ขุนอิน ได้นําชื่อ ลูก ๆ ตั้งชื่อ "ปี เดือน วัน" คือ...
ปีชวด ปีฉลู ปีขาน ปีเถาะ ปีมะโรง ปีมะเส็ง ปีมะเมีย ปีมะแม ปีวอก ปีระกา ปีจอ ปีกุน
เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ เดือนห้า เดือนหก เดือนเจ็ด เดือนแปด เดือน เก้า เดือนสิบ เดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง
วันอา (อ่า-อาทิตย์) วันอัน (อั๋น-จันทร์) วันอาง (สะอาง-อังคาร) วันอุ่น (พุธ) วันเอือย (พฤหัสบดี) วันอู่ (ศุกร์) วันอี่ (เสาร์)
ชื่อ "ปี" และ "เดือน" ยังคงอยู่ในไทย ส่วนชื่อ "วัน" นั้น เมื่อสันสกฤตเข้ามา จึง เปลี่ยนเป็นชื่อภาษาสันสกฤต ชื่อไทยเดิมจึงหายไป
ขุนอิน และ นางกวัก ก่อไฟสุมไว้ในที่มี "แร่ขี้นก" มาก ๆ เห็นเหลวละลายได้ จึงนํามาเผารวมกัน ได้ความคิดรู้จักหล่อเป็นมีด ขวาน เสียม
จอบ ใช้หินลับด้านบางขึ้นคม ใช้ฟัน ปาด เจาะ ริด หั่น เฉือน เจียนได้ หล่อให้เป็นซี่ เป็นฟัน ทําเลื่อย...เลื่อยไม้ได้ หล่อเป็นห่วง
เอาเข้าร้อยกันเป็นโซ่ใช้ผูกล่ามได้ ทําให้แหลมเป็นหอก แทง เจาะ ปักได้
นางกวัก สุมไฟไว้ได้เก็บก้อนสีเหลืองใส่กองไฟ เห็นละลายเรียกชื่อว่า "ทอง" ก้อนขาว สีขาวเรียก "เงิน" ที่อ่อนเรียก "ตะกั่ว" และกับ
"อา" ลูกสาวเอาทองคํา เงิน หล่อละลายทําเป็นเส้น ทําปล้องเป็นสร้อย ทําแผ่นเป็นจําบัง เป็นกําไลทอง กําไลเงิน นางกวัก นําลูกนุ่นฉีก
เอาปุยทําแผ่น
"เอือย" ลูกสาวบอก ดอกฝ้ายสําลีเหนียวกว่า เอาม้วนฟั่นแล้วสานเป็นผืนผ้า
"อี่" คิดปั่นฝ้ายและกรอด้าย ทําฟืม ทอผ้า และจับไหมสาวเอาใย ควบทอเป็นแพรไหมใช้กันมา
"อาขุนสาว" เอาดินเหนียวปั้นเป็นก้อน ใส่กองไฟ เห็นแข็ง จึงเอาดินดานประสมทราย ละเอียดปั้นหม้อ กระทะ กา เอาเข้าเผาไฟสุก
แล้วใช้หุงต้มขังน้ำได้ และได้ช่วยกันทําสิ่ง อื่น ๆ เช่น โอ่ง ไห กระถาง ฯลฯ
◄ll กลับสู่ด้านบน
ขุนอู่ทอง (ผู้สร้างเมืองพงตึก)
นายอู่ทอง หรือ ขุนอู่ทอง ไปเป็นลูกของ ขุนเขาเขียว และ นางขวัญทองมา ใหญ่ขึ้นรู้จักเอาดินประสมแกลบ ปั้นแผ่นสี่เหลี่ยม
หนา บาง แล้วเผาไฟแข็งแล้วก่อเป็นตึก ใช้ดินดานเป็นเครื่องประสานซ้อนขึ้นรูปเป็นห้อง เรียกชื่อว่า "ตึก" ชวนตายายออกจากถ้ำมา อยู่ใกล้น้ำ
