รายการ "โลกมหัศจรรย์" การมองเห็น ทาง Modernine TV
webmaster - 30/8/08 at 08:11
รายการ "โลกมหัศจรรย์" ทาง Modernine TV
มหัศจรรย์สายตา และการมองเห็น ออกอากาศเมื่อ : 2008-09-07
ส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างตา
1. ขอบตาหรือหนังตา (Eyelids )
2. ขนตา (Eyelashes)
3. เยื่อบุตาขาว (Conjunctiva)
4. กระจกตา (Cornea)
5. ม่านตา (Iris)
6. รูม่านตา (Pupil)
7. เลนส์ตา (Crystalline Lens)
8. เอ็นยึดเลนส์ตา (Suspensory Ligarments)
9. กล้ามเนื้อปรับเลนส์ตา (Ciliary body)
10. น้ำช่องลูกตาหน้า (Aqueous Humor)
11. วุ้นช่องลูกตาหลัง (Vitreous Humor)
12. ตาขาว ( Sclera)
13. โครอยด์ (Choroid)
14. จอรับภาพ ( Retina)
15. ออพติค ดิสค์ (Optic Disc)
16. ออพติค คัพ ( Optic Cup)
17. เส้นประสาท (Optic Nerve)
18. เส้นเลือดดำ-แดง (Vein,Artery)
19. ต่อมผลิตน้ำตา ( Lacrimal Gland)
20. ท่อระบายน้ำตา ( Puncta)
โครงสร้างตา ( OCULAR ANATOMY )
ตา (The Eye)
"ตา" เป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการมองภาพ มีส่วนประกอบและกลไกในการทำงานค่อนข้างสลับซับซ้อน สำหรับส่วนประกอบหลักที่สำคัญของโครงสร้างตาที่ควรทราบ
ได้แก่
1. ขอบตาหรือหนังตา (Eyelids) คือ ผิวหนังบริเวณขอบในสุดของช่องลูกตา (Palpebral Aperture)
เป็นผิวหนังส่วนที่บางที่สุดของร่างกายมนุษย์และไวต่อความรู้สึก ทำหน้าที่ปกป้องลูกตาจากสิ่งแปลกปลอม โดยการกระพริบตาและปิดตาอย่างรวดเร็ว
ควบคุมปริมาณแสงที่เข้าสู่ตา โดยการหยีหรือหรี่ตา กระจายน้ำตาให้ทั่วลูกตา ในขณะกระพริบตา
2. ขนตา (Eyelashes) ตามปกติขนตาของคนเราจะมีประมาณ 2 3 แถว ขึ้นรอบขอบตา ทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้เข้าสู่ลูกตา
3. เยื่อบุตาขาว (Conjunctiva) มีประโยชน์คือ ทำให้ลูกตามีความเรียบและลื่นขณะกระพริบตา
4. กระจกตา (Cornea) เป็นอวัยวะส่วนสำคัญ ที่มีหน้าที่ในการหักเหแสง มีลักษณะใส ไม่มีเส้นเลือด ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ 5 ชั้น เป็นส่วนปลายของเส้นประสาท
ทำให้ไวต่อความรู้สึก มี Power ประมาณ + 44.00 D. มีความโค้ง (Base Curve) 7.7 7.9 ม.ม.
5. ม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อทึบแสง ประกอบด้วยเม็ดสี (Pigment) จำนวนมาก เป็นส่วนที่ทำให้ตามีสีต่าง ๆ เช่น น้ำตาล , ดำ , ฟ้า
ซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อชาติและพันธุกรรม
6. รูม่านตา (Pupil) ลักษณะเป็นรูกลมขนาด 4 5 ม.ม. อยู่กึ่งกลางม่านตา
สามารถหดตัวให้เล็กลงเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงสว่างมากและขยายใหญ่ขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืด เป็นส่วนที่ยอมให้แสงผ่านเข้าไปในโครงสร้างตาภายใน
ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงให้พอเหมาะ
7. เลนส์ตา (Crystalline Lens) เป็นส่วนที่มีหน้าที่หักเหแสงและโฟกัสภาพ มีลักษณะคล้ายเลนส์นูนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นส่วนที่มีกระบวนการเพ่ง
(Accommodation) เกิดขึ้น โดยการเปลี่ยนรูปร่างให้นูนมากขึ้นหรือแบนลงตามระยะของวัตถุที่มอง มีลักษณะใส, โปร่งแสง Power ของเลนส์ตาขณะไม่มีการเพ่ง = +
19.00 D. Power ของเลนส์ตาขณะเพ่งสูงสุด = + 33.00 D.
8. เส้นเอ็นยึดเลนส์ตา (Suspensory Ligaments) เป็นเส้นเอ็นเล็ก ๆ ที่เหนียว ทำหน้าที่ยึดเลนส์ตาให้อยู่ในตำแหน่งปกติ
9. กล้ามเนื้อปรับเลนส์ตา (Ciliary Body) เป็นส่วนฐานของม่านตา (IRIS) ทำหน้าที่ช่วยในกระบวนการเพ่ง
10. น้ำช่องลูกตาหน้า (Aqueous Humor) มีลักษณะเป็นของเหลวใส (Liquid) คล้ายน้ำอยู่ระหว่างกระจกตากับเลนส์ตา ทำหน้าที่ช่วยรักษาความโค้งของกระจกตา
11. น้ำวุ้นช่องลูกตาหลัง (Vitreous Humor) มีลักษณะเป็นของเหลวใส มีความหนืดคล้ายเจล อยู่หลังเลนส์ตา ช่วยรักษารูปทรงของลูกตา (Eyeball)
ให้อยู่ในสภาวะปกติ
12. ตาขาว (Sclera) มีลักษณะเป็นสีขาว เป็นชั้นที่มีความหนา , เหนียวและแข็งแรง มีหน้าที่รักษารูปทรงลูกตาและปกป้องโครงสร้างตาภายในทั้งหมด
13. โครอยด์ (Choroid) เป็นชั้นบาง ๆ สีน้ำตาลเข้มถึงดำ ประกอบด้วยเส้นเลือด (Vascular) เป็นจำนวนมาก อยู่กึ่งกลางระหว่างตาขาวกับจอรับภาพ
14. จอรับภาพหรือจอประสาทตา (Retina) คืออวัยวะที่ทำหน้าที่รับภาพคล้ายกับฟิล์มในกล้องถ่ายรูป เป็นชั้นที่อยู่ภายในสุด มีลักษณะเป็นแผ่นบางและใส
ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ ถึง 10 ชั้น ภายในเรตินาเราจะพบส่วนต่าง ๆ ดังนี้ รอดส์ ( Rods ) ทำหน้าที่รับภาพในตอนกลางคืนหรือในที่มืด โคนส์ (Cones)
ทำหน้าที่รับภาพในช่วงกลางวัน มัคคิวล่า (Macula) เป็นส่วนเล็ก ๆ ในเรตินา ขนาด 1 2 มม. ปราศจากเส้นเลือด โฟเวีย (Fovea) ศูนย์กลางของมัคคิวล่า
จุดที่ปรากฏภาพชัดเจนที่สุด
15. ออพติค ดิสด์ (Optic Disc) เป็นส่วนหัวของเส้นประสาท มีลักษณะกลมหรือรี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จุดบอดของตา คือไม่มีการมองเห็นเกิดขึ้น
หากแสงไปตกบริเวณนี้
16. ออพติค คัพ (Optic Cup) อยู่บริเวณศูนย์กลาง จุดบอดของตา มีรูปร่างคล้ายกรวย เป็นส่วนที่เส้นประสาทตาแยกออกจากกัน
17. เส้นประสาทตา (Optic Nerve) เป็นเส้นประสาทที่มีหน้าที่นำภาพทั้งหมดที่ปรากฏขึ้นไปสู่สมอง (Brain) โดยสมองจะทำหน้าที่
แปรผลว่าภาพที่เห็นนั้นคือวัตถุอะไร
18. เส้นเลือด ดำ แดง (Retinal Vein , Artery) เส้นเลือดแดงทำหน้าที่ลำเลียงอ๊อกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงโครงสร้างตาภายใน
ส่วนเส้นเลือดดำทำหน้าที่ลำเลียงเลือดเสียออกมาสู่กระบวนการฟอกที่ปอดต่อไป
19. ต่อมผลิตน้ำตา (Lacrimal Gland) ตำแหน่งอยู่บริเวณด้านบนของหางตา ทำหน้าที่ผลิตน้ำตาเพื่อหล่อเลี้ยงผิวตาให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา
โดยมีขอบตาทำหน้าที่เกลี่ยน้ำตาให้กระจายทั่วถึงในขณะที่มีการกระพริบตา
20. ท่อระบายน้ำตา (Puncta) เป็นท่ออยู่บริเวณหัวตาบนและล่าง ทำหน้าที่ระบายน้ำตาลงสู่โพรงจมูกและลำคอ
โรคตาทั่วไป (Occular Diseases)
1. ต้อเนื้อ ( Pterygium )
เกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อบุตาขาวเนื่องจากโดนลมฝุ่นหรือแสงแดดเป็นประจำ มีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อสีชมพูออกแดง รูปสามเหลี่ยม ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่หัวตา
แล้วค่อย ๆ ลามไปจนถึงกลางตาดำ หากลุกลามไปถึงบริเวณรูม่านตาจะทำให้การมองเห็นแย่ลง ควรหลีกเลี่ยงการใส่ คอนแท็คเลนส์ การรักษา โดยการผ่าตัดลอกออก
2. ต้อลม ( Pinguecula )
เกิดจากการเสื่อมของเยื่อบุตาขาวเช่นเดียวกับต้อเนื้อ มีสาเหตุคล้าย ๆ กัน คือโดนลมหรือฝุ่นปะทะอยู่บ่อย ๆ อาการ จะน้อยกว่าต้อเนื้อ คือ เป็นตุ่มเล็ก
ๆสีขาวออกเหลือง เกิดขึ้นรอบ ๆ ตาดำ ส่วนใหญ่ไม่ลุกลาม การรักษา หากไม่มีการอักเสบรุนแรง ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา
3. ต้อกระจก ( Cataract )
คือสภาวะการขุ่นมัวและแข็งตัว ของเลนส์ตาที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การเสื่อมสภาพตามอายุขัย , อุบัติเหตุ , พิษจากสารเคมีและกรรมพันธุ์
ทำให้การมองเห็นแย่ลง หรือมองเห็นภาพในลักษณะคล้ายควันหรือหมอกบัง การรักษา โดยการผ่าตัดเอาเลนส์ตาออก ( ซึ่งมักจะทำเมื่อต้อสุกแล้ว )
หลังผ่าตัดอาจแก้ไขสายตาโดยการฝังเลนส์เทียม I.O.L. ( Intra ocular lens ) หรือใช้เลนส์แว่นตาประเภท สำหรับสายตาหลังการผ่าตัด
4. ต้อหิน( Glaucoma )
เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น โรคแทรกซ้อน , อุบัติเหตุหรือใช้ยาหยอดตาพวกสเตียรอยด์ นาน ๆ มีอาการหลักคือ ปวดตาสู้แสงไม่ได้ , มองเห็นสีรุ้งรอบ ๆ
หลอดไฟ ตามัวลงเรื่อย ๆ และอาจทำให้ตาบอดได้ในที่สุด การรักษา มีตั้งแต่ใช้ยาหยอด จนถึงการผ่าตัด
5. ตากุ้งยิง ( Stye )
คือสภาวะที่เกิดฝีเม็ดเล็ก ๆ ที่เปลือกตาบนหรือล่าง มีอาการเจ็บและเป็นหนอง
สาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ต่อมไขมันบริเวณโคนขนตามักเกิดขึ้นในระยะที่ร่างกายอ่อนแอและไม่รักษาความสะอาดบริเวณเปลือกตา รวมทั้งการฝืนใช้สายตานาน ๆ
การรักษาโดยใช้ยาหยอดหรือป้าย และอาจต้องผ่าตัดหากจำเป็น
6. ตาแดง ( Acute Conjunctivitis )
เป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นทุกปี เกิดจากเชื้อไวรัส (Virus) อาการของโรคคือ บริเวณตาขาวจะมีสีชมพู - แดง , มีน้ำตาหรือขี้ตามาก , แสบตาและเคืองตา ,
สู้แสงไม่ได้ รวมทั้งปวดตา การป้องกันโดยหลีกเลี่ยงการคลุกคลีและใช้สิ่งของรวมกับผู้ป่วย , ล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ , ห้ามขยี้ตา การรักษา โดยการหยอดตา
ระยะของโรคประมาณ 13 สัปดาห์จึงจะหาย
ความรู้เกี่ยวกับสายตา
(Refractive Status Of The Eye)
สายตา ( Eyesight )
หมายถึงความสามารถของการใช้ตามองภาพ การที่จะเรียกว่าสายตาดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าการมองเห็นได้ชัดเจนดีแค่ไหน เช่น บางคนมองเห็นตัวเลขบน
สเนลเลนส์ ชาร์ต จนถึงแถวท้าย ๆ เราก็เรียกว่า สายตาดี แต่บางคนมองได้แค่บางแถว อย่างนี้เรียกว่า สายตาไม่ดี
ประเภทของสายตา เราสามารถแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. สายตาปกติ (Emmetropia)
2. สายตาสั้น (Myopia)
3. สายตายาว (Hyperopia)
4. สายตาเอียง (Astigmatism)
5. สายตาคนสูงอายุ (Presbyopia)
(1) สายตาปกติ (Emmetropia)
คือสภาวะที่เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุมีการหักเหผ่านส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างตาแล้วไปโฟกัสลงพอดีที่จอรับภาพ (Retina)
ก็จะทำให้การมองเห็นภาพนั้นชัดเจนเป็นปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้แว่นตา คนที่จะมีสายตาปกติเช่นนี้ จะต้องมีโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ของลูกตาที่พอดี
ลักษณะการโฟกัสแสงของสายตาปกติ
(2) สายตาสั้น (Myopia)
คือ สภาวะที่แสงสะท้อนจากวัตถุมีการโฟกัสตกก่อนที่จะถึงจอรับภาพ (Retina) ทำให้เกิดปัญหามองไกลไม่ชัด สาเหตุของสายตาสั้น(Causes)
1. เกิดจากลูกตามีขนาดใหญ่หรือยาวเกินไป (Elongated Eyeball)
2. มีกระจกตาที่โค้งมากผิดปกติ (Shape of the Cornea too steep)
3. เกิดจากพันธุกรรม (Heredity)
4. ขาดหรือได้รับวิตามิน เอ น้อยเกินไป (Vitamin A Deficiency) ลักษณะการโฟกัสแสงของสายตาสั้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดสายตาสั้น
เช่น s ใช้สายตาในที่แสงสว่างไม่เพียงพอติดต่อกันนาน ๆ (Improper use of vision) s เด็กที่คลอดก่อนกำหนด (Premature) s คนไข้ที่เป็นต้อกระจกในระยะเริ่มแรก
(Acquired Myopia) s ผลข้างเคียงของโรคบางชนิด
อาการของคนสายตาสั้น ( Symptoms )
1. มองไกลไม่ชัด (Bluring at far)
2. ปวดศีรษะซึ่งเกิดจากการพยายามหยีตามองภาพ (Headache)
3. มีอาการแพ้แสง (Photophobia)
ลักษณะของคนสายตาสั้น (Signs)
1. หยีตามองภาพ (Squinting)
2. จ้องภาพหรือวัตถุนาน ๆ เนื่องจากมองไม่ชัด (Staring expression)
3. รูม่านตาใหญ่ ทำให้แพ้แสงได้ง่าย ( Dilated Pupil)
4. ลูกตามีลักษณะโปน (Exophthalmos) การแก้ไข (Treatment) - ให้เลนส์เว้าหรือเรียกว่าเลนส์สายตาสั้น (Concave Lens)
(3) สายตายาว (Hyperopia)
คือ สภาวะที่แสงสะท้อนจากวัตถุมีการโฟกัสตกหลังจอรับภาพ ซึ่งตรงกันข้ามกับสายตาสั้น ลักษณะการโฟกัสแสงของสายตายาว
สาเหตุของสายตายาว (Causes)
1. เกิดจากลูกตามีขนาดเล็กเกินไป ( Micropthalmus )
2. มีกระจกตาค่อนข้างแบน (Flat Cornea)
3. พันธุกรรม (Heredity) สาเหตุอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดสายตายาว เช่น s สภาวะไร้เลนส์ตาจากการลอกต้อกระจก (Aphakia) s
โครงสร้างลูกตาอยู่ในสภาวะที่ยังไม่พัฒนาให้โตเต็มขนาด (เด็กเล็ก) s อวัยวะบางส่วนที่ใช้ในกระบวนการเพ่ง เสื่อมหรือพิการ
อาการของสายตายาว (Symptoms)
1. มองไกลไม่ชัด (กรณีสายตายาวที่มี Power ต่ำ)
2. มองไม่ชัดทั้งไกลและใกล้ (กรณีสายตายาวที่มี Power สูง)
3. ปวดศีรษะบริเวณหน้าผาก , ขมับ , ท้ายทอย , ระหว่างคิ้ว
4. ในบางรายอาจมีน้ำตาคลอที่หัวตา , คลื่นไส้หรืออ่อนเพลียเป็นประจำ
ลักษณะของคนสายตายาว ( Signs )
1. ลูกตามีขนาดค่อนข้างเล็กผิดปกติ
2. มีรอยย่นบริเวณหัวคิ้ว (เนื่องจากขมวดคิ้วเพื่อเพ่งมองภาพเป็นประจำ)
3. อาจมีอาการตาเขเข้าหากัน (Esophoria) การแก้ไข (Treatment) - ใช้เลนส์นูนหรือเลนส์สายตาบวก (Convex Lens) หมายเหตุ :
สายตายาวเกิดขึ้นได้ในเด็กและวัยรุ่น แตกต่างกับสายตาคนสูงอายุ ซึ่งเกิดในคนอายุ 3840 ปีขึ้นไป
(4) สายตาเอียง (Astigmatism)
คือ สภาวะที่แสงสะท้อนจากวัตถุมีการโฟกัสมากกว่า 1 จุด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของกระจกตา (Cornea)
ที่มีความโค้งของแนวตั้งและแนวนอนแตกต่างกันมาก เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ในคนสายตาปกติความโค้งของกระจกตาจะคล้ายลูกฟุตบอล
แต่คนสายตาเอียงจะมีความโค้งของกระจกตาคล้าย ๆ ลูก รักบี้ ลักษณะของกระจกตา สายปกติ สายตาเอียง
สาเหตุของสายตาเอียง (Causes)
1. กระจกตาแนวตั้งและแนวนอนมีความโค้งที่แตกต่างกัน มีลักษณะคล้ายลูก รักบี้ (Hyperboric shape)
2. ผิวของกระจกตาไม่เรียบ (Un-Equal curvature of the Cornea)
3. เลนส์ตาอยู่ในตำแหน่งผิดปกติ
4. สาเหตุอื่น ๆ เช่น พันธุกรรม , อุบัติเหตุ , ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดลอกต้อ
อาการของสายตาเอียง ( Symptoms )
1. มองไม่ชัด ทั้งไกลและใกล้ (Bluring both far and near)
2. มองเห็นภาพซ้อน (Double Vision)
3. ปวดล้ากระบอกตา รวมถึงปวดศีรษะ (Asthenopia)
4. ในบางรายอาจมีอาการน้ำตาไหล (Tearing) หรืออาจมีอาการคลื่นไส้ในบางราย
ลักษณะของคนสายตาเอียง ( Signs )
1. หยีตาหรือขมวดคิ้วเพื่อมองภาพ
2. รูม่านตามีขนาดเล็ก (Constricted Pupil )
3. บางรายอาจมีการเอียงศีรษะมองภาพ
การแก้ไข (Treatment)
- ใช้เลนส์ทรงกระบอกหรือเลนส์สายตาเอียง ( Cylindrical Lens )
(5) สายตาคนสูงอายุ (Presbyopia)
โดยทั่วไปเลนส์ตา (Crystalline Lens) ของคนเราจะสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้พองขึ้นหรือแบนลง เพื่อปรับโฟกัสได้เองโดยอัตโนมัติ คือเมื่อมองไกล
เลนส์ตาจะคลายตัวให้ แบนลง และเมื่อมองใกล้ก็จะปรับตัวเองให้พองหรือนูนขึ้น ซึ่งเราเรียกปฏิกิริยานี้ว่า การเพ่ง (Accommodation) แต่เมื่ออายุย่างเข้า 37
ปีขึ้นไปความสามารถนี้จะลดลง
สาเหตุ ( Cause )
เกิดจากเลนส์ตาสูญเสียความยืดหยุ่น (แข็งตัว) อันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพตามอายุขัย โดยจะเริ่มมีอาการเมื่ออายุย่างเข้า 37 40 ปี
อาการและลักษณะของคนสายตาสูงอายุ
1. อ่านหนังสือหรือดูใกล้ไม่ชัด คือต้องอ่านในระยะที่ห่างจากตามากขึ้นกว่าเดิม (ระยะของการถือหนังสือจะไกลขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ
จนไม่สามารถอ่านได้ในที่สุด)
2. ขมวดคิ้ว, หยีตา ในขณะเพิ่งอ่านหนังสือ (Vertical wrinkle of the brow)
3. เพลียหรือล้ากระบอกตา (Eye strain)
4. แสบตาหรือมีน้ำตาไหลในบางราย (Tearing and Photophobia)
5. ความสามารถการดูใกล้จะลดลงในที่แสงสว่างน้อยหรือช่วงกลางคืน
การแก้ไข (Treatment)
แก้ไขโดยการใช้เลนส์สายตาบวกหรือเลนส์นูนสำหรับการอ่านหนังสือ แต่หากต้องการทั้งมองไกลและมองใกล้ในอันเดียวกัน ก็สามารถใช้เลนส์ที่มีค่า Addition
ได้แก่ เลนส์สองชั้น (Bifocal) , เลนส์โปรเกรสซีฟ (Progressive) เป็นต้น
ที่มา - www.topcharoen.co.th
การดูแลสายตาในเด็ก
ตาของเด็กเป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดูแลก็เช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ หลักใหญ่ๆ ก็คือ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ การจัดสถานที่อ่านหนังสือ หรือทำงาน ให้แสงสว่างเพียงพอสำหรับสายตา
