|
|
|
posted on 18/3/09 at 06:13 |
|
(Update "ภาคเหนือ" ตอนจบ) หนังสือตามรอยพระพุทธบาท เล่ม 4 (ตอนที่ 3)
◄ll ย้อนอ่าน ตอนที่ 1 คลิกที่นี่
◄ll ย้อนอ่าน ตอนที่ 2 คลิกที่นี่
ตามรอยพระพุทธบาท ภาคเหนือ
เมื่อวันที่ 4 - 12 มกราคม 2547
ตามเนื้อเรื่องที่เล่าในหนังสือ ตามรอยพระพุทธบาท ผู้จัดทำเว็บได้ลงเรื่องการเดินทางไป
"ภาคอีสาน" ผ่านไปแล้ว พระอาจารย์ชัยวัฒน์ท่านจะได้เล่าเรื่องการไป "ภาคเหนือ" ต่อไปอีกว่า..
"...การตามรอยพระพุทธบาทฉบับนี้ ถือว่าใกล้จะหมดสิ้นกันแล้ว ในปี ๒๕๔๗ นี้นับเป็นปีที่ ๑๒ ยังมีสถานที่ตกค้างอยู่บ้าง
จึงได้วางแผนออกเดินทางกันตั้งแต่ต้นปี โดยมี คณะพระจำเนียร สุธัมมกาโม ร่วมเดินทางไปด้วย
เพื่อจะนำทางไปที่แม่ฮ่องสอน พร้อมกับนัดพบ คณะคุณวรวิทย์ ทองแท้ และ คุณจตุชัย (โอ๋) มหาวงศนันท์จากเชียงใหม่ แต่ก่อนที่จะเล่าเรื่องต่อไป ขอสรุปสถานที่ต่างๆ ดังนี้
๑. สำนักสงฆ์ถ้ำป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
๒. วัดพระพุทธบาทผาผึ้ง ต.แม่ลาน อ.ลี้ จ.ลำพูน
๓. พระพุทธบาทผาเต้า (รอยเท้าพระอานนท์) บ.ก้อทุ่ง อ.ลี้ จ.ลำพูน
๔. วัดพระธาตุเจดีย์น้อย ต.แควมะกอก อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
๕. พระพุทธบาทถ้ำพระเจ้าเมืองยวม ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
๖. ถ้ำแก้วโกมล อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
๗. พระพุทธบาทเมืองแม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
๘. ถ้ำแม่หุ (พระพุทธบาทบนผาแดง) อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
๙. สำนักสงฆ์ทุ่งสารภี อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
๑๐. สำนักสงฆ์พระพุทธบาทห้วยผึ้ง บ้านห้วยผึ้ง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
๑๑. พระพุทธบาทป่าปุ๊ ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
๑๒. วัดน้ำฮู อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
๑๓. วัดพระพุทธบาท ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
๑๔. วัดม่วงสร้อย ต.แม่นาเติง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
๑๕.พระพุทธบาทบ้านป่ายางมูเซอบ.ป่ายาง ต.แม่นาเติง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
๑๖. พระเจดีย์วัดหลวง ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
๑๗.พระธาตุ-พระบาท วัดเมืองแปง ต.เมืองแปง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
๑๘. วัดสกิทาคา (ผาลาด) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
๑๙. พระธาตุเสด็จ (ธาตุกุด) อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
๒๐. พระธาตุชัยมงคล ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
๒๑. วัดพระเจ้าทองทิพย์ ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
๒๒. วัดทรายขาว ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย
๒๓ วัดพระธาตุหมอกมุงเมือง อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย
๒๔. วัดพระธาตุดอยแก้ว (ม่อนหินแก้ว) ต.ไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย
๒๕. วัดอุทราราม ต.เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย
๒๖. พระพุทธบาท - พระธาตุดอยทา ต.เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย
๒๗. วัดพระนั่งดิน ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา
๒๘. วัดหัวทุ่ง ต.ทุ่งผาสุข อ.เชียงคำ จ.พะเยา
๒๙. พระธาตุจอมจ้อ อ.เทิง จ.เชียงราย
๓๐. พระธาตุศิลาคำ ต.ปล้อง อ.เทิง จ.เชียงราย
๓๑. พระธาตุสร้อยทอง ต.ดอยลาน อ.เมือง จ.เชียงราย
๓๒. วัดป่าปฐมพุทธาราม (เนินพระมาลัย) ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย
๓๓. วัดถ้ำเสาหินพญานาค บ.ถ้ำปลา อ.แม่สาย เชียงราย
๓๔. พระเจดีย์วัดมรรคาราม อ.แม่สาย จ.เชียงราย
๓๕. พระธาตุดอยเวียงแก้ว (พระธาตุนางคอย) บ.เวียงแก้ว ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
๓๖. พระพุทธบาทผาลาด (ดอยเวียงแก้ว) บ.เวียงแก้ว ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
๓๗. พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
๓๘. พระเจดีย์วัดชัยมงคล ต.สันทราย อ.แม่จัน จ.เชียงราย
๓๙. พระธาตุจอมกิตติ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
๔๐. พระพุทธบาทผาลาด ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย
๔๑. พระธาตุดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
๔๒. พระธาตุดอยน้อย ต.จำป่าหวาย อ.เมือง จ.พะเยา
๔๓. วัดสันปูสี ต.หัวเมือง อ.สอง จ.แพร่
๔๔. ดอยวางบาตร บ.แม่ลัวะ ต.ป่าแดง อ.เมือง จ.แพร่
อุทัยธานี - ลี้ - แม่ฮ่องสอน
(สำนักสงฆ์ถ้ำป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน)
พวกเราออกเดินทางจากวัดท่าซุง ตอนเช้ามืดประมาณตีสี่ วันอาทิตย์ที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ โดยมีจุดนัดพบกันที่ อุทยานแห่งชาติแม่ปิงอ.ลี้ จ.ลำพูน แต่พอมาถึงได้แวะเข้าไปที่ สำนักสงฆ์ถ้ำป่าไผ่กันก่อน เพื่อชมพญานาคที่หน้าบันไดศาลาหลังใหญ่
ขณะที่เข้าไปก็ได้พบกับ คณะคุณวรวิทย์โดยบังเอิญ ทั้งที่นัดพบกันไว้ที่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
เมื่อได้พบกันก่อนเวลานัดหมาย จึงได้ร่วมกันทำบุญสร้างโบสถ์กับ ท่านอาจารย์สิงห์เป็นเงิน ๕,๕๐๐ บาท แล้วจึงชักชวนกันออก เดินทางไปที่ วัดพระพุทธบาทผาผึ้งเพื่อรอ
คุณโอ๋ ที่ยังมาไม่ถึง
(พวกเราได้แวะกราบนมัสการรอยพระพุทธบาทผาผึ้งกันก่อน
ภายในมณฑปจะเห็นภาพวาดครูบาศรีวิชัย, หลวงปู่วงศ์, หลวงพ่อพระราชพรหมยาน)
หลังจากเดินขึ้นไปกราบไหว้รอยพระพุทธบาทเกือกแก้วกันแล้ว จึงออกเดินทางต่อไปที่ อุทยานแห่งชาติแม่ปิงแล้วนั่งรถไปที่ท่าเรือที่เรียกว่า บ้านก้อทุ่งอีกประมาณสิบกว่า กิโลเมตร ท่าเรือแห่งนี้สามารถนั่งเรือล่องแม่ น้ำปิงไปที่ พระธาตุแก่งสร้อยได้ ปัจจุบันมีเรือนำเที่ยวไปถึง เขื่อนภูมิพลด้วย
แต่พวกเราคงไปไม่ถึงกันหรอก จะไปแค่ ม่อนอรหันต์หรือ ผาเต้า
หรือ รอยเท้าพระอานนท์ เรียกกันหลายชื่อ ตามข้อมูลที่ หลวงปู่ชัยวงศ์ บอกผู้เขียนไว้ก่อนจะมรณภาพ เพียงไม่กี่เดือน ซึ่งได้ตามหาจนพบหลายแห่งแล้ว
ยังเหลือแต่ที่นี่เพียงแห่งเดียว ปีก่อนๆ ก็ได้เคยมาหาครั้งหนึ่งแล้วแต่ก็ไม่เจอ ถามใครก็ไม่มีใครรู้เรื่อง
จนกระทั่ง คุณซ้ง (อชิระ) ซึ่งเป็นทีมงานของผู้เขียนได้พบข้อมูลของ คุณโอ๋ในอินเตอร์เน็ต จึงได้ติดต่อสอบถามหนทางที่จะไป พร้อมกับนัดหมายในวันนี้ด้วย
ปรากฏว่าคณะผู้เขียนและคณะคุณวรวิทย์ได้ไปติดต่อเช่าเรือไว้ ๒ ลำ ในขณะนั้น คุณโอ๋และเพื่อนๆ ได้มาถึง คือ
คุณฉัตรณรงค์ รัตนวงศ์, คุณภราดร (ท๊อป) ศิริวรรณ, และ คุณวิภาดา (หล้า) ปรีดี จึงได้
สอบถามเป้าหมายที่จะเดินทางต่อไป
ในขณะที่นั่งล้อมวงคุยกันในแพ บางคนก็ยืนฟังอยู่ห่างๆ คนที่จะไปทั้งหมดประมาณ ๔๗ คน รวมทั้งเด็กตัวเล็กๆ อีก ๒ - ๓ คน
จึงทำให้ผู้เขียนรู้สึกหนักใจและเป็นห่วง เพราะฟังคุณโอ๋บอกหนทางที่จะไปแล้ว เราจะต้องลงเรือไปแล้วเดินขึ้นเขากัน ซึ่งคุณโอ๋บอกว่าเดินขึ้นไปประมาณ ๑
ชั่วโมง
แต่ที่ไหนได้..พอไปจริงๆ กลับใช้เวลามากกว่านั้น และในขณะที่พวกเราจะเดินทางเป็นเวลาเที่ยงด้วย แดดกำลังร้อนจัดพอดี แต่ก็จำเป็นที่จะต้องไป
เพราะโอกาสจะไปนั้นหายากมาก เมื่อทุกคนตัดสินใจจะไปกันหมด จึงลงเรือเต็มทั้งสองลำ พร้อมทั้งช่วยขนบายศรีและเครื่องบูชากันไปด้วย
(เตรียมตัวเดินทางไปไหว้รอยพระพุทธบาทด้วยเรือหางยาว)
เรือหางยาววิ่งไปทางซ้าย (ไปทางเดียวกับพระธาตุแก่งสร้อย) ประมาณ ๑๐ นาทีเท่า นั้นเอง เรือก็เทียบฝั่งให้พวกเราเดินขึ้นเขาไป ทุกคนต่างก็เดินเท้าขึ้นไป
บางคนต้องช่วยหิ้วสิ่งของด้วย เป็นทางเดินขึ้นเขาตามธรรมชาติ บางช่วงก็สูงชัน บางช่วงก็ต้องเดินฝ่าป่าไผ่เข้าไป ใช้เวลาเดินประมาณ ๒ ชั่วโมง
โดยมีเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ร่วมเดินทางไปด้วย
เมื่อเดินเข้าไปใกล้เป้าหมาย คุณโอ๋ก็ได้บอกตำแหน่งรอยพระพุทธบาท ซึ่งประทับอยู่บนโขดหินไม่ใหญ่มากนัก พวกเราได้ช่วยกันปัดกวาดใบไม้ที่ปกคลุมอยู่
ปรากฏว่าเป็นรอยเกือกแก้วเบื้องซ้าย กว้าง ๗๕ ซ.ม. ยาว ๑๒๔ ซ.ม. ลึก ๒๙ ซ.ม. ทุกคนรู้สึกดีใจที่ได้พบเห็น โดยเฉพาะผู้เขียนที่ได้เสาะแสวงหามาหลายปีแล้ว
นับว่าโชคดีที่ได้พบ เพราะเป็นรอยที่อยู่บนเขากลางป่าลึก ไม่มีอะไรเป็นจุดที่สังเกตเลย
ผู้เขียนจึงได้ให้คุณโอ๋และเพื่อนๆ เล่าถึงสาเหตุที่มาพบรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ ซึ่งพวกเขาได้เล่าว่า นับเป็นเรื่องบังเอิญจริงๆ ที่ หลวงปู่ชัยวงศ์เคยเล่าให้ฟังว่า ดอยผาเต้ามีรอยเท้าอยู่ เรียกว่า
รอยเท้าพระอานนท์ซึ่งท่านเคยเห็นเมื่อตอนที่ท่านอายุ ๘ ขวบ ในตอนนั้นน้ำยังไม่ท่วม แล้วท่านได้เขียนแผนที่ให้ไว้
จากนั้นได้มาหาครั้งแรกก็ไม่พบ โดยมาถึงบริเวณถ้ำที่อยู่บนไหล่เขา แต่มืดเสียก่อนจึง ต้องเดินทางกลับไป หลังจากนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
คุณโอ๋พร้อมเพื่อนๆ รวม ๑๑ คน ได้กลับมาสำรวจอีกครั้ง โดยเดินเป็นหน้ากระดานเรียงแถว เดินขึ้นไปต่อจากที่เคยสำรวจครั้งก่อนนั้น
คือเลยจากหน้าถ้ำขึ้นไปอีก
เมื่อเดินขึ้นมาถึงตรงบริเวณนี้ รู้สึก เหนื่อยจึงนั่งพัก ขณะนั้นเอามือลองเขี่ยใบไม้ ที่ปกคลุมออก ปรากฏว่าเป็นร่องหลุมคล้าย รอยพระพุทธบาท
จึงได้ปัดกวาดทำความสะอาดกันด้วยความดีใจ บริเวณใกล้ๆ ก็ยังมีก้อนหิน เล็กๆ ที่ถูกนำมาเรียงไว้เป็นเจดีย์ เหมือนกับจะบอกไว้เป็นสัญลักษณ์
ตามที่หลวงปู่ชัยวงศ์ บอกไว้ ต่อมาคุณโอ๋จึงได้นำเรื่องนี้ลงในอินเตอร์เน็ต นับเป็นความโชคดีที่พวกเรากำลังค้นหา พอดี
จึงได้นัดหมายเดินทางกันมาในครั้งนี้
การเดินขึ้นเขาในตอนเที่ยงนี้ นับว่ามีความยากลำบาก แต่ทุกคนก็มีจิตใจเข้มแข็ง โดย เฉพาะอย่างยิ่งคณะเชียงใหม่
มีพ่อลูกอ่อนคนหนึ่งสามารถอุ้มลูกขึ้นมาได้ด้วย แม้เด็กๆ อีก ๒ - ๓ คน ก็ขึ้นมาได้อย่างสนุกสนาน จึงทำให้คลายความวิตกลงไปได้ แล้วจึงช่วยกัน
ปัดกวาดทำความสะอาดบริเวณนี้
จากนั้นก็ช่วยกันจัดเตรียมบายศรี และนำผ้าทองชักขึ้นเป็นธงถวายไว้บนยอดไม้ และนำผ้าทองไปห่มที่เจดีย์หิน ที่คนโบราณได้ก่อ เอาไว้เป็นเครื่องหมาย
ส่วนคุณโอ๋และเพื่อนๆ ได้นำสัปทนทองมาถวายด้วย จึงช่วยกันผสมปูน ทรายหล่อเป็นขาตั้งสัปทน
(ทำพิธีบวงสรวงท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพร)
ครั้นได้จัดเตรียมเครื่องสักการบูชาแล้วจึงได้เปิดเทปหลวงพ่อบวงสรวง และทำพิธีสรงน้ำปิดทองโปรยดอกไม้ จนรอยพระพุทธบาท มีกลิ่นหอมและสวยสดงดงามขึ้น
พวกเราเกือบ ๕๐ ชีวิตที่ได้ขึ้นมาพบสถานที่แห่งนี้ นับว่ามีโอกาสน้อยมาก ถ้าไม่มีคนนำทางมา หากจะให้กลับไปอีกครั้ง คงจะจำทางไม่ได้เสียแล้ว
จึงคิดว่าน่าจะเป็นคณะแรกที่ขึ้นไปพบตอนหลังทราบว่าคุณโอ๋และเพื่อนๆ ได้ขึ้นไป ทำศาลาครอบเอาไว้แล้ว ขออนุโมทนาด้วยนะ เมื่อทำพิธีกันเสร็จแล้ว
จึงเดินทางมาลงเรือที่จอดรออยู่ แล้วแยกย้ายกันกลับ โดยมีนัดกับ คุณวรวิทย์และภรรยาพร้อมด้วยเพื่อนๆ จากเชียงใหม่ว่า จะช่วยทำบายศรีรออยู่ที่ดอยสุเทพ
(ก่อนจะกลับลงมาจากยอดเขา พวกเราได้ถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึก)
แต่มีเพื่อนของคุณวรวิทย์อีก ๔ คน ขอ ติดตามผู้เขียนร่วมเดินทางไปต่อที่แม่ฮ่องสอน คือ คุณสมพร อรุณรุ่งรัตน,
คุณชัยณรงค์ (ตั้ม) สินมาลา, คุณการุณ (ตูน) สุอรุณ และ คุณนวล พร้อมทั้งเตรียมบายศรีไปด้วย ๔ ชุด แล้วได้ กลับมาค้างคืนที่ สำนักสงฆ์ถ้ำป่าไผ่ เพื่อที่จะเตรียมตัวเดินทางในวันรุ่งขึ้น..."
