แล้วต่อมาพระคุณท่านเห็นว่า การอยู่วัดมหาธาตุมันใกล้พระราชฐาน มีบุคคลพลุกพล่านมาก..ไม่ชอบ ชอบที่เงียบสงัด จึงไปปลูกกระต๊อบ
อยู่ที่ ดงจันทน์ มันมีต้นจันทน์อยู่ไม่กี่ต้น ต่อมาสมเด็จแม่จึงไปสร้างวัดให้ แล้วพวกกระผมด้วย ก็ไปสร้างวัดให้ได้นามว่า วัดต้นจันทน์
พ่อขุนน้าวนำถม
......แผนการในการกู้ชาติระยะต้น
ก็มีบุคคลสำคัญ ๒ คน คือ พ่อขุนน้าวนำถม ซึ่งเป็นพระราชบิดาของ
พ่อขุนบางกลางท่าว อีกคนหนึ่งก็คือ พ่อขุนศรีเมืองมาน ซึ่งมีอายุไล่เรี่ยกับพ่อขุนน้าวนำถม
แต่เป็นสายของ พ่อขุนผาเมือง ก็เป็นคนไทยด้วยกัน สองคนนี้มีความสำคัญมาก
แต่ด้านกำลังจิตใจของทั้งสองท่านต่างกัน อยู่นิดหน่อย พ่อขุนน้าวนำถมมีจริยาอ่อนช้อย พูดนิ่มนวล เป็นคนอ่อนๆ แต่ทว่ากำลังใจซึ้งไปด้วย สติปัญญา
คิดไว้เสมอว่าจะต้องกู้ไทยให้เป็นไท พ่อขุนศรีเมืองมานเป็นคนที่ใช้ปัญญา ความฉลาด ความสามารถ ความคล่องแคล่วในตัว มาก แต่ชอบใช้อาการเด็ดขาดกับขอม
ถ้าใช้อะไรมา เห็นว่าทำได้..บอกว่าทำได้ ถ้าทำไม่ได้..บอกว่าอย่า เพิ่ง..รอก่อน ถ้าขอมรวน..ท่านก็สวนตอบทันที
เป็นอันว่า ท่านทั้งสองนี่มีจริยาต่างกัน คือ พ่อขุนน้าวนำถมนี่เหมาะกับการเป็นพ่อเมือง เพราะเป็นคนมีอารมณ์เยือกเย็นสุขุม พ่อขุนศรีเมืองมาน
มีปัญญาปราดเปรื่อง มีอาการคล่องตัวมาก ใจร้อน อยากรบ ความจริงของเราในสมัยนั้นมีทั้ง บู๊ ทั้ง บุ๋น
เสร็จ!
ความจริงนะ เทวดาช่างส่งคนลงมา เหมาะจริงๆ สองพ่อขุนนี่มีจริยาคนละแบบ ถ้าการเกรี้ยวกราดกระฉับกระเฉง..ต่อต้าน ต้องเป็นเรื่องของพ่อขุนศรีเมืองมาน
วางแบบแผนสุขุมคัมภีรภาพ เป็นเรื่องของพ่อขุนน้าวนำถม
แผนการของพ่อขุนศรีเมืองมานกับพ่อขุนน้าวนำถมตอนนี้ เป็นยุคที่คนไทยใกล้จะกู้เอกราช พยายามแนะนำคนไทยทุกคน ให้มีจริยาอ่อนน้อม ต่อขอม
เขาจะว่าอะไรก็ตามใจเขา เขาจะใช้อะไรก็ ตามใจเขา ที่ไม่หนักหนาเกินไป
แต่วางแผนขั้นแรกให้มีความสามัคคีรัก ใคร่กัน สั่งสมบ้านเมืองให้อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ธัญญาหาร ของที่จำเป็นจะต้องใช้เพื่อเตรียมรบ
ถ้าเวลาจะรบกันแล้วมันไม่ได้เรื่อง ทำอะไรกันไม่ได้ ทั้งผู้หญิงผู้ชาย สอนให้มีความรักมีความสามัคคี รักบ้านรักเมืองยิ่งกว่าชีวิต คิดว่าถ้าเราไม่สามารถ
เป็นเอกราชตราบใด น้ำใจของเรามันจะหดหู่อยู่ ตลอดเวลา พวกคนไทยทั้งหมดจะต้องน้ำตาตกใน
แม้ไอ้คนขอทานของขอมเดินเข้ามา เขาก็แสดงความยิ่งใหญ่กว่าพ่อเมืองได้ แล้วลูกเมืองจะ เป็นอย่างไร เขาจะย่ำยีเอาตามชอบใจ ทำอะไรผิด นิดหน่อย
เขาก็สั่งประหารชีวิต เรียกไปทรมาน ข้าว ของอะไรที่มีอยู่ในบ้านเขาต้องการก็ต้องให้เขา
เมื่อก่อนนี้เราให้อย่างผู้เกรงใจ ผู้กลัว ในอำนาจ มาตอนหลังนี่ เราให้อย่างผู้จะรื้ออำนาจ ขึ้นมาให้ตัวเอง คือทำให้ขอมตายใจ คิดว่าคนไทย
กลัวและอ่อนน้อม สองพ่อขุนเป็นกำลังใหญ่ เข้าวัด ทุกวัด เข้าหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ทำตนเป็นคนกันเอง ต่อมาปรากฏว่า พ่อขุนน้าวนำถม ทิวงคต ไม่ทันจะรบเขาตายเสียแล้ว..คู่หูตาย! ให้พ่อขุนบางกลางท่าว คือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ลูกชายคนใหญ่
ขึ้นมาครองคนไทยในเขตนั้นแทน
สำหรับพ่อขุนศรีเมืองมานทำยังไง คู่หูตาย เหลือแต่ชั้นลูกชั้นหลาน ก็ให้การแนะนำ ยึดวิธีการ เดิมเข้าไว้ สอนให้เข้าใจ แต่พ่อขุนบางกลาวท่าวนี่ก็
เรียนมาแล้ว ถึงแม้ว่าพ่อจะตายแต่ก็จำได้ทุกอย่าง
ต่อมาเมื่อพ่อขุนผาเมืองเป็นหนุ่มเป็นแน่น พอที่จะครองเมืองได้ พ่อขุนศรีเมืองมานก็ปล่อยมือ ให้พ่อขุนผาเมืองขึ้นว่าหน้าที่แทน แล้วท่านก็
ออกบวชเมื่ออายุ ๔๐ ปี เพราะชายาทิวงคตไปเสียก่อน เป็นพ่อหม้ายอยู่ ๕ ปี แล้วจึงได้บวชธุดงค์ ลงไปถึงภาคใต้ เป็นธรรมทูตจาริกสั่งสอนคนไทย ให้สามัคคี
เมื่อคนไทยแต่ละกลุ่มรวมกันแล้ว ลูกหลานรุ่นหลังจึงสามารถกู้ชาติจนเป็นผลสำเร็จ...
การไปสุโขทัยในครั้งนั้น หลวงพ่อท่านบอกว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ กำลังนั่ง ๆ อยู่ที่กุฎิ สบายๆ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
มากับ ท่านแม่ย่าจันทร์เทวี ท่านบอกว่าขอพระคุณท่านพาคณะศิษยานุศิษย์ไปสุโขทัย
เพราะผีที่เป็นชาวสุโขทัยเก่าๆ ที่เป็นนักรบอยากจะพบ ส่วนจะพบกันอย่างไร ขอให้ฟังท่านเล่าต่อไป (ผู้จัดเปิดเทปหลวงพ่อต่อไป)
พอไปถึงสุโขทัย..ท่านสั่งให้ไป เราก็พา คณะศิษยานุศิษย์ และท่านที่เคารพนับถือทั้งหลายไปบูชาบรรพบุรุษ ตามแบบฉบับที่ หลวงพ่อปาน เคยสอนไว้ เมื่อทำพิธีกรรมสร็จ ก็ปรากฏเป็นภาพชาวสุโขทัยทั้งหมดมาในเครื่องแบบรบ..พร้อมรบ!
แล้วก็แต่งตัวสวยจริงๆ
ที่เขาเขียนรูป พระร่วง ไม่มีเสื้อน่ะ คนเขียนเขียนใหม่ดีกว่า วิธีเขียนละอย่าเดากันเลย..
พ่อคุณเอ๋ย! เพราะคนสมัยนั้นเขาแต่งตัวกันสวย กว่าคนสมัยนี้ รัดกุมดีกว่า..สวยกว่า นี่พ่อล่อไม่มี เสื้อเสียได้ ทำสัญลักษณ์ของกษัตริย์ไทยเสียไปหมด
คนไทยแต่งตัวดีเรียบร้อย ไม่ได้แต่งยี่ห้อบูดๆ แบบนั้น
เห็นเขาแสดงภาพแต่ละสมัยของคนไทย เครื่องแต่งตัวดูแล้วไม่ตรงตามความเป็นจริง ไอ้ที่ ว่าตรงหรือไม่ตรง เวลาที่เขามาหรือเขาแสดงให้ดูนี่
ตามภาพที่เห็นมันไม่ได้เห็นแบบนั้นนี่ พ่อก็นั่งเดา กันส่ง ทำลายความดีของพ่อของแม่ผู้มีพระคุณ จะเกิดประโยชน์อะไร
เป็นอันว่า เรื่องราวเก่าๆ ทั้งหลายเราเลิกพูดกัน มาพูดกันว่าเดินทางมาสุโขทัย พอทำพิธีบูชา แล้วเห็นท่านผู้ใหญ่ แต่ท่านจะใหญ่แค่ไหนไม่รู้นะ
ทุกคนมาท่านก็ยกมือไหว้ มานั่งรวมกลุ่มกันพร้อมรบ แล้วอีกกลุ่มหนึ่งมันเป็นตัวดำๆ มันมีปริมาณ มากกว่า ประมาณสัก ๓ เท่า คือพวกชาวสุโขทัย นักรบ ๑ ของเขา ๔
มันมายืนอยู่อีกด้านหนึ่ง ทางด้านทิศเหนือ
ท่านเลยบอกว่า นี่..ถึงแม้มันจะมีปริมาณมาก แต่กำลังมันน้อย เราจัดการกับมันได้แล้ว
ถามว่า เรื่องอะไร ?
บอกเรื่องของเมืองไทยที่มันยุ่งๆ ไอ้ผีพวกนี้มันสร้างความระยำ มันจองล้างจองผลาญ ยุใจคนไทยที่มีอารมณ์ต่ำให้กลายเป็นคนชั่ว
ประหัตประหารเพื่อนของตัว คือชาวคนไทยด้วยกัน กอบโกยทรัพย์สินของประเทศชาติ ของบรรดาประชาชนคนไทย เอาไว้เป็นสมบัติส่วนตัวโดยเฉพาะ และมันหวังทำลายทุกอย่าง แม้แต่วงศ์ของกษัตริย์ไทยเดิม คือรัชกาลที่ ๙ นี่ท่านรับรอง นะ ว่ารัชกาลที่ ๙ หรือว่าวงศ์จักรีนะ
เป็นวงศ์ของกษัตริย์ไทยเดิมมาจากวงศ์สุโขทัย ท่านว่ายังงั้น
ถามว่า ร.๙ เคยเป็นใคร
ท่านบอกเหมือนกัน แต่ว่าไม่พูดตอนนี้
ท่านบอกว่า ร.๙ เคยเกิดในวงศ์กษัตริย์สุโขทัย ท่านว่ายังงั้น
นี่ผีพูดนะ แล้วคนพูดตามผี
ท่านบอกว่า คราวนี้จัดการได้แล้ว..
