ตามรอยพระพุทธบาท

ข่าวดี..ค้นพบว่า "ต้นมะรุม" เป็นยา "ลดไขมันป้องกันมะเร็ง" ได้
webmaster - 6/7/08 at 14:48

เมื่อวันก่อนได้ทราบข่าวว่า หลวงพ่ออนันต์กลับมาจากอเมริกาได้เล่าว่า มีฝรั่งที่รัฐฟอร์ลิดา สหรัฐอเมริกา นิยมปลูกต้นมะรุมกันที่หน้าบ้านแทบทุกบ้าน เพราะรู้ว่าเป็นตัวยารักษาโรคมะเร็งได้ ด้วยเหตุนี้ จึงได้พบว่าแพทย์ไทยก็รู้เรื่องนี้มาก่อนเช่นกัน คือ รศ.ดร.สุธาทิพย์ ภมรประวัติ ได้บันทึกไว้ในหัวข้อว่า...

มะรุมลดไขมันป้องกันมะเร็ง


........"มะรุม" เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ

........ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก “ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม” ภาคเหนือเรียก “มะค้อมก้อน” ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง” ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก “ผักเนื้อไก่” เป็นต้น

........มะรุมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย

........มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบเป็นแบบขนนกคล้ายกับใยมะขามออกเรียงแบบสลับ ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว ดอกมี 5 กลีบ

.......ฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เป็นที่มาของชื่อต้นไม้ตีกลองในภาษาอังกฤษ (Drumstick Tree) เปลือกฝักอ่อนสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก เปลือกฝักแก่มีสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มลักษณะกลมมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดแก่สามารถบีบน้ำมันออกมากินได้

มะรุมเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1-5 ต้น เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา

คนไทยทุกภาคนิยมนำฝักมะรุมไปทำแกงส้ม ด้วยการปอกเปลือกหั่นฝักมะรุมเป็นชิ้นยาวพอคำ ถือว่าเป็นผักที่ทำแกงส้มคู่กับปลาช่อนอร่อยที่สุด จะต่างกันก็ในรายละเอียดของแกงตามแบบอย่างของแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น แม้แต่ทางใต้ก็นิยมนำมะรุมมาทำแกงส้มปลาช่อน โดยจะใช้ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสันของน้ำแกง ปรุงรสเปรี้ยวด้วยการใส่ส้มแขกแทนน้ำมะขาม และหั่นปลาช่อนเป็นแว่นใหญ่ไม่โขลกเนื้อปลากับเครื่องแกง

ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้ทให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้

ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง “ผงนัว” กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก

คุณค่าทางอาหารของมะรุม

มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค

ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน

นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ

วิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า

วิตามินซีช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม

แคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด

โพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย

ใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย

น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก

ประเทศอินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แต่ที่ประเทศที่ฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบมะรุม (ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก “มาลังเก”) เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย

ชะลอความแก่

กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย

ฆ่าจุลินทรีย์

สานเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู

ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

การป้องกันมะเร็ง

สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล

จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก

ใบมะรุม 100 กรัม
(คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)

พลังงาน           26 แคลอรี
โปรตีน             6.7 กรัม (2 เท่าของนม)
ไขมัน               0.1 กรัม
ใยอาหาร           4.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต     3.7 กรัม
วิตามินเอ           6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี           220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน           110 ไมโครกรัม
แคลเซียม         440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส         110 มิลลิกรัม
เหล็ก               0.18 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม       28 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม       259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)


พบว่าทั้งกลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลงทั้ง 2 กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และท่อเลือดแดง (เอออร์ตา)

กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด

กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย

ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอรอลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง

สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

ฤทธิ์ป้องกันตับ

งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหายโดยยาไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤืธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรสอะลานีนทรานมิโนทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสและบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตัวจากยาเหล่านี้

ผลิตภัณฑ์มะรุมของต่างประเทศจะอ้างฤทธิ์รักษามากมายทั้งที่ยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แค่ฤทธิ์ที่พิสูจน์ได้นี้ก็คงเพียงพอแล้วที่คุณจะเพิ่มใบห รือฝักมะรุมในรายการอาหารของคุณมื้อกลางวันนี้


[ที่มา..นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550]


webmaster - 5/9/08 at 23:25

[Update 5 ก.ย. 2551]