((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))
|
|
|
|
Posts: 2041 |
Registered: 8/1/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
posted on 22/4/09 at 12:57 |
|
(update 22/04/52)
อ.ลี้ จ.ลำพูน - อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
เป็นอันว่า รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง ที่หลวงปู่ชัยวงศ์ บอกไว้ก่อนมรณภาพ ผู้เขียนก็ ได้ตามหาครบถ้วนแล้ว
แต่ที่หายากจริงๆ ก็คือ พระบาทนกแขวกและ ม่อนอรหันต์
นอกนั้น เป็นที่รู้ จักกันดีอยู่แล้ว สถานที่ ๕ แห่งมีชื่อดังนี้
๑. พระบาทนกแขวก อยู่ในป่าใกล้พระบาทห้วยต้ม แต่ตอนนั้นยังไม่มีใครหาพบ
๒. พระบาทโป่งแดง, พระธาตุกวางคำ บ้านหัวขัว อ.ทุ่งหัวช้าง(ปัจจุบันสร้างจำลองทับไปแล้ว)
๓. ม่อนอรหันต์ ต้องนั่งเรือที่บ้านก้อ
๔. พระพุทธบาทวัวหล้า ต.นาโป่ง อ.เถิน จ. ลำปาง
๕. พระพุทธบาทบ้านปาง อยู่ระหว่างบ้านปางกับ บ้านไฮ ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน
........วันจันทร์ที่ ๕ ม.ค. ๔๗ ออกเดินทาง
เวลา ๐๔.๐๐ น. เพื่อไปค้นหารอยพระพุทธบาทแห่งใหม่ คุณโอ๋ บอกว่าอยู่ใกล้พระพุทธบาทแก้วข้าว อ.ฮอด
จ.เชียงใหม่ แต่ก็หาไม่เจอ (ต่อมาก็ได้หาพบในปี พ.ศ. ๒๕๔๘) ใน ขณะที่ค้นหากันประมาณตีห้า ได้พบพระธาตุ ที่กำลังบูรณะอยู่ ชื่อ วัดพระธาตุเจดีย์น้อยต.แควมะกอก อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ได้พบแม่ชีด้วย
........พวกเราจึงเลิกค้นหารอยพระพุทธบาท เข้าไปร่วมทำบุญกับแม่ชี ๒,๐๐๐ บาท (ในขณะที่ไปถึงเจ้าอาวาสไม่อยู่) ตามประวัติเล่าว่าในสมัย พระแม่เจ้าจามเทวีได้มาบูรณะเมื่อครั้งเดินทางมาจากเมืองละโว้ ต่อมา ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้มาบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓
.......แม่ชีได้เล่าไว้เพียงแค่นี้ พวกเราจึงขึ้น ไปบูชาพระธาตุ แม่ชีก็ตามขึ้นไปด้วยมีอาการ คล้ายประทับทรง แล้วให้พรเป็นภาษาจีน, ไทย ใหญ่, แขก, และไทย
ฟังดูแล้วแปลกๆ ดี จึงบอกว่าช่วยให้โชคลาภแก่คนที่มานี้ด้วย เสียงแหบๆ บอกว่า ๙๕ ปรากฏว่างวดนั้นออก ๙๖ จึงไม่มีใครถูกกัน หลังจากนั้นออกเดินทาง
สู่แม่สะเรียงต่อไป ชื่อเดิมของแม่สะเรียงคือ เมืองยวม (ไม่ใช่อำเภอขุนยวม)
พระพุทธบาท ๔ รอย
ณ ถ้ำพระเจ้าเมืองยวม อ.แม่สะเรียง
ขบวนรถเดินทางมาถึงทางเข้า มีป้ายบอกทางไป ถ้ำพระเจ้าเมืองยวม บ้านแม่ต๊อบ เหนือ ต.บ้านกาศ
อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน จึงเลี้ยวซ้ายเข้าไปในป่าลึก ผ่านร่องน้ำลำธาร ปรากฏว่ารถแวนของ คุณเกษม วันงาม
เกือบ จะไปไม่ได้ คุณชูศักดิ์ ชารีฟสกุล และ คุณชูชาติ
รัตนสุนทร พร้อมกับพวกเราต้องลงมา ช่วยกันเข็นรถ ในที่สุดรถทั้งสามคันก็สามารถ ผ่านไปได้ จนกระทั่งสุดทางที่เชิงดอยนั้น
รวมระยะทางประมาณ ๖ ก.ม. ต้อง ขับรถเข้าไปประมาณ ๔๐ นาที จอดรถไว้แล้ว เดินขึ้นดอย แต่ก่อนถึงทางขึ้น จะมีบ่อน้ำทิพย์อยู่ริมห้วย
จึงช่วยกันตักขึ้นมาอธิษฐานดื่มกิน เป็นสิริมงคล เส้นทางนี้ถ้าเป็นหน้าฝนคงจะ หมดสิทธิ์ที่จะมาได้ ต้องเดินเท้ามาจากปากทาง เลยทีเดียว
ส่วนทางเดินขึ้นเขาและมณฑปครอบ พระพุทธบาท อดีตเจ้าอาวาส วัดพระธาตุจอมมอญคือ อาจารย์สวัสดิ์(ปัจจุบันลาสิกขาบท แล้ว และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา) เป็นผู้สร้าง
นับว่าท่านเป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรก แล้ว ได้บุกเบิกสถานที่แห่งนี้ จนเป็นที่รู้จักกันดีทั่ว ไป โดยเฉพาะท่านจำเนียรได้เคยมาที่นี่แล้ว
ผู้เขียนจึงขอให้ท่านเป็นผู้นำทางมาในครั้งนี้ พระจำเนียรได้เดินนำขึ้นไปทันที ตามขั้นบันได ที่แซะดินไว้เป็นขั้นๆ ทำให้เดินง่ายขึ้น ถึงบน ไหล่เขา
มีมณฑปพระพุทธบาทเป็นจุดแรก เวลา ๑๐.๓๕ น. ใช้เวลาเดินประมาณ ๒๐ นาที
จากนั้นได้เดินต่อไปอีกประมาณ ๕ นาทีถึงรอยพระพุทธบาทที่อยู่บนยอดเขา มีมณฑป ครอบรอยพระพุทธบาทองค์ปัจจุบัน ภายในได้
สำรวจพบรอยพระพุทธบาทเพิ่มอีกหลายรอย จึงช่วยกันทำความสะอาด แล้วทำพิธีบวงสรวง เป็นการถวายเครื่องสักการบูชา มีบายศรีและ ผ้าสไบทอง เป็นต้น
รวมหมดทุกรอยในเขตนี้
หลังจากนั้นจึงพักฉันเพล ก่อนที่จะไป บูชารอยอื่นๆ บริเวณนี้ คือ รอยพระพุทธบาทของพระพุทธกัสสป ซึ่งอยู่บนยอดเขาบนถ้ำ ถ้ำนี้มีน้ำไหลผ่านหน้าถ้ำ
เรียกว่า ห้วยอีกึ (ห้วยกล้วย) ส่วนมณฑปข้างล่างเป็นรอยพระ พุทธบาทของพระพุทธกกุสันโธ จะมีรอยพระ หัตถ์ ๓ รอย ประทับอยู่ด้านบนรอยพระพุทธบาท
ด้านหลังมณฑปจะมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นโอบ ก้อนหินที่มีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธ โกนาคม รอยทั้งหมดมีขนาดต่างกันดังนี้
๑. รอยพระพุทธกกุสันโธ ข้างขวากว้าง ๑๐๐ ซ.ม. ยาว ๒๒๐ ซ.ม. ลึก ๔๑ ซ.ม.
๒. รอยพระพุทธโกนาคม เบื้องซ้าย กว้าง ๕๗ ซ.ม. ยาว ๑๘๗ ซ.ม. ลึก ๗๑ ซ.ม.
๓. รอยพระพุทธกัสสป เป็นเบื้องซ้าย กว้าง ๕๐ ซ.ม. ยาว ๑๓๓ ซ.ม. ลึก ๓๖ ซ.ม.
๔. รอยพระพุทธสมณโคดม เบื้องขวากว้าง ๓๗ ซ.ม. ยาว ๗๔ ซ.ม. ลึก ๑๒ ซ.ม.
สรุปที่นี่มีรอยพระพุทธบาทรวม ๒๑ รอย, รอยพระพุทธหัตถ์ ๓ รอย และบ่อน้ำทิพย์ ๑ บ่อ จากนั้นเดินทางลงมาถึงเชิงดอยใช้เวลา ๑๐ นาที รวมเวลาที่อยู่บนเขา ๓
ชั่วโมงครึ่ง เวลา ๑๔.๐๐ น. ออกเดินทางไป ถ้ำแก้วโกมลอ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
รอยพระพุทธบาทแม่ลาน้อย
บนถ้ำแม่หุ - ถ้ำแก้ว
ภายในถ้ำประกอบไปด้วยแร่แคลไซด์ เป็นผลึกสีขาวแวววาว จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน บนเขาหลังถ้ำแก้วมี รอยพระพุทธบาท
แต่ว่าจะต้องไปขึ้นอีกทาง หนึ่ง คือไปทาง ถ้ำแม่หุโดยขับรถลงมาจากถ้ำแก้ว แล้วอ้อมไปทางด้านหลัง
เดินผ่านหน้าถ้ำ แม่หุไปตามทางธรรมชาติจนถึงยอดเขา ด้วยความเหนื่อยล้าพอสมควร
วันนี้พวกเราจำต้องเดินขึ้นยอดเขาเป็นแห่งที่สอง เริ่มเดินเวลา ๑๖.๐๕ น. ใช้เวลา ๔๐ นาที ขณะเดินขึ้นถึงยอดเขามีลมพัดมาวูบ หนึ่งอย่างแรง
แต่ก็ไม่ทำให้พวกเราหวั่นไหว คงเดินมุ่งไปที่ศาลามุงสังกะสีเล็กๆ อยู่เบื้องหน้า ภายในมีรอยพระพุทธบาทและรอยประทับนั่ง (นั่งขัดสมาธิเพชร)
เป็นรอยเบื้องขวากว้าง ๓๔ ซ.ม. ยาว ๗๐ ซ.ม. ลึก ๑๐ ซ.ม.
ขณะเปิดเทปหลวงพ่อบวงสรวง มีลมพัด มาตีหลังคาสังกะสีของศาลาสั่นจนดังลั่น แต่ ก็ทำพิธีจนเสร็จสิ้น แล้วเดินลงมาที่ถ้ำแม่หุ ซึ่ง พระจำเนียรเคยมาจำพรรษา
ถ้ำด้านหน้าจะไม่ ลึกมากนัก มีแท่นพระและรูปพระฤาษี ถ้าเดิน เข้าไปอีกจะเป็นถ้ำที่ใหญ่กว่าภายนอก
พอออกมาถึงปากทางได้พบสำนักสงฆ์ทุ่งสารภี ท่านจำเนียรรู้จักกับเจ้าสำนัก คือ ท่านอาจารย์สามัคคี จึงขอพักค้างคืนที่นี่ กลางคืน ก็นั่งคุยกันถึงเรื่องรอยพระพุทธบาท ผู้เขียนได้ เล่าให้ท่านฟังว่า
ได้ติดตามสำรวจรอยพระพุทธ บาทและพระบรมธาตุไปทุกแห่งแล้วก็ลงบัญชีไว้
พอพูดมาถึงตอนนี้ ท่านก็นิ่งไปชั่วขณะ แล้วพูดขึ้นว่ายังมีรอยพระพุทธบาทอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวกะเหรี่ยงมานานแล้ว ชื่อ
พระพุทธบาทห้วยผึ้งอยู่บนเขาสูง หากยังไม่ได้เข้าไปกราบไหว้บูชา
ก็เท่ากับว่าผู้เขียนบันทึกเอาไว้ไม่ครบถ้วน
ครั้นได้ยินคำนี้ก็นึกขึ้นได้ว่า เมื่อหลาย ปีก่อนเคยได้ยินชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า อำเภอแม่ ลาน้อยมีรอยพระพุทธบาทอยู่ในหมู่บ้านกะเหรี่ยง แต่ไปยากมาก
ต้องมีคนนำทางไป ในครั้งนั้น จึงได้แค่ข้อมูล ยังไม่สามารถจะเข้าไปได้ โดย เฉพาะพระจำเนียรก็ได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองเคย คิดจะเข้าไปหลายครั้งแล้ว
แต่พอจะไปทีไร ต้อง มีอาการป่วยไข้ไม่สบายเสียก่อนทุกครั้ง
แต่ในครั้งนี้อยากจะเข้าไปด้วย ผู้เขียนจึงบอกว่า หากเข้าไปในป่าลึก พวกเราไม่มีรถ โฟร์วีลที่จะเข้าไป พอพูดจบท่านสามัคคีพูดขึ้น ทันทีว่า
ท่านยินดีจะให้ยืมรถที่วัด ๒ คัน เป็น อันว่าตกลงกันในคืนนั้นทันที พวกเราที่เข้าไป ซื้อของในตลาดกลับมาบอกว่า มองเห็นพระ
จันทร์ทรงกลดเป็นวงชัดเจนและกว้างมาก คล้าย กับพระอาทิตย์ทรงกลด
ผู้เขียนจึงได้เล่าเรื่องการเดินทางในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเดิมไม่มีในโปรแกรม พอตัดสินใจว่า จะไปแน่นอน ท่านคงแสดงเหตุแห่งความสำคัญที่สมควรจะไป
คืนนั้นได้วางแผนหาคนขับรถ และออกไปสั่งร้านอาหารเตรียมเสบียงไว้ด้วย จำนวนคนที่จะไปประมาณ ๒๐ คน ทางที่จะ ไปเป็นทางลูกรังไต่ไปตามภูเขาเรื่อยๆ ระยะทาง
ประมาณ ๓๐ กว่ากิโลเมตร
ในยามค่ำคืนนั้น ผู้เขียนรู้สึกดีใจไม่นึกว่าจะได้พบหนทางที่จะไปรอยพระพุทธบาทแห่ง นี้ ทั้งที่มีข้อมูลมานานแล้ว ถ้าหากพระจำเนียร
ไม่ชวนมาพักค้างคืนที่นี่ พวกเราคงจะพลาด โอกาสอันดีไปอย่างแน่นอน อีกทั้งพระจำเนียร ก็จะได้ไปให้สมกับความตั้งใจเสียที
หวังว่าในคราวนี้คงไม่มีอาการป่วยตัดหน้าเสียก่อนนะ
ตอนดึกมีสามเณรอายุ ๔๙ ปี ได้ต้มน้ำ ยาสมุนไพรมาถวายและนั่งคุยด้วยได้เล่าว่า เมื่อ ก่อนปีใหม่ได้ไปที่รอยพระพุทธบาทแห่งนี้ และ
มีความรู้สึกว่าอยากจะทำทางต่อจากถนนแยก เข้าไปถึงที่รอยพระพุทธบาท โดยคิดว่าเผื่อมีคนมาบูชาจะได้สะดวกขึ้น
ปรากฏว่าเพิ่งทำเสร็จได้ไม่นานผู้เขียนก็ได้ไปบูชาตามที่คิดไว้.
