ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 7/3/08 at 02:30 Reply With Quote

(Update 1 เม.ย. 54) มิลินทปัญหา โดย.."วัฒนไชย"


มิลินทปัญหา
โดย..."วัฒนไชย" รวบรวม


...เรื่อง "มิลินทปัญหา" ที่ลงในเว็บนี้ได้มีการปรับปรุงถ้อยคำ พร้อมกับมีรูปภาพประกอบอย่างสมบูรณ์ที่สุด ถึงแม้จะประกาศเรื่องสงวนลิขสิทธิ์ แต่ก็ยังมีคนไม่กลัวบาป ได้นำข้อมูลออกไปอยู่ในเว็บ geocities.com แล้วเว็บ dhammathai.org, larnbuddhism.com, ก็ขโมยต่อไป โดยไม่มีการกล่าวอ้างถึงเว็บต้นฉบับนี้เลย



อนุโมทนากถา

สาเหตุที่ "มิลินทปัญหา" จะมาปรากฏแก่สายตาบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายนั้น ประการแรกก็คือว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมยาน ได้เคยสนทนาปรารภถึงเรื่องนี้ ให้แก่ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายฟังอยู่เสมอ ทั้งที่วัดท่าซุงหรือที่บ้านสายลม กรุงเทพฯ

อีกประการหนึ่ง ผู้เขียนเองก็ไม่เคยคิดจะทํามาก่อน พอดีเมื่อประมาณต้นปี ๒๕๓๔ พระครูใบฎีกาสมพงษ์ ปรารภว่าขอให้ช่วยนําเรื่อง "มิลินทปัญหา" ลงใน "ธัมมวิโมกข์" สักหน่อย ผู้เขียนก็รับปากและเริ่มจัดทํา โดยมี พระอาจินต์ และ พระมหาถวัลย์ เป็นผู้ร่วมจัดทําด้วย โดยมี พระครูปลัดอนันต์ พระครูสมุห์พิชิต (โอ) ตลอดถึงเพื่อนพระภิกษุภายในวัดท่าซุง ต่างก็ช่วยกันสนับสนุนเป็นอย่างดี

สําหรับหนังสือรวมเล่มนี้มี พระสมปอง พร้อมทั้งคณะ และ คุณดรุณ พรหมคีรี เป็นผู้ช่วยจัดพิมพ์ต้นฉบับด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และมี คุณละเมียด (ละไม) เขมาสวิน เป็นผู้ประสานงานทางโรงพิมพ์ ส่วน คุณอโนชา นาคสวัสดิ์ และ คุณสนิท อารยศิริกุล ได้ช่วยเหลือบริการ และจัดซื้อในทางด้านเครื่องคอมพิวเตอร์

ขอย้อนกล่าวต่อไปอีกว่า บังเอิญผู้รวบรวมมีหนังสือมิลินทปัญหา ฉบับของ ส.ธรรมภักดี และ ฉบับพิสดาร อยู่แล้ว จึงได้เริ่มเรียบเรียงลงในธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๒๒ เดือนเมษายน ๒๕๓๔ เป็นตอนแรก โดยใช้หนังสือทั้งสองเล่มดังกล่าวนี้ เป็นต้นฉบับในการเรียบเรียง และ อาศัย อธิบายมิลินทปัญหา ของ วศิน อินทสระ และหนังสือ "ศัพท์ศาสนา" ของ พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ กับ ปทานุกรม ไทย บาลี อังกฤษ สันสฤต อีกทั้งตําหรับตําราของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อฯ มาประกอบคําอธิบายด้วย

ผลปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของญาติโยมพุทธบริษัทเป็นอันมาก มีหลายท่านที่ปรารภว่าให้จัดพิมพ์รวมเล่มด้วย จึงทําให้ผู้เขียนมีกําลังใจยิ่งขึ้น เพราะการจัดทํานั้นก็ไม่ใช่ของง่าย ก่อนจะพิมพ์ต้องตรวจสํานวนระหว่างสองฉบับด้วยกันก่อน โดยเฉพาะบางคําที่อ่านแล้วเข้าใจยาก ก็จะใช้ถ้อยคําที่เข้าใจง่ายขึ้น บางสํานวนที่ยืดยาว ก็จะรวบรัดสํานวนให้อ่านง่ายขึ้น โดยรักษาเนื้อความเดิมไว้มิให้เสียหาย

ส่วนคําที่เป็นภาษาบาลี ก็จะวงเล็บให้ทราบไว้ทันที และบางปัญหาจะเพิ่มเติมคําอธิบาย ไปบ้างหรือบางปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันหลายปัญหา ผู้รวบรวมก็จะนํามาสรุปความให้ทราบในตอนท้ายของปัญหานั้น สําหรับบางปัญหาที่เอ่ยชื่อของบุคคลตัวอย่างในพระสูตร แต่ในต้นฉบับดังกล่าวไม่มี ผู้รวบรวมก็ไปค้นมาจาก "พระไตรปิฎก" ที่ญาติโยมทั้งหลายซื้อมาถวายวัดนั่นแหละ แล้วนํามาย่อเนื้อความให้ท่านผู้อ่านเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง เช่นเรื่อง พระเจ้าสีวิราช และ มาตังคฤาษี เป็นต้น

อีกประการหนึ่ง ที่ทําให้หนังสืออ่านง่ายยิ่งขึ้น นั่นก็คือการจัดพิมพ์เป็น ๒ คอลัมน์ใช้อักษรตัวเอนเป็นคําถาม สลับกับตัวธรรมดาที่เป็นคําตอบ และตัวดําจะเน้นที่มีความสําคัญ ส่วนการที่มีย่อหน้าและเว้นวรรคบ่อย ก็เพื่อมิให้เนื้อความแน่นเกินไป ทําให้ดูโปร่งตา ช่วยให้อ่านง่ายยิ่งขึ้น

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม บางปัญหาอาจจะมีข้อคิดลึกลับซับซ้อน ท่านผู้อ่านก็ควรจะย้อนอ่านหลายๆ ครั้ง เพื่อความเข้าใจ พร้อมกับใช้ความคิดพิจารณาในเนื้อความนั้นไปด้วย ก็จะช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน และได้สาระความรู้จากหนังสือเล่มนี้ยิ่งขึ้น

เนื่องจาก พระเจ้ามิลินท์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก การตั้งปัญหาถามล้วนเป็นปัญหาที่ยากที่ผู้อื่นจะตอบได้ บางปัญหาท่านถามวกวนเพื่อหาเป้า แต่ พระนาคเสน ท่านก็เฉลยปัญหาได้ทุกข้อพร้อมทั้งยกอุปมาขึ้น โดยอาศัยธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัว เปรียบเทียบได้อย่างแจ่มแจ้ง

คณะผู้จัดทําเห็นว่าเรื่องนี้มีประโยชน์มาก จะช่วยให้ท่านผู้อ่านเกิดปัญญา ความรอบรู้ในสภาวะธรรมที่ละเอียดสุขุม ทั้งเป็นการเสริมสร้างปฏิภาณ ในด้านการสนทนาธรรมกับผู้อื่นอีกด้วย โดยเฉพาะหลวงพ่อท่านเคยกล่าวไว้ว่า พระที่จะเป็นนักเทศน์ที่ดีนั้นจะต้องผ่านการอ่าน "มิลินทปัญหา" มาเสียก่อน

ฉะนั้น "มิลินทปัญหา" เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง แล้วแต่งอธิบายธรรมะโดยพระอรรถกถาจารย์มีนามว่า พระติปิฎกจุฬาภัยเถระ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๕๐๐ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาบาลี ได้จัดพิมพ์เป็นภาษาไทยจาก ฉบับพิสดาร ของ
หอสมุดแห่งชาติ และฉบับของ ส.ธรรมภักดี คณะผู้จัดทําจึงขออนุญาตนํามาลงให้บรรดาสมาชิกของ "ธัมมวิโมกข์" ได้อ่านกัน

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้รวบรวมก็ยังเริ่มฝึกหัดอยู่ อาจจะไม่เชี่ยวชาญในเนื้อความบางคํา ถ้าหากมีข้อผิดพลาดสิ่งใด ต้องกราบขออภัยท่านผู้รู้ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ถ้าจะกรุณาทักท้วงในข้อผิดพลาดนั้น ก็ขอน้อมรับด้วยความยินดียิ่ง จึงขอขอบพระคุณไว้ล่วงหน้าด้วย

ผู้รวบรวมจึงขอย้ำว่า หนังสือรวมเล่ม "มิลินทปัญหา" นี้ เป็นการรวบรวมจาก ธัมมวิโมกข์ ที่ได้ลงไว้เป็นตอนๆ การจัดพิมพ์จึงอาจจะไม่เหมือนหนังสือทั่วไป จึงขอให้ถือว่า "มิลินทปัญหา" ฉบับรวมเล่มของ "ธัมมวิโมกข์" นี้ เป็น "ฉบับพิเศษ" คือว่าจัดทําขึ้นมาเพื่อให้อ่านเป็นการภายในเฉพาะสมาชิกเท่านั้น มิได้จําหน่ายเป็นสาธารณะทั่วไป ถ้าท่านผู้อ่านต้องการจะอ่านฉบับมาตรฐาน ก็โปรดหาอ่านตามที่ผู้รวบรวมระบุไว้แล้วนั้น

รวมความว่า "มิลินทปัญหา" ได้ดําเนินเรื่องมาเพียงครึ่งเรื่องเท่านั้น ขณะที่จะรวมเล่มได้ลงไปถึงตอนที่ ๑๗ ปรากฏว่าเมื่อกลางเดือนสิงหาคม ๒๕๓๕ (ก่อนมรณภาพเพียง ๒ เดือนเท่านั้น) พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมยาน ท่านปรารภไว้ก่อนมรณภาพ

เมื่อคราวไปสอนพระกรรมฐานที่ "บ้านสายลม" มีผู้ถวายเงินแก่ท่านไว้ จํานวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าจัดพิมพ์หนังสือรวมเล่ม "มิลินทปัญหา" จึงมีบัญชาให้ "คณะผู้จัดทําธัมมวิโมกข์" เป็นผู้รวบรวม "ธัมมวิโมกข์" ฉบับรวมเล่ม "มิลินทปัญหา" นี้ หลังจากรับทราบคำสั่งท่านแล้ว เมื่อจะกราบลาท่านออกมาฉันเพล ท่านก็ได้กล่าวขึ้นอีกว่า

"...เขาให้ข้ามาแสนหนึ่ง จะพอหรือเปล่าก็ไม่รู้ ถ้าไม่พอข้าก็ต้องออกเองละวะ..."

หลังจากนั้นพวกเราจึงได้ปรึกษากันว่า ควรจะรีบจัดทําเพื่อให้ทันตามความประสงค์ของท่านภายในสิ้นปีนี้ จึงได้รีบจัดทําต้นฉบับส่วนที่เหลือทันที ปรากฏว่ารวมเล่มทั้งหมดได้ ๓๖ ตอน ก็พอดีหลวงพ่อมรณภาพเสียก่อน เป็นอันว่า คณะผู้จัดทําขออนุโมทนาในเจตนาที่เป็นมหากุศลของ คุณนวรัตน์ ธนบัตรชัย ไว้ ณ โอกาสนี้ ที่เป็นผู้ริเริ่มเป็นปฐมฤกษ์ ๑๐๐,๐๐๐ บาท

หากผู้ใดต้องการจะร่วมสมทบทุนก็บริจาคได้โดยตรงกับ ท่านพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ เจ้าอาวาสองค์ใหม่ เพื่อเป็นปัจจัยให้เกิดแสงสว่าง คือความรุ่งเรืองแห่งปัญญา เป็นการช่วยกันเทิดทูนคําสนทนาของพระมหาเถระทั้งสองไว้ คือ พระนาคเสนเถระ และ พระมิลินทเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์

ท่านทั้งสองได้ยุติการเวียนว่ายตายเกิดไปนานแล้ว พวกเราเหล่าพุทธบริษัทเมื่อได้อ่านคำสนทนาพาทีของท่าน ก็ยิ่งทําให้เกิดสติปัญญามากขึ้น ท่านผู้อ่านที่ยังไม่รู้ก็จะได้รู้หรือท่านที่มีพื้นความรู้มาบ้างแล้ว ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเข้าใจ ความแจ่มแจ้ง ความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อันเป็นคําสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดามากขึ้น

หนังสือมิลินทปัญหานี้ จึงเหมือนกับประทีปส่องทางให้ทุกท่านที่อ่านแล้ว จะสามารถมองเห็นหนทางที่จะเดินยิ่งขึ้น ในเมื่อทุกคนปรารถนาเพื่อพระนิพพาน ในอวสานอันเป็นถ้อยคำนี้ ขอความปรารถนาของท่านทั้งหลาย ที่ได้ตั้งไว้ด้วยความอุตสาหะพยายาม จงสําฤทธิ์ผลโดยง่ายอย่างฉับพลัน เช่นเดียวกันกับพระมหาเถระทั้งสองผู้เป็นเจ้าของเรื่องเถิด

ท่านผู้อ่านและผู้ร่วมสร้าง "ปัญญาบารมี" ในครั้งนี้ทุกท่าน การที่หนังสือเล่มนี้สําเร็จลงได้เพราะแรงบันดาลใจของท่านทั้งหลาย อันมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นองค์ประธาน ฉะนั้น พวกเราเหล่าพุทธบริษัทที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันในครั้งนี้ จะตั้งสัตยาธิษฐานไว้อย่างนี้ก็ได้ นั่นก็คือว่า...

"ขอให้มีปัญญาหาที่สุดมิได้ เช่นเดียวกันกับท่านทั้งสอง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานนี้เทอญ..."

"วัฒนไชย"


๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖







สารบัญ

(โปรด "คลิก" เลื่อนขึ้นเลื่อนลง อ่านได้แต่ละตอน)


คำนมัสการพระรัตนตรัย ของ พระติปิฎกจุฬาภัยเถระ
พุทธพยากรณ์ในวันปรินิพพาน


เรื่องเบื้องต้น

บุพพกรรมของบุคคลทั้งสอง

พระเจ้ามิลินท์เสด็จไปหาครูทั้ง ๖
พระอรหันต์ขึ้นไปเชิญมหาเสนะเทพบุตร
มหาเสนะเทพบุตรจุติจากเทวโลก
พระโรหนะไปนํานาคเสนกุมารเพื่อจะให้บรรพชา
พระนาคเสนแสดงธรรมเป็นครั้งแรก
พระนาคเสนไปศึกษาพระไตรปิฎกกับพระธรรมรักขิต
พระเจ้ามิลินท์เสด็จไปถามปัญหาพระอายุบาล
กิตติศัพท์ของพระนาคเสน
พระเจ้ามิลินท์ได้ยินชื่อตกพระทัยกลัว
พระเจ้ามิลินท์เสด็จไปหาพระนาคเสน

มิลินทปัญหา วรรคที่ ๑

ปัญหาที่ ๑ ถามชื่อ

ปัญหาที่ ๒ ถามพรรษา
ปัญหาที่ ๓ ถามลองปัญญา
ปัญหาที่ ๔ ปัญหาของอันตกายอํามาตย์
ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องบรรพชา
ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องปฏิสนธิ เกิด
ปัญหาที่ ๗ ถามเรื่องมนสิการ การกําหนดจิต
ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องลักษณะมนสิการ
ปัญหาที่ ๙ ถามลักษณะศีล
ปัญหาที่ ๑๐ ถามลักษณะ
ปัญหาที่ ๑๒ ถามลักษณะสติ
ปัญหาที่ ๑๓ ถามลักษณะสมาธิ
ปัญหาที่ ๑๔ ถามลักษณะปัญญา
ปัญหาที่ ๑๕ ถามหน้าที่แห่งธรรมต่างๆ กัน

วรรคที่ ๒

ปัญหาที่ ๑ ถามความสืบต่อแห่งธรรม

ปัญหาที่ ๒ ถามความรู้สึกของผู้ไม่เกิดอีก
ปัญหาที่ ๓ ถามที่ดับปัญญา
ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องปรินิพพาน
ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องสุขเวทนา
ปัญหาที่ ๖ ถามการเกิดแห่งนามรูป
ปัญหาที่ ๗ ถามการเกิดอีกของพระนาคเสน
ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องนามรูป
ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องกาลนานยืดยาว

วรรคที่ ๓

ปัญหาที่ ๑ ถามมูลเหตุแห่งกาลทั้ง ๓

ปัญหาที่ ๒ ถามที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสาร
ปัญหาที่ ๓ ถามความปรากฏแห่งที่สุดเบื้องต้น
ปัญหาที่ ๔ ถามความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ปัญหาที่ ๕ ถามถึงความมีขึ้นแห่งสังขารที่ไม่มี
ปัญหาที่ ๖ ถามถึงเรื่องผู้ถึงเวทย์
ปัญหาที่ ๗ ถามถึงความเกี่ยวกันแห่งจักขุวิญญาณกับมโนวิญญาณ
ปัญหาที่ ๘ ถามลักษณะผัสสะ
ปัญหาที่ ๙ ถามลักษณะเวทนา
ปัญหาที่ ๑๐ ถามลักษณะสัญญา
ปัญหาที่ ๑๑ ถามลักษณะเจตนา
ปัญหาที่ ๑๒ ถามลักษณะวิญญาณ
ปัญหาที่ ๑๓ ถามลักษณะวิตก
ปัญหาที่ ๑๔ ถามลักษณะวิจาร

วรรคที่ ๔

ปัญหาที่ ๑ ถามลักษณะมนสิการ

ปัญหาที่ ๒ ถามลักษณะสิ่งที่มีภาวะอย่างเดียวกัน
ปัญหาที่ ๓ ถามการเกิดแห่งอายตนะ ๕
ปัญหาที่ ๔ ถามเหตุต่าง ๆ กันแห่งกรรม
ปัญหาที่ ๕ ถามถึงสาเหตุที่ควรให้รีบทําเสียก่อน
ปัญหาที่ ๖ ถามถึงความร้อนแห่งไฟนรก
ปัญหาที่ ๗ ถามถึงเรื่องเครื่องรองแผ่นดิน
ปัญหาที่ ๘ ถามถึงเรื่องนิโรธนิพพาน
ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องการได้นิพพาน
ปัญหาที่ ๑๐ ถามเรื่องรู้จักความสุขในนิพพาน

วรรคที่ ๕

ปัญหาที่ ๑ ถามเรื่องความมีและความไม่มีแห่งพระพุทธเจ้า

ปัญหาที่ ๒ ถามเรื่องความยิ่งใหญ่แห่งพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๓ ถามเรื่องการรู้ความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องการเห็นธรรม
ปัญหาที่ ๕ ถามถึงความไม่ก้าวย่างไปแห่งผู้จะเกิด
ปัญหาที่ ๖ ถามถึงผู้สําเร็จเวทย์
ปัญหาที่ ๗ ถามถึงการก้าวไปแห่งสภาพ
ปัญหาที่ ๘ ถามถึงที่อยู่แห่งผลกรรม
ปัญหาที่ ๙ ถามถึงความรู้สึกของผู้จะเกิดอีก
ปัญหาที่ ๑๐ ถามเรื่องที่อยู่ของพระพุทธเจ้าที่ปรินิพพาน

วรรคที่ ๖

ปัญหาที่ ๑ ถามถึงความรักร่างกายแห่งบรรพชิต

ปัญหาที่ ๒ ถามถึงเหตุที่ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้า
ปัญหาที่ ๓ ถามถึงลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ของพระพุทธมารดาบิดา
ปัญหาที่ ๔ ถามถึงความเป็นพรหมจารีของพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๕ ถามถึงการอุปสมบท ไม่อุปสมบท
ปัญหาที่ ๖ ถามถึงความต่างกันแห่งน้ำตา
ปัญหาที่ ๗ ถามถึงความต่างกันแห่งผู้เสวยรส
ปัญหาที่ ๘ ถามที่ตั้งแห่งปัญญา
ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องสงสาร
ปัญหาที่ ๑๐ ถามถึงเหตุที่ให้ระลึกถึงสิ่งที่ล่วงแล้วได้
ปัญหาที่ ๑๑ ถามถึงผู้มีสติ

(วรรคนี้เดิมขาดหายไป)

วรรคที่ ๗

ปัญหาที่ ๑ ถามอาการแห่งสติ

ปัญหาที่ ๒ ถามเรื่องทําบาปทําบุญ
ปัญหาที่ ๓ ถามเรื่องการดับทุกข์ใน ๓ กาล
ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องความไกลแห่งพรหมโลก
ปัญหาที่ ๕ ถามถึงความไปเกิดในพรหมโลกและเมืองกัสมิระ
ปัญหาที่ ๖ ถามถึงวรรณะสัณฐานของผู้ไปเกิดในโลกอื่น
ปัญหาที่ ๗ ถามเรื่องถือกําเนิดในครรภ์มารดา
ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องโพชฌงค์ ๗
ปัญหาที่ ๙ ถามถึงความมากกว่ากันแห่งบาปและบุญ
ปัญหาที่ ๑๐ ถามถึงการทําบาปแห่งผู้รู้กับผู้ไม่รู้
ปัญหาที่ ๑๑ ถามถึงผู้ที่ไปอุตตรกุรุทวีปและสวรรค์
ปัญหาที่ ๑๒ ถามเรื่องกระดูกยาว
ปัญหาที่ ๑๓ ถามเรื่องเกี่ยวกับลมหายใจ
ปัญหาที่ ๑๔ ถามว่าอะไรเป็นสมุทร
ปัญหาที่ ๑๕ ถามเรื่องการตัดสิ่งที่สุขุม
ปัญหาที่ ๑๖ ถามความวิเศษแห่งปัญญา
ปัญหาที่ ๑๗ ถามความต่างกันแห่งวิญญาณเป็นต้น
ปัญหาที่ ๑๘ ถามถึงเรื่องสิ่งที่ทําได้ยากของพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๑๙ พระเจ้ามิลินท์ทรงเลื่อมใสได้ปวารณาพระนาคเสน


นอกวรรค
โคตมีปัญหา ถามเรื่องถวายผ้าของพระนางโคตมี

เริ่มเมณฑกปัญหา

ทรงสมาทานวัตรบท ๘
ที่ไม่ควรปรึกษากัน ๘ ประการ
คนที่ไม่ควรปรึกษา ๘ จําพวก
คนที่ปิดความลับไม่ได้ ๙ จําพวก
เหตุให้เจริญความรู้ ๘ ประการ
คุณของอาจารย์ ๒๕ ประการ
คุณแห่งอุบาสก ๑๐ ประการ

เมณฑกปัญหา ปัญหาที่ถามเป็นสองแง่

วรรคที่ ๑

ปัญหาที่ ๑ ว่าด้วยการบูชาพระพุทธเจ้า

ปัญหาที่ ๒ ถามถึงความเป็นพระสัพพัญญูของพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๓ ถามเรื่องโปรดให้พระเทวทัตบรรพชา
ปัญหาที่ ๔ ถามถึงเหตุให้แผ่นดินไหว
ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องได้ตาทิพย์ของพระเจ้าสีพี
ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องการตั้งครรภ์
ปัญหาที่ ๗ ถามเรื่องอายุพระพุทธศาสนา ๕๐๐๐ ปี
ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องสําเร็จพระสัพพัญญุตญาณ
ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องสิ่งที่ควรทํายิ่งของพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๑๐ ถามเรื่องกําลังอิทธิบาท

วรรคที่ ๒

ปัญหาที่ ๑ ถามเรื่องสิกขาบทเล็กน้อย
ปัญหาที่ ๒ ถามเรื่องปัญหาที่แก้ด้วยการพักไว้
ปัญหาที่ ๓ ถามเรื่องมรณภัย
ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องพ้นจากบ่วงมรณะ
ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องอันตรายแห่งลาภของพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องทรงบําเพ็ญประโยชน์แก่สรรพสัตว์
ปัญหาที่ ๗ ถามถึงธรรมอันประเสริฐสุด
ปัญหาที่ ๘ ถามถึงความไม่แตกกันแห่งบริษัทของพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องการทําบาปของผู้ไม่รู้
ปัญหาที่ ๑๐ ถามเรื่องความไม่ทรงห่วงพระภิกษุสงฆ์

วรรคที่ ๓

ปัญหาที่ ๑ ถามเรื่องทรงแสดงของลับ
ปัญหาที่ ๒ ถามเรื่องผรุสวาจาของพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๓ ถามเรื่องจิตวิญญาณของต้นไม้
ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องอานิสงส์แห่งบิณฑบาตทั้งสองคราว
ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องทรงอนุญาตพุทธบูชา
ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องสะเก็ดศิลาถูกพระบาท
ปัญหาที่ ๗ ถามเรื่องการถวายโภชนาหาร
ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องทรงขวนขวายน้อยในการแสดงธรรม
ปัญหาที่ ๙ ถามถึงความมีอาจารย์และไม่มีอาจารย์ของพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๑๐ ถามถึงสมณะที่เลิศและไม่เลิศ


วรรคที่ ๔

ปัญหาที่ ๑ ถามเกี่ยวกับเรื่องสรรเสริญ
ปัญหาที่ ๒ ถามเรื่องไม่เบียดเบียนและไม่ข่มเหง
ปัญหาที่ ๓ ถามเรื่องทรงขับไล่ภิกษุ

ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องความเป็นสัพพัญญูของพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องไม่มีที่อยู่ประจําและไม่มีอาลัย
ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องสํารวมท้อง
ปัญหาที่ ๗ ถามเรื่องปกปิดพระธรรมวินัย
ปัญหาที่ ๘ ถามถึงความหนักเบาแห่งมุสาวาท
ปัญหาที่ ๙ ถามถึงเรื่องผู้ควรแก่การขอ


วรรคที่ ๕

ปัญหาที่ ๑ ถามถึงอํานาจฤทธิ์และกรรม
ปัญหาที่ ๒ ถามถึงธรรมดาของพระโพธิสัตว์
ปัญหาที่ ๓ ถามถึงเรื่องฆ่าตัวเอง
ปัญหาที่ ๔ ถามเกี่ยวกับอานิสงส์เมตตา

ปัญหาที่ ๕ ถามถึงความเสมอกันและไม่เสมอกันแห่งกุศลอกุศล
ปัญหาที่ ๖ ถามเกี่ยวกับนางอมราเทวีของมโหสถ
ปัญหาที่ ๗ ถามถึงความไม่กลัวแห่งพระขีณาสพ
ปัญหาที่ ๘ ถามถึงคุณและโทษแห่งสันถวไมตรี
ปัญหาที่ ๙ ถามถึงความมีอาพาธน้อยของพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๑๐ ถามเรื่องพระพุทธเจ้าทรงกระทําทางให้เกิด


วรรคที่ ๖

ปัญหาที่ ๑ ถามถึงโทษแห่งปฏิปทา
ปัญหาที่ ๒ ถามถึงธรรมที่ไม่ให้เนิ่นช้า

ปัญหาที่ ๓ ถามถึงความเป็นพระอรหันต์แห่งคฤหัสถ์
ปัญหาที่ ๔ ถามถึงเรื่องโลมกัสสปฤาษี
ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องพญาช้างฉัททันต์
ปัญหาที่ ๖ ถามถึงเรื่องฆฏิการอุบาสก
ปัญหาที่ ๗ ถามถึงความเป็นพระราชาของพระพุทธเจ้า
ปัญหาที่ ๘ ถามถึงเหตุที่ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นพร้อมกัน ๒ พระองค์
ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องสัมมาปฏิบัติของคฤหัสถ์และบรรพชิต


วรรคที่ ๗

ปัญหาที่ ๑ ถามเรื่องพระสึก

ปัญหาที่ ๒ ถามเรื่องเวทนาทางกายทางใจของพระอรหันต์
ปัญหาที่ ๓ ถามเรื่องอันตรายแห่งการสําเร็จธรรมของคฤหัสถ์ผู้ต้องปาราชิก
ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องสมณะทุศีล คฤหัสถ์ทุศีล
ปัญหาที่ ๔ ถามความมีชีวิตแห่งน้ำ
ปัญหาที่ ๖ ถามถึงสิ่งที่ไม่มีในโลก
ปัญหาที่ ๗ ถามถึงความเผลอสติของพระอรหันต์
ปัญหาที่ ๘ ถามถึงความมีอยู่แห่งนิพพาน
ปัญหาที่ ๙ ถามถึงสิ่งที่เกิดจากกรรมและไม่เกิดจากกรรม


วรรคที่ ๘

ปัญหาที่ ๑ ถามถึงความตายแห่งยักษ์
ปัญหาที่ ๒ ถามเรื่องไม่ทรงบัญญัติสิกขาบท
ปัญหาที่ ๓ ถามถึงมลทินแห่งดวงอาทิตย์
ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องความร้อนแห่งดวงอาทิตย์
ปัญหาที่ ๕ ถามถึงเรื่องทานของพระเวสสันดร


*** ปัญหาต่อไปโปรดติดตาม Pages 2 ****




ตอนที่ ๑




คํานมัสการพระรัตนตรัย ของ พระติปิฎกจุฬาภัยเถระ

"..พระจริยาอันเป็นประโยชน์แก่โลกทั้งปวง ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณธรรมอันใหญ่พระองค์ใดมีอยู่ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้สมเด็จพระบรมครูพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้มีอานุภาพอันเป็นอจินไตย ผู้เป็นนายกอันเลิศของโลก สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์พระองค์ใด เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาจรณะ นําหมู่สัตว์ออกจากโลกด้วยธรรมะอันใด

ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ธรรมะอันนั้น ซึ่งเป็นธรรมะอันสูงสุด เป็นธรรมะอันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชาพระอริยสงฆ์ใดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ มีศีลคุณเป็นต้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ผล ๔ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์นั้น ผู้เป็นนาบุญอันเยี่ยมของโลก

บุญอันใดที่ข้าพเจ้าทําให้เกิดขึ้นด้วยการนอบน้อมพระรัตนตรัยอย่างนี้ ด้วยเดชแห่งบุญอันนั้น จงให้อันตรายหายไปจากข้าพเจ้าในที่ทั้งปวง จงให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ปราศจากอันตราย มิลินทปกรณ์ คือคัมภีร์มิลินท์อันใด ที่ประกอบด้วยปุจฉาพยากรณ์มีอยู่ ขอท่านทั้งหลายจงฟังปัญหาทั้งหลายอันละเอียดลึกซึ้ง ที่มีอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหานั้น เพราะการฟังมิลินทปัญหานั้น จักทําให้เกิดประโยชน์สุข..."



พุทธพยากรณ์ในวันปรินิพพาน


เมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับเหล่าพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จไปที่เมืองกุสินารามหานคร ในเวลาที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงบรรทมบนบัลลังก์ หันพระเศียรไปทางทิศอุดร ในระหว่างนางรังทั้งคู่ อันมีอยู่ในพระราชอุทยานของพวกมัลลกษัตริย์ แห่งเมืองกุสินารา จึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

"ภิกษุทั้งหลาย...เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้รู้ว่า สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงทํากิจทั้งปวง ด้วยความไม่ประมาทเถิด ธรรมวินัยอันใด..เราบัญญัติไว้แล้ว เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ธรรมวินัยนั้นแหละ..จะเป็นครูของพวกเธอ

เมื่อเราปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสป จะระลึกถึงถ้อยคําที่ไม่ดีของ สุภัททภิกขุ ผู้บวชเมื่อแก่ แล้วจะกระทํา สังคายนา เพื่อรักษาพระพุทธวจนะไว้มิให้คลาดเคลื่อน ต่อนั้นไปอีก ๑๐๐ ปี พระยสกากัณฑกบุตร ผู้จะย่ำยีซึ่งถ้อยคําของพวก ภิกษุวัชชีบุตร จะได้กระทํา สังคายนาครั้งที่ ๒

ต่อไปอีกได้ ๒๑๘ ปี พระโมคคลีบุตรติสสเถระ ผู้จะลบล้างลัทธิของพวกเดียรถีย์ภายนอก จักได้กระทํา สังคายนาครั้งที่ ๓ ต่อมาภายหลัง พระมหินทเถระ จะไปประดิษฐานศาสนาของเราลงไว้ที่ ตามพปัณณิทวีป (ลังกา)

ต่อจากเราปรินิพพานไปล่วงได้ ๕๐๐ ปี จักมีพระราชาองค์หนึ่งชื่อว่า มิลินท์ ผู้ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ดีแล้ว จะทําให้เกิดปัญหาอันละเอียดขึ้นด้วยอานุภาพปัญญาของตน จะย่ำยีเสียซึ่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยปัญหาอันละเอียด

จะมีภิกษุองค์หนึ่งชื่อว่า นาคเสน ไปทําลายถ้อยคําของ มิลินทราชา ทําให้ มิลินทราชาเกิดความร่าเริงยินดีด้วยอุปมาเป็นเอนก จะทําศาสนาของเราให้หมดเสี้ยนหนามหลักตอ จะทําศาสนาของเราให้ตั้งอยู่ตลอด ๕๐๐๐ พรรษา..." ดังนี้

เพราะฉะนั้นจึงได้กล่าวไว้ว่า ผู้ใดเกิดในตระกูลในเวลาล่วงได้ ๕๐๐ ปี จากปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วนั้น ผู้นั้นจักได้ชื่อว่า "มิลินทราชา" เสวยราชย์อยู่ใน "สาคลนคร" อันเป็นเมืองอุดม "มิลินทราชา" นั้นจักได้ถามปัญหาต่อ "พระนาคเสน" มีอุปมาเหมือนกับน้ำในแม่น้ำคงคาไหลไปสู่มหาสมุทรสาครฉะนั้น

พระองค์เป็นผู้มีถ้อยคําอันวิจิตร ได้เสด็จไปหาพระนาคเสนในเวลาราตรี มีคบเพลิงจุดสว่างไสว แล้วถามปัญหาล้วนแต่ละเอียดลึกซึ้ง ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจไว้ด้วยดี ฟังปัญหาอันละเอียดในคัมภีร์มิลินท์นั้นเถิด จะเกิดประโยชน์สุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน ดังนี้

พระนครของพระเจ้ามิลินท์


มีคําเล่าลือปรากฏมาว่า เมืองสาคลนคร ของชาวโยนก เป็นเมืองที่งดงามด้วยธรรมชาติอันน่ารื่นรมย์ อุทยานอันมีสระน้ำสวนดอกไม้ผลไม้ ตกแต่งไว้อย่างดีมีหมู่นกมากมายอาศัยอยู่

ป้อมปราการก็แข็งแรงปราศจากข้าศึกมารบกวนถนนหนทางภายในพระนคร เกลื่อนกล่นไปด้วยช้างม้ารถอันคล่องแคล่ว อีกทั้งหมู่สตรีล้วนมีรูปร่างสวยงาม ต่างเที่ยวสัญจรไปมา ทั้งเป็นที่พักพาอาศัยของสมณพราหมณ์ พ่อค้าสามัญชนต่างๆ

เมืองสาคลนครนั้น สมบูรณ์ด้วยผ้า แก้วแหวนเงินทอง ยุ้งฉาง ของกินของใช้มีตลาดร้านค้าเป็นที่ไปมาแห่งพ่อค้า ข้างนอกเมืองก็บริบูรณ์ด้วยพืชข้าวกล้า อุปมาเหมือนข้าวกล้าในอุตตรกุรุทวีป หรือไม่ก็เปรียบเหมือนกับ "อารกมัณฑาอุทยาน" อันสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ฉะนั้น

สรุปหัวข้อปัญหา


ท่านพรรณนามาถึงตอนนี้แล้ว จึงได้แยกเรื่องไว้ ๖ อย่างคือ บุพพโยค ๑ มิลินทปัญหา ๑ เมณฑกปัญหา ๑ อนุมานปัญหา ๑ ลักขณปัญหา ๑ อุปมากถาปัญหา ๑ฉะนั้น ก่อนที่ท่านผู้อ่านจะพบกับเนื้อความในหนังสือเล่มนี้ต่อไป ผู้รวบรวมขอสรุปหัวข้อปัญหาให้ทราบไว้ก่อน ดังนี้

๑. บุพพโยค คือเรื่องเบื้องต้นก่อนที่จะถามปัญหา
๒. มิลินทปัญหา เป็นปัญหาที่พระเจ้ามิลินท์ถาม ปัญหาชุดนี้มี ๗ วรรค
๓. นอกวรรค มีเพียงปัญหาเดียว คือ โคตมีปัญหา
๔. เมณฑกปัญหา คือการถามปัญหาที่เป็นสองแง่ ปัญหาชุดนี้มี ๙ วรรค
๕. อุปมาปัญหา ว่าด้วยอุปมาต่างๆ ปัญหาชุดสุดท้ายนี้มี ๗ วรรค


เมื่อจบการถามตอบปัญหาแล้วก็ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ต่างๆ ต่อมาพระเจ้ามิลินท์ได้ทรงสละราชสมบัติ เมื่อทรงออกผนวชแล้วก็ได้สําเร็จพระอรหันต์

เป็นอันว่า ท่านผู้อ่านก็ได้ทราบไว้ก่อนแล้วว่า หนังสือเล่มนี้มีการจัดหมวดหมู่ไว้อย่างไรบ้าง จะช่วยให้ง่ายต่อการจดจํา จึงหวังว่าท่านทั้งหลายคงจะมีความอุตสาหะ อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ พยายามทบทวนทําความเข้าใจในถ้อยคําของท่าน แล้วจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล

ณ โอกาสนี้ จึงขอเชิญท่านผู้อ่านทุกท่าน พบกับเรื่อง บุพพโยค คือ "เรื่องเบื้องต้น" ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป....

◄ll กลับสู่ด้านบน

((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 13/3/08 at 23:56 Reply With Quote



เรื่องเบื้องต้น


บุพพกรรมของบุคคลทั้งสอง


...บุพพกรรมของ พระเจ้ามิลินท์ และ พระนาคเสน กล่าวคือ เมื่อครั้งศาสนาของ สมเด็จพระพุทธกัสสป โน้น
มีพระราชา พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้าวิชิตาวี เสวยราชย์อยู่ใน สาคลนครราชธานี

พระองค์ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วย สังคหวัตถุ ๔ สร้างมหาวิหารลงไว้ที่ริมแม่น้ำคงคา ถวายพระเถระทั้งหลายที่ทรงคุณธรรมต่าง ๆ กัน มีทรงพระไตรปิฎก เป็นต้น ทั้งทรงบํารุงด้วยปัจจัย ๔

เมื่อพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ได้ขึ้นไปบังเกิดเป็น พระอินทร์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานิสงส์ นั้นและ
มหาวิหารที่ท้าวเธอทรงสร้างไว้ ถึงพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ดี ก็มีพระภิกษุอาศัยอยู่เป็นอันมาก



ในพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้น พระภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยข้อวัตรเป็นอันดี เช้าขึ้นก็ได้ถือเอาไม้กวาดด้ามยาว
แล้วนึกถึงพระพุทธคุณ แล้วจึงพากันกวาดบริเวณพระเจดีย์ กวาดเอาหยากเยื่อไปรวมเป็นกองไว้ มีพระภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีลองค์หนึ่ง เรียกสามเณรองค์หนึ่งว่า
“ ...จงมานี่สามเณรจงหอบเอาหยากเยื่อไปเททิ้งเสีย ...”

สามเณรนั้นก็เฉยอยู่ เหมือนไม่ได้ยินพระภิกษุองค์นั้นเรียกสามเณรองค์นั้นถึง ๓ ครั้ง เห็นสามเณรนั่งนิ่งเฉยอยู่
เหมือนไม่ได้ยิน ก็คิดว่า สามเณรองค์นี้หัวดื้อ จึงไปตีด้วยด้ามไม้กวาดสามเณร ก็ร้องไห้ด้วยความเจ็บปวด แล้วหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งด้วยความกลัว เมื่อหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งนั้นได้ปรารถนาว่า

“... ด้วยผลบุญที่เราหอบหยากเยื่อมาทิ้งนี้หากเรายังไม่ถึงนิพพานเพียงใด เราจะเกิดในภพใด ๆ ก็ตาม ขอให้เรามีเดชเหมือนกับดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงวันฉะนั้นเถิด... ”

สามเณรตั้งความปรารถนาดังนี้แล้ว ก็เดินไปอาบน้ำที่แม่น้ำคงคา ดําผุดดําว่ายเล่นตามสบายใจเมื่อสบายใจแล้วก็
ได้เห็นละลอกคลื่นในแม่น้ำนี้มากมายนักหนา ก็ยินดีปรีดาจะใคร่มีปัญญาเฉลียดฉลาดไม่รู้สุดรู้สิ้น ดุจลูกคลื่นในแม่น้ำนั้นและได้คิดว่าอาจารย์ได้ใช้ให้เราหอบเอาหยากเยื่อมาทิ้งนี้ ไม่ใช่เป็นกรรมของเรา ทั้งไม่ใช่เป็นกรรมของอาจารย์ แต่เป็นการอนุเคราะห์เราให้ได้บุญเท่านั้น ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงปรารถนาขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า

“ ข้าพเจ้ายังไม่ถึงนิพพานตราบใด ไม่ว่าข้าพเจ้าจะไปเกิดในชาติใดๆ ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาไม่รู้จักสิ้นสุดเหมือนกับลูกคลื่นในแม่น้ำคงคานี้เถิด ”

ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์นั้น เมื่อเอาไม้กวาดไปเก็บไว้ที่โรงเก็บไม้กวาดแล้ว ก็ลงไปที่ท่าน้ำคงคาเพื่อจะอาบน้ำก็ได้ยินเสียงสามเณรตั้งความปรารถนา จึงคิดว่าความปรารถนาของสามเณรนี้เป็นความปรารถนาใหญ่ จะสําเร็จได้เพราะอาศัยพระพุทธคุณ

คิดดังนี้แล้ว จึงหัวเราะขึ้นด้วยความดีใจว่า สามเณรนี้ถึงเป็นผู้ที่เราใช้ก็ยังปรารถนาอย่างนี้ ความปรารถนาของสามเณรนี้ จักสําเร็จเป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้ว จึงตั้งความปรารถนาว่า

“ ข้าพเจ้ายังไม่สําเร็จนิพพานตราบใด ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาหาที่สุดมิได้ เหมือนกับฝั่งแม่น้ำคงคานี้ ให้เป็นผู้สามารถแก้ไขปัญหาปฏิภาณทั้งปวง ที่สามเณรไต่ถามได้สิ้น
ให้สามารถชี้แจงเหตุผลต้นปลายได้เหมือนกับบุรุษที่ม้วนกลุ่มด้าย สางด้ายอันยุ่ง ให้รู้ได้ว่า ข้างต้นข้างปลายฉะนั้น ด้วยอํานาจบุญที่ข้าพเจ้าได้กวาดวัด และใช้สามเณรให้นําหยากเยื่อมาเททิ้งนี้เถิด ”

เมื่อบุคคลทั้งสองนั้น ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเทพยดาและมนุษย์ ก็ล่วงมาถึง ๑ พุทธันดร พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย ผู้เป็นที่พึ่งของโลกได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า

ความเกิดขึ้นแห่งพระเถระทั้งหลาย มี พระโมคคลีบุตรติสสะเถระ และ พระอุปคุตตเถระ เป็นต้น จักปรากฏฉันใด ความเกิดขึ้นแห่งบุคคลทั้งสองนั้น ก็จะปรากฏฉันนั้น เมื่อเราปรินิพพานล่วงไปได้ ๕๐๐ ปีแล้ว บุคคลทั้งสองนั้นจักเกิดขึ้น ธรรมวินัยอันใด อันเป็นของสุขุมที่เราได้แสดงไว้ ธรรมวินัยอันนั้น บุคคลทั้งสองนั้นจักแก้ไขให้หมดฟั่นเฝือ ด้วยการไต่ถามปัญหากันดังนี้

ต่อมาสามเณรนั้น ก็ได้มาเกิดเป็น พระเจ้ามิลินท์ ในสาคลนคร อันมีในชมพูทวีป พระเจ้ามิลินท์นั้นเป็นบัณฑิต
เป็นผู้ฉลาดมีความคิดดี สามารถรู้เหตุการณ์อันเป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ เป็นผู้ใคร่ครวญในเหตุการณ์ถี่ถ้วนทุกประการ เป็นผู้ได้ศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ ไว้เป็นอันมากถึง ๑๘ ศาสตร์ด้วยกัน รวมเป็น ๑๙ กับทั้งพุทธศาสตร์



ศิลปะศาสตร์ ๑๘ ประการคือ

๑. รู้จักภาษาสัตว์ มีเสียงนกร้องเป็นต้นว่าร้ายดีประการใดได้สิ้น
๒. รู้จักกําเนิดเขาและไม้เป็นต้นว่าชื่อนั้นๆ
๓. คัมภีร์เลข
๔. คัมภีร์ช่าง
๕. คัมภีร์นิติศาสตร์ รู้ที่จะเป็นครูสั่งสอนท้าวพระยาทั้งปวง
๖. คัมภีร์พาณิชยศาสตร์ รู้ที่จะเลี้ยงฝูงชนให้เป็นสิริมงคล
๗. พลศาสตร์ รู้นับนักขัตฤกษ์ รู้ตําราดวงดาว
๘. คันธัพพศาสตร์ รู้เพลงขับร้องและดนตรี
๙. เวชชศาสตร์ รู้คัมภีร์แพทย์
๑๐. ธนูศาสตร์ รู้ศิลปะการยิงธนู
๑๑. ประวัติศาสตร์
๑๒. ดาราศาสตร์ รู้วิธีทํานายดวงชะตาของคน
๑๓. มายาศาสตร์ รู้ว่านี่เป็นแก้ว นี่มิใช่แก้ว เป็นต้น
๑๔. เหตุศาสตร์ ผลศาสตร์รู้จักเหตุรู้จักผลจะบังเกิด
๑๕. ภูมิศาสตร์ รู้จักที่จะเลี้ยงโคกระบือ รู้การที่จะหว่านพืชลงในนาไร่ให้เกิดผล
๑๖. ยุทธศาสตร์ รู้คัมภีร์พิชัยสงคราม
๑๗. ลัทธิศาสตร์ รู้คัมภีร์โลกโวหาร
๑๘. ฉันทศาสตร์ รู้จักคัมภีร์ผูกบทกลอนกาพย์โคลง

พระเจ้ามิลินท์นั้น มีถ้อยคําหาผู้ต่อสู้ได้ยาก ปรากฏยิ่งกว่าพวกเดียรถีย์ทั้งปวงไม่มีใครเสมอเหมือนในทางสติปัญญา ทั้งประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ คือ

๑. มีเรี่ยวแรงมาก
๒. มีปัญญามาก
๓. มีพระราชทรัพย์มาก



อยู่มาคราวหนึ่ง พระเจ้ามิลินท์ได้เสด็จออกจากพระนครด้วยพลนิกรเป็นอันมาก หยุดพักนอกพระนครแล้ว ตรัสแก่พวกอํามาตย์ว่า

” เวลายังเหลืออยู่มาก เราจะทําอะไรดี เราจะกลับเข้าเมืองก็ยังวันอยู่ สมณพราหมณ์เจ้าหมู่เจ้าคณะคณาจารย์ที่ยืนยันว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ใดหนอ อาจสนทนากับเราได้ อาจตัดความสงสัยของเราได้

เมื่อตรัสอย่างนี้ พวกโยนกข้าหลวงทั้ง ๕๐๐ก็กราบทูลขึ้นว่า
“ข้าแต่มหาราชเจ้า บัณฑิตที่จะพอสนทนากับพระองค์ได้นั้นมีอยู่ คือครูทั้ง ๖ อันได้แก่ ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล
นิคัณฐนาฏบุตร สญชัยเวฬัฏฐบุตร อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะ
พระเจ้าข้า

ครูทั้ง ๖ นั้น เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียงปรากฏ มียศบริวารมีผู้คนนับถือมาก ขอมหาราชเจ้าจงเสด็จไปไต่ถามปัญหา ต่อคณาจารย์เหล่านั้นเถิดคณาจารย์เหล่านั้นจะตัดความสงสัยของพระองค์ได้ พระเจ้าข้า ”

พระเจ้ามิลินท์เสด็จไปหาครูทั้ง ๖


ลําดับนั้น พระเจ้ามิลินท์ก็ห้อมล้อมด้วยข้าหลวงโยนกทั้ง ๕๐๐ ขึ้นทรงราชรถเสด็จไปหา ปูรณกัสสป ทรงปราศรัยแล้วประทับนั่งลงตรัสถามว่า
“ ท่านกัสสป...อะไรรักษาโลกไว้ ? ”

ปูรณกัสสปตอบว่า “ขอถวายพระพรแผ่นดินรักษาโลกไว้ ”

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า “ ถ้าแผ่นดินรักษาโลกไว้ เหตุไรผู้ทําบาปจึงล่วงเลยแผ่นดินลงไปถึงอเวจีนรกล่ะ? ”

เมื่อตรัสอย่างนี้ ปูรณกัสสปก็ไม่อาจโต้ตอบได้ ได้แต่นั่งนิ่งกลืนน้ำลายอยู่เท่านั้น
ลำดับนั้น พระเจ้ามิลินท์จึงทรงดําริว่าชมพูทวีปว่างเปล่าเสียแล้ว ชมพูทวีปไม่มีประชน์เสียแล้ว เพราะไม่มี
สมณพราหมณ์เจ้าหมู่เจ้าคณะ คณาจารย์ ผู้อวดอ้างตนว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะสามารถตัดความสงสัยของเราได้ ทรงดําริอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จไปหา มักขลิโคสาล ตรัสถามว่า
“ ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีอยู่หรือ? ”

มักขลิโคสาลตอบว่า
“ขอถวายพระพร ไม่มี..คือพวกใดเคยเป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์ เวศย์ ศูทร จัณฑาล คนเทหยากเยื่ออยู่ในโลกนี้เวลาไปถึงโลกหน้าก็จะเกิดเป็นกษัตริย์ พราหมณ์เ วศย์ ศูทร จัณฑาล คนเทหยากเยื่ออีก การทําบุญไม่มีประโยชน์อะไร ”

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสอีกว่า
“ ถ้าอย่างนั้น พวกใดที่มีมือด้วนเท้าด้วนในโลกนี้ พวกนั้นไปเกิดในโลกหน้า ก็จะต้องมีมือด้วนเท้าด้วนอีกน่ะซี ”

มักขลิโคสาลตอบว่า “ อย่างนั้น มหาบพิตร คือผู้ใดได้รับโทษถูกตัดมือเท้าในโลกนี้ เวลาผู้นั้นไปเกิดในโลกหน้า ก็จะถูกตัดมือตัดเท้าอีก ”

พระเจ้ามิลินทร์ตรัสว่า “โยมไม่เชื่อ”

มักขลิโคสาลก็นิ่ง พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสต่อไปว่า
“ นี่แน่ะ มักขลิโคสาล ข้าพเจ้าถามท่านว่าผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีอยู่หรือ ท่านก็แก้เสียอย่างนี้ ท่านเป็นคนโง่เขลาพวกใดทํากรรมที่จะให้เกิดไว้อย่างใด ๆ พวกนั้นก็ต้องไปเกิดด้วยกรรมอย่างนั้น ๆ”

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสแก่พวกอํามาตย์ขึ้นว่า
“ นี่แน่ะ ท่านทั้งหลาย เวลานี้ก็ค่ำแล้วเราจะไปหาสมณพราหมณ์ เจ้าหมู่เจ้าคณะคณาจารย์ใด ๆ อีก ผู้ใดจะอาจสนทนากับเราได้ อาจตัดความสงสัยของเราได้ ”

ตรัสอย่างนี้หลายหน แต่พวกอํามาตย์ก็พากันนิ่งอยู่ ไม่รู้ว่าจะกราบทูลอย่างไร ท้าวเธอก็เสด็จกลับเข้าสู่พระนคร ต่อนั้นไปพระองค์ก็ได้ไปเที่ยวไต่ถามสมณพราหมณ์ เจ้าหมู่เจ้าคณะคณาจารย์ ในที่นั้น ๆ ไม่เลือกหน้า

พวกใดแก้ปัญหาของท้าวเธอไม่ได้พวกนั้นก็หนี ไปพวกที่ไม่หนีก็สู้ทนนิ่งอยู่ แต่โดยมากได้พากันหนีไปสู่ป่าหิมพานต์ เมืองสาคลนครจึงเป็นเหมือนกับว่างจากสมณพราหมณ์อยู่ถึง ๑๒ ปี



พระอรหันต์ขึ้นไปเชิญมหาเสนะเทพบุตร




ในคราวนั้น มีพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิ อาศัยอยู่ที่ ถ้ำรักขิตเลณะ ในภูเขาหิมพานต์ ได้ทราบประวัติการณ์ของพระเจ้ามิลินท์แล้ว จึงได้ขึ้นไปประชุมกันที่ยอดภูเขายุคันธร ถามกันขึ้นว่า
“ มีพระภิกษุองค์ใด สามารถโต้ตอบกับพระเจ้ามิลินท์ ตัดความสงสัยของพระองค์ได้ ”

ถามกันอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง พระอรหันต์ทั้ง ๑๐๐โกฏิก็นิ่งอยู่ ลําดับนั้น พระอัสสคุตตะ ผู้เป็นหัวหน้าจึงกล่าวขึ้นว่า
“ ดูก่อนท่านทั้งหลาย มหาเสนะเทพบุตรที่อยู่ในเกตุมดีวิมาน ทางด้านตะวันออกแห่งเวชยันตวิมานของพระอินทร์มีอยู่
มหาเสนะเทพบุตร นั้นแหละ อาจโต้ตอบกับพระเจ้ามิลินท์ได้อาจตัดความสงสัยของพระองค์ได้ ”

พระอรหันต์ทั้ง ๑๐๐ โกฏิ จึงได้พร้อมกันขึ้นไปหาพระอินทร์ที่ดาวดึงสเทวโลก พระอินทร์จึงเสด็จออกมาต้อนรับกราบไหว้แล้วถามว่า
“ ข้าแต่ท่านทั้งหลาย มีพระภิกษุสงฆ์มาเป็นอันมาก โยมนี้เป็นเหมือนกับคนวัดสําหรับรับใช้ พระภิกษุสงฆ์จะให้โยมทําอะไร ขอได้โปรดบอกเถิด ”

พระอัสสคุตต์จึงถวายพระพรว่า
“ เวลานี้มหาราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “ มิลินท์ ” อยู่ในชมพูทวีป เป็นผู้ได้เรียนศาสตร์ต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก ฉลาดเจรจา ไม่มีใครสู้ได้ ได้เที่ยวเบียดเบียนพระภิกษุสงฆ์ ด้วยการถามปัญหาตามลัทธิเดียรถีย์ ขอถวายพระพร ”

พระอินทร์จึงตรัสว่า
....“ อ้อ...พระราชาองค์นั้น ได้จุติไปจากดาวดึงส์นี้เอง ”
....“ อย่างนั้นหรือ..มหาบพิตร ? ”
....“ อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่จะโต้ตอบกับพระเจ้ามิลินท์ได้นั้น มีแต่มหาเสนะเทพบุตรเท่านั้น โยมจะไปอ้อนวอนเขาให้ลงไปเกิดในมนุษยโลก ”



ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ก็พาพระภิกษุสงฆ์เสด็จไปที่เกตุมดีวิมาน ทรงเข้าไปสวมกอดมหาเสนะเทพบุตรแล้ว จึงตรัสขึ้นว่า “ นี่แน่ะ...มหาเสนะผู้หาทุกข์มิได้ บัดนี้พระภิกษุสงฆ์ขอให้เจ้าลงไปเกิดในมนุษยโลก ”

มหาเสนะเทพบุตรจึงกราบทูลว่า
“ ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ไม่ต้องการลงไปเกิดในมนุษยโลก เพราะมนุษยโลกเดือดร้อนด้วยการงานมาก ข้าพระองค์จะขึ้นไปเกิดในเทวโลกชั้นสูง ๆ ต่อขึ้นไป แล้วจะเข้านิพพานจากเทวโลกชั้นสูงนั้น พระเจ้าข้า ”

พระอัสสคุตตเถระจึงกล่าวขึ้นว่า
“ นี่แน่ะ ท่านผู้หาทุกข์มิได้ พวกเราได้พิจารณาดูตลอดมนุษยโลกเทวโลกแล้วไม่เห็นมีผู้อื่นนอกจากท่าน ที่จะสามารถทําลายถ้อยคําของพระเจ้ามิลินท์ได้ สามารถเชิดชูพุทธศาสนาไว้ได้ พระภิกษุสงฆ์จึงได้ขึ้นมาอ้อนวอนท่าน ขอท่านจงลงไปเกิดในมนุษยโลก ยกย่องพระพุทธศาสนาไว้เถิด ”

เมื่อพระภิกษุสงฆ์อ้อนวอนอย่างนี้แล้ว มหาเสนะเทพบุตรจึงกราบทูลพระอินทร์ว่า
“ ถ้าอย่างนั้นขอพระองค์จงประทานพรแก่ข้าพระองค์ ให้ข้าพระองค์ทําลายล้างถ้อยคําของพระเจ้ามิลินท์ได้ สามารถเชิดชูพระพุทธศาสนาไว้ได้เถิด พระเจ้าข้า ”

ครั้นกราบทูลดังนี้แล้วก็ร่าเริงดีใจ มีใจฟูขึ้น ถวายปฏิญญาแก่พระภิกษุสงฆ์ว่าข้าพเจ้าจะลงไปเกิดในมนุษยโลก
แล้วก็รับพรจากพระอินทร์ ลําดับนั้น พระภิกษุสงฆ์ก็ถวายพระพรลา กลับลงมาสู่ถ้ำรักขิตเลณะในภูเขาหิมพานต์อีก



พระโรหนเถระได้รับมอบธุระ


เพื่อให้นาคเสนกุมารได้บรรพชา


เมื่อมาถึงแล้วพระอัสสคุตตเถระจึงถามพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นว่า
“ ดูก่อนท่านทั้งหลายภิกษุที่ไม่ได้มาในที่ประชุมสงฆ์นี้มีอยู่หรือ ? ”

มีพระภิกษุองค์หนึ่งตอบว่า “ มีอยู่ขอรับ คือพระโรหนเถระท่านไปเข้านิโรธสมาบัติ อยู่ที่ภูเขาหิมพานต์ได้ ๗ วันแล้วพวกเราควรจะใช้ทูตไปหา ”

พอดีในขณะนั้น พระโรหนเถระ ก็ออกจากนิโรธสมาบัติ นึกรู้ความประสงค์พระอรหันต์ทั้งหลายว่าต้องการพบเรา
จึงได้หายวับจาก ภูเขาหิมพานต์ มาปรากฏที่ ถ้ำรักขิตเลณะ ต่อหน้าพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิ

ครั้งนั้นพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิจึงกล่าวขึ้นว่า
“ นี่แน่ะ ท่านโรหนะ เมื่อพระศาสนากําลังถูกกระทบกระเทือน เหตุไรท่านจึงไม่รู้จักช่วยเหลือไม่เหลียวแลกิจเหมือนสงฆ์ ? ”

พระโรหนะจึงตอบว่า “ เป็นเพราะข้าพเจ้ามิได้กําหนดจิตไว้ ”

พระสงฆ์จึงบอกว่า “ ถ้าอย่างนั้น พวกเราจะลงทัณฑกรรทท่าน เพราะเหตุที่ท่านไม่ได้ใส่ใจในกิจของพระศาสนา ”

พระโรหนะจึงถามอีกว่า “ จะลงทัณฑกรรมข้าพเจ้าอย่างไร ? ”

พระสงฆ์ตอบว่า
“ นี่แน่ะ ท่านโรหนะ มีบ้านพราหมณ์ตำบลหนึ่งชื่อว่าชังคละ ข้างป่าหิมพานต์ มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่าโสนุตระ อยู่ในบ้านนั้น เขามีบุตรชื่อว่านาคเสนกุมาร ท่านงพยายามไปบิณบาตรที่ตระกูลนั้น ให้กุมารออกบรรพชาให้ได้ เมื่อนาคเสนกุมารได้บรรพชาแล้วท่านจึงจะพ้นจากทัณฑณกรรมนั้น..."

◄ll กลับสู่ด้านบน

((((((( โปรดติดตามตอนต่อไป วันที่ 21 มี.ค. 51 )))))))))




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 20/3/08 at 22:21 Reply With Quote


(Update 21 มี.ค. 51)

ตอนที่ ๒


มหาเสนะเทพบุตรจุติจากเทวโลก


      

...ฝ่ายมหาเสนะเทพบุตร ก็ได้จุติจากเทวโลกลงมาถือกําเนิดในครรภ์ของนางพราหมณี ในขณะนั้นก็มีอัศจรรย์ ๓ ประการปรากฏขึ้น คือ

1.   บรรดาอาวุธทั้งหลายได้รุ่งเรืองเป็นแสงสว่าง
2.   ฝนตกใหญ่นอกฤดูกาล
3.   เมฆใหญ่ตั้งขึ้น

      ( ตอนนี้ใน ฉบับพิสดาร กล่าวว่า อัศจรรย์ทั้งนี้ด้วยบารมีของมหาเสนะเทพบุตรที่ได้กระทํามาบอกเหตุที่เกิดมานี้ว่า จะได้ทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองไปถ้วน ๕๐๐๐ พระวัสสา )

      จาก ฉบับ ส. ธรรมภักดี ได้บรรยายต่อไปว่า ลําดับนั้น พระโรหนเถระก็ไปเที่ยวบิณฑบาตที่ตระกูลนั้น เริ่มแต่วันนั้นไปตลอด ๗ ปี กับ ๑๐ เดือน แต่ไม่ได้อะไรเลย เพียงแต่การยกมือไหว้หรือการแสดงความเคารพก็ไม่ได้ ได้แต่การด่าว่าเท่านั้น

      เมื่อล่วงมาจาก ๗ ปีนั้น จึงได้เพียงคําไต่ถามเท่านั้นคืออยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพราหมณ์นั้นกลับมาจากดูการงานนอกบ้าน
ก็ได้พบพระเถระเดินสวนมา จึงถามว่า

“ นี่แน่ะบรรพชิตท่านได้ไปที่บ้านเรือนของเราหรือ? ”

พระเถระตอบว่า “ ได้ไป ”

พราหมณ์จึงถามต่อไปว่า “ ท่านได้อะไรบ้างหรือ? ”

ตอบว่า “ ได้ ”

พราหมณ์นั้นก็นึกโกรธ จึงรีบไปถามพวกบ้านว่า “ พวกท่านได้ให้อะไรแก่บรรพชิตนั้นหรือ? ”

      เมื่อพวกบ้านตอบว่า ไม่ได้ให้อะไรเลย พราหมณ์ก็นิ่งอยู่ เวลารุ่งขึ้นวันที่สองพราหมณ์นั้นจึงไปยืนอยู่ที่ประตูบ้านด้วยคิดว่าวันนี้แหละบรรพชิตนั้นมา เราจักปรับโทษมุสาวาทให้ได้ พอพระเถระไปถึง พราหมณ์นั้นก็กล่าวขึ้นว่า

“ นี่แน่ะ บรรพชิต เมื่อวานนี้ท่านไม่ได้วัตถุสิ่งใดไปจากบ้านเรือนของเราเลย ทําไมจึงบอกว่าได้ การกล่าวมุสาวาทเช่นนี้ สมควรแก่ท่านแล้วหรือ? ”

      พระโรหนะจึงตอบว่า
“ นี่แน่ะ พราหมณ์ เราเข้ามาสู่บ้านเรือนของท่านตลอด ๗ ปีกับ ๑๐ เดือนแล้วยังไม่เคยได้อะไรเลย พึ่งได้คําถามของท่านเมื่อวานนี้เพียงคําเดียวเท่านั้น เราจึงตอบว่าได้ ”

เมื่อพราหมณ์ได้ฟังดังนี้ก็ดีใจ จึงคิดว่า พระองค์นี้เพียงแต่ได้คําปราศรัยคําเดียวเท่านั้น ก็ยังบอกในที่ประชุมชนว่าได้ ถ้าได้ลาภอย่างใดอย่างหนึ่งไปจะไม่สรรเสริญหรือ นี่เพียงแต่ได้คําถามคําเดียวเท่านั้นก็ยังสรรเสริญ

      เมื่อคิดอย่างนี้แล้ว จึงสั่งพวกบ้านว่าพวกท่านจงเอาข้าวของเราถวายบรรพชิตนี้วันละ ๑ ทัพพีทุกวันไป ต่อนั้นพราหมณ์ก็เลื่อมใสต่ออิริยาบถ และความสงบเสงี่ยมของพระเถระยิ่งขึ้นเป็นลําดับไปจึงขอนิมนต์ว่า

“ ขอท่านจงมาฉันอาหารประจํา ที่บ้านเรือนของข้าพเจ้าทุกเช้าไป ”
พระเถระก็รับด้วยอาการนิ่งอยู่พราหมณ์ก็ได้ถวายอาหารคาวหวาน อันเป็นส่วนของตนแก่พระเถระทุกเช้าไป พระเถระฉันแล้วเวลาจะกลับ ก็กล่าวพระพุทธพจน์วันละเล็กละน้อยทุกวันไป

คราวนี้จะย้อนกล่าวถึงนางพราหมณีนั้นอีก กล่าวคือ นางพราหมณีนั้นล่วงมา ๑๐ เดือน ก็คลอดบุตรให้ชื่อว่า “ นาคเสน ”



นาคเสนกุมารศึกษาไตรเพท


      เมื่อนาคเสนกุมารเติบโตขึ้นอายุได้ ๗ ขวบ มารดาบิดาก็ให้ศึกษาไตรเพททั้ง ๓ กับศิลปะศาสตร์อื่น ๆ สําหรับตระกูลพราหมณ์ร่ำรียนสืบ ๆ กันมา นาคเสนกุมารรับว่าจะเรียนเอาให้ได้

      ส่วนว่าโสนุตตรพราหมณ์ผู้เป็นบิดา จึงให้เชิญพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์มาที่เรือนแล้ว ก็ให้ทรัพย์ประมาณ ๑ พันกหาปณะเป็นค่าจ้าง ฝ่ายนาคเสนกุมารฟังพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์บอกวิชาเพียงครั้งเดียว ก็สามารถจําได้จบครบทุกประการ จึงได้มีวาจาถามว่า

“ ข้าแต่บิดา คําสอนสําหรับสกุลพราหมณ์สิ้นสุดเท่านี้หรือ.. หรือว่ายังมีอีกประการใดเล่า? ”

      พราหมณ์ผู้เป็นบิดาจึงตอบว่า
“ นี่แน่ะนาคเสน คําสอนสําหรับพราหมณ์มาแต่ก่อนเก่านั้น ก็จบเพียงแค่นี้ ”
เมื่อนาคเสนร่ำรียนศึกษาจากสํานักพราหมณาจารย์แล้ว ก็ให้ทรัพย์ค่าจ้างบอกวิชาแล้ว ได้รับเอาซึ่งกําใบลานที่อาจารย์ให้เป็นกําใบลานหนังสือพราหมณ์ สําหรับที่จะได้ดูและอ่านการไตรเพ และศิลปะศาสตร์ทุกสิ่งอัน

      อยู่มาวันหนึ่ง นาคเสนกุมารจึงลงจากปราสาท ไปยืนพิจารณาเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุดแห่งไตรเพททั้ง ๓ กับศิลปศาสตร์ทั้งปวง อยู่ที่ศาลาข้างประตูทุกวันไปจนตลอดถึง ๓ วันเมื่อไม่เห็นมีแก่นสารอันใด จึงเกิดความไม่สบายใจว่าสิ่งเหล่านี้เปล่าทั้งนั้นไม่มีสาระประโยชน์อันใดเลย





พระโรหนะไปนํานาคเสนกุมาร เพื่อจะให้บรรพชา

      ในคราวนั้น พระโรหนเถระ นั่งอยู่ที่วัตตนิยเสนาสนะวิหาร ได้ทราบความคิดของนาคเสนกุมาร จึงหายวับไปปรากฏขึ้นข้างหน้านาคเสนกุมารทันที พอนาคเสนกุมารได้แลเห็น ก็เกิดความร่าเริงดีใจว่าบรรพชิตองค์นี้คงรู้จักสิ่งที่เป็นสาระเป็นแน่จึงถามขึ้นว่า

“ ผู้มีศีรษะโล้นนุ่งเหลืองเช่นนี้เป็นอะไร? ”

พระเถระตอบว่า “ เป็นบรรพชิต ”

“ เหตุไรจึงได้ชื่อว่าบรรพชิต? ”

“ เหตุว่าเว้นเสียซึ่งบาป เว้นเสียซึ่งโทษจึงได้ชื่อว่าบรรพชิต ”

“ ท่านรู้จักศิลปศาสตร์บ้างหรือ? ”

“ รู้จัก ”

“ ศิลปศาสตร์อันใดที่สูงสุดในโลกมีอยู่ท่านจะบอกศิลปศาสตร์อันนั้นให้แก่กระผมได้หรือ? ”
“ อาจบอกได้..พ่อหนู! ”

“ เหตุใดผมและหนวดของท่านจึงไม่เหมือนคนอื่น? ”

“ นี่แน่ะ พ่อหนู บรรพชิตทั้งหลายเห็นความกังวล ๑๖ ประการ จึงได้โกนผมโกนหนวดเสีย

      ความกังวล ๑๖ ประการนั้นคือ
  1.   กังวลด้วยอาภรณ์คือเครื่องประดับ
  2.   กังวลด้วยช่างทอง
  3.   กังวลด้วยการขัดสี
  4.   กังวลด้วยการเก็บเครื่องประดับ
  5.   กังวลด้วยการฟอกผมสระผม
  6.   กังวลด้วยดอกไม้
  7.   กังวลด้วยของหอม
  8.   กังวลด้วยเครื่องอบ
  9.   กังวลด้วยสมอ
10.   กังวลด้วยมะขามป้อม
11.   กังวลด้วยดินเหนียว ( สมอ มะขาม ป้อม ดิน ทั้ง ๓ ประการนี้ ทําเป็นยาสระผม )
12.   กังวลด้วยเข็มปักผม
13.   กังวลด้วยผ้าผูกผม
14.   กังวลด้วยหวี
15.   กังวลด้วยช่างตัดผม
16.   กังวลด้วยการอาบน้ำชําระผมรวมเป็น ๑๖ ประการด้วยกัน

      ในเส้นผมแต่ละเส้นย่อมมีหมู่หนอนอาศัยอยู่ที่รากผม ทําให้รากผมเศร้าหมองคนทั้งหลายได้เห็นผมเศร้าหมอง ก็เศร้าใจเสียใจ ไม่สบายใจ เมื่อมัวแต่ยุ่งอยู่กับผมด้วยเครื่องกังวล ๑๖ อย่างนี้ ศิลปะศาสตร์ที่สุขุมยิ่งก็เสียไป เพราะฉะนั้นแหละ บรรพชิตทั้งหลายจึงต้องโกนผมโกนหนวดทิ้งเสีย ”

      “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้อนี้น่าอัศจรรย์เพราะเมื่อคนทั้งหลายกังวลอยู่กับเครื่องกังวล ๑๖ ประการอย่างนี้ ศิลปะศาสตร์ที่สุขุมยิ่ง ต้องไม่ปรากฏเป็นแน่ ข้อนี้กระผมเชื่อ แต่ขอถามอีกทีว่า เหตุไรผ้านุ่งผ้าห่มของท่านจึงไม่เหมือนกับคนอื่น ๆ? ”

“ อ๋อ..การที่ผ้านุ่งผ้าห่มของเราไม่เหมือนคนอื่น ๆ นั้นเพราะว่าผ้านุ่งผ้าห่มอย่างพวกคฤหัสถ์ทําให้เกิดความกําหนัดยินดีใน สังขารร่างกายได้ง่าย ทําให้มีภัยอันตรายบังเกิดขึ้น เครื่องนุ่งห่มของเราจึงไม่เหมือนของคนอื่น ๆ ”


“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจสอนศิลปะศาสตร์ที่ละเอียดยิ่ง ให้แก่กระผมได้หรือ? ”

“ ได้...พ่อหนู! ”

“ ถ้าได้ขอได้โปรดสอนให้เดี๋ยวนี้เถิด ”

“ เออ...พ่อหนู เวลานี้เรายังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในละแวกบ้าน ยังสอนให้ไม่ได้หรอก ”

ลําดับนั้น นาคเสนกุมารจึงรับเอาบาตรของพระโรหนเถระ แล้วนิมนต์ให้ขึ้นไปฉันที่เรือน เมื่อฉันแล้วจึงกล่าวว่า

“ ขอท่านจงบอกศิลปะศาสตร์ที่ละเอียดให้แก่กระผมเดี๋ยวนี้เถิด ”

“ โอ....พ่อหนู! ตราบใดที่พ่อหนูยังมีกังวลอยู่ ตราบนั้นเรายังสอนให้ไม่ได้ ต่อเมื่อพ่อหนูขออนุญาตมารดาบิดาแล้ว ถือเพศอย่างเรา คือโกนผมนุ่งเหลืองห่มเหลืองเหมือนเรา เราจึงจะสอนให้ได้"

      นาคเสนกุมารจึงไปขออนุญาตต่อมารดาบิดา เมื่อมารดาบิดาไม่อนุญาต จึงนอนอดอาหาร ต่อเมื่อมารดาบิดาอนุญาต จึงบอกพระเถระว่า

“ กระผมจักถือเพศอย่างท่าน ขอท่านจงสอนศิลปะศาสตร์ที่ละเอียดให้แก่กระผม ” พระโรหนเถระจึงพานาคเสนกุมารกลับไปที่วัตตนิยเสนาสนะวิหาร ค้างอยู่คืนหนึ่ง รุ่งเช้าจึงพาไปหาพระอรหันต์ ๑๐๐โกฏิ ที่อยู่ที่ถ้ำรักขิตเลณะ

((((((( โปรดติดตามตอนต่อไป วันที่ 28 มี.ค. 51 )))))))))






Update 28 มีนาคม 2551

นาคเสนกุมารบรรพชา


ในคราวนั้น พระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิก็ได้ให้นาคเสนกุมารบรรพชาอยู่ที่ถ้ำรักขิตเลณะ นาคเสนกุมารบรรพชาแล้ว จึงกล่าวต่อพระโรหนเถระว่า

“ กระผมได้ถือเพศเหมือนท่านแล้ว ขอท่านจงสอนศิลปะศาสตร์ที่ละเอียดยิ่งให้กระผมเถิด ”

พระโรหนเถระจึงคิดว่า เราจะสอนอะไรก่อนดีหนอ นาคเสนนี้มีปัญญาดี เราควรจะสอนอภิธรรมปิฎกก่อน
ครั้นคิดแล้วจึงบอกว่าม
“ นาคเสน...เธอจงตั้งใจเรียนศิลปะศาสตร์ที่ละเอียดยิ่งของเรา ”

กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็เริ่มแสดงอภิธรรมทั้ง ๗ พระคัมภีร์ คือ


คัมภีร์อภิธรรมสังคิณี ว่า “ กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา อัพยากตา ธัมมา ” เป็นต้น และ คัมภีร์วิภังค์ ธาตุกถา
ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมกะ ปัฏฐาน
เป็นลําดับไป

นาคเสนสามเณรก็สามารถจําได้สิ้นเชิง พอมาถึงตอนนี้ ฉบับพิสดาร พรรณนาว่า ในขณะที่ฟังเพียงครั้งเดียว จึงได้กล่าวว่าขอได้โปรดบอกเพียงเท่านี้ก่อนเถิด เมื่อกระผมท่องจําได้แม่นยําแล้ว จึงค่อยบอกให้มากกว่านี้อีก

ต่อมา "นาคเสนสามเณร" ก็ได้นําความรู้ที่เรียนมาพิจารณา เช่น ในบทว่า กุสลา ธัมมา ได้แก่อะไร อกุสลา ธัมมา ได้แก่อะไร อัพยากตา ธัมมา ได้แก่อะไร ดังนี้เป็นต้น

ท่านได้พิจารณาเพียงครั้งเดียว ก็คิดเห็นเป็นกรรมฐานว่า มีความหมายอย่างนั้น ๆ ด้วยปัญญาบารมีที่ได้บําเพ็ญไว้
มาแต่ชาติก่อนโน้น

เมื่อคิดพิจารณาธรรมะอย่างถ้วนถี่แล้ว นาคเสนสามเณร จึงได้เข้าไปกราบนมัสการพระอรหันต์ทั้งหลาย พร้อมกับ
กล่าวว่า
“ กระผมจะขอแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ตามที่ได้เรียนมาจากพระอุปัชฌาย์ โดยขออธิบายความหมายให้ขยาย
ออกไปขอรับ ”


พระอรหันต์ทั้งหลาย ได้ฟังดังนั้นก็ดีใจ จึงอนุญาตให้สามเณรแสดงได้ตามความประสงค์ สามเณรได้วิสัชนาอยู่
ประมาณ ๗ เดือนจึงจบ ในขณะนั้น เหตุอัศจรรย์ต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นคือแผ่นดินใหญ่ก็เกิดหวั่นไหว เทพยดานางฟ้าทั้งหลาย
ก็แสดงความชื่นชมยินดี พรหมทั้งหลายก็ตบมือสาธุการ

ทุกท่านต่างก็ร้องซ้องสาธุการ สรรเสริญปัญญาบารมีของสามเณร ได้โปรยปรายผงจันทน์ทิพย์ และ ดอกไม้ทิพย์
บ้างก็เลื่อนลอย บ้างก็ปรอย ๆ เป็นฝอยฝนตกลงมา หอมฟุ้งขจรขจายไปทั่วบริเวณนั้น

พระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิ ก็ให้สาธุการแสดงความชื่นชมยินดีว่า แต่นี้ไปศาสนาขององค์สมเด็จพระจอมไตร จะรุ่งเรือง
วัฒนาถาวรตลอดไป



นาคเสนอุปสมบท


เมื่ออยู่นานมาจนกระทั่ง นาคเสนสามเณร มีอายุครบอุปสมบทแล้ว พระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิ ก็ให้อุปสมบทเป็น
พระภิกษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา

ในเวลาเช้า พระนาคเสนครองบาตรจีวร จะเข้าไปบิณฑบาตก็นึกขึ้นว่า พระอุปัชฌาย์ของเราเห็นจะเปล่าจาก
คุณธรรม อื่น ๆ คงรู้แต่อภิธรรมเท่านี้ อย่างอื่นคงไม่รู้

ขณะนั้น พระโรหนเถระ จึงออกมากล่าวขี้นว่า
“ นี่แน่ะ นาคเสน การนึกของเธอไม่สมควรเลย เหตุไรเธอจึงนึกดูถูกเราอย่างนี้? ”

ฝ่ายพระนาคเสนก็นึกอัศจรรย์ใจว่า พระอุปัชฌาย์ของเราเป็นบัณฑิตแท้ เพียงแต่เรานึกในใจก็รู้ เราจักต้องขอโทษ
ครั้นคิดแล้ว จึงกล่าวขึ้นว่า

“ ขอจงอดโทษให้กระผมด้วยเถิด กระผมจะไม่นึกอย่างนี้ อีกจะไม่ทําอย่างนี้อีก ”



“ นาคเสน เรายังอดโทษให้ไม่ได้ ต่อเมื่อเธอทําให้ พระเจ้ามิลินท์ ผู้เสวยราชย์อยู่ในสาคลนครเลื่อมใสได้ ด้วยการแก้ปัญหานั้นแหละ เราจึงจะอดโทษให้ ”

“ ท่านขอรับ อย่าว่าแต่พระเจ้ามิลินท์เพียงองค์เดียวเลย ต่อให้พระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้น เรียงตัวกันมาถามปัญหา
กระผมก็จะทําให้เลื่อมใสได้สิ้น ขอท่านจงได้อดโทษให้กระผมเถิด ”

เมื่ออ้อนวอนอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่เป็นผล จึงถามว่า

“ ในพรรษานี้ ท่านจะให้กระผมอยู่ที่สํานักนี้ หรือว่าจะให้กระผมไปอยู่ในสํานักผู้ใดขอรับ? ”

พระโรหนเถระ จึงบอกว่า
“ เธอจงไปหา พระอัสสคุตตเถระ ถามถึงความสุขของท่าน และบอกความทุกข์สุขของเราแทนเรา แล้วอยู่ใน
สํานักของท่านเถิด ”

ลําดับนั้น พระนาคเสนจึงอําลาพระอุปัชฌาย์ ออกเดินทางไปหาพระอัสสคุตตเถระ กราบไหว้แล้วก็ถามถึงทุกข์สุข
ตามคําสั่งของพระอุปัชฌาย์ แล้วขออาศัยอยู่

พระอัสสคุตตเถระ จึงถามว่า
“ เธอชื่ออะไร?"

“ กระผมชื่อนาคเสนขอรับ ”

พระอัสสคุตต์ ใคร่จะลองปัญญาจึงถามว่า

“ ก็ตัวเราล่ะชื่ออะไร? ”

“ พระอุปัชฌาย์ของกระผม รู้จักชื่อของท่านแล้วขอรับ ”

“ อุปัชฌาย์ของเธอชื่ออะไร? ”

“ อุปัชฌาย์ของกระผมท่านรู้อยู่แล้ว ”

“ ดีละ ๆ นาคเสน ”

พระอัสสคุตต์ จึงรู้ว่าพระภิกษุองค์นี้มีปัญญา จึงคิดว่าพระนาคเสนนี้ปรารถนาจะเรียนพระไตรปิฎก เราได้สําเร็จ
มรรคผลก็จริงแหล่ แต่ทว่าฝ่ายพระไตรปิฎกรู้เป็นเพียงกลาง ๆ ก็อย่าเลยเราจะกระทํากิริยาไม่เจรจาด้วย ทําทีเหมือน
จะลงพรหมทัณฑ์ด้วยภิกษุรูปนี้

ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงได้ลงพรหมทัณฑ์ คือไม่พูดกับพระนาคเสนถึง ๓ เดือน แต่พระนาคเสนก็ปรนนิบัติได้ปัดกวาด
บริเวณและตักน้ำใช้น้ำฉันไว้ถวายตลอดทั้ง ๓ เดือน ส่วนพระอัสสคุตต์จึงกวาดบริเวณด้วยตนเอง และล้างหน้าด้วยน้ำอื่น



พระนาคเสนแสดงธรรมเป็นครั้งแรก


พระอัสสคุตต์นั้นมีอุบาสิกาคนหนึ่ง เป็นผู้อุปัฏฐากมาประมาณ ๓๐ พรรษาแล้ว เมื่อล่วง ๓ เดือนนั้นไปแล้ว

อุบาสิกานั้น จึงออกไปถามพระเถระว่า
“ ในพรรษานี้มีภิกษุอื่นมาอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าบ้างหรือ? ”

พระเถระก็ตอบว่า
“มี คือพระนาคเสน ”

อุบาสิกานั้นจึงกล่าวว่า
“ ถ้าอย่างนั้น พรุ่งนี้เช้าขอพระผู้เป็นเจ้ากับพระนาคเสน จงเข้าไปฉันภัตตาหารเช้าที่บ้านของโยมด้วย ”
พระเถระก็รับด้วยอาการนิ่งอยู่


พระอัสสคุตตเถระมิได้สนทนากับพระนาคเสน จนตลอดถึงวันปวารณาออกพรรษา เช้าวันนั้นพระเถระจําต้อง
เจรจากับพระนาคเสน จึงกล่าวว่าอุบาสิกาเขามานิมนต์ให้ไปฉันภัตตาหารเช้าด้วยกัน แล้วจึงพาพระนาคเสนเข้าไป
ฉันที่บ้านของอุบาสิกานั้น ครั้นฉันแล้ว จึงบอกให้พระนาคเสนอนุโมทนา ส่วนตัวท่านเองขอกลับไปก่อน ฝ่ายอุบาสิกานั้น
จึงกล่าวต่อพระนาคเสนว่า

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมแก่แล้ว ขอท่านจงอนุโมทนาด้วยคาถาที่ลึกซึ้งเถิด ”
พระนาคเสนก็อนุโมทนาด้วยคาถาอันลึกซึ้ง เมื่อจบคําอนุโมทนาลง อุบาสิกานั้นก็ได้สําเร็จพระโสดาปัตติผล
ในขณะนั้น พระอัสสคุตตเถระกําลังนั่งอยู่ที่โรงกลมกว้างใหญ่ในวิหาร ได้ทราบความเป็นไปด้วยทิพจักขุญาณ
จึงให้สาธุการว่า

“ สาธุ..สาธุ..นาคเสน! ในที่ประชุมชนทั้งสอง คือมนุษย์และเทวดา เธอได้ทําลายให้คลายจาก
ความสงสัยด้วยลูกศรเพียงลูกเดียว กล่าวคือได้แสดงธรรมเพียงครั้งเดียว ก็ทําให้ผู้รับฟังบรรลุมรรคผล
ได้ สาธุ..เราขอชม สติปัญญาของเธอนี้ประเสริฐนักหนา ”


ในเวลาเดียวกันนั้น เหล่าเทพยดานางฟ้าอีกหลายพัน ต่างก็ได้ตบมือสาธุการ ผงจันทน์ทิพย์ในสวรรค์ ก็โปรยปราย
ลงมาดังสายฝน ขณะเมื่อจบลงแห่งพระสัทธรรมเทศนานั้น

ฝ่ายพระนาคเสนก็กลับไปกราบพระอัสสคุตตเถระแล้วนั่งอยู่ พระอัสสคุตตเถระจึงกล่าวว่า
“ ตัวเธอมาอยู่ที่นี่นานแล้ว จงไปขอเรียนพระพุทธวจนะจาก พระธรรมรักขิต ผู้อยู่ในอโศการามด้านทิศอุดร
แห่งเมืองปาตลีบุตรนครเถิด ”


พระนาคเสนจึงเรียนถามว่า
“ ท่านขอรับ เมืองปาตลีบุตรอยู่ไกลจากนี้สักเท่าใด? ”

“ ไกลจากนี้ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ”

“ เมืองปาตลีบุตรอยู่ไกลมาก อาหารในระหว่างทางก็จะหาได้ยาก กระผมจะไปได้อย่างไรขอรับ? ”

“ เธอจงไปเถิด ในระหว่างทางเธอจะได้อาหารล้วนแต่ข้าวสาลีไม่มีเมล็ดหัก พร้อมทั้งกับข้าวอีกเป็นอันมาก ” พระนาคเสนจึงกราบลาพระอัสสคุตต์ แล้วออกเดินทางไปตามลําดับ

◄ll กลับสู่สารบัญ

((((((( โปรดติดตามตอนต่อไป วันที่ 4 เมษายน 51 )))))))))




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 4/4/08 at 06:21 Reply With Quote


Update 4 เมษายน 2551

ตอนที่ ๓

พระนาคเสน ไปศึกษาพระไตรปิฎกกับ พระธรรมรักขิต


...ในคราวนั้น มีเศรษฐีชาวเมืองปาตลีบุตร คนหนึ่ง ได้เดินทางมาค้าขายตามชนบททั้งหลาย ครั้นขายของแล้วก็บรรทุกสินค้าใหญ่น้อย ลงในเกวียน ๕๐๐ เล่ม ออกเดินทางกลับเมืองปาตลีบุตร ได้เห็นพระนาคเสนออกเดินทางไป จึงให้หยุดเกวียนไว้ แล้วเข้าไปกราบนมัสการไต่ถามว่า

" พระคุณเจ้า จะไปไหนขอรับ ? "
พระนาค เสนตอบว่า
" อาตมา จะไปเมืองปาตลีบุตร "
เศรษฐี ได้ฟังดังนั้นก็ดีใจจึงกล่าวว่า
" ถ้าอย่างนั้นนิมนต์ไปกับโยมเถิดจะสะดวกดี "
" ดีแล้ว คหบดี "
ลําดับนั้น เศรษฐีจึงจัดอาหารถวาย เวลาฉันเสร็จแล้ว เศรษฐี จึงถามว่า
" พระคุณเจ้า ชื่ออะไรขอรับ ? "
"อาตมา ชื่อนาคเสน"
" ท่านรู้พระพุทธวจนะหรือ ? "
" อาตมา รู้เฉพาะอภิธรรม "
" เป็นลาภอันดีของโยมแล้ว โยมก็ได้เรียนอภิธรรม ท่านก็รู้อภิธรรม ขอท่านจงแสดงอภิธรรม ให้โยมฟังสักหน่อย"



เมื่อพระนาคเสนแสดงอภิธรรมจบลง เศรษฐีก็ได้สําเร็จพระโสดาบัน แล้วพากันออกเดินทางต่อไป ครั้นไปถึงที่ใกล้เมืองปาตลีบุตร เศรษฐีจึงกล่าวว่า
"ข้าแต่พระนาคเสน ทางนั้นเป็นทางไปสู่อโศการาม พระผู้เป็นเจ้าจงไปทางนี้เถิด แต่ทว่าอย่าเพิ่งไปก่อน ขอนิมนต์ให้พรแก่โยมสักอย่างหนึ่งเถิด"

พระนาคเสน ตอบว่า
" อาตมา เป็นบรรพชิต จักให้พรอะไรได้ "
" พรใดที่สมควรแก่สมณะ ขอท่านจงให้พรนั้น "
" ถ้ากระนั้นโยมจงรับเอาพร คือการกุศล อย่าประมาทลืมตนในการกุศล พรอันนี้มีผลโดยสุจริต "

ขณะนั้นเศรษฐีจึงถวายผ้ากัมพล พร้อมกับบอกว่า
" ขอท่านจงกรุณารับผ้ากัมพลอันยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอก ของโยมนั้นไปนุ่งห่มเถิด "
พระนาคเสนจึงรับเอาผ้านั้นไว้ ส่วนว่าเศรษฐีถวายนมัสการแล้ว จึงกราบลามาสู่ปาตลีบุตรนคร

ส่วนพระนาคเสนก็ออกเดินทางไปสู่สํานัก พระธรรมรักขิต ที่อโศการาม กราบไหว้แล้วจึงเรียนว่า
" ขอท่านได้โปรดสอนพระพุทธวจนะ ให้กระผมด้วยเถิดขอรับ "



ศึกษาร่วมกับภิกษุชาวลังกา

ในคราวนั้น ยังมีภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า พระติสสทัตตะ ได้เรียนพระพุทธวจนะเป็นภาษาสิงหล ในเมืองลังกาจบแล้ว ปรารถนาจะเรียนพระพุทธวจนะอันเป็นภาษามคธ จึงโดยสารสําเภามาสู่สํานักพระธรรมรักขิตนี้ เมื่อกราบไหว้แล้วจึง
กล่าวว่า
" กระผมมาจากที่ไกล ขอท่านจง บอกพระพุทธวจนะให้แก่กระผมด้วยเถิด "
ลําดับนั้น พระธรรมรักขิตจึงบอกพระนาคเสนว่า
" เธอกับพระติสสทัตตะควรเรียนพระพุทธวจนะด้วยกัน จะได้เป็นเพื่อนสาธยายด้วยกัน อย่าร้อนใจไปเลย "
พระนาคเสน จึงกล่าวว่า
" กระผมมิอาจที่จะเรียนพระพุทธวจนะ พร้อมกันด้วยคําภาษาสิงหลได้ ด้วยพระติสสทัตตะนี้เจรจาเป็นภาษาสิงหล"

เป็นคําถามว่า เหตุไฉนเมื่อพระอาจารย์ว่าจะให้พระติสสทัตตะกับพระนาคเสน เรียนพระพุทธวจนะพร้อมกัน
พระนาคเสนนั้นว่าไม่เรียนพร้อมกัน ด้วยพระติสสทัตตะกล่าวคําภาษาสิงหล ( อันเป็นภาษาของชาวลังกา )

แก้ความนั้นว่า พระนาคเสนเข้าใจว่า อาจารย์คงจะบอกพระพุทธวจนะ เป็นคําภาษาสิงหล ด้วยภาษาสิงหลนี้เป็น
คําวิเศษ กลัวว่าชาวประเทศสาคลราชธานีจะไม่เข้าใจ พระนาคเสนนั้นตั้งใจจะเรียนพระพุทธวจนะ ที่จะให้เข้าใจของชาว
สาคลนคร มีพระเจ้ามิลินท์เป็นประธาน

พระธรรมรักขิตจึงบอกขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า
" เธอจงเรียนพร้อมกับพระติสสทัตตะ เพราะพระติสสทัตตะเป็นบัณฑิต ไม่ใช่ผู้ไม่รู้จักภาษา "
พระนาคเสนจึงคิดได้ว่าอาจารย์ คงไม่บอกเป็นภาษาสิงหลดอก อาจจะบอกเป็นภาษามคธ เราผิดเสียแล้ว จะต้อง
ขอโทษพระติสสทัตตะ
เมื่อพระนาคเสนคิดได้อย่างนั้น จึงกราบขอโทษ แล้วเริ่มเรียนพระพุทธวจนะพร้อมกัน โดยเรียนอยู่ ๓ เดือนก็จบพระไตรปิฎก ซักซ้อมอีก ๓ เดือนก็ชํานาญ



พระนาคเสนสําเร็จ พระอรหันต์

ฝ่ายพระธรรมรักขิต เห็นพระนาคเสนยังเป็นปุถุชนอยู่ จึงมีเถรวาจาเป็นทางจะให้รู้โดยคําอุปมาว่า

"นี่แน่ะ..นาคเสน ธรรมดาว่านายโคบาลได้แต่เลี้ยงโค ไม่ได้รู้รสแห่งนมโค มีแต่ผู้อื่นได้ดื่มรสแห่งนมโคฉันใด ปุถุชนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส ถึงแม้จะทรงพระไตรปิฎก ก็มิได้รู้รสแห่งสามัญผล คือมรรคผลอันควรแก่สมณะ เปรียบเหมือนกับนายโคบาล ที่รับจ้างเลี้ยงโคและรีดนมโคขาย แต่มิได้เคยลิ้มชิมรสแห่งนมโคฉันนั้น"
พระนาคเสน ได้ฟังคําเช่นนั้นก็เข้าใจ จึงมีวาจาว่า
" คําสั่งสอนของท่านเท่านี้พอแล้วขอรับ "
ท่านกล่าวเพียงเท่านี้แล้ว ก็ลามาสู่อาวาส ต่อมาก็ได้พยายามเจริญสมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ช้าก็ได้สําเร็จพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ในเวลากลางคืน อันเป็นวันที่พระธรรมขิตให้นัยนั้นเอง

ในขณะที่พระนาคเสน สําเร็จพระอรหันต์นั้น ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ แผ่นดินอันใหญ่นี้ก็บันลือลั่นหวั่นไหว ทั้งมหาสมุทรสาคร ก็ตีฟองนองละลอก ยอดภูเขาก็โอนอ่อนโยกคลอนไปมา เทวดาอินทร์พรหมทั้งหลาย ก็ตบมือสาธุการ ห่าฝนทิพย
จุณจันทน์และดอกไม้ทิพย์ ก็ตกลงมาบูชาในกาลนั้น



พระอรหันต์ให้ทูตไปตาม พระนาคเสน

เมื่อพระนาคเสนได้สําเร็จพระอรหันต์แล้ว พระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิก็ไปประชุมกันที่ถ้ำรักขิตเลณะ ในภูเขาหิมพานต์ แล้วส่งทูตไปตามพระนาคเสน

เมื่อพระนาคเสนทราบแล้ว ก็หายวับจากอโศการาม มาปรากฏข้างหน้าพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิ ที่ถ้ำรักขิตเลณะ
ในภูเขาหิมพานต์ กราบไหว้พระอรหันต์ทั้งหลาย แล้วจึงถามว่า
"เพราะเหตุไรขอรับ จึงให้ทูตไปตามกระผมมา ? "

พระอรหันต์ผู้เป็นหัวหน้าตอบว่า
" เป็นเพราะ มิลินทราชา เบียดเบียนพวกเราด้วยการไต่ถามปัญหา เธอจงไปทรมานมิลินทราชานั้นเถิด "
พระนาคเสนจึงเรียนว่า
" อย่าว่าแต่มิลินทราชาเลย บรรดาพระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้น ที่มีปัญหาเหมือนมิลินทราชานี้ จะซักถามปัญหาตื้นลึกประการใด กระผมจะแก้ให้สิ้นสงสัย ให้มีพระทัยยินดีด้วยการแก้ปัญหา ขอพระเถรเจ้าทั้งหลายจงไปสู่สาคลนคร ด้วยความไม่สะดุ้งกลัวเถิด "



พระเจ้ามิลินท์เสด็จไปถามปัญหาพระอายุบาล

ในคราวนั้น ยังมีพระมหาเถระองค์หนึ่งมีชื่อว่า พระอายุบาล ท่านเป็นผู้ชํานาญในนิกายทั้ง ๕ ( ทีฆนิกาย
มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตนิกาย ขุททกนิกาย ) ได้อาศัยอยู่ที่อสงไขยบริเวณ


ฝ่ายพระเจ้ามิลินท์ทรงดําริว่า ราตรีนี้ดีมาก เราควรจะไปหาสมณพราหมณ์ เจ้าหมู่เจ้าคณะคณาจารย์ใดดีหนอ
ใครหนอจะสามารถสนทนากับเราได้ ใครหนอจะสามารถตัดความสงสัยของเราได้ ทรงดําริแล้วก็โปรดมีพระราชโองการ
ตรัสถามพวกราชบริพารโยนกทั้ง ๕๐๐ ก็กราบทูลว่า

" มีพระเถระอยู่องค์หนึ่งชื่อว่า พระอายุบาล ท่านเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีการแสดงธรรมวิจิตร
มีปฏิภาณดี ชํานาญในนิกายทั้ง ๕ อยู่ที่อสงไขยบริเวณ ขอมหาราชเจ้าจงเสด็จไปถามปัญหาต่อพระอายุบาลเถิด พระเจ้าข้า" "ถ้าอย่างนั้นขอจงไปแจ้งให้พระผู้เป็นเจ้าทราบก่อน"

ลําดับนั้น เนมิตติยอํามาตย์ จึงใช้ให้คนไปแจ้งแก่พระอายุบาลว่า พระเจ้ามิลินท์จะเสด็จมาหาพระอายุบาล ตอบว่า เชิญเสด็จมาเถิด ต่อจากนั้นพระเจ้ามิลินท์ พร้อมกับหมู่โยนกเสนา ๕๐๐ ก็เสด็จขึ้นรถไปที่อสงไขยบริเวณ เมื่อไปถึงจึงตรัสสั่งให้หยุดรถทรงไว้ เสด็จไปด้วยพระบาทเปล่า เข้าสู่สํานักพระอายุบาล นมัสการแล้ว กระทําปฏิสันถารโอภาปราศรัยกันไปมา จึงมีพระราชดํารัสตรัสถามว่า
" ข้าแต่พระอายุบาล บรรพชามีประโยชน์อย่างไร อะไรเป็นประโยชน์เยี่ยมของท่าน ? "

พระอายุบาล ตอบว่า
"ขอถวายพระพร มหาบพิตรพระราชสมภาร การบรรพชามีประโยชน์ เพื่อจะได้ประพฤติธรรม ประพฤติความสงบ อันจะทําให้เกิดประโยชน์สุขแก่เทพยดา และ มนุษย์ทั้งหลาย"
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คฤหัสถ์ผู้ประพฤติธรรม ประพฤติความสงบ จะมีคุณวิเศษบ้างหรือไม่ ? "



จํานวนคฤหัสถ์ผู้ได้มรรคผล

"ขอถวายพระพร คฤหัสถ์ที่ประกอบไปด้วย ความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ทรงศีล ๕ หรือศีล ๘ ไว้มั่นคง ให้ทานและภาวนาอุตส่าห์ฟังธรรม ก็จัดว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์เป็นผลแก่ตนเอง

ดังตัวอย่าง เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระทศพลยังทรงพระชนม์อยู่ พระองค์ได้เสด็จไปยังเมืองพาราณสี โปรดประทานธรรมเทศนา พระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ในป่าอิสิปตนมิคทายวัน

ครั้นจบลงแล้วพรหมทั้ง ๑๘ โกฏิ ได้สําเร็จมรรคผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา พรหมทั้งหลายล้วนแต่เป็นคฤหัสถ์ทั้งนั้น จะได้อุปสมบทบรรพชาหามิได้

ในคราวที่พระพุทธองค์ทรงแสดง เวสสันดรชาดก ขทิรังคชาดก ราหุโลวาทสูตร และทรงแสดงธรรมที่ประตูเมืองสังกัสสนคร มีผู้สําเร็จมรรคผลประมาณ ๒๐ โกฏิ คนทั้งหลายนั้น กับเทพยดาและ พรหมทุกชั้น ล้วนแต่เป็นคฤหัสถ์ทั้งนั้น ไม่ใช่บรรพชิตเลย"

( โปรดติดตามตอนต่อไป วันที่ 11 เมษายน 51 )



Update 11 เมษายน 2551
กรรมของพระที่ถือธุดงค์

เมื่อพระอายุบาลแก้ไขดังนี้ พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า “ ข้าแต่ท่านอายุบาล ถ้าอย่างนั้นบรรพชาก็ไม่มีประโยชน์อะไร พวกสมณะทั้งหลาย ที่เป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส ที่ได้บรรพชารักษาธุดงค์ต่าง ๆ ทําให้ลําบากกายใจนั้น ล้วนเป็นด้วยผลแห่งบาปกรรม ในปางก่อนทั้งนั้น ”

นี่แน่ะ ท่านอายุบาล พวกพระที่ถือ “ เอกา ” ฉันจังหันหนเดียว แต่ชาติก่อนเป็นโจร เที่ยวปล้นชาวบ้าน ไปแย่งชิงอาหารเขา ครั้นชาตินี้เล่า ผลกรรมนั้นดลจิตให้ฉันหนเดียว ดูบรรพชานี้ไม่มีผล ถึงจะรักษาศีล รักษาตบะ รักษาพรหมจรรย์ ก็ไม่มีผลอันใด

ประการหนึ่งเล่า พวกที่ถือธุดงค์ “ อัพโพกาส ” คืออยู่ในกลางแจ้งนั้น เมื่อชาติก่อนต้องได้เป็นพวกปล้นบ้านเผาเรือน มาชาตินี้จึงไม่มีที่กินที่อยู่ ส่วนพวกถือ “ เนสัชชิกธุดงค์ ” คือถือไม่นอนเป็นกิจวัตร ได้แต่เดิน ยืน นั่ง เท่านั้น พวกนั้นต้องเป็นโจรปล้นคนเดินทางไว้เมื่อชาติก่อน จับคนเดินทางได้แล้วก็ผูกมัดให้นั่งจับเจ่าอยู่เท่านั้น

โยมคิดดู ซึ่งธุดงค์นี้ไม่มีผล จะเป็นศีล จะเป็นตบะ จะเป็นพรหมจรรย์ก็หามิได้ ก็จะบรรพชารักษาธุดงค์ไปเพื่ออะไร ปฏิบัติในเพศคฤหัสถ์ ก็ได้มรรคผลเหมือนกัน เป็นคฤหัสถ์อยู่มิดีกว่าหรือ พระผู้เป็นเจ้า ?