ตายายได้ขอ "นางเทียนก้อนทอง" ให้มาอยู่ด้วย จึงตั้งชื่อที่นั้นว่า พงตึก (ตั้งชื่อ ตรงนั้นว่า "นองทอง" "โกสินราย")
เป็นต้นชื่อ "อู่ทอง" และ "ตึก" (กาญจนบุรี เรียกกันว่า "อู่ทอง" ก็มี)
ขุนอินสิบสองพัน (ผู้คิดใช้ช้าง)
ขุนชวด หรือ (ที่เหนือเมืองราชบุรี มีภูเขาในเทือกพืด "เขาหลวงเหนือ" ชื่อ อ้ายช่วย หรือ อ้ายชวด
อาจมาอยู่ที่ตรงนี้ก่อนจึงมีชื่อติดมา ข้าง ๆ นั้นมีภูเขาชื่อ อ้ายจอ อีกด้วย) อ้ายชวดขุนชาย เมื่อใหญ่ชอบขึ้นต้นฌอ ซึ่งช้างชอบมาชุมโขลงอยู่
ขุนชวดคิดว่าพอจะจับได้ จึงกระโจนลงกอดคอ ช้างหัวฝูงวิ่งไปได้หน่อยเดียวก็หยุด ขุนลูบคลํามันเล่นจนช้างเชื่อง มันพามาเข้าฝูงได้เอาช้างเป็นเพื่อน
ช้างพาบุกป่าฝ่าดงไปถึง "เมืองเนืองทอง"
(ได้พบแผ่นหินรอยเฉาะมีเค้าลายสือไทย อ่านได้ว่า "เมืองเนืองทอง" ที่วัดใหญ่ชัยมงคล จึงรู้ว่าเมืองเนืองทองคือ "กรุงเก่า อยุธยา")
เมื่อได้พบ งามดอกไม้ และ อู่ทองงาม พูดจารักกันแล้ว มาบอกนางกวักทองมา พาแม่ขึ้นช้างไปขอและแต่งงานกันแล้ว พาแม่กลับมา "เมืองแมน"
จึงกลับไปครอง "เมืองเนืองทอง" อยู่ด้วยกัน แต่แม่เป็นคนปากร้าย ดุด่ากระทั่งจนทนไม่ไหว ขุนชวดคว้ามีดจะฆ่าแต่เมียห้ามไว้
เมื่อดุด่าให้ขึ้งแค้นอีกจึงหนีออกจากบ้านเมือง ช้างพาเข้าป่าเขา พบบ้านเมืองก็เข้าไปอยู่ด้วย แล้วก็ไปต่อไปถึง "สิบสองพันแห่ง" (จะใช่ "สิบสองพันนา"
หรือไม่...ไม่แจ้งชัด อาจใช่ ก็ได้) และได้ครองอยู่ที่นั้นถึง ๔๐ ปี
"อิน" คิดถึงพ่อแม่พี่น้องและเมีย กู่หาเรียกช้างเพื่อนร่วมทางมาบอกให้ทราบ ช้างโขลงนั้นพามาถึงเมืองแมน พ่อขุนอินเขาเขียวและกวักทองมาได้ต้อนรับ
มีงานฉลองรับ และตั้งชื่อตามที่ชื่อ ขุนอินสิบสองพัน
เมื่ออยู่ตามสมควรแล้ว ขี่ช้างไปเมืองเนืองทอง รู้ว่า นางอู่ทองงาม มีผัวใหม่ขึ้งแค้นจะฆ่า นางงามดอกไม้ เข้ามาห้าม
แล้วรับคําจะไปอยู่ด้วย ยอมไปตายด้วยกัน จึงพาไปเป็นต้น "ห้องทอง" มีข้านาง ๑ แสน ขุนอินสิบสองพัน ตั้ง "งามดอกไม้" เป็น "ขุนหญิง"
ขุนหญิงงาม จึงทําผ้า ทอผ้า ทําไหมแพร (คล้าย อึ่งตี่ฮ่องเต้ และ ง่วนฮองเฮา ซึ่ง "อึ่ง" ก็คือ "ขุนเหลือง" หรือ
