(Updater 21/06/52)
มาดูการ์ตูนลดโลกร้อน น่ารักๆ กันเถอะ
นับเป็นข่าวร้ายของคนทั้งโลก เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติ (National Snow and Ice Data
CenterNSIDC) มหาวิทยาลัยโคโรลาโด ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ของนาซาและมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เผยผลการศึกษาว่า แผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติก
ขั้วโลกเหนือกำลังละลายอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ในที่สุดการสะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์ของโลกทั้งใบก็ลดลงด้วยขณะที่โลกดูดกลืนพลังงานมากขึ้น โลกก็จะร้อนขึ้น
น้ำแข็งขั้วโลกเหนือกำลังละลาย : สัญญาณอันตรายของมนุษยชาติ
เป็นผลทำให้แผ่นน้ำแข็งเกือบ 7 ล้านตารางกิโลเมตรหดตัวเหลือเพียง 5.32 ล้านตารางกิโลเมตร ลดลงไปประมาณ 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร
หรือขนาดสองเท่าของรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมาก
การละลายที่รุนแรงนี้เปิดเส้นทางเดินเรือ "Northwest
Passage"
เส้นทางซึ่งเชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชียที่สร้างตำนานการผจญภัยของนักบุกเบิกซึ่งสูญเสียลูกเรือหลายคนในความพยายามแล่นเรือฝ่าแผ่นน้ำแข็งที่มีความหนาและสภาพ
อากาศที่หนาวจัดเมื่อต้นศตวรรษที่ผ่านมา
แผ่นน้ำแข็งอาร์กติก คือ
บริเวณมหาสมุทรอาร์กติกที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งอย่างน้อยที่สุด 15% น้ำแข็งจะเริ่มละลายในฤดูใบไม้ผลิ
และจะละลายมากที่สุดในเดือนกันยายนซึ่งเป็นปลายฤดูร้อน และจะฟื้นคืนสภาพเป็นน้ำแข็งอีกครั้งในช่วงฤดูหนาว
นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าปรากฏการณ์นี้มีความสำคัญต่อทุกคนบนโลกซึ่งกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อนและผลกระทบที่ตามมาหลายอย่าง เช่น
พายุที่รุนแรงและความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ของโลก การละลายของธารน้ำแข็งที่ทวีปแอนตาร์กติกซึ่งทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ NSIDC และนาซาทำการศึกษาการลดลงของแผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติกโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมตั้งแต่ปี 1978 จนถึงเดือนกันยายน 2005
พวกเขาพบว่าแผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติกลดลงในอัตราเร่งในช่วงปี 2002-2005 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการลดลงในช่วงเวลาก่อนหน้าปี 2002
ข้อมูลจากดาวเทียมในช่วงปี 1979-2001 บ่งชี้ว่าอัตราการลดลงของแผ่นน้ำแข็งต่อทศวรรษมากกว่า 6.5% เพียงเล็กน้อย แต่ปี 2002 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 7.3%
และปี 2005 ขยับขึ้นไปอีกเป็น 8%
ในขณะที่ปริมาณน้ำแข็งที่คืนสภาพในช่วงฤดูหนาวของปี 2004-2005 มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
นอกจากนั้นยังพบว่า ตั้งแต่ปี 2002
