นิทานชาดก (เรื่องที่ 46) กัณหชาดก - ชาดกว่าด้วย "ผู้เอาการเอางาน"
webmaster - 14/5/11 at 10:39
...นิทานชาดกนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ "พระพุทธเจ้า" ขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ได้บำเพ็ญพระบารมีมาในแต่ละชาติ จะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น
แล้วได้ตรัสเล่าบุพกรรมเหล่านี้ ซึ่งมีมาในพระไตรปิฎกมากมายหลายเรื่อง
ในตอนนี้ จะขอนำการ์ตูนเรื่องที่ 46 มีชื่อว่า "กัณหชาดก" (อ่าน..กัณหะชาดก) เป็นเรื่องของ "ผู้เอาการเอางาน" โดยพระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น
"พญาโค" จึงขออนุโมทนา youtube.com ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
.....This story is a fable about "Buddha" While still a Bodhisat. He has to perform the prestige of each nation. Is a true story that occurred.
Then spoke told these deeds. Which in many Tripitaka on. At this will be cartoon chapters No.46 called "Kanha Jataka" The come into the
Buddha "Ox Paya"
กัณหชาดก : ชาดกว่าด้วย "ผู้เอาการเอางาน"
มูลเหตุที่ตรัสชาดก
...... พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภยมกปาฏิหาริย์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้
ว่า
...."ยมกปาฏิหาริย์" นั้น พร้อมกับการเสด็จลงจากเทวโลก จักมีแจ้งใน สรภชาดก เตรสนิบาต
ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์แล้วเสด็จอยู่ในเทวโลก
ในวันมหาปวารณา เสด็จลงที่ประตูเมืองสังกัสสะ แล้วเสด็จเข้าไปยังพระเชตวันมหาวิหารพร้อมด้วยบริวารใหญ่
ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในโรงธรรมสภานั่งกล่าวถึงพระคุณของพระศาสดาว่า
อาวุโสทั้งหลาย ชื่อว่าพระตถาคต มีธุระไม่มีผู้เสมอ คนอื่นชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะนำเอาธุระที่พระตถาคตนำไปแล้ว ย่อมไม่มี ครูทั้ง ๖ กล่าวว่า
พวกเราเท่านั้น จักกระทำปาฏิหาริย์ พวกเราเท่านั้นจักกระทำปาฏิหาริย์ แม้ปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง ก็ไม่ได้ทำ น่าอัศจรรย์ พระศาสดาทรงมีธุระไม่มีผู้เสมอ
พระศาสดาเสด็จมา แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่อง อะไรหนอ ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอื่น หามิได้
นั่งสนทนากันด้วยเรื่องพระคุณเฉพาะของพระองค์ชื่อเห็นปานนี้
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ จักนำ ไปซึ่งธุระที่เรานำไปแล้ว ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน เราแม้บังเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน
ก็ไม่ได้ใคร ๆ ผู้มีธุระเสมอกับตน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาแสดง ดังต่อไปนี้...
เนื้อความของชาดก
.....ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดโค
ครั้นในเวลาที่ยังเป็นลูกโคหนุ่มนั่นแล เจ้าของทั้งหลายอาศัยอยู่ในเรือนของหญิงแก่คนหนึ่ง
ครั้นเมื่อหญิงแก่นั้นกำหนดค่าเช่าที่อยู่อาศัยจึงได้ให้ลูกโคนั้นเป็นค่าเช่า
หญิงแก่นั้นปฏิบัติลูกโคหนุ่มนั้นด้วยข้าวยาคูและภัตเป็นต้น ตั้งไว้ในฐานะบุตร เลี้ยงดูให้เติบโตแล้ว ลูกโคนั้นปรากฏชื่อว่า "อัยยิกากาฬกะ"
ครั้นเมื่อโคนั้นเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีสีเหมือนดอกอัญชัน เที่ยวไปกับโคบ้าน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ พวกเด็กชาวบ้านจับที่เขาบ้าง ที่หูบ้าง
ที่คอบ้าง โหนกบ้าง จับที่หางเล่นบ้าง ดึงมาบ้าง นั่งบนหลังบ้าง
วันหนึ่ง โคนั้นคิดว่า มารดาของเรายากจน ตั้งเราไว้ในฐานเป็นบุตร เลี้ยงดูมาโดยลำบาก ถ้ากระไร เราทำการรับจ้าง ปลดเปลื้องมารดานี้ ให้พ้นจากความยากจน
จำเดิมแต่นั้น โคนั้นเที่ยวทำการรับจ้าง.