เมื่อพระเจ้ามิลินท์ตรัสอย่างนี้ พระอายุบาลก็ขี้คร้าน ที่จะตอบจึงนั่งนิ่งไป มิได้ถวายพระพรโต้ตอบ ต่อข้อปัญหานั้น พวกโยนก ๕๐๐ จึงกราบทูลขึ้นว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระภิกษุองค์นี้ เป็นนักปราชญ์ ได้สดับเล่าเรียนมาก แต่ไม่แกล้วกล้าที่จะวิสัชนา จึงมิได้โต้ตอบต่อคําถามของพระองค์

พระเจ้ามิลินท์ได้ฟังคําข้าราชบริพารทูลเฉลยก็หาสนใจไม่ ทอดพระเนตรดูแต่พระอายุบาล เห็นพระอายุบาลนิ่งอยู่ก็ทรงพระสรวล ( หัวเราะ ) พร้อมกับตบพระหัตถ์ตรัสเย้ยว่า

“ ชมพูทวีปว่างเปล่าเสียแล้ว ไม่มีสมณพราหมณ์ เจ้าหมู่เจ้าคณะ คณาจารย์ใดๆ อาจสนทนากับเราได้ อาจแก้ความสงสัยของเราได้เลย เห็นทีจะสิ้นสุดครั้งนี้แล้วหนอ... ”

ฝ่ายหมู่โยนกได้ฟัง ก็มิได้ตอบคําสนองพระราชโองการ ส่วนพระอายุบาลได้เห็นอาการของพระเจ้ามิลินท์ อย่างนั้น จึงคิดว่าเราเป็นสมณะไม่สมควรทะเลาะโต้เถียงกับใคร ที่จริงปัญหานี้จะวิสัชนาให้ฟังอีกก็ได้ แต่เป็นเพราะ พระราชาถามปัญหาที่ไม่ควรถาม คิดอย่างนี้แล้ว จึงเก็บอาสนะลุกไปเสีย

หลังจากพระเจ้ามิลินท์เสด็จเข้าสู่พระนครแล้ว จึงทรงดําริว่า จะต้องมีภิกษุองค์ใดองค์หนึ่งอาจสนทนากับเราได้อย่างไม่สงสัย จึงตรัสถามเนมิตติยอํามาตย์ขึ้นอีกว่า “ นี่แน่ะ..เนมิตติยะ ภิกษุผู้จะโต้ตอบกับเราได้ ยังมีอยู่อีกหรือไม่ ? ”



กิตติศัพท์ของ พระนาคเสน

ในคราวนั้น พระนาคเสนผู้ห้อมล้อมด้วยหมู่สมณะ ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ มียศบริวาร ชํานาญในพระไตรปิฎก สําเร็จไตรเพท มีความรู้แตกฉาน มีอาคมพร้อม สําเร็จปฏิสัมภิทาญาณ ทรงไว้ซึ่งพระปริยัติธรรม ในศาสนาขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา อันประกอบด้วยองค์ ๙ ถึงแล้วซึ่งบารมีญาณ

เป็นผู้ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ทั้งปวง เหมือนกับ พญาเขาสิเนรุราช องอาจดั่งราชสีห์ มีใจสงบระงับเป็นอันดี มีปรีชาญาณล้ำเลิศ ย่ำยีเสียซึ่งถ้อยคํา อันเป็นปฏิปักษ์แก่พระพุทธศาสนา ได้อย่างเด็ดขาด

เป็นผู้ฉลาดในอุบายแนะนํา ชํานาญในอรรถธรรมทั้งปวง ไม่มีผู้ต่อสู้ ไม่มีผู้กั้นกางได้ ไม่มีผู้ล่วงเกินได้ ละเสียซึ่งสิ่งที่เป็นข้าศึกทั้งปวง กระทําซึ่งแสงสว่างให้เกิด กําจัดเสียซึ่งความมืด

เป็นผู้มีถ้อยคําประเสริฐ แตกฉานในอรรถ ธรรม นิรุตติ ปฏิภาณ ล่วงลุถึงซึ่งบารมีญาณ มีปรีชาญาณเปรียบดัง ลูกคลื่นในท้องมหาสมุทร เป็นผู้สูงสุดกว่าหมู่คณะทั้งหลาย ล่วงรู้ลัทธิของหมู่คณะที่ไม่ดีทั้งหลาย ย่ำยี่เสียซึ่งลัทธิเดียรถีย์ทั้งปวง
เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมแกล้วกล้าสามารถ มากไปด้วยความสุขกายสบายใจ เป็นผู้ทําสงฆ์ให้งดงาม เป็นพระอรหันต์ผู้ล้ำเลิศ เป็นที่สักการบูชาของพุทธบริษัททั้งสี่

เป็นผู้ที่จะแสดงบาลี อรรถกถา อันทําให้เกิดความเลื่อมใสแก่บัณฑิตทั้งหลาย ผู้มีความรู้ ผู้ประกาศคําสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรเจ้า อันประกอบด้วยองค์ ๙ ผู้จะเชิดชูซึ่งแก้วอันประเสริฐในพระพุทธศาสนาให้ปรากฏ

เป็นผู้จะยกขึ้นซึ่งเครื่องบูชาพระธรรม ผู้จะตั้งขึ้นซึ่งยอดพระธรรม ผู้จะยกขึ้นซึ่งธงชัยคือพระธรรมผู้จะเป่าสังข์คือพระธรรม ผู้จะตีกลองคือพระธรรมให้นฤนาท ผู้จะดีดกระจับปี่ สีซอ โทน รํามะนา ดนตรี อันได้แก่อริยสัจ ๔

เป็นผู้ที่จะบันลือเสียงดังพญาช้าง พญาอุสุภราช พญาราชสีห์ ผู้จะทำให้โลก เอิบอิ่มด้วยห่าฝนอันใหญ่ คือพระธรรมให้พิลึกกึกก้อง เรืองรองดังสายฟ้าด้วยญาณปรีชา



พระนาคเสนไปถึง อสงไขยบริเวณ

เมื่อพระนาคเสนได้กราบลาพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิแล้ว ก็ได้จาริกไปตามคามนิคมชนบท เทศน์โปรดประชาชนทั้งหลายโดยลําดับ ก็บรรลุถึงซึ่งสาคลนคร อันเป็นที่ประทับของพระเจ้ามิลินท์ ผู้เป็นปิ่นแห่งโยนก

พระผู้เป็นเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในอสงไขยบริเวณ อันเป็นที่อยู่แห่งพระอายุบาล ในกาลนั้น เพราะฉะนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
พระนาคเสนเถระผู้เป็นพหูสูต มีการแสดงธรรมประเสริฐ มีสติปัญญาสุขุมคัมภีรภาพ แกล้วกล้าสามารถในที่ประชุมชน ฉลาดในเหตุผลทั้งปวง มีปฏิภาณว่องไวหาผู้เปรียบมิได้ ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกอันประเสริฐ มีหมู่พระภิกษุสงฆ์ล้วนแต่ทรง พระไตรปิฎกห้อมล้อมเป็นบริวาร ได้ไปถึง อสงไขยบริเวณ แล้วพักอยู่ในที่นั้น

พระนาคเสนเถระนั้น ห้อมล้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรม เที่ยงตรงดั่งตาชั่ง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใด เหมือนกับพญาไกรสรราชสีห์ ในป่าใหญ่ฉะนั้น พระนาคเสนนั้น เป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง มีความฉลาดรอบคอบ ในสิ่งที่ควรและไม่ควรทั้งปวง เป็นผู้ประกาศซึ่งอรรถธรรมอันล้ำเลิศ มีคุณธรรมปรากฏ ไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น เป็นพหูสูตทรงพระไตรปิฎก ไม่มีผู้เสมอเหมือนดังนี้



พระเจ้ามิลินท์ ได้ยินชื่อ ทรงตกพระทัยกลัว

ในคราวนั้น เทวมันติยอํามาตย์ ก็ได้ฟังข่าวเล่าลือ ซึ่งเกียรติคุณของพระนาคเสนดังแสดงมา จึงกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ว่า “ ขอได้โปรดก่อนเถิดมหาราชเจ้า บัดนี้มีข่าวเล่าลือว่า มีพระภิกษุองค์หนึ่งชื่อว่า นาคเสน เป็นผู้แสดงธรรมอันวิเศษ มีสติปัญญาเฉียบแหลม แกล้วกล้าสามารถในที่ทั้งปวง ”

เป็นผู้สดับเล่าเรียนมาก มีถ้อยคําไพเราะเสนาะโสต มีปฏิภาณดี แตกฉานในอรรถ ธรรม นิรุตติ ปฏิภาณ ถึงซึ่งบารมีญาณ ไม่มีเทพยดาอินทร์พรหม ผู้ใดผู้หนึ่งจะสู้ได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนุษย์ พระเจ้าข้า

เมื่อพระเจ้ามิลินท์ได้ทรงสดับคําว่า “พระนาคเสน ” เท่านี้ ก็ตกพระทัยกลัว มีพระโลมาลุกชันขึ้นทันที พระบาทท้าวเธอ จึงตรัสถามเทวมันติยอํามาตย์ว่า เวลานี้พระนาคเสนอยู่ที่ไหน เราใคร่เห็น ขอให้พระนาคเสนทราบ ?
เทวมันติยอํามาตย์ จึงใช้ให้ทูตไปแจ้งแก่พระนาคเสนว่า พระเจ้ามิลินท์มีพระราชประสงค์จะพบเห็น เมื่อทูตไปแจ้งแก่พระเถระแล้ว พระเถระจึงตอบว่า ถ้าอย่างนั้นขอจงเสด็จมาเถิด



พระ เจ้ามิลินท์ เสด็จไปหา พระนาคเสน



ลําดับนั้น พระเจ้ามิลินท์ก็ห้อมล้อมด้วยข้าราชบริพารชาวโยนก ๕๐๐ เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง พรั่งพร้อมด้วยพลนิกายเป็นอันมากเสด็จไปหาพระนาคเสนที่อสงไขยบริเวณ คราวนั้น พระนาคเสนกับพระภิกษุ ๘ หมื่นองค์ ได้นั่งพักอยู่ที่โรงกลมกว้างใหญ่ พอพระเจ้ามิลินท์ได้ทอดพระเนตรเห็นแต่ไกล จึงตรัสถามขึ้นว่า
“ บริวารเป็นอันมากนั้นของใคร ? ”
เทวมันติยะทูลตอบว่า
บริวารเป็นอันมากนั้น เป็นบริวารของ พระนาคเสน พระเจ้าข้า
พอพระเจ้ามิลินท์ได้แลเห็น พระนาคเสนแต่ที่ไกลเท่านั้น ก็เกิดความสะดุ้งกลัว หวาดหวั่นในพระทัย มีพระโลมชาติชูชัน ( ขนลุก ) เสียแล้ว

คราวนั้น พระเจ้ามิลินท์ทรงสะดุ้งตกพระทัยยิ่งนักหนา อุปมาดังพญาช้าง ถูกห้อมล้อมด้วยดาบและขอ และเหมือนกับนาคถูกครุฑห้อมล้อมไว้ เหมือนกับสุนัขจิ้งจอกที่ถูกงูเหลือมล้อมไว้ เหมือนกับหมี ถูกฝูงกระบือป่าห้อมล้อม เหมือนกับคนถูกพญานาคไล่ติดตาม เหมือนกับหมู่เนื้อถูกเสือเหลืองไล่ติดตาม เหมือนกับงูมาพบหมองู เหมือนกับหนูมาพบพบแมว

เหมือนกับปีศาจมาพบหมอผี เหมือนกับพระจันทรเทพบุตรตกอยู่ในปากราหู เหมือนกับนกอยู่ในกรง เหมือนกับปลาอยู่ในลอบในไซ เหมือนกับบุรุษที่ตกเข้าไปในป่าสัตว์ร้าย เหมือนกับยักษ์ทําผิดต่อท้าวเวสสุวัณ เหมือนกับเทพบุตรผู้จะสิ้นอายุ รู้ว่าตัวจะจุติ สุดที่จะกลัวตัวสั่นฉันใด พระเจ้ามิลินท์ทอดพระเนตรเห็นพระนาคเสนแต่ไกล ให้รู้สึกหวาดกลัวอยู่ในพระทัยฉันนั้น

แต่พระบาทท้าวเธอทรงนึกว่า อย่าให้ผู้ใดผู้หนึ่งดูถูกเราได้เลย จึงได้ทรงแข็งพระทัย ตรัสขึ้นว่า
“ นี่แน่ะ..เทวมันติยะ เธออย่าได้บอกพระนาคเสนให้แก่เราเลยว่าเป็นองค์ใด เราจะให้รู้จักพระนาคเสนเอง ”
เทวมันติยอํามาตย์จึงกราบทูลว่า ขอให้โปรดทรงทราบเองเถิดพระเจ้าข้า

ในคราวนั้น พระนาคเสนเถระได้นั่งอยู่ในท่ามกลางของพระภิกษุ ๘ หมื่นองค์ คือนั่งอยู่ข้างหน้าของพระภิกษุ ๔ หมื่นองค์ ที่มีพรรษาอ่อนกว่า แต่นั่งอยู่ข้างหลังของพระภิกษุผู้แก่กว่าอีก ๔ หมื่นองค์

ฝ่ายพระเจ้ามิลินท์ก็ทอดพระเนตร ดูไปทั้งข้างหน้า ข้างหลัง ท่ามกลางของภิกษุสงฆ์ทั้งปวง ก็ได้เห็นพระนาคเสนนั่งอยู่ ในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ มีกิริยาองอาจดังราชสีห์ จึงทรงทราบว่าองค์นั้นแหละเป็นพระนาคเสน จึงตรัสถามขึ้นว่า
“เทวมันติยะ องค์นั่งในท่ามกลางนั้นหรือ..เป็นพระนาคเสน ? ”
เทวมันติยะกราบทูลว่า
“ ถูกแล้วพระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบพระนาคเสนได้ดีแล้ว ”
พระเจ้ามิลินท์ก็ทรงดีพระทัยว่า เรารู้จักพระนาคเสนด้วยตนเอง แต่พอพระบาทท้าวเธอ แลเห็นพระนาคเสนเท่านั้น ก็เกิดความกลัว ความหวาดหวั่น มีพระโลมชาติชูชัน

เพราะฉะนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า
พระเจ้ามิลินท์ได้ทอดพระเนตรเห็นพระนาคเสน ผู้สมบูรณ์ด้วยจรณธรรม ผู้ได้ฝึกฝนอบรมมาเป็นอันดีแล้ว จึงตรัสขึ้นว่า เราได้พบเห็นสมณพราหมณ์ และ บัณฑิตมาเป็นอันมาก ได้สนทนากับคนทั้งหลาย มาเป็นอันมากแล้ว ไม่เคยมีความสะดุ้งกลัวเหมือนในวันนี้เลย วันนี้ความปราชัยพ่ายแพ้ จักต้องมีแก่เราเป็นแน่ไม่สงสัย ชัยชนะจักมีแก่พระนาคเสนแน่เพราะจิตใจของเราไม่ตั้งอยู่เป็นปกติเหมือนแต่ก่อนเลยดังนี้

◄ll กลับสู่ด้านบน

จบเรื่องเบื้องต้น
************************




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 17/4/08 at 17:02 Reply With Quote



( Update 17 เม.ย. 51)

ตอนที่ ๔


...สําหรับในตอนนี้ จะเป็นตอนเริ่มเข้าเรื่อง การถามปัญหากัน ก่อนที่จะเริ่มปัญหาแรก
ขอนํา " พระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้ามิลินท์ " ( เรียบเรียงโดย วศิน อินทสระ ) มาให้ทราบไว้ดังนี้

พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย

...พระพุทธศาสนา เจริญเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่ง สมัยพระเจ้ามิลินท์ หรือ พระเจ้าเมนันเดอร์ ซึ่งเป็นกษัตริย์เชื้อ
สายกรีก ที่มาปกครองอินเดียอยู่ระยะหนึ่ง ขอเล่าความย้อนต้นไปสักเล็กน้อยว่า

เมื่อ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ยกทัพเข้ารุกรานอินเดีย และเลิกทัพกลับไปนั้น แคว้นที่ทรงตีได้แล้ว ก็โปรดให้แม่ทัพนายกองของพระองค์ปกครองดูแล ทิ้งกองทหารกรีกไว้บางส่วน ฝรั่งชาติกรีกเหล่านี้ได้ตั้งเป็นอาณาจักรอิสระขึ้น

เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สวรรคตแล้ว อาณาจักรที่มีกําลังมาก คือ อาณาจักรซีเรีย และ อาณาจักรบากเตรีย ( ปัจจุบันคือ เตอรกี และ อัฟกานิสถาน )

ครั้นถึง พ.ศ.๓๙๒ พระเจ้าเมนันเดอร์ หรือที่เรียกในคัมภีร์บาลีว่า พระเจ้ามิลินท์ ยกกองทัพตีเมืองต่าง ๆ แผ่พระราชอํานาจลงมาถึงตอนเหนือ พระองค์เดิมทีมิได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทรงขัดขวางการขยายตัวของพระพุทธศาสนาด้วยซ้ำไป

เนื่องจากทรงแตกฉานวิชาไตรเพท ( ของพราหมณ์ ) และ ศาสนาปรัชญาต่าง ๆ รวมทั้งพุทธศาสนาด้วย พระองค์จึงประกาศโต้วาที กับนักบวชในลัทธิศาสนาต่าง ๆ ในเรื่องศาสนาและปรัชญาปรากฏ ว่าไม่มีใครสู้พระองค์ได้

พระเจ้ามิลินท์แห่งวงศ์โยนก ในเวลานั้น ชาวเมืองเรียกว่า " ชาวโยนก " แต่ชาว อินเดียเรียก " ยะวะนะ " หมายถึงพวกไอโอเนีย ( แคว้นไอโอเนียอยู่ทางตะวันตกของเอเซียไมเนอร์ ) เมืองสาคลนคร ตั้งอยู่ ในแคว้นคันธาระ ( ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ปัจจุบันคือ แคชเมียร์ ) ดังนี้



มิลินทปัญหา วรรคที่ ๑
ปัญหาที่ ๑ ถามชื่อ




ครั้งนั้น พระเจ้ามิลินท์ได้เสด็จไปหาพระนาคเสนแล้ว ทรงปราศรัยพอให้เกิดความร่าเริงยินดี แล้วก็ประทับนั่ง ฝ่ายพระนาคเสนก็แสดงความชื่นชมยินดี ทําให้เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามิลินท์
ลําดับนั้น พระองค์จึงตรัสถามปัญหาข้อแรกต่อพระนาคเสนขึ้นว่า
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมประสงค์จะสนทนาด้วย "
พระนาคเสนถวายพระพรตอบว่า
" เชิญสนทนาเถิด มหาบพิตร อาตมภาพใคร่จะฟัง "
" โยมสนทนาแล้ว ขอผู้เป็นเจ้าจงฟังเถิด "
" อาตมภาพฟังอยู่แล้ว มหาบพิตรเชิญเจรจาเถิด "
" พระผู้เป็นเจ้าได้ฟังว่าอย่างไร? "
" ก็มหาบพิตรเจรจาว่าอย่างไร? "
" โยมจะถามพระผู้เป็นเจ้า "
" จงถามเถิด มหาบพิตร "
" โยมถามแล้ว "
" อาตมภาพก็แก้แล้ว "
" พระผู้เป็นเจ้าแก้ว่าอย่างไร? "
" ก็มหาบพิตรถามว่าอย่างไร? "
เมื่อพระเถระตอบอย่างนี้แล้ว พวกโยนกเสนาทั้ง ๕๐๐ ก็เปล่งเสียงสาธุการถวายพระ นาคเสน แล้วกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ว่า " ข้าแต่มหาราชเจ้า คราวนี้ขอพระองค์จงตรัสถามปัญหาต่อไปเถิด พระเจ้าข้า "

เริ่มมีปัญหาเพราะชื่อ

ในกาลครั้งนั้น พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสถาม ปัญหาต่อพระนาคเสนยิ่งขึ้นไปว่า " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ธรรมดาผู้จะสนทนากัน เมื่อไม่รู้จักนามและโคตรของกัน และกันเสียก่อน เรื่องสนทนาก็จะไม่มีขึ้น เรื่องที่พูดกันก็จักไม่มั่นคง เพราะฉะนั้น โยมจึงขอถามพระผู้เป็นเจ้าว่า พระผู้เป็นเจ้า ชื่ออะไร? "

พระนาคเสนตอบว่า " ขอถวายพระพร เพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลายเรียกอาตมภาพว่า นาคเสน ส่วน มารดาบิดาเรียกอาตมภาพว่า นาคเสนก็มี วีรเสนก็มี สุรเสนก็มี สีหเสนก็มี ก็แต่ว่าชื่อที่เพื่อนพรหมจารี เรียกอาตมภาพว่า " นาคเสน " นี้ เพียงเป็นแต่ชื่อบัญญัติขึ้น เพื่อให้เข้าใจกันได้เท่านั้น ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนผู้ใดจะอยู่ในชื่อนั้น "

ลําดับนั้น พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสขึ้นว่า " ขอให้ชาวโยนกทั้ง ๕๐๐ นี้ และพระภิกษุสงฆ์ ๘ หมื่นองค์นี้ จงฟังถ้อยคําของข้าพเจ้าเถิด พระนาคเสนนี้กล่าวว่า เพื่อนพรหมจรรย์ เรียกอาตมภาพว่า " นาคเสน " ก็แต่ว่าไม่มี สัตว์บุคคลตัวตนอันใดอยู่ในคําว่า " นาคเสน " นั้น ดังนี้
ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขาอยู่แล้ว บุคคลเหล่าใดถวายบาตร จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และ วัตถุที่เก็บเภสัชไปแล้ว บุญกุศลก็ต้องไม่มี แก่บุคคลเหล่านั้นน่ะซิ

ผู้ใดผู้หนึ่งคิดว่า จะฆ่าพระผู้เป็นเจ้า โทษปาณาติบาต ก็เป็นอันไม่มีน่ะซิ ถ้าบุคคล ตัวตนเราเขาไม่มีอยู่แล้ว ก็ใครเล่าจะถวายจีวร อาหาร ที่อยู่ ยา และที่ใส่ยา แก่พระผู้เป็นเจ้า ใครเล่า จะบริโภคสิ่งเหล่านั้น ใครเล่า รักษาศีล ใครเล่า รู้ไปในพระไตรปิฎก ใครเล่า เจริญภาวนา ใครเล่า..กระทําให้แจ้งซึ่ง มรรค ผล นิพพาน

ใครเล่า กระทําปาณาติบาต ใครเล่า กระทําอทินนาทาน ใครเล่า ประพฤติกาเมสุ มิจฉาจาร ใครเล่า กล่าวมุสาวาท ใครเล่า ดื่ม สุราเมรัย ใครเล่า กระทําอนันตริยกรรมทั้ง ๕ เพราะฉะนั้น ถ้าสัตว์บุคคลตัวตนไม่มี แล้ว กุศลก็ต้องไม่มี อกุศลก็ต้องไม่มี ผู้ทําหรือผู้ให้ทําซึ่งกรรมดีกรรมชั่วก็ต้องไม่มี ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วก็ต้องไม่มี

ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ใดฆ่าพระผู้เป็นเจ้า โทษปาณาติบาต ก็ไม่มีแก่ผู้นั้น เมื่อถืออย่างนั้น ก็เป็นอันว่า อาจารย์ของพระผู้เป็นเจ้าก็ไม่มี อุปัชฌาย์ของพระผู้เป็นเจ้าก็ไม่มี อุปสมบทของ พระผู้เป็นเจ้าก็ไม่มี
คําใดที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า พวกเพื่อนพรหมจรรย์ เรียกอาตมภาพว่า " นาคเสน " อะไรเป็นนาคเสนในคํานั้น เมื่อโยมถามพระ ผู้เป็นเจ้าอยู่อย่างนี้ พระผู้เป็นได้ยินเสียง ถามอยู่หรือไม่? "

ถามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร อาตมภาพได้ยินเสียง ถามอยู่ "
" ถ้าพระผู้เป็นเจ้าได้ยินเสียงถามอยู่ คําว่า " นาคเสน " ก็มีอยู่ในชื่อนั้นน่ะซิ "
" ไม่มี มหาบพิตร "
" ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้นโยมขอ ถามต่อไปว่า ผมของพระผู้เป็นเจ้าหรือ...เป็น นาคเสน? "
" ไม่ใช่ มหาบพิตร "
" ขนหรือ...เป็นนาคเสน? "
" ไม่ใช่ "
" เล็บหรือ...เป็นนาคเสน? "
" ไม่ใช่ "
" ฟันหรือ...เป็นนาคเสน? "
" ไม่ใช่ "
" หนังหรือ...เป็นนาคเสน? "
" ไม่ใช่ "
" เนื้อหรือ...เป็นนาคเสน? "
" ไม่ใช่ "
" เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร สมองศีรษะ เหล่านี้อย่างใด อย่างหนึ่งหรือ...เป็นนาคเสน? "
" ไม่ใช่ มหาบพิตร "
" ถ้าอย่างนั้น รูป หรือเวทนา หรือสัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ..เป็น นาคเสน? "
" ไม่ใช่ มหาบพิตร "
" ถ้าอย่างนั้น จักขุธาตุ และ รูปธาตุ โสตธาตุ และ สัททธาตุ ฆานธาตุ และ คันธธาตุ ชิวหาธาตุ และ รสธาตุ กายธาตุ และ โผฏฐัพพธาตุ มโนธาตุ เหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ..เป็น นาคเสน? "
" ไม่ใช่ มหาบพิตร "
" ถ้าอย่างนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณหรือ...เป็นนาคเสน? "
" ไม่ใช่ มหาบพิตร "
" ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่นอกจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณหรือ..เป็นนาคเสน? "
" ไม่ใช่ มหาบพิตร "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เมื่อโยมถามพระผู้เป็นเจ้าอยู่ ก็ไม่ได้ความว่าอะไรเป็นนาคเสน เป็นอันว่า พระผู้เป็นเจ้าพูดเหลาะแหละ พูดมุสาวาท "



พระนาคเสน กล่าวแก้ด้วยราชรถ

เมื่อพระเจ้ามิลินท์ตรัสอย่างนี้แล้ว พระ นาคเสนองค์อรหันต์ ผู้สําเร็จปฏิสัมภิทาญาณ ผู้ได้อบรมเมตตามาแล้ว จึงนิ่งพิจารณา ซึ่งวาระจิตของพระเจ้ามิลินท์อยู่สักครู่หนึ่ง แล้วจึงกล่าวขึ้นว่า

" มหาบพิตรเป็นผู้มีความสุขมาแต่กําเนิด มหาบพิตรได้เสด็จออกจากพระนครในเวลา ร้อนเที่ยงวันอย่างนี้ มาหาอาตมภาพได้เสด็จ มาด้วยพระบาท ก้อนกรวดเห็นจะถูกพระบาท ให้ทรงเจ็บปวด พระกายของพระองค์ เห็นจะทรงลําบาก พระหฤทัยของพระองค์ เห็นจะเร่าร้อน ความรู้สึกทางพระวรกายของพระองค์ เห็นจะประกอบกับทุกข์เป็นแน่ เพราะเหตุไร อาตมภาพจึงว่าอย่างนี้ เพราะเหตุว่า มหาบพิตรมีพระหฤทัย ดุร้าย ได้ตรัสพระวาจาดุร้าย มหาบพิตรคง ได้เสวยทุกขเวทนาแรงกล้า อาตมาจึงขอถามว่า มหาบพิตรเสด็จมา ด้วยพระบาท หรือด้วย ราชพาหนะอย่างไร? "

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสตอบว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน โยมไม่ได้มาด้วยเท้า โยมมาด้วยรถต่างหาก "
พระนาคเสนเถระ จึงกล่าวประกาศขึ้นว่า
" ขอพวกโยนกทั้ง ๕๐๐ กับพระภิกษุ ๘ หมื่นองค์นี้ จงฟังถ้อยคําของข้าพเจ้า คือ พระเจ้ามิลินท์นี้ได้ตรัสบอกว่า เสด็จมาด้วยรถ ข้าพเจ้าจะขอถามพระเจ้ามิลินท์ต่อไป " กล่าวดังนี้แล้ว จึงถามว่า

" มหาบพิตรตรัสว่า เสด็จมาด้วยรถ จริงหรือ? "
พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า
" เออ...ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมว่ามาด้วย รถจริง "
พระเถระจึงซักถามต่อไปว่า
" ถ้ามหาบพิตรเสด็จมาด้วยรถจริงแล้ว ขอจงตรัสบอกอาตมภาพเถิดว่า งอนรถหรือ.. เป็นรถ? "
" ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า "
" ถ้าอย่างนั้น เพลารถหรือ...เป็นรถ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น รถมีอยู่ในเพลาหรือ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น ล้อรถหรือ...เป็นรถ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น รถมีอยู่ในล้อรถหรือ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น ไม้ค้ำรถหรือ...เป็นรถ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น กงรถหรือ...เป็นรถ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น เชือกหรือ...เป็นรถ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น รถมีอยู่ในเชือกหรือ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น คันปฏักหรือ...เป็นรถ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น รถมีอยู่ในคันปฏักหรือ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น แอกรถหรือ...เป็นรถ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น รถมีอยู่ในแอกหรือ? "
" ไม่ใช่ "
" ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่เล็งเห็นว่า สิ่งใดเป็นรถเลย เป็นอันว่ารถไม่มี เป็นอันว่า มหาบพิตรตรัสเหลาะแหละเหลวไหล มหาบพิตรเป็นพระราชาผู้เลิศในชมพูทวีปนี้ เหตุไรมหาบพิตรจึงตรัสเหลาะแหละเหลวไหล อย่างนี้? "

เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้แล้ว พวก โยนกข้าราชบริพารทั้ง ๕๐๐ นั้น ก็พากัน เปล่งเสียงสาธุการขึ้นแก่พระนาคเสนเถระแล้ว กราบทูลพระเจ้ามิลินท์ขึ้นว่า
" ขอมหาราชเจ้าจงทรงแก้ไขไปเถิด พระเจ้าข้า "
พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสขึ้นว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน โยมไม่ได้พูด เหลาะแหละเหลวไหล การที่เรียกว่ารถนี้ เพราะอาศัยเครื่องประกอบรถทั้งปวง คือ งอนรถ เพลารถ ล้อรถ ไม้ค้ำรถ กงรถ เชือกขับรถ เหล็กปฏัก ตลอดถึงแอกรถ มีอยู่พร้อม จึงเรียกว่ารถได้ "
พระเถระจึงกล่าวว่า
" ถูกแล้ว มหาบพิตร ข้อที่อาตมภาพได้ชื่อว่า " นาคเสน " ก็เพราะอาศัยเครื่องประ กอบด้วยอวัยวะทุกอย่าง คือ อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น อันจําแนกแจกออกไปเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งปวง

ข้อนี้ถูกตามถ้อยคําของ นางปฏาจารา ภิกษุณี ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวขึ้นในที่เฉพาะ พระพักตร์ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
" อันที่เรียกว่ารถ เพราะประกอบด้วย เครื่องรถทั้งปวงฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ ก็สมมุติเรียกกันว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาฉันนั้น " ดังนี้ ขอถวายพระพร "
พระเจ้ามิลินท์ทรงฟังแก้ปัญหาจบลง น้ำพระทัยของพระบาทท้าวเธอปรีดาปราโมทย์ ออกพระโอษฐ์ตรัสซ้องสาธุการว่า

" สาธุ..พระผู้เป็นเจ้าช่างแก้ปัญหาได้อย่าง น่าอัศจรรย์ กล่าวปัญหาเปรียบเทียบอุปมา ด้วยปฏิภาณอันวิจิตรยิ่ง ให้คนทั้งหลายคิด เห็นกระจ่างแจ้ง ถูกต้องดีแท้ ถ้าพระพุทธองค์ ยังทรงพระชนม์อยู่ ก็จะต้องทรงสาธุการเป็นแน่ "



ปัญหาที่ ๒ ถามพรรษา

ครั้งนั้นพระเจ้ามิลินท์ได้ตรัสถามอรรถปัญหาสืบไปว่า " ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ามี พรรษาเท่าไร? "
พระนาคเสนตอบว่า " อาตมภาพมีพรรษาได้ ๗ พรรษาแล้ว "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คําว่า " ๗ พรรษา " นั้น นับตัวพระผู้เป็นเจ้าด้วยหรือ...หรือว่านับแต่ปีเท่านั้น? "

อุปมาเงาในแก้วน้ำ

ก็ในคราวนั้น เงาของพระเจ้ามิลินท์ผู้ทรง ประดับด้วยเครื่องประดับ ทั้งปวงนั้น ได้ปรากฏ ลงไปที่พระเต้าแก้ว อันเต็มไปด้วยน้ำ พระ นาคเสนได้เห็นแล้ว จึงถามขึ้นว่า
" มหาบพิตรเป็นพระราชา หรือว่าเงาที่ ปรากฏอยู่ในพระเต้าแก้วนี้ เป็นพระราชา? "
" ข้าแต่พระนาคเสน เงาไม่ใช่พระราชา โยมต่างหากเป็นพระราชา แต่เงาก็มีอยู่เพราะอาศัยโยม "
" เงาที่มีขึ้นเพราะอาศัยพระองค์ฉันใด การนับพรรษาว่า ๗ เพราะอาศัยอาตมาก็มีขึ้นฉันนั้น ขอถวายพระพร "
" น่าอัศจรรย์ พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้า ได้แก้ปัญหาปฏิภาณอันวิจิตรยิ่งถูกต้องดีแล้ว "


ปัญหาที่ ๓ ถามลองปัญญา

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามขึ้นอีกว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน บรรพชามีประโยชน์อย่างไร อะไรคือจุดมุ่งหมายสูงสุด ในการบรรพชาของพระผู้เป็นเจ้า? "

พระเถระตอบว่า
" บรรพชาของอาตมภาพนั้น เป็นประโยชน์เพื่อการดับทุกข์ให้สิ้นไป แล้วมิให้ทุกข์อื่นบังเกิด ขึ้นได้ อีกประการหนึ่ง บรรพชาย่อมให้สําเร็จประโยชน์ แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย "

สนทนาอย่างบัณฑิตหรืออย่างโจร

พระเจ้ากรุงสาคลนคร ได้ทรงฟังพระนาคเสนเฉลยปัญหา ได้กระจ่างแจ้ง ก็มิได้มีทางที่จะซักไซร้ จึงหันเหถามปัญหาอื่นอีกว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าจะ สนทนากับโยมต่อไปได้หรือไม่? "
พระนาคเสนตอบว่า
" ถ้ามหาบพิตรจะสนทนาตามเยี่ยงอย่าง บัณฑิต อาตมภาพก็จะสนทนากับมหาบพิตรได้ ถ้ามหาบพิตรจะสนทนาตามเยี่ยงอย่าง ของพระราชา อาตมาก็จะสนทนาด้วยไม่ได้ "
" บัณฑิตทั้งหลายสนทนากันอย่างไร? "

" อ๋อ...ธรรมดาว่าบัณฑิตที่สนทนากัน ย่อมเจรจาข่มขี่กันได้ แก้ตัวได้ รับได้ ปฏิเสธ ได้ ผูกได้ แก้ได้ บัณฑิตทั้งหลายไม่โกรธ บัณฑิตทั้งหลายสนทนากันอย่างนี้แหละ มหาบพิตร "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระราชาทั้งหลาย สนทนากันอย่างไร?"
" ขอถวายพระพร พระราชาทั้งหลาย ทรงรับสั่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไปแล้ว ผู้ใดไม่ทําตาม ก็ทรงรับสั่งให้ลงโทษผู้นั้นทันที พระ ราชาทั้งหลายสนทนากันอย่างนี้แหละ มหาบพิตร "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมจะสนทนาตาม เยี่ยงอย่างบัณฑิต จักไม่สนทนาตามเยี่ยง อย่างของพระราชา ขอพระผู้เป็นเจ้า จงเบา ใจเถิด พระผู้เป็นเจ้าสนทนากับภิกษุณี หรือ สามเณร อุบาสก คนรักษาอารามฉันใด ขอ จงสนทนากับโยมฉันนั้น อย่ากลัวเลย "

" ดีแล้ว มหาบพิตร "
พระเถระแสดงความยินดีอย่างนี้แล้ว พระราชาจึงตรัสต่อไปว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน โยมจักถามพระ ผู้เป็นเจ้า "
" เชิญถามเถิด มหาบพิตร "
" โยมถามแล้ว พระผู้เป็นเจ้า "
" อาตมภาพแก้แล้ว มหาบพิตร "
" พระผู้เป็นเจ้าแก้ว่าอย่างไร? "
" ก็มหาบพิตรตรัสถามว่าอย่างไร? "
( พระเจ้ามิลินท์ไต่ถามปัญหาเช่นนี้ หวังจะลอง ปัญญาพระนาคเสนว่า จะเขลา หรือ ฉลาด ยั่งยืนอยู่ไม่ครั่นคร้ามหรือประการใด เท่านั้น )
ในวันแรกนี้ พระเจ้ามิลินท์ได้ตรัสถาม ปัญหา ๓ ข้อ คือ ถามชื่อ ๑ ถามพรรษา ๑ ถามเพื่อทดลองสติปัญญาของพระเถระ ๑

นิมนต์พระนาคเสนไปในวัง

ลําดับนั้น พระเจ้ามิลินท์ทรงดําริว่า พระภิกษุองค์นี้เป็นบัณฑิต สามารถสนทนา กับเราได้ สิ่งที่เราควรถาม มีอยู่มาก สิ่งที่เรายังไม่ได้ถาม ก็มีอยู่เป็นอันมาก แต่เวลา นี้ดวงสุริยะกําลังจะสิ้นแสงแล้ว พรุ่งนี้เถิด เราจึงจะสนทนากันในวัง

ครั้นทรงดําริอย่างนี้แล้ว จึงตรัสสั่ง เทวมันติยอํามาตย์ว่า " นี่แน่ะ เทวมันติยะ จงอาราธนาพระผู้ เป็นเจ้าว่า พรุ่งนี้จักมีการสนทนากันในวัง " ตรัสสั่งดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ขึ้นทรงม้าพระที่นั่ง แล้วทรงพึมพํา ไปว่า " นาคเสน...นาคเสน... " ดังนี้

ฝ่ายเทวมันติยอํามาตย์ก็อาราธนา พระนาคเสนว่า " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระราชาตรัสสั่ง ว่า พรุ่งนี้จักมีการสนทนากันในพระราชวัง "
พระเถระก็แสดงความยินดีตอบว่า " ดีแล้ว "

พอล่วงราตรีวันนั้น เนมิตติยอํามาตย์ อันตกายอํามาตย์ มังกุรอํามาตย์ สัพพทินน อำมาตย์ ก็พร้อมกันเข้าทูลถามพระเจ้ามิลินท์ว่า " ข้าแต่มหาราชเจ้า จะโปรดให้พระนาคเสนเข้ามาได้หรือยัง พระเจ้าข้า? "
พระราชาตรัสตอบว่า " ให้เข้ามาได้แล้ว "
" จะโปรดให้เข้ามากับพระภิกษุสักเท่าไร พระเจ้าข้า? "
" ต้องการมากับภิกษุเท่าใด ก็จงมากับ ภิกษุเท่านั้น "
สัพพทินนอํามาตย์ได้กราบทูลขึ้น เป็นครั้งที่ ๒ ว่า " ข้าแต่มหาราชเจ้า จะโปรดให้พระนาคเสน มากับพระภิกษุสัก ๑๐ รูป จะได้หรือไม่? "

พระองค์ตรัสตอบว่า " พระนาคเสนต้องการจะมากับพระภิกษุ เท่าใด ก็จงมากับพระภิกษุเท่านั้นเถิด "
จึงทูลถามขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๓ ว่า
" จะโปรดให้พระนาคเสนมากับพระภิกษุ สัก ๑๐ รูป ได้หรือไม่? "
พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า
" เราพูดอย่างไม่ให้สงสัยแล้วว่า พระ นาคเสนต้องการจะมากับพระภิกษุเท่าใด จงมากับพระภิกษุเท่านั้น เราได้สั่งเป็นคํา ขาดลงไปแล้ว เราไม่มีอาหารพอจะถวาย พระภิกษุทั้งหลายหรือ? "
เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว สัพพทินนอํามาตย์ ก็เก้อ ลําดับนั้น อํามาตย์ทั้ง ๔ จึงพากัน ออกไปหาพระนาคเสน กราบเรียนให้ทราบว่า
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้ามิลินท์ตรัส สั่งว่า พระผู้เป็นเจ้าต้องการจะเข้าไปในพระ ราชวังกับพระภิกษุเท่าใด ก็ขอให้เข้าไปได้ เท่านั้นไม่มีกําหนด "


ปัญหาที่ ๔ ปัญหาของอันตกายอํามาตย์

เช้าวันหนึ่ง พระนาคเสนก็นุ่งสบงทรง จีวรมือสะพายบาตร แล้วเข้าไปสู่สาคลนคร กับพระภิกษุ ๘ หมื่นองค์ เวลาเดินมาตาม ทางนั้น อันตกายอํามาตย์ถามขึ้นว่า " ข้าแต่พระนาคเสน ท่านได้บอกไว้ว่า เราชื่อ " นาคเสน " ดังนี้ แต่กล่าวว่าไม่มีสิ่งใด เป็นนาคเสน ข้อนี้ข้าพเจ้ายังสงสัยอยู่? "
พระเถระจึงถามว่า " เธอเข้าใจว่า มีอะไรเป็นนาคเสน อยู่ ในคําว่า " นาคเสน " อย่างนั้นหรือ? "
" ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ลมหายใจอันเข้าไป และออกมา นี้แหละ..เป็นนาคเสน "
" ถ้าลมนั้นออกไปแล้วไม่กลับเข้ามา ผู้นั้น จะเป็นอยู่ได้หรือ? "
" เป็นอยู่ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า "

อุปมาพวกเป่าสังข์

" ถ้าอย่างนั้น เราขอถามว่า ธรรมดาพวก เป่าสังข์ ย่อมพากันเป่าสังข์ ลมของพวกเขา กลับเข้าไปอีกหรือไม่? "
" ไม่กลับ พระผู้เป็นเจ้า "
" ก็ถ้าอย่างนั้น เพราะเหตุไรพวกนั้นจึง ไม่ตาย พวกช่างทองก็พากันเป่ากล้อง ประสานทอง ลมของเขากลับเข้าไปอีกหรือ ไม่? "
" ไม่กลับเข้าไปอีก พระผู้เป็นเจ้า "
" พวกเป่าปี่ก็พากันเป่าปี่ ลมของพวกเขา กลับเข้าไปอีกหรือไม่? "
" ไม่กลับ พระผู้เป็นเจ้า "
" ถ้าอย่างนั้น เหตุไรพวกนั้นจึงไม่ตาย? "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าไม่อาจ สนทนากับท่านได้แล้ว ขอท่านจงไขข้อความ นี้ให้ข้าพเจ้าเข้าใจด้วยเถิด "
พระเถระจึงแก้ไขว่า
" อันลมหายใจออกหายใจเข้านั้น ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่มีชีวิต (คือคนและสัตว์) แต่เป็น กายสังขาร (คือเป็นเครื่องช่วยให้ชีวิตทรงอยู่) ต่างหาก "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า กายสังขารตั้งอยู่ในอะไร? "
" กายสังขารตั้งอยู่ใน " ขันธ์ " (คือร่างกาย)
ครั้นได้ฟังดังนั้น ก็มีจิตเลื่อมใสศรัทธาใน พระพุทธศาสนา อันตกายอํามาตย์จึงได้ ประกาศตนเป็นอุบาสก ขอนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ดังนี้


ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องบรรพชา

ครั้งนั้น พระนาคเสนเถระ ก็ได้เข้าไป สู่พระราชนิเวศน์ของพระเจ้ามิลินท์ ขึ้นสู่ ปราสาทแล้วนั่งลงบนอาสนะที่เขาจัดไว้ พระเจ้ามิลินท์ก็ทรงเลี้ยงดูพระภิกษุสงฆ์ด้วย พระองค์เอง เสร็จแล้วจึงถวายผ้าไตรจีวร
ครั้นพระนาคเสนครองไตรจีวรแล้ว พระ เจ้ามิลินท์จึงตรัสขึ้นว่า
" ขอให้พระผู้เป็นเจ้านาคเสน จงนั่ง อยู่ที่นี้กับพระภิกษุ ๑๐ รูป พระภิกษุผู้เฒ่า ผู้แก่นอกนั้น ขอนิมนต์กลับไปก่อน "
เมื่อพระนาคเสนฉันภัตตาหารเช้าเสร็จ แล้ว พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสขึ้นว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน เราจะสนทนา กันด้วยสิ่งใดดี? "
" ขอถวายพระพร เราต้องการด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ ขอจงสนทนาด้วยสิ่งที่เป็น ประโยชน์เถิด "
" ข้าแต่พระนาคเสน บรรพชามีประโยชน์ อย่างไร อะไรเป็นประโยชน์สูงสุดของพระ ผู้เป็นเจ้า? "
" ขอถวายพระพร บรรพชานี้เพื่อจะให้พ้น จากความทุกข์ คือเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มี การเวียนว่ายตายเกิดอีก การเข้าสู่พระนิพพาน เป็นประโยชน์อย่างสูงสุดของอาตมา "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บุคคลทั้งหลาย บรรพชา เพื่อทําให้แจ้งซึ่งพระนิพพานทั้งนั้น หรือ? "

เหตุของผู้บวช

" ขอถวายพระพร มหาบพิตรพระราช สมภาร คนทั้งหลายไม่ใช่บวชเพื่อพระ นิพพานด้วยกันทั้งสิ้น คือบางพวกก็บวช หนีราชภัย ( พระราชาเบียดเบียนใช้สอย ) บางพวกก็บวชหนีโจรภัย บางพวกก็บวชเพื่อ คล้อยตามพระราชา บางพวกก็บวชเพื่อหนี หนี้สิน บางพวกก็บวชเพื่อยศศักดิ์ บาง พวกก็บวชเพื่อเลี้ยงชีวิต บางพวกก็บวชด้วย ความกลัวภัย
บุคคลเหล่าใดบวชโดยชอบ บุคคล เหล่านั้นชื่อว่า บวชเพื่อพระนิพพาน ขอ ถวายพระพร "
พระเจ้ามิลินท์ทรงซักถามต่อไปว่า
" ก็พระผู้เป็นเจ้าเล่า บวชเพื่อพระนิพพาน หรือ? "
พระเถระตอบว่า
" อาตมภาพบวชแต่ยังเป็นเด็ก ยังไม่รู้ เรื่องว่าบวชเพื่อพระนิพพานนี้ ก็แต่ว่าอาตมาคิดว่า พระสมณะที่เป็นศากบุตรพุทธชิโนรสเหล่านี้เป็นบัณฑิต จักต้องให้อาตมภาพศึกษา อาตมภาพได้รับการศึกษาแล้ว จึงรู้เห็นว่าบวช เพื่อพระนิพพานนี้ "
" พระผู้เป็นเจ้า แก้ถูกต้องดีแล้ว "

โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป
*******************************


Update 27 เม.ย. 51

ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องปฏิสนธิ ( เกิด )

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า " ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ที่ตายไปแล้ว จะไม่กลับมาเกิดอีกมีหรือไม่ ? "
พระนาคเสนตอบว่า " คนบางจําพวกก็กลับมาเกิดอีก บาง จําพวกก็ไม่กลับมาเกิดอีก "
" ใครกลับมาเกิดอีก ใครไม่กลับมาเกิด อีก ?"
"ผู้มีกิเลส ยังกลับมาเกิดอีก ส่วนผู้ไม่ มีกิเลส ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก"
" ก็พระผู้เป็นเจ้าเล่า จะกลับมาเกิดอีก หรือไม่ ? "
" ถ้าอาตมภาพยังมีอุปาทาน คือการยึด ถืออยู่ ก็จักกลับมาเกิด ถ้าอาตมภาพไม่มี การยึดถือแล้ว ก็จักไม่กลับมาเกิดอีก "
" ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า "

ปัญหาที่ ๗ ถามเรื่องมนสิการ ( การกําหนดจิต )

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า " ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ใดไม่เกิดอีก ผู้นั้นย่อมไม่เกิดอีกด้วย โยนิโสมนสิการ ( คือการกําหนดจิตด้วยอุบายที่ชอบธรรม ) ไม่ใช่หรือ ? "
พระเถระตอบว่า " ขอถวายพระพร บุคคลไม่เกิดอีกด้วย โยนิโสมนสิการ คือด้วย ปัญญา และด้วย กุศลธรรม
อื่น ๆ
"

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยนิโสมนสิการ กับ ปัญญา เป็นอันเดียวกันหรืออย่างไร ? "
" ไม่ใช่อย่างเดียวกัน คือ โยนิโสมนสิการ ก็อย่างหนึ่ง ปัญญา ก็อย่างหนึ่ง แพะ แกะ สัตว์เลี้ยง กระบือ อูฐ โค ลา เหล่าใดมี มนสิการ แต่ปัญญาย่อมไม่มีแก่สัตว์เหล่านั้น ขอถวายพระพร"
"ชอบแล้ว พระนาคเสน"

ปัญหาที่ ๘ ถามลักษณะมนสิการ

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามต่อไปว่า " ข้าแต่พระนาคเสน มนสิการ มีลักษณะอย่างไร ปัญญา มีลักษณะอย่างไร ? "
พระนาคเสนตอบว่า " มหาราชะ มนสิการ มีความ อุตสาหะ เป็นลักษณะ และมีการ ถือไว้ เป็นลักษณะ ส่วน ปัญญา มีการ ตัด เป็นลักษณะ "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มนสิการ มีการ ถือไว้เป็นลักษณะอย่างไร ปัญญามีการตัด เป็นลักษณะอย่างไร ขอจงอุปมาให้แจ้งด้วย ? "

อุปมาคนเกี่ยวข้าว

" มหาบพิตรทรงรู้จักวิธีเกี่ยวข้าวบ้างไหม ? "
" อ๋อ...รู้จัก พระผู้เป็นเจ้า "
" วิธีเกี่ยวข้าวนั้นคืออย่างไร ? "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คือคนจับกอข้าวด้วยมือข้างซ้าย แล้วเอาเคียวตัดให้ขาดด้วย มือข้างขวา "
" มหาราชะ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด คือ พระโยคาวจรถือไว้ซึ่ง มนสิการ คือกิเลสอัน มีในใจของตนแล้ว ก็ตัดด้วย ปัญญา ฉันนั้น มนสิการ มีลักษณะถือไว้ ปัญญา มีลักษณะตัด อย่างนี้แหละ ขอถวายพระพร "
"ถูกดีแล้ว พระนาคเสน"

อธิบาย

คําว่า มนสิการ มีลักษณะ ถือไว้ หมายถึงการกําหนดจิตพิจารณา ขันธ์ ๕ คือร่างกายว่ามีสภาพเป็นอย่างไร ส่วน ปัญญา มีลักษณะ ตัด หมาย ถึงยอมรับนับถือกฎธรรมดาว่า ร่างกายมี สภาพเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ยึดถือว่า "มันเป็นเราเป็นของเรา" ดังนี้

ปัญหาที่ ๙ ถามลักษณะศีล

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า " ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้ กล่าวไว้ในข้อก่อน ( ปัญหาที่ ๗ ) ว่า บุคคล ไม่เกิดอีกด้วยได้กระทำ กุศลธรรมเหล่าอื่น ไว้ โยมยังไม่เข้าใจ จึงขอถามว่า ธรรมเหล่า ไหน...เป็นกุศลธรรมเหล่านั้น ? "
พระเถระตอบว่า " มหาราชะ ศีล ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เหล่านี้แหละ เป็นกุศลธรรมเหล่านั้น "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ศีล มีลักษณะ อย่างไร ? "
" มหาราชะ ศีล มีการ เป็นที่ตั้ง เป็น ลักษณะ คือศีลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวง อันได้แก่ อินทรีย์ พละ
โพชฌงค์ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
กุศลธรรมทั้งปวงของผู้ตั้งอยู่ในศีลแล้วไม่เสื่อม "

" ขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดอุปมา "

อุปมา ๕ อย่าง

" มหาราชะ อันต้นไม้ใบหญ้าทั้งสิ้น ได้ อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดินแล้ว จึง เจริญงอกงามขึ้นฉันใด พระโยคาวจรได้ อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงทําให้เกิด อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ขึ้นได้ฉันนั้น "
" โปรดอุปมาให้ยิ่งขึ้นไป "
" มหาราชะ การงานทั้งสิ้นที่ทําบนบก ต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงทําได้ฉันใด พระโยคาวจรก็อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล จึง ทําให้เกิดอินทรีย์ ๕ ขึ้นได้ฉันนั้น "
" โปรดอุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก "
" มหาราชะ บุรุษที่เป็นนักกระโดดโลดเต้น ประสงค์จะแสดงศิลปะ ก็ให้คนถากพื้นดิน ให้ปราศจากก้อนหินก้อนกรวด ทําให้สม่ำเสมอดีแล้ว จึงแสดงศิลปะบนพื้นดิน นั้นได้ฉันใด พระโยคาวจรก็อาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงทําให้เกิดอินทรีย์ ๕ ขึ้นได้ฉันนั้น "
" นิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นกว่านี้ "
" มหาราชะ นายช่างประสงค์จะสร้างเมือง ให้ปราบพื้นที่จนหมดเสี้ยนหนามหลักตอ ทําพื้นที่ให้สม่ำสมอดีแล้ว จึงกะถนนต่าง ๆ มีถนน ๔ แพร่ง ๓ แพร่ง เป็นต้น ไว้ภายในกําแพง แล้วจึงสร้างเมืองลงฉันใด พระโยคาวจรก็อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงทําให้เกิดอินทรีย์ ๕ ขึ้นได้ฉันนั้น "
" ขอจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นกว่านี้อีก "
" มหาราชะ พลรบผู้เข้าสู่สงคราม ตั้งมั่น อยู่ในพื้นที่อันเสมอดี กระทําพื้นที่ให้เสมอดีแล้ว จึงกระทําสงคราม ก็จักได้ชัยชนะใหญ่ ในไม่ช้าฉันใด พระโยคาวจรก็อาศัยศีล ตั้ง อยู่ในศีลแล้ว จึงทําให้เกิดอินทรีย์ ๕ ให้เกิดได้ฉันนั้น " ข้อนี้ สมกับที่สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาตรัสไว้ว่า

" ภิกษุผู้มีความเพียรรู้จักรักษาตัว มีปัญญาตั้งอยู่ในศีลแล้ว ทําจิตและปัญญาให้ เกิดขึ้น ย่อมสะสางซึ่งความรุงรังอันนี้ได้ ศีลนี้เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เหมือนกับพื้นธรณี อันเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งหลาย ศีลนี้เป็นรากเหง้าในการทํากุศลให้เจริญ ขึ้น ศีลนี้เป็นหัวหน้าในศาสนาขององค์ สมเด็จพระชินสีห์ทั้งปวง" กองศีลอันดี ได้แก่ พระปาฏิโมกข์ ขอถวายพระพร "
" ชอบแล้ว พระนาคเสน "

ตอนที่ ๕
ปัญหาที่ ๑๐ ถามลักษณะศรัทธา

" ข้าแต่พระนาคเสน ศรัทธา มีลักษณะ อย่างไร ? "
" มหาราชะ ศรัทธามีความผ่องใส เป็น ลักษณะ และ มีการแล่นไป เป็นลักษณะ ขอถวายพระพร "

ศรัทธามีความผ่องใส

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ที่ว่าศรัทธามีความผ่องใส เป็นลักษณะนั้น เป็นประการใด ? "
" มหาราชะ ศรัทธา เมื่อเกิดขึ้นก็ข่ม นิวรณ์ ไว้ ทําจิตให้ปราศจากนิวรณ์ ทําจิตให้ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว อย่างนี้แหละ เรียกว่า มีความผ่องใส เป็นลักษณะ ขอถวายพระพร "
" ขอนิมนต์อุปมาด้วย พระผู้เป็นเจ้า "

อุปมาพระเจ้าจักรพรรดิ

" มหาราชะ พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จพระราชดําเนินทางไกล พร้อมด้วยจตุรงคเสนา ต้องข้ามแม่น้ำน้อยไป น้ำในแม่น้ำน้อยนั้น ย่อมขุ่นไปด้วยช้าง ม้า รถ พลเดินเท้า เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จข้ามไปแล้ว ได้ตรัสสั่งพวกอํามาตย์ว่า
" จงนําน้ำดื่มมา เราจะดื่มน้ำ " แก้วมณีสําหรับทําน้ำให้ใส ของ พระเจ้าจักรพรรดินั้นมีอยู่

พวกอํามาตย์รับพระราชโองการแล้ว ก็นําแก้วมณีนั้น ไปกดลงในน้ำ พอวางแก้วมณี นั้นลงไปในน้ำ สาหร่าย จอก แหนทั้งหลาย ก็หายไป โคลนตมก็จมลงไป น้ำก็ใสไม่ขุ่นมัว พวกอํามาตย์ก็ตักน้ำนั้นไปถวายพระเจ้า
จักรพรรดิกราบทูลว่า " เชิญเสวยเถิด พระเจ้าข้า "
น้ำที่ไม่ขุ่นมัวฉันใด ก็ควรเห็นจิตฉันนั้น พวกอํามาตย์ฉันใด ก็ควรเห็นพระโยคาวจร ฉันนั้น
สาหร่าย จอก แหน โคลนตมนั้นฉันใด ก็ควรเห็นกิเลสฉันนั้น แก้วมณีอันทําน้ำให้ใส ฉันใด ก็ควรเห็นศรัทธาฉันนั้น

ฉะนั้น พอวางแก้วมณีอันทําน้ำให้ใส ลงไปในน้ำ สาหร่ายจอกแหนก็หายไป โคลนตม ก็จมลงไป น้ำก็ใสไม่ขุ่นมัวฉันใด เมื่อศรัทธาเกิดขึ้นก็ข่มนิวรณ์ไว้ ทําให้ จิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัวจาก ความพอใจในรูป
สวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ การไม่ชอบใจ ฟุ้งซ่าน ง่วง และสงสัยฉันนั้น อย่างนี้แหละเรียกว่า ศรัทธา มีความผ่องใส เป็นลักษณะ ขอถวายพระพร "

ศรัทธามีการแล่นไป

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้อว่า ศรัทธามีการแล่นไป เป็นลักษณะนั้น คืออย่างไร ? "
" ขอถวายพระพร พระโยคาวจรเลื่อมใส ในปฏิปทาของพระอริยเจ้าแล้ว จิตของพระ โยคาวจรเหล่านั้นก็แล่นไปในโสดาปัตติผล สกิทาคามีผล อนาคามีผล อรหัตผล เป็น ลําดับไป แล้วพระโยคาวจรนั้นก็กระทําความ เพียรเพื่อให้ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อให้บรรลุ ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อกระทําให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังไม่ได้กระทําให้แจ้ง อย่างนี้แหละ มหาบพิตร เรียกว่า ศรัทธามีการแล่นไป เป็นลักษณะ"
" นิมนต์อุปมาให้แจ้งด้วย "

อุปมาบุรุษผู้ข้ามแม่น้ำ

" มหาราชะ เมฆใหญ่ตกลงบนภูเขาแล้ว ก็มีน้ำไหลลงไปสู่ที่ต่ำ ทําซอกเขาระแหง ห้วยให้เต็มแล้ว ก็ล้นไหลไปสู่แม่น้ำเซาะ ฝั่งทั้งสองไป เมื่อฝูงคนมาถึงไม่รู้ที่ตื้นที่ลึก แห่งแม่น้ำนั้นก็กลัว จึงยืนอยู่ริมฝั่งอันกว้าง

ลําดับนั้น ก็มีบุรุษคนหนึ่งมาถึง เขาเป็นผู้มีกําลังเรี่ยวแรงมาก ได้เหน็บชายผ้านุ่งให้แน่น แล้วกระโดดลงไปในน้ำว่ายข้ามน้ำไป มหาชนได้เห็นบุรุษนั้นข้ามน้ำไปได้ ก็พากันว่ายข้ามตามฉันใด

พระโยคาวจรได้เห็นปฏิปทาของพระ อริยะเหล่าอื่นแล้ว ก็มีจิตแล่นไปในโสดาปัตติผล สกิทาคามีผล อนาคามีผล อรหัตผล แล้วก็ กระทําความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ไม่ยังถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทําให้แจ้งซึ่ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้งฉันนั้น อย่างนี้แหละ เรียกว่า ศรัทธามีการแล่นไป เป็นลักษณะ
ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระชินสีห์ตรัสไว้ว่า " บุคคลย่อมข้ามห้วงน้ำได้ด้วยศรัทธา ย่อมข้ามมหาสมุทรได้ด้วยความไม่ประมาท ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ย่อมบริสุทธิ์ ได้ด้วยปัญญา " ดังนี้ ขอถวายพระพร "
" ชอบแล้ว พระนาคเสน "

อธิบาย

บุคคลมีศรัทธาต่อสิ่งใด เมื่อระลึกถึงสิ่งนั้น หรือบุคคลนั้น จิตใจย่อมผ่องใส และ จิตใจของเขาย่อมแล่นไปยังสิ่งนั้น หรือ บุคคลนั้นเสมอ ๆ ผู้ศรัทธาในพระนิพพาน หรือผู้ถึง นิพพานแล้ว จิตย่อมแล่นไปในนิพพานเนือง ๆ มีนิพพานเป็นอารมณ์อยู่เสมอ ย่อมทําความ เพียรเพื่อบรรลุพระนิพพานนั้น

ปัญหาที่ ๑๑ ถามลักษณะวิริยะ

" ข้าแต่พระนาคเสน วิริยะ คือความเพียร มีลักษณะอย่างไร ? "
" มหาราชะ ความเพียร มีการ ค้ำจุนไว้ เป็นลักษณะ กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งสิ้น อันความเพียรค้ำจุนไว้แล้วย่อมไม่เสื่อม "
" ขอนิมนต์อุปมาก่อน "

อุปมาเรือนที่จะล้ม

" ขอถวายพระพร เมื่อเรือนจะล้ม บุคคลค้ำไว้ด้วยไม้อื่น เรือนที่ถูกค้ำไว้นั้น ก็ไม่ล้มฉันใด ความเพียรก็มีการค้ำจุนไว้ เป็นลักษณะ กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งสิ้น ก็ไม่เสื่อมฉันนั้น "
" ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก "

อุปมาพวกเสนา

"มหาราชะ พวกเสนาจํานวนน้อย ต้อง พ่ายแพ้แก่เสนาหมู่มาก หากพระราชาทรง กําชับไปให้ดี ทั้งเพิ่มกองหนุนส่งไปให้ เสนาจํานวนน้อยกับกองหนุนนั้น ต้องชนะ เสนาหมู่มากได้ฉันใด ความเพียรก็มีการค้ำจุนไว้เป็นลักษณะ กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งสิ้น อันความเพียรอุดหนุนแล้ว ก็ไม่เสื่อมฉันนั้น "

ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระทรงธรรม์ตรัสไว้ว่า " อริยสาวกผู้มีความเพียรเป็นกําลัง ย่อม ละอกุศล เจริญกุศลได้ ละสิ่งที่มีโทษ เจริญสิ่งที่ไม่มีโทษได้ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม " ดังนี้ ขอถวายพระพร "
" พระผู้เป็นเจ้ากล่าวแก้ถูกต้องดีแล้ว "

อธิบาย

การทําความเพียรนั้น คือไม่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป ถ้าหย่อนเกินไป ก็จะเอียง ไปทางเกียจคร้าน ถ้าตึงเกินไปก็จะฟุ้งซ่าน จึงควรทําความเพียรแต่พอดี

ปัญหาที่ ๑๒ ถามลักษณะสติ

" ข้าแต่พระนาคเสน สติ มีลักษณะ อย่างไร ? "
" มหาราชะ สติ มีลักษณะ ๒ ประการคือ
๑. มีการเตือน เป็นลักษณะ
๒. มีการถือไว้ เป็นลักษณะ ขอถวาย พระพร "


สติมีการเตือน

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้อว่า สติมีการเตือน เป็นลักษณะนั้น คืออย่างไร ? "
" ขอถวายพระพร สติเมื่อเกิดขึ้น ก็เตือนให้รู้จักสิ่งที่เป็นกุศล อกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เลวดี ดําขาว ว่า เหล่านี้เป็นสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้เป็น สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้เป็นอิทธิบาท ๔ เหล่านี้เป็นอินทรีย์ ๕ เหล่านี้เป็นพละ ๕ เหล่านี้เป็นโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้เป็นอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ อันนี้เป็นสมถะ อันนี้ เป็นวิปัสสนา อันนี้เป็นวิชชา อันนี้เป็นวิมุตติ เหล่านี้เป็นเจตสิกธรรม ดังนี้

ลําดับนั้น พระโยคาวจรก็เกี่ยวข้อง ธรรมที่ควรเกี่ยวข้อง ไม่เกี่ยวข้องธรรมที่ ไม่ควรเกี่ยวข้อง คบหาธรรมที่ควรคบหา ไม่คบหาธรรมที่ไม่ควรคบหา อย่างนี้แหละ มหาบพิตร เรียกว่า
สติมีการเตือน เป็น ลักษณะ "

" ขอได้โปรดอุปมาด้วย "

อุปมานายคลังของพระราชา

" มหาราชะ นายคลังของพระราชา ย่อมทูลเตือนพระเจ้าจักรพรรดิ ให้ทรงระลึกถึง ราชสมบัติในเวลาเช้าเย็นว่า " ข้าแต่สมมุติเทพ ช้างของพระองค์มีเท่านี้ ม้ามีเท่านี้ รถมีเท่านี้ พลเดินเท้ามีเท่านี้ เงินมีเท่านี้ ทองมีเท่านี้ สิ่งที่เป็นประโยชน์ เกื้อกูลแก่เจ้าของมีเท่านี้ ขอพระองค์จงทรง ระลึกเถิด พระเจ้าข้า "

ข้อนี้มีอุปมาฉันใด สติเมื่อเกิดขึ้น ก็ เตือนให้ระลึกถึงธรรมที่เป็นกุศล อกุศล มี โทษไม่มีโทษ เลวดี ดําขาว ว่าเหล่านี้เป็น สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้เป็นสัมมัปปธาน ๔ ฯ ล ฯ ลําดับนั้น พระโยคาวจรก็เกี่ยวข้องกับ ธรรมที่ควรเกี่ยวข้อง ไม่เกี่ยวข้องกับธรรมที่ ไม่ควรเกี่ยวข้อง คบกับธรรมที่ควรคบ ไม่ คบกับธรรมที่ไม่ควรคบ อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่า สติมีการเตือน เป็นลักษณะ "
" ชอบแล้ว พระนาคเสน "

สติมีการถือไว้

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามต่อไปว่า " ข้าแต่พระนาคเสน ข้อว่า สติมีการถือไว้เป็นลักษณะนั้น เป็นประการใด ? "
" มหาราชะ สติเมื่อเกิดขึ้น ก็ชักชวน ให้ถือเอาซึ่งคติแห่งธรรมทั้งหลายว่า ธรรมเหล่านี้มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้มีอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่มีอุปการะ ลําดับนั้น พระโยคาวจรก็ละธรรมอัน ไม่มีประโยชน์เสีย ถือเอาธรรมที่มีประโยชน์ ละธรรมที่ไม่มีอุปการะเสีย ถือเอาแต่ธรรมที่มีอุปการะ อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่า
สติมีการถือเอาไว้ เป็นลักษณะ "

" ขอนิมนต์อุปมาให้ทราบด้วย "

อุปมานายประตูของพระราชา

" มหาราชะ นายประตูของพระราชาย่อม ต้องรู้จักผู้ที่มีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์ แก่พระราชา ผู้ที่มีอุปการะ หรือไม่มีอุปการะ แก่พระราชา เป็นต้น ลําดับนั้น นายประตูก็กําจัดพวกที่ไม่มี ประโยชน์เสีย รับให้เข้าไปเฉพาะพวกที่มี ประโยชน์ กําจัดพวกที่ไม่มีอุปการะเสีย ให้ เข้าไปแต่พวกที่มีอุปการะฉันใด

สติเมื่อเกิดขึ้น ก็ชักชวนให้ถือเอาคติแห่งธรรมทั้งหลายฉันนั้น ว่าธรรมเหล่านี้มี ประโยชน์ ธรรมเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ ธรรม เหล่านี้มีอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่มีอุปการะ ลําดับนั้น พระโยคาวจรก็กําจัดธรรมอัน ไม่มีประโยชน์เสีย ถือเอาแต่ธรรมที่มีประโยชน์ ละธรรมอันไม่มีอุปการะเสีย ถือเอาแต่ธรรม อันมีอุปการะ อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่า สติมีการถือไว้ เป็นลักษณะ

ข้อนี้สมกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " สติ จะ โข อะหัง ภิกขเว สัพพัตถิกัง วทามิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า สติประกอบด้วยประโยชน์ทั้งปวง" ดังนี้ ขอถวายพระพร "
" ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว "

ฎีกามิลินท์

อธิบายคําว่า ซึ่งคติแห่งธรรมทั้งหลาย ได้แก่ถึงซึ่งความสําเร็จผลที่ต้องการ และไม่ต้องการแห่งธรรมทั้งหลาย อันเป็นกุศลและ อกุศล ส่วนคําว่า "ดําขาว" มีความหมายว่า ดํานั้นได้แก่สิ่งที่ไม่ดี ส่วนขาวนั้นได้แก่สิ่งที่ดี

ปัญหาที่ ๑๓ ถามลักษณะสมาธิ

" ข้าแต่พระนาคเสน สมาธิ มีลักษณะ อย่างไร ? "
" มหาราชะ สมาธิมีการเป็น หัวหน้า เป็น ลักษณะ กุศลธรรมทั้งหลาย มีสมาธิเป็นหัวหน้า น้อมไปในสมาธิ โน้มไปในสมาธิ เงื้อมไปในสมาธิ ขอถวายพระพร "
" ขอนิมนต์อุปมา พระผู้เป็นเจ้ า"

อุปมากลอนแห่งเรือนยอด

" ขอถวายพระพร เช่นเดียวกับกลอน แห่งเรือนยอดทั้งหลาย ย่อมไปรวมอยู่ที่ยอด น้อมไปที่ยอด โน้มไปที่ยอด เงื้อมไปที่ยอดฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย ก็มีสมาธิเป็นหัวหน้า น้อมไปในสมาธิ โน้มไปในสมาธิ เงื้อมไปใน สมาธิฉันนั้น "
" นิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก "

อุปมาพระราชา

" มหาราชะ เวลาพระราชาเสด็จออก สงคราม พร้อมด้วยจตุรงคเสนานั้น เสนา ทั้งหลาย เสนาบดีทั้งหลาย ช้าง ม้า รถ พลเดินเท้าทั้งหลาย ก็มีพระราชาเป็นหัวหน้า น้อมไปในพระราชา โน้มไปในพระราชา เงื้อมไปในพระราชา ห้อมล้อมพระราชาฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย ก็มีสมาธิเป็นหัวหน้า น้อมไปในสมาธิ โน้มไปในสมาธิ เงื้อมไปใน สมาธิฉันนั้น อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่า สมาธิ มีความเป็น หัวหน้า เป็นลักษณะ

ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระมหามุนีตรัสไว้ว่า " สมาธิ ภิกขเว ภาเวถะ สมาธิโก ภิกขุ ยถาภูตัง ปชานาติ.. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอบรมสมาธิ ภิกษุผู้ได้สมาธิ ย่อมรู้ตามความเป็นจริง" ดังนี้ ขอถวายพระพร "
" ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน "

◄ll กลับสู่สารบัญ




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 3/5/08 at 07:13 Reply With Quote


ปัญหาที่ ๑๔ ถามลักษณะปัญญา


"ข้าแต่พระนาคเสน ปัญญา มีลักษณะอย่างไร ? "
"มหาราชะ ปัญญา มีการ ตัด เป็นลักษณะ ตามที่อาตมภาพได้ถวายวิสัชนาไว้แล้ว อีกประการหนึ่ง ปัญญา มีการ ทำให้สว่าง เป็นลักษณะ ขอถวายพระพร"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ปัญญามีการทำให้สว่าง เป็นลักษณะอย่างไร? "
"มหาราชะ ปัญหาเมื่อเกิดขึ้น ก็กำจัดเครื่องทำให้มืดคือ อวิชชา ทำให้เกิดความสว่างคือ วิชชา ทำให้เกิดความแจ่มแจ้ง คือ ญาณ ทำให้อริยสัจปรากฏ ลำดับนั้น พระโยคาวจรก็เห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขอถวายพระพร"
"ขอพระคุณเจ้าได้โปรดอุปมา"




อุปมาผู้ส่องประทีป

"มหาราชะ เปรียบปานบุรุษส่องประทีปเข้าไปในเรือนที่มืด แสงประทีปย่อมกำจัดความมืด ทำให้เกิดความสว่าง ทำให้รูปทั้งหลายปรากฏฉันใด ปัญญาเมื่อเกิดขึ้น ก็กำจัดความมืดคือ อวิชชา ทำให้เกิดแสงสว่างคือ วิชชา ทำให้เกิดความแจ่มแจ้งคือ ญาณ ทำให้อริยสัจทั้งหลายปรากฏ ลำดับนั้น พระโยคาวจรก็เห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฉันนั้น อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่า ปัญญา มีการ ทำให้สว่าง เป็นลักษณะ ขอถวายพระพร"
"ถูกแล้ว พระนาคเสน"




ฎีกามิลินท์

อธิบายคำว่า ปัญญาอันชอบ ได้แก่ปัญญาอันเกิดจากวิปัสสนาญาณ




ปัญหาที่ ๑๕ ถามหน้าที่แห่งธรรมต่างๆ กัน

"ข้าแต่พระนาคเสน ธรรมเหล่านี้มีอยู่ต่าง ๆ กัน แต่ให้สำเร็จประโยชน์อย่างเดียวกันหรือ? "
"อย่างนั้น มหาบพิตร ธรรมเหล่านี้มีอยู่ต่าง ๆ กัน แต่ให้สำเร็จประโยชน์อย่างเดียวกัน คือฆ่ากิเลสเหมือนกัน ขอถวายพระพร"
"ขอนิมนต์อุปมาด้วย"




อุปมาเสนาต่าง ๆ

"มหาราชะ เสนามีหน้าที่ต่าง ๆ กันคือ เสนาช้าง เสนาม้า เสนารถ เสนาพลเดินเท้า เสนาเหล่านั้น ย่อมให้ความสำเร็จสงครามอย่างเดียวกัน ย่อมชนะเสนาฝ่ายอื่นในสงครามอย่างเดียวกัน ฉันใด ธรรมเหล่านี้ ถึงมีอยู่ต่าง ๆ กัน ก็ให้สำเร็จประโยชน์อย่างเดียวกัน คือฆ่า กิเลสอย่างเดียวกัน ขอถวายพระพร"
"พระผู้เป็นเจ้าวิสชนาสมควรแล้ว"

จบวรรคที่ ๑





สรุปความ

คำว่า "ธรรมเหล่านี้" หมายถึงธรรมที่กล่าวมาแล้วขั้นต้น คือ
มนสิการ มีลักษณะ ถือไว้
กุศลธรรมอื่น ๆ ได้แก่ ศีล และ อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มีลักษณะดังนี้
ศีล มีลักษณะ เป็นที่ตั้ง
ศรัทธา มีลักษณะ ผ่องใส และ แล่นไป
วิริยะ มีลักษณะ ค้ำจุนไว้
สติ มีลักษณะ เตือน และ ถือไว้
สมาธิ มีลักษณะเป็น หัวหน้า
ปัญญา มีลักษณะ ตัด และ ทำให้สว่าง
จึงขอลำดับความสัมพันธ์ขอธรรมเหล่านี้ว่า มีหน้าที่ต่างกันอย่างไรบ้าง




พระโยคาวจรหวังที่จะปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์นั้น จะต้องประกอบไปด้วยธรรมเหล่านี้คือ
๑. มนสิการ คือคิดไว้เสมอว่า ชีวิตนี้จะต้องตายเป็นธรรมดา
๒. ศีล จะรักษาให้บริสุทธิ์ไว้เสมอ
๓. ศรัทธา มีความเลื่อมใสในคุณพระพุทธ พระธรรม และ พระอริยสงฆ์ หวังปฏิบัติตนเพื่อความพ้นทุกข์ คือพระนิพพานต่อไป
๔. วิริยะ ทำความเพียรแต่พอดี
๕. สติ นึกเตือนตนเองไว้เสมอว่า เราจะต้องตาย จะมีศีลบริสุทธิ์ จะเคารพในพระรัตนตรัย และมีนิพพานเป็นอารมณ์
๖. สมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก หรือภาวนาตาม อัธยาศัย
๗. ปัญญา พิจารณา สักกายทิฏฐิ ไม่ยึดถือว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา แล้วตัด อวิชชา เราไม่มี ฉันทะ คือความพอใจ และ ราคะ คือความยินดีในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก เราต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพาน

ธรรมเหล่านี้จึงมีหน้าที่ต่าง ๆ กันแต่มุ่งประโยชน์อย่างเดียวกัน คือฆ่ากิเลสให้เป็น สมุจเฉทปหาน ตามที่ท่านได้อุปมาไว้ฉันใด เสนาช้า ม้า รถ พลเดินเท้า เสนาเหล่านั้น ย่อมช่วยกันทำสงคราม เพื่อที่จะมีชัยชนะต่อข้าศึกศัตรู ก็มีอุปมาฉันนั้น

รวมความว่า ปัญหาทั้งหมดที่ผ่านมานี้เป็นปัญหาที่พระเจ้ามิลินท์ถามพระนาคเสนถึง วิธีปฏิบัติที่จะไม่เกิดอีก ว่าจะต้องประกอบด้วยธรรมอะไรบ้าง หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจ ตามที่ได้สรุปความมาให้ทราบนี้.

ll กลับสู่ด้านบน




Update 3 พฤษภาคม 51

ตอนที่ ๖


วรรคที่ ๒ ปัญหาที่ ๑ ถามความสืบต่อแห่งธรรม

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอได้ตรัสถามปัญหาต่อไปว่า " ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ใดเกิดก็เป็นผู้นั้น หรือว่ากลายเป็นผู้อื่น ? "
พระเถระถวายพระพรตอบว่า " ไม่ใช่ผู้นั้น และไม่ใช่ผู้อื่น "
" โยมยังสงสัยขอนิมนต์อุปมาก่อน "
" ขอถวายพระพร มหาบพิตรเข้าพระทัย ว่าอย่างไร...คือมหาบพิตรเข้าพระทัยว่า เมื่อมหาบพิตรยังเป็นเด็กอ่อน ยังนอนหงายอยู่ที่พระอู่นั้นบัดนี้ มหาบพิตรเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็คือเด็กอ่อนนั้น...อย่างนั้นหรือ? "
" ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า คือเด็กอ่อนนั้นเป็น ผู้หนึ่งต่างหาก มาบัดนี้โยมซึ่งเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็เป็นอีกผู้หนึ่งต่างหาก "
" มหาราชะ เมื่อเป็นอย่างนั้น มารดาก็จักนับว่าไม่มี บิดาก็จักนับว่าไม่มี อาจารย์ก็จักนับว่าไม่มี ผู้มีศีลก็จักนับว่าไม่มี ผู้มีศิลปะก็จักนับว่าไม่มี ผู้มีปัญญา ก็จักนับว่าไม่มี

ทั้งนี้เพราะอะไร...เพราะว่ามารดาของ ผู้ยังเป็น กลละ อยู่ เป็นผู้หนึ่งต่างหาก มารดา ของผู้เป็น อัพพุทะ คือผู้กลายจากกลละ อันได้แก่กลายจากน้ำใส ๆ เล็ก ๆ มาเป็นน้ำ คล้ายกับน้ำล้างเนื้อ ก็ผู้หนึ่งต่างหาก เมื่อผู้นั้นกลายเป็นก้อนเนื้อ มารดาก็ผู้หนึ่งต่างหาก เมื่อผู้นั้นกลายเป็นแท่งเนื้อ มารดาก็เป็นอีกผู้หนึ่งต่างหาก เมื่อผู้นั้นยังเล็กอยู่ มารดาก็เป็นผู้หนึ่งอีกต่างหาก เมื่อผู้นั้นโตขึ้น มารดาก็เป็นอีกผู้หนึ่งต่างหาก อย่างนั้น หรือ... ผู้ศึกษาศิลปะ ก็เป็นผู้หนึ่งต่างหาก ผู้สําเร็จการศึกษาแล้ว ก็เป็นผู้หนึ่งต่างหาก ผู้ทําบาปกรรมก็เป็นผู้หนึ่งต่างหาก ผู้มีมือ ด้วนเท้าด้วน ก็เป็นผู้หนึ่งต่างหาก อย่างนั้น หรือ? "

" ไม่ใช่อย่างนั้น ผู้เป็นเจ้า ในเมื่อโยมกล่าว อย่างนี้ ส่วนพระผู้เป็นเจ้าจะกล่าวว่าอย่างไร? "
" ขอถวายพระพร เมื่อก่อนอาตมายังเป็นเด็กอ่อนอยู่ บัดนี้ ได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ อวัยวะทั้งปวงนั้น รวมเข้าเป็นอันเดียวกัน เพราะอาศัยกายอันนี้แหละ "
" ขอได้โปรดอุปมาด้วย "
" มหาราชะ เปรียบเสมือนว่า บุรุษคนหนึ่ง จุดประทีปไว้ ประทีปนั้นจะสว่างอยู่ตลอดคืน หรือไม่? "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ประทีปนั้นต้องสว่าง อยู่ตลอดคืน "
" มหาราชะ เปลวประทีปในยามต้นก็คือ เปลวประทีปในยามกลางอย่างนั้นหรือ ? "
" ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า "
" เปลวประทีปในยามกลาง ก็คือเปลวประทีปในยามปลายอย่างนั้นหรือ? "
" ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า "
" มหาราชะ เปลวประทีปในยามต้น ก็เป็นอย่างหนึ่ง เปลวประทีปในยามกลาง ก็เป็นอย่างหนึ่ง เปลวประทีปในยามปลาย ก็เป็น อย่างหนึ่ง อย่างนั้นหรือ ? "
" ไม่ใช่อย่างนั้น ผู้เป็นเจ้า คือเปลวประทีป นั้นได้สว่างอยู่ตลอดคืน ก็เพราะอาศัยประทีป ดวงเดียวกันนั้นแหละ "

" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ ธรรมสันตติ ความสืบต่อแห่งธรรม ย่อมสืบ ต่อกัน เมื่อสิ่งหนึ่งเกิด สิ่งหนึ่งดับ ย่อมติดต่อ กันไม่ก่อนไม่หลัง เพราะฉะนั้น จะว่าผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะว่าผู้ อื่นก็ไม่ใช่ ย่อมถึงซึ่งการจัดเข้าในวิญญาณ ดวงหลัง ขอถวายพระพร "
" ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก "
" มหาราชะ ในเวลาที่คนทั้งหลายรีดนม นมสดก็กลายเป็นนมส้ม เปลี่ยนจากนมส้ม ก็กลายเป็นนมข้น เมื่อเปลี่ยนจากนมข้น ก็กลายเป็นเปรียง ผู้ใดกล่าวว่า นมสดนั้นแหละคือนมส้ม นมส้มนั้นแหละคือนมข้น นมข้นนั้นแหละคือ เปรียง จะว่าผู้นั้นกล่าวถูกต้องดีหรืออย่างไร? "
" ไม่ถูก พระผู้เป็นเจ้า คือเปรียงนั้น ก็อาศัยนมสดเดิมนั้นแหละ "
" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ธรรมสันตติ คือความสืบต่อแห่งธรรม ก็ย่อมสืบ ต่อกันไป อย่างหนึ่งเกิด อย่างหนึ่งดับ สืบต่อ กันไปไม่ก่อนไม่หลัง เพราะฉะนั้น จะว่าผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะว่าผู้อื่นก็ไม่ใช่ ว่าได้แต่เพียงว่า ถึงซึ่งการสงเคราะห์ เข้าในวิญญาณดวงหลังเท่านั้น ขอถวายพระพร "
" พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขนี้สมควรแล้ว "

สรุปความ

ปัญหานี้พระเจ้ามิลินท์เข้าใจว่า คนที่เกิดมาแล้ว จากเด็กมาเป็นผู้ใหญ่ ท่านเข้าใจว่า เป็นคนละคนกัน
พระนาคเสนจึงชี้แจงว่า ความจริงก็เป็น คนเดียวกัน แต่ที่ท่านตอบว่า จะเป็นผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะเป็นผู้อื่นก็ไม่ใช่นั้น ก็เพราะอาศัย สันตติ ความสืบต่อกัน เปรียบเหมือนเปลวไฟและ นมสดที่เปลี่ยนไป เมื่อเปลี่ยนไปแล้ว จะว่าเป็นของเดิมก็ ไม่ได้ จะว่าเป็นของอื่นก็ไม่ได้ แต่ต้องอาศัย ความสืบต่อกันไป เหมือนกับร่างกายที่เกิดมา ก็อาศัยอวัยวะเดิมแล้วค่อยเปลี่ยนแปลง เติบ โตขึ้นมาจนกว่าจะแก่เฒ่าไป ก็ชื่อว่าเป็นบุคคล เดียวกันนั่นเอง



ปัญหาที่ ๒ ถามความรู้สึกของผู้ไม่เกิดอีก

" ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลใดไม่เกิดอีก บุคคลนั้นรู้หรือไม่ว่า เราจักไม่เกิดอีก ? "
" มหาราชะ ผู้ใดจะไม่เกิดอีก ผู้นั้นก็รู้ว่าเราจักไม่เกิดอีก "
" ข้าแต่พระคุณเจ้า ผู้นั้นรู้ได้อย่างไร? "
" ขอถวายพระพร เหตุปัจจัยอันใดที่ทํา ให้ถือกําเนิด ผู้นั้นก็รู้ว่าเราจะไม่เกิด เพราะ ความดับไปแห่งเหตุปัจจัยอันนั้นแล้ว "
" ขอนิมนต์อุปมาด้วย "
" มหาราชะเปรียบเหมือนชาวนาไถนาแล้ว หว่านข้าวแล้ว ได้ข้าวไว้เต็มยุ้งแล้ว ต่อมาภายหลังเขาก็ไม่ไถไม่หว่านอีกเขามีแต่ บริโภคหรือขายซึ่งข้าวนั้น หรือทําอย่างใด อย่างหนึ่งตามเหตุปัจจัยที่มีมา ชาวนานั้นรู้หรือไม่ว่า ยุ้งข้าวของเราจักไม่เต็ม? "
" รู้ซิ พระผู้เป็นเจ้า "
" รู้อย่างไรล่ะ? "
" อ๋อ..รู้เพราะไม่มีเหตุปัจจัยที่จะทําให้ยุ้ง ข้าวเต็ม "
" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ผู้นั้นก็ รู้ว่าเราจักไม่เกิดอีกเพราะหมดเหตุปัจจัยที่จะทําให้ถือกําเนิดแล้ว "
" ถูกแล้ว พระนาคเสน "
อธิบาย

คําว่า "หมดเหตุปัจจัย" หมายความว่า เป็นผู้หมดกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ที่จะทําให้เกิดอีก



ปัญหาที่ ๓ ถามที่ดับปัญญา

" ข้าแต่พระนาคเสน ญาณ เกิดแก่ผู้ใด ปัญญา เกิดแก่ผู้นั้นหรือ? "
" เกิด...มหาราชะ คือ ญาณ เกิดแก่ผู้ใด ปัญญา ก็เกิดแก่ผู้นั้น "
" ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งใดเป็นญาณ สิ่งนั้นหรือเป็นปัญญา? "
" ถูกแล้ว..มหาราชะ คือสิ่งใดเป็นญาณ ก็สิ่งนั้นแหละเป็นปัญญา "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ญาณได้เกิดแก่ผู้ใด ปัญญานั้นได้เกิดแก่ผู้นั้น ผู้นั้นหลงหรือไม่หลง? "
" มหาราชะ ผู้มีปัญญาหลงในบางสิ่งบาง อย่าง ไม่หลงในบางสิ่งบางอย่าง "
" หลงในสิ่งไหน ไม่หลงในสิ่งไหน? "
" ขอถวายพระพร หลงในศิลปะที่ไม่ ชํานาญก็มี ในทิศที่ไม่เคยไปก็มี ในชื่อหรือ สถานที่ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังก็มี "
" อ๋อ...แล้วไม่หลงในอะไร ผู้เป็นเจ้า? "
" ไม่หลงในสิ่งที่ตนรู้แล้วว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็โมหะ คือความหลงของผู้นั้นไปอยู่ที่ไหนล่ะ? "
" มหาราชะ พอ ญาณ เกิดแล้ว โมหะ คือความหลงก็ดับไปในญาณนั้นเอง "
" ขอนิมนต์อุปมาเถิด "