เป็นต้นมาช่วงเวลาน้ำแข็งละลายในฤดูใบไม้ผลิเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติในบริเวณทางตอนเหนือของอลาสกาและไซบีเรีย และในปี 2005
ช่วงเวลาน้ำแข็งละลายทั่วอาร์กติกเร็วขึ้นถึง 17 วัน
อุณหภูมิบริเวณอาร์กติกสูงขึ้นในสองทศวรรษที่ผ่านมาเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อ 50 ปีที่แล้ว
นักวิทยาศาสตร์พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2005 สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติกประมาณ 2-3 องศาเซลเซียส หรือ 3.6-5.4
องศาฟาห์เรนไฮต์
จูเลียนเน สโตรเฟว นักวิทยาศาสตร์ของ NSIDC
บอกว่า เมื่อดูจากปริมาณน้ำแข็งในปี 2005 จนถึงเดือนกันยายน มีปริมาณน้ำแข็งน้อยกว่าในปี 2002 ซึ่งเป็นปีที่น้ำแข็งมีปริมาณน้อยที่สุดมานานกว่าศตวรรษ
และว่า ถ้าน้ำแข็งลดลงในอัตราเช่นนี้ต่อไป จะไม่พบน้ำแข็งในฤดูร้อนของอาร์กติกอีกเลยก่อนสิ้นศตวรรษนี้
ดร.มาร์ค เซอร์เรซ
นักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งของ NSIDC บอกว่า น้ำแข็งที่อาร์กติกมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคำอธิบายที่ดีที่สุดก็คือเพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น
นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า แนวโน้มการลดลงของน้ำแข็ง
การไม่คืนสภาพของน้ำแข็ง
การละลายที่เร็วขึ้นในช่วงดูใบไม้ผลิและอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยเป็นฟีดแบ๊คต่ออินพุตของระบบซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
ฟีดแบ๊คที่สำคัญคืออุณหภูมิที่สูงขึ้น เซอร์เรซอธิบายว่า การลดลงของน้ำแข็งก็เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น
และการลดลงของน้ำแข็งจะทำจะให้น้ำแข็งลดลงมากขึ้นไปอีก เพราะน้ำแข็งสีขาวสะท้อนรังสีหรือพลังงานจากดวงอาทิตย์กลับไปยังอวกาศ
ขณะที่น้ำทะเลสีเข้มในมหาสมุทรดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้มันจึงทำให้มหาสมุทรจะร้อนขึ้น
เมื่อมหาสมุทรร้อนขึ้นก็ยากที่น้ำทะเลกลับคืนสภาพเป็นน้ำแข็งอีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว
ผลกระทบจากน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายได้เกิดขึ้นแล้วในระดับท้องถิ่น
น้ำทะเลกำลังกัดเซาะชายฝั่งไซบีเรียและอลาสกาทำให้ประชาชนที่อาศัยตามแนวชายฝั่งต้องอพยพ ในขณะเดียวกันน้ำแข็งที่ปกคลุมพื้นดินก็กำลังละลายเช่นกัน
ความแห้งแล้งอย่างยาวนานที่เกิดขึ้นในรัฐทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาก็อาจจะเป็นผลกระทบอย่างหนึ่งซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังหาคำตอบกันอยู่
<
/STRONG>
นอกจากผลกระทบต่อมนุษย์แล้ว
หมีขั้วโลกก็จะสูญพันธุ์ไปในเวลาไม่เกินศตวรรษนี้เพราะพวกมันอาศัยอยู่บนแผ่นน้ำแข็ง
Northwest Passage
สิ่งที่หลายคนอยากรู้ก็คือ การเกิดพายุเฮอร์ริเคน
"แคทรีนา" และเฮอร์ริเคน "ริตา"
ที่มีกำลังรุนแรงเชื่อมโยงกับการละลายของน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือซึ่งเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของความชื้นและลมหรือไม่
