เขาบอกว่าเขาได้หนังสือเล่มนี้มาตั้งแต่ เป็นเด็ก ตัวหนังสือนั้นตัวกลมๆ ทุกตัวคล้าย กับหนังสือของชาวเชียงใหม่ ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่า
หนังสือนี้จะเป็นหนังสือของคนไทยในประเทศ จีนไกลถึงเพียงนี้
webmaster - 10/5/08 at 21:49
(Update 12 พ.ค. 51)
เมืองเชียงตุงในอดีต
".......เรื่องนี้ "หมอด็อดด์" ได้เล่าต่อไปอีกว่า...เมืองเชียงตุง อังกฤษเรียก เก็งตุง เป็น ศูนย์กลางของทางที่ผ่านประเทศในฤดูแล้ง มี
พวกค้าเกวียนนำสินค้าเดินไปมาอยู่เสมอ จาก จังหวัดตาลีฟู และยูนนานในประเทศจีนไป ร่างกุ้ง, เมาะละแหม่ง ในพม่าและในไทย พวก พ่อค้าเกวียนเหล่านี้
จะต้องเดินผ่านเมืองเชียงตุง ทั้งนั้น
.........พวกเราได้ทำการแผ่ศาสนา (คริสต์) ในระหว่างพวกชาวเขาได้มากเหมือนกัน คือ ชนที่มีชื่อว่า สามท้าว
พวกนี้มีภูมิลำเนาอยู่ บนภูเขาสูง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในแคว้นเชียงตุง แต่ไม่ใช่เป็นพวกเร่ร่อนเหมือน ชาวเขาอื่นๆ
พวกนี้เป็นชาวป่าดั้งเดิมพวกหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ทั่วแหลมอินโดจีน พวกนี้นับถือพุทธ ศาสนามาได้ ๙๐๐ ปีมาแล้ว
.........หมู่บ้านใหญ่มักมีโบสถ์ฝ่ายพุทธศาสนา อยู่ด้วย โบสถ์ทำเป็นโรงมีเสากลาง และมี ไม้พาดทำเป็นหลังคา ตามโบสถ์เขียนลวดลาย
ดอกไม้งามด้วยสีครั่งหรือสีทอง พวกนี้ทำถนน ขึ้นเขาเป็นทางเวียนรอบ ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงยอดเขา มีขนาดกว้างพอเกวียนเดินได้
ชานตะวันตก เป็นชื่อที่ใช้เรียกชนชาติ ไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ทางตะวันตก
ของลุ่มแม่น้ำสาละวินในพม่า คำว่าชาน เป็นภาษาพม่า ต้นเดิมของคำนี้ไม่มีใครทราบ แน่ว่ามาจากไหน
ผู้เขียนเรื่องชนชาติไทยบาง คนเห็นว่า มาจากแห่งเดียวกันกับคำไทย ซึ่ง พม่าเรียกเพี้ยนไปเป็น ชาน(ฉาน)
ผู้เขียนเรื่องชนชาติไทยที่พม่า และอังกฤษผู้รู้เรื่องพงศาวดารไทยจากหนังสือพม่าว่า คำว่า ชาน นั้นเป็นชื่อสำหรับเรียกคนชาติ หนึ่ง
ซึ่งเรียกตัวของเขาเองว่าไทย ผู้เขียนเรื่อง ชนชาติไทยเหล่านี้ คงหมายถึงพวกชานไทย, ชานตะวันออก ชานเหนือ และ ชานตะวันตก ที่จริงพวกชานเหล่านี้แต่ละพวก
เป็นพวกไทย สาขาหนึ่งๆ ซึ่งได้ชื่อตามท้องที่ๆ ตั้งภูมิลำเนา อยู่ (เขิน, ลื้อ) เช่นที่เรียกว่า ไทยเหนือ
ก็อยู่ในท้องที่ทางตอนเหนือ
ส่วนไทยที่อยู่ทางตะวันออก (ไปถึงเวียด นามเหนือ) มีชื่อว่า ยวน เขิน เล็ม ลื้อ และ ลาว ผู้ไทย ผู้น้อง ผู้มาน ผู้ยื้อ ผู้ใจ ผู้เอน ผู้เยี้ยว และ
ผู้ฉาย เป็นต้น และชานตะวันตก ก็มีชื่อเรียกว่า เงี้ยว อย่างไรก็ดี พวกท้ายคือ พวกเงี้ยวนี้ ยังไม่กล้ารับรองว่าเป็นชื่อแท้ของ พวกชานตะวันตก
แต่กล้ายืนยันว่าเป็นไทยแน่
ชื่อนี้ย่อมจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับชนชาติไทยพวกอื่นอีก ๒ - ๓ ล้านคน ซึ่งอยู่ ทางดินแดนลุ่มแม่น้ำยางซี ในประเทศจีนและ ตอนเหนือในประเทศไทย
อาจยืนยันได้ว่าพวก เหล่านี้เป็นพวกเดียวกันกับพวกไทยพม่าแน่ และเป็นไทยแท้โดยไม่มีที่สงสัย
เท่าที่ทราบคำว่า เงี้ยว เป็นชื่อสำหรับ ใช้เรียกพวกชานตะวันตก หรือไทยพม่า เพื่อ ให้ต่างจากพวกไทยอื่นๆ เท่านั้น และคำว่า เงี้ยว
ก็เป็นชื่อสำหรับชนพวกอื่นที่อยู่นอก เขตพม่า ใช้สำหรับเรียกพวกไทยที่อยู่ในพม่า
พวกชานตะวันตกไม่เฉพาะมีแต่พวก เงี้ยวเท่านั้น แต่รวมทั้ง พวกอาหม ที่อยู่ใน มณฑลอัสสัม ของอินเดีย และ พวกคำตี่ ที่อยู่
ทางตะวันตกของแม่น้ำอิระวดีด้วย ท่านเซอร์ ยอร์ชสก็อตต์กล่าวว่า พวกอาหมในอัสสัม นั้นคือ พวกชาน
นั้นเองโดยไม่มีปัญหา แต่ใน ปัจจุบันพวกอาหมกลายเป็นฮินดูไปหมดแล้ว
ขอบเขตเดิมของพระพุทธศาสนา
ในดินแดนอันเป็นถิ่นของพวกไทยที่ ถือพุทธศาสนา ประมาณอย่างใกล้ที่สุดมีเขต
๑. ทางตะวันออก ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำโขง และแม่น้ำแดง ในประเทศญวน (เวียดนาม)
๒. ทางใต้ จนถึงอ่าวไทย
๓. ทางตะวันตก เข้าไปในแดนพม่า และมณฑลอัสสัม ในอินเดีย
๔. ทางเหนือ ตั้งแต่ดีกรีที่ ๒๕ ละติ จูดเหนือในจีน และจากแม่น้ำสาละวินในพม่า ยืนไปทางตะวันออก
บรรจบทางลุ่มแม่น้ำโขง และแม่น้ำแดง
นี่คือภูมิลำเนาของชาติไทยเหนือ และ ชาติไทยลื้อในประเทศจีน (ไทยในประเทศจีน ที่กล่าวมานี้ เฉพาะพวกที่มีหนังสือหรือที่ถือ พุทธศาสนาเท่านั้น
