ตามรอยพระพุทธบาท

ประเพณี "วันสงกรานต์"..ฟังเทศน์และบทเพลงต่างๆ
webmaster - 26/3/09 at 14:33


(เลื่อนลงไปอ่าน วันสงกรานต์ ปี 2558)

คลิก.. ฟังหลวงพ่อเทศน์ "งานวันสงกรานต์" ที่วัดท่าซุง

13 เม.ย.2532 - 13 เม.ย.2534 - 14 เม.ย.2534 - 15 เม.ย.2534 - 13 เม.ย.2535



(กดปุ่ม Play - กดปุ่ม Next - ปุ่ม Playlist ชมคลิปทั้ง 5 คลิป)



สุขสันต์วันสงกรานต์ (น้องอิน)



คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ ๑๓, ๑๔, ๑๕ เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันที่ ๑๔ เป็น "วันเนา" วันที่ ๑๕ เป็น "วันเถลิงศก"

กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ทำในเทศกาลนี้ก็มี การทำความสะอาดบ้านเรือน ทำบุญทำทาน สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำกัน เป็นต้น อย่างไรก็ดี นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว ประเพณีสงกรานต์ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง สำหรับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์มีดังนี้

๑. ก่อนที่เราจะถือวันสงกรานต์เป็นปีใหม่แบบไทยนั้น สมัยโบราณ เราถือเอาวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าฤดูหนาว เป็นการเริ่มต้นปี ซึ่งจะตกราวเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการสังเกตธรรมชาติและฤดูการผลิต เป็น วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ หรือประมาณเดือนเมษายน

ครั้นในปีพ.ศ. ๒๔๓๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน และต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๘๓ จอมพลป.พิบูลสงครามก็ได้ประกาศให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่จนปัจจุบัน อันเป็นการนับแบบสากล อย่างไรก็ดี คนไทยในหลายภูมิภาคก็ยังยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ ซึ่งแต่เดิมแม้จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ก็ไม่ได้ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน ดังเช่นปัจจุบัน จนเมื่อพ.ศ.๒๔๔๔ เป็นต้นมา จึงได้กำหนดเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน ตามปฏิทินเกรกอรี่

๒. นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังมีมอญ พม่า ลาว และชนชาติไทยเชื้อสายต่างๆอันเป็นชนส่วนน้อยในจีน อินเดีย ก็ถือว่าสงกรานต์เป็นเทศกาลฉลองวันขึ้นปีใหม่ของเขาด้วยเช่นกัน

๓. ภาคกลางเรียกวันที่ ๑๓ เมษายน ว่า “วันมหาสงกรานต์” ซึ่งวันนี้ทางการได้ประกาศให้เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” วันที่ ๑๔ เมษายน เรียก “วันเนา” และรัฐบาลสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณได้ประกาศให้เป็น “วันครอบครัว” ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียก “วันเถลิงศก” คือวันเริ่มจุลศักราชใหม่

๔. ทางล้านนาเรียกวันที่ ๑๓ เมษายนว่า “วันสังขารล่อง” ซึ่งบางท่านให้ความหมายว่า หมายถึงอายุสิ้นไปอีกปี วันที่ ๑๔ เมษายน เรียก“วันเน่า” เป็นวันห้ามพูดจาหยาบคาย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปากเน่าและไม่เจริญ ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายนเรียก “วันพญาวัน” คือวันเปลี่ยนศกใหม่

๕. ภาคใต้ เรียกวันที่๑๓ เมษายนว่า “วันเจ้าเมืองเก่า”หรือ “วันส่งเจ้าเมืองเก่า” เพราะเชื่อว่าเทวดารักษาบ้านเมืองกลับไปชุมนุมกันบนสวรรค์ ส่วนวันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า “วันว่าง” คือวันที่ปราศจากเทวดาที่รักษาเมือง ดังนั้น ชาวบ้านก็จะงดงานอาชีพต่างๆ แล้วไปทำบุญที่วัด ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่า “วันรับเจ้าเมืองใหม่” คือวันรับเทวดาองค์ใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลเมืองแทนองค์เดิมที่ย้ายไปประจำเมืองอื่นแล้ว

๖. ตำนานสงกรานต์ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับสงกรานต์และนางสงกรานต์ที่เรารู้จักกันดีเป็นตำนานที่ รัชกาลที่ ๓ โปรดให้จารึกไว้ในแผ่นศิลา ๗ แผ่น ติดไว้ที่ศาลารอบพระมณฑปทิศเหนือ ในวัดพระเชตุพนฯหรือวัดโพธิ์