((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))
|
|
|
|
Posts: 2041 |
Registered: 8/1/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
posted on 14/5/09 at 08:02 |
|
(Update 14/05/52)
รอยพระพุทธบาทห้วยผึ้ง บ้านห้วยผึ้ง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
(พวกเราลุกขึ้นกันตั้งแต่เช้า หุงข้าวต้มเสร็จนั่งทานกันทันที ส่วนพระสงฆ์ก็นั่งฉันภายในศาลา)
(หลังจากทานอาหารเช้ากันเสร็จแล้ว จึงเข้าไปในตลาดแม่ลาน้อย เพื่อซื้อเสบียงอาหารที่จะไปฝากแม่ชี มีปลาเค็มเป็นต้น
จากนั้นรถโฟร์วีลทั้งสี่คันก็บุกบั่นข้ามเขากันไป สภาพถนนเป็นลูกรังขรุขระตามที่เห็นในภาพ)
วันอังคารที่ ๖ ม.ค. ๔๗ จัดเตรียมสิ่งของกันแต่เช้ามืด รถยนต์ที่จะไปเติมน้ำมันกัน ตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว เมื่อฉันเช้าแล้วจึงออกเดินทางไปรับเสบียงอาหาร
พร้อมกับซื้อปลาเค็มและผลไม้ไปฝากแม่ชี (เป็นน้องสาวของท่านอาจารย์ สามัคคี) ที่อยู่ที่นั้นด้วย ค่าอาหารค่าน้ำมันรถรวมประมาณ ๑,๕๐๐ บาท
เมื่อพร้อมกันแล้วจึงออกเดินทางเวลา ๐๖.๕๐ น. ถึงบริเวณพระพุทธบาท ๑๐.๕๐ น. รวมเวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง เพราะเป็นทาง ขึ้นเขา ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมา
บางช่วงก็จะต้อง ข้ามลำธารเล็กๆ ผ่านบ้านแม่งะ จะมองเห็น พระพุทธรูปแต่ไกล
เมื่อเดินทางไปได้สักพักถึงบ้านสะปึ๋ง ต้องลงจากรถไปช่วยกันหาก้อนหินและท่อนไม้มาหนุนไว้ เนื่องจากเป็นร่องลึกมีน้ำไหลผ่าน เดินทางมาตามไหล่เขาเรื่อยๆ
จนถึงทางเข้าบ้าน พระบาทห้วยผึ้ง จะมีทางแยกขวามือมีป้ายบอก ไปพระพุทธบาทห้วยผึ้ง จึงให้คนลงส่วนหนึ่ง เดินเท้าลงไปก่อน แล้วนำรถไปจอดไว้ที่หมู่บ้าน
เพื่อรับชาวบ้านที่เป็นชาวกะเหรี่ยงมาด้วย
แต่จริงๆ แล้วตรงทางแยกนี้ สามเณรและแม่ชีได้มาช่วยกันทำทาง จนรถสามารถไปถึงรอยพระพุทธบาทแล้ว แต่พวกเราเดินลงกันไปก่อนตามขั้นบันได เนื่องจากรอยพระบาท
ยู่ในลำห้วย ขณะนั้นมีแม่ชีอยู่ ๓ - ๔ คน มีแม่ชีตัวน้อยอายุ ๗ ขวบ กำพร้าพ่อแม่ซึ่งได้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ นำมาเลี้ยงไว้ตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ
แล้วให้กินยาสมุนไพรและให้รักษาศีลเจริญกรรมฐาน จนอาการผอมแห้งหายไป
ปัจจุบันมีสุขภาพแข็งแรง แต่ก็ยังมีรอยแผลผุพองตามตัว ซึ่งจะต้องคอยดูแลเรื่องอาหาร การกิน แม่ชีตัวน้อยนี้ชื่อ
แม่ชีบุญ หน้าตา น่ารักน่าเอ็นดู แก้มยุ้ย ช่างพูด เห็นพวกเรา มากันก็ออกมาต้อนรับ พูดคุยเป็นกันเองยังกะ รู้จักกันมานานแล้ว
พวกเราช่วยกันขนของ เข้าไปในโรงครัว ที่นี่ไม่มีพระสงฆ์อยู่เลย
(ก่อนทำพิธีบวงสรวงภายในมณฑป ได้ร่วมทำบุญสร้างมณฑป
และมอบเงินให้กับแม่ชีทุกคน พร้อมกับให้แม่ชีบุญด้วย)
แม่ชีน้องสาวของท่านอาจารย์สามัคคี ได้เล่าด้วยความตื่นเต้นดีใจว่า ได้เตรียมทำข้าวมธุปายาสไว้นานแล้ว
แต่กว่าจะหาส่วน ผสม เช่น ข้าว, ถั่ว, งา, และน้ำผึ้ง เป็นต้น ได้ครบต้องใช้เวลานานมาก เพราะอยู่ในป่าลึกเช่นนี้หาสิ่งของเหล่านี้ยากมาก พอดีได้ฝัน
เห็นพระพี่ชายว่ากำลังสรงน้ำ จึงนึกอยากจะ ฝากข้าวมธุปายาสไปถวายพระพี่ชายถึงที่วัด
วันนั้นเป็นวันพระพอดี ได้หาสิ่งของ ครบถ้วนจึงลงมือทำ พอทำเสร็จก็ได้ยินเสียง เข้ามา เมื่อเห็นพระพี่ชายมาเยี่ยมจึงรู้สึกดีใจ มาก คิดในใจว่านานๆ
จะปรุงข้าวมธุปายาส ได้สักครั้งก็แสนยาก เวลานี้เราปรุงสำเร็จแล้ว และพระพี่ชายมาพอดี ถือว่าเป็นบุญใหญ่มาก จึงได้จัดสำรับอาหารพร้อมข้าวมธุปายาส ซึ่ง
ผู้เขียนก็ได้มีโอกาสลิ้มรสไปด้วย
หลังจากฉันเพลเสร็จแล้ว จึงจัดเตรียมบายศรีที่รอยพระพุทธบาท ซึ่งท่านอาจารย์เพิ่งทำมณฑปเสร็จใหม่ๆ จึงได้ร่วมทำบุญย้อนหลังกับท่าน ๓,๐๐๐ บาท (ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็ได้ทำบุญกับท่านที่วัดไปแล้ว ๕,๐๐๐ บาท) ถวายแม่ชี ๓ คน รวม ๙๐๐ บาท
และให้แม่ชีตัวน้อยอีก ๑๐๐ บาท ปรากฏว่าแม่ชีบุญเอาเงิน นั้นร่วมสร้างมณฑปไปด้วย นับว่ามีใจบุญสมกับชื่อจริงๆ
ในขณะที่จะทำพิธีบวงสรวง มีชาวกะเหรี่ยงมาร่วมพิธีด้วยหลายคน จึงแจกเงินให้ เด็กๆ อีกด้วย แล้วจึงทำพิธีบวงสรวง
ปรากฏว่าบริเวณนี้มีรอยพระพุทธบาทหลายรอย คือ
๑. พระพุทธบาทเกือกแก้วขวา (ในมณฑป) คล้ายที่ปักษ์ใต้ กว้าง ๑๐ ซ.ม. ยาว ๔๒ ซ.ม.
๒. พระพุทธบาทเกือกแก้วซ้าย (อยู่ในน้ำ) กว้าง ๖๕ ซ.ม. ยาว ๑๙๔ ซ.ม.
๓. พระพุทธบาทเกือกแก้วขวา (ในศาลา) กว้าง ๑๑ ซ.ม. ยาว ๒๕ ซ.ม.
๔. พระพุทธบาทเกือกแก้วซ้าย (ในศาลา) กว้าง ๑๐ ซ.ม. ยาว ๑๙ ซ.ม.
๕. พระพุทธบาทเบื้องขวา (หินในลำธาร) กว้าง ๑๔ ซ.ม. ยาว ๓๗ ซ.ม.
๖. พระพุทธบาทเบื้องซ้าย (หลังโรงครัว) กว้าง ๑๖ ซ.ม. ยาว ๔๐ ซ.ม.
(รอยพระพุทธบาทรอยนี้อยู่ภายในมณฑป ส่วนแม่ชีบุญก็เดินนำทางไปสำรวจตามลำห้วย)
รอยที่ ๖ นี้ได้เสี่ยงอธิษฐานขออัญเชิญ มาจากลำธารขึ้นไว้บูชาในมณฑป เนื่องจากเป็น ก้อนหินไม่ใหญ่นัก วันนั้นเป็นวันพระพอดี แม่ชี
จึงให้ชาวกะเหรี่ยงช่วยกันยกจนเป็นผลสำเร็จ สำหรับรอยพระพุทธบาทห้วยผึ้งนี้ เดิมได้ค้นพบเมื่อสิบปีก่อน บริเวณนี้เดิมน้ำท่วมถึงจึงไม่ สามารถทำนาได้
จากนั้นน้ำก็ได้ลดลง และเมื่อได้มาถากถางที่จึงได้พบรอยพระพุทธบาท
รอยพระพุทธบาทแห่งนี้ จึงถือว่าเป็นหัวใจของชาวกะเหรี่ยง เพราะถ้าปีไหนฝนแล้ง ก็จะมาขอให้ฝนตกได้ และปีไหนฝนตกมาก เกินไปก็จะมาขอให้ฝนหยุดตก
พวกเขาจึงมี ความเคารพนับถือมาก สมัยก่อนจะมีงานสรง น้ำเป็นประจำปี แต่ปัจจุบันนี้เสื่อมหายไปหมด แล้ว เนื่องจากมีศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแผ่
ด้วยเหตุนี้ ท่านอาจารย์สามัคคีจึงคอยอุปถัมภ์สถานที่นี้ โดยการให้แม่ชีมาอยู่เฝ้ารักษา ไว้ มิฉะนั้นอาจจะตกไปเป็นของศาสนาอื่นไป
เท่ากับท่านได้คอยปกป้องสมบัติของพระพุทธศาสนาไว้ด้วยดี หลังจากผู้เขียนกลับมาแล้วจึง ได้ให้พระจำเนียรซื้อข้าวไปถวายเป็นกระสอบบ้าง
บางครั้งแม่ชีมาเยี่ยมผู้เขียนที่วัด ก็ได้มอบ ปัจจัยไว้เป็นค่าใช้จ่ายในสำนัก คราวละหลายพันบาท ถือว่าเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ดูแลรักษา
ขอเล่าเรื่องต่อไปอีกว่า หลังจากทำพิธีบวงสรวงแล้ว ก็ได้สรงน้ำโปรยดอกไม้ทุกรอย และถวายผ้าห่มสไบสีทองไว้เป็นการบูชา จาก
นั้นก็มอบเงินให้แม่ชีตัวน้อยอีก ๑๐๐ บาท เพื่อ ไว้ใช้จ่าย พร้อมกับแหนบหลวงพ่อไว้เป็นที่ ระลึก สร้างความประทับใจให้แก่แม่ชีตัวน้อยเป็นอย่างยิ่ง
เข้าทักทายกับพวกเราอย่างเป็นกันเอง จนถึงกับจะขอเดินทางกลับมาด้วย
แต่พวกเราก็ได้ปลุกปลอบใจ บอกว่าไว้คอยให้แม่ชีพามาเที่ยวที่วัดท่าซุงทีหลัง จากนั้น ก็ร่ำลาแม่ชีทุกคน ที่อุตส่าห์จัดทำอาหารถวาย พระ
และเลี้ยงพวกเราทุกคน ออกเดินทางกลับ มาอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นถนนที่แคบกว่า โดยผ่าน บ้านขุนแม่ฮุ - บ้านแม่แป - บ้านแม่ปาง แต่ ใช้เวลาน้อยกว่าครั้งแรก
โดยเริ่มเดินทางเวลา ๑๔.๐๐ น. ถึงที่สำนักสงฆ์ทุ่งสารภี ๑๖.๐๐ น. เร็วกว่าตอนขาไปถึง ๒ ชั่วโมง
กลับทางนี้จะดีกว่า เพราะเป็นทางลง เขาตลอด จึงทำให้กลับมาปลอดภัย สำเร็จสม ความตั้งใจทุกอย่าง พระจำเนียรก็สบายดีตลอด ไม่มีอาการไข้เหมือนครั้งก่อน
คงจะเป็นเรื่อง ของกาลเวลาอย่างแน่นอน หากยังไม่ถึงเวลา คงจะยังมีอุปสรรคอยู่ พวกเราทุกคนจึงมีส่วน ได้นำภาพและบันทึกเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟัง
มิฉะนั้นเรื่องราวเหล่านี้ คงจะสูญหายไป หรือ ไม่ก็คงจะรู้กันอยู่แค่หมู่ชาวกะเหรี่ยงแค่นี้เอง
บัดนี้ ชาวไทยทั้งหลายก็ได้รับทราบว่า ร่องรอยของพระศาสดาได้ประทับตราสัญลักษณ์ ไว้ อันเป็นขอบเขตของพระพุทธองค์ ซึ่งพวกเราได้แต่อธิษฐานจิต
ขอให้สถานที่เหล่านี้เป็น ของพระพุทธศาสนาตลอด ๕ พันปีเทอญ จาก นั้นก็กราบลาท่านอาจารย์สามัคคี ซึ่งเป็นชาวกรุงเทพฯ
แต่ก็มาทนลำบากเพื่อรักษาเขตแดนพระพุทธศาสนาเอาไว้.
((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))
|
|
|
|
Posts: 2041 |
Registered: 8/1/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
posted on 1/6/09 at 04:25 |
|
(Update 1/06/52)
รอยพระพุทธบาทบ้านป่าปุ๊ ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
(รอยพระพุทธบาทบ้านป่าปู๊ ภาพที่เห็นคือศาลาหลังเก่าที่สร้างครอบไว้นานแล้ว
ปีต่อมาได้มีการสร้างใหม่ทรงไทยใหญ่สวยงามมาก)
ถึงแม้จะเป็นเวลาเย็น แต่พวกเราก็ยังมีข้อมูลข้างหน้าอีก คือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่อนสอน แต่ขณะที่รถวิ่งใกล้จะถึงตัวเมืองแม่ฮ่องสอนนั้น ได้แวะเข้าไปไหว้
รอยพระพุทธบาทบ้านป่าปุ๊ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งอยู่ข้างถนน
เป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาใหญ่มากขนาด กว้าง ๕๖ ซ.ม. ยาว ๑๔๔ ซ.ม. ขณะที่ไปถึงนี่ มืดมาก ต้องจอดรถไว้ที่ไหล่ทางตรงข้ามกับ ศาลาครอบพระพุทธบาท
แล้วเดินข้ามถนนมา
เมื่อส่องไฟฉาย จึงได้เห็นอย่างชัดเจน แล้วช่วยกันผูกผ้าสีทองเป็นซุ้มประตูบูชารอย พระพุทธบาท สถานที่แห่งนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก มี ผู้รับเหมาเพื่อขยายถนน
แต่พอรถเกรดที่จะปรับพื้นที่ พอมาถึงบริเวณนี้เครื่องจะดับทันที จึง ได้เลิกล้มไป แล้วได้มีการสร้างมณฑปใหม่ ซึ่งผู้เขียนเดินทางมาร่วมฉลองด้วย
จะได้เล่าในตอนปี พ.ศ. ๒๕๔๙
คืนนั้นได้เดินทางต่อไปถึงอำเภอปาย เวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. เข้าพักที่ วัดน้ำฮูโดยลูกชายของ ท.พ.ญ.วัลลภา ไชยยศ เป็น ผู้ติดต่อไว้ล่วงหน้า เพราะบอกว่าจะไปถึงดึกเจ้าอาวาสท่านก็ต้อนรับเป็นอย่างดี
ตอนเช้าจึงได้ทำบุญบำรุงวัด ๕๐๐ บาท วันนี้เป็นวันพุธ ที่ ๗ ม.ค. ๔๗ หลังจากนมัสการ หลวงพ่ออุ่นเมือง
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีน้ำในพระ เศียร แล้วเตรียมตัวที่จะเดินทางต่อไป
(พระพุทธรูปอุ่นเมือง น้ำในพระเศียรไม่เคยมาตั้งแต่สมัยโบราณ)
ทั้งนี้ ได้รับข้อมูลจากลูกชายคุณหมอวัลลภา ไชยยศ (เดิมอยู่เพชรบูรณ์ ปัจจุบันอยู่ กรุงเทพฯ) ซึ่งขึ้นมาทำกิจการด้านรีสอร์ทที่นี่
ได้แจ้งว่าที่นี่มีรอยพระพุทธบาท ๒ แห่ง จึงได้นำไปที่แห่งแรก คือ วัดพระพุทธบาทต. เวียงเหนือ อ.ปาย
จ.แม่ฮ่องสอน เป็นรอยเบื้อง ขวาอยู่ภายในมณฑป กว้าง ๕๓ ซ.ม. ยาว ๑๒๒ ซ.ม. ได้กราบไหว้บูชาและทำบุญกับเจ้าอาวาส ๕๐๐ บาท แล้วออกเดินทางต่อไป
ส่วนแห่งที่สองชื่อว่า พระพุทธบาทบ้านป่ายางมูเซอ ต.แม่นาเติง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
ก่อนเดินทางคุณหมอวัลลภาแจ้งว่า หมู่บ้านนี้ ยังเข้าไปไม่ได้ เนื่องจากมีการปราบปรามยาเสพติด อาจจะเป็นอันตรายได้ แต่ผู้เขียนอยากจะลองเข้าไปสำรวจดูก่อน
ซึ่งลูกชายของคุณหมอก็ต้องรีบกลับไปก่อน บอกว่ามีธุระจะต้องไปทำบุญบ้าน
(รอยพระพุทธบาทบ้านป่ายางมูเซอ เป็นสถานที่กราบไหว้มาแต่โบราณเช่นกัน)
ผู้เขียนพร้อมคณะจึงต้องสืบหากันเอง โดยแวะไปที่ วัดม่วงสร้อย บังเอิญพบพระภิกษุ รูปหนึ่งอายุประมาณ
๖๐ ปี ท่านบอกว่าไปอีก ไม่ไกล จึงขอให้ท่านช่วยนำทาง แล้วท่านก็นำไปที่อุทยานฯ จอดรถไว้แล้วเดินเท้าเข้าไป อีกประมาณ ๑๐๐ เมตร แหม..ค่อยยังชั่ว
ตอนแรกมีชื่อว่า มูเซอ นึกว่าจะต้องเดินขึ้นเขาสูงกันอีกแล้ว
แต่พอเข้าไปถึงใกล้ๆ ก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่ง สูงประมาณ ๒ เมตร ยาว ๕ เมตร มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุม ด้านหน้ามีศาลเพียงตา มี ธูปเทียนบูชา มองดูแล้วน่าเลื่อมใส
บรรยากาศ ตอนนั้นก็ร่มครึ้มดี ก้อนหินนี้มองแล้วคล้าย แท่นที่ประทับ ด้านล่างมีรอยเท้าช้างและรอย เท้าสัตว์อื่นๆ
บริเวณใกล้เคียงมีบ่อน้ำทิพย์ด้วย
ชาวบ้านที่มายืนแวดล้อมเล่าว่า บ่อน้ำทิพย์นี้ ถึงแม้จะเห็นเป็นรูเล็กๆ ก็ตาม แม้แต่ หน้าแล้งน้ำก็ไม่เคยแห้ง
เวลาป่วยไข้ไม่สบายก็มาเอาน้ำไปรักษาโรคได้ ส่วนด้านบนก้อนหิน แท่นที่ประทับนั่ง เป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้าย กว้าง ๓๘ ซ.ม. ยาว ๘๘ ซ.ม. จึงได้
ช่วยกันจัดเตรียมบายศรี และนำผ้าสีทองห่มรอบก้อนหินนี้
สำหรับบายศรีที่จัดเตรียมมานี้ ได้ทำ มาจากบ้านภรรยาคุณวรวิทย์ที่เชียงใหม่ มีคนช่วยทำกันหลายคน ส่วนคุณสมพรเป็นผู้อาสา ขับรถขนบายศรีและเครื่องบูชา
โดยมีภรรยาไปด้วยคอยตกแต่งดอกไม้ นับว่าการเดินทาง ครั้งนี้ มีเครื่องบูชาไปอย่างครบถ้วนจริงๆ
พระพุทธบาทเมืองแปง
เพื่อให้สมกับเป็นสถานที่อันประเสริฐ พวกเราก็ได้จัดทำเครื่องสักการะไปเท่าที่จะทำกันได้ แล้วจึงทำพิธีบวงสรวงอย่างสมพระเกียรติคุณของพระพุทธองค์
ทุกหนทุกแห่งที่ได้ไปใน ครั้งนี้ โดยเฉพาะที่แม่ฮ่องสอนมีสถานที่สำคัญ อีกหลายแห่ง ทั้งที่มีข้อมูลอยู่แล้วก็ดี หรือที่จะพบใหม่เพิ่มขึ้นอีกโดยบังเอิญ
นั่นก็คือว่าระหว่างที่กราบไหว้รอยพระพุทธบาทที่อำเภอปายนั้น ผู้เขียนได้ติดต่อพูด โทรศัพท์กับท่านอาจารย์สิงห์ที่ถ้ำป่าไผ่ ปรากฏว่ามีรอยพระพุทธบาทที่
เมืองแปง อีกแห่งหนึ่ง ที่พวกเราไม่เคยรู้มาก่อน จึงไม่รอช้าต้องรีบทำ เวลาให้ทัน ๑๖.๐๐ น.
