การแถลงข่าว..ศิริราช ผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ
webmaster - 3/1/13 at 13:14
การแถลงข่าว ครั้งแรกของไทย ศิริราชผลิตแอนติบอดี
รักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ
ในวันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม 2557 เวลา 10.00 น. ณ ห้อง A201 อาคารศรีสวรินทิรา รพ.ศิริราช โดยมี ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นประธานแถลงข่าวร่วมกับ รศ.ดร.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา, ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา
ภาควิชาปรสิตวิทยา และ ศ.ดร.พญ.รวงผึ้ง สุทเธนทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยพร้อมทีมแพทย์และผู้เกี่ยวข้อง
.......ศ.คลินิก น.พ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ รศ. น.พ.สุโรจน์ ศุภเวคิน รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช และ
น.พ.สุสัณห์ อาศนะเสน สาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ ศ.ดร.รวงผึ้ง สุทเธนทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย และ ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ
ชัยคำภา หัวหน้าทีมผู้ผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลา แถลงข่าวเรื่อง ศิริราชผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลา เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (2
ต.ค.)
โดย ศ.คลินิก น.พ.อุดม กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์โรคไข้เลือดออกอีโบลารุนแรงถึงขั้นวิกฤต และสร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก แม้จะระบาดมาเป็นเดือน
แต่จะเกิดการระบาดอย่างต่อเนื่อง จนองค์การอนามัยโลก WHO ต้องประกาศเตือน โดยอีโบลาเป็นไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง ซึ่งประเทศไทยมีไข้เลือดออก ไวรัสชนิดเด็งกี่
ส่วนแอฟริกาเป็นเชื้ออีโบลา ซึ่งที่ผ่านมาเคยเกิดการระบาดมาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่รุนแรง โดยไม่ทราบว่าครั้งนี้เหตุใดจึงรุนแรง
โดยสถานการณ์การติดเชื้อมากที่สุดในประเทศไลบีเรีย การสันนิษฐานเบื้องต้น คือ เชื้อที่ระบาดครั้งนี้มีความรุนแรง อัตราการตายเกินกว่าร้อยละ 50
ทั้งนี้ โรงพยาบาลศิริราช มีการวิจัยศึกษาค้นคว้าในเรื่องไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการรักษาอีโบลาคล้ายๆ กัน เราสามารถผลิตแอนติบอดี
ได้สำเร็จ ศิริราชไม่เคยพูดอะไรเกินจริง ทุนทางสังคมเราสูงอยู่แล้ว ถือเป็นครั้งแรกของไทยและของโลกก็ว่าได้ เพราะแอนติบอดีตัวนี้ได้รับการพิสูจน์ว่า
แตกต่างจากตัวที่ใช้อยู่
ด้าน ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ กล่าวว่า แอนติบอดีคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของมนุษย์
ซึ่งจะถูกผลิตขึ้นหลังจากที่ได้รับเชื้อ หรือสิ่งแปลกปลอมชนิดใดชนิดหนึ่งเข้ามาในร่างกาย แอนติบอดีจะถูกผลิตออกมาจากเม็ดเลือดขาว ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า
ลิมโฟไซต์ชนิดบี โดยร่างกายจะใช้เวลา 7-10 วัน หลังจากได้รับเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอมนั้นๆ แอนติบอดีจะทำหน้าที่กำจัดเชื้อ หรือสิ่งที่เป็นพิษออกไปจากร่างกาย
กรณีเชื้อหรือพิษบางอย่างที่ร่างกายได้รับ ก่ออาการรุนแรงและเร็วมาก ร่างกายสร้างแอนติบอดีออกมาได้ไม่ทัน ก็มักเสียชีวิตก่อนที่จะผลิตแอนติบอดี เช่น
การติดเชื้ออีโบลา เราสามารถให้แอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อนั้นที่พร้อมใช้เตรียมเอาไว้แล้วแก่ผู้ป่วยได้ทันที เรียกว่า ให้ภูมิคุ้มกันพร้อมใช้ หรือ
แอนติบอดีรักษา เข้าไปสู่กับเชื้อโรคหรือสารพิษโดยตรง
อย่างไรก็ตาม แอนติบอดีต้นแบบเหล่านี้ ยังผลิตในห้องปฏิบัติการได้จำนวนน้อย ซึ่งจะมีการขอความร่วมมือจากบริษัทสยามไบโอไซเอ็นซ์
ที่ผลิตแอนติบอดีอื่นอยู่แล้วให้ผลิตมากขึ้นด้วยมาตรฐาน GMP เพื่อการทดลองในสัตว์ และจดทะเบียนเป็นยาใหม่ต่อไป
webmaster - 2/10/14 at 22:57
แห่งแรกในเอเชีย! ศิริราช ผ่าตัดทารกในครรภ์
รักษากระเพาะปัสสาวะอุดกั้น
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มกราคม 2556 I nationchannel24