๗. นางสงกรานต์เป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นต่ำสุด มีด้วยกัน ๗ องค์เป็นพี่น้องกัน และต่างก็เป็นบาทบริจาริกา แปลว่า นางบำเรอแทบเท้า หรือเรียกง่ายๆว่า เป็น “เมียน้อย”ของพระอินทร์ จอมเทวราช และเป็นธิดาของท้าวกบิลพรหมในตำนาน

๘. นางสงกรานต์ มีชื่อตามแต่ละวันในสัปดาห์คือ วันอาทิตย์ ชื่อ นางทุงษะ วันจันทร์ ชื่อ นางโคราคะ วันอังคาร ชื่อ นางรากษส วันพุธ ชื่อ นางมณฑา วันพฤหัสบดี ชื่อ นางกิริณี วันศุกร์ ชื่อ นางกิมิทา วันเสาร์ชื่อ นางมโหทร

๙. นางสงกรานต์แต่ละองค์จะมีพาหนะทรงต่างกัน ตามลำดับแต่ละวัน คือ นางทุงษะขี่ครุฑ นางโคราคะขี่เสือ นางรากษสขี่หมู นางมณฑาขี่ลา นางกิริณีขี่ช้าง นางกิมิทาขี่ควาย และนางมโหทรขี่นกยูง ซึ่งสัตว์ที่เป็นพาหนะทรงจะมิใช่ปีนักษัตรของปีนั้นๆ ตามที่หลายคนเข้าใจผิด

๑๐. คำว่า “ดำหัว”ปกติแปลว่า “สระผม” แต่ในประเพณีสงกรานต์ล้านนา จะหมายถึง การไปแสดงความเคารพ ขออโหสิกรรมที่อาจได้ล่วงเกินในเวลาที่ผ่านมา รวมทั้งการไปขอพรจากผู้ใหญ่ ซึ่งหมายถึงญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ในเมืองหรือครูบาอาจารย์ ผู้บังคับบัญชา โดยส่วนมากจะใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยไปไหว้ท่าน และท่านก็จะจุ่มแล้วเอาน้ำแปะบนศีรษะเป็นเสร็จพิธี

๑๑. ในสมัยก่อนเมื่อใกล้สงกรานต์หรือวันสงกรานต์ จะมีสัตว์ชนิดหนึ่งที่คนแต่ก่อนเรียกว่า “ตัวสงกรานต์” เป็นสิ่งมีชีวิตลักษณะคล้ายไส้เดือน แต่เล็กขนาดเส้นด้าย ยาวประมาณ ๒ นิ้ว มีสีเลื่อมพราย เป็นสีเขียว เหลือง แดง ม่วง เปลี่ยนสีไปได้เรื่อยๆ จะอยู่กันเป็นฝูงในแม่น้ำลำคลอง เมื่อกระดิกตัวว่ายน้ำจะทำให้เกิดประกายสีต่างๆสวยงามแปลกตา ถ้าจับพ้นน้ำ สีจะจางหายไป ตัวจะขาดเป็นท่อนเล็กๆและเหลวละลาย ปัจจุบันเข้าใจว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

๑๓. มูลเหตุของการก่อเจดีย์ทราย มีเรื่องเล่าว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาวบริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ ๘ หมื่น ๔ พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า

การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง ๘ หมื่น ๔ พันองค์หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้...

ที่มา - www.zabzaa.com/event/songkran.htm



รวมบทเพลง วันสงกรานต์




1. รำวงวันสงกรานต์ (วงสุนทราภรณ์)




วันนี้เป็นวันสงกรานต์
หนุ่มสาวชาวบ้านเบิกบานจิตใจจริงเอย
ตอนเช้าทำบุญ ทำบุญตักบาตร
ทำบุญร่วมชาติตักบาตรร่วมขันกันเอย
เข้าวัดแต่งตัว แต่งตัวสวยสะ
ไปสรงน้ำพระ ณ วันสงกรานต์กันเอย
ตอนบ่ายเราเริงกีฬา
เล่นมอญซ่อนผ้า เล่นสะบ้ากันเอย
ทำบุญทำทานสนุกสนานกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วรำวงกันเอย (ซ้ำทั้งหมด)

2. รำวงเริงสงกรานต์ (วงสุนทราภรณ์)



ฟ้าใหม่แล้วละนะน้อง
สงกรานต์เราร้องทำนองเพลงโทน
โน่นไงจ๊ะ โทนป๊ะโทนๆ
ทั้งโยกทั้งโยนเย้ายวนยั่วใจ