อุปมาผู้จุดประทีป

" ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง จุดประทีปเข้าไปในเรือนที่มืด ในขณะนั้น ความมืดก็ดับไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้นฉันใด เมื่อ ญาณ เกิดขึ้นแล้ว โมหะ ก็ดับไปในที่นั้น ฉันนั้นแหละ "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็ปัญญานั้นเล่า... ไปอยู่ที่ไหน? "
" มหาราชะ ปัญญา ทําหน้าที่ของตนแล้ว ก็ดับไปในที่นั้นเอง สิ่งใดที่ทําด้วยปัญญานั้น ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งนั้นไม่ดับ "
" ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ปัญญาทําหน้าที่ของตนแล้ว ก็ดับไป
แต่สิ่งใดที่ทําด้วยปัญญานั้นว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งนั้นไม่ดับ ดังนี้ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาด้วย "


อุปมาการเขียนเลข

" มหาราชะ เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้ใดผู้หนึ่งอยากดูตัวเลขในกลางคืนจัดแจงให้จุด ประทีปขึ้นเขียนเลข เมื่อเขียนเลขแล้วก็ให้ ดับประทีป เมื่อประทีปดับแล้วเลขก็ยังไม่หายไปข้อนี้มีอุปมาฉันใด ปัญญาทําหน้าที่ของตนแล้วดับไป แต่ สิ่งที่รู้ด้วยปัญญาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น มิได้ดับไปฉันนั้น "
" ขอพระผู้เป็นเจ้าอุปมาให้ยิ่งขึ้น "

อุปมาโอ่งน้ำ

" ขอถวายพระพร เปรียบประดุจพวกมนุษย์ ในชนบทตะวันออก จัดตั้งโอ่งน้ำไว้ ๕ โอ่งข้างประตูเพื่อดับไฟที่จะไหม้เรือน เมื่อไฟไหม้เรือนแล้ว โอ่งน้ำ ๕ โอ่งนั้น เขาก็นําไปเก็บไว้ในละแวกบ้าน ไฟก็ดับไปชาวบ้านคิดหรือไม่ว่า เราจักต้องทําสิ่งที่จําเป็น ด้วยโอ่งน้ำเหล่านั้นอีก? "
" ไม่คิด ผู้เป็นเจ้า เพราะไม่มีความจําเป็น กับโอ่งน้ำเหล่านั้นอีกแล้ว ด้วยว่าไฟก็ดับแล้ว เขาจึงนําไปเก็บไว้อย่างนั้น "
" มหาราชะ ควรเห็น อินทรีย์ ๕ มีศรัทธา เป็นต้นว่า เปรียบเหมือนกับโอ่งน้ำทั้ง ๕ พระโยคาวจรเปรียบเหมือนชาวบ้าน กิเลสเปรียบ เหมือนไฟ กิเลสดับไปด้วยอินทรีย์ ๕ เปรียบเหมือนกับ ไฟดับไปด้วยน้ำทั้ง ๕ โอ่งนั้น กิเลสที่ดับ ไปแล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีกฉันใด เมื่อปัญญาทําหน้าที่ของตนแล้วก็ดับไป แต่สิ่งที่รู้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้น มิได้ดับไปฉันนั้น
" ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก "

อุปมารากยา

" มหาราชะ เปรียบปานประหนึ่งว่าแพทย์ ผู้ถือเอารากยา ๕ รากไปหาคนไข้ บดรากยาทั้ง ๕ นั้น แล้วละลายน้ำให้คนไข้ดื่ม โรคนั้นก็หายไปด้วยรากยาทั้ง ๕ รากนั้น แพทย์นั้นคิดหรือไม่ว่าเราจักต้องทํากิจที่ควรทําด้วยรากยาเหล่านั้นอีก? "
" ไม่คิด พระผู้เป็นเจ้า "
" มหาราชะ รากยาทั้ง ๕ นั้น เหมือนอินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น แพทย์นั้นเหมือน พระโยคาวจร ความเจ็บไข้เหมือนกิเลส บุรุษผู้เจ็บไข้เหมือนปุถุชน ไข้หายไปด้วยยาทั้ง ๕ รากนั้นแล้ว ผู้เจ็บไข้นั้น ก็หายโรคฉันใด เมื่อกิเลสออกไปด้วยอินทรีย์ ๕ แล้ว กิเลสก็ไม่เกิดอีก อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่าปัญญาทําหน้าที่ของตนแล้วดับไป แต่สิ่ง ที่รู้ด้วยปัญญาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้น หามิได้ดับไปฉันนั้น "
" นิมนต์อุปมาให้ยิ่งกว่านี้อีก "

อุปมาผู้ถือลูกธนู

" มหาราชะ เหมือนกับบุรุษผู้จะเข้าสู่สงคราม ถือเอาลูกธนู ๕ ลูก แล้วเข้าสู่สงคราม เพื่อต่อสู้กับข้าศึก เขาเข้าสู่สงคราม แล้วก็ยิงลูกธนูไป ข้าศึกก็แตกพ่ายไป บุรุษนั้นคิดหรือไม่ว่า เราจักต้องทํากิจด้วยลูกธนู เหล่านั้นอีก? "
" ไม่คิด พระผู้เป็นเจ้า "
" มหาราชะ ควรเห็น อินทรีย์ ๕ เหมือนลูกธนูทั้ง ๕พระโยคาวจรเหมือนกับผู้เข้าสู่
สงคราม กิเลสเหมือนกับข้าศึก กิเลสแตกหัก ไปเหมือนกับข้าศึกพ่ายแพ้ กิเลสดับไปแล้ว ไม่เกิดขึ้นอีกอย่างนี้ แหละ มหาบพิตร ชื่อว่าปัญญาทําหน้าที่ของ ตนแล้วดับไป แต่สิ่งที่รู้ด้วยปัญญาว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นหามิได้ดับไป ขอ ถวายพระพร "

" แก้ดีแล้ว พระนาคเสน "



ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องปรินิพพาน

" ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ใดจะไม่เกิดอีก ผู้นั้นยังได้เสวยทุกขเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่? "
" ขอถวายพระพรได้เสวยก็มีไม่ได้เสวยก็มี "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ที่ว่าได้เสวยก็มี ไม่ได้เสวยก็มีนั้น คือเสวยอะไร ไม่ได้เสวย อะไร? "
" ขอถวายพระพร ได้เสวยเวทนาทางกาย ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ "
" ข้าแต่พระนาคเสน ข้อที่ว่าได้เสวยเวทนา ทางกาย แต่ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจนั้น คือ อย่างไร? "
" ขอถวายพระพร คือเหตุปัจจัยอันใด ที่จะให้เกิดทุกขเวทนาทางกายยังมีอยู่ ผู้นั้นก็ยังได้เสวยทุกขเวทนาทางกายอยู่ เหตุปัจจัยอันใดที่จะให้เกิดทุกขเวทนาทางใจดับไปแล้ว ผู้นั้นก็ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาทางใจ ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระจอมไตรตรัสไว้ว่า
"ผู้นั้นได้เสวยเวทนาทางกายอย่าง เดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ"
" ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ไม่ได้เสวยทุกข เวทนาแล้วนั้น เหตุไรจึงยังไม่ปรินิพพาน? "

" ขอถวายพระพร ความยินดีหรือยินร้าย ไม่มีแก่พระอรหันต์เลย พระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมไม่ทําสิ่งที่ยังไม่แก่ไม่สุกให้ตกไปมีแต่ รอการแก่การสุกอยู่เท่านั้น ข้อนี้สมกับ พระสารีบุตรเถระ ผู้เป็นเสนาบดีในทางธรรมได้กล่าวไว้ว่า[/color]
"เราไม่ยินดีต่อมรณะ เราไม่ยินดีต่อชีวิต เรารอแต่เวลาอยู่ เหมือนกับลูกจ้างรอ เวลารับค่าจ้างเท่านั้น เราไม่ยินดีต่อมรณะ ไม่ยินดีต่อชีวิต เราผู้มีสติสัมปชัญญะ รอแต่เวลาอยู่เท่านั้น"
" ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูก ต้องดีแล้ว "

สรุปความ

ในข้อนี้มีความหมายว่า พระอรหันต์ยัง ต้องมีความทุกข์ทางกาย เช่น หนาวร้อน หิว กระหายปวดอุจจาระปัสสาวะการป่วยไข้ไม่สบาย ความแก่ และความตาย เป็นต้น แต่จิตใจของท่านไม่กระวนกระวายไม่ เป็นทุกข์ไปด้วย ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา พระนาคเสนจึงตอบว่า
" ผู้ที่ไม่เกิดอีก จึงได้เสวยเวทนาแต่ ทางกาย ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ "ดังนี้



ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องสุขเวทนา

" ข้าแต่พระนาคเสน สุขเวทนา เป็นกุศล หรืออกุศล หรืออัพยากฤต? " ( อัพยากฤต หมายถึง ธรรมที่ไม่ใช่กุศล และอกุศล คือเป็นนิพพาน )
" ขอถวายพระพรเป็นกุศลก็มีอกุศลก็มี อัพยากฤตก็มี "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าเป็นกุศลก็ไม่เป็นทุกข์ ถ้าเป็นทุกข์ก็ไม่เป็นกุศล คํากล่าวว่า" สุขเป็นทั้งกุศล เป็นทั้งทุกข์ "ก็ไม่ควร "

อุปมาก้อนเหล็กแดงและหิมะ

" ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะทรงเข้า พระทัยความข้อนี้อย่างไร...คือถ้ามีก้อนเหล็ก
แดงวางอยู่ที่มือข้างหนึ่งของบุรุษคนหนึ่ง และมีก้อนหิมะเย็นวางอยู่ที่มืออีกข้างหนึ่ง มือทั้งสองข้างจะถูกเผาเหมือนกันหรือ... มหาบพิตร? "

" ถูกเผาเหมือนกัน พระผู้เป็นเจ้า "
" ถ้าอย่างนั้น มือทั้งสองข้างนั้น จะร้อน เหมือนกันหรือ? "
" ไม่ร้อนเหมือนกัน พระผู้เป็นเจ้า "
" ถ้าอย่างนั้น มือทั้งสองข้างนั้น จะเย็น เหมือนกันหรือ? "
" ไม่เย็นเหมือนกัน พระผู้เป็นเจ้า "

" ขอมหาบพิตรจงทราบว่ามหาบพิตร ถูกกล่าวข่มขี่แล้ว คือ ถ้าก้อนเหล็กแดง อัน
ร้อนเป็นของเผา ก็จะต้องเผามือทั้งสองข้าง แต่มือทั้งสองข้างนั้นไม่ร้อน เพราะฉะนั้น ถ้อยคําของมหาบพิตรจึงใช้ไม่ได้ ถ้าของที่เย็นเป็นของเผา มือทั้งสองข้าง ก็จะต้องถูกเผา แต่มือทั้งสองข้างไม่เย็นเหมือน กัน เพราะฉะนั้น คําของมหาบพิตรจึงใช้ไม่ได้
ขอถวายพระพร เหตุไรจึงว่ามือทั้งสองข้างถูกเผา แต่มือทั้งสองข้างนั้นไม่ร้อนเหมือนกันไม่เย็นเหมือนกันข้างหนึ่งร้อนอีกข้าง หนึ่งเย็น เพราะฉะนั้น คําที่มหาบพิตรตรัสว่ามือทั้งสองข้างถูกเผานั้นจึงใช้ไม่ได้ "

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมไม่อาจโต้ตอบ กับพระผู้เป็นเจ้าได้แล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจง แก้ไขไปเถิด "
ลําดับนั้น พระเถระจึงทําให้พระเจ้า มิลินท์ทรงเข้าพระทัยได้ด้วยคาถาอันประกอบ ด้วย อภิธรรม ว่า
" มหาราชะ โสมนัสเวทนา ( ความรู้สึก ยินดี ) อันอาศัยการครองเรือน ( กามคุณ ๕ ) มีอยู่ ๖
อาศัยการถือบวชมีอยู่ ๖
โทมนัสเวทนา ( ความรู้สึกยินร้าย )อันอาศัยการครองเรือนมีอยู่ ๖ อาศัยการถือบวช มีอยู่ ๖
อุเบกขาเวทนา ( ความรู้สึกวางเฉย )อันอาศัยการครองเรือนมีอยู่ ๖ อาศัยการถือบวช มีอยู่ ๖
เวทนาทั้ง ๓๖ อย่างนี้ แยกเป็นเวทนาที่ เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน รวมเข้าด้วย กันเป็น เวทนา ๑๐๘ ขอถวายพระพร "
" พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขถูกต้องดีแล้ว "

สรุปความ

พระเจ้ามิลินท์ไม่ทรงเห็นด้วยกับพระนาคเสนที่ว่า สุขเวทนาเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี แต่พระองค์ทรงเห็นว่า ถ้าสุขเวทนาเป็นกุศล ควรให้ผลแต่สุข ไม่ควร ให้ทุกข์ด้วย
แต่พระนาคเสนยังคงยืนยันตามเดิม โดยยกตัวอย่างมาซักถาม เพื่อลวงให้พระราชา ตอบผิด จะสังเกตได้ว่าการตอบคําถาม ท่าน จะไม่ค้านหรือตําหนิโดยตรง เป็นแต่ใช้อุบาย เพื่อรักษาน้ำใจเท่านั้น อันนี้เป็นหลักในการ สนทนาธรรมของท่าน

ในฎีกามิลินท์ท่านอธิบายว่า ความจริง นั้นมีอยู่ว่า ถึงสุขเวทนาที่เป็นกุศล ก็เป็นทุกข์ได้ เพราะเป็นทุกข์สังขาร และเป็นทุกข์แปรปรวน ถึงทุกข์อันได้แก่ โทมนัส คือ ความไม่ชอบใจ ที่อาศัยการถือบวชนั้น ก็เป็น กุศลได้ เพราะเป็นของไม่มีโทษ
แต่พระเถระคิดว่า เมื่อเราตั้งปัญหาว่า ด้วย " ก้อนเหล็กแดงกับก้อนหิมะ " ถามพระราชาพระราชาก็จะแก้ผิดเราจักชี้โทษว่าแก้ผิด เมื่อพระราชาไม่อาจแก้ได้ ก็จะขอ ให้เราแก้ เราจึงจะทําให้พระราชาเข้าใจตามความจริงได้

เมื่อพระเถระถามว่ามือทั้งสองข้างนั้น ถูกเผาเหมือนกันหรือพระราชาก็จะต้องตอบผิดว่า ถูกเผาเหมือนกัน เพราะได้ทรงสดับมาว่า ของเย็นของร้อนจัดเป็น " เตโชธาตุ "
ทั้งทรงเข้าพระทัยว่า ก้อนหิมะเย็นเป็น ของกัดอย่างร้ายแรง เมื่อทรงเข้าพระทัยผิด อย่างนี้ ก็ตรัสตอบว่า มือทั้งสองข้างถูกเผา เหมือนกัน

เมื่อพระเถระซักถามต่อไปว่า ถ้ามือทั้ง สองข้างถูกเผา ก็จะต้องร้อนเหมือนกัน หรือ จะต้องเย็นเหมือนกันใช่ไหมพระเจ้ามิลินท์ ตรัสว่า" ไม่ใช่ "ดังนี้
แล้วพระนาคเสนจึงเอาประเด็นนี้เป็นความผิด เพื่อชี้โทษที่ทรงเห็นผิดในข้อนี้ เมื่อพระราชาอับจนต่อปัญหาที่ยกตัวอย่างมานี้ จึงเปิดโอกาสให้ชี้แจงได้ เป็นการยอมรับฟัง ความเห็นของพระเถระว่า

" บุรุษผู้หนึ่งจับก้อนเหล็กแดงด้วยมือข้างหนึ่ง และจับก้อนหิมะด้วยมืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งสิ่งของทั้งสองอย่างนี้ ถึงแม้จะมีสภาพตรง กันข้าม แต่ก็ให้ความรู้สึกทั้งร้อนและเย็นแก่ ผู้จับเหมือนกันฉันใด
สุขเวทนา อันมีใน เวทนา ๑๐๘ ก็ ย่อมให้ความรู้สึกทั้งที่เป็น กุศล อกุศล และ
อัพยากฤต เช่นกันฉันนั้น

โปรดติดตามอ่านต่อไป
*************************





Update 1 มิถุนายน 51

ตอนที่ ๗


ปัญหาที่ ๖ ถามการถือกําเนิดแห่งนามรูป

“ ข้าแต่พระนาคเสน อะไรปฏิสนธิ คือถือกําเนิด ? ”
“ มหาราชะ นามรูป ถือกําเนิด ”
“ นามรูปนี้หรือ...ถือกําเนิด ? ”
“ มหาราชะ นามรูปนี้ไม่ได้ถือกําเนิด แต่ ว่าบุคคลทํากรรมดีหรือชั่วด้วยนามรูปนี้ นามรูปอื่นก็ถือกําเนิดด้วยกรรมนั้น ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้านามรูปนี้ไม่ได้ถือกําเนิด ผู้นั้นก็จักพ้นบาปกรรมทั้งหลายไม่ใช่ หรือ ? ”
“ ขอถวายพระพร ถ้าผู้นั้นไม่เกิดแล้ว ก็พ้นจากบาปกรรมทั้งหลาย แต่ถ้ายังเกิดอยู่ก็หาพ้นไม่ ”
“ ขอนิมนต์ได้โปรดอุปมาด้วย ”




อุปมาด้วยผลมะม่วง

“ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ไปขโมยผลมะม่วงของเขามา แต่เจ้าของมะม่วงนั้นจับได้ จึงนําไปถวายพระราชา กราบทูลว่า บุรุษผู้นี้ขโมยมะม่วงของข้าพระองค์
บุรุษนั้นจะต้องกราบทูลว่า ข้าแต่สมมุติเทพ ข้าพระองค์มิได้ขโมยมะม่วงของบุรุษนี้ มะม่วงที่บุรุษนี้ปลูกไว้เป็นมะม่วงอื่น ส่วน มะม่วงที่ข้าพระองค์นําไปนั้น เป็นมะม่วงอื่น อีกต่างหาก ข้าพระองค์ไม่ควรได้รับโทษ ดังนี้
อาตมภาพจึงขอถามมหาบพิตรว่า บุรุษผู้นั้นควรจะได้รับโทษหรืออย่างไร ? ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บุรุษนั้นควรได้รับโทษ ”
“ เพราะอะไรล่ะ มหาบพิตร ? ”
“ เพราะว่า บุรุษนั้นรับว่าไปเอาผลมะม่วงมาแล้ว แต่บอกว่าเอาผลมะม่วงลูกก่อนไป ถึงกระนั้นก็ควรได้รับโทษด้วยผลมะม่วงลูกหลัง ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ บุคคลทํากรรมดีหรือชั่วอันใดไว้ด้วยนามรูปนี้ แล้วนามรูปอื่นก็ถือกําเนิดสืบต่อกันด้วยกรรมนั้น เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่พ้นไปจากบาปกรรม ขอถวายพระพร ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไป ”




อุปมาด้วยไฟไหม้

“ ขอถวายพระพร มีบุรุษคนหนึ่งก่อไฟ ไว้ในฤดูหนาว แล้วทิ้งไว้มิได้ดับไฟ ได้ไปเสียที่อื่น ไฟนั้นได้ไหม้นาของผู้อื่น เจ้าของนาจึง จับบุรุษนั้นไปถวายพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่สมมุติเทพ บุรุษนี้เผานาของข้าพระองค์
บุรุษนั้นจะต้องทูลให้การว่า ข้าพระองค์ ไม่ได้เผานาของผู้นี้ ไฟนั้นถึงข้าพระองค์ไม่ได้ดับ แต่ไฟที่ไหม้นาของผู้นี้ก็เป็นไฟอื่นต่างหาก ข้าพระองค์ไม่มีโทษ ดังนี้
อาตมภาพขอถามมหาบพิตรว่า บุรุษนั้น จะมีโทษหรือไม่ ? ”
“ ต้องมีโทษซิ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ เพราะเหตุไร มหาบพิตร ? ”
“ อ๋อ...เพราะเหตุว่า ถึงบุรุษนั้นจะหมาย เอาไฟก่อนก็ตาม แต่ก็ควรได้รับโทษด้วยไฟ หลัง ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ บุคคลทํากรรมดีหรือชั่วอันใดไว้ด้วยนามรูปนี้ แล้วนามรูปอื่นก็ถือกําเนิดด้วยกรรมนั้น เพราะ ฉะนั้น เขาจึงไม่พ้นจากบาปกรรม ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ”




อุปมาด้วยประทีป

“ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าบุรุษคนหนึ่ง ถือเอาประทีปเข้าไปที่เรือนโรงแล้ว กินข้าว ประทีปก็ลุกลามไปไหม้หญ้า หญ้าก็ลุกลามไปไหม้เรือน เรือนก็ลุกลามไปไหม้หมู่บ้าน
ชาวบ้านจึงพากันจับบุรุษนั้น แล้วถามว่า เหตุไฉนเจ้าจึงเผาบ้าน บุรุษนั้นจึงตอบว่า เรานั่งกินข้าวอยู่ด้วยประทีปอื่นต่างหาก ส่วน ไฟที่ไหม้บ้านเป็นไฟอื่นอีกต่างหาก
เมื่อโต้เถียงกันอย่างนี้ เขาพากันมาเฝ้า มหาบพิตร กราบทูลว่า มหาราชเจ้าจะรักษา ประโยชน์ของใครไว้ พระเจ้าข้า มหาบพิตร จะตรัสตอบว่าอย่างไร ? ”
“ โยมจะตอบว่า จะรักษาประโยชน์ของ ชาวบ้านไว้ ”
“ เพราะอะไร มหาบพิตร ? ”
“ เพราะว่า ถึงบุรุษนั้นจะกล่าวอย่างนั้นก็จริง แต่ว่าไฟนั้นเกิดมาจากประทีปดวงก่อน นั้นเอง ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือถึง นามรูปอันมีในที่สุดแห่งความตายเป็นนามรูปอื่น ส่วนนามรูปที่ถือกําเนิดเป็นนามรูปอื่นก็ ตาม แต่ว่านามรูปนั้นเกิดจากนามรูปเดิม เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่พ้นจากบาปกรรม ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ”




อุปมาเรื่องหมั้นเด็กหญิง

“ ขอถวายพระพร เปรียบปานบุรุษผู้หนึ่ง หมั้นเด็กหญิงที่ยังเล็ก ๆ เอาไว้ ให้ของหมั้น แล้วกลับไป ต่อมาภายหลังเด็กหญิงคนนั้นก็เติบโตขึ้น มีบุรุษอีกคนหนึ่งมาให้ของหมั้นแล้วแต่งงาน บุรุษที่หมั้นไว้ก่อนจึงมาต่อว่า บุรุษนั้นว่า เหตุใดเจ้าจึงนําภรรยาของเราไป
บุรุษนั้นก็ตอบว่า เราไม่ได้นําภรรยาของเจ้าไป เด็กหญิงเล็ก ๆ คนนั้น ที่เจ้าขอไว้แล้วให้ของหมั้นไว้นั้น เป็นคนหนึ่งต่างหาก เด็กหญิงที่เติบโตแล้ว ที่เราสู่ขอแล้วนี้ เป็นคนหนึ่งอีกต่างหาก
เมื่อบุรุษทั้งสองนั้นโต้เถียงกันมาเฝ้ามหาบพิตร พระองค์จะทรงวินิจฉัยให้หญิงนั้น แก่ใคร ? ”
“ อ๋อ...ต้องให้แก่บุรุษคนก่อนนะซิ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ เพราะเหตุใด มหาบพิตร ? ”
“ เพราะเหตุว่า ถึงบุรุษนั้นจะกล่าวอย่างนั้นก็จริง แต่เด็กสาวคนนั้นก็เติบโตต่อมาจาก เด็กหญิงเล็ก ๆ นั้นเอง ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ ถึงนามรูปอันมีต่อไปจนกระทั่งตายเป็นนามรูปอื่น ส่วนนามรูปที่ถือกําเนิดเป็นนามรูปอื่นก็ตาม แต่นามรูปนั้นก็เกิดมาจากนามรูปเดิมนั่นเอง เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่พ้นจากบาป กรรม ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งกว่านี้อีก ”




อุปมาด้วยนมสด

“ ขอถวายพระพร เช่นเดียวกับบุรุษผู้หนึ่ง ไปซื้อนมสดจากมือนายโคบาล แล้วฝากนายโคบาลนั้นไว้ ด้วยคิดว่า พรุ่งนี้เช้าจึงจะมา รับเอาไป ต่อมานมสดนั้น ก็กลายเป็นนมส้ม
เมื่อบุรุษนั้นมาก็บอกนายโคบาลว่า จงให้หม้อนมสดนั้นแก่เรา นายโคบาลนั้นก็ส่งหม้อนมส้มให้ ฝ่ายผู้ซื้อก็กล่าวว่า เราไม่ได้ซื้อนมส้มจากเจ้า เจ้าจงให้นมสดแก่เรา นาย โคบาลก็ตอบว่า นมสดนั้นแหละกลายเป็น นมส้ม

ลําดับนั้น คนทั้งสองได้โต้เถียงกันไม่ตกลง จึงพากันมาเฝ้ามหาบพิตร พระองค์ จะทรงวินิจฉัยให้คนไหนชนะ ? ”
“ โยมต้องวินิจฉัยให้นายโคบาลชนะ ”
“ เพราะอะไร มหาบพิตร ? ”
“ เพราะถึงบุรุษนั้นกล่าวอย่างนั้นก็จริง แต่นมส้มนั้นก็เกิดมาจากนมสดนั่นเอง ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ถึงนามรูปที่มีต่อมา จนกระทั่งเวลาตายเป็นนามรูปอื่น ส่วนนามรูปที่ถือกําเนิดเป็นนามรูปอื่นก็ตาม แต่ก็เกิดมาจากนามรูปเดิมนั่นแหละ เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่พ้นจากบาปกรรม ขอถวาย พระพร ”
“ พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว ”

อธิบาย

คําว่า “ นามรูป ” ในที่นี้ท่านหมายถึง “ จิต ” และ “ กาย ” ส่วนคําว่า “ นามรูปนี้ ” เป็น “ นามรูปอื่น ” ท่านหมายความว่า บุคคลที่ยังเกิดอยู่นั้น เพราะผลกรรมของตน ( นามรูปนี้ ) ที่กระทําไว้แต่ชาติก่อน ถ้าเป็นกรรมชั่วให้ผล ถึงจะเกิดอีกกี่ชาติ ( นามรูปอื่น ) ก็หาพ้นจากบาปกรรมที่ตนทําไว้แต่เดิมไม่ จนกว่าจะไม่เกิดอีกถึงจะพ้นจาก ผลกรรมเหล่านั้น

ฎีกามิลินท์ อธิบายคําว่า “ นามรูปอื่น ” หมายถึงนามรูปในอนาคต ที่มีอยู่ในสุคติ และทุคติ ที่เกิดสืบต่อไปด้วยนามรูปปัจจุบัน

“ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาลึก ผู้ศึกษาควรใคร่ครวญด้วยปัญญาของตนเองด้วยเนื้อความอันใดดีกว่าเนื้อความที่เรากล่าวแล้ว ก็ควรถือเอาเนื้อความอันนั้น ”




ปัญหาที่ ๗ ถามการเกิดอีกแห่งพระนาคเสน

“ ข้าแต่พระนาคเสน ก็พระผู้เป็นเจ้าล่ะ จะเกิดอีกหรือไม่ ? ”
“ อย่าเลยมหาบพิตร พระองค์จะต้องพระประสงค์อันใด ด้วยคําถามนี้ เพราะอาตมภาพได้กล่าว ไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ถ้าอาตมภาพยังมีอุปาทาน คือความยึดถืออยู่ ก็จักเกิดอีก ถ้าไม่มีความยึดถือแล้ว ก็จักไม่เกิดอีก ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนกับบุรุษผู้หนึ่ง ได้กระทําความดีไว้ต่อพระราชา พระ ราชาก็ทรงโปรดปรานเขา ได้พระราชทานทรัพย์ และยศแก่เขา เขาก็ได้รับความสุขในทาง กามคุณ ๕ ด้วยได้รับพระราชทานทรัพย์ และยศนั้น
ถ้าบุรุษนั้นบอกแก่มหาชนว่า พระราชาไม่ได้พระราชทานสิ่งใดแก่เรา มหาบพิตรจะ ทรงวินิจฉัยว่า บุรุษนั้นพูดถูกหรือไม่ ? ”
“ ไม่ถูก พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร จะ ประโยชน์อันใดด้วยคําถามนี้ เพราะอาตมภาพ ได้บอกไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ถ้าอาตมภาพ ยังมีความยึดมั่นอยู่ ก็จักเกิดอีก ถ้าไม่มีความยึดมั่นแล้ว ก็จักไม่เกิดอีก ขอถวายพระพร ”
“ ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”

อธิบาย

ฎีกามิลินท์ กล่าวว่า ปัญหาข้อที่ ๗ นี้เคยถามมาก่อนแล้วข้างต้นโน้น แต่ที่ถามอีก ก็เพราะอยากจะฟังคําอุปมา




ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องนามรูป

“ ข้าแต่พระนาคเสน คําว่า นามรูป ที่พระ ผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้แล้วนั้นอะไรเป็นนามรูป ? ”
“ รูปใดเป็นรูปหยาบ รูปนั้นแหละเป็น “ รูป ” ส่วนสิ่งใดเป็นของละเอียด คือ จิตและเจตสิก สิ่งนั้นเรียกว่า “ นาม ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เหตุใดจึงถือกําเนิดแต่นาม ส่วนรูปไม่ถือกําเนิดล่ะ ? ”
“ ขอถวายพระพร สิ่งเหล่านั้นอาศัยกันและกัน ย่อมเกิดด้วยกัน ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ ขอถวายพระพร ถ้าแม่ไก่ไม่มีกลละ ( น้ำใส ๆ เล็ก ๆ ) ไข่ก็ไม่มี กลละกับไข่ทั้งสองนี้อาศัยกัน เกิดร่วมกันไปฉันใด
ข้อนี้ก็มีอุปมาฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือถ้านามไม่มี รูปก็เกิดไม่ได้ นามกับรูป ทั้งสองนี้อาศัยกัน เกิดด้วยกัน “ นาม ” กับ “ รูป ” ทั้งสองนี้ เวียนวนมาในวัฏสงสารสิ้นกาลนานนักหนาแล้ว ”
“ สมควรแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”




ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องกาลนานยืดยาว

“ ข้าแต่พระนาคเสน คําที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า “ สิ้นกาลนานนักหนาแล้วนั้น ” คําว่า “ นาน ” นั้น หมายถึงอะไร ? ”
“ ขอถวายพระพร หมายถึง กาล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สังขารทั้งหลายมีอยู่ นานทั้งนั้นหรือ ? ”
“ ขอถวายพระพร บางอย่างก็มี บางอย่างก็ไม่มี ”
“ อะไรมี..อะไรไม่มี ? ”
“ ขอถวายพระพร สังขารที่ล่วงลับดับ สลายไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ไม่มีส่วนสิ่ง ที่เป็นผลกรรม และสิ่งที่เป็นผลกรรมให้เกิด ต่อไปนั้นยังมีอยู่นาน สัตว์เหล่าใดตายไปแล้ว สัตว์เหล่านั้นไปเกิดในที่อื่น สัตว์เหล่านั้นยังมีอยู่นาน ส่วนพระอริยบุคคลที่ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานแล้ว ไม่มีอยู่อีก เพราะปรินิพพานแล้ว ขอถวายพระพร ”
“ ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”

จบวรรคที่ ๒
*********************


◄ll กลับสู่ด้านบน

โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป
******************************************




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 14/6/08 at 07:15 Reply With Quote


Update 14 มิ.ย. 51


วรรคที่ ๓

ปัญหาที่ ๑ ถามมูลเหตุแห่งกาลทั้ง ๓


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ ข้าแต่พระนาคเสน อะไรเป็นมูล แห่งกาลนาน อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ? ”
พระเถระตอบว่า “ ขอถวายพระพร อวิชชา เป็นมูลแห่งกาลนาน อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เพราะว่า
อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป
นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ
สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ
ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ
ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ( ตั้งแต่ อวิชชา มาถึง อุปายาส รวม เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท )

เป็นอันว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ปุริมโกฏิ คือ ที่สุดเบื้องต้นแห่งกาลนานย่อมไม่ปรากฏ
“ พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขถูกต้องดีแล้ว ”




ปัญหาที่ ๒ ถามที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสาร

“ คําที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า ปุริมโกฏิ ไม่ปรากฏนั้น ” โยมยังสงสัยอยู่ อะไรเป็น ปุริมโกฏิ กาลนานอันอันเป็นอดีตนั้นหรือเป็น ปุริมโกฏิ ? ”
“ มหาราชะ ปุริมโกฏินั้นแหละ เป็นกาลนานอันเป็นอดีต ”
“ ข้าแต่พระนาคเสน เพราะเหตุไร ปุริมโกฏิจึงไม่ปรากฏ ? ”
“ ขอถวายพระพร ปุริมโกฏิบางอย่างก็ปรากฏ บางอย่างก็ไม่ปรากฏ ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อย่างไหนปรากฏ อย่างไหนไม่ปรากฏ ? ”
“ ขอถวายพระพร สิ่งทั้งปวงที่ไม่เคยมีเบื้องต้นปรากฏเลย ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา อันนี้แหละ เรียกว่า ปุริมโกฏิ คือที่สุดเบื้องต้นไม่ปรากฏ อีกประการหนึ่ง สิ่งที่ไม่เคยมีมามีขึ้น มีขึ้นแล้วกลับหายไป อันนี้แหละเรียกว่า ปุริมโกฏิ คือที่สุดเบื้องต้นปรากฏ ”
“ ข้าแต่พระนาคเสน ข้อที่ว่า ที่สุดเบื้องต้นไม่ปรากฏนั้น จะเปรียบเหมือนด้วยสิ่งใด ขอนิมนต์อุปมา ”




อุปมาด้วยพืช

“ ขอถวายพระพร พืชเล็ก ๆ ที่อาศัยแผ่นดินแล้ว เกิดมีใบ มีดอก มีผล ถึงซึ่งความเจริญงอกงามไพบูลย์ ไปตาม
ลําดับผล ก็เกิดจากพืชนั้น ลําดับนั้น ต้นของพืชนั้นก็มีใบ ดอก ผล ถึงซึ่งความเจริญงอกงามไพบูลย์ไปตาม ลําดับ ที่สุดแห่งการสืบต่อแห่งพืชนี้มีอยู่ หรือไม่ ? ”

“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ คือที่สุดเบื้องต้นแห่งกาลนานไม่ปรากฏ ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไป ”




อุปมาด้วยแม่ไก่

“ มหาราชะ ไข่ออกจากแม่ไก่ แม่ไก่ออกมาจากไข่ ไข่ก็ออกมาจากไก่อีก ที่สุด แห่งการสืบต่อแห่งไก่นี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ที่สุดเบื้องต้นแห่งกาลนานไม่ปรากฏ ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ”




อุปมาด้วยกงรถ

พระนาคเสนจึงขีดเป็นกงรถลงที่พื้นดิน แล้วถามพระเจ้ามิลินท์ว่า ที่สุดแห่งกงรถนี้มี อยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร สมเด็จ พระธรรมสามิสรตรัสไว้ว่า “ กงจักรเหล่านี้ ได้แก่ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ”
ขอถวายพระพร จักขุวิญญาณ ย่อมเกิดเพราะอาศัย จักขุ กับ รูป เมื่อสิ่งทั้ง ๓ นั้นรวมกันก็เป็น ผัสสะ
ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด กรรม
จักขุ ก็เกิดจาก กรรม อีก ที่สุดแห่งการสืบต่ออันนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยเสียงกับหู จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ มโนกับธรรมะ
เมื่อสิ่งทั้ง ๓ รวมกันเข้าก็เป็น ผัสสะ แล้วทําให้เกิด เวทนา ตัณหา อุปาทาน กรรม แล้ว โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เกิดจากกรรมนั้นอีก ที่สุดแห่งการสืบต่อนี้ มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ขอถวายพระพร ”
“ ชอบแล้ว พระนาคเสน ”

ฏีกามิลินท์

อธิบายคำว่า “ เขียนกงรถที่พื้นดิน ” ได้แก่เขียนกงรถลงไปที่พื้นดิน เวียนรอบแล้วรอบเล่า ๆ แล้วจึงได้ถามปัญหาขึ้นอย่างนั้น




ปัญหาที่ ๓ ถามความปรากฏแห่งที่สุดเบื้องต้น

“ ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ที่สุดเบื้องต้นบางอย่างปรากฏ บางอย่างไม่ปรากฏ จึงขอถามว่า อย่างไหนปรากฏ อย่างไหนไม่ปรากฏ ? ”
“ ขอถวายพระพระ สิ่งทั้งปวงที่ไม่เคยมีเบื้องต้นปรากฏมาเมื่อก่อนนั้นแหละ เรียกว่า ที่สุดเบื้องต้นไม่ปรากฏ สิ่งใดไม่เคยมีแต่มีขึ้น ครั้นมีขึ้นแล้วก็หายไป อันนี้แหละ เรียกว่า ที่สุดเบื้องต้นปรากฏ ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สิ่งใดไม่เคยมีมา มีขึ้น มีขึ้นแล้วหายไป ที่สุดเบื้องต้นอันขาดไปเป็น ๒ ฝ่าย ก็ได้ความแล้วไม่ใช่หรือ ? ”
“ ขอถวายพระพร ถ้าที่สุดเบื้องต้นตัดออกไปเป็น ๒ ฝ่ายแล้วก็ได้ความ ”
“ พระผู้เป็นเจ้าอาจให้โยมเข้าได้เป็น ๒ ฝ่ายหรือไม่ ? ”
“ ขอถวายพระพร อาจให้เข้าพระทัยได้ ”
“ โยมไม่ได้ถามข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าอาจให้โยมเข้าใจได้โดยที่สุดหรือไม่ ?
“ อาจ ขอถวายพระพร ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
พระเถระก็ได้ยกเอาต้นไม้ขึ้นอุปมา ดังที่ว่ามาแล้วนั้น
พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า “ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวแก้ดีแล้ว ”

ฎีกามิลินท์

พืชย่อมเกิดเป็นต้นไม้แล้วมีใบ ดอก ผล เป็นลำดับไปฉันใด กองแห่งทุกข์ทั้งสิ้นก็เกิดต่อกัน ไม่ปรากฏเบื้องต้นว่า เกิดมาแต่ครั้งไหนฉันนั้น ได้ใจความว่า รูปนามของสรรพสัตว์ทั้งหลายนี้ ไม่ปรากฏว่าเบื้องต้นเกิดมาแต่เมื่อไร เพราะเกิดต่อ ๆ กันมาเป็นลำดับ




ปัญหาที่ ๔ ถามถึงความเกิดขึ้นแห่งสังขาร

“ ข้าแต่พระนาคเสน สังขารบางอย่างเกิดขึ้นมีอยู่หรือ ? ”
“ ขอถวายพระพร มีอยู่ ”
“ ได้แก่สังขารเหล่าไหน ? ”
“ มหาราชะ เมื่อ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน มีอยู่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ก็มีอยู่
เวทนาอันเกิดเพราะ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ก็มีอยู่ เมื่อมีเวทนา ก็มีตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสขึ้น เป็นอันว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นมีขึ้นอย่างนี้ เมื่อจักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ไม่มี วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ นั้นก็ไม่มี เมื่อไม่มีเวทนา ก็ไม่มีตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นอันว่า ความดับไปแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นมีขึ้นอย่างนี้ ขอถวายพระพร ”
“ พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว ”


สรุปความ

ปัญหานี้ท่านถามต่อเนื่องมาจากปัญหาที่แล้ว คือ กงรถ ที่เป็นวงกลม หรือเรียกว่า กงจักร นั่นเอง ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวม เรียกว่า อายตนะภายใน ๖ ส่วน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ รวมเรียกว่า อายตนะ ภายนอก ๖ ทั้งหมดรวมเรียกว่า สฬายตนะ หรือที่เรียกกันว่า ทวาร อันเป็นทางเข้าของ อารมณ์ต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตาเห็นรูป เรียกว่าจักขุวิญญาณ ( ประสาทรับรู้ทางตา ) ส่วนอวัยวะอื่นก็ทําหน้าที่กันเป็นคู่ ๆ จะไม่นํามา กล่าวย้อนอีก

รวมความว่า เมื่อ ๓ อย่างคือ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก วิญญาณ มา กระทบกันจึงเรียกว่า ผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัย คือเป็นเหตุให้เกิด เวทนา ได้แก่อารมณ์ที่ พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ไม่สนใจบ้าง เป็นต้น

เวทนา ทําให้เกิด ตัณหา อุปาทานกรรม กล่าวรวม ๆ คือกระทําไปด้วยความหลงผิด ส่งผลให้เกิด สฬายตนะ อีกให้สืบ ต่อหมุนเวียนอย่างนี้เป็นวัฏจักร เรียกว่า ปุริมโกฏิ คือหาเบื้องต้นไม่ได้ หาเบื้องปลาย ไม่พบ สิ้นกาลนานนักหนา อันเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะมี อวิชชา เป็น มูลเหตุ

อุปมาเหมือนกับเมล็ดพืชกับต้นไม้ เหมือนไข่กับแม่ไก่ และเหมือนกงรถนี้ เป็นอันว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์มีขึ้นอย่างนี้ ซึ่งเป็นการตอบคําถาม ของพระเจ้ามิลินท์ที่ถามว่า “ สังขารเหล่าไหนที่เกิดมีขึ้น ? ”
แล้วพระนาคเสนท่านก็แก้ต่อไปว่า สฬายตนะ ไม่มี วิญญาณ ผัสสะ เวทนา ก็ไม่มี ตัณหา อุปาทาน กรรม ทุกข์ต่าง ๆ ก็ไม่มี รวมความว่า ความดับไปแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นมีขึ้นอย่างนี้ ดังที่ได้สรุปให้เชื่อมโยงกัน ทั้งหมดนี้ ส่วนปัญหาที่ ๕ เป็นข้อต่อไป จะเป็น คําถามที่ตรงกันข้ามกับข้อที่ ๔ มีว่าอย่างนี้




ปัญหาที่ ๕ ถามถึงความมีขึ้นแห่งสังขารที่ไม่มี
“ ข้าแต่พระนาคเสน สังขารบางอย่างไม่มี แต่มีขึ้น มีบ้างหรือไม่ ? ” [/color]
“ ขอถวายพระพร ไม่มี สังขารที่มีอยู่ เท่านั้นมีขึ้น เช่นพระราชมณเฑียรที่มหาบพิตร ประทับนั่งอยู่นี้ เมื่อก่อนไม่มี แต่มีขึ้น ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ในข้อนี้ได้ความว่า สังขารทุกอย่างที่ไม่มี แต่มีขึ้น...ไม่มี มีขึ้นเฉพาะที่มีอยู่เท่านั้น ”




อุปมาพระราชมณเฑียร

“ ขอถวายพระพร ไม้ที่นํามาทําพระราชมณเฑียรนี้ ได้เกิดอยู่แล้วในป่า ดินเหนียวนี้ได้มีที่แผ่นดิน แต่มามีขึ้นในที่นี้ด้วยความพยายามของสตรีและบุรุษทั้งหลาย เป็นอันว่า พระราชมณเฑียรนี้มีขึ้นด้วย อาการอย่างนี้ฉันใด สังขารบางอย่างที่ไม่มี แล้วมีขึ้น..ไม่มี มีขึ้นเฉพาะสังขารที่มีอยู่เท่านั้น ฉันนั้น
“ ขอนิมนต์อุปมาอีก ”




อุปมาด้วยต้นไม้

“ ขอถวายพระพร พืชเล็ก ๆ เกิดอยู่ใน แผ่นดิน พืชเหล่านั้นย่อมมีใบ ดอก ผล ตาม ลําดับ พืชที่เกิดเป็นลําต้นเหล่านั้นไม่มีอยู่ แต่ มีขึ้นหามิได้ ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เป็นอันว่า ต้นไม้เหล่านั้น เป็นของมีอยู่แล้ว จึงมีขึ้นได้อย่างนั้นนะ ”
“ ขอถวายพระพร อย่างนั้นแหละ คือสังขารบางอย่างที่ไม่เคยมี แต่มีขึ้น..เป็นอันไม่มี มีขึ้นเฉพาะแต่ที่มีอยู่เท่านั้น ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้น ”




อุปมาด้วยช่างหม้อ

“ ขอถวายพระพร ช่างหม้อขุดเอาดินจากแผ่นดิน แล้วมาทําเป็นภาชนะต่าง ๆ ขึ้น ภาชนะเหล่านั้นยังไม่เคยมี แต่มีขึ้น จึงว่ามี ขึ้นเฉพาะของที่มีอยู่เท่านั้นฉันใด สังขารบางอย่างที่ไม่มี แต่มีขึ้น..เป็นอันไม่มี มีขึ้นเฉพาะ แต่ที่มีอยู่เท่านั้น ฉันนั้น ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไป ”




อุปมาด้วยพิณ

“ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า เมื่อก่อนใบพิณไม่มี หนังขึ้นพิณก็ไม่มี รางพิณก็ไม่มี คันพิณก็ไม่มี ลูกบิดก็ไม่มี สายพิณก็ไม่มี นมพิณก็ไม่มี ความพยายามอันเกิดจากกระทําของบุรุษก็ไม่มี แต่มีเสียงขึ้นอย่างนั้น หรือ ? ”
“ ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร เพราะใบพิณมี หนังขึ้นพิณก็มี รางพิณก็มี คันพิณก็มี ที่รองพิณก็มี สายพิณก็มี นมพิณก็มี ความพยายาม อันเกิดจากการกระทําของบุรุษก็มี จึงมีเสียง ขึ้นอย่างนั้นหรือ ? ”
“ อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ สังขารบางอย่างไม่มี แต่มีขึ้น...เป็นอันไม่มี มีขึ้นเฉพาะแต่ที่มีอยู่เท่านั้น ”
“ ขอนิมนต์อุปมายิ่งขึ้นไปอีก ”




อุปมาด้วยไฟ

“ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าแม่ไม้สีไฟไม่มี ลูกไม้สีไฟก็ไม่มี เชือกที่ผูกไม้สีไฟก็ไม่มี ไม้ที่จะหนุนขึ้นไว้ก็ไม่มี ปุ๋ยหรือฝอยในแม่ไม้สีไฟก็ไม่มี ความพยายามอันเกิดจาก การกระทําของบุรุษก็ไม่มี แต่มีไฟขึ้นอย่าง นั้นหรือ ? ”
“ ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้ป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร เพราะเหตุที่แม่ไม้สีไฟก็มี ลูกไม้สีไฟก็มี เชือกรัดแม่ไม้สีไฟก็มี ไม้สําหรับหนุนแม่ไม้สีไฟให้สูงขึ้นก็มี ปุ๋ยหรือฝอยในแม่ไม้สีไฟก็มี ความพยายามอันเกิดจากการกระทําของบุรุษก็มี ไฟนั้นจึงมีขึ้นได้อย่างนั้นหรือ ? ”
“ อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ คือสังขารบางอย่างไม่มี แต่มีขึ้น..เป็นอันไม่มี มีขึ้นเฉพาะแต่ที่มีอยู่แล้วเท่านั้น ”
“ ขอให้อุปมายิ่งขึ้นไปกว่านี้ ”




อุปมาด้วยแก้วมณี

“ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนแก้วมณีไม่มี แสงแดดก็ไม่มี ขี้โคแห้งก็ไม่มี แต่ไฟเกิดขึ้นได้อย่างนั้นหรือ ? ”
“ ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร ก็เหตุที่แก้วมณีก็มี แสงแดดก็มี ขี้โคแห้งก็มี ไฟจึงมีขึ้นอย่างนั้น หรือ ? ”
“ อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือสังขารบางอย่างที่ไม่เคยมี แต่มีขึ้น..ย่อมไม่มี มีขึ้นแต่เฉพาะที่มีอยู่แล้วเท่านั้น”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งไปกว่านี้อีก ”

อุปมาด้วยกระจกเงา

“ ขอถวายพระพร เปรียบเช่นกับกระจกเงาไม่มี แสงสว่างก็ไม่มี หน้าคนที่จะส่องก็ไม่มี แต่มีหน้าคนเกิดขึ้นที่กระจกเงานั้นอย่างนั้น ? ”
“ ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร เพราะเหตุที่กระจกเงาก็มีอยู่ แสงสว่างก็มีอยู่ หน้าคนที่ส่องกระจกนั้นก็มีอยู่ เงาหน้าคนจึง
ปรากฎที่กระจกอย่างนั้นหรือ ? ”

“ อย่างนั้น พระพุทธเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนี่แหละ มหาบพิตร คือ สังขารบางอย่างที่ยังไม่เคยมี แต่มีขึ้น..ย่อมไม่มีขึ้น มีขึ้นเฉพาะที่เคยมีอยู่แล้วเท่านั้น ขอถวายพระพร ”
“ ผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว ”

โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป
*********************************





Update 23 มิ.ย. 51

ตอนที่ ๘


ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องผู้ถึงเวทย์

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ ข้าแต่พระนาคเสน เวทคู คือผู้ถึงเวทย์มีอยู่หรือ ? ”
พระเถระจึงย้อนถามว่า “ มหาบพิตร ในข้อนี้ใครชื่อว่าเวทคู ? ”
พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อัพภันตรชีพ สิ่งที่เป็นอยู่ในภายในนี้ ย่อมเห็นรูปด้วยตา ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสัมผัสด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ นี้แหละชื่อว่า “ เวทคู ”

โยมจะเปรียบให้พระผู้เป็นเจ้าฟัง เหมือนหนึ่งว่าเราทั้งสองนั่งอยู่ที่ปราสาทแห่งนี้ ปรารถนาจะแลดูออกไปทางช่องหน้าต่างใด ๆ ก็แลดูออกไปทางช่องหน้าต่างนั้น ๆ จะเป็นทางตะวันออก หรือทางตะวันตก ทางเหนือ ทางใต้ ก็ได้ตามประสงค์ฉันใด

อัพภันตรชีพ คือสิ่งที่เป็นอยู่ ในภายในร่างกายนี้ ต้องการจะดูออกไปทางทวารใด ๆ ก็ออกดูไปทางทวารนั้น ๆ แล้วก็ได้เห็นรูปด้วยตา ได้ฟังด้วยหู ได้สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ได้รู้รสด้วยลิ้น ได้ถูกสัมผัสด้วยกาย ได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ฉันนั้น ”

พระนาคเสนถวายพระพรตอบว่า “ อาตมภาพจะกล่าวให้ยิ่งขึ้นไป คือเราทั้งสองอยู่ที่ปราสาทนี้ ต้องการจะแลออกไปทางช่องหน้าต่างใด ๆ จะเป็นทางตะวันออก หรือทางตะวันตก ทางเหนือ ทางใต้ ก็ได้เห็นรูปต่างๆ ฉันใด ”

บุคคลต้องได้เห็นรูปด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็น อัพภันตรชีพ อย่างนั้นหรือ ?
ต้องได้ฟังเสียงด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ ?
ต้องได้สูดกลิ่นด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ ?
ต้องได้รู้รสด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ ?
ต้องถูกต้องสัมผัสด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ ?
ต้องรู้ธรรมารมณ์ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ ? ”
“ ไม่ใช่ฉันนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”

“ ขอถวายพระพร คำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อนกับคำหลังขอมหาบพิตร ย่อมไม่สมควรแก่กัน เหมือนอย่างว่าเราทั้งสอง นั่งอยู่ที่ปราสาทแห่งนี้ เมื่อเปิดช่องหน้าต่างเหล่านี้ไว้ แล้วแลออกไปภายนอกทางอากาศอันกว้างใหญ่ ก็ต้องเห็นรูปได้ดีฉันใด

อัพภันตรชีพนั้น เมื่อเปิดจักขุทวารหันหน้าออกไปภายนอก ทางอากาศอันกว้างใหญ่ ก็เห็นรูปได้ดี เมื่อเปิดหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไว้ แล้วหันหน้าออกไปภายนอกทางอากาศอันกว้างใหญ่ ต้องเห็นรูปได้ดีฉันนั้น อย่างนั้นหรือ ? ”
“ ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร คําหลังกับคําก่อน หรือคําก่อนกับคําหลังของมหาบพิตร ย่อมไม่สมควรแก่กัน เหมือนอย่างว่า มียาจกเข้ามารับพระราชทานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากมหาบพิตรแล้ว ออกไปยืนอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอก มหาบพิตรทรงรู้หรือไม่ ? ”
“ อ๋อ...รู้ซิ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร ผู้ที่ได้รับพระราชทานแล้วเข้าไปภายใน ยืนอยู่ตรงพระพักตร์ของมหาบพิตร พระองค์รู้หรือว่าผู้นี้เข้ามาในภายใน มายืนอยู่ข้างหน้าเรา ? ”
“ รู้ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ อัพภันตรชีพ นั้น เมื่อวางรสไว้ที่ลิ้น ก็รู้ว่าเป็น รสเปรี้ยว หรือรสเค็ม รสขม รถเผ็ด รสฝาด รสหวานหรือไม่ ? ”
“ รู้ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ เมื่อรสเหล่านั้นไม่เข้าไปภายใน อัพภันตรชีพ นั้น รู้หรือไม่ว่าเป็นรสเปรี้ยว รสเค็ม รสขม
รสเผ็ด รสฝาด
รสหวาน ? ”

“ ไม่รู้ พระผู้เป็นเจ้า ”
“นี่แหละ มหาบพิตร จึงว่าคําหลังกับคําก่อน หรือคําก่อนกับคําหลังของมหาบพิตร ไม่สมควรแก่กัน ไม่สมกัน เหมือนกับมีบุรุษผู้หนึ่งให้บรรทุกน้ำผึ้งตั้ง ๑๐๐ หม้อ มาเทลงในรางน้ำผึ้ง แล้วมัดปากบุรุษนั้นไว้ จึงเอาทิ้งลงไปในรางน้ำผึ้ง บุรุษนั้นจะรู้จักรสน้ำผึ้งหรือไม่ ? ”
“ ไม่รู้ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ เพราะอะไรล่ะ มหาบพิตร ? ”
“ เพราะน้ำผึ้งไม่เข้าไปในปากของเขา ”
“ ขอถวายพระพร ด้วยเหตุนี้แหละ จึงว่าคําหลังกับคําต้น หรือคําต้นกับคําหลังของมหาบพิตร ไม่สมควรแก่กัน เข้ากันไม่ได้ ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมไม่อาจสนทนา กับพระผู้เป็นเจ้าในข้อนี้ได้แล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงข้อนี้ให้โยมเข้าใจเถิด ”

ลําดับนั้น พระเถระจึงแสดงให้พระเจ้ามิลินท์เข้าพระทัย ด้วยถ้อยคําอันเกี่ยวกับ อภิธรรม ว่า
“ ขอถวายพระพร จักขุวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะอาศัย ตา กับ รูป แล้วจึงมี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันเกี่ยวข้องกับจักขุวิญญาณนั้น เกิดขึ้นตามปัจจัย

ถึง โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ก็เกิดขึ้นได้เพราะอาศัย หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์ แล้วจึงเกิด เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เหมือนกัน เป็นอันว่าผู้ชื่อว่า “ เวทคู ” ไม่มีในข้อนี้ ขอถวายพระพร ”
พระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ ได้ฟังชัดก็โสมนัสปรีดา มีพระราชดํารัสตรัสสรรเสริญว่า
“ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้ สมควรแล้ว ”


อธิบาย

คําว่า “ เวทคู ” แปลว่า ผู้ถึงเวทย์ ท่านหมายความว่า เป็นผู้ถึงซึ่งความรู้ คือผู้รับรู้สิ่งต่าง ๆ พระเจ้ามิลินท์เข้าใจว่า เวทคู นั้น เป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นของมีชีวิตอยู่ภายใน อันเรียกว่า อัพภันตรชีพ ว่าเป็นผู้เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู หรือดมกลิ่นด้วยจมูก เป็นต้น ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด

ส่วนที่ถูกนั้น พระนาคเสนท่านกล่าวว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน หรือ อัพภันตรชีพ คือสิ่งที่เป็นอยู่ในภายในเป็นเวทคูเลย การที่รู้อารมณ์ต่าง ๆ นั้น ได้แก่ วิญญาณอันเกิด ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ต่างหากดังนี้

คือข้อนี้ท่านมุ่งแสดงเป็นปรมัตถ์ ( คือ เรื่องของจิตและเจตสิก) ไม่ได้มุ่งแสดงเป็น สมมุติ ( คือธรรมะทั่วไป ) ถ้าว่าเป็นสมมุติ เวทคู นั้นก็มีตัวตน ดังนี้




ปัญหาที่ ๗ ถามถึงความเกี่ยวกันแห่งจักขุวิญญาณกับมโนวิญญาณ

“ ข้าแต่พระนาคเสน จักขุวิญญาณ เกิดในที่ใด มโนวิญญาณ ก็ตามไปเกิดในที่นั้นหรือ ? ”
“ อย่างนั้น มหาบพิตร ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า จักขุวิญญาณเกิดก่อน มโนวิญญาณเกิดทีหลัง หรืออย่างไร ? ”
“ ขอถวายพระพร จักขุวิญญาญเกิดก่อน มโนวิญญาณเกิดทีหลัง ”
“ ข้าแต่พระนาคเสน ก็จักขุวิญญาณบังคับมโนวิญญาณไว้หรือว่า เราจักเกิดในที่ใดเจ้าจงเกิดในที่นั้น หรือ
มโนวิญญาณสั่งจักขุวิญญาณไว้ว่า เจ้าจักเกิดในที่ใด เราก็จักเกิดในที่นั้น อย่างนั้นหรือ ”

“ ไม่ใช่อย่างนั้น มหาบพิตร วิญญาณทั้งสองนั้นพูดจากันไม่ได้ ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น ไฉนจึงว่าจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็ เกิดในที่นั้น ”
“ ขอถวายพระพร ที่ว่าอย่างนั้น เพราะ เป็นของลุ่ม ๑ เป็นประตู ๑ เป็นที่สะสมมา ๑ เป็นสิ่งที่เคยประพฤติมา ๑




เพราะเป็นของลุ่ม

“ ข้าแต่พระนาคเสน จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะเป็นของลุ่ม นั้นคืออย่างไร
ขอนิมนต์อุปมาด้วย ? ”

“ ขอถวายพระพร เมื่อฝนตกลงมา มหาบพิตรทรงเข้าพระทัยว่า น้ำจะไปทางไหน ? ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ที่ลุ่มมีอยู่ทางใด น้ำก็ต้องไปทางนั้น ”
“ ขอถวายพระพร เมื่อฝนตกลงมาอีก น้ำจะไหลไปทางไหน ? ”
“ ข้าแต่พระนาคเสน น้ำก่อนไปทางใด น้ำใหม่ก็ต้องไปทางนั้น ”
“ ขอถวายพระพร น้ำก่อนสั่งน้ำหลังไว้ หรือว่าเราไปทางใด เจ้าจงไปทางนั้น หรือว่า น้ำหลังสั่งน้ำก่อนไว้ว่า เจ้าจักไปทางใด เราก็จักไปทางนั้น ? ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า น้ำทั้งสองนั้นพูดจากันไม่ได้ แต่น้ำนั้นไหลไปได้ เพราะทางนั้นเป็นทางลุ่ม เป็นทางต่ำต่างหาก”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะที่นั้นเป็นที่ลุ่ม เป็นที่ต่ำ จักขุวิญญาณไม่ได้สั่งมโนวิญญาณไว้ว่า เราเกิดในที่ใดเจ้าจงเกิดในที่นั้น มโนวิญญาณก็ไม่ได้สั่งจักขุวิญญาณไว้เหมือนกัน วิญญาณทั้งสองนั้นไม่มีการพูดจากัน แต่ว่าเกิดในที่นั้นในสิ่งนั้น เพราะที่นั้นสิ่งนั้น เป็นเหมือนที่ลุ่มที่ต่ำฉะนั้น


เพราะเป็นประตู

“ ข้าแต่พระนาคเสน ข้อที่ว่าจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะเป็นประตู นั้นอย่างไร
ขอได้โปรดอุปมาด้วย ? ”

“ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าหัวเมืองชายแดนของพระราชา มีป้อมค่ายคูประตูหอรบแน่นหนาแข็งแรง แต่มีประตูเข้าออกเพียงประตูเดียว มีผู้อยากจะออกไปจากพระนครนั้น จะออกไปทางไหน ? ”
“ ออกไปทางประตูซิ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร ยังมีบุรุษอีกคนหนึ่งอยากจะออกไป เขาจะออกไปทางไหน ? ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บุรุษคนก่อนออก ไปทางประตูใด บุรุษคนหลังก็ต้องออกไปทางประตูนั้นแหละ ”
“ ขอถวายพระพร บุรุษคนก่อนสั่งบุรุษคนหลังไว้หรือว่า เราออกทางประตูใด เจ้าจงออกทางประตูนั้น หรือบุรุษคนหลังสั่งบุรุษคนก่อนไว้ว่า เจ้าออกทางประตูใด เราก็จักออกทางประตูนั้น ? ”
“ ข้าแต่พระนาคเสน บุรุษทั้งสองนั้น ไม่ได้บอกกันไว้เลย แต่เขาออกไปทางเดียวกัน เพราะทางนั้นเป็นประตู ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะที่นั้น เป็นประตู ไม่ใช่จักขุวิญญาณสั่งมโนวิญญาณไว้ หรือมโนวิญญาณสั่งจักขุวิญญาณไว้ ทั้งสองนั้นไม่มีการพูดจากัน แต่เกิดขึ้นในที่แห่งเดียวกัน เพราะที่นั้นเป็นประตู ”


เพราะเป็นที่สะสมมา

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้อว่าจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะ เป็นที่สะสมมานั้นคืออย่างไร ขออุปมาให้แจ้งด้วย ? ”
“ ขอถวายพระพร เกวียนเล่มแรกไปก่อนแล้ว มหาบพิตรจะเข้าพระทัยว่า เกวียนเล่มที่ ๒ จะไปทางไหน ? ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เกวียนเล่มแรกไปทางใด เกวียนเล่มหลังก็ต้องไปทางนั้น ”
“ ขอถวายพระพร เกวียนเล่มก่อนสั่ง เกวียนเล่มหลังไว้หรือว่า เราไปทางใดเจ้าจงไปทางนั้น หรือว่าเกวียนเล่มหลังสั่งเกวียนเล่มก่อนไว้ว่า เจ้าจักไปทางใด เราก็จักไปทางนั้น ? ”
“ ไม่ได้สั่งไว้เลย ผู้เป็นเจ้า เพราะเกวียนทั้งสองนั้นไม่มีการพูดกัน แต่ไปทางเดียวกัน เพราะทางนั้นเป็นทางที่สะสมมาแล้ว ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร จักขุวิญญาณกับมโนวิญญาณไม่ได้สั่งกันไว้เลย แต่เกิดในที่แห่งเดียวกันเพราะเป็นที่สะสมมาแล้ว ”

เพราะเป็นสิ่งที่เคยประพฤติมา

“ข้าแต่พระนาคเสน ข้อว่าจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะเป็นสิ่งที่เคยประพฤติมานั้นคืออย่างไร ขอจงอุปมาให้ทราบด้วย ? ”
“ ขอถวายพระพร ผู้ที่เริ่มเรียนศิลปะ ในการนับด้วยนิ้วมือ หรือนับตามลําดับ หรือขีดเป็นรอยขีด หรือหัดยิงธนู ทีแรกก็ช้าก่อน ต่อมาภายหลังก็ไวขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่เคยประพฤติแล้ว คือได้กระทำมาเสมอฉันใด

จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น จักขุวิญญาณไม่ได้สั่งมโนวิญญาณไว้เลยว่า เราเกิดในที่ใดเจ้าจงเกิดในที่นั้น มโนวิญญาณก็ไม่ได้สั่งจักขุวิญญาณไว้เลยว่า เจ้าจะเกิดในที่ใด เราก็จะเกิดในที่นั้น เพราะเป็นสิ่งที่เคยประพฤติมาแล้ว ฉันนั้น ”

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า วิญญาณทั้งสองนั้น ไม่มีการพูดจากันเลย แต่เกิดในที่แห่งเดียวกัน เพราะได้เคยประพฤติมา ถึง โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ก็เหมือนกัน อย่างนั้นหรือ ? ”
“ อย่างนั้น มหาบพิตร เป็นอันเหมือนกันหมด ”
“ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวแก้ถูกต้องดีแล้ว ”

อธิบาย

ข้อนี้ได้ใจความว่า วิญญาณทั้ง ๕ คือ ความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ย่อมเกิดในที่แห่งเดียวกับ มโนวิญญาณ คือความรู้สึกทางใจด้วย ยกตัวอย่างเช่น ตาเห็นรูปได้ชื่อว่า จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นก่อนแล้ว มโนวิญญาณ จึงเกิดทีหลัง ทําให้รู้และเข้าใจได้ว่ารูปที่เห็นนั้นเป็นคน สัตว์ วัตถุสิ่งของ มีลักษณะเป็นประการใด

เพราะถ้าไม่มี มโนวิญญาณ เข้าร่วมด้วย ก็เหมือนกับคนนั่งใจลอยเหม่อมองไปข้างหน้า เมื่อไปถามว่าเห็นอะไรไหม เขาก็ตอบว่าเห็นแต่ไม่รู้ว่าเป็นสิ่งใด เพราะไม่ได้ตั้งใจดูอย่างนี้เป็นต้น ถึงจะเป็นการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสถูกต้อง ก็มีสภาพเช่นเดียวกัน
ฉะนั้นเพราะอาศัย จักขุวิญญาณ หรือ โสตวิญญาณ หรือ ฆานวิญญาณ หรือ ชิวหาวิญญาณ หรือ กายวิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามเกิดขึ้นก่อนแล้ว มโนวิญญาณ จึงจะเกิดทีหลังดังนี้




ปัญหาที่ ๘ ถามลักษณะผัสสะ

“ ข้าแต่พระนาคเสน จักขุวิญญาณ เกิดในที่ใด เวทนา ก็เกิดในที่นั้นหรือ ? ”
“ อย่างนั้น มหาบพิตร คือ จักขุวิญญาณ เกิดในที่ใด เวทนา ก็เกิดในที่นั้น ถึง สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ วิตก วิจาร ก็เกิดในในที่นั้น ธรรมทั้งหลายมี ผัสสะ เป็นต้น ก็เกิดในที่นั้น ขอถวายพระพร ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผัสสะ มีลักษณะอย่างไร ? ”
“ ขอถวายพระพร ผัสสะ มีการ กระทบกัน เป็นลักษณะ ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนกับแพะ ๒ ตัวชนกันอยู่ จักขุ เหมือนกับแพะตัวหนึ่ง รูป เหมือนกับแพะอีกตัวหนึ่ง ผัสสะ เหมือนกับการชนกันแห่งแพะทั้งสองนั้น ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไป ”
“ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า มือทั้งสองที่ตบกัน จักขุ เหมือนมือข้างหนึ่ง รูป เหมือนมืออีกข้างหนึ่ง ผัสสะ เหมือนการกระทบกันแห่งมือทั้งสอง
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ”
“ ขอถวายพระพร เปรียบประดุจบุรุษเป่าปี่ ๒ เลาขึ้นพร้อมกัน จักขุ เหมือนปี่เลาหนึ่ง รูป เหมือนปี่อีกเลาหนึ่ง ผัสสะ เหมือนการรวมกันแห่งเสียงปี่ทั้งสองเลานั้น ”
“ ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”




ปัญหาที่ ๙ ถามถึงลักษณะเวทนา

“ ข้าแต่พระนาคเสน เวทนา มีลักษณะอย่างไร ? ”
“ ขอถวายพระพร เวทนา มีการทําให้รู้สึก เป็นลักษณะอีกอย่างหนึ่งว่า มีการ เสวย เป็นลักษณะ ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่ามีบุรุษผู้หนึ่ง ทําความดีความชอบต่อพระราชา เมื่อพระราชาทรงพอพระทัยแล้ว ก็ทรงพระราชทานทรัพย์ ยศ บริวาร ให้แก่บุรุษนั้น บุรุษนั้นก็เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ แล้วเขาก็คิดว่าเราได้ทําความดีต่อพระราชาไว้แล้ว เราจึงได้เสวยความสุขอย่างนี้

อีกนัยหนึ่ง เหมือนกับบุรุษคนหนึ่งทําบุญกุศลไว้แล้ว ได้ขึ้นไปบังเกิดในสวรรค์ เขาก็มีความสุขด้วยทิพยสมบัติ แล้วเขาก็นึกได้ว่า เพราะเราได้ทําบุญกุศลไว้ในกาลก่อน เราจึงได้เสวยความสุขอย่างนี้ อย่างนี้แหละ มหาบพิตร เรียกว่า เวทนา มีการ ทําให้รู้สึก เป็นลักษณะ หรือมีการ เสวย เป็นลักษณะ ”
“พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาสมควรแล้ว ”




ปัญหาที่ ๑๐ ถามลักษณะสัญญา

“ ข้าแต่พระนาคเสน สัญญา มีลักษณะอย่างไร ? ”
“ ขอถวายพระพร สัญญา มีการ จํา เป็นลักษณะ ”
“ จําอะไร ? ”
“ จําสีเขียว สีแดง สีขาว ขอถวายพระพร ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างเจ้าพนักงานคลังของพระราชา ได้เข้าไปที่คลังแล้ว เห็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ของพระราชา อันมีสีสันต่าง ๆ กัน คือสีเขียวก็มี เหลืองก็มี แดงก็มี ขาวก็มี เลื่อมก็มี ก็จําไว้ได้เป็นอย่าง ๆ ไปฉันใด สัญญา ก็มีการจําเป็นลักษณะฉันนั้น ”
“ ถูกแล้ว พระนาคเสน ”




ปัญหาที่ ๑๑ ถามลักษณะเจตนา

“ ข้าแต่พระนาคเสน เจตนา มีลักษณะอย่างไร ? ”
“ ขอถวายพระพร เจตนา มีความจงใจเป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่งว่า เจตนา มีการ ประชุมแห่งการตกแต่ง เป็นลักษณะ ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้หนึ่ง ตกแต่งยาพิษขึ้นแล้ว ก็ดื่มเองด้วย ให้ผู้อื่นดื่มด้วย เขาก็เป็นทุกข ์ผู้อื่นก็เป็นทุกข์ฉันใด บางคนจงใจทำชั่วแล้วได้ไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก พวกใดทำตามบุรุษนั้น พวกนั้นก็ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหมือนกันฉันนั้น

อีกประการหนึ่ง บุรุษหนึ่งตกแต่งเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ให้มีรสอันเดียวกัน แล้วก็ดื่มเองบ้าง ให้ผู้อื่นดื่มบ้าง เขาก็เป็นสุข ผู้อื่นก็เป็นสุขฉันใด บางคนจงใจทําความดีแล้วได้ขึ้นไปเกิดในสวรรค์ พวกใดทําตามบุรุษนั้น พวกนั้นก็ได้ขึ้นไปเกิดในสวรรค์เหมือนกันฉันนั้น

อย่างนี้แหละ มหาบพิตร เรียกว่า เจตนา มีการ จงใจ เป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่งว่า มีการ ปรุงแต่ง เป็นลักษณะ ”
“ พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว ”




ปัญหาที่ ๑๒ ถามลักษณะวิญญาณ

“ ข้าแต่พระนาคเสน วิญญาณ มีลักษณะอย่างไร ? ”
“ขอถวายพระพร วิญญาณ มีการ รู้ เป็นลักษณะ ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ ขอถวายพระพร เปรียบประดุจบุรุษผู้รักษาพระนคร นั่งอยู่ที่ถนน ๔ แพร่งกลางพระนคร ต้องได้เห็นบุรุษผู้มาจากทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ฉันใด

บุคคลเห็นรูป หรือฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส นึกถึงสิ่งใดด้วยใจ ก็รู้จักสิ่งนั้นได้ด้วย วิญญาณ ฉันนั้น วิญญาณมีการ รู้ เป็นลักษณะ อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ”
“ ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน ”




ปัญหาที่ ๑๓ ถามลักษณะวิตก

“ ข้าแต่พระนาคเสน วิตก มีลักษณะอย่างไร ? ”
“ ขอถวายพระพร วิตก มีการ ประกบแน่น เป็นลักษณะ ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ ขอถวายพระพร ช่างไม้ย่อมเข้าไม้ในที่ต่อแล้วโบกด้วยปูนหรือทาด้วยสีให้สนิทฉันใด วิตก ก็มีการประกบแน่น มีการแนบแน่นเป็นลักษณะฉันนั้น ”
“ ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน ”




ปัญหาที่ ๑๔ ถามลักษณะวิจาร

“ ข้าแต่พระนาคเสน วิจาร มีลักษณะอย่างไร ? ”
“ ขอถวายพระพร วิจาร มีการ ลูบคลําไปตามวิตก เป็นลักษณะ ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า กังสดาลอันบุคคลเคาะด้วยสันดาบ ก็มีเสียงดังเป็นกังวานต่อ ๆ กันไปฉันใด วิตก ก็เหมือนกับการเคาะฉันนั้น ส่วน วิจาร เหมือนกับเสียงดังครวญครางไป ”
“สมควรแล้ว พระนาคเสน”

จบวรรคที่ ๓

◄ll กลับสู่ด้านบน

**โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป**




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 16/7/08 at 10:17 Reply With Quote


Update 16 กรกฎาคม 2551


วรรคที่ ๔

ปัญหาที่ ๑ ถามลักษณะมนสิการ


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ ข้าแต่พระนาคเสน มนสิการ มีลักษณะ อย่างไร ? ”
พระเถระตอบว่า “ ขอถวายพระพร มนสิการ มีการ นึก เป็นลักษณะ ”
“ ถูกแล้ว พระนาคเสน ”




ปัญหาที่ ๒ ถามลักษณะ สิ่งที่มีภาวะอย่างเดียวกัน

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าอาจ แยกธรรมที่รวมเป็นอันเดียวกันเหล่านี้ ให้รู้ว่าต่างกันว่า อันนี้เป็น ผัสสะ อันนี้เป็น เวทนา อันนี้เป็น สัญญา อันนี้เป็น เจตนา อันนี้เป็น วิญญาณ อันนี้เป็น วิตก อันนี้เป็น วิจาร ได้ หรือไม่ ? ”
“ ไม่อาจ ขอถวายพระพร ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนพ่อครัวของพระราชา เมื่อจะตกแต่งเครื่องเสวย ก็ใส่เครื่องปรุงต่าง ๆ คือ นมส้ม เกลือ ขิง ผักชี พริก และสิ่งอื่น ๆ ลงไป ถ้าพระราชา ตรัสสั่งว่า “เจ้าจงแยกเอารสนมส้มมาให้เรา จงแยกเอารสเกลือ รสขิง รสผักชี รสหวาน รสเปรี้ยว มาให้เราทีละอย่าง ๆ พ่อครัวนั้นอาจแยกเอารสที่รวมกันอยู่ เหล่านั้นมาถวายพระราชาว่า นี้เป็นรสเปรี้ยว นี้เป็นรสเค็ม นี้เป็นรสขม นี้เป็นรสเผ็ด นี้ เป็นรสฝาด ได้หรือไม่ ? ”
“ ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า ก็แต่ว่าเขาอาจรู้ได้ ตามลักษณะของรสแต่ละรส ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ วิตก วิจาร รวมกันเข้าแล้ว อาตมภาพก็ไม่อาจแยกออกให้รู้ได้แต่ละอย่าง ก็แต่ว่าอาจให้เข้าใจได้ ตามลักษณะแห่งธรรมเป็นอย่าง ๆ ”
“ขอถวายพระพร เกลือ เป็นของจะต้องรู้ด้วย ตา ใช่ไหม ?”
“ ใช่ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอมหาบพิตรจงจําคํานี้ไว้ให้ดีนะ ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น เกลือ เป็นของรู้ด้วย ลิ้น อย่างนั้นหรือ ? ”
“ อย่างนั้น มหาบพิตร ”

“ ถ้าบุคคลรู้จักเกลือทั้งหมดด้วยลิ้น เหตุไฉนจึงบรรทุกเกลือมาด้วยเกวียน ควรบรรทุกมาเฉพาะความเค็มเท่านั้นไม่ใช่หรือ ? ”
“ ไม่อาจบรรทุกมาแต่ความเค็มเท่านั้นได้ เพราะว่าของเหล่านี้เป็นของรวมกัน ส่วนความเค็มบุคคลอาจชั่งได้ด้วยตาชั่งหรือไม่ มหาบพิตร ? ”
“ อาจชั่งได้ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ มหาบพิตร จงจําคํานี้ไว้ให้ดีว่า บุคคลอาจชั่งความเค็มได้ด้วยตาชั่ง ”
“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าว่า บุคคลไม่อาจชั่งความเค็มได้ด้วยตาชั่งอย่างนั้นหรือ ? ”
“ อย่างนั้น มหาบพิตร ”
“ ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน ”

สรุปความ

วิญญาณทั้ง ๕ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ คือความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จะต้องมี มโนวิญญาณ คือความ รู้สึกทางใจเข้าร่วมด้วย จึงจะสําเร็จประโยชน์ ในการเห็น การฟัง การดม การลิ้มรส และ การสัมผัส เป็นต้น

เมื่อวิญญาณทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นก่อน เช่น จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นในที่ใด มโนวิญญาณ ก็เกิดในที่นั้น เพราะอาศัย จักขุ กับ รูป ธรรมทั้งหลายมี ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ วิตก วิจาร มนสิการ ได้เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกัน แต่มีลักษณะต่างกัน ดังนี้
ผัสสะ มีลักษณะ กระทบกัน เช่น จักขุ กับ รูป เรียกว่า จักขุวิญญาณ เป็นต้น
เวทนา มีลักษณะ เสวยอารมณ์ คือ ทําให้รู้สึกมีความสุข มีความทุกข์ หรือ รู้สึก เฉย ๆ เป็นต้น
สัญญา มีลักษณะ จํา เช่นเมื่อตาเห็น รูปก็จําได้ว่า มีสีสันวรรณะเป็นประการใด
เจตนา มีลักษณะ จงใจ หรือ ประชุมแห่งการตกแต่ง หมายถึงมุ่งกระทํา ความดีหรือความชั่วด้วยความจงใจ
วิญญาณ อันนี้ไม่ใช่วิญญาณที่มาถือ กําเนิดในครรภ์ แต่ในที่นี้ท่านหมายถึง รู้ ในฎีกามิลินท์ท่านหมายถึง ประสาท เหมือนกัน
วิตก มีลักษณะ ประกบแน่น หมายถึงการที่จิตตรึกอารมณ์
วิจาร มีลักษณะ ลูบคลําไปตามวิตก คือจิตเคล้าอารมณ์ หรือจิตตรอง หรือ พิจารณาอารมณ์ที่ตรึกนั้น
วิตก กับ วิจาร ท่านอธิบายมีความหมายคล้ายกัน คือ วิตก เหมือนกับคนเคาะ ระฆัง เมื่อมีเสียงดังกังวานครวญครางขึ้น ท่านเรียกว่า วิจาร ได้แก่อารมณ์คิดพิจารณา นั่นเอง
มนสิการ มีลักษณะ นึก ในข้อนี้ท่านไม่ได้ยกอุปมา เพราะได้เคยอุปมาให้พระเจ้า มิลินท์ได้ทราบไว้แล้ว
รวมความว่า การที่จะเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรสสัมผัสได้นั้น ไม่ใช่ อัพ ภันตรชีพ ( สิ่งที่เป็นอยู่ในภายในกายนี้ ) เป็น “ เวทคู ” คือเป็นผู้รับรู้ แต่การที่จะมีความรู้สึกได้เพราะอาศัย วิญญาณ ต่างหาก และวิญญาณทั้ง ๕ นี้ย่อม ไหลไปสู่ มโนวิญญาณ เหมือนกับน้ำไหลไปสู่ที่ลุ่มฉะนั้น

แต่ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วยกัน อันมี ผัสสะ เป็นต้นนั้น ท่านไม่สามารถจะแยก ออกมาได้ว่า อันนี้เป็นผัสสะ อันนี้เป็นเวทนา หรืออันนี้เป็นสัญญา เปรียบเหมือนเครื่อง แกงที่ผสมกันหมดแล้ว รสชาติของมันปรากฏอยู่ตามลักษณะของมัน แต่จะแยกออกมาไม่ได้

คําเปรียบเทียบของพระนาคเสนเรื่องนี้เหมาะสมมาก คือเมื่อเครื่องแกงผสมเป็นน้ำแกงแล้ว เมื่อเราตักออกมาช้อนหนึ่งชิมดู ย่อมมีรสเครื่องแกงทุกอย่างผสมอยู่ แต่จะแยกออกมาหาได้ไม่ แต่เราพอบอกได้ว่า ความเผ็ดเป็นรสของพริก ความเค็มเป็นรสของเกลือ ความเปรี้ยวเป็นรสของน้ำส้มหรือมะนาว และความหวานเป็นรสของน้ำตาล เป็นต้น
อนึ่ง เหมือนกับการบรรทุกเกลือ แต่ จะไม่บรรทุกความเค็มมาด้วย หรือจะชั่ง เฉพาะเกลือ แต่ไม่ชั่งความเค็มด้วยนั้น ไม่สามารถจะกระทําได้ เพราะของเหล่านี้ เป็นของรวมกันฉันใด ธรรมทั้งหลายอันมี ผัสสะ เป็นต้น ได้ปรากฏชัดตามลักษณะของตน แต่จะแยกออกมาแต่ละอย่าง ๆ มิได้เช่นกัน




ตอนที่ ๙


ปัญหาที่ ๓ ถามการเกิดแห่งอายตนะ ๕

“ ข้าแต่พระนาคเสน อายตนะ ๕ ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ) เกิดด้วยกรรมต่างๆ กัน หรือเกิดด้วยกรรมอย่างเดียวกัน ”
“ขอถวายพระพร อายตนะ ๕ นั้น เกิด ด้วยกรรมต่าง ๆ กัน ที่เกิดด้วยกรรมอันเดียว กันไม่มี ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ ขอถวายพระพร พืชต่าง ๆ ๕ ชนิด ที่บุคคลหว่านลงไปในนาแห่งเดียวกัน ผล แห่งพืช ๕ ชนิดนั้น ก็เกิดต่าง ๆ กันฉันใด อายตนะ ๕ เหล่านี้ ก็เกิดด้วยกรรมต่างกัน ฉันนั้น ที่เกิดด้วยกรรมอย่างเดียวกันไม่มี ”
“พระผู้เป็นเจ้ากล่าวแก้ถูกต้องดีแล้ว”




ปัญหาที่ ๔ ถามเหตุต่าง ๆ กันแห่งกรรม

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ ข้าแต่พระนาคเสน เพราะเหตุใด มนุษย์ ทั้งหลายจึงไม่เสมอกัน คือมนุษย์ทั้งหลายมี อายุน้อยก็มี มีอายุยืนยาวก็มี อาพาธมากก็มี อาพาธน้อยก็มี ผิวพรรณวรรณะไม่ดีก็มี ผิวพรรณวรรณะดีก็มี มีศักดิ์น้อยก็มี มีศักดิ์ใหญ่ก็มี มีโภคทรัพย์น้อยก็มี มีโภคทรัพย์มากก็มี มีตระกูลต่ำก็มี มีตระกูลสูงก็มี ไม่มีปัญญาก็มี มีปัญญาก็มี ? ”

พระเถระจึงย้อนถามว่า “ ขอถวายพระพร เหตุใดต้นไม้ทั้งหลาย จึงไม่เสมอกันสิ้น ต้นที่มีรสเปรี้ยวก็มี มีรส ขมก็มี มีรสเผ็ดก็มี มีรสฝาดก็มี มีรสหวานก็มี ? ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมเข้าใจว่า เป็นเพราะความต่างกันแห่งพืช ”
“ ขอถวายพระพร ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ คือมนุษย์ทั้งหลายไม่เสมอกันหมด เพราะกรรมต่างกัน ข้อนี้สมด้วยพระพุทธฎีกาของสมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสไว้ว่า “ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมต่างกัน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมทําให้เกิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่อาศัยกรรม ย่อมจําแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลวดีต่างกัน ”
“ ดังนี้ ขอถวายพระพร ”
“ พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว ”




ปัญหาที่ ๕ ถามถึงสาเหตุที่ควรให้รีบทําเสียก่อน

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้แก่โยมว่า ทําอย่างไรทุกข์นี้จึงจะดับไป และทุกข์อื่นจึงจะไม่เกิดขึ้น ก็ควรรีบทําอย่างนั้น แต่โยมเห็นว่า ประโยชน์อะไรกับการรีบ พยายามทําอย่างนั้น ต่อเมื่อถึงเวลา จึงควร ทําไม่ใช่หรือ ? ”
พระเถระตอบว่า “ ขอถวายพระพร เมื่อถึงเวลาแล้ว ความพยายามก็จะไม่ทําสิ่งนั้นให้สําเร็จไป ความรีบพยายามนั้นแหละ จะทําสิ่งนั้นให้ สําเร็จไป ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”


อุปมาการขุดน้ำ

“ ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะเข้าใจความข้อนี้อย่างไร.. คือเมื่อใดมหาบพิตรอยากเสวยน้ำ เมื่อนั้นมหาบพิตรจึงจะให้ขุดที่มีน้ำให้ขุดสระโบกขรณี ให้ขุดเหมืองน้ำว่า เราจักดื่มน้ำอย่างนั้นหรือ ? ”
“ ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อถึงเวลาแล้วความพยายามไม่สําเร็จประโยชน์ ความรีบพยายามไว้ก่อนนั้นแหละ จึงจะสําเร็จประโยชน์ ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไป ”



อุปมาการไถนา

“ ขอถวายพระพร เมื่อใดมหาบพิตรหิว เมื่อนั้นหรือ...มหาบพิตรจึงจักให้ไถนา ปลูกข้าวสาลี หว่านพืช ขนข้าวมา หรือปลูกข้าวเหนียว ด้วยรับสั่งว่า เราจักกินข้าว ? ”
“ ทําอย่างนั้นไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อถึงเวลาแล้วความพยายามไม่สําเร็จประโยชน์ ความรีบพยายามไว้ก่อนนั้นแหละ จึงจะ สําเร็จประโยชน์”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ”




อุปมาการทําสงคราม

“ ขอถวายพระพร เมื่อใดสงครามมาติดบ้านเมือง เมื่อนั้นหรือ...มหาบพิตรจึงจะให้ขุดคู สร้างกําแพง สร้างเขื่อน สร้างป้อม ขนเสบียงอาหารมาไว้ ให้ฝึกหัดช้าง ม้า รถ ธนู ดาบ ? ”
“ ทําอย่างนั้นไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อถึงเวลาแล้วความพยายามไม่สําเร็จประโยชน์ ความรีบพยายามไว้ก่อนนั้นแหละ จึงจะสําเร็จประโยชน์ ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระบรมโลก นาถศาสดาจารย์ ตรัสประทานไว้ว่า

“ บุคคลรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์แก่ตน ควรรีบทําสิ่งนั้น ผู้มีความคิด มีความรู้ มีความบากบั่น ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างพ่อค้าเกวียน คือพ่อค้าเกวียนทิ้งทางเก่า อันเป็นทางเสมอ กว้างใหญ่ดี แล้วขับเกวียนไปในทางใหม่ ที่เป็นทางไม่เสมอดี เวลาเพลาเกวียนหักแล้วก็ซบเซาฉันใด บุคคลผู้โง่เขลาหลีกออกจากธรรมะ ไม่ประพฤติตามธรรม จวนจะใกล้ตายก็จะ ต้องซบเซา เหมือนพ่อค้าเกวียนที่มีเพลาเกวียนหักไปแล้วฉะนั้น ”
“ ดังนี้ ขอถวายพระพร ”
“พระผู้เป็นเจ้ากล่าวสมควรแล้ว”




ปัญหาที่ ๖ ถามถึงความร้อนแห่งไฟนรก

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า ไฟนรกร้อนมากกว่าไฟปกติ ก้อนหินน้อย ๆ ทิ้งลงไปในไฟปกติ ไฟเผาอยู่ตลอด วันก็ไม่ย่อยยับ ส่วนก้อนหินโตเท่าปราสาท ทิ้งลงไปในไฟนรก ก็ย่อยยับไปในขณะเดียว ดังนี้ คํานี้โยมไม่เชื่อ ถึงคําที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า พวกสัตว์นรกอยู่ในนรกได้ตั้งพัน ๆ ปีก็ไม่ย่อยยับ ป ดังนี้ คํานี้โยมก็ไม่เชื่อ ”
พระเถระตอบว่า “ ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะเข้า พระทัยอย่างไร...คือพวกนกยูง ไก่ป่า มังกร จระเข้ เต่า ย่อมกินก้อนหินแข็ง ๆ ก้อน กรวดแข็ง ๆ จริงหรือ ? ”
“ เออ..โยมได้ยินว่าจริงนะ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร ก้อนหินก้อนกรวดเหล่านั้น เข้าไปอยู่ภายในท้องของสัตว์เหล่านั้นแล้ว แหลกย่อยยับไปหรือไม่ ? ”
“ แหลกย่อยยับไป พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร ก็สัตว์ที่อยู่ในท้อง ของสัตว์เหล่านั้น แหลกย่อยยับไปไหม ? ”
“ ไม่แหลกย่อยยับไป พระผู้เป็นเจ้า ”
“ เพราะอะไร มหาบพิตร ? ”
“ โยมเข้าใจว่า เพราะกรรมคุ้มครองไว้ ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พวกสัตว์นรกถึงจะถูกไฟไหม้อยู่ในนรก ตั้งหลายพันปีก็ไม่ย่อยยับไป เพราะกรรมคุ้มครองไว้ พวกสัตว์นรกเหล่านั้น เกิดอยู่ในนรก เจริญอยู่ในนรก ตายอยู่ในนรก ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระชินสีห์ตรัสไว้ว่า
“บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นตราบใด สัตว์ นรกก็ยังไม่ตายตราบนั้น ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”




อุปมาด้วยราชสีห์

“ ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะเข้า พระทัยความข้อนี้อย่างไร...คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลืองตัวเมีย ย่อมเคี้ยวกินของแข็ง ๆ เคี้ยวกินกระดูก เคี้ยวกินเนื้อมีอยู่ หรือ ? ”
“ มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร กระดูกที่เข้าไปอยู่ใน ท้องของสัตว์เหล่านั้นแหลกย่อยไปไหม ? ”
“ แหลกย่อยไป พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร ลูกในท้องของสัตว์ เหล่านั้นแหลกย่อยยับไปไหม ? ”
“ ไม่แหลก พระผู้เป็นเจ้า ”
“ เพราะอะไร มหาบพิตร ? ”
“ โยมเข้าใจว่า เป็นเพราะกรรมรักษาไว้ แต่ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไป




อุปมาด้วยนกหัวขวาน

“ ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะเข้า พระทัยความข้อนี้อย่างไร...คือ นกหัวขวาน นกยูง ย่อมเคี้ยวกินไม้อันแข็งมีอยู่หรือ ? ”
“ มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ไม้อันแข็งเหล่านั้น เข้าไปอยู่ในท้องของ นกหัวขวาน นกยูงเหล่านั้นแล้ว ย่อยยับไป หรือไม่ ? ”
“ ย่อยยับไป พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร ลูกนกหัวขวานที่อยู่ในท้อง ย่อยยับไปหรือไม่ ? ”
“ ไม่ย่อยยับไป พระผู้เป็นเจ้า ”
“ เพราะอะไร มหาบพิตร ? ”
“ โยมเข้าใจว่า เพราะกรรมรักษาไว้ ขอ นิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ”




อุปมาด้วยสตรี

“ ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะเข้า พระทัยความข้อนี้อย่างไร..คือ นางโยนก นาง กษัตริย์ นางพราหมณ์ นางคฤหบดี ที่มีความสุขมาแต่กําเนิด ได้เคี้ยวกินของแข็ง ขนม ผลไม้ เนื้อ ปลาต่าง ๆ หรือไม่ ? ”
“ เคี้ยวกิน พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ของเหล่านั้นตกเข้าไปอยู่ในท้องของ หญิงเหล่านั้นแล้ว ย่อยยับไปหรือไม่ ? ”
“ ย่อยยับไป พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ก็ลูกในท้องของหญิงเหล่านั้น ย่อยยับ ไปหรือไม่ ? ”
“ ไม่ย่อยยับไป พระผู้เป็นเจ้า ”
“ เพราะอะไร มหาบพิตร ? ”
“ โยมเข้าใจว่า เป็นเพราะกรรมคุ้มครองไว้ ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ พวกสัตว์นรกถึงจะถูกไฟไหม้ในนรกตั้งหลายพันปี ก็ไม่ย่อยยับไป สัตว์นรกเหล่านั้น เกิด อยู่ในนรก เจริญอยู่ในนรก ตายอยู่ในนรก ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระทศพลตรัสไว้ว่า “ บาปกรรมที่เขาทําไว้ยังไม่สิ้นตราบใด เขาก็ยังไม่ตายตราบนั้น ”
“ สมควรแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”




ปัญหาที่ ๗ ถามถึงเรื่องเครื่องรองแผ่นดิน

“ ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า แผ่นดินใหญ่นี้ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่ บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ ดังนี้ คํานี้โยม ไม่เชื่อ ”
พระเถระเมื่อจะวิสัชนาแก้ไข จึงได้เอาธัมกรก คือกระบอกกรองน้ำตักน้ำขึ้นมาแล้ว ก็เอามือปิดปากธัมกรกไว้ เพื่อมิให้น้ำไหลลงไปได้ ถือไว้ให้พระเจ้ามิลินท์ทอดพระเนตรแล้ว พร้อมกับถวายพระพรว่า
“ มหาบพิตรจงทรงสังเกตดูธัมกรกนี้เถิด ลมทรงไว้ซึ่งน้ำในกระบอกนี้ฉันใด ถึงน้ำที่ รองแผ่นดิน ลมก็รับไว้ฉันนั้น ”
“ ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”




ปัญหาที่ ๘ ถามถึงเรื่องนิโรธนิพพาน

“ ข้าแต่พระนาคเสน นิโรธ คือ นิพพาน หรือ ? ”
“ ถูกแล้ว มหาบพิตร ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อย่างไรจึงว่า นิโรธคือนิพพาน ? ”
“ ขอถวายพระพร อันว่าพาลปุถุชน ทั้งหลาย ย่อมเพลิดเพลินยินดีใน อายตนะ ภายในภายนอก ( ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ) จึงถูกกระแสตัณหาพัดไป จึงไม่พ้น จากการเกิด แก่ตาย โศกร่ำไร ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และคับแค้นใจ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับคําสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลินยินดีใน อายตนะภายในภายนอก

เมื่อไม่เพลิดเพลินยินดี ตัณหาก็ดับไป เมื่อตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ เมื่ออุปาทานดับ ภพก็ดับ เมื่อภพดับ ชาติก็ดับ เมื่อชาติ คือ การเกิดดับ ความโศก ความร่ำไร ความไม่ สบายกาย ไม่สบายใจ และความคับแค้นใจก็ดับ เป็นอันว่า ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ อย่างนี้แหละ มหาบพิตร จึงว่า นิโรธ คือ นิพพาน”
“ ถูกต้องดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”




ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องการได้นิพพาน

“ ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลทั้งหลายได้ นิพพานเหมือนกันหมดหรือ ? ”
“ ขอถวายพระพร ไม่ได้นิพพานเหมือนกันหมด ”
“ เหตุไฉนจึงไม่ได้ ? ”
“ ขอถวายพระพร ผู้ใดปฏิบัติดี รู้ยิ่ง ซึ่งธรรมที่ควรรู้ รอบรู้ธรรมที่ควรรอบรู้ ละธรรมที่ควรละ อบรมธรรมที่ควรอบรม กระทําให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทําให้แจ้ง ผู้นั้น ก็ได้นิพพาน ”
“ ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”




