ในขณะนั้น ได้พบกับเจ้าอาวาส จึงได้ร่วมทำบุญสร้างวิหารด้วย แล้วเดินขึ้นเขาต่อไปอีก จึงจะถึง พระธาตุเจดีย์พูสี (พระธาตุจอมศรี) ตามที่ได้มองเห็นเมื่อตอนอยู่ข้างล่าง ครั้นได้กราบไหว้สักการบูชาแล้ว
จึงเดินทางลงมาจากยอดเขา แล้วไปเที่ยว วัดเชียงทอง แล้วเดินทางกลับถึงเวียงจันทน์
มาค้างคืนที่วัดพระโพธิสาราชตามเคย
เป็นอันว่า หลังจากการเดินทางไปหลวงพระบางโดยมิได้คาดฝันในครั้งนั้น วันที่ ๒๕ มิ.ย. ๔๑ ระยะเวลาได้ล่วงเลยมาเกือบ 12 ปี
พวกเราจึงได้มีโอกาสไปกราบไหว้อีกครั้งหนึ่ง โดยหลวงพี่ได้กำหนดการเดินทางไปหลวงพระบาง ในวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2553 ไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว
< < < โปรดติดตามตอนต่อไป การเดินทางไปหลวงพระบาง วันที่ 5 7 กุมภาพันธ์ 2553 > > >
praew - 19/2/10 at 08:05
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 กรุงเทพฯ หลวงพระบาง
- คณะผู้ร่วมเดินทางจำนวนประมาณ 21 คน ออกเดินทางโดยสายการบิน โดยสายการบินลาว เที่ยวบินที่ QV 643
เดินทางถึงสนามบินหลวงพระบางผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมือง และเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองหลวงพระบาง เวลา 12.30 น. ซึ่งจะสังเกตได้ว่าในตอนบ่ายวันนี้
อากาศไม่ร้อนอย่างที่คิด แดดร่มลงไปเป็นที่อัศจรรย์ใจของทุกคน ต่างก็เดินชมสถานที่สำคัญด้วยความเป็นสุข
- เวลา 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร โดยที่หลวงพ่อ และหลวงพี่ได้ฉันเพลเรียบร้อยแล้ว บนเครื่อง
- หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ หลวงพระบาง พระราชวังเก่า หรือชาวเมืองหลวงพระบางเรียกว่าหอคำ เป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิต
ที่ในอดีตเคยเป็นพระราชวังหลวงที่พำนักของเจ้ามหาชีวิต(พระมหากษัตริย์) ตั้งอยู่ตรงข้ามกับบันไดทางขึ้นพูสี
แต่เดิมเคยเป็นพระราชวังหลวงที่เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2447 ในสมัยพระเจ้าสักกะริน และมาแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2452
- ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ลักษณะอาคารเป็นชั้นเดี่ยวยกพื้นสูง สถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส แต่เป็นการผสมผสานระหว่างฝรั่งเศสและลาว
ด้านนอกอาคารเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์
- ภายหลังเปลี่ยนระบอบการปกครองในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ. 2518 รัฐบาลลาวได้ใช้พระราชวังหลวงนี้เป็นหอพิพิธภัณฑ์ และเปิดทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519
ปัจจุบันพระราชวังหลวงเปลี่ยนบทบาทมาเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำเมืองที่พอเดินเข้าไปจะเห็นทิวต้นตาล 2 ข้าง นำสายตาไปสู่อาคารพระราชวัง
ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสผสมลาว ซึ่งหลายๆ คนเปรียบเปรยพระราชวังหลังนี้ว่าเป็น ฝรั่งสวมชฎา
ใครที่เข้าไปในหอพิพิธภัณฑ์ฯแล้วเพื่อความเป็นสิริมงคล ควรที่จะไปสักการะ พระบาง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบาง ที่อยู่ในห้องทางขวามือ
- วัดใหม่สุวันนะพูมาราม วัดที่สำคัญวัดหนึ่งของหลวงพระบางอยู่ติดกับ พิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2337 สมัยพระเจ้าอนุรุทธราช และใน
พ.ศ. 2437 สมัยพระเจ้าสักริน ได้อัญเชิญพระบางมาประดิษฐาน และประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒสัตยาต่อหน้าองค์พระบาง
วัดที่เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชบุญทัน นับเป็นสังฆราชองค์สุดท้ายของลาว และภายในพระอุโบสถยังเคยใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบาง
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของหลวงพระบางประดิษฐานอยู่ จนถึงปีพ.ศ.2437 จึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานในหอพระบางภายในพระราชวัง
- พวกเราต้องนั่งรถสกายแลปกันไปตามที่ต่าง ๆ เพราะรัฐบาลลาว ต้องการที่จะอนุรักษ์ให้เป็นมรดกโลก
- วัดเชียงทอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองหลวงพระบาง ใกล้บริเวณที่แม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง มีถนนเล็กๆชื่อถนนโพธิสารราช
ริมน้ำโขงคั่นอยู่ วัดเชียงทองสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2102 2103 สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
ในบรรดาวัดวาอารามทั้งหมดต้องยกให้วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงามที่สุด และได้รับการมาเยี่ยมเยือนจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด
"นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทองเป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว"
วัดเชียงทองสร้างขึ้นก่อนหน้าที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทน์ไม่นานนัก และยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชาติศรีสว่างวงศ์
และเจ้ามหาชาติศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของประเทศลาว
- โรงเมี้ยนโกศ หรือโรงเก็บราชรถพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2505 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ลักษณะเป็นโถงกว้าง
ผนังด้านหน้าตั้งแต่หน้าบันลงมาจนถึงพื้นสามารถถอดออกได้เพื่อให้สามารถเคลื่อนราชรถออกมาได้
- กลางโรงเมี้ยนโกศเป็นที่ตั้งราชรถไม้แกะสลักปิดทองคำเปลวรอบคัน มีพระโกศสามองค์ตรงกลางเป็นองค์ใหญ่ของเจ้าสว่างศรีวัฒนา ด้านหลังเป็นของพระราชมารดา
ส่วนด้านหน้าเป็นของพระเจ้าอา โรงเก็บราชรถนี้ออกแบบโดยเจ้ามณีวงศ์ และใช้ช่างชาวหลวงพระบางชื่อ เพียตัน นับว่าเป็นช่างฝีมือดีประจำพระองค์
มีความชำนาญทั้งด้านงานเขียนและงานแกะสลัก