สรุปประโยชน์ของมะรุม


1.ใช้บำบัดโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี

2.ใช้บำบัดผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุม ได้

3.ใช้บำบัดโรคความดันโลหิตสูง และ บำบัดภาวะไขมันในเส้นเลือดผิดปกติ

4.ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อ HIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆไป สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง

5.ช่วยบำบัดผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การบำบัดโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา

6.ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็น โรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้น และมีร่างกายที่แข็งแรง

7.ช่วยบำบัดโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม

8.บำบัดโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น ถ้ารับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์

9.บำบัดโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้

10.บำรุงปอดให้แข็งแรง บำบัดโรคทางเดินหายใจ โรคปอด และโรคภูมิแพ้

11.เป็นยาปฏิชีวนะ


(ข้อควรระวัง ในคนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทาน)

เอกสารอ้างอิง: Nature’s Medicine Cabinet by Sanford Holst
The Miracle Tree by Lowell Fuglie
LA times March 27th 2000 article wrote by Mark Fritz. WWW.PUBMED.GOV. (Search for Moringa) (Antiviral Research Volume 60, Issue 3, Nov. 2003, Pages 175-180: Depts. of Microbiology, Pharmaceutical Botany, Pharmacology, Faculty of Pharmaceutical Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand. Corresponding author. Tel.: +66-2-218-8378; fax +66-2-254-5195)


น้ำมันมะรุม

สรรพคุณ..ใช้หยอดจมูกบำบัดโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู บำบัดอาการเยื่อบุหูอักเสบ บำบัดโรคหูน้ำหนวก ใช้ทาผิวหนังบำบัดโรคผิวหนังจากเชื้อราและเชื้อไวรัส บำบัดโรคเริม งูสวัด บำบัดและบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ทาบำบัดแผลสด หูด ตาปลา ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้อ บำบัดโรคไขข้ออักเสบ เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น


webmaster - 12/12/08 at 16:20

(Update 12/12/08)

ลดโรคอ้วนด้วยมะรุม



........ดังที่เคยบอกแล้วว่า "พุงโต" ร้ายกาจยิ่งกว่าความอ้วน บางคนดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือน้ำหนักไม่มากเมื่อเทียบกับส่วนสูง แต่ถ้ามีพุงโตเกินพิกัด คือผู้ชายเกิน 90 ซม (หรือ 40 นิ้ว) ผู้หญิงเกิน 80 ซม.(หรือ 35 นิ้ว) ก็ต้องระวังสุขภาพไว้ให้ดี

........เพราะสถาบันศึกษาความสูงอายุแห่งชาติ แห่งสหรัฐอเมริกา ยังยืนยันว่า ภาวะพุงโต (ซึ่งอาจจะมีน้ำหนักไม่มากก็ได้) เป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้อายุเฉลี่ยสั้นกว่าคนพุงเล็ก พูดง่ายๆ ว่าคนน้ำหนักตัวเท่ากัน คนพุงโตตายเร็วกว่า

สถาบันแห่งนี้ได้ติดตามศึกษาวิจัยชาย-หญิงอเมริกันที่มีอายุระหว่าง 51-72 ปี จำนวน 250,000 คน เป็นเวลานานถึง 9 ปี เพื่อหาความสัมพันธ์ของไขมันที่พุง ดัชนีมวลกายและอัตราการเสียชีวิต

พบว่าพวกที่พุงโตพากันเสียชีวิตลงในช่วงระหว่างการศึกษา มากกว่าเพื่อนฝูงที่ขนาดพุงเล็กกว่าถึงร้อยละ 22 ทั้งนี้ทางสถาบันได้ใช้เกณฑ์วัดรอบพุงตามมาตรฐานที่องค์การอนาม ัยโลกกำหนดไว้ คือผู้ชายไม่เกิน 40 นิ้ว ผู้หญิงไม่เกิน 35 นิ้วดังกล่าวแล้ว

มีพืชผักไทยชนิดหนึ่งซึ่งกำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันมากคือมะรุม นอกจากขึ้นชื่อในด้านที่มีคุณค่าทางอาหารสูงแล้ว ยังมีฤทธิ์ลดไขมันในร่างกายและลดคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย คุณค่าทางโภชนาการของมะรุมที่พบจากงานวิจัยคือ

