หลังจากเข้าไปถ่ายสารคดีเรื่องนี้แล้ว ยังสอบถามจากชาวเชอร์ปา กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่แถบนั้น ซากรอยเท้านี้มี 5 นิ้วเห็นชัด ยาว 33 ซ.ม.
แต่ทั้งเจ้าหน้าที่พิทักษ์สัตว์ป่า และนักปีนเขาต่างก็ยังกังขา ว่าใช่ของจริงหรือเปล่า หรืออาจจะเป็นแค่หมีที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย
รอยเท้า ณ ประเทศเนปาล
In the area around Muktinath Padmasambhava left footprints in stone.
On this picture an imprint of his shoe and his right bare foot.
รอยเท้า ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบีย
จาก...หนังสือตามรอยพระพุทธบาท รวมเล่ม 3
ในเรื่องนี้ตาม หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ กล่าวว่า...
"...ในยุคที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง มากที่สุดคือในสมัย พระเจ้ากนิษกมหาราช แห่งราชวงศ์กุษาณะ พ.ศ. ๖๒๑ ๖๔๔ พระ
องค์มีเมืองหลวง ๒ แห่ง คือที่ ปุรุษปุระ ปัจจุบันคือ "เปชวาร์" ของปากีสถาน และเมือง ชาลันธร หรือ
"จาลาลาบาด" ใน "อัฟกานิสถาน" ปัจจุบัน
ในยุคนี้ได้มีการสร้างพระอารามเกิดขึ้นมาอย่างมากมาย รวมทั้งพระพุทธรูปยืนที่ หุบผาบามิยัน ด้วย (ห่างจากกรุงคาบูล เมืองหลวง ๑๔๕
ไมล์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตอนหลังถูกพวกนักรบตาลีบันทำลายด้วยปืนใหญ่) และในสมัยของพระองค์ได้เป็นองค์อุปถัมภ์การทำ "สังคายนาครั้งที่ ๔" ที่
"ชาลันธร" หรือ "จาลาลาบาด" ด้วย (บางตำราว่าที่ "แคว้นกัศมีระ")
พระพุทธศาสนาที่เข้ามาใน "อัฟกานิสถาน" นักปราชญ์ส่วนมากเชื่อกันว่า เริ่มสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช ราว พ.ศ. ๒๓๔
โดยพระองค์ได้ส่งพระธรรมทูต ๙ สายออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะสายที่ ๒ โดยการนำของ พระมัชฌันติกเถระ พร้อมคณะได้เดินทางไป "กัศมีระ"
และ "คันธาระ" (ซึ่งได้สืบต่อพระพุทธศาสนาจนถึงสมัย "พระเจ้ามิลินทร์" และ "พระนาคเสน" อีกด้วย ประมาณ พ.ศ. ๕๐๐)
พระมหาเถระองค์นี้ตามประวัติ ท่านเป็นศิษย์สายตรงของ พระอานนท์ และ "อาณาจักรคันธาระ" ก็ไม่ไกลจาก "อัฟกานิสถาน"
และบางครั้งอาณาจักรก็ขยายครอบไปถึง "อัฟกานิสถาน" ด้วย พระพุทธศาสนาจึงเป็นที่รู้จักของชาวอัฟกัน ตั้งแต่นั้นมา
วาระสุดท้าย
พระพุทธศาสนาได้เข้าถึงยุคอวสาน เมื่อพระศาสดา นบีมูหัมหมัด สถาปนาศาสนาอิสลามขึ้นที่ ซาอุดิอารเบีย
ต่อมาสาวกก็เริ่มเผยแพร่ศาสนาโดยวิธีรุนแรง โดยตั้งกองทัพเข้าโจมตีหลายแห่ง เช่น ยุโรป ยึดได้ กรีก สเปน อิตาลี จนถึงครึ่งหนึ่งของยุโรป
แต่ต่อมาก็ถูกตีโต้กลับ
เมื่อสมรภูมิทางยุโรปหยุดชะงัก จึงเข้าโจมตีอาฟริกาเหนือ ยึดได้ ลิเบีย อียิปต์ โมร็อกโค ต่อจากนั้นก็เดินทัพเข้าโจมตีเอเชียใต้ ยึดได้เมโสโปเตเมีย
(อิรัก) ยึดเปอร์เซีย (อิหร่าน) แม้นว่าชาวเปอร์เซียที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ จะพยายามต่อสู้อย่างกล้าหาญแต่ท้ายสุดก็พ่ายแพ้กองทัพมุสลิม
จึงยึดอาณาจักรเปอร์เซียได้เด็ดขาดราว พ.ศ. ๑๒๐๐
เมื่ออาณาจักรเปอร์เซียแตก อัฟกานิสถานซึ่งอยู่ด้านบนจึงเป็นเป้าหมายต่อไป กองทัพมุสลิมได้เข้าโจมตีอย่างหนัก สุดท้ายอาณาจักรพุทธศาสนาใน
"อัฟกานิสถาน" ก็พังพินาศ วัดวาอารามพระสงฆ์จึงถูกทำลายลงหมด แม่ทัพมุสลิมที่เข้าโจมตีอัฟกานิสถาน มีนามว่า โกไลบาเบน ๑
ได้บังคับให้พุทธศาสนิกชนฮินดู และปาร์ซีนับถืออิสลาม
ในช่วงต้นอาจจะเป็นเพราะถูกบังคับ แต่เมื่อผ่านไปหลายรุ่น พวกเขาจึงเป็นอิสลามศาสนิกชนเต็มตัว แต่พุทธสถานบางแห่งยังพอหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
อันเป็นประจักษ์พยานยืนยันว่า บรรพบุรุษชาวอัฟกันนับถือพุทธศาสนามาก่อน..."