จะช่วยให้ช่วยถนอมสายตาได้วิธีหนึ่ง และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะเกิดเป็นอันตรายต่อเด็ก โดยเฉพาะของเล่นที่มีความแหลมคม เช่น ฉมวก
เบ็ด หรือเล่นหนังยาง ซึ่งอาจพุ่งมากระทบตา อาจทำให้ตาบอดได้
ในบ้านเราเด็กส่วนมากขาดโอกาสที่จะได้ตรวจสุขภาพตาก่อนเข้าเรียน พ่อแม่หลายคนพาลูกมาตรวจตาเมื่อเข้าเรียนไปแล้ว โรคตาในเด็กส่วนใหญ่ ถ้าพามารักษาช้า
มักจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะเด็กที่มีสายตาเลือนลาง อาจจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจตาในเด็กก่อนวัยเรียน ในช่วงอายุ 3-5 ปี จึงจัดโปรแกรมการตรวจสุขภาพตาแก่เด็กเล็ก
พ่อแม่ควรนำลูกไปตรวจตามโรงพยาบาลที่มีศูนย์จักษุอยู่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การพาเด็กมาตรวจตามอายุสำคัญมาก
ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะตรวจการมองเห็นในเด็กเล็กๆ เด็กที่ได้รับการตรวจสุขภาพตา ส่วนมากจะได้รับการตรวจในโรงเรียนเท่านั้น
โรคตาในเด็กเล็ก
เด็กเล็กๆ ส่วนใหญ่มักเป็นโรคทางกล้ามเนื้อตา เช่น ตาเขเข้า โรคตาขี้เกียจ โดยพบในวัยก่อนวัยเรียน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรใส่ใจ โดยก่อนอายุ 5
ปี ควรพาลูกไปพบจักษุแพทย์ พ่อแม่ควรมีแนวทางการดูแลสุขภาพตาของลูกด้วยตนเองไว้บ้าง ช่วงอายุที่ควรจะพาลูกไปพบจักษุแพทย์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะ
โดยทั่วไปโอกาสที่จะเกิดโรคตาในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนมี 3 ช่วงเวลา ได้แก่ อายุแรกเกิด-6 เดือน อายุ 1-3 ปี และอายุ 3-5 ปี
อายุแรกเกิด- 6 เดือน
ถ้าพ่อแม่สังเกตเห็นลูกมีตาเขเข้าในหัวตาอย่างชัดเจน หรือคิดว่าตาดำมีลักษณะผิดสังเกต เช่น ตาดำสองข้างไม่เท่ากัน ควรพาลูกไปตรวจ
เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องว่า ตาเขที่สังเกตเห็นเป็นตาเขปลอม หรือตาเขจริงที่ต้องแก้ไข ที่สำคัญคือไม่ควรปล่อยไว้จนลูกโตเกินไป
การสื่อสารกับเด็กวัยทารกไม่มีผลต่อผลการตรวจของจักษุแพทย์ เนื่องจากปัจจุบันสามารถใช้เทคนิคต่างๆ ในการตรวจประสาทตา และการตรวจสายตาอื่นๆ มาประกอบกัน
ซึ่งจะทำให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง
อายุ 1-3 ปี
ถ้าพ่อแม่สังเกตเห็นลูกมีตาดำเขเข้าในหัวตาเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะเวลาดูอะไรใกล้ ๆ ในช่วงอายุ 2-3 ปี ควรรีบพาลูกมาพบจักษุแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยไว้
พ่อแม่บางคน เมื่อลูกไม่บ่นว่าเจ็บปวด ก็ละเลย ไม่รีบพาไปหาหมอ เพราะรู้สึกว่าแค่ดูไม่สวยงามเท่านั้น คงไม่มีอันตรายอะไร ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจไม่ถูกต้อง
ในบางรายถ้าพาลูกมาตรวจช้าเกินไป ก็อาจมีปัญหาเรื่องการมองเห็นและกลายเป็นโรคตาขี้เกียจได้ คือมีสายตามัวไปข้างเดียว โดยตรวจไม่พบโรคตาอื่น ๆ
ใส่แว่นแก้ ก็ไม่ทำให้ระดับสายตาดีขึ้น นอกจากต้องกระตุ้นสายตาด้วยการปิดตาข้างดีเพียงอย่างเดียว การรักษาต้องใช้เวลานานขึ้น อาจจะเป็นปี
สาเหตุก็เนื่องมาจากการปล่อยให้ตาเขเข้าในตาข้างใดข้างหนึ่งนาน ๆ จนเด็กไม่มีพัฒนาการด้านการใช้สายตาสองข้างทำงานร่วมกัน เด็กจะมีปัญหาในการดูภาพแบบคนปกติ
ไม่สามารถดูภาพสามมิติได้ ทำให้การรักษาต้องใช้เวลาเนิ่นนานต่อไปอีก
อายุ 3-5 ปี
ถ้าพ่อแม่สังเกตเห็นเด็กตาดำเขเข้าหรือเขออกเป็นครั้งคราวเวลาเด็กเผลอตัว เวลาดูทีวี หรือเข้าไปดูทีวีในระยะใกล้เกินไป พ่อแม่ควรจะพาลูกไปตรวจตา
เพราะอาจมีความผิดปกติของสายตาเกิดขึ้นได้ จึงต้องหาสาเหตุกันต่อไป
วิธีสังเกตความผิดปกติของตาลูก
1. สังเกตดูรูปหน้าเปรียบเทียบกันว่าสมดุลกันดีหรือไม่ ด้านซ้ายด้านขวาแตกต่างกันหรือไม่
2. ตาดำสองข้าง มีขนาดเท่ากันหรือไม่ รูปตาข้างใดโตกว่าหรือเล็กกว่ากัน
3. เมื่อลืมตาเต็มที่ หนังตาเปิดกว้างเท่ากันหรือไม่ บางคนหนังตาตกข้างเดียว ทำให้มีอุปสรรคต่อการมองเห็น
4. มีสีขาวขุ่นอยู่ตรงกลางโดยไม่ทราบสาเหตุ
5. น้ำตาไหลเอ่อตาอยู่เสมอ
6. ขยี้ตาอยู่บ่อย ๆ ตาขาวไม่ขาว มีสีแดงเรื่อ ๆ
7. เวลามองแสงจ้าจะหรี่ตาข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำ หรือเงยหน้าดูจึงจะเห็นชัด
8.ลูกตาควรใสสะอาด ไม่ควรมีขี้ตา ลูกตาดำทั้งสองข้างไม่ควรมีสีขุ่นขาว ต้องดูใส
9. ลูกตาดำมีลักษณะเขเข้าและดูแวววาว คล้ายตาแมวในเวลากลางคืน
10.ลูกตาดำเขเข้าหรือเขออก เป็นบางครั้ง หรือเห็นว่าเขตลอดเวลา
11.เห็นภาพสองภาพ ปวดศีรษะ ตามัว
12.ตาดำสั่นอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมการสั่นของลูกตาดำได้
13.มีพัฒนาการทางร่างกายช้า ไม่สัมพันธ์กับการมองเห็น เช่น เด็กอายุ 3-4 เดือน ควรจะมองหน้าและประสานสายตากับแม่ได้ สามารถแสดงกิริยายิ้ม
โต้ตอบเมื่อมีอารมณ์พอใจ
คลอดก่อนกำหนด
เด็กที่คลอดก่อนกำหนดควรจะพบกับจักษุแพทย์ตามนัด เพราะเด็กกลุ่มนี้มักจะมีปัญหา ในเรื่องความผิดปกติของระดับสายตา
ในกรณีที่เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายช้าควบคู่กับสายตาเลือนลาง จำเป็นต้องเข้าสู่โปรแกรมกระตุ้นพัฒนาการทางสายตาให้เร็วที่สุด ไม่ควรช้ากว่าอายุ 2 ปี
ถ้าการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล การบำบัดจะฝึกโดยหัดให้ใช้สายตาที่คงเหลืออยู่ในการดูสิ่งต่างๆ ให้มากที่สุด
สายตาสั้น
วิธีสังเกตสายตาสั้น โดยที่ลูกมองสิ่งของใกล้หรือหยิบของมาติดตา ดูโทรทัศน์ใกล้เกินไป การดูโทรทัศน์ใกล้ๆ ไม่ได้ทำให้สายตาสั้น
แต่เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าลูกอาจสายตาสั้น เวลาเขียนหนังสือ ลูกก้มลงชิดกระดาษ หรือหรี่ตาเมื่อมองดูอะไร
สายตาสั้นหรือยาวสามารถทราบได้จากการพาลูกไปตรวจสายตาตั้งแต่เล็กๆ ไม่ต้องรอให้อ่านออกเขียนได้ และวิธีแก้ไขคือการสวมแว่นตาเพราะปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็ก
การรักษาด้วยเลเซอร์
การรักษาความผิดปกติของตาด้วยแสงเลเซอร์ทำได้ในกรณีของการเป็นต้อกระจก สายตาสั้นมากๆ ต้อหินในบางราย แต่ทำได้กับผู้ใหญ่เท่านั้น เด็กๆ ยังทำไม่ได้
เพราะรูปตาของเด็กยังไม่คงที่ ระดับสายตายังเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เช่น ตอนเล็กๆ อยู่ สายตาอาจยาวแต่อยู่ไปสายตาอาจสั้น
การผ่าตัดชนิดนี้ทำได้เมื่อสายตาอยู่ในระดับที่คงที่แล้ว
ตาเหล่
ปัญหาอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับดวงตาในเด็ก คือ เรื่องตาเหล่ ซึ่งพบได้ในวัยเด็ก 5-6 ขวบ สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่สามารถทำงานประสานกันได้
อาจแก้ไขโดยการฝึกกล้ามเนื้อตา หรืออาจใช้แว่นตาช่วย ในบางกรณีอาจต้องใช้วิธีผ่าตัด การรักษาควรเริ่มทันทีที่ทราบว่ามีปัญหาเรื่องตาเหล่
โดยพาไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็คสายตาและวางแผนการรักษาต่อไป
ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองสังเกตเห็นว่า เด็กอาจมีความผิดปกติของสายตา เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กทั่วๆ ไป ควรจะพาเด็กไปพบจักษุแพทย์
การแก้ไขสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับสายตาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยทำให้เด็กสามารถใช้สายตาได้เท่าเทียมกับเด็กอื่น ๆ
ซึ่งมีความสำคัญทั้งในด้านสุขภาพทางกายและเกี่ยวกับจิตใจด้วย เนื่องจากมีผลกระทบเพราะความแตกต่างในการรับรู้ทางสายตาจากผู้อื่น
ตาเขจริงและตาเขปลอม
ตาเขจริงหรือตาเหล่หรือตาเอก อาจเป็นลักษณะตาเขเข้า ขาเขออก ตาเขแบบลอยขึ้นบน หรือลงล่างอย่างเห็นชัดเจน หรืออาจเรียกว่าตาเขตาเหล่ถาวรก็ได้
โดยสังเกตดูลักษณะ ลูกตาดำทั้งสองข้างไม่ขนานกัน ไม่ได้อยู่ตรงกึ่งกลางตาขาว มองพร้อมกันสองตาไม่ได้ หรือที่เรามักพูดเล่นกันว่า "ตาไม่สามัคคี"
เมื่อคุยกับเพื่อนเขาก็ไม่แน่ใจว่ามองเขาอยู่หรือเปล่า
ตาเขปลอม
เกิดจากเด็กที่มีหนังตาสองข้างคลุมลูกตาดำมากเกินไป และเด็กเล็กๆ ยังไม่มีสันจมูกโด่งพอ ตาจึงมีลักษณะคล้ายตาเข แต่เมื่อตรวจระดับสายตาแล้ว
