ตามรอยพระพุทธบาท

การเลี้ยงโคนมและผลิตภัณฑ์ฯ โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา
webmaster - 8/9/08 at 10:11



สารบัญ

(เลือก "คลิก" อ่านได้แต่ละตอน)


•
ไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009 / 40 เครื่องสำอางปนสารอันตราย
• มะเร็งปากมดลูกคร่าชีวิตอดีตดารา "บิ๊กบราเธอร์"
• อย.แนะบริโภคอาหารริมทางควรดูสภาพแวดล้อมไร้ฝุ่น สัตว์นำโรค
• ภาพข่าวกระแส.."ข้าวกล้องงอก" มาแรง
• สธ.เตือนเบาหวาน อย่าลองสมุนไพรลดน้ำตาล - ชี้เสี่ยงตาบอดถึง 25 เท่า
• รักษาเบาหวานตามศาสตร์จีน
• สมาพันธ์โรคเบาหวานสากล
• โรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปาก
• อัตราการตายจำแนกตามสาเหตุการตายตามกลุ่มโรคและเพศ ปี พ.ศ.2541



(Update 26/05/52)

โครงการเกษตรสาธิตฯ

New..รายการพิเศษ
ไม่ธรรมดา - โครงการเกษตรสาธิตฯ - การเลี้ยงโคนมและผลิตภัณฑ์ฯ โครงการส่วนพระองค์ฯสวนจิตรลดา, ไอเดียนาข้าวกับห้องพักใน รีสอร์ท La a natu, แนะนำเมนูอาหารเกาหลี-ญี่ปุ่น ร้านโซล, พาชมฟาร์มเลี้ยงโคขุนโพนยางคำ จ.สกลนคร
ออกอากาศเมื่อ : 2009-05-11



(Update 12/05/52)

วันพืชมงคล 11 พฤษภาคม 2552


รายการพิเศษ
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2552 ณ มณฑลพิธีสนามหลวง

ออกอากาศเมื่อ : 2009-05-11

พระโคกินงา - หญ้า ทายว่าอาหารน้ำสมบูรณ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ แทนพระองค์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ “จรัลธาดา กรรณสูต” ทำหน้าที่พระยาแรกนา พระโคแรกนาได้แก่ “ฟ้า-ใส” ปีนี้พระโคกินงาทายว่าผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี และพระโคกินหญ้าทายว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอควร

เมื่อเวลา 08.30 น.วันที่ 11 พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ พลับพลาท้องสนามหลวง ระหว่างเวลาพระฤกษ์ 8 นาฬิกา 09 นาที ถึงเวลา 8 นาฬิกา 49 นาที

นายจรัลธาดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งทำหน้าที่พระยาแรกนา ได้ยาตราพร้อมด้วยเทพีคู่หาบทอง ได้แก่ น.ส.สุภกัญญา กาญจนะคูหะ เศรษฐกรชำนาญการ ศูนย์ประเมินผล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร น.ส.รำพึง ปราบหงส์ เจ้าพนักงานพัสดุชำนาญงาน กองพัสดุ กรมชลประทาน และเทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ น.ส.สุนี รู้สุกิจกุล เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม น.ส.ณุทนาถ โคตรพรหม นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติงาน กรมปศุสัตว์

ออกจากโรงพิธีพราหมณ์ มีราชบัณฑิตและพราหมณ์นำผ่านพลับพลาหน้าพระที่นั่ง พระยาแรกนาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทถวายบังคมแล้วไปยังลานแรกนา เจ้าพนักงานจูงพระโคเทียมแอก อันได้แก่พระโคฟ้า และพระโคใส พระยาแรกนาเจิม พระโคและไถ แล้วจึงไถดะไปโดยรี 3 รอบ โดยขวาง 3 รอบ หว่านธัญพืช โหรลั่นฆ้องชัย แล้วไถกลบอีก 3 รอบ เพื่อกลบเมล็ดธัญพืชลงในดินเสร็จแล้ว

เจ้าพนักงานปลดพระโคออกจากแอก พระยาแรกนาและ เทพีกลับไปยังโรงพิธีพราหมณ์ พราหมณ์เสี่ยงของกิน 7 สิ่ง ตั้งเลี้ยงพระโค โดยนายยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ กราบบังคมทูลผลการเสี่ยงทายของพระยาแรกนา โดยโหรหลวงพยากรณ์ว่า พระยาแรกนาเสี่ยงทายผ้านุ่งประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ดังนี้

เสี่ยงผ้านุ่งปีนี้ พยากรณ์ว่า น้ำสำหรับปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ ผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี และการเสี่ยงทายพระโคกินเลี้ยง ปีนี้พระโคกินงา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี กินหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอควร พร้อมด้วยธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร อุดมสมบูรณ์ดี เสร็จแล้วสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินกลับ

สำหรับเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2552 ได้แก่

1.อาชีพทำนา ได้แก่ นายดิลก พวงภู่ จาก จ.ชลบุรี
2.อาชีพทำสวน ได้แก่ นายสุนทร สมาธิมงคล จาก จ.อ่างทอง
3.อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายสมพงษ์ วรรณวินัย จาก จ.ชัยภูมิ
4.อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นายไม ไกรสุทธิ์ จาก จ.ตรัง
5.อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายเชาวรัตน์ อ่ำโพธิ์ จาก จ.สระบุรี
6.อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายสุพงษ์ วรวงษ์ จาก จ.ขอนแก่น
7.อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายจิตติ อินทรเจริญ จาก จ.ภูเก็ต
8.อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายทวน บุญส่งแท้ จาก จ.พิษณุโลก
9.อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายอธิสรรค์ พุ่มชูศรี จาก จ.เพชรบุรี
10.สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ น.ส.ประทุม สุริยา จาก จ.เชียงใหม่
11.สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายทำนนท์ แซ่ลี้ จาก จ.ชลบุรี
12.สาขาการใช้วิชาการเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่ นางวาสนา สุขพิงค์ จาก จ.สระบุรี
13.ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายดง บุราณเดช จาก จ.อุดรธานี
14.สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ ด.ญ.อัญชนา แพงศรี จาก จ.จันทบุรี


สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552 มีดังนี้

1.กลุ่มเกษตรกรทำนา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนาท้ายตลาด ต.ท้ายตลาด อ.เมืองลพบุรี
2.กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ ต.ธารน้ำทิพย์ อ.เบตง จ.ยะลา
3.กลุ่มเกษตรกรทำไร่ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำไร่โป่งน้ำร้อน ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
4.กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ต.คอรุม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์
5.กลุ่มเกษตรกรทำประมง ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำประมงบ้านอ่างยาง ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
6.กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ กลุ่มสตรีเพื่อการส่งเสริมอาชีพบ้านโคกไคร ต.มะรุ่ย อ.ทับปุด จ.พังงา
7.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโนนยาง ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร
8.กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 37 อ.เขาพนม จังหวัดกระบี่
9.กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านแร่ ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร
10.สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำอ่างเก็บน้ำพระปรง ต.ช่องกุ่ม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
11.ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านกันโจรง ต.กระหาด อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ 12.ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวอื่นๆ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ต.หัวนาคำ อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี


สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552 มีดังนี้

1.สหกรณ์การเกษตรทั่วไป ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรพนมวังก์ จำกัด ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
2.สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมในเขตปฏิรูปที่ดินลำพญากลาง จำกัด ต.ลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
3.สหกรณ์นิคม ได้แก่ สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด ต.คีรีวง อ.ปลายพระยา จ.กระบี่
4.สหกรณ์ผู้ใช้น้ำ ได้แก่ สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านท้ายวัดพญาปันแดน จำกัด ต.พญาแมน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์
5.สหกรณ์ผู้ผลิตยางพารา ได้แก่ สหกรณ์กองทุนสวนยางควนหมากพัฒนา จำกัด ต.วังใหญ่ อ.เทพา จ.สงขลา
6.สหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วไป ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลราชวิถี จำกัด แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม.
7.สหกรณ์ร้านค้า ได้แก่ ร้านสหกรณ์สิงห์บุรี จำกัด ต.บางพุทรา อ.เมืองสิงห์บุรี


ที่มา - คมชัดลึก


webmaster - 25/2/09 at 15:13




(Update 30/04/52)

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ กำลังแพร่ระบาดไปทั่วสหรัฐ


วอชิงตัน 30 เม.ย.- ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ กำลังแพร่ระบาดไปทั่วสหรัฐ โดยพบกรณีผู้ติดเชื้อใหม่ในอีก 4 รัฐ และจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วสหรัฐ เพิ่มขึ้นอีกจาก 65 คน เป็น 91 คนแล้ว

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (ซีดีซี) กล่าวว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 6 คน ในรัฐแอริโซนา แมสซาชูเซตส์ มิชิแกน และเนวาดา ทำให้จำนวนรัฐที่พบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นจากเดิม 6 รัฐเป็น 11 รัฐ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบกรณีต้องสงสัยในผู้ป่วยอีก 9 รายในรัฐอิลลินอยส์ และอีก 6 รายในรัฐแมริแลนด์

รายงานแจ้งว่า มีผู้ติดเชื้อ 5 คนถูกนำตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล ในจำนวนนี้รวมเด็กทารกชาวเม็กซิกันที่เพิ่งเสียชีวิต นายริชาร์ด เบสเซอร์ ผู้อำนวยการซีดีซี คาดว่า จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก

ทางด้านรัฐนิวยอร์กยังคงพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มากที่สุดนอกประเทศเม็กซิโก โดยยืนยันว่ามีผู้ติดเชื้อนี้ 51 คน ตามมาด้วยรัฐเทกซัส 16 คน และรัฐแคลิฟอร์เนีย 14 คน.[/color]

ที่มา - -สำนักข่าวไทย อัพเดตเมื่อ 2009-04-30 07:21:31



กทม.เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก

กรุงเทพฯ 29 เม.ย.- กทม.ประชุมเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก” เน้นจุดที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติอาศัยจำนวนมาก เช่น ย่านสุขุมวิท ตรอกข้าวสาร หากพบนักท่องเที่ยวมีอาการเข้าข่าย รีบแจ้งศูนย์ปฏิบัติการฯ ขณะเดียวกันประสานเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ให้คนขับรถแท็กซี่สวมหน้ากากป้องกัน หลังประเมินเป็นกลุ่มเสี่ยงในการรับผู้โดยสารชาวต่างชาติ

พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ( กทม.) เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก โดยมี พญ.วรยา เหลืองอ่อน จากสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมบรรยายให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่ง อนามัยเขต 50 เขต และโรงพยาบาลสังกัด กทม. 9 แห่ง รวมกว่า 250 คนเข้ารับฟัง

พญ.มาลินี กล่าวว่า ได้สั่งการให้ทุกสำนักงานเขตเตรียมพร้อม โดยประสานเกสต์เฮาส์ โรงแรม และสถานประกอบการทั่วกรุงเทพฯ โดยเฉพาะย่านสุขุมวิท ข้าวสาร หากพบนักท่องเที่ยวมีอาการเป็นไข้หวัดหลังเดินทางเข้าประเทศไทย 14 วัน ให้โทรแจ้งที่ศูนย์ปฏิบัติการและศูนย์ข้อมูลโรคไข้หวัดนก กทม. (SRRT) 0-2354 1836 และ 0-2245-8106 หรือสายด่วน สธ. 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมตรวจสอบในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค และหากเกิดการติดเชื้อต้องควบคุมให้ได้ตั้งแต่นาทีแรก

นอกจากนี้ กทม.จะแจกเอกสาร ถามตอบให้ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ให้กับสถานประกอบการนักท่องเที่ยวต่างชาติ และคนไทยด้วย และในบ่ายวันที่ 1 พ.ค.นี้ กทม.ได้เชิญโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิก ร้านขายยากว่า 100 แห่งทั่วกรุงเทพฯ ให้ความรู้เรื่องไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งแจกแบบสอบถามผู้ป่วยต้องสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ เช่น มีน้ำมูก มีเสมหะ ปวดศีรษะ หายใจลำบาก ถ่ายเหลว เป็นต้น ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการ กทม.