ยังไม่มีคำตอบในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าทั้งสองปรากฏการณ์เกิดจากสาเหตุเดียวกันคือสภาวะโลกร้อนจาก "ปรากฏการณ์เรือนกระจก"
ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าสภาวะโลกร้อนอาจเกิดจากจุดดำของดวงอาทิตย์
โลกร้อนทำให้เกิดพายุเฮอร์ริเคนอย่างไร? คำอธิบายมีอยู่ว่า พายุเฮอร์ริเคนเกิดในบริเวณที่อุณหภูมิสูง
เรือนกระจกทำให้มหาสมุทรร้อนขึ้นซึ่งก็เท่ากับว่าเติมเชื้อให้กับพายุเฮอร์ริเคนและทำให้มีกำลังแรงขึ้นด้วย
ดร.คลอส วอลเตอร์
นักวิทยาศาสตร์ของ NOAA"s Climate Diagnostics Center มหาวิทยาลัยโคโลราโด บอกว่า เมื่อเดือนสิงหาคม 2005
ก่อนที่พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาจะถล่มอเมริกาในวันที่ 29 สิงหาคม 2005 นั้น อุณหภูมิของผิวทะเลในอ่าวเม็กซิโกสูงที่สุดในรอบ 100 ปีเลยทีเดียว
ยิ่งไปกว่านั้นยังไม่เคยเกิดเฮอร์ริเคนที่มีกำลังแรงระดับ 5 สองลูกซ้อนในฤดูเดียวกันและในที่เดียวกันอีกด้วย "มันเป็นเรื่องที่พิเศษมากที่มีเฮอร์ริเคนสองลูกที่มีความแรงระดับ 5 มาด้วยกันและจากที่เดียวกัน แต่น้ำทะเลทางตะวันตกของฟลอริดาร้อนจริงๆ
และร้อนในระดับลึกด้วย เราวัดได้ 79 องศาฟาห์เรนไฮต์ที่ความลึก 150 เมตร"
ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ความเชื่อมโยงระหว่างการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเหนือกับการเกิดพายุเฮอร์ริเคน
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้ในขณะนี้ก็คือโอกาสที่จะเกิดพายุเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงและมีจำนวนมากขึ้นในอนาคตมีสูงมาก
ดร.เคอรี
เอ็มมานูเอล นักฟิสิกส์ของเอ็มไอที เผยผลการวิจัยในวารสารเนเจอร์ฉบับเดือนสิงหาคม 2005 ว่า ความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนเพิ่มขึ้นในระยะ 30
ปีที่ผ่านมา ความเสียหายที่เกิดจากอำนาจการทำลายล้างของพายุเฮอร์ริเคนทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกมีมากกว่าเกือบเท่าตัวกับที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1970
และพายุเฮอร์ริเคนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกก็มีกำลังเพิ่มขึ้นด้วย
และล่าสุด ผลงานวิจัยของศาสตราจารย์ ปิเตอร์ เว็บสเตอร์ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร เจอร์นอล ไซนซ์ ฉบับเดือนกันยายน 2005 ระบุว่า
จำนวนพายุเฮอร์ริเคนในมหาสมุทรซึ่งมีความรุนแรงระดับ 4-5 เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในระหว่างปี 1990-2005
สถิตินี้บอกแนวโน้มว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต
สิ้น ก.ย นี้อาจไม่เหลือน้ำแข็งขั้วโลกเหนือเป็นครั้งแรก
"เราอาจไม่เหลือน้ำแข็งบนขั้วโลกเหนือเ มื่อสิ้นสุดฤดูร้อนนี้ (ประมาณปลาย ก.ย.) และเหตุผลก็เป็นเพราะ บริเวณขั้วโลกเหนือในขณะนี้
ปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็งที่บางมากๆ
