ตามรอยพระพุทธบาท

ความรู้เรื่อง..การตั้งครรภ์ ข้อเท็จจริงที่ควรทราบ คลอดเอง-ผ่าออก?
webmaster - 6/10/08 at 16:42

การตั้งครรภ์ ข้อเท็จจริงที่ควรทราบ คลอดเอง-ผ่าออก? อะไรคือความเสี่ยง


การตั้งครรภ์และการคลอด เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่การแพทย์

".......เมื่อไรที่ผมเห็นคำกล่าวนี้ซึ่งสั่งสอนมาแต่โบราณ ทำให้ผมอดคิดขึ้นมาไม่ได้ว่า เรานี้ช่างโชคดีหนอ และ ลูกเมียเรานี้ช่างโชคดีจริงๆ หนอ (ที่ผ่านช่วงธรรมชาติของการตั้งครรภ์และการคลอดมาได้) แม้ว่าตนเองจะเป็นแพทย์ และลูกคนสุดท้องจะได้ทำคลอดด้วยมือของตนเอง ก็ยังจำความรู้สึกตื่นเต้นได้ดี อย่าให้ความเป็นธรรมชาติ ต้องถูกบิดเบือนไปมากนัก อย่าเพิ่งคิดว่า เมื่อเราปล่อยไปตามธรรมชาติแล้ว จะไม่มีความเสี่ยงเลย และประการสำคัญคือ อย่าให้ธรรมชาติ ถูกเบี่ยงเบนไปทำให้เกิดความเสี่ยงมากชึ้น

การคลอดโดยธรรมชาติ คือธรรมชาติที่สุดแล้ว เป็นวิธีพื้นฐานที่สุดในการดำรงเผ่าพันธ์เรามานับล้าน ๆ ปี มาปัจจุบัน ด้วยวิทยาการก้าวหน้าขึ้น การคลอดธรรมชาติโดยมีคนช่วยมีความปลอดภัยสูง ผลดีต่อแม่และเด็กมากมาย แม้จะมีการพัฒนาวิธีการอื่นๆ มากมาย การคลอดโดยธรรมชาติ ในทางการแพทย์ ก็ยังดีที่สุด และปลอดภัยที่สุดเพราะผ่านการพิสูจน์มาแล้วนับล้านๆ ปี

แต่...ด้วยความคาดหวังของพ่อแม่ สังคม หรือด้วยปัจจัยอะไรก็แล้วแต่ ทำให้มีการเลือกที่จะผ่าตัดทำคลอดมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า การผ่าตัด ย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าธรรมชาติ ไม่ว่าจะกล่าวอ้างอย่างไร การผ่าคลอด ก็ยังมีความเสี่ยงที่แม่เด็กจะเสียชีวิต 3 เท่าเมื่อเทียบกับการคลอดโดยธรรมชาติอยู่ดี และเมื่อฝืนธรรมชาติ ...ก็ควรต้องมีการยอมรับสิ่งที่จะตามมา..ไม่ว่าจะผลข้างเคียง แม้ว่าเราจำใจจะต้องผ่า เพราะเกิดภาวะแทรกซ้อน ก็ตาม

คิดๆ ดู....เรากว่าจะเกิดมามีความเสี่ยงมากมาย ไหนจะตั้งแต่ตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสแท้ง และเมื่อการตั้งครรภ์ผ่านไป ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงอีก 8% ที่เรียกว่า "การตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง" โดยเฉพาะถ้าแม่มีอายุมาก ก็จะประสบปัญหา "ความเสี่ยงในการคลอดของแม่อายุมาก" เพิ่มกว่าปกติ พอเกิดมาแล้ว โอกาสที่จะมีกรรมพันธ์บกพร่องอีกประมาณ 1 ใน 1000 รวมๆ แล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า เราที่ครบ32สมองปกติ และเกิดจากการคลอดปกติที่ไร้ปัญหาเลย(ไม่ต้องผ่า) นี้เกิดมาได้เป็น หนึ่งในประมาณ 900 กว่าคน จาก 1000 การตั้งครรภ์

แต่...ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าความเสี่ยงทั้งหลาย จากการคลอดเอง ไม่ว่าจะปกติ หรือไม่ปกติ ก็ตาม ก็ยังเทียบไม่ได้ กับการอยู่ในสังคมที่มีความเสี่ยง เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ เสี่ยงที่จะเกิดการเป็นมะเร็งหรือเจ็บป่วยโรคร้ายแรงอื่น ๆ เสี่ยงที่ลูกเราจะโดนฆาตกรรม หรือเสียผู้เสียคน คิดดูเล่น ๆ สงกรานต์ปีนี้(แค่ 10วัน) มีคนตายกี่คน เมื่อเทียบกับการมีแม่ที่ตายคลอด ก็พอจะเห็นตัวอย่างได้