เนื่องจากนัดไว้ว่าจะไป ทำพิธีบวงสรวงที่ วัดสกิทาคา(ผาลาด) เชิงดอยสุเทพ จากเดิมนัดไว้วันที่ ๘ ม.ค. ๔๗
แต่เนื่องจากว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถ จะเสด็จที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์ จะปิดการจราจรบนดอยสุเทพ
จึงต้องเลื่อนเวลามาเร็วขึ้น
หลังจากเข้าไปจอดรถใน วัดหลวงต.เวียงใต้ อ.ปาย เพื่อรอให้พวกเราไปซื้ออาหารเพล
ผู้เขียนก็ได้เข้าไปกราบไหว้พระเจดีย์ในวัดหลวง ต่อจากนั้นก็รีบเดินทางไปที่ วัดเมืองแปงต.เมืองแปง อ.ปาย
จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อกราบไหว้พระธาตุเก่าแก่ภายในวัดที่ ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเคยมาบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑
แล้วไปบูรณะพระเจดีย์ที่ บ้านวัดจันทร์ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ จากนั้นกลับมาบูรณะที่นี่ต่อ จนเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔
นับว่าโชคดีที่ได้มาพบ ถ้าอาจารย์สิงห์ไม่บอก สถานที่แห่งนี้คงตกสำรวจไปแล้ว ซึ่งคล้ายกับที่พระพุทธบาทห้วยผึ้ง ที่พวกเราไม่มีข้อมูลมาก่อน
แต่มาได้ข้อมูลระหว่างการเดินทาง ตอนนี้ก็พักฉันเพลกัน เสร็จแล้วเจ้าอาวาสได้ให้พระที่วัดช่วยนำทางไปที่ พระพุทธบาทเมืองแปง
อยู่ไม่ไกลจากวัดมากนัก โดยพระที่นำทางจำผู้เขียนได้ เพราะเคยพบกันที่วัดโขงขาวเมื่อหลายปีก่อน
รอยพระพุทธบาทเมืองแปง (ถูกตบแต่งแล้ว) ประดิษฐานภายในมณฑป
รอยพระพุทธบาทแห่งนี้มีการสร้างพระมณฑปครอบไว้นานแล้ว เป็นรอยเบื้องขวา มี ขนาดกว้าง ๓๗ ซ.ม. ยาว ๗๘ ซ.ม. มีขนาด ไล่เลี่ยกับที่บ้านป่ายางมูเซอ
ซึ่งเป็นรอยเบื้อง ซ้าย นับว่าได้กราบไหว้ครบถ้วนทั้งซ้ายและ ขวาในเขตอำเภอปาย พระที่นำทางเล่าประวัติ ว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมา ได้บรรทมที่บนเขา
แล้วมาประทับรอยพระพุทธบาทรอยนี้ และเสด็จต่อไปที่เมืองปาย ตนเองเคยเห็นแสงพระธาตุเสด็จลอยในบริเวณนี้ด้วย
เมื่อบูชารอยพระพุทธบาทแล้ว จึงรีบเดินทางมาส่งพระที่วัด พร้อมกับถวายปัจจัย ๓๐๐ บาท ระหว่างกลับเห็นป้ายทางเข้า บ้านวัดจันทร์แต่คงไม่ทันเวลาต้องไว้คราวหน้านะ เพราะเวลาบ่ายสองโมงแล้ว รีบเร่งออกไปทาง แม่มาลัยเกรงจะไม่ทันเวลานัดหมาย ต้องใช้วิทยุคอยบอกให้คันหลังคอยแซงขึ้นมา เพราะ ถนนเส้นนี้คดเคี้ยวมาก ประมาณ ๙๐
กว่ากิโล เมตร ปกติใช้เวลา ๓ - ๔ ชั่วโมง แต่พวกเรา ก็สามารถทำเวลาได้ทันนัดหมายสี่โมงเย็นพอดี
พิธีบวงสรวง ณ วัดผาลาด (วัดสกิทาคา) อ.เมือง จ.เชียงใหม่
(คณะคุณวรวิทย์ได้เตรียมบายศรีไว้แล้ว พร้อมกับคณะชาวเชียงใหม่มารอทำพิธีกันหลายคน)
พอขึ้นมาถึงหน้าองค์พระธาตุเก่าแก่ที่ อยู่ภายในวัดสกิทาคา ซึ่ง ท่านครูบาศรีวิชัยเคยมาบูรณะ
ที่ผู้เขียนเคยเล่าให้ฟังแล้วว่า ยังไม่ เคยทำพิธีบวงสรวงที่พระธาตุดอยสุเทพ เพราะ คิดว่าบริเวณนี้ท่านครูบาฯ สร้างขึ้นใหม่ ครั้น
พอได้มาเห็นเมื่อปีที่แล้ว จึงได้รู้ว่าสร้างตั้งแต่ สมัย พระเจ้ากือนาคือ วัดโสดา, วัดสกิทาคา (ผาลาด), วัดอนาคามี (ร้างไปแล้ว), ส่วน
วัดอรหันต์น่าจะเป็นบนพระธาตุดอยสุเทพ
เมื่อผู้เขียนเดินขึ้นไป ท่ามกลางสายตา ของผู้คนที่กำลังรอคอย จึงมองสบตากันเหมือน จะบอกว่ามาทันเวลาพอดีนะ ได้เห็นทุกคนนั่ง
ล้อมรอบบายศรีที่กำลังจัดทำอย่างรีบเร่ง ชาวเชียงใหม่หลายสิบคน มีทั้งคณะ อ.อำไพ สุจนิล และคณะคุณพรพิลาศ (ปุ้ม) ที่มิได้เอ่ยชื่ออีกมากมาย
อุตส่าห์มารอคอยเพื่อร่วมพิธีที่สำคัญนี้
คณะคุณวรวิทย์ ทองแท้ ซึ่งมีภรรยาเป็น หัวเรี่ยวหัวแรง พร้อมคณะได้มาช่วยกันเต็มที่ ขาดแต่คุณวรวิทย์ที่จะต้องไปรับลูกที่โรงเรียน
เมื่อจัดโต๊ะบายศรีเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนก็ได้ เล่าประวัติความเป็นมา และวัตถุประสงค์การทำพิธีในครั้งนี้แล้ว จึงได้เริ่มเปิดเทปหลวงพ่อ บวงสรวงทันที
ท่ามกลางพวกเราที่เป็นลูกศิษย์ ของท่านที่ได้มาทำพิธีร่วมกัน
ทุกคนต่างนั่งพนมมือตั้งจิตอธิษฐาน น้อมนึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ที่พระองค์เคยเสด็จ ขึ้นไปบนพระธาตุดอยสุเทพ แล้วชี้พระหัตถ์
ลงไปเบื้องล่างแล้วตรัสพยากรณ์ว่า ต่อไปจะ เป็นมหานครรักษาพระพุทธศาสนาไว้ครบถ้วน ๕ พันปี ในสมัยต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๑๘๒๙ พระเจ้ากือนา ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นมาบนหลังช้างต้น ทรงเสี่ยงสัจจาธิษฐานว่า สมควรจะประดิษฐานอยู่ตรงไหน
ปรากฏว่าช้างได้เดินขึ้นมาแล้วลื่นตรง บริเวณนี้ จึงได้ชื่อว่า ผาลาด ซึ่งเพี้ยนมา จากคำเหนือว่า
ผะเลิด แปลว่า ลื่น, ล้ม จากนั้นช้างก็เดินขึ้นไปตายบนยอดดอย จึงได้
ทรงสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุส่วนหน้า ผาก ซึ่ง พระมหาสุมนได้อัญเชิญมาจากเมือง สุโขทัย
โดยพระบรมสารีริกธาตุเกิดปาฏิหาริย์เพิ่มอีก ๑ องค์ เพราะฉะนั้นพระบรมธาตุองค์ เดิม จึงได้บรรจุไว้ที่ วัดบุปผาราม(สวนดอก)
หลังจากทำพิธีบวงสรวงแล้ว พวกเราได้ถวายผ้าไตรแด่พระสงฆ์ที่มาร่วมพิธี ๔ รูป พร้อมทั้งถวายปัจจัยร่วมบูรณะ ๗,๕๐๐ บาท ด้วย
พระที่ร่วมพิธีมีทั้งพระที่วัดนี้และพระที่ มาจากวัดอื่น คือ ท่านวิชัย (แป๊ะ) เจ้าอาวาส วัดแม่สะลาบ
อ.สารภี จ.เชียงใหม่
ต่อจากนั้น คุณชัยรัตน์ จูจันทร์ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่า ซึ่งมีสำนักงานอยู่สูงขึ้นไป อีก
ได้นิมนต์ผู้เขียนขึ้นไปยังที่ทำการ ความ จริงเคยขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้ว เพราะที่ทำการตั้ง อยู่บนเนิน คล้ายเป็นฐานวิหารหรือพระเจดีย์
ซึ่งสงสัยว่าน่าจะเป็น วัดอนาคามี มาก่อน จึง มีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นอยู่เสมอ
ซึ่งผู้เขียนได้แนะนำให้ชำระหนี้สงฆ์และขอขมาโทษ ที่บริเวณด้าน หน้าจะมีศาลพระภูมิอยู่แล้ว เพื่อจะได้ไม่เป็น เวรเป็นภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน
หลังจากนั้นก็เดินทางมาพักค้างคืนที่บ้านคุณวรวิทย์ ทองแท้ ที่หมู่บ้านสวนผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
เจ้าของบ้านได้จัดที่พักและอาหาร เลี้ยงพวกเราเป็นอย่างดี คืนนั้นก็ช่วยตามช่าง มาซ่อมรถของคุณเกษมที่มีปัญหาเรื่องเบรค
ทำท่าจะไปไม่ไหวตั้งแต่แม่ฮ่องสอนแล้วละ ต้องนำรถไปซ่อมที่อู่ กว่าจะเสร็จร่วมเที่ยงคืน.