พญ.มาลินี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มียาไข้หวัดใหญ่สำรองอยู่ 700 โดส และยาทามิฟลู (Tamiflu) อีก 200 โดส เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ ซึ่ง กทม.สามารถเบิกยาจาก สธ.ได้ตลอดเวลาหากเกิดการระบาดขึ้น นอกจากนี้ อยู่ระหว่างประสานเครือข่ายสหกรณ์ แท็กซี่ใน กทม. ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงให้มีการป้องกันตัวเองจากโรคดังกล่าว โดยการสวมหน้ากากขณะขับรถ เพราะคนขับรถแท็กซี่ให้บริการรับส่งผู้โดยสารชาวต่างชาติอยู่บ่อยครั้งอาจเสี่ยงต่อการติดโรคโดยการไอ จาม หรือการสัมผัสประตูรถที่ผู้ป่วยสัมผัสเอาไว้ได้.

ที่มา - สำนักข่าวไทย อัพเดตเมื่อ 2009-04-29 18:34:24

◄ll กลับสู่ด้านบน



(Update 24/03/52)


คลิก..เพื่อขยายภาพ


40 เครื่องสำอางปนสารอันตราย

ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยรายชื่อเครื่องสำอาง มีสารอันตรายเพิ่มเติมอีก 40 รายชื่อ ดังต่อไปนี้

1. EED’S ครีมแก้ฝ้า จุดด่างดำ พบ สารประกอบของปรอท
2. EED’S ครีมไข่มุกหน้าสวย พบสารไฮโดรควิโนน
3.MADAME Organic โปรตีนสาหร่าย พบสารประกอบของปรอท
4.MADAME Organic โปรตีนสาหร่าย พบสารประกอบของปรอท
5.MADAME ORGANIG เซรั่มชาเขียว พบกรดเรทิโนอิก
6.ชาโต้ ชาบู by มิสเดย์ โลชั่นป้องกันแสงแดด-ฝ้า พบไฮโดรควิโนน
7.ชาโต้ ชาบู by มิสเดย์ ครีมลดเลือนริ้วรอยจุดด่างดำ-ฝ้า พบไฮโดรควิโนน
8.ชาโต้ ชาบู by มิสเดย์ โลชั่นป้องกันแสงแดด-ฝ้า พบไฮโดรควิโนน
9. ครีมบัวหิมะ หลิงหลิง ครีมทาสิวฝ้าพบสารประกอบของปรอท
10.พอลลา ครีมทาฝ้า สูตรสำหรับตอนกลางคืน พบ ไฮโดรควิโนน

11.ไวท์โรส นาโนโซมส์ พบสารประกอบของปรอท
12.ไวท์โรส ครีมรกแกะ หน้าขาวใส ลดจุดด่างดำ พบสารประกอบของปรอท
13.ML ครีมสมุนไพรสด ตราดอกทานตะวัน พบสารประกอบของปรอท
14. Baby Charm ครีมสมุนไพรว่านหางจระเข้ พบสารประกอบของปรอท
15. KARME ครีมกลางคืนพบสารประกอบของปรอท
16.ชามอง ครีมสมุนไพร พบสารประกอบของปรอท
17.U Nice ไวท์เทนนิ่ง ครีมสิว-ฝ้า ไข่ไก่ผสมน้ำผึ้ง พบสารประกอบของปรอท
18.สมุนไพรฐิติมา ขมิ้นสด พบสารประกอบของปรอท
19.U Nice ครีมฝ้า น้ำนมข้าวผสม โยเกิร์ต พบสารประกอบของปรอท
20.สมุนไพรฐิติมา ครีมลดจุดด่างดำ กระ พบสารประกอบของปรอท

21.คลินิกแคร์ ลดรอยดำ พบกรดเรทิโนอิก
22.คลินิกแคร์ ครีมประทินผิว สูตรขมิ้น พบสารประกอบของปรอท
23.คลินิกแคร์ ครีมประทินผิว ลดรอยดำ พบสารไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก
24.สมุนไพรฐิติมา ครีมลดจุดด่างดำ กระ พบสารประกอบของปรอท
25.คลินิกแคร์ ลดรอยดำ (ครีมสีเขียวเหลือง) พบกรดเรทิโนอิก
26.ครีมสมุนไพรว่านนางสาว พบสารประกอบของปรอท
27. OEISHI GREEN TEA CREAM & HONEI MEAL พบสารประกอบของปรอท
28. ครีมชาเขียว DR.JAPAN พบสารประกอบของปรอท
29.พี-แคร์ครีม สมุนไพรขิง พบสารประกอบของปรอท
30. Dr.SUCHART ครีมรักษาผิวขาว ลบรอยฝ้าพบสารประกอบของปรอท

31.P.S Fruit Cream ทรีสเม้นท์บำรุงผิวขาว-ใส ครีม P.S.พบสารประกอบของปรอท
32. NEW FACE Whitening Night Cream พบสารประกอบของปรอท
33.ทรีย์เดย์ เนเชอรัล โลชั่นป้องกันแสงแดด-ฝ้า พบไฮโดรควิโนน
34.มิสเดย์ ครีมแก้ฝ้า พบไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก
35.อองรี ครีมรกแกะ ลดริ้วรอย-ฝ้า พบไฮโดรควิโนน
36.โลชั่นวินเซิร์ฟ ลดฝ้า-กันแดด พบไฮโดรควิโนน
37.ครีมฝ้า เมลาแคร์ พบไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก
38.โลชั่นกันแดด-กันฝ้า เมลาแคร์ พบไฮโดรควิโนน
39.มิสย์เดย์ ครีมแก้ฝ้า พบไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก และ
40.ไวท์โรส ครีมรกแกะหน้าขาวใส ลดจุดด่างดำพบสารประกอบของปรอท


ทั้งนี้ ภญ.วีรวรรณ ระบุว่า อย.ขอย้ำว่าผู้บริโภคอย่าซื้อผลิตภัณฑ์ทั้ง 40 รายการดังกล่าวมาใช้ เพราะอาจได้รับอันตรายจากสารต้องห้าม อาทิ ไฮโดรควิโนน จะทำให้ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย กรดเรทิโนอิก ทำให้แสบร้อนรุนแรงผิวหน้าลอก และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ หรือจะเป็นสารประกอบของปรอท มีอันตรายร้ายแรงมาก ทำให้ผิวหน้าดำ ผิวบางลง และเมื่อสารปรอทสะสมในร่างกาย ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบด้วย

ขณะที่ผู้ขาย ห้ามนำเครื่องสำอางทั้ง 40 รายการมาวางขาย ถ้าตรวจพบ อย.จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดให้ถึงที่สุด โดยจะมีโทษเหมือนกับผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องสำอา งที่ไม่ปลอดภัย คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้บริโภคและผู้ขายสามารถตรวจสอบรายชื่อเครื่อ งสำอางต้องห้ามได้ที่ www.fda.moph.go.th

◄ll กลับสู่ด้านบน




(Update 22/03/52) มะเร็งปากมดลูกคร่าชีวิตอดีตดารา "บิ๊กบราเธอร์"



สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันนี้ (22 มี.ค.) ว่า “เจด กู๊ดดี้” นักแสดงสาวชาวอังกฤษ ซึ่งโด่งดังจากการแข่งขันในรายการเรียลลิตี้โชว์ “บิ๊ก บราเธอร์” เมื่อปี 2545 เสียชีวิตอย่างสงบที่บ้านพักในกรุงลอนดอนเมื่อเวลา 3.55 น.ตามเวลาท้องถิ่น วันที่ 22 มี.ค. ขณะมีอายุได้ 27 ปี หลังล้มป่วยด้วย โรคมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย ตั้งแต่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา

สำหรับ กู๊ดดี้ตกเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศช่วงปลายปี 2551 เมื่อแพทย์ แจ้งให้ทราบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก เธอจึงตัดสินใจขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดชีวิตช่วงสุดท้ายของตนแก่สถานีโทรทัศน์ในอังกฤษ หวังนำเงินรายได้ทั้งหมดเป็นเงินเก็บสะสมให้ลูกชายทั้ง 2 คน ซึ่งมีวัย 4 ปี และ 5 ปีตามลำดับ

ภาพและข่าว - www.thairath.co.th

◄ll กลับสู่ด้านบน




(Update 25/02/52) อย.แนะบริโภคอาหารริมทางควรดูสภาพแวดล้อมไร้ฝุ่น สัตว์นำโรค


อย.แนะดูสิ่งแวดล้อมของร้านอาหารริมทาง ไร้ฝุ่น ควัน แมลง สัตว์นำโรค ขณะที่ผู้ประกอบการร้านอาหารริมทางควรเน้นในเรื่องความสะอาด คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก หากขาดการดูแลด้านสุขลักษณะจะทำให้อาหารไม่สะอาด และไม่ปลอดภัย

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แนะนำผู้บริโภคระมัดระวังในการเลือกรับประทานอาหารริมทาง โดยดูสิ่งแวดล้อมของร้านค้านั้น ๆ ด้วยว่า เหมาะสำหรับการบริโภคหรือไม่ ควรหลีกเลี่ยงร้านอาหารที่อยู่ในแหล่งสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น มีฝุ่น ควันมาก แมลง สัตว์นำโรค การขาดแหล่งน้ำในการทำความสะอาดวัตถุดิบ ภาชนะและมือผู้สัมผัสอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ค้า

เหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปสู่อาหารได้ โดยเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหาร เช่น เชื้อแซลโมเนลล่า สแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส คลอสตริเดียม เพอฟริงเจนส์ และบาซิลัส ซีเลียส เป็นต้น

สำหรับร้านอาหารควรให้ความใส่ใจทุกขั้นตอนก่อนที่อาหารจะถึงมือผู้บริโภค โดยอาหารสดต้องล้างให้สะอาดก่อนปรุงหรือเก็บ และต้องแยกประเภทอาหารเก็บเป็นสัดส่วน อาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว ต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร

โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาดผ่านเกณฑ์มาตรฐานจีเอ็มพี และผ่านการขออนุญาตจาก อย. แล้ว ต้องเก็บน้ำแข็งในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด อย่านำอาหารสดและสิ่งของอื่น ๆ เช่น ขวดน้ำอัดลม แช่รวมไว้ด้วย เพราะจะทำให้น้ำแข็งสกปรก ปนเปื้อนเชื้อโรคได้ อีกทั้ง ผู้สัมผัสอาหาร หรือพนักงานเสิร์ฟ ต้องดูแลเล็บให้สะอาด และล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียม ปรุง ประกอบและจำหน่ายอาหารทุกครั้ง และใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วทุกชนิด.

ที่มา - สำนักข่าวไทย อัพเดตเมื่อ 2009-02-25 13:14:49

◄ll กลับสู่ด้านบน




(Update 16/02/09) ภาพข่าวกระแส.."ข้าวกล้องงอก" มาแรง


กระแส "ข้าวกล้องงอก" มาแรงทั้งในและต่างประเทศ ภาครัฐ สถาบันการศึกษา ร่วมมือเอกชน ผลิตข้าวกล้องงอกหอมมะลิเสริมสุขภาพ มาบุญครอง พลัส นูทรา กาบาไรซ์ จำหน่ายเชิงพาณิชย์ ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.ryt9.com

◄ll กลับสู่ด้านบน




นสพ.เดลินิวส์ - ข่าววันอาทิตย์ที่ 7 ก.ย. 2551


สธ.เตือนเบาหวาน อย่าลองสมุนไพรลดน้ำตาล - ชี้เสี่ยงตาบอดถึง 25 เท่า

สธ.เตือนผู้ป่วยเบาหวานขี้ใจร้อน หลังได้ยาสมุนไพรคุมน้ำตาลตัวใหม่ จะเปิบของแสลงไม่ยั้งปากเพื่อดูความแรงของยา หากไม่ได้ผลก็จะไม่กินต่อ แต่ยิ่งอันตราย เพิ่มความเสี่ยงโรคแทรกซ้อนโดยเฉพาะเบาหวานขึ้นตา ทำให้ตาบอดถาวรสูงกว่าผู้ป่วยที่ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ถึง 25 เท่า

นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้โรคเบาหวานกำลังคุกคามสุขภาพประชาชนไทยมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการป้องกันโรค โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สนับสนุนให้ประชาชนออกกำลังกาย กินอาหารหวานน้อยลง เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานขณะนี้กว่าร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกิน ที่เหลือเกิดจากกรรมพันธุ์

จากการสำรวจสุขภาพคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ครั้งล่าสุดในปี 2547 พบเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 7 หรือประมาณ 3 ล้านคน ผู้ป่วยที่ตรวจพบครั้งนี้ เกินครึ่งไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค โดยมีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 4 แสนคน หรือประมาณร้อยละ 12 เท่านั้นที่สามารถปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ได้ดี