- พระประธาน หรือชาวลาวเรียกว่าพระองค์หลวง ภายในพระอุโบสถเป็นสีทองงดงามอร่ามตาด้านข้างพระองค์หลวงมีพระบางจำลอง
และผนังด้านหลังของพระอุโบสถเป็นภาพที่เกิดจากการใช้กระจกสีตัด ติดต่อกันเป็นรูปต้นทองขนาดใหญ่ ซึ่งเคยมีในเมืองหลวงพระบางลักษณะคล้ายต้นโพธิ์
ด้านข้างต้นทองเป็นรูปสัตว์ในวรรคดียามใดที่แสงแดดสดส่องสะท้อนดูงดงาม
- วิหารพระม่าน ผนังวิหารด้านนอกมีลักษณะคล้ายกับวิหารองค์แรก ภายในวิหารนี้ประดิษฐาน พระม่าน
ในช่วงวันขึ้นปีใหม่จะมีการอันเชิญมาให้ประชาชนสรงน้ำและกราบไหว้เป็นประจำทุกปี ผนังด้านหลังวิหารทาด้วยสีชมพูประดับด้วยกระจกสีแสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คน
สร้างขึ้นใน พ.ศ.2493 เพื่อเฉลิมฉลองที่โลกก้าวสู่ยุคกึ่งพระพุทธกาล
praew - 19/2/10 at 14:25
- พระธาตุนี้มองเห็นได้แต่ไกลแทบจะทุกมุมเมืองของหลวงพระบาง ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง
ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริดเจ็ดชั้น สูงประมาณ 21 เมตร มีทางขึ้นสองทาง เส้นทางที่นิยมใช้กันเป็นประจำคือ
บันไดทางด้านหน้าทิศตะวันตก ตรงข้ามกับประตูพิพิธภัณฑ์พระราชวัง มีทั้งสิ้น 328 ขั้น เป็นบันไดที่ไม่ลาดชันนัก
- สำหรับชาวลาวที่มาแสวงบุญ และนักท่องเที่ยวเดินขึ้นไปนมัสการพระธาตุ ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก เป็นทางบันไดชันขึ้นมาจากทางแม่น้ำคาน
ผ่านวัดถ้ำพูสี เมื่อขึ้นถึงด้านบนพระธาตุสามารถมองเห็นเมืองหลวงพระบางได้รอบด้าน โดยเฉพาะช่วงเย็นพระธาตุพูสีเป็นอีกสถานที่ ที่สามารถชมพระอาทิตย์ตก
และตลอดทางขึ้นร่มรื่นไปด้วยต้นจำปา (ดอกไม้ประจำชาติลาว) หรือที่บ้านเราเรียกว่าต้นลั่นทม
- ระยะทางจากวัดเชียงของ พวกเราก็นั่งรถสกายแลป ตลอดการเดินทาง ซึ่งไม่นานนัก ก็มาถึงทางถึงพระธาตุพูสี และคณะของพวกเรานั้น
ก็ไม่มีใครแสดงอาการเหน็ดเหนื่อยออกมาให้เห็น ทุกคนต่างยิ้มแย้มแจ่มใส ยิ่งจะได้มากราบรอยพระพุทธบาท และพระธาตุ พูสี ถึงกับมีคำกล่าวว่า
ถ้าไปเที่ยวหลวงพระบางแล้ว ไม่ได้ขึ้นพระธาตุพูสีถือว่า ไปไม่ถึงหลวงพระบาง
- และก่อนที่จะถึงพระธาตุนั้น หลวงพี่ชัยวัฒน์ ก็พาพวกคณะเรา มากราบรอยพระพุทธบาท ซึ่งมีความสำคัญมาก พระบาทแห่งนี้ บางทีเรียกว่า พระบาทเหนือ
ซึ่งอยู่บนภูเขาใจกลางเมืองหลวงพระบาง แต่คุ้มค่าหายเหนื่อย พวกเราสามารถไปถึงจนได้ตามความตั้งใจ ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ มีอุปสรรคมาก
ตั้งแต่การรวมตัว การจองตั๋ว การติดต่อประสานงาน มีปัญหามาโดยตลอด แต่ก็สามารถผ่านมาได้ด้วยดี โดยการประสานงาน ของพี่ติ่ม (คุณอภิญญา นาคสวัสดิ์)
- หลวงพี่ได้เล่าประวัติ รอยพระพุทธบาท ถึงความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ ให้พวกคณะเราได้ฟังกัน ทำให้คณะของเรานั้น ยิ่งมีความปราบปลื้มปิติเป็นยิ่งนัก
- เมื่อพวกเราได้ทราบประวัติดังนี้แล้ว จึงได้ร่วมกันเจริญพระพุทธคุณและสวดคาถาเงินล้าน พร้อมได้ถวายเครื่องสักการบูชาต่างๆ มีบายศรี ฉัตร ผ้าสไบทอง