.........รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ หัวหน้าเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา กล่าวว่า
ภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้น (Posterior Urethral Valve) เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
ทารกบางคนมีความผิดปกติในพัฒนาการ
ภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้นเกิดจากการมีเนื้อเยื่อที่ผิดปกติอุดกั้นทางออกของกระเพาะปัสสาวะที่ต่อไปยังท่อปัสสาวะทำให้น้ำปัสสาวะที่สร้างจากไตไม่สามารถผ่านอ
อกมาได้ลักษณะคล้ายลิ้นหัวใจที่กั้นห้องหัวใจ
ทำให้ปัสสาวะไม่สามารถขับออกได้ กระเพาะปัสสาวะบวมตึง อาจทำให้แรงดันย้อนกลับขึ้นไปตามท่อไต ทำให้ท่อไตขยาย ไตบวม และไตวายในที่สุด
ซึ่งสาเหตุของการอุดกั้นนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้พบได้เพียงประมาณ 1 ใน 50,000 ของทารกในครรภ์
ด้าน นพ.ตวงสิทธิ์ วัฒกนารา แพทย์ผู้ทำการรักษาประจำหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ กล่าวว่า ปกติในถุงน้ำคร่ำจะมีน้ำปัสสาวะจากทารกปนอยู่ด้วย
เนื่องจากไตของทารกสร้างน้ำปัสสาวะแล้วปล่อยลงมาเก็บที่กระเพาะปัสสาวะ จากนั้นจะบีบตัวเพื่อขับน้ำออกมาเข้าไปปนกับน้ำคร่ำที่อยู่รอบตัวทารก
แต่ในครรภ์มารดารายนี้พบน้ำคร่ำน้อยมาก ทำให้สงสัยว่าน่าจะมีความผิดปกติ
ทีมแพทย์จึงได้ทำการตรวจอัลตราซาวนด์ครรภ์มารดาที่อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ พบว่า ทารกมีกระเพาะปัสสาวะตึงขยายผิดปกติและน้ำคร่ำแห้ง
จึงทำการตรวจเพิ่มด้วยคลื่นสะท้อนพลังแม่เหล็ก (MRI) พบว่า ทารกมีภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้น ซึ่งหากไม่รักษาทารกอาจเสียชีวิตได้
เพราะไม่สามารถขับปัสสาวะออกมาได้ จึงคั่งในกระเพาะปัสสาวะจนบวมเป่ง นานเข้าไตก็จะบวม ทำงานไม่ได้ และเกิดไตวายจนทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์
หากรอดก็จะเกิดภาวะไตพิการ
ทีมแพทย์แนะนำให้คุณแม่รีบทำการรักษา ซึ่งการผ่าตัดนั้นอายุครรภ์เป็นเรื่องสำคัญ โดยอายุครรภ์ที่เหมาะสม คือ 16-26 สัปดาห์ โดยรายนี้อายุครรภ์ 18
สัปดาห์ถือว่าเหมาะสม จึงทำการผ่าตัดทันที โดยใช้วิธีบล็อกหลังแทนการดมยาสลบ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับคุณแม่ได้ตลอดเวลา จากนั้นสอดกล้องขนาดเล็กเพียง 1.3
มิลลิเมตร ผ่านผนังหน้าท้องเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ ต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะของทารกในครรภ์
แล้วสำรวจโครงสร้างภายในกระเพาะปัสสาวะของทารกโดยละเอียด ซึ่งในช่วงนี้ทารกมีความยาวลำตัวเพียง 15 ซม.โดยที่โครงสร้างทุกอย่างมีขนาดเล็กมาก
จึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงในการผ่าตัด เมื่อพบตำแหน่งอุดกั้นในท่อปัสสาวะ ทีมแพทย์ได้ใช้เลเซอร์กำลังต่ำเจาะเปิดตำแหน่งที่อุดกั้น
เพื่อให้น้ำปัสสาวะสามารถผ่านท่อปัสสาวะออกมาได้ รศ.นพ.ตวงสิทธิ์ กล่าว
รศ.นพ.ตวงสิทธิ์ กล่าวอีกว่า หลังการผ่าตัดพบว่า ทารกมีหัวใจเต้นดี กระเพาะปัสสาวะยุบตัวลงและน้ำคร่ำมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยที่การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ
1 ชั่วโมง จากนั้นทีมแพทย์ได้ติดตามอาการของทารก ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์เป็นระยะๆ พบว่า ทารกสามารถปัสสาวะได้ กระเพาะปัสสาวะยุบลง
และน้ำคร่ำเพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็นลำดับ ถือว่ามีการตอบสนองต่อการผ่าตัดรักษาเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม มารดาได้คลอดก่อนกำหนด ทำให้เด็กมีน้ำหนัก
แรกเกิดเพียง 1.8 กิโลกรัม แต่ปัจจุบันทารกมีอายุประมาณ 1 เดือน น้ำหนักเพิ่มเป็น 2.3 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าปกติแล้ว
สำหรับการรักษานั้นในผู้ป่วยรายนี้ใช้สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากรักษาโดยไม่ใช้สิทธิจะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะผ่าตัดราว 2 หมื่นบาท ซึ่งหากไม่สามารถจ่ายได้ ทางศิริราชพยาบาลยังมี
กองทุนการรักษาทารกในครรภ์ ขึ้น เพื่อช่วยเหลือมารดากลุ่มนี้ ผู้สนใจสามารถบริจาคได้ทุกวันที่ ศิริราชมูลนิธิ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 โรงพยาบาลศิริราช
โทร.0-2419-7658-60