ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยนั้นมีรากฐานมานานนับร้อยนับพันปี อารยธรรมต่างๆ ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ในการแสดงถึงชาติ
แสดงถึงเผ่าพันธุ์ และความเป็นผู้ที่เจริญแล้ว สิ่งหนึ่งที่แสดงออกมาได้เป็นอย่างดีก็คือ
ศิลปะที่ผสมผสานและผูกพันอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยนั่นเอง
ศิลปะดังกล่าวนี้รวมไปถึงเรื่องการกินอยู่ด้วยอาทิ เช่น การจัดตั้งสำรับ
และการประกอบจัดอาหาร ก็ไม่เพียงเพื่อความอร่อยลิ้นอย่างวิเศษเพียงประการเดียว ยังมีความสวยงามในการจัดแต่งเป็นองค์ประกอบของอาหารให้งามตายิ่งขึ้นไปอีก
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เครื่องดื่มของไทยนั้นจะแฝงไว้ด้วยเจตนารมณ์ให้ผู้ดื่มได้ซึมซับทั้งรสชาติและคุณประโยชน์ไปพร้อมๆ กันอย่างชาญฉลาด
หากจะสืบสาวถึงความเป็นมาของเครื่องดื่มสมุนไพรก็มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล มีน้ำชนิดหนึ่งเรียกว่า "อัชบาล" หรือ
น้ำปานะ ซึ่งพระสงฆ์สามารถฉันน้ำชนิดนี้ได้ตลอดทั้งวันแทนการขบเคี้ยวอาหารหลังมื้อเพลตามบัญญัติของพุทธศาสนา น้ำปานะนี้ใช้สมุนไพร
หรือพืชผลชนิดที่มีความเผ็ดร้อน เช่น ขิง ข่า กระทือ ตะไคร้ เป็นต้น ต้มในน้ำร้อนและผสมน้ำตาลทรายแดงให้พอมีรสปะแล่มๆ
ซึ่งต่อมานิยมดื่มกันแพร่หลายมาถึงฆราวาสด้วย
ประโยชน์ของสมุนไพร คือ
1. ใช้เป็นยาบำบัดรักษาโรค
2. ใช้เป็นอาหาร
3. ใช้เป็นเครื่องสำอางค์
4. ใช้เป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกาย
5. ใช้ขับสารพิษ
6. ใช้เป็นเครื่องดื่ม
7. ช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ
ประเภทของสมุนไพร
การจำแนกเครื่องดื่มสมุนไพรของไทยตามที่มาและกรรมวิธีนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. น้ำดื่มธรรมดา ซึ่งใช้ตามประเพณีหรือพิธี ได้แก่
- น้ำที่นำไปอบด้วย เครื่องหอมได้แก่กระดังงาลนไฟลอยด้วยดอกมะลิหรือกลีบกุหลาบมอญใช้ถวายพระสงฆ์ในงานพิธีตามประเพณี เช่น
งานทำบุญเลี้ยงพระ งานประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น หรือเป็นน้ำที่ถวายเจ้านายในวังเพื่อใช้เสวยเป็นประจำ
2. น้ำผลไม้ และน้ำดื่มซึ่งเกิดจากการปรุงแต่ง
-จากน้ำอัชบาล หรือน้ำปานะ อันเป็นเครื่องดื่มของพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลนั้น
ในเวลาต่อมาเนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองที่มีพืชพันธ์อุดมสมบูรณ์ และมีผลไม้นานาชนิดที่สลับหมุนเวียนกันตลอดทั้งปี
จึงเกิดความนิยมนำเอาพืชสมุนไพรและผลไม้มาทำเป็นเครื่องดื่ม โดยอาศัยการปรุงแต่งรสชาติด้วยการเติมน้ำตาล หรือเกลือบ้าง เพื่อให้เกิดความอร่อยขึ้น อาทิ
น้ำมะตูม น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะนาว น้ำใบเตย น้ำตะไคร้ และน้ำใบบัวบก เป็นต้น
แต่เดิมพืชและผลไม้ที่จะนำมาทำเป็นเครื่องดื่มนั้น มักจะเก็บมาสดๆ และใช้ทันที รสชาติที่ทำจึงมีความสด และทรงคุณค่าตามธรรมชาติ
มาถึงปัจจุบันนี้เครื่องดื่มได้ถูกประยุกต์ขึ้นต่างรูปแบบ มีการนำวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ในการผลิต มีการบรรจุในภาชนะแบบต่างๆ
เพื่อความสะดวกต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องดื่มของไทยนั้นให้ทั้งรสชาติ และคุณประโยชน์ควบคู่กันไป คุณประโยชน์ที่กล่าวถึงคือ
สรรพคุณทางยาที่ได้จากพืชผลที่นำมาเป็นเครื่องดื่มนั่นเอง อีกทั้งยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายตามธรรมชาติรวมอยู่ด้วย
กาแฟ
ชื่อทางพื้นเมืองอื่น : | - |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : | Coffea arabica Linn,Coffea Liberica Hiern,Coffea robusta Linden |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : |
ประโยชน์ของกาแฟคล้ายกับชา เพราะมีสารสำคัญเป็นคาเฟอีนเช่นกัน เพียงแต่ปริมาณคาเฟอีนในกาแฟมีน้อยกว่าในใบชา
คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ร่างกายตื่นตัว กล้ามเนื้อทำงานดีขึ้นและยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบการหายใจและระบบขับปัสสาวะอีกด้วย
ดังนั้นเมื่อดื่มกาแฟจึงรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ |
หญ้าหนวดแมว
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : |
พยัพเมฆ,บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์) อีตู่ดง (เพชรบูรณ์) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : |
Orthosiphon aristatus Miq |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : |
ใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากมี เกลือโปแตสเซียมมาก
สามารถรักษาได้ทั้งนิ่วด่างที่เกิดจากแคลเซียม(หินปูน) นิ่วกรด ซึ่งเกิดจากกรดยูริก ใช้แก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว ใช้รักษาโรคเบาหวาน