พิธีบวงสรวงสักการบูชา
หลวงพี่โอเป็นประธานจุดธูปเทียนที่โต๊บายศรี
ต่อไปนี้ จึงขอเชิญ คุณอนันต์ ผู้แต่งกาย สมมุติเป็น พระเจ้ากรุงสุโขทัย ได้เป็นตัวแทนของ พวกเราทุกคน และ หลวงพี่โอ
ผู้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จุดธูปเทียนบูชาที่โต๊ะบวงสรวง จึงขอให้ทุก ท่านพนมมือไปด้วยกัน เพื่อเป็นการย้อนรำลึกถึง เหตุการณ์ที่ผ่านมา
นับตั้งแต่สมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเคยมากับหลวงปู่ธรรมชัย
หรือจะย้อนไปในอดีตสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เป็นการสมมุติเหตุการณ์ตอนที่เอาชนะข้าศึก แล้วมาเฉลิมฉลองชัยชนะกัน ด้วยการแต่งกาย ย้อนยุค
เพื่อเป็น พิธีการตัดไม้ข่มนาม ณ โอกาสนี้ จึงขอให้ทุกท่านตั้งสัตยาธิษฐานพร้อมกันดังนี้
คุณอนันต์ และ คุณแสงเดือน แต่งกายสมมุติสมัยกรุงสุโขทัยในอดีต
เมื่อเสียงหลวงพ่อที่ดังก้องทั่วบริเวณนั้น ได้สิ้นสุดยุติลงไปแล้ว ปลุกจิตสำนึกให้พวกเราทั้งหลาย ได้ช่วยกันผนึกกำลังใจ เพื่อช่วยกันตั้งจิตอธิษฐาน
ตามที่ผู้จัดจะได้กล่าวต่อไปอีกว่า...
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาพระบารมีองค์สมเด็จพระชินสีห์ ผู้มีพระภาคเจ้า ทุกๆ พระองค์ อันมีสมเด็จองค์ปฐม ทรงเป็นประธาน
มีสมเด็จองค์ปัจจุบันเป็นที่สุด พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา อันมี หลวงปู่ปาน
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน และ หลวงปู่ธรรมชัยเป็นที่สุด
พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย เทพพรหมทุกท่าน ที่รักษาพระพุทธศาสนา ทั้งอาณาเขตนี้ และผู้รักษาทรัพยากรใต้ดิน ผู้รักษานภากาศ รักษาป่าเขา รักษามหาสมุทร
จนกระทั่งสุดพื้นปฐพี โดยมี ท่านปู่ท่านย่า และท่านแม่เป็นประธาน มีท้าว จตุโลกบาลเป็นที่สุด พระร่วงเจ้าทั้งหลายทุกๆ พระองค์ อันมี พระร่วงโรจน์ฤทธิ์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุน ผาเมือง และพ่อขุนรามคำแหง เป็นต้น ท่านแม่ย่า และดวงวิญญาณนักรบทั้งหลายเป็นที่สุด
ขอได้โปรดเสด็จมาเป็นสักขีพยาน ณ สถานที่นี้ เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง หลาย ขอได้โปรดคุ้มครองป้องกันภัย อุปสรรค อันตรายใดๆ
อย่าได้มาทำลาย การค้าการขาย อาชีพการงาน ขอให้คล่องตัว โรคภัยไข้เจ็บ อย่าได้เบียดเบียน
ต่อไปในไม่ช้า ถ้าสงครามใหญ่เกิดขึ้นในโลก ตามพุทธพยากรณ์ไว้ว่า ยักษ์ร้ายนอกพระ ศาสนา จะรบราฆ่าฟันกัน ด้วยอาวุธอันทันสมัย หากเป็นจริงตามนั้นไซร้
ขอได้โปรดอภิบาลชาวไทย ผู้อยู่ในศีลธรรมทั้งหลาย ให้พ้นจากภัยพิบัติเหล่า นั้น ครั้นจะย่างก้าวไปในสารทิศใด ขอเทพไท้เทวา แต่ละทิศ จงมีจิตคิดเมตตา
โปรดจำหมู่ข้าพเจ้าไว้
ขอทั้งศาสตราและสรรพอาวุธ ทั้งอุบัติเหตุ อาเพทภัย ทั้งคุณไสยยาพิษ ผู้คิดเป็นศัตรูหมู่พาล จงอย่าได้ทำอันตรายทั้งหมด หากมีผู้คิดคดทรยศ
ต่อชาติบ้านเมือง ต่อพระศาสนา และพระมหา กษัตริย์ โปรดกำจัดให้สิ้นไป อย่าให้ทำการณ์สิ่งใด สำเร็จ ขอจงแพ้ภัยตนเองไปในที่สุด
และขอให้พ้นจากทุพภิกขภัย คือความยากจน และภัยธรรมชาติทั้งหลาย คือฟ้าผ่า ลมแรง ไฟไหม้ น้ำท่วม และแผ่นดินไหวเป็นต้น สัพพทุกข์ สัพพโศก สัพพโรค สัพพภัย
สัพพเคราะห์ เสนียดจังไร จงพินาศหมดสิ้นไป ขอให้มีมงคลชัย
เมื่อกาลเวลามาถึงไซร้ ขอให้ราชาธิปไตย จงได้คืนกลับมา มีข้าราชสำนักที่ทรงธรรม ภายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าชาวไทย ให้ไพร่ฟ้าหน้าใส
ดังเช่นกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เพื่อให้ ไทยเป็นมหาเศรษฐี มีความอยู่ดีกินดี พืชไร่ใน นาอย่าได้เสียหาย ค้าขายให้ได้กำไรดี
อีกทั้งแร่ธาตุทองคำ และน้ำมันทั้งหลาย อันเป็นทรัพยากรของชาติ ขอจงได้ปรากฏโดยเร็ว พลัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาวไทย จนถึงยุคชาว ศรีวิไล
มีความเจริญรุ่งเรืองไปในอาณาประเทศ เพื่อจะสืบอายุพระพุทธศาสนา อันจะแผ่ไปในกาล ข้างหน้า ตามพุทธพยากรณ์ไว้ว่า หลังกึ่งพุทธกาลแล้ว
พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองอีกวาระหนึ่ง บัดนี้ใกล้จะครบ ๒๐ ปี ตามที่หลวงพ่อ บอกไว้ จะเข้ายุคอภิญญาใหญ่ หากเป็นบุญวาสนา บารมี ขอให้มีผู้ปฏิบัติได้
เพื่อช่วยกันประกาศพระศาสนา ขอให้พวกอลัชชีผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ จงแพ้ภัย ไปในที่สุด
เอเตนะสัจจะวัชเชนะ สาธุ สาธุ ด้วยอำนาจสัตยาธิษฐานนี้ ขอพระบารมีทุกพระองค์ ได้ทรงโปรดประทานพร ให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นเผ่าพงศ์ของพระองค์
ถ้าหากคงไม่เกินวิสัย ขอให้เป็นไปตามนั้น และให้สามารถปฏิบัติตนจนได้ผล ทั้งสุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ และปฏิสัมภิ ทัปปัตโต โดยฉับพลันนั้นเทอญ ฯ
ครั้นจบคำประกาศโองการและอธิษฐานต่อฟ้าดิน เพื่อเป็นสักขีพยานแล้ว จากน้ำเสียงที่รวมกันอย่างหนักแน่นและมั่นคง บ่งบอก ลักษณะถึงความเข้มแข็งแห่งจิตใจ
คงจะเป็นพลังแห่งความดี ที่จะขจัดสิ่งอัปรีย์ทั้งหลาย ให้หมดสิ้นไป เสมือนหยดน้ำเล็กๆ ที่มีความเย็นสูง เข้าไปราดรดกองไฟใหญ่ที่กำลังลุกโชนอยู่นั้น
ด้วยการขออาราธนาพระเดชพระคุณ หลวงพ่อกระทำพิธีบวงสรวงต่อไป
แล้วผู้จัดก็ได้เปิดเทปเสียงของท่าน ทุกคนพนมมือไปตามกระแสเสียง เหมือนกับท่านได้มากระทำพิธีต่อหน้าพวกเรา แล้วกล่าวนำคำนมัสการและขอขมาพระรัตนตรัย
จึงขอเล่าไว้เพียงแค่นี้ก่อน ไว้พบกันตอนหน้าจะเป็นพิธี ถวายราชสดุดีแด่พระร่วงเจ้า
สวัสดี
◄ll กลับสู่สารบัญ
((((((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))))))
◄ll กลับสู่ด้านบน
webmaster - 4/10/10 at 14:02
04.