และน้ำแข็งที่เราเรียกว่าเป็น "น้ำแข็งแรกของปี" ก็มีแนวโน้มว่าจะละลายหมดไปในฤดูร้อนนี้" เอเอฟพี รายงานคำให้สัมภาษณ์ของมาร์ก เซอร์เรซ (Mark Serreze)
นักวิจัยอาวุโสของศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งสหรัฐอเมริกา (National Snow and Ice Data Center) ในเมืองโบลเดอร์ มลรัฐโคโรราโด สหรัฐฯ
ขณะที่เอพีรายงานด้วยว่า เพราะความบางของแผ่นน้ำแข็ง จะทำให้ละลายหมดไปในฤดูร้อน ทั้งนี้จะมีการประเมินเงื่อนไขทางสภาพอากาศ และมหาสมุทรในอีก 2-3
เดือนข้างหน้า ว่าจะทำให้น้ำแข็งในทะเลละลายไปเท่าใด
เบื้องต้นเซอร์เรซระบุว่า สัญญาณที่ออกมาไม่ค่อยดีนัก โอกาสที่น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกจะละลายหมดไปเลยนั้น มีสูงมากกว่าที่ผ่านมา
เนื่องจากแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่นั้นบางกว่าในอดีตที่เคยเป็น
เจย์ ซวอลลี (Jay Zwally) นักวิทยาศาสตร์น้ำแข็งแห่งองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) กล่าวว่า ข้อมูลจากดาวเทียมของนาซาเมื่อต้น ก.พ.และ
มี.ค.นี้แสดงให้เห็นว่า วัฏจักรรอบๆ ขั้วโลกเหนือ "บางอย่างเห็นได้ชัด" กว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยเห็นมาในช่วง 5 ปีนี้ ซึ่งเขาคิดว่าเป็นไปได้ 50-50
ที่ขั้วโลกเหนือจะไม่มีน้ำแข็งเลย
เช่นเดียวกับเซอร์เรซ ที่ให้ความเห็นกับเอเอฟพีว่ามีโอกาส 50% ที่จะไม่เหลือน้ำแข็งอยู่เลย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงในเดือน ก.ย.
เรือเดินสมุทรอาจล่องจากอะลาสกา ไปยังขั้วโลกเหนือได้โดยตรง
และสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็เป็นสัญลักษณ์บ่งชี้หนึ่งว่าสิ่งแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะภาวะโลกร้อน
อย่างไรก็ดี แม้ไม่เหลือน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ ก็ยังเหลือน้ำแข็งบริเวณอื่นๆ ของมหาสมุทรอาร์กติก และเซอร์เรซได้ชี้ว่า
น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือนั้นเป็นสัญลักษณ์ทางใจของคนทั่วไป ที่เชื่อว่าขั้วโลกเหนือคือบ้านของซานตาครอส
เซอร์เรซย้อนว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา การคาดการณ์เช่นนี้ไม่น่าเกิดขึ้น จนกว่าจะถึงปี 2593-2643 และโดยส่วนตัวแล้วเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา
เขาก็ไม่คิดว่าสถานการณ์ที่น้ำแข็งจะละลายหมดไปนั้น กำลังใกล้เข้ามาในเร็วๆ นี้ และเมื่อหน้าร้อนปีก่อน ภาพถ่ายดาวเทียม เผยให้เห็นว่าน้ำแข็งในทะเล
ลดลงเหลือน้อยที่สุดที่เคยบันทึกมาและเป็นไปได้ว่าอาจเหลือน้อยที่สุดในรอบศตวรรษก็ได้ โดยน้ำแข็งหดตัวลง 23% จากปี 2548
ทั้งนี้ น้ำแข็งอาร์กติกจะเริ่มละลายช่วงกลางเดือน มิ.ย.และเข้าสู่ช่วงบางที่สุดประมาณกลางเดือน ก.ย. ก่อนที่น้ำแข็งจะเริ่มก่อตัวอีกครั้ง
และถึงจุดหนาที่สุดช่วงกลางเดือน มี.ค.
ทางด้านเซอร์เรซระบุว่าถ้าลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดอัตราเร่งของภาวะโลกร้อนก็จะช่วยชะลอการละลายของน้ำแข็งได้
แต่หากกลับแนวโน้มให้น้ำแข็งหนาตัวขึ้นจะต้องใช้เวลาอีกยาวนาน.