ไทยที่ไม่มีหนังสือหรือไม่ ได้ถือพุทธศาสนายังมีอีกหลายพวก) พวกเขิน และเงี้ยว (ชาน) ในพม่า ลาวในอินโดจีน ยวน (ลาวเชียงใหม่) และไทยในไทยทั้งหมด
คนไทยที่ถือพุทธศาสนาในประเทศจีนมี ๒ จำพวก คือไทยเหนือ และไทยลื้อ พวก ไทยเหนืออยู่ลึกเข้าไปในประเทศจีน ยิ่งกว่า ไทยที่ถือพุทธศาสนาพวกอื่นๆ
ไทยเหนือนั้น อังกฤษเรียกว่า ชานจีน เมืองสำคัญของแคว้น ไทยเหนือมี ๓ เมือง คือ เมืองขวัน เมืองกึงม้า และ เมืองบ่อ
(ผู้เขียนได้ไปพบพวก "ไทยเหนือ" ที่ เมืองบ่อ เมื่อปี ๒๕๔๙ มาแล้ว ไว้จะเล่าตอนไป "สิบสองปันนา"
ตามเส้นทางที่หมอด็อดด์ไปมานี้)
แผนที่สังเขป แสดงการเดินทางของ "หมอด็อดด์" ไปสำรวจคนไทยในเมืองจีน ระหว่าง พ.ศ. 2452 - 2466
(แผนที่หน้า 1- 2 ต่อกัน))
สรุปความเรื่องชนชาติไทย
ข้อความต่อไปนี้ ได้แบ่งมาจากคำนำ ของหนังสือฝรั่งเศสชื่อว่า Silvers To Grammar
ซึ่งอ้างถึงประวัติของชนชาติไทย อันเป็นเนื้อ ความย่อดีพอใช้ ประวัติการนี้ ได้แปลมาจาก พงศาวดารฉบับหลวง
"ประวัติการของเขมร" "ตำนานไทยฝ่ายเหนือ เชียงราย" และ "ตำนานเมืองลาว" ที่ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีข้อความโดยสังเขปดังนี้.-
ประวัติชนชาติไทยนั้นเก่าแก่มาก จดหมายเหตุจีนโบราณกล่าวว่า เมื่อประมาณ ๘๕๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช (๓๐๗ ปี ก่อนพุทธศักราช)
ภูมิลำเนาเดิมชนชาติไทยอยู่ตอนกลางลุ่ม แม่น้ำเหลือง ซึ่งเป็นท้องที่ "มณฑลฮูเป" และ "มณฑลโฮนาน"
แห่งประเทศจีนบัดนี้
ในสมัยเดียวกันนั้น ชนชาติจีนได้อพยพมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามที่ราบในลุ่มแม่น้ำเหลืองตอนเหนือ ซึ่งบัดนี้เรียกว่า มณฑลแกนซู (อยู่เหนือมณฑลเสฉวนติดต่อกับทิเบต) โดย ถูกพวกตาดรุกราน จึงได้ร่นลงมาและมาปะทะ กับพวกไทยเข้า
เลยเกิดต่อสู้กันมาช้านาน พวก ไทยมีจำนวนน้อยและผืมืออ่อนกว่าจีน สู้จีน ไม่ได้ จึงได้พากันร่นลงมาข้างใต้โดยทางต่างๆ กัน เมื่อประมาณ ๒๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
พวกไทยส่วนมากร่นลงมาตามแม่น้ำ ยางซี เข้าไปตั้งอยู่ในมณฑลยูนนาน ณ ที่นั้น ได้ต่อสู้กับพวกพื้นเมืองเดิมเป็นเวลานาน ใน
ที่สุดได้ตั้งราชอาณาจักรขึ้นเรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า ในท้องที่ๆ เรียกว่าโกสัมพี และตั้งเมืองตาลีฟู เป็นเมืองหลวง
ต่อมาเมืองหลวงนี้ก็ได้เลื่อนไปตั้งอยู่ที่ พูเออร์ฟู อาณาจักรนี้ครองท้องที่มณฑล ยูนนานทั้งหมด
และท้องที่ตอนเหนือของพม่า และตอนเหนือของสิบสองปันนาด้วย แล้วได้ อพยพลงมาตั้งอาณาจักรที่เมืองเชียงแสน และลงมาทางใต้หาได้หยุดยั้งไม่ คือลงมาตามแม่น้ำ
เจ้าพระยา จนมาถึงอาณาจักรไทยมีอำนาจขึ้น ทางใต้ มีเมืองอยุธยา เป็นเมืองหลวง
ไทยในประเทศจีนได้เสียความมีอิสรภาพ กลายเป็นจีนเป็นเวลา ๗๐๐ ปีเศษมาแล้ว แต่ อย่างไรก็ดี หาได้กลายเป็น "จีน" หรือ "ยวน" จนจะ
สังเกตไม่ได้นั้นหาไม่ โดยเฉพาะคำพูดของไทย ก็ยังคงดำรงเป็นภาษาเดิมของตนอยู่ แน่ละ... ย่อมมีภาษาของชนพื้นถิ่นเข้ามาปะปนอยู่ไม่ มากก็น้อย
ในปัจจุบันนี้ ยอมรับรองกันทั่วไปแล้ว ว่า ชนชาติไทยมีจำนวนมาก และอยู่กระจัด กระจายทั่วไปในตอนใต้ของทวีปเอเซีย ตำนาน
ของชาติหรือขนบธรรมเนียมของชาติยังสำแดง อีกว่า เป็นชาติมองโกเลียและเป็นชาติที่ใกล้ชิด กับชาติจีน
แม้จดหมายโบราณของจีน พม่า และ ไทยเอง ยังแสดงว่าชาติไทยเป็นชาติเก่าแก่ ยิ่งกว่าชาติ เอบรู
(ชาติโบราณชาติหนึ่ง ซึ่งบัด นี้เรียกว่า ยิว มีภูมิประเทศอยู่ในปาเลสไตน์ อันเป็นที่เกิดศาสนาคริสต์)
หรือชาติจีนเสียอีก เรื่องชนชาติไทยตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุ จีนโบราณนั้น อย่างน้อยมี ๓ ชื่อ ซึ่งยังเรียก ต่อมาในปัจจุบันว่า ปา ลุง และ ลาว
ไทย คำนี้ หมายความว่าอิสรภาพ หรือเสรีภาพ แต่จีนหมายความว่า ใหญ่
(Great) เป็นโชคดีที่ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ไป เที่ยว และพบปะชนชาติไทยอยู่ในท้องที่อัน กว้างใหญ่ไพศาล ที่เรียกว่า โชคดี นั้น ก็
เพราะเมื่อข้าพเจ้าไปอยู่ที่ใดๆ ที่มีคนไทยแล้ว คนไทยเหล่านั้นที่ข้าพเจ้าได้พบปะ ล้วนแต่มี อัธยาศัยดีและมีความเอื้อเฟื้อ
ข้าพเจ้าได้เดินทางตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีขึ้นไปทางเหนือของไทย และต่อไปในแคว้น เชียงตุง เข้าไปในเขต