"อ้ายเหลือง" ซึ่งเป็นคนต้นเจริญของ "ตงกก" ประเทศจีน ขุนอินสิบสองพันรู้จักใช้ช้างเป็นต้นตระกูลพลาย และชื่อ "งาม" กับ "ง่วน" ก็ใกล้เคียงกัน)
ยี่ฉลูขุนชาย (ผู้คิดทำเรือ)
ยี่ฉลูขุนชาย กับ อู่ขุนนางสาว เมื่อเยาว์และรุ่นชอบเล่นทําเรือ ใช้ไม้ระกําซึ่งอ่อนเจาะ ง่าย ใช้หนามไผ่จิ้มต่อกันหลาย ๆ ต้น
เอาเถาวัลย์มัด เอาดินประสมรังผึ้งอุด เอาลงลอยน้ำได้ เมื่อใหญ่เข้าหนุ่มสาว จึงใช้ต้นไม้แห้ง เอาเลื่อย...เลื่อย ใช้ขวานถาก ใช้เหล็กแหลมคิดเป็นสว่านเจาะ
ใช้ลูกปะสักประสานเข้ากับโกรนขึ้นเป็นเรือ
เที่ยวเก็บรังผึ้งผสมดิน หาครั่งและยางไม้ ยางประสมกัน ลนไฟให้อ่อน อุด ยา ตลอดแล้ว ไม่รั่วจึงตั้งเสา เอาไม้ไผ่ทําประทุน เอาใบโตนดมุงเป็นร่ม
ใช้ไม่ถ่อ ใช้กระดานพาย ต่อมาจึงทําเป็นพาย ทําให้ยาว แจว ลมแรง ๆ ก็ใช้ใบมะพร้าวตั้งทําใบแล่น ทวนน้ำได้ จึงชวนน้องสาว "นางอู่" ไปด้วยกัน
คราวแรกก็ไปใกล้ ๆ ต่อมาไปไกล ๆ บ้าง กระทั่ง "อู่ขุนนางสาว" เป็นสาวเต็มที่ อยู่กันในเรือนั้น เย้าหยอกกันต่าง ๆ ตามเยี่ยงพี่น้อง
เพราะไม่รู้เรื่องอะไร เมื่อ "อู่" มีนมใหญ่ขึ้น จึงให้พี่ "ยี่ฉลู" ลองจับลูบคลําเล่น ต่างก็รู้สึกว่านุ่มนวลสดชื่นดี เมื่อบ่อย ๆ
เข้าก็กลายเป็นเรื่องเพศและความรักขึ้น จึงได้เปลี่ยนจากพี่น้องเป็นผัวเมียกัน
ครั้งแรกรู้สึกเอร็ดอร่อยเต็มสุขใจ จึงพากันไปหาและถามพ่อแม่ว่า นี่อะไรใดเล่า...และ เล่าเรื่องทั้งวิธีรู้รสให้ฟังตลอด นางกวักทองมา และ
ขุนอินเขาเขียว รู้เรื่องดีก่อนแล้วจึงกล่าวว่า มึงเข้าที่เป็นเมีย ยี่ฉลูขึ้นที่ผัวแล้ว บอกให้ไปหาที่อู่อยู่เป็นผัวเมียกัน
จะได้มีลูกชายหญิงสืบต่อกันไป และสอนวิธีมีลูก เลี้ยงลูกให้นมลูกกิน ไม่ใช่เพียงให้ผัวจับคลึงเคล้าเท่านั้น
"ยี่ฉลู" จึงพา "อู่ขุนสาว" ลงเรือพายแจว ถ่อไป หาที่อู่อยู่ไปตาม "คลองลว้า" เมื่อ "อู่" คิดถึงเมืองแมน พี่น้อง พ่อแม่ ก็คร่ำครวญร้องไห้
ยี่ฉลูเข้ากอดปลอบน้องชวนคุย ชวนให้สุขสดชื่น และชวนรื่นรมย์รสรัก นางหยุดสะอื้นไห้อย่างนี้ ตลอดทางไปถึงที่ดี จอดเรือพากัน ขึ้นจากเรือ ตัดไม้จริงมาทําเสา
ปลูกเรือนอยู่ และทําให้งัวควายอยู่ จึงตั้งชื่อที่นั้น โดยเอาชื่อ "อู่" น้องสาวขนานว่า อู่ทอง