ปัญหาที่ ๑๐ ถามเรื่องรู้จักความสุขในนิพพาน

“ ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพาน รู้หรือไม่ว่านิพพานเป็นสุข ? ”
“ ขอถวายพระพร..รู้ คือผู้ยังไม่ได้นิพพาน ก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพาน ทำไมจึงรู้ว่านิพพานเป็นสุข ? ”
“ ขอถวายพระพร พวกใดไม่ถูกตัดมือตัดเท้า พวกนั้นรู้หรือไม่ว่า การตัดมือตัดเท้า เป็นทุกข์ ? ”
“อ๋อ...รู้ซิ พระผู้เป็นเจ้า ”
“ เหตุไฉนจึงรู้ล่ะ ? ”
“ รู้ด้วยเขาได้ยินเสียงผู้ถูกตัดมือตัดเท้า ร้องไห้ครวญคราง ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พวกที่ยังไม่ได้นิพพาน ก็รู้ได้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพาน ”
“ ถูกดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”

จบวรรคที่ ๔

◄ll กลับสู่ด้านบน

((( โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป )))




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 1/9/08 at 10:14 Reply With Quote


Update 1 กันยายน 2551

วรรคที่ ๕
ปัญหาที่ ๑ ถามเรื่องความมี และความไม่มีแห่งพระพุทธเจ้า


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า "ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้ เห็นพระพุทธเจ้าหรือ ? "
พระเถระตอบว่า "ไม่ได้เห็น ขอถวายพระพร"
"ถ้าอย่างนั้น อาจารย์ของพระผู้เป็นเจ้า ได้เห็นหรือ ? "
"ขอถวายพระพร อาจารย์ก็ไม่ได้เห็น"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้นพระพุทธเจ้าก็ไม่มี"
"ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เห็น โอหานที คือสะดือทะเลหรือไม่ ? "
"ไม่ได้เห็น พระผู้เป็นเจ้า"
"ถ้าอย่างนั้น พระราชบิดาของพระองค์ ได้เห็นหรือไม่ ? "
"ไม่ได้เห็น พระผู้เป็นเจ้า"
"ถ้าอย่างนั้นสะดือทะเลก็ไม่มี"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถึงโยมและพระราช บิดาของโยม ไม่ได้เห็นสะดือทะเลก็จริงแหล่ แต่ทว่าสะดือทะเลมีอยู่เป็นแน่"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ถึง อาตมาและอาจารย์ของอาตมา ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าก็จริง แต่พระพุทธเจ้ามีอยู่แน่ ขอถวายพระพร"
"พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว"



ปัญหาที่ ๒ ถามเรื่องความยิ่งใหญ่แห่งพระพุทธเจ้า

"ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้าไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าหรือ ? "
"ขอถวายพระพร จริง"
"พระผู้เป็นเจ้ารู้ได้อย่างไรว่า พระพุทธเจ้า ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เพราะพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้เห็น ? "
"ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างไร...คือพวกที่ไม่ได้เห็นมหาสมุทร รู้หรือไม่ว่ามหาสมุทรอันกว้างใหญ่ มีน้ำลึกประมาณไม่ได้ หยั่งถึงพื้นได้ยาก เป็นที่ไหลไปรวมอยู่แห่งแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ ความพร่องหรือความเต็มแห่งมหาสมุทรนั้นไม่ปรากฏ แม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ ก็ไหลไปสู่มหาสมุทรเนืองๆ ? "
"รู้ พระผู้เป็นเจ้า"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาพบิตร คือ อาตมภาพได้เห็นพระสาวกทั้งหลายผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้สําเร็จนิพพานมีอยู่ จึงรู้ว่าพระ พุทธเจ้าเป็นผู้เยี่ยมไม่มีใครเทียมถึง"
"พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว"



ปัญหาที่ ๓
ถามเรื่องการรู้ความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า

"ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าอาจรู้หรือไม่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้เยี่ยมไม่มีใครยิ่งกว่า ? "
"อาจรู้ ขอถวายพระพร"
"อาจรู้ได้อย่างไร ? "
"ขอถวายพระพร เมื่อก่อนมีอาจารย์เลของค์หนึ่ง ชื่อว่า พระติสสเถระ มีชื่อเสียง โด่งดังอยู่หลายปี แต่ถึงมรณภาพไปแล้ว อาจารย์เลของค์นั้น ทําไมชื่อจึงยังปรากฏอยู่ ? "
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อาจารย์เลของค์นั้น ยังปรากฏอยู่ เป็นด้วยเลขที่ท่านบอกไว้"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ใด เห็นธรรม ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าได้เห็นพระพุทธเจ้า เพราะธรรมเป็นของที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้"
"สมควรแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"



ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องการเห็นธรรม

"ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้เห็นธรรมะแล้วหรือ ? "
"ขอถวายพระพร ธรรมะอันพระพุทธเจ้าทรงแนะนําสั่งสอนสาวก อันพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว พระสาวกควรปฏิบัติตามจน ตลอดชีวิต"
"แก้ถูกต้องดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"

ฎีกามิลินท์

เพราะเหตุไร..พระนาคเสนจึงไม่ตอบว่า อาตมภาพได้เห็นธรรมะแล้ว ?
แก้ว่า...เพราะเหตุว่าพระเจ้ามิลินท์รู้แน่ แล้วว่า พระเถระได้เห็นธรรมะแล้ว แต่อยากจะฟังคําตอบอันวิจิตร จึงตรัสถามเพื่อผู้ที่ยังไม่รู้ พระเถระทราบพระอัธยาศัยของพระเจ้ามิลินท์แล้ว จึงได้ตอบอย่างนั้น



ปัญหาที่ ๕
ถามถึงความไม่ก้าวย่างไปแห่งผู้จะเกิด

"ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประเสริฐ ผู้ที่จะไปเกิดใหม่นั้นไม่ได้ก้าวย่างไปด้วย แต่ถือกําเนิดได้ด้วยอย่างนั้นหรือ ? "
"อย่างนั้น มหาบพิตร"
"ถ้าอย่างนั้นขอนิมนต์อุปมา"
"ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่าบุรุษผู้หนึ่งเอาประทีปมาต่อประทีป ประทีปจะก้าวไปจากประทีปเก่าหรือไม่ ? "
"ไม่ก้าวไป พระผู้เป็นเจ้า"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร"
"ขอนิมนต์อุปมาอีก"
"ขอถวายพระพร มหาบพิตรคงจําได้ว่า ในเวลาที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์ มีพระชันษาได้ ๑๐ ได้รับวิชาเลขและวิชาการต่าง ๆ ในสํานักอาจารย์หรือ ? "
"ได้รับ พระผู้เป็นเจ้า"
"ขอถวายพระพร วิชาเลขและศิลปะต่าง ๆ นั้น ก้าวย่างไปจากอาจารย์หรือไม่ ? "
"ไม่ พระผู้เป็นเจ้า"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ผู้ที่จะไปเกิดใหม่นั้น ไม่ได้ก้าวย่างไปเลย แต่ถือกําเนิดได้"
"ถูกต้องดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"



ปัญหาที่ ๖
ถามถึงผู้สําเร็จเวทย์

"ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลผู้ถึงเวทย์มีอยู่หรือไม่ ? "
"ขอถวายพระพร เมื่อว่าตามปรมัตถ์แล้ว...ไม่มี"
"ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"



ปัญหาที่ ๗
ถามถึงการก้าวไปแห่งสภาพ

"ข้าแต่พระนาคเสน สภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง ก้าวไปจากกายนี้สู่กายอื่นมีอยู่หรือ ? "
"ขอถวายพระพร ไม่มีเลย"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าสภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง ก้าวจากกายนี้ไปสู่กายอื่นไม่มี บุคคลก็จะพ้นจากบาปกรรมทั้งหลายมิใช่หรือ"
"ขอถวายพระพร ถ้าเขาไม่เกิดอีก ก็จะ พ้นจากบาปกรรมทั้งหลาย แต่เพราะเขายังเกิด อยู่ เขาจึงไม่พ้นจากบาปกรรมทั้งหลาย"
"ขอนิมนต์อุปมาด้วย"
"ขอถวายพระพร เปรียบเช่นเดียวกับ บุรุษคนหนึ่ง ขโมยมะม่วงที่ผู้อื่นปลูกไว้ เขา ควรจักต้องได้รับโทษหรือไม่ ? "
"ควรได้รับโทษ พระผู้เป็นเจ้า"
"ขอถวายพระพร มะม่วงที่บุรุษนั้นขโมยไป ไม่ใช่มะม่วงลูกที่บุรุษนั้นปลูกไว้ เหตุใดผู้ขโมยจึงควรได้รับโทษ ? "
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มะม่วงเหล่านั้นอาศัยมะม่วงลูกที่บุรุษนั้นปลูกไว้ จึงเกิดเป็นลำต้นขึ้น เพราะฉะนั้น ผู้ขโมยจึงควรได้รับโทษ"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ บุคคลย่อมทํากรรมดีหรือชั่วไว้ด้วย นามรูปนี้ แล้ว นามรูปอื่น ก็เกิดขึ้นด้วยกรรมนั้น เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่พ้นจากบาปกรรม"
"แก้ดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"



ปัญหาที่ ๘
ถามถึงที่อยู่แห่งผลกรรม

"ข้าแต่พระนาคเสน กรรมดีและกรรม ชั่ว ที่บุคคลทําด้วยนามรูปนี้ไปอยู่ที่ไหน ? "
ขอถวายพระพร ติดตามผู้ทําไปเหมือน กับเงาตามตัว"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อาจชี้กรรมเหล่านั้น ได้หรือไม่ว่า กรรมเหล่านั้นอยู่ที่ไหน ? "
"ขอถวายพระพร ไม่อาจชี้ได้"
"ขอนิมนต์อุปมาด้วย"
"ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนต้นไม้ ที่ยังไม่มีผล มหาบพิตรอาจชี้ได้หรือไม่ว่า ผลอยู่ที่ไหน ? "



ปัญหาที่ ๙
ถามถึงความรู้สึกของผู้จะเกิดอีก

"ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ใดจะเกิด ผู้นั้นรู้หรือว่า เราจะเกิด ? "
"ขอถวายพระพร รู้""
"ขอนิมนต์อุปมาด้วย"
"ขอถวายพระพร เหมือนอย่างชาวนา หว่านพืชลงที่แผ่นดินแล้ว เมื่อฝนตกดีเขา รู้หรือว่า พืชจักงอกงามขึ้น ? "
"รู้ พระผู้เป็นเจ้า"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ใดจะเกิด ผู้นั้นก็รู้ว่า เราจักเกิด"
"ชอบแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"



ปัญหาที่ ๑๐
ถามเรื่องที่อยู่ของ พระพุทธเจ้าที่ปรินิพพาน

"ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้ามีจริงหรือ ? "
"ขอถวายพระพร มีจริง"
"พระผู้เป็นเจ้าอาจชี้ได้หรือไม่ว่า พระ พุทธเจ้าอยู่ที่ไหน ? "
"ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ด้วยการดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน"
"ขอนิมนต์อุปมาด้วย"
"ขอถวายพระพร เปลวไฟที่ดับไปแล้ว มหาบพิตรอาจชี้ได้หรือไม่ว่า เปลวไฟนั้นไปอยู่ที่ไหน ? "
"ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า เพราะเปลวไฟนั้น ถึงซึ่งความไม่มีบัญญัติแล้ว"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็ไม่มีใครอาจชี้ได้ว่าไปอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียง พระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น"
"พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว"

จบวรรคที่ ๕

******************************




อธิบาย

คําว่า "พระธรรมกาย" ในหนังสือ ทิพยอํานาจ อดีตพระอริยคุณาธาร เส็ง ปุสโส ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ แต่ขอนํามาโดยย่อว่า
"...ในปกรณ์ของฝ่ายเถรวาท ท่านโบราณาจารย์แบ่งพระกายของพระพุทธเจ้าเป็น ๓ ภาค ดังนี้คือ

๑. พระรูปกาย เป็นพระกายซึ่งกําเนิดจากพระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา ที่เป็นมนุษย์ธรรมดาประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔

๒. พระนามกาย ได้แก่กายชั้นใน นามกายเป็นของมีทั่วไปแม้แต่สามัญมนุษย์ แต่ดีเลวกว่ากันด้วยอํานาจกุศลที่ตนทําไว้ก่อน ส่วนพระนามกายของพระพุทธเจ้า ท่านดีวิเศษกว่าของสามัญมนุษย์ ด้วยอํานาจพระบุญญาบารมี ที่ทรงบําเพ็ญมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัป

๓. พระธรรมกาย ได้แก่พระกายอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะทั่วไปแก่เทวาและมนุษย์ หมายถึงจิตที่พ้นจากกิเลสแล้ว เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง พระธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้ เป็นพระกายที่พ้นเกิดแก่เจ็บตาย เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ถาวรไม่สูญสลาย แต่ท่านมิได้บอกให้แจ้งชัดว่า พระธรรมกายนี้มีรูปพรรณสัณฐานเช่นไรหรือไม่

อนึ่ง ความเชื่อว่าพระอรหันต์นิพพาน แล้วยังมีอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์แท้ ไม่สลายไปตามกาย คือความเป็นพระอรหันต์ ไม่สูญ ตัวอย่างเช่น
พระยมกะ เมื่อยังไม่บรรลุอรหัตผลได้ แสดงความเห็นว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญ ได้ถูก พระสารีบุตร สอบสวน เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว จึงเห็นตามความจริงว่า

"สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมเป็นไปตามปัจจัยคือสลายไป ส่วนพระอรหันต์มิใช่สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งจึงไม่สลายไป แปลว่า ไม่ตาย"

ความเป็นพระอรหันต์นี้ ท่านก็จัดเป็น อินทรีย์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า "อัญญินทรีย์" พระผู้มีพระภาคเจ้าคงหมายเอาอินทรีย์นี้เอง บัญญัติเรียกว่า "วิสุทธิเทพ" เป็นสภาพที่คล้ายคลึง "วิสุทธาพรหม" ในสุทธาวาสชั้นสูง (พรหมอนาคามี ชั้นที่ ๑๒-๑๖ เป็นแต่ บริสุทธิ์ยิ่งกว่าเท่านั้น)

อินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุม แม้แต่ตาทิพย์ของเทวดาสามัญก็มองไม่เห็น มนุษย์สามัญซึ่งมีตาหยาบ ๆ จะเห็นได้อย่างไร อินทรีย์ของพระอรหันต์นั้นแหละ เรียกว่า "อินทรีย์แก้ว" คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของท่านเป็นแก้ว คือใสบริสุทธิ์ดุจแก้วมณีโชติ ผู้บรรลุถึงภูมิแก้วแล้ว ย่อมสามารถ พบเห็น "พระแก้ว" คือพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วได้…"

การที่ยกเอาบทความนี้มาให้อ่านกัน ก็เพราะอาจจะมีนักปราชญ์บางท่านเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เหมือนกับเปลวไฟที่ดับไปฉะนั้น ก็เลยเหมาเอาว่า "พระนิพพานสูญ" ไปเลย
ตามที่พระนาคเสนท่านอุปมาเช่นนั้น ท่านคงหมายถึงดับไปเฉพาะ "พระรูปกาย" เท่านั้น แต่จิตใจอันใสบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์ ที่เรียกว่า "พระธรรมกาย" มิได้ดับสูญ ไปด้วยแต่อย่างใด

อดีตพระอริยคุณาธาร ซึ่งเป็นศิษย์สาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จึงให้ทัศนะเป็นข้อสรุป ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๓ นับเป็นเวลา ๔๐ ปี เศษแล้วว่า
"...ความรู้เรื่องนี้ เป็นความรู้ลึกลับในพระธรรมวินัย ผู้สนใจพึงศึกษาค้นคว้าต่อไป ถ้ายังรู้ไม่ถึงอย่าพึงค้าน อย่าพึงโมทนา เป็นแต่จดจําเอาไว้ เมื่อใดตนเองได้ศึกษาค้นคว้าแล้ว ได้ความรู้ได้เหตุผลที่ถูกต้องดีกว่า เมื่อนั้นจึงค้าน ถ้าได้เหตุผลลงกันจึงอนุโมทนา ถ้ารู้ไม่ถึงแล้ว ด่วนวิพากษ์วิจารณ์ติเตียนผู้พูด เรื่องเช่นนี้ จะเป็นไปเพื่อบอดตาบอดญาณ ตนเองยิ่งจะซ้ำร้ายใหญ่ ดังนี้... "

◄ll กลับสู่ด้านบน

((( โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป )))




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 17/9/08 at 19:41 Reply With Quote


Update 17 ก.ย. 51

ตอนที่ ๑๐ วรรคที่ ๖

ปัญหาที่ ๑ ถามถึงความรักร่างกายแห่งบรรพชิต


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า "ข้าแต่พระนาคเสน ร่างกายเป็นที่รักของ บรรพชิตทั้งหลายหรือ? "
พระเถระตอบว่า "ขอถวายพระพร ร่างกายไม่ได้เป็นที่รัก ของบรรพชิตทั้งหลาย"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น ทําไม บรรพชิตจึงยังอาบน้ำชําระกาย ถือว่ากาย ของเราอยู่? "
"ขอถวายพระพร ผู้เข้าสู่สงครามเคยถูก บาดเจ็บบ้างหรือไม่? "
"อ๋อ . . . เคยซิ พระผู้เป็นเจ้า"
"ขอถวายพระพร แผลที่ถูกอาวุธนั้น ฉาบ ทาด้วยเครื่องฉาบทา ทาด้วยน้ำมัน พันด้วย ผ้าเนื้อละเอียดแลหรือ? "
"ถูกแล้วพระผู้เป็นเจ้า ต้องทําอย่างนั้น"
"ขอถวายพระพร บาดแผลนั้นเป็นที่รัก ของผู้นั้นหรือ? "
"ไม่ได้เป็นที่รักของผู้นั้นเลย แต่ว่าเขาทำอย่างนั้น เพื่อให้เนื้อตรงนั้นงอกขึ้นเป็นปกติ"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ร่างกาย ไม่ได้เป็นที่รักของบรรพชิตทั้งหลาย แต่ บรรพชิตทั้งหลายรักษาร่างกายนี้ไว้ เพื่อ อนุเคราะห์พรหมจรรย์ อันว่าร่างกายนี้เปรียบ เหมือนกับแผล บรรพชิตรักษาร่างกายนี้ไว้ เหมือนกับบุคคลรักษาแผล ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระทศพลตรัสไว้ว่า"
"กายนี้มีทวาร ๙ เป็นแผลใหญ่ อัน หนังสดปกปิดไว้ คายของโสโครกออกโดยรอบ ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น"
"ถูกดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"



อธิบาย

คําว่า "ทวาร ๙" ได้แก่ (ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑)




ปัญหาที่ ๒ ถามถึงเหตุที่ไม่ทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้ล่วงหน้า

"ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้าเป็น พระสัพพัญญู คือทรงรู้ทุกสิ่ง เป็นสัพพทัสสาวี คือทรงเห็นทุกอย่างจริงหรือ? "
"ขอถวายพระพร จริง"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าจริง . . .เหตุไฉนจึง ทรงบัญญัติสิกขาบทไปตามลําดับเหตุการณ์ แก่สาวกทั้งหลาย ทําไมจึงไม่ทรงบัญญัติไว้ ก่อน? "
"ขอถวายพระพร แพทย์ที่รู้จักยาทั้งหมด ในแผ่นดินนี้มีอยู่หรือ? "
"มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า"
"ขอถวายพระพร ก็แพทย์นั้นให้คนไข้กิน ยาแต่เมื่อยังไม่เป็นไข้ หรือเมื่อเป็นไข้แล้วจึง ให้กินยา? "
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เมื่อเป็นไข้แล้วจึง ให้กินยา เมื่อยังไม่เป็นไข้ก็ยังไม่ให้กินยา"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ คือพระพุทธเจ้าเป็น ผู้รู้ทุกสิ่งเห็นทุกอย่างจริง แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลา ก็ยังไม่บัญญัติสิกขาบท ต่อเมื่อถึงเวลาจึง บัญญัติสิกขาบท สิกขาบทที่ทรงบัญญัตินั้น พระสาวกไม่ควรล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต"
"ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"




ปัญหาที่ ๓ ถามถึงลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ของพระพุทธมารดาบิดา

"ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้าประกอบ ด้วยมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ และประดับด้วย อนุพยัญชนะ ๘๐ มีสีพระกายดังทองคํา มี พระรัศมีสว่างรอบพระองค์ด้านละ ๑ วาเป็น นิจจริงหรือ? "
"ขอถวายพระพร จริง"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระมารดาบิดา ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ กับประดับด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ มีสีพระกายดังทองคํามีพระรัศมีข้างละ ๑ วา หรือไม่? "
"ขอถวายพระพร พระมารดาบิดาไม่ เป็นอย่างนั้น"
"ข้าแต่พระนาคเสน เมื่อพระมารดาบิดา ไม่เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าจะเป็นอย่างนั้น ได้หรือ เพราะธรรมดาบุตรย่อมคล้ายกับมารดา หรือคล้ายกับข้างบิดา? "
"ขอถวายพระพร ดอกปทุม หรือดอก อุบล ดอกโกมุท ดอกปุณฑริก มีอยู่หรือ? "
"มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า เพราะดอกบัวเหล่า นั้นเกิดอยู่ในน้ำ เกิดอยู่ในดิน แช่อยู่ในน้ำ"
"ขอถวายพระพร ดอกบัวเหล่านั้นมีสี กลิ่น รส เหมือนดินกับน้ำหรือไม่? "
"ไม่ พระผู้เป็นเจ้า"
"ถ้าอย่างนั้น ดอกบัวเหล่านั้น มีสี กลิ่น รส เหมือนกับโคลนกับตมหรือไม่? "
"ไม่ พระผู้เป็นเจ้า"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร"
"พระผู้เป็นเจ้าเข้าใจแก้ เป็นอันแก้ถูกต้องดีแล้ว"




ปัญหาที่ ๔ ถามถึงความเป็นพรหมจารีของพระพุทธเจ้า

"ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้าเป็นพรหมจารี คือเป็นผู้ประพฤติเหมือนกับ พรหมจริงหรือไม่? "
"ขอถวายพระพร จริง"
"ถ้าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็เป็นศิษย์ของ พรหมน่ะซิ"
"ขอถวายพระพร ช้างทรงของมหาบพิตร มีอยู่หรือ? "
"มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า"
"ช้างทรงของมหาบพิตรนั้น มีเสียงร้อง เหมือนเสียงนกกระเรียนในบางคราวหรือไม่? "
"อ๋อ . . .บางคราวก็มีเสียงร้องเหมือนเสียง นกกระเรียน พระผู้เป็นเจ้า"
"ถ้าอย่างนั้น ช้างของมหาบพิตรก็เป็นศิษย์ ของนกกระเรียนน่ะซิ"
"ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระพุทธเจ้าประพฤติเหมือนพรหมจริง แต่ไม่ได้ เป็นศิษย์ของพรหม"
"ขอถวายพระพร พรหมนั้นได้ตรัสรู้ด้วย ตนเองหรือไม่? "
"ไม่ พระผู้เป็นเจ้า"
"ถ้าอย่างนั้น พรหมก็ต้องเป็นศิษย์ของ พระพุทธเจ้า"
"ถูกแล้ว พระนาคเสน"




ปัญหาที่ ๕ ถามถึงการอุปสมบท ไม่อุปสมบท

"ข้าแต่พระนาคเสน การอุปสมบทดี หรือ . . .หรือว่าไม่อุปสมบทดี? "
"ขอถวายพระพร อุปสมบทดี"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อุปสมบทของพระ พุทธเจ้ามีอยู่หรือ? "
"ถวายพระพร พระพุทธเจ้าเป็นผู้ได้ อุปสมบทแล้ว"

เมื่อพระนาคเสนกล่าวอย่างนี้แล้ว พระ เจ้ามิลินท์จึงตรัสประกาศขึ้นว่า "ขอพวกโยนกทั้ง ๕๐๐ จงฟังถ้อยคําของเรา คือพระนาคเสนกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้อุปสมบทแล้ว เป็นอุปสัมบัน คือเป็นผู้ที่บวชแล้ว ถ้าพระสมณโคดมเป็นอุปสัมบัน ใครเป็น อุปัชฌาย์ ใครเป็นอาจารย์ มีสงฆ์มานั่งหัตถบาสเท่าใด? "
"ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าไม่มี อุปัชฌาย์ ไม่มีอาจารย์ ได้อุปสมบทเอง ตรัสรู้ เอง ที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิ พระองค์ได้เป็นผู้ อุปสัมบันพร้อมด้วยพระสัพพัญญุตญาณ"
"ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอุปัชฌาย์อาจารย์ ของพระสมณโคดมไม่มี โยมก็เข้าใจว่า พระ สมณโคดมเป็นอนุปสัมบัน คือผู้ที่ยังไม่ได้บวช เพราะเหตุไร . .พระพุทธเจ้าจึงไม่มีอุปัชฌาย์ ไม่ มีอาจารย์? "
"เมื่อพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามขึ้นอย่างนี้ พระนาคเสนองค์อรหันต์ ผู้สําเร็จปฏิสัมภิทา จึงย้อนถามไปว่า มหาบพิตร ทรงเสวยแล้วหรือ? "
"โยมกินแล้ว ผู้เป็นเจ้า"
"ใครเป็นครูเป็นอาจารย์บอกให้เสวยล่ะ"
"ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า"
"ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรก็เสวยไม่ได้? "
"ได้ . . .ไม่ใช่โยมกินไม่ได้ ถึงไม่มีครูบา อาจารย์สั่งสอน โยมก็กินได้ ด้วยเคยกินมา ในวัฏสงสารนับไม่ถ้วน"
"ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นขอให้มหาบพิตรเข้าพระทัยเถิดว่า พระพุทธเจ้าได้อุปสมบทแล้วที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิ เพราะ พระองค์ได้ทรงบําเพ็ญพระบารมีมาเต็มเปี่ยมแล้ว

พระองค์อุปสมบทเอง ไม่มีอุปัชฌาย์อาจารย์ ได้อุปสมบทพร้อมกับได้พระสัพพัญญุตญาณ เหมือนกับมหาบพิตรผู้เสวยโดยไม่ ต้องมีอาจารย์ เพราะเคยเสวยมาในวัฏสงสาร อันไม่ปรากฏเบื้องต้น




อัศจรรย์วันอุปสมบท

ในเวลาที่พระพุทธองค์ได้เป็นอุปสัมบัน ที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิ ด้วยอํานาจพระบารมีนั้น อัศจรรย์ต่าง ๆ ก็ปรากฏขึ้นในโลก คือ
คนตาบอดแต่กําเนิดก็กลับเป็นคนตาดี ๑ คนหูหนวกก็ได้ยินเสียง ๑ คนง่อยเปลี้ยก็เดิน ได้ ๑ คนใบ้ก็พูดได้ ๑ คนหลังค่อมก็ยืดตรง เป็นปกติได้ ๑ คนกําลังหิวข้าวก็ได้กินข้าว ๑ คนกระหายน้ำก็ได้ดื่มน้ำ ๑

ผู้ที่อาฆาตต่อกันก็นึกเมตตากัน ๑ ทุกข์ ในแดนเปรตก็หายไป ๑ ยาพิษก็กลับเป็น เหมือนยาทิพย์ ๑ หญิงมีครรภ์แก่ก็คลอดได้ สบาย ๑ สําเภาที่ไปต่างประเทศก็กลับมาถึงท่า ของตน ๑ กลิ่นเหม็นก็กลายเป็นกลิ่นหอม ๑

ไฟในอเวจีมหานรกก็ดับ ๑ น้ำเค็มในมหาสมุทรก็กลายเป็นน้ำหวาน ๑ ภูเขา ทั้งหลายก็เปล่งเสียงสะท้าน ๑ น้ำในมหานที ทั้งหลายก็หยุดไหล ๑ ผงจันทน์ทิพย์ดอก มณฑาทิพย์ก็ตกลงมาจากสวรรค์ ๑ เทพยดา นางฟ้าทั้งหลาย ก็โปรยดอกไม้ทิพย์ลงมา ๑ พรหมทั้งหลายก็ตบมือสาธุการ ๑

ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าผู้มีสีพระกายดังทองคํา ก็ได้อุปสมบทเองที่ภาย ต้ไม้ศรีมหาโพธิ อันเป็นเหมือนปราสาทแก้ว จึงได้มีสิ่งอัศจรรย์ปรากฏขึ้นอย่างนี้ ด้วยอานุภาพแห่งการอุปสมบทของพระพระพุทธเจ้านั้น ได้บันดาลให้พระยาเขาสิเนรุ ราชหมุนครวญคราง เหมือนกับกงรถกงเกวียน ฉะนั้น

พวกเทวดาในอากาศพร้อมกับบริวาร ก็มีใจเบิกบานยินดี ได้โปรยดอกไม้ทิพย์ลง มาบูชา จันทรเทพบุตรก็หยุดมณฑลรถไว้ที่ อากาศ โปรยดอกไม้แก้วลงมาบูชาไม่ขาดสาย เหมือนกับนมสดที่ไหลหลั่งลงมาจากอากาศ ฉะนั้น การอุปสมบทของพระตถาคตเจ้าย่อม ปรากฏอย่างนี้"
"ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาด้วย"




อุปมาช้างพระที่นั่ง

"ขอถวายพระพร เมื่อมหาบพิตรขึ้น ประทับนั่งบนคอช้างพระที่นั่ง มีผู้ใดผู้หนึ่งนั่งบนคอของพระองค์บ้างหรือไม่? "
"ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า หากใครขึ้นนั่งบนคอของโยม ผู้นั้นจะต้องหัวขาด"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ไม่มีผู้อื่นจัดการอุปสมบทให้พระพุทธเจ้า ถ้าผู้ใดจัดการอุปสมบทให้พระพุทธเจ้า ศีรษะของผู้นั้นต้องหลุดไปจากคอทันที เมื่อกี้นี้มหาบพิตรถามอาตมภาพว่า พระ พุทธเจ้าอุปสมบทด้วยสงฆ์นั่งหัตถบาสเท่าไร อย่างนั้นหรือ? "
"อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า"
"ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าไม่ได้ อุปสมบทด้วยสงฆ์ มีแต่ มรรค กับ ผล เท่านั้นที่เป็นสงฆ์ ข้อนี้สมกับที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "พระอริยบุคคล ๔ เหล่า คือผู้ตั้งอยู่ใน มรรค ๔ ผล ๔ ผู้มั่นอยู่ในปัญญาและศีล เป็นสงฆ์ผู้ตรงแท้ แต่บุคคลบางเหล่าต้อง อุปสมบทด้วยสงฆ์"

"น่าอัศจรรย์ พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้า ได้แก้ปัญหาอันละเอียดยิ่ง อันไม่มีส่วนเปรียบ ได้แล้ว ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อุปสมบทเป็นของดีหรือ? "
"ขอถวายพระพร อุปสมบทเป็นของดี"
"ข้าแต่พระนาคเสน การอุปสมบทของพระพุทธเจ้ามีอยู่หรือไม่มี? "
"ขอถวายพระพร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อุปสมบทด้วยความเป็นพระสัพพัญญูที่ ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิแล้วไม่มีผู้ให้อุปสมบท แก่พระพุทธเจ้า เหมือนกับพระพุทธเจ้าทรง ให้อุปสมบทแก่สาวกเลย"
"แก้ถูกต้องดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"




ปัญหาที่ ๖ ถามถึงความต่างกันแห่งน้ำตา

"ข้าแต่พระนาคเสน บุรุษคนหนึ่งร้องไห้ เพราะบิดามารดาตาย อีกคนหนึ่งน้ำตาไหล เพราะความชอบใจธรรมะ น้ำตาของคน ทั้งสองนั้น น้ำตาของใครเป็นเภสัช น้ำตา ของใครไม่เป็นเภสัช?
"ขอถวายพระพร น้ำตาของคนที่ร้องไห้ด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นน้ำตาร้อน ส่วน น้ำตาของผู้ฟังธรรมนั้น มีน้ำตาไหลด้วยปีติ ยินดีเป็นน้ำตาเย็น เป็นอันว่า น้ำตาเย็นเป็น เภสัช น้ำตาร้อนไม่เป็นเภสัช"
"ถูกดีแล้ว พระนาคเสน"




ปัญหาที่ ๗ ถามถึงความต่างกันแห่งผู้เสวยรส

"ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ปราศจากราคะ กับ ผู้ไม่ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร? "
"ขอถวายพระพร ผู้หนึ่งยังมีความยึดถือ อีกผู้หนึ่งไม่มีความยึดถือ"
"ยึดถืออะไร . . .ไม่ยึดถืออะไร? "
"ขอถวายพระพร คือผู้หนึ่งยังมีความต้องการ อีกผู้หนึ่งไม่มีความต้องการ"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผู้ปราศจากราคะ กับ ผู้ไม่ปราศจากราคะ ก็ยังต้องการของเคี้ยวของกินที่ดีงามอยู่เหมือนกัน ไม่มีใคร ต้องการสิ่งที่ไม่ดีงาม โยมเห็นมีแต่ต้องการ สิ่งที่ดีงามเหมือนกันหมด"
"ขอถวายพระพร ผู้ปราศจากราคะ ยัง รับรสอาหาร ยังกินอาหารอยู่เหมือนกันก็จริงแหล่ แต่ทว่าไม่ยินดีในรสอาหาร ส่วนผู้ไม่ ปราศจากราคะ ยังยินดีในรสอาหารอยู่ ไม่ใช่ ไม่ยินดีในรสอาหาร"
"เข้าใจแก้ พระผู้เป็นเจ้า"




ปัญหาที่ ๘ ถามที่ตั้งแห่งปัญญา

"ข้าแต่พระนาคเสน ปัญญาอยู่ที่ไหน? "
"ขอถวายพระพร ปัญญาไม่ได้อยู่ที่ไหน"
"ถ้าอย่างนั้นปัญญาก็ไม่มี"
"ขอถวายพระพร ลมอยู่ที่ไหน? "
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ที่อยู่แห่งลมไม่มี"
"ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นลมก็ไม่มี"
"ฉลาดแก้ พระผู้เป็นเจ้า"




ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องงสาร

"ข้าแต่พระนาคเสน คําว่า สงสาร ได้แก่อะไร? "
"ขอถวายพระพร สัตว์โลกเกิดในโลกนี้ ก็ตายในโลกนี้ ตายจากโลกนี้แล้วก็ไปเกิดใน โลกอื่น เกิดในโลกนั้นก็ตายในโลกนั้น ตาย จากโลกนั้นแล้วก็เกิดในโลกอื่น การเวียนตาย เวียนเกิดอย่างนี้แหละ เรียกว่า "สงสาร""
"ขอนิมนต์อุปมาด้วย"
"ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า บุรุษ คนหนึ่งกินมะม่วงสุก แล้วปลูกเมล็ดไว้ เมล็ดมะม่วงนั้น ก็เกิดเป็นต้นมะม่วงใหญ่ขึ้น จนกระทั่งมีผลมะม่วง บุรุษนั้นก็กินมะม่วง สุกจากมะม่วงต้นนั้น แล้วปลูกเมล็ดมะม่วง ไว้อีก เมล็ดมะม่วงนั้นก็เกิดเป็นต้น มะม่วงใหญ่โตขึ้นจนมีผล ต้นแก่ก็ตายไป ที่สุด เบื้องต้นแห่งต้นมะม่วงเหล่านั้น ย่อมไม่ ปรากฏว่ามีมาเมื่อไร ข้อนี้มีอุปมาฉันใด การเวียนตายเวียนเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ก็ไม่ ปรากฏเบื้องต้นฉะนั้น"
"แก้ถูกดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"




ปัญหาที่ ๑๐ ถามถึงเหตุที่ให้ระลึกถึงสิ่งที่ล่วงแล้วได้

"ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลระลึกถึงสิ่งที่ ล่วงไปนานแล้วได้ด้วยอะไร? "
"ได้ด้วย สติ ขอถวายพระพร"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่ล่วงไปนานแล้วนั้น บุคคลระลึกได้ด้วย จิต ต่างหาก ไม่ใช่ ระลึกได้ด้วยสติ"
"ขอถวายพระพร มหาบพิตรทําสิ่งใด สิ่งหนึ่งไว้แล้ว ระลึกไม่ได้มีอยู่หรือไม่? "
"มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า"
"ขอถวายพระพร ในเวลานั้นพระองค์ไม่มี จิตหรือ? "
"จิตมี แต่เวลานั้นสติไม่มี"
"ถ้าอย่างนั้น ขอมหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า บุคคลระลึกได้ด้วย สติ ไม่ใช่ระลึก ได้ด้วย จิต"
"ถูกดีแล้ว พระนาคเสน"




ปัญหาที่ ๑๑ ถามถึงผู้มีสติ

"ข้าแต่พระนาคเสน สติทั้งหลายย่อมเกิด แก่ผู้รู้ยิ่งจําพวกเดียว หรือว่าเกิดแก่กุฏุมพี ด้วย? "
"ขอถวายพระพร เกิดแก่ผู้รู้ยิ่งด้วย เกิดแก่กุฏุมพีด้วย"
"แต่โยมมีความเห็นว่าไม่ใช่อย่างนั้น สติทั้งหลายเกิดแก่ผู้รู้ยิ่งจําพวกเดียว ไม่ได้เกิดแก่กุฏุมพีเลย"
"ขอถวายพระพร ถ้ากุฏุมพีไม่มีสติ สิ่งที่ ควรทําในเรื่องศิลปะ การงาน วิชาการ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ต้องไม่มี พวกอาจารย์ก็ต้อง ไม่มีประโยชน์ แต่เพราะกุฏุมพีมีสติ จึงมี สิ่งที่ควรทําในเรื่องศิลปะ การงาน วิชาการ พวกอาจารย์จึงมีประโยชน์"
"กล่าวถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"

จบวรรคที่ ๖

◄ll กลับสู่ด้านบน




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 27/9/08 at 10:37 Reply With Quote


(Update 30 มี.ค. 52)

วรรคที่ ๗
ปัญหาที่ ๑ ถามอาการแห่งสติ


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า"ข้าแต่พระนาคเสน สติ เกิดขึ้นด้วย อาการเท่าใด ?"
พระนาคเสนตอบว่า"ขอถวายพระพร สติ เกิดขึ้นด้วยอาการ ๑๗ อย่าง คือ เกิดขึ้นด้วยการรู้ยิ่ง ๑ ด้วยทรัพย์ ๑ ด้วยวิญญาณอันยิ่ง ๑ ด้วย วิญญาณเกื้อกูล ๑ ด้วยวิญญาณไม่เกื้อกูล ๑ ด้วยนิมิตที่เหมือนกัน ๑ ด้วยนิมิตที่แปลกกัน ๑

ด้วยการรู้ยิ่งกถา ๑ ด้วยลักษณะ ๑ ด้วยการระลึก ๑ ด้วยการหัดคิด ๑ ด้วยการนับตามลําดับ ๑ ด้วยการจํา ๑ ด้วยการภาวนา ๑ ด้วยการจดไว้ ๑ ด้วยการเก็บไว้ ๑ ด้วยการเคยได้พบเห็น ๑

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้อว่า สติเกิดขึ้นด้วยการรู้ยิ่งนั้น คืออย่างไร ?"
"ขอถวายพระพร สติเกิดขึ้นด้วยการรู้ ยิ่งนั้น เช่นกับผู้ที่ระลึกชาติได้ และสติของ พระอานนท์ อันฟังพระสูตรครั้งเดียวจําไว้ได้ และสติของ นางขุชชุตตราอุบาสิกา ฟังพระ สัทธรรมเทศนาครั้งเดียวก็จําได้ แล้วมาแสดง ให้ผู้อื่นฟังได้ถ้วนถี่"

"ข้อว่า สติเกิดขึ้นด้วยทรัพย์นั้น คืออย่างไร ?"
"ขอถวายพระพร คือคนขี้หลงขี้ลืมย่อมมีอยู่ เวลาเห็นคนเหล่าอื่นเก็บทรัพย์ของเขาไว้ ก็นึกถึงทรัพย์ของตนได้ จึงเรียกว่าสติเกิดขึ้น ด้วยทรัพย์"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยวิญญาณอันยิ่งนั้น คืออย่างไร ?"
"ขอถวายพระพร เหมือนอย่างพระราชา ผู้ได้รับอภิเษกใหม่ หรือผู้ได้สําเร็จโสดาปัตติผล ย่อมมีความรู้สึกดีใจอย่างยิ่ง ความดีใจนั้น ทําให้เกิดสติ นึกถึงสิ่งต่าง ๆ ได้"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยวิญญาณเกื้อกูลนั้น คืออย่างไร ?"
"ขอถวายพระพร บุคคลได้รับความสุขในที่ใด ก็ระลึกได้ว่า ตนได้รับความสุขในที่นั้น"

"ข้อว่า สติเกิดขึ้นด้วยวิญญาณอันไม่เกื้อกูลนั้น คืออย่างไร ?"
"ขอถวายพระพร บุคคลได้รับความทุกข์ในที่ใด ก็ระลึกได้ว่า เราได้รับความทุกข์ในที่นั้น"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยนิมิตที่เหมือนกันนั้น คืออย่างไร ?"
"ขอถวายพระพร คือบุคคลได้เห็นผู้ เหมือนกันกับมารดาบิดา พี่ชาย พี่สาว หรืออูฐ โค ลา ของตนแล้ว ก็ระลึกถึงมารดาบิดา พี่ชาย พี่สาว อูฐ โค ลา ของตนได้"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยนิมิตที่แปลกกันนั้น คืออย่างไร ?"
"ขอถวายพระพร คือเมื่อได้รู้เห็น สี กลิ่น รส สัมผัส ของผู้ที่แปลกกัน หรือสิ่งที่แปลกกัน ก็ระลึกได้ถึงสิ่งนั้น ๆ บุคคลนั้น ๆ เช่น เห็นคนขาว ก็นึกได้ถึงคนดําเป็นตัวอย่าง

"ข้อว่า สติเกิดขึ้นด้วยการรู้ยิ่งซึ่งกถานั้น คืออย่างไร ?"
"ขอถวายพระพร ได้แก่ผู้ขี้หลงขี้ลืม เวลาที่มีผู้อื่นตักเตือนก็นึกได้"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยลักษณะนั้น คือ อย่างไร ?"
"คือเกิดขึ้นด้วยได้รู้เห็นลักษณะแห่งคนหรือสัตว์นั้น ๆ เช่น ได้เห็นโคของผู้อื่นที่มี ลักษณะเหมือนโคของตัว ก็นึกถึงโคของตัวได้"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยการระลึกนั้น คืออย่างไร ?"
"คือคนขี้หลงขี้ลืมมีผู้เตือนให้ระลึกแล้วๆ เล่า ๆ ก็ระลึกได้"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยการหัดคิดนั้น คืออย่างไร ?"
"คือผู้ได้เรียนหนังสือแล้วย่อมรู้ได้ว่า อักษรตัวนี้ควรไว้ในระหว่างอักษรตัวนี้ ส่วนอักษรตัวนี้ควรไว้ติดกันกับอักษรตัวนี้"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยการนับนั้น คืออย่างไร ?"
"คือธรรมดาผู้นับย่อมระลึกถึงสิ่งต่างๆได้มาก เพราะเมื่อนับดูก็ย่อมนึกได้ถึงสิ่งนั้นๆ"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยการจํานั้น คืออย่างไร ?"
"คือผู้จําดีก็นึกถึงสิ่งต่าง ๆ ได้"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยการภาวนานั้น คืออย่างไร ?"
"คือผู้ได้อบรมปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ย่อมระลึกชาติหนหลังได้"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยการจดไว้นั้น คืออย่างไร ?"
"คือเมื่อได้อ่านดูสิ่งที่ตนจดไว้ก็นึกได้"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยการเก็บไว้นั้น คืออย่างไร ?"
"คือได้เห็นของที่ตนเก็บไว้แล้วจึงนึกได้"

"ข้อว่า สติเกิดด้วยการเคยพบเห็นนั้น คืออย่างไร ?"
"คือระลึกได้ด้วยได้เคยพบเห็นมาก่อน อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่า สติเกิดด้วย อาการ ๑๗ อย่างนี้"
"ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน"




ปัญหาที่ ๒


ถามเรื่องทําบาปทําบุญ


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า "ข้าแต่พระนาคเสน คําว่า ผู้ใดทําบาปกรรมตั้ง ๑๐๐ ปี แต่เวลาจะตายได้สติ นึกถึง พระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว ก็ได้ไปเกิดใน สวรรค์ ดังนี้ ข้อนี้โยมไม่เชื่อ อีกคําหนึ่งว่า ทําปาณาติบาตเพียงครั้งเดียว ก็ไปเกิดในนรกได้ ข้อนี้โยมก็ไม่เชื่อ"

พระนาคเสนตอบว่า "ขอถวายพระพร ก้อนหินเล็ก ๆ ทิ้งลงไปในน้ำ จะลอยขึ้นบนน้ำได้ไหม ?"
"ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า"

"ก้อนหินตั้ง ๑๐๐ เล่มเกวียน เขาขนลงบรรทุกเรือ เรือจะลอยอยู่บนน้ำได้ไหม ?"
"ได้ พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร บุญกุศลเปรียบเหมือนเรือ เพราะธรรมดาเรือของพวกพ่อค้า มีภาระหนักหาประมาณมิได้ บรรทุกของหนักเกิน ไปก็จมลงในน้ำฉันใด คนที่ทําบาปทีละน้อย ๆ จนบาปมากขึ้น ก็จมลงไปในนรกได้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่วิดน้ำเรือทําให้เรือเบา ก็จะข้ามฟากไปถึงท่า คือนิพพานได้ฉันนั้น ขอถวายพระพร"

"ถูกดีแท้ พระผู้เป็นเจ้า"




ปัญหาที่ ๓


ถามเรื่องการดับทุกข์ใน ๓ กาล

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า "ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าพยายามละทุกข์ที่เป็นอดีตหรืออย่างไร ?"
พระนาคเสนตอบว่า "หามิได้ ขอถวายพระพร"

"ถ้าอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าพยายามละทุกข์อนาคตอย่างนั้นหรือ ?"
"หามิได้ ขอถวายพระพร"

"ถ้าอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าพยายามละทุกข์ปัจจุบันอย่างนั้นหรือ ?"
"หามิได้ ขอถวายพระพร"

"ถ้ามิได้พยายามละทุกข์ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันแล้ว พยายามเพื่ออะไร ?"
"ขอถวายพระพร พยายามเพื่อให้ทุกข์ที่มีอยู่ดับไป และเพื่อไม่ให้ทุกข์ใหม่เกิดขึ้น"

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ทุกข์อนาคตมีอยู่ หรือ ?"
"มี มหาบพิตร"

"ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลเหล่าใด พยายามเพื่อละสิ่งที่ยังไม่มี บุคคลเหล่านั้น เป็นบัณฑิตเกินไปเสียแล้ว"



อุปมาป้องกันภัยจากข้าศึก

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยมีอริราชศัตรูหรือไม่ ?"
"เคยมี พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร เมื่อมีอริราชศัตรูที่จะมาจู่โจมบ้านเมืองเกิดขึ้น มหาบพิตรจึงโปรดให้ ขุดคู สร้างกําแพง สร้างประตูเมือง สร้างป้อม ขนเสบียงอาหารเข้ามาไว้ในพระนครเวลานั้นหรือ ?"
"หามิได้ ต้องเตรียมไว้ก่อน"

"พระองค์ทรงให้ฝึกหัดช้าง ม้า รถ ธนู ดาบ หอก เวลานั้นหรือ ?"
"หามิได้ ต้องฝึกหัดไว้ก่อน"

"ขอถวายพระพร ที่ทําดังนั้นเพื่ออะไร ?"
"ทําไว้เพื่อป้องกันภัยอนาคตน่ะซิ"

"ขอถวายพระพร ภัยอนาคตมีอยู่หรือ ?"
"มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร พวกใดตกแต่งบ้านเมือง ไว้เพื่อละภัยอนาคต พวกนั้นก็เป็นบัณฑิตเกินไปน่ะซิ"
"ขอนิมนต์อุปมาด้วย"



อุปมาป้องกันความกระหายน้ำ

"ขอถวายพระพร เมื่อใดมหาบพิตร อยากเสวยน้ำ เมื่อนั้นมหาบพิตรจึงโปรดให้ ขุดบ่อน้ำ ขุดสระโบกขรณี ขุดเหมือง ขุดบ่อ อย่างนั้นหรือ ?"
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า สิ่งเหล่านั้น ต้องทําไว้ก่อนทั้งนั้น"

"ขอถวายพระพร ทําไว้เพื่ออะไร ?"
"ทําไว้เพื่อละความกระหายน้ำน่ะซิ"

"ขอถวายพระพร ความกระหายน้ำอนาคต มีอยู่หรือ ?"
"มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร พวกที่ตระเตรียมการณ์ไว้เพื่อละความกระหายน้ำ อันยังไม่มีอยู่นั้น ก็เป็นบัณฑิตเกินไปน่ะซิ"
"ขอนิมนต์อุปมาอีก"



อุปมาป้องกันความหิว

"ขอถวายพระพร เมื่อมหาบพิตรทรงหิว พระกระยาหาร จึงโปรดให้ไถนา หว่านข้าว ปลูกข้าวอย่างนั้นหรือ ?"
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ต้องให้ทําไว้ก่อนทั้งนั้น"

"ขอถวายพระพร ทําไว้เพื่ออะไร ?"
"ทําไว้เพื่อป้องกันความหิวอนาคตน่ะซิ"

"ขอถวายพระพร ความหิวอนาคตมีอยู่หรือ ?"
"มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรที่โปรดให้ทําสิ่งนั้น ๆ ไว้ เพื่อป้องกันความหิวอันยังไม่มีอยู่ ก็เป็นบัณฑิตเกินไปน่ะซิ"
"พระผู้เป็นเจ้ากล่าวสมควรแล้ว"



ข้อวินิจฉัย

ปัญหานี้สลับซับซ้อนในข้อที่ว่า ทําไมพระนาคเสนจึงปฏิเสธว่า มิได้พยายามละทุกข์ ที่เป็น อดีต อนาคต และปัจจุบัน แต่ท่านรับ
ว่า พยายามเพื่อให้ทุกข์ที่มีอยู่ดับไป และเพื่อไม่ให้ทุกข์ใหม่เกิดขึ้น

ปัญหาต่อไปพระเจ้ามิลินท์ถามว่า ทุกข์ อนาคต (ที่ยังไม่มาถึง) มีอยู่หรือ ? ต้นฉบับ ส.ธรรมภักดี ตอบว่า "มี" แต่ฉบับพิสดารกลับตอบว่า "ไม่มี" แล้วพระองค์ทรงตรัสเย้ยพระนาคเสนว่าฉลาดเกินไป ที่พยายามละสิ่งที่ยังไม่มีอยู่ในเวลานี้

พระนาคเสนจึงย้อนกลับ โดยยกอุปมาภัยของข้าศึก และภัยจากความหิวในอนาคต ซึ่งจะต้องมีการเตรียมพร้อมไว้ก่อน จากการเปรียบเทียบพอจะวินิจฉัยได้ว่า "ภัยในอนาคต" ก็เหมือน "ทุกข์ในอนาคต" อันได้แก่ ความแก่ เจ็บ และตาย เป็นต้น ที่จะมีมาในอนาคต จึงเป็นไปได้ว่า "ความ ทุกข์ในอนาคต" น่าจะมีอยู่

อีกทั้งหลักฐานจากคําบาลี พระนาคเสนถามว่า "อัตถิ ปน มหาราช อนาคตภยัง" แปลว่า "ภัยอนาคตมีอยู่หรือไม่ ?" พระเจ้า
มิลินทร์ตรัสตอบว่า "อัตถิ ภันเต" ซึ่งหมายความว่า "มี" ดังนี้




ตอนที่ ๑๑


ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องความไกลแห่งพรหมโลก


"ข้าแต่พระนาคเสน พรหมโลกไกลจากโลกนี้สักเท่าไร ?"
"ขอถวายพระพร พรหมโลกไกลจากโลกนี้มาก ถ้ามีผู้ทิ้งก้อนศิลาโตเท่าปราสาทลงมาจากพรหมโลก ก้อนศิลานั้นจะตกลงมาได้ วันละ ๔๘,๐๐๐ โยชน์ ต้องตกลงมาถึง ๔ เดือน จึงจะถึงพื้นดิน"

"ข้าแต่พระนาคเสน มีคํากล่าวว่า ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ผู้มีอํานาจทางจิต หายวับจากชมพูทวีปนี้ ขึ้นไปปรากฏในพรหมโลกได้เร็วพลัน เหมือนกันกับบุรุษผู้มีกําลังคู้แขนเหยียดแขนฉะนั้น ดังนี้โยมไม่เชื่อ เพราะถึงเร็วอย่างนั้น ก็จักไปได้เพียงหลายร้อยโยชน์เท่านั้น"

"ขอถวายพระพร ชาติภูมิ (ถิ่นกําเนิด) ของมหาบพิตรอยู่ที่ไหน ?"
"อยู่ที่เกาะอลสัณฑะ พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร เกาะอลสัณฑะไกล จากที่นี้สักเท่าไร ?"
"ไกลประมาณ ๒๐๐ โยชน์"

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้ในที่นั้น แล้วเคยนึกถึงมีอยู่หรือ ?"
"มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรนึกไปถึงที่ไกลประมาณ ๒๐๐ โยชน์ ได้โดยเร็วพลัน ไม่ใช่หรือ ?"
"ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"



อธิบาย

ในอรรถกถาสังยุตตนิกาย ท่านกล่าวไว้ว่า ก้อนศิลาขนาดใหญ่ถูกทิ้งให้ตกลงมาจากพรหมโลกชั้นต่ำ ก้อนศิลานั้นตกลงมาวันคืนหนึ่ง เป็นระยะ ๔๘,๐๐๐ โยชน์ จึงจะถึง พื้นดินเป็นเวลา ๔ เดือน เพราะเหตุนั้น ระยะทางระหว่างพรหมโลกชั้น พรหมปาริสัชชา ถึงพื้นดิน บัณฑิต ผู้ทราบนัย พึงทราบว่าเป็น ๕,๗๖๐,๐๐๐ โยชน์ ดังนี้




ปัญหาที่ ๕


ถามถึงความไปเกิดในพรหมโลกและเมืองกัสมิระ


"ข้าแต่พระนาคเสน ถ้ามีคน ๒ คน ตายจากที่นี้แล้วไปเกิดในที่ต่างกัน คือคนหนึ่งขึ้นไปเกิดในพรหมโลก อีกคนหนึ่งไป
เกิดในเมืองกัสมิระ คนสองคนนี้ คนไหนจะไปช้าไปเร็วกว่ากัน ?"
"ขอถวายพระพร เท่ากัน"
"ขอนิมนต์อุปมาด้วย"

"ขอถวายพระพร ชาติภูมิของมหาบพิตร อยู่ที่ไหน ?"
"อยู่ที่กาลสิรคาม"

"ขอถวายพระพร กาลสิรคามอยู่ไกลจากที่นี้สักเท่าไร ?"
"ประมาณ ๒๐๐ โยชน์ พระผู้เป็นเจ้า"

"เมืองกัสมิระไกลจากที่นี้สักเท่าไร ?"
"ประมาณ ๑๒ โยชน์ พระผู้เป็นเจ้า"

"เชิญมหาบพิตรนึกถึงกาลสิรคามดูซิ"
"โยมนึกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"

"เชิญมหาบพิตรนึกถึงเมืองกัสมิระดูซิ"
"โยมนึกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร ทางไหนนึกถึงช้าเร็ว กว่ากันอย่างไร ?"
"เท่ากัน พระผู้เป็นเจ้า"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ที่ ขึ้นไปเกิดในพรหมโลก กับผู้ที่ไปเกิดในเมืองกัสมิระ เร็วเท่ากัน ไปถึงพร้อมกัน"
"ขอนิมนต์อุปมาอีก"




อุปมาด้วยเงาของนก

"ขอถวายพระพร ถ้ามีนก ๒ ตัว บิน มาจับต้นไม้พร้อมกัน ตัวหนึ่งจับต่ำ ตัวหนึ่งจับสูง เงาของนกตัวไหนจะถึงพื้นดินก่อนกัน"
"ถึงพร้อมกัน พระผู้เป็นเจ้า"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร"
"ขอนิมนต์อุปมาอีก"



อุปมาด้วยการแลดู

"ขอถวายพระพร ขอได้โปรดแลดูอาตมา"
"โยมแลดูแล้ว"

"ขอได้โปรดแหงนดู ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์"
"โยมแหงนดูแล้ว"

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรแลดูอาตมา กับแลดูดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อันอยู่ไกลถึง ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ข้างไหนจะเร็วช้ากว่ากัน ?"
"เท่ากัน พระผู้เป็นเจ้า"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ที่ขึ้นไปเกิดในพรหมโลก กับผู้ที่ไปเกิดในเมืองกัสมิระ ไปถึงพร้อมกัน"
"แก้เก่งมาก พระนาคเสน"




ปัญหาที่ ๖


ถามถึงวรรณะสัณฐานของผู้ไปเกิดในโลกอื่น


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามอีกว่า "ข้าแต่พระนาคเสน โยมจักถามถึงเหตุอันยิ่งขึ้นไป คือผู้ไปสู่โลกอื่น ไปด้วยสีเขียว แดง เหลือง ขาว แสด เลื่อม อย่างไร..หรือ ไปด้วยเพศช้าง ม้า รถ อย่างไร ?"
"ขอถวายพระพร ข้อนี้พระพุทธเจ้ามิได้ทรงบัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกพุทธวจนะ"

พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า "ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระสมณโคดม ไม่บัญญัติไว้ว่า ผู้ไปเกิดในโลกอื่น ในระหว่างทางนั้นต้องมีสีเขียว หรือสีเหลือง แดง ขาว แสด เลื่อม อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จะว่าพระสมณโคดมทรงรู้จักทุกสิ่งได้หรือ... คําของ คุณาชีวก ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่กล่าวไว้ว่า ผู้ไปสู่โลกอื่นไม่มี ก็ต้องเป็นของจริง ผู้ใดกล่าวว่า โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี ผู้ไปเกิดในโลกอื่นไม่มี ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่ากล่าวถูก ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิต"

พระนาคเสนตอบว่า "ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรจงตั้ง พระทัยฟังถ้อยคําของอาตมภาพ"
"โยมตั้งใจฟังอยู่แล้ว"

"ขอถวายพระพร ถ้อยคําของอาตมภาพ ที่พ้นออกไปจากปาก ไปถึงพระกรรณของมหาบพิตรนั้น ในระหว่างที่ยังไปไม่ถึงนั้น
เสียงของอาตมภาพมีสีอย่างไร มีทรวดทรง อย่างไร ?"
"เห็นไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร ถ้ามหาบพิตรว่าเห็นไม่ได้ เสียงของอาตมภาพก็ไม่ไปถึงพระกรรณของมหาบพิตร มหาบพิตรก็ตรัสคําเหลาะแหละน่ะซิ"
"โยมไม่ได้พูดเหลาะแหละ ถึงถ้อยคําของพระผู้เป็นเจ้าไม่ปรากฏสีเขียว หรือสีเหลืองในระหว่างทางก็จริง แต่ถ้อยคําของพระผู้เป็นเจ้า ก็มาถึงโยมจริง"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ถึงผู้ไปเกิดในโลกอื่นนั้น จะไม่ปรากฏสีเขียว หรือสีเหลืองในระหว่างทางก็จริง แต่ผู้ไปเกิดในโลกอื่นนั้นก็มีอยู่ เหมือนกับถ้อยคําของอาตมา"

"น่าอัศจรรย์ พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าจงเสวยราชสมบัติใหญ่ในชมพูทวีปทั้งสิ้นนี้เถิด เพราะขันธ์ ๕ นี้ไม่ได้ไปสู่โลกอื่น ขันธ์ ๕ ไม่มีอะไรตกแต่ง เกิดขึ้นเอง สงสารก็ไม่มี"



อุปมาด้วยการทํานา

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยโปรดให้ทํานาหรือไม่ ?"
"อ๋อ...เคยให้ทํา"

"ขอถวายพระพร ข้าวสาลีที่ปลูกลงในพื้นดินย่อมมีรวงงอกขึ้น เมื่อรวงข้าวสาลีงอกขึ้น จะว่างอกขึ้นเองหรืออย่างไร ?"
"ข้าแต่พระนาคเสน ข้าวสาลีที่ปลูกลงในพื้นดินย่อมมีรวงงอกขึ้น จะว่างอกขึ้นเอง ไม่มีผู้ใดกระทําไม่ได้"

"ขอถวายพระพร ถ้าข้าวสาลีที่ปลูกลงในพื้นดิน ยังไม่มีรวงงอกขึ้น เมื่อรวงยังไม่งอกขึ้น จะว่าไม่มีผู้ปลูก จะว่าข้าวสาลีไม่มีจะได้หรือไม่ ?"
"ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ถ้าขันธ์ ๕ นี้ไปเกิดเอง คนตาบอดก็จะเกิดเป็นคนตาบอดอีก คนใบ้ก็จะเกิดเป็นคนใบ้อีก บุญก็ไม่มีประโยชน์อันใด ถ้าขันธ์ ๕ ไม่มีสิ่งใดตกแต่ง เป็นของเกิดขึ้นเอง ขันธ์ ๕ ก็จะ ต้องไปนรกด้วยอกุศลกรรม"
"ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้น"



อุปมาด้วยการจุดประทีป

"ขอถวายพระพร เหมือนอย่างมีผู้เอาประทีปมาจุดต่อกัน เปลวประทีปดวงเก่า ก้าวไปสู่ประทีปดวงใหม่หรืออย่างไร ประทีปทั้งสองนั้น มีขึ้นเองไม่มีผู้กระทําอย่างนั้นหรือ ?"
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ขันธ์ ๕ นี้ไม่ได้ไปสู่โลกอื่น ขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีสิ่งใดทําให้เกิดขึ้น"

"ข้าแต่พระนาคเสน เวทนาขันธ์ ไปสู่โลกอื่นหรือ ?"
"ขอถวายพระพร ถ้าเวทนาขันธ์ไปสู่โลกอื่น ผู้ที่ไปเกิดในโลกอื่น ก็คือเวทนาขันธ์อย่าง นั้นซิ ?"
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร เพราะเหตุนั้นแหละ มหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า เวทนาขันธ์ ในอัตภาพนี้ไม่ได้ไปสู่โลกอื่น"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สัญญาขันธ์ ไปสู่ โลกอื่นหรือ ?"

"ขอถวายพระพร ถ้าสัญญาขันธ์ไปสู่โลกอื่น ผู้มีมือด้วนเท้าด้วนในอัตภาพนี้ ไปสู่โลกอื่นแล้ว ก็จะต้องมีมือด้วนเท้าด้วนอีกหรืออย่างไร ?"
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า"

"เพราะเหตุนั้นแหละ มหาบพิตรจงเข้า พระทัยเถิดว่า สัญญาขันธ์ในอัตภาพนี้ ไม่ได้ไปสู่โลกอื่น"
"ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก"



อุปมาด้วยกระจก

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรมีกระจกส่องพระพักตร์หรือไม่ ?"
"มี พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรจงทรงหยิบ เอากระจกมาวางไว้ตรงพระพักตร์มหาบพิตร"
"โยมหยิบมาตั้งไว้แล้ว"

"ขอถวายพระพร ดวงพระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระทนต์ ของมหาบพิตร ปรากฏอยู่ในกระจกนี้เอง หรือว่ามหาบพิตรทรงกระทําให้ปรากฏ ?"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดวงตา หู จมูก ฟัน ของโยมปรากฏอยู่ในวงกระจกนี้ ด้วยโยมกระทําขึ้น"

"ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นเป็นอันว่า มหาบพิตรได้ควักเอาพระเนตร ตัดเอาพระกรรณ พระนาสิก และถอนเอาพระทนต์ของมหาบพิตร เข้าไปไว้ในกระจกแล้ว มหาบพิตรก็เป็นคนตาบอด ไม่มีพระนาสิกและพระทนต์ อย่างนั้นซิ ?"
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า เงาปรากฏในกระจก เพราะอาศัยโยมกระทําขึ้น ไม่ใช่ว่าเพราะโยมไม่ได้กระทําขึ้น"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ไม่ใช่ว่าขันธ์ ๕ นี้ไปสู่โลกอื่น ทั้งไม่ใช่ว่าขันธ์ ๕ ไม่มีสิ่งกระทําเป็นของเกิดขึ้นเอง สัตว์ถือกําเนิดในครรภ์มารดาด้วยกุศลกรรม อกุศลกรรม ที่ตนกระทําไว้ เพราะอาศัยขันธ์ ๕ นี้แหละ จึงเหมือนเงาปรากฏในกระจก เพราะอาศัยการกระทําของมหาบพิตร ฉะนั้น"
"ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน"




ปัญหาที่ ๗


ถามเรื่องถือกําเนิดในครรภ์มารดา


"ข้าแต่พระนาคเสน เมื่อสัตว์จะเข้าถือกําเนิดในท้องมารดา เข้าไปทางทวารไหน ?"
"ขอถวายพระพร ไม่ปรากฏว่าเข้าไปทาง ทวารไหน"
"ขอนิมนต์อุปมาด้วย"

"ขอถวายพระพร หีบแก้วของมหาบพิตร มีอยู่หรือ ?"
"มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร ขอจงนึกเข้าไปในหีบแก้วดูซิ"
"โยมนึกเข้าไปแล้ว"

"ขอถวายพระพร จิตของมหาบพิตรที่ นึกเข้าไปในหีบแก้วนั้น เข้าไปทางไหน ?"
"ข้าแต่พระนาคเสน จิตของโยมไม่ปรากฏว่านึกเข้าไปทางไหน"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร สัตว์ที่ข้าไปถือกําเนิดในท้องมารดา ก็ไม่ปรากฏว่าเข้าไปทางไหนฉะนั้น"
"ข้าแต่พระนาคเสน การที่พระผู้เป็นเจ้า แก้ปัญหาปฏิภาณอันวิจิตรยิ่งนี้ได้เป็นอัศจรรย์นักหนา ถ้าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่
คงจะประทานอนุโมทนาสาธุการเป็นแน่แท้"




ปัญหาที่ ๘


ถามเรื่องโพชฌงค์ ๗


"ข้าแต่พระนาคเสน โพชฌงค์ มีเท่าไร ?"
"ขอถวายพระพร มี ๗ ประการ"

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บุคคลตรัสรู้ด้วย โพชฌงค์เท่าไร ?"
"ขอถวายพระพร บุคคลตรัสรู้ด้วยโพชฌงค์ข้อเดียว"

"คือข้อไหน พระผู้เป็นเจ้า ?"
"ขอถวายพระพร คือข้อ ธัมมวิจยสัม โพชฌงค์" (ใคร่ครวญธรรมะ)

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ไว้ทําไม ?"
"ขอถวายพระพร พระองค์จะเข้าพระทัย ความข้อนี้อย่างไร...คือดาบที่บุคคลสวมไว้ในฝัก บุคคลไม่ได้ชักออกจากฝัก อาจตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ขาดได้หรือ ?"
"ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ บุคคลปราศจาก ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ แล้ว ตรัสรู้ด้วยโพชฌงค์ ๖ ไม่ได้"
"ถูกแล้ว พระนาคเสน"



อธิบาย

โพชฌงค์ คือองค์เป็นเครื่องตรัสรู้มี ๗ ประการ ดังนี้
๑. สติ ระลึกนึกไว้เสมอ
๒. ธัมมวิจยะ ใคร่ครวญธรรมะที่เราจะปฏิบัติ
๓. วิริยะ มีความเพียรต่อสู้กับอุปสรรค
๔. ปีติ สร้างความอิ่มเอิบใจให้ปรากฏกับจิต
๕. ปัสสัทธิ ความสงบ คือสงบจากนิวรณ์ หรือสงบจากกิเลส
๖. สมาธิ มีความตั้งใจมั่น
๗. อุเบกขา ทรงอารมณ์เดียวเข้าไว้ ไม่ยอมรับทราบอารมณ์อื่นเข้ามาสนใจ




ปัญหาที่ ๙


ถามถึงความมากกว่ากัน แห่งบาปและบุญ


"ข้าแต่พระนาคเสน บุญและบาปข้างไหน มากกว่ากัน ?"
"ขอถวายพระพร บุญมากกว่าบาป บาปน้อยกว่า"

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ทําไมจึงว่าบุญมากกว่า บาปน้อยกว่า ?"
"ขอถวายพระพร บุคคลทําบาปแล้ว ย่อมร้อนใจในภายหลังว่า เราได้ทําบาปไว้แล้ว เพราะเหตุนั้นบาปก็ไม่ได้มากขึ้น
ส่วนบุญเมื่อบุคคลทําเข้าแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีแต่เกิดปราโมทย์ ปีติ ใจสงบ มีความสุข จิตเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้น บุญจึงมากขึ้น ดังมีบุรุษผู้มีมือมีเท้าขาดแล้ว ได้บูชาพระด้วยดอกบัวเพียงกําเดียว ก็จักได้เสวยผลถึง ๙๑ กัป ด้วยเหตุนี้แหละ จึงว่าบุญมากกว่า ขอถวายพระพร"
"ชอบแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"




ปัญหาที่ ๑๐


ถามถึงการทําบาปแห่งผู้รู้กับผู้ไม่รู้

"ข้าแต่พระนาคเสน สมมุติว่ามีคน ๒ คน คนหนึ่งรู้จักบาป อีกคนหนึ่งไม่รู้จัก แต่กระทําบาปด้วยกันทั้งสองคน ข้างไหนจะได้บาปมากกว่ากัน ?"
"ขอถวายพระพร ข้างไม่รู้จักได้บาปมากกว่า"

"ข้าแต่พระนาคเสน ราชบุตรของโยม หรือราชมหาอํามาตย์คนใดรู้ แต่ทําผิดลงไป โยมลงโทษแก่ผู้นั้นเป็นทวีคูณ"
"ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างไร..คือสมมุติว่ามีคน ๒ คน จับก้อนเหล็กแดงเหมือนกัน คนหนึ่งรู้ว่าเป็นก้อนเหล็กแดง อีกคนหนึ่งไม่รู้ คนไหนจะจับแรงกว่ากัน ?"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คนไม่รู้จับแรงกว่า"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ไม่ รู้บาปได้บาปมากกว่า"
"ชอบแล้ว พระนาคเสน"




ปัญหาที่ ๑๑


ถามถึงผู้ที่ไปอุตตรกุรุทวีปและสวรรค์

"ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ไปสู่อุตตรกุรุทวีป หรือพรหมโลก หรือไปทวีปอื่นด้วยกายนี้มีอยู่ หรือ ?"
"ขอถวายพระพร มีอยู่"
"ข้อนี้คืออย่างไร พระผู้เป็นเจ้า ?"

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยกระโดดที่แผ่นดินนี้ได้คืบหรือศอก ?"
"อ๋อ...โยมเคยกระโดดได้ ๘ ศอก"

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรกระโดด อย่างไร...จึงได้ถึง ๘ ศอก ?"
"พอโยมคิดว่าจะกระโดด กายของโยมก็เบา โยมจึงกระโดดได้ถึง ๘ ศอก"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือภิกษุผู้มีฤทธิ์ มีอํานาจทางจิตภาวนา อธิษฐานจิต แล้ว ก็เหาะไปสู่เวหาสได้"
"ถูกแล้ว พระนาคเสน"




ปัญหาที่ ๑๒


ถามเรื่องกระดูกยาว

"ข้าแต่พระนาคเสน มีคํากล่าวว่า มีกระดูกยาวตั้ง ๑๐๐ โยชน์ โยมไม่เชื่อ เพราะต้นไม้ที่สูงตั้ง ๑๐๐ โยชน์ ก็ยังไม่มี กระดูกที่ไหนจักยาวตั้ง ๑๐๐ โยชน์"
"ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยได้ทรงสดับหรือไม่ว่า ปลาในมหาสมุทรตัวยาวตั้ง ๕๐๐ โยชน์มีอยู่ ?"
"เคยฟัง พระผู้เป็นเจ้า"

"ถ้าอย่างนั้น กระดูกของปลาที่มีตัวยาวตั้ง ๕๐๐ โยชน์ จักยาวตั้ง ๑๐๐ โยชน์มิใช่หรือ ?"
"ใช่แล้ว พระผู้เป็นเจ้า"




ปัญหาที่ ๑๓


ถามเรื่องเกี่ยวกับลมหายใจ


"ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลอาจทําลมหายใจให้ดับได้หรือ ?"
"ขอถวายพระพร ได้"
"ได้อย่างไร...พระผู้เป็นเจ้า ?"

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยได้ยินเสียงคนนอนกรนบ้างหรือ ?"
"อ๋อ...เคยซิ พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร เวลาเขาพลิกกายเสียงกรนเงียบไปไหม ?"
"เงียบไป พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร เสียงกรนนั้นเป็นเสียงของผู้ไม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิต แต่เมื่อพลิกตัวก็ยังหายไป ส่วนลมหายใจของผู้ได้อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต เข้าจตุตถฌาน จะไม่ดับหรือ... มหาบพิตร ?"
"ชอบแล้ว พระนาคเสน"



อธิบาย

คําว่า "จตุตถฌาน" ได้แก่ ฌาน ๔ ที่มีลักษณะดับความรู้สึกจากลมหายใจในขณะนั้น ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของผู้ที่เข้าฌาน ๔ มิใช่ว่าลมหายใจจะดับสิ้นไป ดังนี้




ปัญหาที่ ๑๔


ถามว่าอะไรเป็นสมุทร

"ข้าแต่พระนาคเสน มีคํากล่าวกันอยู่ว่า"สมุทร ๆ" น้ำหรือชื่อว่าสมุทร ?"
"ขอถวายพระพร น้ำเค็มมีอยู่ในที่เท่าใด ที่เท่านั้นแหละ เรียกว่าสมุทร"

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เหตุใดสมุทรจึงมีรสเดียว คือรสเค็ม ?"
"ขอถวายพระพร เพราะมีน้ำขังอยู่นานจึงเค็ม"
"สมควรแล้ว พระนาคเสน"




ปัญหาที่ ๑๕


ถามเรื่องการตัดสิ่งที่สุขุม

"ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลอาจตัดสิ่งที่สุขุมกว่าสิ่งทั้งหลายได้หรือ ?"
"ขอถวายพระพร ได้"

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อะไรชื่อว่าเป็นสิ่งสุขุมกว่าสิ่งทั้งหลาย"
"ขอถวายพระพร พระธรรม ชื่อว่า สุขุมกว่าสิ่งทั้งหลาย แต่ธรรมะไม่ใช่สุขุมไปทั้งหมด คือ สุขุมก็มี หยาบก็มี แต่ว่าสิ่งที่ควรตัดด้วยปัญญามีอย่างเดียว คือ ธรรมะ นอกจากนั้นไม่มี"
"ชอบแล้ว พระนาคเสน"




ปัญหาที่ ๑๖


ถามความวิเศษแห่งปัญญา


"ข้าแต่พระนาคเสน ปัญญา อยู่ที่ไหน ?"
"ขอถวายพระพร ปัญญาไม่ได้อยู่ที่ไหน"
"ถ้าอย่างนั้น ปัญญาก็ไม่มีน่ะซิ"

"ขอถวายพระพร ลมอยู่ที่ไหน ?"
"ลมไม่ได้อยู่ที่ไหน"

"ถ้าอย่างนั้น ลมก็ไม่มีน่ะซิ"
"ถูกแล้ว พระนาคเสน"




ปัญหาที่ ๑๗


ถามความต่างกันแห่งวิญญาณเป็นต้น


"ข้าแต่พระนาคเสน ปัญญา วิญญาณ ชีพในภูต เหล่านี้มีอรรถะ พยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถะอย่างเดียวกัน มีพยัญชนะ ต่างกัน ?"
"ขอถวายพระพร วิญญาณ มีการ รู้สึก เป็นลักษณะ ปัญญา มีการ รู้ทั่ว เป็นลักษณะ ชีพในภูต คือในผู้ที่เกิดแล้วไม่มี"

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าไม่มีชีพเป็นตัวเป็นตน ก็ใครเล่าเห็นรูปด้วยตา ได้ฟังเสียง ด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น สัมผัสด้วยกาย รู้จักอารมณ์ด้วยใจ ?"
"ขอถวายพระพร ถ้าชีพเห็นรูปด้วยตา ตลอดถึงรู้จักอารมณ์ด้วยใจแล้ว เมื่อเปิดตาขึ้น ชีพนั้นก็ต้องมีหน้าไปข้างนอก ต้องได้เห็นรูปดาวได้ดี เมื่อเปิดหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชีพนั้นก็ต้องหันหน้าไปภายนอก รู้จักอารมณ์ได้ดีอย่างนั้นหรือ ?"
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ชีพก็ไม่มี
ในภูต"
"ชอบแล้ว พระนาคเสน"



อธิบาย

คําว่า "อรรถะ" คือแปลมีความหมาย ส่วน "พยัญชนะ" คือแปลตามศัพท์ หรือ ที่เรียกกันว่า "แปลยกศัพท์" นั่นเอง




ปัญหาที่ ๑๘


ถามถึงเรื่องสิ่งที่ทําได้ยากของพระพุทธเจ้า


"ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งที่ทําได้ยากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทํานั้น ได้แก่อะไร ?"
"ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทําสิ่งที่ทําได้ยาก ได้แก่การทรงแสดงซึ่งธรรมอันไม่มีรูปร่าง อันมีอยู่ในจิตเจตสิก อันเป็นไปในอารมณ์อันเดียวเหล่านี้ได้ว่า อันนี้เป็นผัสสะ อันนี้เป็นเวทนา อันนี้เป็นสัญญา อันนี้เป็นเจตนา อันนี้เป็นจิต"
"ขอนิมนต์อุปมาด้วย"

"ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนกับบุรุษคนหนึ่งลงเรือไปที่มหาสมุทร วักน้ำขึ้นมาวางไว้ที่ลิ้น ก็รู้ว่านี้เป็นน้ำคงคา นี้เป็นน้ำยมนา นี้เป็นน้ำสรภู นี้เป็นน้ำอจิรวดี นี้เป็นน้ำมหิ ดังนี้ได้ เป็นของง่ายหรือยากล่ะ ?"
"เป็นของยาก พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร การที่พระพุทธเจ้าทรงบอกสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ที่มีในจิตใจ ที่เป็นอารมณ์อันเดียวกันว่า นี้เป็นผัสสะ นี้เป็นเวทนา นี้เป็นสัญญา นี้เป็นเจตนา นี้เป็นจิต ดังนี้ ยิ่งยากกว่านั้น"
"ถูกดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"




ปัญหาที่ ๑๙


พระเจ้ามิลินท์ทรงเลื่อมใส
ได้ปวารณาพระนาคเสน


พระนาคเสนถวายพระพรว่า "มหาบพิตรทรงทราบว่า เวลานี้เป็นเวลาอะไรแล้ว ?"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมทราบว่าเวลานี้เป็นเวลามัชฌิมยามแล้ว เพราะคบเพลิงสว่างไสว"

ขณะนั้นพวกเจ้าพนักงานก็นําผ้า ๕ พับมาถวาย ข้าราชการโยนกทั้งหลายก็ทูลขึ้นว่า "พระภิกษุองค์นี้ฉลาดมาก เป็นบัณฑิต
แท้ พระเจ้าข้า"
พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า "ถูกแล้ว..เธอทั้งหลาย ถ้ามีอาจารย์อย่างนี้ มีศิษย์อย่างนี้ ไม่ช้าก็ต้องรู้ธรรมะได้ดี"

พระเจ้ามิลินท์ทรงยินดีด้วยการแก้ปัญหาของพระนาคเสน จึงถวายผ้ากัมพลราคาแสนตําลึงแก่พระนาคเสนแล้วตรัสว่า
"ข้าแต่พระนาคเสน จําเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป โยมจะให้จัดอาหารไว้วันละ ๑๐๘ สํารับ สิ่งใดที่สมควรอันมีในพระราชวังนี้ โยมขอปวารณาพระผู้เป็นเจ้าทั้งนั้น"
"อย่าเลย มหาบพิตร อาตมภาพพอมีชีวิตอยู่ได้ก็แล้วกัน"

พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า "ข้าแต่พระนาคเสน โยมรู้ว่าพระผู้เป็นเจ้า พอมีชีวิตอยู่ได้ ก็แต่ว่าขอพระผู้เป็นเจ้าจงรักษาตัวของพระผู้เป็นเจ้า และรักษาตัวของโยมไว้

ข้อที่ว่า ขอให้พระผู้เป็นเจ้ารักษาตัวพระผู้เป็นเจ้าไว้นั้น คืออย่าให้มีผู้ติเตียนได้ว่า พระนาคเสนทําให้พระเจ้ามิลินท์ทรงเลื่อมใส แล้วก็ไม่ได้อะไร

ข้อที่ว่า ขอให้รักษาตัวโยมไว้นั้น คืออย่างไร...คืออย่าให้มีผู้กล่าวได้ว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงเลื่อมใสแล้ว ไม่ได้ทรงแสดงอาการเลื่อมใสแต่อย่างใด"

พระเถระจึงตอบว่า "แล้วแต่พระราชประสงค์"
พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พญาราชสีห์อันบุคคล ขังไว้ในกรงทองย่อมหันหน้าไปภายนอกฉันใด ถึงโยมจะอยู่ครองบ้านครองเมือง ก็หันหน้าไปภายนอกฉันนั้น ถ้าโยมออกไปบรรพชา ก็ จะมีชีวิตอยู่ไม่นาน เพราะศัตรูโยมมีมาก"




แสดงความชื่นชมต่อกัน

ครั้นพระนาคเสนเถระแก้ปัญหาพระเจ้ามิลินท์เสร็จแล้ว จึงกลับไปสู่สังฆาราม เมื่อพระนาคเสนกลับไปแล้วไม่ช้า พระเจ้ามิลินท์
ก็ทรงคิดดูว่า เราได้ถามเป็นอย่างไร พระผู้เป็นเจ้าแก้เป็นอย่างไร จึงทรงนึกได้ว่า สิ่งทั้งปวงเราก็ได้ถามดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้าก็ได้แก้ดีแล้ว

ฝ่ายพระนาคเสนก็นึกอย่างเดียวกันกับพระเจ้ามิลินท์ เช้าขึ้นจึงได้ครองจีวรสะพายบาตรเข้าไปที่พระราชนิเวศน์ แล้วนั่งลงบนอาสนะ

พระเจ้ามิลินท์กราบไหว้แล้ว จึงตรัสขึ้นว่า "ข้าแต่พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าอย่า คิดว่า โยมได้ถามปัญหาพระนาคเสนแล้ว พระผู้เป็นเจ้าย่อมให้ราตรีที่ยังเหลืออยู่ สิ้นไปด้วยความยินดีนั้น ขออย่าเห็นอย่างนี้

โยมได้นึกอยู่ตลอดราตรีว่า การถามของ เราเป็นอย่างไร การแก้ของพระผู้เป็นเจ้าเป็นอย่างไร ก็นึกได้ว่าเราถามดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้าแก้ดีแล้ว
พระเถระก็ตอบว่า "ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรอย่าคิดว่าอาตมภาพได้แก้ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์แล้ว มหาบพิตรย่อมทรงบรรทมหลับตลอด ราตรีที่ยังเหลืออยู่ด้วยความยินดีนั้น ขออย่า ทรงเห็นอย่างนี้ อาตมภาพได้คิดอยู่ตลอดราตรีที่ยังเหลืออยู่ว่า พระเจ้ามิลินท์ถามอะไรแล้ว เราได้แก้อะไรแล้ว ก็นึกได้ว่า พระเจ้ามิลินท์ได้ถามสิ่ง ทั้งปวงแล้ว เราก็ได้แก้สิ่งทั้งปวงแล้ว" เป็นอันว่า ปราชญ์ทั้งสองนั้น ได้แสดง ความชื่นชมยินดีต่อกันและกันอย่างนี้.