มณฑลยูนนาน (เชียงรุ่ง) จนถึงเมืองบ่อ (ไทยเหนือ)
ซึ่งในแผนที่ต่างๆ เรียกว่า ไวยวน คำว่าไวยวนเป็นภาษาจีน แต่
น่าประหลาดที่คนที่อยู่ในท้องที่ของจังหวัดนั้น เป็นชนชาติไทยทั้งนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่ผู้ปก ครองและพ่อค้าเท่านั้น เป็นชนชาติจีนซึ่งมี จำนวนน้อย
สรุปได้ว่ามีชนชาติไทยเป็นจำนวนมากอยู่ในประเทศจีน คือใน มณฑลไกวเจา ประ มาณว่ามากกว่า ๒ ล้านคน ใน
มณฑลกวางซี ไม่น้อยกว่า ๒ ล้านคน ในตอนตะวันออกของ มณฑลยูนนาน
กว่า ๑ ล้านคน และใน เวียดนามเหนือ อีก ๖ ล้านคน ใน
แคว้นชาน (รัฐ ฉาน) ของพม่า ๑ ล้านคน และในส่วนอื่นๆ ของพม่า รวมทั้งใน มณฑลอัสสัม
ด้วยมี ๒ แสน ๕ หมื่นคน
ในเนื้อที่อันกว้างใหญ่นี้ มีพลเมืองถึง ๒๐ ล้านคน เป็นชนชาติไทยเสียมากกว่าเศษ หนึ่งส่วนสี่ ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ตามที่ได้ บรรยายมานี้
ข้าพเจ้าได้พยายามเผยแผ่ศาสนา ในระหว่างชนชาติไทย ซึ่งมีจำนวน ๒๐ ล้าน คน นอกจากชนชาติจีน ซึ่งมีจำนวนหลายสิบ ล้าน และพวกอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ไทยอันอยู่ในภูมิ
ประเทศอันกว้างใหญ่แห่งเดียวกัน..
เรื่อง ชนชาติไทย ของ หมอด็อดด์
ก็ได้จบลงเพียงแค่นี้ ส่วนใหญ่ผู้เขียนได้สรุปนำ มาพอสังเขป เพราะรายละเอียดยังมีกว่านี้มาก หนังสือเล่มนี้ กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการพิมพ์เผยแพร่ เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๒๐ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย
นับเป็นความอุตสาหะบากบั่นอดทนในการเดินทางหลายครั้ง ทั้งที่สมัยก่อนการคมนาคมไม่สะดวกเหมือนสมัยนี้
หมอด็อดด์คงมุ่ง มั่นที่จะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ เพราะเห็นว่าคน ไทยมีจิตใจอ่อนโยน ในบันทึกเหล่านี้ จะไม่ มีบอกไว้เลยว่า
พวกคนจีนหรือคนพม่าเดิม จะหันมาเลื่อมใสในศาสนาคริสต์ด้วย
จะเห็นได้ว่า การที่คนไทยมีอัธยาศัยดี นั้น หมอด็อดด์น่าจะเฉลียวใจในเรื่องพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าสอนให้เป็นคนดี ตลอดระยะเวลา ๓๒ ปี
ที่อยู่เมืองไทย หมอด็อดด์จึงมุ่งมั่นเผยแผ่ศาสนาของตนอย่างเดียว แต่ที่ น่าเสียดายไม่ได้ศึกษาคำสอน หรือกล่าวสรรเสริญยกย่องเจ้าของพระพุทธศาสนาเลย
แต่ที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่งที่ หมอด็อดด์ กล่าวไว้ตอนท้ายว่า
ข้าพเจ้าเดินทางรอนแรมมาเป็นเวลานาน จนบรรลุถึงแผ่นดินอันเป็นที่รักแรกของข้าพเจ้า คือ ไทย
รวมความว่า เอกสารการบันทึกนี้มีประโยชน์มหาศาล ในการยืนยัน กเบื้องจาร ที่ได้ จารึกไว้ตั้งแต่สมัยโบราณว่า คนไทยได้อาศัย ในแผ่นดินมาแต่บรรพกาล
แต่ที่ชาวฝรั่งเศสได้ บันทึกไว้ โดยอ้างจดหมายเหตุโบราณของจีน ว่าคนไทยอพยพลงมาเรื่อยๆ จนถึงอยุธยานั้น
อาจจะบันทึกแบบเดาๆ มากกว่า เพราะตามหลักฐานของไทย ชนชาติไทยก็อยู่ในดิน แดนแหลมทองมาก่อน โดยตั้งเมืองหลวงอยู่ ทางใต้ก็เรียกว่า อาณาจักรศรีวิชัย ทางภาค กลางขึ้นมาก็เป็น อาณาจักรสุวรรณภูมิ
ทางภาคอีสานเป็น อาณาจักรศรีโคตรบูร เป็นต้น
จะเห็นว่าคนไทยตั้งรกรากมาก่อนแล้ว ถ้าจะย้อนไปถึงสมัยพุทธกาลในตำนานพระเจ้าเลียบโลก
พระพุทธเจ้าก็ได้เสด็จมาโปรดคน ชาวลัวะ นั่นก็คือคนไทยพื้นเมืองเดิมนั่นเอง ฉะนั้น หมอด็อดด์
เป็นชาวอเมริกัน ได้บันทึกด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ต่างกับพวกนักล่าอาณานิคม อย่างกับฝรั่งเศสและอังกฤษนี่
ไม่บันทึกอะไรที่เป็นประโยชน์แก่ชาวไทยให้ภาคภูมิใจบ้างเลย
ตัวอย่างเช่น ศิลาจารึก ขุดพบได้ ไม่เคยบอกว่าเป็นของคนไทยเลย ยกให้เป็นของขอมบ้าง ของมอญบ้าง เป็นต้น
หรือแม้แต่ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย ดันไปยกให้ว่าอยู่ที่ ปาเล็มบัง เกาะสุมาตราโน่น ทั้งๆ ที่
ตั้งแต่ไชยา นครศรีธรรมราช ตลอดไปจนถึงปลายสุดแดนมลายู คนไทยอาศัยอยู่เต็มไปหมด
บันทึกของหมอด็อดด์จึงมีค่า แต่คนไทยไม่ค่อยได้อ่านกัน จึงอยากจะนำเรื่องราวลงให้ละเอียด แต่เสียดายหน้ากระดาษจำกัด จึงสรุปเพียงย่อๆ พอได้ใจความ
คิดว่าผู้อ่านคงจะซาบซึ้งเช่นเดียวกัน และภาคภูมิใจที่คนไทยสมัย ใกล้ปัจจุบันนี้เอง ยังอยู่ในดินแดนของจีนเต็มไปหมด เท่ากับเป็นการยืนยัน กเบื้องจาร ที่ หลวงพ่อพระราชกวี อ่านไว้ว่า...