ไม่มีความผิดปกติ เมื่อเด็กโตขึ้นตาดำก็จะตรงเอง
ตาบอดในเด็ก
ตาบอดในเด็ก หมายถึง ภาวะที่เด็กมีระดับการมองเห็นลดลงกว่าปกติอย่างมาก และระดับสายตาที่ลดลงนี้มีผลทำให้เด็กมีการพัฒนาการเรียนรู้ช้าลง
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะตาบอดในเด็กที่เป็นปัญหาทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศที่ยังไม่พัฒนา คือ ขาดวิตามินเอ
ภาวะนี้จะทำให้เกิดความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เด็กที่ขาดวิตามินเอติดเชื้อได้ง่าย และอาจถึงกับเสียชีวิตได้
สำหรับผลกระทบด้านดวงตา จะมีผลให้เยื่อบุตาแห้ง อาจเกิดแผลที่กระจกตาตามมา ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงอย่างมาก
สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะตาบอดในเด็ก ได้แก่ โรคที่เป็นแต่กำเนิด เช่น ต้อหิน ต้อกระจก โรคมะเร็งของประสาทตา
รวมถึงกรณีที่มารดาเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ หรือดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เส้นประสาทตาเจริญผิดปกติ
ประสาทตาฝ่อได้
โดยปกติเด็กในช่วงแรกเกิดถึง 2 เดือน การมองเห็นยังไม่ชัดเจนเท่าผู้ใหญ่ ตาจะมองลอยไปมาในทิศทางต่างๆ ดังนั้นหากเด็กไม่จ้องตา ก็ไม่ควรกังวลเกินไปนัก
เนื่องจากจอประสาทตายังมีการพัฒนาไม่เต็มที่ แต่หากเด็กมีอายุเกินน 3 เดือนไปแล้ว ยังไม่มองหน้าแม่เวลาป้อนนม หรือไม่มองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว
ควรรีบหาสาเหตุทันทีในกรณีที่เด็กมองไม่เห็น เด็กอาจใช้นิ้วมือกดที่ลูกตาเพื่อกระตุ้นให้เกิดแสงวาบขึ้น
ดังนั้นพ่อแม่จึงควรหมั่นสังเกตอย่างสม่ำเสมอ เพราะอากัปกิริยาดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณว่าสายตาไม่ดี นอกจากนี้ ยังมีภาวะตาสั่นกระตุก
ที่พบในเด็กที่สูญเสียการมองเห็นเนื่องจากโรคหรือความผิดปกติในลูกตาดังกล่าวข้างต้น
กลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการมีโรคตาและควรได้รับการดูแลตาเป็นพิเศษ
1. เด็กที่คลอดก่อนกำหนด
2. เด็กที่แม่มีประวัติเป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ระยะสามเดือนแรก
3. เด็กที่แม่มีประวัติเป็นหอบหืดต้องได้รับออกซิเจนขณะตั้งครรภ์
4. เด็กที่ไม่มองหน้าแม่หรือไม่มองตามวัตถุเมื่อถึงวัยอันควร
5. เด็กที่มีตาแฉะและมีขี้ตาตลอดเวลาตั้งแต่แรกเกิด
6. เด็กที่มีตาวาวเหมือนตาแมวเมื่อถูกแสงไฟ
7. เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคตา เช่น มะเร็งจอตา ตาเหล่ สายตาสั้นมาก
8. เด็กที่สงสัยว่ามีตาเหล่
9. เด็กที่ชอบหยีตาเวลามอง
10. เด็กที่ชอบกระพริบตาหรือขยี้ตาบ่อยๆ
11. เด็กที่มีปานแดงที่ใบหน้าและบริเวณดวงตา
12. เด็กที่เป็นเบาหวาน
13. เด็กที่มีตาดำโตกว่าปกติและมีน้ำตาไหล
14. เด็กที่มีภาวะขาดอาหาร
โรคตาในเด็กที่พบบ่อย
1. โรคตาขี้เกียจ
2. โรคต้อกระจกแต่กำเนิด
3. ภาวะตาเข ตาเหล่
4. การฝึกกล้ามเนื้อตา
5. หนังตาตก
6. ภาวะท่อน้ำตาตีบตัน
7. สายตาเพลีย
8. ขนตาผิดปกติ
9. การตรวจวัดสายตาประกอบแว่น
10. อุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับดวงตาเด็ก
สถานที่ตรวจตา
สถานที่ตรวจตาสำหรับเด็กเล็กๆ ได้แก่ โรงพยาบาลของรัฐที่มีความชำนาญเรื่องกล้ามเนื้อตาและโรคตาเด็ก
ถ้ามีออทอปติสซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกล้ามเนื้อตาก็จะได้รับการดูแลเฉพาะทางได้เป็นอย่างดี เช่น โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย เช่น ศิริราช รามาธิบดี
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ราชวิถี พระมงกุฎ จุฬาฯ มหาราช เชียงใหม่ โรงพยาบาลศูนย์นครราชสีมา สำหรับโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง
ก็สามารถนำเด็กไปรักษาได้เช่นกัน
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
วิธีการใช้ยาหยอดตา
แพทย์ระบุยาหยอดตาที่หาซื้อได้ตามร้านยาทั่วไป ยาบางตัวผสม "สเตียรอยด์" มีความเสี่ยงสูงเกิด "โรคต้อหิน"
พร้อมเผยตัวเลขผู้ป่วยโรคต้อหินในไทยที่พบกว่า 1 ล้านคน แต่เข้ารับการรักษาเพียงแค่ 10%
รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์ รองประธานสมาคมต้อหินแห่งเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ กรรมการชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย กล่าวว่า
โรคต้อหินเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของไทยที่ทำให้ตาบอดถาวร โดยในตอนนี้มีผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคต้อหินทั้งประเทศประมาณ 1 ล้าน
ที่พบมากที่สุดจะอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ที่เป็นต้อหินกว่า 840,000 คน
แต่ผู้ป่วยเหล่านี้ได้เข้ารับรักษาเพียงแค่ 10% เท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 90% เป็นผู้ป่วยที่ไม่เคยรู้ตัวมาก่อนว่าเป็นโรคต้อหิน
เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นในระยะแรกๆจะไม่แสดงอาการ จะทราบได้จากการตรวจโดยจักษุแพทย์เท่านั้น เมื่อประสาทตาเสื่อมไปมาก จึงทำให้เกิดอาการตามัว
ยกเว้นต้อหินชนิดเฉียบพลันที่จะทำให้มีอาการปวดตา แสบตา ตามัว
โดยกลุ่มเสี่ยงกลุ่มที่สำคัญ คือ กลุ่มที่มีคนในครอบครัวเป็นต้อหิน ซึ่งมาจากพันธุกรรม และคนที่สายตาสั้นและยาวมากกว่าปกติจะเป็นสาเหตุหนึ่งของโรค
อีกทั้งผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่กระทบกับดวงตาอย่างรุนแรงก็จะเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินได้
นอกจากนี้ คนเป็นโรคภูมิแพ้ที่จะมีอาการข้างเคียงทำให้เกิดอาการคันที่ดวงตา
และเลือกที่จะรักษาโดยการซื้อยาหยอดตาตามร้านขายยาทั่วไปมารักษาเองจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อหินอย่างมาก เนื่องจากยาหยอดตาที่ซื้อตามร้านขายยา
ก็ต้องยอมรับว่าบางร้านนั้นไม่มีเภสัชกรควบคุมดูแล
และจะแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ เพราะจะทำให้ผลการรักษาได้ผลดี ลดอาการที่เป็นได้อย่างรวดเร็ว
และเมื่อเป็นอีกก็ซื้อยาประเภทนี้มาใช้อีก และหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน สารสเตียรอยด์จะทำให้ความดันภายในตาสูงขึ้นเป็นผลให้เกิดโรคต้อหินได้
ยาหยอดตาที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์นั้น บางร้านจะไม่มีเภสัชควบคุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามพื้นที่ต่างจังหวัด ด้วยเหตุที่ตัวยาผลิตง่าย
ใช้แล้วอาการหายทันที ทำให้มีคนนิยมซื้อใช้ อีกทั้งไม่มีใครให้ข้อมูลว่ายาจำพวกนี้จะมีผลข้างเคียงอย่างไร และกฎหมายของไทยเองไม่ได้ห้ามซื้อขาย
อย่างในอเมริกาหากต้องการจะซื้อยาที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ ซื้อไม่ได้ง่ายๆ ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์กำกับด้วยจึงจะซื้อได้
แต่ที่บ้านเรายังไม่มีกฎหมายควบคุม ที่จริงจังพอ
วิธีการที่จะสังเกตยาหยอดตาที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์นั้น คือ ให้สังเกตจากฉลากกำกับข้างขวด หากมีคำว่า ยาอันตราย หรือตัวยาประเภท เดคซาเมทธาโซน,
เคลปมิโซโลน หรือตัวยาใกล้เคียง ให้ตังข้อสังเกตว่าเป็นยาที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ทั้งสิ้น รศ.นพ.ปริญญ์ กล่าว
รศ.นพ.ปริญญ์ กล่าวอีกว่า ผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นโรคต้อหินต้องระวังปัจจัยที่จะทำให้ความดันตาขึ้นสูง
โดยสาเหตุอาจจะมาจากคนที่เป็นต้อหินออกแล้วมีการออกกำลังกายแบบหนักๆ เช่นการเล่นเวท เล่นกล้าม เพราะหากมีการเกร็งกล้ามเนื้อนานๆ กลั้นหายใจนานๆ
ความดันตาก็จะขึ้นสูง
อีกทั้งการออกกำลังกายที่ต้องห้อยหัวต่ำก็เป็นอันตรายต่อคนไข้ต้อหิน และการดื่มน้ำจากความเชื่อที่ว่าดื่มน้ำครั้งละ 1 ลิตรจะช่วยให้การขับถ่ายดี
ก็เป็นความเชื่อที่ถูก แต่ใช้ไม่ได้กับผู้ที่เป็นโรคต้อหิน เพราะจากการศึกษาพบว่า ผู้ที่เป็นโรคต้อหินหากดื่มน้ำมากๆ ในครั้งเดียว จะทำให้ความดันตาสูงขึ้น