ปัญหาสำคัญของผู้ป่วยเบาหวาน คือ การควบคุมระดับน้ำตาล หากควบคุมได้ไม่ดีจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ที่สำคัญ คือ จอประสาทตาเสื่อม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเบาหวานขึ้นตา หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ตาบอดอย่างถาวร เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายปี จะมีผลทำให้เส้นเลือดฝอยทั่วร่างกายเปลี่ยนแปลง

โดยเฉพาะที่ตา ผนังหลอดเลือดในจอประสาทตาจะเกิดความผิดปกติ มีเลือดออกในตา น้ำวุ้นตาขุ่นมัว จอประสาทตาลอก ทำให้ตาบอด ซึ่งโรคเบาหวานนี้เป็นสาเหตุทำให้ตาบอดมากเป็นอันดับ 2 รองจากตาต้อกระจก ขณะนี้ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเบาหาน พบเบาหวานขึ้นตาหรือมีประมาณ 5 แสนคน มีความเสี่ยงตาบอดสูงกว่าผู้ป่วยทั่วไป 25 เท่าตัว

นายแพทย์สุพรรณ กล่าวต่อว่า จากการศึกษาข้อมูลประชากรโลกใน พ.ศ. 2545 พบว่าภาวะเบาหวานขึ้นตาเป็นสาเหตุให้ประชากรโลกมีสายตาเลือนรางจนถึงตาบอดสูงถึงเกือบร้อยละ 5 ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบเป็นสาเหตุให้คนอายุ 20-74 ปี ตาบอดปีละประมาณ 24,000 คน มูลเหตุความเสี่ยงที่จะเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นเบาหวานมานาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้องอีกคือ น้ำหนักตัวมาก ระดับไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ดังนั้นผู้ที่เป็นเบาหานจะต้องควบคุมตัวเองอย่าให้เกิดสิ่งที่เป็นความเสี่ยง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นเบาหวานขึ้นตา

“ข้อมูลที่น่าเป็นห่วง คือ มีผู้ป่วยเบาหวานบางรายชอบทดสอบความแรงของยา โดยเฉพาะยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยกินอาหารต้องห้าม เช่น อาหารรสหวาน อาหารไขมันสูง เช่น หนังไก่ทอด ขาหมู แล้วกินยาตามเพื่อดูว่าจะได้ผลทำให้อาการดีขึ้นในวันรุ่งขึ้นหรือไม่ หากไม่ดีก็จะไม่กินต่อ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นผลเสียอย่างมากต่อการควบคุมเบาหวานของผู้ป่วย เพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น เพราะโรคนี้ไม่มียารักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการไม้ให้รุนแรงขึ้นได้” นายแพทย์สุพรรณกล่าว

ด้านแพทย์หญิงวลัยพร ยติพูลสุข จักษุแพทย์โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่ กล่าวว่า ได้ศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในจังหวัดแพร่ จากผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 3,513 คน ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 ถึงกันยายน 2550 พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 87 มีสายตาดี ร้อยละ 83 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ 45 เป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ร้อยละ 18 มีไขมันในเส้นเลือดสูง และพบผู้ป่วยร้อยละ 25 มีปัญหาเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในจำนวนนี้อยู่ในระยะรุนแรงถึงขั้นตาบอด ร้อยละ 2

จากการศึกษาครั้งนี้ พบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีอัตราเสี่ยงมากกว่าผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 45 ปี ถึง 1.69 เท่า ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป มีอัตราเสี่ยง 2.4 เท่า หากเป็นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย จะมีอัตราเสี่ยงเป็นเบาหวานขึ้นตา 1.34 เท่า และในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จะมีอัตราเสี่ยง 1.42 เท่า

แพทย์หญิงวลัยพร กล่าวต่อว่า ในการป้องกันไม่ให้เบาหวานขึ้นตา ขอให้ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน คือผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ตรวจเบาหวานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากยังไม่เป็นขอให้ป้องกันตัว โดยออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมน้ำหนักตัว กินอาหารรสหวานจัดให้น้อยลง ในกลุ่มที่ตรวจพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดเริ่มสูงเกินปกติ แต่ยังไม่เป็นโรค ขอให้รีบแก้ไขปรับพฤติกรรมตัวเองตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ จะช่วยได้ทัน แต่หากพบว่าเป็นเบาหวานแล้ว ให้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และไปตามแพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน

◄ll กลับสู่ด้านบน




รักษาเบาหวานตามศาสตร์จีน


21 Aug 08 08:53 -- โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด โรคเบาหวานเกิดจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลิน ไม่เพียงพอที่จะนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปใช้เป็นประโยชน์ได้ ทำให้น้ำตาลในเลือดมีระดับสูงกว่าปกติ และถ้าสูงมากก็จะขับออกมากับปัสสาวะ เมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะส่งผลต่ออวัยวะหลายส่วนเช่น ตา ไต หัวใจ ประสาท

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด โรคเบาหวานเกิดจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลิน ไม่เพียงพอที่จะนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปใช้เป็นประโยชน์ได้ ทำให้น้ำตาลในเลือดมีระดับสูงกว่าปกติ และถ้าสูงมากก็จะขับออกมากับปัสสาวะ เมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะส่งผลต่ออวัยวะหลายส่วนเช่น ตา ไต หัวใจ ประสาท และเป็นแผลเรื้อรัง หมดความรู้สึกทางเพศ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานกินอาหาร เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวให้ปกติและ ออกกำลังกาย และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการที่หลายๆ คนปฏิบัติโดยทั่วไป นอกเหนือจากการรักษาแบบแผนปัจจุบันแล้ว การรักษาแบบศาสตร์จีน ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่รักษาใช้รักษาโรคเบาหวาน คือการรักษาตามแบบแผนจีน

โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จึงขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังบรรยายเรื่อง “รักษาเบาหวานตามศาสตร์แพทย์แผนจีน” โดย พญ.เฉิน เหว่ย หลิง แพทย์แผนจีน โรงพยาบาล ไทยนครินทร์ ในวันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2551 เวลา 9.30-12.00น. ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 4 โรงพยาบาลไทยนครินทร์

◄ll กลับสู่ด้านบน


webmaster - 30/4/09 at 10:57




สมาพันธ์โรคเบาหวานสากลอนุมัติทุนสนับสนุนโครงการศึกษา

เพื่อการดูแลรักษาโรคเบาหวานด้วยตนเองในฟิลิปปินส์

15 May 08 02:53 -- คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติโครงการวิจัย BRIDGES ของสมาพันธ์โรคเบาหวานสากล (The International Diabetes Federation - IDF) จะให้ทุนสนับสนุนโครงการศึกษานำร่องในฟิลิปปินส์เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ดียิ่งขึ้นและมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่สุขอนามัยภายในชุมชน

การศึกษาวิจัยภายใต้โปรแกรมการดูแลรักษาโรคเบาหวานด้วยตนเอง (Diabetes Self-Management Program หรือ DSME) ที่จะจัดขึ้นภายในชุมชนนี้ จะช่วยให้ชาวฟิลิปปินส์ที่เป็นโรคเบาหวานได้รับความรู้ วิธีปฏิบัติเพื่อการดูแลตนเอง และทัศนคติที่จำเป็นต่อการจัดการกับโรคเบาหวานของตนได้อย่างมีประสิทธิผล ภาควิชาต่อมไร้ท่อวิทยา โรคเบาหวาน และ การเผาผลาญ ของมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในเครือโรงพยาบาลฟิลิปปินส์ จะเปิดตัวโครงการนำร่องในซานฮวน เมืองบาทังกัส ฟิลิปปินส์

“คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติโครงการวิจัย BRIDGES ของ IDF จะเป็นสื่อหลักในการทำให้โปรแกรมโรคเบาหวานภายในชุมชนนี้กลายเป็นจริงได้ การศึกษานำร่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระยะยาวเพื่อการดูแลรักษาโรคเบาหวานอย่างครอบคลุมและมีความยั่งยืน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระของผู้เป็นโรคเบาหวาน และมุ่งหวังที่จะเป็น “แม่แบบแห่งการดูแลรักษาโรคเบาหวานภายในชุมชน” ให้แก่ทั่วทั้งประเทศ ซึ่งในที่สุดแล้ว จะช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันในการบริการด้านสุขอนามัยสำหรับชาวฟิลิปปินส์ในชุมชนท้องถิ่นที่ไม่ได้รับบริการอย่างเต็มที่” นายแพทย์ ดร. เกรกอรี่ เอ. อาร์ดีน่า หัวหน้าผู้วิจัยร่วม กล่าว

ทางสมาพันธ์ ภายใต้โครงการวิจัย BRIDGES มีความมุ่งมั่นที่จะนำผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ เพื่อให้บริการและให้การดูแลรักษาที่มีคุณภาพ โครงการศึกษาเกี่ยวกับโรคเบาหวานในฟิลิปปินส์ รวมทั้งโครงการวิจัยเพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่อื่นๆ อีก 10 โครงการ ได้รับคัดเลือกเพราะเป็นโครงการที่มีความคิดสร้างสรรค์ และแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริการด้านสุขอนามัย นอกจากนี้ยังมีแผนการที่มีความยั่งยืน และสามารถนำผลวิจัยที่ได้รับไปปฏิบัติตามในสถานที่อื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง

โปรแกรมการศึกษาดังกล่าวจะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานที่ครบถ้วนและเหมาะสมกับวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยจะใช้สื่อการศึกษาที่ปรับให้มีความสอดคล้องกับท้องถิ่น โดยเจ้าหน้าที่สุขอนามัยบารางไก (Barangay Health Workers - BHW) จะทำหน้าที่เป็นวิทยากร การศึกษานำร่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระยะยาวเพื่อการดูแลรักษาโรคเบาหวานด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งเบาภาระจากการเป็นโรคเบาหวาน โดยพัฒนาการดูแลรักษาตนเองและปรับปรุงพฤติกรรมให้ดียิ่งขึ้น

“โครงการดูแลรักษาโรคเบาหวานด้วยตนเองของประเทศฟิลิปปินส์ มีเป้าหมายที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของโปรแกรม BRIDGES ของสมาพันธ์โรคเบาหวานสากล" ลินดา ซิมิเนอริโอ ประธานคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติโครงการ BRIDGES ของ IDF กล่าว "โครงการนี้มีความเป็นไปได้สูงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับเบาหวานให้แก่เจ้าหน้าที่สุขอนามัยบารางไก ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเป็นผู้สนับสนุนการให้บริการดูแลรักษาที่มีคุณภาพ”

สมาพันธ์โรคเบาหวานสากล เป็นผู้ดำเนินงานอิสระภายใต้โครงการ BRIDGES โดยได้รับเงินอนุมัติเพื่อการศึกษาวิจัยจากบริษัท เอลี ลิลลี แอนด์ คอมพานี และมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมด้านการดูแล การป้องกัน และการรักษาโรคเบาหวานทั่วโลก

สมาพันธ์เบาหวานสากลเป็นผู้ให้การสนับสนุนแก่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวนมากกว่า 250 ล้านคนทั่วโลก โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสมาคมเบาหวานมากกว่า 200 แห่งในมากกว่า 160 ประเทศ สมาพันธ์มีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมการดูแล การป้องกัน และการรักษาโรคเบาหวานในระดับโลก
สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ เป็นองค์กร NGO ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับองค์กรอนามัยโลกและองค์กร NGO ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับฝ่ายสาธารณสนเทศแห่งองค์การสหประชาชาติ สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ เป็นผู้ริเริ่มวันเบาหวานโลกและแผนรณรงค์การรวมพลังเพื่อโรคเบาหวาน โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.idf.org

BRIDGES เป็นโปรแกรมการพิจารณาอนุมัติโครงการศึกษาวิจัยเพื่อการเผยแพร่ความรู้ต่อไปสู่ทั่วโลก ของสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ โดยจะให้การสนับสนุนแก่โครงการที่มีการดำเนินการแบบคุ้มทุนและยั่งยืน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในสถานที่อื่นๆ เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน

ทั้งนี้ โครงการต่างๆ ควรจะอยู่บนพื้นฐานการดำเนินการที่ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าได้ผลในการป้องกัน และรักษาโรคเบาหวานในระหว่างช่วงการทดลอง โดยสามารถพัฒนาการดูแลรักษาโรคเบาหวานชนิด 1 และชนิด 2 และชะลอการเกิดอาการแทรกซ้อนได้ การดำเนินการที่เสนอนั้นควรจะมีความเป็นไปได้ในการเผยแพร่ในวงกว้างไปสู่สถานพยาบาล บุคคลทั่วไป และชุมชน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่ http://www.idfbridges.org