บทวิเคราะห์ของท่านก็มีเพียงแค่นี้ แต่ที่สำคัญที่สุดและแปลกที่สุด นั่นก็คือมีข่าวจาก คุณคณานันท์ ทวีโภค
แจ้งว่าได้พบภาพนี้ทางอินเตอร์เนต คือเป็นรอยเท้าขนาดใหญ่บน ก้อนหินดำ ในวิหารกาบะ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบีย
ตามที่อิสลามิกชนทั้งหลาย จะต้องขวนขวายเดินทางไปกราบไหว้ก้อนหินดำอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
ตามที่คุณคณานันท์เล่าให้ฟังว่า ได้ดูรายการ "เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก" แล้วจึงได้รู้ว่า "แท่งหินดำ"
นี้มีคนไหว้คนบูชากันมาก่อนจะตั้งศาสนาอิสลามนานแล้ว ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลาง ที่มีคนเคารพนับถือทั้งตะวันออกกลางมาแต่โบราณกาล
จึงทำให้มีข้อคิดว่า ดินแดนที่ พระถังซำจั๋ง จาริกนั้น ได้พบกับ รอยพระพุทธบาท หลายแห่ง
ต่อมาก็ได้ถูกทำลายไปอย่างที่กล่าวแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า ปูชนียสถานเหล่านี้ อาจจะมีการเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะรอยเท้าขนาดใหญ่นี้
มีลักษณะที่แตกหักแล้วนำมาต่อกันไว้
ซึ่งก่อนที่พระถังซำจั๋งจะเดินทางเข้ามานั้น ได้มีคณะสงฆ์จีน ๒ ชุด ที่เดินทางเข้ามาตอนเหนือของอัฟกานิสถานคือ พระฟาเหียน
ได้ออกจาริกแสวงบุญจากแผ่นดินจีนตั้งแต่ พ.ศ. ๙๔๒ ท่านได้เขียนรายงานไว้ในจดหมายเหตุของท่านว่า
ที่แคว้นอุทยาน (ตอนเหนือของอัฟกานิสถาน และปากีสถาน) มีสังฆาราม ๕๐๐ แห่ง พระสงฆ์เป็นฝ่ายหินยานทั้งหมด มี รอยพระพุทธบาท
อยู่แห่งหนึ่ง และสถานที่อีกแห่งที่เชื่อกันว่า พระพุทธองค์เคยตากผ้าไว้ เป็นศิลาสูง ๔๐ ศอก และที่แคว้นปุรุษปุระมีวัดมากมาย
มีวัดใหญ่แห่งหนึ่งมีพระสงฆ์ ๗๐๐ รูป พระเจ้ากนิษกะได้สร้างสถูปหลายแห่งไว้เป็นที่สักการะ นอกนั้นยังมีบาตรของพระพุทธองค์อยู่ที่นี่ด้วย
ต่อมาในยุคสมัยที่ พระถังซำจั๋ง หรือ พระเฮี้ยนจัง เดินทางมาราว พ.ศ. ๑๑๗๒ (ค.ศ.๖๒๙) เพื่อไปศึกษาและอัญเชิญพระธรรมคัมภีร์
ที่ขาดแคลนในเมืองจีน เวลานั้น พระเจ้าถังไทจง พระองค์นี้ เป็นปฐมกษัตริย์จีนที่ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งใหญ่ที่สุด
พระถังซำจั๋งเดินทางออกจากด่านเง็กนิ่งกวน ข้ามทะเลทรายมกฮ่อเอี๋ยง ผ่านเมืองอีอู๊ (ฮามิ อยู่ในมณฑลซินเกียง) ผ่านแคว้นเกาเชียง แล้วผ่านการาชาร์
แคว้นคุจี ข้ามเทือกเขาเทียนซาน ผ่านทะเลสาปอิสสิกุล แล้วผ่านเข้าเตอรกีสถาน ผ่านแคว้นต่างๆ มีแคว้นสมารกันด์ เป็นต้น เข้า "อัฟกานิสถาน" สู่
"อินเดีย"
ท่องเที่ยวศึกษาพระธรรมวินัย และกราบไหว้พระพุทธรูป พระพุทธบาท และพระบรมธาตุเจดีย์อยู่ในอินเดีย จนถึง พ.ศ. ๑๑๘๘ (ค.ศ. ๖๔๕) จึงกลับคืน
นครซีอาน ท่านเดินทางกลับในเส้นทางเดิม บันทึกของพระถังซำจั๋งมีชื่อว่า ไต้ถังไซฮกกี่ แปลว่า
บันทึกเรื่องประเทศตะวันตก สมัยมหาราชวงศ์ถัง ถือว่าเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่า และดังที่สุดในสมัยนั้น..."
*************************