ดอกไม้ ธูปเทียน แผ่นทอง เป็นต้น
- ภาพถ่ายหลวงพี่ชัยวัฒน์ ถ่ายเห็นพระธาตุ สีทองอร่าม และแม่น้ำโขง สามารถมองเห็นวิวของหลวงพระบางได้ สวยงามมาก
- หลังจากกราบไหว้บูชารอยพระพุทธบาทแล้ว พวกเราต้องเดินขึ้นบันไดกันต่อไป ตามทางที่ผ่านมีพระพุทธรูป ปางต่าง ๆ ตลอดเส้นทาง
- คณะของพวกเราสามารถขึ้นมาสู่ยอดเขา ที่ประดิษฐาน พระธาตุพูสี ยังไม่ทันตั้งตัว พวกเราก็ปราบปลื้มใจเมื่อเห็น หลวงพี่ชัยวัฒน์ เป็นผู้นำไปห่มผ้า
พร้อมด้วย เฮียท้ง พี่สำราญ และไกด์ของพวกเรา คือ คุณประยงค์ ซึ่งดูแลคณะของพวกเราดีมาก
- หลวงพ่อได้โมทนา กับการถวายผ้าองค์พระธาตุพูสี ตลอดเวลาที่ หลวงพี่ชัยวัฒน์ ไปห่มผ้า หลังจากนั้น หลวงพี่ ก็ได้นำบูชาพระรัตนตรัย และขอขมา
ได้เวลาค่ำพระอาทิตย์ตกดิน พอดี มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ขึ้นไปรอถ่ายรูปพระอาทิตย์ตกกันมากมาย
- จะเห็นได้ว่า หลังจากห่มผ้าแล้ว องค์พระธาตุสวยงามมาก สีทองอร่าม เข้ากับแสงของพระอาทิตย์ตกดินพอดี พวกเราอิ่มอกอิ่มใจกันพอสมใจ
จึงได้เดินทางกลับ
- ภาพถ่ายที่ทีมงานได้ถ่ายบนเครื่องบิน จะสามารถมองเห็นองค์พระธาตุพูสี สีทองอร่ามเป็นประกาย อย่างชัดเจน สวยงาม
((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))
praew - 24/2/10 at 12:56
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553
เช้านี้เราจะไปตักบาตรข้าวเหนียว ธรรมเนียมตักบาตรของชาวหลวงพระบาง ที่เป็นส่วนหนึ่งของการที่ทำให้เมืองนี้เป็น "มรดกโลก"
ฟ้าเริ่มสาง สว่างขึ้นทุกทีแล้ว เห็นพระเดินมาลิบๆเป็นทิวแถว ก็ลุกขึ้นเตรียมตัวกันได้เลย พระสงฆ์เป็นร้อย ๆ รูป กับชาวหลวงพระบาง
เป็นภาพยามเช้าที่มีชีวิตชีวาของหลวงพระบางโดยสะท้อนถึงวิถีชีวิตของสังคมอันสงบสุข
ธรรมเนียมปฏิบัติของการตักบาตรที่หลวงพระบางคือ ผู้หญิงต้องนั่งคุกเข่า ห้ามยืน ส่วนผู้ชายนี่จะนั่งหรือยืนก็ได้
ตอนแรกๆ ที่พระยังเพิ่งเดินมา ก็เว้นระห่างดีอยู่หรอก ยังพอจกข้าวเหนียวลงบาตรได้ทัน แต่ซักพักพระเริ่มเดินเร็วขึ้น ทีนี้ล่ะ จกกันมันมือไปเลย
ใส่รูปเว้นรูปก็มี เพราะจกไม่ทัน .. แต่หลังๆก็เริ่มชินและรู้เทคนิคแล้วก็เลยทำให้จกได้เร็วขึ้น
ตักบาตรเสร็จ เราจะปั้นข้าวเหนียวเล็กๆ วางไว้ตามกำแพง หรือตามที่ต่างๆ เป็นธรรมเนียมว่า ทำบุญแล้วต้องทำทานด้วย ถ้าไปหลวงพระบางแล้วไม่ต้องแปลกใจ
จะได้พบเจอก้อนข้าวเหนียวน้อยอยู่ทั่วไปตามวัดวา ตามถนน และตามที่ต่างๆ
ภาพที่เห็น เป็นภาพที่สวยงามมาก หลวงพี่ฯ ได้บอกให้คณะของพวกเราดู สวยงามจริง ๆ เลยนำภาพมาให้ได้ชมกัน และหลังจากนั้นก็ถ่ายภาพ เป็นที่ระลึก
พอสมควร
หลังจากใส่บาตรข้าวเหนียวกันเรียบร้อยแล้ว คณะพวกเราก็แวะไปยังวัดแสน นำอาหารแห้งมาจากประเทศไทย ไปถวาย อาทิเช่น อาหารแห้ง ปลาแห้ง ข้าวสาร และอื่น
ๆ อีกมากมาย
((( โปรดติดตามตอนที่ 2 คลิกที่นี่ » )))
webmaster - 21/3/10 at 15:42
(( Update 21/03/53))