◄ll กลับสู่ด้านบน

( โปรดติดตามตอนต่อไป )




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 30/9/08 at 12:01 Reply With Quote


Upadate 27 ก.ย. 51

นอกวรรค

โคตรมีปัญหา เรื่องถวายผ้าของพระนางโคตมี


...พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า "ข้าแต่พระนาคเสน เมื่อ พระมหาปชาบดีโคตมี จะถวายผ้าคู่ใหม่แก่พระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ขอพระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว ก็จักเป็นอันบูชาแก่เราด้วย บูชาสงฆ์ด้วย" ดังนี้

โยมจึงขอถวามว่า พระตถาคตเจ้าไม่เป็นผู้มีพระคุณหนัก มีพระคุณวิเศษ เป็นผู้ควรแก่ถวายกว่าพระสงฆ์หรือ เพราะว่าผ้าคู่นั้น เป็นผ้าที่พระเจ้าแม่น้าทรงปลูกฝ้ายเอง เก็บเอง ดีดเอง ปั่นเอง กรอเอง ทอเอง ถ้าพระตถาคตเจ้ามีพระคุณยิ่งกว่า วิเศษกว่าพระสงฆ์แล้ว ก็จะต้องตรัสว่า
เมื่อถวายเราก็จักมีผลมาก ต้องไม่ให้ถวายสงฆ์ เพราะเหตุที่พระตถาคตเจ้าไม่ให้ถวายพระองค์ ให้ถวายแก่พระสงฆ์เสียนี้แหละ โยมจึงยังสงสัยอยู่ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแก้ไข ให้โยมสิ้นสงสัยเถิด"

พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า "เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้เป็นพระเจ้าแม่น้า น้อมนําผ้ามาถวายพระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า จงถวายสงฆ์ เมื่อถวายสงฆ์แล้ว เป็นอันชื่อว่า บูชาเราด้วย บูชาสงฆ์ด้วย

ที่ไม่ได้ทรงโปรดให้ถวายพระองค์นั้น ไม่ใช่เพราะพระองค์เป็นผู้ไม่ควรเคารพ หรือไม่ควรถวาย เป็นเพราะทรงเล็งเห็นประโยชน์ใน อนาคตว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จักเป็นที่สักการบูชา เมื่อจะทรงยกย่องคุณของสงฆ์ให้
ปรากฏ จึงได้ตรัสว่า ขอพระนางจงถวายสงฆ์ เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันชื่อว่าได้บูชาเรา ด้วย ได้บูชาสงฆ์ด้วย"




อุปมาเหมือนบิดายกย่องบุตร

"เปรียบเหมือนบิดาเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ย่อมยกย่องคุณความดีอันมีอยู่ของบุตร ในที่เฝ้าพระราชาซึ่งประทับในท่ามกลางของหมู่อํามาตย์ นายประตู หมู่โยธา ราชบริพาร ทั้งหลายให้ปรากฏ ด้วยคิดว่าต่อไปข้างหน้า บุตรของเราจักได้เป็นที่บูชาของคนทั้งหลาย

ข้อนี้มีอุปมาฉันใด พระตถาคตเจ้าเมื่อจะทรงยกย่องคุณของพระสงฆ์ให้ปรากฏ ด้วยทรงเล็งเห็นประโยชน์ในอนาคตว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จักเป็นที่บูชาของคนทั้งหลาย จึงได้ตรัสว่า
"จงถวายแก่สงฆ์ เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันบูชาเราด้วย บูชาสงฆ์ด้วย" ฉันนั้น

ขอถวายพระพร ไม่ใช่ว่าสงฆ์จะมีคุณยิ่งวิเศษกว่าพระตถาคตเจ้า เพียงด้วยเหตุที่โปรดให้ถวายผ้าเท่านั้น
อีกประการหนึ่ง มารดาบิดาย่อมให้บุตรนุ่งผ้า แต่งตัวให้บุตร อาบน้ำให้บุตรขัดสีให้บุตรเป็นธรรมดา บุตรเป็นผู้ยิ่งกว่าหรือวิเศษกว่ามารดาบิดา ด้วยเหตุเพียงมารดาบิดานุ่งผ้าให้ แต่งตัวให้ อาบน้ำให้ ขัดสีให้เท่านั้นหรือย่างไร ? "


"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่บุตรประเสริฐกว่ามารดาบิดาด้วยเหตุเพียงเท่านี้"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ไม่ใช่พระสงฆ์ยิ่งกว่า วิเศษกว่า ด้วยเหตุเพียงโปรดให้ถวายผ้าเท่านั้น แต่เมื่อพระตถาคตเจ้าจะทรงกระทําสิ่งที่ควรกระทําแก่สงฆ์ จึงโปรดให้ถวายผ้าแก่สงฆ์"



อุปมาเหมือนพระราชา

"อีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่ามีบุรุษคนใดคนหนึ่ง น้อมนําเครื่องบรรณาการมาถวายพระ ราชา พระราชาได้พระราชทานเครื่องบรรณาการนั้นแก่ข้าราชการ หรือทหาร หรือปุโรหิต คนใดคนหนึ่ง
ผู้ที่ได้รับพระราชทานนั้น จะได้ชื่อว่ายิ่งกว่า วิเศษกว่าพระราชา ด้วยเหตุเพียงได้รับพระราชทานของนั้นเท่านั้นหรืออย่างไร ? "
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือไม่ใช่พระสงฆ์เป็นผู้ยิ่งกว่า วิเศษกว่า พระตถาคตเจ้า ด้วยการให้ถวายผ้าเท่านั้น

อีกประการหนึ่ง พระสงฆ์ย่อมเกิดจากพระตถาคตเจ้า เมื่อพระตถาคตเจ้าจะตั้งพระ สงฆ์ไว้ในตําแหน่งควรบูชาแทนพระพุทธเจ้า จึงได้โปรดให้ถวายผ้า
อีกอย่างหนึ่ง พระตถาคตเจ้าทรงดําริว่า พระสงฆ์เป็นผู้ควรบูชาอยู่ตามความจริงแล้ว ไม่ใช่ว่าพระตถาคตเจ้าจะทรงยกย่องพระ สงฆ์ว่า เป็นผู้ควรบูชายิ่งกว่าพระองค์
อีกประการหนึ่ง ผู้ใดควรแก่การบูชา พระตถาคตเจ้าก็ทรงสรรเสริญการบูชาผู้นั้น

ดูก่อน มหาราชะ มหาบพิตรพระราชสมภาร องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นวิสุทธิเทพยิ่งกว่าเทพยดาอื่น เมื่อจะทรงยกย่องข้อปฏิบัติ คือความมักน้อยไว้ ก็ได้ตรัสไว้ใน คัมภีร์มัชฌิมนิกาย อันว่าด้วยธรรม ทายาทว่า

"ภิกษุองค์ก่อนโน้น เป็นผู้ควรบูชากว่า ควรสรรเสริญกว่า" ดังนี้ ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งในโลก จะยิ่งกว่า วิเศษกว่า พระตถาคตเจ้า พระตถาคตเจ้าเป็นผู้ควรแก่การถวายทาน เป็นผู้เยี่ยม เป็นผู้ยิ่ง"



ภาษิตสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า

"ดูก่อนมหาราชะ มีเทวบุตรองค์หนึ่ง ชื่อว่า มาณวคามิกะ ได้กล่าวขึ้นในท่ามกลาง เทพยดาและมนุษย์ ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า ว่า
"ภูเขาเวปุลลบรรพต เป็นภูเขาประเสริฐ กว่าภูเขาทั้งปวง อันมีในแขวงราชคฤห์ ภูเขาเสตบรรพต เป็นภูเขาใหญ่กว่าภูเขาทั้งหลายในป่าหิมพานต์

ดวงอาทิตย์ประเสริฐกว่าสิ่งที่มีในอากาศทั้งสิ้น มหาสมุทรใหญ่กว่าแม่น้ำทั้งหลาย ดวงจันทร์ดีกว่าดวงดาวทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเลิศกว่ามนุษยโลกและเทวโลกทั้งสิ้น" ดังนี้

คํานี้ มาณวคามิกะเทพบุตร ได้กล่าวไว้ถูกต้องดีแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงเห็นชอบด้วยแล้ว
อนึ่ง พระสารีบุตรเถระ ได้กล่าวไว้ว่า "ผู้ถึงสรณะ หรือยกมือไหว้ ด้วยใจ เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็อาจช่วยผู้นั้นให้ข้ามพ้นได้" ดังนี้

ส่วนองค์สมเด็จพระชินสีห์ผู้ทรงกําจัดพลมารเสียได้แล้ว ผู้เป็นวิสุทธิเทพยิ่งกว่าเทพยดาทั้งหลาย ก็ได้ตรัสไว้ว่า "บุคคลเอก เมื่อจะเกิดขึ้นในโลก ก็เกิด ขึ้นเพื่อประโยชน์สุขของโลก บุคคลเอกนั้น ได้แก่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า" ดังนี้ ขอถวายพระพร"

"ดีแล้ว พระนาคเสน โยมขอรับไว้ด้วยดี ซึ่งการกล่าวแก้ปัญหาข้อนี้

ll กลับสู่ด้านบน



เริ่มเมณฑกปัญหา


ลําดับนั้น พระนาคเสนเถระได้กลับสู่สังฆารามอีก พระเจ้ามิลินท์ผู้มีพระวาจาเฉลียวฉลาด ผู้ชอบไต่ถาม ผู้มีความรู้ยิ่งผู้เฉียบแหลม ได้เข้าใกล้พระนาคเสน เพื่อให้ความรู้แตกฉาน เมื่อมีการไต่ถามโต้เถียงกับพระนาคเสนอยู่เนือง ๆ ไม่ขาดสาย ก็มีความรู้แตกฉานชํานาญในพระไตรปิฎก

อยู่มาคืนวันหนึ่งเมื่อทรงรําลึกถึงคําสอนของพระพุทธเจ้า อันประกอบด้วยองค์ ๙ ก็ได้ทรงเห็น เมณฑกปัญหา (คือปัญหาสองแง่) อันเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก

ด้วยถ้อยคําที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นปริยาย (คือโดยอ้อม) ก็มี ตรัสไว้โดยอรรถะ (คือมีความหมายลึกซึ้ง) ก็มี เป็นคําของพระ สาวกก็มีอยู่
ความหมายของถ้อยคำเหล่านั้นเป็นของรู้ได้ยาก เปรียบเหมือนแพะชนกัน นานไปเบื้องหน้า จะเกิดวิวาทกันในถ้อยคําเหล่านั้น

เราควรจักให้พระนาคเสนเลื่อมใสต่อเราแล้ว ให้กล่าวแก้ซึ่ง เมณฑกปัญหา คือปัญหา อันอุปมาดังแพะชนกันให้แจ้งไว้ ปัญหาที่แก้ยากเหล่านั้น จักมีผู้แก้ได้ตามทางที่พระนาคเสนได้ชี้ไว้



ทรงสมาทานวัตรบท ๘

เมื่อพระเจ้ามิลินท์ทรงดําริดังนี้แล้ว รุ่งเช้าขึ้นก็เสด็จเข้าสู่ที่สระสรง ทรงประดับ ประดาพระองค์ดีแล้ว ก็ทรงระลึกถึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน แล้วทรงสมาทานวัตรบท ๘ ว่า

เราจะประพฤติตบะ จักทําให้อาจารย์ยินดีแล้ว จักถามปัญหา ทรงดําริดังนี้แล้ว ก็ทรงเปลื้องเครื่องประดับของกษัตริย์ ทรงแต่งพระองค์เป็นมุนี สมาทานคุณธรรมทั้ง ๘ คือ

๑. จักไม่ทรงวินิจฉัยอรรถคดีตลอดถึง๗ วัน
๒. ไม่ให้เกิดราคะ
๓. ไม่ให้เกิดความโกรธ
๔. ไม่ให้เกิดความหลง
๕. จักนบนอบกระทั่งทารกทาริกาของพวกทาสี
๖. จักรักษากายวาจาให้ดี
๗. จะรักษาอายตนะทั้ง ๖ ให้ดี
๘. จักทําใจให้มีเมตตา

ครั้นทรงมั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง ๘ นี้ตลอด ๗ วันแล้ว รุ่งเช้าวันที่ ๘ ก็เสวยพระกระยาหารเช้า แล้วสํารวมพระเนตรเป็นอันดี มีพระวาจาพอประมาณ มีพระอริยาบถอันดี มีพระหฤทัยมั่นคงเบิกบาน แล้วเข้าไปหาพระนาคเสนเถระ กราบไหว้แล้วทรงยืนตรัสว่า

"ข้าแต่พระนาคเสน โยมมีเรื่องที่จะสนทนากับพระผู้เป็นเจ้าในป่าที่เงียบสงัด โดยลําพังสองคนไม่มีผู้อื่นปะปน ป่านั้นต้องเป็นป่าประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นป่าที่สมควรแก่สมณะ เป็นป่าที่สมควรถามปัญหา ในการถามและแก้นั้นไม่ควรให้มีข้อลี้ลับ ควรให้แจ่มแจ้งทุกข้อ ควรให้เข้าใจได้ด้วยอุปมา

ข้าแต่พระนาคเสน แผ่นดินใหญ่นี้ย่อมเป็นที่เก็บเป็นที่ซ่อน ซึ่งสิ่งที่ควรเก็บควรซ่อนฉันใด โยมก็สมควรฟังข้อลึกลับ ที่ควรเก็บควรซ่อนไว้ฉันนั้น เมื่อมีข้อควรปรึกษาเกิดขึ้น โยมก็สมควรแก่การปรึกษา"
พระเจ้ามิลินท์ตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ พร้อมกับพระเถระออกไปสู่ป่าใหญ่แห่งหนึ่ง แล้วตรัสต่อไปอีกหลายอย่าง



ที่ไม่ควรปรึกษากัน ๘ ประการ

พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า "ข้าแต่พระนาคเสน บุรุษผู้จะปรึกษาหารือกัน ควรรู้ไว้ว่า ที่ควรงดเว้นมีอยู่ ๘ คือ
๑. ที่อันไม่สม่ำเสมอ
๒. ที่มีภัย
๓. ที่มีลมแรง
๔. ที่กําบัง
๕. ที่ศาลเจ้า
๖. ที่ถนนหนทาง
๗. ที่ก้าวขึ้นก้าวลง
๘. ที่ท่าน้ำ

ที่ทั้ง ๘ นี้ เป็นที่ควรงดเว้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า

เมื่อปรึกษากันในที่ไม่สม่ำเสมอ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่สบาย เรื่องที่ปรึกษาหารือกันก็จะไม่สม่ำเสมอดี
เมื่อปรึกษากันในที่มีภัย ใจก็จะสะดุ้ง กลัว จะไม่แลเห็นเหตุผลได้ดี
เมื่อปรึกษากันในที่มีลมแรง เสียงลม พัดตลบอบไป มิอาจที่จะคิดความหมายนั้นได้
เมื่อปรึกษากันในที่กําบัง ก็จะมีผู้แอบฟัง
เมื่อปรึกษากันที่ศาลเจ้า ของหนัก ๆ ก็จะหักพังลงมา
เมื่อปรึกษากันที่หนทาง ก็จะไม่ได้ความดี เพราะมีคนเดินไปมาสับสน
เมื่อปรึกษากันในที่ขึ้นลง จิตใจก็จะไม่มั่นคง
เมื่อปรึกษากันในที่ท่าน้ำ ก็จะมีผู้รู้แพร่งพราย

เพราะฉะนั้น จึงควรเว้นที่ทั้ง ๘ คือ ที่ไม่สม่ำเสมอ ที่มีภัย ที่มีลมแรง ที่กําบัง ที่ศาลเจ้า ที่หนทาง ที่ก้าวขึ้นก้าวลง ที่ท่าน้ำ เหล่านี้เสีย"



คนที่ไม่ควรปรึกษา ๘ จําพวก

เมื่อพระเจ้ามิลินท์ทรงแสดงที่ควรเว้น ๘ แห่งดังนี้แล้ว จึงทรงแสดงบุคคลควรเว้นอีก ๘ จําพวกว่า
"ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลผู้ที่ถูกปรึกษาแล้ว ทําเรื่องให้เสียไปมีอยู่ ๘ จําพวก คือ
๑. คนมีราคะจริต คือหนักในทางราคะ
๒. คนโทสะจริต มากด้วยโทสะ
๓.คนโมหะจริต มากด้วยความลุ่มหลง
๔. คนมานะจริต มากด้วยการถือตัว
๕. คนโลภเห็นแต่จะได้
๖. คนขี้เกียจ ย่อท้อ อ่อนแอ
๗. คนเห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว
๘. คนพาล คือคนโง่มุทะลุ"

พระนาคเสนจึงถามว่า "คนทั้ง ๘ จําพวกนั้น ให้โทษอย่างไร ? "
พระเจ้ามิลินท์อธิบายถวายว่า "คนราคะจริต เมื่อปรึกษาด้วยอํานาจราคะ ก็ทําเรื่องที่ปรึกษาให้เสียไป ถึงคน จําพวกอื่นอีก ๗ จําพวกก็เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น บุคคล ๘ จําพวก คือ คนหนักในราคะ โทสะ โมหะ มานะ โลภะ เกียจคร้าน เห็นแก่ตัว โง่เขลา จึงเรียกว่า "คนทําให้เสียเรื่องปรึกษา"



คนที่ปิดความลับไม่ได้ ๙ จําพวก

"ข้าแต่พระนาคเสน บุคคล ๙ จําพวก ปิดข้อความอันลี้ลับไว้ไม่ได้ บุคคล ๙ จําพวกนั้น ได้แก่จําพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนราคะจริต หนักในราคะ
๒. คนโทสะจริต มากด้วยโทสะ
๓. คนโมหะจริต มากด้วยความหลง
๔. คนขี้เกียจ ขี้กลัว
๕. คนหนักในอามิส
๖. สตรีทั้งปวง
๗. นักเลงสุราและนักเลงต่าง ๆ
๘. คนชอบแต่งตัว
๙. เด็กทั่วไป ทั้งหญิงทั้งชาย"

พระเถระถามอีกว่า "บุคคล ๙ จําพวกนั้น มีโทษอย่างไรบ้าง"
พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า "บุคคล ๙ จําพวกนั้น จําพวกราคะ ก็ปิดความลับไม่ได้ด้วยอํานาจราคะ คือเมื่อรัก ใครแล้ว ก็เปิดความลับให้ฟัง
จําพวกโทสะ เมื่อโกรธขึ้นมา ก็พูดความลับโพล่งออกมา
จําพวกโมหะ เมื่อใครพูดดีก็หลงเชื่อแล้ว เปิดความลับให้ฟัง
จําพวกขี้ขลาด เมื่อกลัวก็เปิดความลับ
จําพวกหนักในอามิส เมื่อมีผู้ให้อามิสสินจ้าง ก็บอกความลับ
จําพวกสตรี เป็นจําพวกมีปัญญาน้อย เมื่อถูกซักดักหน้าดักหลัง ก็เปิดความลับให้ฟัง
จําพวกนักเลงสุรา เมื่อเมาแล้วก็เปิดความลับง่าย
จําพวกชอบแต่งตัว ก็กังวลอยู่แต่เรื่องแต่งตัว อาจจะเผลอพูดความลับออกมาได้ง่าย
จําพวกทารก ก็มีความคิดยังอ่อนเกิน ไป ไม่อาจปิดความลับไว้ได้"




เหตุให้เจริญความรู้ ๘ ประการ

"ข้าแต่พระนาคเสน เหตุจะให้ความรู้ดีขึ้นมีอยู่ ๘ ประการ คือ
๑. เจริญด้วยวัยอายุ
๒. ความได้ยศศักดิ์
๓. การชอบการซักไซ้ไต่ถาม
๔. ไม่คบพวกเดียรถีย์
๕. การนึกถูกทาง
๖. การสนทนาเรื่องต่าง ๆ
๗. มากด้วยความรักในเหตุผล
๘. อยู่ในประเทศอันสมควร
ข้าแต่พระนาคเสน ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยองค์ ๘ อีกอย่างหนึ่ง โยมก็เป็นเพื่อนร่วมคิดอย่างเยี่ยมในโลก โลกนี้ยังเป็นไปอยู่ตราบใด โยมยังมีชีวิตอยู่ตราบใด ก็จะรักษาความลับไว้ให้ได้ตราบนั้น

ความรู้ย่อมเจริญขึ้นด้วยเหตุ ๘ อย่างนี้ ศิษย์ผู้ปฏิบัติชอบเหมือนอย่างทุกวันนี้หาได้ยาก ส่วนอาจารย์ก็ควรปฏิบัติชอบให้ประกอบ ด้วยคุณของอาจารย์ ๒๕ ประการ



คุณของอาจารย์ ๒๕ ประการ

๑. ดูแลศิษย์เนือง ๆ
๒. รู้จักคนที่ควรคบและไม่ควรคบ
๓. รู้ว่าศิษย์ประมาทหรือไม่ประมาท
๔. รู้เวลาที่ศิษย์นอน
๕. รู้เวลาศิษย์เจ็บไข้
๖. รู้ว่าศิษย์ได้อาหารหรือยังไม่ได้
๗. รู้คุณวิเศษต่าง ๆ
๘. รู้จักแจกแบ่งอาหารให้ศิษย์
๙. รู้จักปลอบศิษย์ไม่ให้กลัว
๑๐. สอนให้ศิษย์ประพฤติตามเยี่ยงอย่างคนดี
๑๑. ต้องรู้จักรอบ ๆ บ้าน
๑๒. ต้องรู้จักรอบ ๆ วิหาร
๑๓. ไม่ควรเล่นหัวตลกคะนองกับศิษย์
๑๔. ควรรู้จักอดโทษศิษย์
๑๕. ควรตั้งใจทําดีต่อศิษย์
๑๖. ควรประพฤติให้เป็นระเบียบต่อ ศิษย์
๑๗. ไม่ควรปิด ๆ บัง ๆ ศิษย์
๑๘. สอนความรู้ให้ศิษย์สิ้นเชิง
๑๙. ควรคิดอยากให้ศิษย์รู้ศิลปะ
๒๐. ควรคิดแต่ทางที่จะให้ศิษย์เจริญ
๒๑. ควรคิดอยากให้ศิษย์ชอบเรียน
๒๒. ควรมีจิตอันเมตตาต่อศิษย์
๒๓. ไม่ควรทิ้งศิษย์เวลามีอันตราย
๒๔. ไม่ควรประมาทกิริยาต่อศิษย์
๒๕. ควรประคองศิษย์ผู้พลั้งพลาด

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คุณของอาจารย์มีอยู่ ๒๕ ประการ ดังที่ว่านี้ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงประพฤติชอบต่อโยม ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ ศิษย์ผู้เป็นเช่นโยมนี้หาได้ยาก ความสงสัยใหญ่ได้มีอยู่แก่โยมเพราะ "เมณฑกปัญหา" คือปัญหาอันเปรียบด้วยแพะชนกัน สมเด็จพระภควันต์ได้ทรงแสดงไว้แล้ว ต่อไปข้างหน้าจักมีการถือผิดกัน ทะเลาะกัน ในเมณฑกปัญหานั้น

อาจารย์ผู้ถูกปรวาที (ฝ่ายตรงข้าม) ไต่ ถาม เมื่อรู้ก็จะแก้ได้ จะจําแนกแจกเนื้อความได้ จักทําลายปัญหาที่เป็นข้อเป็นปมออกได้ ต่อไปข้างหน้าพระภิกษุผู้เหมือนกับพระผู้เป็นเจ้าาจักหาได้ยาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้ จักษุ ในปัญหาแก่โยมไว้ เพื่อจะข่มเสียซึ่งคํา ที่เป็นเสี้ยนหนามต่อพระศาสนา"

พระนาคเสนเถระรับว่า "ดีแล้ว มหาบพิตร" แล้วจึงแสดงคุณแห่งอุบาสก ๑๐ ว่า "มหาบพิตร คุณของอุบาสกมีอยู่ ๑๐ ประการ คืออะไรบ้าง ?



คุณแห่งอุบาสก ๑๐ ประการ

๑. เป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์กับพระภิกษุสงฆ์
๒. รักษากายวาจาดี
๓. ถือธรรมะเป็นใหญ่
๔. ยินดีในการจําแนกแจกทาน
๕. พยายามเพื่อให้รู้คําสอนของพระพุทธเจ้า
๖. เป็นผู้มีความเห็นถูก
๗. เป็นคนเชื่อกรรม
๘. ไม่ถือผู้อื่นว่าดีกว่าพระพุทธเจ้า
๙. ยินดีในความพร้อมเพรียง
๑๐. ไม่เป็นคนลวงโลก มีแต่นับถือพระรัตนตรัยโดยตรง

ขอถวายพระพร คุณของอุบาสกทั้ง ๑๐ นี้ มีอยู่ในมหาบพิตรแล้ว การที่มหาบพิตรเล็งเห็นความเสื่อมเสียแห่งพระพุทธศาสนา มุ่งแต่ความเจริญแล้วนั้น เป็นการสมควรแท้
อาตมภาพถวายโอกาสแก่มหาบพิตร ขอมหาบพิตรจงทรงไต่ถามตามพระทัยเถิด"

( จบตอนเริ่มเมณฑกปัญหา )

◄ll กลับสู่ด้านบน




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 8/10/08 at 14:21 Reply With Quote


Update 30 ก.ย. 51

ตอนที่ ๑๓

เมณฑกปัญหา ปัญหาที่ถามเป็นสองแง่
วรรคที่ ๑ ปัญหาที่ ๑ ว่าด้วยการบูชาพระพุทธเจ้า


...ลําดับนั้น พระเจ้ามิลินท์จึงทรงดําริว่า พระนาคเสนให้โอกาสแก่เราแล้ว ครั้นทรงดําริดังนี้แล้ว จึงทรงหมอบลงในที่ใกล้เท้าของพระ นาคเสน แล้วทรงประนมอัญชลีขึ้นที่พระเศียร แล้วตรัสว่า
"ข้าแต่พระนาคเสน พวกเดียรถีย์กล่าวว่า ถ้าพระพุทธเจ้ายังทรงยินดีต่อการบูชาอยู่ ก็ยังไม่ชื่อว่าปรินิพพานยังเกี่ยวข้องอยู่กับโลก ยังติดอยู่ในโลก ยังสาธารณะอยู่กับโลก การบูชาพระพุทธเจ้าก็ไม่เป็นหมัน ยังมีผลอยู่

ถ้าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับโลกแล้ว หลุดพ้นไปจากภพทั้งปวงแล้ว การบูชาพระพุทธเจ้าก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะผู้ปรินิพพานแล้ว ย่อมไม่รู้จักยินดีต่อสิ่งใด การบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ไม่รู้จักยินดีก็เป็นหมัน ไม่มีผลอันใด

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ สองเงื่อนสองแง่ ไม่ใช่วิสัยของผู้มีความคิด สติปัญญาน้อยเลย เป็นวิสัยของผู้มีความคิด สติปัญญามาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงทําลายข่าย คือทิฏฐินี้เสีย

พระผู้เป็นเจ้าสามารถทําลายข่าย คือทิฏฐินี้ได้โดยแท้ ปัญหานี้ได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้ดวงตา คือปัญญาแก่พระชินบุตรทั้งหลายในอนาคต เพื่อจะได้ข่มเสียซึ่งถ้อยคําอันเป็นหลักตอในพระพุทธศาสนา พระคุณเจ้าข้า"
ลําดับนั้น พระนาคเสนเถระจึงตอบว่า "มหาราชะ ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระราชสมภาร สมเด็จพระพิชิตมารปรินิพพาน แล้วจริง พระองค์เมื่อยังไม่ปรินิพพาน ก็ไม่ทรงยินดีต่อการบูชา เพราะว่าได้ทรงสละความยินดีเสียที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิโน้นแล้ว ไม่ต้องกล่าวถึงพระพุทธเจ้า ผู้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว

ข้อนี้สมกับที่ พระสารีบุตร ผู้เป็นพระ ธรรมเสนาบดีได้กล่าวไว้ว่า
"พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เสมอกับพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอเหมือน ผู้อันเทพยดา มนุษย์ทั้งหลายสักการบูชาแล้วนั้น ย่อมไม่ทรงยินดีต่อสักการบูชาเลย อันนี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"
"ดังนี้ ขอถวายพระพร"

พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า "ข้าแต่พระนาคเสน ธรรมดาบุตรก็ย่อมสรรเสริญบิดา บิดาก็ย่อมสรรเสริญบุตร ข้อนี้ไม่เป็นเหตุให้ข่มขี่ถ้อยคําของผู้อื่นได้ ข้อนี้ยังเชื่อฟังไม่ได้ก่อน ขอพระผู้เป็นเจ้าจงกล่าวถึงเหตุการณ์ ทั้งปวง เพื่อให้ถ้อยคําของพระผู้เป็นเจ้ามั่นคง เพื่อทําลายเสียซึ่งข่าย คือทิฏฐินี้เถิด"




อุปมาเหมือนกองไฟใหญ่

"ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าได้ดับขันธปรินิพพานแล้วจริง พระองค์นั้นย่อมไม่ทรงยินดีต่อการบูชา แต่เทพยดามนุษย์ทั้งหลายกระทําซึ่งพระ อัฏฐิธาตุของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่รู้จักทรงยินดี ผู้ปรินิพพานแล้วนั้นให้เป็นอารมณ์ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็ย่อมได้สมบัติ ๓ ประการ (คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ)

เนื้อความข้อนี้ควรทราบได้ด้วยอุปมา จะอุปมาเหมือนอะไร...เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ลุกรุ่งเรืองแล้วดับไป อาตมาขอถามว่า กองไฟใหญ่นั้น ยินดีต่อเชื้อไฟคือหญ้าและไม้หรือ...มหาบพิตร? "

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า กองไฟใหญ่นั้น ถึงจะยังลุกโพลงอยู่ ก็ไม่ยินดีต่อเชื้อ คือหญ้าและไม้ ไม่ต้องพูดถึงไฟที่ดับไปแล้ว เพราะไฟไม่มีเจตนาจะยินดีอย่างไร"
"ขอถวายพระพร เมื่อไฟนั้นดับไปแล้ว โลกมิสูญจากไฟหรือ..พวกมนุษย์ที่ต้องการไฟก็ไม่สมหวังน่ะซิ? "
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะว่าไม้ย่อมเป็นวัตถุที่จะให้เกิดไฟขึ้นได้ พวกที่ต้องการไฟก็เอาไม้มาสีกัน แล้วก็ทําให้เกิดไฟขึ้นได้"

"ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นถ้อยคําของพวกเดียรถีย์ที่ว่า การบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ไม่รู้จักยินดี เป็นของหมัน ไม่มีผลนั้นก็ผิดไป เพราะว่าพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรืองอยู่ใน หมื่นโลกธาตุด้วยพระพุทธรัศมี เหมือนกับกองไฟใหญ่ฉะนั้น

ขอถวายพระพร กองไฟใหญ่ลุกรุ่งเรือง แล้วดับไปฉันใด พระพุทธเจ้าก็ทรงรุ่งเรืองด้วยพระพุทธรังสีในหมื่นโลกธาตุ แล้วดับไปด้วยการดับขันธ์ฉันนั้น

ไฟที่ดับแล้วย่อมไม่ยินดีต่อเชื้อ คือหญ้าและไม้ฉันใด พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงยินดีต่อเครื่องสักการบูชาฉัน นั้น เมื่อไฟดับแล้ว มนุษย์เอาไม้มาสีไฟให้เกิดขึ้นได้อีกฉันใด เทพยดามนุษย์ทั้งหลาย นึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่รู้จักยินดีแล้ว ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็ได้สมบัติ ๓ ประการฉันนั้น

ด้วยเหตุนี้แหละ มหาบพิตร การสักการ บูชาพระพุทธเจ้า ผู้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่ทรงยินดีต่อสิ่งใด จึงไม่เป็นหมัน จึงมีผล"




อุปมาเหมือนลมใหญ่

"ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรจงทรงสดับเหตุการณ์อื่นอีกให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ถ้า มหาบพิตรยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่ ด้วยเหตุที่การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่ทรงยินดีว่า ไม่เป็นหมัน ยังมีผลอยู่นั้น
อาตมภาพจะอุปมาถวาย กล่าวคือ ลมใหญ่พัดมาแล้วหายไป ขอถามว่า ลมที่หายไปแล้วนั้น จะกลับพัดมาอีกหรือไม่? "
"ไม่กลับพัดมาอีก ผู้เป็นเจ้า เพราะลมนั้นไม่มีความผูกใจ หรือการกระทําไว้ในใจที่ จะพัดมาอีกเลย ด้วยเหตุว่าลมนั้นไม่มีเจตนา"
"ขอถวายพระพร ลมที่หายไปแล้วนั้น ชื่อว่าขาดหายไปด้วยหรือ? "
"ไม่ขาดหายไป ผู้เป็นเจ้า คือมนุษย์เหล่าใดร้อนขึ้นมาแล้ว มนุษย์เหล่านั้นก็ทําให้ลมเกิด ขึ้นด้วยใบตาล หรือด้วยเครื่องพัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามเรี่ยวแรงกําลังของตน แล้วกระทําให้ความร้อนนั้นหายไปด้วยลมนั้น"

"ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นคําที่พวกเดียรถีย์ว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่รู้จักทรงยินดี เป็นของหมัน ไม่มีผลนั้นก็ผิดไป เพราะพระพุทธเจ้าได้พัดสัตวโลกให้เย็น ด้วยลมคือพระเมตตาพรหมวิหาร อันเกษมศานต์ สุขุมเย็นใจ แผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ เหมือนกับลมใหญ่พัดให้สัตวโลกเย็นฉะนั้น

ลมใหญ่พัดมาแล้วหายไปฉันใด พระพุทธเจ้าก็พัดสัตวโลกในหมื่นโลกธาตุ ให้เย็นด้วยเมตตาอันสุขุมยิ่ง แล้วก็ดับขันธ์ไปฉันนั้น
ลมที่หายไปแล้วกลับพัดขึ้นมาอีก ก็ไม่รู้สึกยินดีฉันใด ความยินดีของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเกื้อกูลโลกก็สงบไปแล้วฉันนั้น
พวกมนุษย์ที่ร้อน ที่มีอุปมาฉันใด เทพยดามนุษย์ทั้งหลายที่เร่าร้อนด้วยไฟกิเลส ๓ กอง ก็มีอุปมาฉันนั้น
ใบตาลและเครื่องพัด ย่อมเป็นเหตุให้ลม เกิดขึ้นฉันใด พระธาตุรัตนะ พระญาณรัตนะ ของพระพุทธเจ้า ก็เป็นเหตุให้ได้สมบัติ ๓ ประการ ฉันนั้น

เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ หรือเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วก็ดี ผู้ใดสักการบูชาด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ผู้นั้นก็ได้ความรื่นเริงบันเทิงใจ พวกที่ปรารถนาสมบัติ ๓ ประการ ก็ได้สําเร็จสมความปรารถนา พวกมนุษย์ที่ร้อนทําให้ลมเกิดขึ้นด้วยใบตาล หรือด้วยเครื่องพัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ทําให้ความร้อนนั้นดับไปได้ฉันใด เทพยดามนุษย์ทั้งหลาย บูชาพระธาตุรัตนะ และพระญาณรัตนะ ของพระพุทธเจ้า ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่ทรงยินดี ทํากุศลให้ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับความเร่าร้อน ๓ ประการ ด้วยกุศลนั้น

ด้วยเหตุนี้แหละ มหาบพิตร จึงเป็นอันว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่รู้จักทรงยินดี ไม่เป็นหมัน ยังมีผลอยู่"
"ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวบรรยายมากเกินไป ขอจงกล่าวเฉพาะใจความให้กระทัดรัดเถิด"




อุปมาเหมือนเสียงกลอง

"ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรจงทรงสดับเหตุอื่นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก เพื่อข่มขี่ถ้อยคําของผู้อื่นเสีย คือบุรุษคนหนึ่งตีกลองทําให้เกิดเสียงขึ้น เสียงกลองที่บุรุษนั้นทําให้ เกิดขึ้นก็หายไป เสียงกลองที่หายไปแล้วนั้น ยินดีที่จะเกิดมาอีกหรือไม่? "
"ไม่ยินดีเลย ผู้เป็นเจ้า เพราะว่าเสียงกลองนั้น ไม่มีความผูกใจหรือใส่ใจอันใด เมื่อดังขึ้นแล้วหายไปก็เป็นอันขาดเสียง แต่กลองนั้นยังเป็นของที่จะทําให้เกิดเสียงได้อยู่ เมื่อเหตุปัจจัยมีอยู่บุรุษก็ตีกลองให้เกิดเสียงได้อีก"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระธาตุรัตนะ อันพระองค์ทรงอบรมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติ ญาณทัสสนะ ไว้แล้ว ทรงตั้งพระธรรมวินัยให้แทนพระองค์ไว้แล้ว จึงดับขันธปรินิพพานไป ไม่ใช่ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว การได้สมบัติจะขาดไป

คือสัตว์ทั้งหลายที่ถูกความทุกข์ในโลกบีบคั้นแล้ว ก็กระทําพระธาตุรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระวินัยรัตนะ ให้เป็นปัจจัยสืบต่อไป แล้วก็ทําให้เกิดสมบัติได้ตามปรารถนา เหมือนกับกลองทําให้เกิดเสียงได้ฉะนั้น

"ขอถวายพระพร ถ้ากลองที่จะทําให้เกิดเสียงมีอยู่ เมื่อมีผู้ตีกลองก็ทําให้เกิดเสียงได้อีกฉันใด เมื่อพระธาตุรัตนะมีอยู่ ผู้ปรารถนาสมบัติกระทําพระธาตุรัตนะ ให้เป็นปัจจัยสืบต่อไป ก็ย่อมได้สมบัติฉันนั้น

ด้วยเหตุอันนี้จึงชี้ให้เห็นว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่รู้จักทรงยินดี ยังมีอานิสงส์ ยังมีผลอยู่ ข้อนี้สมกับที่สมเด็ พระศากยมุนีได้ตรัสไว้ว่า

"ดูก่อนอานนท์ ต่อไปข้างหน้าจะมีผู้กล่าวว่า ศาสนาไม่มีพระศาสดาแล้ว พระศาสดาของพวกท่านก็ต้องไม่มี ดังนี้
แต่ว่าอานนท์ไม่ควรเห็นอย่างนี้ คือธรรมวินัยอันใดที่เราแสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้ว ธรรมวินัยอันนั้นแหละ เมื่อเราล่วงไปแล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย" ดังนี้

เพราะเหตุนี้แหละ มหาบพิตร จึงว่าคำที่พวกเดียรถีย์ว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่จักทรงยินดี เป็นของหมัน ไม่มีผลนั้น ผิดไป"




อุปมาเหมือนแผ่นดินใหญ่

"ขอถวายพระพร ขอจงทรงสดับเหตุอย่าง อื่นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก เพื่อให้ทรงเข้าพระทัยว่า การบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ปรินิพพานแล้วนั้น ยังมีอานิสงส์ ยังมีผลอยู่ คือแผ่นดินอันใหญ่นี้ ย่อมยินดีว่า พืชทั้งปวงงอกงามขึ้นในตัวเรา หรือไม่? "
"ไม่ยินดีเลย พระผู้เป็นเจ้า"
"ขอถวายพระพร เมื่อแผ่นดินอันใหญ่ไม่ยินดี เหตุใดพืชทั้งปวงนั้นจึงงอกงามขึ้น มีรากมั่นคง มีต้น มีแก่น กิ่งใบ ดอกผลเล่า? "
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถึงแผ่นดินใหญ่จะไม่ยินดีก็ดี ก็เป็นที่ตั้งแห่งพืชเหล่านั้น พืช เหล่านั้นจึงงอกงามขึ้นได้"

"ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นก็เป็นอันว่า ได้กําจัดถ้อยคําของพวกเดียรถีย์ให้หมดสิ้นไปแล้ว ด้วยอุปมาข้อนี้
ขอถวายพระพร พระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาจรณะ ผู้เสด็จไปดี ผู้รู้ตลอดโลก เหมือนกับแผ่นดินอันใหญ่ คือแผ่นดินใหญ่ไม่รู้จักยินดีต่อพืชใด ๆ ฉันใด พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงยินดีต่ออะไรใน โลกฉันนั้น

ขอถวายพระพร พืชทั้งปวงนั้น ได้อาศัยแผ่นดินแล้วก็งอกงามขึ้น มีราก มีลําต้น กิ่งใบ ดอกผลฉันใด เทพยดามนุษย์ทั้งหลาย ไดัอาศัยพระ ญาณรัตนะของพระพุทธเจ้า ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่ทรงยินดีต่อสิ่งใด ก็เกิดรากคือกุศลมั่นคง เกิดแก่นคือสมาธิธรรม มีกิ่งคือศีล มีดอก คือวิมุตติ มีผลคือโลกุตตรผลฉันนั้น

ด้วยเหตุอันนี้จึงชี้ให้เห็นว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่เป็นหมัน ยังมีผลอยู่"




อุปมาเหมือนสัตว์เลี้ยง

"ขอถวายพระพร จงทรงสดับเหตุอื่นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือ อูฐ โค ลา ช้าง กระบือ สัตว์ของเลี้ยง และมนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้ ยินดีต่อหมู่หนอนที่มีอยู่ในท้องของตนหรือไม่? "
"ไม่ยินดีเลย พระผู้เป็นเจ้า"
ในเมื่อไม่ยินดี เหตุไรหมู่หนอนเหล่านั้น จึงมีลูก หลาน เหลน เกิดขึ้นมากมายในท้องของสัตว์เหล่านั้น? "
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพราะเหตุบาปกรรม ของสัตว์เหล่านั้น ทําให้เกิดหมู่หนอนในท้อง น่ะซิ"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร สักการบูชาที่บุคคลกระทําต่อพระพุทธเจ้า จึงไม่เป็นหมัน ยังมีผลอยู่ เพราะพระธาตุรัตนะ พระญาณรัตนะ ของพระพุทธเจ้านั้น ยังมีกําลังแรงกล้าอยู่"




อุปมาเหมือนกับโรคต่าง ๆ

"ขอมหาบพิตรจงทรงสดับเหตุอื่นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือมนุษย์ทั้งหลายยินดีให้ ฉัพพนวุติโรค คือโรค ๙๖ ประการ เกิดขึ้น ในร่างกายของตนหรือไม่? "
"ไม่ยินดีเลย พระผู้เป็นเจ้า"
"ในเมื่อไม่ยินดี เหตุไรโรคเหล่านั้น จึง เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์? "
"เหตุทุจริตที่เขาทําไว้ในปางก่อนน่ะซิ พระ ผู้เป็นเจ้า"
"ขอถวายพระพร ถ้าอกุศลที่เขาทําไว้ในชาติก่อน ทําให้ได้รับผลในชาตินี้ กุศลกรรม อกุศลกรรม ที่เขาทําไว้ในชาติก่อนก็ดี ในชาตินี้ก็ดี ก็ต้องไม่เป็นหมัน ยังมีผลอยู่
ถึงด้วยเหตุอันนี้ก็ชี้ให้เห็นว่า การบูชา พระพุทธเจ้า ผู้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ก็ไม่ เป็นหมัน ยังมีผลอยู่"




เรื่องนันทกยักษ์

"มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่า นันทกยักษ์ มีจิตคิดร้ายต่อ พระสารีบุตรเถระ แล้วถูกแผ่นดินสูบ? "
"ได้เคยสดับ ผู้เป็นเจ้า เพราะเรื่องนี้ ปรากฏอยู่ในโลก"
ขอถวายพระพร พระสารีบุตรยินดีให้ นันทกยักษ์ถูกแผ่นดินสูบหรือไม่? "
พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถึงมนุษยโลก เทวโลก เป็นไปอยู่ก็ดี ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จะตกลงมาที่พื้นดินก็ดี พระยาเขาสิเนรุจะแตกกระจัดกระจายก็ดี พระสารีบุตรก็ไม่ยินดีต่อทุกข์ของผู้อื่น เพราะเหตุว่าพระเถระนั้น ได้ตัดมูลเหตุ ที่ให้เกิดความยินดียินร้ายเสียแล้ว ถึงจะมีผู้ทําลายชีวิตของท่าน ท่านก็ไม่โกรธ"

พระนาคเสนจึงถามต่อไปว่า "ขอถวายพระพร ถ้าพระสารีบุตรไม่ยินดีให้แผ่นดินสูบนันทกยักษ์ เหตุใดนันทกยักษ์จึงถูกแผ่นดินสูบจมลงไปใต้พื้นดิน? "
"อ๋อ...เพราะเหตุอกุศลกรรมของเขาแรงกล้าน่ะซิ พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร ถ้านันทกยักษ์จมลงไป ในพื้นดินเพราะอกุศลกรรมของเขาแรงกล้า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ไม่รู้จักทรงยินดี ก็ไม่เป็นหมัน ยังมีอานิสงส์อยู่ เพราะกุศลกรรมเป็นของแรงกล้า ด้วยเหตุอันนี้ก็ดี จึงชี้ให้เห็นว่า การบูชา พระพุทธเจ้าผู้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่ รู้จักทรงยินดี ก็ยังมีผลอยู่"




ผู้ที่ถูกแผ่นดินสูบมี ๕ คน

"ขอถวายพระพร พวกมนุษย์ที่ถูกแผ่นดินสูบในครั้งพุทธกาลนี้ มีอยู่สักเท่าไร..มหาบพิตร ได้เคยสดับหรือไม่? "
"เคยสดับ ผู้เป็นเจ้า"
"ขอเชิญมหาบพิตรว่าไป คือใครบ้าง? "
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คนที่ถูกแผ่นดินสูบนั้น โยมได้สดับมาว่ามีอยู่ ๕ คน คือ นางจิญจมาณวิกา ๑ สุปปพุทธสักยะ ๑พระ เทวทัต ๑ นันทกยักษ์ ๑ นันทมาณพ ๑""

"ขอถวายพระพร บุคคลเหล่านั้นผิดต่อ ใคร? "
"ผิดต่อพระพุทธเจ้าก็มี ผิดต่อพระสาวกก็มี พระผู้เป็นเจ้า"
"ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าทรงยินดี ให้บุคคลเหล่านั้น ถูกแผ่นดินสูบจมลงไปใน แผ่นดินหรือไม่? "
"ไม่ทรงยินดีเลย พระผู้เป็นเจ้า"
"ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นขอจงเข้าพระทัยเถิดว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพาน แล้ว ผู้ไม่รู้จักทรงยินดี จึงไม่เป็นหมัน ยังมี ผลอยู่"

"พระเจ้ามิลินท์ตรัสสรรเสริญว่า "ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาอันรู้ได้ยาก พระผู้เป็นเจ้าทําให้รู้ได้ง่ายแล้ว ปัญหาอันลึก พระผู้เป็นเจ้าทําให้ตื้นแล้ว
พระผู้เป็นเจ้าได้ทําลายข้อลี้ลับแล้ว ทําลายข้อยุ่งยากแล้ว ทําลายถ้อยคําของผู้อื่นแล้ว ความเห็นอันชั่วร้ายของพวกเดียรถีย์สิ้นแล้ว พระผู้เป็นเจ้ามาถึงแล้ว ซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐในหมู่ผู้ประเสริฐ"

ll กลับสู่ด้านบน




ปัญหาที่ ๒
ถามถึงความเป็นพระสัพพัญญูของพระพุทธเจ้า

"ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้าเป็น พระสัพพัญญู คือรู้ทุกสิ่งจริงหรือ? "
"ขอถวายพระพร จริง แต่ว่าความรู้ความเห็นของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ปรากฏอยู่เป็นนิจ คือเป็นของเนื่องด้วยการนึกพระพุทธเจ้า ทรงนึกอยากรู้สิ่งใด ก็รู้สิ่งนั้นสิ้นเท่านั้น"
"ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้นพระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่พระสัพพัญญู เพราะถ้าความรู้สิ่งทั้งปวง ยังเป็นของต้องแสวงหาอยู่"
"ขอถวายพระพร มีข้าวเปลือกอยู่ ๑๐๐ เกวียน บุคคลตักออกคราวละ ๕ ทะนาน ๔ ทะนาน ๓ ทะนาน ๒ ทะนาน จิตที่เป็นไป ในขณะลัดนิ้วมือเดียว อันกําหนดข้าวเปลือก ว่ามีเท่านั้น ๆ ก็ถึงซึ่งความสิ้นไป




จิตของผู้ที่ยังไม่ได้อบรม

บุคคลเหล่าใดยังมีราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา กิเลสอยู่ ไม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิต ไม่ได้อบรมปัญญา จิต ของบุคคลเหล่านั้นก็เกิดช้า เป็นไปช้า เพราะ ไม่ได้อบรมจิต

เหมือนกับบุคคลตัดไม้ไผ่ที่มีแขนง เกี่ยวกระหวัดรัดรึงหุ้มห่อ รกรุงรัง ให้ขาดแล้ว ก็ดึงมาได้ช้าฉันนั้น อันนี้เป็น จิตดวงที่ ๑



จิตของพระโสดาบัน

จิตดวงที่ ๒ นั้นได้แก่จิตของพระโสดาบัน คือพระโสดาบันทั้งหลาย ผู้พ้นอบายภูมิแล้ว ผู้ถึงความเห็นแล้ว ผู้รู้แจ้งพระพุทธศาสนา แล้วมีอยู่
จิตของพระโสดาบันทั้งหลายนั้น ย่อมเกิดไว เป็นไปไวในที่ทั้ง ๓ (คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) แต่เกิดช้า เป็นไปช้า ในชั้นสูงขึ้นไป เพราะยังไม่ได้ละกิเลสชั้นสูง

ข้อนี้เหมือนกับบุคคลตัดไม้ไผ่แล้ว ลิดข้อลิดปมทั้ง ๓ ข้อ แต่ยังไม่ได้ตัดยอดเบื้องบนให้ขาด ให้หายรุงรัง ก็ดึงมาได้ช้าฉะนั้น



จิตของพระสกิทาคามี

จิตดวงที่ ๓ นั้น ได้แก่จิตของพระสกิทาคามี คือจิตของพระสกิทาคามี ผู้มีราคะ โทสะ โมหะ น้อยเบาบางลงมากนั้น ย่อมเกิด เร็ว เป็นไปเร็ว ในฐานะทั้ง ๕ แต่เกิดช้า เป็นไปช้า ในชั้นสูงขึ้นไป

เปรียบเหมือนกับบุคคลตัดไม้ไผ่ ลิดข้อทั้ง ๕ ให้ขาดแล้ว ก็ดึงมาได้ไวหน่อย แต่ว่าเมื่อข้างปลายยังรกรุงรังอยู่ ก็ยังดึงมาได้ช้า เพราะเบื้องบนยังรุงรัง อันเปรียบเหมือนยัง ไม่ได้ละกิเลสชั้นสูงฉะนั้น



จิตของพระอนาคามี

จิตดวงที่ ๔ ได้แก่จิตของพระอนาคามี ที่ละสังโยชน์ ๕ เบื้องต่ำได้ขาดแล้ว จิตของ พระอนาคามีย่อมเกิดเร็ว เป็นไปเร็ว ในฐานะทั้ง ๑๐ แต่เกิดช้า เป็นไปช้าในชั้นสูงขึ้นไป เพราะยังไม่ได้ละกิเลสชั้นสูง

เหมือนกับบุคคลตัดไม้ไผ่ ลิดข้อทั้ง ๑๐ ให้เกลี้ยงเกลาดีแล้ว ก็ดึงมาได้เร็วเพียง ๑๐ ปล้องเท่านั้น พ้นจากนั้นยังดึงมาได้ช้าฉะนั้น



จิตของพระอรหันต์

จิตดวงที่ ๕ ได้แก่จิตของพระอรหันต์ คือจิตของพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวกิเลสทั้งหมดแล้ว ย่อมเกิดเร็ว เป็นไปเร็วในวิสัยของสาวก แต่เกิดช้า เป็นไปช้า ในภูมิพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่สูงกว่า

เปรียบเหมือนบุคคลตัดไม้ไผ่ ลิดข้อ ทั้งปวงให้ตลอดลําแล้ว ก็ดึงมาได้เร็วฉันนั้น



จิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า

จิตดวงที่ ๖ ได้แก่จิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้เอง ไม่มีอาจารย์ ก็เกิดได้เร็ว เป็นไปเร็ว ในภูมิของตนเท่านั้น แต่เกิดช้า เป็นไปช้า ในภูมิของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพราะภูมิของพระสัพพัญญูพุทธเจ้านั้น เป็นของใหญ่

เปรียบเหมือนบุรุษผู้ไม่กลัวน้ำ ก็ว่ายข้ามแม่น้ำน้อยได้ตามสบาย แต่พอไปถึงน้ำมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ แลไม่เห็นฝั่งก็กลัว ก็สะดุ้ง ก็ช้า ก็ไม่อาจข้ามไปได้ฉะนั้น



จิตของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

จิตดวงที่ ๗ ได้แก่จิตของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ทรงทศพลญาณ จตุเวสารัชชญาณ ประกอบด้วยพุทธธรรม ๑๘ ชนะไม่มีที่สิ้นสุด มีญาณไม่มีที่สิ้นสุด ย่อมเกิดรวดเร็ว เป็นไปรวดเร็วในสิ่งทั้งปวงเพราะจิตบริสุทธิ์ ในสิ่งทั้งปวงแล้ว

ขอถวายพระพร ลูกศรที่ไม่มีข้อมีปม ที่เกลี้ยงเกลา ไม่มัวหมอง อันนายธนูยกขึ้น สู่แล่งธนู อันไม่คดโก่ง อันเลี่ยนสุขุมเป็นอันดี แล้วยิงไปที่ผ้าฝ้าย หรือผ้ากัมพลเนื้อละเอียด ลูกศรนั้นจะทะลุไปได้ช้า หรือว่าจะข้องอยู่ที่ผ้าประการใด? "

"อ๋อ...ไม่ช้า พระผู้เป็นเจ้า ลูกศรนั้นต้องทะลุไปได้อย่างรวดเร็ว"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ความคิดของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ทะลุปรุโปร่งไปในสิ่งทั้งปวงได้รวดเร็วฉะนั้น
ขอถวายพระพร จิตของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ได้ล่วงเลยจิตทั้ง ๖ ไปแล้ว จึงเป็นจิตบริสุทธิ์ เป็นจิตรวดเร็ว เป็นจิตหาเครื่องเปรียบมิได้ ด้วยคุณอันคณานับมิได้

เพราะเหตุที่จิตของพระพุทธเจ้า เป็นจิตบริสุทธิ์รวดเร็วนั่นเอง พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ได้ จิตของพระพุทธเจ้าในเวลาทรงทํายมกปาฏิหาริย์นั้น เป็นไปรวดเร็วนัก ไม่มีใครอาจชี้เหตุการณ์ได้

มหาบพิตร ปาฏิหาริย์เหล่านั้น เมื่อเทียบกับจิตของพระสัพพัญญูทั้งหลายแล้ว ยังไม่ได้เสี้ยวหนึ่ง เพราะพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า เนื่องด้วยการนึกด้วยจิตนั้น พอนึกก็รู้ได้ตามประสงค์




อุปมาเหมือนผู้ยกสิ่งของ

ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าบุรุษยกของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่วางอยู่ที่มือข้างหนึ่ง มาไว้บนมืออีกข้างหนึ่ง หรืออ้าปากพูด กลืน อาหาร ลืมตา หลับตา คู้แขน เหยียดแขน อันนับว่าเร็วอยู่แล้ว แต่ยังช้ากว่าพระสัพพัญญุตญาณ คือ พอพระพุทธเจ้าทรงนึกก็รู้ได้ทันที ไม่ใช่ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะไม่เป็นพระสัพพัญญู ด้วยเหตุเพียงนึกเท่านี้"

"ข้าแต่พระนาคเสน เมื่อยังนึกหาอยู่ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นพระสัพพัญญู ขอนิมนต์ชี้แจงให้โยมเข้าใจตามเหตุการณ์อีกเถิด"




อุปมาเหมือนบุรุษผู้มั่งคั่ง

"ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนกับบุรุษผู้หนึ่ง เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีเครื่องกินมาก มีเงินทองมาก มีเครื่องปลื้มใจมาก มีธัญชาติ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวสาร งา ถั่ว ฟักแฟง แตงเต้า เนยใส น้ำมัน นมข้น นมสด นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย อยู่มาก

เวลามีแขกมาหา ซึ่งเป็นผู้ควรต้อนรับด้วยอาหาร อาหารก็ทําเสร็จแล้ว ยังแต่จะต้องคดข้าวออกจากหม้อเท่านั้น บุรุษนั้นจะเรียกว่าเป็นผู้มีทรัพย์มาก หรือจะเรียกว่าไม่มีทรัพย์มาก ด้วยเหตุเพียงเวลาคดข้าวจากหม้อเท่านั้นหรืออย่างไร? "
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ทําไมจึงว่าอย่างนี้ ถึงในราชมณเฑียรของพระเจ้าจักรพรรดิก็ตาม ถ้านอกเวลาก็ต้องรอเวลาอาหารสุก ไม่ต้องพูดถึงในบ้านเรือนของคฤหบดี"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ พระสัพพัญญุตญาณอันเนื่องด้วยการนึกของพระพุทธเจ้านั้น พอนึกก็รู้ได้ตามประสงค์"




อุปมาเหมือนต้นไม้ที่มีผล

"ขอถวายพระพร ต้นไม้ที่มีผลดกเต็มต้น ยังไม่มีผลหล่นลงมาเลย เมื่อรอเวลาผลหล่นลงมา จะเรียกว่าต้นไม้นั้น ไม่มีผลได้หรือไม่? "
"ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า เพราะต้นไม้นั้น เนื่องด้วยการหล่นแห่งผล พอผลหล่นลง คนก็เก็บเอาได้ตามประสงค์"
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระสัพพัญญุตญาณก็เนื่องด้วยการนึกของพระพุทธเจ้า พอนึกก็รู้ทันที"
"ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงนึกก็รู้ได้ทันทีอย่างนั้นหรือ? "
อย่างนั้น มหาบพิตร คือพระเจ้าจักรพรรดิ พอทรงนึกถึงจักรแก้ว จักรแก้วก็มาปรากฏทันทีฉันใด พระพุทธเจ้าพอนึกก็รู้ทุกสิ่งฉันนั้น ขอถวายพระพร"
"ข้าแต่พระนาคเสน โยมตกลงรับว่า พระพุทธเจ้าเป็น พระสัพพัญญู แน่ละ"

◄ll กลับสู่ด้านบน

( โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป )




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 18/10/08 at 10:28 Reply With Quote


Update 8 ต.ค. 51

ตอนที่ ๑๔
ปัญหาที่ ๓ ถามเรื่องโปรดให้พระเทวทัตบรรพชา


"ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า พระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีพระมหากรุณา เป็นผู้ แสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นผู้อนุเคราะห์ สัตว์ทั้งหลายอย่างนั้นหรือ? "
"อย่างนั้น มหาบพิตร"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระเทวทัต ใครบวชให้ ขอจงว่าไปตามจริง? "
"ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้า ทรงบวชให้พร้อมกับ พระภัททิยะ พระอนุรุทธ พระอานนท์ พระภัคคุ พระกิมพิละ พระ อุบาลี"

"ข้าแต่พระนาคเสน พระเทวทัตบวชแล้ว จึงทําสังฆเภทได้ เพราะคฤหัสถ์ หรือภิกษุณี นางสิกขมานา สามเณร สามเณรี ทําสังฆเภท ไม่ได้ทําได้แต่เฉพาะภิกษุ ผู้ยังเป็นภิกษุอยู่ตามปกติ ยังร่วมกับสงฆ์ได้อยู่ อยู่ในเสมาอันเดียวกันกับสงฆ์เท่านั้น"
"ถูกอย่างนั้น มหาบพิตร พระเทวทัตบวชแล้ว จึงทําสังฆเภทได้"




พระพุทธองค์ทรงทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทําสังฆเภทได้รับกรรมอย่างไร? "
"ขอถวายพระพร ผู้ทําสังฆเภทต้องตกนรกอยู่ตลอด ๑ กัป"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระตถาคตเจ้าทรงทราบหรือไม่ว่า พระเทวทัตบวชแล้วจักทําสังฆเภท แล้วจักไปตกนรกอยู่ตลอดกัป? "
"ขอถวายพระพร ทรงทราบ"

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสต่อไปว่า "ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าทรงทราบคําที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้มีพระมหากรุณาแสวงหาประโยชน์ โปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้น ก็ผิดไป ถ้าไม่ทรงทราบ พระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่พระสัพพัญญู

ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ มีสองแง่ ได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแก้ไขให้สิ้นสงสัย พระภิกษุมีความรู้ดังพระผู้เป็นเจ้า ในภายหน้าโน้นจักหาได้ยาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงกําลังปัญญาของพระผู้ เป็นเจ้าไว้"




ทรงใช้วิธีผ่อนหนักเป็นเบา

"ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีพระมหากรุณาจริง เป็นพระสัพพัญญูจริง เป็นพระสัพพทัสสาวี คือเห็นทุกสิ่งจริง เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงเล็งดูคติของพระเทวทัต ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ อันประกอบด้วยพระมหากรุณา ก็ได้ทรงเห็นว่า
พระเทวทัตถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็จักทําบาปกรรมอันจักให้ไปตกนรก เกิดเป็นเปรต อสุรกาย เดรัจฉาน หลายกัป และทรงทราบว่า กรรมของพระเทวทัตจักไม่มีที่สิ้นสุด แต่เมื่อพระเทวทัตได้บรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จักมีที่สิ้นสุดได้ เมื่อบรรพชาแล้ว ก็จักทํากรรมเพียงให้ตกนรกอยู่ ๑ กัป เท่านั้น ทรงเห็นอย่างนี้ จึงได้โปรดให้พระเทวทัตบรรพชา ด้วยอํานาจพระมหากรุณา"

"ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้นก็เป็นอันว่า พระตถาคตเจ้าทุบตีพระเทวทัตแล้ว ทาน้ำมันให้ ผลักให้ล้มแล้ว ดึงแขนให้ลุกขึ้น ฆ่าแล้วชุบชีวิตให้ เพราะให้ทุกข์ก่อนแล้ว จึงให้สุขต่อภายหลัง"




อุปมามารดาบิดาลงโทษบุตร

"ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าทรงทําอย่างนั้นจริง ข้อนี้ควรทราบด้วยอุปมา เหมือนมารดาบิดาเฆี่ยนตีบุตรแล้ว ให้ประโยชน์ทีหลังฉันใด พระตถาคตเจ้าก็ทรงทําฉันนั้น

พระเทวทัตถ้าจักไม่ได้บรรพชา ยังเป็นคฤหัสถ์อยู่ ก็จักทําบาปกรรม อันจักให้ไปตกนรกอยู่หลายแสนกัป เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงทราบอย่างนี้ จึงได้ทรงพระกรุณาให้บรรพชา ได้ทรงทําทุกข์หนักให้เป็นทุกข์เบา ด้วยทรงเล็งเห็นว่า เมื่อพระเทวทัตได้บรรพชาในศาสนาของเราแล้ว ทุกข์ก็จักมีที่สิ้นสุด"




อุปมาบุรุษผู้มีอํานาจ

"มหาราชเจ้า เปรียบประดุจบุรุษผู้มีกําลังทรัพย์ ยศ ศักดิ์ ญาติวงศ์ รู้ว่าญาติหรือมิตร จะต้องได้รับพระราชอาญาหนัก ก็ช่วยให้เบาตามความสามารถของตนฉันใด

สมเด็จพระจอมไตรทรงทราบว่า พระ เทวทัตจะได้รับทุกข์อยู่หลายแสนกัป จึงให้บรรพชาช่วยให้หนักเป็นเบา ด้วยอํานาจศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณฉันนั้น"




อุปมาเหมือนหมอผ่าตัด

"อีกอย่างหนึ่ง หมอผ่าตัดย่อมผ่าตัดโรคที่หนัก ๆ ออกเสียทําให้เบาลง ด้วยอํานาจยาอันแรงกล้าฉันใด
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นว่า พระเทวทัตจะได้รับทุกข์อยู่หลายแสนกัป จึงโปรดให้บรรพชา ทําทุกข์หนักให้เป็นทุกข์เบาด้วยกําลังยา คือ พระธรรม อันประกอบด้วยพระมหากรุณา ฉันนั้น

ขอถวายพระพร เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงทําพระเทวทัตผู้จะได้รับทุกข์มาก ให้ได้รับทุกข์น้อย จะได้บาปอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ? "
"ไม่ได้บาปอย่างใดเลย พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร เหตุการณ์ข้อนี้ มหาบพิตรจงรับไว้ตามความจริงว่า พระพุทธเจ้าได้โปรดให้พระเทวทัตบรรพชา เพราะทรงพระมหากรุณาแท้ ๆ"




อุปมาเหมือนผู้จับโจร

"อีกประการหนึ่ง เมื่อมีผู้จับโจรมาถวายพระราชาให้ลงพระราชอาญา พระราชาก็ตรัสสั่งให้นําไปตัดศีรษะ แต่มีผู้ที่ได้รับพรจากพระราชาทูลขอชีวิตไว้ ให้ตัดเพียงมือและเท้าเท่านั้น ผู้ที่ขอชีวิตไว้นั้น จะได้บาปอย่างไรหรือ? "
"ไม่ได้บาปอย่างไรเลย พระผู้เป็นเจ้า"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระพุทธเจ้าทรงพระกรุณาให้พระเทวทัตบรรพชา ด้วยทรงพิจารณาเห็นว่า
เมื่อพระเทวทัตได้บรรพชาแล้ว กรรมของพระเทวทัตก็จักมีที่สิ้นสุด ในเวลาที่พระเทวทัตจะถึงมรณะ ก็ได้เปล่งวาจานับถือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งด้วยคําว่า

ข้าพเจ้าขอนับถือพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุคคลอันล้ำเลิศ ผู้เป็นวิสุทธิเทพยิ่งกว่าเทพยดาทั้งหลาย ผู้ฝึกฝนบุคคลที่ควรฝึกฝน ผู้มีพระจักษุรอบพระองค์ ผู้มีลักษณะแห่งบุญอันคูณด้วย ๑๐๐ ด้วยกระดูกของข้าพเจ้า ที่ยังมีลมหายใจอยู่อีก" ดังนี้"




ด้วยอานิสงส์เพียงเท่านี้

"ขอถวายพระพร กัปที่ยังเหลืออยู่นี้ แบ่งออกเป็น ๖ ส่วน พระเทวทัตได้ทําสังฆเภทในส่วนแรก จักไปตกนรกอยู่ตลอด ๕ ส่วน พ้นจากนรกแล้ว จักได้สําเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า "อัฏฐิสสระ"

ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าผู้ทรงทําอย่างนี้ ได้ชื่อว่าทรงทําสิ่งที่ควรทําต่อพระเทวทัตแล้วหรือ? "
"ข้าแต่พระนาคเสน พระตถาคตเจ้าผู้ทรงทําอย่างนี้ ชื่อว่าทรงประทานสิ่งทั้งปวงแก่พระเทวทัตแล้ว ข้อที่พระตถาคตเจ้าได้ทรงทําให้พระเทวทัต ได้สําเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ ชื่อว่าได้ทรงทําสิ่งทั้งปวงให้พระเทวทัตแล้ว ไม่มีอะไรที่จะได้ชื่อว่า ไม่ได้ทรงกระทํา"

"ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าจะได้บาปเพราะเหตุที่พระเทวทัตทําสังฆเภทแล้วไปทนทุกข์อยู่ในนรกบ้างหรือ? "
"เปล่าเลย พระผู้เป็นเจ้า เพราะพระเทวทัตไปตกนรกด้วยกรรมของพระเทวทัตเอง พระพุทธเจ้าจะได้บาปมาแต่ไหน"
"ขอถวายพระพร แม้เหตุการณ์ดังนี้ ก็ขอมหาบพิตรจงทรงรับเถิดว่า พระพุทธเจ้าได้ให้พระเทวทัตบรรพชาด้วยพระมหากรุณาแท้"




อุปมามารดาบิดาผู้ให้กําเนิด

"ขอมหาบพิตร จงทรงสดับเหตุการณ์ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือมารดาบิดาทําให้บุตรเกิดขึ้นมาแล้ว ก็กําจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย มีแต่ทําให้เป็นประโยชน์ ทําให้บุตรเติบโตขึ้น แต่เมื่อบุตรเติบโตขึ้นแล้ว บุตรก็ได้ทําบาปกรรมไว้ มารดาบิดาจะพลอยได้รับบาปกรรมที่บุตรกระทํานั้นหรือไม่? "

"ไม่ได้รับเลย พระผู้เป็นเจ้า มารดาบิดาผู้เลี้ยงบุตรให้เติบโตขึ้นนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีอุปการคุณมากแท้ แต่บุตรจักได้รับโทษแห่งบาปกรรม ที่เขาทําด้วยตนเองต่างหาก"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระพุทธเจ้าก็เสมอกับมารดาบิดาที่ได้ให้พระเทวทัตบรรพชา ก็เพราะทรงพระมหากรุณา เหตุอันนี้ขอจงทรงรับเถิดว่า พระพุทธเจ้าให้พระเทวทัตบรรพชาด้วยพระมหากรุณาแท้"




อุปมาหมอรักษาแผล

"ขอมหาบพิตร จงทรงสดับเหตุการณ์ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือเหมือนอย่างว่าหมอผ่าตัดจะรักษาแผล อันเต็มด้วยบุพโลหิต มีรูอยู่ข้างใน มีลูกศรฝังอยู่ อันเป็นที่ไหลออกแห่งของเปื่อยเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้ง ต้องชําระล้างปากแผลด้วยยาอันกล้าแข็งเผ็ดร้อน ทําให้ปากแผลอ่อนดีแล้ว จึงตัดด้วยมีดแล้วจี้ด้วยซี่เหล็กแดง แล้วราดด้วยน้ำด่างอันแสบเค็ม แล้วทายา แล้วเนื้อที่แผลก็งอกขึ้น แผลก็หายเป็นลําดับไป

จึงขอถามมหาบพิตรว่า จะว่าแพทย์ผ่าตัดนั้น ไม่มีจิตเมตตาหรืออย่างไร? "
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า แพทย์ผ่าตัดนั้นเป็นผู้มีจิตเมตตาแท้ทีเดียว"

"ขอถวายพระพร ทุกขเวทนาอันเกิดแก่ผู้บาดเจ็บนั้นด้วยการรักษาของหมอมีอยู่ หมอนั้นจะได้บาปอย่างไรหรือไม่?"
"ไม่ได้บาปอย่างใดเลย ผู้เป็นเจ้า มีแต่จะได้บุญไปสวรรค์"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระพุทธเจ้าได้โปรดให้พระเทวทัตบรรพชา ด้วยทรงพระมหากรุณา เพื่อจะปลดเปลื้องพระ เทวทัตให้พ้นทุกข์ จึงไม่ได้บาปอะไร"




อุปมาผู้ถูกหนามตําที่เท้า

"ขอมหาบพิตร จงทรงสดับเหตุการณ์ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือเปรียบประดุจบุรุษคนหนึ่ง ถูกหนามปักเข้าไปที่เท้า หรือโดนหลักตอ มีบุรุษอีกคนหนึ่งมุ่งจะให้บุรุษนั้นสุขสบาย จึงบ่งด้วยหนามอันแหลม หรือด้วยมีดแหลม ๆ แล้วชักหนามหรือตอนั้นออก ทั้งที่มีโลหิตไหลอยู่ จะว่าบุรุษผู้ชักหนามหรือตอออกนั้น ไม่มีจิตเมตตาหรือ? "

"ว่าไม่ได้เลย พระผู้เป็นเจ้า เพราะบุรุษนั้นมุ่งให้มีความสวัสดีแท้ ๆ ถ้าเขาไม่ช่วยนําหนามหรือตอนั้นออก บุรุษนั้นก็จะต้องถึงซึ่งความตาย หรือถึงซึ่งทุกข์แทบประดาตาย"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือถ้าพระพุทธเจ้าไม่โปรดให้พระเทวทัตบรรพชา พระเทวทัตก็จะต้องไปไหม้อยู่ในนรกหลายแสนกัป"

"พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า "ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่าพระพุทธ เจ้าได้ทรงช่วยพระเทวทัต ผู้ไหลไปตามกระแสน้ำ ให้ไหลทวนขึ้นมาเหนือน้ำ ผู้ถึงซึ่งความวิบัติ ให้ถึงซึ่งความเจริญ ผู้ตกไปในเหว ให้ขึ้นจากเหว ผู้เดินทางผิด ให้มาเดินทางถูก
ข้าแต่พระนาคเสน เหตุการณ์เหล่านี้ไม่มีบรรพชิตอื่นจะชี้บอกให้เห็นได้ นอกจากผู้มีความรู้ดี ดังพระผู้เป็นเจ้านี้เท่านั้น"




ฎีกามิลินท์

ข้อที่ว่า "พระเทวทัตจักไปตกนรกอยู่ หลายแสนกัปนั้น" คือถ้าพระเทวทัตไม่ได้บรรพชาในพระพุทธศาสนา ก็จักเป็นมิจฉาทิฏฐิ อันมีโทษหนักยิ่งกว่าสังฆเภท เพราะมิจฉาทิฏฐินั้น ต้องตกนรกอยู่หลายแสนกัป

ยิ่งเป็นอัจจันตมิจฉาทิฏฐิ คือเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนักด้วยแล้ว ก็ยิ่งไม่มีกําหนดว่า จะพ้นจากนรกเมื่อใด จักเป็นหลักตออยู่ในนรก หากําหนดมิได้

คําว่า "พระเทวทัตทําสังฆเภทแล้วไปตก นรกอยู่ตลอด ๑ กัปนั้น" หมายถึง อันตรกัป คือกัปในระหว่างกัปใหญ่เท่านั้น ไม่ใช่หมายเอาตลอดกัปใหญ่ (กัปหนึ่ง ๆ แบ่งเป็น ๖๔ อันตรกัป)

เมื่อพระนาคเสนเถระแก้ปัญหาข้อนี้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว ก็มีเทวดาตั้งแต่ภุมเทวดาขึ้นไป จนถึงชั้นอกนิฏฐพรหมโลก (พรหมชั้น ๑๖) เปล่งเสียงสาธุการ ดอกไม้ทิพย์ในสวรรค์ก็ตกลงมาบูชา

พระเจ้ามิลินท์กับข้าราชบริพารทั้งหลาย พร้อมกันประนมมือสาธุการสรรเสริญว่า ยกพระสารีบุตรเถระเสียแล้ว ไม่มีผู้อื่นจะมีปัญญาเสมอเหมือนพระนาคเสน

เมื่อพระนาคเสนกลับไปแล้ว พระเจ้ามิลินท์ก็สร้างวัดถวาย ชื่อว่า "มิลินทวิหาร" แล้วถวายปัจจัย ๔ แก่พระภิกษุทั้งหลายทุกวันไป

◄ll กลับสู่ด้านบน




ปัญหาที่ ๔ ถามถึงเหตุให้แผ่นดินไหว

พระเจ้ามิลินท์ได้ตรัสถามว่า "ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็นคําขาดว่า "เหตุปัจจัยที่จะทําให้แผ่นดินไหวใหญ่นั้นมีอยู่ ๘ ประการเท่านั้น ไม่มีถึง ๙" ถ้าคํานี้จริงแล้ว คําที่ว่า "แผ่นดินไหวถึง ๗ ครั้ง ด้วยมหาทานของ
พระเวสสันดร" นั้นก็ผิด

ถ้าว่าคําที่ว่า "แผ่นดินไหวถึง ๗ ครั้ง ด้วยมหาทานของพระเวสสันดร" นั้นถูก คําที่ว่า "เหตุให้แผ่นดินไหวใหญ่มีเพียง ๘ อย่าง เท่านั้น" ก็ผิด เพราะว่าการให้ทานไม่นับเข้าในเหตุอย่างหนึ่ง ในเหตุ ๘ อย่างที่แผ่นดินไหวนั้น

เพราะฉะนั้น ปัญหาข้อนี้จึงเป็นอุภโตโกฏิ มีสองง่ามสองแง่ เป็นปัญหาละเอียด เป็นปัญหาใหญ่ เป็นปัญหาชี้ให้เห็นได้ว่า เป็นปัญหาที่ให้เกิดความมืด แต่ปัญหานี้ได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้า ผู้มีจักษุญาณแล้ว ผู้อื่นนอกจากพระผู้เป็นเจ้า ไม่อาจแก้ปัญหานี้ได้"

พระนาคเสนจึงตอบว่า "ขอถวายพระพร คําทั้งสองนี้จริงทั้งนั้น คือคําที่ว่า "เหตุให้แผ่นดินไหวใหญ่มีอยู่ ๘" ก็เป็นของจริง คําที่ว่า "แผ่นดินใหญ่ได้ไหวถึง ๗ ครั้ง เพราะมหาทานของ พระเวสสันดร" ก็เป็นของจริง ไม่ใช่ของเหลาะแหละ"




อุปมาเมฆนอกฤดูกาล

"ขอถวายพระพร ในโลกนี้มีเมฆอยู่เพียง ๓ ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อนเท่านั้น ถ้าเมฆอื่นนอกจาก ๓ ฤดูนั้น จะทําให้ฝนตกลงมา เมฆนั้นก็ไม่นับเข้ากับเมฆที่คนทั้งหลายรู้กัน เรียกว่า "อกาลเมฆ" ฉันใด

การที่แผ่นดินใหญ่ไหวถึง ๗ ครั้ง ด้วยอํานาจมหาทานของพระเวสสันดร ก็เป็น "อกาลกัมปนัง" คือแผ่นดินไหวนอกจากเหตุ ๘ ประการ ฉันนั้น"




อุปมาด้วยแม่น้ำ

นที ๕ สายย่อมไหลมาจากภูเขาหิมพานต์ อีก ๑๐ นที คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ สินธุ สตธู วิชา ปิปาสิ
จันทภาคี
ก็นับรวมเข้าในคําว่า "นที" นทีนอกนั้นไม่นับเข้าในนที เพราะไม่มีน้ำประจําอยู่เป็นนิจฉันใด

การที่แผ่นดินใหญ่ไหวถึง ๗ ครั้ง ด้วยอํานาจมหาทานของพระเวสสันดรนั้น ก็ไม่นับเข้าในเหตุ ๘ อย่าง เพราะว่าไม่ใช่เหตุที่จะให้แผ่นดินไหวเสมอไปฉันนั้น"




อุปมาหมู่เสนาอํามาตย์

"ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าอํามาตย์ของพระราชามีอยู่ ๑๐๐ หรือ ๒๐๐ ก็ดี ก็นับเข้าในหมู่อํามาตย์เพียง ๖ คนเท่านั้น อํามาตย์ ๖ คนนั้น คือ เสนาบดี ๑ ปุโรหิต ๑ ผู้ตัดสินถ้อยความ ๑ ผู้รักษาพระราชทรัพย์ ๑ ผู้กั้นเศวตฉัตร ๑ ผู้ถือพระขรรค์ ๑ เท่านั้น นอกจาก ๖ คนนี้ ไม่นับเข้าว่าเป็นอํามาตย์

ข้อนี้มีอุปมาฉันใด การที่แผ่นดินไหวถึง ๗ ครั้ง ด้วยมหาทานของพระเวสสันดรนั้น ก็ไม่นับเข้าในเหตุ ๘ อย่างฉันนั้น"




ผู้ได้รับผลบุญเห็นทันตา ๗ คน

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่า ผู้ที่ทําบุญในพระพุทธศาสนานี้แล้ว ได้รับผลบุญเห็นทันตา มีกิตติศัพท์ลือชาและยศศักดิ์ ปรากฏไปในเทพยดาและ มนุษย์? "
"เคยได้ฟัง พระผู้เป็นเจ้า"
"ขอถวายพระพร บุคคลเหล่านั้นมีอยู่กี่คน? "
"มีอยู่ ๗ คน ผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร คือใครบ้าง? "
"คือ นายสุมนมาลาการ ๑ พราหมณ์เอกสาฎก ๑ ลูกจ้างชื่อว่า นายปุณณะ ๑ พระนางมัลลิกาเทวี ๑ พระนางโคปาลมาตาเทวี ๑ นางสุปิยาอุบาสิกา ๑ นางปุณณทาสี ๑ รวมเป็น ๗ คนเท่านี้แหละ พระผู้เป็นเจ้า"




ผู้ที่ได้ขึ้นสวรรค์ทั้งเป็น ๗ คน

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับมาหรือไม่ว่า ผู้ที่ได้ทําความดีไว้ในพระพุทธศาสนาก่อน ๆ โน้น ได้ไปสวรรค์ทั้งเป็นไปด้วยรูปร่างมนุษย์มีอยู่หรือไม่? "
"มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า"
"ได้แก่ใคร...มหาบพิตร? "
"ได้แก่ โคตติลคันธัพพราชา ๑ สาธินราชา ๑ เนมิราชา ๑ มันธาตุราชา ๑ ทั้ง ๔ คนนี้ ได้ขึ้นไปดาวดึงส์สวรรค์ทั้งเป็น เพราะคนเหล่านั้นได้ทําความดีไว้นานแล้ว"




ทานของผู้อื่นไม่เป็นเหตุให้แผ่นดินไหว

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่า ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ ให้ทานอยู่ในอดีตกาล หรือในปัจจุบันกาล ทําให้แผ่นดินใหญ่นี้ไหวครั้งหนึ่ง หรือสองสามครั้ง? "
"ไม่เคยได้ยินได้ฟังเลย ผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร อาตมภาพผู้มีอาคม คือพระปริยัติธรรม และอธิคม คือมรรคผล กับการสดับฟังพระปริยัติ การเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า การฟังดี การไต่ถาม การอยู่ร่วมกับอาจารย์ การปฏิบัติอาจารย์ ก็ไม่เคยได้ยินได้ฟังว่า เมื่อผู้อื่นให้ทานได้เกิดแผ่นดินไหวเพียงครั้งเดียว หรือ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง นอกจากการให้ทานของพระเวสสันดรเท่านั้น"




อุปมาด้วยเกวียน

"ขอถวายพระพร ในระหว่างพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือพระศากยมุนีพุทธเจ้า กับ พระกัสสปพุทธเจ้านั้น ล่วงมาแล้วหลายโกฏิปี ในระหว่างนั้นก็ไม่เคยได้ยินได้ฟังเลย ถึงเลือกค้นดูก็ไม่เห็นว่าผู้อื่นให้ทานทําให้แผ่นดินไหว แผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ไหวด้วยความความเพียรเท่านั้น ด้วยความบากบั่นเพียงเท่านั้น แผ่นดินอันใหญ่หนักด้วยของหนัก คือคุณความดีของบุคคล จนไม่อาจรับไว้ได้ จึงสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว

เกวียนที่บรรทุกหนักเกินไป จนดุมเกวียน กําเกวียน กงเวียนทนไม่ไหว เพลาเกวียนก็หักฉันใด แผ่นดินอันใหญ่อันหนักด้วยคุณความดีของบุคคล จนไม่อาจรับไว้ได้จึงไหวฉันนั้น"




อุปมาด้วยท้องฟ้า

"อีกประการหนึ่ง ท้องฟ้าอันปกคลุมด้วยก้อนเมฆ หนักด้วยก้อนเมฆ มีลมพัดแรงเกินไป ก็มีเสียงดังกึกก้องฉันใด แผ่นดินใหญ่ เมื่อไม่อาจทรงของหนักคือความไพบูลย์ แห่งกําลังทานของพระเวสสันดรจึงไหวฉันนั้น เพราะว่าพระหฤทัยของพระเวสสันดรนั้น ไม่ได้เป็นไปด้วยอํานาจราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ความโกรธ ความริษยาอย่างใดเลย เป็นไปมากด้วยอํานาจแห่งทาน อย่างเดียวเท่านั้น

คือพระเวสสันดรคิดอยู่ว่า พวกยาจกที่ยังไม่มาก็ขอให้มา ที่มาแล้วก็ขอให้ได้ตามประสงค์ ได้แล้วขอให้มาอีก"




คุณธรรมของพระเวสสันดร

พระเวสสันดรนั้น มีพระหฤทัยมั่นอยู่ในธรรม ๑๐ ประการ คือ ความฝึกใจ ๑ ความสํารวม ๑ ความอดทน ๑ ความระวัง ๑ ความแน่นอน ๑ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่เบียดเบียน ๑ ความจริง ๑ ความสะอาดใจ ๑ ความเมตตา ๑

พระเวสสันดรนั้น ได้ละการแสวงหากามารมณ์เสียแล้ว ระงับการแสวงหาภพเสียแล้ว มุ่งแต่การแสวงหาพรหมจรรย์เท่านั้น
พระเวสสันดรนั้น สละการรักษาตัวเสียแล้ว มุ่งแต่รักษาผู้อื่นทุกเวลาว่า ทําอย่างไรหนอ สัตว์บุคคลทั้งสิ้นจึงจะพร้อมเพรียงกัน จึงจักไม่มีโรค จึงจักมีทรัพย์ จึงจักมีอายุยืน

พระเวสสันดรนั้น ไม่ได้ทรงให้ทานเพราะ ปรารถนาภพ หรือทรัพย์ หรือการตอบแทน การสรรเสริญ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ยศ บุตร ชีวิต แต่อย่างใดเลย พระองค์ทรงมุ่งแต่ "พระสัพพัญญุตญาณ" เท่านั้น

ข้อนี้สมกับที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า "เมื่อเราให้ทานบุตรธิดา คือ ชาลีกัณหาและเทวี คือพระนางมัทรี เราไม่ได้คิดอย่างอื่นเลย เรามุ่งต่อพระโพธิญาณอย่างเดียวเท่านั้น" ดังนี้

พระเวสสันดรนั้น ชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ ชนะคนไม่ดีด้วยความดี ชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ ชนะคนเหลาะแหละด้วยความจริง ชนะอกุศลทั้งปวงด้วยกุศล"




เหตุอัศจรรย์เพราะมหาทาน

เมื่อพระเวสสันดรให้ทานอยู่อย่างนั้น ลมใหญ่ภายใต้ก็ไหว เมื่อลมใหญ่ภายใต้ไหว น้ำที่อยู่บนลมก็ไหว เมื่อน้ำไหวหินที่อยู่บนน้ำก็ไหว เมื่อหินที่อยู่บนน้ำไหว แผ่นดินใหญ่นี้ก็ไหว

ครั้งนั้น พวกอสูร ครุฑ นาค ยักษ์ทั้งหลาย ที่มีฤทธิ์มีเดชน้อย ก็สะดุ้งตกใจกลัวว่า แผ่นดินไหวใหญ่เพราะอะไร ไม่ทราบว่าเป็นเพราะการให้ทานของพระเวสสันดร ต่อเมื่อได้ยินเสียงป่าวร้องสาธุการของเทพยดาทั้งหลายจึงรู้

เป็นอันว่า แผ่นดินใหญ่นี้ตั้งอยู่บนหิน หินตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม เมื่อลมข้างล่างไหว ก็ไหวเป็นลําดับขึ้นมาจนถึงแผ่นดินใหญ่นี้ ดังนี้"




อุปมาเหมือนแก้วต่าง ๆ

"ขอถวายพระพร แก้วต่าง ๆ ย่อมมีอยู่ที่พื้นดินเป็นอันมากคือ แก้วอินทนิล แก้วมหานิล แก้วโชติรส แก้วไพฑูรย์ แก้วอุมมารบุปผา แก้วมโนห์รา แก้วสุริยกันต์ แก้วจันทกันต์ แก้ววิเชียร แก้วกโชปักมกะ แก้วบุษราคัม แก้วแดง แก้วลาย

แก้วเหล่านี้ทั้งสิ้น สู้แก้วมณีของพระเจ้าจักรพรรดิไม่ได้ แก้วมณีของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมแผ่รัศมีไปข้างละ ๑ โยชน์โดยรอบฉันใด ทานที่มีอยู่ทั้งสิ้นมี อสทิสทาน เป็นอย่างเยี่ยม ก็สู้มหาทานของพระเวสสันดรไม่ได้ฉันนั้น

เมื่อพระเวสสันดรทรงบําเพ็ญมหาทานอยู่ แผ่นดินใหญ่ได้ไหวถึง ๗ ครั้ง ขอมหาบพิตรจงทรงพระสวนาการฟังให้เข้าพระทัย ในกาลบัดนี้

"ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาที่ลี้ลับลึกซึ้ง พระผู้เป็นเจ้าก็ได้คลี่คลายขยายออกแล้ว ได้ทําให้ตื้นแล้ว ได้ทําลายข้อที่ฟั่นเฝือได้สิ้นแล้ว"




บทผนวก

การสนทนาได้ยุติลงเพียงแค่นี้ เรื่องแผ่นดินไหวนี้ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้ใน พรหมชาลสูตร ผู้เรียบเรียงขอนํามาให้ ทราบไว้ดังนี้
"...พึงทราบแผ่นดินไหวด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ

๑. ธาตุกําเริบ (ไหวตามธรรมชาติ)
๒. อานุภาพของผู้มีฤทธิ์
๓. พระโพธิสัตว์ก้าวลงสู่พระครรภ์
๔. เสด็จออกจากครรภ์พระมารดา
๕. บรรลุพระสัมโพธิญาณ
๖. ทรงแสดงพระธรรมจักร
๗. ทรงปลงอายุสังขาร
๘. เสด็จดับขันธปรินิพพาน

ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆษาจารย์) จักกล่าว ในคราววรรณนาพระบาลี ที่มาใน มหาปรินิพ พานสูตร อย่างนี้ว่า
"ดูก่อนอานนท์ เหตุปัจจัย ๘ เหล่านี้แล ที่ให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ดังนี้เทียว ก็แผ่นดินใหญ่นี้ได้ไหวในฐานะ ๘
แม้อื่น คือ

๑. คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์
๒. คราวเสด็จเข้าสู่โพธิมัณฑสถาน
๓. คราวรับผ้าบังสุกุล
๔. คราวซักผ้าบังสุกุล
๕. คราวแสดงกาลามสูตร
๖. คราวแสดงโคตมกสูตร
๗. คราวแสดงเวสสันดรชาดก
๘. คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้

ใน ๘ คราวนั้น คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ และ คราวเสด็จเข้าสู่โพธิมัณฑสถาน แผ่นดินได้ไหวด้วยกําลังแห่งพระวิริยะ

คราวรับผ้าบังสุกุล แผ่นดินถูกกําลังความอัศจรรย์กระทบแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละมหาทวีป ๔ อันมีทวีป ๒ พันเป็นบริวาร ออกผนวชไปสู่ป่าช้าถือเอาผ้าบังสุกุล ได้ทรงกระทํากรรมที่ทําได้ยาก ดังนี้

ได้ไหวแล้ว คราวซักผ้าบังสุกุล และ คราวแสดงเวสสันดรชาดก แผ่นดินได้ไหว ด้วยคราวไหวมิใช่กาล
คราวแสดงกาลามสูตร และ คราวแสดง โคตมกสูตร แผ่นดินได้ไหวด้วยความเป็นสักขี ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอเป็นสักขี"

แต่คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้ เมื่อทรงแสดงสะสางคลี่คลายทิฏฐิ ๖๒ ประการอยู่ พึงทราบว่า ได้ไหวด้วยอํานาจถวายสาธุการ




เหตุแผ่นดินไหวหลังพุทธปรินิพพาน

อนึ่ง มิใช่แต่ในฐานะเหล่านี้อย่างเดียวเท่านั้นที่แผ่นดินไหว ที่จริงแผ่นดินไหวแล้ว แม้ในคราวสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง
แม้ในวันที่ พระมหินทเถระ มาสู่ทวีปนี้ ( มาลังกาหลังสังคายนาครั้งที่ ๓ ) นั่งแสดงธรรมในชาติวัน และเมื่อ
พระบิณฑปาติยเถระ กวาดลานพระเจดีย์ในกัลยาณีวิหาร แล้วนั่งที่ลานพระเจดีย์นั้นแหละ ยึดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เริ่มสวดพระสูตรนี้ (พรหมชาลสูตร) แผ่นดินได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็น ที่สุด

มีสถานที่ชื่อ "อัมพลัฏฐิกะ" อยู่ด้านทิศตะวันออกของโลหปราสาท พระเถระผู้กล่าว คัมภีร์ทีฆนิกาย นั่งอยู่ในสถานที่นั้น เริ่มสวดพรหมชาลสูตร แม้ในเวลาที่พระเถระเหล่านั้นสวดจบ แผ่นดินก็ได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุดเหมือนกันดังนี้แล..."

(เหตุให้แผ่นดินไหวในคราวสังคายนา ๓ ครั้งนั้น เกิดที่ประเทศอินเดีย นอกจากนั้น เป็นเหตุเกิดที่ประเทศลังกาทั้งสิ้น)

◄ll กลับสู่ด้านบน


(โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป)




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 3/11/08 at 11:35 Reply With Quote



Update 18 ต.ค. 51

ตอนที่ ๑๕


เมื่อตอนที่แล้วท่านได้ยกตัวอย่าง "ผู้ที่รับผลบุญเห็นทันตา ๗ คน" คือ นายสุมนมาลาการ ๑ พราหมณ์เอกสาฎก ๑ นายปุณณะ ๑ พระนางมัลลิกาเทวี ๑ พระนางโคปาลมาตาเทวี ๑ นางสุปิยอุบาสิกา ๑ นางปุณณทาสี ๑

ในตอนนี้จึงขอนําเรื่องราวที่มีในพระสูตร มาให้ทราบประวัติแต่เพียงโดยย่อ เอาเฉพาะบางท่านเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังบ้างแล้ว จึงขอเริ่มท่านแรกกันเลย...




