สำหรับความนิยมของคนสมัยก่อน อาจจะหาหลักฐานได้ยาก พอดีมีผู้ส่งคำกลอนจากหนังสือวรรณกรรมของสุนทรภู่ ที่ได้บรรยายการเดินทางมายังดินแดนปักษ์ใต้
เมื่อเกือบ ๒๐๐ ปีที่ผ่านมา โดยบันทึกเหตุการณ์ไว้เป็นบทกลอนดังนี้
มาประมาณโมงหนึ่งถึงพระบาท
ที่กลางหาดเนินทรายชายสิงขร
พี่ยินดีปรีดาคลายอาวรณ์
ประณมกรอภิวาทบาทบงสุ์
จุดธูปเทียนบุปผาบูชาพร้อม
รินน้ำหอมปรายประชำระสรง
แล้วกราบกรานคลานหมอบยอบตัวลง
เหมือนพบองค์โลกนาถพระศาสดา
พี่พบต้องมองแลพระลายลักษณ์
เหมือนประจักษ์จริงจังไม่กังขา
มีทั้งร้อยแปดอย่างกระจ่างตา
เป็นดินฟ้าพรหมอินทร์สิ้นทั้งปวง
มีขอบเขาจักรวาฬวิมานมาศ
ห้องอากาศเมรุไกรอันใหญ่หลวง
พระสุริยันจันทราดาราดวง
มีทั้งห้วงนทีสีทันดร
นาคมนุษย์ครุฑาสุรารักษ์
ทั้งกงจักรห้องแก้วธนูศร
สกุณินกินนราวิชาธร
มีไกรสรเสือช้างและกวางทราย
มีอยู่พร้อมเพริศพริ้งทุกสิ่งสรรพ์
ดูอนันต์นับยากด้วยมากหลาย
ยิ่งพิศดูก็ยิ่งงามอร่ามพราย
ด้วยแสงทรายแวววามอร่ามเรือง
มีบัวบุษย์ผุดรับระยับวาบ
ดูเปล่งปลาบแวววาวเขียวขาวเหลือง
พื้นพระบาทผุดผ่องดังทองประเทือง
ดูรุ่งเรืองด้วยทรายนั้นหลายพรรณ
ตามริมรอบราบรื่นทั่วพื้นหาด
ดังแก้วลาดแลรอบเป็นขอบขัณฑ์
ดูก็น่าผาสุกสนุกครัน
ด้วยสีสันแสงพรายหลายประการ
พวกเพื่อนฝูงทั้งหลายน้อมกายกราบ
ศิโรราบเรียบเรียงเคียงขนาน
พระสุริยงลงลับโพยมมาน
ก็คิดอ่านสมโภชพระบาทา
บ้างรำเต้นเล่นตามประสายาก
พิณพาทย์ปากฟังเสนาะเพราะนักหนา
บ้างก็นั่งตีกรับขับเสภา
ตามวิชาใคร่ถนัดไม่ขัดกัน
อึกทึกกึกก้องทั้งท้องหาด
ไหว้พระบาทปรีดิ์เปรมเกษมสันต์
แต่นอนค้างกลางทรายอยู่หลายวัน
บ้างชวนกันเที่ยวเล่นไม่เว้นวาย
บ้างเที่ยวเก็บว่านยากายสิทธิ์
ปรอทฤทธิ์พลวงแร่แม่เหล็กหลาย
พวกลายแทงก็แสวงไปตามลาย
เที่ยวแยกย้ายมรรคาเข้าป่าไป
บ้างเที่ยวจับนกหนูลูกหมูเม่น
มาเลี้ยงเล่นตามประสาอัชฌาสัย
บ้างลงเล่นยมนาชลาลัย
เห็นเต่าใหญ่ขึ้นหาดดาษดา
ชวนกันจับขี่เล่นเช่นกับช้าง
ให้คลานกลางหาดทรายชายพฤกษา
เต่ามันพาลงทะเลเสียงเฮฮา
กลับขึ้นมาหัวร่อกันงอไป
เขาเที่ยวเล่นเป็นสุขสนุกสนาน
ในกลางย่านยมนาชลาไหล
แต่ตัวพี่เศร้าสร้อยละห้อยใจ
แสนอาลัยนิ่มนุชสุดประมาณ
ไหว้พระบาทยมนาแล้วลากลับ
ก็เสร็จสรรพเรื่องราวที่กล่าวสาร
นิราศนุชสุดใจไปไกลนาน
แต่งไว้อ่านอวดน้องลองปัญญา
ฉันเป็นศิษย์สุนทรยังอ่อนศักดิ์
พิไรรักมิ่งมิตรกนิษฐา
ประโลมโลกโศกศัลย์พรรณนา
ยุติกาจบกันเท่านั้นเอย ฯ
((( โปรดติดตามตอนพบหลักฐานใน "กเบื้องจาร" )))
(ทิวทัศน์บริเวณด้านหน้าและด้านหลัง เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต
จะเห็นก้อนหินเป็นรูป "ช้างหมอบ" อยู่ใกล้รอยพระพุทธบาท)
ประวัติความเป็นมารอยพระพุทธบาทที่ ๕
สำหรับประวัติความเป็นมาเรื่อง รอยพระพุทธบาทที่ ๕ นี้มีความสำคัญมาก เพราะนักค้นคว้าประวัติศาสตร์
ต่างก็ค้นคว้าหากันมานานแล้ว โดยเฉพาะประเทศต่างๆ เช่น พม่า ลังกา ต่างก็อ้างว่าอยู่ในประเทศของตน บางคนก็เข้าใจว่าอยู่ในประเทศอินเดียก็มี
ต่อมาเมื่อได้พบหลักฐานจาก กเบื้องจาร ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินบริเวณ
บ้านคูบัว จังหวัด ราชบุรี ทำให้เราได้รู้ความจริงว่า รอยพระพุทธบาทที่ ๕
หรือตามประวัติที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ประทานรอยพระพุทธบาทนี้ไว้ให้ พญานาคราช
ทั้งหลายได้สักการบูชานั้น ไม่ได้อยู่ที่ประเทศไหนตามที่เข้าใจกัน ความจริงอยู่ในปรเทศไทยนี่เอง
อีกทั้งความเชื่อถือของชาวใต้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ต่างก็มีความเคารพเลื่อมใส พากัน ไปกราบไหว้บูชาอยู่เสมอมา ทั้งได้ประสบพบกับความ พิสดารอีกนานัปการ คนที่ไม่มีความเคารพต่างก็ประสบภัยพิบัติกันไปแล้วหลายราย โดยเฉพาะวัตถุสิ่งของที่นั่น
แม้แต่ทรายเม็ดเดียวยังเอากลับมาไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราพอจะสรุปกันเพียงผิวเผินได้ว่า ถ้าไม่ใช่ของจริงแล้วไซร้ คงจะไม่มีอะไรเป็นที่อัศจรรย์อย่าง
แน่นอน
รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง
แต่ก่อนที่ถึงเรื่องราวทั้งหลายต่อไป จะขอ ย้อนกล่าวถึงรอยพระพุทธบาททั้ง ๕ แห่งเสีย ก่อน ความจริงรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย ยังมีอีกมาก
แต่เท่าที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจนเป็น ที่ยอมรับของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายนั้น มีปรากฏอยู่ในพระบาลีดังนี้ คือ :-
๑. สุวรรณมาลิก (ลังกา)
๒. สุวรรณบรรพต (สระบุรี)
๓. สุมนกูฏ (ลังกา)
๔. โยนกปุระ (เชียงใหม่)
๕. นัมทานที (ภูเก็ต)
ข้อความในวงเล็บนั้น ผู้เขียนลงเอาไว้เพื่อความเข้าใจตามที่ได้ค้นคว้ามา ซึ่งจะหาอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือ ธัมมวิโมกข์ ฉบับ ที่ ๑๕๖, ๑๖๓, ๑๖๔ (ปี ๒๕๓๗) ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะรอยพระพุทธบาทที่ ๕ นัมทานที ซึ่งได้ยืนยันไว้เป็นหลักฐานจากหนังสือ
พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์อ่านคำจารึกโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ มีใจความตามสำนวนสมัยเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมานี้เองว่า...