ต่อมามีลูกชายชื่อ อินอู่ทอง ได้พามาหา ปู่ ย่า ตา ยาย ขุนอินให้สายเหล็ก แม่กวักทองมาให้สายสร้อยทอง เป็นของขวัญแก่หลานชายพอสมควรแล้ว
"ขุนยี่ฉลู" และ "ขุนหญิงอู่" ก็กลับไป "อู่ทอง" มีลูกชายหญิงอีกคือชาย ชื่อ ฉนูทอง หญิงชื่อ สลากทอง ชายชื่อ เฉลิมทอง หญิงชื่อ
สลองทอง ชายชื่อ ฉกอทอง หญิงชื่อ ฉไม้ทอง เป็นต้นตระกูล "งัว" หรือ "งั่ว"
"ชื่อ" และ "รูป" ปรากฏ ต้นรู้ชื่อกาลเวลา
"ชื่อ" นอกจากที่ปรากฏเป็นชื่อ "ปี เดือน วัน" ตามเสียงกล่าว และที่รู้จักในหมู่คนไทยแล้ว ยังมีติดอยู่ตามสถานที่เช่น ที่ตอนเหนือราชบุรี
มีภูเขาชื่อว่า "อ้ายช่วย, (คืออ้ายชวด) อ้ายจอ" ที่คูบัวว่า "บ้านหมอเส็ง, บ้านนาวอก, บ้านสามขาน" ที่เพชรบุรีมี "ห้วยโรง ห้ามะโรง"
"บ้านพระอนุกูล" (หรือ "แม่กุน" หรือ "มะกุน" คือ "กุน") และมี "รูป" ที่ทํากันไว้ เช่น "รูปคเณศวร" ทําเป็นเศียรช้างและขี่หนู
อันอาจเป็นรูปขุนชวด (หนู) และขุนชวดนี้ เริ่มใช้ช้างเป็นกองทัพขึ้นไปยึดเมืองได้ถึง ๑๒ พัน จึงขึ้นชื่อว่า "ขุนอินสิบสองพัน"
"คเณศวร" แปลว่า "ใหญ่ในคณะ" และ มี "หนู" อันหมายถึง "ชวด" เพราะเหตุว่า อ้ายชวด รู้จักจับช้างมาใช้ได้ กับต่อมาได้ฝึก
หัดกระทั่งรู้จักรบทัพได้ยุทธหัตถีนี้ มีอยู่ในแหลมทองนี้ โดยเฉพาะในตํารารบไทย "อ้าย ชวด" เมื่อขึ้นเป็น "จ้าวพ่อช้าง" จึงสร้างรูปหัวช้าง
สามขาน (ผู้ประดิษฐ์เครื่องใช้ต่าง ๆ)
สามขานขุนชาย กับ อาขุนสาว เมื่อ "ขุนอิน" สุมแร่หล่อเหล็กก็ช่วยทำ รู้ทำมีด ขวาน จอบ เสียม ดาบ หอก แหลน หลาว "อาขุนสาว"
ช่วยแม่นำไฟจุดสุมขอน เอาดินปั้นโยนใส่จนแข็งแล้ว จึงปั้นเป็นกระบอกเผาไฟ สุกแล้ว แช่น้ำไม่เปื่อย จึงทําเป็นหม้อ หุงต้ม ข้าว ปลา ผัก กินง่าย
จากนั้นก็คิดประดิษฐ์ เครื่องดินเผาต่าง ๆ
เมื่อเห็น "ยี่ฉลู" และ "อู่" น้องสาวได้ผัวเมียกัน จึงอยากได้บ้าง ตอนนั้นยังไม่มีใครอื่นมากนัก และพี่น้องก็สนิทสนมคุ้นเคยกัน
ซึ่งความรักฉันท์พี่น้องมีอยู่แล้ว จึงแจ้งแก่พ่อแม่ พ่อแม่ก็กล่าวว่า มีความรู้พอจะทําที่อยู่ หากินได้แล้ว จึงอนุญาต "อาขุนสาว" พา "พี่สามขาน"
มาอยู่ที่ใต้ลงมา สร้างเรือนอยู่ตั้งชื่อพี่เป็นเจ้าของว่า บ้านสามขาน (เวลานี้เรียกว่า บ้านขัน หรือ สามขัน)