และลดความดันโลหิตอีกด้วย |
ว่านหางจระเข้
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : | ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ) หางตะเข้ (กลาง) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์
: | Aloe barbaclensis Mill |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : |
ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด แผลไฟไหม้จากการฉายรังสี รักษาแผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์หลายชนิด
ยางสีเหลืองจากบริเวณเปลือกในมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย ยาระบาย |
บัวบก
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : | ผักหนอก (ภาคเหนือ) จำปาเครือ กะบังนอก, ผักหมอกช้าง ผักแว่น (จันทบุรี, ภาคใต้) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : | Centella asiafic (Linn) Urban |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : |
ใช้ในการสมานแผลและลดการอักเสพทำ
ให้แผลหายเร็ว ใบและต้นสดตำคั้นน้ำพอก แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลฝีหนองยับยั้ง การแข่งตัวของเซลล์มะเร็ง ชนิด Ehnlich
ascites และ Dalton's Lymyhoma ascites เจ็บอกแก้ช้ำใน พกซ้ำ และบำรุงกำลัง |
ขิง
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ
: | ขิงเผือก(เชียงใหม่), ขิงแดง ขิงแกลง (จันทบุรี) สะเอ (แม่ฮ่องสอน) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์
: |
Zingiber officnale Rose |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : |
มีฤทธิ์ เป็นยากันบูด กันหืน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด ขับลม บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะ
ช่วยป้องกันการเกิดแผล ในกระเพาะอาหาร |
บุก
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : | บุกดาบดก (ชลบุรี) เมีย, เบือ
(แม่ฮ่องสอน) บุกบ้าน, มันซูรัน (กลาง) หัวบุก (ปัตตานี) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : |
Amorphohallus cam panulatus BL.ex Decne |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา: | สารที่มีความสำคัญที่พบได้ในหัวบุกบางพันธุ์ได้แก่ สารกลูโดแมนแนน ซึ่งใช้ประโยชน์ เป็นอาหาร ใช้ชื่ออุตสาหกรรมยา และเครื่องสำอางค์
เป็นสารที่ให้พลังงานต่ำช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือด และต้มได้อีกทั้งยังทำให้การดูดซึมของกูลโคสจากทางเดินอาหารลดลง |
กระเจี๊ยบแดง
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : | กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว
ส้มพอเหมาะ (ภาคกลาง) ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง(ภาคเหนือ) ส้มตะเลงเครา(ตาก) ส้มปู (แม่ฮ่องสอน) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : | Hibiscus Sabdariffa Linn |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา
: | ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยขับปัสสาวะ รักษา นิ่วและโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน ช่วยระบาย ขับกรดยูริก
ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ลดอัตราการดูดซึมแอลกอฮอล์ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโต และการสร้างสารพิษ
แอลฟาทอกซินของเชื้อรา |
คำฝอย
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ
: | ดอกคำ คำ คำหยุม คำยอง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
Carthamus tinetorius Linn |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : |
มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสและเชื้อแบคทีเรียบำรุงโลหิต บำรุงประสาท แก้โรคผิวหนังลดไขมันในเลือด และช่วยป้องกันไขมันอุดตัน
ช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือด |
ชุมเห็ดเทศ
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : | ชุมเห็ดใหญ่ ชุมเห็ด(ภาคกลาง),
ลับมื่นหลวง ขี้คาก ขี้เหล็กสาร หมากกะลิ่งเทศ(ภาคเหนือ) ส้มเห็ด(เชียงราย) ตะสีพอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : |
Cassia alata Linn |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : |
ใช้เป็นยาระบายแก้โรคท้องผูกได้ใบสดใช้ รักษาโรคกลาก และโรคผิวหนังอื่นๆ เช่นฝี แผลพุพองที่เป็นหนอง และโรคน้ำกัดเท้าได้ |
ตะไคร้
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : | ตะไคร้แกง(ภาคกลาง)
ไคร(ภาคเหนือ)
ไครไพเล็ก(ภาคใต้) คาหอม(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : |
Cymbopogon citratus (DC.) Stapf |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : |
เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความร้อนในร่างกาย มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา
และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
|
ทองพันชั่ง
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : | ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่
(ภาคกลาง) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : | Rhinacanthus nasutus Kurz |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : | ต้น ใบ ราก มีสารประกอบออกซีเมททิล
แอนทราควิโนน (Oxymethylanthraquinone) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา สารสกัดจากต้นและใบทองพันชั่งด้วยแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม
มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังต่างๆ รวมทั้งกลากได้ผลดี ในส่วนของใบชงน้ำดื่มเป็นยาระบายและขับปัสสาวะ |
ยอ
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : | ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ
(ภาคเหนือ) แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : | Morinda Citrifolia
Linn |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : | ใช้เป็นยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
ผลยอสุกใช้รับประทานได้เพื่อช่วยบำรุงธาตุ เช่น ขับลม |
หญ้าปักกิ่ง
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : | หญ้าเทวดา |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : | Murdannia Ioriformis (Hassk) Rolla Rao et Kammathy |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : | ใช้รักษาอาการของโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งในลำคอ ตับ มดลูก ลำไส้ ผิวหนัง และเม็ดเลือด
โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และช่วยลดอาการข้างเคียงจากการฉายแสง |
ใบเตย
ชื่อทางพื้นเมืองอื่นๆ : | เตยหอม, หวานข้าวไหม้,
ทังลั้ง(จีน) ปาะแบ๊ะออริง (ปัตษ์ใต้) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : | Pandanus
Odorus |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : | เตยหอมมีรสเย็น หอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น จิตใจผ่องใส
ส่วนต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กษัยช้าเบาพิการได้ดี |
หม่อน
ชื่อทางพื้นเมืองอื่นๆ : | หม่อน, ซึงเฮียะ
(จีน) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : | Morus Alba Linn |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : |
ใบต้มเอาน้ำมาล้างตา แก้ตาแดง ตาแฉะ
ฝ้า ฟาง รับประทานเป็นยาแก้ไอ และ ระงับประสาท |
มะตูม
ชื่อทางพื้นเมืองอื่นๆ : | มะตูม
(ไทยภาคกลาง) มะปีน(เหนือ) กะทันตาเถร, ตุ่มตัง(ลานช้าง) ตูม |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : |
Aegle Marmelos |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : |
ผลอ่อนๆใช้เป็นยาบำรุงธาตุให้เจริญอาหารและขับลม ผลแก่แก้เสมหะและลม บำรุงธาตุไฟย่อยอาหารให้ละเอียด แก้ลมเสียดแทงในท้อง แก้มูกเลือด
ส่วนรากมะตูมแก้พิษฝี พิษไข้ แก้สติเผลอ รักษาน้ำดี |
มะนาว
ชื่อทางพื้นเมืองอื่นๆ : | มะนาว(ภาคกลาง)
ส้มนาว(ภาคเหนือ) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : |
Citrus Aurantifolia |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : |
ใบมะนาวใช้เป็นยากัดฟอกโลหิตระดูเมล็ด มะนาวคั่วให้เหลืองผสมเป็นยาขับเสมหะแก้โรคทรางของเด็ก รากใช้เป็นยาถอนพิษไข้กลับ หรือไข้ซ้ำ
ฝนกับสุราทาแก้ปวดฝีได้ดีถอนพิษสำแดง แก้สติหลงลืม น้ำมะนาวให้ วิตามินซี แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน |
ฝรั่ง
ชื่อทางพื้นเมืองอื่นๆ : | มะแกล(แพร่),
ย่ามู(ใต้) มะมั่น(เหนือ)
มะสี ดา(อีสาน) ชมพู(ปัตตานี) มะปุ่น (สุโขทัย) |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : |
Psidium guajava Linn |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : |
ขับลม แก้ท้องเสีย ดับกลิ่นปาก มีวิตา มิน ซี สูง แก้โรคลักปิดลักเปิด ใบไม่แก่ ไม่อ่อนนัก 10-15 ใบ ปิ้งไฟพอเหลืองชง
กับน้ำร้อนดื่มแก้ท้องเสีย ผลดิบ 1 ผล ฝานตากแดด บด |
รางจืดหรือรางเย็น
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : | รางจืด รางเย็น ฮางจืด ฮางเย็น เถายาเขียว เครือเช้าเย็น |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : |
Milletia Kityana |
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : | รางจืดมีรสเย็น ถอนพิษ
และผาเบื่อเมา แพทย์ตามชนบทใช้ปรุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้ และพิษทั้งปวง รากและเถาใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำแก้พิษร้อนทั้งปวง |
บรรณานุกรม
จันทน์ขาว. 2526. ของดีจากพืชสมุนไพร-ว่านยา.