สรุปความว่าต้นบรรพบุรุษที่ ชาวจีน ยกย่องว่า เป็นปฐมบรมกษัตริย์ของชาวจีน คือ พระเจ้าอึ่งตี่ฮ่องเต้ จักรพรรดิแห่งลุ่มแม่น้ำเหลือง ที่แท้ก็เป็นคนไทยนั่นเอง
ส่วนที่ศรีลังกาต้นวงศ์ของพระเจ้าแผ่นดินที่ ชาวศรีลังกา ยกย่องว่าเป็นปฐมบรม กษัตริย์เช่นกัน คือ
พระเจ้าวิชัย ก็ไปจากคน ไทยที่ สิงห์บุรี นี่เอง
แล้วสืบเชื้อสายจนถึง ปัจจุบันนี้
สำหรับ ราชวงศ์ปัลลวะ ที่ได้ครอง อยู่ในประเทศอินเดียชั่วระยะหนึ่ง ชาวอินเดีย ในอดีตก็ยกย่องว่า เป็นราชวงศ์ที่ทำคุณประโยชน์ไว้มากมาย ความจริง ราชวงศ์ปัลลวะ ก็ คือคนไทยที่ไปจากกรุงสุวรรณภูมิ (ราชบุรี) เป็นครู (ขอม) ชื่อว่า ปั่น
นั่นเอง
ต่อมายุค อาณาจักรศรีวิชัย ราชวงศ์ไศเลนทร์ ก็ได้แผ่ขยายไปตลอดทะเลใต้ นับตั้ง แต่มลายู มะละกา ชวา
บาหลี เป็นต้น ราชวงศ์นี้ก็เป็นคนไทยชื่อว่า ขุนอินทร์ไศเลนทร์ ที่ไปจากสุวรรณภูมิเช่นกัน
ข้อมูลคร่าวๆ นี้คงพอจะอนุมานได้ว่า คนไทยได้กระจายออกไปมากกว่า เพราะความเก่าแก่และยิ่งใหญ่มานาน นับตั้งแต่ยุค
พระพุทธกกุสันโธ พระพุทธโกนาคม พระพุทธกัสสป และ พระพุทธสมณโคดม ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์
ได้เสด็จมาประทานรอยพระพุทธบาทไว้ให้ชาวไทยมาแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว
จนนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่ง จีน แม้แต่ไทยเองก็ไม่เชื่อถือ ความที่เก่าเกินไปนั่นเอง แม้แต่ตัวเองก็จำกำพืดเดิมของตนเองไม่ได้
ต้องให้ชนชาติอื่นมาชี้นำให้ แล้วจึงเชื่อด้วยความเข้าใจว่าตนเองเป็นบัณฑิต นี่จึงเป็นความเศร้าใจของชนชาติไทยอย่างเราๆ ในสมัยปัจจุบัน
ที่นับวันก็หมดความภาคภูมิใจลงไปเรื่อยๆ
ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ได้นำเรื่องราวชนชาติไทยลงไว้แต่เพียงนี้ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้าง จะขอเล่าเหตุการณ์ที่
วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง กันต่อไป ก่อนอื่นขอนำประวัติมาเล่าไว้ก่อน ดังนี้
ประวัติพระเขี้ยวแก้ว ณ วัดหลิงกวง
ผู้เขียนได้ค้นคว้าหาประวัติตามเอกสารบันทึกของ นายถัง เป่ากั๋ว ที่พิมพ์แจกในคราว
ที่อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐาน ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ และในหนังสือที่ นายเดา ชูเรน
รองประธานและเลขาธิการใหญ่ พุทธสมาคมแห่งประเทศจีน ได้เล่าไว้พอจะสรุปได้ดังนี้ว่า
พระเขี้ยวแก้วที่อยู่ในเมืองจีน ประชา ชนชาวจีนมักเรียกว่า พระทันตธาตุฟาเหียน เพราะ หลวงจีนฟาเหียน
ได้อัญเชิญพระทันตธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) องค์นี้มาสู่จีน มีผู้กล่าวว่า พระทันตธาตุองค์นี้ได้ประดิษฐานครั้งแรกไว้
ที่อาณาจักรโบราณแห่งหนึ่ง ชื่อว่า อูไดยานา ปัจจุบันอยู่ในเขตของประเทศปากีสถาน
หลังจากอาณาจักรนี้แล้วก็เคลื่อนย้าย มาอยู่ในแคว้น โคตัน (ทุกวันนี้คือ จังหวัด ไฮเตียน มณฑลซินเกียง) ต่อมาคริสต์ศตวรรษ ที่ ๕ หลวงจีนฟาเหียน
ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในสมัย ราชวงศ์จี๋ (Qi) ซึ่งอยู่ภาคใต้ของประเทศ จีน
ได้เดินทางไปเอาพระทันตธาตุจาก เมืองโคตัน มาไว้ที่ เมืองนานกิง
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์จี๋ (ท่านได้ออกเดินทางจาริกไปยัง ประเทศอินเดียและลังกา พ.ศ. ๙๔๒ - ๙๕๗)
หลังจากนั้น ประเทศจีนก็รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสมัย ราชวงศ์ซุ่ย (Sui)
พระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วก็เลยย้ายมาประดิษฐาน ณ เมืองหลวงใหม่ คือเมืองฉางอัน
(ซีอาน) ต่อจากนั้นมา จีนก็ตกอยู่ในภาวะยุ่งเหยิงวุ่นวาย มีการรบกันภายในประเทศ ระหว่าง กันเองเป็นเวลาถึง ๕ ราชวงศ์
ดังนั้น พระเขี้ยวแก้วได้ถูกย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง กลับไปกลับมาหลายเมือง จนกระทั่งสุดท้ายได้มาประดิษฐานอยู่ที่ เมืองเยนกิง (คือเมืองปักกิ่ง ในปัจจุบัน) บนภูเขา ซีซัน ในสมัย ราชวงศ์เหลียว
ซึ่งอยู่ภาคเหนือของประเทศจีน
จากจดหมายเหตุในสมัย จักรพรรดิเดาซอง ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์หนึ่งในราชวงศ์เหลียว เล่มที่ ๒๒
บันทึกไว้เกี่ยวกับการประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วไว้ที่ พระเจดีย์เจาเซียน ในเดือนปีที่ ๘ ของปีที่ ๗
ของเหียนย่ง ค.ศ. ๑๐๗๑ (พ.ศ. ๑๖๑๔) ซึ่งได้บันทึกไว้ในประวัติของพระเขี้ยวแก้วที่แน่นอน ก่อนที่จะมาประดิษฐาน ณ เมืองปักกิ่ง
ในปี ค.ศ. ๑๙๐๐ (พ.ศ. ๒๔๔๓) พระเจดีย์เจาเซียนได้รับความเสียหายด้วยปืนใหญ่ โดยกองกำลังของฝ่ายพันธมิตรชาติตะวันตก ของผู้นิยมลัทธิจักรวรรดินิยม ๘