บุญมุนี อยู่ถ้ำฤษี ผู้นำพุทธ สู่เกาะคนชาวน้ำ หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พุทธสอนมาก หมู่คนขอรอยตีนไว้
ชายทเล พุทธเหยียบดิน ทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า เมื่อวันขึ้น ๑๓ ค่ำนั้น พุทธมาถึงบ้านแม่กุน วันขึ้น ๑๔
พุทธ ปุณณ เดินทาง ไปเขาสัจจพันธ พาสัจจพันธ ไปส่งเขาสัจจพันธ อันสัจจพันภิกขุ วอนขอ รอยตีน อันเหยียบหินในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย
เหยียบหิน เชิงเขานั้น
พุทธสร้างรอยตีน ณ หิน ทำรอยใหญ่กว่า ๓ เท่า เถรเดินภุ่มมือตลอดนั้น เสดแล้ว พระภิกขุพันหมอบกราบพุทธ พุทธว่าเขา-ตีนพุทธ
ถ้าใช้สำนวนในปัจจุบันอ่านได้ดังนี้
พระปุณณะ อยู่ถ้ำฤษี (เขางู จ.ราชบุรี) ผู้นำพระพุทธเจ้า สู่เกาะคนชาวน้ำ (ชาวเล) หมู่คนน้ำ
เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พระพุทธเจ้าสอนมาก หมู่คนขอรอยพระบาท ไว้ที่ชายทะเล
พระพุทธเจ้าทรงเหยียบดิน ทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า เมื่อวันขึ้น ๑๓ ค่ำนั้น (เดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๒) พระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาถึงบ้านแม่กุน วันขึ้น ๑๔ ค่ำ
พระพุทธเจ้า พระปุณณะ เดินทางกลับไปที่เขาสัจจพันธ์ พาสัจจพันธ์ไปส่งที่เขาสัจจพันธ์ อันสัจจพันธ์ภิกขุทูลขอรอยพระพุทธบาท
พระพุทธองค์จึงทรงเหยียบหินในวันขึ้น ๑๕ เดือนอ้าย เหยียบหินไว้ที่เชิงเขานั้น
พระพุทธเจ้าประทับรอยพระบาทบนก้อนหิน ทำรอยใหญ่กว่า ๓ เท่า พระเถระเดินพนมมือตลอดเวลา เสร็จแล้วพระภิกษุสัจจพันธ์จึงหมอบกราบพระพุทธเจ้า
พระองค์จึงตรัสว่า "เขาพระพุทธบาท" (คงจะทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปคนจะเรียกกันอย่างนั้น)
ท่านเจ้าคุณพระราชกวี ได้วินิจฉัยเรื่องนี้ ไว้อีกว่า
เท่าที่ปรากฏรอยตีนพุทธนี้ ย่อมทรงแสดงให้เห็นหลักฐาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระองค์ว่า ได้เสด็จตั้งแต่ใต้สุดถึงเหนือสุดของ ดินแดน สุวัณณภูมิ จึงเสด็จเพื่อทรงเหยียบแสดงรอยพระบาทเป็นประจักษ์พยานไว้ สัจจพันธ์คีรี
(จังหวัดสระบุรี) และที่ เกาะแก้ว(เกาะแก้วพิสดาร?) หรือ นิมมทานที (ไทยว่า..นัมมะทา) ซึ่งเป็นที่เลื่องลือมานาน กระทั่งถึงต่างประเทศคือลังกาและชมพูทวีป เพราะคำใน
อรรถกถา ยืนยันอยู่
อรรถกถาปุณโณวาทสูตร
ในตอนนี้ตามความใน อรรถกถาปุณโณวาทสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ได้กล่าวไว้ว่า
เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกรุงสาวัตถีได้ตรัสเรียกพระอานนท์มาสั่งว่า
อานันทะ..ดูก่อนอานนท์ พรุ่งนี้พวกเราจะเที่ยวบิณฑบาตที่หมู่บ้านพ่อค้าในแคว้นสุนาปรันตะ เธอจงให้สลากแก่ภิกษุ ๔๙๙
รูป..