อาขุนสาว" เมื่อให้ "สามขาน" เป็นผัว ก็ให้ร่วมรสเพื่อมีลูก จนถึงสิบปีก็ยังไม่มีลูก นางขึ้งเคียดมากจึงด่า สามขานจึงว่า
"มึงทํามิดี...มิมีลูก...พี่ขึ้งเหลือ!" จับก้อนหินเงื้อจะฟาด ซึ่งอาขุนหญิงก็ขึ้ง จึงยืนยื่นหน้าอกให้ ขุนหยุดประกาศเลิกแล้ว
ทิ้งวิ่งหนีออกจากบ้านไป เมื่อสามขานออกจากบ้านไปแล้ว นางรู้สึกตัวว่าถูกทิ้งไปแล้ว กลับคิดถึงและเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้ระงมอยู่ไม่เป็นอันกินนอน
กระทั่งรู้ทั่วไป คนอื่นก็ได้ปลอบ
ขุนห้ามะโรง รู้เรื่องอยู่แล้ว จึงไปถึง "บ้านสามขาน" ชวนนางไปอยู่ด้วย นางก็นอนร้องไห้ระงมอยู่ "ขุนมะโรง" จึงเข้ากกเช็ดน้ำตา
และจูบปลอบน้องอย่าร้องไห้ จะให้ความสุขแทน "สามขาน" นางหยุดร้องไห้ บอกให้... ให้ทําความสุขใจให้จะไม่ร้อง
ขุนมะโรงเพื่อปลอบและเอาใจ จึงประเล้าประโลมและให้ความสุขตามที่น้องบอก นางหยุดร้องไห้และหัวเราะได้ และให้ขุนห้ามะโรงอยู่เป็นเพื่อนนอนสามวัน
และบอกว่า "อาง" ดุร้าย ขออยู่บ้านสามขาน และพี่มากกจะได้ไม่ร้องไห้อีก ซึ่งขุนห้ามะโรงรับคํา ก็มาร่วมด้วยเสมอ ได้สามปีนางมีลูกหญิงชื่อ มลิลา
และมีชายชื่อ ออหลวง
"สามขานขุนชาย" หนีออกจากบ้านแล้ว ก็ขึ้นช้างเดินทางจากไปกระทั่งถึง เขาพนม ในบ้านเมืองพนมนั้น มีขุนหญิงชื่อ ขนมดวงฟ้า
ซึ่งขุนสามขานไปได้เป็นเมีย มีลูกชายชื่อ ขุนเสือไทยฟ้า (ซึ่งเป็นต้นตระกูล "เสือ" และ "สมิง" เช่น เสือสมิง)
สี่ฐอขุนชาย (ผู้คิดทำแพ)
สี่ฐอขุนชาย (เถาะ) เมื่อเด็กชอบเล่นน้ำ จับปลา กุ้ง อยู่ดินบก ชอบไล่จับละมั่ง ละอง เก้ง กวาง ฟาน เมื่อหนึ่งได้เพื่อนกระต่าย มันวิ่งเร็ว
วิ่งจับได้ ไม่ฆ่า เอาเข้ากอหญ้า กลางวันเอาลงเล่นน้ำ เอาลําไผ่แห้ง เอาเถาหวายพันลอยน้ำเล่น
เมื่อหญิงชื่อ สินบ้านฟ้า ลูกอา "ฟ้าอยู่เรือน" มาร่วมเล่นกระต่าย เล่นแพ เมื่อหนึ่งเล่นเมียผัว สินบอกว่า
"แมวผู้ขึ้นทับแมวเมีย เอาสินออยรอย เมียผัว ให้เล่น รอทุกมื้อวัน ค่ำ เช้า..."
เมื่อหนึ่งสินอู่ แม่กวักทองมาว่า "มันขึ้นเมียผัวกันแล้ว ให้เอาที่อู่อยู่ เอาเมื้อน้ำที่เถาะ ชื่อบ้านฐอ (ปากฐ่อ ปากธ่อ) ที่เอาที่อยู่ มีข้าว มีนก
ปู ปลา กัดกินได้.."