ประเทศ หลังจากนั้น มีพระภิกษุที่อยู่ภายในวัดได้มาทำ ความสะอาดบริเวณรอบพระเจดีย์ แล้วได้พบพระเขี้ยวแก้วบรรจุอยู่ในหีบศิลาอย่างถาวร
อยู่ภายในห้องใต้ดินขององค์พระเจดีย์
บนตลับไม้กฤษณานั้นมีการระบุไว้ว่า ถูกนำมายัง ณ สถานที่นี้ในปี ค.ศ. ๙๖๓ (ปี พ.ศ. ๑๕๐๖) โดยพระภิกษุชื่อ
ซ่านฮุยในยุคราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นผู้ได้รับการขนานนามว่า อาจารย์ผู้เก็บความลับ ตลับไม้กฤษณานี้ได้ รักษามาจนถึงทุกวันนี้
ซึ่งด้านข้างและด้านใน กล่องนั้นเป็นลายมือของหลวงจีนซ่านฮุย ซึ่งในตลับไม้นี้มี พระเขี้ยวแก้ว
อยู่ด้านบน
ในที่สุด พระเขี้ยวแก้ว ซึ่งได้ซ่อนเร้น มาเป็นเวลานานถึง ๘๓๐ ปี ก็ได้ปรากฏขึ้น อีกในโลกมนุษย์ ในปี
พ.ศ. ๒๔๙๘ ทางพุทธ สมาคมแห่งประเทศจีน จึงได้อัญเชิญมาให้ประชาชนสักการบูชาที่ วัดกวงจี่ เป็นการชั่วคราว
ณ อาคารสรีระ เมืองปักกิ่ง
เมื่อทางการได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ ณ วัดหลิงกวง แล้วเสร็จ
จึงมีพิธีบรรจุพระบรมธาตุพระเขี้ยวแก้วในพระมหาเจดีย์ไว้เป็นการถาวร เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๗ ทางพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนได้จัดพิธีฉลองอันยิ่งใหญ่
ได้มีพระเถรานุเถระจากจีนหลายเมือง ผู้แทนพุทธสมาคมจากต่างประเทศ และทูตานุทูตจากทวีปเอเซีย ๙ ประเทศ มาร่วมในงานพิธีนี้ด้วย
นับเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ที่พระเขี้ยวแก้วได้ถูกอัญเชิญไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เช่นในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ทางรัฐบาลพม่าและพุทธสมาคมของ พม่าได้ขออัญเชิญพระทันตธาตุไปให้ชาวพม่า ได้สักการบูชาเป็นเวลาหลายเดือน
จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๙ พระเขี้ยวแก้ว ได้ถูกอัญเชิญกลับจากประเทศเมียนม่าร์ ผ่าน ทางยูนนานในเส้นทางที่จะไปปักกิ่ง จึงได้หยุด พักที่ยูนนานเป็นเวลา ๓
เดือน เพื่อให้ผู้ที่จะเดินทางมากราบไหว้บูชาตามจุดต่างๆ เช่นที่ คุนหมิง, สิบสองปันนา, ดีดอง, เจงมา, และ ลี่เจียง เป็นต้น
บรรดาพุทธศาสนิกชนนับพันคน จากหลายเชื้อชาติในมณฑลยูนนาน ได้มีโอกาส สักการบูชาพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งเป็นโอกาสอันประเสริฐสุด
ที่จะส่งผลให้เกิดความปีติยินดีเสมือนแสงสว่างที่สดใส ท่ามกลางบรรยากาศที่อบอุ่นอันดี ที่จะเกิดความสามัคคีกันมากขึ้น ระหว่างชนชาติต่างๆ ในมณฑลยูนนาน
พระเขี้ยวแก้วของจีนนี้ ถือเป็นสมบัติ อันล้ำค่าที่สูงสุดของชาวจีน เฉกเช่นเดียวกับ พระบรมสารีริกธาตุอื่นๆ ของพระพุทธเจ้า
ซึ่งไม่เพียงแต่พุทธศาสนิกชนของจีนเท่านั้น แต่รวมถึงพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ก็ให้ความเคารพนับถือเช่นเดียวกัน
กรมการศาสนาของจีนจึงได้มีการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วไปยังประเทศเมียนม่าร์ถึง ๓ ครั้ง คือในปี พ.ศ. ๒๔๙๘, ๒๕๓๗, ๒๕๓๙ และอีกหนึ่งครั้งในประเทศศรีลังกา
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐบาลฮ่องกงได้จัดการต้อนรับพระทันตธาตุให้ประชาชนชม และสักการะเป็นวันแรกในวันวิสาขบูชา
พระมหาเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ผสมผสานของศิลปะสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง ไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืนสายงาม คือสร้างเป็นพระเจดีย์ทรง ๘ เหลี่ยม ๑๓ ชั้น สูง ๕๑ เมตร
บนยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๑๒ องค์ สมาคมพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนได้อำนวยการสร้างมาแต่ พ.ศ. ๒๕๐๑ แล้วเสร็จในปี ๒๕๐๗ ใช้เวลาสร้างนานกว่า ๖ ปี
ภายในเจดีย์นั้นเป็นพระราชวังใต้ดิน เจดีย์พระเขี้ยวแก้วชั้นแรกเป็นทางเข้าพระเจดีย์ผนังเจดีย์นั้นประดับด้วยก้อนอิฐ มีการแกะสลักบทสวดมนต์ไว้อีกด้วย
ชั้นที่ ๒ เป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งถูกวางอยู่ในพานบัวทองคำ รายล้อมไปด้วยสถูปทองคำเล็กๆ ๘ องค์
เจดีย์ทองคำที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วไว้ภายในนั้น มีของล้ำค่าต่างๆ มากมาย เป็นของที่แต่ละมณฑลของชนกลุ่มน้อย และในประเทศต่างๆ นำมาถวาย
ท่ามกลางสิ่งของที่นำมาถวายนั้น ยังรวมไปถึงพระพุทธรูปที่ประเทศไทยมอบให้แก่ประเทศจีนอีกด้วย
เรารับประทานอาหารกลางวันที่ "วังอี้เหอหยวน" ซึ่งเป็นวังฤดูร้อนของ "พระนางซูสี ไทเฮา" อยู่ห่างจากตัวเมืองปักกิ่งประมาณ ๑๐ กม.