อะไรคือการผ่าท้องคลอด caesarian section

บางครั้ง คุณอาจเคยได้ยินหมอกล่าวกับพยาบาลว่า "เคสนี้สงสัยหัวติด น่าจะต้อง ซีซาร์ด่วน" ลองดูซิว่า คุณจะเข้าใจว่าอะไรบ้าง "หัวติด" หมายถึงความกว้างของหัวเด็ก มากกว่าความกว้างของอุ้งเชิงกราน หรือมีอะไรไปกันไม่ให้เด็กเอาหัวลงคลอดผ่านมาทางช่องคลอดปกติ (ซึ่งภาวะหัวติดนี้ เป็นภาวะที่ทำให้แพทย์ตัดสินใจทำคลอดด้วยวิธีการผ่าออกมากที่สุด)

"ซีซาร์" ที่แพทย์หรือพยาบาลชอบใช้กัน ก็มาจากคำว่า "ซีซาเรียน เซ็คชั่น"ซึ่งก็คือการผ่าเอาเด็กออกทางหน้าท้อง ทำไมต้องเป็นซีซาร์ จากหลักฐานและตำนานต่างๆ เชื่อกันว่า จักรพรรดิโรมันผู้ยิ่งใหญ่ คือ จูเลียส ซีซาร์ ถือกำเนิดมาด้วยวิธีนี้ (และมีนิยายเล่าขานว่า ตัวแม่ของเขาก็ปลอดภัย! อาจเป็นเลื่องเล่าลือ เพราะแค่เมื่อสมัย 100 กว่าปีมานี้ การผ่าคลอดก็เสี่ยงที่แม่จะตายถึง 80 กว่า % แล้ว ไม่ต้องพูดถึงสมัยสองพันกว่าปี)

แต่ข้อมูลที่น่าจะอธิบายได้ดีกว่า คือแม่ของซีซาร์ เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เรียกว่า มาร์ฟาน(marfan's syndrome) โรคกรรมพันธ์ซึ่งจะทำให้หญิงที่คลอดบุตรนั้นเสียชีวิตระหว่างคลอดบุตร ทำให้เชื่อว่า ซีซาร์ ถูกผ่าเอาออกมาจากท้องแม่ ก่อนที่แม่จะตายไป หรือเมื่อแม่เพิ่งจะตายไป

ข้อบ่งชี้ การตัดสินใจในการผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้อง

การดำเนินไปของการคลอดหยุดชะงัก(เด็กไม่ลงมาอีกหลังจากลงต่ำมาระยะหนึ่ง)

เด็กมีอาการของการขาดออกซิเจน(fetal distress)

แม่มีปัญหาเช่น การตั้งครรภ์เป็นพิษ

เด็กแฝดหลายคน

ความผิดปกติของท่าการคลอดเช่น เด็กเอาเท้าลง

ใช้ยากระตุ้นคลอด หรือใช้เครื่องมือดึงเด็กไม่ออก

เด็กตัวใหญ่เกินไป

รกเกาะต่ำ (placenta previa) หรือรกลอกก่อนกำหนด

การติดเชื้อในมดลูก หรือช่องคลอดบางอย่าง

แม่ที่เคยมีการผ่าคลอดมาแล้ว


สำหรับแม่ที่มีการผ่าคลอดมาแล้ว เหตุผลที่ว่าทำไมต้องผ่าอีก เพราะในสมัยก่อน การผ่าคลอด จะทำในแนวตั้ง และกรีดเอากล้ามเนื้อของมดลูกทำให้มดลูกขาดความแข็งแรง เสี่ยงต่อการที่พอเบ่งเต็มที่ในการคลอดแล้วจะมดลูกแตกได้ แต่ปัจจุบัน เรามักผ่าในแนวนอนโคนมดลูก เหนือต่อกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งไม่ค่อยมีผลต่อการหดตัวกล้ามเนื้อ เราจึงพบว่า แม่บางคน ผ่าคลอดในลูกคนแรก ก็สามารถคลอดปกติในลูกคนต่อไปได้

ความเสี่ยงของการผ่าคลอด

ข้อมูลจาก textbook เมื่อปี 1990 สิบปีมาแล้ว พบว่า จะมีผู้หญิงเสียชีวิต 1 ใน 2500 ครั้งของการผ่า เมื่อเทียบกับ 1 ใน 10000 ของการคลอดเอง ปัจจุบัน ตัวเลขลดน้อยลงมาก แต่ก็ยังเป็น 3 เท่าของการคลอดธรรมชาติ

ชนิดของการผ่า

classical วิธีโบราณ ผ่าตามแนวยาว ทำได้รวดเร็ว เด็กคลอดเร็ว มีพื้นที่เปิดหน้าท้องมากกว่า แต่ไม่นิยมทำกันในปัจจุบัน เพราะเสี่ยงต่อการที่ท้องต่อไปมดลูกแตก แผลไม่สวย เลือดออกมาก