กรุงเทพฯ: ชีวิน. 199 หน้า.
ธารธรรมแก้ว เชื้อเมือง, เรียบเรียง. 2537. น้ำดื่มสมุนไพรจากพืช และผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพฯ: กำแก้ว. 111 หน้า.
"ประวัติสมุนไพร". สมุนไพรเพื่อสุขภาพ. 1,2 (ธ.ค. 43)
91-95.
พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ. 2524. คู่มือการใช้สมุนไพร.
กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย. 256 หน้า.
พรสวรรค์ ดิษยบุตร. 2543. สมุนไพร: การใช้อย่างถูกวิธี.
กรุงเทพฯ: คัมปายอิมเมจจิ้ง จำกัด. 88 หน้า.
มูลนิธิโกมลคีมทอง. 2530. สมุนไพรชาวบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: โกมลคีมทอง. 168 หน้า
วันดี กฤษณพันธ์. 2539. สมุนไพรน่ารู้. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 267 หน้า.
หมอเสงี่ยม พงษ์บุญรอด. 2519. ไม้เทศเมืองไทยสรรพคุณของยาเทศและยาไทย.
กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ. 595 หน้า.
อมราภรณ์ วงษ์ฟัก. น้ำผลไม้และเครื่องดื่มสมุนไพร.
กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แม่บ้าน. 41 หน้า.
webmaster - 21/7/08 at 10:47
กระเทียม ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn.
ชื่อวงศ์ Alliaceae
ชื่ออังกฤษ Garlic
ชื่อท้องถิ่น เทียม, หอมเทียม, หัวเทียม
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
สารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ 95% มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้กระต่าย (1, 2)
2. ฤทธิ์ขับน้ำดี
กระเทียมเมื่อรับประทานเข้าไป จะไปเพิ่มน้ำย่อยและน้ำดี
3. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุอาการแน่นจุกเสียด
มีรายงานว่ากระเทียมออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียด เช่น E. coli, Shigella เป็นต้น โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ allicin
4. ฤทธิ์ลดการอักเสบ
กระเทียมสามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบ จึงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร อันจะเป็นผลช่วยลดการแน่นจุกเสียด ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ โดยต้านการสังเคราะห์
prostaglandin
5. การทดลองทางคลินิก ใช้รักษาอาการแน่นจุกเสียด
ทางอินเดียทดลองให้สารสกัดกระเทียมด้วยบิวธานอลกับคนไข้ 30 คน ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ พบว่าระงับอาการปวดท้องและขับลม
มีรายงานผลการทดลองในคนไข้ 29 ราย เมื่อได้รับยาเม็ดกระเทียมในขนาด 0.64 กรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารกลางวันและเย็น เป็นเวลา 2 สัปดาห์
สามารถขับลมและลดอาการจุกเสียด คลื่นไส้หลังอาหาร พบว่าใช้ได้ดีทั้งอาการจุกเสียดแบบธรรมดา และเนื่องจากอาการทางประสาท จากการถ่าย X-ray
พบว่าสามารถเพิ่มการบีบตัวแบบขับเคลื่อนของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ทำให้ลมกระจายตัว ผู้วิจัยเรียกสารออกฤทธิ์นี้ว่า gastroenteric allechalcone
6. ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ
กระเทียมสามารถป้องกันตับอักเสบเนื่องจาก carbon tetrachloride , dimethylhydrazine , galactosamine สารสำคัญในการออกฤทธิ์คือ S-propyl cysteine ,