เมื่อพระอานนท์รับพระพุทธบัญชาแล้วจึงได้ประกาศแก่ภิกษุทั้งหลาย และในวันนั้นพระกุณฑธานเถระ
จับได้สลากเป็นองค์แรกในตอนเช้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งเข้าผลสมาบัติ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะเกิดร้อนขึ้นมา
พระองค์ทรงพิจารณาแล้วทราบว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจะเสด็จไป แคว้นสุนาปรันตะ ซึ่งเป็นระยะทางไกลมาก
จึงรับสั่งให้ วิษณุกรรมเทพบุตร เนรมิตเรือนยอด ๕๐๐ หลัง สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๔ มุข (จตุรมุข)
ของพระอัครสาวกทั้งสองมี ๒ มุข ที่เหลือมีมุขเดียว
พระศาสดาทรงเข้าสู่เรือนยอด และ พระสาวก ๔๙๙ รูป ต่างเข้าสู่เรือนยอด ๔๙๙ หลังตามลำดับ โดยมีเรือนยอดว่างอยู่หลังหนึ่ง เรือนยอดทั้ง ๕๐๐
หลังนั้นลอยไปในอากาศ
ครั้นถึงภูเขาชื่อสัจจพันธ์ แล้วทรงหยุดเรือนยอดไว้ในอากาศ ทรงเทศน์โปรดท่าน สัจจพันธ์ฤาษี จนสำเร็จพระอรหันต์แล้ว จึงได้เข้าสู่เรือนยอดที่ว่างหลังนั้น
ตามเสด็จไปพร้อมกับพระภิกษุทั้งหลายมายังหมู่บ้านพ่อค้า (เพชรบุรี) ที่เป็นน้องชายพระปุณณะ
ต่างก็ได้ถวายทานเป็นอันมากแด่พระภิกษุทั้งหลาย อันมีองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน
เมื่อพระศาสดาประทับในที่นั้น ๒-๓วัน จึงได้เสด็จไปโปรด นัมทานาคราช
ซึ่งตามในจารึกกเบื้องจารได้บอกว่า พระศาสดาได้เสด็จโปรด คนน้ำ ที่เกาะแก้ว โดยประทับไว้ทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า
ตามอรรถถาจารย์ยังกล่าวต่อไปอีกว่า พระศาสดาเสด็จออกจากนั้น แล้วเสด็จสู่ภูเขาสัจจพันธ ตรัสกะพระสัจจพันธว่า
"...เธอให้มหาชนดำเนินไปทางอบายแล้ว เธอจงอยู่ที่นี้แหละ ทำให้พวกเขาเหล่านั้นละลัทธิเดิม แล้วให้ตั้งอยู่ในทางนิพพานเถิด.."
แม้ท่านสัจจพันธทูลขอฐานะอันตนพึงบำรุงรักษา พระศาสดาทรงแสดงรอยพระบาทเหมือนตราประทับ ณ ก้อนดินเหนียวเปียก จากนั้น จึงเสด็จสู่เชตวันแล
ท่านเจ้าคุณพระราชกวี วินิจฉัยคำว่า นาค กับ น้ำ
นั้นออกเสียงใกล้เคียงกัน และใน อุทานวรรค ตรัสว่าเป็น
คนทะเล
ซึ่งในเวลานี้ปรากฏว่า คนน้ำ หรือว่า ชาวเล ยังมีอยู่ ๕ กลุ่ม เช่นที่ หาดราไวย์ เป็นต้น
ใครจะลองไปถามประวัติแกดูบ้างก็ได้ เผื่อแกอาจจะจำได้บ้าง แต่ต้องพูดภาษาเขาได้นะ
ท่านเจ้าคุณพระราชกวีอธิบายต่อไปอีกว่า บุรโณวาทคำฉันท์มีว่า
เบื้องบรรพ์ยังมีพระดาบสหนึ่งสมญา พระสัจพรรทโคดม
สถิตเขาสุวรรณไพรพนม แทบสถานนิคม สุนาปรันตคามา
สมเด็จสุคตก็ทรง การุณโดยจง พระสัจจพรรทภักดี
จึงเหยียบบวรบาทมุนี ยังยอดศีขรี สุวรรณพรายเจษฎา
ด้วยบงกชบาทเบื้องขวา ลายลักษณวรา ทั้งร้อยแปดประการงาม
(พระวิหารครอบพระพุทธสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในห้าแห่ง คือ "โยนกบุรี" ที่มีในพระไตรปิฎก)
แต่ตามที่ทราบว่า สมัยก่อนพวกนี้จะรับจ้างพายเรือรับส่งคนไปกราบรอยพระพุทธบาทต่อมาชาวบ้านแถวหาดราไวย์
สามารถใช้เรือหางยาวแทนแกจึงเลยตกงานไปโดยปริยาย เพราะไม่สามารถไปหาเงินมาซื้อเรือหางยาวแข่งกับชาวบ้านได้ จึงต้องไปดำน้ำหากุ้งหาปลามาขายแทน
แต่บางคนก็มีกับเขาเหมือนกันนะ
ตามความในพระไตรปิฎกกล่าวต่อไปว่าเมื่อพระศาสดาทรงออกจากที่นั้นแลัวก็เสด็จถึงภูเขาสัจจพันธ์ คือที่
สระบุรีนี่เอง ทรงแสดงรอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบ เหมือนประทับตราไว้บนก้อนดินเหนียวสดๆ ฉะนั้น
ต่อจากนั้นก็เสด็จไปถึงพระเชตวันทีเดียว
เรื่องนี้ตามที่วินิจฉัยไว้แล้วว่า รอยพระพุทธบาททั้ง ๒ แห่งนี้ มิได้อยู่ที่อินเดียแน่นอน แต่ถ้าจะคิดว่ารอยพระบาท ณ นัมทานที อยู่ที่ลังกา
ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะเสด็จมาถึง สุนาปรันตะ สิ้นระยะทาง ๓๐๐ โยชน์ หรือ ๔,๘๐๐ ก.ม.