((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))
|
|
|
|
Posts: 2041 |
Registered: 8/1/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
posted on 21/8/09 at 08:51 |
|
(Update 21/08/52)
เชียงใหม่ - เชียงราย
เมื่อฉันอาหารเช้าแล้วจึงออกเดินทางสู่ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย คณะคุณสมพรไม่ได้ร่วมเดินทางไปด้วย ส่วนรถของคุณเกษมต้องรอเปลี่ยนอะไหล่
แล้วจะขับตามไปภายหลัง ในระหว่างทางเห็นป้าย พระธาตุเสด็จ (ธาตุกุด) ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
จึงแวะเข้าไปกราบไหว้และทำบุญ ๒,๐๐๐ บาท พร้อมผ้าไตร
หลังจากนั้นเดินทางต่อไปที่ พระธาตุชัยมงคล ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ซึ่งเป็นพระธาตุร้างยังไม่ได้บูรณะ
ตอนนี้ก็ยังไม่มีเป้าหมายแน่นอน จึงเดินทางแบบสบายใจ ไม่ต้องเร่งทำเวลาเหมือน วันที่ผ่านมาแบบน่าหวาดเสียว พวกเรานั่งคุยกันไปในรถถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา
จนกระทั่งถึง วัดพระเจ้าทองทิพย์ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า ๔๐๐
ปีมาแล้ว
ในขณะนั้นทางวัดกำลังสร้างศาลาอยู่พอดี จึงได้ร่วมทำบุญเป็นเงิน ๕๐๐ บาท แล้วออกเดินทางต่อไป ในขณะที่รถวิ่งผ่านเห็นป้ายเชิญร่วม สร้างพระอุโบสถ
และพระเจดีย์สูง ๓๕ เมตร จึงบอกให้ย้อนกลับมาทำบุญที่ วัดทรายขาว ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย
รถวิ่งเข้ามาในวัดเห็นพระเจดีย์กำลังก่อสร้าง และบันไดปั้นพญานาคไว้สวยงามมาก จึงได้ทำบุญร่วมสร้างทุกอย่าง ๒,๕๐๐ บาท
ในขณะนั้นเห็นพระอาทิตย์ทรงกลดแต่ไม่เต็ม วงอยู่เพียงชั่วครู่ ภายในบริเวณวัดจึงร่มครึ้ม ซึ่งเป็นเวลาตอนบ่าย จึงวางแผนที่จะพาญาติโยมแวะมาทำบุญในตอนขากลับ
ต่อจากนั้นจึงออกเดินทางไปที่อำเภอเทิง เพื่อหาข้อมูลจาก ท่านครูบาเบิ้มณ วัดพระธาตุหมอกมุงเมือง ต.ไม้ยา
อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย
ถวายผ้าห่มสไบสีทองรอบองค์พระธาตุเกือบทุกแห่ง
เนื่องจาก ช่างเนียร (ช่างของวัดท่าซุง) และลูกน้องมี ช่างปื๊ดเป็นต้น เคยมาหล่อพระที่นี่ และเคยไปกราบรอยพระพุทธบาทแห่งหนึ่ง ซึ่งจำไม่ได้ว่าชื่ออะไร แต่ให้ไปถามครูบาเบิ้ม
ซึ่งท่านเป็นคนเชียงราย อายุไม่มากนัก ขณะนั้น ท่านกำลังสร้างพระอุโบสถจากไม้ยมหอม ซึ่งจะ ต้องนำมาจากประเทศลาว
ครูบาเบิ้มบอกให้ไปหาคนนำทางที่แถวบ้านทุ่งขันไชย
วัดพระธาตุดอยแก้ว (ม่อนหินแก้ว)
หลังจากร่วมทำบุญกับครูบาเบิ้ม จำนวนเงิน ๒,๐๐๐ บาท แล้วจึงออกเดินทางสืบหารอยพระพุทธบาทต่อไป ในระหว่างทางแวะถามพระที่ วัดพระธาตุดอยแก้ว (ม่อนหินแก้ว) ท่านก็ บอกให้ไปทาง วัดอุทราราม
บ้านทุ่งขันไชย ต. เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย จึงร่วมทำบุญและหาคน นำทาง ได้เด็กคนหนึ่งซึ่งกำลังปั่นจักรยานเข้ามาในวัดพอดี
จึงติดต่อให้นำทางไปทันที
พระพุทธบาทดอยทา
ปรากฏว่าทางไปรอยพระพุทธบาทเข้าทาง ถนนข้างกำแพงวัด รถวิ่งไปประมาณ ๑๐ นาที จากนั้นจอดรถไว้เดินผ่านไร่ข้าวโพดขึ้นเขาอีก ประมาณ ๒๐ นาที
จะพบมณฑปหลังคาสังกะสี คลุมก้อนหินขนาดใหญ่ไว้ ภายในเป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาและเบื้องซ้าย ๒ รอย พระพุทธบาทเกือกแก้วซ้ายอีก ๑ รอย
ทั้งยังมีบ่อน้ำทิพย์อีกด้วย ปัจจุบันได้เหือดแห้งไปหมดแล้ว เนื่องจากสร้างหลังคาคลุมไว้นั่นเอง
ท่านครูบาเบิ้มเล่าประวัติให้ฟังว่า ที่นี่จะมีประวัติเกี่ยวกับเต่าน้อยทองคำ ภายใต้ก้อนหินมีพระพุทธรูปต่างๆ เป็นจำนวนมาก แต่ได้ถูกโจรขุดไปหมดแล้ว
ด้านบนดอยลูกนี้มีพระธาตุร้างเก่าแก่มาแต่โบราณ เรียกกันว่า พระธาตุดอยทาอุทราคำ
ต้องใช้เวลาเดินขึ้นประมาณครึ่งวัน (ผู้เขียนเคยร่วมทำบุญบูรณะพระธาตุองค์นี้ กับอดีตเจ้าอาวาส วัดพระธาตุจอมจ้อ อ.เทิง ไปแล้ว)
เพราะฉะนั้น พระพุทธบาทแห่งนี้ จึงมีชื่อว่า พระพุทธบาทดอยทาจากพระบาทเดินขึ้น ไปอีกประมาณครึ่งดอย
บนหน้าผามีบ่อน้ำทิพย์ ๒ บ่อเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ ฟุต เมื่อบูชารอยพระพุทธบาทเสร็จก็ต้องไชโยโห่ร้องกัน มีวัยรุ่น ๓ - ๔ คน เดินลงมาจากพระธาตุดอยทา
ใช้เวลาเดินหลายชั่วโมง ขณะนั้นสี่โมงกว่าแล้วคงขึ้นไม่ทัน จึงได้แต่โมทนาบุญด้วย รีบเร่งออกเดินทางสู่ อำเภอเชียงคำทันทีก่อนที่จะมืดค่ำ
รอยพระพุทธบาท
ณ วัดพระนั่งดิน และ วัดหัวทุ่ง
สำหรับวัดแห่งนี้เคยมาหลายครั้งแล้ว แต่เพิ่งได้ข่าวว่ามีรอยพระพุทธบาท จึงได้เดินทางมาอีก เมื่อเข้ามาถึงภายในบริเวณวัดพระนั่งดิน
พบก้อนหินขนาดพอสมควรวางพิงอยู่โคนไม้หน้า วิหาร สังเกตดูจะเห็นร่องเป็นรอยเท้าขนาดไม่ใหญ่มากแต่ชัดเจน และรอยเท้าใหญ่ซึ่งมีเพียง
แค่ครึ่งเท้าด้านที่มีนิ้ว ก้อนหินที่ประทับรอยพระ พุทธบาทบาทนี้ มีสัณฐานคล้ายพระพุทธบาท
รอยพระพุทธบาท ณ วัดพระนั่งดิน อ.เชียงคำ จ.เชียงราย
ในขณะนั้น ทางวัดกำลังเตรียมจัดงานฉลองพัดยศและตำแหน่งของท่านเจ้าอาวาส จึงได้ร่วมทำบุญกับเจ้าอาวาส ๖๐๐ บาท พร้อม ทั้งได้ปิดทองลูกนิมิตด้วย
แล้วท่านได้เล่าประวัติว่า ก้อนหินนี้ได้มาจากในป่า ระหว่างวัดหัวทุ่งและวัดทุ่งลม นอกจากนี้ทางวัดหัวทุ่งก็
ยังมีหินอีกก้อนหนึ่งที่มีรอยเท้าคล้ายกับที่นี่
พวกเราได้ฟังดังนั้น จึงออกเดินทางต่อไปที่วัดหัวทุ่งทันที ถึงแม้จะเป็นเวลาใกล้ค่ำ แต่ระยะทางจากวัดพระนั่งดินไป ๑๐ กว่ากิโลเมตร เท่านั้น
เพียงชั่วครู่เดียวก็ไปถึงวัด พบรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้าย กว้าง ๗ ซ.ม. ยาว ๒๓ ซ.ม. มีขนาดเท่ากับรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา ซึ่งอยู่ที่วัดพระนั่งดิน
รอยพระพุทธบาท ณ วัดหัวทุ่ง อ.เชียงคำ จ.เชียงราย
เจ้าอาวาสท่านบอกว่า เจ้าอาวาสที่วัดพระนั่งดินให้มา แต่เดิมหินก้อนนี้อยู่ที่ เขาจำกูด (เฟิร์น) ในป่าท้ายหมู่บ้าน เดิมมีอยู่ ๒ ก้อน
และบริเวณใกล้เคียงยังมี รอยเท้าม้า และ ร้อยแส้ บนหิน
อีกทั้งยังมีบ่อน้ำทิพย์ซึ่งไม่เคยแห้ง มีพระธาตุเจดีย์ชื่อว่า พระธาตุจอมกูด แต่ได้ร้างไปแล้ว
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ชาวบ้านได้นำหิน ทั้งสองก้อนลงมาจากบนเขา แล้วนำมาถวายที่นี่หนึ่งก้อน และถวายไว้ที่วัดพระนั่งดินก้อนหนึ่ง
เมื่อครั้งที่นำหินสองก้อนมานั้น ปรากฏว่ามีเสียงฟ้าร้องคำราม ท่านเองเคยเห็นแสงพระธาตุเสด็จ ขึ้นจากรอยพระพุทธบาทลอยไปยังหลังวัดด้วย
ต่อมามีเด็กขึ้นมาเล่นบนก้อนหินนี้ กลับไปบ้านจึงไม่สบาย เลยต้องปั้นเป็นรูปเสืออยู่บนก้อนหินด้านข้างรอยพระพุทธบาท เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กขึ้นไปเล่น
และนำก้อนหินไปไว้ที่ข้าง บันไดทางขึ้นหอพระ ตอนที่มาเป็นเจ้าอาวาส ใหม่ๆ ทางวัดมีเงินเหลือเพียง ๕๙ บาท สิ่งก่อ สร้างต่างๆ ในวัดก็ค้างไว้
ในภายหลังมีคนไม่เคยรู้จักกันมาที่วัด ได้เห็นรอยเท้านี้แล้วก็บริจาคเงินและเป็นเจ้าภาพ สร้างพระอุโบสถ เมื่อทางวัดจะจัดงานทีไร จะมีฝนตกทุกครั้ง
ภายหลังมีคนต้องการซื้อก้อน หินนี้ในราคาสองหมื่นบาท ทางวัดได้เทพื้นปูนซีเมนต์ยึดติดก้อนหินไว้ไม่สามารถขยับได้
ผู้เขียนจึงแนะนำให้สร้างหลังคาคลุมรอยพระพุทธ บาทไว้ แล้วมอบทุนไว้ในเบื้องต้น ๒,๐๐๐ บาท
ในตอนนี้ ท้องฟ้ามืดค่ำแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าจะไปพักค้างคืนที่ไหน ท่านเลยบอกให้ย้อนกลับไปพักที่พระธาตุจอมจ้อ ในอำเภอเทิง เพราะ เคยไปพักหลายครั้ง
และท่านจำเนียรยังไม่เคยไป ที่พระธาตุแห่งนี้ ก่อนถึงทางขึ้นพระธาตุ ได้ แวะให้ฆราวาสทานอาหารเย็นกันก่อน แล้วจึงขึ้นไปบนพระธาตุจอมจ้อ ซึ่งอยู่บนดอยกลางใจ
เมืองเทิง ปรากฏว่าได้เปลี่ยนเจ้าอาวาสใหม่แล้ว
โดยเจ้าอาวาสองค์เก่าได้ย้ายไปเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ส่วนเจ้าอาวาสองค์ใหม่นี้ ท่านมีโครงการจะทาสีทององค์พระธาตุ พวกเราจึงได้ร่วมทำบุญ ๕๐๐
บาท คืนนั้นพระจันทร์ทรงกลด จึงได้พักผ่อนกันด้วยความปลื้มใจ ในตอนเช้าวันศุกร์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๗ หลังจากบูชาพระธาตุกันแล้ว
จึงออกเดินทางกันต่อไปทางจังหวัดเชียงราย
เทิง - แม่จัน - แม่สาย - เชียงแสน
ในตอนนี้ คุณเกษม ได้ขับรถมาจากเชียงใหม่ไปรอที่นั่น เมื่อรถแล่นมาได้สักครู่เห็นป้าย
ชื่อพระธาตุศิลาคำ ต.ปล้อง อ.เทิง จ.เชียงราย จึงได้เลี้ยวรถเข้าไป ปรากฏว่าเป็นพระธาตุสร้างใหม่ทาสีทอง
โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เก่าเอาไว้ จึงได้ร่วมทำบุญ ๑,๒๐๐ บาท แล้วเดินทางต่อไปที่พระธาตุสร้อยทอง ต.ดอยลาน
อ.เมือง จ.เชียงราย
พระธาตุนี้อยู่บนดอยสูงพอสมควร ต้องผ่านหมู่บ้าน เมื่อมาถึงไม่พบใคร จึงบูชาพระธาตุกันโดยไม่รู้ประวัติความเป็นมา
แล้วออกเดินทางเข้าเชียงรายไปทางอำเภอแม่จัน โดยมีคณะคุณเกษมมารออยู่ก่อนแล้ว จึงได้ชักชวนกันแวะที่ วัดปฐมพุทธารามต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย
ทั้งนี้ เพื่อมาดูสถานที่พักค้างคืน และคณะที่จะติดตามมาอีกประมาณ ๑๐๐ คน ในวันเสาร์ที่ ๑๐ ที่จะถึงนี้ หลังจากที่ไหว้พระธาตุจอมกิตติแล้ว
ซึ่งผู้เขียนยังตกลงใจไม่ได้ว่าจะพาไปพักค้างคืน กันที่ไหนดี เมื่อติดต่อกับ ท่านสมบูรณ์ เจ้าสำนัก
ว่าพอจะจัดสถานที่พักและจัดเลี้ยงอาหารได้แล้ว จึงออกมาฉันเพลที่อำเภอแม่จัน เป็นข้าวซอยอาหารทางเมืองเหนือ...แต้ๆ เจ๊า..!
เมื่อเสร็จแล้วจึงเดินทางต่อไปทางอำเภอแม่สาย ระหว่างทางเห็นป้ายชื่อ วัดถ้ำเสาหินพญานาคซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อนและชื่อแปลกดี จึงบอกให้รถแวะเข้าไป โดยอยู่ใกล้ๆ กับ ถ้ำปลา ครั้นเข้าไปถึงเห็นวิหารขนาดใหญ่ทรงกลมสร้างค้างไว้ จากนั้นเดินอ้อมไปทางด้านหลัง จะพบอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
มีร้านอาหารเปิดขายรอบๆ และมีเรือยนต์ขนาดเล็ก นั่งได้ประมาณ ๑๐ คน เพื่อพาไปชมถ้ำที่อยู่เชิงเขาอีกด้านหนึ่ง
ซึ่งสามารถนั่งรถไปก็ได้ โดยขับรถอ้อมไปตามอ่างเก็บน้ำ แล้วเดินอีกเล็กน้อยเรือขนาดเล็กจึงต้องนำพวกเราไป ๒ เที่ยว คนขับเรือเป็นชาวไทยใหญ่
จึงไม่ได้ข้อมูลเกี่ยวกับถ้ำเสาหิน พญานาคมากนัก ทราบเพียงว่าทางวัดตั้งชื่อตาม ลักษณะของเสาหินที่อยู่ด้านหน้าถ้ำ ซึ่งคล้ายกับ พญานาค
เมื่อชมถ้ำและร่วมทำบุญสร้างมหา วิหาร ๕๐๕ บาท แล้วจึงออกเดินทางต่อ ขณะที่รถวิ่งได้เห็นป้ายเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ จึงบอกให้แวะเข้าไป
ทั้งที่ไม่มีในรายการอีกเหมือนกัน
วัดนี้มีชื่อ วัดมรรคาราม ต.ศรีเมือง อ.แม่ สาย จ.เชียงราย มองเห็นศาลาหลังใหญ่
ซึ่งมีเจ้าภาพเป็นครอบครัวชาวอังกฤษสร้างถวาย จึงได้ร่วมทำบุญกับท่านเจ้าอาวาส เพื่อร่วมสร้างพระเจดีย์ ๕๐๐ บาท แล้วเดินไปคุยกับช่างก่อสร้าง
ว่ารับเหมาจนเสร็จและมีฉัตรให้พร้อมเจ้าภาพ เพียงแต่หาทุนและเตรียมจัดงานฉลองเท่านั้น โดยราคารับเหมาประมาณ ๑ ล้านบาทขึ้นไป
ขึ้นอยู่กับแบบและความยากง่ายขององค์พระธาตุ.