งานพิธีฉลองชัย ณ อาณาจักรสุโขทัย
(ตอนที่ 2)
วัวเทียมเกวียนประดุจราชรถอัญเชิญเสลี่ยง "สมเด็จองค์ปฐม" นำขบวน
การจัดงานพิธีย้อนยุคเข้าสู่ อาณาจักรสุโขทัย ได้เล่าผ่านไปแล้วว่า หลังจากเดินทางมารวมกันที่ ร้านอาหารสวนน้ำค้าง แล้ว พวกเราก็จัดขบวนกองเกียรติยศ ด้วยการอัญเชิญเครื่องสักการบูชา อันมี
สมเด็จองค์ปฐม เป็นประธาน พร้อมทั้งรูปภาพหลวงพ่อและท้าวมหาราช
โดยการจัดเป็น ๓ ขบวน คือ ขบวนไพร่ฟ้าหน้าใส ขบวนพระ และ ขบวนหลวง
มีการแต่งตัวย้อนยุคสมัยสุโขทัยโบราณ เช่น ชุดพื้นบ้าน ชุดพื้นเมือง และชุดชาววัง เป็นต้น
เป็นผลที่สมมุติเหตุการณ์ทำพิธีฉลองชัย เพื่อเป็นการตัดไม้ข่มนาม พร้อมทั้งทำพิธีรับ พระเคราะห์เสวยอายุทั้ง ๑๐๘ ไปด้วย
สำหรับพิธีกรรมในครั้งนี้ ก็เหมือนกับที่เคยกระทำมาแล้ว ณ อาณาจักรสุวรรณภูมิ อาณาเชียงแสน อาณาจักรหริภุญชัย
นับตั้งแต่ ต้นปี ๒๕๔๐ คือก่อนที่เศรษฐกิจของประเทศ ไทย จะเป็น ต้มยำกุ้ง ในตอนกลางปี
ทำเอาคนไทยทั้งประเทศต้องนอนสะดุ้งไปตามๆ กัน
พวกเราในนาม คณะศิษย์หลวงพ่อ พระราชพรหมยาน จึงร่วมเดินทางไปกราบ ไหว้บูชาบรรพบุรุษ ตามสถานที่ที่ครูบาอาจารย์
ท่านไปเคยทำพิธีเรื่องของประเทศมาแล้ว
ทั้งนี้ จึงมีการแต่งกายพร้อมไปด้วย เครื่องประดับ เช่น แก้วแหวนเงินทองต่างๆ เป็นการข่มความยากจนที่จะพึงมี ด้วยการทำ ตนเป็นมหาเศรษฐี
เพื่อเป็นเคล็ดพิธีกรรมตาม ความเชื่อว่า แต่งได้มากเท่าไหร่ ต่อไปบ้านเมือง จะรุ่งเรืองเจริญก้าวหน้า คนไทยจะร่ำรวยด้วย เพชรนิลจินดามหาศาล
แต่จะเป็นผลจริงหรือไม่ อยู่ที่วิจารณญาณของท่านทั้งหลาย อย่าถือว่าเป็นเรื่องงมงาย เพราะสมัย สมเด็จพระนเรศวร
ก่อนจะออกรบ พระองค์ทรงนำไม้มาฟันให้ขาด ถือเป็นเคล็ด พิธีการตัดไม้ข่มนาม มาแล้วเช่นกัน ส่วนการแต่งกายนั้น
เรามิได้ทำด้วย การตีตนเสมอท่าน แต่ทำด้วยความเคารพเทิดทูน เป็นการให้เกียรติต่อบรรพบุรุษชาวไทยทั้งหลาย การจัดขบวนแห่ก็มิได้เดินเพื่ออวด
แต่ทำเพื่อบูชาสักการะให้สมพระเกียรติคุณ
พระภิกษุสามเณรและญาติโยมทั้งหลายกำลังรอตั้งขบวนแถว
ฉะนั้น การเดินตั้งแต่ร้านอาหารไปถึง เมืองเก่า ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ ขบวนของพวกเรายาวเหยียดไปตามท้องถนน ต้องปิดทางสัญจรชั่วคราว
เสียงปี่เสียงกลอง ยาวบรรเลงนำขบวนไปอย่างสนั่นหวั่นไหว
เสียงไชโย..โห่ร้อง..ดังกึกก้องไปตามถนน ผสมกับเสียงเกวียนทั้ง ๔ เล่ม ที่เดิน นำขบวน ตามด้วยขบวนพระสงฆ์เหลืองอร่าม
ตัดกับขบวนชุดสีสันอันตระการตาของชายหญิงโดยมี ธงชาติ ธงธรรมจักร ธงจักรี ธง ภ.ป.ร. ผ้าตุง และธงช่อช้าง หลายหลากสี
พัดโบก ปลิวไสวอยู่ทั้งสองข้างขบวน มองเห็นยาวเหยียด เป็นทิวแถวไกลสุดสายตา
เมื่อขบวนเดินเข้ามาถึง วัดมหาธาตุ แล้ว พวกเราก็มานั่งรวมกันในพระวิหารหลวง
ซึ่งบัดนี้เหลือแต่เสาเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้น ส่วน หลังคาหายไปหมดแล้ว และคนที่เหลือก็นั่ง กระจายไปทั่วบริเวณนั้น
ครั้นเล่าประวัติความเป็นมาแต่หนหลังแล้ว จึงได้ขออาราธนาบารมีพระเดชพระคุณทำพิธีบวงสรวงต่อไป โดยจัดตั้งโต๊ะบายศรี
ไว้ตรงที่หลวงพ่อเคยมากระทำพิธี เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙
ซึ่งผู้จัดได้เคยเดินทางไปร่วมพิธีในครั้งนั้นด้วย
ความจริงตั้งใจจะจัดให้ตรงกับวันที่ ๖ เพื่อเป็นที่ระลึกในการครบรอบ ๒๒ ปีพอดี แต่บังเอิญเป็นช่วงที่จะต้องเข้าบ้านสายลม จำต้องเลื่อนมาจัดในวันที่ ๑๔
ก.พ. ๒๕๔๑ ซึ่งตรงกับวันวาเลนไทน์พอดี
การไปทำพิธีในวันนั้น มีญาติโยมหลาย ท่านที่เคยเดินทางไปกับหลวงพ่อ บางคนก็เคยไปรำถวายมาแล้ว ส่วนพิธีกรรมครั้งนี้ จึงมี คณะศิษย์รุ่นหลังรำถวายบ้าง
จาก คณะรวมใจภักดิ์ อันมี อ.วิชชุ เป็นหัวหน้า ซึ่งก่อนวันงานก็ได้เดินทางมาซ้อมกันไว้บ้างแล้ว
ฉะนั้น หลังจากหลวงพ่อทำพิธีบวงสรวงแล้ว จึงได้กล่าวคำนมัสการและขอขมากรรมต่อพระรัตนตรัย ต่อจากนั้น จึงเป็นการ รำบวงสรวง
ชุดดาวดึงส์ เสียงบรรเลงเสียง ร้องท่วงท่าทำนองก็อ่อนช้อยงดงาม เป็นการ รำถวายต่อเทพเจ้าทั้งหลายนั่นเอง
เมื่อเสียงเพลงใกล้จะจบ ได้มีเสียงพลุ ดังขึ้น ๒๑ นัด แล้วก็มีเสียงปรบมือเป็นการ ให้กำลังใจ เพราะเป็นงานแรกของผู้รำถวาย ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกซ้อมกันนาน
ด้วยการฝึกสอน เริ่มแรกจาก ป้อม, ปุ้ม ลูกสาวของ คุณวัลภา
ที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนพระสุธรรมยานฯ
เป็นอันว่า พิธีบวงสรวงสักการบูชา ก็ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว พิธีการบำเพ็ญกุศล
เพื่อ อุทิศผลให้แก่บรรพชนทั้งหลาย ณ ที่นี้ จึง ได้เริ่มเป็นลำดับต่อไป
ในขณะที่เจ้าหน้าที่จัดแถว เพื่อให้ญาติโยมได้เข้ามาทำบุญกับพระภิกษุทั้งหลาย พร้อม ทั้งมอบวัตถุมงคล คือ พระผงคล้ายสมเด็จนางพญา โดย พระวันชัย เป็นผู้จัดทำเป็น ที่ระลึกแด่หลวงพ่อ สมัยที่ท่านเคยบวชอยู่ ณ วัดต้นจันทน์
และเป็นผู้ทำพระรุ่นนั้นด้วย
ตอนนี้ คณะถาวร ได้ช่วยกันนับเงิน แต่ยังไม่ได้ถวายเพราะเวลาไม่พอ จึงนิมนต์ให้ สงฆ์เจริญพระปริตร
ตามบทที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อ เคยทำพิธีรับพระเคราะห์เสวยอายุทั้ง๑๐๘ และเพื่อเป็นศิริมงคลแก่พวกเราทุกคน จึงให้นำกระทงนั้นไปลอยไว้ที่สระแห่งนี้
เมื่อถวายเครื่องไทยทาน และกล่าวอนุโมทนาแด่ผู้ร่วมงานทุกท่านแล้ว จึงได้อุทิศส่วนกุศลผลบุญนั้น ให้แก่นักรบผู้วายชนม์ทั้งหลาย ณ สถานที่นี้
ที่ได้เคยทำศึกสงคราม จากพวกขอม และเป็นการอโหสิกรรมต่อเจ้า กรรมนายเวรทั้งหลายด้วย
ครั้นพระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ จนครบถ้วนพิธีกรรมแล้ว จึงได้แยกย้ายกันไปทานอาหารกลางวัน ส่วนพระภิกษุสามเณรทั้งหลาย
ได้ฉันภัตตาหารเพลภายในเต้นท์ ข้างลานพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหง
หลังจากญาติโยมทานอาหารเสร็จแล้ว จึงได้นำเงินที่รวบรวมไว้ทั้งหมด เป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท (รวมเงินบูชาพระเคราะห์ ๘๐,๐๐๐ บาท ด้วย)
แบ่งถวายแก่พระภิกษุสามเณรทุกรูป เพื่อเป็นการส่วนองค์ และนำไปปฏิสังขรณ์วัด รวม ๙ วัด แล้วจึงรับพรจากพระสงฆ์
◄ll กลับสู่สารบัญ
05.
