การ์ตูน..พุทธประวัติ (เวอร์ชั่นใหม่)
webmaster - 14/4/08 at 22:51
การ์ตูน..พุทธประวัติ (เวอร์ชั่นใหม่)
(คลิกชม "คลิปวีดีโอ" ด้วยโปรแกรม Flash Player รวม 40 ตอน)
ความเป็นมาการ์ตูน "พุทธประวัติ" (The Life of Buddha )
...คิดว่าคงมีหลายคนที่เคยได้รับข่าวคราวเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนไทยเรื่องยิ่งใหญ่ เรื่อง ประวัติพระพุทธเจ้า หรือ The Life of Buddha
ที่มีท่าน ว.วชิรเมธี เป็นประธานในการจัดสร้างมาบ้างแล้ว โดยจะเป็นงานสร้างแบบ 2 D โดยทีมงานคนไทยที่เคยทำงานให้กับ Walt Disney มาแล้ว
...การ์ตูนเรื่องนี้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชวโรกาสที่จะทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปีนี้
โดยจะนำออกเผยแพร่แก่สาธารณชนทั่วไป
โดยเฉพาะแจกจ่ายตามโรงเรียนต่างๆ ซึ่งงบจัดทำนั้นสูงถึงกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้สร้างไปแล้วมากกว่า 50% หมดเงินไปแล้วกว่า 70 ล้านบาท
กลุ่มธรรมะการ์ตูน ๘๐ พรรษามหาราช ซึ่งมีท่านว.วชิรเมธีเป็นประธานกรรมการ ได้สนับสนุนโครงการภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง ประวัติพระพุทธเจ้า (The Life of
Buddha)
และมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ เป็นภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติ ที่สร้างจากฝีมือคนไทยทั้งเรื่อง
โดยกลุ่มคนที่เคยสร้างผลงานร่วมกับ WALT DISNEY
ภาพยนตร์เรื่องนี้จัดสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระราชวโรกาสที่จะทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในปี
๒๕๕๐
ซึ่งภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ เมื่อนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชนแล้ว จะเกิดประโยชน์ต่อบุคคล สังคม และประเทศชาติหลายประการ
...เนื้อหาของเรื่องจะแบ่งออกเป็น ๔ ตอน ได้แก่ ส่วนแรกทรงถือปฏิสนธิ ส่วนที่สองประสูติ ส่วนที่สามตรัสรู้ ส่วนสุดท้ายทรงสั่งสอนธรรมะและปรินิพพาน
รวมเวลาทั้งสิ้น ๙๐-๑๐๐ นาที ใช้งบประมาณทั้งหมด ๑๐๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยแปดล้านบาท)
แต่จุดมุ่งหมายของผู้จัดทำได้มีความตั้งใจให้เป็นภาพยนตร์ที่ทรงคุณค่าของคนไทยทุกคนจึงตัดสินใจไม่ขายให้ต่างชาติ แม้จะติดภาระหนี้สินจากการผลิตอยู่มาก
แต่ขอมุ่งมั่นดำเนินการให้สำเร็จโดยเร็ว
เพื่อให้ทันกำหนดการฉายวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ นี้ รายได้ส่วนหนึ่งจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล
ที่มา - popcornmag.com
การ์ตูน..พุทธประวัติ (เวอร์ชั่น Animation ของคนไทย)
ตอนที่ ๑
ตอนที่ ๒
ตอนที่ ๓
ตอนที่ ๔
ตอนที่ ๕
ตอนที่ ๖
พุทธประวัติ
อัญเชิญจุติ
เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี ณ ดินแดนทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย เป็นที่ตั้งของแคว้นสักกะ เมืองหลว งของแคว้นนี้มีชื่อว่า กรุงกบิลพัสดุ์
ซึ่งปกครองโดยพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ศากยะพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
พระองค์ทรงมีพระมเหสีพระนามว่าพระนางสิริมหามายา ครั้งเมื่อพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีทั้ง ๓๐ ประการ บริบูรณ์ ในชาติที่เป็นพระเวสสันดร
ครั้งสิ้นพระชนม์แล้วก็ได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรมีชื่อว่า สันดุสิตเทวราช สถิตอยู่ใน สวรรค์ ชั้นดุสิต (ดุสิตเทวโลก)
เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องจุติ ท้าวมหาพรหมและเทพยดาทั้งหลายจึงอาราธนาอัญเชิญ จุติบนโลกมนุษย์ เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระบรมโพธิสัตว์หรือในขณะนั้นทรงเป็นสันดุสิตเทวราช จึงได้ ทรงพิจารณาเลือกมาปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมหามายา
ทรงพระสุบิน
ในคืนวันที่สันดุสิตเทวราชปฏิสนธิ พระนางสิริมหามายาทรงพระสุบิน เห็นดวงดาวหกเหลี่ยมที่มีแสงสุกสกาว และพญาช้างเผือก ๖ งา ลงจากสุวรรณคีรี (ภูเขาทอง)
แล้วขึ้นมายังหิรัญคีรี (ภูเขาเงิน) ที่พระนางประทับอยู่ ชูงวงซึ่งถือดอกบัวขาวเข้ามาภายในกนกวิมานที่ประทักษิณ (เวียนโดยรอบ) พระนาง ๓ รอบ
เสมือนหนึ่งเข้าไปสู่ พระครรภ์ของพระนาง
ประสูติ
เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงมีพระครรภ์ล่วงเข้าเดือนที่ ๑๐ ใกล้จะถึงเวลาประสูติ มีพระทัยปรารภจะเสด็จ
กรุงเทวทหะเพื่อไปประสูติพระครรภ์ที่พระราชวังของพระราชบิดาตามธรรมเนียม จึงกราบทูลขอพระบรมราชานุญาต จากพระเจ้าสุทโธทนะ
เมื่อพระนางได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว พระนางจึงทรงออกเดินทางในตอนเช้า วันวิสาขปุณณมี (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ คือ วันวิสาขบูชา)
พอถึงเวลาใกล้เที่ยงวันก็เสด็จถึงสวนลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ ระหว่างพระนครทั้งสอง พระนางปรารถนาจะเสด็จประพาสชมสวน ครั้นพอพระนางเสด็จยังต้นสาละ
ทรงจับกิ่งสาละ พอพระหัตถ์ถึงกิ่งสาละก็บังเกิดลมกัมมชวาตประชวรพระครรภ์ ข้าราชบริพารทั้งหลายก็ช่วยกันผูกม่านแวดวงภายใต้ ต้นสาละ
พระนางทรงประทับยืนหันพระปฤษฎางค์ (หลัง) อิงกับต้นสาละ พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละผันพระพักตร์ไปทาง ทิศบูรพา ประสูติพระราชโอรส
โดยปราศจากความเจ็บปวดใดๆ พระราชกุมารภายหลังประสูติได้พระราชดำเนินไป ๗ ก้าว โดยมีดอกบัวผุดจากพื้นดินมารองรับพระบาททุกก้าว
สำเร็จปฐมฌาน
เมื่อพระราชกุมารมีพระชนม์ได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะทรงเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาทำพิธีและตั้ง พระนามให้พระราชโอรสว่า สิทธัตถะ
จากนั้นทรงคัดเลือกพราหมณ์จาก ๑๐๘ คนให้เหลือ ๘ คน เพื่อให้ทำนาย ลักษณะ
พราหมณ์ ๗ คน ทำนายว่าถ้าพระราชโอรสอยู่ในเพศฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แต่ถ้าทรงครองเพศ บรรพชิตก็จะได้เป็นศาสดาเอกของโลก
แต่พราหมณ์อีกคนที่เหลือชื่อ โกณฑัญญะ ทำนายว่า พระราชโอรสจะต้อง ออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน
ครั้นพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรสได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาก็สิ้นพระชนม์ พระเจ้าสุทโธทนะได้ให้พระนางปชาบดีโคตรมี พระน้องนางของพระนาง
สิริมหามายาซึ่งเป็นพระมเหสีอีกพระองค์ของพระเจ้าสุทโธทนะให้ทำหน้าที่เลี้ยงดูพระราชโอรส พระนางทรงดูแล พระราชโอรสดุจพระโอรสของพระนางเอง
เจ้าชายสิทธัตถะถึงแม้อยู่ในวัยเด็กก็สามารถประทับนั่งขัดสมาธิเจริญ อานาปานสติกัมมัฏฐาน จนได้ปฐมฌานโดยมิได้สนใจของเล่นเช่นพระกุมารอื่นๆ
พระราชบิดารู้สึกไม่สบายพระทัย เมื่อเห็นอาการของพระกุมารเช่นนั้น
อภิเษกสมรส
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยมีพระชนมายุได้ ๑๖ ชันษา พระราชบิดาทรงสร้างปราสาทขึ้น ๓ หลังสำหรับ ให้เจ้าชายประทับในฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว
จากนั้นพระองค์ก็ทรงสู่ขอ เจ้าหญิงพิมพา หรือ "ยโสธรา" พระราชธิดา ในพระเจ้าสุปปพุทธะ กับ
พระนางอมิตาแห่งกรุงเทวทหะมาอภิเษกกับเจ้าชายสิทธัตถะ
ในพระราชพิธีอภิเษกสมรสของ พระนางยโสธรา ได้มีการทดลองพละกำลังและสติปัญญาระหว่างเจ้าชายทั้งหลาย ในการประลองครั้งนี้เจ้าชาย