พระราชวังนี้สร้างในสมัย "เฉียนหลงฮ่องเต้" และได้มีการสร้างเพิ่มเติมในสมัยพระนางซูสีไทเฮา มีการขุดทะเลสาบกว้างใหญ่ให้ชื่อว่า ทะเลสาบคุนหมิง
วันที่ ๒๔ มี.ค. ๓๙ หลังอาหารเช้า แล้วออกเดินทางไปชม กำแพงเมืองจีน ป๋าต๋าหลิ่ง
สร้างโดยจักรพรรดิ จิ๋นซีฮ่องเต้ เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ครอบคลุมพื้นที่ ๕ มณฑลเข้าด้วยกัน มีความยาว
๑๓,๔๐๐ ลี้ (๖,๗๐๐ กม.) การก่อสร้างต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชนไปเป็นจำนวนมาก
วันนี้อากาศหนาวจัด ๒ องศาเซลเซียส เมื่อไปถึงกำแพงเมืองจีน มองเห็นหิมะปกคลุมกำแพง และต้นไม้ในอาณาบริเวณขาวโพลน ส่วนพื้นกำแพงด้านบน
มองเป็นทางขาวทอดยาวคดเคี้ยวไปตามยอดเขาดูสวยงามมาก มีป้อมที่มีทหารยามเฝ้าอยู่เป็นระยะๆ
เมื่อเดินขึ้นไปถึงป้อมลมหนาวเย็นพัดแรงตลอดเวลา นักท่องเที่ยวเดินขึ้นกันมามาก มีบางคนเดินขึ้นไปถึงป้อมที่ ๔ จากนั้นก็เดินกลับลงมา
ตอนบ่ายก็ไปชมสุสานขนาดใหญ่ ที่รวมของฮ่องเต้ ๑๓ พระองค์ ในราชวงศ์หมิง ชื่อว่า สุสานติ้งหลิง
แล้วกลับที่พัก
วันที่ ๒๕ มี.ค. ๓๙ ตอนเช้าไปชม หอบวงสรวงสวรรค์ (เทียนถาน)
อันเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศจีน เป็นสถานที่ใช้บวงสรวงเทพยดาที่ใหญ่ที่ สุดของกษัตริย์สมัยจีนโบราณ มีประวัติยาวนานมาแล้วถึง ๕๖๖
ปี ในแต่ละปีฮ่องเต้ทุกพระองค์ จะต้องเดินทางมาหอเทียนถาน เพื่อจะประกอบพิธีทางศาสนา เพื่อขอพรจากสวรรค์ให้คุ้มครองโลกให้มีสันติสุข
อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร มีฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล เป็นต้น
ตอนบ่ายมีรายการไปชม พระราชวังปักกิ่ง หรือวังต้องห้ามแห่งราชวงศ์หมิงและ ราชวงศ์ชิงมีอายุกว่า ๕๗๐ ปี
ระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน คุณแน่งน้อย นึกขึ้น
ได้ว่าลืมของสำคัญที่หลวงปู่ชัยวงศ์สั่งให้นำกลับไปจากวัดหลิงกวง จึงขอแยกไปขึ้นรถ แท็กซี่กับ คุณแสงเดือน, คุณพจมาน
และหัวหน้าทัวร์
ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ ๑๓.๓๐ น. สภาพของวัดในวันนี้ ต่างกับเมื่อวานซืนโดยสิ้นเชิง ไม่มีร่องรอยของหิมะหลงเหลืออยู่แม้แต่น้อย
ขณะที่เดินขึ้นสู่วิหารและพระเจดีย์ก็ ได้ยินเสียงพระจีนสวดมนต์ พร้อมกับเสียงเคาะไม้บักฮื้อด้วย เมื่อเดินไปถึงวิหาร
เห็นประตูปิดอยู่ก็กราบพระที่หน้าประตู เข้าใจว่าพระกำลังสวดมนต์อยู่ข้างใน
จึงได้ตั้งจิตขออนุญาตนำดินแถวนั้นไปถวายหลวงปู่ แล้วเดินกลับมาหน้าวิหารเพื่อ ขอขมาและกราบลา เสียงสวดมนต์เงียบหายไป เมื่อเงยหน้ามองสูงขึ้นไป
เห็นประตูมีกุญแจคล้องปิดอยู่ เมื่อขาเข้าไม่ทันสังเกตดูกุญแจ แต่ก็ไม่เห็นพระสักรูปเดียว เสียงสวดมนต์มาจากไหน จึงเดินกลับไปด้วยความปลื้มปีติ
วันที่ ๒๖ มี.ค. ๓๙ วันนี้วัดสุดท้ายที่จะอยู่ที่ปักกิ่ง วันแรกเราเริ่มต้นด้วยการไปนมัสการพระเขี้ยวแก้วที่วัดหลิงกวง และลงท้ายด้วยการไปนมัสการพระที่
วัดหย่งเหอ จึงเป็นการเยือนปักกิ่งที่สมบูรณ์แบบ
วัดหย่งเหอ อันเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัย คังซีฮ้องเต้
ของราชวงศ์ชิง เพื่อเป็นที่ประทับขององค์ชายสี่ เมื่อได้ขึ้นครองราชย์ก็ได้มีการดัดแปลงวัดนี้ให้กลายเป็นวัดทาง นิกายลามะ
ทุกวัดในเมืองจีนจะมีลักษณะคล้ายกัน คือมีวิหาร ๓ หลัง ตั้งเรียงกันเป็นแนวตรง
หลังแรกจะเป็นวิหารที่ประดิษฐานรูปปั้นพระสังกัจจายน์ (พระมหากัจจายนะ)
หลังที่สองเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีรูปปั้นพระสาวกทั้งสองข้าง คือ พระมหากัสสป และ พระอานนท์ หลังที่สามเป็นที่ประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์ สำหรับวัดนี้มีรูปพระโพธิสัตว์
ที่แกะสลักด้วยไม้จันทน์สูงที่สุดในโลก ฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงที่งดงามมาก
praew - 30/5/08 at 10:26
(Update 30 พ.ค. 51)
ปักกิ่ง - คุนหมิง - ตาลีฟู
หลังจากได้เข้าไปกราบนมัสการเจ้าอาวาสวัดหย่งเหอกันแล้ว จึงออกไปฉันเพลที่ ภัตตาคาร แล้วเดินทางขึ้นเครื่องบินภายในประเทศถึง คุนหมิง เวลา ๒๑.๒๕ น. ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก
วันที่ ๒๗ มี.ค. ๓๙ เริ่มออกเดินทาง สู่ เมืองตาลีฟู อาณาจักรน่านเจ้าในอดีต ระยะทางประมาณ ๓๗๐ กม.