พิธีถวายราชสดุดีแด่พระร่วงเจ้า
พระราชานุสาวรีย์ "พ่อขุนรามคำแหง" ภายในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
สำหรับพิธีต่อไปนี้ จะเป็นพิธีถวายราชสดุดีเทิดพระเกียรติคุณแด่พระร่วงเจ้า อันเป็น พิธีสุดท้ายของสถานที่นี้ ที่พวกเราจะต้องช่วย
กันย้ายเครื่องสักการบูชาต่างๆ มาจากวัดมหาธาตุ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันในบริเวณนั้น
เมื่อจัดสถานที่เรียบร้อยแล้ว โดยพระสงฆ์และญาติโยมส่วนใหญ่ก็ยังนั่งอยู่ในเต้นท์ เพราะเป็นเวลาเที่ยงพอดี แสงแดดกำลังร้อน แต่บางคนก็ออกมายืนข้างๆ
ลานพระรูป อาศัย อยู่ใต้ร่มไม้ในบริเวณนั้น
ผู้จัดจึงได้เชิญ คุณอนันต์ และ คุณแสงเดือน ออกมาจุดธูปเทียนที่โต๊ะบายศรี ที่
อยู่ด้านหน้าของพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหง เพื่อเป็นการกราบไหว้บูชาต่อ พระร่วงเจ้า ทุก พระองค์
ที่ครองกรุงสุโขทัยในอดีต
ทุกท่านที่อยู่รอบบริเวณนั้น ต่างก็พนมมือตั้งจิตอธิษฐานไปด้วย พร้อมทั้งเครื่องราชสักการะที่ถืออยู่ในมือ บางคนก็ได้นำไปวาง
ไว้บนโต๊ะที่จัดเตรียมไว้ให้แล้ว ซึ่งอยู่ข้างโต๊ะ บายศรี ( คุณหมู, พงษ์, ทิพย์ เป็นผู้ทำบายศรี)
ในขณะที่ลมโชยมาเบาๆ ท่ามกลาง แสงแดดที่เจิดจ้า แต่พวกเราก็มีความสุขใจ เพราะร่างกายมีพลังจากอาหาร ซึ่งมี
อ.สันต์ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้เป็นผู้บอกบุญกับชาวคณะ พิษณุโลกจัดเลี้ยงอาหาร พร้อมทั้งให้ตัวแทน อีก ๕ คน อันมี
อ.วิบูลย์ มีชู เป็นต้น ได้ออกมากล่าวคำ ถวายราชสดุดีแด่พระร่วงเจ้าตามบทกลอนดังต่อไปนี้
บทกลอนถวายราชสดุดี
........ยอกรอัญชลีนี้เหนือเกล้า สดุดีพระร่วงเจ้าพรหมวงศา ครองแผ่นดินโดยธรรมราชาณ เมืองศรีสัชนามาช้านาน นาม
พระร่วงโรจนฤทธิ์บพิธราช คราใดชาติต้องการงานต่อต้าน ด้วยเดือดร้อนจากศัตรูผู้รุกราน ละพิมานแดน พรหมอุดมพลัน
จุติพร้อมลูกหลานและว่านเครือหน่อเนื้อบรมวงศ์จงรักมั่น
ชาติต่อมาฉายา ศรีเมืองมาน ร่วมประสานเจ้าเมืองเรืองสูงส่ง พ่อขุนนาวนำถม คมสมพงศ์ ช่วยกันดำรงไว้ให้เนานาน
ถึงเหน็ดเหนื่อยเพียงใดไม่ย่อท้อ พ่อก่อกู้ชูไทยใจห้าว หาญ ได้เวลาบรรพชาสาธุการ พ่อเมืองมาน สงบจิตสนิทธรรม ราชการงานเมืองเป็นเรื่อง ยาก
ถ้าแม้นหากข้องขัดจัดแย่ย่ำ นมัสการปรึกษาคำแนะนำ พระก็ค้ำจุนราษฎร์ชาติดังเดิม
ยุคต่อมา ขุนผาเมืองเปลื้องทุกข์หนักร่วมเพื่อนรัก บางกลางท่าว ท้าวส่งเสริม เผด็จศึกศัตรูร้ายพ่ายเหิมเกริม ไทยจึงเริ่มรับอรุณ
อบอุ่นใจ มเหสีเทวีนี้เผ่าขอม ขุนผาเมืองยอม พลาดทายาทใหญ่ แต่งตั้งให้ ขุนศรี นั่งเวียงชัย ทรงแยกไปเมืองใหม่ครองบางยาง
สุโขทัยเรืองรุ่งผดุงศานต์ อาณาจักร ตระการชาญทุกอย่าง ศิลปวัฒนธรรมนำศูนย์กลาง ทั้งเสริมสร้างอารามงามวิไล เสียงสังคีต ดีดสีและตีเป่า
เพลงพิณเร้าเคล้าสนุกสุขเกินไข พนมเทียนพนมหมากหลากทั่วไป งานเผาเทียน เล่นไฟในคงคา เดือนสิบสองน้ำนองท้องตลิ่ง แขไขชิงดวงเด่นเพ็ญเวหา นพมาศ
ประดิษฐ์กระทงปทุมมา ยังคงค่านำสมัยในปัจจุบัน
สมัย พ่อขุนราม อร่ามสุดเปรียบประดุจเมืองแมนแดนสวรรค์ ข้าวในนาปลาในน้ำ ล้นหลามครัน สุโขทัยนั้นโด่งดังคลังวิทยา ใฝ่ สันติรักสงบคบสันโดษ
เอื้อประโยชน์ประชาธิปไตยให้ถ้วนหน้า ใครใคร่ค้าช้างค้าค้าม้าค้าเดือดร้อนมาสั่นกระดิ่งปากประตู
คราแปดค่ำสิบห้าค่ำนำถือศีล ทั่วทุก ถิ่นอวยทานชาวบ้านรู้ ศิลาอาสน์แดนดงตาล ลานเชิดชู พอพระครูเทศน์จบพบพ่อแทน ทำนุศาสนาค้ำบำรุงวัด
สร้างพระอัฏฐารสประณต แหน พระอัจนะวัดเชิงชุมลุ่มลึกแปลน ช่างสุด แสนอัศจรรย์ลั่นวาจา
เจดีย์สูงเสียดฟ้าโอ่อ่านัก ศิลปอนุรักษ์ประจักษ์ค่า ทรงข้าวบิณฑ์ศรีวิชัยและลังกา หีนยานนำเข้ามาลัทธิธรรม หลักศิลาจารึกบันทึก ไว้
อักษรไทยประดิษฐ์ให้ได้เรียนร่ำ ปัญญา ชนต้นตระกูลเทิดทูนจำ มรดกโลกดื่มด่ำล้ำค่า นาน สังคโลกสรีดภงส์คลองส่งน้ำ ยลตระพัง ยามค่ำระฆังขาน
สะท้อนโคมโลมแสงจันทร์พลัน ละลาน เสนาะศัพท์เสียงประสานกังวาลพา
อยุธยาราชาไตรโลกนาถ สุโขทัยเสื่อม อำนาจวาสนา ต้องอ่อนน้อมยอมกรุงศรีอยุธยา ไทยถ้วนหน้ารวมพงศ์เผ่าเข้าด้วยกัน ย้อนอดีต ตามรอยละห้อยหวน
สะท้อนทวนความหลังยัง แม่นมั่น กตัญญูรู้บุญคุณราชันย์ จึงบุกบั่น สรรเสริญเชิญบูชา กราบขมาพระวิญญา ณ ที่นี้ แทบธุลีบรรพชนต้นวงศ์กล้า จะภักดีชาติ
ศาสน์กษัตรา จะรักษาพสุธาชีวาวาย ฯ
บทกลอนนี้มีให้แจกแก่ทุกคน พวก เราจึงได้กล่าวพร้อมกันด้วยเสียงอันดัง เป็น เพราะพลังแห่งความสามัคคี การพรรณนา คุณความดีก็จบลง แล้วทุกคนก็ถวายบังคม
ต่ออดีต พ่อขุนไทย ทั้งหลายแต่ปางก่อน เป็นการสะท้อนแห่งความกตัญญูของพวกเรา ที่ได้มาเป็นตัวแทนของคนไทยทุกคน
ท่ามกลางความเงียบสงัดอยู่สักครู่หนึ่ง ผู้จัดก็ได้ประกาศให้ชุดระบำ สุโขทัย ออกมารำถวาย
เมื่อเสียงเพลงดังขึ้นทั่วลานพ่อขุน คุณปรีชา พึ่งแสง บอกว่าได้ยินแล้วทนไม่ได้
เพราะสมัยที่มากับหลวงพ่อ ต้องออกไปร่ายรำ กับเขาบ้าง ทั้งๆ ที่รำไม่เป็นแต่ก็ยังสามารถรำได้ แต่คราวนี้ไม่เห็นออกไปรำ เหลียวไปดูคุณปรีชา
ไม่รู้หายไปไหนเสียแล้ว สงสัยจะอายคนรุ่นหลัง กระมัง จึงได้หลบไปเช็ดน้ำตาแห่งความหลังอีก
ณ ลานพ่อขุนนั้น ถึงแม้อากาศจะร้อน แต่ก็หาทำให้สาวน้อยทั้งหลาย ที่อยู่ในชุดฟ้อนรำ สุโขทัย ท้อแท้ใจไม่
ทุกคนร่ายรำไปตามทำนอง เสียงเพลงได้บรรเลงอย่างไพเราะ จนกระทั่งจบลง ไป ก็ได้รับเสียงปรบมือเป็นกำลังใจ ผู้จัดได้ถามภายหลังว่า
ขณะที่รำอยู่นั้นพื้นร้อนมากไหม เธอตอบว่าไม่รู้สึกร้อนเลย แต่ก่อนที่จะรำพื้นร้อนมาก ส่วนคนที่ไม่ได้รำออกไปถ่ายรูปก็บอกร้อนเหมือนกัน
มิน่าเล่า..สมัยพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ท่านมาทำพิธีหลังจากบวงสรวง ณ วัดมหาธาตุ และฟ้อนรำชุด
ดาวดึงส์ สุโขทัย และ รำดาบ แล้ว ท่านก็ได้ฉันภัตตาหารเพลที่บนพระวิหารหลวง พร้อมกับ หลวงปู่ธรรมชัย และพระสงฆ์ทั้งหลาย
ต่อจากนั้นท่านก็ได้มาทำพิธีสักการะที่พระบรมรูปพ่อขุนราม โดย ท่านหญิงวิภาวดี รังสิต
เป็นผู้แทนนำพวงมาลาขึ้นถวาย แล้วจึงได้รำถวาย ชุด สุโขทัย อีกครั้งหนึ่ง การฟ้อนรำแต่ละชุดนั้น
หลวงพ่อท่านมีบัญชาให้คณะศิษย์เป็นผู้ฟ้อนรำกันเอง โดยมิได้นำผู้อื่นมาแต่ประการใด
ครั้นมาถึงสมัยนี้ ผู้จัดก็ได้ทบทวนข้อมูล จากผู้ที่เคยไปรำสมัยหลวงพ่อ แล้วได้มีโอกาส เดินทางร่วมไปในครั้งนี้อีกหลายคน เช่น
คุณแสงเดือน คุณวันเพ็ญ (แต๋ง) คุณสุมิตร (เล็ก) คุณวันเพ็ญ และ คุณแป้น (สองคนนี้เคยรำดาบคู่กัน)
นอกจากนั้นก็มีผู้อาวุโสอีกบ้าง คือ พลตรีศรีพันธุ์ (พี่แดง) คุณประดับวงศ์
คุณยุพดี (แอ๊ะ) คุณปราโมทย์ คุณเพ็ญศรี (แดง) อ.ลักขณา แล้ว
ก็มีอีกหลายท่านจำไม่ได้เสียแล้ว ต้องขออภัยด้วยที่เคยไปกับหลวงพ่อ แล้วไปร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย
การฟ้อนรำบนลานพระรูปในเวลาเที่ยงนั้น ถ้าไม่จัดพิธีตามที่หลวงพ่อทำไว้ คงจะมีปัญหาแน่ เพราะถ้าเป็นคนอื่นเขาคงจะไม่ออกไปรำ แต่นี่ เอาคนของพวกเราเอง
จึงทำให้พิธีกรรมดำเนินได้ จนสำเร็จ ซึ่งพวกเราทุกคนต้องขออนุโมทนาต่อ เด็กๆ รุ่นหลัง คือ คณะรวมใจภักดิ์
ที่ต้องฝึกซ้อม รำกันทั้ง ๓ ชุด คือ ชุดดาวดึงส์ และ ชุดสุโขทัย
ส่วนชุดต่อไปนี้ อันเป็นชุดสุดท้าย ก็จะเป็น ผู้ชายกันบ้าง ซึ่งมาในมาดของ ชุดนักรบแต่กว่า จะออกมาได้นั้น
ต้องรอผู้จัดกล่าวถวายราชสดุดี ก่อน โดยมี เพลงไทยเดิม คลอตามไปด้วย...