S-allyl mercaptocysteine , S-methyl-mercaptocysteine , ajoene , diallyl sulfide
7. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
มีผู้ทดลองฤทธิ์ต้านเชื้อราของกระเทียมมากมาย พบว่าสารสกัดด้วยน้ำและน้ำมันหอมระเหย สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก คือ
Trichophyton , Epidermophyton และ Microsporum ได้ดี
8. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
สารสำคัญเป็นสารที่ไม่คงตัว พบได้น้อยในพืชในรูปของ alliin เมื่อเซลลูโลสพืชถูกทำลาย alliin ถูกเปลี่ยนเป็น allicin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ และ allicin
ที่อุณหภูมิต่ำๆ จะเปลี่ยนเป็น ajoene ซึ่งยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา เช่นเดียวกับ allicin
9. การทดสอบความเป็นพิษ
9.1 ให้หนูกินสารสกัดกระเทียมด้วยอีเธอร์ขนาด 2-4 กรัม ทุกวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีพิษต่อตับ หัวใจ ไต ต่อมหมวกไต ม้าม ไทรอยด์
9.2 เมื่อป้อนสารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ 95% แก่หนูขาว ซึ่งขาดน้ำดี ไม่พบพิษ
9.3 ฉีดสารสกัดสีขาวไม่มีกลิ่น ละลายน้ำ พบว่ามีฤทธิ์ลดปริมาณแคลเซียม หนูมีอาการกระวนกระวาย เดินไม่ตรง เคลื่อนไหวช้า และเกิดอาการโคม่า
ปริมาณที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง คือ 222 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดกระต่าย โดยค่อยๆ เพิ่มขนาด ทำให้กระต่ายตายในขนาด 100-200
มิลลิกรัม% น้ำมันหอมระเหยขนาด 0.755 ซี.ซี./ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทำให้เกิดอาการงง
9.4 สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ, แอลกอฮอล์ หรืออะซิโตน ทำให้เกิดอาการแพ้ในคน
9.5 Uemori ได้ทดลองให้สารสกัดแอลกอฮอล์ขนาด 0.755 มิลลิกรัม แก่กระต่ายทางหลอดเลือด พบว่าทำให้เกิดอาการกระตุ้นการหายใจตอนแรก
ต่อมาเกิดอาการกดระบบหายใจ และระบบหายใจล้มเหลวในที่สุด เมื่อทดลองให้สารสกัดนี้กับหัวใจกบที่ตัดแยกจากตัว พบว่าจะลดการบีบตัวของหัวใจ และหยุดในที่สุด
แต่อาการพิษจะกำจัดได้โดยการล้างหัวใจ Caffeine จะช่วยลดอาการพิษได้บางส่วน Adrenaline ไม่ได้ผล
แต่เมื่อใช้ atropine จะยับยั้งพิษได้สมบูรณ์ ถ้าใช้ในขนาดน้อยๆจะทำให้หลอดอาหารกระต่ายที่ตัดแยกจากตัวลดการบีบตัว
เมื่อฉีดสารสกัดเข้าหลอดเลือดกระต่าย จะพบอาการต่างๆ ดังนี้ ขนาด 10 มิลลิลิตร ทำให้หัวใจเต้นแรง ขนาด 4 มิลลิลิตร เกิดอาการความดันโลหิตลดลงชั่วคราว
และขนาด 8 มิลลิลิตร มีฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิตและฤทธิ์อยู่ได้นาน
10. ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
เมื่อทดลองฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของเซลล์ไขกระดูก โดยใช้กระเทียมสด ใน ขนาด 1.25, 2.5, 5.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
น้ำคั้นกระเทียมสด และสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ มีผลลดจำนวน micronucleated cell ของเซลล์ไขกระดูก และ polychromatocytes ในหนูและ
Chinese hamster
11. ต้านการก่อกลายพันธุ์
สารสกัดน้ำกระเทียมทำให้เกิดการสูญเสียของ chromatin จากสายใยของ cell nuclei และต้านการก่อกลายพันธุ์ซึ่งเกิดจาก cumol hydroperoxide, ter-butyl