ก็จะต้องย้อนกลับไปกลับมาหลาย ครั้ง
ทั้งที่ลังกาก็ไม่ปรากฎว่าพบรอยพระบาท ที่อยู่ริมทะเลอย่างนี้มาก่อน มีแต่รอยที่ปรากฎอยู่ ตามภูเขาเท่านั้น เช่น รอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุมนกูฏ เป็นต้น
เพราะฉะนั้น รอยพระบาททั้งสองแห่งนี้จะต้องอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ถ้าเชื่อว่ารอยพระพุทธบาทที่สระบุรีเป็นของจริง
รอยพระพุทธบาทที่ภูเก็ตก็ต้องเป็นของจริงเช่นกัน โดยเฉพาะความพิสดารเล่ากันไม่หวาดไม่ไหว
เล่าลือกันจนไม่มีใครกล้าไป แต่ที่ไปกันได้เพราะอาศัยความตั้งใจจริง หรือที่เรียกกันว่า เอาชีวิตเป็นเดิมพันกันทีเดียว เพราะถ้ายังรักตัวกลัวตาย
หรือชอบความสนุกสนาน ก็คงจะไม่ได้ไปยืนอยู่ ณ ที่นี้เป็นแน่แท้
(รอยพระพุทธบาท ณ สุวรรณบรรพต คือที่จังหวัดสระบุรี ตามความเชื่อมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา)
โดยเฉพาะรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ สมัยโบราณก็มีความเชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่ ๕ ที่ได้ประทับไว้ ณ ริมฝั่งน้ำนัมทา ตามที่ นางนพมาศ เป็นผู้คิดประดิษฐ์ กระทง ให้มีลักษณะเป็นรูป ดอกบัว เพื่อเป็นเครื่องบูชาสักการะลอยไปบูชารอยพระพุทธบาท โดยฝากไปกับ พระแม่คงคา
ซึ่งเรื่องวัตถุประสงค์ในการลอยกระทงนี้ กำลังถูกลอยหายไปกับกระแสน้ำเหมือนกัน..สวัสดี.
The only trace of the Buddha Foot. Ancient belief that it is. Buddha Foot is a 5 to mark the Buddha on the waterfront (Namtanatee) at
"Nangnoppamas" paint her as a thinker Npmas artificial "point" to look as a "lotus" to the machine. Drift body worship worship worship Buddha
Foot by deposit to the "Phramae kongkha River", which on purpose. In the Loy Kratong Festival. Lloyd is being lost with the same currents.. Hello...
webmaster - 10/11/11 at 09:14
สรุปความโดยย่อ
"ประเพณีลอยกระทง เพื่อวัตถุประสงค์อะไร"
"..........ประเพณีลอยกระทง เพื่อวัตถุประสงค์อะไร มีเหตุผลเป็นประการใด ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านโปรดใช้วิจารณญาณไปด้วย
เพราะจะได้อ้างเหตุอ้างผลไปตามหลักฐานพยาน ส่วนจะเชื่อหรือไม่ จะเป็นความจริงแค่ไหน เราต้อง ไปพิสูจน์กัน อย่าหลับหูหลับตาอ้างเอาแต่ความคิดของตนเอง
มิฉะนั้น...เราจะไม่รู้คุณค่าว่า เรามีของดีอยู่ในประเทศไทยอีกมากมาย
..........เมื่อพูดถึงการ ลอยกระทง คนไทยทุกคนแม้แต่ลูกเด็กเล็กแดงก็รู้จักกัน โดยเฉพาะประเทศไทยมีการรักษาประเพณีนี้มานานแล้ว
แต่รูปแบบการจัดงานในปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยี สมัยใหม่เข้ามามาก จึงมีการจัดแสดงแสงและ สีเข้ามาประกอบ ทำให้เกิดบรรยากาศอันดีที่
จะทำให้ผู้ชมต้องย้อนกลับไปในภาพอดีตอีก ครั้งหนึ่ง แต่ถ้าจะสืบสาวราวเรื่องความเป็นมาต่างๆ เช่นถามว่า...