คำบรรยายถวายราชสดุดี
...การตั้งสุโขทัยเป็นราชธานีนี้ ปรากฏว่า ท่านผู้ตั้งริเริ่มกันมานาน เพราะเราตกอยู่ภายใต้ อำนาจขอมเสียนานปี การจะกอบกู้อิสรภาพขึ้น
มานี้เป็นของยาก แล้วไอ้เจ้าขอมนี้ก็มีสันดานหยาบ มันกดขี่ทุกอย่าง เพียงแต่จะกินน้ำ มันอยู่ที่ลพบุรี น้ำก็มีมากกว่าสุโขทัย แต่มันก็เกณฑ์เราเข็นไปให้
มันกิน มันถือว่าเราเป็นทาสมัน ถือว่าเป็นนายของเรา
มันข่มเหงกดขี่เราทุกอย่าง บังคับให้พระร่วงเจ้า เอาน้ำมาส่งมันที่ ลพบุรี ทรัพย์สินอะไรที่เรามี มันอยากจะได้ ก็ต้องให้มัน ลูกสาว หลานสาว ลูกใคร
เมียใคร สวยๆ ขอมอยากได้ บอกว่าเอามาให้ฉัน ก็ต้อง แบกเอาไปให้มัน นี่..ความเจ็บช้ำน้ำใจของคน ไทยที่ตกอยู่ใต้ผู้อื่น คนสุโขทัยสมัยนั้น จึงไม่ค่อย
สุขโขนัก เพราะว่าอยู่ในสภาพทุกข์ยากลำบากกัน
ในเวลานั้นเรามีคนไทยประมาณแสนเศษๆ แล้วก็อยู่กระจัดกระจายกันออกไป แต่ที่ทรงความเป็นไทยอยู่ได้ เพราะว่ามีคุณธรรมตามที่พระ พุทธเจ้าทรงสั่งสอน คือ
สังคหวัตถุ กับการมั่งคั่ง ของตระกูล
เราจะเห็นว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กับ พ่อขุนผาเมือง เวลานั้นขอมตั้งให้เป็นพ่อเมือง ควบคุมคนไทย
แต่ท่านก็ไม่ได้เมาอำนาจที่ขอม มอบให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อขุนผาเมือง ขอม ยกลูกสาวให้ สถาปนาท่านเป็นลูกเขย หวังจะได้
กำลังปัญญาความสามารถของท่านไว้ปราบคนไทย
แต่ท่านทั้งสองก็คิดกันอยู่เสมอว่า ถ้าเรา จะเป็นเจ้าเป็นนายควบคุมคนไทย ก็คือเป็นหัว หน้าทาสรับใช้ของขอมนั่นเอง มันไม่มีความสุข
พี่น้องชาวไทยทั้งหมดจะมีแต่ความทุกข์ ต้องกิน น้ำตาต่างข้าว หวานอมขมกลืนกันตลอดเวลา...
ในขณะที่บรรยายถึงความรันทดของคน ไทยที่ตกเป็นทาสขอมนั้น คลอเคล้ากับเสียงเพลง ธรณีกันแสง
ที่บรรเลงอย่างแผ่วเบาแต่แสนเศร้าสะท้อนให้คนไทยสมัยนี้ได้จดจำไว้ พอถึงตอนนี้ ได้มี ชุดนักรบ ได้เริ่มออกมาข้างหน้า
ต่างพากัน ถวายบังคมก่อนแล้วจึงร่ายรำเพลงดาบคู่ เพื่อให้ ดูสมกับเรื่องราวที่ผู้จัดจะได้บรรยายต่อไปอีกว่า
...ท่านจึงได้คิดรวบรวมกำลังคนไทย ทั้งหมด สอนให้รู้จักความสามัคคี สอนให้รู้จัก แบ่งปันซึ่งกันและกัน ไม่เอาคนเลวๆ เข้ามาบริหาร ประเทศ
ไม่เอามาเป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่เอาคนเลวๆ เข้ามาเป็นพ่อบ้านอบรมให้ทุกคนอยู่ในศีลธรรม และเคารพ ระเบียบประเพณีและกฎหมาย
คนไทยในสมัยนั้น อาศัยพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ร่วมกันแนะนำสั่งสอนคนไทยให้อยู่ในกฎตาม ที่กล่าวมาแล้ว และได้มีความสามัคคี มีความ
พร้อมเพรียงซึ่งกันและกัน ร่วมกันสร้างความดี
เวลาขอมมาก็พูดจาดีมีความอ่อนน้อมไม่ ให้เขาสะดุดใจ แต่เบื้องหลังนั้นไซร้ เต็มไปด้วย ความเข้มแข็ง เต็มไปด้วยความเด็ดเดี่ยว เมื่อขอม
เผลอก็ฝึกอาวุธ และสะสมอาวุธกันในป่า สั่งสอน วิชาการ ทั้งการปกครอง การเกษตร สาธารณสุข การคลัง สั่งสอนกันหมดทุกอย่าง สอนให้รู้จัก
วิธีการยังชีพตนเองในป่าทึบ เมื่อเวลาที่รบกับข้าศึก ถ้าบังเอิญเพลี่ยงพล้ำต้องหลบเข้าป่า จะเลี้ยงตัว กันได้ยังไง
ฉะนั้น คนไทยจึงพากเพียรฝึกฝนการรบหวังจะสยบขอมให้จงได้ จึงมีความชำนาญยุทธวิธีในการรบ ทั้งบนหลังม้า บนหลังช้าง ตั้งเป็นหมวด เป็นหมู่กันไว้...
ตามภาพจะเห็น คณะรวมใจภักดิ์ กำลังร่ายรำดาบ เพื่อสมมุติเหตุการณ์ในตอนที่ฝึกซ้อม เพลงอาวุธไว้ต่อสู้กับขอม
(ส่วนการซ้อมรำในงาน นี้ ก็ได้เริ่มต้นจาก เอ้ มาช่วยฝึกสอนให้) เป็น
การสร้างภาพพจน์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้รับชมทั้งหลาย
ขณะนั้น จะได้ยินเสียงดาบกระทบกัน เสียงเท้ากระทบพื้น ไปตามจังหวะของเพลงปี่มวย ที่ดังก้องอย่างเร้าใจ
ท่าทางที่ร่ายรำก็ทะมัดทะแมงหันซ้ายหันขวาไปมาอย่างพร้อมเพรียงกัน จนได้ รับเสียงปรบมืออย่างท่วมท้น เมื่อเพลงดาบได้ ยุติลง
ผู้จัดจึงบรรยายขยายความต่อไปอีกว่า
สำหรับพระก็มี พ่อขุนศรีเมืองมาน ที่ได้ บวชเมื่อแก่ ซึ่งเป็นอาของพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมมือ กับ พ่อขุนนาวนำถม สองท่านนี้เป็นเพื่อนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อขุนศรีเมืองมาน
อายุอ่อนกว่า จึงได้เรียกพ่อขุนนาวนำถมว่า พี่แดง เรียกติด ปากมาตั้งแต่เด็ก..รักใคร่กันมาก
หลวงพ่อได้เล่าว่า ทั้งสองผู้เฒ่านี้เป็นคน วางแผนการณ์ ก่อนที่จะกู้ชาติไทยให้พ้นจากการ เป็นทาสของขอม จนกระทั่งอบรมสั่งสอนพ่อขุน
ผาเมืองและพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พร้อมไปด้วย คณะ ให้ทุกคนเป็นคนมีจริยาเรียบร้อย มีระเบียบ วินัย
เมื่อทั้งสองท่านนี้ใหญ่โตขึ้นมาแล้วก็เจริญรอยตาม ตั้งคนไทยเป็นปึกแผ่น มีความสามัคคี เหนียวแน่น มีความสามารถในการที่จะปกครอง ตนเอง
แล้วมีกำลังรบแกร่งกล้าพอ ฉะนั้น สองพ่อขุนจึงได้ตั้งตนเป็นอิสรภาพปราบปรามขอม ไม่ยอมขึ้นด้วย
ขอมยกทัพขึ้นมา จะมีกำลังมากเท่าใดก็ดี เพราะอาศัยความสามัคคีประกอบไปด้วยปัญญาดี มีความฉลาดของคนไทยสมัยนั้น ซึ่งมีพ่อขุนทั้งสองเป็นหัวหน้า
ขับไล่เข่นฆ่าบรรดาขอมให้พินาศ แตกพ่ายหนีไป...
ครั้นเสียงบรรยายได้สิ้นสุดลง พลันก็มี เสียงเพลงปลุกใจดังกระหึ่มขึ้น นั่นก็คือเพลง ทหารพระนเรศวร
แต่วันนั้นได้พิมพ์เนื้อร้องแจกไปว่า ทหารพระร่วงเจ้า เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย
หวังว่าผู้อ่านคงจะจำเนื้อร้องได้ จะมีคำว่า...
เปรี้ยง ๆ ดังเสียงฟ้าฟาด โครม ๆ พินาศ พังสลอน เปรี้ยง ๆ ลูกปืนเด็นกระดอน โครม ๆ ดัสกรกระเด็นไกล...
พวกเราจึงเปล่งเสียงร้องตามไปด้วยความคึกคะนอง เหมือนกับได้ออกสงครามในครั้งนั้นด้วย สภาพเหตุการณ์ตอนนั้นจึงถูกสร้างขึ้นทันที จากเหล่า นักรบ ชุดเดิม ที่ได้ออกมาแสดงบทบาท ด้วยการถืออาวุธเข้าฟาดฟันกันจริงจัง ต่างผลัดกัน รุกผลัดกันรับ
มีแต่เสียงดาบกระทบกัน ผู้ชมบาง คนเห็นแล้วก็หัวเราะ เพราะอาจจะมีท่าล้มลงไปให้ ดูบ้าง
แต่คงจะเป็นท่าที่ไม่ได้ซ้อมไว้ก็ได้นะในระหว่างที่ผู้แสดงต่อสู้กัน ผู้ชนะคง จะเป็นคนไทย ส่วนคนที่ล้มลงไปนอนได้แก่พวก ขอม
เป็นการสมมุติเรื่องราวให้สมจริงสมจัง เพื่อให้เข้ากับเหตุการณ์ที่กำลังพรรณนาอีกว่า
ตามศิลาจารึกได้เล่าถึงการทำศึกสงคราม ในครั้งนั้นว่า กองทัพทั้งสองได้แยกกัน โดยพ่อ ขุนศรีอินทราทิตย์ยกพลเข้าตีขอม ได้เมืองศรีสัชนาลัยกลับคืนมา
ฝ่ายพ่อขุนผาเมืองได้เมือง บางขลง คือพิษณุโลก แล้วมารวมกำลังกันก่อน จะเข้าโจมตีเมืองสุโขทัย
พ่อขุนทั้งสองได้ทรงปรึกษาบนคอช้างตัว เดียวกัน ชื่อ พญาคชหัตถี แล้วแยกเข้าตีคนละ ด้าน
ได้กระทำยุทธหัตถีกับ ขุนขอมสมาดโขลญลำพง จนได้รับชัยชนะในที่สุด...