hydroperoxide, hydrogen peroxide และ gamma-irradiation แต่ไม่สามารถต้านฤทธิ์ของ antibiotic, NaN3, 2-nitrofluorene, 1,2-epoxy-3,3,3-trichloropropane
หรือ Alpha-methyl hydronitrosoguoamidine
ดังนั้นสารสกัดน้ำด้วยกระเทียม มีผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์จากปัจจัยซึ่งเป็นปฎิกริยาทางรังสี มากกว่าต้านการทำลายของ DNA
นอกจากนี้การทดลองการต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ของกระเทียม ด้วยสารสกัดต่างๆ ให้ผลดังนี้ สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ ให้ผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ใน E. coli
สารสกัดกระเทียมด้วยอะซิโตน ให้ผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ใน Salmonella typhimurium strain TA89, TA100 ที่เกิดจาก aflatoxin B1
สารสกัดสามารถลดการก่อกลายพันธุ์ได้ 73-93% กระเทียมดิบบด ต้านการก่อกลายพันธุ์ของ 4-metroquinoline-1-oxide แต่ไม่เกิดปฎิกริยาการก่อกลายพันธุ์ของ
UV-irradiation
การใช้กระเทียมรักษาอาการแน่นจุกเสียด
1. นำกระเทียม 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย ผสมให้เข้ากัน กรองเอาน้ำดื่ม
2. นำกระเทียมปอกเปลือก นำเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ ซอยให้ละเอียด รับประทานกับน้ำหลังอาหารทุกมื้อ แก้ปวดท้องอาหารไม่ย่อย
การใช้กระเทียมรักษากลาก เกลื้อน
1. นำกระเทียมมาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นานอย่างน้อย 20 นาที จึงแก้ออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
ทำซ้ำเช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน
2. นำใบมีดมาขูดผิวหนังส่วนที่เป็นเกลื้อนให้พอเลือดซึม แล้วใช้กระเทียมทาลงไป ทำเช่นนี้ทุกวัน 10 วันก็จะหาย
เคล็ดลับของกระเทียม
นักวิจัยสองชาติค้นพบเคล็ดของการปรุงอาหารด้วยกระเทียม ให้ได้คุณค่าอันเป็นคุณประโยชน์แก่ร่างกายมากที่สุด ต้องทุบกระเทียมให้แหลกเสียก่อนใช้
นักวิจัยคลอเดีย อาร์.กัลมารินนีกับคณะในอาร์เจนตินาและที่อเมริกา ได้รายงานผลการศึกษาในวารสาร เคมีวิทยาทางอาหารและการเกษตร ว่า
สาเหตุที่ต้องทุบกระเทียมให้แหลกก่อน ไปปรุงอาหารนั้น ก็เพื่อไม่ให้คุณค่าที่เป็นคุณแก่ร่างกายของสารประกอบในกระเทียมสูญเสีย
คณะนักวิจัยชุดนี้ได้พบ
เมื่อหันมาศึกษาอิทธิพลของความร้อนในการปรุงอาหาร กับสารประกอบทางเคมีที่มีคุณค่าในกระเทียม แทนการศึกษา ของคณะนักวิจัย ก่อนหน้านี้
ที่มักทำแต่กับกระเทียมดิบๆ เท่านั้น
ในการศึกษาคณะนักวิจัยได้พบว่า เพียงถูกความร้อนแค่เพียงไม่กี่นาที คุณค่าของสารประกอบของกระเทียม จะสูญเสียลงแทบหมด โดย
เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้กระเทียมใส่ลงไปทั้งหัว จึงควรทุบมันให้ แหลกเสียก่อน กระเทียมที่ถูกทุบหรือสับให้แหลก
พวกเขาเชื่อว่าการเตรียมทุบกระเทียมขึ้นก่อน จะประกอบอาหาร จะช่วยให้สารอัลลินนาสได้ทำงาน ก่อนจะโดนถูกความร้อนฆ่าฤทธิ์ของเอนไซม์ลงเสีย
รายงานได้แนะนำว่า จึงควรปล่อยกระเทียมที่โดนทุบก่อนจะใช้ปรุงทิ้งไว้นานสัก 10 นาที จะยิ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดการสร้างสารประกอบเหล่านั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ก่อนที่จะโดนถูกความร้อนฆ่าฤทธิ์ลง.