สองข้างทางผ่านทุ่งนาป่าเขาเหมือนชนบทบ้านเรา มองเห็นหนองแส หรือ ทะเลสาบเออร์ไห่ กว้างใหญ่ไพศาล ในระหว่างทางต้องเข้าห้องสุขาข้างทาง มีญาติโยมบางคนลงไปบรรเทาทุกข์
แต่แค่เข้าไปแล้วก็รีบออกมา ผู้เขียนถามว่าทำไมเร็วนัก
โยมผู้หญิงคนนั้น ไม่พูดแต่ปิดจมูก จึงได้เข้าไปดู ปรากฏว่าส้วมแถวชนบทในเมืองจีนยังเป็นส้วมแบบบ้านเราสมัยก่อนๆ มองเห็นอะไรได้ชัดเจน
ชาวจีนนิยมเอาปุ๋ยของคนไปปลูกผัก เขาบอกว่างามมากทีเดียว ดีกว่าปุ๋ยธรรมชาติสูตรอื่นๆ ทั้งหมด
โดยเฉพาะส้วมสาธารณะ จะทำเป็นรางลาดเทออกไปข้างนอก เพื่อความสะดวกในการนำออกไป ประตูก็ไม่มีจะปิด มองเห็นหน้ากันได้ชัดเจน
ส่วนภูเขาส่วนใหญ่เป็นภูเขาหัวโล้น แวะทานอาหารกลางวัน ที่ต้าลี่ มีมัคคุเทศก์เพิ่มอีก ๑ คน เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัย ทำงานได้ ๒ ปีแล้ว
บอกว่าภาษาไทยเป็นวิชาบังคับในมหาวิทยาลัย น่าแปลกมากนะ
ออกเดินทางต่อไปสู่ เมืองปิงชวน ระยะทางประมาณ ๑๐๓ กม. เวลาประมาณบ่าย ๒ โมง
รถเริ่มติดบนภูเขาระหว่างทางไปเขาจี้จู๋ รถหลายพันคันจอดรออยู่บนถนนแคบๆ หลีกกันแทบไม่ได้ ต้องวิ่งไปทีละคืบทีละศอก เนื่องจากฝนตกหนักเมื่อคืน
จึงทำให้รถบรรทุกสิบ ล้อล้มขวางทางอยู่กลางถนน
พวกเราต้องนั่งอดทนอยู่ในรถ ๓ - ๔ ชั่วโมงผ่านไป ชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่าจนกระทั่งดึก มัคคุเทศก์ควักเงินปึกหนึ่งออกมากรีดเล่น
บอกว่าเงินที่เตรียมมาไว้เป็นค่าอาหารตอนนี้ไม่มีความหมายแล้ว ป่าเขาเช่นนี้จะไปหาที่ไหนกัน แต่ก็พยายามไปหาซื้อของกินจากชาวบ้านแถวนี้ จะต้องเดินกันไปไกลๆ
นับชั่วโมง
นับว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ชะตากรรมของพวกเรา เหมือนกับต้องไปชดใช้หนี้กรรมแต่ปางก่อน น้ำก็ไม่ได้อาบ
อาหารเย็นก็เป็นแค่ฝันไป คงได้แค่หมั่น โถวที่เหลือจากกลางวันติดรถมาพอแบ่งปันกันคนละเล็กน้อย น้ำดื่มก็ต้องจิบกันคนละอึก นอนหลับๆ ตื่นๆ
อยู่ภายในรถตลอดทั้งคืน ระหว่างสองข้างทางก็มืดมิดน่ากลัว
เช้าวันที่ ๒๘ มี.ค. ๓๙ รถเริ่มขยับไปได้เร็วขึ้น ตามกันเป็นแถวยาวเหยียดนับหลายสิบกิโลเมตร จนถึงเวลาประมาณ ๘.๐๐ น. รถเริ่มเคลื่อนไปช้าๆ
โดยไม่ต้องจอด ในที่สุดก็วิ่งลงจากเขาไปได้ตามปกติ รวมเวลาที่ค้างอยู่บนเขานาน ๒๐ ชั่วโมง มัคคุเทศก์เจ้าถิ่น บอกว่า เขาไม่เคยพบเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน
คุณแน่งน้อย ได้บันทึกไว้ในหนังสือนี้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เมื่อเราตั้งใจมานมัสการ พระมหากัสสป ผู้เป็นเลิศในทางธุดงค์
ท่านย่อมสั่งสอนให้เรารู้จักชีวิตธุดงค์ในป่าเป็นเวลา ๑ คืนอย่างแน่นอน เป็นการฝึกความอดทนไปด้วย..
รถได้หยุดพักแวะทานอาหารเช้าและกลางวันระหว่างทาง แล้วเดินทางสู่เขาจี้จู๋ระยะทางประมาณ ๔๐ กม. เป็นทางลูกรัง ตอนนี้รถวิ่งไปติดที่หลุมใหญ่
ต้องเดินไปขอความ ช่วยเหลือจากชาวบ้าน ซึ่งอยู่ไกลประมาณ ๖ กม. จนถึงเวลา ๑๕.๐๐ น. พวกเราได้ช่วยกัน เอาแม่แรงมายกล้อขึ้น
แล้วช่วยกันเอาหินถมหลุมให้เต็มทั้ง ๔ ล้อ ในที่สุดก็ขึ้นจากหลุมได้
แต่รถก็ไม่อยู่ในสภาพปกติ จึงหันหลังกลับไปที่หมู่บ้านที่ผ่านมาหาเช่ารถเมล์ขนาดเล็ก ทานอาหารเย็นที่ร้านอาหารในหมู่บ้านกันแล้ว
จึงนั่งรถเบียดเสียดยัดเยียดกัน โดยมีกระเป๋าอยู่บนหลังคารถ รถวิ่งผ่านรถใหญ่ของเราที่ติดหล่ม แล้วยังต้องวิ่งขึ้นเขาไปอีกเป็นทางแคบๆ
อากาศเริ่มมืดมองไม่เห็นอะไร
นับว่าโชคดีที่เปลี่ยนรถเสียก่อน ถ้าเป็นรถใหญ่คันเดิมคงไปไม่ได้แน่ ถึงวัดเวลา ประมาณ ๒๒.๐๐ น. ต้องขึ้นที่พักบนเขาอีก ปรากฏว่าที่พักที่เราจองไว้
มีคนจากไต้หวันมาพักก่อนแล้ว เพราะเรามาล่าช้ากว่ากำหนดเดิม อากาศบนนี้หนาวจัดมาก หายใจออกเป็นควัน
ระหว่างนั้น มัคคุเทศก์จากต้าลี่ได้กลับมาบอกว่า หาที่พักข้างล่างได้แล้ว จึงนั่งรถ กลับลงมาข้างล่าง เข้าพักห้องละ ๒ คน มีผ้าห่มอย่างหนาให้พร้อม
หัวหน้าทัวร์สั่งห้ามอาบน้ำเพราะกลัวเป็นหวัดกัน เราก็เต็มใจอยู่แล้ว ถึงแม้จะต้องซักแห้งต่อจากเมื่อวานนี้
วันที่ ๒๙ มี.ค. ๓๙ หลังจากที่ได้พักผ่อนนอนหลับเอาแรงกันแล้ว เป็นการชดเชยเมื่อ คืนนี้ที่อยู่บนรถตลอดทั้งคืน คุณแน่งน้อยได้ สำรวจบริเวณ