แด่..ทหารหาญในสมรภูมิ
ในสมรภูมิใดก็ตาม เมื่อเหล่าทหารหาญ ออกทำศึกสงคราม ต่างก็มีจิตใจฮึกเหิมคึกคะนอง ไม่หวั่นไหวต่อมรณภัย หวังที่จะรักษาชาติอธิปไตย ไว้ตลอดไป
จำจะต้องย่ำยีต่ออริราชศัตรูผู้รุกราน แต่การทำสงครามในครั้งนั้น หรือแต่ละครั้ง ย่อม เกิดการสูญเสียขึ้น
ถึงแม้จะไม่มีความโกรธแค้นในเรื่องส่วนตัวก็ตาม แต่ด้วยความรักและหวงแหนผืนแผ่นดิน อันเสมือนเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน จำต้อง เอาชีวิตเข้าแลก
เพื่อปลดปล่อยความเป็นทาสจาก ขอม จนคนไทยได้รับอิสรภาพในที่สุด
ในวโรกาสนี้ ขอให้ทุกท่านยืนไว้อาลัยแด่ บรรพชนทั้งหลาย เพื่อน้อมจิตรำลึกถึงความกล้า หาญ และความเสียสละอย่างใหญ่หลวง ที่ได้ยอม
พลีชีวิตเพื่อผืนแผ่นดินไทย หวังลูกหลานไทยให้ เป็นสุข จึงขออุทิศเพลงนี้ เพื่อเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ ศรี เพื่อเป็นการสดุดีวีรกรรมอันกล้าหาญ ในการ
กู้ชาติอธิปไตยให้คืนกลับมาอีกครั้ง
ด้วยการอุทิศชีวิตและเลือดเนื้อของท่าน จนชาวไทยได้เป็นเอกราชตราบเท่าทุกวันนี้ แม้ร่างกายจะตายทับถมพื้นปฐพี ก็ไม่ยอมให้ใครมา รุกราน
สู้อุตส่าห์หวงแหนไว้ให้ลูกหลาน จึงขอให้ พ่อแม่ทุกท่านจงนอนเป็นสุขๆ เถิด ต่อไปนี้ลูกหลาน ไทยจะไม่ยอมเสียแผ่นดินให้ใครเป็นอันขาด..!
และแล้วเสียงเพลง... แด่ทหารหาญใน สมรภูมิ ก็ดังขึ้น ท่ามกลางความเศร้าสลด ที่พวก เราอดที่จะระลึกถึงมิได้
ทุกคนจึงลุกขึ้นยืน แล้ว ได้ร้องเพลงและร้องไห้ตามกันไป คือมือหนึ่ง ถือกระดาษเนื้อร้อง อีกมือหนึ่งต้องคอยซับน้ำตา ไปด้วย
จากเนื้อร้องที่กระตุ้นใจไว้ว่า...
..ดวงดาวสกาวหม่น อัสสุชลลิหลั่งไหลอาบร่างนักรบไทย ในพนาแสนอาดูร เจ็บช้ำระกำ จิต มิเคยคิดจะสิ้นสูญ
ประวัติศาสตร์จะเพิ่มพูน วีรกรรมอันอำไพ
เพื่อนแก้วผู้แกล้วกล้า ทอดกายา ณ แดน ไกล ต้องเหน็บหนาวร้าวฤทัย อย่างโดดเดี่ยว และเดียวดาย รอบข้างมีร่างเพื่อน
นอนกล่นเกลื่อน ชีวาวาย กอดปืนไว้แนบกาย ที่สาหัสด้วยดัสกร เพื่อนถูกบุกกระหน่ำ อริล่ำทั่วสิงขร เพราะหวงแหน แดนมารดร จึงมอบชีพเป็นชาติพลี
เพื่อนสู้ด้วยมือเปล่า จู่โจมเข้ารุกราวี กระสุนหมดแต่ยังมี สติมั่นในดวงมาน มิยอมให้ธง ชาติใด ปลิวไสวบนทัพฐาน
แม้ร่างจะแหลกลาน แต่ไตรรงค์คงยั่งยืน ขอเทิดเพื่อนร่วมตาย ด้วย อาลัยสุดจักฝืน หากจำต้องกล้ำกลืน เพื่อหน้าที่ อันจีรัง
จำไว้..ผู้รุกราน จะต่อต้านสุดกำลัง ถ้า ชีพเราคงยัง ขอแลกชีพกับไพรี หยาดเลือดทุก หยาดหยด ที่หลั่งรดปฐพี จะชดใช้ในครานี้
จน ต้องปลาตและพินาศไป จะหาญสู้กับทรชน ผู้คิด ปล้นอธิปไตย ไล่ออกนอกแดนไทย เพื่อวิญญาณ ทหารเรา ขอเชิญทหารกล้า จงนิทรายังที่เนา หลับ เถิดอย่าหมองเศร้า
จะปกป้องผองไผท...
◄ll กลับสู่สารบัญ
06.
พ่อขุนผาเมืองผู้เสียสละ
หลังจากสูญเสียต่อผู้เป็นที่รัก คือเหล่า ทหารกล้าทั้งหลาย ที่จะต้องพลัดพรากจากลูก จากเมียอัน เป็นที่รัก จากพ่อจากแม่อันเป็นที่เคารพ
ย่อมนำความเศร้าโศกเสียใจให้แก่ผู้อยู่เบื้องหลัง
แต่เหตุการณ์ในครั้งนั้น ถึงแม้จะทุกข์ เพราะความพลัดพรากจากไป แต่ชาวสุโขทัยก็ดีใจ เพราะได้รับชัยชนะ จึงได้จัด งานฉลองชัย ขึ้นในครั้งกระนั้น
แล้วอภิเษก พ่อขุนบางกลางท่าว หรือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ แรกที่กู้ชาติจากขอม
เพื่อปกครองบ้านเมืองชาว ไทยต่อไป ทั้งนี้ ด้วยน้ำใจอันเสียสละของผู้เป็นทั้ง เพื่อนและเป็นทั้งน้องเขย คือ พ่อขุนผาเมือง
จึงขอสดุดีวีรกรรมของทหารไทย และ พ่อขุนทั้งสอง โดยเฉพาะ พ่อขุนผาเมือง
ผู้มีน้ำพระทัยเสียสละอย่างใหญ่หลวง ไม่เห็นแก่อำนาจราชศักดิ์ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ขอม และ มอบพระธิดาชื่อว่า
สิงขรมหาเทวี ให้เป็นมเหสี ทั้งได้รับพระแสงขรรค์ไชยศรีให้มีอำนาจเด็ดขาด
อันพระนาม ศรีอินทราทิตย์ นั้น เดิมเป็น พระนามเกียรติยศของพ่อขุนผาเมือง (ขุนฟ้าเมืองราช)
แห่งเมืองราชบุรี ผู้เป็นศรี ผู้เป็นตัวอย่างที่ดี ของคนไทยสมัยนี้ มีใครบ้างที่จะทำ ตามท่านได้ ที่ไม่เห็นแก่ความมักใหญ่ใฝ่สูง โดย เห็นแก่มิตรภาพ
เห็นแก่ประชาราษฎร์ป็นสำคัญ
ต่อมาท่านก็ไปช่วยพระสหายตั้งคุมเชิงที่ เชียงแสน เพื่อระวังภัยจากศัตรูทางด้านเหนือสุด
เพื่อปกป้องคุ้มครองแผ่นดินผืนนี้ ให้เป็น..แผ่นดินของเรา..เฉพาะชาวไทยที่เป็น ไท ทั้งกายและใจ เท่านั้น ครั้นแล้วเสียงเพลง...
แผ่นดินของเรา ก็ดังกระหึ่มขึ้น เป็นการปลุกใจให้รู้ค่าของแผ่นดิน
แผ่นดิน..ของเรา ย่อมเป็นของเราชาติ ไทย ใกล้ไกล..ต้องเป็นของเราชาติไทย เลือด ไทยไหลโลมลงดิน ใครหมิ่นศักดิ์ศรีคนไทย
ต้อง มีวันสักวัน..ให้ไทยล้างใจอัปรีย์
แผ่นดิน..ของเรา ย่อมเป็นของเราอยู่ดี ที่ ใด..ต้องเป็นของไทยอยู่ดี ถูกเชือดเฉือนไปวันใด เราย่อมหวั่นไหวชีวี
ปฐพีแหลมทอง..ช่วยกันคุ้ม ครองป้องกัน สักวันต้องคืนกลับมา มั่นใจเถิดหนา ขอพลี..ชีวารักษาชาติไทย ชาติไทยคงฟ้า เลือด ทาแผ่นดิน...
ต่อไปนี้ขอให้พวกเราจงออกมาร่ายรำ เป็น การเฉลิมฉลองชัยชนะเพื่อ เผ่าไทย ของเรา...
พวกเราเผ่าไทย เราพร้อมใจกันสามัคคี ชาติไทยเรานี้ จะได้ทวีกำลังยิ่งใหญ่ อย่าเกลียด อย่าโกรธกันเลย
เผ่าไทยเราเอ๋ยมาร่วมน้ำใจ ชาติ ไทยไม่เป็นของใคร รุ่นเราเผ่าไทยร่วมใจครอบ ครอง
ในขณะที่เสียงเพลง เผ่าไทย ดังขึ้นต่อ จากเพลง แผ่นดินของเรา
ก็ได้มีพวกเรา หลายคน เดินออกมาร่ายรำไปตามจังหวะรำวง ซึ่งมีคณะ อ.วิชชุ หลายคน ต้องเข้าไปโค้งต่อผู้ที่
ยังไม่กล้าจะออกมารำ จนกระทั่งมีคนออกมามาก มาย ช่วยให้เกิดบรรยากาศแห่งความสามัคคี
ในขณะนั้น พลุพิธี ๙ นัด ก็ได้ถูกจุดขึ้น ด้วยเสียงอันดัง พร้อมทั้งจุด พลุควันสีต่าง
ๆ พวยพุ่งไปรอบพระบรมรูปพ่อขุนฯ เพื่อเป็นการ เฉลิมฉลองให้ถูกต้องตามโบราณประเพณี โดยมีพวกเราเดินรำไปรอบๆ ตามจังหวะเสียงเพลง...
เราพร้อมใจกันให้แน่นเหนียว ผูกพันร่วม กันใจเดียว อย่าแลอย่าเหลียวในความหม่นหมอง ช่วยกันประคับประคอง สร้างไทยเมืองทอง
ให้ลูก หลานไทย เป็นขวัญใจ พวกเราตายไป ลูกไทย หลานไทยคงสดุดี...
เมื่อเพลงจบลงไปแล้ว หลายคนรู้สึกเสียดายที่เพลงจบลงไปเร็ว แต่ความจริงบางคนออก ช้าไปก็ได้ จึงรู้สึกว่าเพลงจบเร็วเกินไป แต่ไม่ต้อง เสียใจ
เพราะยังมีเพลงไทยเดิมอีกเพลงหนึ่ง ที่ไม่ ได้เตรียมไว้เลย บังเอิญมีคนนำเทปเพลงติดมา ด้วย จึงช่วยให้พวกเราได้ฟ้อนรำเป็นเพลงสุดท้าย เพื่อถวายแด่ ท่านแม่ย่า โดยเฉพาะ นั่นก็คือ..เพลง.. เทพบันเทิง
คราวนี้จำต้องเปลี่ยนท่ารำด้วยลีลาที่แตก ต่างกันไป บางคนหลับตารำก็มี ด้วยท่าทางอ่อน ช้อยงดงาม ท่ามกลางเสียงเพลง..เสียงไชโย..