นายสุมนมาลาการ

สมเด็จพระบรมศาสดาทรงปรารภนายสุมนมาลาการ ผู้เก็บดอกมะลิไปถวายพระเจ้าพิมพิสารทุกวัน วันหนึ่งเขาได้พบพระศาสดา ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการ เสด็จเข้าไปสู่พระนครเพื่อบิณฑบาต พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร

เขาจึงมีจิตยินดีเลื่อมใส ได้ตัดสินใจเอาดอกมะลิที่ตนจะต้องนําไปถวายพระราชา ด้วยคิดว่าเมื่อพระราชาไม่ทรงได้ดอกไม้ จะทรงฆ่าเราหรือขับไล่เสียจากแว่นแคว้น เราก็ยอมทุกอย่าง

เมื่อคิดดังนี้แล้ว จึงได้ยอมสละชีวิตของตนเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เขาได้ซัดดอกมะลิทีละ ๒ กํา ขึ้นไปเบื้องบนแห่งพระตถาคต ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ ดอกมะลิทั้ง ๘ กํา ๘ ทะนาน ได้ลอยเป็นตาข่ายแวดล้อมพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ ด้าน

พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบก็เลื่อมใส ได้พระราชทานสมบัติเป็นอันมากแก่นายสุมนมาลาการนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสพยากรณ์ ด้วยเหตุนี้ว่า

"อานนท์ เธออย่าได้กําหนดว่า การกระทํานี้มีประมาณเล็กน้อย การที่นายมาลาการได้สละชีวิตกระทําการบูชา ด้วยความเลื่อมใสในเราแล้ว จักดํารงอยู่ในเทวดาและมนุษย์ จักไม่ไปสู่ทุคติตลอดแสนกัป ภายหลังเขาจักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า "สุมนะ"




พระนางมัลลิกาเทวี

ในกรุงสาวัตถีมีธิดาช่างดอกไม้ผู้ใหญ่คนหนึ่ง เป็นผู้มีรูปร่างสวยงามยิ่ง เป็นผู้มีบุญมาก มีอายุ ๑๖ ปี อยู่มาวันหนึ่ง ธิดาของช่างดอกไม้นั้น เอาขนมถั่วใส่ลงกระเช้าดอกไม้ ออกไปที่สวนดอกไม้ ก็ได้พบองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากับทั้งพระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ในพระนครก็ดีใจ จึงเอาขนมเหล่านั้นใส่ลงในบาตรของพระศาสดา ไหว้แล้วก็เกิดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ แล้วยืนอยู่เมื่อสมเด็จพระบรมครูทอดพระเนตรดูแล้วก็ทรงยิ้ม เวลาพระอานนท์ทูลถามถึงเหตุที่ทรงยิ้ม ก็ตรัสว่า

"อานนท์ กุมาริกานี้จักได้เป็นอัครมเหสีของพระราชาโกศลในวันนี้ ด้วยผลที่ถวายขนมถั่ว" ดังนี้แล้วก็เสด็จไป
ฝ่ายธิดาช่างดอกไม้นั้น ไปถึงสวนดอกไม้แล้ว ก็ร้องเพลงเก็บดอกไม้ไปในวันนั้นเอง พระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ทรงสู้รบกับพระเจ้าอชาตศัตรู เวลาพ่ายแพ้ก็เสด็จหนีขึ้นทรงม้า เสด็จมาได้ทรงสดับเสียงร้องเพลงแห่งกุมาริกานั้น ก็มีพระหฤทัยปฏิพัทธ์

พระบาทท้าวเธอจึงเสด็จไปที่สวนดอกไม้ ทรงทราบว่ากุมาริกานั้นยังไม่มีสามี จึงโปรดให้ขึ้นนั่งบนหลังม้า ห้อมล้อมด้วยพลนิกาย เสด็จเข้าสู่พระนคร แล้วโปรดให้ส่งกุมาริกานั้นกลับไปสู่เรือนตระกูล พอถึงเวลาเย็นก็ โปรดให้รับมาด้วยสักการะใหญ่ อภิเษกบนกองแก้วแล้วตั้งให้เป็นพระอัครมเหสี

พระนางมัลลิกานั้น ได้เป็นที่โปรดปรานของพระราชา เป็นที่คุ้นเคยกระทั่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น ปรากฏพระนามว่า "พระนางมัลลิกาเทวี" ดังนี้




พระนางโคปาลมาตาเทวี

ในครั้งพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่โน้น มีนิคมหนึ่งชื่อว่า "นาลินิคม" ที่นิคมนั้นมีธิดาเศรษฐีอยู่ ๒ คน คนหนึ่งเมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้วก็ยากจน จึงได้อาศัยอยู่กับพี่เลี้ยง แต่มีร่างกายสวยดี มีผมยาวกว่าสตรีอื่น อีกคนหนึ่งเป็นคนยังมั่งมีอยู่ แต่เป็นคนมีผมน้อย ได้เคยให้สาวใช้ไปขอซื้อผมของธิดาเศรษฐีนั้น เป็นราคาตั้งร้อยตั้งพันก็ไม่อาจซื้อได้

ในวันนั้น ธิดาเศรษฐีผู้มีผมยาวได้เห็น พระมหากัจจายนะ เดินมาเที่ยวบิณฑบาตกับพระภิกษุ ๗ องค์ แต่ก็ไม่ได้อะไรในนิคมนั้น จึงให้พี่เลี้ยงไปนิมนต์พระเถระเหล่านั้น ให้ขึ้นมานั่งบนเรือน แล้วธิดาเศรษฐีก็เข้าห้องให้ พี่เลี้ยงตัดผมของตน แล้วบอกว่า "พี่จงเอาผมเหล่านี้ไปให้แก่ธิดาเศรษฐีซึ่งไม่มีผมชื่อโน้น เขาให้สิ่งใดก็จงนําสิ่งนั้นมา เราจะได้ถวายบิณฑบาตแก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายด้วยสิ่งนั้น" แล้วก็ใช้ให้พี่เลี้ยงไป

พี่เลี้ยงได้ไปทําอย่างนั้นแล้วได้เงิน ๘ กหาปณะ (๘ ตําลึง) มาให้แก่ธิดาเศรษฐีผู้มีผมยาว ธิดาเศรษฐีนั้นก็ให้ไปซื้ออาหารมา ๘ สํารับ ๆ ละ ๑ ตําลึง แล้วให้ถวายแก่พระ เถระทั้งหลาย ส่วนตนเองหลบลี้อยู่ในห้อง

พระมหากัจจายนะรู้เหตุการณ์นั้นแล้ว จึงให้เรียกออกมา ธิดาเศรษฐีนั้นก็ได้ออกมา ด้วยความเคารพพระเถรเจ้า ไหว้พระเถระ ทั้งหลายแล้วก็เกิดศรัทธาแรงกล้า

ธรรมดาทานที่บุคคลถวายในเนื้อนาที่ดี ย่อมให้ผลในปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ผมของธิดาเศรษฐีนั้น จึงกลับเป็นปกติขึ้นพร้อมกับเวลาไหว้พระเถรเจ้า

พระเถระรับบิณฑบาตแล้ว ก็พากันเลื่อนลอยขึ้นสู่เวหาต่อหน้าธิดาเศรษฐีนั้น แล้วไปลงที่กาญจนอุทยาน จึงได้ฉันในที่นั้น นายอุทยานได้เห็นพระเถระนั้น จึงไปกราบทูลพระราชา

พระราชาจัณฑปัชโชต ได้เสด็จไปที่พระราชอุทยานพอดีพระเถระฉันเสร็จแล้ว พระบาทท้าวเธอก็กราบไหว้แล้วตรัสถามว่า วันนี้ท่านทั้งหลายได้อาหารที่ไหน พอได้ทรงสดับเรื่องดังกล่าวนี้แล้ว จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ แล้วโปรดให้ไปรับธิดาเศรษฐีนั้น มาตั้งให้เป็นอัครมเหสีในวันนั้น

ต่อมาเวลาภายหลังเมื่อพระอัครมเหสีนั้น ได้พระราชโอรสแล้ว จึงทรงตั้งซื่อว่า "โคปาล กุมาร" เหมือนกับชื่อมหาเศรษฐีผู้เป็นตา จึงปรากฏพระนามว่า "พระนางโคปาลมาตาเทวี" ตามชื่อแห่งพระราชโอรส พระนางมีความเลื่อมใสต่อพระเถระ ยิ่งนัก จึงได้โปรดสร้างวัดถวายพระเถระไว้ในกาญจนอุทยานนั้น ดังนี้




นางสุปิยอุบาสิกา

ในกาลที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในป่าอิสิปตนมิคทายวัน ครั้งนั้นมี สุปิยอุบาสกและสุปิยอุบาสิกา ได้เป็นอุปัฏฐากพระภิกษุทั้งหลาย ด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

วันหนึ่งได้ทราบว่า มีภิกษุองค์หนึ่งฉันยาประจุรุถ่าย ปรารถนาจะฉันแกงเนื้อสักหน่อย สุปิยอุบาสิกา ก็รับว่าจะหามาถวาย จึงกลับไปยังเรือนใช้ให้คนไปซื้อเนื้อ อันเขาขายอยู่ในตลาดนั้น ปรากฏว่าหาซื้อเนื้อที่ตายแล้ว มิได้เลย สุปิยอุบาสิกาจึงคิดว่า พระภิกษุที่อาพาธนั้น มิได้ฉันแกงเนื้อแล้วอาจจะอาพาธหนัก หรืออาจจะถึงตายได้เป็นมั่นคง และตัวเราได้รับปากไว้แล้ว จึงได้ตัดสินใจเอามีดเชือดเนื้อที่ขาของตน แล้วส่งให้ทาสีว่า

"เจ้าจงต้มแกงเนื้อนี้แล้ว จงนําไปถวายแก่ภิกษุไข้ชื่อนั้น ๆ ถ้าผู้ใดถามว่าฉันไปไหน จงบอกว่าฉันเป็นไข้อยู่"

สุปิยอุบาสิกาสั่งดังนั้นแล้ว จึงเอาผ้าห่มพันขาเข้าไว้ แล้วเข้าไปในห้องขึ้นนอนอยู่บนเตียงนั้น ลําดับนั้น สุปิยอุบาสกไปยังเรือน สุปิยอุบาสิกาแล้วถามว่า "นางสุปิยาไปไหน ?"
ทาสีจึงบอกว่า "นางนอนอยู่ในห้อง"

สุปิยอุบาสกจึงเข้าไปถาม เมื่อได้ทราบความดังนั้นแล้ว จึงสรรเสริญว่า "อัศจรรย์จริง ๆ แล้วหนอ.....สุปิยานี้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจริง ๆ แม้กระทั่งเนื้อหนังในกายตัวยังบริจาคได้ จะว่าไปใยถึงสิ่งของภายนอกกายนั้นเล่า ซึ่งว่าจะมิได้ให้นั้นจะมิได้มีเลย"

แล้วจึงไปอาราธนาพระพุทธองค์ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง เพื่อจะให้เป็นบุญปีติปราโมทย์ในวันรุ่งเช้า ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเรือนนั้นแล้ว จึงตรัสถามสุปิยอุบาสกว่า "สุปิยอุบาสิกาไปไหนจึงไม่เห็น ? "
สุปิยอุบาสกจึงกราบทูลว่า "นางป่วยไข้อยู่ พระพุทธเจ้าข้า"
จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า "ท่านจงช่วยพยุงมาที่นี่เถิด"

อุบาสกรับพระพุทธฎีกาแล้ว จึงไปพยุงนางออกมาสู่สํานักพระพุทธเจ้า แต่พอนางสุปิยอุบาสิกาได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น แผลอันใหญ่นั้นก็งอกเนื้อหนังเป็นปกติขึ้นดังเก่า คนทั้งสองจึงถวายภัตตาหารอันประณีตแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธองค์ทรงเป็นประธาน ดังนี้

(ผลบุญที่บุคคลเหล่านี้กระทําแล้ว ด้วยการบูชายิ่งกว่าชีวิตของตน ได้ให้ผลทันทีในปัจจุบันนี้ เรื่องเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้ว ในสมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ต่อไปจะเป็นเรื่องที่อัศจรรย์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังว่างจากพระศาสนา เป็นกาลที่พระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงอุบัติ แต่บุคคลเหล่านั้นได้ขึ้นไปบนสวรรค์ทั้งเป็น มี ๔ ท่าน ดังนี้

โคตติลคันธัพพราชา ๑ สาธินราชา ๑ เนมิราชา ๑ มันธาตุราชา ๑ (บุคคลทั้ง ๔ ท่านนี้ ได้ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วยกายที่เป็นมนุษย์ ความจริงผู้มีชื่อทั้ง ๔ นี้ มิใช่อื่นไกล เป็นสมเด็จพระจอมไตรองค์ปัจจุบันนี้เอง ได้เกิดขึ้นในสมัยที่เสวยพระชาติเป็น "พระโพธิสัตว์" นั่นเอง)




โคตติลคันธัพพราชา

ในคราวที่ พระมหาโมคคัลลาน์ ได้ขึ้นไปที่ดาวดึงส์สวรรค์ ได้พบนางเทพธิดา ๓๖ องค์ ในวิมาน ๓๖ หลัง ซึ่งตั้งอยู่เป็นลําดับไป เมื่อได้กลับมาแล้วจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระพุทธองค์ให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าเรื่องอดีตของพระองค์ให้ฟังว่า

ในอดีตกาล เมื่อครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูล "คันธัพพะ" คือ ตระกูลดีดสีตีเป่า เป็นผู้มีศิลปะปรากฏทั่วไป เป็นอาจารย์ชื่อว่า "โคตติลบัณฑิต"

มีนักดีดสีตีเป่า ชื่อว่า "มุสิละ" อยู่เมืองอุชเชนี ได้มาขอเรียนด้วย เมื่อเรียนจบแล้ว จึงขออาจารย์ไปแสดงศิลปะถวายพระราชา พระราชาทรงโปรดให้อยู่ด้วย แล้วจะให้รางวัลครึ่งหนึ่งของเบี้ยเลี้ยงที่ให้แก่อาจารย์

นายมุสิละทูลขอให้เท่ากับอาจารย์ แต่พระราชาตรัสว่า ธรรมดาอาจารย์ย่อมใหญ่กว่าศิษย์ เราจักให้เจ้ากึ่งหนึ่ง นายมุสิละจึงกราบทูลขอให้ทอดพระเนตรศิลปะของตนกับอาจารย์

ฝ่ายพระโพธิ์สัตว์ได้รู้ข่าวเช่นนั้น คิดว่าอาจจะพ่ายแพ้เพราะความแก่เฒ่าชราของตน จึงคิดจะฆ่าตัวตาย พอเดินเข้าไปในป่าจะผูกคอตาย แต่พอนึกกลัวตายก็กลับมาอีก เดินกลับไปกลับมาอย่างนี้จนหญ้าเตียนไป

พระอินทร์จึงลงมาปรากฏในอากาศ ทรงทราบเหตุดังนั้นแล้ว จึงแนะนําวิธีดีดพิณแก่พระโพธิสัตว์ พร้อมกับให้บ่วง ๓ บ่วง ตรัสว่าเมื่อเสียงพิณดังแล้ว ท่านจงโยนบ่วง ๆ หนึ่งขึ้นในอากาศ จักมีนางฟ้าลงมาฟ้อนอยู่ข้างหน้าของท่าน

เมื่อถึงวันประลองปรากฏว่า นายมุสิละก็ต้องพ่ายแพ้แก่อาจารย์ มหาชนได้พากันลุกฮือเข้าทําร้ายจนถึงแก่ความตาย พระราชาทรงโปรดให้พระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่พระโพธิสัตว์ ฝ่ายชาวเมืองก็กระทําตามอย่างพระราชา

สมเด็จอมรินทราได้ตรัสเล่าเรื่องนี้แก่เหล่าเทพธิดา พวกเทพธิดาจึงกราบทูลว่า หม่อมฉันอยากจะเห็นอาจารย์ ขอได้โปรดให้ไปนํามาในที่นี้ ท้าวโกสีย์จึงตรัสสั่งให้มาตลีเทพสารถี นําเวชยันตรถไปเชิญมา

เมื่อพระโพธิสัตว์ขึ้นมาถึงแล้ว จึงได้แสดงศิลปะในการดีดพิณให้ฟัง เมื่อจบแล้ว จึงได้ขอให้เทพธิดาทั้งหลายเล่าถึงบุญกุศลที่เป็นความดีให้ฟัง นางเทพกัญญาเหล่านั้นได้ เล่าให้ฟังว่า ตนเองเคยเกิดในสมัยพระพุทธกัสสป ล้วนแต่ได้ถวายทานต่าง ๆ กันทั้งนั้น

ครั้นล่วงไป ๗ วัน ท้าวสักกเทวราช จึงรับสั่งให้ท่านมาตลี อัญเชิญพระโพธิสัตว์กลับลงไปสู่กรุงพาราณสี เวลากลับมาแล้วก็ได้เล่าเหตุการณ์ ตามที่ตนได้ไปเห็นในสวรรค์ให้คนทั้งหลายฟัง

จําเดิมแต่นั้นมา คนทั้งหลายก็มีความอุตสาหะในการทําบุญกุศล ส่วนพระโพธิสัตว์ก็มั่นอยู่ในการให้ทาน รักษาศีล แล้วได้ขึ้นไปเกิดในสวรรค์

เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงเรื่องนี้ให้พระมหาโมคคัลลาน์ฟัง จึงทรงประชุมชาดกว่า นายมุสิละในคราวนั้น ได้มาเกิดเป็น พระเทวทัต ในคราวนี้ ท้าวโกสีย์ได้มาเกิดเป็น พระอนุรุทธ พระราชาได้มาเกิดเป็น อานนท์ ส่วน โคตติลบัณฑิต ได้มาเกิดเป็นเราตถาคตในบัดนี้




สาธินราชา

ในอดีตกาลพระโพธิสัตว์เป็นพระราชา ทรงพระนามว่า "สาธินะ" ในเมืองมิถิลา รับสั่งให้สร้างโรงทานไว้ ๖ แห่ง แล้วทรงบริจาคทรัพย์ ๖ แสนทุกวัน ทรงรักษาศีล ๕ บ้าง ทรงรักษาอุโบสถศีลบ้าง

แม้พวกชาวเมืองก็ตั้งอยู่ในโอวาทของพระองค์ ทําบุญให้ทานเป็นต้น ตายไปก็ไปเกิดในสวรรค์ทั้งนั้น ได้ไปนั่งที่
เทวสภานั้นแล้ว ต่างพรรณนาคุณแห่งศีลและอาจาระ คือความประพฤติของพระราชาอยู่ทีเดียว ฝ่ายเทพยดาที่เหลือฟัง
คุณกถานั้นแล้ว มีความประสงค์จะ เห็นพระราชา

ท้าวสักกะทรงทราบใจของทวยเทพเหล่านั้น จึงทรงบัญชามาตลีเทพบุตรว่า ท่านจงไปนําพระเจ้าสาธินะมาด้วยเวชยันตรถ มาตลีเทพบุตรจึงไปสู่เมืองมิถิลานําพระองค์มา ทวยเทพพร้อมด้วยพระอินทร์เห็นพระองค์แล้ว ต่างร่าเริงยินดี ทําการต้อนรับแล้ว

ที่นั้นท้าวสักกะได้แบ่งเทพนคร นางอัปสรโกฏิครึ่ง และเวชยันตปราสาทครึ่งหนึ่ง ให้แก่พระเจ้าสาธินะ พระบาทท้าวเธอเสวยทิพยสมบัติอยู่ ๗๐๐ ปีล่วงไปแล้ว โดยการนับอย่างมนุษย์ ต่อมาบุญอันเป็นเหตุอยู่ในเทวโลก โดยอัตภาพนั้นสิ้นแล้ว ความไม่ยินดีก็เกิดขึ้น

องค์อมรินทร์ทรงทราบเหตุนั้น จึงทรงบัญชาให้มาตลีเทพบุตรนําไปลงที่อุทยาน นายอุทยานเห็นดังนั้นแล้ว ได้กราบทูลแก่ พระเจ้านารทะ ผู้เป็นพระปนัดดาองค์ที่ ๗ ของพระองค์ (ทราบว่าเวลานั้นคนมีอายุขัย ๗๐๐ ปี)

ฝ่ายพระเจ้านารทะเสด็จมาถวายบังคมพระโพธิสัตว์ ทูลอัญเชิญให้เสวยราชสมบัติแล้ว พระเจ้าสาธินะตรัสว่า เราไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ เพราะว่าเรามาในที่นี้เพื่อต้องการทําบุญ เรามีความประสงค์ที่จะให้ทาน ซึ่งหยุดเสียตั้ง ๗๐๐ ปี เพียง ๗ วันเท่านั้น

พระเจ้านารทะจึงทรงจัดแจงมหาทาน พระโพธิสัตว์ทรงให้ทานตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ สวรรคตแล้ว บังเกิดในภพดาวดึงส์นั่นเอง ดังนี้




มันธาตุราชา

เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวนาราม ทรงปรารภภิกษุผู้มีความฝักใฝ่ใคร่จะสึกรูปหนึ่งให้เป็นต้นเหตุ แล้วจึงทรงแสดงชาดกนี้แก่ภิกษุทั้งหลายว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันความปรารถนาในกามารมณ์ยากที่จะให้เพียงพอได้ เรื่องนี้นักปราชญ์ในปางก่อน ผู้มีอํานาจแผ่ไปในมนุษย์และสวรรค์ ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่อาจให้เพียงพอกับความปรารถนาในกามารมณ์ได้"
ในต้นภัทรกัปนี้มี พระเจ้ามหาสมมุติราช พระองค์หนึ่ง ได้เสวยราชสมบัติเป็นพระบรมกษัตริย์องค์แรกในโลก พระองค์มีพระราชโอรส ทรงพระนามว่า พระเจ้าโรชราช แล้วมีพระราชโอรสสืบราชสมบัติติดต่อกันดังนี้ คือ พระเจ้าวรโรชราช พระเจ้ากัลยาณบดี พระเจ้าอุโบสถราช พระเจ้าวรอุโบสถ และ พระเจ้าวรอุโบสถนี้มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า พระเจ้ามันธาตุราช

พระเจ้ามันธาตุราชนั้น ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชบริบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีฤทธาภินิหารแผ่ไปในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒ พันเป็นบริวาร แต่ถึงอย่างนั้นพระองค์ก็ยังไม่พอพระราชประสงค์

วันหนึ่งพระองค์จึงทรงตบพระหัตถ์เบื้องซ้ายและเบื้องขวา เพื่อให้ห่าฝนแก้ว ๗ ประการนั้นตกลงมา ในทันใดนั้นก็มีห่าฝนแก้ว ๗ ประการ ตกลงมาจากอากาศดารดาษไปทั่วพื้นปฐพี จึงตรัสถามหมู่อํามาตย์ว่า "ในที่ใดจะมีความสําราญยิ่งไปกว่านี้ ? "

อํามาตย์จึงกราบทูลว่า "สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชพระพุทธเจ้าข้า"

พระองค์จึงเสด็จขึ้นทรงจักรแก้ว พร้อมด้วยหมู่อํามาตย์ ตามเสด็จขึ้นไปสู่ชั้นจาตุมหาราช เมื่อท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้ทราบ จึงพาหมู่เทพนิกรออกไปต้อนรับอย่างมโหฬาร เชิญให้ผ่านสมบัติชั้นจาตุมหาราชอยู่ตลอดกาลนาน ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่พอพระราชประสงค์อีก จึงตรัสถามท้าวมหาราชทั้ง ๔ ว่า "ที่มีความสําราญยิ่งกว่านี้ ยังมีอีกหรือไม่ ? "

ท้าวมหาราชทั้ง ๔จึงกราบทูลว่า "ยังมีอยู่อีก คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์"

พระองค์จึงทรงจักรแก้วพร้อมด้วยราชบริพาร บ่ายพระพักตร์สู่ดาวดึงส์เทวสถาน ท้าวมัฆวานเทวราชผู้เป็นใหญ่ จึงพาเทพบุตร เทพธิดาทั้งหลาย เสด็จออกไปต้อนรับแห่แหน เข้าสู่ดาวดึงส์

ส่วนขุนพลแก้วก็พาจักรแก้วกับบริวารกลับสู่มนุษยโลก แล้วท้าวมัฆวานเทวราชจึงแบ่งทิพยสมบัติในดาวดึงส์ ถวายพระเจ้ามันธาตุราชกึ่งหนึ่ง

จําเดิมแต่นั้นมาพระราชาทั้งสองพระองค์ คือ พระเจ้ามันธาตุราชกับท้าวมัฆวานเทวราช ได้เสวยทิพยสมบัติอยู่ในดาวดึงส์สืบต่อไป กําหนดนับได้ ๓ โกฏิ ๖ หมื่นปีในมนุษย์ ท้าวมัฆวานเทวราชนั้นจึงจุติจากดาวดึงส์ แล้วมีท้าวมัฆวานองค์ใหม่อุบัติขึ้นแทน โดยอุบายนี้ล่วงไปได้ ๓๖ ชั่วพระอินทร์ ซึ่ง เรียกท้าวมัฆวานเทวราช

ครั้นถึงพระอินทร์องค์ที่ ๓๗ พระเจ้า มันธาตุราชจึงทรงพระดําริว่า ต้องการอะไรที่เราจะเสวยทิพยสมบัติเพียงกึ่งหนึ่งเท่านี้ เราจะปลงพระชนมชีพท้าวมัฆวานเทวราชองค์ใหม่นี้เสีย จะเสวยทิพยสมบัติให้เป็นสุขแต่เราผู้เดียว

ครั้นทรงพระดําริอย่างนี้แล้วก็ไม่สามารถจะปลงพระชนม์ท้าวมัฆวานเทวราชนั้นได้ จึงทรงเป็นทุกข์ในพระราชหฤทัย ทั้งชราภาพก็เบียดเบียนพระวรกาย จึงพลัดตกลงมาจากเทวโลกสู่พระราชอุทยานของพระองค์ ด้วยเหตุว่าธรรมดามนุษย์ย่อมไม่แตกกายทําลายขันธ์ในเทวโลก

แต่เมื่อถึงพระราชอุทยานแล้ว ก็หาเป็นอันตรายไม่ นายอุทยานจึงนําความไปกราบทูลแก่ราชตระกูล ราชตระกูลก็พากันออกมา จัดที่บรรทมถวายในพระราชอุทยาน ในขณะนั้น อํามาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลว่า "บัดนี้จักให้ข้าพระบาททั้งหลายทําอย่าง ไร ? "
พระบาทท้าวเธอตรัสตอบว่า "ท่านทั้งหลาย จงประกาศให้มหาชนรู้ทั่วกันว่า เราได้เสวยสมบัติจักรพรรดิราช และทิพยสมบัติ ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช และชั้นดาวดึงส์ อยู่ตลอดกาลนาน ก็ยังไม่เพียงพอแก่ความปรารถนาในกามารมณ์ จึงพลัดตกลงมาจากเทวสถาน มาอยู่ในพระราชอุทยานนี้ บัดนี้ได้เสด็จสวรรคตแล้ว"

ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปตามยถากรรมของพระองค์ กําหนดนับพระชนมายุของพระองค์ได้ ๑ อสงไขย

ครั้นสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงนํามาซึ่งอดีตเทศนาอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า "ยาวตา จันทิมสุริยา ปริหรันติ ฯลฯ สัมมาสัมพุทธสาวโก... แปลว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งหลาย ย่อมหมุนเวียนรอบเขาสิเนรุราช เปล่งรัศมีโอภาสไปในทิศทั้งหลาย มีประมาณเท่าใด คนและสัตว์ทั้งสิ้นที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินมีประมาณเท่านั้นล้วนแต่เป็นทาสของพระเจ้ามันธาตุราชสิ้น

แต่ถึงอย่างนั้น พระเจ้ามันธาตุราชก็ยังไม่พอพระราชประสงค์ ด้วยห่าฝนแก้ว ๗ ประการที่ทรงบันดาลให้ตกลงมาเพื่อสงเคราะห์ทาสทั้งหลายของพระองค์

บัณฑิตรู้แล้วว่า กามารมณ์ทั้งหลาย เป็นของมีสุขน้อยมีทุกข์มาก จึงไม่ยินดีในกามารมณ์อันเป็นทิพย์สาวกแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมยินดีแต่ในธรรม เครื่องสิ้นตัณหาเท่านั้น"

ครั้นสมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาโปรดประทานพระธรรมเทศนาอย่างนี้แล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจสืบต่อไป ภิกษุผู้มีความกระสันอยากสึกนั้น ก็ได้สําเร็จพระโสดาปัตติผล ส่วนภิกษุทั้งหลายที่มาด้วยกัน ก็ได้บรรลุมรรคผลตามวาสนาบารมีของตน ๆ

แล้วสมเด็จพระทศพลจึงทรงประชุมชาดก ว่า พระเจ้ามันธาตุราชบรมจักรพรรดิ ในครั้ง
นั้น คือเราตถาคตในบัดนี้แล"

(ขอยุติเรื่องราวไว้เพียงแค่นี้ จึงขอเข้าสู่ปัญหาของพระยามิลินท์ต่อไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน




ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องได้ตาทิพย์ของพระเจ้าสีพี

"พระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ตรัสถามว่า "ข้าแต่พระนาคเสน มีคํากล่าวไว้ว่า พระเจ้าสีวิราช ได้ทรงพระราชทานจักษุให้แก่คนตาบอด แล้วมีทิพยจักษุเกิดขึ้นอีก คํานี้เป็นคําน่าข่มขี่ เป็นคํามีโทษ เป็นคํายุ่งยาก เพราะผู้เสียจักษุประสาทแล้ว ทิพยจักษุย่อมเกิดไม่ได้ มีคํากล่าวไว้ในพระสูตรอย่างนี้

ถ้าพระเจ้าสีวิราชได้พระราชทานจักษุไปแล้ว ได้ทิพยจักษุขึ้น คําที่กล่าวไว้ในพระสูตรนั้นก็ผิดไป ถ้าคำที่กล่าวไว้ในพระสูตรว่า เมื่อจักษุประสาทถูกทําลายแล้ว ทิพยจักษุเกิดไม่ได้นั้นถูก ข้อที่ว่าทิพยจักษุเกิดแก่พระเจ้าสีวิราช ผู้เสียจักษุประสาทแล้วนั้นก็ผิดไป ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด"

"พระนาคเสนจึงตอบว่า "ขอถวายพระพร พระเจ้าสีวิราชได้พระ ราชทานจักษุแก่ยาจกจริง ขอมหาบพิตรอย่าทรงเคลือบแคลงสงสัยเลย"
"ข้าแต่พระนาคเสน เมื่อจักษุประสาทถูกทําลายแล้ว ทิพยจักษุเกิดได้หรือ ? "
"ขอถวายพระพร เกิดไม่ได้"

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เมื่อจักษุประสาทถูกทําลายแล้ว เหตุไรทิพยจักษุจึงเกิดขึ้นได้ ? "
"ขอถวายพระพร ผู้มีสัจจะทั้งหลาย ย่อมกระทําสัจจกิริยาด้วยสัจจะอันใด สัจจะอันนั้นมีอยู่ในโลกหรือไม่ ? "

"มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า เพราะผู้ทําให้ฝนตก ทําให้ไฟดับ กําจัดยาพิษ ทําให้น้ำมหาสมุทรไหลกลับ ทําให้น้ำในคงคาใหญ่ไหลกลับ ทําสิ่งที่ควรทําต่าง ๆ อีกเป็นอันมาก ให้สําเร็จได้ด้วยสัจจกิริยามีอยู่"

"ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ข้อที่ว่าทิพยจักษุเกิดแก่พระเจ้าสีวิราชด้วยกําลังสัจจะ นั้นก็ถูกแล้ว เพราะถึงว่าไม่มีจักษุประสาทแล้วก็ตาม ทิพยจักษุก็เกิดขึ้นได้ด้วยอํานาจสัจจะ อันเป็นวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งจักษุประสาท

เมฆใหญ่ยังทําให้ฝนตกลงมาได้ พร้อมกับสัจจกิริยาของบุคคลบางจําพวก ไฟกองใหญ่ยังดับได้ ยาพิษยังเหือดหายไปได้ ด้วยสัจจกิริยา เพราะฉะนั้น จักษุทิพย์จึงเกิดแก่พระเจ้าสีวิราชได้

ไม่มีสิ่งอื่นที่จะทําให้ตรัสรู้อริยสัจได้ นอกจากสัจจะเท่านั้น บุคคลย่อมรู้อริยสัจ ๔ ได้ด้วย "อํานาจสัจจะ"




สัจจะของพระเจ้าจีนราช

"พระเจ้าจีนราชใน "จีนประเทศ" ใคร่จะทรงเล่นน้ำมหาสมุทร ได้ทรงกระทําสัจจกิริยาอยู่ ๔ เดือน จึงทรงขับรถไปเที่ยวเล่นในมหาสมุทรได้ ท่อน้ำใหญ่ข้างหน้ารถได้หลีกไป เมื่อรถจะขึ้นจากมหาสมุทร ก็โผล่ขึ้นเหมือนดอกบัว

ขอถวายพระพร น้ำมหาสมุทร เทพยดามนุษย์ในโลก อาจทําให้หลีกได้ด้วยกําลังกาย มีอยู่หรือ ?"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพียงแต่น้ำในสระเล็ก ๆ เทพยดามนุษย์ก็ยังทําให้หลีกไปด้วย กําลังกายไม่ได้ อย่าว่าถึงน้ำมหาสมุทรเลย"
"ขอถวายพระพร ด้วยเหตุนี้แหละ จึงควรทราบกําลังสัจจะ สิ่งที่ไม่เป็นไปด้วยสัจจะ ไม่มี"




สัจจะของหญิงแพศยา

"ขอถวายพระพร พระเจ้าอโศกธรรมราชา ในพระนครปาตลีบุตร ห้อมล้อมด้วยชาวนิคมอํามาตย์ข้าราชการ เสด็จไปเล่นน้ำที่มหาคงคา ได้ทอดพระเนตรเห็นมหาคงคามี น้ำเต็มเปี่ยม กว้างยาวถึง ๕๐๐ โยชน์กําลัง ไหลอยู่ จึงตรัสขึ้นว่า "ผู้สามารถจะทําให้น้ำในมหาสมุทรคงคานี้ไหลกลับมีอยู่หรือ ?"

ครั้งนั้น พวกอํามาตย์จึงกราบทูลว่า "ทําได้ยาก พระเจ้าข้า"

มีหญิงแพศยาชื่อว่า นางพินทุมดี ยืนอยู่ที่ฝั่งคงคานั้น ได้ทราบพระราชประสงค์นี้ จึงกล่าวขึ้นว่า "เราเป็นหญิงแพศยา อาศัยรูปกายเลี้ยงชีวิตอยู่ในเมืองปาตลีบุตรนี้ ขอจงให้พระราชา ได้เห็นสัจจกิริยาของเรา"

แล้วก็ได้กระทําสัจจกิริยา พอสิ้นสัจจกิริยาลง น้ำในมหาคงคาก็ไหลกลับทันที พระราชาก็ทรงฉงน จึงตรัสขึ้นว่า เหตุไรน้ำในมหาคงคาจึงไหลกลับ ?"

พวกอํามาตย์จึงกราบทูลว่า "ได้ยินหญิงแพศยาคนหนึ่งกระทําสัจจกิริยาอยู่ พระเจ้าข้า"

พระราชาจึงรีบเสด็จไปตรัสถามหญิงแพศยานั้นด้วยพระองค์เองว่า "น้ำในมหาคงคานี้ไหลกลับเพราะสัจจกิริยาของเจ้าหรือ ?"
หญิงแพศยานั้นกราบทูลว่า "ถูกแล้วเพคะ"

เจ้ามีกําลังอย่างไร ใครรับทําตามคําสั่งของเจ้าหรือ... ยักษ์ นาค ได้ช่วยเจ้าทําให้น้ำในมหาคงคาไหลกลับหรือ ?"
"หม่อมฉันได้ทําให้น้ำมหาคงคานี้ไหลกลับ ด้วยกําลังสัจจะของหม่อมฉันเพคะ"

"กําลังสัจจะของเจ้ามีหรือ เจ้าเป็นหญิง นักเลง ไม่มีสติ ปล้นทรัพย์ของประชาชน มีความประพฤติเลวทรามไม่มียางอาย มีแต่เล้าโลมมหาชน เจ้ายังจะมีกําลังสัจจะหรือ ?"
"ข้าแต่มหาราชา กิริยาของหม่อมฉันเช่น นั้นมีอยู่จริง เป็นกิริยาที่หม่อมฉันจะทําให้โลกมนุษย์โลกเทวดาเป็นไปได้"
"สัจจกิริยาของเจ้าเป็นอย่างไร ว่าให้เราฟังดูซิ"

"ข้าแต่มหาราชเจ้า บุรุษใดให้ทรัพย์แก่หม่อมฉัน บุรุษนั้นจะเป็นกษัตริย์หรือพราหมณ์ เวศย์หรือศูทรอย่างไรก็ตาม หม่อมฉันก็ทําให้เกิดความยินดีเอาอกเอาใจเหมือนกันสิ้น ไม่เลือกว่าสูงต่ำเลวดีกว่ากันอย่างไร

สุดแท้แต่ว่าใครให้ทรัพย์แก่หม่อมฉันแล้ว หม่อมฉันก็บําเรอให้เป็นที่พอใจเสมอกันทุกคนไป หม่อมฉันได้ยกเอาความจริงอย่างนี้ขึ้นประกาศ จึงทําให้น้ำมหาคงคาไหลกลับได้"

ขอถวายพระพร ทิพยจักษุได้เกิดแก่พระเจ้าสีวิราชด้วย สัจจกิริยา คําใดที่กล่าว ไว้ในพระสูตรว่า
"เมื่อมังสจักษุเสียไปแล้ว ไม่มีที่ตั้งแล้ว คือไม่มีจักษุประสาทแล้ว ทิพยจักษุย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ คํานั้นเป็น "ภาวนามัย" ขอให้โลกมนุษย์กับทั้งเทวโลกจงจําไว้อย่างนี้"

"ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาข้อนี้พระผู้เป็นเจ้าก็ได้แก้ไขไว้ถูกต้องดีแล้ว โยมขอรับว่าเป็นความจริง"




อธิบาย

คำว่า "ภาวนามัย" หมายถึงผู้ที่ประสาทตาพิการแล้ว จะเจริญภาวนาให้ทิพยจักษุเกิดขึ้นไม่ได้ คำนี้เป็นคำกล่าวไว้ในพระสูตร หมายเอาบุคคลอื่นทั่วไป

แต่สำหรับ "พระเจ้าสีวิราช" อาจจะ เหนือกว่าสิ่งอื่นใด เพราะพระองค์ทรงเป็น "หน่อเนื้อพุทธางกูร" นั่นเอง

◄ll กลับสู่ด้านบน

( โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป )




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 12/11/08 at 11:46 Reply With Quote



Update 3 พ.ย. 51

ตอนที่ ๑๖


สําหรับในฉบับนี้จะขอนํา "ประวัติพระเจ้าสีวิราช" ซึ่งมีอยู่ในพระสุตตันตปิฎกมาให้อ่านกัน เพื่อท่านจะได้ทราบว่า พระโพธิสัตว์ กว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น จะต้องบําเพ็ญบารมีด้วยความยากลําบากเพียงใด เมื่อท่านได้อ่านเรื่องนี้แล้ว อาจจะถึงกับสะอื้นก็ได้ เพราะความตื้นตันใจในน้ำพระทัยของพระองค์



พระเจ้าสีวิราชบรมโพธิสัตว์

ในอดีตกาลล่วงมาแล้ว ครั้งพระเจ้าสีวิมหาราชได้เสวยราชสมบัติอยู่ใน อริฏฐบุรี แว่นแคว้นสีวี หรือประเทศสีพีนั้น พระมหาสัตว์เจ้าได้บังเกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีวิมหาราช มีนามว่า "สีวิกุมาร"

เมื่อสีวิกุมารนั้นเติบโตขึ้นแล้ว ก็ได้ไปศึกษาศิลปศาสตร์ที่เมืองตักสิลา เวลากลับบ้านเมืองแล้วก็ได้เป็นอุปราช ในเวลาต่อมา
เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้วก็ได้เป็นพระราชา ได้ทรงมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม

พระองค์ได้ทรงสร้างโรงทานไว้ ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนครทั้ง ๔ แห่ง ท่ามกลางพระนครกับที่ประตูพระราชวังแล้วทรงบริจาค มหาทานสิ้นพระราชทรัพย์วันละ ๖ แสน กับ ทรงรักษาอุโบสถศีลทุกวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำตลอดมา

อยู่มาวันหนึ่งพระราชาได้ประทับอยู่ที่ราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร ในวันปุณณมีดิถีเพ็ญเวลาเช้า ทรงนึกถึงทานที่พระองค์ทรงบริจาค ก็ไม่ทรงเห็นว่าสิ่งของภายนอก ซึ่งพระองค์ยังไม่เคยได้ทรงบริจาค จึงทรงดำริว่า

ของนอกกายที่เรายังไม่ได้ให้ทานนั้นไม่มี การให้ทานของนอกกาย ไม่ทําให้เราดีใจได้ เราใคร่จะให้ทานของในกาย ในเวลาเราไปที่ โรงทาน ขออย่าให้มียาจกคนใดคนหนึ่งขอทาน ของนอกกาย ขอให้เขาขอของในกาย

ถ้ามีใครจักขอเนื้อในกายของเรา เราก็จักเชือดออกให้ ถ้ามีใครขอโลหิตของเรา เราก็จักเจาะออกให้ มีใครมาขอเราไปเป็นทาส เราก็จักยอมไป มีใครมาขอจักษุของเรา เราก็จะควักออกให้




พระอินทร์จําแลงมาทดลอง

เมื่อพระเจ้าสีวิราชทรงดําริอยู่ดังนี้ ท้าวโกสีย์ในดาวดึงส์สวรรค์ก็ทรงทราบ จึงทรงดําริว่า วันนี้พระเจ้าสีวิราชคิดว่า จักควักจักษุออกให้เป็นทานแก่ยาจกที่ไปทูลขอ ดังนี้ พระเจ้าสีวิราชจักทําได้จริงหรือไม่ เราจักไป ทดลองดู

ท้าวสักกะทรงดําริดังนี้แล้ว ก็ทรงจําแลงเป็นพราหมณ์ชราตาบอด ไปที่โรงทาน ในเวลาที่พระราชาเสด็จไปที่โรงทาน แล้วประนมมือขึ้นร้องถวายชัยมงคล พระเจ้าสีวิราชได้ทอดพระเนตรเห็น จึงทรงไสช้างพระที่นั่งบ่ายหน้าไปตรัสถามว่า
"พราหมณ์...ต้องการสิ่งใด ? "
พราหมณ์แปลงก็ทูลตอบว่า "ข้าแต่มหาราชเจ้า โลกสันนิวาสทั้งสิ้น ได้ถูกเสียงสรรเสริญอันแผ่ไป ด้วยอาศัยพระองค์มีพระหฤทัยยินดีในการให้ทาน ถูกต้องอยู่เป็นนิจ

ข้าพระองค์เป็นคนตาบอดทั้งสองข้าง ส่วนพระองค์เป็นผู้มีพระจักษุดีทั้งสองข้าง ขอพระองค์จงโปรดประทานจักษุสักข้างหนึ่ง ให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า"

ลําดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าก็ทรงยินดีว่า เป็นลาภอันใหญ่ของเราแล้ว วันนี้ความประสงค์ของเราจักสําเร็จแล้ว เราจักได้ให้ทานที่เรายังไม่เคยให้ ครั้นทรงดําริดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสขึ้นว่า

"นี่แน่ะวณิพก ใครแนะนําให้เจ้ามาขอจักษุต่อเรา ซึ่งเป็นของที่นําออกให้ทานได้ยาก แต่ว่าเราจักให้แก่พราหมณ์ตามประสงค์"

ตรัสดังนี้แล้วก็ทรงดําริว่า การที่เราจะควักจักษุทั้งสองออกให้เป็นทานในที่นี้ เป็นการไม่สมควร จึงได้ทรงนําพราหมณ์นั้นกลับเข้าไปพระราชวัง ประทับนั่งบนราชอาสน์แล้ว จึงตรัสสั่งให้ แพทย์สีวิกะ เข้าเฝ้า รับสั่งว่า "เจ้าจงทําจักษุทั้งสองของเราให้บริสุทธิ์
ในบัดนี้"

ในคราวนั้น ก็มีเสียงระบือไปตลอดพระนครว่า พระราชาจะควักพระเนตรทั้งสอง ออกให้เป็นทานแก่พราหมณ์ พวกราชวัลลภมีเสนาบดีเป็นต้น และชาวพระนครสนมกำนัลในทั้งปวง ก็ได้พร้อมกันเข้าเฝ้ากราบทูลคัดค้านว่า

"ขอเทวราชเจ้าอย่าได้พระราชทานจักษุเลย ขอพระองค์อย่าได้ทรงสละข้าพระบาททั้งปวง ให้เป็นทานของพระราชาองค์อื่นเลย ขอพระองค์จงพระราชทานแต่ทรัพย์สิน เงินทอง ช้างม้า รถอลงกรณ์เถิด พระเจ้าข้า"

พระเจ้าสีวิราชจึงตรัสว่า "ผู้ใดกล่าวว่าจักให้แล้วไม่ให้ ผู้นั้นชื่อว่า เอาบ่วงมาสวมคอของตน ผู้ใดกล่าวว่าจักให้ แล้วไม่ให้ ผู้นั้นชื่อว่าเลวกว่าคนเลว ผู้นั้นจะต้องถึงที่ลงอาญาของพระยายม มีผู้ขอสิ่งใด ควรให้สิ่งนั้น สิ่งใดเขาไม่ขอไม่ควรให้สิ่งนั้น พราหมณ์นี้ได้ขอสิ่งใดต่อเรา เราจักให้สิ่งนั้น"




ทรงให้ทานเพื่อพระสัพพัญญุตญาณ

ลําดับนั้น พวกอํามาตย์จึงกราบทูลถามว่า "พระองค์ปรารถนาสิ่งใด ปรารถนาอายุ หรือวรรณะ สุขะ พละ ประการใด จึงจัก พระราชทานจักษุให้แก่พราหมณ์ในบัดนี้ พระเจ้าข้า ? "

พระเจ้าสีวิราชตรัสตอบว่า "เราไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นแก่ทรัพย์ ยศ หรือบุตรภรรยา แว่นแคว้นบ้านเมืองอันใด เราเห็นว่าการให้ทาน เป็นธรรมเนียมของสัตบุรุษทั้งหลายแต่โบราณ เราจึงได้ยินดี ในการให้ทาน

สัตบุรุษทั้งหลายแต่เก่าก่อน เมื่อยังไม่ได้บําเพ็ญบารมีให้เต็มที่แล้ว ก็ไม่สามารถจะเป็นพระสัพพัญญูได้ เราจักบําเพ็ญบารมีให้เต็มที่ เพื่อจะได้เป็นพระสัพพัญญู"

เมื่ออํามาตย์ทั้งหลายได้ฟังพระราชดํารัสตอบดังนี้แล้ว ก็หมดหนทางที่จะทูลทัดทาน จําต้องนิ่งเฉยอยู่

ฝ่ายพระเจ้าสีวิราชก็ได้ตรัสสั่งนายแพทย์สีวิกะว่า "นี่แน่ะสีวิกะ เธอเป็นมิตรสหายของเรา เธอได้ศึกษาวิชาแพทย์มาเป็นอันดีแล้ว เธอจงทําตามถ้อยคําของเราให้ดี เมื่อเราลืมตา ขึ้นมองดู เธอจงควักตาของเราให้หลุดออก เหมือนกับควักจาวตาล แล้ววางไว้ที่มือของคนขอทาน คือพราหมณ์คนนี้ ในบัดนี้เถิด"




พระโพธิสัตว์ได้รับทุกขเวทนาหนัก

ลําดับนั้น นายแพทย์สีวิกะกราบทูลว่า "ข้าแต่มหาราชเจ้า การให้จักษุเป็นทานนี้ เป็นของสําคัญมาก ขอพระองค์จงใคร่ครวญ ให้ดีเถิด"
พระเจ้าสีวิราชตรัสตอบว่า "เราใคร่ครวญดีแล้ว เธอจงอย่าชักช้า อย่าพูดมากกับเรา"

นายแพทย์สีวิกะจึงคิดว่า การที่แพทย์ ผู้ได้ศึกษามาดีเช่นเรานี้ จะเอาศาตราคว้านพระเนตรของพระราชา ย่อมไม่สมควร เขาคิดดังนี้แล้ว จึงผสมยาแล้วอบด้วย ดอกบัวเขียว แล้วป้ายพระเนตรข้างขวาของพระราชา พระเนตรข้างขวานั้นก็พลิกกลับทันที ทุกขเวทนาก็ได้เกิดขึ้นแก่พระราชา

เขาจึงกราบทูลว่า "ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงกําหนดพระทัยดูเถิด การทําพระเนตรให้เป็นปกตินั้น เป็นหน้าที่ของข้าพระองค์"
ตรัสตอบว่า "เธออย่าได้ชักช้า"

แล้วนายแพทย์นั้นก็ได้ทายาซ้ำอีก พระเนตรก็ได้หลุดจากหลุมพระเนตรในทันที ทุกขเวทนาอันเหลือประมาณ ก็ได้เกิดขึ้นแก่พระราชา นายแพทย์นี้กราบทูลว่า "ขอพระองค์จงทรงกําหนดพระทัยดูเถิด ข้าพระองค์อาจทําให้เป็นปกติได้"
จึงตรัสว่า "หลีกไปอย่าได้ชักช้า"

นายแพทย์ก็ประกอบยาให้แรงขึ้นกว่าเดิม แล้วน้อมเข้าไปถวายพระเนตรนั้นก็ได้ หมุนหลุดออกมาจากเบ้าพระเนตรด้วยกําลังยา แล้วตกออกมาห้อยอยู่ด้วยอํานาจเส้นเกี่ยวไว้ แล้วนายแพทย์ก็กราบทูลอีกว่า "ข้าพระองค์อาจทําให้เป็นปกติได้"
ตรัสตอบว่า "เจ้าอย่าได้ชักช้า"

ทุกขเวทนาอันเหลือที่จะประมาณก็ได้เกิดขึ้นแก่ท้าวเธอ พระโลหิตก็ได้ไหลออกมาจนเปียกพระภูษาที่ทรงนุ่ง พวกนางสนม กำนัลใน อํามาตย์ข้าราชบริพารทั้งหลาย ก็ได้พากันหมอบร้องไห้ว่า "ขอพระองค์อย่าได้ทรงบริจาคพระเนตรเลย พระเจ้าข้า"
พระราชาทรงอดกลั้นทุกขเวทนาไว้แล้ว จึงตรัสสั่งว่า "อย่าได้ชักช้า"

นายแพทย์จึงรับพระเนตรไว้ด้วยมือข้างซ้าย ถือศาตราด้วยมือข้างขวา ตัดเส้นที่เกี่ยวดวงพระเนตรให้ขาด แล้วรับเอาดวงพระเนตรไปวางลงที่ฝ่าพระหัตถ์ของพระเจ้าสีวิราช

พระบาทท้าวเธอได้ทอดพระเนตรพระจักษุข้างขวา ด้วยพระจักษุข้างซ้าย แล้วตรัสเรียกพราหมณ์เข้าไปใกล้ ตรัสสั่งว่า "พระสัพพัญญุตญาณ คือการรู้แจ้งสิ่งทั้งปวง ได้เป็นที่รักยิ่งกว่าจักษุนี้ ตั้งร้อยเท่า พันเท่าแสนเท่า การให้จักษุเป็นทานนี้ จงเป็นปัจจัยแก่พระสัพพัญญุตญาณนั้นเถิด"

ตรัสดังนี้แล้ว ก็ได้พระราชทานพระเนตร ข้างขวานั้นแก่พราหมณ์ พราหมณ์ก็รับไปใส่ลงในจักษุของตน แล้วบันดาลให้จักษุนั้น ตั้งติดอยู่เป็นอันดี เหมือนกับดอกบัวสีเขียวอันแย้มบานฉะนั้น

พระมหาสัตว์เจ้าได้ทรงทอดพระเนตรจักษุของพราหมณ์นั้น แล้วทรงพระดําริว่า การให้จักษุเป็นทานนี้ เป็นการดีแล้ว แล้วก็เกิดปีติทั่วพระวรกาย ได้พระราชทานซึ่งพระเนตรอีกข้างหนึ่งแก่พราหมณ์นั้น

พราหมณ์ผู้เป็นพระอินทร์นั้น ก็รับพระเนตรข้างนั้นใส่ในจักษุของตน แล้วก็ออกจากพระราชวังเหาะขึ้นสู่สวรรค์ในทันใด พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาความว่า

"หมอสีวิกะที่พระเจ้าสีวิราชทรงเตือนแล้ว ได้กระทําตามพระราชดํารัส ควักดวงพระเนตรทั้งสองของพระราชาออกแล้ว ทรงพระราชทานแก่พราหมณ์ พราหมณ์นั้นก็ได้เป็นคนตาดี พระราชาก็เข้าถึงความเป็นคนตาบอด"

แต่ในไม่ช้า พระเนตรก็ได้เกิดขึ้นแก่พระราชาอีก พระเนตรที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นหลุม ได้เต็มขึ้นด้วยก้อนเนื้อเหมือนกับปมผ้ากัมพล และเหมือนกับภาพนัยน์ตาแห่งรูปปั้นฉะนั้น ทุกขเวทนาก็เสื่อมหายขาดไปสิ้น




ทรงสละราชสมบัติ

ลําดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าได้ประทับ อยู่ที่ปราสาทสัก ๒-๓ วัน แล้วทรงพระดําริว่า ไม่มีประโยชน์อันใดกับราชสมบัติแก่คนตาบอด เราจักมอบราชสมบัติให้แก่พวกอํามาตย์ จักไปบรรพชาอยู่ที่อุทยาน จักทําสมณธรรม จึงจะเป็นการดี แล้วทรงโปรดให้ประชุมพวกอํามาตย์ ทรงแจ้งพระราชประสงค์ให้ทราบ แล้วตรัสว่า

"เราต้องการเพียงคนใช้สอยคนเดียว สําหรับทํากิจการต่าง ๆ มีน้ำล้างหน้า เป็นต้นเท่านั้น ท่านทั้งหลายจงผูกเชือกให้เป็นราว สําหรับเราจักสาวไปในเวลาที่ทําสรีรกิจ"

ตรัสสั่งดังนี้แล้ว ก็ตรัสสั่งนายสารถีให้เทียมรถ พวกอํามาตย์ไม่ยอมให้ท้าวเธอเสด็จไปด้วยรถ ได้อัญเชิญท้าวเธอขึ้นประทับที่สุวรรณสีวิกาแล้วหามไป ให้ประทับนั่งที่ริม สระโบกขรณี จัดการพิทักษ์รักษาเป็นอันดี แล้วจึงกลับมา




ท้าวสักกะทรงประทานพร

เมื่อพระราชาประทับนั่งอยู่ที่บัลลังก์ ทรงนึกถึงทานของพระองค์ด้วยทรงมีปีติยินดี ในขณะนั้น อาสนะของท้าวสักกเทวราชก็ร้อนขึ้น เมื่อพระองค์ทรงเล็งดูก็ทรงรู้เหตุนั้น จึงทรงดําริว่า เราจักให้พรแก่มหาราช แล้วจักทําจักษุให้เป็นปกติ จึงได้เสด็จมาเดิน จงกรมอยู่ในที่ใกล้ของพระมหาสัตว์เจ้า

พระมหาสัตว์เจ้าได้ทรงสดับเสียงฝีเท้า จึงตรัสถามว่า "นั่นเป็นใคร ? "
"ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมของเทวดา ได้มาหาท่านแล้ว ขอท่านจงเลือกพรตามพระประสงค์"

องค์พระมหาสัตว์จึงตรัสว่า "ข้าแต่ท้าวสักกะ ทรัพย์ของข้าพเจ้าก็มีอยู่มากแล้ว กําลังก็มีอยู่มากแล้ว บัดนี้ข้าพเจ้าเป็นคนตาบอด พอใจแต่ความตายเท่านั้น ขอพระองค์จงประทานความตายแก่ข้าพเจ้าเถิด"

"นี่แน่ะพระเจ้าสีวิราช เหตุไรพระองค์จึงอยากสิ้นพระชนม์ หรืออยากสิ้นพระชนม์ เพราะความเป็นคนตาบอด ? "
"ข้าพเจ้าอยากสิ้นพระชนม์เพราะความเป็นคนตาบอด"

"นี่แน่ะมหาราช อันธรรมดาการให้ทาน ย่อมไม่ให้ผลแต่ในภายหน้าเท่านั้น แม้ในปัจจุบันนี้ก็ให้ผล เขาขอพระเนตรของพระองค์เพียงข้างเดียว พระองค์ก็ได้พระราชทานทั้งสองข้าง เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงตั้งสัจจกิริยาเถิด เมื่อพระองค์ตั้งสัจจกิริยา พระเนตรก็จักเกิดขึ้นแก่พระองค์อีก"

"ข้าแต่ท้าวสักกะ ถ้าพระองค์ประสงค์ จะประทานจักษุให้แก่ข้าพเจ้า ก็ขออย่าได้ทําอุบายอย่างอื่น ด้วยใช้คําว่า จักษุจงเกิดขึ้น ด้วยผลแห่งทานของเรา"

"ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นใหญ่กว่าเทพยเจ้าทั้งหลายก็จริง แต่ไม่อาจจะให้จักษุแก่ผู้อื่นได้ จักษุจะเกิดขึ้นด้วยกําลังแห่งทานที่พระองค์ได้พระราชทานแล้ว"
"ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็เป็นอันได้ให้ทานดีแล้ว"




พระเนตรเกิดขึ้นเพราะสัจจกิริยา

เมื่อจะทรงทําสัจจกิริยา จึงได้ตรัสขึ้นว่า "วณิพกผู้มีนามและโคตรเหล่าใด ได้มาหาเราเพื่อจะขอสิ่งของ วณิพกเหล่านั้น ก็ได้เป็นที่พอใจของเรา เมื่อผู้ใดขอจักษุต่อเรา จักษุนั้นก็เป็นที่รักของเรา ด้วยคําสัจจะอันนี้ จักษุจงเกิดขึ้นแก่เรา"

พอขาดคํานี้ลงพระเนตรข้างที่หนึ่ง ก็เกิดขึ้นแก่พระเจ้าสีวิราช ในลําดับนั้น พระองค์จึงได้ตรัสต่อไป เพื่อให้เกิดพระเนตรข้างที่สองขึ้นว่า

"พราหมณ์ผู้นั้นได้มาขอจักษุต่อเราว่า ขอพระองค์จงพระราชทานจักษุแก่ข้าพระองค์เถิด เราก็ได้ให้จักษุทั้งสองแก่พราหมณ์นั้น แล้วเราก็ได้มีปีติโสมนัสอย่างยิ่ง ด้วยคําสัจจะอันนี้ จักษุข้างที่สองจงเกิดมีแก่เรา"
พอตรัสเท่านี้แล้ว พระเนตรข้างที่สอง ก็ได้เกิดขึ้นอีก




พระเนตรทิพย์

แต่พระเนตรทั้งสองนั้น จะว่าเป็น พระเนตรตามปกติก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นพระเนตรทิพย์ก็ไม่ใช่ เพราะพระเนตรที่พระเจ้าสีวิราช ได้พระราชทานแก่พราหมณ์แล้วนั้น ใคร ๆ ไม่อาจทําให้เป็นปกติได้ ส่วนพระเนตรทิพย์ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่วัตถุที่ถูกกระทบแล้ว (ประสาทตาพิการแล้ว) แต่พระเนตรเหล่านั้นท่านเรียกว่า "จักษุบารมี" เพราะสําเร็จด้วย "สัจจบารมี"

ในขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชก็ได้ทรงบันดาลให้ราชบุรุษทั้งปวงมาประชุมพร้อมกัน เมื่อท้าวสักกะจะทรงสรรเสริญพระเจ้าสีวิราช ในท่ามกลางมหาชน จึงได้ตรัสขึ้นว่า

"ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้ทรงบํารุงแว่นแคว้นให้เจริญ พระดํารัสที่พระองค์ทรงทําสัจจกิริยานั้น เป็นพระดํารัสที่ชอบธรรม พระเนตร ทั้งสองของพระองค์นี้ จักปรากฏเหมือนกับ พระเนตรทิพย์

พระเนตรทั้งสองของพระองค์นี้ จักแลเห็นทั้งนอกฝา นอกกําแพงและภูเขา จักแลเห็นไกลได้ ๑๐๐ โยชน์ โดยไม่มีสิ่งใดขัดขวาง"
เป็นอันว่า ท้าวสักกเทวราชได้ตรัสอย่างนี้ ในท่ามกลางมหาชน แล้วตรัสเตือนว่า ขอพระองค์อย่าทรงประมาท ตรัสแล้วก็เสด็จกลับสู่เทวโลก




ตาทิพย์เป็นเหตุให้คนบริจาคทาน

ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้า พร้อมด้วยเหล่าข้าราชบริพาร จึงเสด็จเข้าพระนครด้วยกระบวนพยุหยาตราอันใหญ่หลวง เสด็จขึ้นประทับ ที่สุจันทกปราสาท การที่พระเจ้าสีวิราชได้มีพระเนตรขึ้นอีกนั้น ก็ได้ปรากฏไปตลอดแว่นแคว้นสีพี

ชาวแว่นแคว้นสีพีก็ได้พร้อมกันนําเครื่องบรรณาการเป็นอันมากมาถวาย เพื่อจะได้เชยชมซึ่งพระเนตรของท้าวเธอ พระบาทท้าวเธอทรงพระดําริว่า จักพรรณนาทานของเราให้มหาชนฟัง จึงได้ตรัสสั่งให้สร้างปะรําใหญ่ขึ้นที่ประตูพระราชวังทั่วพระนคร ให้บรรดาผู้คนมาประชุมพร้อมกัน แล้วตรัสว่า

"ดูก่อนท่านทั้งหลายที่อยู่ในแว่นแคว้นสีพี ขอท่านทั้งหลายจงดูตาทิพย์ทั้งสองของเรา จําเดิมแต่นี้ไป เมื่อท่านทั้งหลายยังไม่ได้ให้ทานจงอย่าบริโภค"

ตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปอีกว่า "ไม่ว่าใคร ๆ เวลามีผู้มาขอทาน ก็ย่อมไม่อยากให้ของที่พึงใจของตน ไม่อยากให้ของดีของรักของตน ของรักของดีของตนนั้น เราก็ได้ให้แล้ว เราขอเตือนท่านทั้งหลายที่อยู่ในแว่นแคว้นสีพีทั้งสิ้น ที่ได้มาประชุมกันแล้วในที่นี้ จงแลดูตาทิพย์ของเราในวันนี้เถิด ตาทิพย์ของเรานี้แลเห็นไปได้ตลอดนอก ฝา นอกกําแพงและภูเขา แลเห็นไปได้รอบตัว ข้างละ ๑๐๐ โยชน์

ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐเท่าการให้ทาน เราได้ให้ทานจักษุของมนุษย์ แต่เราก็ได้จักษุอันไม่ใช่ของมนุษย์ ท่านทั้งหลายที่อยู่ในแว่นแคว้นสีพี ได้เห็นจักษุทิพย์ที่เราได้แล้วนี้ จงพากันให้ทานเสียก่อน แล้วจึงบริโภคภายหลัง บุคคลที่ได้ให้ทาน และได้บริโภคตามกําลังของตนแล้ว ย่อมไม่มีผู้ใดติเตียนได้ ย่อมได้ไปสู่สุคติ"

พระเจ้าสีวิราชบรมโพธิสัตว์ได้ทรงสั่งสอนประชาชนด้วยประการดังนี้ จําเดิมแต่นั้นมา พอถึงวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ำ ทุกกึ่งเดือนไป พระองค์ได้โปรดให้ประชาชนประชุมพร้อมกัน แล้วทรงสั่งสอนอย่างที่ว่ามาแล้วนี้ทุกครั้งไป ประชาชนก็ได้พากันบําเพ็ญกุศล มีทาน เป็นต้น เวลาสิ้นอายุแล้วก็ได้ไปเกิดในสวรรค์เป็นอันมาก

ครั้นต่อมาภายหลัง พระเจ้าสีวิราช ก็ได้มาเกิดเป็น พระพุทธองค์ นายแพทย์สีวิกะนั้นก็ได้มาเกิดเป็น พระอานนท์ ท้าวสักกะนั้นก็ได้มาเกิดเป็น พระอนุรุทธ ส่วนประชาชนในคราวนั้น ก็ได้มาเกิดเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้

(เป็นอันว่า การเล่าเรื่องบุพจริยาของพระองค์เอง ได้มาสิ้นสุดเพียงเท่านี้ ไม่มี อะไรเป็นที่สงสัย แต่ทว่าพระเจ้ามิลินท์ยังมี ปัญหาที่น่าสงสัยต่อไป นั่นก็คือ...)

◄ll กลับสู่ด้านบน




ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องการตั้งครรภ์

"ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า การตั้งครรภ์ย่อมมีด้วยประชุม ๓ คือ มารดาบิดาร่วมกัน ๑ มารดา มีระดู ๑ มีสัตว์มาเกิด ๑ ดังนี้ ถ้าไม่พร้อมด้วยองค์ ๓ ย่อมเกิดไม่ได้ ข้อนี้ทําให้โยมสงสัย เพราะเพียง ทุกุลดาบส ถูกต้องสะดือของ นางปาริกาตาปสินี ในเวลามีระดูด้วยปลายนิ้วมือข้างขวา เพียงหนเดียวเท่านั้น ก็เกิด สุวรรณสามกุมาร ขึ้นได้

มาตังคฤาษี ถูกต้องท้องของนางพราหมณี ด้วยปลายเล็บข้างขวาในเวลามีระดู เพียงหนเดียวเท่านั้น ก็เกิด มัณฑพยมาณพ ขึ้นได้

อิสิสิงคฤาษี เกิดขึ้นด้วยนางมฤคี (เนื้อ) ดื่มกินน้ำปัสสาวะของฤาษี สังกิจจฤาษี เกิดขึ้นได้ด้วยกิริยาอย่างเดียวกัน พระกุมารกัสสป เกิดขึ้นด้วยการกลืนกินซึ่งสัมภวะ(น้ำอสุจิ) ของบุรุษ

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าการตั้งครรภ์มีขึ้นด้วยการประชุม ๓ จริงแล้ว คําที่ว่าบุคคลเหล่านั้น เกิดด้วยอาการอย่างนั้นก็ผิดไป ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ ลึกละเอียดมาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงตัดความสงสัยของโยมด้วย เถิด"




ผู้ที่เกิดขึ้นด้วยการประชุม ๒

พระนาคเสนถวายพระพรว่า "มหาบพิตรได้ทรงสดับมาว่า สุวรรณสาม อิสิสิงคดาบส พระกุมารกัสสป เกิดขึ้นด้วย เหตุอย่างนี้ ๆ หรือ ? "

พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า "ถูกแล้วพระผู้เป็นเจ้า โยมได้สดับมาว่า มีแม่เนื้อ ๒ ตัว ไปสู่ที่ถ่ายปัสสาวะของดาบส ๒ องค์ในเวลามีระดู ได้ดื่มกินน้ำปัสสาวะอันเจือด้วยสัมภวะของฤาษี จึงเกิด อิสิสิงคฤาษี และ สังกิจจฤาษี

เมื่อ พระอุทายี ไปในที่พักของภิกษุณี ก็นึกรักนางภิกษุณี จึงได้เพ่งดูนางภิกษุณีนั้น เมื่อเพ่งดูสัมภวะก็ไหลออกมา เวลานั้นนาง ภิกษุณีกําลังมีระดู จึงอ้าปากรับสัมภวะนั้น แล้วก็ตั้งครรภ์ อยู่มาก็เกิดเป็น พระกุมาร กัสสป"

พระนาคเสนจึงถามต่อไปว่า "คําที่ว่านี้ มหาบพิตรทรงเชื่อหรือ ? "
"โยมเชื่อ พระผู้เป็นเจ้า"

"เชื่ออย่างไร ? "
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พืชที่หว่านลงไปในดินที่ทําไว้ดีแล้ว ย่อมงอกขึ้นได้ไวฉันใด การตั้งครรภ์ของนางภิกษุณีนั้นก็ฉันนั้น"

"เป็นอันมหาบพิตรทรงรับว่า การตั้งครรภ์ของ พระกุมารกัสสป มีอย่างนั้นจริงหรือ ? "
"โยมเชื่อว่ามีอย่างนั้นจริง"

"ขอถวายพระพร ดีแล้ว ถ้าอย่างนั้นก็เป็นอันว่า มหาบพิตรทรงเชื่อแล้วว่า แม่เนื้อนั้นดื่มน้ำปัสสาวะแล้วก็ตั้งครรภ์"
"เชื่อแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าสิ่งใด ๆ ที่บุคคลดื่มแล้ว กินแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มเลียแล้ว ตกลงไปในดินที่ดี ก็ย่อมงอกขึ้นได้ การตั้งครรภ์ด้วยการดื่มกินน้ำปัสสาวะ ก็มีขึ้นได้ฉันนั้น"

"เป็นอันว่า มหาบพิตรทรงแน่พระทัยแล้วหรือว่า อิสิสิงคดาบส พระกุมารกัสสป เกิดขึ้นด้วยการประชุม ๒"
"แน่ใจแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"




ผู้ที่เกิดขึ้นด้วยการประชุม ๓

"ขอถวายพระพร สุวรรณสามก็ดี มัณฑพยมาณพก็ดี ได้เกิดขึ้นด้วยการประชุมทั้ง ๓ นั้น คือ ทุกุลดาบส และ นางปาริกาตาปสินี ทั้งสองนี้ได้ยินดีต่อวิเวกอยู่ในป่า มุ่งแสวงหาทางไปเกิดในพรหมโลก ไม่นึกเกี่ยวข้องกับทางโลกเลย

แต่คราวนั้น พระอินทร์ ทรงเล็งเห็นว่า ต่อไปข้างหน้าคนทั้งสองนั้นจักเสียจักษุ จึงได้กล่าวขึ้นว่า
"ขอท่านทั้งสองจงกระทําตามถ้อยคําของข้าพเจ้าสักอย่างหนึ่งเถิด คือขอให้ท่านทั้งสอง จงทําให้เกิดบุตรสักคนหนึ่ง บุตรจักได้ปรนนิบัติท่านทั้งสอง"

ดาบสและดาบสินีทั้งสองนั้นก็ตอบว่า "อย่าเลยมหาบพิตร อย่าตรัสอย่างนี้เลย"
พระอินทร์ก็ได้อ้อนวอนขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ และที่ ๓ ดาบสดาบสินีทั้งสองจึงกล่าวขึ้นว่า "ถึงแผ่นดินนี้จะถล่มลงไป ท้องฟ้าจักตกลงมา พระยาเขาจักโค่น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์จักตกลงมาก็ตาม เราทั้งสองก็จักไม่ยินดีในโลกธรรม ขอมหาบพิตรอย่ามาหาเราทั้งสองอีก เพราะความคุ้นเคยของมหาบพิตร จะทําให้เราทั้งสองเสีย"

เมื่อพระอินทร์ทรงขออย่างนั้นไม่ได้ จึงตรัสขึ้นว่า "เมื่อใดดาบสินีมีระดู เมื่อนั้นขอให้ท่านดาบสเอาปลายนิ้วก้อยข้างขวา แตะต้องสะดือของดาบสินี ก็จะเกิดตั้งครรภ์ขึ้น ท่านดาบสจะทําเพียงเท่านี้ได้หรือไม่ ? "

ท่านดาบสตอบว่า "เพียงเท่านี้พอทําได้ เพราะจะไม่ทําให้เสียศีลเสียธรรมของเรา"
เมื่อดาบสรับอย่างนี้แล้ว พระอินทร์จึงกลับขึ้นสู่สวรรค์ ได้เสด็จไปอ้อนวอนเทพบุตรองค์หนึ่งซึ่งจวนจะจุติ ให้ลงมาถือกําเนิดในครรภ์ของนางดาบสินี เทพบุตรนั้นก็ไม่ยอมรับ ต่อเมื่อพระอินทร์ทรงอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง จึงยอมรับ

พออยู่มาไม่ช้านางดาบสินีก็มีระดู ดาบสจึงแตะต้องสะดือด้วยปลายนิ้วก้อยข้างขวาตามคําสั่งของพระอินทร์ ก็พอดีเทพบุตรนั้นจุติลงมาถือกําเนิด
เป็นอันว่า เทพบุตรนั้นเกิดขึ้นด้วยการประชุม ๓ คือนางดาบสินีเกิดราคะตัณหาในเวลาที่ดาบสเอาปลายนิ้วก้อยแตะต้องสะดือ ๑ มีระดู๑ วิญญาณของเทพบุตรมาถือกําเนิด ๑




เหตุตั้งครรภ์อีก ๔ ประการ

อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมตั้งครรภ์ ด้วยเหตุ ๔ คือ ด้วยกรรม ๑ กําเนิด ๑ ตระกูล ๑ การอ้อนวอน ๑

ที่เกิดด้วยกรรมนั้น คืออย่างไร... คือพวกที่ได้สะสมกุศลมูลมาแล้ว ย่อมได้เกิดในตระกูลกษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์ มหาศาล คฤหบดีมหาศาล หรือเกิดเป็นเทพเจ้า หรือเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามประสงค์ เปรียบเหมือนผู้มั่งมี จะซื้อสิ่งใดก็ซื้อได้ตามประสงค์ฉะนั้น

ที่เกิดด้วยกําเนิดนั้น คืออย่างไร...คือพวกไก่ป่าย่อมตั้งท้องด้วยถูกลมพัด ฝูงนก ยางย่อมตั้งท้องด้วยได้ยินเสียงฟ้าร้อง ส่วนเทพยดาทั้งหลายนั้นไม่ได้เกิดในครรภ์ เป็นอันว่าการตั้งครรภ์ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีต่าง ๆ กัน เหมือนกับกิริยาของมนุษย์ทั้งหลาย ที่ต่าง ๆ กันด้วยการนุ่งห่มการแต่งตัว เป็นต้นฉะนั้น

ที่เกิดด้วยอํานาจตระกูลนั้น คืออย่างไร คือตระกูลที่มีอยู่ ๔ อันได้แก่ ตระกูลเกิดใน ฟองไข่ ๑ ตระกูลเกิดในท้อง ๑ ตระกูลเกิดในเหงื่อไคล ๑ ตระกูลเกิดเอง ๑ สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดในตระกูลทั้ง ๔ นี้

ที่เกิดด้วยอํานาจการขอนั้น คือตระกูลที่ไม่มีบุตร แต่มีทรัพย์สมบัติมาก มีศรัทธา มีศีลธรรมอันดี แล้วอ้อนวอนขอให้มีบุตร ก็มี พระอินทร์ ช่วยอ้อนวอนเทพบุตรองค์ใดองค์หนึ่ง ให้ลงมาเกิดในตระกูลนั้น

ขอถวายพระพร สุวรรณสาม ได้ลงมาเกิดในครรภ์ของนางปาริกาตาปสินี ตามคําอ้อนวอนของพระอินทร์ สุวรรณสามนั้นเป็นผู้ทําบุญไว้แล้ว ส่วนมารดาบิดาก็เป็นผู้มีศีลธรรมอันดี พอเหมาะกัน เปรียบเหมือนกับพืชที่หว่านลงในที่ดินที่ดี ก็งอกงามขึ้นได้ ฉันนั้น"




สุวรรณสามเกิดด้วยเนรมิต ๓

"มหาบพิตรได้เคยทรงสดับว่า มีบ้านเมืองพินาศไปด้วยความข่มใจแห่งฤาษีทั้งหลาย บ้างหรือ ? "
"เคยได้ยิน พระผู้เป็นเจ้า คือบ้านเมืองของ พระราชาทัณฑกะ พระราชาเมชฌะ พระราชากาลิงคะ พระราชามาตังคะ ได้ถึงความพินาศไปด้วยความขุ่นแค้นของฤาษีทั้งหลาย"

"ขอถวายพระพร พวกที่ได้ความสุข เพราะใจผ่องใสของฤาษีทั้งหลายมีอยู่หรือ ? "
"มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นขอจงทรงจําไว้เถิดว่า สุวรรณสามเกิดด้วยใจผ่องใสของ สิ่งทั้ง ๓ ที่มีกําลังแรงกล้า คือ ฤาษีเนรมิต ๑ เทวดาเนรมิต ๑ บุญเนรมิต ๑

อีกประการหนึ่ง เทพบุตรทั้ง ๔ องค์ ก็ได้ลงมาเกิดด้วยพระอินทร์ทรงอ้อนวอนเทพบุตรทั้ง ๔ องค์นั้น คือ สุวรรณสาม ๑ พระเจ้ากุสราช ๑ พระเจ้ามหาปนาท ๑ พระเวสสันดร ๑ ขอถวายพระพร"

"ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์นี้ พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ไขถูกต้องดีแล้ว โยมรับว่าเป็นจริงทุกประการ"

◄ll กลับสู่ด้านบน

( โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป )




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 19/1/09 at 08:39 Reply With Quote



Update 12 พ.ย. 51

ตอนที่ ๑๗
ปัญหาที่ ๗ เรื่องอายุพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี


สมเด็จพระบรมกษัตริย์ตรัสถามว่า "ข้าแต่พระนาคเสน ด้วยสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้ไว้ว่า
"ดูก่อนอานนท์ บัดนี้พระสัทธรรมจัก ตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปี เท่านั้น"

แต่ในเวลาจะปรินิพพาน สุภัททปริพาชก ทูลถาม ได้ตรัสอีกว่า
"ดูก่อนสุภัททะ ถ้าพระภิกษุเหล่านี้ ยังปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย" คํานี้เป็นคําไม่มีเศษ เป็นคําเด็ดขาด

ถ้าสมเด็จพระบรมโลกนาถได้ตรัสไว้ว่า "โลกจักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย" ดังนี้เป็นคําจริงแล้ว คําที่ว่า "บัดนี้พระสัทธรรม จักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น" ก็ผิด

ถ้าคําว่า "พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น" เป็นคําถูก คําที่ว่า "โลก จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายนั้น" ก็เป็นคำผิด ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้โยมสิ้นสงสัยด้วยเถิด"

พระนาคเสนถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร ถูกทั้งสอง คือคำที่สมเด็จพระชินวรตรัสไว้ว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น ก็เป็นคําที่ถูก ส่วนที่ตรัสไว้ว่า ถ้าภิกษุเหล่านั้นยังปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย นั้นก็ถูก

คําทั้งสองนั้นมีอรรถพยัญชนะต่างกัน คําหนึ่งเป็น สาสนปริจเฉท คือ เป็นคํากําหนดพระศาสนา อีกคําหนึ่งเป็น ปฏิปัตติปริทีปนา คือ เป็นการแสดงซึ่งปฏิบัติ

เป็นอันว่าคําทั้งสองไกลกันมาก ไกลกันเหมือนแผ่นดินกับแผ่นฟ้า เหมือนนรกกับสวรรค์ เหมือนกุศลกับอกุศล และเหมือน ทุกข์กับสุขฉะนั้น แต่ว่าอย่าให้พระดํารัสถามของมหาบพิตรเป็นโมฆะเลย อาตมภาพจักแสดงคําทั้งสองนั้น ให้เข้าเป็นอันเดียวกันได้

คือคําที่ตรัสว่า "พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีนั้น" เป็นการกําหนดความตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม
คือถ้าภิกษุณีไม่บรรพชา พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ถึง ๕,๐๐๐ ปี เมื่อพระตถาคตเจ้าตรัสอย่างนี้ ชื่อว่าตรัสถึงความอันตรธานแห่งพระสัทธรรม หรือชื่อว่าปฏิเสธการบรรลุมรรค ผลอย่างนั้นหรือ...มหาบพิตร?"
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า"

"ขอถวายพระพร เมื่อสมเด็จพระชินวรจะทรงกําหนดสิ่งที่หมดไปแล้ว จะทรงกําหนดสิ่งที่ยังเหลืออยู่ ก็ได้ทรงกําหนดไว้อย่างนั้น เหมือนอย่างบุรุษกําหนดของที่หมดไป ถือเอาของที่เหลือขึ้นแสดงแก่ผู้อื่นว่า ของเราหมดไปแล้วเท่านั้น นี้เป็นส่วนที่ยังเหลืออยู่ ฉันใด

เมื่อสมเด็จพระจอมไตรจะทรงกําหนดพระศาสนาที่หมดไป ก็ได้ทรงแสดงส่วนที่ยังเหลืออยู่ในท่ามกลางเทพยดามนุษย์ทั้งหลายว่า บัดนี้พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น คําว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น เป็น สาสนปริจเฉท คือเป็นการกําหนดพระศาสนา

ส่วนคําที่ตรัสไว้ในเวลาจะปรินิพพานว่า "ถ้าภิกษุเหล่านี้ยังปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย" ดังนี้นั้น เป็น ปฏิปัตติปริทีปนา คือเป็นการแสดงซึ่งปฏิบัติ ขอมหาบพิตรจงทรงกระทํา ปริทีปนา กับ ปริจเฉท ให้เป็นอันเดียวกัน

ถ้ามหาบพิตรพอพระทัย อาตมภาพจักแสดงถวายให้เป็นอันเดียวกัน ขอมหาบพิตร อย่ามีพระทัยวอกแวก จงตั้งพระทัยสดับให้ จงดีเถิด"




อุปมาดังสระน้ำ

เมื่อพระนาคเสนถวายพระพรอย่างนี้แล้ว จึงถวายพระพรต่อไปว่า "เหมือนอย่างสระน้ำเต็มเปี่ยมด้วยน้ำใหม่ มีน้ำเต็มเสมอปากขอบสระ เมื่อเมฆใหญ่ทําให้ฝนตกลงมาที่สระนั้นเนือง ๆ น้ำในสระนั้นจะ แห้งจะหมดไปหรือไม่?"
"ไม่แห้งไม่หมด พระผู้เป็นเจ้า"

"เพราะอะไร มหาบพิตร?"
"เพราะฝนยังตกลงมาอยู่เนือง ๆ น่ะซิ พระผู้เป็นเจ้า"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือสระใหญ่อันได้แก่พระสัทธรรมที่เป็นพระศาสนา ของสมเด็จพระชินสีห์ เต็มเปี่ยมด้วยน้ำใสสะอาด คือ อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ได้ตรัสมรรคภาวนาไว้แล้ว

ผู้ใดกระทําให้ฝนคือ อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ ตกลงมาเนือง ๆ ผู้นั้นได้ชื่อว่า ได้อบรมมรรคภาวนาไว้แล้ว เมื่อเป็นอย่างนั้น สระใหญ่ คือพระสัทธรรม อันเป็นพระศาสนาสูงสุดของสมเด็จพระบรมสุคต ก็จักตั้งอยู่ตลอดกาลนาน โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย"

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายความอย่างนี้ จึงได้ตรัสไว้ว่าถ้าภิกษุเหล่านี้ยังปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย"




อุปมาเหมือนกองไฟใหญ่

"ขอถวายพระพร เมื่อกองไฟใหญ่ กําลังลุกรุ่งเรืองอยู่ มีคนทั้งหลายเอาหญ้าแห้ง ไม้แห้ง มูลโคแห้ง มาทิ้งเข้าในกองไฟใหญ่นั้น เรื่อย ๆ ไป กองไฟใหญ่นั้นจะดับไปหรือไม่?"
"ไม่ดับเลย พระผู้เป็นเจ้า มีแต่จะลุกใหญ่เท่านั้น"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระศาสนาอันประเสริฐของพระศาสดา ได้สว่างรุ่งเรืองอยู่ในหมื่นโลกธาตุ ด้วย อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ

ถ้าศากยบุตรพุทธชิโนรสยังประกอบด้วยองค์ของผู้มีความเพียร ยังฝึกฝนดี ยังไม่ประมาท ยังเต็มใจใน ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ยังทําสิกขาให้บริบูรณ์ ทําจารีตและ สีลสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศีล) ให้บริบูรณ์ พระศาสนาก็ยังจักตั้งอยู่ตลอดกาลนาน โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายความอย่างนี้ จึงได้ตรัสไว้ว่า ถ้าภิกษุเหล่านี้ยังปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย"




อุปมาเหมือนกระจก

"อีกประการหนึ่ง กระจกอันบุคคลขัดดีแล้ว ทําให้ผ่องใสดีแล้ว และมีผู้ขัดอีกเนืองๆ กระจกนั้นจะมัวหมองได้หรือไม่?"
"ไม่มัวหมอง พระผู้เป็นเจ้า มีแต่จะ ผ่องใสยิ่งขึ้นไป"

"ขอถวายพระพร ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ คือพระศาสนาของสมเด็จภควันต์บรมศาสดาผ่องใสอยู่เป็นปกติ คือไม่มัวหมองด้วยกิเลส ตัณหาแต่อย่างใด

ถ้าพระพุทธบุตรเหล่านั้นศึกษาพระศาสนาอันประเสริฐนั้นไว้ให้ผ่องใส ด้วย อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ สัลเลข (ขัดเกลา) ธุดงคคุณ อยู่แล้ว พระศาสนาก็จะตั้งอยู่ตลอดกาลนาน โลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย พระพุทธศาสนามีการปฏิบัติเป็นราก มีการปฏิบัติเป็นแก่น ตั้งอยู่ได้ด้วยการปฏิบัติ"

"ข้าแต่พระนาคเสน ข้อว่า พระสัทธรรม อันตรธานนั้น มีอยู่กี่ประการ?"




อันตรธาน ๓ ประการ

"ขอถวายพระพร อันตรธานนั้น มีอยู่ ๓ ประการ คือ
๑. อธิคมอันตรธาน (มรรคผลสูญหายไป)
๒. ปฏิปัตติอันตรธาน (ข้อปฏิบัติสูญหายไป)
๓. ลิงคอันตรธาน (เพศสูญหายไป)

เมื่อ อธิคมอันตรธาน แล้ว ถึงมีผู้ปฏิบัติดี ก็ไม่มีธรรมาภิสมัย คือการได้รู้ยิ่งซึ่งธรรม
เมื่อ ปฏิปัตติอันตรธาน แล้ว สิกขาบทบัญญัติก็อันตรธาน ยังเหลือแต่เพศเท่านั้น
เมื่อ ลิงคอันตรธาน แล้ว ก็ขาดประเพณี คือความสืบต่อแห่งเพศบรรพชิตในพระพุทธศาสนา อันตรธานมีอยู่ ๓ ประการ เท่านี้แหละ มหาบพิตร"

"ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้ทําปัญหาอันลึกให้ตื้นแล้ว ได้ทําลายข้อยุ่งยากแล้ว ได้ทําให้ถ้อยคําของผู้อื่นหมดไปแล้ว พระผู้เป็นเจ้ามาถึงแล้ว ซึ่งความเป็นผู้องอาจในหมู่คณะอันประเสริฐ"




อธิบาย

ข้อความในวงเล็บ ผู้เรียบเรียงได้เพิ่มเติมไป เพื่อความเข้าใจ ฎีกามิลินท์ อธิบายคําว่า "พระสัทธรรม" ได้แก่ อธิคมสัทธรรม คือ ปฏิเวธสัทธรรม อันได้แก่ มรรค ผล นิพพาน

ส่วนผู้แปลหนังสือเล่มนี้อธิบายว่า เมื่อท่านอ่านมาตาม อรรถกถา ฎีกาแล้วนี้ ยังไม่สิ้นสงสัย ก็ขอให้อ่านคําอธิบายต่อไป คือคําว่า สาสนปริจเฉท แปลว่า กําหนดพระศาสนานั้น อธิบายว่า ได้แก่การกําหนดอายุพระพุทธศาสนาว่ามีอยู่ ๕,๐๐๐ ปี

คําว่า ปฏิปัตติปริทีปนา แปลว่า กําหนดแสดงซึ่งการปฏิบัตินั้น หมายถึงผลแห่งการปฏิบัติ หรืออานุภาพแห่งการปฏิบัติว่า ถ้ายังปฏิบัติอยู่ตราบใด พระพุทธศาสนาก็จักยังตั้งอยู่ตราบนั้น

คําทั้งสองนี้ถูกทั้ง ๒ คํา เปรียบเหมือนคําว่า อายุของผู้นั้นมีกําหนด ๑๐๐ ปี อีกคําหนึ่งว่า ถ้าธาตุทั้ง ๔ ของผู้นั้นยังปกติอยู่ตราบใด ผู้นั้นก็จักยังมีอายุอยู่ตราบนั้น ดังนี้

คําทั้งสองนี้ คําหนึ่งแสดงกําหนดอายุ อีกคําหนึ่งแสดงอานุภาพของธาตุ ๔ แต่ขอให้เข้าใจว่า อายุของผู้นั้นจักตั้งอยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปีเท่านั้น แล้วธาตุทั้ง ๔ ของผู้นั้นก็จะต้องวิปริตไป ข้อนี้มีอุปมาฉันใด พระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ก็ฉันนั้น

ข้อสําคัญในปัญหาข้อนี้มีอยู่อย่างหนึ่งคือข้อที่ว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียงแค่ ๕,๐๐๐ ปีนั้น ผิดจากที่กล่าวไว้ใน พระวินัย ปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ที่เป็นพระบาลีกับ อรรถกถาฎีกา คือ

ในพระบาลีอรรถกถาฎีกาว่า "ถ้าไม่มีภิกษุณี พระสัทธรรมจักตั้งอยู่พันปี เมื่อมีภิกษุณีแล้ว พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ ๕๐๐ ปีเท่านั้น" อันนี้เป็นคําในพระบาลี

ส่วนในอรรถกถาว่า "เมื่อพระพุทธองค์ ทรงเล็งเห็นอย่างนั้น จึงได้ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ไว้ป้องกันเสียก่อน แล้วจึงทรงอนุญาตให้มีนางภิกษุณี"

เมื่อทรงป้องกันแล้วก็ได้อีก ๕๐๐ ปี รวมกับ อีก ๕๐๐ ปีที่ยังเหลืออยู่นั้น จึงเป็นพันปีเท่ากับไม่มีนางภิกษุณี แล้วอธิบายไว้ตั้งแต่พันปีที่ ๑ ถึงพันปีที่ ๕ (รายละเอียด ของดไว้)

เมื่อสิ้น ๕ พันปีแล้ว อธิคมสัทธรรม คือผู้บรรลุมรรคผลก็สิ้นไป พระปริยัติธรรมก็หมดไปทีละน้อย ลงท้ายก็เหลือแต่เพศภิกษุ ที่มีผ้าเหลืองน้อยห้อยหู ทําไร่ไถนาเลี้ยงบุตร ภรรยา แล้วลงท้ายก็หมดผ้าเหลืองน้อยห้อยหู

แต่เมื่อผู้ใดยังมีผู้จําพระพุทธวจนะได้เพียง ๑ คาถา อันกําหนดด้วยอักขระ ๓๒ ตัว เมื่อนั้นก็ยังเรียกว่า พระปริยัติศาสนายังอยู่ เมื่อไม่มีมนุษย์ผู้ใดในโลก จะจําพระพุทธวจนะเพียงคาถาเดียวได้ เมื่อนั้นแหละจึงเรียกว่า หมดพระปริยัติศาสนาจริง ๆ

และมีกล่าวไว้ว่า เมื่อพระพุทธศาสนาครบ ๕,๐๐๐ ปีแล้ว พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ กัน จะเสด็จมารวมกันที่ไม้ศรีมหาโพธิ แล้วปรากฏเป็นองค์ สมเด็จพระบรมสุคตขึ้นทรงแสดงธรรมแก่ เทพยดาอยู่ตลอด ๗ ทิวาราตรี เทพยดาหรือ ยักษ์ นาค ครุฑ อินทร์ พรหม ผู้ใดเป็นธาตุเวไนย ผู้นั้นก็จักได้สําเร็จมรรคผล นิพพาน ในคราวนั้น

แล้วจวนรุ่งอรุณในคืนที่ ๗ พระบรมสารีริกธาตุที่ปรากฏเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นนั้น ก็จะมีเพลิงธาตุเกิดขึ้น ถวายพระเพลิงเผา ให้ย่อยยับไปไม่มีเหลือ เมื่อนั้นแหละเรียกว่า "ธาตุอันตรธาน" ดังนี้

(ต้องของดปัญหาไว้เพียงข้อนี้ก่อน เพราะตอนที่แล้วในเรื่อง "การตั้งครรภ์" ได้เกี่ยวพันถึงบุคคลในพระสูตร เช่น มาตังคฤาษี พระเจ้ากุสราช และ พระเจ้ามหาปนาท เป็นต้น จึงจะขอนําประวัติบุคคลเหล่านี้ มาให้ทราบแต่พอได้ใจความดังนี้)




มาตังคบรมโพธิสัตว์

ในอดีตเมื่อครั้ง พระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติในเมืองพาราณสี พระมหาสัตว์เจ้าได้บังเกิดในกําเนิดตระกูลคนจัณฑาล มีนามว่า มาตังคมาณพ เพราะเหตุที่มีปัญญา ภายหลังจึงมีชื่อว่า มาตังคบัณฑิต

ในเมืองนั้นมีธิดาเศรษฐีชื่อว่า ทิฏฐมังคลิกา วันหนึ่งนางได้เห็นพระโพธิสัตว์ทางช่องม่าน ข้างประตูอุทยาน เมื่อรู้ว่าเป็นคนจัณฑาลจึงล้างตาด้วยน้ำหอม แล้วกลับไปจากที่นั้น พวกบริวารของนางไม่ได้กินเหล้ากัน ก็พากันโกรธได้ประทุษร้ายมาตังคบัณฑิตจน
สลบ แล้วก็พากันหลบหนีไป

เมื่อมาตังคบัณฑิตฟื้นขึ้นแล้ว จึงคิดว่าผู้คนของนางทิฏฐมังคลิกาโบยตีเราผู้หาความผิดมิได้ ถ้าเราไม่ได้นางมาเราจะไม่ลุกขึ้น ครั้นตั้งใจดังนี้แล้ว จึงได้ไปนอนลงที่ประตูบ้านบิดาของนาง ได้นอนอยู่ ๖ วัน ก็ยังไม่ได้ ลุกไปไหน ธรรมดาว่าการอธิษฐานของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมสําเร็จ เพราะฉะนั้นในวันที่ ๗ คนทั้งหลายจึงได้พานางทิฏฐมังคลิกามามอบให้

นางทิฏฐมังคลิกาจึงกล่าวขึ้นว่า "ลุกขึ้นเถิดนาย เราพากันไปบ้านของท่านเถิด"
มาตังคบัณฑิตจึงกล่าวว่า "บริวารของเจ้าทุบตีเราเสียบอบช้ำแล้ว เจ้าจงยกเราขึ้นหลังแล้วพาไปเถิด"
นางก็ทําตามสั่ง ได้ออกจากพระนครไป ต่อหน้าชาวพระนคร ที่พากันมามุงดูแล้ว ก็ได้ไปสู่บ้านคนจัณฑาล

ในคราวนั้น พระมหาสัตว์เจ้ามิได้ล่วงเกินนาง ให้ผิดประเพณีแห่งเผ่าพันธุ์วรรณะ ให้นางพักอยู่ที่เรือนของตน ๒-๓ วัน แล้วคิดว่า เราจะทําให้นางถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภยศนั้น เราจักต้องบรรพชาจึงจะทําได้ นอกจากนี้แล้วไม่มีทางทําได้




มาตังคฤาษีผู้มีฤทธิ์

เมื่อคิดดังนี้แล้ว จึงบอกนางว่าจะไปในป่า ขอให้รออยู่ที่นี้จนกว่าจะกลับมา และได้สั่งคนในบ้านให้เอาใจใส่ต่อนาง แล้วก็ออก ไปบรรพชาเป็นฤาษีอยู่ในป่า ตั้งใจเจริญสมณธรรมพอถึงวันที่ ๗ ก็ได้สําเร็จอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ จึงคิดว่า บัดนี้เราอาจเป็นที่พึ่งของนางทิฏฐมังคลิกาได้แล้ว จึงเหาะไปลงที่ประตูบ้านคนจัณฑาล แล้วเดินไปสู่ประตูเรือนของนาง ฝ่ายนางทิฏฐมังคลิกาออกมาต้อนรับแล้วรําพันต่าง ๆ นานา พระมหาสัตว์จึงปลอบโยนนางว่า

"เจ้าอย่าเสียใจไปเลย คราวนี้เราจะทําให้เจ้ามียศใหญ่ยิ่งกว่ายศที่มีอยู่เก่าของเจ้า ก็แต่ว่าเจ้าสามารถพูดในที่ประชุมชนได้ไหมว่า มาตังคบัณฑิตไม่ใช่สามีของเรา ท้าวมหาพรหมเป็นสามีของเรา"

นางทิฏฐมังคลิกาก็รับว่าได้ แล้วพระมหาสัตว์เจ้าจึงกล่าวต่อไปว่า "ถ้าอย่างนั้นเมื่อมีผู้ถามว่า เวลานี้สามีของเจ้าไปไหน ให้ตอบว่าไปพรหมโลก เมื่อเขาถามว่าจะกลับมาเมื่อไร ให้ตอบเขาว่านับแต่วันนี้ไปอีก ๗ วัน ท้าวมหาพรหมผู้เป็นสามีของเรา จักแหวกพระจันทร์มาในวันเพ็ญ"

ครั้นกล่าวกับนางอย่างนี้แล้ว ก็เหาะกลับไปสู่ป่าหิมพานต์ทันที ฝ่ายนางทิฏฐมังคลิกาก็เที่ยวประกาศอย่างนั้นในท่ามกลางมหาชน มหาชนก็เชื่อว่าอาจจะเป็นได้ เพราะถ้าไม่เป็นไปได้ นางทิฏฐมังคลิกาก็จะได้ประโยชน์อะไรในการกล่าวเช่นนี้
ฝ่ายพระโพธิสัตว์พอถึงวันเพ็ญดวงจันทร์เด่นอยู่ในท้องฟ้า ก็จําแลงตัวเป็นท้าวมหาพรหม เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วแว่นแคว้นกาสี แล้วชําแรกแทรกออกมาจากดวงจันทร์ ลงมาเลื่อนลอยรอบเมืองพาราณสีถึง ๓ รอบ เมื่อมหาชนพากันบูชาอยู่ด้วยดอกไม้และของหอม เป็นต้น ได้บ่ายหน้าไปหมู่บ้านคนจัณฑาล พวกพรหมภัต คือพวกจัดเครื่องต้อนรับพระพรหม ก็ได้พร้อมกันไปที่บ้านคนจัณฑาล

ครั้นเขาตกแต่งบ้านเรือนของนางทิฏฐมังคลิกาเสร็จแล้ว พระมหาสัตว์เจ้าก็ลงมาจากอากาศ เข้าไปนั่งอยู่บนที่นอนสักครู่หนึ่ง ในเวลานั้นนางกําลังมีระดู จึงลูบสะดือของนางด้วยปลายนิ้วมือ แล้วนางก็ตั้งครรภ์ขึ้น

ต่อมาพระมหาสัตว์เจ้าจึงบอกว่า "เจ้าจักได้ลูกเป็นผู้ชาย เจ้ากับบุตรจักเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยลาภยศ เพียงแต่น้ำอาบของเจ้าก็จะเป็นยาวิเศษ รดศีรษะผู้ใด ผู้นั้นจะหายจากโรคทั้งปวง ผู้ที่กราบไหว้จักให้ทรัพย์แก่เจ้า เจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด"
ครั้นให้โอวาทนางแล้วก็ได้ออกจากเรือน แล้วเลื่อนลอยขึ้นไปบนอากาศ ต่อหน้ามหาชน ที่กําลังดูอยู่ แล้วเข้าไปสู่ดวงจันทร์




มัณฑพยกุมาร

พวกพรหมภัตจึงได้ให้นางทิฏฐมังคลิกาขึ้นนั่งบนสุวรรณสีวิกา แล้วยกขึ้นทูนศีรษะของตนพาเข้าไปสู่พระนคร มหาชนต่างก็พากันบูชากราบไหว้ได้ทรัพย์ถึง ๑๘ โกฏิ โดยเชื่อถือว่าเป็นภรรยาของท้าวมหาพรหม

ครั้นพวกพราหมณ์นําไปรอบพระนครแล้ว ได้สร้างมณฑปใหญ่ขึ้นในท่ามกลางพระนคร แล้วให้นางทิฏฐมังคลิกาอยู่ในที่นั้น และเริ่มก่อสร้างปราสาท ๗ ชั้น ไว้ที่ใกล้ มหามณฑปนั้น ต่อมานางก็ได้คลอดบุตรในมณฑปนั้นเอง พราหมณ์จึงขนานนามกุมารว่า "มัณฑพยกุมาร" อีก ๑๐ เดือน ปราสาทจึงสําเร็จลง นางจึงอยู่ที่ปราสาทนั้น มัณฑพยกุมารนั้นก็เจริญขึ้นด้วยบริวารเป็นอันมาก ได้ศึกษาวิชาไตรเพทจนอายุได้ ๑๖ ปี ก็เริ่มตั้งพิธีเลี้ยงพวกพราหมณ์เป็นนิจไป

ในขณะนั้นเอง มาตังคบัณฑิตนั่งอยู่ที่อาศรมบทในป่าหิมพานต์ ได้เล็งดูเหตุการณ์ก็ทราบว่า ความประพฤติแห่งบุตรโน้มเอียงไปในลัทธิอันไม่สมควร จึงคิดว่าวันนี้เราจักไปฝึกมาณพนั้น ให้รู้ว่าให้ทานในที่ใดจึงจะมีผลมาก

คิดดังนี้แล้ว ก็ได้ไปที่สระอโนดาตโดยทางอากาศ ลงอาบน้ำชําระกายแล้วก็ขึ้นยืนอยู่ที่มโนศิลา ได้นุ่งผ้าสองชั้นคาดประคตเอว แล้วห่มผ้าจีวรผืนใหญ่ ถือเอาบาตรเหาะมาลงยืนอยู่ที่โรงทานซุ้มประตูที่ ๔

มัณฑพยกุมารได้เห็นมาตังคฤาษี ผู้จําแลงเพศเป็นภิกษุ จึงกล่าวว่า "ท่านนุ่งห่มด้วยผ้าขี้ริ้วสกปรกเหมือนปีศาจเล่นฝุ่น ท่านไม่สมควรแก่การถวายทานของเรา"

พระมหาสัตว์เจ้าจึงกล่าวว่า "อาหารที่ท่านจัดไว้ให้พราหมณ์ทั้งหลายนั้น ก็ควรจะให้ทานแก่เราผู้เลี้ยงชีวิตด้วยอาหารผู้อื่นให้เช่นกัน แม้ถึงจะเป็นคนจัณฑาล ก็ขอจงให้อาหารแก่เราบ้างเถิด"

แต่มัณฑพยกุมารก็ไม่ยอมให้ กลับขับไล่ออกไป พระมหาสัตว์เจ้าจึงกล่าวว่า "ชาวนาผู้หวังผลย่อมหว่านพืชลงในที่ลุ่มบ้าง ในที่ดอนบ้าง ในที่เสมอไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ บ้างฉันใด ท่านจงให้ทานแก่บุคคลทั้งปวงด้วยศรัทธานี้ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงอย่างไรก็ดี กุมารก็จักได้บุคคลที่ควรแก่การถวาย"

มัณฑพยกุมารจึงกล่าวต่อไปว่า "เรารู้ดีว่านาเหล่าใดเป็นนาดีในโลก เรารู้ดีว่าการหว่านพืช คือให้ทานแก่พวกพราหมณ์ที่สมบูรณ์ด้วยชาติตระกูล และด้วยความรู้นี้เป็นทางได้ผลดี"

ลําดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าจึงว่า "ความเมาด้วยชาติตระกูล ความถือตัวเกินไป และโลภะ โทสะ โมหะ เหล่านี้มีอยู่ในพวกใด พวกนั้นไม่จัดว่าเป็นเขตอันดี เมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่ในพวกใด พวกนั้นจึงจัดว่าเป็นเขตอันดี"

มัณฑพยกุมารไม่พอใจจึงให้นายประตูขับไล่ออกไป พวกนายประตูยังมาไม่ทันถึงตัว พระมหาสัตว์เจ้าก็ขึ้นไปยืนบนอากาศต่อหน้าคนทั้งหลายแล้วกล่าวว่า "ผู้ใดด่าว่าฤาษี ผู้นั้นชื่อว่าขุดภูเขาด้วยเล็บ เคี้ยวกินก้อนเหล็กด้วยฟัน ชื่อว่าพยายามกลืนกินไฟ"

ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงเหาะไปต่อหน้ากุมารและพราหมณ์ทั้งหลาย บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก ไปลงที่ถนนสายหนึ่งแล้ว อธิษฐานว่า ของจงให้รอยเท้าของเราปรากฏอยู่ในที่นี้ แล้วก็เที่ยวไปบิณฑบาตได้อาหารแล้ว ก็นั่งฉันอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่ง




อานุภาพแห่งเทพยดา

ฝ่ายเทวดาผู้รักษาพระนครนั้น ก็คิดว่ามัณฑพยกุมารได้กล่าวเบียดเบียนพระผู้เป็นเจ้าของเรา จึงจับศีรษะของกุมารและพวกพราหมณ์ทั้งหลายบิดให้เหลียวหลังไป นอนตัวแข็งทื่อตาค้าง อ้าปากน้ำลายไหลกลิ้งไปมา

คนทั้งหลายจึงไปแจ้งนางทิฏฐมังคลิกาว่า มีสมณะองค์หนึ่งนุ่งห่มผ้าขาดเป็นริ้วรอยเข้ามาในที่นี้ บุตรของพระแม่เจ้าจึงเป็นอย่างนี้ นางจึงคิดว่าเราจักไปเที่ยวค้นหาสามีของเรา แล้วสั่งให้ทาสและทาสีถือคณโฑน้ำทองคําเที่ยวติดตามไป ได้เห็นรอยเท้าที่พระมหาสัตว์เจ้าอธิษฐานไว้ก็รีบติดตามไป ได้พบในขณะกําลังนั่งฉันอาหารอยู่ที่ศาลานั้น นางจึงเข้าไปใกล้แล้วนั่งลงยกมือไหว้

พระมหาสัตว์เจ้าได้เห็นนางมาถึง จึงเหลือข้าวสุกไว้ก้นบาตรแสดงอาการอิ่มแล้ว นางจึงน้อมคณโฑเข้าไปถวาย และกล่าวถามถึงเหตุดังกล่าวนั้น มาตังคฤาษีตอบว่าเป็นเพราะยักษ์ผู้รักษาพระนคร รู้จักคุณธรรมของพวกฤาษี ทราบว่าบุตรของเจ้าคิดร้ายต่อฤาษี จึงได้ทําบุตรของเจ้าให้เป็นอย่างนี้

นางทิฏฐมังคลิกาจึงขอโทษว่า ยักษ์ทั้งหลายโกรธแล้ว ท่านอาจทําให้หายได้โดยน้ำเพียงจอกเดียว ข้าพเจ้าไม่กลัวยักษ์สักนิดเดียว กลัวท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ผู้เดียวเท่านั้น ขอท่านจงเมตตาอย่าได้โกรธ บุตรข้าพเจ้าเลย

พระโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า เมื่อกี้บุตรของเจ้าด่าเรา เราก็ไม่คิดร้ายต่อบุตรของเจ้า ก็แต่ว่าบุตรของเจ้ากําลังมัวเมาว่ารู้ศิลปศาสตร์ ไม่รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ จึงได้รับโทษอย่างนี้ กล่าวดังนี้แล้วจึงให้ข้าวสุกที่เหลือ เพื่อหยอดเข้าไปในปากของบุคคลเหล่านั้น นางจึงแบ่งข้าวนั้นหยอดลงในปากแห่งบุตรของตน แล้วยักษ์ที่รักษาพระนครก็หนี ไป มัณฑพยกุมารฟื้นขึ้นมาจึงพากันไปดูพวกพราหมณ์ที่ยังสลบอยู่

นางทิฏฐมังคลิกาจึงสั่งสอนว่า "เจ้ายังมีปัญญาน้อย ไม่รู้จักว่าให้ทานในที่ใดจึงจะมีผลมาก เพราะการให้ทานแก่ผู้มีกิเลส ไม่มีการสํารวม มีแต่กรรมเศร้าหมอง ถึงให้ทานมาก ก็ย่อมมีผลน้อย

นี่แน่ะมัณฑพยะ ผู้รับการถวายทานของเจ้า บางคนก็รวบเกล้าทําเป็นชฎานุ่งผ้าหนังเสือ มีหน้ารุงรังด้วยหนวดเครา เจ้าจงพิจารณาดู ซึ่งผู้ที่ทําตนให้หม่นหมองอย่างนี้ การมุ่นเกล้าให้เป็นชฎาและนุ่งผ้าหนังเสือเช่นนี้ หาป้องกันผู้มีปัญญาน้อยได้ไม่ ท่านเหล่าใดสํารอกราคะ โทสะ และอวิชชาแล้ว หรือเป็นพระอรหันต์แล้ว ทานที่บุคคลถวายย่อมมีผลมาก"

นางทิฏฐมังคลิกากล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเตือนให้ช่วยพวกพราหมณ์กินยาอันไม่รู้จักตายนั้น แล้วเทข้าวสุกที่เหลืออยู่นั้นลงในตุ่มน้ำ ขยําให้ดีแล้วจึงตักน้ำหยอดเข้าไปในปากพวกพราหมณ์ทั้งหมื่น ๖ พันคนนั้นก็ได้สติลุกขึ้น ทันที

ลําดับนั้น พวกพราหมณ์อื่นจากพวกนี้ ก็พากันติเตียนว่าพวกพราหมณ์เหล่านี้ ได้กินน้ำเหลือเดนของคนจัณฑาล ทําให้เสีย ชาติตระกูล จึงพร้อมกันทําพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ให้เป็นพราหมณ์อีกต่อไป พราหมณ์ทั้งหมื่น ๖ พันคนก็ละอายใจ ได้ยกครอบครัวออกจากเมืองพาราณสี ไปอยู่กับ พระเจ้าเมชฌราช ในเมชฌนครเสีย




ทรมานดาบสผู้มีมานะ

ในคราวนั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งบวชเป็นดาบส อาศัยอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเวตวดี แต่เป็นผู้มีมานะจนเกินการ พระมหาสัตว์เจ้าได้ทราบ จึงคิดทําลายมานะของดาบสนี้เสีย แล้วจึงไปอาศัยอยู่เหนือแม่น้ำเวตวดี ได้อธิษฐานขอให้ไม้สีฟัน ไปติดอยู่ที่ชฎาของดาบสนี้ ไม้สีฟันก็ลอยไปติดอยู่ที่ชฎาในขณะ ที่ดาบสนั้นลงอาบน้ำ

ดาบสนั้นจึงด่าขึ้นว่า อ้ายคนฉิบหาย อ้ายคนชั่วร้าย แล้วคิดว่าอ้ายคนกาลกิณีนี้ มาจากไหน จึงทิ้งสิ่งที่โสโครกมา เราจักไปดู แล้วก็ขึ้นเดินไปตามฝั่งแม่น้ำ จึงได้เห็นพระโพธิสัตว์ จึงถามว่าท่านมาจากไหน ท่านเป็นคนชนิดใด

พระมหาสัตว์เจ้าตอบว่า เรามาจากป่าหิมพานต์ เราเป็นคนชาติจัณฑาล ดาบสจึงถามว่า ท่านทิ้งไม้สีฟันลงในน้ำบ้างหรือ พระมหาสัตว์เจ้าตอบว่าทิ้งลงไป ดาบสนั้นจึงได้ด่าว่า เจ้าคนถ่อย เจ้าอย่าอยู่ในสถานที่นี้ จงไปอยู่เสียด้านใต้ของแม่น้ำ

พระมหาสัตว์เจ้าก็ไปนั่งอยู่ด้านใต้ของแม่น้ำ แล้วทิ้งไม้สีฟันลงไป ไม้สีฟันนั้นก็กลับไหลทวนน้ำ ไปติดอยู่ที่ชฎาของดาบสนั้นอีก ดาบสนั้นก็โกรธแล้วสาปแช่งว่า อ้ายคนจัญไร ถ้าเจ้าขืนอยู่ที่นี่ต่อไป ศีรษะของเจ้าจักแตกเป็น ๗ ภาค ภายใน ๗ วัน
พระมหาสัตว์เจ้าจึงคิดว่า ถ้าเราโกรธขึ้นบ้าง เราก็อาจทําให้ดาบสนี้ฉิบหาย แต่ศีลที่เรารักษาไว้ก็จะเสียไป เราจะทําลายมานะดาบสนี้ด้วยอุบายวิธีของเรา พอถึงวันที่ ๗ จึงบันดาลไม่ให้ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นในท้องฟ้า คนทั้งหลายพากันวุ่นวายเข้าไปหาดาบส
นั้นว่า เหตุไรท่านจึงไม่ให้ดวงอาทิตย์ขึ้น ดาบสนั้นตอบว่า เราไม่ได้ทําเห็นมีแต่ดาบสจัณฑาลผู้หนึ่งคงเป็นผู้ทํา

คนเหล่านั้นจึงพากันไปไต่ถามพระโพธิสัตว์ ท่านจึงได้เล่าความเป็นไปให้ฟังว่า เมื่อให้ดาบสนั้นมากราบที่เท้าเพื่อขอโทษต่อเราแล้ว เราก็จะให้พระอาทิตย์ขึ้น คนทั้งหลายจึงพากันไปช่วยจับดาบสนั้น ฉุดคร่าให้มาหมอบที่เท้าของพระมหาสัตว์เจ้า เพื่อให้ขอโทษ แล้วอ้อนวอนขอให้พระอาทิตย์ ขึ้นเถิด

พระมหาสัตว์เจ้าตอบว่า เรายังให้ขึ้นไม่ได้ ถ้าเราปล่อยให้ขึ้น ศีรษะของดาบสนี้ก็ จักแตก ๗ เสี่ยง

เขาจึงถามว่าจะให้ทําอย่างไร พระมหาสัตว์เจ้าตอบว่า ท่านจงไปเอาก้อนดินเปียก ๆ มาพอกศีรษะแล้วให้ดาบสนี้ลงไปอยู่ในน้ำ พอศีรษะของดาบสต้องแสงอาทิตย์ ดินเหนียวที่พอกศีรษะนั้นก็จะแตก แล้วให้ดาบสนี้ดําน้ำหลบหนีไป เมื่อทําได้อย่างนี้ ดาบสนี้จะพ้นจากความตาย คนทั้งหลายก็พากันกระทําตามทุกประ การ พระมหาสัตว์เจ้าจึงคลายอิทธิปาฏิหาริย์ ปล่อยให้ดวงอาทิตย์ขึ้น พอแสงอาทิตย์ขึ้นก็ เป็นไปตามนั้นทันที




มาตังคฤาษีถูกลอบทําร้าย

เมื่อพระมหาสัตว์เจ้าทรมานดาบสให้สิ้นพยศแล้ว จึงนึกถึงพวกพราหมณ์ทั้งหมื่น ๖ พันคน ได้ทราบว่าเขาพากันไปอยู่กับพระเจ้าเมชฌราช จึงเหาะไปลงที่มุมเมืองเมชฌนคร แล้วถือบาตรเที่ยวภิกขาจารไป

พวกพราหมณ์เหล่านั้นได้เห็นจึงปรึกษากันว่า มาตังคฤาษีได้มาอยู่ในเมืองนี้แล้ว ไม่ช้าเขาก็จักทําพวกเราให้หาที่พึ่งไม่ได้ จึงพากัน ไปกราบทูลพระเจ้าเมชฌราชว่า วิชาธรซึ่งพวกข้าพระพุทธเจ้าเคยรู้จักได้เข้ามาในเมืองนี้แล้ว ขอพระองค์จงให้จับฆ่าเสีย

ฝ่ายมหาสัตว์เจ้าพอบิณฑบาตได้แล้ว ก็ไปนั่งฉันอยู่ที่ชายคาเรือนแห่งหนึ่ง พระเจ้าเมชฌราชจึงตรัสสั่งให้พวกราชบุรุษติดตามไป พอเขาได้เห็นพระมหาสัตว์เจ้ากําลังนั่งฉันอาหารอยู่โดยไม่รู้ตัว ก็พากันแอบเอาดาบฟันคอของพระมหาสัตว์เจ้าให้ขาดสะบั้น แล้วพระมหาสัตว์เจ้าก็ได้ขึ้นไปเกิดในพรหมโลก

เทวดาทั้งหลายพากันโกรธเคือง จึงบันดาลให้เป็นฝนเถ้ารึงอันร้อนตกลงมาทั่วเมชฌนคร ไหม้สิ่งของทั้งปวงไม่มีเหลือ พระเจ้าเมชฌราชกับทั้งประชาชนก็ถึงซึ่งความพินาศสิ้น

ต่อมาภายหลัง มัณฑพยกุมาร ก็ได้มาเกิดเป็น พระเจ้าอุเทน ผู้คิดเบียดเบียนบรรพชิต ส่วน มาตังคบัณฑิต ได้มาเกิดเป็นพระพุทธองค์ สิ้นเนื้อความใน มาตังคชาดก แต่โดยย่อเพียงเท่านี้

◄ll กลับสู่ด้านบน

((( โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป )))




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 30/3/09 at 08:26 Reply With Quote



Update 19 ม.ค. 52

ตอนที่ ๑๘
ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องสําเร็จสัพพัญญุตญาณ


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า "ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จพระตถาคตเจ้าทรงเผาอกุศลสิ้นแล้ว จึงถึงพระสัพพัญญุตญาณ หรือว่าเผาอกุศลยังไม่สิ้น แต่ถึงพระสัพพัญญุตญาณ?"