เมื่อสินบ้านฟ้าท้อง เมื่อเฝ้าหอ ข้าออกเอา กุ้งปลา กล้วย อ้อย พร้าว โตนด ดินดอก เอาให้กิน ออกชายชื่อ ถมฟ้าเมือง ออกญิงชื่อ เถิมแสงฟ้า
ออกญิงชื่อ เสิมถิ่นฟ้า ออกญิงชื่อ สุกสีฟ้า ชายชื่อ ส้างสั่งฟ้า ชายชื่อ ถ้อสินฟ้า (ซึ่งเป็นต้นตระกูล หรือ "นักษัตร์"
กระต่าย)
ห้ามะโรง (ผู้รู้วิธิทำฟูกหมอน)
ห้ามะโรงขุนชาย หัวร่วง หลวง ฬวง (นาค งูหงอน) เมื่อเป็นเด็กชายช่วยพ่อแม่คุม พี่น้องทําโรงอู่อยู่ ทําหอนอน อางขุนสาวเอาผ้าสาน
ผ้าทอหุ้มนุ่นสําลี เอาเถาวัลย์ร้อยเป็นฟูก หมอน นอนทับ หนุนหัวได้ เอาเข้าห้อง หอนอน
เมื่อห้ามะโรงเข้าไปดู อางให้ลองนอน หนุนหมอนก็อ่อนนุ่ม ให้อางทําให้บ้าง อางขุนสาวบอก นางขึ้นสาวแล้ว นมใหญ่แล้ว ทําไว้ในหอนี้
เอาไว้นอนเป็นเมียผัวกัน
เมื่อแม่กวักออก (คลอด) "เอือย" แล้ว พ่อขุนนอนกก พี่มากกทับน้องเหมือนพ่อ ฟูกหมอนอ่อนนิ่มเหมือนกัน ขุนห้ามะโรงทําตาม จึงได้กันและรู้รสรัก
จึงมีบ่อย ๆ กระทั่งพ่อแม่เห็นเข้าบอก ขึ้นผัวเมียกันแล้วให้ไปหาที่อู่อยู่ใหม่ แต่ทั้งคู่ไม่ไป อยู่กันที่นั้น มีลูกด้วยกัน เป็นชายชื่อ มะร่วงไทยลว้า
เมื่อขุนอินตาย ขุนห้ามะโรงจึงเปลี่ยน เป็นปีอิน ๓๕๐ และเป็นต้นชื่อ ฬวง คือ นาค งูหงอน งูใหญ่ และหลวง เป็นผู้สืบ "วงหลวง" หรือ "พระร่วง"
ต่อมาเป็นต้นตระกูลงูใหญ่ หรือนาค (นักษัตร์มะโรง) และอาจไปอยู่ หรือไปพักที่ ห้วยโรง จึงมีชื่อ "ห้วยโรง ห้ามะโรง" ติดต่อมา
หกมะเส็ง (ผู้รู้วิธีรักษาโรค)
หกมะเส็งขุนชาย และ เอือยขุนสาว มะเส็ง (ม่อ=หมอ) (เส็ง แปลว่า แข่ง) อาจรู้ ยาบําบัดพิษงูและงูสวัด จึงเป็นต้นตระกูลงูเล็ก
(นักษัตร์มะเส็ง) เมื่อใหญ่ชอบเล่นปลูกต้นไม้ ชิมรสรู้ต้น ราก ใบ ดอก ลูก เปลือก แก่น แก้ไข้ ทํายาแก้ป่วยไข้ รู้เอาหินบด เอาหม้อต้ม เผาไฟ ย่างไฟ ตากแดด
จึงขึ้นชื่อ "หมอเส็ง"
เอือยขุนสาวมาช่วยปลูก เก็บประสม ต้ม ตาก เมื่อพ่อแม่พี่น้องป่วย ก็เอามาช่วยแก้ไข รักษาให้ แม้ที่อื่นก็มาหา มาเรียนจําเอาไป เอือยขุนสาวก็ไปด้วย
เรียนด้วย รักษาด้วย จึงรู้และขึ้นชื่อเป็น "หมอหญิง" นางรู้สึกรัก เคารพนับถือพี่คนนี้มาก ไม่อยากให้จากไปอื่น ต้องการให้อยู่เป็นพี่และเป็นผัว