วันตรุษหยุดการหยุดงาน
สังคมชาวบ้านสิคร้านครึกครื้น
เริงสงกรานต์กัน พอขวัญชื้นๆ
ฉลองวันคืนจนครื้นเครงคลาน

ดอกเอ๋ยมะเขือ
แม้ตัวเนื้อมันเต้น
เชิญน้องมาเล่น สงกรานต์
เอ้าเชิญน้องขึ้นวิมาน
รับฟ้าสงกรานต์กันกับพี่ปะไร
[เอ้าเชิญน้องขึ้นวิมาน
รับฟ้าสงกรานต์กันกับพี่ปะไร]

ฟังพี่นี่ชวนพี่เชิญ
ขวัญเอยมันเปิ่นสะเทิ้นท้อถอย
ชีวิตชีวา เราหนาน้อยๆ
รำแล้วจะพลอยลอยคว้างกลางลาน

ดอกเอ๋ยฟักทอง
รักจะร้องรำเต้น
ประสาเราเล่น สงกรานต์
เอ้ามาซิถ้าต้องการ สำเริงสำราญกันเป็นคู่ๆไป
[เอ้ามาซิถ้าต้องการ สำเริงสำราญกันเป็นคู่ๆไป]

รำคู่อยู่เคียงใกล้กัน
ซ้ายทรวงมันสั่นมันซึ้งเสียวๆ
งามแท้รำไทย เลื้อยไหลลดเลี้ยว
เราร้อยกรเกลียวเพรียวพลิ้วปลิวลม

ดอกเอยชบา
เหมือนนางฟ้ามาใกล้
มาเย้ายวนให้ หลงชม
อ๋อ นางฟ้าน่าชื่นชม
สวยจริงสวยสม งามตรงห่มสไบ
[อ๋อ นางฟ้าน่าชื่นชม
สวยจริงสวยสม งามตรงห่มสไบ]

รำคู่อยู่เคียงพี่ชาย
หัวใจมันส่ายโยนซ้ายย้ายขวา
เพลินคล้ายคนธรรพ์เคล้าฝันคล้อยฟ้า
ไปค้างไปคาสุขาวดี
สวรรค์สงกรานต์แสนสนานสนุก
รำแล้วเป็นสุขทุกที
ซิเออถึงว่าน่ะซิสงกรานต์ทั้งปีรำกับพี่เรื่อยไป
[ซิเออถึงว่าน่ะซิสงกรานต์ทั้งปีรำกับพี่เรื่อยไป]


3. วิมานสงกรานต์ (วงสุนทราภรณ์)



4. สงกรานต์ (วงสุนทราภรณ์)



5. สงกรานต์บ้านนา



6. ดอกไม้ให้คุณ (แจ้ - ดนุพล)



7. รำวงปิดทองพระ (วงสุนทราภรณ์)



8. รำวงสงกรานต์หวานใจ (วงสุนทราภรณ์)






webmaster - 27/3/09 at 05:12



คลิปวีดีโอ วันสงกรานต์

รำวงวันสงกรานต์ - ดาวรุ่งคลื่นลูกใหม่สุนทราภรณ์


ประเพณีสงกรานต์ เทศกาลอันดีงามของไทยเรา


สงกรานต์ที่เชียงใหม่


สงกรานต์ที่พัทยา


สงกรานต์ที่ภูเก็ต


สงกรานต์หลวงพระบาง วังเวียง 2551


สงกรานต์ที่โอกินาว่า .. เซิ้ง สงกรานต์ ...


ภาพเหตุการ์ณจริงกับการรุ่มทำร้ายกัน ต่อหน้าต่อตาคนนับพันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของเชียงใหม่


ชิงร้อยชิงล้าน - สงกรานต์นี้ไม่กลับบ้านนอกหรือ..ตอน 1


ชิงร้อยชิงล้าน - สงกรานต์นี้ไม่กลับบ้านนอกหรือ..ตอน 2


webmaster - 10/4/09 at 16:20

(Update 8/04/53)

























webmaster - 5/4/11 at 06:41

นางสงกรานต์ปี 2558 ชื่อ "รากษสเทวี"



......สำหรับนางสงกรานต์ 2558 นี้ ระบุ ปีมะแม เทวดาผู้หญิง ธาตุทอง สัปตศก จุลศักราช 1377 ทางจันทรคติ เป็นอธิกมาส ทางสุริยคติ เป็นปกติสุรทิน ตรงกับวันที่ 14 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือน 5 เวลา 14 นาฬิกา 14 นาที 14 วินาที นางสงกรานต์ ทรงนามว่า รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จนั่งมาเหนือหลังวราหะ (หมู) เป็นพาหนะ