ภาควิชาต่อมไร้ท่อวิทยา โรคเบาหวาน และ การเผาผลาญ ของมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในเครือโรงพยาบาลฟิลิปปินส์ เปิดโอกาสให้แก่โครงการศึกษาวิจัยอิสระที่ได้รับทุนสนับสนุน ซึ่งเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาประจำภาควิชาและเจ้าหน้าที่ฝึกงาน ความมุ่งมั่นตั้งใจดังกล่าวได้รับการยอมรับในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ

แหล่งข่าว : สมาพันธ์โรคเบาหวานสากล
ติดต่อ: เคอร์ริต้า แมคคล็อจลิน ผู้จัดการฝ่ายสื่อสัมพันธ์ สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ


◄ll กลับสู่ด้านบน




โรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปาก

รวบรวมโดย…

ทพญ.ดาวเรือง แก้วขันตี

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2546


1 บทนำ


โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการที่ร่างกายขาดอินซูลินหรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ผลที่ตามมาคือ มีระดับนํ้าตาลกลูโคสในเลือดสูง และชีวเคมีในร่างกายเปลี่ยนแปลง นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงทั้งระยะสั้นระยะยาว โรคเบาหวานเป็นสาเหตุนำ ของไตล้มเหลว ตาบอดในผู้ใหญ่ การถูกตัดแขนขา และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคหัวใจ เส้นเลือดสมองอุดตัน
ความผิดปกติแต่กำเนิด ทำให้ความยืนยาวของชีวิตลดลงประมาณ 15 ปี อัตราป่วยและอัตราตายของประชากรโลกเพิ่มขึ้นจากทั้งโรคเบาหวานโดยตรง และจากภาวะแทรกซ้อน

โรคเบาหวานมีความชุกเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organisation-WHO) ในปี พ.ศ. 2538 พบว่า มีประชากรเป็นโรคเบาหวานมากกว่า 135 ล้านคน และคาดประมาณว่าจะเพิ่มเป็น 300 ล้านคน
ในปี พ.ศ. 2568 และจากเอกสาร Thailand Health Profile, 1997-1998 ระบุว่าความชุกของโรค

เบาหวานของคนไทยในปี พ.ศ.2538 มี 33.3 รายต่อประชากรแสนคน เพิ่มขึ้นเป็น 147.2 ราย ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ.2540 ปัจจุบันนี้ วงการทันตสาธารณสุขให้ความสนใจกับความสัมพันธ์ของโรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปากมากขึ้น และได้นับโรคในช่องปากเป็นภาวะแทรกซ้อนอันดับที่ 6 ของโรคเบาหวานด้วย The National Oral Health Information Clearinghouse แห่งสหรัฐอเมริกาได้สรุปว่า

การติดเชื้อของเหงือกทำ ให้การควบคุมนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานทำ ได้ยาก ขณะเดียวกันผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ดีสามารถป้องกันปัญหาที่เกิดกับเหงือกได้ การดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องการความร่วมมือทั้ง แพทย์ ตัวผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วย และทีมสุขภาพอื่นๆ ซึ่งบุคลากรสาธารณสุขที่เป็นทีมสุขภาพมีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในเรื่องโรคเบาหวาน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เต็มตามศักยภาพที่ควรเป็น

1.1 วัตถุประสงค์
เอกสารนี้ จัดทำ ขึ้นเพื่อรวบรวมองค์ความรู้พื้นฐานของโรคเบาหวาน ความเกี่ยวข้องของโรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปาก การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่จำเป็นให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคลากรสาธารณสุขที่มีภารกิจต้องรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการดูแลและให้คำแนะนำ การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีความมั่นใจมากขึ้น

เอกสารนี้ได้จากการทบทวน เอกสารทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศ และจาก Website ที่คัดเลือกว่าเป็นของสถาบันที่น่าเชื่อถือได้ ซึ่งองค์ความรู้จากทั้ง 2 แหล่งนี้ อาจทันสมัยอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ผู้ที่นำ เอกสารไปใช้มีความจำ เป็นต้องติดตามศึกษาและปรับองค์ความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพราะหลายประเด็นของโรคเบาหวานยังไม่สามารถสรุปร่วมจนเป็นยุติได้ชัดเจน เช่น การอธิบายสาเหตุที่แท้จริงของโรคเบาหวาน เป็นต้น

1.2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
เอกสารช่วงต้นนี้เป็นการทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคเบาหวานโดยตรง ในประเด็นต่อไปนี้

1.2.1 โรคเบาหวานคืออะไร
โรคเบาหวานมีลักษณะที่แสดงออกโดยการมีระดับนํ้าตาลกลูโคสในเลือดสูงขึ้น เกิดมาจากร่างกายสร้างอินซูลินไม่เพียงพอหรือการดื้อต่ออินซูลิน ปกติอินซูลินหลั่งออกมาโดย β-cell ซึ่งเป็นเซลล์พิเศษในตับอ่อน อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สำ คัญที่สุดของร่างกายที่ช่วยรักษาระดับนํ้าตาลกลูโคสในเลือด

และการที่ระดับนํ้าตาลกลูโคสในเลือดสูงจนถึงระดับที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีผลกระทบต่อการรักษาระดับไขมันในเลือดด้วย ทั้งนี้อินซูลินมีบทบาทหลักในการควบคุมความคงที่และความสมดุลย์ของพลังงานในเลือด เพื่อควบคุม metabolism ของร่วงกาย β-cell เป็นเซลล์ที่มีลักษณะเฉพาะ และมีการคัดลอกทางพันธุกรรม

1.2.2 ชนิดของโรคเบาหวาน
ในปี พ.ศ.2522 The National Diabetes Data Group ในสหรัฐอเมริกาได้จัดแบ่งโรคเบาหวานเป็น 3 ชนิด ได้แก่ Type 1-insulin-dependent diabetes mellitus (IDDM), Type 2-
non-insulin-dependent diabetes mellitus (NIDDM) และ Type 3 other types of diabetes
(Pancreatic disease, Hormonal disease, Drug-thiazide diuretics, Lithium salts, Others)

ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้รับมาใช้ในปี พ.ศ.2523 และปรับปรุงเล็กน้อยในปี พ.ศ.2528 จากนั้น The American Diabetes Association Expert Committee ได้ทบทวนเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวานและได้ปรับการแบ่งชนิดของโรคเบาหวานดังต่อไปนี้

(1) ใช้คำ ว่า type 1 และ type 2 แทน IDDM และ NIDDM ในการกล่าวถึงโรคเบาหวานชนิดหลักทั้งสอง
(2) ใช้ระดับนํ้าตาลกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting plasma glucose-FPG) วัด 2 ครั้ง เป็นตัวชี้วัด

(3) ระดับ FPG 126 มก./ดล. ขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน (ระดับนี้เท่ากับ 200 มก./ดล. ใน Oral glucose tolerance test–OGTT)

สำหรับประเทศไทย สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทยได้ยึดตามสหพันธ์โรคเบาหวานแห่งสหรัฐเมริกา พ.ศ. 2540 จำ แนกโรคเบาหวานเป็น 4 ชนิด คือ

(1) โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes) คือ โรคเบาหวานที่เกิดจากการทำ ลาย β-cell ของตับอ่อน ส่วนใหญ่เกิดจาก autoimmune มีบางส่วนที่ไม่ทราบสาเหตุ โรคเบาหวานชนิด 3 นี้ สุดท้ายก็ต้องใช้อินซูลินเพื่อป้องกัน ketoacidosis โดยที่ต้องมีการควบคุมอาหาร ต้องออกกำลังกายทุกวันและต้องคอยตรวจระดับนํ้าตาลในเลือดเสมอ โรคเบาหวานชนิดนี้พบในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุตํ่ากว่า 30 ปี

(2) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes) คือ โรคเบาหวานที่ไม่เกี่ยวข้องกับ β-cell ถูกทำลาย แต่เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลินร่วมกับความผิดปกติในการหลั่งอินซูลินของตับอ่อน และการเพิ่มขึ้นของการสร้างกลูโคสในตับ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดนี้ร่างกายยังสามารถสร้างอินซูลินได้บ้าง แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ

(3) โรคเบาหวานชนิดอื่นๆ (Other specific type) คือ โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่ทราบชัดเจน เช่น โรคของตับอ่อน ความผิดปกติของฮอร์โมน ยาหรือสารเคมีและอื่นๆ

(4) โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes)คือ โรคเบาหวาน หรือความผิดปกติของความทนต่อนํ้าตาลกลูโคสที่ได้รับครั้งแรกขณะตั้งครรภ์

1.2.3 การวินิจฉัยโรค
สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกากำ หนดวิธีและเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวานไว้ ดังนี้

(1) fasting plasma glucose (FPG) มากกว่า 126 มก./ดล. เป็นวิธีที่นิยมมาก (Fasting หมายถึง อดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง) หรือ

(2) การมีกลุ่มอาการของโรคเบาหวานร่วมกับระดับนํ้าตาลกลูโคสในพลาสมาเมื่อเวลาใดก็ได้ (Random plasma glucose) 200 มก./ดล. ขึ้นไป กลุ่มอาการหลักของเบาหวานได้แก่ปัสสาวะมาก ดื่มนํ้ามาก และการมีนํ้าหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือ

(3) การมีระดับนํ้าตาลกลูโคสในพลาสมา เมื่อ 2 ชั่วโมงหลังการทำ Oral glucose tolerance test (OGTT) 200 มก./ดล. ขึ้นไป วิธีการที่องค์การอนามัยโลกกำ หนดคือ ให้ดื่มนํ้าตาลกลูโคส (Anhydrous glucose) ที่ละลายในนํ้าในปริมาณ 75 กรัม

นอกจากนี้ ยังต้องยืนยันผลการทดสอบด้วยการทำ ซํ้า ในวันอื่น และวิธีที่ 3 ไม่แนะนำให้ทำ เป็น Routine ในคลินิกสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย ได้รับเกณฑ์และวิธีการนี้มาใช้ในประเทศไทยด้วย นอกจากนี้สมาคมไร้ท่อแห่งประเทศไทยได้เสนอแนะในการคัดกรองโรคเบาหวาน

เพราะโรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบใหม่มีไม่น้อยที่ตรวจพบว่า มีโรคแทรกซ้อนของเบาหวานแล้ว การคัดกรองหาเบาหวานในประชากรกลุ่มเสี่ยงจะช่วยให้มีการวินิจฉัยโรคเบาหวานและรักษาได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อตัวผู้ป่วยเอง โดยเสนอให้แบ่งการคัดกรองเป็น 2 กลุ่ม คือ

การคัดกรองโรคเบาหวานในผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้
(1) อายุ 40 ปี ขึ้นไป
(2) อ้วน (BMI≥ 25 กก./ม2 )
(3) มีญาติพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน
(4) เป็นความดันโลหิตสูง
(5) เป็นโรคไขมันในเลือดผิดปกติ (ไตรกลีเซอไรด์ ≥ 250 มก./ดล. หรือ HDL ≤ 35
มก./ดล.)
(6) มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรนํ้าหนักเกิน 4 กก.
(7) เคยได้รับการตรวจพบเป็น Impaired glucose tolerance (IGT-นํ้าตาลกลูโคสในพลาสมาที่ 2 ชั่วโมงหลังดื่มนํ้าตาลกลูโคส 75 กรัม มีค่า 140-199 มก./ดล.) หรือ Impaired fasting glucose (IFG-นํ้าตาลกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง มีค่า 110-
125 มก./ดล.)

การคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรทำ ทุกราย ยกเว้นผู้ที่มีความเสี่ยงตํ่ามาก ได้แก่ ผู้ที่อายุน้อยกว่า 25 ปี ร่วมกับมีนํ้าหนักตัวปกติ และไม่มีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว โดยเสนอแนะให้ทำ Glucose screening test โดยให้ดื่มนํ้าตาลกลูโคส 50 กรัม ขณะตั้งครรภ์ได้ 24-28 สัปดาห์ โดยไม่ต้องอดอาหารมาก่อน ถ้าระดับนํ้าตาลกลูโคสในพลาสมาที่ 1
ชั่วโมงหลังดื่มนํ้าตาลกลูโคส 50 กรัม มีค่า ≥ 140 มก./ดล. ถือว่ามีความผิดปกติ ต้องตรวจยืนยันด้วย 100 กรัม Oral glucose tolerance test (OGTT) ต่อไป

1.2.4 สาเหตุของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเกิดจากสาเหตุร่วมระหว่างกรรมพันธุ์กับสิ่งแวดล้อม
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นผลจากการที่ β-cell ถูกทำ ลายอย่างมาก ทำ ให้สร้างอินซูลินเพื่อควบคุมระดับนํ้าตาลกลูโคสไม่ได้ มีนักวิชาการหลาย

ท่านพยายามสรุปว่า autoimmune และการติดเชื้อไวรัส (หัด ตับอักเสบ คางทูม และ cytomegalovirus) เป็นสาเหตุที่ทำ ให้เกิดโรค
เบาหวานชนิดที่ 1 ได้เหมือนๆ กัน ในประเด็นการติดเชื้อไวรัส ยังไม่มีหลักฐานที่สรุปความเกี่ยวข้องจนเป็นข้อยุติได้อย่างชัดเจน แต่ประเด็นของพันธุกรรมนั้น พอจะสามารถอธิบายได้ว่า ความไวต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ขึ้นอยู่กับ human leucocyte antigen (HLA) ซึ่งอยู่ที่ผิวของ T lymphocytes ซึ่ง HLA นี้ถูกควบคุมโดยกรรมพันธุ์

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีการสรุปจากการวิเคราะห์หลาย ๆ ครั้ง ว่ามีสาเหตุจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน โดยที่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่ได้มีการทำ ลาย β-cell จึงยังมีการสร้างอินซูลินอยู่ แต่เซลล์ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน จึงต้องการอินซูลินในปริมาณที่มากกว่าปกติ พบบ่อยในคนที่มีนํ้าหนักเกินและมีไขมันในกล้ามเนื้อ เซลล์ของผู้สูงอายุมักสูญเสีย

ความสามารถในการตอบสนองต่ออินซูลิน การดื้อต่ออินซูลินมักเชื่อมโยงกับความดันโลหิตสูงและระดับไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควบคุมได้โดยการลดนํ้าหนักด้วยการควบคุมอาหารและออกกำ ลังกาย บางครั้งอาจต้องใช้ยาร่วมด้วยอาการของโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิด จะมีระดับนํ้าตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ที่กล่าวไว้ใน 1.2.3 ทำ ให้มีการต่อไปนี้
• กระหายนํ้า
• ปัสสาวะบ่อย
• อ่อนเพลีย
• ตามัว
• นํ้าหนักลด

1.2.5 ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ร้ายแรง ถ้าไม่ถูกตรวจพบแต่แรกเริ่มแล้วรีบให้การรักษา จะนำ สู่ภาวะแทรกซ้อนมากมาย โรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิดมีผลต่อ ตา ไต ประสาท และเส้นเลือดขนาดใหญ่ เป็นผลให้ตามองไม่เห็น การที่ต้องถูกตัดอวัยวะ เช่น แขน ขา และมีอาการไตวาย กล้ามเนื้อหัวใจตาย

โรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งกระบวนการที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ การควบคุมกลไกร่างกายผิดปกติ ได้แก่การมีระดับนํ้าตาลกลูโคสในเลือดสูง และ ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งในระยะต่อมาจะกระทบต่อทั้ง Micro และ Macro vascular system (micro-เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 100 ไมครอน macro-เส้นผ่าศูนย์กลาง 100 ไมครอนขึ้นไป) ซึ่งพบได้ในโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิด

ภาวะแทรกซ้อนใน Micro vascular system พบมากในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและโครงสร้างของหลอดเลือดเล็ก มีผลต่อดวงตา (retinopathy) ไต (nephropathy) และประสาท (neuropathy) ทั้งนี้มีความชุกในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ประมาณ ร้อยละ 45 ชนิดที่ 2 ประมาณร้อยละ 35

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีผลมาจากการดูดซึมนํ้าตาลกลูโคสเข้ากล้ามเนื้อและไขมัน ร่วมกับการที่ตับเพิ่มการผลิตนํ้าตาลกลูโคส และการหลั่งอินซูลินที่ผิดปกติเพราะ β-cell สูญเสียการทำ หน้าที่หรือจำ นวนไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบให้สูญเสียการควบคุมการใช้พลังงานของร่างกาย (fuel utilization)

มีการเพิ่มขึ้นของ free fatty acids (FFA) ทำให้มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ชนิด LDL ในเลือดเพิ่มขึ้น และไขมันกลีเซอไรด์ชนิด HDL ในเลือดลดลง มีผลต่อ macro vascular system นำ ไปสู่ โรคหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายและเส้นโลหิตในสมองแตก โรคทั้ง 3 นี้ เป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ถึงประมาณร้อยละ 80

สถิติสภาวะสุขภาพและปัญหาของประชาชนไทย ในเอกสาร Thailand Health Profile,1997-1998 แสดงความชุกของโรคเบาหวานเป็น 147.2 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ. 2540 และเอกสารสถานะสุขภาพคนไทยสรุปสาเหตุการตายว่า โรคเบาหวานเป็นสาเหตุการตายโดยตรงของคนไทยในอัตราตาย 29 ต่อประชากรแสนคน โดยอัตราการตายในเพศหญิงเป็น 38.3 ชายเป็น 28.1 ต่อประชากรแสนคน แต่ยังมีการตายที่มีสาเหตุมาจากสภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานอีกจำนวนหนึ่งด้วย

◄ll กลับสู่ด้านบน

((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))


webmaster - 11/5/09 at 13:32


(Update 16/02/09)

ตารางที่ 1 อัตราการตายจำแนกตามสาเหตุการตายตามกลุ่มโรคและเพศ ปี พ.ศ.2541

อัตราตายรวม 2 เพศ (ต่อแสน), อัตราตายในเพศชาย (ต่อแสน), อัตราตายในเพศหญิง (ต่อแสน)


1.โรคติดเชื้อ 101 1.โรคติดเชื้อ 132 1.ระบบไหลเวียนเลือด 99.6
2. ระบบไหลเวียนเลือด 100 2.สาเหตุภายนอก 121 2.มะเร็ง 82.8
3.มะเร็ง 94.2 3. มะเร็ง 106 3.โรคติดเชื้อ 70.7
4.สาเหตุภายนอก 79.2 4.ระบบไหลเวียนเลือด 100 4.เบาหวาน 38.3
5.ทางเดินหายใจส่วนล่าง 37.2 5.ทางเดินหายใจส่วนล่าง 48.3 5.สาเหตุภายนอก 37.5
6.เบาหวาน 29.0 6.เบาหวาน 28.1 6.ทางเดินหายใจส่วนล่าง 18.7

7.ระบบทางเดินอาหาร 23.4 7.ระบบทางเดินอาหาร 19.6 7.ระบบทางเดินอาหาร 16.6
8.ไต& ทางเดินปัสสาวะ 17.7 8.ไต& ทางเดินปัสสาวะ 18.9 8.ไต& ทางเดินปัสสาวะ 10.1
9.ระบบประสาท 11.9 9.ระบบประสาท 13.7 9.ระบบประสาท 6.8
10.ระบบกล้ามเนื้อ 5.8 10.โรคต่อมไร้ท่อ 5.8 10.ระบบกล้ามเนื้อ 6.2
11.โรคต่อมไร้ท่อ 5.6 11.ระบบกล้ามเนื้อ 4.7 11.โรคต่อมไร้ท่อ 4.5
12.ชราภาพ 4.5 12.ชราภาพ 4.5 12.ชราภาพ 4.5 อื่นๆ 7.6 อื่นๆ 6.2 อื่นๆ 2.9

อัตราตายรวม 520 อัตราตายรวม 612 อัตราตายรวม 424

ที่มา: จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. สถานสุขภาพคนไทย ชุดสุขภาพคนไทยปี พ.ศ. 2543

1.2.6 การรักษา

เนื่องจากโรคเบาหวาน 2 ชนิด มีสาเหตุที่แตกต่างกัน การรักษาจึงแตกต่างกันด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ต้องมีการฉีดอินซูลินทันทีที่ตรวจพบ เพราะ β-cell ถูกทำ ลาย แต่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เริ่มต้นรักษาด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำ ลังกายเพื่อควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด ถ้าไม่ได้ผลจึงใช้ยาเม็ดลดนํ้าตาล (oral hypoglycemic agent-OHA) และเมื่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นมากขึ้นการใช้ยา OHA จะไม่ได้ผล จึงใช้การฉีดอินซูลิน

การรักษาโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิด มีวัตถุประสงค์โดยรวมเหมือนกัน คือ ลดอาการที่เกิดจากมีระดับนํ้าตาลในเลือดสูง การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 รักษาโดยการฉีดอินซูลินตั้งแต่รู้ว่าเป็นโรคนี้ การฉีดอินซูลินอาจมีผลค้างเคียงบ้าง ได้แก่ ภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า (hypoglycemia) Lipodystrophy
ภาวะแพ้ยา

ระยะแรกที่ฉีดอาจมีอาการบวมบ้าง ตามัวบ้าง และการมีนํ้าหนักตัวเพิ่ม แต่ผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า ซึ่งสามารถแก้ไขโดยให้ดื่มอาหารเหลวพวกคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมเร็ว เช่น นํ้าตาล 1 ช้อนโต๊ะผสมกับนํ้า 100 มล.

การฉีดอินซูลิน The Diabetes Control and Communications Trial (DCCT) ซึ่งเน้นการศึกษาวิธีการจัดการโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้สรุปเป็นข้อเสนอว่า วิธีการที่ดีของการฉีดอินซูลินคือ การเลียนแบบอินซูลินตามธรรมชาติมากที่สุด วิธีการนี้เรียก “intensive” โดยการฉีดวันละ 3 ครั้งขึ้นไป ใช้ข้อกำ หนด “basal-bolus” ซึ่งประกอบด้วยการฉีดอินซูลินแบบออกฤทธิ์เร็วตามมื้ออาหาร เพื่อรักษาระดับนํ้าตาลกลูโคสในเลือดที่แกว่งขึ้นลง

และฉีดอินซูลินแบบออกฤทธิ์ปานกลางหรือช้า 1 ครั้ง เพื่อรักษาระดับตํ่าสุดที่ร่างกายต้องการ ปัจจุบันมีการใช้ปากกาอินซูลินที่สามารถปรับขนาดยาและพกพาได้ให้ผู้ป่วยใช้ได้สะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ DCCT ยังให้ข้อมูลอีกว่า การฉีดอินซูลินโดยการปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตาประมาณร้อยละ 76 โรคไตเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานประมาณร้อยละ 54 และการทำ ลายประสาทประมาณร้อยละ 60 ในประเทศไทยสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทยแนะนำ ให้ฉีดอินซูลินวันละ 2 ครั้งหรือมากกว่านั้นขึ้นไป อย่างไรก็ตามการดูดซึมอินซูลินของผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกัน

การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ขั้นตอนแรก คือ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและออกกำ ลังกายมากขึ้น ในผู้ป่วยนํ้าหนักตัวเกิน การลดนํ้าหนักมีความสำ คัญ ถ้าทำ ทั้งสองอย่างแล้วยังรักษาระดับนํ้าตาลไม่ได้ระดับที่เหมาะสมจึงจะให้รับประทานยา OHA หรือการฉีดอินซูลิน

ยาและผลของยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม OHA มีดังนี้

• Sulphonylureas การะตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งสารอินซูลินมากขึ้น
• Biguanides (metformin) ลดการสร้างนํ้าตาลกลูโคสของตับ และช่วยการดูดซึมนํ้าตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อมากขึ้น
• Alpha-glucosidase inhibitors ชลอการย่อยคาร์โบไฮเดรตในลำ ไส้
• Prandial glocose regulator รับประทานในมื้ออาหารช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
• Insulin sensitisers ช่วยให้มีความไวต่ออินซูลิน

การใช้ยากลุ่ม OHA เพื่อช่วยควบคุมระดับนํ้าตาลกลูโคสในเลือด มีทางเลือก 3 ทาง คือ
ทางเลือกที่ 1 ใช้ยากลุ่ม OHA เพียงอย่างเดียว
ทางเลือกที่ 2 ใช้ยากลุ่ม OHAs 2 ชนิดร่วมกัน

ทางเลือกที่ 3 ฉีดอินซูลินอย่างเดียว หรือร่วมกับการใช้ยากลุ่ม OHAs
อย่างไรก็ตามการรับประทานยากลุ่ม OHA จะมีประสิทธิผลเมื่อร่างกายสามารถสร้างอินซูลินได้อยู่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 บางคนใช้ไม่ได้แล้ว ต้องฉีดอินซูลินเท่านั้น และในช่วงที่มีการเจ็บป่วยรุนแรงอาจต้องฉีดอินซูลินแทนการใช้ยากลุ่ม OHA ชั่วคราว

