รวมคลิปวีดีโอ "ซึนามิที่ญี่ปุ่น" ปี 2011
webmaster - 18/3/11 at 15:03
รวมคลิปวีดีโอ "ซึนามิที่ญี่ปุ่น"
Click
Here... ชมเวปที่เปรียบเทียบภาพถ่ายก่อนและหลังเกิด "ซึนามิ"
webmaster - 21/3/11 at 08:32
แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นและทั่วโลก ไทยเฝ้าระวังรับมืออย่างไร ?
เหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในญี่ปุ่น 8.9 ริกเตอร์ ตามมาด้วยคลื่นยักษ์สึนามิ โถมเข้าซัดเมืองชายฝั่งทะเลทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น
สร้างความเสียหายอย่างหนักจนยากจะประเมินค่าได้ ทั้งยังสร้างความตระหนกแก่ชาวโลก เกี่ยวกับภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในระยะนี้
แต่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติของไทย ได้ย้ำและยืนยันว่าไทยมีภูมิประเทศปลอดภัยไม่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิได้ง่าย
หากไล่เรียงมาตั้งแต่ต้นปี 2554 เหตุการณ์แผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ไม่เพียงแต่ในชิลี นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น
ซึ่งสร้างความเสียและมีผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตจำนวนมาก แต่ยังเกิดแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรงรองๆ ลงมา เช่น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียว
เกิดในรัสเซีย 6.2 ริกเตอร์ / ประเทศตองกา 6.1 ริกเตอร์ / แผ่นดินไหวใต้ทะเลเซลีเบส ที่อยู่ระหว่างฟิลิปปินส์กับอินโดนีเซีย 6.7 ริกเตอร์ / แผ่นดินไหว
6.4 ริกเตอร์ บริเวณชายแดนอินเดียพม่า และขนาด 4.8 ริกเตอร์ ที่มณฑลหยุนหนานของจีน
(ภาพจาก hilight.kapook.com)
ส่วนในญี่ปุ่นนั้น ข้อมูลตั้งแต่ต้นปี 2554 มีรายงานว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ขนาด 6.5 ริกเตอร์
นอกชายฝั่งภาคใต้ของญี่ปุ่นในเดือนมกราคม , ส่วนเดือนที่ผ่านมา เกิดที่โตเกียวและทางตะวันออกของญี่ปุ่น 5.3 ริกเตอร์ / วันที่ 16 กุมภาพันธ์
ซึ่งครั้งนี้เองที่เหมือนการส่งสัญญาณก่อนเกิดภัยพิบัติใหญ่ เพราะได้เกิดแผ่นดินไหวถึง 3 ครั้ง ขนาด 5.1-5.4 ริกเตอร์ บริเวณชายฝั่งใกล้หมู่เกาะริวกิว ,
เกาะฮอนชู และที่เมืองเซนได , 21 กุมภาพันธ์ ขนาด 4.8 ริกเตอร์ ใต้ทะเลใกล้หมู่เกาะโบนิน และอีกครั้งคือขนาด 5.2 ริกเตอร์ ห่างจากเกาะฮอนชูไปทางตะวันตก
ก่อนเกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากแผ่นดินไหวขนาด 8.9 ริกเตอร์ และสึนามิพัดถล่มเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
นายเดวิด แอปเพิลเกต นักวิทยาศาสตร์ที่ปรึกษาอาวุโส ของสำนักงานสำรวจลักษณะภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ระบุว่า แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดในญี่ปุ่น
รุนแรงที่สุดในรอบเกือบ 1,200 ปี ทำให้เกิดรอยแยกบนพื้นผิวโลกใต้ทะเลกว้างประมาณ 80 กิโลเมตร ยาวประมาณ 240 กิโลเมตร ขณะที่ ดร.พีรนันท์ โตวชิราภรณ์
หัวหน้าแผนกวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยพิบัติ องค์กรเตรียมภัยพิบัติแห่งเอเชีย กล่าวว่า ไทยยังมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวสูง
แต่ก็มีความพร้อมรับมือมากที่สุดในประเทศแถบเอเชีย ทั้งอุปกรณ์และบุคลากร
ขณะที่ความรู้สึกของประชาชนคนไทยในจังหวัดชายฝั่งอ่าวไทย ที่มีต่อเหตุแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น สวนดุสิตโพลล์สำรวจพบว่า คนไทยร้อยละ 51.92
ค่อนข้างกังวลและเครียดกับเหตุการณ์ดังกล่าว และร้อยละ 26.63
เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมาตรการเฉพาะกับเหตุภัยพิบัติและครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
นาวาเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวยืนยันว่า เหตุการร์ดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างแน่นอน
จึงขอให้คนไทยโดยเฉพาะตามแนวชายฝั่งอย่าตื่นตระหนก และไทยมีระบบแจ้งเตือนภัย การประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา
ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวด้วยว่า เหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วงนี้ นักวิชาการส่วนใหญ่ยืนยันตรงกันว่า
เป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ซึ่งในชิลี นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก
ขณะที่ไทยมีภูมิประเทศไม่ได้อยู่บนรอยแยกจึงไม่มีความเสี่ยงหรือมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่น้อยมาก
ทิ้งท้ายด้วยการวิเคราะห์ของ นางสุมาลี ประจวบ ผู้อำนวยการสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา
ถึงสาเหตุที่หลายประเทศเกิดเหตุแผ่นดินไหวในช่วงนี้ว่า โลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก 15 แผ่น เมื่อขยับก็จะเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งในส่วนของจีน นิวซีแลนด์
และญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียน (Eurasian Plate)
(ภาพจาก ndwc.go.th)
ส่วนประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่บนรอยแยกของเปลือกโลก เพียงแต่พบรอยเลื่อนขนาดเล็กไม่กี่แห่ง จึงไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ หากย้อนดูสถิติจึงพบว่า
ไทยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในระดับ 5.9 ริกเตอร์ เมื่อปี 2526
ที่มา: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
เหตุการณ์แผ่นดินไหวปี 2011
27 ม.ค.2554
อินโดนีเซีย เกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลระดับ 6.1 ริกเตอร์ นอกชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา ไม่มีรายงานความเสียหาย ข้อมูลจาก ยูเอสจีเอส ระบุว่า
ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ลึกลงไปใต้ทะเลราว 22.6 กิโลเมตร ใกล้กับที่ตั้งของเกาะซิมิวลูนอกชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา
และอยู่ห่างจากเมืองเมดาน เมืองเอกของเกาะสุมาตราประมาณ 255 กิโลเมตร
12 ก.พ.2554
ชิลี เกิดแผ่นดินไหว 2 ครั้งซ้อน ระดับ 6.8 และ 5.6 ริกเตอร์ ใกล้กับเขต "บิโอ-บิโอ" ทางตอนกลางของชิลี
โดยครั้งแรกศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้ทะเลเพียง 28 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเมืองกอนเซ็ปซิออน ซึ่งเป็นเมืองเอกของเขตดังกล่าวไปทางเหนือเพียง 45
กิโลเมตร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
ครั้งที่สอง วัดแรงสั่นสะเทือนได้ระดับ 5.6 ริกเตอร์ ที่เขตบิโอ-บิโอด้วยเช่นกัน โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวคราวนี้อยู่ลึกลงไปใต้ดินเพียง 13.7 กิโลเมตร
และอยู่ห่างจากเมืองเลบูไปทางตะวันออกไม่ถึง 25 กิโลเมตร แต่ไม่พบรายงานความเสียหายร้ายแรง
20 ก.พ.2554
ญี่ปุ่น เกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลระดับ 4.8 ใกล้กับหมู่เกาะโบนิน ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปในมหาสมุทรแปซิฟิกราว 38.6 กิโลเมตร
โดยอยู่ห่างจากเกาะจิจิ-ชิมะ ในหมู่เกาะโบนินราว 165 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเกาะภูเขาไฟ "อิโว จิมะ" ราว 315 กิโลเมตร ไม่มีรายงานความเสียหาย
กัวเตมาลา เกิดแผ่นดินไหวระดับ 4.8 ที่นอกชายฝั่ง ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ทะเลราว 71.5 กิโลเมตร
และอยู่ห่างจากเมืองเอสกินตลาของกัวเตมาลาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 90 กิโลเมตร ไม่มีรายงานความเสียหาย
22 ก.พ.2554
ไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ เกิดเหตุแผ่นดินไหว วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.3 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางห่างจากเมืองไป 5 กิโลเมตร และลึกลงไปใต้พื้นดิน 4
กิโลเมตร เป็นเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งที่ 2 ในรอบ 5 เดือน แรงสั่นสะเทือนทำให้บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง และระบบสาธารณูปโภคในเมืองไครสต์เชิร์ช
ได้รับความเสียหายอย่างหนัก มีรายงานยอดผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 161 ราย และคาดว่าจะมีมากถึง 240 ราย
เหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ยังทำให้ส่วนหนึ่งของธารน้ำแข็ง "ทัสแมน" บริเวณชายฝั่งทิศตะวันตก ห่างจากเมืองไครสต์เชิร์ชไปประมาณ 200 กิโลเมตร
ซึ่งถือว่าเป็นธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศนิวซีแลนด์ เกิดการแตกตัวกลายเป็นภูเขาน้ำแข็งหนักกว่า 30 ล้านตัน ก่อให้เกิดคลื่นสูง 3.5 เมตร
พัดเข้าชายฝั่งและทะเลบริเวณใกล้เคียงเป็นเวลากว่า 30 นาที แต่ไม่มีรายงานความเสียหาย
ฟิลิปปินส์ เกิดแผ่นดินไหวที่ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.3 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ห่างจากกรุงมะนิลาไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 66 กิโลเมตร ลึกลงไปใต้พื้นดิน 137
กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนทำให้อาคารหลายแห่งสั่นไหว แต่ไม่มีรายงานความเสียหาย ผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต
23 ก.พ.2554
ลาว เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 ริกเตอร์ ศูนย์กลางห่างจาก อ.แม่จริม จ.น่าน ประมาณ100 กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ในหลายจังหวัด
แต่ไม่มีรายงานความเสียหาย
3 มี.ค.2554
เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ เกิดแผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.4ริกเตอร์ ลึกจากระดับผิวดิน 60 กิโลเมตร ไม่มีรายงานความเสียหาย
6 มี.ค.2554
ชิลี เกิดแผ่นดินไหววัดความรุนแรงได้ 6.2 ริกเตอร์ในภาคเหนือของประเทศ ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 87 กม. ในเมืองปูเตร ห่างจากกรุงซานติอาโก้
เมืองหลวงไปทางเหนือเกือบ 2,200 กม. ไม่มีรายงานความเสียหายรุนแรงและไม่มีผู้บาดเจ็บ
โดยเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังชาวชิลีเพิ่งจัดงานไว้อาลัยครบ 1 ปีเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง 8.8
ริกเตอร์และสึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 524 คนและสร้างความเสียหายราว 30,000 ล้านดอลลาร์
7 มี.ค.2554
หมู่เกาะโซโลมอน ประเทศในแถบแปซิฟิก เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงระดับ 6.6 ริกเตอร์ ด้านนอกชายฝั่ง โดยห่างจากกรุงโฮนีอารา
เมืองหลวงหมู่เกาะโซโลมอนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 133 กิโลเมตร และอยู่ลึกลงไปราว 30 กิโลเมตร ไม่มีรายงานความเสียหาย
9 มี.ค.2554
ญี่ปุ่น เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.2 ริกเตอร์ ห่างจากเกาะฮอนชูไปทางตะวันออก 160
กิโลเมตร ทำให้อาคารหลายแห่งในกรุงโตเกียวสั่นไหว แต่ยังไม่มีรายงานความเสียหาย
10 มี.ค. 2554
จีน เกิดเหตุแผ่นดินไหวความรุนแรง 5.8 ริกเตอร์ ณ บริเวณเขตอิ๋งเจียง ซึ่งห่างจากเมืองต้าหลี่ ในมณฑลยูนนาน ไปทางตะวันตก-ตะวันตกเฉียงใต้ ราว 225 กิโลเมตร
ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้พื้นดิน 34 กิโลเมตร ทางการจีนเปิดเผยว่ามีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 24 คน ได้รับบาดเจ็บ 245 คน
ล่าสุด 11 มี.ค. 2554
ญี่ปุ่น เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 8.9 ริกเตอร์และเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ สูงกว่า 10 เมตร บนเกาะฮอนชู ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น
ทำให้สิ่งปลูกสร้าง และบ้านเรือนประชาชนเสียหายเป็นจำนวนมาก และมีอาฟเตอร์ช็อคขนาดรุนแรงเกิดตามมาอีกหลายครั้งแต่ความเสียหายขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้
ซึ่งเหตุการณ์แผ่นดิวไหว และเกิดสึนามิที่ความสูง 6-10 เมตร ทำงายล้างประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ รุนแรงที่สุดในรอบ 300 ปี เท่าที่เคยเกิดขึ้น
อีกทั้งยังมีประกาศเตือนภัยสึนามิ ไปยังประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก 53 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ที่มา - springnewstv.tv