สิทธัตถะได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เป็นผู้ที่มีความสามารถเหนือเจ้าชายอื่นๆ ไม่มีผู้ใดเทียบได้ในการใช้กระบี่บนหลังม้า
พระองค์ทรงมีความสามารถใน ลักษาเวทะ คือสามารถยิงถูกเป้าหมายอย่างแม่นยำ โดยใช้ สิงห์ธนู ซึ่งไม่ต้องโก่งธนูให้เชือกตึง
และพระนางยโสธราทรงคล้องพวงมาลัยที่พระศอของเจ้าชายสิทธัตถะผู้ได้รับชัยชนะด้วยความภูมิพระทัย
พิธีอภิเษกสมรสได้จัดขึ้นหลังจากผ่านข้อแม้ต่างๆ อย่างสมพระเกียรติ และเจ้าชายสิทธัตถะทรงอยู่กับ พระนางยโสธราอย่างมีความสุข
จนกระทั่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมายุ ๒๙ ชันษา พระนางยโสธราก็ทรงพระครรภ์
เทวทูต ๔
พระเจ้าสุทโธทนะได้จัดให้พระราชกุมารอยู่บนพระราชวังที่ใหญ่โต ปราศจากคนสูงอายุหรือคนป่วยที่นั่น ไม่มีการพูดถึงเรื่องเศร้า
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะเกิดความเบื่อหน่ายในการครองเรือน วันหนึ่งเจ้าชาย สิทธัตถะมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จประพาสอุทยาน
ขณะที่ประทับราชรถไประหว่างทางได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ ผมหงอก ถือไม้เท้าเดินสวนมาทำให้ทรงรู้สึกเศร้าสลดหดหู่
วันต่อมาพระองค์ก็เสด็จประพาสอุทยานเป็นครั้งที่ ๒ ครั้งนี้ได้ทอดพระเนตรเห็นคนเจ็บที่ร่างกายเต็มไปด้วยแผลเน่าเปื่อย ร้องครวญครางอยู่ข้างถนน
เป็นที่น่าเวทนาและ พระองค์ได้ช่วยพยุงคนเจ็บให้ลุกขึ้น
อีก ๑๕ วัน ต่อมาเสด็จเลียบพระนครเป็นครั้งที่ ๓ โดยราชรถก็ทอดพระเนตรเห็นคนตายถูกหามไปยังป่าช้า มีญาติเดินร้องรำพันด้วยความอาลัยรัก
ครั้นเสด็จออกไปเป็นครั้งที่ ๔ ก็ทรงพบกับนักบวชนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ (ผ้าย้อมฝาด) มีกิริยาน่าเลื่อมใส
เสด็จหนีบรรพชา
การที่เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็น เทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช
ทำให้ทรงตระหนักว่าทุกคนจะต้องแก่ชราและมีโรคภัยไข้เจ็บมาทำลายความสวยความงาม บั่นทอนพละกำลังและร่างกายทุกคน
จะต้องตายในวันใดวันหนึ่งไม่มีผู้ใดสามารถหลีกเลี่ยงได้ อันเป็นความทุกข์กังวลอย่างใหญ่หลวงของมนุษย์
เมื่อความจริงประจักษ์แก่พระองค์ พระองค์ทรงรู้สึกตัดขาดจากความเพลิดเพลินในทางโลกอย่างสิ้นเชิง ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่
ที่จะเสด็จออกบวชเพื่อหาหนทางพ้นจากความทุกข์ ทำอย่างไรถึงจะบรรลุอมตธรรม จากวันนั้นเป็นต้นไป พระองค์ ทรงยึดในความคิดนั้นเพียงอย่างเดียว
และในคืนวันหนึ่ง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเสด็จออกจากพระราชวัง โดย พระองค์เสด็จเยี่ยมพระนางยโสธรากับพระราชโอรสซึ่งกำลังบรรทมหลับอยู่
แม้จะทรงอาลัยแต่ก็หักพระทัยทิ้ง พระนางยโสธราและพระราชโอรสที่เพิ่งประสูติใหม่ชื่อ ราหุล ไว้เบื้องหลัง เสด็จออกมาทรง ม้ากัณฐกะ
หนีออกจากพระนครพร้อมกับนายฉันนะ
ทรงตัดพระโมฬี
เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะมาจนกระทั่งใกล้รุ่ง ก็เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมาจึงเสด็จลงจากหลังม้า ทรงใช้ พระขรรค์ตัดพระโมฬี (จุก)
ออกเหลือเส้นพระเกศายาวประมาณ ๒ องคุลี (๑ องคุลีจะเท่ากับข้อปลายของนิ้วกลาง) ม้วนไปทางขวาเป็นวงกลมซึ่ง
พระเกศาไม่มีการยาวออกมาอีกจนกระทั่งพระองค์ปรินิพพานแล้วเปลี่ยน ฉลองพระองค์ เป็นนักบวช จากนั้นทรงอธิษฐานขอบรรพชาเป็นนักบวช
จากนั้นพระองค์ทรงรับสั่งให้นายฉันนะนำม้ากัณฐกะ และฉลองพระองค์ (เสื้อผ้า) เดิมของพระองค์กลับพระนคร เพื่อไปถวายพระเจ้าสุทโธทนะที่พระราชวัง
((( โปรดติดตาม ตอนต่อไป )))
webmaster - 25/7/14 at 16:00
.
webmaster - 18/5/18 at 07:59
.