ในการรักษาระดับนํ้าตาลกลูโคสในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต้องจัดการปัจจัยเสี่ยงด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ การสูบบุหรี่เอกสารทางวิชาการที่ United Kingdom Prospective Diabetes Study (UKPDS) พิมพ์เผยแพร่ปลายปี พ.ศ.2541 แนะนำว่า

การรักษาระดับนํ้าตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับปกติมากเท่าใด ยิ่งลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้มากเท่านั้น โดยมีผลการศึกษาว่า การควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด สามารถลดโรคตาประมาณร้อยละ 25 ลดการทำ ลายไตระยะแรกได้ประมาณร้อยละ 33 การควบคุมความดันโลหิตดีขึ้นประมาณร้อยละ 33 ทำ ให้ลดการตายจากโรคแทรกซ้อนระยะยาว และความเสี่ยงถอยอย่างรวดเร็วของการมองเห็น

1.2.7 สิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรู้

การควบคุมโรคเบาหวานจำ เป็นต้องมีความร่วมมือจากทีมสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักสุขศึกษา โภชนาการ ตัวผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วย และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคแทรกซ้อนที่จำ เป็นของแต่ละคน โดยมีความรู้พื้นฐานที่ควรรู้ ได้แก่

(1) ตัวผู้ป่วยเองเป็นบุคคลที่สำ คัญที่สุดของทีม ในการควบคุมโรคเบาหวาน
(2) พฤติกรรมที่จำ เป็นต้องปรับ เช่น การออกกำ ลังกาย การควบคุมอาหาร สุขนิสัยส่วนบุคคล
(3) ชนิดและปริมาณของอินซูลินที่ใช้ฉีด หรือยาที่ใช้รับประทานลดนํ้าตาล
(4) เวลาที่ฉีดอินซูลินหรือรับประทานยา
(5) วิธีการฉีดอินซูลิน
(6) เวลาที่อินซูลินออกฤทธิ์และเวลาที่ออกฤทธิ์สูงสุด
(7) วิธีการตรวจระดับนํ้าตาลและควรตรวจเมื่อใด
(8) สาเหตุและวิธีการแก้ไข ถ้าเกิดผลข้างเคียงที่มีระดับนํ้าตาลในเลือดตํ่าเกินไป
(9) ความสำ คัญของการรักษาระดับนํ้าตาลกลูโคสในเลือดให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้อยู่เสมอ
(10) เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์
(11) ความสำ คัญของการมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับโรคเบาหวานให้มาก

9.2 โรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปาก ภาวะแทรกซ้อนในช่องปาก พบในผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิดที่ควบคุมไม่ได้ มีการศึกษาหลายครั้งที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้สมํ่าเสมอจะช่วยลดอาการแสดงของโรคแทรกซ้อนในช่องปากได้ และในผู้ป่วยบางคนไม่มีอาการเลย ภาวะแทรกซ้อนในช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานพบได้ตั้งแต่ มีความชุกของโรคปริทันต์สูงกว่า และมีความรุนแรงมากกว่าผู้ที่ไม่มีโรคเบาหวาน

การมีอาการปากแห้ง การมีกลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปาก การติดเชื้อราในช่องปาก (Candidiasis) การที่แผลในช่องปากหายช้า การมีความไวต่อการติดเชื้อมากขึ้น การไหลของนํ้าลายลดลง และการมีต่อมนํ้าลายโตสภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ บางอย่างมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการสูญเสียของเหลว ที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะมากขึ้น

ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ขณะที่อาการปากแห้ง (Xerostomia) มักเป็นผลข้างเคียงจากการรับประทานยาของผู้ป่วยอาการปากแห้งเป็นผลที่ตามมาของการหลั่งนํ้าลายลดลง นำ ไปสู่กลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปากและฟันผุได้ ทั้งยังทำ ให้เกิดการติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น

การศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า มีความชุกของโรคฟันผุเพิ่มขึ้น แต่การศึกษาบางชิ้นแสดงผลตรงกันข้าม โดยมีคำอธิบายว่า การเกิดโรคฟันผุอาจมีอิทธิพลจากการเพิ่มระดับนํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลายที่หลั่งออกมาของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ขณะที่ผู้ควบคุมโรคเบาหวานได้นั้น มีฟันผุลดลง เพราะการลดรับประทานอาหารแป้งและนํ้าตาล

การประเมินการควบคุมโรคเบาหวานที่เชื่อถือได้โดยบุคลากรวิชาชีพ คือ การทดสอบ glycosylated hemoglobin นํ้าตาลกลูโคสจะจับอย่างถาวรกับ hemoglobin เป็น advanced glycosylated end products (AGE) ซึ่งจะอยู่ในกระแสเลือด 90 วัน มีการทดสอบ glycosylated hemoglobin 2 แบบ แบบที่นิยมใช้คือ hemoglobin A1c (HbA1c)

ผลของการทดสอบแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ที่พบ HbA1c ในกระแสเลือด การแปลผลค่า HbA1c ที่แนะนำ เป็นดังนี้
ผลค่าการทดสอบ (ร้อยละ) ปกติ 4-6
ควบคุมได้ดี 7
ควบคุมได้ปานกลาง 7-8
ต้องปรับปรุงการควบคุม >8

ที่มา : Dr Heddie O.Sedano.Dental Implications of Diabetes Mellitus. Periodontics Information Center, UCLA. 10

2.1 โรคเบาหวานกับโรคปริทันต์
มีผลการศึกษาที่มีนัยสำ คัญทางสถิติแสดงว่า โรคเบาหวานเป็นปัจจัยนำ ปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคปริทันต์ พบผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้มีการอักเสบของเหงือกมากผิดปกติมากกว่าผู้ที่ควบคุมได้ ทั้งๆ ที่มีคราบจุลินทรีย์เพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ดีมีความชุกของเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์เหมือนผู้ที่ไม่ป่วย

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อายุน้อยมีความชุกของเหงือกบวมจากการอักเสบ และโรคปริทันต์มากกว่าคนปกติที่อายุเท่ากัน การเกิดฝีหนองปลายรากซํ้าซากเป็นลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคปริทันต์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นผู้ใหญ่และมีอายุน้อย จะมีอาการแสดงทางคลินิกรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่ป่วย การเพิ่มขึ้นของความชุกของเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวานมีข้อสรุปว่า

มีสาเหตุจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ การสะสมของ advanced glycosylated end products (AGE) ในเส้นเลือดของเหงือก สะสมในคอลลาเจนของเยื่อยึดปริทันต์และกระดูกเบ้าฟัน การเพิ่มขึ้นของระดับไขมัน LDL ร่วมกับการมีการหนาตัวของผนังเส้นเลือดแดง การมีระดับนํ้าตาลในเลือดสูงที่รบกวนการหายของแผลโรคปริทันต์

การเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกัน การเพิ่มอ็อกซิเดชั่น การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของ polymorphonuclear leukocyte และพันธุกรรมเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดโรคปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยบางปัจจัยเป็นข้อสรุปที่เข้าใจกันทั่วไปว่า ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม มีปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่สุดนั่นคือ การควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด ซึ่งผู้ที่มีการควบคุมนํ้าตาลกลูโคสที่ยิ่งแย่จะยิ่งทำ ให้โรคปริทันต์รุนแรงขึ้น

มีหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าผู้ป่วยโรคเบาหวานดูแลสภาวะปริทันต์ได้ดีก็จะสามารถทำ ให้สภาวะโรคเบาหวานดีขึ้น ในระดับที่หลายคนสามารถลดปริมาณอินซูลินที่ใช้ฉีดลงได้ ความสัมพันธ์นี้เป็นการศึกษาโดยเก็บค่าการลดลงของ AGE ในกระแสเลือดหลังจากให้การรักษาโรคปริทันต์ด้วยวิธีปกติ

ผู้ที้่เป็นโรคเบาหวานมีความไวต่อการติดเชื้อในช่องปาก รวมทั้งโรคปริทันต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาที่มีการควบคุมระดับนํ้าตาลไม่ดี และกลับกันการที่มีโรคปริทันต์ที่มีอาการ สามารถทำ ให้เสียการควบคุมระดับนํ้าตาลได้ การมีโรคปริทันต์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ได้แก่ โรคของหลอดเลือดหัวใจ และเส้นโลหิตอุดตันในสมอง

นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสนใจสภาวะช่องปากของสตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งนอกจากจะเสี่ยงต่อการคลอดบุตรก่อนกำ หนดและมีนํ้าหนักตํ่ากว่าปกติ แล้วยังมีความเสี่ยงต่อโรคปริทันต์เพิ่มขึ้น ผลกระทบทางลบของโรคปริทันต์ต่อโรคเบาหวาน เช่น การเสียการควบคุมนํ้าตาลและสูญเสียฟัน สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการคัดกรอง ส่งต่อและรักษาโรคปริทันต์

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่จำเป็นต้องได้รับการคัดกรองโรคในช่องปากสมํ่าเสมอ และส่งไปรับการรักษาจากทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างเหมาะสม

2.2 โรคเบาหวานกับโรคฟันผุ Twetman และคณะ พ.ศ.2545 ศึกษาอุบัติการณ์ของโรคฟันผุในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และปัจจัยเสี่ยงต่อโรคฟันผุ ศึกษาในกลุ่มอายุ 8-15 ปี จำ นวน 64 คน ที่เป็นโรคเบาหวานมานานอย่างน้อย 3 ปี เมื่อวินิจฉัยโรคแล้วดำเนินการควบคุมโรคโดยการฉีดอินซูลินแบบออกฤทธิ์เร็วในเวลากลางวันและแบบออกฤทธิ์นานในเวลากลางคืน ตามขนาดที่เหมาะสมของแต่ละราย แล้วเก็บข้อมูลระดับนํ้าตาลในเลือด และ Metabolic control (HbA1c) โดยเก็บจากรายงานทางการแพทย์

สำหรับสุขภาพช่องปากนั้น เก็บข้อมูลนํ้าลายทุก 3 เดือน โดยวัดอัตราการหลั่งนํ้าลาย ความสามารถในการปรับสภาพความเป็นกรด ความเข้มข้นของนํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลาย การนับเชื้อ S. Mutans และ Lactobacilli ในนํ้าลาย มีการตรวจฟัน ซึ่งรวมการตรวจด้วยรังสี ปีละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 ปี พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มี metabolic control ที่ไม่ดี (HbA1c> ร้อยละ 8.0) มีความเข้มข้นของนํ้าตาลในนํ้าลายสูงกว่า และมีอุบัติการโรคฟันผุมากกว่า

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มี metabolic control ดี อย่างมีนัยสำ คัญ นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคฟันผุ ได้แก่ การมีอนามัยช่องปากไม่ดี (OR= 6.5) metabolic control (OR=5.7) การมีฟันผุอยู่เดิม (OR= 5.3) การมีเชื้อ Lactobacilli สูงในนํ้าลาย (OR= 5.0) Karjalanen จาก Oulu University, Finland พ.ศ.2543 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะโรคเบาหวานกับโรคปริทันต์ โรคฟันผุ และปัจจัยในนํ้าลาย

ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอายุ 12-18 ปี พบว่า โรคฟันผุและเหงือกอักเสบมีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวานที่มีการควบคุมไม่ดี โดยพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของความชุกของโรคฟันผุและความรุนแรงของเหงือกอักเสบในกลุ่ม ผู้ป่วยที่มีการควบคุมโรคเบาหวานไม่ดี ซึ่งวัดโดยค่า HbA1 รอ้ ยละ 13 ขึ้นไป เมื่อศึกษาเป็นเวลา 6 เดือน

2.3 โรคเบาหวานกับปัจจัยของนํ้าลาย Harrison และ Bowen พ.ศ.2530 พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีการควบคุมไม่ดีมีการหลั่งนํ้าลายน้อยกว่าผู้ป่วยที่มีการควบคุมดี และ Sreebny และคณะ พ.ศ.2535 พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นผู้ใหญ่ มีอัตราการไหลของนํ้าลายเป็นปฏิภาคกลับกันกับระดับ HbA1c

ส่วน Cherry-Pepper และคณะ พ.ศ.2535 พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มที่มี Impaired glucose tolerance (IGT) และกลุ่มควบคุม มีอัตราการไหลของนํ้าลายเท่ากัน Reuterving และคณะ พ.ศ.2530 ตรวจปัจจัยของนํ้าลายในผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 11 ราย ตอนเริ่มต้น และตรวจหลังจาก Metabolic control ที่ดีขึ้น 1-5 เดือน พบว่า การมี metabolic control ที่ดีขึ้นไม่กระทบต่อความผันแปรของอัตราการไหลของนํ้าลาย แต่มีระดับนํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลายดีขึ้น