ดังนั้นให้ค่อยๆ ดื่มน้ำทีละน้อยแต่ให้ดื่มเป็นประจำ
รศ.นพ.ปริญญ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการรักษาโรคต้อหิน สำหรับในประเทศไทยอย่างจริงจัง
ทางชมรมต้อหินในราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย จึงจัดงานวันต้อหินโลก ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก พร้อมกันกับหลายประเทศสมาชิก
เพื่อการรณรงค์และลดปัญหาโรคต้อหิน ในวันที่ 6 มีนาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.30-20.00 น. ณ ลานเอเทรี่ยม 2 ชั้น 1 เซ็นทรัลเวิลด์
ซึ่งภายในงานจะมีการให้บริการตรวจโรคต้อหินฟรี
ฉะนั้น การใช้ยาหยอดตาให้เกิดประสิทธิภาพต่อผลการรักษา จำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอน ดังนี้
1. ก่อนใช้ยาหยอดตาล้างมือให้สะอาด
2. ให้ผู้ป่วยนอนหรือนั่งแหงนหน้าขึ้น ใช้นิ้วมือดึงหนังตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง
3. หยอดยาลงในกระพุ้งตา 1 - 2 หยด ระวังอย่าให้ปลายหลอดยาถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของตา
4. ใช้นิ้วมือกดตรงหัวตาเบาๆ 1 - 2 นาที เพื่อป้องกันไม่ให้ยาไหลเข้าสู่ท่อน้ำตาจะได้ไม่รู้สึกขมคอ
5. หลับตาสักครู่ เช็ดน้ำยาส่วนเกินรอบๆ ดวงตา
กรณีที่มีขี้ตา หรือสิ่งสกปรก ควรทำความสะอาดก่อนที่จะใช้ยาหยอดตา เพื่อให้ยาถูกกับส่วนของลูกตาทั่วถึง และให้ผลการรักษาที่ดี
กรณีที่ใช้ยาหยอดตามากกว่า 1 ชนิด ในเวลาเดียวกัน ควรเว้นระยะห่างในการใช้ยาแต่ละชนิดนาน10 นาที
เพราะยาอาจทำลายฤทธิ์กันเองหรือทำให้ยาทั้งสองชนิดเจือจางลงไป
กรณีที่ใช้ยาหยอดตาและยาป้ายตาในเวลาเดียวกัน ให้ใช้ยาหยอดตาก่อนประมาณ10 นาที จึงใช้ยาป้ายตา
ควรเก็บยาหยอดตาไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา และไม่ควรใช้ยาหยอดตาที่เปิดขวดแล้วเกิน 1 เดือน ห้ามใช้ยาหยอดตาร่วมกับผู้อื่น
ภญ. วิภาจรี วงศ์ปิยะบวร กลุ่มงานเภสัชกรรม
โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
โรคต้อกระจก (สายตามัว)
ต้อกระจกคือโรคตาที่เกิดจากการขุ่นมัวของแก้วตา (Lens) อาจมีสีขาวขุ่นสีเหลือง หรือสีน้ำตาล ทำให้แสงผ่านเข้าไปยัง
จอประสาทตาได้น้อยลงและภาพที่มองเห็นจึงไม่ชัดเจน เกิดอาการที่เรียกว่า "ตามัว" หรืออาการมองไม่เห็นขึ้นอยู่กับความขุ่นของต้อกระจก
เป็นน้อยก็ยังพอเห็นได้เป็นมาก ๆ ก็ไม่สามารถมองเห็นได้เลย
สาเหตุ
.......เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
โรคผิดปกติทางกรรมพันธ์บางชนิด เบาหวาน หัดเยอรมันในแม่ที่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก การอักเสบเรื้อรังของตา ม่านตาอักเสบ ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์
อุบัติเหตุ และเกิดจากการเสื่อมของแก้วตาเนื่องจากสูงอายุซึ่งพบมากที่สุดกว่าสาเหตุอื่น ๆ
อายุ
การเกิดต้อกระจกนั้นเป็นได้ทุกวัย แต่มักจะพบมากในผู้สูงอายุ เฉลี่ยในคนไทยประมาณ 55 ปีขึ้นไปมีโอกาสเป็นต้อกระจกประมาณ 50 %
แต่อาจจะยังไม่มีอาการตามัวจนกระทั่งอายุ 65 ปีขึ้นไป เมื่ออายุ 75 ปีขึ้นไปทุกคนเป็นต้อกระจก 50 % ของผู้มีอายุ 75 85
ปีจะมองไม่ค่อยเห็นเนื่องจากโรคนี้
ผู้สูงอายุหลายท่านอาจยอมรับสภาพของการเปลี่ยนแปลงนี้ ปัจจุบันวิวัฒนาการในการรักษาต้อกระจกได้พัฒนาขึ้นอย่างดียิ่ง
มีเครื่องมือเครื่องใช้ยารักษาที่ทำให้รักษาโรคต้อกระจกให้หายขาดอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถมองเห็นได้ทันทีหลังจากผ่าตัดต้อกระจก
จากการศึกษาพบว่าอาหารบางชนิดสามารถป้องกันการเกิดต้อกระจกได้ มีรายงานจากวารสารทางจักษุวิทยาของอเมริก าถึงสารพวกแอนตีอ๊อกซิแดนท์
(Antioxidants) เช่น วิตามินเอ, วิตามินซีและวิตามินอี สามารถป้องกันการเกิดต้อกระจกได้ อาหารชนิดอื่น เช่น โพลีอันแซทเจอเรตเตด แฟท (Polyunsaturated Fast)
Vit B1 B2 อาหารพวกโปรตีนสูงก็ช่วยลดการเกิดต้อกระจกได้
ชนิดของต้อกระจก
ต้อกระจกมี 3 ชนิดแบ่งตามตำแหน่งการเกิดต้อกระจกในแก้วตา
1. Nuclear cataract ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางแก้วตา เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุดเกิดจากอายุมากขึ้น
2. Cortical cataract ต้อกระจกที่เกิดตรงด้านข้างของแก้วตา พบในคนเป็นเบาหวาน
3. Subcapsular cataract ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางติดกับเยื่อหุ้มแก้วตา พบในคนเป็นเบาหวาน สายตาสั้นมากใช้ยาพวกสเตียรอยด์นาน ๆ ในโรคประสาทตาเสื่อม
(Retinitis Pigmentosa)
การรักษาต้อกระจก
ต้อกระจกถ้ายังเป็นไม่มากก็ยังไม่จำเป็นต้องรักษา อาจเพียงแต่เปลี่ยนแว่นตาก็มองชัดขึ้น ไม่มียาอะไรที่จะทำให้ต้อกระจกหายได้
เมื่อไม่สามารถมองเห็นได้ดีเหมือนก่อนก็ต้องพิจารณารับการผ่าตัดต้อกระจก
ต้อกระจกจะรักษาโดยใช้วิธีการผ่าตัดลอกเลนส์ที่ขุ่นขาวออก และใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ตามปกติ
การผ่าตัดต้อกระจกสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
1. การผ่าตัดแบบเดิม (ECCE : Extra Capsular Cataract Extraction) จะผ่าตัดต่อเมื่อผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดกับสายตาที่มัวลง
จนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันการผ่าตัดแบบนี้จะเปิดแผลกว้างประมาณ4-6 สัปดาห์จึงจะมองเห็นได้ชัด
2. การผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง(PHACO : Phacoemulsfication)เป็นการผ่าตัดแบบใหม่
ซึ่งผู้ป่วยสามารถได้รับการผ่าตัดต้อกระจกได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ต้อกระจกสุกพอดีเหมือนการผ่าตัดต้อกระจกแบบเดิม
การผ่าตัดวิธีนี้เป็นเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ ซึ่งใช้คลื่นเสียงความถี่สูงอัตร้าซาวน์และดูดต้อกระจกออกโดยเปิดแผลขนาดเล็กเพียง 3.0-3.2 มิลลิเมตร
ผู้ป่วยสามารถใช้สายตาและปฏิบัติภาระกิจได้ตามปกติภายหลังการผ่าตัด 1 วัน
วิธีการผ่าตัด
ผ่าตัดโดยใช้กล้องจุลทัศน์พิเศษเจาะรูขนาด 3 มิลลิเมตร ตรงขอบกระจกตาและเปิดเยื่อบุแก้วตาเป็นวงกลมด้านหน้า แล้วก็สลายต้อกระจกออกมาด้วยคลื่นเสียง
และใส่เลนส์เทียมชนิดพับได้เข้าไปไว้ในเยื่อหุ้มแก้วตา แผลจะปิดเองโดยไม่ต้องเย็บ นอกจากบางรายที่เปิดแผลกว้างก็อาจต้องเย็บด้วยไหมขนาดเล็กพิเศษ
ก่อนการผ่าตัดต้อกระจก
จักษุแพทย์จะตรวจตาอย่างละเอียดว่ามีโรคตาอย่างอื่นเกี่ยวข้องหรือไม่ วัดค่าเลนส์เทียมที่จะใส่ ให้ตรวจร่างกายว่ามีโรคอื่น ๆ และยาที่ใช้อยู่มีอะไร
ควรจะใช้ต่อหรือหยุดยาบางชนิดก่อนผ่าตัด อาจจะให้ยาหยอดก่อนผ่าตัดตามแต่เห็นสมควร
ในวันผ่าตัด
การผ่าตัดนั้นปกติทำแบบผู้ป่วยนอก (out patient basio) คือทำเสร็จแล้วกลับบ้านได้เลย ท่านอาจทานอาหารอ่อน ๆ หรืองดอาหารก่อนผ่าตัดก็ได้
รับยาประจำได้ตามปกตินอกจากยาบางชนิดที่ให้งด ก่อนผ่าตัดจะหยอดยาขยายม่านตา
การผ่าตัดจะทำโดยการหยอดยาชาหรือบางรายอาจฉีดยาชา เพื่อไม่ให้เจ็บขณะทำการผ่าตัด ท่านอาจมองเห็นแสงจ้าพยายามมองตามแพทย์บอกจะมีที่ถ่างตาไว้ขณะผ่าตัด
ก่อนผ่าจะทำความสะอดาผิวหนังบริเวณหน้ารอบตาและในกระบอกตา มีผ้าปราศจากเชื้อคลุมหน้าลำตัว
เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วโดยทั่วไปสามารถเปิดตาใช้ได้เลย นอกจากในรายที่ต้องฉีดยาชาอาจปิดตาให้ 1 วัน นั่งคอยประมาณครึ่งชั่วโมงก็กลับบ้านได้
ควรมีคนมาขับรถให้หรือนั่งรถบริการกลับบ้าน พร้อมกับรับยาและข้อแนะนำหลังผ่าตัดก่อนกลับบ้าน
การดูแลหลังผ่าตัด
ท่านควรจะใช้ยาหยอดตาตามคำแนะนำของแพทย์
1. ไม่ขยี้ตา
2. ไม่ให้น้ำเข้าตา
3. รับประทานยาแก้ปวดเวลาปวด
4. ถ้าไม่หายให้ติดต่อแพทย์
5. ไม่ออกกำลังกายอย่างหนักจนกว่าแผลจะหาย
6. ปฏิบัติภาระกิจตามปกติ
7. ถามแพทย์ว่าเมื่อไหร่จะขับรถได้
8. ใช้สวมแว่นตาหรือที่ครอบตาตามคำแนะนำของแพทย์
9. ติดต่อหรือมาพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ
จะทำเลเซอร์เมื่อใด ?