- ผ่าตัดส่วนล่าง นิยมในปัจจุบัน สามารถซ่อนแผลลงในกางเกงในได้

- ผ่าพร้อมตัดมดลูกไปด้วย ในกรณีที่เกิดปัญหาของการคลอด เช่น รกเกาะต่ำ เกาะไปโดนเส้นเลือด ทำให้ตกเลือด เลือดออกไม่หยุด เอารกออกไม่ได้เพราะเกาะแน่น เป็นต้น

- ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน และด้วยข้อบ่งชี้ใด ๆ มีความเสี่ยงเสมอ สำหรับ ซีซาร์ ให้พร้อมรอรับ และรอรับสิ่งที่จะตามมาคือ การพักฟื้นที่ยาวนานกว่า การปวดแผลที่มากกว่า การคลอดปกติ (และเสียเงินมากกว่าด้วย)




รวม Link เรื่องสุขภาพและการแพทย์

http://www.thaiclinic.com
มีบทความเกี่ยวกับสุขภาพ โดยนายแพทย์ธนศ พัวพรพงษ์ และข่าวเกี่ยวกับสุขภาพ รวมถึงเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแพทย์

http://www.redcross.or.th
เป็นเว็บไซท์ของสภากาชาดไทย ให้บริการความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ ข่าวประชาสัมพันธ์ของสภากาชาดไทย รวมถึงบทความเกี่ยวกับสุขภาพของคนไทย

http://www-ddc.moph.go.th
เป็นเว็บไซท์ของกรมควบคุมโรค ที่มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านวิชาการและเทคโนโลยีการป้องกันและควบคุมโรคของประเทศ และระดับนานาชาติ

http://www.fda.moph.go.th
เว็บไซท์ของคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งมีข่าวเกี่ยวข้องกับการแพทย์ และเภสัชกร รวมถึงการประชาสัมพันธ์และกิจกรรมของสำนักคณะกรรมการอาหารและยา

http://www.mohanamai.com
สมาคมหมออนามัย ให้ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนโดยตรง และเป็นเว็บไซท์ที่สนับสนุนการดำเนินงานทางด้านอนามัยของรัฐบาล รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้แก่ชุมชน

http://www.dmh.go.th
กรมสุขภาพจิต และกระทรวงสาธารณสุข ให้ความรู้ทางด้านการแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

http://www.md.chula.ac.th
คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถานศึกษาและศูนย์บริการข้อมูลให้ความรู้ทางการแพทย์ และข่าวสารเกี่ยวกับการแพทย์

http://www.nhso.go.th
สำนักงานหลักประกันสุขภาพ ให้บริการความรู้ทางการแพทย์ รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารการประกันสุขภาพต่อประชาชนโดยทั่วไป

http://www.thaimedtech.com
ศูนย์บริการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร

http://www.thaicpg.org
สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ เป็นศูนย์กลางการพัฒนาวิชาการแพทย์ ด้านการกำหนดและพัฒนามาตรฐานคลินิก บริการ เพื่อให้สถานบริการสุขภาพดี มีคุณภาพได้มาตรฐาน

http://www.pharmacycouncil.org
สภาเภสัชกรรม ให้บริการความรู้ทางด้านเภสัชกรรมทั้งหมด การศึกษา การวิจัย มาตรฐานวิชาชีพของเภสัชกร

http://dmsic.moph.go.th
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพทย์ รวมถึงคุณภาพของยาและเวชภัณฑ์

http://www.medassocthai.org
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแพทย์ และดูแลตรวจสอบเกี่ยวกับจรรยาบรรณของแพทย์ทั่วประเทศไทย

http://www.heart.kku.ac.th
ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ข้อมูลทางการแพทย์ด้านโรคหัวใจ และหลอดเลือด

http://www.yourdentistinter.com
ศูนย์ทันตกรรมนานาชาติ ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพฟัน

http://www.thaimedicalhub.com
ไทยเมดิคัลฮับ ศูนย์กลางในการติดต่อประสานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เสนอข้อมูลการให้บริการของโรงพยาบาลต่างๆ ของไทย ข้อมูลโครงการไทยเมดิคัลฮับ เสนอข้อมูลแพทย์ไทย ศูนย์รวมแพทย์ ให้คำปรึกษาทางการแพทย์สำหรับคนต่างชาติที่เข้ามารับการรักษาในประเทศไทย บริการปรึกษาอาการป่วยผ่านเว็บไซต์

http://www.chulacancer.net
ฬาแคนเซอร์ ให้ความรู้ทางการแพทย์ เรื่องโรคมะเร็ง มีข้อปฏิบัติและความรู้สำหรับบุคคลทั่วไป และผู้ป่ายโรคมะเร็ง โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์