เสียงพลุ..ทำให้ผู้คนที่ยืนมองดูอยู่ตอนท้าย ถึงกับบอกว่าคล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง งานพิธีตัดไม้ข่มนาม
ในครั้งนี้ จึงจบสิ้นลงด้วยดี
เมื่อเสียงเพลงจบลงแล้ว ทุกคนก็ถวาย บังคมด้วยความเคารพ เพื่อเดินทางไปที่จังหวัดน่าน เพราะการจัดงานในคราวนี้ เราเสียเวลาไป ๒ ชั่วโมง จากกำหนดการเดิม
เนื่องจากรถเสีย จึง ทำให้พิธีกรรมต้องเร่งรีบไปบ้าง แต่ก็สามารถผ่าน พ้นไปได้ในที่สุด
ทั้งนี้ อาศัยความร่วมมือร่วมใจ จากเจ้า หน้าที่จัดงานก็ดี ผู้ร่วมเดินทางก็ดี ตลอดถึงลูก หลานหลวงพ่อที่สุโขทัยทุกคน การทำพิธีที่ วัดมหาธาตุ จึงเสร็จสิ้นใกล้เวลาฉันเพล จากกำหนดการเดิมจะต้องทำพิธีที่ ลานพ่อขุนฯ
แล้วจึงจะฉัน
เป็นอันว่า เสร็จงานที่สุโขทัยแล้ว พวกเราก็ลาญาติโยมที่มาร่วมงาน เพราะบางท่านก็มิได้ติดตามไปที่น่านด้วย แล้วทยอยกันเดินออกมาขึ้นรถ
ที่จอดอยู่ด้านหน้าอุทยานฯ บ้างก็ยืนถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งกว่าจะออกรถเป็นเวลา ๑๔.๐๐ น. ไปแล้ว.
◄ll กลับสู่สารบัญ
webmaster - 10/10/10 at 10:02
07.
พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน
เชิญคลิกชม "คลิปวีดีโอ ตอนที่ ๒" ได้ที่นี่
ขบวนรถทั้งหมดได้เดินทางผ่านอุตรดิตถ์ แล้วจอดแวะเติมน้ำมันที่จังหวัดแพร่ ตอนนั้นยังไม่ ได้เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย เพราะต้องไปทำพิธีต่อที่ จังหวัดน่าน
บางคนเดินลงมาจากรถ จึงได้รับการเหลียวมองด้วยความประหลาดใจจากผู้ที่พบเห็น
ขณะนั้นได้มีรถนำขบวนจาก จ.น่าน มารับระหว่างทาง ซึ่งมี จ่าสันติชัย พร้อมด้วย คุณธนู ปรากฏว่าไปถึงจุดหมายปลายทางประมาณ ๑ ทุ่ม เศษ
โดยมีลูกศิษย์หลวงพ่อที่น่านรอต้อนรับอยู่ หลายคน เช่น คุณไพบูลย์ และ จ่าพิภพ เป็นต้น
สำหรับทาง วัดพระธาตุแช่แห้ง ได้จัดเตรียมอาหารเย็นไว้ต้อนรับ แต่ความเป็นจริงไม่ใช่อาหารเย็น แต่เป็นอาหารค่ำ
ทุกคนอาจจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากันตลอดทั้งวัน ชุดที่สวมใส่ อาจจะสร้างความลำบากใจพอสมควร
แต่เพื่อความเรียบร้อยของงาน ทุกคนอดทนได้เสมอ ไม่บ่น ไม่ย่อท้อ ไม่หงุดหงิดรำคาญ ไม่แสดงออกอาการใดๆ ทั้งสิ้น ทุกคนมีน้ำใจเสียสละ
เพื่องานของพระพุทธศาสนาและชาติบ้านเมือง จริงๆ เรื่องส่วนตัวจึงไม่มีความสำคัญเท่ากับเรื่องของส่วนรวม ด้วยกำลังใจเช่นนี้ จะทำให้บารมีของ
ท่านมารวมเต็มครบถ้วนทั้ง ๓๐ ทัศ โดยเร็วพลัน
เรื่องการจัดเลี้ยงต้อนรับ นอกจากทางวัด จัดอาหารเย็น โดยคณะชาวบ้านแช่แห้งแล้ว ก็ยังมี คุณพ่อสมศักดิ์-คุณแม่อัมพร ปานโชติ พร้อมด้วย
คณะญาติพี่น้อง และคณะแม่ครัวบ้านสวนหอม ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดถวายน้ำปานะแด่พระสงฆ์ และ จัดเลี้ยงข้าวต้มในวันรุ่งขึ้น
แก่คณะศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อทั้งหมด แล้วยังมีจิตศรัทธาถวายเงิน บำรุงวัดต่างๆ รวม ๕ วัด เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท
บรรยากาศในค่ำคืนวันที่ ๑๔ ก.พ.๔๑ นั้น หลังจากเดินทางมาจากสุโขทัย อากาศอาจจะร้อน สักหน่อย อีก ๕ ชั่วโมงต่อมาก็มาถึงจังหวัดน่าน
อากาศก็เริ่มเปลี่ยนไป ลมหนาวกลับพัดจนเย็นยะเยือก คนที่นี่บอกว่าอากาศเพิ่งจะเย็นก่อนที่เรา จะมา ๒ วันเท่านั้น เลยทำให้หลายคนไม่ต้องอาบน้ำให้เปลืองน้ำ
เพราะมาถึงที่นี่จึงได้พบกับคำว่า แช่แห้ง จริง ๆ แต่พระที่มาถึงท่านก็สรงน้ำกันเลย.. น้ำเย็นเฉียบ!
เมื่อทุกท่านทานอาหารกันเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จัดรถ, จัดสถานที่, จัดบายศรี ที่ได้เดินทาง ล่วงหน้ามาก่อน เพื่อเตรียมการไว้ล่วงหน้า ทุกคน
จึงยอมเสียสละทุกอย่าง ต้องกินอาหารกันบนรถ เพื่อประหยัดเวลาไว้สำหรับเตรียมงาน เมื่อคณะขบวนใหญ่ไปถึง ก็ไม่ต้องรอคอยให้เสียเวลา
สามารถจัดงานพิธีได้ทันที
บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย การที่ท่านเดินทางไปกับ คณะตามรอยพระพุทธบาท ทุกเที่ยวนั้น
ท่านจะสังเกตได้ว่า แม้จะมีคนมาก เพียงไรก็ตาม งานก็ไม่ขลุกขลัก..ไม่วุ่นวาย
นั่นเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ทุกคน ต่างก็ทำงานด้วยความเสียสละ ถึงแม้จะไม่เอ่ยชื่อเสียงเรียงนามออกมา ก็ตาม แต่เมื่อเวลาจัดงานคราวไร ท่านจะไม่เห็น
ในขณะที่เขาวุ่นวายกับการเตรียมงานทุกอย่าง เพราะเมื่อท่านไปถึงเขาก็จัดการเรียบร้อยแล้ว
ดังที่งานวัดพระธาตุแช่แห้งก็เช่นกัน การจัดโต๊ะบายศรี การจัดเก้าอี้สำหรับให้พระนั่ง และ ญาติโยมที่จะเข้ามาทำบุญได้โดยสะดวก จนได้เวลาประมาณ ๒
ทุ่มเศษ ทุกคนได้มารวมกันที่ หน้าลานพระธาตุ โดยการร่วมทำบุญทอดผ้าป่ากับ หลวงพี่โอ พร้อมทั้งรับ พระผงสมเด็จ ไว้เป็นที่ระลึก
ซึ่ง คณะโคราช เป็นผู้จัดสร้าง โดยได้รับอนุญาตจาก หลวงพ่อดาบส แล้ว
พร้อมกันนี้ พระวันชัย ก็ได้มอบรูปภาพ พระธาตุแช่แห้ง ให้อีกด้วย
ในขณะนั้นอากาศกำลังเย็นสบาย ร่างกายจึงเริ่มหายอ่อนเพลีย พอมีเรี่ยวมีแรงกันต่อไป จนกระทั่งญาติโยมทำบุญกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะถาวร ได้นับยอดเงินที่ทุกท่านได้บำเพ็ญกุศล เพื่อร่วมสร้างศาลาการเปรียญที่ค้างอยู่ และเพื่อบูรณะพระเจดีย์
เป็นเงินทั้งสิ้น ๓๑๕,๕๐๐ บาท
แต่ก่อนที่จะถวายผ้าป่ากันนั้น ผู้จัดได้ออกมาเล่าประวัติ พระธาตุแช่แห้ง ก่อน หลังจากนั้น
จึงจะทำพิธีบวงสรวงต่อไป
ประวัติพระธาตุแช่แห้ง
ตามตำนานพระธาตุแช่แห้งได้บันทึกไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระสัพพัญญูพุทธเจ้ายังทรงโปรดบรรดาพุทธบริษัทอยู่ ในครั้งนั้นองค์สมเด็จพระ
บรมครูทรงมีพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ได้เสด็จมา ถึง เมืองนันทบุรี พร้อมกับพระอานนท์ พระองค์ทรงประทับยืนดู ห้วยใคร้ (น้ำน่าน) เห็นมีน้ำลึก ใสบริสุทธ์ มองเห็นถึงทราย มีปลาใหญ่แหวกว่าย อยู่หลายตัว เห็นมีดอนทรายเป็นท่ากว้างใหญ่
จึงมีพระประสงค์จะลงสรงน้ำ
ในเวลานั้น ยังมีท้าวพระยาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระยามลราช เสวยราชสมบัติอยู่ใน เมืองนันทบุรี
เสด็จมากับพระมเหสีอันมีนามว่า พระนางสัณฐมิต ขณะนั้นชาวเมืองทั้งหลายจึง เข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ
แต่เขาก็ยังไม่แน่ใจว่า จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ พระราชาจึงเข้าไปกราบทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสว่า เราได้ชื่อว่าตถาคต คือเป็นพระพุทธเจ้า เป็นครูแก่โลกทั้งสามนั้น
พระบาทท้าวเธอได้สดับดังนั้น ก็มีความปีติยินดีมากนัก จึงเอาผ้าขาวถวายแด่พระพุทธองค์ สมเด็จพระบรมศาสดาก็รับเอาผ้าขาวผืน นั้นด้วยพระมหากรุณา
แล้วลงสรงสนานพระวรกายน้ำห้วยใคร้ แล้วเปลี่ยนผ้าผืนนั้นให้แก่พระอานนท์ พระเถระก็รับเอาผ้าไปบิดแล้วตาก บนหินก้อนหนึ่ง อันมีบนฝั่งแม่น้ำห้วยใคร้นั้น
ส่วนว่าพระพุทธเจ้าก็ยืนประทับอยู่ใต้ต้นมะเดื่อ เมื่อพระอานนท์ไปเก็บผ้าอาบน้ำนั้นแห้ง ก็กลับกลายเป็นผ้าทองคำไป
รัศมีผ้าทองคำก็ส่อง ไปทั่วในป่าไม้ไผ่ ดูเหลืองอร่ามไปทั่วบริเวณนั้น แล้วจึงทรงมอบผ้าผืนนั้นให้แก่พระยามลราช
