"วิถีชีวิตการตั้งท้องจนกระทั่งคลอด" พิจารณา..ความทุกข์จากการเกิด
webmaster - 4/9/10 at 08:02
วิถีชีวิตการตั้งท้องจนกระทั่งคลอด
....เรื่องภายในครรภ์ การตั้งท้องจนกระทั่งคลอด การตั้งครรภ์ คือ
ช่วงระยะเวลาเริ่มหลังจากการปฏิสนธิ โดยที่ตัวอสุจิ (sperm) ผสม (conceive) กับ ไข่ (egg)ในสภาวะและเวลาที่เหมาะสม จนถึงการคลอด
โดยในมนุษย์ใช้เวลาในการตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน.....
....ตามที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสไว้ว่า "ชาติปิ ทุกขา" ความเกิดเป็นทุกข์ ถ้าได้เห็นภาพเหตุการณ์เช่นนี้ เหมือนกับเราได้ใช้
"อตีตังสญาณ" คือการถอยหลังการเกิด ก่อนที่จะเป็นรูปร่างกายเช่นนี้ ซึ่งสมัยนี้ที่เจริญด้วยเทคโนโลยี นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ได้ศึกษา
นับตั้งแต่เริ่มการผสมพันธุ์จากพ่อแม่ จนกระทั่งแม่ตั้งท้องถึงคลอด ความจริงในแง่ "พุทธศาสตร์" พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนพระสาวกไว้นานนับพันๆ ปีมาแล้ว
ดังนี้
ซึ่งมีข้อความเป็นอันมากใน "พระสูตร" ที่แสดงว่าคนเราเมื่อทำบาปกรรมแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต
ตรงข้ามเมื่อสัตว์ทำกุศลกรรมแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
อีกแห่งหนึ่งแสดงให้เห็นว่า
จิตเต สังกิลิฏฺเฐ ทุคติ ปาฏิกังขา เมื่อจิตเศร้าหมองหวังได้ว่าไปทุคคติ
จิตเต อสังกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกังขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง หวังได้ว่า ไปสู่สุคติแน่นอน
และใน "อังคุตตรนิกาย" แสดงว่า
กัมมัง เขตตัง วิญญาณัง พีชัง ตัณหา สิเนหัง กรรม เป็นเหมือนนาข้าว วิญญาณ เป็นเหมือนเมล็ดข้าวเปลือก ตัณหา เป็นเหมือนยางในเมล็ดข้าว
องค์ประกอบทั้ง ๓ คือ
๑) กรรมดี กรรมชั่ว ที่คนทำ
๒) วิญญาณ หรือปฏิสนธิวิญญาณ
๓) ตัณหา คือ เจตสิกที่มีพลังสะสมอยู่ในจิตเป็นตัวสืบต่อ
วิวัฒนาการเกิดขึ้นของมนุษย์
ร่างกายนี้ในสัปดาห์ที่ ๑ เกิดเป็น กลละ ก่อน
ในสัปดาห์ที่ ๒ จาก กลละ ก็เกิดเป็น อัพพุทะ (น้ำขุ่นข้น ซึ่งตรงกับทางแพทย์ที่กลายเป็นตัวอ่อน embryo)
ในสัปดาห์ที่ ๓ จาก อัพพุทะ เกิดเป็น เปสิ (ชิ้นเนื้อสีแดง)
ในสัปดาห์ที่ ๔ จาก เปสิ เกิดเป็น ฆนะ (ก้อนเนื้อ)
จากฆนะ เกิดเป็น ๕ ปุ่ม (ปญฺจสาขา) (ซึ่งตรงกับทางแพทย์เริ่มมีตุ่มของหน้าตาและแขนขา)
ต่อจากนั้นก็มีผมปนเล็บเกิดขึ้น ได้วิวัฒนาการเป็นมือเท้าจนครบอวัยวะทั้งสิ้นในสัปดาห์ที่ ๙ เมื่อถึงสัปดาห์ที่ ๔๒ ส่วนต่างๆ ของร่างกายค่อยๆ เกิดจนครบ
ซึ่งตรงกับความรู้ทางแพทย์ นอกจากนี้ยังอธิบายด้วยว่าทารกในครรภ์มีน้ำหล่ออยู่รอบตัวและได้อาหารทางก้านสะดือ ซึ่งมีรูพรุนเหมือนก้านบัว (ตรงกับรก)
เพียงคำอธิบายโดยละเอียดเพียงนี้ คงยืนยันว่าพระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งทางโลกและทางธรรมโดยไม่ต้องสงสัย และโดยไม่ต้องค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
ในการเกิดของมนุษย์นอกจากเรื่องทางกายภาพคือ บิดา มารดา และการผสมกันระหว่างอสุจิกับไข่แล้ว ทางพุทธศาสนายังเน้นเรื่องของ "คันธัพพะ" หรือ "วิญญาณ"
ที่จะเข้ามาจุติในครรภ์มารดา ทำให้เกิดนาม-รูป หรือชีวิตใหม่ อะไรเป็นตัวชักนำให้วิญญาณใดเข้ามาสู่ครรภ์มารดา คำตอบก็คือ "กรรม"
ตามพุทธวัจนะที่ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ต้องรับมรดกของกรรมนั้นมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มารดาของสัตว์เกิดขึ้นในครรภ์บริโภคทั้งน้ำโภชนาการอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้น (ในครรภ์อินทกสูตรที่ ๑ สํ.ส.