พระนาคเสนตอบว่า "ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้า เผาอกุศลทั้งปวงสิ้นแล้ว จึงถึงพระสัพพัญญุตญาณ การที่จะเผาอกุศลที่ยังเหลืออยู่ ไม่มีอีกเลย"

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ทุกขเวทนาเคยเกิด ในพระกายของพระพุทธเจ้าบ้างหรือไม่?"
"เคยเกิด มหาบพิตร คือครั้งประทับที่กรุงราชคฤห์ พระบาทได้ถูกสะเก็ดศิลา ครั้งทรงจําพรรษาที่เวฬุวคาม ก็ทรงเกิดโลหิต ปักขันทิกาพาธ (ลงแดง) หมอชีวกก็ถวายยาประจุ อีกครั้งหนึ่งเกิดพระอาพาธลม พระ อานนท์ก็ได้เที่ยวหาน้ำร้อนมาถวาย"

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสถามต่อไปว่า "ถ้าพระตถาคตเจ้าเผาอกุศลทั้งปวงสิ้น แล้วจึงสําเร็จพระสัพพัญญุตญาณ คําที่ว่า "พระอาพาธเกิดในพระสรีรกายของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นก็ผิด"

ถ้าคําว่า "พระอาพาธเกิดในพระสรีรกายของพระพุทธเจ้านั้นถูก" คําว่า "พระตถาคตเจ้าเผาอกุศลทั้งปวงสิ้นแล้ว จึงสําเร็จพระสัพพัญญุตญาณนั้นก็ผิด"

บุคคลย่อมได้เสวยทุกขเวทนานอกจาก กรรม ไม่มี กรรมเท่านั้นเป็นมูลราก บุคคลได้เสวยเวทนาเพราะกรรมเท่านั้น ปัญหาอันเป็น อุภโตโกฎินี้ได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงกําจัดเสียซึ่งความสงสัยเถิด"




เหตุให้เกิดทุกขเวทนามี ๘

"ขอถวายพระพร ไม่ใช่ว่าเวทนาทั้งปวง มีกรรมเป็นมูลรากทั้งนั้น เพราะเหตุที่จะให้เกิดเวทนาอันเป็นทุกข์นั้น
มีอยู่ ๘ ประการ คือ
๑. ทุกขเวทนามีลมเป็นสมุฏฐาน
๒. ทุกขเวทนามีดีเป็นสมุฏฐาน
๓. ทุกขเวทนามีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
๔. ทุกขเวทนามีประชุมลม ดี เสมหะเป็นสมุฏฐาน
๕. ทุกขเวทนามีการเปลี่ยนฤดูเป็นสมุฏฐาน
๖. ทุกขเวทนามีการบริหารร่างกายไม่ สม่ำเสมอเป็นสมุฏฐาน
๗. ทุกขเวทนามีการกระทําของผู้อื่นเป็นสมุฏฐาน
๘. ทุกขเวทนาอันเกิดด้วยผลแห่งกรรม บุคคลเหล่าใด ถือว่าเกิดด้วยกรรมอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับเหตุ ๘ นี้
คําพูดของคน เหล่านั้นผิดไป"

"ข้าแต่พระนาคเสน ทุกขเวทนาอันมีสิ่งทั้ง ๘ นี้เป็นสมุฏฐาน ก็เป็นอันว่ามีกรรม เป็นสมุฏฐานทั้งนั้น เกิดด้วยกรรมทั้งนั้น"




เหตุให้ลม ดี เสมหะกําเริบ

"ขอถวายพระพร ถ้าทุกขเวทนาเหล่านั้นมี กรรม เป็นสมุฏฐาน สิ่งเหล่านั้นก็ไม่ต้องมีลักษณะต่างกัน แต่นี่มีลักษณะต่างกัน คือ ลม เมื่อจะกําเริบก็กําเริบด้วยเหตุ ๑๐ อย่าง อันได้แก่ กําเริบด้วยเย็น ร้อน หิว กระหาย กินมากเกินไป ยืนนานเกินไป เพียรมากเกินไป วิ่งเร็วเกินไป การกระทําของผู้อื่น และผลแห่งกรรม

๙ อย่างข้างต้น จะเกิดขึ้นในอดีต อนาคต ก็หาไม่ ย่อมเกิดแต่ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า เวทนาทั้งปวงเกิดจากกรรม

ส่วน ดี เมื่อจะกําเริบ จะกําเริบด้วยเหตุ ๓ อย่าง คือ เย็น ร้อน กินไม่เป็นเวลา
เสมหะ กําเริบด้วยเหตุ ๓ อย่าง คือ ด้วยเย็น ร้อน ข้าวน้ำ
ลม ดี เสมหะ กําเริบด้วยเหตุเหล่านี้ แล้วเจือกันก็ชักมาซึ่งเวทนา อันเป็นส่วนของ ตน ๆ

เวทนาอันเกิดด้วยเปลี่ยนฤดู ก็เกิดขึ้น ด้วยการเปลี่ยนฤดู เวทนาอันเกิดด้วยบริหาร ร่างกายไม่สม่ำเสมอ ก็เกิดด้วยการบริหาร ร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอสมควรกัน เวทนาอันเกิดจากความเพียร เป็นกิริยา ก็มี เป็นวิบากก็มี เวทนาอันเกิดจากกรรม ย่อมเกิดด้วยกรรมที่ได้กระทําไว้ในปางก่อน

ด้วยเหตุตามที่ว่ามานี้แหละ ชี้ให้เห็นว่า เวทนาอันเกิดด้วยกรรมมีน้อย เกิดด้วยอย่างอื่นมีมาก พวกโง่เขลาก็เข้าใจว่า เกิดด้วยกรรม ทั้งนั้น กรรมนั้นไม่มีใครรู้ได้ นอกจากพระ พุทธญาณเท่านั้น"




พระเทวทัตกลิ้งก้อนศิลา

"การที่พระบาทของพระพุทธเจ้าถูกสะเก็ดศิลาแล้ว ทําให้เกิดเวทนานั้น ไม่ใช่มีลม หรือดีเสมหะ หรือสิ่งทั้ง ๓ นี้ เป็นสมุฏฐานเลย ไม่ใช่เกิดด้วยการเปลี่ยนฤดู หรือด้วยการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ เกิดด้วยการ กระทําของผู้อื่นต่างหาก คือ
พระเทวทัต ผู้ผูกอาฆาตต่อพระตถาคต เจ้ามาหลายแสนชาติแล้ว ได้กลิ้งก้อนศิลาใหญ่ ลงไปจากยอดภูเขา ด้วยคิดจักให้ตกถูกพระพุทธองค์ แต่ก้อนศิลาที่กลิ้งลงมานั้น ได้มากระทบก้อนศิลาใหญ่อีก ๒ ก้อน

ก้อนศิลานั้นได้แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ กระจายไป มีสะเก็ดเล็ก ๆ ก้อนหนึ่ง ได้กระเด็นไปถูกพระบาทของพระพุทธเจ้า ทําให้พระโลหิตห้อขึ้น จะว่าเวทนานั้นเกิด ด้วยผลแห่งกรรม หรือด้วยการกระทําของพระองค์ไม่ได้ทั้งนั้น เกิดด้วยการกระทําของผู้อื่นต่างหาก"




ยกอุปมาขึ้นเปรียบเทียบ

"พืชย่อมงอกงามไม่ดี ย่อมเป็นเพราะที่ดินไม่ดี หรือเพราะพืชไม่ดีฉันใด เวทนานั้นก็เกิดแก่พระพุทธเจ้า เพราะ
ผลแห่งกรรม หรือเพราะการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งฉันนั้น นอกนั้นย่อมไม่มี

โภชนะที่กินเข้าไปแล้วย่อยไม่ดี ย่อมเป็นเพราะท้องไม่ดี หรือเพราะโภชนะนั้นไม่ดี ฉันใด เวทนาของพระพุทธเจ้านั้น ก็เกิดด้วยผลแห่งกรรม หรือเกิดด้วยการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งฉันนั้น

ก็แต่ว่า เวทนาอันเกิดด้วยผลแห่งกรรม และเกิดด้วยการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้า มีด้วยเหตุ ๑ อย่าง นอกจาก ๒ อย่างนี้ต่างหาก ใครไม่อาจปลงพระชนม์ของพระพุทธเจ้าได้ แต่ว่าเวทนาทั้งที่น่าต้องการ และไม่น่าต้องการ ดีและไม่ดี ย่อมมีในพระวรกายอันประกอบด้วยธาตุ ๔ ของพระพุทธเจ้าได้เป็นของธรรมดา

ก้อนดินที่บุคคลขว้างขึ้นไปในอากาศ ย่อมตกลงมาที่พื้นดิน ก้อนดินเหล่านั้น ได้ตกลงมาที่พื้นดิน ด้วยกรรมที่ได้ทําไว้ในปางก่อนหรือ...มหาบพิตร?"
"หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า ก้อนดินเหล่านั้น ไม่ได้ตกลงมาที่พื้นดินด้วยกรรมอะไร"

"ขอถวายพระพร ควรเห็นว่าพระวรกาย ของพระตถาคตเจ้า ก็เปรียบเหมือนกับพื้นดิน ฉะนั้นการที่สะเก็ดศิลาถูกพระบาทของพระ ตถาคตเจ้านั้น ไม่ใช่เป็นเพราะบุพพกรรม อาตมภาพขอถามมหาบพิตรว่า การที่
แผ่นดินใหญ่นี้ ถูกมนุษย์ทั้งหลายทําลายและขุดนั้น เป็นด้วยบุพพกรรมหรือ?"
"ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า"

"ข้อที่สะเก็ดศิลาถูกพระบาทของพระพุทธเจ้า ทําให้พระโลหิตห้อนั้น ก็ไม่ใช่เพราะบุพพกรรมฉันนั้น ถึงพระโรคลงแดงก็ไม่ได้ เกิดด้วยบุพพกรรม เกิดด้วย ลม ดี เสมหะ ๓ อย่าง กําเริบต่างหาก

ทุกขเวทนาทางพระกายของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ไม่ได้เกิดด้วยบุพพกรรมเลย เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ ต่างหาก
ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระมหามุนีได้ตรัสไว้ใน "โมลิยสีวกเวยยากรณะ" ในสังยุตต นิกายว่า

"ดูก่อนสีวกะ เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น เพราะมี "ดี" เป็นสมุฏฐาน บางอย่างมี"เสมหะ" เป็นสมุฏฐาน บางอย่างมี "ลม" เป็นสมุฏฐาน บางอย่างมี "สิ่งทั้ง ๓" นั้นเป็นสมุฏฐาน บางอย่างเกิดขึ้นเพราะเปลี่ยนฤดู บางอย่างเกิดขึ้นเพราะบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ บางอย่างเกิดขึ้นเพราะการกระทําของผู้อื่น บางอย่างเกิดขึ้นเพราะผลของกรรม

สมณพราหมณ์เหล่าใดเห็นว่า สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งสิ้น เกิดขึ้นเพราะบุพพกรรมทั้งนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า แล่นเลยความจริงไป ความคิดความเห็นของสมณพราหมณ์เหล่านั้นผิดไป"
เพราะฉะนั้นแหละ มหาบพิตร อาตมาจึงว่า เวทนาทั้งสิ้นไม่ใช่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ไม่ใช่เกิดเพราะกรรมทั้งนั้น

เป็นอันว่า พระตถาคตเจ้าได้เผาอกุศลกรรมสิ้นแล้ว จึงได้ถึงพระสัพพัญญุตญาณ ขอให้มหาบพิตรทรงจําไว้อย่างนี้เถิด ขอถวายพระพร"
"ดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า โยมขอรับจําไว้ อย่างนี้"




ฎีกามิลินท์

การที่พระนาคเสนกล่าวไว้ว่า "ทุกขเวทนาของพระพุทธเจ้าไม่ได้เกิดด้วยกรรมนั้น" เป็น เอกังสพยากรณ์ คือเป็นการกล่าวแก้ออกไปอย่างเด็ดขาดลงไปฝ่ายเดียวเท่านั้น

เพราะฉะนั้น จึงควรวิจารณ์ อย่างไหนถูกกว่าก็ควรถือเอาอย่างนั้น การวิจารณ์นั้นมีว่า กิเลสทั้งหลายเป็นของที่มรรคฆ่าแล้ว กรรมอันเกิดด้วยกิเลส ซึ่งจะทําให้เกิดโรคาพาธ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ของผู้สิ้นกิเลสแล้ว นั้นไม่มี

ท่านจึงว่า ไม่ได้เกิดด้วยกรรม หมายความว่า ไม่ได้เกิดด้วยกรรมที่กระทําในปัจจุบัน และจักไม่เกิดในอนาคตเป็นอันขาด เพราะว่าสิ้นกิเลสอันเป็นเหตุให้ทํากรรมที่จะให้เกิดผล ทั้งในปัจจุบันและอนาคตแล้ว

ส่วนบุพพกรรมอันเป็น ปราปรเวทนียกรรม คือกรรมให้ผลในภพสืบ ๆ ไปนั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่อาจห้ามได้ เพราะฉะนั้นจึงควรถือเอาว่า เวทนาของพระพุทธเจ้านั้นเกิดด้วยบุพพกรรม ไม่ได้เกิดด้วยปัจจุบันกรรม แต่เพราะเหตุไร พระเถระจึงกล่าวไว้ หลายอย่าง เพราะเหตุว่า พระเจ้ามิลินท์อยากทรงสดับปฏิภาณอันวิจิตรต่าง ๆ จึงได้แก้หลาย อย่างเช่นนั้น ดังนี้

(ขอยับยั้งปัญหาไว้เพียงแค่นี้ก่อน เพราะตอนที่แล้วยังค้างเรื่องในพระสูตร จึงขอย้อน พูดถึง ปัญหาที่ ๖ เรื่องการตั้งครรภ์ ตามที่ ท่านกล่าวถึงเทพบุตร ๔ องค์ คือ
สุวรรณสาม ๑ พระเจ้ามหาปนาท ๑ พระเจ้ากุสราช ๑ พระเวสสันดร ๑ ว่าได้ลง มาเกิดเพราะพระอินทร์ทรงอ้อนวอน

สําหรับในตอนนี้จึงขอนําเรื่อง "พระเจ้ามหาปนาท" มาให้อ่านกันก่อน ส่วนในตอน หน้าจะเป็นเรื่อง "พระเจ้ากุสราช" ขออย่าได้พลาดในการติดตามต่อไป)




มหาปนาทชาดก

มหาปนาทชาดกนี้มีเนื้อความว่า สมเด็จพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ทรงพระปรารภอานุภาพของ พระภัททชิเถระ จึงทรงแสดงซึ่งชาดกนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระมหามุนีเสด็จจําพรรษาอยู่ในกรุงพาราณสี ทรงดําริว่าจะสงเคราะห์ ภัททชิกุมาร จึงเสด็จไปสู่ภัททิย นครประทับอยู่ในชาติยาวันตลอดไตรมาส เพื่อรอให้วาสนาบารมีของภัททชิกุมารแก่กล้า
ภัททชิกุมารนั้น เป็นบุตรแห่ง ภัททิยเศรษฐี ผู้มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ มีปราสาทถึง ๓ หลัง เป็นที่ยับยั้งอยู่ในฤดูทั้ง ๓

ฝ่ายสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งจําพรรษาอยู่ในอารามนั้น สิ้นไตรมาส ๓ เดือน แล้วจึงทรงตรัสอําลาชาวเมืองทั้งหลายว่า จะเสด็จไปจากเมืองนั้น พวกชาวเมืองจึงขอให้ประทับอยู่อีกวันหนึ่ง แล้วพากันถวายมหาทานในวันรุ่งขึ้น มีมหาชนไปประชุมถวายทานเป็นอันมาก

เมื่อภัททชิกุมารไม่เห็นมหาชนไปคอยดูตน ในเวลาเปลี่ยนปราสาทตามฤดูเหมือนที่เคยมา จึงถามคนทั้งหลายจนรู้เหตุผลนั้นแล้ว ได้รีบตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องอลงกต พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก ออกไปเฝ้าสมเด็จพระบรมสุคต

เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธ องค์ ก็ได้ดํารงอยู่ในพระอรหัตผล สมเด็จ พระทศพลจึงตรัสบอกแก่มหาเศรษฐี ผู้เป็น บิดาของภัททชิกุมารนั้นให้ทราบว่า ภัททชิกุมาร ได้สําเร็จพระอรหัตผลแล้ว ถ้าไม่ให้บรรพชา ในวันนี้ เขาก็จักปรินิพพานเสีย

มหาเศรษฐีจึงกราบทูลขอให้บรรพชา เมื่อภัททชิกุมารบรรพชาแล้ว ได้ทูลอาราธนา ให้สมเด็จพระบรมศาสดา เข้าไปรับมหาทาน ในบ้านของตนอยู่ตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ พระองค์จึงพาพระภัททชิ เสด็จไปถึงโกฏิคาม ชาวโกฏิคามได้พร้อมกัน ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธองค์ ทรงเป็นประธาน

เมื่อเสร็จจากการฉันแล้ว เวลาพระพุทธองค์จะทรงอนุโมทนานั้น พระภัททชิได้ออกไปภายนอกบ้านเสียก่อน ไปนั่งเข้าฌานอยู่ที่ โคนต้นไม้แห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำคงคา




อานุภาพของพระภัททชิเถระ

ฝ่ายชาวบ้านโกฏิคามได้ยกเรือทานถวายพระภิกษุสงฆ์ เวลาสมเด็จพระพุทธองค์ เสด็จลงประทับในเรือแล้ว โปรดให้พระภัททชิไปในเรือลําเดียวกันด้วย พอไปถึงกลางแม่น้ำคงคา สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสถามว่า

"ดูก่อนภัททชิ ปราสาทที่เธอเคยอยู่ ในเมื่อครั้งเป็นพระเจ้ามหาปนาทราชนั้น อยู่ที่ไหน?"
พระภัททชิกราบทูลว่า "จมอยู่ตรงนี้ พระเจ้าข้า"

ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนก็พากันร้อง กล่าวโทษว่า พระภัททชิอวดมรรคผล สมเด็จพระทศพลจึงตรัสบอกพระภัททชิ ให้แก้ความสงสัยของภิกษุทั้งหลาย

พระภัททชิถวายบังคมแล้วก็บันดาลปลายนิ้วเท้า ลงไปคีบยอดปราสาทอันสูงได้ ๒๕ โยชน์ ขึ้นมาจากแม่น้ำคงคา ไปปรากฏ อยู่บนอากาศสูงจากพื้นน้ำได้ถึง ๓ โยชน์ แล้วปล่อยไปในแม่น้ำคงคา มหาชนทั้งหลาย ก็หมดความสงสัย

สมเด็จพระจอมไตรจึงตรัสว่า ปราสาทหลังนี้ พระภัททชิเคยอยู่มาตั้งแต่ครั้งเป็นพระเจ้ามหาปนาทราช




อานิสงส์สร้างบรรณศาลา

ในอดีตกาลมีช่างเสื่อลําแพนคนหนึ่งในเมืองพาราณสี เดินออกไปที่นาได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง จึงบอกให้บ่าวไพร่ออกไป หว่านข้าว ส่วนตนเองได้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้น กลับไปฉันอาหารที่บ้านของตน แล้วนิมนต์ไปที่ริมแม่น้ำคงคาอีก

ตนพร้อมกับบุตรได้สร้างบรรณศาลาด้วย เสาไม้มะเดื่อ ฝาไม้อ้อขึ้น แล้วกระทําที่เดินจงกรมถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้น นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าให้จําพรรษาอยู่ในที่นั้น เวลาออกพรรษาแล้วได้ถวายไตรจีวร แล้วนิมนต์ไปตามปรารถนา

ต่อมาก็ได้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า ให้มาจําพรรษาในบรรณศาลานั้นปีละองค์ จนถึง ๗ องค์ เวลาออกพรรษาแล้วก็ได้ถวาย ไตรจีวรทุกองค์ไป

เวลาบิดากับบุตรทั้งสองนั้นตายแล้ว ก็ได้ขึ้นไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ ได้เสวยทิพยสมบัติไป ๆ มา ๆ อยู่ในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ต่อมาภายหลังบิดายังอยู่ในสวรรค์ ส่วนบุตรได้จุติจากสวรรค์ ลงมาบังเกิดในพระครรภ์ พระนางสุเมธาเทวี อัครมเหสีของ พระเจ้าสุรุจิ ในกรุงมิถิลามหานคร

(ในตอนนี้ขอแทรกประวัติ พระเจ้าสุรุจิ และ พระนางสุเมธาเทวี อันปรากฏมีอยู่ใน สุรุจิชาดก ซึ่งสมเด็จพระพุทธองค์ทรงพระ ปรารภ นางวิสาขามหาอุบาสิกา ไว้เป็นต้นเหตุ แล้วจึงได้ทรงแสดงชาดกนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย)




สุรุจิชาดก

ในอดีตกาลพระราชาทรงพระนามว่า สุรุจิ เสวยราชสมบัติในพระนครมิถิลา ทรงได้พระ ราชโอรสจึงขนานพระนามว่า สุรุจิกุมาร พระกุมารทรงเจริญวัยแล้วทรงดําริว่า เราจักเรียนศิลปะในเมืองตักศิลา จึงเสด็จไปประทับนั่งพัก ที่ศาลาใกล้ประตูพระนคร

ฝ่ายพระราชโอรสของพระเจ้าพาราณสี ทรงพระนาม พรหมทัตกุมาร ก็เสด็จไปในที่นั้น เมื่อทรงไต่ถามกันแล้วจึงไปสู่สํานักอาจารย์ ไม่ช้านานต่างก็สําเร็จศิลปะ พากันอําลาอาจารย์ ก่อนที่จะเสด็จจากกัน ต่างทรงกระทํากติกากันว่า ถ้าข้าพเจ้ามีโอรส ท่านมีพระธิดา หรือท่านมีพระโอรส ข้าพเจ้ามีธิดา เราจักให้ แต่งงานกัน

ครั้นกุมารทั้งสองเสวยราชสมบัติ พระเจ้าสุรุจิมหาราชมีพระโอรส ทรงพระนามว่า สุรุจิกุมาร พระเจ้าพรหมทัตมีพระธิดา ทรง พระนามว่า สุเมธา พระกุมารสุรุจิทรงจําเริญวัย เสด็จไปเมืองตักศิลา ทรงเรียนศิลปะเสร็จแล้วเสด็จกลับมา

พระราชบิดามีพระประสงค์จะอภิเษกพระกุมารในราชสมบัติ ทรงสดับว่า พระเจ้าพรหมทัตพระสหายของเรามีพระธิดา เราจักสถาปนานางให้เป็นอัครมเหสีของลูกเรา ทรงประทานบรรณาการให้พวกอํามาตย์นําไปเพื่อต้องการพระนางนั้น

ภายหลังอํามาตย์เหล่านั้นกลับมากราบทูลว่า พระเจ้าพาราณสีไม่มีพระประสงค์ที่ จะส่งนางเข้าไปภายในกลุ่มสตรี ประสงค์ที่จะให้นางแก่ผู้ที่จะครองนางผู้เดียวเท่านั้น พระกุมารสุรุจิทรงสดับรูปสมบัติของพระนางสุเมธาแล้ว ก็ติดพระหฤทัยจึงกราบทูลว่า หม่อมฉันจักครองนางแต่ผู้เดียว ไม่ต้องการกลุ่มสตรีโปรดเชิญนางมาเถิด

ครั้นเชิญพระนางมาแล้วทรงอภิเษกให้เป็นเอกอัครมเหสีของพระกุมาร พระกุมาร นั้นทรงพระนามว่า สุรุจิมหาราช ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม ทรงอยู่ร่วมกับพระมเหสี ตลอด ๑๐,๐๐๐ ปี ไม่ทรงมีพระโอรสหรือ พระธิดาเลย




พระเทวี ๑๖,๐๐๐ นาง

ครั้งนั้น ชาวเมืองต่างพากันกราบทูลให้พระราชาทรงรับกลุ่มสตรีไว้ เผื่อจักได้มีพระโอรสไว้สืบสันตติวงศ์ แต่พระองค์ทรงตรัสห้าม เนื่องจากทรงปฏิญาณไว้แล้วว่า จักไม่ครองหญิงอื่นเลย

พระนางสุเมธาทราบเช่นนั้น จึงทรงดําริว่า พระราชามิได้ทรงนําสตรีอื่นมาเลย แต่เรานี่แหละจักหามาถวายแก่พระองค์ ดังนี้แล้ว จึงทรงนําสตรี ๔,๐๐๐ นาง แต่ก็หามีพระ โอรสหรือธิดาไม่ จึงคัดมาถวายอีกคราวละ ๔,๐๐๐ ถึง ๓ คราว ก็ไม่ได้พระโอรสพระธิดา รวมเป็นหญิงที่พระนางนํามาถวายทั้งสิ้น ๑๖,๐๐๐ นาง เวลาล่วงไป ๔๐,๐๐๐ ปีรวมกับ เวลาที่ทรงอยู่กับพระนางองค์เดียว ๑๐,๐๐๐ ปี เป็น ๕๐,๐๐๐ ปี

ครั้งนั้น ชาวเมืองก็พากันกราบทูลพระราชาอีก ขอให้ทรงบังคับพระเทวีทั้งหลาย พระเทวีเหล่านั้นเมื่อปรารถนาพระโอรส พากันนอบน้อมเทวดาต่าง ๆ พากันบําเพ็ญวัตร ต่าง ๆ แต่พระโอรสก็ไม่อุบัติอยู่นั่นเอง

ครั้นถึงดิถีที่ ๑๕ พระนางสุเมธาจึงทรงสมาทานอุโบสถ ทรงระลึกถึงศีลทั้งหลายอยู่ ในพระตําหนักพระเทวีที่เหลือพากันประพฤติ วัตรอย่างแพะอย่างโค ต่างไปสู่พระอุทยาน ด้วยเดชแห่งศีลของพระนางเจ้า พิภพของท้าวสักกะหวั่นไหว เมื่อพระองค์ทรงทราบความนั้นไซร้ จึงทรงเลือก นฬการเทพบุตร ผู้เป็นบุตรแห่งช่างเสื่อลําแพนนั้น ท้าวสักกะจึงเสด็จไปถึงประตูวิมานแล้วตรัสว่า

"ท่านควรจะไปสู่มนุษยโลก"
เทพบุตรทูลว่า "ข้าแต่มหาราช โลกมนุษย์น่ารังเกียจ สกปรก มนุษย์ต่างทําบุญมีให้ทานเป็นต้น ปรารถนาเทวโลก ข้าพระองค์จักไปในโลก มนุษย์นั้นทําอะไร?"

"ท่านจักได้บริโภคทิพยสมบัติที่เคยบริโภคในเทวโลก จักได้อยู่ในปราสาทแก้วสูง ๒๕ โยชน์ ยาว ๙ โยชน์ กว้าง ๘ โยชน์ อยู่ในโลกมนุษย์ เชิญท่านรับคําเถิด"

เทพบุตรรับคําแล้ว ท้าวสักกะจึงเสด็จไปสู่อุทยาน ด้วยการแปลงเพศเป็นฤาษี จงกรมในอากาศเบื้องบนสตรีเหล่านั้นแล้วตรัสว่า "เราจะให้โอรสแก่สตรีผู้มีศีล"

สตรีเหล่านั้นจึงพากันกล่าวว่า "เชิญไปสู่สํานักของพระนางสุเมธาเถิด"
เมื่อพระนางสุเมธาได้ทราบความนั้นแล้ว จึงประกาศศีลคุณของตนว่า "ดิฉันถูกเชิญมาเป็นอัครมเหสีตลอด หมื่นปีแต่ผู้เดียว ดิฉันมิได้รู้สึกเลยว่า ได้ล่วงเกินพระเจ้าสุรุจิด้วย กาย วาจา ใจ ทั้งใน ที่แจ้งหรือในที่ลับเลย ฯลฯ

ดิฉันเป็นที่พอใจของพระภัสดา พระชนนีและพระชนกของพระภัสดา ก็เป็นที่รักของดิฉัน พระองค์ท่านเหล่านั้นทรงแนะนํา ดิฉันตลอดเวลา ดิฉันยินดีในความไม่เบียดเบียน มีปกติประพฤติธรรมโดยส่วนเดียว มุ่งบําเรอพระองค์ท่านเหล่านั้นโดยเคารพ ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ฯลฯ

ความริษยาหรือความโกรธในสตรีผู้ร่วมเทวีกัน ๑๖,๐๐๐ คน มิได้มีแก่ดิฉันในกาล ไหน ๆ เลย คนไหนที่จะไม่เป็นที่รักของดิฉัน ไม่มีเลย ดิฉันอนุเคราะห์หญิงผู้ร่วมสามีทั่วกันทุกคน เหมือนอนุเคราะห์ตนฉะนั้น ฯลฯ

ดิฉันเลี้ยงดูทาสกรรมกร ซึ่งจะต้องเลี้ยงดูและชนเหล่าอื่นผู้อาศัยเลี้ยงชีวิต โดยเหมาะสมกับหน้าที่ ดิฉันเบิกบานในกาล ทุกเมื่อ ฯลฯ ดิฉันเลี้ยงดูสมณพราหมณ์และวณิพกเหล่าอื่น ให้อิ่มหนําสําราญด้วยข้าวและน้ำทุก เมื่อ ฯลฯ
ดิฉันเข้าอยู่ประจําอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ทุกวันอุโบสถ ดิฉันสํารวมแล้ว ในศีลทุกเมื่อ ฯลฯ

ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคําสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคําเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง..."
พระฤาษีจําแลงจึงกล่าวสรรเสริญคุณของพระนางว่าเป็นความจริง พระนางทรงโสมนัส จึงตรัสถามว่าท่านเป็นใคร (ในตอนนี้มีคําอธิบายว่า พระนางตรัสอย่างนี้ ก็เพราะท้าวสักกะทรงมีพระเนตรไม่ กระพริบเลย) แล้วพระองค์จึงตรัสบอกความจริงว่า เป็นท้าวสักกเทวราชนั่นเอง




มหาปนาทราชกุมาร

ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่ง นฬการเทพบุตร ก็จุติถือกําเนิดในพระครรภ์ของพระนาง ต่อมาได้ประสูติพระโอรสทรงพระนามว่า มหาปนาทราชกุมาร ชาวเมืองทั้งสองจึงพากันถวายทรัพย์เป็นค่าน้ำนม เมื่อพระกุมารทรงเจริญวัยได้ ๑๖ พรรษา ก็ทรงสําเร็จในศิลปะทุกประการ พระราชาทรงดําริที่จะอภิเษกในราชสมบัติ จึงทรงรับสั่งให้ช่างสํารวจพื้นที่เพื่อสร้างปราสาท

ท้าวสักกะทรงทราบเหตุนั้น ตรัสสั่ง วิษณุกรรมเทพบุตร ให้ลงไปสร้างปราสาทแก้วยาว ๙ โยชน์ กว้าง ๘ โยชน์ สูง ๒๕ โยชน์ ให้แก่มหาปนาทราชกุมารนั้น เทพบุตรนั้นจึงแปลงเพศเป็นช่าง สั่งให้ช่างเหล่านั้นไปกินข้าวเช้าแล้วค่อยมา แล้วจึงตีพื้นด้วยไม้ค้อน

ทันใดนั้นเอง ปราสาทแก้ว ๗ ประการ ๗ ชั้น มีขนาดดังกล่าวแล้ว ก็ผุดขึ้นจาก พื้นดิน มงคล ๓ ประการ คือ มงคลฉลอง ปราสาท มงคลอภิเษกสมโภชเศวตฉัตร และอาวาหมงคล ของพระกุมารได้มีคราวเดียว กันแล ชาวเมืองทั้งสองได้พากันฉลองมงคล ด้วยมหรสพ สิ่งของทั้งหมด เช่น ผ้า เครื่อง ประดับ ของเคี้ยวกิน ของชนทั้งหลาย ได้เป็น สิ่งของของราชตระกูลทั้งสิ้น

ครั้นล่วง ๗ ปี ชนทั้งหลายพากันกราบทูลต่อพระเจ้าสุรุจิมหาราชว่า เมื่อไรจะเลิกงานสมโภชเสียที พระราชาตรัสตอบว่า ตลอดงานลูกเราไม่เคยหัวเราะเลย เมื่อใดเธอหัวเราะ เมื่อนั้นพวกเจ้าทั้งหลายจงพากันไปเถิด

ลําดับนั้น มหาชนพากันเชิญนักฟ้อน ๖,๐๐๐ คน แบ่งเป็น ๗ ส่วนพากันรําฟ้อน ก็มิอาจที่จะให้พระกุมารทรงพระสรวลได้ ทั้งนี้เพราะท้าวเธอเคยทอดพระเนตรกระบวนฟ้อนรํา อันเป็นทิพย์มาช้านาน การฟ้อนของนักฟ้อนเหล่านั้น จึงมิได้เป็นที่ต้องพระหฤทัย ครั้งนั้นจอมนักฟ้อน ๒ นาย หาอุบายต่าง ๆ เพื่อจะให้ทรงพระสรวลแต่ก็ไม่เป็นผล ฝูงชนจึงพากันระส่ำระสาย

ฝ่ายท้าวสักกะทรงทราบเหตุนั้น จึงทรงส่งนักฟ้อนเทวดามายืนบนอากาศ ในท้องพระลานหลวง แสดงขบวนฟ้อนที่เรียกว่า "อุปัฑฒังคะ" คือมือข้างเดียว เท้าก็ข้างเดียว ตาก็ข้างเดียว แม้คิ้วก็ข้างเดียว ฟ้อนไปร่ายรํา ไปเคลื่อนไหวไป ที่เหลือคงนิ่งไม่หวั่นไหวเลย

พระเจ้ามหาปนาททอดพระเนตรเห็น การนั้นแล้วทรงพระสรวลหน่อยหนึ่ง แต่มหาชนเมื่อหัวเราะ ก็สุดที่จะกลั้นความขบขันไว้สุดที่จะดํารงสติไว้ได้ ล้มกลิ้งไปในท้องพระลานหลวง มงคลเป็นอันเลิกได้ตอนนั้น พระเจ้ามหาปนาททรงกระทําบุญ มีถวายทานเป็นต้น เมื่อสิ้นพระชนม์ก็เสด็จไปสู่เทวโลกนั่นเอง

พระศาสดาทรงนําธรรมเทศนานี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า มหาปนาท ในครั้งนั้น ได้มาเป็น ภัททชิ สุเมธาเทวี ได้มาเป็น วิสาขา วิษณุกรรม ได้มาเป็น อานนท์ ส่วน ท้าวสักกะ ได้มาเป็นเราตถาคตแล

(เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า พระนางสุเมธาเทวี หรือ นางวิสาขา ผู้งดงามด้วยเบญจกัลยาณี มีจริยาดีมาโดยตลอด ข้อวัตรปฏิบัติต่อผู้ร่วมอาศัยชายคาเดียวกัน ประพฤติได้อย่างครบถ้วน ท่านจึงมีความผาสุขในการครองเรือน สมควรที่ยกย่องว่าเป็นกุลสตรีที่แท้จริง

สําหรับช่างเสื่อลําแพนสองพ่อลูก โดยเฉพาะลูกได้รับอานิสงส์มหาศาล เป็นด้วยผลจากการถวายภัตตาหาร ผ้าไตรจีวร และสร้างบรรณศาลาถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเกิดปราสาทแก้ว ๗ ประการ เพราะผลของ ทานร่วมกับบิดา แต่แปลกที่ว่าบุตรทําไมจึงไปนิพพานก่อน ส่วนบิดาจะมีความเป็นมาอย่างไร โปรดติดตามได้ต่อไปนี้)




มหานฬการเทพบุตร

ครั้นพระเจ้ามหาปนาทสวรรคตแล้ว ปราสาทนั้นก็ได้เลื่อนลอยลงไปสู่แม่น้ำคงคา ในที่ตั้งบันไดปราสาทเดิมนั้น ได้กลายเป็นบ้านเมืองขึ้นเมืองหนึ่ง ชื่อว่า ปยาคปติฏฐนคร ที่ตรงยอดปราสาทนั้น ได้กลายเป็นบ้านชื่อว่า โกฏิคาม

มีคําถามว่า เพราะเหตุไร ปราสาทหลังนั้นจึงยังไม่อันตรธาน..?
มีคําแก้ว่า เป็นเพราะอานุภาพแห่งช่างเสื่อลําแพนซึ่งเป็นบิดาในปางก่อน มีนามกรว่า มหานฬการเทพบุตร จะจุติลงมาเป็นพระเจ้า จักรพรรดิ ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขจักร ปราสาทหลังนั้นจักผุดขึ้นมาเพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์




สมัยพระศรีอาริยเมตไตรย

ตามพระบาลีใน จักกวัตติสูตร คัมภีร์ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค มีเนื้อความว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง แก่ภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงจักมีสามีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่มนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปีนั้น จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑ ความแก่ ๑ เท่านั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี ชมพูทวีปนี้จักมั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีมหานรก จักยัดเยียดไปด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าไม้แก่น ฉะนั้น




เกตุมดีราชธานี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี เมืองพาราณสีนี้จักเป็นราชธานีมี นามว่า "เกตุมดี" เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีพลเมืองมาก และมีอาหารสมบูรณ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี ในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง ๘๐,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข




พระเจ้าสังขจักรพรรดิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี จักมีพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพระนามว่า "พระเจ้าสังขจักรพรรดิ" เสวยราชสมบัติ อยู่ในเกตุมดีราชธานี เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ

จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม มิต้องใช้อํานาจอาชญาหรืออาวุธประการใด




พระพุทธเจ้าทรงอุบัติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี จักมีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า "เมตไตรย" จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าสังขจักรนั้น จักเสวยราชย์อยู่ที่ปราสาทของพระเจ้า มหาปนาทอันมีมาในอดีตกาลนั้น แล้วจักทรงสละปราสาทนั้นให้เป็นทาน แก่สมณพราหมณ์ คนกําพร้า คนเดินทางและ คนขอทานทั้งหลาย แล้วจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ออกบรรพชาในสํานักของพระศาสดา ทรงพระนามว่า "เมตไตรย"

เมื่อพระเจ้าสังขจักรทรงบรรพชาแล้ว จักออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว จักไม่ประมาท จักมีความเพียร จักมีใจตั้งมั่น แล้วจักสําเร็จถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันเป็นสิ่งยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นที่ปรารถนาของกุลบุตร ที่พากันออก จากเรือนเป็นบรรพชิตทั้งหลาย" (เนื้อความในพระบาลีขอนํามากล่าวไว้แต่เพียงแค่นี้)




อรรถกถา

พระอรรถกถาจารย์ท่านอธิบายคําว่า "พอไก่บินตก" คือพอไก่บินจากหลังคาบ้านหนึ่ง ไปตกลงที่หลังคาอีกบ้านหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ระยะทางพอชั่วไก่เดินไปมาถึงกันได้ อันได้ใจความว่า ในครั้งนั้นมีบ้านเรือนอยู่หนาแน่น

คําว่า "เหมือนกับอเวจีนั้น" คือมีคนอยู่เต็มเป็นนิจ เหมือนกับสัตว์ในอเวจีมหานรก
คําว่า "พระเมตไตรยจักเกิดขึ้นในโลกคราวที่มนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปีนั้น" ไม่ใช่ตรัส ด้วยความเจริญของมนุษย์ เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุเจริญขึ้น แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุเสื่อมลง

คําว่า "พระเจ้าสังขจักรทรงสละปราสาท ให้เป็นทานนั้น" คือทรงสละโดยไม่มีความเสียดาย ก็ปราสาทหลังเดียวจะทรงสละให้ แก่คนหลายคนได้อย่างไร?

ได้อย่างนี้... คือพอพระเจ้าสังขจักรคิด จะสละให้เป็นทาน ปราสาทหลังนั้นก็จะหัก กระจัดกระจายเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ แล้ว พระบาทท้าวเธอก็เปล่งวาจาว่า "ผู้ใดต้องการสิ่งใดก็จงถือเอาสิ่งนั้น..."

(เนื้อความในบาลีและอรรถกถานํามาไว้ โดยย่อเพียงแค่นี้ ส่วนในหนังสือ อนาคตวงศ์ ท่านพรรณนาไว้แปลกอีกนิดหน่อยดังนี้)

"พระเจ้าสังขจักรมีพระราชโอรส ๑ พัน พระองค์ พระราชโอรสผู้ใหญ่นั้น ทรงพระนามว่า อชิตราชกุมาร และมีตําแหน่ง เป็น ปรินายกแก้ว แห่งสมเด็จพระราชบิดา อีกด้วย

ฝ่ายมหาปุโรหิตผู้ใหญ่ของสมเด็จพระสังขจักรนั้น มีนามว่า สุตพราหมณ์ ส่วน นางพราหมณีผู้เป็นภริยานั้น มีนามว่า นาง พราหมณวดี ท่านทั้งสองนี้แหละเป็นผู้ให้ กําเนิด พระศรีอาริยเมตไตรย ดังนี้"

◄ ll กลับสู่ด้านบน

(โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป)




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 28/4/09 at 09:26 Reply With Quote


Update 28 เมษายน 52

ตอนที่ ๑๙

ปัญหาที่ ๙

ถามเรื่องสิ่งที่ควรทํายิ่งของพระพุทธเจ้า


สมเด็จพระราชาธิบดินทร์มิลินทราชพระบาทท้าวเธอตรัสถามปัญหาข้อต่อไปอีกว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า สิ่งที่ควรทําทั้งสิ้น สมเด็จพระมหามุนินทร์ทรงทําสําเร็จแล้วที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิ ไม่มีสิ่งที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปอีก ไม่มีการสะสมสิ่งที่ทําแล้ว ดังนี้ แต่มีปรากฏอยู่ว่า พระตถาคตเจ้าได้ทรงประทับอยู่ในที่สงัดถึง ๓ เดือน ถ้าพระตถาคตเจ้าได้ทําสิ่งที่ควรทําหมดแล้ว คําที่ว่า พระตถาคตเจ้าทรงเข้าอยู่ในที่สงัดอยู่ถึง ๓เดือนนั้นก็ผิดไป ถ้าถือว่าการที่พระตถาคตเจ้าเข้าอยู่ในที่สงัดตลอด ๓ เดือนนั้นถูก คําที่ว่าพระตถาคตเจ้าได้ทําสิ่งที่ควรทําหมดแล้วนั้นก็ผิดไป

ข้าแต่พระนาคเสน การอยู่ในที่สงัด คือการเข้าฌานสมาบัติ ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ได้ทําสิ่งที่ควรทําเสร็จแล้ว เหมือนกับความจําเป็นที่จะต้องทําด้วยยา ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีโรคความจําเป็นด้วยโภชนาหาร ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่หิวฉะนั้นปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้วขอได้โปรดแก้ไขด้วยเถิด”

พระนาคเสนเถระวิสัชนาว่า “ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรได้ทําสิ่งที่ควรทําเสร็จแล้ว ที่ภายใต้โพธิพฤกษ์ไม่มีสิ่งที่ควรทําอีก ไม่มีการสะสมสิ่งที่ควรทําไว้แล้วนั้นก็จริง คําที่ว่า พระตถาคตเจ้าได้ทรงเข้าฌานสมาบัติอยู่ตลอด ๓ เดือนนั้นก็จริง คือเมื่อพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงเข้าฌาน อันมีคุณมาก มีคุณเป็นอเนก แล้วจึงสําเร็จพระสัพพัญญุตญาณ เมื่อทรงระลึกถึงคุณที่ฌานเหล่านั้น ได้กระทําไว้แล้ว จึงทรงเข้าฌานอีก เหมือนกับผู้ได้รับพรจากพระราชา คือได้ลาภยศจากพระราชาแล้ว เมื่อระลึกถึงพระคุณของพระราชา ก็ไปเฝ้าพระราชาอยู่เนืองๆ หรือเหมือนกับบุรุษผู้เจ็บไข้ ได้หายเจ็บไข้เพราะหมอคนใด เมื่อระลึกถึงคุณของหมอคนนั้น ก็ไปหาหมอเนืองๆ ไปเพิ่มทรัพย์ให้หมอคนนั้นอีกเนือง ๆ ฉะนั้น”



การเข้าฌานมีคุณ ๒๘

“ขอถวายพระพร การเข้าฌานมีคุณ ๒๘ เมื่อสมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงระลึกถึงคุณ ๒๘ นั้นก็ทรงเข้าฌาน
คุณแห่งการเข้าฌาน ๒๘ นั้นคือ

๑.รักษาตัว
๒.ทําให้อายุเจริญ
๓.ให้เกิดกําลัง
๔.ปิดเสียซึ่งโทษ
๕.กําจัดเสียซึ่งสิ่งที่ไม่ใช่ยศ
๖.ทําให้เกิดยศ
๗.กําจัดเสียซึ่งความไม่ยินดีในธรรม
๘.ทําให้เกิดความยินดีในธรรม
๙.กําจัดเสียซึ่งภัย
๑๐.กระทําให้เกิดความกล้าหาญ

๑๑.กําจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน
๑๒.ทําให้เกิดความเพียร
๑๓.กําจัดเสียซึ่งราคะ
๑๔.ระงับเสียซึ่งโทสะ
๑๕.กําจัดเสียซึ่งโมหะ
๑๖.กําจัดเสียซึ่งมานะ
๑๗.ทิ้งเสียซึ่งวิตก
๑๘.ทําจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
๑๙.ทําให้จิตรักในที่สงัด
๒๐.ทําให้เกิดร่าเริง

๒๑.ทําให้เกิดปีติ
๒๒.ทําให้เป็นที่เคารพ
๒๓.ทําให้เกิดลาภ
๒๔.ทําให้เป็นที่รักแก่ผู้อื่น
๒๕.รักษาไว้ซึ่งความอดทน
๒๖.กําจัดเสียซึ่งอาสวะแห่งสังขารทั้งหลาย
๒๗.เพิกถอนเสียซึ่งการเกิดในภพต่อไป
๒๘.ให้ถึงซึ่งสามัญผลทั้งปวง

ดูก่อนมหาราชะ การเข้าฌานย่อมมีคุณ ๒๘ ประการดังที่ว่านี้ สมเด็จพระชินสีห์ทั้งหลายจึงทรงเข้าฌาน อีกประการหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงต้องการเสวยสุขอันสงบ ก็ทรงเข้าฌาน อนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายย่อมทรงเข้าฌานโดยเหตุ ๔ คือเพื่อความอยู่เป็นสุข๑ เพื่อความไม่มีโทษมีแต่มากด้วยคุณ๑ เพื่อความเจริญแห่งพระอริยะอย่างไม่เหลือ๑ เป็นของที่พระพุทธเจ้าทั้งปวงสรรเสริญว่าประเสริฐ๑
สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงเข้าฌานด้วยเหตุเหล่านี้ไม่ใช่ทรงเข้าฌานด้วยเหตุที่ยังมีสิ่งที่ควรทําอยู่หรือด้วยเหตุเพื่อจะสะสมสิ่งที่ควรทําแล้วทรงเข้าด้วยทรงเล็งเห็นคุณวิเศษโ ดยแท้ขอถวายพระพร”

“พระผู้เป็นเจ้าโปรดนี้โยมไม่มีข้อสงสัยโยมจะรับไว้ซึ่งถ้อยคําของพระผู้เป็นเจ้าด้วยประการดังนี้”

◄ll กลับสู่ด้านบน




ปัญหาที่ ๑๐

ถามเรื่องกําลังอิทธิบาท

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนอานนท์อิทธิบาททั้ง ๔ เป็นของ ที่พระตถาคตเจ้าได้อบรมแล้ว กระทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นยานพาหนะแล้ว ทําให้เป็นที่ตั้งแล้ว ตั้งไว้เนือง ๆ แล้ว สะสมไว้มั่นแล้ว ปรารภไว้ดีแล้ว เมื่อพระตถาคตเจ้าจํานงจะดํารงอยู่ตลอดกัป หรือเกินกัปก็ได้"แล้วตรัสอีกว่า

"เมื่อล่วง ๓ เดือนจากนี้ไป พระตถาคตเจ้าจักปรินิพพาน" ดังนี้ ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้าทรงเจริญอิทธิบาท๔ จนสามารถให้อยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัปนั้นเป็นของจริงการกําหนดเดือนนั้นก็ผิดไป ถ้าการกําหนดเดือนนั้นถูก คําว่า จะดํารงอยู่ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่านั้นก็ผิดไป คําของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ผิดเป็นคําจริงทั้งนั้น ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ เป็นปัญหาลึกละเอียด รู้ได้ยากขอพระผู้เป็นเจ้าจงทําลายเสียซึ่งข่ายคือความเห็นเถิด”

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร ข้อที่ว่าพระตถาคตเจ้าทรงเจริญอิทธิบาท อาจให้ทรงอยู่ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่านั้นก็เป็นของจริง การกําหนดเดือนนั้นก็เป็นของจริง เพราะกัปที่ตรัสไว้นั้นหมายถึงอายุกัป ไม่ใช่ว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงกําลังของพระองค์ จึงได้ทรงตรัสไว้อย่างนั้น แต่เมื่อจะทรงแสดงกําลังแห่งอิทธิบาท จึงได้ตรัสไว้อย่างนั้นต่างหาก ขอถวายพระพร

เมื่อพระราชาจะทรงแสดงกําลังรวดเร็วแห่งม้าอาชาไนย ก็ได้ตรัสขึ้นในท่ามกลางมหาชนว่า ม้าตัวประเสริฐนี้อาจวิ่งไปรอบโลก แล้วกลับมาถึงที่นี้ได้ในขณะเดียวดังนี้ ไม่ใช่ว่าตรัสอย่างนี้ เพื่อจะทรงแสดงความรวดเร็วของพระองค์ ทรงประสงค์เพื่อจะทรงแสดงความรวดเร็วของม้าอาชาไนยต่างหาก ข้อที่พระตถาคตเจ้าตรัสอย่างนั้นก็เพื่อจะทรงแสดงกําลังอิทธิบาทเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อจะทรงแสดงกําลังของพระองค์เลย

พระตถาคตเจ้าไม่ต้องการความมีความเป็นทั้งปวงแล้ว ทรงติเตียนภพ คือความมีความเป็นทั้งสิ้น ข้อนี้สมกับพระพุทธฎีกาขององค์สมเด็จพระมหามุนีทรงตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าคูถถึงมี เล็กน้อย ก็มีกลิ่นเหม็นฉันใด ภพถึงมีเพียง เล็กน้อย ชั่วดีดนิ้วมือเดียว เราตถาคตก็ไม่ สรรเสริญ" มหาบพิตรทรงเข้าพระทัยว่า พระพุทธเจ้าทรงพอพระทัยในภพทั้งปวงเพราะอาศัยอิทธิฤทธิ์หรือไม่”

“หามิได้พระผู้เป็นเจ้า” “ถ้าอย่างนั้นก็เป็นอันว่า เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาจะทรงแสดงกําลังอิทธิบาท จึงได้ทรงบันลือพระพุทธสีหนาทไว้อย่างนั้น ขอถวายพระพร”“ถูกแล้วพระนาคเสนโยมยินดีรับคําที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนามานี้”




ฎีกามิลินท์

ในฎีกาอธิบายว่า ผู้เจริญอิทธิบาทสําเร็จ แล้วควรมีอายุอยู่ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่าด้วยกําลังอิทธิบาท คําว่า "ถึงภพมีเพียงเล็กน้อย ชั่วดีด นิ้วมือเดียว เราตถาคตก็ไม่สรรเสริญนั้น" ได้แก่พระตถาคตเจ้าไม่ทรงสรรเสริญซึ่ง การเป็นไปแห่งภพอันได้แก่ขันธ์๕ โดยที่สุดเพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว ได้ทรงสรรเสริญแต่พระนิพพานคือ ความไม่เป็นไปแห่งขันธ์๕ เท่านั้น




อธิบายต่อฎีกา

คําว่า "อายุกัป “ในคัมภีร์ปรมัตถทีปนีอรรถกถาแห่งอภิธรรมหน้า ๓๐๖ ว่าได้แก่ส่วนหนึ่งๆ แห่ง ๘๐ ส่วนของกัปหนึ่งๆ คือในกัปหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น๘๐ส่วน ในอิทธิพลกถาวรรณนา หน้า ๒๙๖ ว่า อายุกัปนั้นได้แก่ กําหนดอายุแห่งสัตว์นรกและสวรรค์นั้นๆ เพราะฉะนั้น จึงได้ใจความว่าผู้สําเร็จอิทธิบาท เมื่อจํานงจะอยู่ตลอดอายุกัปหนึ่งหรือเกินกว่าก็ได้ แต่ท่านเหล่านั้นล้วนแต่เป็นผู้สิ้นกิเลสแล้วทั้งนั้น ไม่มีใครประสงค์จะอยู่เลยจึงไม่มีใครอยู่ ดังนี้

◄ll กลับสู่ด้านบน




วรรคที่ ๒
ปัญหาที่ ๑ ถามเรื่องสิกขาบทเล็กน้อย

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมอันควรรู้ยิ่ง ไม่ใช่แสดงธรรม อันไม่ควรรู้ยิ่ง" ดังนี้ แต่ต่อมาได้ตรัสไว้ในพระวินัยบัญญัติว่า "ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราล่วงไปแล้ว สงฆ์จํานงถอนขุททานุขุททกสิกขาบท (สิกขาบทเล็กน้อย) ก็ถอนเถิด" ดังนี้

จึงขอถามว่า พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขุททานุขุททกสิกขาบทนั้นทรงบัญญัติไว้ไม่ดีหรือ หรือว่าทรงบัญญัติไว้ในเวลายังไม่มีเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงอนุญาตให้ถอนขุททานุขุททกสิกขาบท ในเมื่อพระองค์ล่วงลับไปแล้ว ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้าทรงแสดงธรรมอันควรรู้ยิ่ง การโปรดให้ถอนสิกขาบทก็ผิดไป ถ้าการโปรดให้ถอนสิกขาบทเป็นการถูก การที่ว่าแสดงธรรมอันควรรู้ยิ่งก็ผิดไป ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ เป็นปัญหาอันสุขุมละเอียด ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงความกว้างขวางแห่งกําลังญาณ เหมือนกับมังกรที่อยู่ในท้องสาครฉะนั้นเถิด”

พระนาคเสนถวายพระพรว่า “มหาราชะ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เราแสดงธรรมอันควรรู้ยิ่งไม่ใช่แสดงธรรมอันไม่ควรรู้ยิ่ง ดังนี้จริงและตรัสไว้อีกในพระวินัยบัญญัติว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จํานงจะถอนขุททานุขุททกสิกขาบท ก็จงถอนเถิด ดังนี้ก็จริง เป็นอันว่าจริงทั้งสองคํา ขอถวายพระพรเมื่อพระตถาคตเจ้าจะทรงทดลองภิกษุทั้งหลายว่า สาวกของเราจักเลิกถอนขุททานุขุททกสิกขาบทที่เราอนุญาตไว้หรือจักยึดมั่นไว้ ดังนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนั้น มหาราชะ เหมือนอย่างว่า พระเจ้าจักรพรรดิตรัสแก่พระราชโอรสว่า

“ลูกเอ๋ย...บ้านเมืองอันกว้างขวางนี้ มีมหาสมุทรเป็นที่สุดในทิศทั้งปวงเป็นของปกครองยาก เมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว จงสละปัจจันตประเทศตามความประสงค์เถิด”

พระราชกุมารเหล่านั้น จะยอมสละปัจจันตประเทศ (จังหวัดชายแดน) อันตกอยู่ในเงื้อมมือของตน ตามพระดํารัสสั่งของพระราชบิดาหรือไม่”[color=green]“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระราชกุมารเหล่านั้น มีแต่อยากจะหาเพิ่มขึ้นอีกถึงสองเท่า ด้วยความโลภจะสละทิ้งบ้านเมืองที่อยู่ในเงื้อมมือของตนแล้วได้อย่างไร”
“ขอถวายพระพร ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละพระพุทธบุตรทั้งหลาย ก็มีแต่จะเพิ่มสิกขาบทอื่นเข้าไปอีก ด้วยความโลภในธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ อย่าว่าแต่สิกขาบทอื่นที่ทรงบัญญัติไว้แล้วเลย”

[color=green]“ข้าแต่พระนาคเสน ขุททานุขุททกสิกขาบทนั้น ได้แก่อะไร?” “ขอถวายพระพร ขุททกสิกขาบท ได้แก่

ทุกกฎฯ อนุขุททกสิกขาบท ได้แก่ ทุพภาษิตฯ ขุททานุขุททกสิกขาบททั้งสองนี้ เมื่อก่อนพระอรหันต์ทั้งหลายเกิดความสงสัยท่านจึงได้รวมเข้าไว้เป็นอันเดียวกับสิกขาบทอื่นๆด้วยธรรมสังคีตปริยาย เพราะเห็นว่าปัญหานั้นสมเด็จพระภควันต์ได้เข้าไปเห็นแล้ว”“ข้าแต่พระนาคเสนข้อลี้ลับของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เก็บไว้นานแล้ว ได้เปิดให้ปรากฏขึ้นในโลกวันนี้แล้ว”




ฎีกามิลินท์

ท่านอธิบายคําว่า "ได้รวมกันเข้าไว้ด้วย ธรรมสังคีติปริยายนั้น" หมายถึงพระอรหันต์ทั้งหลายนั้นได้รวมปาราชิก๔ สังฆาทิเสส๑๓ อนิยต๒ นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์๓๐ ปาจิตตีย์๙๒ ปาฏิเทสนียะ๔ อธิกรณสมถะ๗ เข้าไว้เป็นหมวดเป็นหมู่กันแล้วไม่ตัดสินชี้ขาดไว้ว่าขุททานุขุททกสิกขาบท คือสิกขาบทเล็กน้อยนั้นได้แก่อะไร




อธิบายต่อฎีกา

คําว่า "ขุททานุขุททกะ" แยกออกเป็นสอง ได้แก่ ขุททกะ แปลว่า เล็ก อนุขุททกะ แปลว่าเล็กตามลําดับ ขุททกสิกขาบท อันแปลว่าสิกขาบทเล็กนั้น ได้แก่ ทุกกฎ (การทําไม่ดี) ซึ่งเป็นอาบัติเบากว่าอาบัติทั้งปวง อนุขุททกสิกขาบท อันแปลว่า สิกขาบทเล็กตามลําดับนั้น ได้แก่ ทุพภาษิต การพูดไม่ดี) ที่จัดว่าเล็กตามลําดับขอพักเรื่องปัญหาไว้ก่อนเพื่อผ่อนคลายในเรื่องพระสูตรกันบ้างเป็นอันว่าเรื่องเทพบุตรที่ต้องลงมาเกิดเพราะพระอินทร์ทรงอ้อนวอน ๔ท่านนั้นได้เสนอกันมาถึงเรื่องสุดท้ายแล้วแต่เรื่องนี้มีความยาวมากจะเสนอท่านผู้อ่านเป็นลําดับไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน

<< โปรดติดตามตอนต่อไป >>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 5/5/09 at 17:11 Reply With Quote


Update 5 พ.ค. 52

พระเจ้ากุสราชบรมโพธิสัตว์


...กุสราชชาดกนี้มีใจความว่า เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น พระเจ้ากุสราช พระองค์เป็นผู้ฉลาดรู้จบศิลปะศาสตร์ทั้งปวง แต่มีพระรูปขี้เหร่จนพระอัครมเหสี ต้องเสด็จหนีไม่อภิรมย์ด้วย พระองค์ได้เสด็จตามและได้ทรงพยายามด้วยประการต่างๆ ที่จะได้พระมเหสีกลับคืนมา ภายหลังก็ได้รับความอนุเคราะห์ของท้าวสักกะ จึงได้ปรองดองกัน

ต่อไปนี้เป็นเนื้อความพิสดารใน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สัตตกนิบาต เริ่มต้นว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระบรมศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มีความกระสันอยากจะสึกรูปหนึ่งให้เป็นเหตุจึงตรัสเทศนาชาดกนี้ ให้เป็นผลแก่ประชุมชนทั้งหลาย มีเนื้อเรื่องเบื้องต้นว่า

ยังมีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง ได้ถวายชีวิตออกบวชในพระพุทธศาสนา วันหนึ่งเธอเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เห็นสตรีนางหนึ่งซึ่งแต่งกายงดงาม เกิดความรักใคร่พอใจ จนถึงกับเบื่อหน่ายในพระธรรมวินัยทิ้งกิจวัตรต่างๆ เสีย โดยที่สุดแม้แต่ผมก็ไม่โกน เล็บก็ไม่ตัด มีจีวรเศร้าหมอง ทั้งข้าวปลาอาหารก็กินไม่ได้ จึงมีร่างกายซูบผอมลงทุกวัน มีเส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งไปทั้งตัว มีอุปมาเหมือนกับเทพบุตรทั้งหลายผู้ที่จะจุติจากเทวโลก ย่อมมีบุพนิมิต ๕ ประการเกิดขึ้น คือ พวงดอกไม้ทิพย์เหี่ยวแห้ง ๑ ผ้าทิพย์เศร้าหมอง ๑ ผิวพรรณไม่ผ่องใส ๑ มีเหงื่อ ออกตามรักแร้ ๑ ไม่รู้สึกยินดีในทิพยอาสน์ ๑

ส่วนภิกษุผู้จะสึกจากพระพุทธศาสนาก็มีบุพนิมิต ๕ ประการเกิดขึ้นก่อนเหมือนกันได้แก่ ดอกไม้คือศรัทธา ย่อมเหี่ยวแห้งไป ๑ ผ้าคือศีลย่อมเศร้าหมอง ๑ ผิวพรรณไม่ผ่องใส ๑ มีเหงื่อคือกิเลสเกิดขึ้นครอบงํา ๑ ไม่ยินดีที่จะอยู่ในป่า หรือโคนต้นไม้ หรือ เรือนว่าง ๑

ดังนี้ บุพนิมิตทั้งหลายปรากฏแล้วแก่ภิกษุนั้น ลําดับนั้นภิกษุทั้งหลาย จึงได้นําเธอเข้าไปในสํานักของพระศาสดา แล้วกราบทูลเล่าเรื่องถวายให้ทรงทราบ สมเด็จพระบรมโลกนาถจึงทรงซักถามเมื่อภิกษุนั้นรับตามความเป็นจริง แล้วจึงทรงตรัสว่า

"ดูก่อนภิกษุ เธออย่าตกอยู่ในอํานาจแห่งกิเลสเลย ธรรมดาว่ามาตุคามนี้เป็นข้าศึก (ต่อการประพฤติพรหมจรรย์) เธอจงหักห้าม จิตใจจากมาตุคามนั้นเสีย แล้วยินดีในศาสนา ของเราเถิด บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน ซึ่งเป็นผู้มี อํานาจวาสนายังเสื่อมเสียจากอํานาจ ตกทุกข์ ได้ยากเพราะรักใคร่ในมาตุคามเลย" ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็ทรงนิ่งอยู่ ได้รับการอาราธนาจากภิกษุเหล่านั้น จึงทรงยกชาดกนี้แสดงต่อไปว่า




กุสาวดีราชธานี

ในอดีตกาล พระเจ้าโอกกากราช ครองราชสมบัติโดยธรรม ในกุสาวดีราชธานีแว่นแคว้นมัลละ พระบาทท้าวเธอมีพระอัครมเหสี ทรงพระนามว่า สีลวดี แต่ทว่าพระนางหามีพระโอรสและพระธิดาไม่ ต่อมาชาวเมืองไม่พอใจต่างพากันกราบทูลให้พระราชาปล่อยนางนักสนมออกไป แต่ก็ไม่มีผู้ใดจะได้บุตรกลับมา จึงให้พระอัครมเหสีไปเป็นนางบําเรอของบุรุษทั้งหลายบ้าง

ครั้งนั้น ด้วยอํานาจศีลของพระนางจึงทําให้ทิพยอาสน์ของสมเด็จอมรินทราธิราช เร่าร้อนผิดสังเกต เมื่อทรงทราบเหตุดังนั้นแล้ว จึงเสด็จไปอ้อนวอนพระโพธิสัตว์ และเทพบุตรอีกองค์หนึ่ง ให้ลงมาถือกําเนิดในพระครรภ์ของพระนางสีลวดี

ครั้นแล้วสมเด็จอมรินทราธิราชได้ทรงจําแลงเพศเป็นพราหมณ์ชราพาพระนางสีลวดีออกไปเนรมิตเรือนแก้วขึ้นที่ข้างประตูพระนคร เมื่อพระนางเอนพระกายลงพระองค์จึงทรงลูบพระกายของนางด้วยพระหัตถ์ พอพระนางถูกต้องทิพยสัมผัสแล้วก็ทรงเคลิบเคลิ้มหลับไปในทันใด ท้าวสหัสนัยน์จึงทรงอุ้มพระนางไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พอถึงกําหนด ๗ วันก็ทรงตื่นจากบรรทม ครั้นได้ทรงเห็นทิพยสมบัติทั้งปวงแล้ว จึงทรงทราบว่า พราหมณ์ชราที่พามานั้นเป็นพระอินทร์ ซึ่งกําลังประทับทอดพระเนตรนางอัปสรฟ้อนระบํารําถวายอยู่ พระนางจึงลุกขึ้นไปถวายบังคม

สมเด็จอมรินทราธิราชจึงตรัสว่า“ดูก่อนพระนางเราจะให้พรแก่เจ้าสักอย่างหนึ่ง ขอเจ้าจงเลือกเอาตามประสงค์เถิด”
พระนางจึงกราบทูลว่า“เมื่อพระองค์จะทรงพระกรุณาแล้วหม่อมฉันขอพระราชทานพระโอรสสักพระองค์หนึ่งเถิดเพคะ” ”
ท้าวสักกเทวราชาจึงตรัสว่า “เราจักให้สัก๒คนคนหนึ่งมีปัญญาแต่รูปร่างไม่สวยอีกคนหนึ่งรูปร่างสวยงามแต่ไม่เฉลียวฉลาดทั้งสองคนนี้เจ้าต้องการใครก่อน?”

พระนางทูลสนองว่า “หม่อมฉันต้องการคนฉลาดก่อนเพคะ”
สมเด็จอมรินทราจึงตรัสว่า “ได้...เราจะให้สมประสงค์” แล้วจึงทรงประทานของ ๕ อย่างแก่พระนางคือ หญ้าคา ๑ ผ้าทิพย์ ๑ จันทน์ทิพย์ ๑ ดอกปาริฉัตตก์ทิพย์ ๑ พิณชื่อโกกนท ๑

ครั้นพระนางทรงรับของทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว พระองค์จึงพาพระนางลงมาส่งวางลงไว้บนพระแท่นบรรทมของบรมกษัตริย์ผู้เป็นพระราชสวามีของพระนาง แล้วทรงลูบพระนาภีของพระนาง ด้วยปลายนิ้วพระหัตถ์เบื้องซ้าย



พระโพธิสัตว์จุติจากเทวโลก

ในขณะนั้น พระโพธิสัตว์ทรงถือกําเนิด ในพระครรภ์ของพระนางแล้ว ท้าวสักกะก็เสด็จกลับสู่เทวสถาน พระเทวีทรงทราบว่าพระองค์ทรงตั้งพระครรภ์ เมื่อพระราชาทรงตื่นบรรทมขึ้น ได้ทอดพระเนตรเห็นพระนางจึงทรงซักถามเรื่องราวที่ผ่านมา พระนางก็ทูลเล่าให้ฟังตามความเป็นจริง เมื่อพระราชายังทรงกริ่งอยู่ในพระทัย พระนางจึงนําของสําคัญ ๕ ประการ ออกถวายให้เห็นเป็นประจักษ์พยาน ท้าวเธอจึงทรงเชื่อว่าพระอินทร์ได้เป็นผู้นําพระนางไปสมกับคําให้การของพระนางจริงทุกประการ

พระองค์จึงตรัสถามต่อไปว่า “ก็แต่ว่าเธอได้บุตรหรือไม่?”
พระเทวีทูลว่า“ได้แล้วเพคะ บัดนี้หม่อมฉันกําลังตั้งครรภ์”

พระบาทท้าวเธอก็ทรงดีพระทัย จึงทรงพระราชทานเครื่องบริหารรักษาพระครรภ์แก่พระนาง พอได้กําหนดครบถ้วนทศมาสนั้นพระนางเจ้าก็ประสูติพระราชโอรส อันมีนามปรากฏว่า กุสติณะ ซึ่งแปลว่า หญ้าคา ในกาลที่กุสติณราชกุมารเจริญวัยทรงพระดําเนินได้ พระนางก็ได้ประสูติพระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ชยัมบดี พระราชกุมารที่เป็นพระเจ้าพี่ คือพระบรมโพธิสัตว์เจ้ามีพระปรีชาเฉลียวฉลาดในศิลปศาสตร์ทุกประการ พอพระองค์มีพระชนม์ได้ ๑๖ พระชันษา พระราชบิดาทรงปรารถนาจะมอบพระราชสมบัติให้ จึงทรงปรึกษากับพระอัครมเหสี เพื่อหาพระราชธิดามาอภิเษกให้เป็นเอกอัครมเหสีของลูก

ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าทรงทราบข่าว จึงทรงพระดําริว่า เรามีรูปร่างไม่สะสวยงดงามพระราชธิดาผู้สมบูรณ์ด้วยรูป แม้ถูกนําตัวมาพอเห็นเรา ก็จักหนีไปด้วยความรังเกียจความอับอายก็จะพึงมีแก่เรา เพราะฉะนั้น เราไม่ควรจะต้องการราชสมบัติ จะตั้งหน้าปฏิบัติพระชนกชนนีไปจนกว่าจะสิ้นบุญของท่าน แล้วเราก็จะออกบวช

ครั้นทรงดําริอย่างนี้แล้ว จึงแจ้งข่าวให้ทรงทราบ พระราชาก็ทรงเสียพระทัยพอล่วงไป ๒-๓ วันก็ทรงส่งข่าวสาส์นไปอีกพระราชกุมารนั้นก็คัดค้านอีกเหมือนเดิม เมื่อเป็นอย่างนี้ถึง ๓ ครั้งในครั้งที่ ๔ จึงทรงดําริว่า ธรรมดาลูกจะขัดขืนมารดาบิดาอยู่ร่ำไปนั้น ย่อมไม่เป็นการสมควร เราจักกระทําอุบายสักอย่างหนึ่ง




หล่อพระรูปทองคำ

ครั้งทรงดําริแล้ว จึงให้หาหัวหน้าช่างทองคนหนึ่งมาเฝ้า ได้ประทานทองคําให้เป็นอันมากแล้วตรัสว่า “เจ้าจงเอาทองคําเหล่านี้ไปหล่อเป็นรูปผู้หญิง แล้วนํามาให้เรา” แต่ว่าพอช่างทองรับเอาทองไปแล้วพระองค์ก็ทรงหล่อรูปผู้หญิงด้วยทองคําขึ้นไว้รูปหนึ่งด้วยพระองค์เอง แล้วเอาตั้งไว้ในห้องแห่งหนึ่ง พอช่างทองนํารูปผู้หญิงที่ตนทํานั้นมาถวาย ก็ทรงติว่ายังไม่สวยพอ จึงทรงรับสั่งให้นายช่างไปยกเอารูปซึ่งอยู่ในห้องนั้นมาดู พอช่างทองโผล่เข้าไปในห้องนั้นก็ตกใจว่า รูปนั้นเป็นนางเทพธิดาที่จะมาเป็นพระชายาของพระราชกุมาร ไม่อาจจะเอื้อมมือไปแตะต้องได้

จึงกลับออกมาทูลว่า รูปที่สั่งให้ไปยกมานั้น ข้าพระองค์ไม่เห็น เห็นแต่พระแม่เจ้าผู้เป็นพระชายาประทับอยู่ในห้องนั้นพระองค์เดียว จึงตรัสสั่งอีกว่า เธอจงไปยกมาเถิดนั่นแหละคือรูปหล่อที่เราหล่อขึ้นเอง ช่างทองจึงกลับไปยกรูปนั้นออกมาถวายแล้วให้เก็บเอารูปหล่อที่นายช่างหล่อ ไปไว้เสียในห้องเก็บทอง แล้วจึงให้ประดับตกแต่งรูปหล่อ ที่พระองค์ทรงหล่อเองนั้นอย่างวิจิตรงดงามแล้วให้นําไปถวายพระราชมารดา

ทรงสั่งให้กราบทูลว่า “ถ้าพระแม่เจ้าทรงหาหญิงที่มีรูปร่างงามเหมือนกับรูปทองคำนี้ได้แล้ว หม่อมฉันจึงจะยอมมีอัครมเหสี”

เมื่อพระชนนีได้ทรงเห็นรูปหล่อ และทรงทราบความประสงค์ของพระราชโอรสแล้วจึงโปรดให้ประชุมเหล่าเสวกามาตย์ราชมนตรีทั้งหลายแล้วตรัสเล่าให้ฟังว่า

“ดูก่อนอํามาตย์ทั้งหลาย ลูกชายของเราซึ่งเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก ที่พระอินทร์ทรงประทานให้นั้น เขาอยากได้อัครมเหสีที่มีรูปสวยเหมือนกับรูปหล่อนี้ โดยเหตุนี้ ท่านทั้งหลายจงยกซึ่งรูปหล่อนี้ ขึ้นตั้งไว้บนยานอันปกปิดแล้วพาไปสืบเสาะหากุมารีในที่ต่างๆ ด้วยวิธีเอารูปไปตั้งไว้ในที่ใดที่หนึ่งแล้ว คอยฟังดูว่า จะมีใครพูดกันว่ามีผู้หญิงที่งดงามเหมือนรูปหล่อนี้บ้าง ถ้าได้พบแล้วจงไต่สวน ให้รู้ว่าเป็นลูกเต้าเหล่ากอของใคร ถ้าเป็นลูกกษัตริย์จงเข้าไปทูลขอทีเดียวว่า

บัดนี้ พระเจ้าโอกกากราชมีพระราชประสงค์จะทรงอภิเษกพระราชโอรส ให้เสวยราชสมบัติแทนพระองค์ จึงโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงมาทูลขอพระราชธิดาของพระองค์ ไปอภิเษกเป็นเอกอัครมเหสีของพระราชโอรสนั้น เมื่อกษัตริย์พระองค์นั้นทรงยินยอมยกให้แล้ว จงทูลนัดฤกษ์วันเวลาที่จะทําพิธีอาวาหมงคล เมื่อตกลงอย่างไรแล้ว จงกลับมาแจ้งแก่เราโดยเร็วอย่าได้ช้า”

พวกอํามาตย์รับพระราชเสาวนีย์แล้วก็นํารูปหล่อนั้นขึ้นยานอันปกปิดนําออกจากพระนครไป เมื่อไปถึงราชธานีใด ก็ประดับประดารูปหล่อนั้นให้ดี แล้วก็ยกไปตั้งไว้ข้างมรรคาที่คนทั้งหลายไปมาเป็นอันมาก เป็นต้นว่าทางที่จะไปอาบน้ำอันมีในบ้านเมืองนั้นๆ แล้วพากันไปแอบฟังเสียงคนทั้งหลายพูดกัน

เมื่อคนทั้งหลายได้เห็นรูปหล่อนั้นแล้วก็เข้าใจว่าเป็นหญิงจริงๆได้พากันชมเชยด้วยถ้อยคําต่างๆ แล้วก็พากันกลับไป อํามาตย์เหล่านั้นก็ทราบได้ว่าในเมืองนี้ไม่มีหญิงคนใดที่จะสวยเหมือนรูปนี้ จึงตกลงกันว่าพวกเราควรจะออกจากเมืองนี้ แล้วก็พากันออกจากเมืองนั้นไปเมืองอื่นต่อไปอีก และได้กระทําพิธีทดลองตามที่ทํามาแล้วจนกระทั่งถึง สาคลบุรี ในประเทศมัทราชโดยลําดับ




พระนางประภาวดี

ในเวลานั้นพระเจ้าแผ่นดินในเมืองสาคละซึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้ามัทราช ทรงมีพระราชธิดาอยู่ ๘ พระองค์ ทรงพระรูปพระโฉมงดงามปานดังนางฟ้า พระราชธิดาองค์ใหญ่มีพระนามว่า ประภาวดี พระนางมีพระรัศมีซ่านออกจากพระกายข้างละ ๑ วา พระรัศมีนั้นมีสีดังสีพระอาทิตย์แรกอุทัย แต่พระรัศมีนี้ หมายถึงพระรัศมีแผ่ออกไปในเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางคืนนั้นพระรัศมีส่องสว่างมากกว่านี้ จนไม่ต้องจุดไฟในเวลาราตรี ในห้องที่พระนางประทับอยู่

พระนางประภาวดีนี้มีพระพี่เลี้ยงคนหนึ่งชื่อว่า นางขุชชา เป็นหญิงค่อมพิการ ในเวลาเย็น มีพวกอํามาตย์ของพระเจ้าโอกกากราชนํารูปทองคําไปตั้งไว้ข้างทางที่จะลงท่าน้ำ นางขุชชาให้พระนางประภาวดีเสวยเสร็จแล้ว ส่วนตนได้ออกจากพระราชวัง ลงไปสู่ท่าน้ำกับพวกทาสี ประมาณ ๗-๘ คน

พอไปเห็นรูปหล่อนั้น พลันก็เข้าใจว่าเป็น พระนางประภาวดี จึงร้องออกไปด้วยความโกรธว่า “พระนางนี้ช่างว่ายากเสียจริงๆ เขาจักตักน้ำไปถวายไม่ได้หรือจึงต้องเสด็จมาเอง ถ้าพระราชบิดามารดาทรงทราบเข้า พวกหม่อมฉันมิต้องย่อยยับไปหรือ...” ว่าแล้วก็ตรงเข้าไปจับรูปหล่อนั้น จึงรู้ว่าไม่ใช่พระนางประภาวดี พวกอํามาตย์ได้เห็นดังนี้จึงออกจากที่ซ่อนพากันไปซักถามว่า “เหตุไรจึงมาจับรูปหล่อของเรา” นางขุชชาจึงตอบว่า “เพราะเข้าใจว่าเป็นรูปพระนางประภาวดีซึ่งเป็นพระราชธิดาแห่งพระเจ้าอยู่หัวของเรา”

“พระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวเมืองนี้สวยเหมือนกับรูปหล่อนี้หรือ” “สวยยิ่งกว่านี้อีกเจ้าข้า” พวกอํามาตย์นั้นจึงพากันเข้าไปกราบทูลพระเจ้ามัทราช ตามที่ได้รับมอบหมายมาแล้วนั้น เมื่อพระเจ้ามัทราชทรงรับเครื่องราชบรรณาการเหล่านั้นไว้ พวกอํามาตย์จึงพากันกลับไปกราบทูลพระเจ้าโอกกากราชและพระราชเทวีให้ทรงทราบ กษัตริย์ทั้งสองจึงเสด็จมาสู่สาคลนครโดยเร็วพลัน




อุบายของพระนางสีลวดี

ฝ่ายพระนางสีลวดีได้ทอดพระเนตรเห็นพระนางประภาวดี จึงทรงดําริว่า ราชธิดาองค์นี้ เป็นหญิงมีรูปร่างงดงามมากนัก ส่วนโอรสของเรามีรูปร่างไม่งดงาม ถ้านางได้เห็นโอรสของเราแล้ว คงจะรีบหนีไปเป็นแน่แท้ แม้เพียงราตรีเดียวก็ไม่อาจจะอยู่ร่วมได้ เห็นทีเราจักต้องทํากลอุบาย ครั้นทรงดําริอย่างนี้แล้ว จึงทูลพระเจ้ามัทราชว่า

“นางประภาวดีนี้สมควรกับพระโอรสของหม่อมฉันแท้ แต่ทางบ้านเมืองของหม่อมฉันมีราชประเพณีอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งถือกันมานานแล้วคือ ถ้าพระภัสดากับพระชายาคู่ใดอยู่ด้วยกันยังไม่ทันมีครรภ์แล้ว ห้ามไม่ให้ทั้งสองเห็นกันในเวลากลางวันหรือในที่สว่างเป็นอันขาด ให้เห็นกันแต่ในเวลากลางคืน ในที่มืดๆ เท่านั้นต่อเมื่อมีครรภ์แล้วจึงให้เห็นกันได้ทุกเวลา ถ้าพระนางประภาวดีประพฤติตามพระราชประเพณีนี้ได้ หม่อมฉันก็ยินดีจะรับเขาไปเป็นศรีสะใภ้ของหม่อมฉัน”

ครั้นพระเจ้ามัทราชหันไปตรัสถามพระราชธิดา พระนางกราบทูลว่าได้แล้ว พระเจ้าโอกกากราชจึงได้ถวายพระราชทรัพย์เป็นอันมากแก่พระเจ้ามัทราช แล้วทรงรับพระนางประภาวดีเสด็จกลับไปสู่พระนครของพระองค์ เมื่อกลับถึงราชธานีแล้ว จึงทรงจัดการราชาภิเษกพระราชโอรส ให้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงพระนามบัญญัติว่า พระเจ้ากุสราช กับ พระราชเทวีอันทรงพระนามว่า ประภาวดี

พระราชาทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งหมดพระองค์ใดมีพระราชธิดา ก็ส่งพระราชธิดาไปถวาย พระองค์ใดมีพระราชโอรสก็ทรงส่งพระราชโอรสไปถวาย พระราชาเหล่านั้นทรงหวังความเป็นมิตรไมตรีกับพระเจ้ากุสราชนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าทรงมีพระนางสนมเป็นบริวารมากมายทรงปกครองพระราชสมบัติด้วยพระอิสริยยศอันยิ่งใหญ่เกรียงไกรดังนี้

เหตุการณ์ต่อไปคงจะสนุกแน่ เพราะพระราชาอยากจะเห็นหน้าพระเทวี เรื่องราวจะวุ่นวายแค่ไหน โปรดอดใจรอฉบับหน้า ซึ่งยังจะมี "มิลินทปัญหา“ ในข้อต่อไปอีกด้วย..สวัสดี

◄ll กลับสู่ด้านบน

<<โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป>>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 27/5/09 at 09:57 Reply With Quote



Update 27 พ.ค. 52

ตอนที่ ๒๐

พระเจ้ากุสราช (ตอนที่ ๒)

พระราชาทรงปลอมพระองค์


...นับแต่นั้นมาพระเจ้ากุสราชกับพระอัครมเหสี ได้ทรงพบกันแต่ในเวลาราตรีเท่านั้น พระรัศมีของพระนาง ไม่อาจส่องให้เห็นพระพักตร์ของพระราชสวามีได้ถนัด ด้วยอํานาจบุญญาภินิหารของพระโพธิสัตว์แรงกล้า แต่พอ ๒-๓ วันผ่านพ้นไปพระราชามีความปรารถนาจะได้เห็นพระอัครมเหสี ในเวลากลางวัน จึงทูลถามพระราชมารดาให้ทรงทราบ พระราชมารดาก็ทรงห้ามว่ารอให้ได้พระโอรสองค์หนึ่งก่อนเถิด

เมื่อพระราชาอ้อนวอนบ่อยๆ เข้า พระมารดาไม่อาจขัดขืนได้จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเจ้าจงปลอมเป็นคนเลี้ยงช้างไปอยู่ในโรงช้างเถิด แม่จะพานางไปในที่ตรงนั้น แต่ระวังอย่าให้นางเกิดสงสัยได้ พระราชาก็ได้กระทําตามนั้น ลําดับนั้นพระมารดาจึงรับสั่งให้คนตกแต่งโรงช้าง แล้วตรัสชักชวนพระนางประภาวดีให้เข้าไปชมช้างต้นของพระราชาภายในโรงช้าง พระราชาทรงปลอมพระองค์เป็นคนเลี้ยงช้าง ทอดพระเนตรเห็นพระมเหสีเสด็จ ตามหลังพระราชมารดาจึงทรงหยิบเอาขี้ช้างก้อนหนึ่งขว้างไปที่หลังของพระนางประภาวดีพระนางทรงกริ้วกราดตวาดออกไปว่า

เจ้าบังอาจมาก เราจักให้พระราชาทรงตัดมือของเจ้าเสีย ฝ่ายพระราชมารดาจึงได้ทรงปลอบประโลมเอาพระทัยว่า อย่าถือสากับคนเลี้ยงช้างเลย แล้วทรงช่วยปัดข้างหลังให้ ต่างพากันเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ ต่อมาพระราชาใคร่จะได้เห็นนางอีกจึงใช้วิธีปลอมพระองค์เป็นคนเลี้ยงม้า แล้วทรงเอาก้อนขี้ม้านั้นขว้างไปเหมือนเดิมอีก

พระนางก็ทรงกริ้วใหญ่ พระสัสสุ แม่ผัว ก็ได้ทรงปลอบเหมือนคราวที่แล้วอีกเช่นกัน พระมเหสีใคร่จะได้เห็นพระราชาบ้าง ในเวลาต่อมา พระนางประภาวดีทรงใคร่จะได้เห็นพระราชสวามี จึงทูลแก่พระสัสสุเป็นหลายครั้ง พระสัสสุจึงรังสั่งว่าถ้าอย่างนั้นในวันพรุ่งนี้ พระราชสวามีของเจ้าจะเสด็จเลียบพระนคร เจ้าจงคอยดูที่ช่องพระแกลเถิด

ครั้นตรัสสั่งดังนี้แล้วจึงโปรดให้ตกแต่งพระนครในวันรุ่งขึ้น แต่ให้ พระชยัมบดี ผู้เป็นพระเจ้าน้องของพระโพธิสัตว์เจ้า ทรงเครื่องกษัตริย์ ประทับนั่งบนหลังช้างพระที่นั่ง แทนส่วนพระโพธิสัตว์เจ้า แต่งองค์เป็นควาญช้างประทับนั่งบนอาสนะข้างหลัง แล้วให้เสด็จเลียบพระนคร เวลานั้น พระราชมารดาทรงพาพระนางประภาวดีไปประทับยืนที่สีหบัญชรแล้วตรัสว่า เจ้าจงดูเถิดพระราชสวามีของเจ้าจะมีรูปทรงสวยสง่างามสักเพียงไร

ฝ่ายพระนางประภาวดีทรงเข้าพระทัยว่า เราได้พระสวามีที่มีความเหมาะสมกันดังนี้แล้ว ทรงปลาบปลื้มดีพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ฝ่ายพระราชาได้ทอดพระเนตรพระนางประภาวดีเหมือนกัน ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก จึงได้แสดงอาการยั่วเย้าด้วยการยกพระหัตถ์ เมื่อช้างพระที่นั่งคล้อยหลังไปแล้ว พระสัสสุจึงตรัสถามว่า

เจ้าเห็นพระภัสดาของเจ้าแล้วหรือ?พระนางกราบทูลว่า เห็นแล้วเพคะ แต่นายควาญช้างคนนั้น ช่างไม่รู้จักขนบธรรมเนียมเสียบ้างเลย มันทํากิริยาเคาะแคะหม่อมฉัน ทั้งท่าทางก็ดูไม่มีผู้ดีเลย เหตุไรจึงให้เป็นควาญช้างพระที่นั่งเล่าเพคะ พระสัสสุจึงตรัสตอบว่า เขาต้องการเพียงแค่การระมัดระวังช้างพระที่นั่งเท่านั้นเขาหาได้ต้องการขนบธรรมเนียมแต่ประการใดไม่

พระนางประภาวดีได้ทรงดําริ ว่าควาญช้างคนนี้ได้รับอภัยเสียเหลือเกิน หรือควาญช้างคนนี้เป็นพระเจ้ากุสราช พระองค์คงจะมีรูปร่างน่าเกลียด พระราชมารดาจึงทรงหาอุบายไม่ให้เราได้พบเห็นกัน พระนางประภาวดีจึงทรงกระซิบนางขุชชาผู้เป็นพี่เลี้ยงว่า พี่จงตามไปดูทีหรือว่าพระเจ้ากุสราชประทับช้างข้างหน้าพระที่นั่งหรือข้างหลังแล้วจงมาบอกแก่เรา

นางขุชชาผู้เป็นหญิงค่อมกราบทูลว่า หม่อมฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าคนไหนเป็นพระเจ้ากุสราช? พระนางตรัสตอบว่า ถ้าคนไหนลงก่อน ก็คนนั้นแหละ คือพระเจ้ากุสราชนางขุชชาจึงสะกดรอยไปดู ก็เห็นพระโพธิสัตว์เจ้าเสด็จลงจากช้างพระที่นั่งก่อน

พอพระโพธิสัตว์เจ้าทอดพระเนตรเห็นนางขุชชาก็ทรงแน่พระทัยว่า นางมาพิสูจน์พระองค์ จึงตรัสเรียกมากําชับว่า เจ้าอย่าไปบอกพระนางประภาวดีเป็นอันขาด นางค่อมนั้นจึงกลับไปกราบทูลพระนางว่า พระเจ้ากุสราชผู้เสด็จประทับอยู่ข้างหน้าช้างพระที่นั่งเสด็จลงก่อน พระนางประภาวดีก็ทรงเชื่อถ้อยคําของนางค่อมนั้น




พระมเหสีเสด็จหนีกลับพระนคร

ครั้นต่อมาพระราชาทรงใคร่จะเห็นพระนางอีก จึงทูลอ้อนวอนพระราชมารดาแล้ว พระราชมารดาไม่อาจจะทรงห้ามได้ จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเจ้าจงปลอมตัวไปแอบอยู่ที่ประตูพระราชอุทยานอย่าให้ผู้ใดผู้หนึ่งรู้เห็น ฝ่ายพระราชาเสด็จไปยังอุทยานแล้วทรงยืนแช่น้ำอยู่ในสระโบกขรณีประมาณแค่คอ ปกพระเศียรด้วยใบบัว บังพระพักตร์ด้วยดอกบัวบาน

แม้พระราชมารดาก็ทรงพาพระนางประภาวดีไปยังพระราชอุทยาน แล้วทรงพานักสนมกำนัลในลงเล่นน้ำในสระโบกขรณี ส่วนพระนางประภาวดีได้ทอดพระเนตรเห็นดอกบัวที่พระโพธิสัตว์เจ้าซ่อนอยู่นั้น จึงเสด็จว่ายน้ำเข้าไปเก็บ พระบรมโพธิสัตว์จึงทรงเปิดใบบัวออกเสีย แล้วคว้าข้อพระหัตถ์ของพระนางไว้ รับสั่งขึ้นดังๆว่า ตัวเรานี้แหละ คือพระเจ้ากุสราช..