มีวิตามินเอมากกว่าแครอตถึง 3 เท่า
มีวิตามินซีมากกว่าส้มถึง 7 เท่า
มีโปแตสเซี่ยมที่ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
ที่สำคัญคือมะรุม อุดมด้วยแคลเซี่ยมบำรุงกระดูกมากกว่า 3 เท่าของนมสด มีใยอาหารสูงแต่แคลอรี่จากคาร์โบไฮเดรตไม่มากนักเหมาะสำหรับเป็ นอาหารลดน้ำหนัก

.......ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุม เพื่อบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา แก้โรคปากนกกระจอก หอบหืด ปวดหู ปวดศีรษะ ช่วยระบาย บำรุงตับ

........ชาวอินเดีย ศรีลังกา จะให้ผู้หญิงมีครรภ์กินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แคลเซี่ยม และให้ผู้หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กินใบมะรุม นอกจากช่วยเสริมธาตุอาหารแล้ว ยังช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมปริมาณมากพอที่จะเลี้ยงทารกด้วย

........อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้นตำหรับของมะรุม เพราะคำว่า “มะรุม” ในภาษาไทยแผลงมาจากคำว่า “มารุง” ในภาษาดั้งเดิมของชนชาติอินเดียใต้นั่นเอง คนไทยไม่ค่อยรู้จักกินใบมะรุม รู้จักกินแต่ฝักโดยเอามาปรุงเป็นแกงส้มผักมะรุมปลาช่อน

........สำหรับคุณค่าทางยาของมะรุมนั้นมีสาระสำคัญที่ชื่อไนอาซิไมซิน (Niazimicin) ต้านการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งตับได้

ในส่วนฤทธิ์ลดความอ้วนนั้น ชาวอินเดียรู้จักใช้ใบและฝักมะรุมลดไขมันกันมาแต่โบร่ำโบราณแล้ ว กระทั่งมีการวิจัยกันในสัตว์ทดลอง เช่นหนูและกระต่ายโดยให้สัตว์ทดลองที่ถูกขุนจนอ้วนพี กินสารสกัดจากใบและฝักมะรุม พบว่ามีการขับไขมันและคอเลสเตอรอลในอุจจาระของสัตว์ทดลองเพิ่มเ ป็นจำนวนมาก ยิ่งกว่านั้นปริมาณไขมันที่พอกตับและไตของสัตว์ทดลองจะลดลงด้วย ช่วยฟื้นสมรรถภาพของตับและไตให้ดีขึ้น สัตว์ทดลองมีน้ำหนักลดลง และมีอายุยืนยาวมากขึ้น

มะรุมจึงเป็นอาหารและยาทางเลือกอีกตัวหนึ่ง ที่ควรหามารับประทานกัน เพราะมีวิตามิน แร่ธาตุครบถ้วน ซ้ำยังมีใยอาหารสูง สามารถบริโภคเพื่อลดน้ำหนักตัวได้โดยไม่ขาดสารอาหาร วิตามิน และ แร่ธาตุที่สำคัญ แถมเมล็ดมะรุมมีคุณค่าไขมันไม่อ่มตัวเหมือนน้ำมันมะกอกอีกด้วย

วิธีบริโภคฝักมะรุมแบบใหม่โดยไม่ต้องนำมาทำแกงส้มให้ยุ่งยากคือ หาฝักมะรุมตามตลาดสดทั่วไป รับประทานวันละ 1-2 กิโลกรัมก็ได้ เมื่อได้ฝักมะรุมมาแล้วก็ทำการฝานเปลือกเขียวบางๆ ออกไป เหลือผิวในหุ้มเมล็ดสีขาวจั๊ว ระวังถ้าฝานเปลือกออกหนาเกินไปจะเสียของ

จากนั้นจึงนำมาหั่นเป็นท่อนๆ ความยาวท่อนละ 1 นิ้วนำไปนึ่งให้สุกดี (หากใช้วิธีต้มต้องรับประทานทั้งเนื้อและน้ำผักด้วย) จากนั้นจะนำมาจิ้มน้ำพริก หรือน้ำปลาพริก ทานกับข้าวก็ได้

ก็ไปทำความรู้จักกับฝักมะรุมตามตลาดสด ดูแล้วซื้อหามานึ่งรับประทาน เพื่อสุขภาพ และควบคุมน้ำหนัก ฝักมะรุมเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน ซื้อมาตุนไว้คราวละ 2-3 กิโลกรัมก็ได้ เอามารับประทานอย่างน้อยวันละ ครึ่งกิโลกรัม รับรองเดือนหนึ่งจะได้หุ้นเพรียวลมสมใจแน่นอน

โดย : สันติสุข โสภณสิริ
ที่มา : www.praphansarn.com