เยื่อบุแก้วตาหลังเลนส์เทียมบางครั้งอาจจะเป็นฝ้าขึ้นมา ทำให้ตามัวมองไม่ชัด สามารถใช้แสงเลเซอร์ (YAG) ฉายเปิดตรงกลางของเยื่อนี้ได้
ก็จะทำให้มองเห็นชัดเหมือนเดิม
การผ่าตัดต้อกระจกจะทำให้เห็นดีขึ้นหรือไม่ ?
มากกว่า 95 % ขึ้นไปหลังผ่าตัดต้อกระจกจะทำให้สายตามองเห็นชัดขึ้น แต่ส่วนน้อยบางรายอาจมีปัญหาได้ เช่น มีอาการติดเชื้อ เลือดออก กระจกตาบวม
จอตาลอก ซึ่งจะทำให้มองไม่เห็น ท่านต้องติดต่อแพทย์ทันทีถ้ามีอาการเหล่านี้
1. ปวดตามากกินยาแก้ปวดแล้วไม่หาย
2. ตามองไม่เห็น
3. คลื่นไส้ อาเจียน หรือไอมาก ๆ
4. มีอุบัติเหตุที่ตาข้างผ่าตัด
โรคอื่นที่มีอยู่ก่อนการผ่าอาจทำให้มองไม่ชัดได้ แม้การผ่าตัดออกมาปกติดี แต่สายตาไม่ดีขึ้นอาจมีสาเหตุอื่นที่เป็นโรคตาอยู่แล้ว เช่น
โรคจอประสาทตาเสื่อมต้อหินเบาหวานขึ้นตา เป็นต้น อย่างไรก็ตามการผ่าตัดต้อกระจกก็น่าจะทำให้ท่านมองเห็นได้ดี ถ้าตาท่านไม่มีโรคอย่างอื่นอยู่ก่อน
เลนส์แก้วตาเทียม เพื่อตุณภาพการมองเห็นที่ดีขึ้น
........ในปี 1949
จักษุแพทย์ชาวอังกฤษได้ค้นพบวัสดุพลาสติกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า PMMA ซึ่งเมื่อใส่ในตาแล้วไม่พบว่ามีข้อไม่พึงประสงค์
จึงนำวัสดุชนิดนี้มาผลิตเป็นเลนส์แก้วตาเทียม และผลการใช้เลนส์แก้วตาเทียมชนิดแข็ง PMMA ตลอดเวลาที่ผ่านมาก็ทำให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
และปลอดภัยมาหลายสิบปี
ปัจจุบันเทคโนโลยีการผ่าตัดต้อกระจกได้รับการปรับปรุงให้ได้ผลการรักษาที่ดีขึ้น และประกอบกับการมีพัฒนาเลนส์แก้วตาเทียวชนิดนิ่มพับได้
จึงสามารถทำการผ่าตัดผ่านแผลขนาดเล็กมาก ทำให้ระยะการพักฟื้นและการสมานของแผลใช้เวลาน้อย ผู้ป่วยจึงสามารถใช้สายตาภายหลังการผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว
เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มพับได้
..........เลนส์สามารถพับครึ่งได้จึงสามารถใส่เลนส์ผ่านแผลขนาดเล็กเลนส์แก้วตาเทียมนี้สามารถผลิตได้ จากวัสดุชนิดนิ่มหลายชนิด
เลนส์จึงมีคุณสมบัติที่ต่างกันตามวัสดุที่ผลิตสามารถแบ่งเลนส์วัสดุที่ผลิตคือ Silicone และ Acrylic เป็นเลนส์ที่สามารถเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี
นอกจากนี้ยังพบว่าเลนส์อะคริกลิกมีโอกาสเกิดเยื้อหุ้มเลนส์ส่วนหลังขุ่น ได้น้อยกว่าเลนส์ชนิดอื่น ๆ
webmaster - 30/8/08 at 17:43
เลนส์แก้วตาเทียมชนิดกรองแสงสีฟ้า (Blue light lens)
........ปัจจุบันมีเลนส์แก้วตาเทียมที่สามารถกรองแสงสีฟ้าได้ ทำให้การผ่าตัดรักษาต้อกระจกมีความปลอดภัยมากขึ้น
ซึ่งเลนส์ชนิดนี้จะมีสีเหลืองใกล้เคียงกับสีเลนส์ธรรมชาติ จึงสามารถกรองแสงสีฟ้า จึงลดอันตรายของแสงสีฟ้าเข้าสู่จอประสาทตาได้
.........เลนส์แก้วตาเทียมอื่นๆ
สามารถป้องกันแสงอุลตร้าไวโอเล็ต (UV) ได้เกือบทุกชนิด แต่แสงที่อยู่ใกล้กับช่วงแสง UV คือช่วงแสงสีฟ้า (Blue light) ที่มีความยาวคลื่น 400-500 นาโนเมตร
ก็พบมีอันตรายต่อจอประสาทตา ซึ่งเลนส์แก้วตาเทียมปกติไม่สามารสามารถกรองแสงสีฟ้าได้ ฉะนั้นคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมแล้ว
จะมีโอกาสเสี่ยงจากแสงสีฟ้าเข้าสู่จอประสาทตาได้ โดยผู้ป่วยจะมองเห็นภาพเป็นสีฟ้าหรือสีครามหลังจากผ่าตัดช่วงแรก
แสงสีฟ้าคือแสงที่ผสมอยู่ในช่วงแสงสีขาวที่มนุษย์มองเห็น โดยแสงสีขาวที่มนุษย์มองเห็นสามารถแบ่งสีได้ 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และ
แดง ฉะนั้นช่วงแสงสีฟ้ามีพลังงานมากพอที่จะมีอันตรายต่อจอประสาทตา ซึ่งแสงสีฟ้ามีอยู่ในแสงแดด แสงไฟนีออน ที่สัมผัสและอยู่รอบมนุษย์ตลอดเวลา
เลนส์ธรรมชาติของคนเราก็มีการป้องกันแสงสีฟ้าได้อยู่แล้ว โดยเลนส์จะมีสีเหลืองเข้มมากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งสีเหลืองนี้ก็จะเป็นตัวกรองแสงสีฟ้าได้
Blue light มีอันตรายอย่างไร
มีการศึกษาถึงอันตรายของแสงสีฟ้า (Blue light) พบมีอันตรายต่อจอประสาทตา พบว่าเซลของชั้นจอประสาทตาชั้นนอกสุด (RPE: Retinal Pigment Epithelium)
เมื่อสัมผัสกับแสงสีฟ้าทำให้เซลตายได้ 1 เนื่องจากแสงสีฟ้ามีพลังงานมากพอที่จะไปกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระภายในลูกตา แล้วสารอนุมูลอิสระจะทำให้เซล
จอประสาทตาตายได้ พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมไปแล้ว
มีโอกาสเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ในอัตราที่สูงกว่าผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก
เอกสารอ้างอิง
1. Janet R. Sparrow et al, The Lipofuscin Fluorophore A2E Mediates Blue Light Induced Damage to Retinal Pigmented Epithelial Cells. Investigative
Ophthalmology and Visual Science, Volume 41, Number 7. June 2000.
2. Jie Jin Wang et al, Cataract Surgery and the 5-Year Incidence of Late-Stage Age-Related Maculopathy. Ophthalmology, Volume 110, Number 10. October
2003.