นางสงกรานต์รากษสเทวี (ราก สด เท วี) ปกติจะทรงหมูเป็นพาหนะใน 4 รูปแบบ คือ ยื่นบนหมู นั้งบนหมู นอนลืมตาบนหมู และนอนหลับตาบนหมู ซึ่งปีนี้ได้เสด็จนั้งมาเหนือหลังหมู เชื่อว่า หากนางสงกรานต์นั้งมา จะเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วย ผู้คนล้มตาย และเกิดภัยพิบัติต่างๆ ตามมา และ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันอังคาร ทำนายว่าโจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง, วันพุธเป็นวันเนา ข้าวปลาอาหารจะแพง คนทั้งหลายจะทุกข์ร้อน แม่หม้ายจะพลัดถิ่นที่อยู่ และวันพฤหัสบดีเป็นวันเถลิงศกสมณชีพราหมณ์จะปฏิบัติชอบด้วยธรรมวินัยอันประเสริฐ

คำพยากรณ์ที่กล่าวมา เป็นการคำนวณทางโหราศาสตร์เป็นสถิติชนิดหนึ่ง อาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ แม้คำทำนายเหล่านี้ อาจดูน่ากลัว แต่เปรียบเสมือนคำเตือนล่วงหน้า ให้เราใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทมีสติ

แต่อย่างไรก็ตาม คำทำนายของนางสงกรานต์ก็เป็นเพียงแค่ การเตือน ตามความเชื่อเท่านั้น ทั้งนี้เราควรจะตั้งตนอยู๋ในความไม่ประมาท และรู้จักเตรียมวิธีแก้ไขหรือป้องกันตามวิถีชีวิตของเรา เพื่อให้สงกรานต์นี้ เป็นสงกรานต์แห่งความสุข ขอให้ทุกคนมีความสุขใน สงกรานต์ 2558 นี้นะคะ





นางสงกรานต์ปี 2556 ชื่อ "มโหธรเทวี"


วันมหาสงกรานต์ปี 2556 ตรงกับวันเสาร์ที่ 13 เมษายน 2556 นางสงกรานต์นาม "มโหธรเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) มาบนหลังมยุรา (นกยูง) ทายประเทศจะเกิดอันตรายกลางเมือง

.....โดย มโหธรเทวี มีคำทำนายไว้ว่า วันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิง และโจรผู้ร้าย และจะเจ็บไข้นักแลฯ

วันอาทิตย์ เป็นวันเนา ข้าวจะตายฝอย จะได้ยินเสียงคนต่างภาษา ท้าวพระยาจะร้อนใจนักแลฯ

วันจันทร์ เป็นวันเถลิงศก พระราชเทวีและหมู่นางสนม ราชบริพาร จะประกอบไปด้วยสุขและสมบัติทั้งปวง, นางสงกรานต์ ไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) : พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี

เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ ศุกร์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า ตกในเขาจักรวาล 240 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 180 ห่า ตกในมหาสมุทร 120 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 60 ห่า

เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ อาโป (ธาตุน้ำ) น้ำมาก น้ำท่วม

เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีมะเส็ง นาคราชให้น้ำ 1 ตัว ทำนายว่า ฝนต้นปีมาก กลางปีงาม แต่ปลายปีน้อยแล

เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ ปาปะ ข้าวกล้าในไร่นา จะได้ 1 ส่วน เสีย 10 ส่วน คนทั้งหลายจะตกทุกข์ได้ยากลำบากแค้น เพราะกันดารอาหารบ้าง จะฉิบหายเป็นอันมากแลฯ

เรียบเรียงข้อมูลโดย..กระปุกดอทคอม



นางสงกรานต์ปี 2555 ชื่อ "กิมิทาเทวี"


เผยนางสงกรานต์ปี 55 ชื่อ กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ หัตถ์ขวาทรงขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา) มาเหนือหลังมหิงส์ (กระบือ) เป็นพาหนะ ทำนายว่า ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข

.....เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ พฤหัสบดี เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 500 ห่า ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150 ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า

เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ วาโย (ธาตุลม) น้ำพอประมาณ พายุจัด เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีมะโรง นาคราช ให้น้ำ 3 ตัว ทำนายว่า ฝนต้นปีมาก กลางปีงาม แต่ปลายปีน้อยแล

เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในไร่นา จะเกิด กิมิชาติ คือ มีด้วงแมลงรบกวน ข้าวกล้า จะได้ผล 1 ส่วน เสีย 5 ส่วน บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงคราม จะฆ่าฟันกัน จะนิราชจากกัน จะฉิบหายเป็นอันมากแล

ทั้ง นี้ วันมหาสงกรานต์ 2555 ตรงกับวันศุกร์ ทำนายว่า ข้าวน้ำ ลูกหมากรากไม้ทั้งหลายจะอุดม แต่จะแพ้เด็ก ฝนและพายุชุมจะเจ็บตากันมากนักแลฯ

วันเนา ตรงกับวันเสาร์ ทำนายว่า ข้าวปลาจะแพง จะเกิดเพลิงกลางใจเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ข้าวจะตายฝอย น้ำจะน้อยกว่าทุกปี สมณชีพราหมณ์ จะร้อนใจนัก ผักปลาจะแพงแลฯ

วันเถลิงศก ตรงกับวันอาทิตย์ ทำนายว่า พระมหากษัตริย์จะรุ่งเรือง ด้วยพระเดชานุภาพ จะมีชัยชนะแก่ศัตรูทั่วทิศาทั้งปวงแลฯ


เรียบเรียงข้อมูลโดย..กระปุกดอทคอม



นางสงกรานต์ปี 2554 ชื่อ "กิริณีเทวี"


เผยนางสงกรานต์ปี 54 ชื่อ กิริณีเทวี นั่งหลังช้าง มือซ้ายถือปืน พยากรณ์ปีนี้ดุ เกิดเหตุเภทภัยทั่วประเทศ

.....น.ส.ทัศชล เทพกำปนาท นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ปฏิทินหลวงวันสงกรานต์ ปี 2554 ปีใหม่ไทยปีนี้ตรงกับปีเถาะ นางสงกรานต์ มีนามว่า “กิริณี เทวี” ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่ว-งา พระหัตถ์ขวาทรงขอ พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จนั่งมาเหนือหลังกุญชร (ช้าง) เป็นพาหนะ ซึ่งจากคำทำนายค่อนไปทางร้ายมากกว่าดี

โดยวันที่ 14 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 เวลา 13 นาฬิกา 25 นาที 25 วินาที และวันที่ 16 เมษายน เวลา 17 นาฬิกา 31 นาที 12 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่ เป็น 1373 วันอาทิตย์เป็นโลกาวินาศ น้ำฝนปีนี้ วันพุธ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า นาคให้น้ำ 5 ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ผลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปถวี (ดิน) น้ำงามพอดี

ทั้งนี้ คำทำนายตามตำราตรุษสงกรานต์ของ นายสมบัติ พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2553 ระบุว่า นางสงกรานต์กิริณีเทวี นั่งมาบนหลังช้างซึ่งถือเป็นสัตว์ใหญ่ เป็นมงคลช่วยขับไล่สิ่งร้าย ๆ ให้ออกไปได้ และยังทัดดอกมณฑาเป็นดอกไม้ทิพย์อยู่บนสวรรค์ คนไทยโบราณเชื่อว่าจะช่วยพ้นวิกฤติจากหนักให้เป็นเบา ส่วนภักษาหารที่เป็นถั่วงา แสดงว่าพืชผลข้าวปลาอาหารยังมีความสมบูรณ์อยู่ ส่วนคำทำนายที่ว่าทหารจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู ก็น่าจะแสดงถึงความสงบสุขของบ้านเมืองในปีนี้ด้วย

ขณะที่ วันมหาสงกรานต์ 2554 ตรงกับวันพฤหัสบดี วันเนาตรงกับวันศุกร์ และวันเถลิงศกตรงกับวันเสาร์ รวมคำทำนายว่า จะ เกิดเหตุเภทภัยต่าง ๆ ความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตาย แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย แต่แม่หม้ายจะมีลาภ และบรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู

ส่วนคำทำนายของล้านนา ระบุว่า ปีนี้ฝนจะตกเสมอต้นเสมอปลายตามฤดูกาล ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่จักมีอันตราย ช้างม้าวัวควายจักตายมากนัก ไพร่ราษฎรจักอยู่ดีมีสุข ขุนใหญ่ ปุโรหิต พระสงฆ์จักเป็นทุกข์ คนเกิดวันศุกร์มีเคราะห์ คนเกิดวันอาทิตย์มีโชค



เรียบเรียงข้อมูลโดย..กระปุกดอทคอม


webmaster - 14/4/15 at 05:57

.