ที่มา :ผู้จัดการ
นักวิทยาศาสตร์เตือนระดับน้ำทะเลจะสูงไม่ต่ำกว่า 1 เมตรภายในปี 2643
นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะสูงขึ้นมากกว่าที่สหประชาชาติ (ยูเอ็น)
คาดการณ์ไว้เนื่องจากตัวเลขของยูเอ็นไม่ได้พิจารณาถึงปัจจัยเรื่องแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วขึ้นกว่าเดิม
นักวิทยาศาสตร์เตือนในการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่กรุงโคเปนเฮเกนของเดนมาร์กว่า รายงานการประเมินฉบับที่ 4 ปี 2550
ของคณะทำงานระหว่างประเทศของยูเอ็นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (ไอพีซีซี) คาดการณ์ว่า ระดับน้ำทะเลโลกจะสูงขึ้นสูงสุด 59 เซนติเมตร
ขณะที่พวกเขาคาดว่าจะสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ภายในปี 2643 ผู้หลายล้านคนเสี่ยงตกอยู่ในอันตรายเพราะมีผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลราว 600
ล้านคน หรือร้อยละ 10 ของประชากรโลก
ศ.คอนราด สเตฟเฟน มหาวิทยาลัยโคโลราโดในสหรัฐฯ ผู้ศึกษาเรื่องน้ำแข็งขั้วโลกเหนือมานานกว่า 35 ปี เผยว่า
น้ำแข็งที่กรีนแลนด์ละลายเร็วขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ต้องเร่งรับมือโดยทันที
ที่มา - http:// breakingnews.quickze.com/
....เนื่องจากก่อนหน้านี้ ตามข่าวจากสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางหน้าหนังสือพิมพ์ หรือในเว็บไซด์ต่างๆ ก่อนที่จะถึงวันที่ 12 มิ.ย. 53
ได้มีนักวิชาการทางด้านต่างๆ ได้ออกมาวิเคราะห์สถานการณ์ภัยธรรมชาติ ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ โดยเฉพาะคุณสมิทธ ธรรมสโรช ได้ยืนยันว่าจะเกิดขึ้นจริงว่า
แผ่นดินไหว ภัยพิบัติช่วงบอลโลก !!!
หลังจากเหตุการณ์ผ่านไป วันที่ 13 มิ.ย. นี้ ทางรายการ "เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์" โดยคุณสรยุทธิ์ได้สรุปเหตุการณ์อีกครั้งหนึ่ง
หลังจากมีแผ่นดินไหวที่อินเดีย - ญี่ปุ่น ช่วงประมาณตีสอง ซึ่งคุณสมิทธบอกว่าประมาณเที่ยงคืน ห่างกันเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น ถือว่าใกล้เคียงมาก
ซึ่งมีรายละเอียดของข้อมูล ที่ทางทีมงานเว็บตามรอยฯ ได้นำมาให้อ่านกัน ส่วนจะมีความน่าเชื่อถือได้แค่ไหน คงต้องใช้วิจารณญาณกันเองด้วย
ขอเริ่มข่าวก่อนวันที่ 12 มิ.ย. ก่อน..