อยู่มาวันหนึ่ง บุตรพ่อค้าเกวียนคนหนึ่งมีเกวียน ๕๐๐ เล่มเดินทางไปพบกับท่าที่ไม่ราบเรียบ โคทั้งหลายของพ่อค้าเกวียนนั้น
ไม่สามารถจะทำให้เกวียนทั้งหลายข้ามขึ้นไปได้
โคทั้งหลายในเกวียน ๕๐๐ เล่มที่เจ้าของเอาแอกมาเทียมต่อ ๆ กัน ก็ไม่อาจทำให้เกวียนแม้เล่มเดียวข้ามขึ้นไปได้
ฝ่ายพระโพธิสัตว์กับพวกโคชาวบ้าน เที่ยวไป ณ ที่ใกล้ท่า ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียนเป็นผู้รู้เรื่องเกี่ยวกับโคเป็นอันดี เขาใคร่ครวญอยู่ว่า
ในระหว่างโคเหล่านี้ โคอุสภอาชาไนย ผู้สามารถยังเกวียนเหล่านี้ให้ข้ามพ้น มีอยู่หรือหนอ ได้เห็นพระโพธิสัตว์แล้ว คิดว่า นี้คือโคอาชาไนย
จักสามารถทำเกวียนทั้งหลายของเราให้ข้ามพ้นได้ ใครหนอ เป็นเจ้าของโคตัวนี้
จึงถามพวกคนเลี้ยงโคว่า ท่านผู้เจริญ ใครหนอเป็นเจ้าของโคตัวนี้ เราจักเทียมโคนี้ในเกวียนทั้งหลาย เมื่อโคนี้สามารถทำให้เกวียนทั้งหลายให้ข้ามขึ้นได้
ฉันก็จักให้ค่าจ้าง
พวกคนเลี้ยงโคเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงจับมันเทียมเถิด เจ้าของโคตัวนี้ ในที่นี้ไม่มี
บุตรพ่อค้าเกวียนนั้นจึงเอาเชือกผูกพระโพธิสัตว์นั้นที่จมูกแล้วดึง แต่ก็ไม่อาจแม้จะให้โคนั้นเคลื่อนไหวได้
ได้ยินว่าพระโพธิสัตว์ไม่ได้ไปด้วยคิดว่า เมื่อบอกค่าจ้างเราจักไป บุตรพ่อค้าเกวียน รู้ความประสงค์ของพระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวว่า
นาย เมื่อท่านให้เกวียน ๕๐๐ เล่ม ข้ามขึ้นแล้ว เราจักเก็บเกวียนละ ๒ กหาปณะให้เป็นค่าจ้าง แล้วจักให้ ๑,๐๐๐ กหาปณะ
ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เดินไปเองทีเดียว ลำดับนั้น บุรุษทั้งหลายจึงเทียมพระโพธิสัตว์นั้นที่เกวียนทั้งหลาย ทีนั้น พระโพธิสัตว์
ยกเกวียนนั้นขึ้นโดยกำลังแรงครั้งเดียวเท่านั้นก็สามารถทำให้เกวียนนั้นไปตั้งอยู่บนบก
พระโพธิสัตว์ได้ทำให้เกวียนทั้งหมดข้ามขึ้นโดยลักษณะนี้ บุตรพ่อค้าเกวียนเก็บหนึ่งกหาปณะต่อเกวียนหนึ่งเล่ม แล้วกระทำทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะให้เป็นห่อ
แล้วผูกที่คอของพระโพธิสัตว์นั้น
พระโพธิสัตว์นั้นคิดว่า บุตรพ่อค้าเกวียนนี้ไม่ให้ค่าจ้างแก่เราตามที่กำหนดไว้ เราจักไม่ให้บุตรพ่อเกวียนนั้นไป จึงได้ไปยืนขวางทางข้างหน้าเกวียนเล่มแรกสุด
คนทั้งหลายแม้จะพยายามเพื่อให้หลีกไป ก็ไม่สามารถจะทำให้พระโพธิสัตว์นั้นหลีกไปได้ บุตรพ่อค้าเกวียนคิดว่า