๘๐๓ บาลี ๑๕/๓๐๓ ไทย ๑๕/๒๘๖)
การเกิดขึ้นของคนมีปัจจัย ๓ ประการ คือ
๑. มารดามีระดู
๒. มารดาบิดาอยู่ร่วมสังวาสกัน
๓. สัตว์เกิดในครรภ์
......ดูกร อานนท์ ถ้าวิญญาณจักไม่หยั่งลงในครรภ์มารดา นามรูปจะพึงสถิตมั่นในครรภ์มารดาได้หรือ ?
มหาตัณหังขยสูตร บทนี้แสดงถึงการเกิดใหม่ของพระองค์ ที่ยืนยันชัดเจน จนพระองค์ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ คือ
อเนกชาติ สังสารัง สันธาวิสสัง อนิพพิสัง
คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง
คะหะการะกะทิฏฺโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ
วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคาฯ
.......คำแปล เมื่อเราแสวงหานายช่างสร้างเรือนได้ซึ่งแล่นไปเร่รอนในสังสารวัฏไม่รู้ว่ากี่ชาติ การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์
.......ดูกรนายช่างเอย เราเห็นท่านแล้ว ท่านไม่ต้องทำเรือนเราอีกต่อไป โครงร่างเรือนของเจ้าทั้งหมดเราก็หักทำลายแล้ว เรือนยอดเราก็ทำลายแล้ว
จิตถึงการปรุงแต่งไม่ได้ ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย
พุทธอุทาน
พุทธพจน์แสดงการเกิดใหม่ของผู้มีบาป
อิทะ นัน เปจจะนันทะติ กะตะปุญฺโญ อุภะยัต นันทะติ
ปุญฺญัง เม กะตันติ นันทะติ ภิยโย นันทะติ สุคติง คะโตติ ฯ
ผู้ทำบุญไว้ ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้ เพลิดเพลินในโลกหน้า เพลิดเพลินในโลกทั้งสอง เพลิดเพลินว่า บุญเราทำไว้แล้วหนอ ไปสู่สุคติยิ่งเพลิดเพลินโดยยิ่ง
(๒๕/๑๑/๑๗)
คนจะหมดสงสัยเรื่องตายแล้วเกิด คือพระโสดาบัน ดังพุทธพจน์
โก อิมัง ปะฐะวิง วิเชสสะติ ยะมะโลกัญจะ อิมัง สะเทวะกัง
โก ธมัมปะทัง สุเทสิตัง กุสะโล ปุปผะมิวะ เปจจัสสะติ
เสโข ปฐวิง วิเชสสะติ ยะมะโลกัญฺจะ อิมัง สะเทวะกัง
เสโข ธัมมะปะทัง สุเทสิตัง กุสะโล ปุปผะมิวะ เปจจัสสะตีติฯ (ปุพฺพวคฺค ๒๕/๑๔/๒๑)
พระเสขะ จักรู้จักแผ่นดินนี้ ยมโลกพร้อมทั้งเทวโลก
พระเสขะ จักเลือกสรรบทธรรมที่เราแสดงดีแล้ว
ดุจนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกสรรดอกไม้ฉะนั้นทรงยืนยันอริยผลว่ายอดกว่าทุกสิ่ง
ปะฐะวิยา เอกะรัชเชนะ สัคคัสสะ คะมะเนนะ วา
สัพพะโลกาธิปัจเจนะ โสตาปัตติผะลัง วะรันติ ฯ
โสดาปัตติผล ประเสริฐกว่า การเป็นเอกราชในแผ่นดิน
การไปสู่สรรค์ การเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวงและผู้ที่รู้ปฏิจจสมุปบาทดี จะหายสงสัย ดังพุทธอุทานในมหาวรรค แห่งพระวินัยว่า
ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา อาตาปิโน ฌายะโต พราหฺมะณัสสะ
อะถัสสะ กังขา วะปะยันติ สัพพา ยะโต ปะชานาติ สะเหตุธัมมัง ยะโต ขะยัง ปัจจายัง อะเวที
วิธูปะยะยัง ตัฏฺฐะติ มะระเสนัง สูโรวะ โอภาสะยะ มันตะลิกขันติ ฯ
แปลว่า ในกาลใดแล ธรรมย่อมปรากฎชัด แก่ผู้มีความเพียร มีสมาธิปัญหา ลอยบาป ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของผู้นั้นย่อมสิ้นไปเพราะได้ทราบเหตุปัจจัย
และความรู้สิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย ขจัดมารและเสนามารได้ ดำรงตนอยู่ ดุจพระอาทิตย์พ้นจากเมฆ ส่องสว่างในท้องฟ้า
เชิญรับชมจาก "คลิปวีดีโอ" You tube
คลิกที่นี่