☼ โปรดติดตามความเคลื่อนไหว "เหตุการณ์แผ่นดินไหวทั่วโลกล่าสุด" จาก "สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา"
ได้ตลอดเวลา มีการแสดงตำแหน่งทาง "แผ่นที่" และ "ดาวเทียม" จาก Google ด้วย คลิกที่นี่
โหร คมช. ออกโรงเตือนระวัง "สึนามิ" ถล่มไทย
08-11-2553 | 07:56 น. l ข่าวจาก เดลินิวส์ออนไลน์
.......แฉคลื่นยักษ์ซัดสองฝั่ง "อ่าวไทย-อันดามัน" ยับหนักกว่า 5 ปีก่อน แนะทุกฝ่ายสามัคคีร่วมทำบุญบรรเทา
ที่วิหารหลวงปู่เกวาลัน แห่งเทือกเขาหิมาลัย หมู่บ้านสุขิโต ต.ป่าตัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เมื่อเวลา 09.09 น. วันเดียวกัน มีพิธีทำบุญมหากุศล ครั้งที่ 8
ประจำปี พ.ศ.2553 โดยนายวารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ หรือโหรคมช. พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข อดีตผบ.ทอ. พร้อมนายทหาร นายตำรวจ
และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมจำนวนมาก
......โดยนายวารินทร์ บัววิรัตน์ เปิดเผยว่าการทำบุญครั้งนี้ เป็นการคลายกรรมของชาติบ้านเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้
เพราะเคราะห์กรรมใหญ่ของประเทศยังมีอยู่ต่อไป โดยจะเกิดภัยพิบัติใหญ่ต่อชาติบ้านเมือง ขึ้นหลังวันที่ 20 พ.ย.นี้ โดยเป็นภัยธรรมชาติจะเกิด สึนามิ
ใหญ่กว่าเมื่อ 5 ปีก่อนที่สร้างความเสียหายต่อประเทศไทยอย่างมาก บริเวณฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
การทำบุญนี้จะช่วยแค่คลายเคราะห์กรรมเท่านั้น จึงอยากให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันและสามัคคีเพื่อแผ่นดินของเรา
และร่วมกันทำบุญเพื่ออนิสงฆ์ผลบุญที่ทุกคนได้ทำ จะช่วยให้เคราะห์กรรมบางเบาลง
.......รุมดีดปาก "โหร" นิมิต นิมั่ว
ทายผิดไม่เคยรับผิดชอบ ผู้เชี่ยวชาญเรียงหน้ากระดานซัด "โหรวารินทร์" กุเรื่องเหลวไหล
ด้านกรมอุตุฯ จับมือผู้เชี่ยวชาญสึนามิ เดินสายแจงวอนประชาชนอย่าตกใจ เพราะจะไม่เกิดสึนามิ โดยเฉพาะในอ่าวไทยในเวลาอันใกล้แน่นอน...
สร้างเสียงฮือฮาอีกครั้งกับคำทำนายของเจ้าสำนักสุขิโต เจ้าของฉายา โหร คมช. วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ ออกมาใช้นิมิตทำนายดุว่า หลังจากวันที่ 20 พ.ย.นี้
จะเกิด "มหาสึนามิ" ถล่มประเทศไทย ในอ่าวไทย-อันดามัน สร้างความเสียหายมากมายกว่าครั้งที่แล้ว
ล่าสุด รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย นักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ฐานะหัวหน้าโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย
ออกมากล่าวถึงคำทำนายของเจ้าสำนักสุขิโตผ่านไทยรัฐ ออนไลน์ว่า สิ่งที่หมอดูคนนี้พูด ทั้งหมดเป็นเรื่องเหลวไหลทั้งสิ้น
"เหตุผลประการแรกก็คือ สึนามิไม่ว่าจะทางฝั่งอ่าวไทย โดยเฉพาะสึนามิที่เกิดฝั่งอันดามัน เมื่อ 5 ปีที่แล้วเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกได้ยากมากๆ
แต่ละครั้งอาจจะอาศัยระยะเวลาเป็นสิบ หรือหลายร้อยปีขึ้นไป ถึงจะเกิดอีกครั้งตรงนั้น ประการที่ 2 คือ หากบอกว่าคลื่นสึนามิในฝั่งอ่าวไทย จะเกิดขึ้นได้นั้น