((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))
|
|
|
|
Posts: 2041 |
Registered: 8/1/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
posted on 29/10/09 at 10:27 |
|
รอยพระพุทธบาทผาลาด ณ บ้านเวียงแก้ว
ผู้เขียนซักถามพอจะรู้ความแล้ว จึงเดิน ทางไปถึงตลาดแม่สาย แล้วเลี้ยวขวากลับไปทางเชียงแสน เพื่อค้นหา รอยพระพุทธบาทผาลาดตามที่ได้ข้อมูลมาว่า จะต้องไปสืบหาที่ วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว
ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ได้พบท่านเจ้าอาวาส ซึ่งพวกเราเคย มาเมื่อปีก่อนแล้ว ท่านได้นำภาพถ่ายของพระธาตุก่อนที่จะบูรณะมาให้ดู
การไปครั้งนี้ช่างกำลังปั้นพญานาคบนกำแพงแก้วรอบองค์พระธาตุ ซึ่งมีลักษณะงดงาม และเกล็ดจะไม่เหมือนกับที่อื่น จึงได้ร่วมทำบุญ กับท่าน ๕๐๐ บาท
เมื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ รอยพระพุทธบาทผาลาด ท่านถึงกับสงสัยว่ารู้ได้อย่างไร แล้วท่านได้บอกทางว่า ให้ไปทางหมู่บ้านแล้วเลี้ยวซ้ายทางไปสุสาน
ขอให้สังเกตพระธาตุองค์เล็กๆ อยู่บนลานหินก็แล้วกันนะ
เมื่อออกเดินทางมาตามที่ท่านบอกไว้ เห็นพระธาตุแต่ไม่เห็นลานหิน เพราะมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมเต็มไปหมด พวกเราจึงปีนขึ้นไปถางทาง
จึงเห็นลานหินที่ลาดเอียงซึ่งอยู่ไม่สูงนัก โดยมีชาว บ้านแถวนั้น ๒ - ๓ คน นำมีดพร้ามาช่วยถางด้วย จนบริเวณลานหินและพระธาตุสะอาดเรียบร้อย
ในบริเวณผาลาดนี้มีพระพุทธบาทรวม ๕ รอย เป็นรอยเกือกแก้ว ๓ รอย และมีเฉพาะส้น ๒ รอย และยังมีบ่อน้ำทิพย์ซึ่งได้นำกลับมาด้วย ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า
เมื่อคืนที่บริเวณนี้มีฝนตก โปรยลงมาเล็กน้อย ยังคิดอยู่ว่าวันนี้คงจะมีคน มาทำบุญแน่ ซึ่งตอนแรกพวกเรายังไม่ค่อยเชื่อ
เพราะคนพูดยังมีอาการเหมือนคนเมาสุรา
แต่เมื่ออีกสองคนที่เหลือก็ยืนยันว่า มีฝนตกเมื่อคืนจริง จึงทำให้พวกเราแปลกใจ คงเป็น ไปด้วยอำนาจพุทธานุภาพอย่างแน่นอน ชาวบ้าน
บอกว่าแต่เดิมรอยชัดเจนกว่านี้มาก และเคยมีคน เห็นดวงไฟสว่างลอยขึ้นบริเวณนี้ จากนั้นชาว บ้านได้ช่วยกันถางทางนำเดินต่อขึ้นไปบนดอยอีก เล็กน้อย
พบบ่อน้ำทิพย์ขนาดไม่ใหญ่มาก น้ำใส สะอาด มีน้ำผุดขึ้นมาตลอดเวลา ชาวบ้านได้ต่อ ท่อน้ำลงไปที่ข้างใต้พระธาตุด้านล่าง
หลังจากบูชาเสร็จแล้ว จึงได้เดินทางเลียบมาตามแม่น้ำโขง ตามตำนานสมัยพระเจ้าพรหมมหาราช เรียกบริเวณนี้ว่า เวียงสีทองส่วนทางแม่สายเรียกว่า เวียงพางคำนั่งรถมาจนกระทั่งถึง
สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นที่ไหลรวมของแม่น้ำทั้งสองสาย คือ แม่น้ำโขงและแม่น้ำสบรวก เป็น
เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทย พม่า และ ลาว จึง เรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ จะเป็นทองคำแท้ หรือเป็นทองคำเทียมที่ผิดกฎหมายก็ไม่ทราบได้
ฉะนั้น จึงไม่ต้องสนใจที่ชื่อ ในขณะนี้ที่ น่าสนใจได้เห็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่าทองคำ นั่นก็คือ พุทธรัตนะซึ่งอยู่ในแก้ว ๓ ประการ พวกเราจึง ไม่รอช้ารีบขับรถเข้าไปทันที เมื่อได้เห็นเขากำลัง
สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่อยู่ริมแม่น้ำโขง หน้า ตักกว้าง ๙.๙๙ เมตร สูง ๑๕ เมตร เรียกกันว่า พระเชียงแสน ๔
แผ่นดิน
เมื่อได้สนทนากับนายช่างซึ่งมาจากอยุธยา จึงได้ข้อมูลว่า งบประมาณ ๒๕ ล้านบาท จัดสร้าง โดยคณะสงฆ์และประชาชนชาวจังหวัดเชียงราย
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเนื่องในวโรกาสทรงมี พระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา
จึงได้ร่วมกันทำบุญ โดยฝากเงินไว้กับหัวหน้าช่างคนนี้แหละ เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท และพาญาติโยมมาอีกในวันต่อมา
หลังจากทำพิธีที่พระธาตุจอมกิตติแล้ว
ต่อจากนั้นจึงได้เดินทางมาบนพระธาตุจอมกิตติในเวลาเย็น จัดเตรียมสถานที่และทำ ความสะอาด (เพื่อรอรับคณะ ท่านพระครูปลัดอนันต์จะมาทำพิธีบวงสรวงในวันพรุ่งนี้) จากนั้นจึงเดินทางย้อนกลับมาทางอำเภอแม่จัน
ในระหว่างทางเห็นป้ายเชิญทำบุญสร้างพระเจดีย์อีก จึงคิดว่าในปีนี้เป็นปีมิ่งมหามงคล ตามวัดต่างๆ มักจะมีการสร้างถาวรวัตถุไว้เป็นอนุสรณ์
เช่นที่ได้ทำบุญสร้างพระธาตุที่ วัดมรรคารามมาแล้ว
คณะตามรอยพระพุทธบาทไม่รอช้า ถึง แม้จะไม่เป็นผู้ริเริ่มสร้าง ก็ขอเป็นผู้ร่วมสร้างด้วย ก็แล้วกัน จึงได้ร่วมสร้างพระเจดีย์ ๑,๐๐๐ บาท ณ วัดชัยมงคลต.สันทราย อ.แม่จัน จ.เชียงราย สูง ๒๐ เมตร ทาสีทอง ใช้งบประมาณ ๑ ล้าน บาท
แล้วเดินทางกลับมาที่วัดป่าปฐมพุทธาราม โดยมี คณะท่านอาจินต์ มาพักค้างคืนที่นี่ด้วย
ตอนเช้าวันเสาร์ที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๗ หลังจากฉันเช้าแล้วจึงออกเดินทางไปร่วมพิธีกับท่านเจ้าอาวาสวัดท่าซุง ณ พระธาตุจอมกิตติ แล้วจึงชักชวนญาติโยมประมาณร้อยกว่าคน เดิน ทางไปทำบุญร่วมสร้าง
พระเชียงแสน ๔ แผ่นดิน ซึ่งมีการทำบุญอีก ๑๔,๐๐๐ บาทโดยการ ใส่ไปในร่มของผู้เขียน
เนื่องจากขณะที่เดินกางร่มไปนั้น เมื่อจะหุบร่มลงปรากฏว่าร่มก็จะกางออกเองอยู่หลายครั้ง
จึงต้องนำร่มคันนี้เป็นที่รับปัจจัยของญาติโยมที่ร่วมสร้างพระพุทธรูปองค์นี้.
พระพุทธบาทผาลาด ณ บ้านนางแล
เมื่อได้ทำบุญและถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ ระลึกบริเวณหน้าองค์พระ ซึ่งเป็นเพียงแม่แบบสำหรับหล่อเท่านั้น โดยจะแบ่งการเททองเป็นระยะๆ
แล้วจึงออกเดินทางย้อนกลับไปที่ พระพุทธบาทผาลาด ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งอยู่ใกล้ๆ
วัดป่าปฐมพุทธารามนั่นเอง โดยผ่าน วัดนางแลใน ไปที่น้ำตก
สถานที่แห่งนี้เคยไปมาแล้ว แต่ครั้งนี้ได้นำญาติโยมที่ไม่เคยมา เพื่อกราบไหว้รอยพระพุทธบาท ซึ่งเป็นที่สำคัญมาก เนื่องจากมีรอยพระโพธิสัตว์อยู่ด้วย
คือมี รอยเท้าวัว อยู่ในหิน อย่างชัดเจน หินก้อนนี้แบนราบ น่าจะเป็นแท่นที่ประทับมาก่อนด้วย
การไปครั้งนี้เปลี่ยนแปลงไปจากครั้งก่อนมาก มีการล้อมรั้วและสร้างศาลเอาไว้ใกล้ๆ และสถานที่ก็ดูสะอาดขึ้นมาก จึงพากันเดินข้ามลำธาร
ได้พบรอยพระพุทธบาทเพิ่มขึ้นอีกมาก จากจุดแท่นที่ประทับขึ้นไปที่ประปาภูเขา ซึ่งเดิมเคยสำรวจจากประปาภูเขาขึ้นไปถึงสวนของชาวบ้าน และผู้เขียนเคยปรารภว่า
ไว้มีโอกาสน่าจะมาสำรวจย้อนไปทางท้ายน้ำ
ครั้งนี้จึงสมหวัง เพราะครั้งนี้น้ำในลำธารน้อยกว่าเดิมมาก รอยพระพุทธบาทที่พบในครั้งนี้ ไม่ซ้ำกับที่เคยสำรวจในครั้งก่อน บรรยากาศวันนี้ ร่มรื่นมาก
ญาติโยมทั้งชายและหญิงที่ติดตามมา หลายสิบคน ต่างช่วยกันค้นหาด้วย ทำให้พบรอยพระพุทธบาทเพิ่มขึ้น คือพบใหม่จากครั้งก่อนอีก ๑๐ กว่ารอย
ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับที่ อุทยานแห่งชาติเขาหลัก จ.พังงา อยู่บนโขดหินริมชายทะเล
ครั้นได้บูชากันเสร็จแล้ว จึงเดินทางกลับ มาพักค้างคืนที่วัดป่าปฐมพุทธาราม บางส่วนก็ แยกไปพักที่รีสอร์ต แต่ก็มาร่วมทานอาหารเย็น
ตามที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ แล้วร่วมกันทำบุญเป็น เงิน ๗๐,๐๐๐ บาท และคณะท่านอาจินต์ทำเพิ่มอีก
๑๒,๐๐๐ บาท คืนนี้มีคนมาพักมากกว่าที่แจ้งไว้ ช่วงนี้อากาศหนาวมาก โยมที่อยู่เชียงราย (ขออภัย
นึกชื่อไม่ออก) ได้ไปช่วยซื้อหามาให้หลายสิบผืน
ในเช้ามืดตีห้า วันอาทิตย์ที่ ๑๑ มกราคม ต้องเดินทางขึ้นดอยตุง ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง
ก่อนออกเดินทางแม่ครัวของวัดได้เตรียมอาหารเช้าใส่กล่องสำหรับพระและฆราวาสทุกคน จึงต้องขออนุโมทนาไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
จากนั้นก็ได้ร่วมทำพิธีบวงสรวงกับท่านเจ้าอาวาสวัดท่าซุงที่พระธาตุดอยตุง จนกระทั่งฉันอาหารเพลเสร็จ ซึ่งจัดเลี้ยงโดยคณะ คุณนิรมล (ต๋อย), คุณโส่ย แล้วเดินทางกลับโดยมีรถตามมาด้วย ๒๐ คัน
พระประธานภายในวิหาร พวกเราได้ร่วมกันทำบุญร่วมสร้างทุกอย่างที่วัดทรายขาว
ทั้งนี้ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าจะนำญาติโยมมาร่วมทำบุญสร้างโบสถ์, ศาลา, และพระเจดีย์ที่ วัดทรายขาว
อ.พาน จ.เชียงราย รวมเป็นเงิน ๑๗,๑๒๐ บาท แล้วจึงเดินทางเข้าเมืองพะเยา
โดยนัดหมายให้คนมารอรับที่แยกแม่ต๋ำ เพื่อนำ ไปที่ วัดพระธาตุดอยน้อย ต.จำป่าหวาย อ.เมือง จ.พะเยา
ได้ร่วมกันสร้างศาลาเป็นเงิน ๑๕,๕๐๐ บาท ซึ่งผู้เขียนเคยร่วมสร้างแท่นพระประธาน
และเคยเป็นเจ้าภาพทาสีองค์พระธาตุด้วย อันเป็นสถานที่ที่ ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย เคยมาบูรณะ
โดยมีรูปปั้นอยู่ตรงเชิงบันไดทางขึ้นพระธาตุ
วิหารวัดพระธาตุดอยน้อยอยู่ด้านล่าง ส่วนองค์พระธาตุอยู่ด้านบน
เมื่อได้เดินขึ้นบันไดไปบูชาองค์พระธาตุที่บรรจุพระเกศาธาต และพระบรมสารีริกธาตุส่วนนิ้วก้อยของพระพุทธเจ้าแล้วจึงได้ลาเจ้าอาวาส คือ ท่านอาจารย์ไพโรจน์ และ โยมกัลยา ผู้ประสานงาน
แล้วได้ออกเดินทางล่องลงมาที่ วัดสันปูสี ต. หัวเมือง อ.สอง จ.แพร่ เพื่อร่วมงานพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป
โดยมีรถของญาติโยมตามมาด้วยสิบกว่าคัน ส่วนที่เหลือแยกกลับกรุงเทพฯ
งานพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป ณ วัดสันปู่สี
สำหรับงานพิธีเททองครั้งนี้ เจ้าอาวาสคือ ท่านอาจารย์สุรศักดิ์ พร้อมกับโยมที่เป็นพี่ชายของ
คุณ นงเยาว์ ที่อยู่สุราษฎร์ธานี ได้นิมนต์ไว้ก่อนแล้ว จึงได้นัดหมายไว้ว่า จะเดินทางไปพระธาตุดอยตุงก่อน
แล้วจึงจะกลับมาร่วมพิธีในครั้งนี้ ท่านจึงได้นิมนต์ผู้เขียนจุดธูปเทียนและเททองในครั้งนี้ ด้วย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหน้าตัก ๖ ศอก มีชื่อว่า
พระพุทธชินบัญชรมหาศรีศากยมุนี
ก่อนพิธีได้เดินชมบริเวณวัด ซึ่งกำลังก่อสร้างพระเจดีย์ พระบรมธาตุชินบัญชร และพระอุโบสถก็กำลังสร้างอยู่ด้วย
ผู้เขียนจึงได้ชักชวนญาติโยมที่ร่วมเดินทางมาด้วย ร่วมทำบุญทุกอย่างเป็นเงิน ๓๓,๓๗๙ บาท
หลังจากทำพิธีเททองแล้ว จึงได้มอบพระพุทธรูปหน้าตัก ๓๐ นิ้ว ให้แก่ตัวแทน โรงเรียนวัดต้นหนุน
ที่ผู้เขียนเป็นเจ้าภาพ โดยให้พี่ชายของคุณนงเยาว์ ซึ่งเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนนี้มารับพระที่บ้านช่างเนียรไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
หลังจากเสร็จพิธีแล้ว ทางวัดได้จัดเลี้ยง อาหารแก่พวกเราทุกคน ส่วนใหญ่เดินทางกลับ กรุงเทพฯ สำหรับพวกเราชุดเดิมค้างคืนกันที่วัด
ตอนหัวค่ำมีชาวบ้านมานั่งคุยให้ฟังว่า วันนี้ช่างสุมไฟหุ่นต้นแบบ สุมยังไงก็ใช้งานไม่ได้ จนกระทั่งผู้เขียนโทรศัพท์มาแจ้งว่าเดินทางมาใกล้จะถึงวัดแล้ว
ขอให้ทางวัดจัดคนมารอนำทางเข้าวัดด้วย ปรากฏว่าหุ่นที่สุมไฟไว้จึงใช้งานได้ นี่เป็นเรื่องที่ชาวบ้านเขาเล่าให้ฟัง
((( โปรดติดตามตอนจบ ณ "ดอยวางบาตร" )))
|
|
|
|
Posts: 2041 |
Registered: 8/1/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
posted on 1/12/09 at 07:53 |
|
ดอยวางบาตร (ดอยผาด่าน) จังหวัดแพร่
ทิวทัศน์บนยอด "ดอยวางบาตร" เหมือนกับสวรรค์สร้างสรรเอาไว้ งดงามตามธรรมชาติจริงๆ
ตอนเช้าวันจันทร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๗ อันเป็นวันสำคัญที่สุด ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ ก็ว่าได้ นั่นก็คือได้พบ รอยวางบาตร
ของพระพุทธเจ้าบนยอดภูเขาสูงที่สุดในจังหวัดแพร่ ทั้งที่ ไม่คิดว่าจะได้พบ เนื่องจากไม่เคยมีใครพบเห็น มาก่อนนั่นเอง เพียงแต่รู้ตาม
ตำนานพระธาตุเชิงชุม เท่านั้นว่าเป็นพุทธประเพณีของพระพุทธ เจ้าทั้งหลาย ที่จะเสด็จมาบิณฑบาตที่เมืองแพร่
แล้วไปฉันที่พระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
แต่ใน ตำนานพระธาตุจอมแจ้ง อ.เมือง จ.แพร่ ได้กล่าวไว้ว่า
องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จมาถึงภูเขาลูกหนึ่ง อันตั้งอยู่ทางทิศใต้ แห่งโกศัยบุรี (เมืองแพร่) มีสัณฐานอันสดใสงดงาม เป็นที่พอพระหฤทัยมาก
พระองค์จึงได้ทรงวางบาตรของพระองค์ลงตั้งไว้บนยอดเขาลูกนั้น ซึ่งมีศิลาอันเกลี้ยงเกลาและงดงาม จึงเห็นปรากฏเป็นรอยก้นบาตรมาตราบเท่าทุกวันนี้
ปัจจุบันนี้เรียกว่า ดอยปูกวาง ดังนี้
ผู้เขียนพร้อมคณะได้ออกเดินทางจากวัดสันปูสีตั้งแต่เช้ามืด โดยพระจำเนียรและคณะได้ขอแยกตัวไปทางแม่สอดก่อน จึงคงเหลือแต่พวกเราเพียง ๗ - ๘ คน คือ
ผู้เขียน, ซ้ง, ปุ้ย, ทนงฤทธิ์, สำราญ, เล็ก, วิทยา, บุ๋ม ที่จะต้องผจญภัยชนิดไม่คิดไม่ฝันมาก่อน แต่ก็คุ้มค่าที่เสี่ยงภัยในครั้งนี้
ในคืนนั้นพวกเรานอนหลับกันสบายดี แต่ผู้เขียนได้ครุ่นคิดถึงการขึ้น ดอยวางบาตร
ที่ได้ตกค้างมาหลายปีแล้ว ก่อนนอนจึงได้ตั้งจิตคิดว่า ขอให้ได้พบคนที่จะนำทางไปดอยวางบาตรเถิด พอวันรุ่งขึ้นจึงออกมาจากวัดได้แค่ครึ่งทาง
พี่ชายของคุณนงเยาว์ได้ขับรถมอเตอร์ไซค์มานำ ทางจนถึงถนนใหญ่และมอบข้าวกล่องสำหรับมื้อเช้าไว้ให้ ซึ่งพวกเราทุกคนรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่ง ทั้งๆ
ที่มิได้บอกให้จัดเตรียมไว้เลย เกิดจากน้ำใจไมตรีที่ได้มอบให้แก่พวกเราทุกคน
และด้วยข้าวกล่องชุดนี้นี่แหละ จึงเป็น เหตุสำคัญที่สุด คือหลังจากเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง แพร่แล้วได้แวะฉันเช้าในร้านอาหาร
ส่วนข้าวกล่องนั้นเก็บไว้เป็นเสบียงในมื้อกลางวัน จากนั้นว่าจะไปหาข้อมูลที่วัดพระธาตุจอมแจ้ง แต่ ปรากฏว่า ท่านพระครูอุดมขันติคุณ เจ้าอาวาส องค์เดิม ซึ่งเคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับดอยวางบาตรได้มรณภาพไปแล้ว
ภาพยอดเขาที่เห็นด้านซ้ายมือ นั่นคือ "ดอยวางบาตร" จะเห็น "รอยเว้า" เหมือนรอยวางบาตรได้ชัดเจน
ท่ามกลางอากาศในยามเช้า จะเห็นลำแสงกระจายอยู่หลังก้อนเมฆ
ผู้เขียนถึงกับอึ้งมืดแปดด้าน ไม่รู้จะไปตั้งต้นที่ไหนดี จึงบอกให้ไปทางพระธาตุดอยเล็งก็แล้วกัน เพราะปีก่อนโน้นเคยขึ้นไปบนพระธาตุ ซึ่งอยู่บนยอดเขาสูง
จะสามารถมองเห็นดอยวางบาตรได้ ในขณะที่รถวิ่งผ่านไปทางพระธาตุช่อแฮ เมื่อเลยไปได้สักครู่ ผู้เขียนมองไปทาง หน้ารถเห็นท้องฟ้ายามเช้า
มีก้อนเมฆบังพระอาทิตย์พอดี ลำแสงพุ่งกระจายออกมาเป็นรัศมีสวยงาม จึงบอกให้จอดรถเพื่อถ่ายรูปกัน
ในระหว่างทางได้พบกับชายสูงวัยคนนี้โดยบังเอิญ จึงเป็นกุญแจให้ได้พบ "ดอยวางบาตร" ในที่สุด
ในระหว่างที่รถหยุดข้างถนนนั้น มีชายคนหนึ่งอายุประมาณ ๗๐ ปี ขับมอเตอร์ไซค์ผ่านมาพอดี จึงได้โบกขอให้หยุด เพื่อถามทางไปดอย วางบาตร
โยมคนนี้ใส่เสื้อม่อฮ่อมแบบชาวเหนือ ทั่วไป ผิวขาว คางเหลี่ยม รูปร่างผอมเกร็ง แต่ ดูแข็งแรงได้บอกว่า ไปทางดอยเล็งไม่ได้ต้องย้อนกลับไปที่ตลาด
แล้วเลี้ยวขวาไปบ้านหนองแซม
จากนั้นตรงไปที่บ้านแม่ลัวะ แล้วให้ไปถามชาวบ้านที่บ้านแม่ลัวะ เขาจะรู้จักทางไปดอยวางบาตรดี ขณะที่โยมให้ข้อมูลอยู่นั้น ซึ่งยังนั่งอยู่บน
รถเครื่องแบบผู้หญิง ซ้ง ซึ่งกำลังบันทึกภาพวีดีโออยู่ไม่สามารถที่จะบันทึกภาพของโยมคนนี้ไว้ได้
เนื่องจากกดปุ่มบันทึกไม่ลง ทั้งที่กล้องนี้ได้บันทึกภาพหลายวันแล้ว น่าจะยังใช้ได้เป็นปกติดี
แม้กระทั่งตอนที่บันทึกภาพก้อนเมฆบังพระอาทิตย์ แล้วแพนกล้องไปทางดอยวางบาตร ก็ยังสามารถบันทึกภาพได้ตลอดเวลา แต่พอหันกล้องวีดีโอมาทางโยมคนนี้
ปรากฏว่ากดปุ่มค้าง ไม่สามารถจะกดลงไปได้ ซึ่งผู้เขียนก็แปลกใจที่ เห็นซ้งกดเทปค้างอยู่เช่นนั้น ส่วน บุ๋ม
เป็นผู้ถ่ายภาพนิ่งก็ไม่สามารถบันทึกภาพด้านหน้าไว้ได้เช่นกันได้แต่ภาพด้านหลัง ซึ่งพอจะมองเห็นเลขทะเบียนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ได้ในระยะไกล
เมื่อผู้เขียนคะยั้นคะยอขอให้โยมช่วยนำทางไปหน่อย เพราะถ้าไปไกลๆ แล้วจะหาคนนำทางได้ยาก ตาลุงคนนี้บอกว่า...