Tenovuo และคณะ พ.ศ.2529 วิเคราะห์ระดับนํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลาย ทั้งที่ถูกกระตุ้นในนํ้าลายที่หลั่งตามธรรมชาติ และในเลือดของผู้ป่วย 7 คน จำ นวนตัวอย่างที่วิเคราะห์มากกว่า 100 ตัวอย่าง พบมีความผันแปรของนํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลายอย่างมาก และในรายบุคคลมีสหสัมพันธ์ระหว่างนํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลายกับนํ้าตาลกลูโคสในเลือดแตกต่างกันมาก

บางรายมีสหสัมพันธ์กันสูง บางรายมีสหสัมพันธ์ตํ่า บางรายนํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลายไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่านํ้าตาลกลูโคสในเลือดจะสูงมากก็ตาม Englander และคณะ พ.ศ.2505 Reuterving และคณะ พ.ศ.2530 Ben-Aryeh และคณะ พ.ศ.2531 พบว่า นํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลายจาก parotid gland มีความสัมพันธ์อย่างมากกับนํ้าตาลกลูโคสในเลือดมากกว่าในนํ้าลายจากหลายๆ ต่อมผสมกัน และ Kjellman พ.ศ.2513 Ficara

และคณะ พ.ศ.2518 พบว่า นํ้าตาลกลูโคสในของเหลวในร่องเหงือก มีความสัมพันธ์อย่างมากกับนํ้าตาลกลูโคสในเลือดมากกว่าในนํ้าลายจากหลายๆ ต่อมผสมกัน เช่นกัน Borg Anderson และคณะ พ.ศ.2541 รายงานว่า ในการได้รับคาร์โบไฮเดรตมาตรฐานเดียวกัน ระดับนํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลายจาก parotid gland ในคนสุขภาพดีสูงขึ้นบ้าง แต่ในคนที่มี Impaired glucose tolerance (IGT) และคนที่เป็นโรคเบาหวานที่ชัดเจนมีระดับสูงกว่า

สำหรับจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ในนํ้าลาย Reuterving และคณะ พ.ศ.2530 พบว่า เมื่อมีการควบคุมโรคเบาหวานให้มี metabolic control ดีขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน 11 คน แล้วนับจำนวนเชื้อนํ้าลายผสม (จากทุกต่อมในช่องปาก) จำ นวนเชื้อ mutans streptococci ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ lactobacilli คงที่ Twetman

และคณะ พ.ศ.2532 รายงานว่า มีจำ นวน lactobacilli เพิ่มขึ้นเมื่อมีระดับนํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลายเพิ่มขึ้น แต่ใน พ.ศ.2534 Twetman และคณะ พบว่า ในระหว่างการติดตามผลผู้ป่วยที่เพิ่งวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี ระดับนํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลายมีแนวโน้มลดลงในปีที่ 2 มากกว่าปีที่ 1 และจำ นวน lactobacilli ในนํ้าลายลดลงอย่างมีนัยสำคัญใน 6 เดือนแรก ขณะที่จำ นวน mutans streptococci คงที่

Darwazeh และคณะ พ.ศ.2533 พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มียีสต์ในช่องปาก จะมีระดับนํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลายสูงกว่าผู้ที่ไม่มียีสต์ แม้ว่า Bartholomew และคณะ พ.ศ.2530 Fisher และคณะ พ.ศ.2530 Lamey และคณะ พ.ศ.2531 จะพบว่า การเติบโตของยีสต์ไม่มีความสัมพันธ์กับค่า glycosylated haemoglobin และระดับนํ้าตาลกลูโคสในเลือด

ปัจจัยอื่นๆ ของนํ้าลาย Reuterving และคณะ พ.ศ.2530 พบว่า ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มี metabolic control ที่ดีและไม่ดี มีค่า pH ค่าความสามารถในการปรับสภาพความเป็นกรด หรือส่วนประกอบของเอ็นไซม์และโปรตีนหรือ electroytes พอๆ กัน

Karjalanen พ.ศ.2543 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะโรคเบาหวาน กับโรคในช่องปาก ได้แก่ โรคปริทันต์ โรคฟันผุ และกับปัจจัยในนํ้าลาย ในผู้ป่วยโรคเบาหวานอายุ 12-18 ปี เฉพาะปัจจัยในนํ้าลาย พบว่า ระยะที่มีอาการของโรคเบาหวาน จะมีการหลั่งนํ้าลายลดลง และระดับนํ้าตาลในกลูโคสในนํ้าลายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งยีสต์ มีความสัมพันธ์กับการหลั่งนํ้าลายที่ลดลง และระดับนํ้าตาลกลูโคสในนํ้าลายที่เพิ่มขึ้น

2.4 โรคเบาหวานกับการติดเชื้อราในช่องปาก (Thrush)
ในปากมีเชื้อราเจริญเติบโตอยู่แล้ว ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพราะเชื้อราเจริญได้ดีในนํ้าลายที่มีระดับนํ้าตาลกลูโคสสูง ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ใส่ฟันปลอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใส่ตลอดเวลา ก็ติดเชื้อราได้ง่าย การรักษาการติดเชื้อราต้องใช้ยา ทั้งนี้การควบคุมโรคเบาหวานได้ดี การไม่สูบบุหรี่ การทำ ความสะอาดฟันปลอมทุกวันจะช่วยป้องกันการติดเชื้อราได้

2.5 โรคเบาหวานกับอาการปากแห้ง
ปากแห้งเป็นอาการหนึ่งของโรคเบาหวาน ที่สามารถพบได้ตั้งแต่ยังไม่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ อาการปากแห้งทำ ให้รู้สึกไม่สบายในปาก อาจเกิดแผลที่ทำ ให้เจ็บปวด มีแผลติดเชื้อ และทำ ให้ฟันผุด้วย

อาการปากแห้ง ซึ่งแสดงว่ามีปริมาณนํ้าลายไม่เพียงพอ นํ้าลายเป็นของเหลวตามธรรมชาติที่ช่วยปกป้องช่องปาก ช่วยควบคุมการเติบโตของเชื้อโรคที่ทำ ให้ฟันผุ และโรคติดเชื้ออื่นๆ ของช่องปาก ช่วยล้างอาหารเหนียวติดฟัน

อย่างไรก็ตาม สาเหตุหนึ่งของการมีปากแห้งคือ การรับประทานยา มีตัวยาที่สั่งโดยแพทย์และที่ซื้อขายกันเองมากกว่า 400 ชนิด รวมทั้ง ยาแก้หวัด ยารักษาความดันโลหิตสูงยาคลายเครียด สามารถทำ ให้ปากแห้งได้ การควบคุมนํ้าตาลกลูโคสในเลือดได้ดีช่วยป้องกัน หรือขจัดอาการปากแห้งของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

2.6 บทบาทของทีมสุขภาพดีดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน
นอกจากการให้ความรู้ที่จำ เป็นในการดูแลตนเองต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้ทำ หน้าที่ดูแลแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมควรให้ความสนใจต่อระดับของ glycaemic control การป้องกันโรคในช่องปาก การรักษาโรคที่เกิดในช่องปากอย่างมีประสิทธิภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มี metabolic control ไม่ดี (ค่า HbA1c ร้อยละ 10 ขึ้นไป) สำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ควรได้รับความรู้เกี่ยวกับสภาวะโรคเบาหวานว่า มีความเสี่ยงต่อโรคปริทันต์สูง และจำ เป็นต้องไป

พบทันตแพทย์สมํ่าเสมอ ในความถี่ตามสภาพของแต่ละคน บุคลากรทางการแพทย์และการพยาบาลควรให้ความสนใจโรคปริทันต์ในฐานะที่เป็นโรคแทรกซ้อนโรคหนึ่งของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และต้องส่งต่อไปพบทันตแพทย์ตามเวลาที่เหมาะสมผู้ป่่วยโรคเบาหวานที่ยังมีฟันจะต้องได้รับการคัดกรองสภาวะช่องปากด้วย

เมื่อมาตรวจเบาหวานตามปกติ เพื่อเห็นเหงือกและเนื้อเยื่อช่องปากที่มีสีแดงกว่าปกติ มีเลือดออก ลมหายใจมีกลิ่น มีเศษอาหารสะสมรอบๆ ฟัน เหงือกร่นจนผิวรากฟันโผล่ ฟันโยก ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่มีฟัน ต้องได้รับการคัดกรองหาการอักเสบหรือการเปลี่ยนรูปร่างของเนื้อเยื่อช่องปากแผลที่มีสีขาวหรือสีแดง โดยสามารถทำ ได้ทั้ง แพทย์ พยาบาล บุคลากรวิชาชีพที่ดูแลสุขภาพและผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล

ถ้าพบว่า มีลักษณะอาการที่กล่าวข้างต้นต้องส่งต่อให้ผู้ให้บริการทันตกรรม แต่ถ้าไม่พบ ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็ยังมีความจำ เป็นต้องพบทันตแพทย์เป็นประจำ ตามที่ทันตแพทย์จะนัดเป็นรายๆ ไป ตามสภาพปัญหาของแต่ละคน ทันตแพทย์ควรเป็นสมาชิกที่สำ คัญคนหนึ่งของทีมดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

สาระที่ทันตแพทย์กับทีมดูแลจะต้องสื่อสารทำ ความเข้าใจกันคือ การทำ ให้ผู้ป่วยมีการควบคุมนํ้าตาลได้อย่างเหมาะสมและมีการจัดการโรคเบาหวานที่ดี ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับการส่งต่อและการให้คำ ปรึกษาด้านทันตกรรมเป็นประจำ

ข้อเสนอของ Consensus Guidelines for Diabetes Mellitus Care โดย Indiana State Department of Health จัดเมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2544 เสนอให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีฟันพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่มีฟันพบทันตแพทย์ทุก 12 เดือน และถ้าต้องการคัดกรองพบความผิดปกติ อาจนัดพบให้บ่อยขึ้นได้ตามสภาพปัญหาของแต่ละคน

การดูแลช่องปากตามมาตรฐานได้แก่ การตรวจปากและฟัน ตรวจโรคปริทันต์แบบเต็มรูปแบบ การรักษาโรคปริทันต์ ทั้งที่ต้องผ่าตัดด้วยหรือไม่ก็ตามร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ให้คำ แนะนำ การดูแลช่องปากอย่างเคร่งครัดแก่ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล และนัดตรวจช่องปากสมํ่าเสมอ Moore และคณะ พ.ศ.2543 พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวามักขาดความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับโรคแทรกซ้อนในช่องปาก จึงได้เสนอแนะให้การตรวจฟันครั้งแรกควรมีการให้ทันตสุขศึกษาในประเด็นนี้ด้วย

2.7 ข้อเสนอแนะแนวทางการรักษาทางทันตกรรมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยการให้ผู้ป่วยที่มารับบริการทันตกรรมตอบแบบสอบถามที่ออกแบบได้ดี จะสามารถระบุว่า ผู้มารับบริการทันตกรรมมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคเบาหวานที่ยังไม่ได้วินิจฉัยหรือไม่

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีตัวอย่างคำ ถามพื้นๆ ที่เป็นคำ ถามที่เกี่ยวข้องกับประวัติส่วนบุคคลและประวัติครอบครัวที่ช่วยได้ เช่น ท่านปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืนหรือไม่ ? ท่านกระหายนํ้าบ่อยๆ หรือไม่ ? นอกจากนี้การทราบว่า ผู้มารับบริการมีนํ้าหนักลดลงผิดปกติหรือไม่ การฉุนเฉียวง่าย ช่องปากแห้ง การติดเชื้อซํ้าซาก มีประวัติบาดแผลหายช้า

สตรีที่มีบุตรที่มีนํ้าหนักแรกเกิดหนักมากเกินปกติ (> 4.5 กิโลกรัม) หรือมีประวัติการแท้งบุตรโดยไม่มีสาเหตุชัดเจนหลายๆ ครั้ง อาจมีแนวโน้มการเป็นผู้ป่วยเบาหวานได้ ควรให้ความสนใจสอบถามผู้มารับบริการที่อ้วนและมีอายุมากกว่า 40 ปี ถ้ามีประวัติตามรายการข้างต้น ร่วมกับการตรวจสุขภาพช่องปากพบลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่างว่า เป็นโรคปริทันต์อย่างรุนแรง มีประวัติการเป็นโรคปริทันต์ซํ้าซาก มีฝีหนองหลายตำ แหน่ง มีประวัติการหายของแผลในช่องปากไม่ดี

โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผลถอนฟัน มีอาการปากแห้ง มีการติดเชื้อราในช่องปากนานๆ มีการสูญเสียของประสาทรับความรู้สึก บุคคลที่มีลักษณะที่กล่าวไปแล้วมีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งต้องการการตรวจหาโรคเบาหวานต่อไปก่อนทำ การรักษาทางทันตกรรม

แต่ต้องระลึกไว้ด้วยว่า การติดเชื้อราในช่องปากเป็นเวลานานๆ และนํ้าหนักลดอาจเป็นลักษณะหลักที่พบในผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วย ผู้รับบริการทันตกรรม ที่ทันตแพทย์คัดกรองว่าอาจเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรได้รับการส่งต่อไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยยืนยันต่อไป

Periodontics Information Center, UCLA เสนอแนะว่า ทันตแพทย์ที่ให้การรักษาทางทันตกรรมให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้

(1) ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีการควบคุมอย่างดี สามารถรับการรักษาทางทันตกรรมได้ทุกชนิด
(2) ทันตแพทย์ควรรู้ว่าผู้ป่วยได้รับยาหรือฉีดอินซูลินชนิดใดและขนาดเท่าใด
(3) ทันตแพทย์ควรรู้ประวัติว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารักษาทางทันตกรรมมีประวัติของการมีนํ้าตาลในเลือดตํ่าเกิน (hypoglycemia) เพราะผู้มีประวัติว่าเคยจะมีโอกาสเป็นซํ้าได้อีก
(4) การหลีกเลี่ยงภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า สามารถทำ ได้โดยจัดเวลานัดให้เหมาะสม โดยนัดช่วงที่อินซูลินออกฤทธิ์เต็มที่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังการฉีดอินซูลิน ตั้งแต่ 30 นาที จนถึง 8 ชั่วโมง แล้วแต่ชนิดของอินซูลินที่ใช้
(5) ต้องแนะนำ ผู้ป่วยไม่ให้เปลี่ยนชนิดอินซูลิน เวลาที่ฉีด และเวลามื้ออาหารตามปกติ
(6) ในคลินิกทันตกรรมควรเตรียมนํ้าส้มคั้น หรือนํ้าตาลในรูปแบบอื่นๆ ไว้

(7) ถ้าผู้ป่วยมีการตรวจวัดนํ้าตาลด้วยตนเองอยู่แล้ว ให้ผู้ป่วยนำ อุปกรณ์ที่ใช้วัดมาด้วย
(8) ไม่ควรให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดเพราะจะกระตุ้นให้เกิดนํ้าตาลในเลือดสูงขึ้น
(9) ถ้าต้องมีการผ่าตัดในช่องปากที่ใช้เวลานานๆ ทันตแพทย์ผู้รักษาควรปรึกษาแพทย์ประจำ ตัวผู้ป่วย
(10) ปรึกษาแพทย์ประจำ ตัวผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนเช่น โรคไต โรคหัวใจ หรือผู้ป่วยที่ควบคุมโรคเบาหวานได้ยาก โดยมีการใช้อินซูลินในขนาดสูง หรือผู้ป่วยที่มีฝีหนองปลายราก โดยบางกรณีอาจต้องนอนโรงพยาบาล
(11) ผู้ป่วยในลักษณะข้อ 10 ต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการติดเชื้อและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

ภาวะฉุกเฉินที่สามารถเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สำ คัญ ได้แก่ ภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า (hypoglycemia) ภาวะคีโตแอซิโดซีสจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) ภาวะนํ้าตาลในเลือดสูงมากผิดปกติและหมดสติ (hyperosmolar nonketotic coma)

ทันตแพทย์ที่เป็นผู้ให้บริการทันตกรรมควรตระหนักถึงการป้องกันการเกิดนํ้าตาลในเลือดตํ่าเฉียบพลัน ซึ่งเกิดเมื่อระดับนํ้าตาลกลูโคสในเลือดตํ่ากว่า 60 มก./ดล. อาจมากหรือน้อยกว่านี้ในรายบุคคล ควรเตรียมนํ้าตาลในรูปแบบที่ดูดซึมเร็ว เช่น นํ้าผลไม้ นํ้าตาลทราย ลูกอม เป็นต้น ผู้ป่วยที่อาการของนํ้าตาลในเลือดตํ่าจะดีขึ้นภายใน 10 ถึง 20 นาที หลังจากการได้รับประทานนํ้าตาล 15 กรัม ซึ่งเทียบเท่ากับนํ้าผลไม้ 120 ถึง 180 มล. หรือนํ้าตาลทราย 4 ช้อนชา

ความสำเร็จของการรักษาทันตกรรมแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิด ต้องการข้อมูลประวัติส่วนบุคคลและประวัติครอบครัวโดยละเอียด มีการปรึกษากับแพทย์ประจำตัวผู้ป่วย และความร่วมมือของผู้ป่วยในการควบคุมนํ้าตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด

คำแนะนำ ในการดูแลสุขภาพช่องปากสำ หรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับข้อมูลที่ชัดเจนในความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องปากและโรคปริทันต์ ผู้ให้ข้อมูลควรเลือกใช้วิธีการถ่ายทอดและอุปกรณ์เท่าที่จำ เป็น เนื้อหาของการให้ข้อมูลสุขภาพช่องปากอย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(1) ผู้ป่วยโรคเบาหวานพึงตระหนักว่า ตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องปากเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคปริทันต์
(2) การติดเชื้อในช่องปากสามารถส่งผลที่ไม่ดีต่อชีวิตผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้
(3) ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีความชุกและความรุนแรงของโรคปริทันต์มากกว่าคนปกติ และยิ่งถ้าเป็นโรคเบาหวานมานาน จะยิ่งมีมากขึ้น

(4) โรคปริทันต์อาจนำ ไปสู่การสูญเสียฟัน และเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน แต่สามารถป้องกันได้
(5) การดูแลช่องปากสมํ่าเสมอช่วยทำ ให้การควบคุมโรคเบาหวานทำ ได้ดีขึ้น
(6) มีความจำ เป็นที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องแจ้งแก่ทันตแพทย์ หรือทันตาภิบาลที่ให้การรักษาทางทันตกรรมว่า เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน

(7) เนื่องจากโรคปริทันต์มักไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็น และการรักษาจะได้ผลดีต้องรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น ดังนั้น จึงมีความจำ เป็นต้องปรึกษาทันตแพทย์สมํ่าเสมอ รวมทั้งต้องมีการดูแลช่องปากโดยบุคลากรวิชาชีพและด้วยตนเอง
(8) ปัจจัยสำ คัญของการป้องกันการติดเชื้อในช่องปาก ประกอบด้วยโรคปริทันต์ การควบคุมนํ้าตาลในเลือดที่ดี การควบคุมระดับไขมันในเลือด การรักษาอนามัยช่องปาก และการดูแลฟันสมํ่าเสมอ
(9) การเลิกสูบบุหรี่มีผลดีต่อสุขภาพช่องปาก ยาสูบทุกชนิดเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคปริทันต์

(10) การเป็นโรคปริทันต์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะส่งผลให้ลดประสิทธิผลของยารักษาโรคเบาหวานได้
(11) โรคปริทันต์เป็นปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ โรคของหลอดเลือดหัวใจ และโรคเส้นโลหิตในสมองอุดตัน
(12) ผู้หญิงที่ป่วยโรคเบาหวาน และมีประวัติของการคลอดบุตรนํ้าหนักตํ่ากว่ามาตรฐานจากการคลอดก่อนกำ หนด ควรได้รับความสนใจสุขภาพช่องปาก เพราะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์มากขึ้น

Syrjala และคณะ พ.ศ. 2542 ได้ให้คำ แนะนำ ไว้ว่า การดูแลสุขภาพช่องปากตนเองอย่างดีเยี่ยมและให้ความร่วมมือปฏิบัติตามคำ แนะนำ เรื่องสุขภาพช่องปากอาจเป็นตัวกำ หนดค่าของระดับ HbA1c ได้

สรุปโรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กันแบบ 2 ทาง ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความไวต่อการติดเชื้อในช่องปาก รวมทั้งโรคปริทันต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการควบคุมโรคเบาหวานที่ไม่ดี ส่วนการมีโรคปริทันต์ที่แสดงอาการชัดเจนสามารถทำ ให้ glucemic control ของโรคเบาหวานแย่ลงได้

นอกจากนี้ การเป็นโรคปริทันต์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานในระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน อย่างไรก็ตามสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดผลกระทบของโรคปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ด้วยการคัดกรองเพื่อรับการรักษาโรคปริทันต์ตามระยะเวลาที่สมควรของแต่ละราย

ส่วนโรคและสภาวะช่องปากอื่นๆ ยังมีความชัดเจนไม่มากเท่ากับโรคปริทันต์ ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพียงพอที่จะเกิดความตระหนักว่า ตนเองอยู่ในสภาวะอย่างไร มีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน ทั้งระบบอื่นของร่างกายและในช่องปากอย่างไร ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ที่สำ คัญที่สุด ผู้ป่วยพึงตระหนักว่าตนเองเป็นบุคคลที่สำ คัญที่สุดของทีมดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในการรักษา ควบคุม และป้องกันโรคให้กับตนเอง


webmaster - 26/5/09 at 16:28

บรรณานุกรม : จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. สถานะสุขภาพคนไทย ชุดสุขภาพคนไทยปี พ.ศ. 2543, http://www.dmh.moph.go.th/trenf.htm

สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน พ.ศ. 2543
American Diabetes Association., Criteria for Diagnosis of Diabetes and Testing
Asymptomatic, Undiagnosed Individuals, http:// www.in.gov/isdh/programs
/diabetes/guidelinrs/undiagnosed.htm.
H.O. Sedano , Dental Implications of Diabetes Mellitus. http://www dent..ucla.edu/ftp/pic/visitors/Diabetes. (Periodontics Information Center, UCLA)
K. Karjalainen, Periodontal diseases, dental caries, and saliva in relation to clinical characteristics of type 1 diabetes. http:/herkules.oulu.fi/isbn9514256395/html/ x1497. Html.
Ministry of public Health., Thailand Health Profile, 1997-1998, http://eng.
moph.go.th/profile 97-98 update Jan.2000
M. Schwartz, Diabetes & Dentistry. Be Aware of the Proper Dental Care. Diabetes Interview News. http://members.tripod.com/diabeticsword/dmdentcr.txt
National Institute of Dental and Craniofacial Research, Diabetes : Dental Tips.
http://www.nidcr.nih.gov National Institute of Dental and Craniofacial Research, Gum (Periodontal) Disease. http://www.nidcr.nih.gov
National Institute of Dental and Craniofacial Research, Workshop on Oral Disease and Diabetes. (December 1999), http://www.nidcr.nih.gov
19 N. Moree, Facts About Diabetes., http://ocean.otr.usm.edu/~nflmoree/diabetes.htm,
Last Update: March 2, 1998.
Novo nordisk, Practical Guide for Management of Type 2 Diabetes in Primary Care.
http://www.d4pro.com/diabetesguidelines/
S. G. Grossi et al., Treatment of Periodontal Disease in Diabetic Reduces Glycated Hemoglobin. Journal of Periodontology. Vol.68, No.8, August 1997.
S. Twetman, I. Johansson, D. Birkhed, T. Nederfors, Caries Incidence in Young
Type 1 Diabetes mellitus Patients in Relation to Metabolic Control and Caries
Associated Risk Factors. Caries Research 2002; 36:31-35.
The American Academy of Periodontology., Diabetes., http://www.perio.org/consumer
/mbc.diabetes.htm,Last modified:February 11,2002.
The Diabetes Education Study Group of European Association. Type 2 Diabetes. http://www.desg.org/
The Diabetes Research Working Group, Nederland., Diabetes Basic Facts, Diabetes voor Professional., http://www.d4pro.nl/site/diabetes-facts.asp
The Nation Oral Health Information Clearinghouse, Diabetes: Dental Tips., http://www.nohic.nidce.nih.gov/pubs/tips The National Oral Health Information Clearinghouse, Diabetes and Periodontal Disease., http://www’nidcr.nih.gov/health/pubs/diabetes
U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health, Prevent Diabetic Problem, keep Your Teeth and Gums Healthy. NIH. Publication No. 00-4280, May,2000.


◄ll กลับสู่ด้านบน