จากการศึกษาทางคลีนิกของ Dr. David Apple และคณะพบว่า วัสดุที่มช้ทำเลนส์แก้วตาเทียมสามารถทำให้เกิดเยื้อหุ้มเลนส์ส่วนหลังขุ่น (PCO)
ได้แตกต่างกันและพบว่าวัสดุที่ใช้ทำเลนส์แก้วตาเทียมชนิด อะครีลิก จะทำให้เกิดเยื้อหุ้มเลนส์ส่วนหลังขุ่นน้อยมากเพียง 0.9 %เมื่อเปรียบกับ
เลนส์แก้วตาเทียมชนิดแข็ง PMMA มีอัตราการเกิดเยื้อหุ้มเลนส์ขุ่น ประมาณ 27.1 % และ เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มพับได้ซิลิโคนมีอัตราการเกิดเยื้อหุ้มเลนส์ขุ่น
ประมาณ 20.9%
เลสิก
ความเหมาะสมที่จะรับรักษาด้วยเลสิก
......... มีอายุเกิน 18 ปีขึ้นไป
- ไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ - มีสายตาคงที่มาเป็นเวลาประมาณ 1 ปีขึ้นไป
- ควรหยุดรับยา Cordarone , Accutane , Imitrex
- มีสายตาไม่เกินขีดจำกัดที่จะสามารถทำได้โดยวิธีเลสิค
- ไม่เป็นโรคบางชนิดที่ทำให้แผลหายช้า เช่น S.L.E. , Herpes
- เข้าใจต่อสภาวะเสี่ยง หรือสภาวะแทรกซ้อนและผลข้าง เคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้
จะทำทั้ง 2 ข้างพร้อมกันได้หรือไม่
ปกติจะทำทั้ง 2 ข้างในครั้งเดียวกันหลังทำสามารถใช้สายตาได้อย่างปกติ
การตรวจสภาพตาก่อนผ่าตัด
จักษุแพทย์จะตรวจสภาพตาอย่างละเอียด เพื่อวัดระดับสายตาดูความผิดปกติของตาซึ่งอาจจะทำให้มีผลต่อการ รักษา ก่อนมาตรวจท่านที่ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง
หรือกึ่งแข็งกึ่งอ่อน ควรหยุดใส่ก่อนตรวจอย่างน้อย 7 วัน คอนแทคเลนส์ชนิดอ่อน ควรหยุดใส่ก่อนตรวจอย่างน้อย 3 วัน ไม่ควรขับรถมาเอง
เพราะสายตาจะยังพร่ามัวหลังการตรวจ เนื่องจากม่านตายังขยายอยู่
สภาพตาหลังการผ่าตัด
.........สามารถมองเห็นได้ทันทีหลังจากรักษา
และความคมชัดจะดีขึ้นเรื่อง ๆ จนสามารถมองเห็นได้เกือบปกติ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากรักษา
แพทย์จะนัดมาตรวจตาในวันถัดไปและจะมีฝาครอบปิดตาก่อนนอนเพื่อป้องกันขยี้ตาในขณนอนหลับ 1 คืน
อาการระคายเคืองที่เกิดจากการรักษาแบบเลสิคจะมีน้อยกว่าการรักษาสายตาผิดปกติโดยวิธีอื่น ๆ
เนื่องจากวิธีนี้เลเซอร์จะเปลี่ยนความโค้งจากเนื้อเยื่อในบริเวณส่วนกลางของกระจกตา ไม่ใช่เปลี่ยนความโค้งจากผิวของกระจกตาซึ่งมีประสาทรับความรู้สึกอยู่
หลังจากรักษาด้วยเลสิคสายตาจะเป็นอย่างไร ?
ผลจากการรักษาด้วยวิธีเลสิคนั้น ทำให้เราสามารถใช้สายตาในชีวิตประจำวันได้โดยปราศจากแว่นตา หรือต้องพึ่งพาคอนแทคเลนส์
คนส่วนใหญ่ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีเลสิคสามารถมองเห็นได้ดีมาก ประมาณ 20/10 ถึง 20/40 โดยปราศจากแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์
ชมคลิปวีดีโอ LASIK การแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์
ที่มา - www.oknation.net
การรักษาด้วยวิธี "เลสิค" ในปัจจุบันนี้ ยังไม่สามารถรักษาสายตายาวที่เกิดขึ้นในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในอนาคตก็อาจรักษาได้
ซึ่งมีการทดลองค้นกว่าและวิจัยกันอยู่ ดังนั้น ถ้าท่านมีอายุเกิน 40 ปี อาจมีสายตายาวของผู้สูงวัยร่วมอยู่ด้วย ก็อาจต้องใช้แว่นตา
ช่วยในการอ่านหนังสือหรือมองในระยะใกล้
ข้อสรุป
ปัจจุบันการแพทย์ทันสมัยขึ้น การผ่าตัดลอกต้อกระจกรักษาได้ผลดี มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นไม่มาก ผู้ป่วยหลังผ่าตัดลอกต้อกระจกควรไปตรวจกับแพทย์เป็นระยะ ๆ
และระมัดระวังอย่าหกล้มตาถูกกระแทกโดยตรง
การรักษา ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาต้อกระจกด้วยยาละลายต้อกระจก หรือแสงเลเซอร์ แสงเลเซอร์จะใช้ได้เมื่อเคยลอกต้องกระจกมาแล้ว
การรักษาผ่าตัดลอดต้อกระจกที่ขุ่นออกไป แล้วต้องใส่แว่นตาหนาจะเห็นภาพขยาย และด้านข้างภาพจะคดเบี้ยวใช้เวลาชินเป็นเดือน ลานสายตามแคบ
กรณีมีการอักเสบบ่อยครั้งของม่านตา มีเบาหวานขึ้นตาในภาวะรุนแรง เมื่อลอกต้อกระจกแล้วก็ใช้คอนแท็กเลนส์ หรือใส่แว่นตา
ต้อกระจกไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร เป็นเรื่องของคนอายุมากเสียส่วนใหญ่ เมื่ออายุมากขึ้นสายตาก็ขุ่นมัว เพราะเลนต์ตาที่เคยใสเห็นอะไรชัดก็ขุ่นมัวบังแสง
ถ้าทิ้งไว้จนต้อแก่จัดมีโรคต้อหินแทรกซ้อน จะมีอาการปวดตา ตาแดง และบอดในที่สุด ในประเทศไทยต้อกระจกเป็นปัญหาคนตาบอดอันดับแรก
และผู้ที่เป็นต้อกระจกแล้วยังไม่สามารถมารับการผ่าตัดได้ประมาณปีละ 150,000 คน
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยในระยะแรก
1. ใส่แว่นกันแดด ถ้าต้องอยู่ในบริเวณที่ที่มีแสงจ้า โดยเฉพาะแว่นกันแดดที่สามารถป้องกันแสงอัลตร้าไวโอเลตได้
2. ใส่แว่นป้องกันดวงตา ถ้าจำเป็นต้องทำงานในสถานที่ต้องเสี่ยง เช่น ช่างเชื่อม หรืออยู่ในสถานที่มีการฟุ้งกระจายของทราย ฝุ่น
หรือบริเวณที่มีแสงเลเซอร์หรือรังสีอินฟาเรด
3. เลิกสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรีก็ปัจจัยเสริมที่สำคัญที่จะทำให้สายตาสูญเสียการมองเห็นเร็วขึ้น และยังส่งผลร้ายแรงแก่สุขภาพ
ตำรายากลางบ้าน
ในตอนท้ายขอแถม "ตำรายากลางบ้าน" รวบรวมโดย "อาจารย์ชัชวาล โชติวนิช ซึ่งมีผู้ถวายไว้ให้วัดท่าซุง เมื่อ 25 กรกฎาคม 2520
มีหลายโรคที่รวบรวมตำรายาแผนโบราณไว้หลายขนาน ดังนี้
โรคเกี่ยวกับตา
1. ใยแมลงมุมเข้าตา
(ขนานที่ 1) เอาน้ำส้มผสมกับน้ำแล้วต้มกับน้ำให้มีไอน้ำ ลืมตาอังไอของน้ำส้ม ก็จะหาย
(ขนานที่ 2) เอาหมึกจีนที่ฝนด้วยบัก (หมึกแท่งของจีน) หยอดในดวงตาเส้นใยแมลงมุมจะโผล่ให้เห็น แล้วหารก้านพลูสด ๆ มาเขี่ยเอาออกได้ทันที
(ขนานที่ 3) เอาใบชามาต้มให้มีไอน้ำออก แล้วลืมตาอังไอน้ำ จะหาย
2. ผงเข้าตา
อย่าได้ใช้มือขยี้ตา ตาจะช้ำ ให้แกล้งไอดัง ๆ สัก 3 ครั้ง ตาจะหายเคืองทันที
3. น้ำพริกหรือหัวหอมเข้าตา
อย่าล้างน้ำจะทำให้ยิ่งแสบตา ถ้าเข้าตาขวาให้ใช้น้ำเย็นรดที่เท้าซ้าย ถ้าเข้าตาซ้ายให้รดที่เท้าขวา จะหายแสบทันที อย่างไม่น่าเชื่อ
4. ตาเป็นกุ้งยิง
(ขนานที่ 1) ตื่นนอนก่อนล้างหน้า ใช้สำลีชุบน้ำอุ่น ๆ นาบตรงที่เป็นกุ้งยิง ทำ 3 ครั้ง จะหาย
(ขนานที่ 2) เด็ดตรงปลายพริกขี้หนูสดที่แดง ๆ สักนิด แล้วบีบเอาน้ำพริกออกมาเอาน้ำพริกนี้จี้ตรงกุ้งยิงจะหาย (ระวังอย่าให้น้ำพริกเข้าตาจะแสบ)
5. ยาบำรุงสายตา
1) ผักบุ้งแดง ซึ่งมักมีขึ้นตามท้องนาในประเทศเราทั่วไปที่มีเถามีสีออกมาแดงปนน้ำตาลเล็กน้อย ท่านให้ถอนเอาทั้งต้นทั้งราก
ตากแดดให้แห้งแล้วบดให้เป็นผงละเอียด
2) พริกไทยบดเป็นผงละเอียดเช่นเดียวกัน
ของทั้งสองสิ่งนี้ให้ชั่งตามน้ำหนัก ผงผักบุ้งแดงหนัก 3 ส่วน ต่อพริกไทย หนัก 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใช้น้ำผึ้งผสมพอเป็นลูกกลอนได้
เก็บใส่ขวดโหลไว้รับประทาน