ไปเถอะ..เดี๋ยวก็จะมีคนนำทางเอง..!
แล้วแกก็ขี่รถเครื่องออกไป พวกเราก็จำใจต้องย้อนกลับมาตามทางที่แกบอกไว้ พอจะถึงบ้านลัวะเป็นทางขึ้นดอยสูงไปเรื่อยๆ ประมาณ ๑๑ ก.ม.
ที่นี่เป็นหมู่บ้านที่อยู่บนเขาสูงและไกล มาก แต่ก็มีไฟฟ้าใช้เพียงหมู่บ้านเดียว ตอนแรก ว่าจะไปถามข้อมูลจากพระที่วัด
แต่เมื่อพบคนเฒ่าคนแก่หลายคนนั่งคุยอยู่ จึงแวะเข้าไปถาม ไม่มีคนรู้จักดอยวางบาตรเลย
พวกเราถึงกับงงไปเลย อะไร..ขับรถขึ้นมาถึงบนยอดดอยแล้ว ยังไม่ได้เรื่องอะไรอีกเหรอ ผู้เขียนจึงให้ซ้งย้อนภาพวีดีโอที่ถ่ายไว้เมื่อเช้าให้ ดูจึงรู้
ต่างร้องบอกกันว่า ที่นี่เขาเรียกว่า ผาด่าน อ้าว..แล้วกัน
นี่..ชาวบ้านที่นี่ไม่รู้จักดอยวางบาตรเลยหรือ ชื่อนี้ได้หายไปหมดแล้ว กลับกลายมา เป็น ดอยผาด่าน
ไปนั่น แล้วเขาบอกให้ไปถาม อบต. ชื่อ นายวงศ์วาด กอบคำ อายุประมาณ ๔๐ ปีเศษ เป็นทั้งประธาน อบต.
และไกด์นำเที่ยวประจำหมู่บ้านอีกด้วย
ก่อนจะขึ้นดอยวางบาตร (ดอยผาด่าน) ชาวบ้านจะต้องเข้าไปเซ่นไหว้ที่ศาลเจ้าพ่อผาด่านก่อนทุกครั้ง
โดยที่บ้านจะเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านได้เก็บของโบราณของ ชาวลัวะ ไว้ ในขณะที่พวก เราไปถึง อบต.
กำลังนั่งกินข้าวอยู่บนบ้าน จึงขึ้นไปสอบถามขอให้ช่วยนำทาง ตามปกติตอนนี้ จะไปทำไร่แล้ว แต่วันนี้รู้สึกขี้เกียจยังไม่อยากไปที่ดอยนั่นเป็นที่ตั้งของ
"ศาลเจ้าพ่อผาด่าน" เลยขึ้นไปจะเป็น ถ้ำวิหาร และ ผาบ่อง
แต่ถ้าจะเลย ไปนั่นจะต้องหาพรานป่าช่วยนำทางอีกที เพราะพรานคนนี้เคยขึ้นไปล่าสัตว์ข้างบนอยู่เสมอ
จึงให้ อบต.นั่งรถมาด้วย ระหว่างที่รถวิ่งมาจะผ่าน น้ำออกฮู เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของ ที่นี่
แต่เอาไว้ตอนขากลับ รถวิ่งไปตามเส้นทางธรรมชาติเข้าไปในป่าลึก ระหว่างทางเห็นต้นไม้ ถูกโค่นล้มลงมาขวางทาง รู้สึกว่าเพิ่งจะมีคนตัด ลงมาไม่นาน
จึงต้องจอดรถเพื่อนำกิ่งไม้ออก ทันใดนั้นได้เห็นคนที่ตัดวิ่งลงมาจากเชิงเขาริมทางรีบนำกิ่งไม้ออกไปทันที
ผู้เขียนได้พบกับคุณวิวัฒน์ (คนยืนกลาง) โดยบังเอิญ ซึ่งมีคุณวงศ์วาด (อบต.) ยืนอยู่ใกล้ๆ
ฝ่าย อบต. ได้เห็นชายคนนี้ ซึ่งมีอายุประมาณ ๓๐ ปีเศษ แล้วก็อมยิ้ม เมื่อผู้เขียนถาม เขาจึงสารภาพว่า ความจริงเขาไม่รู้ทางมากนักหรอก
แต่ระหว่างที่นั่งรถได้นึกถึงนายพรานคนนี้แหละ ซึ่งมีชื่อว่า นายวิวัฒน์ ประดิษฐ์บุญ ถ้าหากได้
พบเขาก็สามารถนำทางไปบนยอดดอยนี้ได้ พวกเราถึงกับโล่งอกกันไปตามๆ กัน
จะว่าเสี่ยงก็เสี่ยงเหมือนกัน หากไม่เจอพรานป่าคนนี้แล้วเหตุการณ์จะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ ด้วยเหตุที่เกิดอย่างพลิกผันเช่นนี้ พวกเราจึงได้
คนนำทางโดยไม่ได้นัดหมาย ดังที่ตาลุงคนนั้นบอกไว้ทุกประการ นายพรานคนนี้ก็เหมือนกับ คนอื่นๆ เมื่อถามว่ารู้จักดอยวางบาตรไหม แกก็ งงเหมือนกัน
ครั้นได้ย้อนภาพในวีดีโอให้ดูแล้ว ซึ่งเป็นยอดดอยลูกเดียวที่สูงเด่น แต่ส่วนปลายยอดจะเว้าคล้ายกับก้นบาตร ที่ชาวบ้านนี้เรียกกันว่า ผาบ่อง นั่นเอง
ยอดดอยวางบาตรที่มีส่วนเว้านี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า "ผาบ่อง"
ในตอนที่พวกเราย้อนเล่าเรื่องของ ตาลุง คนที่บอกทางนั้น ทั้ง อบต. และพรานป่า ถึงกับร้องอุทานว่า
ชายคนนี้คงไม่ใช่คนแน่ เพราะเขา อยู่ที่นี่มาตั้งแต่กำเนิด แม้แต่ยายของเขาซึ่งมีอายุ เกือบ ๙๐ ปี แล้วยังไม่เคยเอ่ยชื่อดอยวางบาตรนี้เลย ดอยนี้เขาเรียกว่า
ดอยผาด่าน มานานแล้ว และตาลุงคนนี้ก็อยู่ถึงตัวเมืองแพร่ จะรู้ได้ดีกว่าพวกเขาได้อย่างไร
แต่จะรู้ดีหรือไม่ก็ตาม เมื่อพวกเราได้เล่าต่อไปอีกว่า พอจะถ่ายรูปด้านหน้าก็ไม่ติด บันทึกวีดีโอก็กดปุ่มค้าง เสียดายที่ไม่ได้สังเกตว่า
ตาลุงคนนี้ตากระพริบหรือไม่ เพราะถ้าเป็นคนต้อง กระพริบตา แต่ก็ผ่านไปเถอะ ถึงอย่างไรเราก็ได้พบคนนำทางทั้งสองคน ตามที่แกบอกไว้แล้ว
เมื่อได้รู้เป้าหมายกันแล้ว คุณวิวัฒน์ก็รีบขับรถมอเตอร์ไซค์ของตนนำทางไปทันที โดยมี สุนัข ๒ ตัวที่มาด้วยวิ่งไล่ตามไป เป็นอันว่าตั้ง
ใจจะมาตัดฟืนกลับบ้าน แล้วก็ตัดตรงอื่นก็ไม่ตัด ทั้งที่ป่าไม้ออกจะกว้าง ดันเข้ามาตัดในบริเวณ ที่รถของเราจะวิ่งผ่าน และทำไมต้องตัดให้ล้มวางทางเอาไว้ด้วย
นี่ก็เป็นประเด็นที่ฝากเอาไว้ให้ท่านผู้อ่านช่วยวินิจฉัยด้วย
ส่วนพวกเราไม่มีเวลาแล้ว เพราะจะต้องรีบติดตามต่อไป ระยะทางจากหมู่บ้านเข้ามาสุดทางที่รถจะวิ่งต่อไปได้ ใช้เวลาประมาณ ๔๐ นาที
จากนั้นก็จอดรถไว้แล้วนำเครื่องบูชาและเสบียงที่เตรียมไว้ เดินไปตามทางเท้าระยะทาง ๒ กิโล เมตร จะมองเห็นยอดดอยอีกลูกหนึ่งชื่อ ผาแดง ซึ่งมีลักษณะคล้ายหัวช้างที่อยู่ตรงข้ามกับ ผาด่าน
หลังอาหารกลางวันกันแล้ว พวกเราก็เดินต่อไปขึ้นที่ "ถ้ำวิหาร"
ในระหว่างทางแลเห็นดอกรักป่ามีสีแดงสวยงามมาก จนถึง ศาลเจ้าพ่อผาด่าน ตั้งอยู่เชิงเขา
เป็นศาลที่ชาวบ้านทำขึ้นแบบง่ายๆ คือมีแค่เสาไม้และหลังคาสังกะสีเก่าๆ จึงได้นำผ้าทองผูก ถวายและกราบไหว้บูชาเพื่อขอพรจากท่าน ชาว บ้านที่นี่นับถือมาก
หากมีไฟไหม้ครั้งใด ป่าไม้จะถูกไฟไหม้หมด แต่ศาลของท่านก็ไม่เป็นไร ในตอนกลับจึงได้มอบเงินไว้บูรณะ ๑,๐๐๐
บาท
จากนั้นเดินขึ้นเขาสูงชันไปเรื่อยๆ จนมาถึงหน้าถ้ำเล็กๆ แล้วเดินเลยไปอีกทางขวาเป็นทางชัน
ซึ่งเดิมผู้เขียนนึกว่านายพรานจะนำมาที่วางบาตรตามที่ตกลงกันไว้ แต่พอไปถึงกลายเป็นก้อนหินใหญ่แบนเรียบคล้ายกับพระแท่นที่ ประทับนั่ง
ลักษณะเป็นแท่นหินเรียบขนาดใหญ่ อยู่ริมหน้าผาสูงสุด
อีกทั้งบริเวณนี้โดยรอบเหมือนมีคนขึ้นมาจัดเป็นสวนหินอย่างมีระเบียบสวยงาม ทั้งๆ ที่ความจริงไม่มีใครมาทำไว้หรอก เป็นธรรมชาติ
หรือพุทธานุภาพที่จัดสรรไว้นั่นเอง คือรอบๆ แท่นหินนี้จะมีต้นจันทร์ผาขึ้นประปราย และมีชะง่อนหินแหลมเป็นฉากอยู่เบื้องหลังพระแท่น
ตามที่นิยมตกแต่งก้อนหินไว้ในสวนหย่อม
ระยะเวลาการเดินทางจากจุดเริ่มต้น เมื่อเวลา ๐๙.๔๕ น. ถึงที่นี่เป็นเวลา ๑๑.๔๕ น. ใช้ เวลาเดิน ๒ ชั่วโมงเต็ม ก่อนที่จะกราบไหว้ จึง
ได้ฉันเพลกันก่อนด้วยข้าวกล่องที่โยมครูจัดให้มาเมื่อตอนเช้ามืดนั่นแหละ แล้วก็ยังมีเหลือพอที่จะเฉลี่ยให้ อบต. และนายพราน พร้อมกับสุนัข อีก ๒ ตัว
ที่ร่วมเดินทางมาด้วย
ผู้เขียนนั่งฉันข้าวกล่องข้างโขดหินร่วมกับคณะ โดยมีเจ้าสุนัข ๒ ตัวร่วมวงด้วย
เป็นอันว่า พวกเราทั้งพระและฆราวาสกับสุนัขรวมเป็น ๑๒ ชีวิต ต่างก็รอดตายจากเสบียงอาหารที่นำติดตัวมาด้วยนี้ ถึงแม้จะหกไปบ้างในระหว่างเดินขึ้นเขา
เพราะเป็นทางลาดชันและลื่นมาก แต่ก็คงมีปริมาณพอที่จะประทัง ชีวิตทั้งคนและสัตว์ในสภาวะคับขันเช่นนี้ได้
เมื่อเรียบร้อยแล้วได้เดินขึ้นไปสำรวจโดยรอบ พร้อมกับบอกให้ซ้งกับบุ๋มบันทึกวีดีโอและถ่ายภาพนิ่งไว้ทุกแง่ทุกมุม ท่ามกลางบรรยากาศที่สดชื่นแจ่มใส
พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าปอดลึกๆ แล้วจินตนาการนึกถึงภาพ ตอนที่องค์สมเด็จ พระประทีปแก้วขณะประทับนั่งบนแท่นหินนี้ ซึ่งเหมือนกับปูลาดด้วยผ้าอาสนะ
พระองค์หัน พระพักตร์เล็งดูโลกได้อย่างชัดเจน
หลังจากพักหายเหนื่อย แล้วก็ช่วยกันทำความสะอาด พร้อมกับทำพิธีบวงสรวง ณ พระแท่นพุทธบัลลังก์
เพราะถ้าหากเรายืนเบื้องหลังพระแท่นนี้ จะเห็นทิวเขาสลับซับซ้อนที่อยู่ต่ำกว่าไกลออกไป โดยไม่มีต้นไม้มาบดบังทัศนียภาพตรงนี้เลย
หลังจากทำพิธีสักการบูชาพระแท่นที่ประทับและถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกแล้ว ผู้เขียนจึงได้ถามนายพรานอีกว่า รอยวางบาตรอยู่ที่ไหน..?