กระเทียม ที่หลายคนเชื่อว่าจะช่วยลดคอเลสเทอรอลได้ด้วย
แต่ว่ารายงานการศึกษาล่าสุดจากสหรัฐอเมริกา พบว่า ไม่ว่ากระเทียมในรูปแบบที่กินสดๆ หรือแบบที่เป็นอาหารเสริมนั้น ไม่ได้
ลดระดับคอเลสเทอรอลแต่อย่างใด
(เรื่องนี้ตีพิมพ์ ผลการศึกษาไว้ในวารสารวิชาการ อาร์ไคฟ์ ออฟ อินเทอร์นัล เมดิซิน
ที่รายงานว่าจากการศึกษาเปรียบเทียบกระเทียมสดกับกระเทียมที่เป็นอาหารเสริม 2 ชนิด นั้นพบว่าทั้งหมดไม่ได้มีผลต่อการลดคอเลสเทอรอลในร่างกาย)
กระชายดำ
รายละเอียด: ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora Wall. Ex Baker
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ส่วนที่ใช้ : เหง้า / หัว
สารสำคัญ : สารที่พบในเหง้ากระชาย ได้แก่ borneol, sylvestrene ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านจุลชีพ และสาร 5,7 ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7- dimethoxyflavone = 5,7 DMF)
ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านอักเสบ นอกจากนี้ รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นปี 2547 พบสารพวกฟลาโวนอยด์ 9 ชนิด เช่น สาร 5,7,4-trimethoxyflavone,
5,7,3,4-tetramethoxyflavone , 3,5,7,4 tetramethoxyflavone เป็นต้น
ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
1. ฤทธิ์ต้านอักเสบ
สาร 5,7 ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดำ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเทียบได้กับยามาตรฐานหลายชนิด คือ แอสไพริน , อินโดเมธาซิน,
ไฮโดรคอร์ติโซน และเพรดนิโซโลน จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสารนี้ในสัตว์ทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ พบว่าสาร 5,7-DMF
สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง
โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวจากสารคาราจีนแนนและเคโอลินได้ดีกว่าฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง granuloma จากการฝังสำลีใต้ผิวหนัง นอกจากนี้
พบว่า สาร 5,7-DMF มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด exudation และการสร้างสาร prostaglandin อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในช่องปอดของหนูขาว (rat
pleurisy)
2. ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์
สาร 5,7,4-trimethoxyflavone และ 5,7,3,4 tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ส่วนสาร
3,5,7,4-tetramethoxyflavone และ 5,7,4-trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อน
3. พิษต่อเซลล์มะเร็ง (cytotoxic activity)
จากการทดสอบผลของฟลาโวนอยด์ 9 ชนิดของกระชายดำต่อเซลล์มะเร็ง เช่น KB , BC หรือ NCI-H187 ไม่พบว่ามีสารใดทำให้เกิดพิษต่อเซลล์มะเร็งที่ทดสอบ
4. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง
มีรายงานการวิจัยว่า สารสกัดด้วยเอธานอลของกระชายดำมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta)ละลดการหดเกร็งของลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูขาว
และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของคน
การศึกษาทางพิษวิทยา
การศึกษาพิษเรื้อรังระยะเวลา 6 เดือน ของผงกระชายดำในหนูขาว ในขนาด 20 , 200 , 1000 และ 2000 มก/กก./วัน เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำ พบว่า
หนูที่ได้รับกระชายดำทุกกลุ่มมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อาการและสุขภาพไม่แตกต่างจากลุ่มควบคุมหนูที่ได้รับกระชายดำขนาด 2000 มก./กก.
มีน้ำหนักสัมพันธ์ของตับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
อาจเนื่องจากมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และมีเม็ดเลือดขาวอิโอสิโนฟิสต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังคงอยู่ในช่วงค่าปกติ
ในหนูเพสเมียที่ได้รับกระชายดำขนาด 2000 มก./กก. มีระดับโคเลสเตอรอลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ หนูทั้งสองเพสที่ได้รับกระชายดำ 2000 มก./กก.