ท่านให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด สองเวลา เช้า เย็น ตามัว ตาฝ้า ตาฟาง หรือ ตาลม รู้สึกแสบตา น้ำตาไหล จะหายขาดได้ในไม่ช้า
ต่อไปดวงตาจะใสบริสุทธิ์ แม้จะย่างเข้าสู่วัยชราแล้วก็ตาม แต่ต้องรับประทานตลอดไป
(ตำรานี้ได้จาก นายจำรัส แย้มสำราญ พระประแดง สมุทรปราการ)
6. โรคตาแดง
เอาสีแดงที่ย้อมผ้าละลายน้ำ แล้วป้ายเปลือกตาแดงสักครั้งจะหาย
7. โรคตาแดง ตาต้อ ตาแฉะ
1) เม็ดในลูกยาง หนัก 1 บาท ตำให้ละเอียด
2) ราเหมือดคน 3 ชิ้น
3) พิมเสน หนัก 1 เฟื้อง
รวมสามอย่างดองสุรา 1 ขวด ใช้สำหรับหยอดตาจะหาย
8. โรคตาแดง ตาแฉะ
ใช้ก้านใบยาสูบแช่น้ำค้าง หรือน้ำฝน นำมาล้างตาบ่อย ๆ จะหายในไม่ช้า
9. โรคตาริดสีดวง
ใช้น้ำผึ้งอย่างแท้ หยอดตาบ่อย ๆ ก็จะหาย
10. โรคตาเป็นต้อเนื้อ
เอาผักบุ้งล้อม (ที่เป็นเส้นเล็ก ๆ โดยมากเอามากินกับส้มตำ) 1 กำมือ เนื้อวัวสดเท่าฝ่ามือ 1 ชิ้น ใส่ในกาต้มน้ำร้อน ใส่น้ำ พอท่วม
ต้มให้เดือดสักครู่ยกลงหาเศษผ้าอุดรูกาสัก 1 2 นาที เอาผ้าห่มคลุมหัวลืมตาให้ไอน้ำพุ่งมาสู่ตา จนกว่าไอจะหมดหรือจางไป ถ้าร้อนนักก็ให้ห่างหน่อย
ทำหลาย ๆ ครั้งจะหาย หรือใช้สายยางต่อจาก ปากพวยกาน้ำร้อน แล้วมาจ่อที่ตาก็ได้เช่นกัน
11. ยาล้างตาเทวดา เทพประสิทธิ์
ณ เมืองไห่หย่วน แห่งมณฑลชานสี มีชายคนหนึ่ง แซ่เซ็ง อายุ 70 ปี ตามองไม่เห็นมาเป็นเวลานานถึง 19 ปี วันหนึ่งเผลิญชายคนหนึ่งมาบอกตำรายานี้ให้
คือให้เอาแซบ๊วย ห้าสลึง พ่วยเซียว ห้าสลึง ใส่น้ำ 2 ชาม ต้มให้เดือดพอดี ๆ ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น
วิธีล้างตามีดังนี้
ในระยะหนึ่งให้ล้างตาเพียงวันเดียว 3 เวลา คือ 17.00 น. - 09.00 น. หนึ่งครั้ง 11.00 น. 13.00 น. หนึ่งครั้ง 17.00 น. 19.00 น. หนึ่งครั้ง
การล้างตามีการกำหนด เดือน และวัน ให้ล้างตาดังนี้ คือ
เดือนอ้าย ขึ้น 3 ค่ำ
เดือนยี่ ขึ้น 1 ค่ำ
เดือนสาม ขึ้น 3 ค่ำ
เดือนสี่ ขึ้น 9 ค่ำ
เดือนห้า ขึ้น 5 ค่ำ
เดือนหก ขึ้น 6 ค่ำ
เดือนเจ็ด ขึ้น 3 ค่ำ
เดือนแปด ขึ้น 10 ค่ำ
เดือนเก้า ขึ้น 12 ค่ำ
เดือนสิบ ขึ้น 13 ค่ำ
เดือนสิบเอ็ด ขึ้น 14 ค่ำ
เดือนสิบสอง ขึ้น 9 ค่ำ
ตามความเป็นจริงแล้วไม่ว่าหนุ่มสาว เฒ่า เด็ก ผู้ที่เป็นโรคตาฟาง หรือโรคตาเจ็บอื่น ๆ ทุกชนิด เมื่อใช้ยาขนานนี้ล้างตาแล้ว ตาจะเป็นปกติ
ตำรายานี้รักษาให้คนหายจาก โรคตา นับเป็นจำนวนหมื่นแล้ว
ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวย่อย ๆ ของคนบางคนที่ใช้ยานี้ล้างตาแล้วหายเป็นปกติ
1) ในเมืองหนองซาง แห่งมณฑลเกียงสี มีชายคนหนึ่งชื่อเท้ง แซ่เตีย ตาทั้งสองข้างมาองไม่เห็น เขาได้ตั้งใจถือศีล กินเจ
และล้างตาตามตำรานี้ก็หายเป็นปกติในระยะหนึ่งปี
2) ณ เมืองหนานซาง มีพระองค์หนึ่งพำนักอยู่ที่ตรอกกวางฮก ตาทั้งสองข้างของท่านมาองไม่เห็นมาเป็นเวลาถึง 8 ปี
ได้ปฏิบัติตามตำราข้างต้นภายในระยะเวลาหนึ่งปีก็หายเป็นปกติ
ตำรานี้แม้จะมีคนซื้อด้วยราคาแพง ๆ ก็ห้ามขาย อีกประการหนึ่ง ถ้าผู้ใดมีตำรานี้ไว้ในครอบครอง ปกปิดไม่บอกคนอื่นทราบต่อไป
ครอบครัวนี้จะพิบัติถึงชีวิต ถ้าผู้ใดแจ้งให้ผู้อื่นทราบต่อไปโดยไม่คิดมูลค่าอะไรใด ๆ หรือคัดข้อความนี้แจกต่อไปท่านผู้นั้นจะประสพแต่โชคสมบูรณ์ด้วย
อายุ วรรณะ สุขะ พละ นึกคิดอะไรสมปรารถนา สมบูรณ์พูลสุขยิ่ง ๆ เทอญ
พระประสิทธิ์ โชติธัมโม พระภิกษุ รัตนญาโณ ณ เสมอ หรือ ทองดี (อดีตกำนัน ต.คุ้งกระถิน อ.เมือง จ.ลพบุรี)
webmaster - 21/9/08 at 10:11
ตาไม่เป็นต้อเพราะกินคะน้า
คะน้าเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ใครจะทราบบ้างว่า คะน้าก็สามารถทำให้ตาไม่เป็นต้อได้ วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีเรื่องนี้มาฝาก...
คะน้าเป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินอี แคโรทีนอยด์ และ โฟเลต นอกจากนี้ ยังมีสาร ลูทีน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในเลนส์ตา ผลจากงานวิจัย พบว่า
การกินอาหารหรือพืชผักที่มีสารลูทีนสูง เช่น คะน้า จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกลงได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่กิน
นอกจากนี้ การกินคะน้าเป็นประจำ ยังช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร ปอด และเต้านมอีกด้วย
ป้องกันโรคต้อกระจก หันมากินคะน้าแต่เนิ่น ๆ กันดีกว่า.
ที่มา - เว็บ mediathai.net
น้ำโซดา น้ำอัดลม สุดอันตรายต่อสุขภาพ คำเตือนจากแพทย์ชื่อดังระดับโลก เนื่องจากส่วนผสม สี สารกันบูด
และสารเคมีบางชนิด ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนก่อนวัย โรคภาวะเสื่อมในสมองหรืออัลไซเมอร์
น้ำโซดา น้ำอัดลม สุดอันตรายต่อสุขภาพ คำเตือนจากแพทย์ชื่อดังระดับโลก เนื่องจากส่วนผสม สี สารกันบูด และสารเคมีบางชนิด ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนก่อนวัย
โรคภาวะเสื่อมในสมองหรืออัลไซเมอร์ ดังเป็นที่ทราบกันอยู่ว่าฝรั่งตะวันตกป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมหลาย ๆ สิบล้าน คน
เพราะพิษร้ายสะสมมานานจากการนิยมดื่มน้ำอัดลม เป็นประจำ
นอกจากมีความเสี่ยงสูงต่อโรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ และเยื่อบุปอดอักเสบจากการทำลายของสารเคมีบางตัวที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
จะส่งผลร้ายทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดในระยะต่อไป
ที่มา - เว็บ dhammadelivery.com
ยาดับพิษไฟลวกน้ำร้อนลวก
ขนานที่ 1 ท่านให้เอา ใบเสลดพังพอนตัวเมีย นำมาตำให้ละเอียด ผสมกับสุรา ใช้พอกบริเวณที่ถูกไฟลวกหรือน้ำร้อนลวก มีสรรพคุณดับพิษปวดแสบร้อนให้หายไปทันที
แต่ต้องรักษาบาดแผลด้วยยาขนานอื่นอีกต่อไป
ขนานที่ 2 ท่านให้เอาใบชาจีน มากน้อยตามต้องการ นำมาแช่น้ำแข็ง หรือแช่น้ำเย็นจัดๆ ให้ใบชาคลี่ออกแล้ว ใช้ใบชานั้นพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก
ทิ้งไว้ครุ่หนึ่ง แล้วแกะออก เปลี่ยนยาพอกใหม่อีก มีสรรพคุณจะดูดพิษปาดแสบปวดร้อนให้หายพลัน และทำให้ไม่เกิดเป็นบาดแผลอีกด้วย
ขนานที่ 3. ท่านให้เอา ต้นหางจระเข้ นำมาคั้นเอาน้ำเมือกของต้นหางจระเข้นั้น ใช้ทาบริเวณที่ถูกไฟลวก หรือถูกน้ำร้อนลวก ให้ทั่ว
ขนานที่ 4. ท่านให้เอาเกลือป่น นำมาพอกบริเวรที่ถูกไฟลวก น้ำร้อนลวก แล้วใช้น้ำสะอาดปะพรมพอเปียก จะทำให้เกิดความเย็นสบาย ไม่ปวดแสบปวดร้อน
และจะทำให้ไม่เกิดอาการพองอีกด้วย
ขนานที่ 5. ท่านให้เอา แผ่นทองคำเปลว ชนิด 100% นำมาปิดบริเวณที่ถูกไฟลวก หรือน้ำร้อนลวกให้ทั่วแล้ว ใช้ผ้าสะอาดพันปิดแผลให้มิดชิด
ระวังอย่าให้ถูกน้ำเป็นอันขาด บาดแผลจะหายไป
(ตำรายากลางบ้าน รวบรวมโดย พระเทพวิมลโมลี วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร)
webmaster - 4/12/10 at 20:57
(Update 4-12-53)