ซึ่งความจริงเขาไม่รู้หรอก แต่ทั้งคู่ก็ไม่ยอมบอกความจริง คือเขาไม่พูดอะไรเลย ทำให้พวกเราเข้าใจคิดว่าเขารู้ เขาได้พาเดินย้อนกลับ
มาทางเดิมอีกเล็กน้อย แล้วนำไปที่ถ้ำแห่งหนึ่งที่ เรียกว่า ถ้ำวิหาร ภายในถ้ำกว้างใหญ่แต่ไม่ลึกมาก
แสงสว่างส่องเข้าไปถึง มองเห็นด้านในถ้ำ มีแท่นคล้ายที่ประดิษฐานพระพุทธรูปในวิหาร และมีหินงอกหินย้อยอยู่ด้านบนทั้งสองด้านคล้าย กับม่าน
ถ้ายืนหน้าถ้ำจะมองเห็นอุตรดิตถ์ได้
ภายใน "ถ้ำวิหาร" และยอดเขา "ผาด่าน" หรือ "ผาบ่อง" นั่นเอง
พวกเราได้ชมถ้ำกันพอสมควรแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้พบในสิ่งที่ปรารถนา ผู้เขียนจึงคาดคั้น นายพรานต่อไปอีก แล้วรอยวางบาตรละไปทางไหนกันแน่
เพราะตั้งแต่เริ่มเดินขึ้นมา เราบอกให้เขานำมาที่รอยวางบาตร จนบัดนี้เราก็ยังไม่ได้พบเห็นตามที่ตั้งใจ ในใจคิดว่าคงจะหมดหวังกันเสียแล้ว
เพราะเห็นเขาเงียบไป เมื่อสอบถามจึง ได้รู้ว่าพรานป่าเคยมาล่าสัตว์ถึงแค่นี้เอง ยังไม่ เคยขึ้นไปถึงบนยอดเขา และไม่รู้จักที่วางบาตรเลย
ในตอนแรกพวกเรานึกว่าเขารู้ ส่วน อบต. นั้น ยังไม่เคยขึ้นมาข้างบนนี้เลย ผู้เขียนยังไม่ละความพยายาม จึงได้ซักถามต่อไปว่า
ตามภาพวีดีโอที่ให้ดูก่อนแล้ว ยอดเขานี้มีส่วนเว้าเข้าไป แล้วส่วนที่เว้าอยู่ตรงไหนละ ขอให้เขานำขึ้นไปตรงนั้นก็แล้วกัน
นายพราน และ อบต. จึงได้นำพวกเราเดินย้อนกลับไปอีก พอมาถึงจุดที่พอจะมองเห็น ส่วนเว้าของยอดเขาได้ ทั้งสองคนบอกให้พวกเรารออยู่แถวนี้
จะขอขึ้นไปสำรวจก่อน แล้วก็พากันปีนป่ายไปตามโขดหินขึ้นไปอีก ซึ่งเป็น การยากสำหรับพวกเรา แม้แต่สุนัขที่ตามนาย พรานมาด้วย
มันก็เห่าหอนเสียงดังลั่นป่าอยู่ด้าน ล่าง พยายามจะปีนตามเจ้าของไปให้ได้ ใช้ปากกัดตามซอกหินและใช้เท้าตะกุยจนเลือดไหล
เมื่อโยมสองคนเดินขึ้นไปสักครู่หนึ่งนั้น ผู้เขียนก็คิดในใจว่า แล้วเขาจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น รอยวางบาตร ถ้าหากเราไม่ปีนเขาตามไป
คงจะมาเสียเวลาเป็นแน่ ขึ้นมาสูงถึงขนาดนี้แล้ว ถ้าหาไม่เจอคงจะเสียดายแย่ คิดดังนี้แล้วจึงรีบปีนตามขึ้นไป โดยบอกพวกเราให้รออยู่ก่อน
ครั้นปีนป่ายขึ้นไปถึงบนยอดสุดแล้วได้พบกับโยมสองคน ต่างก็พากันอุทานด้วยความตกใจว่า หลวงพ่อขึ้นมาได้อย่างไร ผู้เขียนได้แต่ มองหน้าแล้วยิ้มๆ
เพราะเรื่องปีนป่ายนี้ถนัดอยู่ แล้ว เขาบอกว่าได้เดินค้นหาไปทั่วแล้วแต่ก็ยัง ไม่พบ ผู้เขียนจึงย้อนถามว่า แล้วตรงส่วนเว้าละอยู่ที่ไหน
เขาชี้มือบอกให้หันหลังกลับลงไป
คุณซ้งได้ปีนขึ้นไปยอดสูงสุด เพื่อเก็บภาพบริเวณ "รอยวางบาตร" ให้เห็นได้อย่างชัดเจน
เพียงเท่านี้แหละ ที่ผู้เขียนหันหน้ากลับไปมอง พลันก็ได้เห็นรอยวางบาตรขนาดใหญ่อยู่ริมหน้าผา เส้นผ่าศูนย์กลาง ๖๒ ซ.ม. ลึก ๑๒ ซ.ม.
จึงรีบตะโกนด้วยความดีใจ บอกให้พวกเรารีบ ปีนขึ้นมาทันที ทุกคนถึงกับหายเหนื่อย เมื่อได้ พบในสิ่งที่สูงค่า ซึ่งมีค่าสูงจริงๆ ชนิดว่าอยู่เหนือ
ยอดสุดแห่งภูเขาลูกนี้ โดยเฉพาะใกล้ๆ ที่วาง บาตร จะเป็นยอดหินแหลมคล้ายหงอนพญานาค หรือถ้ามองไกลๆ เหมือนกับยอดพระเจดีย์ก็ได้
พบรอยพระพุทธบาทอยู่ใกล้ๆ บริเวณนั้น ส่วนยอดหินที่แหลมคมนั้น มองดูคล้ายหงอนพญานาค
นับว่าพระพุทธองค์ได้ทรงเลือกสถานที่วางบาตรได้อย่างเหมาะสมที่สุด คืออยู่ตรงส่วนเว้าของยอดเขา แต่ไม่ได้อยู่ตรงกลางนะ อยู่แค่ใกล้ส่วนปลายสุดเท่านั้น
ขอให้ดูตำแหน่งตามรูปภาพก็แล้วกัน ในขณะนั้นก็พบ รอยพระพุทธ บาทเบื้องขวา กว้าง ๒๑ ซ.ม. ยาว ๖๓ ซ.ม. อยู่
ใกล้บริเวณนี้ด้วย
รวมความว่าการขึ้นมาบนยอดเขานี้ ได้มีโอกาสพบเกินจากตำนาน คือนอกจากรอยวางบาตรแล้ว ยังได้พบรอยพระพุทธบาทและพระพุทธบัลลังก์อีกด้วย
ซึ่งบนยอดสุดนี้ไม่เคยมีใคร ได้พบเห็นมาก่อน รวมทั้งพรานป่าคนนี้ด้วย ทั้งที่ขึ้นมาล่าเลียงผาอยู่เสมอ แต่ก็ไม่เคยขึ้นมาถึง ส่วนสุดของภูเขานี้
จึงถือว่าวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๗ เป็นวันประวัติศาสตร์ ได้แนะนำให้ อบต. ชักชวนชาวบ้านขึ้นมาริเริ่มสรงน้ำให้เกิดเป็นประเพณีในวันที่ ๑๒ ของทุกปี
พร้อมอุปมาให้ข้อคิดว่า ชาวบ้านเหล่านี้ได้แต่กราบไหว้ผู้ที่เฝ้าบ้าน แต่ไม่เคยรู้จักเจ้าของบ้านเลย พอพูดเช่นนี้ทั้งสองคนก็เข้าใจทันที
หมายถึงชาวบ้านได้แต่กราบไหว้ เจ้าพ่อผาด่าน
ซึ่งเป็นผู้อารักขาดอยวางบาตรแห่งนี้ อันเป็นของพระพุทธเจ้านั่นเอง ต่อจากนั้นจึงได้ทำพิธีบวงสรวง ถือเป็นการฉลองสมโภชในการค้นพบสิ่งที่ประเสริฐสุด
นับว่าเป็นครั้งแรกในพุทธกาลนี้ ที่จะได้ประกาศพระเกียรติคุณให้ขจรขจายต่อไป
ทำพิธีบวงสรวงและอธิษฐานเสี่ยงทาย ท่ามกลางเมฆหมอกที่เข้ามาปิดบังพระอาทิตย์เอาไว้
ในขณะทำพิธีบวงสรวง ข้างบนจะไม่มีลมพัดเลยทั้งๆ ที่อยู่บนยอดเขา อีกทั้งบริเวณรอยวางบาตรก็ร่มเย็น เนื่องจากมียอดหินพญานาคบังไว้พอดี
อีกทั้งมีก้อนเมฆมาปิดบังพระอาทิตย์ ไว้ด้วย จึงช่วยให้หายเหน็ดเหนื่อย แต่ข้างบนไม่ค่อยมีที่ยืนมากนัก ต้องยืนเกาะชะง่อนหินไว้ มิฉะนั้นจะตกไปข้างล่าง
ด้านบนสามารถมอง เห็นเทือกเขาที่กั้นระหว่างแพร่กับอุตรดิตถ์ได้
เมื่อทำพิธีและบันทึกภาพไว้เรียบร้อยแล้ว ต่างก็เดินลงมาจากยอดเขาทันที เนื่องจากใกล้เวลาเย็นแล้ว โดยนายพรานได้เอามีดตัดปลายไม้ ไผ่ให้แหลมคม
แล้วเขี่ยดินให้เป็นขั้นบันได เพื่อให้ผู้เขียนได้เดินลงมา แต่บางครั้งก็พลาดท่าเกือบ ตกเขา เนื่องจากลื่นไถล โชคดีที่จับต้นไผ่ไว้ทัน
ไม่เช่นนั้นคงเหลือแต่ชื่อแล้วละ
ตามธรรมดาการขึ้นเขาลงเขา เขาจะทำทางวกไปวนมา เพื่อไม่ให้ชันเกินไป แต่ด้วยเวลาที่มีจำกัด เขาได้พาเดินลงมาตรงๆ ถ้าเสียหลัก ล้มลงเมื่อใด
เมื่อนั้นก็ต้องกลิ้งลงไปเป็นลูกขนุน อย่างแน่นอน พวกเราเดินจนมาถึงเชิงเขา พอที่จะหันกลับมาแหงนขึ้นไปดูบนยอดเขา
จะมองเห็นผ้าธงบนแท่นหินที่ประทับซึ่งอยู่ไกลออกไป และผ้าสีทองผูกไว้ที่ยอดหินพญานาค จะเห็นว่าอยู่ใกล้เข้ามาหน่อย แต่สูงกว่าแท่นที่ประทับนั่ง
จึงให้พวกเราบันทึกภาพตำแหน่งเอาไว้ ทั้งสองแห่ง แล้วนั่งอุทิศส่วนกุศลที่ริมทางเดิน
จากนั้นเดินมาที่รถและนั่งรถย้อนกลับมาทางเดิมที่จอดรถไว้แล้วเดินลงมาตามไหล่เขา จะเห็นน้ำผุดขึ้นมาจากดิน มีน้ำใสเป็นแอ่งไม่ใหญ่มาก
จากนั้นเดินขึ้นเนินไปเล็กน้อย จะพบถ้ำไม่ลึก มาก ด้านหน้าถ้ำมีแอ่งหินคล้ายพระพุทธบาท
เมื่อเดินกลับมาที่รถได้มอบหนังสือและพระพุทธรูปปางประทับพระบาทให้เป็นที่ระลึก อบต.บอกว่าจะจัดงานไหว้รอยวางบาตร วันที่ ๑๒ มกราคม เป็นประจำทุกปี
เนื่องจากเป็นวันที่ค้นพบนั่นเองแล้วได้ยืนถ่ายภาพร่วมกัน ปรากฏว่านายพรานนั่งคุกเข่า คือไม่ยอมยืนเหมือนกับคนอื่น นับว่าเหตุการณ์เหล่านี้ คงจะ
ช่วยกล่อมเกลาจิตใจของเขาได้ดีอย่างเร็วพลัน
หลังจากเดินลงมายอดเขาแล้ว พวกเราร่วมกันอุทิศแผ่ส่วนกุศล พร้อมกับมอบ "วัตถุมงคล" เป็นที่ระลึก
แน่ละ..ทุกคนที่ได้ร่วมเหตุการณ์ในครั้งนั้น คงไม่ลืมภาพแห่งความทรงจำ ถ้าจะลำดับเรื่องราวที่ผ่านมา คงไม่นึกไม่ฝันว่าจะขึ้นไปพบ
รอยวางบาตรได้สมประสงค์ ทั้งนี้ อาจจะเป็น อานุภาพของเจ้าพ่อผาด่าน จึงดลใจให้พบตาลุง คนนั้น ในขณะที่มีแสงกระจายบนท้องฟ้า แล้วได้มาพบ อบต.
กับนายพรานโดยบังเอิญ
นับว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อทั้งนั้น แม้ข้าวกล่องก็เป็นอาหารกลางวันได้ทุกคน มีเหลือพอ แม้กระทั่งสุนัข ๒ ตัว ทุกอย่างลงตัวไปหมด
อย่างไม่น่าเป็นไปได้แต่ก็เป็นไปแล้ว เพราะอะไรรู้ไหม สิ่งที่เป็นไปได้ประการสุดท้ายในขณะที่ เดินทางกลับ เป็นเวลาใกล้มืดแล้ว
ระหว่างทางที่มาถึงศาลเจ้าพ่อผาด่าน ปรากฏมีแสงฟ้าแลบ มาจากที่ไกล และมีฝนปรอยลงมาเล็กน้อย ซึ่งสังเกตได้ที่ด้านหน้ากระจกรถ
รถได้วิ่งมาถึงถนนใหญ่สายแพร่ - เด่นชัย มองเห็นน้ำเจิ่งนองเต็มถนน แสดงว่าฝนเพิ่งตกผ่านไปเมื่อสักครู่นี้เอง นับเป็นปรากฏการณ์พิเศษ นั่นก็คือ
ฝนตกนอกฤดูกาล เพราะในขณะนั้น ยังเป็นฤดูหนาว จึงคิดว่าเทวดาฟ้าดินท่านคงจะอนุโมทนาการกับพวกเรา
อันเป็นคณะแรกที่ได้ พบสถานที่แห่งนี้ ซึ่งซ่อนเร้นอยู่นานนับร้อยนับพันปีก็เป็นได้
สรุปการเดินทางตั้งแต่วันที่ ๔ - ๑๒ มกราคม ๒๕๔๗
หลังจากทำพิธีสมโภชกันแล้ว จะเห็นดอกไม้โปรยหลายหลากสีสวยงามภายใน "รอยวางบาตร"
จึงเป็นอันว่าการเดินทางกราบไหว้สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จได้เสร็จสิ้นไปทีละจังหวัด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยเฉพาะจังหวัดแพร่
ก็เพิ่งจะได้ครบถ้วนในปีนี้เอง ถือว่า ดอยวางบาตร เป็นสถานที่สุดท้าย ซึ่งต้องรอเวลามา นานหลายปี ทั้งที่มีข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑
เพิ่งจะมาพบในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ นี่เอง
สรุปการเดินทางครั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ ๔ - ๑๒ มกราคม ๒๕๔๗ นับตั้งแต่ลำพูน - แม่ฮ่องสอน - เชียงใหม่ - พะเยา - เชียงราย - แพร่ นับ สถานที่รวม ๔๗
แห่ง ได้ร่วมกันทำบุญเป็นเงิน ประมาณ ๒๐๕,๗๔๔ บาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกประมาณหมื่นกว่าบาท ฯ
*****************************
|
|
|
|
Posts: 2041 |
Registered: 8/1/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
posted on 3/1/19 at 17:05 |
|
|
|
|
Posts: 2041 |
Registered: 8/1/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
|
|
"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player
ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป
ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved
|
|
|
|