มีระดับซีรั่มโซเดียมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญแต่ยังอยู่ในช่วงค่าปกติ
ผลการตรวจอวัยวะทางจุลพยาธิวิทยานั้นไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ว่าเกิดจากความเป็นพิษของกระชายดำ
รายงานการวิจัยทางคลินิก
ยังไม่มีรายงานศึกษาวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิผลของกระชายดำในคน
ขนาดที่ใช้ และวิธีใช้
ตามตำรายาแผนโบราณ กระชายดำมีสรรพคุณแก้โรคบิด ปวดท้อง ลมป่วงทุกชนิด และเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้
กระชายดำแบบหัวสด ใช้เหง้า (หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารอาหารเย็นปริมาณ 30 ซีซี. หรือฝานเป็นแว่นบาง ๆ
แช่น้ำดื่ม หรือจะดองกับน้ำผึ้ง ในอัตราส่วน 1: 1
กระชายดำแบบหัวแห้ง หัวแห้งดองกับน้ำผึ้งแท้ในอัตราส่วน 1:1 นาน 7 วัน แล้วนำมาดื่มก่อนนอน
กระชายดำแบบชาชง ผงแห้งกระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.) แต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้งตามต้องการ
เอกสารอ้างอิง
1. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544) พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรุงเทพฯ : บริษัทประชาชน จำกัด , 2544
2. http://www.doa.go.th/data-agri/02_LOCAL/oard3/kachaidum/main.html
3. ณาตยา ธนะศิริวัฒนา, สุนิดา ณ ตะกั่วทุ่ง, ธนนันต์ ฐานะจาโร องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยกระชายดำ เปราะหอม
และเฒ่าหนังแห้ง, คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
4. Yenchai C, Prasanphen K, Doodee S, et al. Bioactive fla-vonoids from Kaempferia Parvifor. Fitoterapia 2004; 75(1) : 89-92.
5. วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง. การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของ 5,7-DMF วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2528.
6. Wattanapitayakul S, Nawinprasert A, Herunsalee A, et al. Vasodilation, antispasmodic and antiplatelet actions of Kaempferia parviflora. The
Sixth JSPS-NECT Joint Seminar : Recent Advances in Natural Medicine Research. December 2-4, 2003 Bangkok, Thailand (Poster presen-tation)
7. ทรงพล ชีวะพัฒน์, ณุฉัตรา จันทร์สุวาณิชย์, ปราณี ชวลิตธำรง และคณะการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของผงกระชายดำ.
วารสารกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2547 (รอตีพิมพ์)
8. ของดีจากพืชสมุนไพร-ว่านยา โดย จันทน์ขาว หน้า 135-137
webmaster - 13/12/09 at 05:56
(Update 13-12-52)
แพทย์ไทยวิจัยพบ "เถาวัลย์เปรียง" รักษาอาการปวด
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วิจัยพบสารสกัด "เถาวัลย์เปรียง" มีสรรพคุณรักษาอาการปวดเทียบเท่า ยาไดโคลฟีแนค และยานาโปรเซน
แถมยังไม่เกิดผลข้างเคียง เดินหน้ารวบรวมข้อมูลให้องค์การเภสัชฯ ผลิต ...
เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงพยาบาลวังน้ำเย็น
จ.สระแก้ว ได้ร่วมกันวิจัยทางคลินิกเพื่อศึกษาประสิทธิผล และผลข้างเคียงของสารสกัด "เถาวัลย์เปรียง"
ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง จำนวน 70 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูล ขนาด 200 มิลลิกรัม วันละ 3
ครั้งเป็นเวลา 7 วัน และผู้ป่วยที่ได้รับยาแผนปัจจุบันไดโคลฟีแนค(Diclofenac) ขนาด 25 มิลลิกรัมวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีอาการปวดลดลงอย่างชัดเจนในวันที่ 3 และวันที่ 7
โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีเม็ดเลือดขาวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 7
ของการรักษาแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีรวมทั้ง ผลข้างเคียง
นพ.จักรธรรม กล่าวต่อว่า ส่วนการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในการรักษา อาการอักเสบจากข้อเข่าเสื่อมนั้น
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมการวิจัยทางคลินิกกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมเข้าร่วมโครงการจำนวน 125 คน
แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาแผนปัจจุบันนาโปรเซน (Naproxen) ขนาด 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์
และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาสารสกัดเถาวัลย์เปรียงขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์
ผลการศึกษาพบว่า ยาแผนปัจจุบันนาโปรเซนและสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิผลและความปลอดภัย ไม่แตกต่างกัน และผู้ป่วยที่ได้รับยาทั้ง 2
กลุ่มมีความพึงพอใจต่อการรักษาร้อยละ 80
นางมาลี บรรจบ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการทดสอบความปลอดภัย
และประสิทธิผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในอาสาสมัคร สุขภาพดี 59 ราย โดยให้อาสาสมัครรับประทานแคปซูลสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ครั้งละ 1
แคปซูล (200 มิลลิกรัม/แคปซูล) วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าอาสาสมัครทั้งหมด ไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ
ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสกัดสาระสำคัญและควบคุมคุณภาพให้องค์การเภสัชกรรม แล้ว
เพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรม และมีการใช้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะเพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆได้นำไปใช้กับผู้ ป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุ.
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวการศึกษา
13 ธันวาคม 2552, 00:45 น.