ตามที่หลวงปู่วงศ์บอกไว้ว่าเป็นหน้าผา ที่แท้เป็นที่เราพักกันอันเป็นศูนย์กลาง ของ วัดจู้เซิงซือ นั่นเอง
มองออกไปด้านขวาเห็นหน้าผาตัด และยอดเขาเป็นรูปเต่า
พระเจดีย์ขาว ๓ องค์
พระเจดีย์ 3 องค์ สัญลักษณ์แห่งเมืองต้าหลี่ อายุเก่าแก่มากเกือบ 1,200 ปี เจดีย์องค์ประธาน เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ส่วนเจดีย์บริวารทั้ง 2 องค์
ความสูงเป็น 2 ใน 3 ขององค์ประธาน สร้างหลังองค์ประธานร่วม 200 ปี
พวกเราช่วยกันจัดโต๊ะเครื่องบูชา แล้วหลวงพี่โอทำพิธีบวงสรวง สวดมนต์นั่งสมาธิกันแล้ว จึงรับประทานอาหารเช้า เป็นบะหมี่น้ำรสชาติดีพอสมควร
หลังจากได้ร่วมทำบุญกับทางวัดแล้ว จึงเดินทางกลับมาขึ้นรถใหญ่สู่เมืองตาลีฟู ระหว่างใกล้จะถึงเมืองเก่า รถวิ่งลงมาจากยอดเขา มองเห็นพระเจดีย์ขาว ๓
องค์แต่ไกล ขณะที่มีละอองฝนโปรยปรายลงมาพอดี แต่เมื่อไปถึงเมืองใหม่ของตาลีฟู กลับไม่มีฝนตกแต่อย่างใด นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก
กล่าวกันว่าดินแดนจีนด้านนี้ อยู่ภายใต้การปกครองเจ้าฟ้า ๖ พระองค์ ในช่วงศตวรรษ ที่ ๘ เจ้าฟ้าองค์หนึ่งได้เสด็จเยือนพระราชสำนักแห่งราชวงศ์ถัง
เมื่อถูกถามไถ่ว่ามาจากที่ใด พระองค์ตอบว่าจากแผ่นดินที่ไกลกว่าทางตอนใต้ ซึ่งมีฝนตกชุกมากกว่ามณฑลเสฉวนเสียอีก จักรพรรดิถังจึงให้นามดินแดนนั้นว่า
ยูนนาน แปลว่า เมฆใต้อิสรภาพที่ไร้พรมแดน
จากนี้ไปก็คือ ลี่เจียง เป็นสถานที่ซึ่งฟ้าและดินยังอยู่คู่กันอย่างใกล้ชิด สถานที่น่าท่องเที่ยว คือ
สระมังกรดำ และ เทือกเขามังกรหยก เป็นต้น แล้วก็ไปถึง
เมืองต้าลี่ ได้แก่ อาณาจักรน่านเจ้า ในอดีต
ล่มสลายเพราะถูกกุ๊บไลข่าน ชาวมองโกลพิชิตเอาไว้ได้
หลักศิลาหนันเจา สร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๑๓๐๙ ซึ่งมองเห็นได้จากเมืองหลวงไท่เหอ
อันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรน่านเจ้า คำจารึกบนหลักศิลานี้ บันทึกระบบการเมืองการ ปกครองและเศรษฐกิจของชาติแห่งนี้เอาไว้ สัญลักษณ์ของเมืองต้าลี่ คือ
เจดีย์สามองค์ หรือ ต้าลี่ซันถ่า เจดีย์องค์กลางสูง ๗๐
เมตร สร้างในศตวรรษที่ ๙ และประดิษฐานอยู่ใจกลางวัดแห่งหนึ่งมาก่อน ซึ่งเหลือแค่พระเจดีย์นี้
ในการบูรณะเจดีย์ทั้ง ๓ องค์นี้ ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๑ โบราณวัตถุกว่า ๖๐๐ ชิ้น ถูก ค้นพบในองค์เจดีย์ เป็นวัตถุจากสมัยศตวรรษ ที่ ๗ - ๑๐
ซึ่งเป็นกระจกสัมฤทธิ์ ยา พระพุทธรูปทองคำ และประติมากรรมรูปไก่ฟ้าที่ทำจากเงิน คงสร้างตั้งแต่สมัย พ่อขุนบรม
"ต้าลี่" เป็นเมืองไกล้น้ำทำให้เกิดอุทกภัยเป็นนิตย์ คนสมัยก่อนเชื่อว่ามังกรเป็นตัวก่อเหตุเพราะชอบมาเล่นน้ำป๋อมแป๋มที่ "ทะเลสาบเอ๋อห่าย"
จึงทำให้น้ำท่วม และเชื่อกันว่ามังกรกลัวพระเจดีย์ จึงสร้างเจดีย์ขึ้นข่มมังกรเพื่อไม่ให้มาเล่นน้ำ จะได้น้ำไม่ท่วมอีก จึงได้ชื่อว่า "เจดีย์สยบมังกร"
นั่นเอง
เจดีย์ต้าลี่ เป็นเจดีย์สีขาวทั้งองค์ คำว่า
ไป๋แปลว่า สีขาว ชาวไป๋ที่นี่เรียกบรรพบุรุษ ของตนว่า ราชาขาว และเรียกภาษาของตน
ซึ่งคล้ายกับภาษาจีนกลางว่า ภาษาสีขาว แต่กระนั้นก็ตาม สตรีชาวไป๋นิยมแต่งกายกันด้วย เสื้อผ้าสีเจิดจ้าโดยเฉพาะสีแดง
ชาวไป๋เป็นกลุ่มชนที่ชอบแต่งกายงดงามตระการตามากที่สุดชนชาติหนึ่ง ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
วันนี้เป็นวันที่ ๙ ของการเดินทาง ตรงกับวันเสาร์ที่ ๓๐ มี.ค. ๓๙ ออกเดินทางกลับจาก วัดจู้เซิงซือ
เขาจี้จู๋ ถึง คุนหมิง ในเวลาเย็น ใช้เวลาเดินทางถึง ๙ ชั่วโมง รุ่งขึ้นวันที่ ๓๑ มี.ค.
๓๙ เราปิดท้ายรายการนี้ ด้วยการไปที่ วัดหยวนทง เป็นวัดเก่าแก่มีอายุกว่าพันปี
ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานพระไตรปิฎก ศาลาแปดเหลี่ยมเจ้าแม่กวนอิมพันมือ และ ที่สำคัญมีวิหารไทยที่มีพระพุทธชินราชเป็นพระประธานอยู่ด้วย "คุนหมิง"
คนไทยมาเที่ยวกันเยอะ จึงนิยมมาเยี่ยมชมวัดแห่งนี้ จากนั้นพวกเราก็เดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ.
คลิก..ติดตามการเดินทาง ครั้งที่ 2 http://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=428
webmaster - 3/5/18 at 06:29
.