ประวัติการ ลอยกระทง มีความเป็น มาอย่างไร? ลอยเพื่อวัตถุประสงค์จะบูชาอะไร? และ นางนพมาศ เป็นใคร? มีประวัติความ เป็นมาอย่างไร?
ถึงได้คิดประดิษฐ์กระทงให้มีลักษณะเป็นรูปทรง ดอกบัว อย่างนี้..?
ชาวไทยทุกคนที่เคย ลอยกระทง มาแล้ว นับตั้งแต่เล็กจนโต ต้องอดหลับอดนอนไม่รู้สักกี่ครั้ง อาจจะเคยรู้คำตอบได้เป็นอย่างดี
แต่คงจะมีไม่น้อยที่ลอยแล้วไม่รู้ว่าลอยเพื่ออะไรกันแน่....เพียงแต่ขอให้ได้รับความสนุกสนาน หรือชมความสวยสดงดงาม จากการจัดประกวดกระทง หรือประกวด
นางนพมาศ เท่านั้น ก็พอใจ โดยเฉพาะผู้เขียนเอง เมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๕๓๖ บังเอิญได้ยินคำตอบทางโทรทัศน์ จาก ดอกเตอร์ ท่านหนึ่งว่า ลอยกระทง
เพื่อลอยเคราะห์..ลอยโศก แล้วกัน..!
สำหรับ ภาพประกอบการศึกษา ก็เหมือนกัน ซึ่งไว้ใช้ในการสอนเด็กนักเรียนเรื่อง การลอยกระทง โดยได้อธิบายไว้ในภาพวาดหลายประเด็น เช่น เพื่อบูชาและขอขมา
พระแม่คงคา เพื่อบูชา รอยพระพุทธบาท ใน นาคพิภพ และเพื่อบูชา พระอุปคุต เป็นต้น
ในตอนนี้ ผู้เขียน ก็ไม่มีความรู้อะไรแต่ก็อยากจะ รณรงค์วัฒนธรรมไทย ต่อไป ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งที่เป็นห่วงเป็นใย
ในวัฒนธรรมประเพณีของคนไทยบางคนที่กำลังจะถูกย่ำยีเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่ง ผู้เขียน มีเจตจำนงที่จะฟื้นฟูประเพณี ลอยกระทง
เพื่อให้ตรงกับความประสงค์ของโบราณราชประเพณี ที่สืบต่อกันมานานหลายชั่วคนแล้ว ซึ่งเป็นประเพณีอันดีงามผสม ผสานกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
เพราะว่าวัฒนธรรมไทยย่อมผูกพันกับสถาบัน ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ มานานแล้ว โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทงนี้เป็นประเพณีที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ
ย่อมเป็นที่รู้จักไปในนานาประเทศ แม้กระทั่งเพลง ลอยกระทง ฝรั่งบางคนยังร้องได้เลย..!
จึงนับเป็นที่ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่เรามีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เพราะมีแต่ประเทศ ไทยเท่านั้น ที่ยังรักษารูปแบบประเพณีนี้มานาน แล้ว ซึ่งประเทศอื่นๆ
ไม่มีประเพณีเช่นนี้มา ก่อนเลย อีกทั้งรอยพระพุทธบาทที่อยู่กลางทะเล ก็มีอยู่ในประเทศไทยแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ นางนพมาศ
คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูป ดอกบัว นั้น ก็เป็นการบ่งบอกเอาแล้วว่า เพื่อบูชา รอยพระพุทธบาท เป็นแน่แท้...
เพราะ ดอกบัว เป็นสัญลักษณ์เฉพาะผู้ที่ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นดังจะสังเกตได้ว่า พระพุทธรูปปางลีลา ทุกองค์ มักจะนิยมสร้างเป็นรูป
"ดอกบัว" ไว้เพื่อรองรับฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฉะนั้น เพื่อให้ สมเหตุสมผลตามข้อวินิจฉัย ผู้เขียนจึงใคร่ขอ นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัยมา
ยืนยันเป็นคำเฉลย จากคำถามที่ตั้งไว้ว่า... เราลอยกระทงเพื่อบูชาอะไรกันแน่..? ด้วยประการฉะนี้..สวัสดี.
webmaster - 27/11/15 at 05:38
.