โคนี้เห็นจะรู้ว่าค่าจ้างของตนขาดไป จึงเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะทำให้เป็นห่อแล้วคล้องที่คอ โดยกล่าวว่า นี้เป็นค่าจ้างในการทำเกวียนให้ข้ามขึ้นของท่าน
พระโพธิสัตว์นั้นพาเอาห่อทรัพย์พันหนึ่งได้ไปยังสำนักของมารดา พวกเด็กชาวบ้านได้ไปยังที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ ด้วยอยากรู้ว่า
อะไรอยู่ที่คอของโคอัยยิกากาฬกะ
พระโพธิสัตว์นั้นถูกเด็กชาวบ้านติดตามจึงหนีไปไกล ได้ไปยังที่อยู่ของมารดา และก็เนื่องจากได้ออกกำลังลากเกวียน ๕๐๐ เล่มให้ข้ามขึ้นจากหล่ม
จึงเป็นผู้มีตาทั้งสองข้างแดงด้วยความเหน็ดเหนื่อย
ยายเห็นถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ที่คอของพระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวว่า พ่อ...ทรัพย์นี้เจ้าได้มาจากที่ไหน แล้วถามเรื่องราวจากพวกเด็กชาวบ้าน
ครั้นได้ฟังเนื้อความนั้นแล้วด้วยความสงสารพระโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า พ่อ..เราต้องการเลี้ยงชีวิตด้วยค่าจ้างที่เจ้าได้มาหรือ
เพราะเหตุไรเจ้าจึงต้องได้รับทุกข์เห็นปานนี้
จึงให้พระโพธิสัตว์อาบน้ำอุ่น เอาน้ำมันทาทั่วร่างกาย ให้ดื่มน้ำ ให้บริโภคโภชนะอันเป็นสัปปายะ ในเวลาสิ้นชีวิต ได้ไปตามยถากรรมพร้อมกับพระโพธิสัตว์
ฝ่ายพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้มีธุระไม่สมํ่าเสมอ ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้มีธุระไม่สมํ่าเสมอเหมือนกัน.
ประชุมชาดก
ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า หญิงแก่ในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณา ส่วนโคอัยยิกากาฬกะได้เป็นเราแล.
ที่มา - dharma-gateway.com
ข้อคิดจากชาดก
.....๑. ลักษณะเด่นของผู้นำคือ ต้องลงมือทำด้วยตนเอง ควรต้องทำเป็นตัวอย่าง เพื่อไว้ฝีมือให้ลูกน้องเกิดศรัทธาในความรู้ความสามารถ
จะได้เกิดกำลังใจทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
.....๒. ใครที่เป็นผู้ใหญ่ เมื่อรับปากเด็กแล้ว อย่ากลับกลอกบิดพริ้วเป็นอันขาด
.....๓. ความกตัญญูกตเวที เป็นคุณธรรมที่เป็นพื้นฐานของคนมีความรับผิดชอบ
.....๔. การรับคนเข้าทำงาน ถ้าต้องการจะให้ได้คนดีจริง มีความรับผิดชอบสูง ควรเลือกจากผู้ที่ความความกตัญญูต่อพ่อแม่ และเว้นจากอบายมุขโดยเด็ดขาด
ที่มา - kalyanamitra.org