ต้องใช้แหล่งกำเนิดที่สร้างคลื่นที่มากระทบทางฝั่งอ่าวไทย ไม่ใช่แหล่งกำเนิดเดิมหรือรอยเลื่อยแถวๆ นั้น"
โดยรอยเลื่อนใหญ่ๆ ที่ฝั่งอ่าวไทยไม่มี อีกทั้งแม้ว่าในฝั่งทะเลจีนใต้มีรอยเลื่อน หรือแหล่งกำเนิดขนาดใหญ่อยู่ใกล้ๆ ฟิลิปปินส์ เรียกว่า
"รอยเลื่อนมะนิลา" และหากเกิดตรงนั้นจริงๆ กว่าสึนามิจะเดินทางมาถึงอ่าวไทย และสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยนั้น จะต้องใช้เวลาหลายสิบชั่วโมง
ซึ่งมีโอกาสน้อยมากเราคงจะได้ทราบเหตุการณ์ และมีเวลาในการเตรียมรับมือได้ทัน
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแผ่นดินไหว ย้ำชัดว่า ที่สำคัญขณะนี้ยังไม่มีผลการศึกษาไหนที่สามารถจะบอกว่า
จะเกิดคลื่นที่เป็นอันตรายอย่างรุนแรงเหมือนทางฝั่งทะเลอันดามัน ดังนั้นอยากจะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนอย่าตื่นกลัวกับคำทำนาย
"อย่างที่ผมว่า แม้ว่าการศึกษาไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามมันไม่มีความสมบูรณ์ 100% แต่กรณีนี้ความน่าจะเป็นมีเพียงเล็กน้อยมากๆ โดยเฉพาะสึนามิอ่าวไทย
ทั้งนี้ ส่วนตัวก็ไม่ค่อยเชื่อหมอดูคนนี้ หรือคนไหนๆ ที่พยากรณ์อยู่แล้ว และคิดว่าอยากให้ประชาชนมองว่าเป็นเรื่องที่เหลวไหลจริงๆ โดยสิ้นเชิง"
ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหว กล่าวอย่างชัดเจน
นายต่อศักดิ์ วานิชขจร รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา รักษาการอธิบดีกรมอุตุฯ กล่าวถึงเรื่องคำทำนายที่ทำให้ประชาชนแตกตื่นว่า
"ไม่มีที่ไหนในโลกที่จะยืนยันได้ ผมถามหน่อย ที่เขาออกมาพูดอย่างนี้ทุกอย่างเสียหายโดยเฉพาะเศรษฐกิจ คำทำนายทำให้ประชาชนหวาดกลัว
ถามว่าเขารับผิดชอบอะไรหรือเปล่า ทุกวันนี้ผมตามแก้ข่าวสึนามิเยอะแยะไปหมด หากจะออกมาพูดอะไรก็ให้คำนึงถึงประชาชนหน่อย เรื่องนี้กรมอุตุฯ
ยืนยันว่าไม่มีใครสามารถทำนายหรือเตือนล่วงหน้าได้" รองอธิบดีกรมอุตุฯ กล่าวอย่างมีอารมณ์
ด้าน ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผู้ที่เคยออกมาทำนายเรื่องสึนามิจะเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า
เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดคลื่นสึนามิที่อ่าวไทยอย่างที่หมอดูระบุวัน เพราะในโลกนี้ไม่มีใครสามารถทำนายได้ถึงขนาดนั้น
"แต่ถ้าถามความคิดผมว่า จริงๆ แล้วสึนามิในอ่าวไทยมีโอกาสเกิดได้ไหม "เกิดขึ้นได้..."
แต่ไม่มีใครที่จะบอกได้ว่าจะต้องเกิดวันนั้นเวลานี่ ไม่มีใครในโลกทำได้ แม้กระทั่งวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่จะทำได้ถึงขนาดบอกวันที่จะเกิด
แต่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดก็มีอยู่ อาจจะเกิดก่อน หรือเกิดทีหลัง แต่ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาการเกิดได้แน่นอน
หากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ก็อาจมีสินามิได้ ในส่วนของฝั่งอ่าวไทยก็อาจจะมีได้หากเกิดแผ่นดินไหวที่ตอนใต้ของฟิลิปปินส์
ตอนนี้ก็ต้องเฝ้าระวังหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ สึนามิก็อาจจะเกิดขึ้น แต่กว่าจะมาถึงเมืองไทยก็ต้องผ่านอีกหลายประเทศ ซึ่งเราสามารถรู้ล่วงหน้าได้
และเตรียมตัวได้ทัน"