พระบาทท้าวเธอทรงเห็นผ้าขาวเปลี่ยนเป็นผ้าทองคำได้ จนเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก จึงทรงโสมนัส ตรัสชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง แล้วทรงรับสั่งกับ
พระราชเทวีว่า
ดูก่อนน้องหญิง พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง เขตเมืองเรา พระน้องนางจงเตรียมจัดอาสนะเป็นที่ฉันภัตตาหารเถิด
เมื่อพระนางได้สดับดังนี้แล้ว ก็มีพระทัยยินดีในบุญกุศล หวังเสวยผลในสวรรค์ชั้นฟ้า เช่นกัน จึงได้ปูลาดอาสนะจนเป็นที่เรียบร้อย
แต่ก็ใช้เวลาอยู่นานกว่าจะเสร็จ จนพระราชาต้อง ตรัสให้รีบเร่งเกรงว่าจะไม่ทันเวลา จึงอาราธนาพระศาสดาประทับนั่งบนอาสนะนั้น แล้วได้ถวายภัตตาหารทันที
เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์ทำภัตกิจแล้ว จึงเล็งดูด้วยอำนาจพระพุทธญาณทรงทราบว่าต่อไป ภายหน้า เมืองนันทบุรีจักเป็นที่ประดิษฐานเส้นพระเกศาธาตุ
จึงมีพระพุทธวาจาตรัสกับพระราชาว่า
ดูก่อน มหาบพิตรพระราชสมภาร การที่ตถาคตเสด็จมาถึง ณ ทีนี้เป็นแห่งแรก มาลงสรงน้ำที่วังน้ำใสสะอาด แล้วนั่งอยู่ริมฝั่งน้ำด้าน
ทิศตะวันตกนี้ อันเป็นที่พระนางเทวีจัดข้าวน้ำ มาถวาย แต่ก็ใช้เวลานานนั้น อันนี้เป็นบุพนิมิตของเมือง ต่อไปภายหน้าเมืองนี้จักได้ชื่อว่า เมืองนาน
จะเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองสวยงาม ด้วยบ้านเล็กเมืองน้อย
องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสดังนี้แล้ว เห็นว่าบ้านเมืองนี้จะรักษาพระพุทธศาสนาไว้ครบ ถ้วน ๕ พันปี จึงทรงยกพระหัตถ์ข้างขวาขึ้นลูบพระเศียร
พระเกศาเส้นหนึ่งได้หลุดติดพระหัตถ์ มา แล้วทรงประทานให้แก่พระอานนท์พระเถระ รับเอาพระเกศาเส้นนั้นแล้ว จึงมอบให้แก่พระยามลราช
พระราชาทรงมีพระทัยปีติยินดีเป็นยิ่งนัก จึงโปรดให้ สร้างโกศแก้วมณี ส่องภายในมีสีเขียว ใสเหมือนปีกแมลงภู่
เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ แล้วนำโกศแก้วมณีนั้นใส่ไว้ในน้ำต้นคณฑีมีน้ำหนัก ๓ กำ ปิดปากน้ำต้นให้ดีแล้วคาดด้วยไหมทองคำ
จึงได้ช่วยกันอัญเชิญมาสู่ภูเพียงแช่แห้ง แล้วก็ขุดหลุมลึก ๓๐ วา กว้างก็ ๓๐ วา เท่ากัน แล้วบรรจุเส้นพระเกศาธาตุไว้ในหลุมนั้น
พระยามลราชทรงมีพระราชศรัทธาหวังความสุขในภพหน้า คือเมืองฟ้าและนิพพาน จึงทรง สละพระราชทรัพย์ ๓ แสน เพื่อบูชาพระเกศาธาตุ ส่วนพระนางเทวีก็ได้ถวายไว้ ๓
แสนเช่นกัน ส่วน บรรดาชาวเมืองทั้งหลาย ต่างก็มีใจศรัทธาจึง ถวายเงินไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อบูชาพระเกศาธาตุเจ้า
ฝ่ายท้าวสักกเทวราชจึงให้ยนต์จักรไว้ คอยป้องกันภัย เพื่อรักษาพระเกศาธาตุให้ครบ ๕ พันปี แล้วท้าวพระยาจึงได้โปรดให้ก่ออิฐครอบ
ตั้งเป็นเจดีย์ไว้ท่ามกลางหลุมสูง ๓ ศอก แล้วก็ ถมดินขึ้นมาเพียงผิวดินดังเดิม
เมื่อนั้นองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึง ตรัสซ้ำทำนายไว้อีกว่า ครั้นตถาคตนิพพานไปแล้ว จงเอาพระธาตุกระดูกข้อมือข้างซ้ายของตถาคต
มาบรรจุไว้กับพระเกศาธาตุในที่นี้เถิด ภายหน้าเมืองนี้ ก็จักรุ่งเรืองงามเสมอเมืองฟ้านั้นแล...
ดังนี้แล้ว พระพุทธองค์จึงทรงเสด็จกลับ ไปเมืองแพร่ เมืองสร้อย เมืองลี้ เมืองฮอด ตามลำดับจนถึงเมืองสาวัตถี จนกระทั่งพระองค์ ทรงมีพระชนมายุได้ ๗๐
พรรษา จึงได้เสด็จทางอากาศมา ณ ที่นี้เป็น วาระที่ ๒ พร้อมกับพระอานนท์ พระองค์ทรงประทับนั่งอยู่ภายใต้ร่มไม้สำโรง ระหว่างกลางแม่น้ำเตียนกับแม่น้ำลิ่ง
ในเวลานั้น ยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่งมาแต่บ้านห้วยใคร้กับคนรับใช้ของตน เห็นพระพุทธเจ้า ประทับนั่งอยู่กับพระอานนท์ จึงได้ให้คนใช้ไปเอา
ผลสมอแช่ไว้ที่บ้านห้วยใคร้มาถวาย ครั้นกลับมา พราหมณ์จึงถามว่าทำไมไปนานนัก คนใช้ตอบว่า ต้องรอให้ผลสมอที่แช่น้ำไว้แห้งเสียก่อน
พราหมณ์จึงนำผลสมอเข้าไปถวายองค์ สมเด็จพระชินวร ในขณะนั้น ยังมีแมงหมาเต้าตัว หนึ่ง ออกมาจากที่อยู่ของตน แล้วก็น้อมไหว้ แทบพระบาทแห่งพระพุทธเจ้า
พระศาสดาจึง แย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์จึงทูลถามถึงเหตุนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์จึงตรัสพยากรณ์ว่า
อานันทะ..ดูก่อนอานนท์! ในเมื่อตถาคต นิพพานไปแล้ว พระธาตุกระดูกของตถาคตจักมา ตั้งอยู่ที่นี้ ตราบเท่า ๕ พันพระวรรษา บ้านห้วยใคร้
จักเป็นเมืองอันหนึ่งชื่อว่า เมืองนาน ในที่นี้จักได้ ชื่อว่า แช่แห้ง
แมงหมาเต้าตัวนี้ จักได้เป็น พระยาตนหนึ่งครองเมืองนี้มีชื่อว่า ท้าวขาก่าน เหตุมีตัวลายด้วยน้ำหมึก
แล้วจักได้สถาปนาพระพุทธศาสนา ณ ที่นี้ ส่วนพราหมณ์ผู้นี้จักได้เกิด มาเป็นอุบาสกผู้หนึ่ง ช่วยกันทนุบำรุงพระพุทธศาสนากับท้าวขาก่าน
ให้รุ่งเรืองต่อไปภายหน้าแล
ครั้นพระสัพพัญญูเจ้าเสด็จเข้านิพพานแล้ว จำเนียรกาลแต่นั้นมา พระอรหันต์ทั้งหลาย ก็นำเอา
พระธาตุข้อพระหัตถ์ข้างซ้ายกับพระธาตุย่อย พร้อมกับชาวเมืองทั้งหลายได้ช่วยกันขุด หลุมลึก ๒๐ วา กว้าง ๕ วา บรรจุไว้ภายบน
พระเกศาธาตุนั้นตามพระพุทธประสงค์ แล้วก่อ เจดีย์สูง ๓ วาครอบไว้ ปิดปากหลุมนั้น ด้วยดิน และอิฐให้ราบเพียงผิวดินดังเดิม
เมื่อพระศาสนาล่วงไปแล้ว ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองปาตลีบุตร ได้สร้างพระเจดีย์ ๘ หมื่น ๔ พันองค์
ทั่วชมพูทวีป พระองค์ได้เสด็จมา ณ ที่นี้ เป็นกลุ่มที่ ๓ ได้ขุดหลุมลง ที่เหนือพระธาตุเก่าลึก ๑๐ วา กว้าง ๕ วา
แล้วก็สร้างอูบทองคำเป็นที่ใส่พระบรมสารีริกธาตุ แล้วหล่อรูปสิงห์ทองยืนอยู่กลางหลุมพระธาตุ ทำยนต์จักรไว้รักษา แล้วก่อดินและอิฐขึ้นเพียง
ผิวดินแล้วก่อเจดีย์สูง ๓ วาครอบไว้
หลังจากนั้น เมืองนันทะ ก็กลายเป็น เมืองนาน หรือ เมืองน่าน
ตรงตามคำพยากรณ์ทุกประการ ต่อมาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ สมัย พระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ.๒๐๑๙
พระองค์จึงได้ส่ง ท้าวขาก่าน มาครองเมืองนี้
ครั้นได้เห็นบริเวณป่านี้มีไม้ไผ่ปกคลุม จอมปลวกอยู่จึงแผ้วถาง พอกลางคืน พระบรมธาตุก็เปล่งปาฏิหาริย์รุ่งเรืองนัก จึงขุดลงไปในจอมปลวกลึก ๑ วา
ก็พบพระบรมสารีริกธาตุ ๗ องค์ พร้อมกับพระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ พระพิมพ์ทองคำ ๒๐ องค์ ซึ่งบรรจุไว้เมื่อ ๑๐๐ กว่าปีก่อน อันเป็นสมัย
พระยาการเมือง ครองเมืองน่าน โดยพระองค์ได้รับพระราชทานมาจาก พระเจ้าลิไทย แห่งกรุงสุโขทัย
นัยว่าพระเจ้ากรุงสุโขทัยพระองค์นี้ ได้เป็นผู้สร้างพระธาตุแห่งนี้ด้วย เพราะสมัยนั้น ระหว่างเมืองน่านกับกรุงสุโขทัย กษัตริย์ทั้งสอง
พระองค์ทรงมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกัน
ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าลิไทย หรือ พระ เจ้าศรีสุริยพงศราม หรือ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าเลอไทย และ เป็นพระราชนัดดาของ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสวยราชสมบัติเป็นลำดับที่ ๖ แห่งวงศ์พระร่วง ทรงมีพระสนมเอกชื่อว่า
นางนพมาศ
พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา ทรงปรารถนาพระโพธิญาณ ทรงศึกษาวิทยาการมาก ทรงมีพระปรีชาสามารถทุกด้าน แตกฉานในพระไตรปิฏก จึงทรงร่วม
มือกันกับ