พระนางพอได้ทอดพระเนตรเห็นก็ทรงร้องขึ้นด้วยสําคัญว่ายักษ์จับเรา แล้วสิ้นพระสติสมฤดีอยู่ที่ตรงนั้นเอง พระราชาจึงทรงปล่อยพระหัตถ์ละจากพระนาง ครั้นพระนางรู้สึกพระองค์ได้แล้วทรงดําริว่า พระเจ้ากุสราชนี้เองได้ปลอมเป็นคนเลี้ยงช้าง และเป็นคนเลี้ยงม้า เรานี้ได้ผัวมีหน้าตาน่าเกลียดขนาดนี้ เราจําเป็นต้องทิ้งกลับไปหาผัวใหม่ให้จงได้ ครั้นทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงให้พวกอำมาตย์ทั้งหลาย นำความไปกราบทูลพระเจ้าโอกกากราช

พระองค์จึงทรงดำริว่า ถ้าไม่ให้นางไปนางก็คงจักตรอมใจตาย เราควรจักอนุญาตให้ไปเสียก่อน แล้วจึงค่อยคิดผันผ่อนนำมาต่อภายหลัง พอทรงดำริดังนี้แล้ว จึงทรงอนุญาตให้พระนางเสด็จกลับไปได้ ฝ่ายพระบรมโพธิสัตว์เจ้าก็เสด็จกลับเข้าสู่พระนคร กำลังทรงสะท้อนถอนพระทัย ด้วยทรงอาลัยในพระนางเจ้าเป็นหนักหนา ต่อนี้ไปจะกลับกล่าวถึงเหตุแห่งบุคคลทั้งสองไว้ดังนี้




บุพพกรรม

ในอดีตกาล มีหมู่บ้านอันตั้งอยูใกล้ประตูเมืองพาราณสี มีตระกูล ๒ ตระกูล ที่ถนนหมู่บ้านนั้น ตระกูลหนึ่งมีลูกชายอยู่ ๒ คนอีกตระกูลหนึ่งมีลูกหญิง ๑ คนอยู่มาตระกูลที่มีลูกชาย ๒ คนนั้นเติบโตมารดาจึงไปขอภรรยาให้แก่ลูกชายคนใหญ่ อยู่มาวันหนึ่งน้องชายได้ไปป่าเสีย ส่วนพี่สะใภ้อยู่ทางบ้านจึงทำขนมเบื้อง โดยแบ่งไว้ให้น้องของสามีส่วนหนึ่ง ที่เหลือนั้นแจกแบ่งกันบริโภคจนหมด

พอกินขนมหมดแล้วก็มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเสด็จไปบิณฑบาต พี่สะใภ้จึงคิดว่าเราจะทำขนมไว้ให้น้องผัวของเราใหม่ ส่วนนี้จะเอาใส่บาตรเสีย ครั้นคิดแล้ว จึงเอาขนมส่วนนั้นไปใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้า พอน้องผัวกลับมา ถึงก็เล่าเรื่องให้ฟัง น้องผัวก็โกรธว่าส่วนของพี่ๆ ได้กินเสียหมด ยกเอาส่วนของเราไปทำบุญเสียแล้วเราจะกินอะไร ว่าแล้วก็ตามไปแย่งเอาขนมมาจากบาตรพระปัจเจกพุทธเจ้า

ฝ่ายพี่สะใภ้จึงไปหาเนยใสใหม่ ซึ่งมีสีเหมือนดอกจำปามาทอดขนมถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าอีกจนเต็มบาตร ขนมนั้นมีสีเหลืองปรากฏขึ้นในบาตร นางนั้นจึงตั้งความปรารถนาว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเกิดในภพใดๆ ขอให้ร่างกายของดิฉันจงเกิดมีรัศมีเปล่งปลั่ง และมีรูปร่างสดสวยงดงามเป็นอย่างยิ่งและขออย่าให้ได้พบคนเลวเหมือนกับน้องผัวของดิฉันคนนี้เลย"

พอน้องผัวได้ฟังดังนั้น จึงเอาขนมของตนนั้น กลับไปใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้าอีก วางขนมของตนทับของพี่สะใภ้ลงไปแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า"ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะไปเกิดในชาติใดภพใดก็ตาม ขอให้พบกับพี่สะใภ้คนนี้อีก ถึงจะอยู่ใกลกันตั้งร้อยโยชน์ก็ตามขอให้ข้าพเจ้านำมาเป็นภรรยาให้จงได้"

เมื่อคนทั้งสองตายแล้ว ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ ส่วนพี่สะใภ้จุติจากสวรรค์แล้วลงมาเกิดเป็น พระนางประภาวดี ส่วนน้องผัวลงมาเป็น พระเจ้ากุสราช คือพระโพธิสัตว์เจ้านี้เอง แต่ด้วยอำนาจแห่งบุพพกรรม ที่โกรธแล้วเอาขนมกลับคืนมานั้น พระโพธิสัตว์เจ้าจึงได้เป็นผู้มีรูปร่างไม่งดงามน่าเกลียด ดังนี้..จบเรื่อง "พระเจ้ากุสราช" แต่เพียงแค่นี้.



ปัญหาที่ ๒

ถามเรื่องปัญหาที่แก้ด้วยการพักไว้

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ข้าแต่พระนาคเสนสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูก่อนอานนท์ อาจริยมุฏฐิ (อาจะริยะมุฏฐิ) คือกำมือแห่งอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า" แต่ภายหลัง พระมาลุงกยบุตร ได้ทูลถามก็ไม่ทรงแก้ จึงว่าปัญหานี้ จักเป็นปัญหาที่เด็ดขาดลงไปใน ๒ อย่าง ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง คือไม่ทรงแก้เพราะไม่รู้ หรือเพราะกระทำข้อลี้ลับไว้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า กำมือแห่งอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่พระตถาคต ดังนี้ เป็นคำจริงแล้ว การที่ไม่ทรงแก้นั้นก็ต้องเป็นเพราะไม่ทรงล่วงรู้ ถ้าทรงล่วงรู้แต่ไม่แก้ คำว่า "กำมือแห่งอาจารย์ในธรรมทั้งหลายก็ต้องมีแก่พระตถาคต" ปัญหาข้อนี้เป็น "อุภโตโกฏิ" ละเอียดลึกซึ้งนัก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงทำลายเสียซึ่งข่าย คือ ทิฏฐิเถิด

พระนาคเสนเถระถวายพระพรว่า "สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้อย่างนั้นจริง แต่ที่ไม่ทรงแก้นั้นไม่ใช่เพราะไม่ทรงล่วงรู้ ไม่ใช่เพราะกระทําให้เป็นข้อลี้ลับไว้ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ได้แสดงแก้ปัญหาไว้เป็น ๔ ประการคือ

๑.เอกังสพยากรณ์ เมื่อมีผู้ถามก็แก้ออกไปทีเดียว
๒.วิภัชชพยากรณ์ แยกแล้วจึงแก้
๓.ปฏิปุจฉาพยากรณ์ ย้อนถามแล้วจึงแก้
๔.ฐปนียพยากรณ์ แก้ด้วยการงดไว้

ยกตัวอย่าง

การแก้ว่า "สิ่งที่เป็นอนิจจัง" คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า เอกังสพยากรณ์
การแก้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เรียก วิภัชชพยากรณ์
การย้อนถามว่า บุคคลย่อมรู้สิ่งทั้งปวงด้วยจักษุหรือ ถามดังนี้แล้วจึงแก้ เรียกว่า ปฏิปุจฉาพยากรณ์

คําถามอันหาประโยชน์มิได้ ไม่ควรจะกล่าวแก้ เช่นถามว่า โลกยั่งยืน หรือโลกไม่ยั่งยืน โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด โลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่ ชีพกับสรีระเป็นเดียวกัน ชีพกับสรีระเป็นอื่น พระตถาคตเจ้าตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี เกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี จะว่าเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ เป็นต้น

ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ เรียกว่า "ฐปนียปัญหา" (ฐะปะนียะปัญหา) เหตุไรปัญหานั้นจึงเป็น "ฐปนียปัญหา" เหตุว่าไม่มีเหตุที่จะให้ทรงแก้ปัญหานั้น เพราะการเปล่งพระวาจาอันไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายพระพร

สาธุ..พระนาคเสน โยมยอมรับว่าเป็นอย่างนั้น

ฎีกามิลินท์

คำว่า เอกังสพยากรณ์ ได้แก่มีผู้ถามว่า รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยงก็ตอบออกไปทีเดียวว่า ไม่เที่ยง
คําว่า วิภัชชพยากรณ์ ได้แก่แยกตอบเป็นอย่างๆ ไปว่า รูปก็ไม่เที่ยง เวทนาก็ไม่เที่ยงเป็นต้น
ปฏิปุจฉาพยากรณ์ ได้แก่เมื่อมีผู้ถามว่า บุคคลรู้สิ่งทั้งปวงด้วยจักษุหรือ ก็ย้อนถามออกไปว่า หมายถึงจักษุอะไรเมื่อมีผู้ตอบว่า หมายถึงสมันตจักษุ (ตาเนื้อ) จึงแก้ว่า ถูก... บุคคลย่อมรู้สิ่งทั้งปวงด้วยจักษุ

อธิบาย

ฐปนียพยากรณ์ ในฎีกาไม่ได้อธิบายไว้ จึงขออธิบายให้ฟังว่า ฐปนียพยากรณ์ อันแปลว่า แก้ด้วยการพักไว้นั้น คือเมื่อมีผู้ถามก็นิ่งเสียไม่ตอบ เพราะไม่มีประโยชน์อันใดในการตอบ อีกอย่างหนึ่ง ได้เคยตอบหรือเคยอธิบาย หรือเคยแสดงไว้ในที่อื่นมามากแล้ว เมื่อมีผู้ถามก็งดไม่ตอบ เพราะเห็นว่าได้เคยตอบ เคยอธิบาย เคยแสดงไว้ในที่อื่นมากแล้ว

ปัญหาว่า "โลกยั่งยืนหรือไม่ยั่งยืน" เป็นต้นนั้น พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นว่า การตอบออกไป ก็ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น อีกอย่างหนึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้พิสดารใน พรหมชาลสูตร แล้ว ด้วยเหตุทั้งสองอย่างนี้ เวลาพระมาลุงกยบุตรทูลถาม จึงไม่ทรงแก้ออกไปตรง ๆ ว่าเป็นอย่างไร เป็นแต่ทรงแสดงธรรมเพื่อให้พระมาลุงกยบุตร เข้าใจในทางธรรมตามเป็นจริงเท่านั้น

◄ll กลับสู่สารบัญ




ปัญหาที่ ๓

ถามเรื่องมรณภัย

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสไว้ว่า "บุคคลทั้งปวงกลัวอาชญาบุคคลทั้งปวง กลัวความตาย" ดังนี้ และตรัสไว้อีกว่า "พระอรหันต์ล่วงเสียซึ่งความกลัวทั้งปวงแล้ว" จึงขอถามว่า ความกลัวอาชญา หรือความสะดุ้งมีอยู่แก่พระอรหันต์หรือ อีกอย่างหนึ่งพวกสัตว์นรกที่ถูกไฟไหม้อยู่เป็นนิจนั้น เมื่อจะพ้นจากนรกใหญ่อันมีเปลวไฟลุกอยู่เป็นนิจนั้นยังจะกลัวความตายหรือ..?

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลทั้งปวงสะดุ้งต่ออาชญา กลัวต่อความตายนั้นถูกแล้ว คำที่ว่าพระอรหันต์ล่วงความกลัวทั้งปวงแล้วก็ผิด ถ้าคำว่า พระอรหันต์ล่วงความกลัวทั้งปวงแล้วนั้นถูก คําว่าบุคคลทั้งปวงสะดุ้งต่ออาชญา กลัวต่อความตายนั้นก็ผิด ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิโปรดแสดงให้สิ้นสงสัยเถิด พระคุณเจ้าข้า

พระนาคเสนตอบว่า ขอถวายพระพร คําว่าบุคคลทั้งปวงสะดุ้งต่ออาชญา กลัวต่อความตายนั้น ไม่ได้หมายถึงพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ได้ตัดต้นเหตุที่จะให้เกิดความกลัวแล้ว บุคคลเหล่าใดยังมีกิเลสอยู่ ยังมีความเห็นเป็นตัวเป็นตนแรงกล้าอยู่ ยังเอนเอียงในสุขทุกข์อยู่ สมเด็จพระบรมครูหมายบุคคลเหล่านั้น จึงได้ตรัสว่า

บุคคลทั้งปวงสะดุ้งต่ออาชญากลัวความตาย พระอรหันต์ทั้งหลายได้ตัดคติทั้งปวงแล้ว ตัดเสียซึ่งปฏิสนธิมิได้เกิดในภพทั้งสาม หักซึ่งโครงแห่งนายช่าง คือตัณหาแล้ว ตัดเหตุแห่งภพทั้งปวง แล้วกําจัดสังขาร กุศลอกุศล เสียสิ้นแล้วกําจัดอวิชชาไม่ให้มีพืชต่อไปแล้ว เผากิเลสทั้งปวงแล้ว ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายแล้ว เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่สะดุ้งต่อภัยทั้งปวง

อุปมามหาอำมาตย์ทั้ง ๔

ขอถวายพระพร มหาบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจมหาอํามาตย์ทั้ง ๔ ของพระราชาที่ได้รับพระราชทานยศศักดิ์ฐานันดรแล้วมีอยู่ เมื่อมีกรณียกิจเกิดขึ้นพระราชาก็ตรัสสั่งว่า คนทั้งปวงในแผ่นดินของเรา จงกระทําพลีแก่เรา มหาอํามาตย์ทั้ง ๔ จงทําให้เรื่องนี้สําเร็จ อาตมภาพขอถามว่า ความสะดุ้งต่อภัยคือพลี จะมีแก่มหาอํามาตย์ทั้ง ๔ นั้นหรือไม่

ไม่มี..พระผู้เป็นเจ้า

เพราะเหตุไร..มหาบพิตร ?

เพราะเหตุว่ามหาอํามาตย์ทั้ง ๔ นั้น เป็นผู้ที่พระราชาทรงตั้งไว้ในตําแหน่งสูงแล้ว เป็นผู้ล่วงเสียซึ่งพลีแล้ว คําที่พระราชาตรัสสั่งว่า บุคคลทั้งปวงจงกระทําพลี นั้นหมายบุคคลเหล่าอื่น นอกจากมหาอํามาตย์ทั้ง ๔ นั้นอย่างนี้แหละ พระผู้เป็นเจ้า

ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ว่าบุคคลทั้งปวงสะดุ้งต่ออาชญา กลัวต่อความตายนั้น สมเด็จพระภควันต์ก็ไม่ได้ตรัสหมายถึงพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ได้ตัดต้นเหตุที่จะให้สะดุ้งกลัวเสียหมดแล้ว หมายเฉพาะผู้ยังมีกิเลสเท่านั้น

ข้าแต่พระนาคเสน คําว่า "ทั้งปวงนี้" จะว่าเป็นคํามีเศษหามิได้ เป็นคําไม่มีเศษโดยแท้ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงชี้แจงเหตุการณ์ในข้อนี้ให้โยมฟัง

อุปมาดั่งนายบ้าน

มหาราชะ เปรียบประดุจดังนายบ้านสั่งให้บอกลูกบ้านว่า พวกที่อยู่ในบ้านของเราทั้งสิ้น จงมาประชุมกันในสํานักของเรา ผู้รับสั่งก็ไปยืนประกาศในท่ามกลามบ้านขึ้นด้วยเสียงอันดังถึง ๓ ครั้งว่า ชาวบ้านทั้งสิ้น จงรีบไปประชุมในสํานักเจ้าของบ้าน

ลําดับนั้น ชาวบ้านก็รีบไปประชุมกันผู้รับคําสั่งนั้นก็บอกเจ้าของบ้านว่า ชาวบ้านทั้งปวงมาประชุมกันแล้ว สิ่งใดที่ควรกระทำขอจงกระทําเถิด เป็นอันว่า เมื่อนายบ้านผู้นั้นจะให้ลูกบ้านเท่าที่เห็นปรากฏมาประชุม ก็สั่งลูกบ้านทั้งหมด ลูกบ้านที่รับคําสั่งแล้ว ก็ไม่ได้มาประชุมหมด แต่นายบ้านก็รับว่า ลูกบ้านของเราประชุมหมดแล้ว

ความจริงที่ไม่ได้มาประชุมก็มีอยู่อีกเป็นอันมาก คือ สตรี บุรุษ ทาสี ทาส ลูกจ้าง คนตาบอดหญิงมีครรภ์ แพะ แกะ ช้าง สุนัข โคแม่ โคนม แต่พวกนั้นก็ไม่ได้นับเข้าในพวกที่ไม่ได้มาประชุมฉันใด บุคคลเหล่าใดที่ยังมีกิเลสอยู่ สมเด็จพระบรมครูก็ทรงหมายบุคคลเหล่านั้น จึงตรัสว่าบุคคลทั้งปวงสะดุ้งต่ออาชญาฉันนั้น

ขอถวายพระพร ถ้อยคํามีเศษก็มี..ความหมายมีเศษก็มีฯ ถ้อยคํามีเศษ..ส่วนความหมายไม่มีเศษฯ ถ้อยคําไม่มีเศษ..ความหมายมีเศษก็มีฯ ถ้อยคําไม่มีเศษ..ความหมายไม่มีเศษก็มีฯ เพราะฉะนั้น จึงควรพิจารณาความหมายควรรับทราบความหมายอนุโลมตามกัน ๑ มีความหมายยิ่งไปกว่าเหตุ ๑ มีความหมายเกี่ยวกับจะต้องถามอาจารย์ ๑ มีความหมายที่จะต้องอธิบายออกไป ๑ เมื่อเข้าใจความหมายอย่างนี้ จึงจะเป็นอันวินิจฉัยตัดสินปัญหานั้นได้ดี ขอถวายพระพร



สัตว์นรกยังกลัวตายหรือ

ข้าแต่พระนาคเสน ข้อนี้จงยกไว้ โยมรับละ คือจงยกพระอรหันต์ทั้งหลายเสียให้สะดุ้งแต่สัตว์นอกนั้น โยมจะขอถามว่า พวกสัตว์นรกที่ได้รับทุกขเวทนาเผ็ดร้อนกล้าแข็ง มีร่างกายทั้งสิ้นถูกไฟเผา เร่าร้อนหวั่นไหวอยู่ด้วยไฟ มีหน้าเต็มไปด้วยน้ำตาที่ร้องไห้รําพันคร่ำครวญถูกทุกข์เผ็ดร้อนกล้าแข็งครอบงําอย่างเหลือเกิน ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีเวลาสร่างทุกข์โศก

มีแต่จะได้รับทุกขเวทนาไปท่าเดียว มีแต่จะได้รับทุกข์โศกไปอย่างเดียว ถูกไฟเผาลนอย่างร้ายกาจ มีเสียงร้องน่าสะพรึงกลัว มีเปลวไฟ ๖ อย่างห้อมล้อมอยู่ ไม่ว่างจากเปลวไฟอันแผ่ไปตลอด ๑๐๐ โยชน์ เมื่อจะตายไปจากนรกใหญ่อันเผ็ดร้อนอย่างนั้น ยังจะกลัวตายอยู่หรือ..พระผู้เป็นเจ้า ?

พระนาคเสนชี้แจงว่า ขอถวายพระพร ยังกลัวตายอยู่

ข้าแต่พระนาคเสน นรกมีแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียวไม่ใช่หรือ เหตุไรพวกสัตว์นรกที่ได้เสวยทุกขเวทนาอย่างเดียว เมื่อจะตายจึงยังกลัวตายอยู่ สัตว์นรกเหล่านั้น ยังยินดีอยู่ในนรกหรือ?

ขอถวายพระพร สัตว์นรกเหล่านั้นไม่ได้ยินดีอยู่ในนรกเลย มีแต่อยากพ้นไปจากนรก แต่ที่กลัวตายนั้น เป็นเพราะอานุภาพแห่งความตาย

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คําที่ว่าสัตว์นรกอยากพ้นจากนรก แต่ยังกลัวตายนั้น โยมไม่เชื่อ เพราะผู้ที่อยากพ้นจากทุกข์ จะกลัวอย่างไร สัตว์ทั้งหลายได้สิ่งใดสมความปรารถนาก็ร่าเริงดีใจ เพราะฉะนั้น ขอจงให้โยมเข้าใจความข้อนี้ด้วยเถิด

ขอถวายพระพร อันความตายย่อมเป็นเหตุให้เกิดความสะดุ้งแก่สัตว์ทั้งหลายที่ยังไม่เห็นสัจจะ พวกที่ยังไม่เห็นสัจจะคือความจริง ย่อมสะดุ้ง ยอมพรั่นพรึงผู้ใด กลัวงูเห่าดํา ผู้นั้นก็กลัวตาย ผู้ใดกลัวตาย ผู้นั้นก็กลัวงูเห่าดํา ผู้ใดกลัวช้าง สิงห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาใน กระบือป่า กระบือบ้าน โจร ไฟ น้ำ ตอหนาม ยักษ์ ผีเสื้อน้ำ ผู้นั้นก็กลัวความตาย ความตายมีเดชแรงกล้าอย่างนี้ พวกที่มีกิเลสจึงกลัวตาย พวกสัตว์นรกอยากพ้นจากนรกก็จริงแต่ก็ยังกลัวตาย

อุปมาบุรุษผู้เป็นฝี

ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งเป็นฝีทนทุกขเวทนา อยากจะหมดทุกข์จึงให้หาหมอผ่าตัด เมื่อหมอผ่าตัดมาถึง ก็วางเครื่องมือไว้แล้วลับมีดให้คม เผาซี่เหล็กให้แดง บดยากัดไว้ เวลาหมอทําอย่างนั้นอยู่ คนที่เป็นฝีนั้นจะสะดุ้งกลัวต่อการกระทําของหมอนั้นหรือไม่

สะดุ้งกลัว พระผู้เป็นเจ้า

ขอถวายพระพร ผู้อยากจะหายโรคยังสะดุ้งกลัวต่อวิธีการรักษาอยู่ฉันใด พวกสัตว์นรกก็ยังสะดุ้งกลัวต่อความตายฉันนั้น

อุปมาบุรุษผู้มีความผิด

อีกอย่างหนึ่ง บุรุษที่มีความผิดต่อเจ้านาย ถูกใส่โซ่ตรวนขังไว้ในที่คุมขัง ได้รับทุกข์ลําบาก อยากจะพ้นจากความลําบากนั้นไป เจ้านายจึงให้เรียกเข้ามาเพื่อจะปล่อยเขาไป บุรุษผู้มีความผิดนั้นไม่รู้ความประสงค์ของเจ้านาย เมื่อไปถึงเจ้านาย เขาจะสะดุ้งกลัวไหม ?

สะดุ้งกลัว พระผู้เป็นเจ้า

ขอถวายพระพร ความกลัวนายย่อมมีแก่บุรุษผู้มีความผิดฉันใด พวกสัตว์นรกก็กลัวความตายฉันนั้น

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงเหตุที่จะทําให้โยมเข้าใจยิ่งไปกว่านี้อีก

อุปมาบุรุษผู้ถูกงูพิษกัด

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนกับบุรุษถูกงูพิษกัดล้มกลิ้งอยู่ มีบุรุษอีกคนหนึ่ง เรียกงูพิษนั้นกลับมาด้วยอำนาจมนต์ ให้มาดูดเอาพิษไปบุรุษผู้ถูกงูกัดนั้นจักกลัวหรือไม่

กลัว..พระผู้เป็นเจ้า

ความกลัวย่อมมีแก่บุรุษผู้ถูกงูกัด ผู้กําลังจะหายจากงูพิษฉันใด ถึงพวกสัตว์นรกอยากจะพ้นนรกก็ยังกลัวความตายอยู่ฉันนั้น ความตายเป็นของที่ไม่ต้องการ ไม่รักใคร่พอใจของสัตว์ทั้งปวง เพราะฉะนั้น พวกสัตว์นรกจึงกลัวตาย ขอถวายพระพร

ถูกแล้ว...พระนาคเสน โยมยินดีรับว่าถูกต้อง

◄ll กลับสู่สารบัญ

<โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 30/6/09 at 22:06 Reply With Quote


Update 30 มิ.ย. 52

ตอนที่ ๒๑


ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องพ้นจากบ่วงมรณะ


...พระเจ้ามิลินทร์ตรัสถามปัญหาสืบไปว่า ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สัตว์ทั้งหลายจะเร้นซ่อนตนอยู่ในที่ใด ๆ ก็ตาม ที่จะพ้นความตายไม่มี ที่ควาามตายจะครอบงําไม่ได้ไม่มี ดังนี้ แต่ได้ทรงแสดงพระปริตร คือพระพุทธมนต์อันเป็นเครื่องป้องกันไว้

พระปริตรนั้นได้แก่อะไรบ้างคือ ขันธปริตร๑ สุวัตถิปริตร๑ โมรปริตร๑ ธชัคคปริตร๑ อาฏานาฏิยปริตร๑ ถ้าผู้อยู่ในอากาศ หรือในท่ามกลางมหาสมุทร หรืออยู่ในท่ามกลางภูเขา ไม่พ้นจากอํานาจความตายแล้ว พระปริตรนั้นก็ผิดไป ถ้าพ้นจากความตายด้วยพระปริตร คําว่า ที่ความตายไม่ครอบงําไม่มีนั้นก็ผิดไป ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ ยุ่งยากมากขอพระผู้เป็นเจ้าจงแก้ไขให้ง่ายเถิด

พระนาคเสนจึงตอบว่า ขอถวายพระพร สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสไว้อย่างนั้นจริง และได้ทรงแสดงพระปริตรไว้เป็นอันมากจริง พระปริตรนั้นย่อมป้องกันได้เฉพาะผู้ที่ยังไม่หมดอายุขัย ทั้งไม่มีบุพพกรรมมาตัดรอนเท่านั้น ส่วนผู้ที่หมดอายุขัยแล้ว ไม่สามารถที่จะกระทําอย่างใดที่จะให้มีอายุสืบต่อไปได้

ขอถวายพระพร ต้นไม้ที่ตายแล้ว แห้งผุแล้ว ไม่มียางแล้ว มีเปลือกกระพี้ร่วงไปหมดแล้ว ถึงจะตักน้ำมารดวันละพันโอ่งก็ตาม ต้นไม้แห้งนั้นก็ไม่กลับสดเขียวขึ้นได้อีกฉันใด ผู้ที่หมดอายุขัยแล้ว จะทําให้มีอายุด้วยยาหรือด้วยพระปริตรก็ไม่ได้ฉันนั้น

ยาทั้งสิ้นในแผ่นดินนี้ ไม่มีประโยชน์แก่ผู้ที่หมดอายุขัยแล้ว มีประโยชน์แก่ผู้มีอายุขัยยังเหลืออยู่เท่านั้น พระปริตรทั้งหลายก็รักษาคุ้มครองอยู่แต่ผู้ยังไม่ถึงที่ตาย ผู้ไม่มีบุพพกรรมตามทันเท่านั้น สมเด็จพระทรงธรรม์ได้ทรงแสดงพระปริตรไว้เพื่อผู้มีอายุขัยยังเหลืออยู่ ทั้งไม่มีบุพพกรรมเท่านั้น
ชาวนาเมื่อข้าวแก่แล้วก็กั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าไปในนา ส่วนข้าวกล้าที่ยังไม่แก่ ก็งอกงามขึ้นด้วยน้ำที่มีอยู่ฉันใด ยากับพระปริตรก็มีไว้สําหรับผู้ยังมีอายุขัยเหลืออยู่ฉันนั้น

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าผู้หมดอายุขัยแล้วย่อมตายไปผู้ยังไม่หมดอายุขัยก็ยังมีชีวิตอยู่เป็นธรรมดาพระปริตรกับยาก็ไม่มีประโยชน์อันใด

ขอถวายพระพร ผู้ที่หายจากโรคด้วยยา มหาบพิตรเคยเห็นหรือไม่
เคยเห็นหลายร้อยราย พระผู้เป็นเจ้า

ถ้าอย่างนั้น คําที่มหาบพิตรว่า ยากับพระปริตรไม่มีประโยชน์ก็ผิดไป
ข้าแต่พระนาคเสน โรคย่อมหายไปด้วยการกระทําของหมอทั้งหลายมีปรากฎอยู่

ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับเสียงของผู้สวดพระปริตรจนลิ้นแห้งอ่อนใจ คอแหบ แล้วหายจากความเจ็บไข้ทั้งปวง หายจัญไรทั้งปวง และเคยเห็นหรือไม่ว่า ผู้ถูกงูกัดแล้วหายด้วยอํานาจมนต์
เคยได้สดับผู้เป็นเจ้า เพราะในโลกได้เคยมีอย่างนี้ จนกระทั่งทุกวันนี้
ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น คําที่มหาบพิตรว่า พระปริตรหรือมนต์ไม่มีประโยชน์นั้นก็ผิดไปงูที่จะกัดผู้มีพระปริตร ก็อ้าปากไม่ขึ้น พวกโจรที่คิดร้ายก็มีอาวุธหลุดมือ ช้างที่ดุร้ายพอเข้าใกล้ก็หายดุ ไฟที่กําลังลุกก็ดับ ยาพิษที่แรงกล้าก็หายไปด้วยยาแก้ ผู้คิดจะฆ่าพอมาถึงก็ยอมตัวเป็นทาส บ่วงหรือแร้วที่เขาดักไว้ก็ไม่ลั่น

มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่าพญานกยูงได้เจริญพระปริตรทุกวัน นายพรานไม่อาจจับได้ตลอดถึง ๗ ปี ในวันที่ไม่ได้เจริญพระปริตร จึงไปติดบ่วงของนายพราน
เคยได้สดับ พระผู้เป็นเจ้า เพราะเรื่องนี้รู้กันอยู่ทั้งโลกมนุษย์และสวรรค์

มหาบพิตรเคยได้ทรงสดับหรือไม่ว่า มีทานพคือยักษ์ตนหนึ่ง เมื่อจะรักษาภรรยาไว้ให้ดี ก็เอาภรรยาใส่ลงในผอบใหญ่ แล้วกลืนเข้าไว้ในท้อง คราวนั้น มีวิชาธรตนหนึ่งเข้าไปในปากทานพนั้น ไปร่วมรักกับภรรยาของทานพ เมื่อทานพเปิดผอบขึ้น วิชาธรก็หนีไปตามสบาย
เคยได้สดับ พระผู้เป็นเจ้า เพราะเรื่องนี้มีผู้รู้กันอยู่ในโลก
ขอถวายพระพร วิชาธรนั้น พ้นจากการถูกจับไปได้ด้วยกําลังพระปริตรไม่ใช่หรือ
ใช่พระผู้เป็นเจ้า

ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรเคยได้ทรงสดับกําลังพระปริตรมีอยู่หรือไม่ว่า มีวิชาธรอีกตนหนึ่ง ลอบไปทําชู้กับพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี เวลาจะถูกจับก็ทําตัวหายวับไปด้วยกําลังมนต์
เคยได้สดับ พระผู้เป็นเจ้า
วิชาธรนั้น พ้นจากการถูกจ้บด้วยกําลังพระปริตรไม่ใช่หรือ
ใช่พระผู้เป็นเจ้า
ถ้าอย่างนั้น กําลังพระปริตรก็มีอยู่

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระปริตรรักษาได้ทุกคนไปหรือ
ไม่ทุกคนไป บางพวกก็รักษาได้ บางพวกก็รักษาไม่ได้
ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น พระปริตรก็รักษาไม่ได้หมด

ขอถวายพระพร โภชนาหารรักษาชีวิตไว้ได้หมดหรือ
ได้ก็มี ไม่ได้ก็มี ผู้เป็นเจ้า
เพราะเหตุไร มหาบพิตร
เพราะเหตุว่าพวกที่กินมากเกินไปถึง กับเสียดท้องแน่นท้องตายไปก็มี

ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นโภชนาหารก็รักษาชีวิตของบุคคลทั้งปวงไม่ได้หมด
ข้าแต่พระนาคเสน โภชนาหารทําให้สิ้นชีวิตได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ กินมากเกินไป๑ ไฟย่อยอาหารอ่อนเกินไป ๑ โภชนาหารย่อมทรงไว้ซึ่งอายุ แต่นําไปเสียซึ่งชีวิตด้วยเหตุอย่างที่ว่านี้ก็มี
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระปริตรรักษาบุคคลได้เป็นบางจําพวก ไม่ได้เป็นบางจําพวก
พระปริตรก็รักษาไม่ได้ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือมีบุพพกรรมกางกั้น๑ มีกิเลสกางกั้น๑ ไม่เชื่อถือ๑ ผู้มีเหตุ ๓ ประการนี้ประการใดประการหนึ่งก็ตาม พระปริตรก็รักษาไม่ได้

ขอถวายพระพร ธรรมดามารดาย่อมเลี้ยงบุตรผู้อยู่ในครรภ์ของตน เมื่อบุตรเกิดมาแล้ว เจ็บไข้ไม่สบาย มารดาก็เอาใจใส่รักษาเช็ดล้าง ซึ่งอุจจาระปัสสาวะ นํ้ามูกน้ำลายด้วยความไม่รังเกียจ แล้วหาของหอมมาลูบไล้ให้
ต่อมาภายหลังเมื่อบุตรนั้นไปด่าว่าฆ่าตีบุตรของผู้อื่น เมื่อเขาจับได้นําไปหาเจ้านายให้ลงโทษเฆี่ยนตี ส่วนผู้เป็นมารดาถูกจับไปลงโทษเฆี่ยนตีด้วยหรือไม่
ไม่พระผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระปริตรก็ไม่รักษาผู้ได้ทําความผิดไว้ ป้องกันผู้มีบุพพกรรมไม่ได้ ขอถวายพระพร
ถูกแล้วพระนาคเสนปัญหานี้พระผู้เป็นเจ้าแก้ดีแล้ว



ปัญหาที่ ๕

ถามเรื่องอันตรายแห่งลาภของพระพุทธเจ้า


ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระศาสดาจารย์มีปกติได้ จีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ที่เก็บเภสัช แต่กล่าวไว้อีกว่าพระตถาคตเจ้าเข้าไปบิณฑบาตที่บ้านพราหมณ์อันมีนามว่า ปัญจสาละ บิณฑบาตไม่ได้อะไรเลย ได้เสด็จกลับออกมาด้วยบาตรเปล่า ๆ
ถ้าถ้อยคําว่า พระตถาคตเจ้ามีปกติได้จีวรเป็นต้นนั้นถูก คําที่ว่าเข้าไปบิณฑบาตที่บ้านพราหมณ์นั้น ไม่ได้อะไรเลยนั้นก็ผิด ถ้าคำว่า เข้าไปบิณฑบาตที่บ้านพราหมณ์นั้น ไม่ได้อะไรเลยนั้นถูก คำที่ว่า พระตถาคตเจ้ามีปกติได้จีวรเป็นต้นนั้นก็ผิด ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิโปรดแสดงให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร ข้อที่ว่า พระตถาคตเจ้ามีปกติได้จีวรเป็นต้นนั้นก็ถูก ข้อที่ว่า เสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่บ้านพราหมณ์ไม่ได้อะไรเลยนั้นก็ถูก การที่ไม่ได้อะไรเลยนั้น เป็นเพราะการกระทําของ "มาร" ผู้ลามกต่างหาก

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น กุศลที่พระพุทธองค์ได้ทรงกระทํามานับกัปไม่ได้นั้น จะไม่สําเร็จประโยชน์หรือ
ขอถวายพระพร กุศลที่พระพุทธองค์ได้ทรงบําเพ็ญมานั้น เป็นของที่ให้สําเร็จประโยชน์ แต่กุศลนั้นอันมารผู้ใจบาปปิดไว้เสียด้วยกําลังอกุศลจิตอันแรงกล้าของตน

ข้าแต่พระนาคเสนถ้าอย่างนั้นก็จะมีคำกล่าวเข้ามาได้ ๒ ประการ คือ
ประการหนึ่งว่า อกุศลมีกำลังมากกว่ากุศล
อีกประการหนึ่งว่า มารมีกำลังมากกว่าพระพุทธเจ้า
ข้างปลายไม้หนักกว่าข้างต้น ผู้ที่ลามกมีกำลังกว่าผู้สมบูรณ์ด้วยความดี จะมีได้เพราะเหตุใด
ขอถวายพระพร ไม่ใช่อกุศลมีกำลังมากกว่ากุศลเลย ไม่ใช่มารมีกำลังมากกว่าพระพุทธเจ้าเลย

แต่มีเหตุอยู่อย่างหนึ่งซึ่งเป็นของควรรู้ คือ มีบุรุษคนหนึ่ง นําเอาน้ำผึ้ง น้ำอ้อย ข้าวน้ำ อย่างใดอย่างหนึ่งมาถวายพระเจ้าจักรพรรดิ นายประตูบอกว่า ไม่ใช่เวลาเฝ้าพระราชา พวกท่านจงขับคนนี้ออกไปเสียโดยเร็ว อย่าให้พระราชาทรงลงโทษบุรุษนั้นกลัวพระราชอาญา จึงรีบถือเอาของเหล่านั้นกลับไปโดยเร็ว

ขอถามมหาบพิตรว่า จะว่าพระเจ้าจักรพรรดิมีกําลังน้อยกว่านายประตู ด้วยเหตุเพียงไม่ให้นําของเข้าไปถวาย ทั้งไม่ให้ผู้อื่นได้รับของนั้นด้วยหรืออย่างไร
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่นายประตูนั้นมีกําลังมากกว่า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ไม่ใช่ว่ามารที่เข้าดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีที่บ้านปัญจสาลคามด้วยความริษยานั้น จะมีกําลังมากกว่า พวกเทวดาอื่นอีกตั้งหลายแสนกล่าวกันว่า พวกเราจักถือเอาทิพยโอชาอันไม่รู้จักตายเข้าไปโปรยลงในพระกายของพระพุทธเจ้า แล้วก็พากันไปยืนประนมมือเฝ้าอยู่

พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
ข้าแต่พระนาคเสน ข้อนี้จงยกไว้ อันปัจจัย ๔ เป็นของพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดในโลกนี้ได้โดยง่าย พระพุทธเจ้าย่อมได้เสวยพระกระยาหารตามพระพุทธประสงค์ พระพุทธเจ้าผู้ที่เทวดาทั้งหลายทูลอ้อนวอนแล้วย่อมเสวยปัจจัย ๔ แต่ว่าความประสงค์อันใดของมารมีอยู่ ความประสงค์อันนั้นก็สําเร็จด้วยเหตุที่ไม่ให้พระพุทธเจ้าได้อาหารบิณฑบาต เป็นอันว่า มารได้ทําอันตรายแก่โภชนาหารของพระพุทธเจ้า โยมยังสงสัยในข้อนี้มาก เพราะสมเด็จพระบรมโลกนาถผู้ล้ำเลิศในโลก ผู้ได้สะสมบุญกุศลไว้เต็มที่แล้วผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เกลียด แต่มารยังทําอันตรายแก่ลาภอันเล็กน้อยได้

อันตรายแห่งลาภ ๔ ประการ


ขอถวายพระพรอันตรายแห่งลาภมีอยู่ ๔ ประการ คือ อทิฏฐันตราย๑ อุทิสกตันตราย๑ อุปักขตันตราย๑ ปริโภคันตราย๑

อทิฏฐันตราย นั้นคืออย่างไรคือมีผู้ใดผู้หนึ่งกระทําการขัดขวางซึ่งลาภ อันบุคคลตกแต่งไว้โดยเฉพาะเจาะจง และไม่ทันได้เห็นผู้จะรับด้วยการกล่าวว่า ประโยชน์อะไรในการให้แก่ผู้อื่น ดังนี้ อันนี้ชื่อว่า อทิฏฐันตราย
อุทิสกตันตราย นั้นได้แก่อะไรได้แก่การขัดขวางซึ่งโภชนะ อันบุคคลจัดไว้เฉพาะเจาะจงผู้รับ
อุปักขตันตราย นั้นได้แก่สิ่งใดได้แก่การขัดขวางซึ่งลาภ อันผู้ใดผู้หนึ่งตกแต่งไว้แล้วแต่ผู้รับยังไม่ได้รับ
ปริโภคันตราย นั้นเป็นประการใด คือการขัดขวางลาภในขณะที่บริโภคอยู่

มหาบพิตร มารผู้ลามกได้เข้าสิงใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีในบ้านปัญจสาลคามไม่ให้ใส่บาตพระพุทธเจ้านั้น เป็นการขัดลาภที่บุคคลยังไม่ได้ตกแต่งไว้ และไม่ได้กระทําไว้เฉพาะว่าจะถวาย หรือให้แก่ผู้นั้นผู้นี้ ทั้งยังไม่ได้เห็นผู้รับด้วย ไม่เข้าในลักษณะ ๔ นั้น
การที่มารขัดขวางลาภคราวนั้น ไม่ใช่ขัดขวางเฉพาะลาภของพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น แม้พวกนิครนถ์ทั้งหลาย ก็ไม่ได้โภชนาหารเลยในวันนั้น
อาตมภาพไม่เล็งเห็นผู้จะขัดขวางลาภ ๓ ประการคือ ลาภที่จะจัดไว้เฉพาะ๑ จัดตั้งไว้แล้ว๑ กําลังเสวยอยู่๑ ของพระพุทธเจ้าได้ ถ้าผู้ใดขัดขวางลาภ ๓ ประการนี้ของพระพุทธเจ้า ด้วยความริษยาเกลียดชัง ศีรษะของผู้นั้น จะต้องแตกร้อยเสี่ยงพันเสี่ยงเป็นแน่แท้

อนาวรณิยฐาน ๔ ประการ


ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้ามีของอยู่ ๔ ประการ ที่ไม่มีใครหวงห้ามกั้นกางได้ เรียกว่า อนาวรณิยฐาน ของ ๔ ประการนั้นคือ อะไรบ้าง
คือลาภที่บุคคลตั้งใจจัดไว้เฉพาะพระพุทธองค์๑
พระรัศมีด้านและวาที่ประจําพระองค์๑
พระสัพพัญญุตญาณ๑
พระชนม์ชีพ๑
ของ ๔ ประการนี้ ไม่มีใครๆในโลกจะทําอันตรายได้ ของ ๔ ประการนี้มีรสเป็นอันเดียวกัน คือเป็นของที่แน่นอน คงที่ ไม่มีใครทําให้แปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้

การที่มารผู้ลามกเข้าสิงใจของพวกพราหมณ์และคฤหบดี ในปัญจสาลคามคราวนั้น ด้วยการลอบเข้าสิงใจ เหมือนกับหญิงที่มีสามีลอบคบบุรุษอื่นฉะนั้น
ขอถวายพระพร ถ้าหญิงคบหาบุรุษต่อหน้าสามี เขาจักได้รับความสวัสดีหรือไม่
ไม่ได้รับเลย พระผู้เป็นเจ้า ถ้าสามีได้เห็นก็จะต้องฆ่าตี จองจํา หรือปลดให้เป็นทาสี อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่

ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือมารลอบเข้าสิงใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีในบ้านปัญจสาลคาม ถ้าได้กระทําอันตรายแก่ลาภของพระพุทธเจ้า ที่เขาทําไว้ด้วยตั้งใจถวายพระพุทธเจ้าแล้ว ยกเข้าไปตั้งไว้แล้วหรือพระพุทธเจ้ากําลังเสวยอยู่ มารนั้นจะต้องแหลกเป็นผงไปเหมือนขี้เถ้า หรือไม่อย่างนั้นศีรษะของศีรษะของมารนั้น ก็จะต้องแตกออกไปร้อยเสี่ยงพันเสี่ยง
อีกประการหนึ่ง เหมือนกับพวกโจรลอบทําร้ายคนเดินทาง ในปลายแดนพระราชอาณาเขต พระราชาได้พบเห็นก็จะต้องให้ผ่าศีรษะของโจรนั้น ด้วยขวานให้แตกเป็นร้อยเสี่ยงพันเสี่ยงฉะนั้น ขอถวายพระพร
สาธุ... พระผู้เป็นเจ้า ปัญหานี้ลึกซึ้งยากยิ่งนัก ยากที่บุคคลอื่นจะแก้ไขได้ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้แจ้งกระจ่างแล้ว โยมจะขอรับเอาไว้ในกาลบัดนี้




พระเจ้ากุสราช

(ตอนที่ ๓) พระราชาเสด็จตามพระมเหสี


ฝ่ายพระเจ้ากุสราชแม้จะได้รับบํารุงบําเรอจากนางสนมทั้งหลาย ก็ไม่อาจคลายความเศร้าโศกอาลัยได้ พระองค์จึงกราบทูลพระราชมารดาไปสาคลนคร เพื่อติดตามหาพระนางประภาวดีเอกอัครมเหสีต่อไป
เมื่อพระราชาจะเสด็จออกจากพระนคร พระองค์ทรงเหน็บพระแสงอาวุธ๕อย่าง และทรงบรรจุกหาปณะพันหนึ่งลงในย่าม พร้อมด้วยภาชนะพระกระยาหาร มือถือพิณทิพย์ไปแต่ลําพังพระองค์ พระโพธิสัตว์ ทรงมีพระกําลังเรี่ยวแรงมาก ทรงดําเนินไปสิ้นระยะทาง๑๐๐โยชน์ ก็ถึงเมืองสาคละในเวลาเย็น

เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปแล้วเท่านั้นด้วยเดชานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์ พระนางประภาวดีจะทรงบรรทมอยู่บนพระที่มิได้ต้องเสด็จลงมาบรรทมเหนือภาคพื้น
ในขณะที่พระองค์ทรงดําเนินมาตามถนน มีหญิงคนหนึ่งเชื้อเชิญให้ประทับในบ้านของตน พร้อมได้จัดที่บรรทมและพระกระยาหารเสวย ครั้นเสวยเสร็จแล้วได้พระราชทานทรัพย์พันหนึ่ง กับภาชนะทองคําแก่หญิงคนนั้น แล้วฝากพระแสงเบญจาวุธไว้ที่บ้านนั้น
พระองค์ทรงถือเอาพิณเสด็จไปยังโรงช้าง ขออนุญาตจากคนเลี้ยงช้างแล้วบรรทมระงับความเหน็ดเหนื่อยแล้ว จึงทรงลุกขึ้นดีดพิณขับร้องประสานเสียง ด้วยทรงมุ่งหวังจะให้ชาวเมืองสาคละได้ยิน
พอพระนางประภาวดีได้ทรงสดับเสียงขับร้อง ก็ทรงทราบว่าพระเจ้ากุสราชคงจะเสด็จตามเรามาอย่างแน่นอน

พระโพธิสัตว์ทรงปลอมเป็นนายช่าง

เมื่อพระเจ้ากุสราชทรงเห็นว่า อยู่ที่โรงช้างไม่อาจจะได้เห็นพระนางประภาวดี พระองค์จึงเสด็จกลับไปที่เรือนหญิงนั้นอีก ทรงฝากพิณไว้แล้วได้เสด็จไปขอเป็นลูกมือช่างปั้นภาชนะต่างๆ ถวายหลวง พระองค์ได้ทรงปั้นภาชนะที่เขาจะทําไปถวายพระนางประภาวดีนั้น ทําให้มีลวดลายต่างๆ
เมื่อทรงปั้นและเผาเสร็จแล้วให้พวกช่างนําไปถวายพระเจ้ามัทราช พระบาทท้าวเธอทรงแปลกพระหฤทัย จึงตรัสถามจนได้ทราบความจริงแล้ว ได้พระราชทานทรัพย์พันหนึ่งเป็นรางวัลพร้อมกับรับสั่งอีกว่า
คน ๆ นี้ไม่ควรเป็นศิษย์ของเจ้า ที่ถูกต้องเป็นอาจารย์ของเจ้า เจ้าจงศึกษากับเขาเถิด นับตั้งแต่นี้ไปจงให้เขาเป็นคนทําเครื่องปั้น ให้เป็นเครื่องเล่นสําหรับธิดาของเราทุก ๆ คน

ช่างปั้นนั้นก็รับเอาพระราชทรัพย์กลับมาถวายพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ก็ปั้นเครื่องเล่นต่างๆ ส่งเข้าไปถวายพระราชธิดาทั้ง ๗ พระองค์ของพระเจ้ามัทราช เฉพาะที่จะถวายพระนางประภาวดีนั้นพระองค์ได้ทรงปั้นให้วิจิตรบรรจงยิ่งกว่าองค์อื่นๆ
พอพระนางได้ทอดพระเนตรเห็นพระรูปของพระราชสวามี และรูปนางขุชชาอยู่ในเครื่องปั้นก็ทรงทราบว่า เป็นของพระเจ้ากุสราชกระทําจึงทรงโยนของนั้นทิ้ง ตรัสว่า ใครอยากได้ก็จงเอาไป
ฝ่ายพระเจ้าน้องทั้งหลายทรงยิ้มแล้วกราบทูลว่า ขอพระพี่นางจงทรงรับไว้เถิด เพราะของนี้พวกนายช่างได้ทําขึ้นเฉพาะพระพี่นางเท่านั้น พระนางประภาวดีก็ทรงนิ่งเสียไม่ตรัสบอกว่าเป็นของพระเจ้ากุสราชทรงกระทํา เพราะไม่ต้องการที่จะให้ใครทราบว่า พระเจ้ากุสราชเสด็จตามมา

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เราอยู่ในที่นี้ไม่อาจได้เห็นพระนาง จึงไปขอเป็นลูกมือของนายช่างจักสาน ออกจากนายช่างจักสานไปเป็นลูกมือของนายช่างดอกไม้
ในเวลาที่พระองค์อยู่ในสํานักทั้งสองนี้ได้ทําเครื่องจักสานและดอกไม้ต่างๆ เข้าไปถวาย เหตุการณ์ก็เป็นเช่นเดิม โดยเฉพาะพระนางประภาวดี ได้โยนทิ้งเสียทุกคราวพระเจ้ากุสราชจึงเสด็จไปขอเป็นลูกมืออยู่กับเจ้าหน้าที่ห้องเครื่องต้น ซึ่งเป็นผู้ทําเครื่องเสวยถวายพระเจ้ามัทราช
วันหนึ่งพระโพธิสัตว์ได้ปิ้งเนื้อถวายพระเจ้ามัทราช พระองค์เสวยก็ทรงรู้สึกว่ามีโอชารสแปลกกว่าเนื้อปิ้งที่เคยเสวยแล้ว จึงตรัสสั่งให้เป็นพนักงานทําพระกระยาหารถวายพระราชธิดาของพระองค์

นับแต่วันนั้นไปพระโพธิสัตว์ได้ทรงทําเครื่องเสวยเสร็จแล้ว ทรงหาบไปถวายพระราชธิดาเอง พระนางประภาวดีได้ทอดพระเนตรเห็นก็ทรงดําริว่า พระเจ้ากุสราชมาทํางานอย่างทาสกรรมกร ไม่สมควรแก่พระองค์เลย ถ้าเราจะปล่อยให้เสด็จมาอย่างนี้ เขาก็จะเข้าใจว่าเรารักเขา จําเราจะด่าเสียให้เจ็บใจ เพื่อไม่ให้มาอีกต่อไป
พระนางจึงไปแอบอยู่ที่บานประตูข้างหนึ่งแลัวตรัสว่าท่านต้องมาแบกหามให้ได้รับความลําบาก ทั้งกลางวันและกลางคืนเช่นนี้ ด้วยมีความประสงค์ตัวเรา แต่เราขอบอกว่าเชิญท่านกลับไปบ้านเมืองเสียจะดีกว่า จงไปหานางยักษิณีซึ่งมีหน้าคล้ายขนมเบื้องไปเป็นมเหสีเถิด เราไม่ต้องการที่จะอยู่กับท่านอีกแล้ว

พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับอย่างนี้แล้วทรงดีพระทัยจึงตรัสตอบว่าเราติดใจในรูปโฉมของเจ้ามาก การที่เราต้องทิ้งบ้านเมืองเพราะอยากเห็นหน้าเจ้า น้องประภาวดี นอกจากตัวเจ้าแล้วเราไม่ต้องการสิ่งใดอีก
พระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้วพระนางประภาวดีจึงทรงปิดประตูเสีย พระองค์จึงทรงหามเครื่องเสวยไปถวายพระราชธิดาองค์อื่นๆ ตามลําดับ สําหรับเครื่องเสวยของพระนาง ทรงโปรดให้นางขุชชาบริโภค และได้เสวยส่วนของนางขุชชาแทน แล้วได้ทรงซ่อนพระองค์อยู่ภายในห้องบรรทม ไม่ให้พระบรมโพธิสัตว์ได้เห็นพระองค์อีก

ฝ่ายพระเจ้ากุสราชปรารถนาจะทดลองดูว่า พระนางจะมีความรักต่อพระองค์บ้างหรือไม่ จึงทรงหาบเครื่องเสวยเปล่าผ่านประตูพระตําหนักของพระนางแล้ว ทรงแกล้งล้มสลบอยู่ตรงนั้น พระนางได้ยินเสียงดังโครมครามจึงเปิดประตูทรงเห็นพระโพธิสัตว์ล้มลงสลบ ก็ทรงสังเวชพระทัยว่า พระเจ้ากุสราชนี้ช่างมาลําบากเพราะตัวเราแท้ ๆ

พระนางจึงรีบเสด็จออกไปก้มลงดูพระพักตร์เพื่อจะตรวจลมหายใจที่พระนาสิก (จมูก) ของพระเจ้ากุสราช พอได้ทีพระโพธิสัตว์ ก็ถ่มพระเขฬะ(น้ำลาย)รดพระพักตร์พระนางเจ้า พระนางทรงพิโรธ ด่าว่าด้วยถ้อยคําหยาบคาย
แล้วเสด็จเข้าสู่พระตําหนักประทับยืนตรัสอยู่ข้างประตูว่า
ดูก่อนพระเจ้ากุสราช คนใดที่อยากได้คนที่ไม่อยากได้ตัว คนนั้นย่อมไม่มีความเจริญ ก็ฉันไม่รักท่าน ท่านจะให้ฉันรักท่านมาอยากได้คนที่เขาไม่รักตัวเช่นนี้ ท่านก็ไม่มีความเจริญ

พระโพธิสัตว์เจ้าตรัสตอบว่า
นี่แน่ะประภาวดี คนใดได้คนซึ่งเขาจะรักตัวก็ตาม ไม่รักตัวก็ตาม มาเป็นที่รักสมประสงค์แล้ว ฉันเรียกการได้นั้นว่าเป็นการดี ผิไม่ได้เป็นการไม่ดี
ทั้งสองได้ตรัสโต้ตอบกันอีกหลายคําแต่รวบรัดตัดตอนว่าไม่สามารถตกลงกันได้พระนางจึงปิดประตูเข้าตําหนักไป พระโพธิสัตว์จึงทรงยกหาบเครื่องเสวยกลับจากพระตําหนักทันที ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่ได้ทรงพบเห็นพระนางอีก

เมื่อพระบรมกษัตริย์เจ้าทรงทําหน้าที่พนักงานเครื่องต้นอยู่นั้นทรงลําบากยิ่งนัก พอเสวยเช้าแล้วก็ต้องทรงผ่าฟืน ทรงล้างภาชนะน้อยใหญ่เสร็จแล้วเสด็จไปตักน้ำ ถึงยามบรรทมก็บรรทมอยู่ข้างรางน้ำ
พอตื่นบรรทมขึ้นก็ทรงทําเครื่องเสวย แล้วหาบไปถวายพระราชธิดาทั้งหลาย การที่พระองค์ต้องทรงลําบากอย่างยิ่งนี้ ก็เพราะอาศัยรักใคร่ยินดีในกามารมณ์เป็นต้นเหตุ

นางขุชชารับเป็นแม่สื่อ


อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ทอดพระเนตรเห็นนางขุชชามาที่ข้างห้องเครื่อง จึงตรัส ขอร้องให้นางค่อมช่วยทําให้พระนางประภาวดีมีความกรุณา อย่างน้อยแค่ให้แลดู หรือยิ้มแย้มแจ่มใสต่อพระองค์บ้าง เมื่อกลับไปกรุงกุสาวดีแล้วจะมอบรางวัลให้อย่างเต็มที่
นางขุชชาก็ทูลรับคําว่า อีกสองสามวันหม่อมฉันจะทําพระนางประภาวดีให้อยู่ในอํานาจของพระองค์ กราบทูลดังนี้แล้วก็กลับเข้าไปในตําหนักพระนาง ทําทีเข้าไปปัดกวาดจัดตั่งเป็นที่ประทับแล้วกราบทูลว่าจะสางพระเกศาถวาย

เมื่อมีโอกาสจึงทูลขึ้นว่า
พระราชบุตรีนี้ช่างไม่ทรงระลึกถึงครั้งยังอยู่กับพระเจ้ากุสราช บัดนี้พระราชสวามีได้เสด็จมาเป็นคนรับใช้ การที่พระองค์ต้องทรงทนลําบากเช่นนี้ เป็นเพราะทรงอาลัยในพระแม่เจ้าผู้เดียวเท่านั้น แต่พระแม่เจ้าช่างไม่มีเยื่อใย ทําเหมือนอย่างเป็นคนอื่นคนไกล หม่อมฉันเห็นว่าไม่เป็นการสมควรยิ่งนัก

ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้วก็หยุดวาจานิ่งฟัง ว่าพระนางเจ้าจะตรัสประการใด พระนางประภาวดีได้ทรงสดับถ้อยคําของพี่เลี้ยงดังนี้แล้วก็ทรงกริ้วว่า
พระพี่เลี้ยงแนะนําให้พระนางทรงโน้มพระทัยต่อพระราชสวามี ผู้มีพระรูปพระโฉมอันน่าเกลียด
พระพี่เลี้ยงก็ทําเป็นโกรธผลักพระนางเข้าไปในห้องแล้วปิดประตูเสีย พระนางขัดพระทัยขึ้นมาจึงด่าออกไป แต่นางขุชชาก็ไม่เปิดประตูถวาย แต่กลับทูลสรรเสริญพระเจ้ากุสราชว่า

อันความสวยงามของพระแม่เจ้าจะเอาไปทําสิ่งใดได้ อย่าเทียบพระเจ้ากุสราชด้วยพระรูปพระโฉม พระองค์นั้นสมบูรณ์ด้วยพระราชอิสริยยศ พระแม่เจ้าจงทรงรักพระองค์ด้วยพระคุณสมบัติของพระองค์จึงจะเป็นการดี พระเจ้ากุสราชนั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยพระราชทรัพย์ ทรงพระกําลังกายกําลังใจเข้มแข็ง มีพระราชอาณาจักรอันกว้างใหญ่ประเสริฐกว่ากษัตริย์ทั้งหลาย มีพระสุรเสียงก้องกังวานเหมือนกับเสียงราชสีห์ มีพระสุรเสียงอันไพเราะ เป็นผู้ทรงชํานาญในศิลปะศาสตร์ตั้ง๑๐๐อย่าง โดยไม่ได้ศึกษามาจากผู้ใด ขอพระแม่เจ้าทรงเทียบพระรูปสมบัติของพระแม่เจ้า กับคุณสมบัติของพระเจ้ากุสราชจึงจะถูกต้อง แล้วทรงรักใคร่ในพระเจ้ากุสราชด้วยพระคุณสมบัติจึงจะเป็นการดี

เมื่อพระนางประภาวดีได้ทรงสดับถ้อยดังนี้แล้ว จึงทรงขู่ตวาดออกมาบ้าง ฝ่ายนางขุชชาก็แกล้งเอ็ดขึ้นว่า จะไปกราบทูล พระราชบิดาให้ทรงทราบเรื่องนี้ให้จงได้ พระนางเกรงว่าจะมีผู้รู้เรื่องเข้าจึงยอมแพ้นางขุชชา
ตั้งแต่นั้นมาพระบรมโพธิสัตว์ก็ไม่ได้ทรงเห็นพระนางประภาวดีเลย พระองค์ทรงลำบากยากแค้นอยู่ถึง ๗ เดือนด้วยการเสวยและการบรรทม จนพระบรมโพธิสัตว์หมดอาลัยในพระอัครมเหสี จึงทรงพระดำริที่จะกลับพระนครของพระองค์ ดังนี้

◄ll กลับสู่สารบัญ

<โปรดติดตามอ่านต่อตอนไป>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 7/7/09 at 16:44 Reply With Quote



Update 7 ก.ค. 52

ตอนที่ ๒๒

ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องทรงบําเพ็ญประโยชน์แก่สรรพสัตว์


....พระเจ้ามิลินท์มีพระราชดํารัสถามว่า "ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า สมเด็จพระบรมศาสดามีแต่กําจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายออกไปทรงเพิ่มให้แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เท่านั้น ดังนี้

แล้วกล่าวไว้อีกว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมปริยาย อันเปรียบด้วยกองเพลิงให้ภิกษุทั้งหลายฟัง จิตของภิกษุ ๖๐ รูป ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ภิกษุอีก ๖๐ รูป ก็ได้สึกไปส่วนภิกษุอีก ๖๐ รูป ก็อาเจียนเป็นโลหิตออกมา

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้ามีแต่กําจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย แล้วเพิ่มสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ คําว่า"เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมปริยายอันเปรียบด้วยกองเพลิงโลหิตร้อนๆก็พลุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูปนั้นก็ผิด"

ถ้าคําว่า "เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมปริยายอันเปรียบด้วยกองเพลิง โลหิตร้อน ๆ ก็พลุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูปนั้นถูก" คําว่า " พระพุทธเจ้าทรงกําจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย เพิ่มให้แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์นั้นก็ผิด"

ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิถอนได้ยากลึกมากได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว

พระนาคเสนถวายพระพรว่า
"มหาราชะ ข้อว่า พระพุทธเจ้าทรงกำจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แห่งสัตว์ทั้งหลายออกไปเสีย เพิ่มแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ก็ถูก
คําว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมปริยายอันเปรียบด้วยกองเพลิง โลหิตร้อนๆของภิกษุ ๖๐ รูปได้พลุ่งออกจากปากนั้นก็ถูก
แต่ว่าการที่โลหิตร้อนๆ พลุ่งออกจากปากของภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่ด้วยการกระทําของพระพุทธเจ้า เป็นด้วยการกระทําของภิกษุเหล่านั้นต่างหาก

"ข้าแต่พระนาคเสน การแก้อย่างนี้ไม่มีเหตุผลเพียงพอ ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงธรรมปริยาย อันเปรียบด้วยกองเพลิงหรือภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ฟัง โลหิตร้อนๆจะพลุ่งออกจากปากของภิกษุเหล่านั้นหรือ?"
"ขอถวายพระพร ไม่พลุ่ง ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติผิดได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เกิดความเร่าร้อนขึ้นในกาย โลหิตร้อน ๆ ก็ได้พลุ่งออกจากปากด้วยความเร่าร้อนนั้น"
"เป็นอันว่า พระตถาคตเจ้าได้ทรงกระทําให้ภิกษุเหล่านั้น อาเจียนเป็นโลหิตออกมา
ข้าแต่พระนาคเสน เปรียบเหมือนงูเลื้อยเข้าไปอยู่ในรูจอมปลวก มีบุรุษคนหนึ่งต้องการฝุ่นดิน จึงไปขุดจอมปลวกนําฝุ่นไป ดินก็ได้ไปถมรูจอมปลวก งูหายใจไม่ได้ก็ต้องตาย จะว่างูนั้นตายเพราะการกระทําของบุรุษนั้นได้หรือไม่?"
"ได้มหาบพิตร"

"ข้อนี้มีอุปมาฉันนั้นแหละพระนาคเสนก็เป็นอันว่า ภิกษุเหล่านั้นอาเจียนเป็นโลหิตร้อน ๆ ออกมาด้วยการกระทําของพระพุทธเจ้า"
"ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงธรรมไม่ได้ทรงแสดงด้วยความคิดยินดียินร้ายอย่างไร ทรงแสดงด้วยปราศจากความยินดียินร้าย เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงแสดงธรรม พวกใดปฏิบัติถูก พวกนั้นก็รู้ธรรม พวกใดปฏิบัติผิด พวกนั้นก็ตกไป

บุรุษผู้รักษาต้นมะม่วงหรือต้นหว้า ต้นมะซาง ที่กําลังมีผล ผลเหล่าใดที่มั่นคงดี ผลเหล่านั้นก็ไม่หล่น ส่วนผลเหล่าใดมีขั้วรากเน่า ผลเหล่านั้นก็หล่นไปฉันใด
สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็ทรงแสดงธรรมไปตามวิถีธรรม แต่เมื่อทรงแสดงธรรม พวกใดปฏิบัติถูก พวกนั้นก็รู้ธรรม พวกใดปฏิบัติผิด พวกนั้นก็ตกไปจากธรรม ฉันนั้น

อีกประการหนึ่งพวกชาวนาอยากจะหว่านข้าวจึงไถนา เมื่อไถนาไปหญ้าก็ตายตั้งพัน ๆ ฉันใด สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงธรรม เพื่อให้ผู้มีบารมีแก่กล้ารู้ธรรม เมื่อทรงแสดงธรรมอยู่พวกปฏิบัติถูกก็รู้ธรรม พวกปฏิบัติผิดก็ตายไป เหมือนกับหญ้าทั้งหลายฉันนั้น

อีกอย่างหนึ่งเมื่อพวกมนุษย์จะหีบอ้อยด้วยต้องการน้ำอ้อย ก็นําอ้อยเข้าเครื่องหีบ บุ้ง หนอน ตัวเล็ก ๆ ที่อยู่ในอ้อยนั้นก็ตายไปฉันใด
สมเด็จพระบรมโลกนาถก็บีบเวไนยสัตว์ผู้มีบารมีแก่กล้าด้วยเครื่องยนต์คือพระธรรมเพื่อให้รู้แจ้ง พวกปฏิบัติผิดก็ตายไปเหมือนตัวบุ้งตัวหนอนเล็ก ๆ ฉะนั้น"

"ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้นพระภิกษุทั้ง ๖๐ รูปนั้น ก็ตกไปด้วยพระธรรมเทศนานั้นอย่างนั้นหรือ"
"อย่างนั้น มหาบพิตร แต่อาตมภาพขอถามว่า ช่างถากไม้ย่อมถากไม้ให้เกลี้ยงให้ตรงใช่ไหม"
"ใช่แล้วพระผู้เป็นเจ้า"
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือสมเด็จพระพิชิตมารผู้รักษาบริษัท ไม่อาจให้ผู้ไม่ใช่พุทธเวไนยรู้ได้ ก็กําจัดพวกปฏิบัติผิดเสีย แล้วกระทําพวกปฏิบัติถูกให้รู้ธรรม พวกปฏิบัติผิดก็ตกไปด้วยการกระทําของตน

อนึ่ง โจรได้ถูกควักลูกตาเสียก็มี ถูกเสียบหลาวทั้งเป็นก็มี ถูกตัดมือตัดเท้า ตัดศีรษะก็มี เพราะการกระทําของเขาฉันใด พวกปฏิบัติผิดก็ตกไปจากพระพุทธศาสนาฉันนั้น
อีกอย่างหนึ่ง ต้นกล้วย ไม้ไผ่ แม่ม้าอัศดร ย่อมตายไปด้วยผลของตนเองฉันใด พวกปฏิบัติผิดก็ตกไปจากพระพุทธศาสนาฉันนั้น

พวกภิกษุ ๖๐ รูป ได้อาเจียนเป็นโลหิตร้อน ๆ ออกมานั้น ไม่ใช่เป็นด้วยการกระทําของพระพุทธเจ้า หรือของผู้อื่นเลย เป็นด้วยการกระทําของตนต่างหาก

อีกประการหนึ่งเหมือนดังเช่นบุรุษคนหนึ่งให้ยาอมฤตแก่คนทั้งปวง คนทั้งปวงนั้นได้ดื่มยาอมฤตแล้ว ก็หายโรคมีอายุยืนหมดจัญไร แต่อีกพวกหนึ่งหายโรคมีอายุยืน อีกพวกหนึ่งตายเพราะการทําไม่ดีของตน ขอถามว่าบุรุษผู้ให้ยาอมฤตนั้น จะได้บาปอย่างไรหรือไม่"
"ไม่ได้บาปอะไรเลย ผู้เป็นเจ้า"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระตถาคตเจ้าย่อมทรงประทานธรรมอันไม่รู้จักตายให้แก่เทพยดามนุษย์ในหมื่นโลกธาตุ พวกใดได้อบรมวาสนาบารมีมาแล้วพวกนั้นก็รู้ธรรม พวกใดไม่สมควรจะรู้ธรรม พวกนั้นก็ตกไปด้วยยาอมฤต คือพระธรรม พวกฟังอมตธรรมแล้วตกไปจากความเป็นสมณะนั้นเปรียบเหมือนพวกกินยาอมฤตแล้วตายไปฉะนั้น
ธรรมดาโภชนะย่อมรักษาชีวิตสัตว์ทั้งปวงไว้ แต่บางคนกินแล้วก็เสียดท้องตาย ผู้ที่ให้โภชนะนั้นก็ไม่ได้บาปอะไร ขอถวายพระพร"
"ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหาข้อนี้ โยมขอรับทราบไว้ว่าถูกต้องดีแล้ว"




ปัญหาที่๗

ถามถึงธรรมอันประเสริฐสุด


"ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พระธรรมเป็นของประเสริฐสุด ทั้งในโลกนี้และโลกอื่น
แต่ตรัสไว้อีกว่า คฤหัสถ์ถึงความเป็นพระโสดาบัน ละอบายภูมิทั้ง ๔ แล้ว ถึงความเห็นแล้ว รู้แจ้งศาสนาแล้ว ก็ยังกราบไหว้ลุกรับ ซึ่งพระภิกษุสามเณรผู้เป็นปุถุชนอยู่
ถ้าถือว่าพระธรรมประเสริฐสุดจริง คําที่กล่าวถึงการที่คฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบันกราบไหว้พระภิกษุสามเณรปุถุชนนั้นก็ผิดไป ถ้าคําว่าคฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบันกราบไหว้พระภิกษุสามเณรผู้เป็นปุถุชนนั้นถูก คําว่าพระธรรมประเสริฐสุดในโลกนั้นก็ผิดไป

ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ แก้ได้ยาก ขอได้โปรดแก้ให้สิ้นสงสัยด้วยเถิดพระคุณเจ้าข้า

พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขไว้ว่า
"ขอถวายพระพร คําทั้งสองนั้นถูกทั้งนั้น แต่ว่าเหตุที่ให้คฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบันกราบไหว้พระภิกษุสามเณรปุถุชนนั้น มีอยู่ต่างหาก เหตุนั้นคืออะไร
คือ สมณกรณธรรม ๒๐ อย่าง และ เพศ ๒ อย่าง
สมณกรณธรรม ๒๐ นั้นคือ
๑. มีภูมิอันประเสริฐ
๒. มีความนิยมอันเลิศ
๓. ความประพฤติอันดีงาม
๔. ธรรมเป็นเครื่องอยู่
๕. ความสํารวมอินทรีย์ ๖
๖. ความระวังปาฏิโมกข์
๗. ความอดทน
๘. ความยินดีในธรรมอันดี
๙. ความยินดียิ่งในธรรมอันแท้
๑๐. ความประพฤติในธรรมเที่ยงแท้
๑๑. ความอยู่ในที่สงัด
๑๒. ความละอาย
๑๓. ความสะดุ้งกลัว
๑๔. ความเพียร
๑๕. ความไม่ประมาท
๑๖. บําเพ็ญสิกขา
๑๗. ตั้งใจเล่าเรียนสอบถาม
๑๘. ยินดียิ่งในศีลเป็นต้น
๑๙.ไม่มีความอาลัย
๒๐. ทําสิกขาบทให้เต็ม

เพศ ๒ นั้นได้แก่
นุ่งห่มผ้าเหลือง ๑
มีศีรษะโล้น ๑

ภิกษุย่อมถือสรณกรณธรรม ๒๐ กับเพศ ๒ ไว้อย่างนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่าย่างลงสู่ภูมิของพระเสขะ ชื่อว่าย่างลงสู่ภูมิพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านั้นอย่างบริบูรณ์ สมควรเรียกว่าผู้ถึงซึ่งระหว่างแห่งภูมิอันประเสริฐ ผู้ถึงซึ่งที่ตั้งแห่งเหตุอันจะให้เป็นพระอรหันต์
เพราะฉะนั้นอุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันจึงควรกราบไหว้ ลุกรับ พระภิกษุปุถุชน
ด้วยคิดว่า ท่านผู้สิ้นอาสวะแล้วย่อมเข้าถึงความเป็นสมณะ คุณวิเศษอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่เรา ๑
คิดว่าท่านเข้าถึงความเป็นบริษัทอันเลิศ และได้เพื่อจะฟังปาฏิโมกข์อุทเทส เราไม่ได้ฟัง ๑
ท่านให้บรรพชาอุปสมบทได้ อาจให้พระพุทธศาสนาเจริญได้ เราให้บรรพชาอุปสมบทไม่ได้ ๑
ท่านเป็นผู้ปฏิบัติในสิกขาบท อันไม่มีประมาณ เราไม่ได้ปฏิบัติ ๑
ท่านประกอบด้วยเพศสมณะ ถูกต้องตามพระพุทธประสงค์ เราห่างไกลจากเพศนั้น ๑
ท่านไม่ปล่อยขนรักแร้ เล็บมือเล็บเท้า หนวดเคราให้รกรุงรัง ทั้งไม่หวั่นไหวในกามารมณ์ ไม่ได้ประดับประดาร่างกาย ไม่ได้ลูบไล้เครื่องหอม ส่วนเรายังยินดีอยู่ในการตกแต่งร่างกาย ๑

ขอถวายพระพร สมณกรณธรรม ๒๐ กับ เพศ ๒ นั้นย่อมมีแก่ภิกษุ พระภิกษุนั้นย่อมทรงธรรมเหล่านั้นไว้ และให้ผู้อื่นศึกษาในธรรมเหล่านั้น อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบัน ควรกราบไหว้ลุกรับภิกษุปุถุชน ด้วยคิดว่า ความรู้ความดีเหล่านั้น ไม่ได้มีอยู่แก่เรา

อุปมาพระราชโอรส

"ขอถวายพระพร เนื้อความข้อนี้ควรกําหนดทราบด้วยอุปมาอย่างเช่นว่า พระราชโอรสย่อมศึกษาวิชาในสํานักปุโรหิต เมื่อทรงพระเจริญวัยขึ้นก็ได้อภิเษกเป็นพระราชา
พระราชกุมารนั้นย่อมกราบไหว้ลุกรับอาจารย์ด้วยคิดว่า เป็นผู้สอนวิชาให้ฉันใด พระภิกษุก็เป็นผู้ให้ศึกษา เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความสํารวม เพราะฉะนั้น อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบัน จึงควรกราบไหว้ลุกรับภิกษุปุถุชน
อีกประการหนึ่ง ขอจงทราบว่า ภูมิของภิกษุเป็นภูมิใหญ่ ไม่มีภูมิอื่นเสมอ เป็นภูมิไพบูลย์ด้วยปริยายอันนี้
ถ้าอุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันได้สําเร็จพระอรหันต์ มีคติอยู่ ๒ คือ ต้องปรินิพพานในวันนั้น หรือเข้าถึงความเป็นภิกษุในวันนั้นจึงจะได้ เพราะว่าบรรพชานั้นเป็นของใหญ่ เป็นของบริสุทธิ์ เป็นของถึงซึ่งความเป็นของสูงคือภูมิของภิกษุ ขอถวายพระพร"
"ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหานี้พระผู้เป็นเจ้าผู้มีญาณ ผู้มีกําลัง ผู้มีวุฒิยิ่ง ได้ชี้แจงไว้แล้ว ผู้อื่นนอกจากพระผู้เป็นเจ้า ไม่มีใครสามารถให้รู้แจ้งได้"




ปัญหาที่ ๘

ถามถึงเรื่องความไม่แตกกันแห่งบริษัทของพระพุทธเจ้า


"ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า สมเด็จพระบรมศาสดามีบริษัทไม่แตก แต่กล่าวอีกว่า พระเทวทัตทําให้ภิกษุ ๕๐๐ แตกออกจากพระพุทธเจ้าได้ด้วยการกระทําเพียงครั้งเดียว
ถ้าพระตถาคตเจ้ามีบริษัทไม่แตกจริง ข้อที่ว่า พระเทวทัตทําให้ภิกษุ ๕๐๐ นั้นแตกก็ผิดไป ถ้าคําว่า พระเทวทัตทําลายภิกษุ ๕๐๐ ให้แตกนั้นถูก ข้อว่า พระตถาคตเจ้ามีบริษัทไม่แตกนั้นก็ผิดไป
ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิยุ่งยากมาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงกําลังญาณเถิด

พระนาคเสนถวายพระพรว่า
"มหาบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระพิชิตมารเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกจริง พระเทวทัตก็ทําให้ภิกษุ ๕๐๐ แตกไปจริง

เพราะเมื่อเหตุให้แตกมีอยู่ ความต้องแตกระหว่างมารดากับบุตร บุตรกับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่ชายกับพี่หญิง พี่หญิงกับพี่ชาย สหายกับสหาย ก็ยังต้องแตกกัน
ถึงเรือที่ขนานด้วยไม้ต่าง ๆ ก็ยังแตกด้วยถูกลูกคลื่นซัด ต้นไม้ที่มีรสหวาน เมื่อปะปนกับสิ่งที่มีรสขม ก็ยังมีรสแปรไป ทองคําหรือเงินปนทองแดงก็ยังเปลี่ยนสีไปได้

ก็แต่ว่าความแตกอย่างนั้น ไม่ใช่ความประสงค์ของผู้รู้ทั้งหลาย ไม่ใช่พระพุทธประสงค์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ใช่ความพอใจของบัณฑิตทั้งหลายว่า พระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีบริษัทแตก
(หมายความว่าผู้รู้ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย บัณฑิตทั้งหลาย ไม่ลงความเห็นว่า พระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีบริษัทแตก)

ข้อที่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกนั้นมีอยู่ คือพระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกด้วยการกระทํา หรือด้วยการถือเอา หรือด้วยการกล่าวถ้อยคําอันไม่เห็นเป็นที่รัก หรือด้วยการไม่ช่วยเหลือ หรือด้วยการวางตนไม่สมควรของพระพุทธเจ้าเอง
ขอถวายพระพร ความข้อนี้มีปรากฏอยู่ในพระพุทธพจน์อันมีองค์ ๙ หรือไม่ว่าบริษัทของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้แตกไป ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงกระทําไว้ในเวลายังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่"
พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสยอมรับว่า
ไม่มีเลยพระผู้เป็นเจ้า โยมไม่เคยได้ฟังเลยว่า บริษัทของพระตถาคตเจ้าได้แตกไปด้วยกรรมที่พระองค์กระทําไว้ ในเมื่อพระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ โยมจึงขอรับว่าพระผู้เป็นเจ้าแก้ไขข้อนี้ถูกต้องดีแล้ว



พระเจ้ากุสราช

(ตอนจบ) อานุภาพท้าวสักกเทวราช


ในขณะนั้นท้าวสักกเทวราชก็ทรงทราบว่า พระโพธิสัตว์ทรงตกทุกข์ได้ยากไม่ได้ทรงพบเห็นอัครมเหสีถึง ๗ เดือนแล้ว เราควรจะช่วยพระองค์ได้สําเร็จพระราชประสงค์ ครั้นแล้วจึงทรงเนรมิตบุรุษขึ้น ๗ คน ต่างอ้างว่าเป็นราชทูตของพระเจ้ามัทราช นําพระราชสาส์นไปถวายกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครว่า
"บัดนี้พระนางประภาวดีทรงละทิ้งพระเจ้ากุสราชกลับมาแล้ว ถ้าพระองค์มีพระราชประสงค์ ก็จงเสด็จออกมารับเอาพระนางไปเถิด"
พระราชาทั้ง ๗ พระนครจึงพากันมาพร้อมด้วยบริวารใหญ่ เมื่อเสด็จถึงสาคลนครแล้ว ต่างองค์ก็ทรงไต่ถามซึ่งกันและกัน จนได้ทราบเหตุถึงกับทรงพิโรธ จึงพร้อมใจกันยกพลเข้าประชิดติดพระนครไว้ และได้ส่งราชทูตเข้ากราบทูลพระเจ้ามัทราช
พระบาทท้าวเธอทรงตระหนกตกพระทัยจึงรีบประชุมเสนาอํามาตย์มีพระราชดํารัสปรึกษา ฝ่ายเสนาอํามาตย์พากันกราบทูลขอให้พระองค์โปรดส่งพระนางประภาวดีออกไปถวายกษัตริย์นั้นเสีย
พระเจ้ามัทราชจึงตรัสว่า ถ้าเราส่งลูกสาวให้แก่กษัตริย์องค์หนึ่ง กษัตริย์ที่เหลืออีกจักกระทําการรบ เราไม่อาจจะยกลูกสาวของเราให้แก่กษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งได้ อีกประการหนึ่ง เราก็ได้ยกให้แก่พระเจ้ากุสราชแล้ว แต่นางได้หนีออกมาจากพระองค์เสีย เพราะฉะนั้นเราจะต้องทําให้หนําใจ คือเราจะต้องตัดนางให้ออกเป็น ๗ ท่อน แล้วส่งไปให้พระราชาทั้ง ๗ พระองค์
เมื่อตรัสดังนี้แล้วก็มีผู้นําความไปกราบทูลพระนางประภาวดี พอพระนางได้ทรงสดับเรื่องนี้ก็ทรงหวาดกลัวต่อความตายเป็นอย่างยิ่งจึงพร้อมด้วยพระกนิษฐา (น้องสาว)ทั้งหลายไปเฝ้าพระราชมารดาทูลรําพึงรําพันต่าง ๆ นานา

ทรงรําพันถึงพระเจ้ากุสราช

ฝ่ายพระเจ้ามัทราชจึงตรัสสั่งให้เรียกนายเพชฌฆาตเข้ามา พระราชมารดาของพระนางประภาวดีจึงทรงเศร้าโศกเป็นอันมาก เมื่อได้ทรงทราบข่าวนี้จึงได้เสด็จไปยังพระตําหนักของพระราชา แล้วกราบทูลถามว่า
"พระองค์จะทรงฆ่าพระธิดาของหม่อมฉัน บั่นให้เป็นท่อน ๆแล้วจะประทานแก่กษัตริย์ทั้งหลายจริงหรือเพคะ"

พระราชาตรัสว่าจริงเพราะเรื่องยุ่งยากคราวนี้ได้เกิดเพราะลูกคนเดียว ถ้านางไม่ทิ้งพระเจ้ากุสราชมาก็จะไม่มีเรื่องยุ่งยากอย่างนี้ พระราชเทวีได้ทรงสดับดังนี้ จึงเสด็จกลับไปหาพระราชธิดาทรงรําพันว่า
"พระลูกน้อยเอ๋ย พระราชบิดาไม่ทรงกระทําตามคําขอร้องของแม่ลูกจะต้องตายในวันนี้แล้วผู้ใดถ้าไม่ทําตามคําของบิดามารดาผู้มีเมตตาหาประโยชน์ในภายหน้า ให้ผู้นั้นจะได้รับโทษเหมือนตัวเจ้านี้ ถ้าเจ้ายังอยู่กับพระเจ้ากุสราชจนวันนี้ ก็จะมีพระราชโอรสสักหนึ่งองค์ แล้วตัวเจ้ากับหมู่ญาติก็จะมีความสุขไม่ต้องได้รับทุกข์อย่างนี้

อันกรุงกุสาวดีนั้นสนุกสนานด้วยเสียงร้องรําทําเพลง ช้างม้าที่เป็นสัตว์พาหนะพากันคํารณกึกก้องอยู่เป็นนิตย์ นกต่างๆก็ส่งเสียงร้องไพเราะจับใจอยู่ในพระราชวังของพระเจ้ากุสราช ลูกคิดอย่างไรจึงได้กลับมาเสีย ถ้าพระเจ้ากุสราชประทับอยู่ในที่นี้ ก็จักเสด็จออกต่อตีกับกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครนั้นให้แตกไปโดยเร็ว บัดนี้ พระเจ้ากุสราชผู้สามารถปราบอริราชศัตรูให้พ่ายแพ้นั้น เสด็จอยู่ที่ไหนหนอ..."

ฝ่ายพระนางประภาวดีจึงทรงดําริว่าถ้าจะปล่อยให้พระมารดารําพันถึงพระเจ้ากุสราชอยู่อย่างนี้ เห็นทีจะไม่รู้จบ ควรที่เราจะกราบทูลให้ทราบ ครั้นทรงดําริอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลขึ้นว่า
"พระเจ้ากุสราชซึ่งทรงสามารถปราบอริราชศัตรูให้พ่ายแพ้ และแก้ไขให้พวกเราได้พ้นทุกข์ ได้เสด็จอยู่ที่นี่แล้วเพค่ะ"
พระมารดาจึงทรงดําริว่า ลูกของเราเห็นจะกลัวตายเกินไปจึงพูดเพ้อไปได้เช่นนี้ดังนี้แล้วจึงตรัสว่า "เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือไร จึงได้พูดอย่างนี้ ถ้าพระเจ้ากุสราชเสด็จอยู่ในที่นี้จริงทําไมมารดาจึงไม่ทราบเล่า"

พระโพธิสัตว์ทรงแสดงพระองค์

เมื่อพระนางประภาวดีทรงเห็นว่า พระราชชนนีไม่ทรงเชื่อถือถ้อยคํานี้ พระนางจึงจับพระหัตถ์ของพระราชชนนี เสด็จไปที่ช่องพระแกลแล้วชี้ให้พระมารดาดูว่า
"นั่นแน่ะ..พระเจ้ากุสราชซึ่งทรงปลอมพระองค์เป็นพ่อครัว นุ่งผ้าหยักรั้งกําลังล้างภาชนะอยู่ในตําหนักของพวกน้อง ๆ นั้น"
กล่าวคือ เวลานั้นพระโพธิสัตว์ทรงดําริว่า ความประสงค์ของเราจะสําเร็จในวันนี้แล้ว เพราะเมื่อพระนางประภาวดีมีความกลัวตาย ก็จะทราบทูลพระราชบิดาให้ทรงทราบว่าเราได้มาอยู่ที่นี้แล้ว เมื่อทรงดําริอย่างนี้แล้วจึงทรงจัดแจงล้างถ้วยล้างชามวุ่นอยู่ในเวลานั้น
ฝ่ายพระราชชนนีจึงตรัสขึ้นว่า
"เจ้าเป็นหญิงชั่วช้าเลวทรามหรือจึงมีผัวเป็นทาสเช่นนี้ ไม่สมกับที่เจ้าเกิดในตระกูลกษัตริย์มัทราชเลย"

พระนางประภาวดีจึงสนองพระวาทีว่า
"หม่อมฉันหาได้เป็นภรรยาทาสไม่ นั่นคือพระเจ้ากุสราชผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโอกกากราชโดยแท้ แต่พระมารดาเข้าพระทัยว่าเป็นทาสไปเอง พระเจ้ากุสราชนั้น เมื่อพระองค์ยังทรงประทับอยู่ในพระนครของพระองค์ ได้พระราชทานอาหารเลี้ยงพราหมณ์วันละ ๒ หมื่น อยู่เป็นนิตย์ พวกพนักงานกรมช้าง กรมม้า กรมรถ ได้พากันจัดช้าง ม้า และรถไว้อย่างละหมื่นๆ เพื่อใช้ในราชกิจได้ทันท่วงทีอยู่เป็นนิตย์ พวกพนักงานรีดนมโค ก็ได้รีดนมจากแม่โควันละ ๒ หมื่นตัว ไปถวายทุกวันมิได้ขาด ผู้นี้แหละคือพระเจ้ากุสราชที่สมบูรณ์ด้วยพระราชพาหนะพลโยธาหาญ ทรัพย์ศฤงคาร ดังที่หม่อมฉันกราบทูลถวายแล้วนี้"

เมื่อพระราชชนนีได้ทรงฟังพระนางกราบทูล โดยท่าทางมิได้สะทกสะท้านก็ทรงเชื่อว่าเป็นจริง จึงเสด็จไปเฝ้าพระเจ้ามัทราชกราบทูลให้ทรงทราบตามคําบอกเล่านั้น
พระเจ้ามัทราชจึงรีบเสด็จไปยังตําหนักพระนางประภาวดี ทรงตรัสถามจนทราบความนี้แล้ว แต่พระองค์ยังไม่ทรงเชื่อถือ จึงได้ตรัสถามนางขุชชา ได้ความว่าจริงตามถ้อยคําของพระราชธิดาแล้วตวาดพระนางว่า
"ดูก่อนเจ้าผู้เป็นพาล เหตุไรจึงไม่บอกพ่อให้ทราบเสียแต่ต้น ปล่อยให้พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์อันประเสริฐปลอมเป็นคนครัวเช่นนี้เล่า..."
ครั้นตวาดพระราชธิดาอย่างนี้แล้ว จึงรีบเสด็จไปขอโทษพระบรมโพธิสัตว์ว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์อันประเสริฐในพื้นปฐพี ขอพระองค์จงทรงกรุณาอดโทษแก่หม่อมฉันด้วยเถิด ที่ไม่ทราบว่าพระองค์เสด็จมาในที่นี้ เพราะเหตุที่พระองค์ทรงปกปิดเสีย"
ฝ่ายพระโพธสัตว์จึงทรงดําริว่า ถ้าเราจะตัดพ้อต่อว่าขึ้น พระเจ้ามัทราชก็จะสะดุ้งกลัวจนถึงกับความตาย ควรเราจะโลมเล้าเอาพระทัยท้าวเธอไว้ เมื่อทรงดําริดังนี้แล้วจึงตรัสว่า "หม่อมฉันไม่ได้ปกปิดตัวเลย หม่อมฉันได้เข้ารับเป็นพนักงานเครื่องต้น ขอพระองค์อย่าทรงเสียพระทัยเลย ความผิดจะได้มีแก่พระองค์ก็หามิได้"

พระนางประภาวดีทรงขอขมาโทษ


ครั้นพระเจ้ามัทราชได้ทรงสดับดังนี้ แล้วจึงเสด็จกลับมาสู่ปราสาทตรัสสั่งพระนางประภาวดีให้ไปขอขมาโทษต่อพระเจ้ากุสราช พระนางได้ทรงสดับพระราชโองการก็ไม่รู้จะทําประการใด จึงพร้อมด้วยพระราชกุมารีผู้เป็นน้อง ๆ กับเหล่าสนมนารี ไปเฝ้าพระโพธิสัตว์โดยความจําเป็น
ในเวลานั้น พระโพธิสัตว์กําลังทํางานหน้าที่พ่อครัวอยู่ เมื่อพระองค์ทรงเห็นพระนางประภาวดีเสด็จมา จึงทรงพระดําริว่า วันนี้เราจักทําลายทิฏฐิมานะของพระนางให้หมอบลงติดกับโคลนข้างเท้าของเรานี้ให้ได้

ทรงดําริอย่างนี้แล้ว จึงทรงเทน้ำมันที่พระองค์ตักมาทั้งสิ้นลงไปในดินแล้วเหยียบให้เป็นโคลนกว้างเท่าลานนวดข้าว พอพระนางเสด็จมาถึง จึงหมอบลงแทบพระบาทของพระโพธิสัตว์ แล้วทูลขอโทษว่า
"ข้าแต่ใต้ฝ่าพระบาท หม่อมฉันขอน้อมเกล้าลงถวายบังคมพระบาทของพระองค์ทั้งคู่ โทษที่หม่อมฉันได้เกลียดชังพระองค์ตลอดกาลนานแล้วนี้ ขอพระองค์ได้ทรงอดโทษแก่หม่อมฉันด้วยเถิด นับแต่วันนี้ไปหม่อมฉันจะไม่เกลียดชังพระองค์อีก แล้วถ้าพระองค์ไม่ทรงพระกรุณาแก่หม่อมฉันในเวลานี้แล้ว หม่อมฉันก็จักไม่แคล้วจากความตาย ขอพระองค์จงทรงโปรดแก่หม่อมฉัน ให้พ้นจากอันตรายครั้งนี้ด้วยเถิดเพค่ะ"

หน่อพระบรมพงษ์โพธิสัตว์จึงทรงดําริว่า ถ้าเราจักไม่โต้ตอบ หรือจักตวาดให้แก่พระนางในเวลานี้ เธอก็จักต้องขาดใจตายเป็นแน่นอน ครั้นทรงดําริดังนี้แล้ว จึงตรัสปลอบพระทัยว่า
"เมื่อน้องอ้อนวอนอยู่อย่างนี้ ไฉนพี่จักไม่ทําตามคําของน้องเล่า พี่ไม่โกรธไม่เกลียดชังน้องอีกต่อไป ความจริงพี่สามารถทําลายตระกูลกษัตริย์มัทราช แล้วนําน้องไปได้ แต่เพราะความรักต่อน้อง พี่จึงสู้ยอมทนทุกข์มากมายเช่นนี้..."

พระบาทท้าวเธอทรงตรัสอย่างนี้แล้วทรงรับอาสาออกต่อสู้กับกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครนั้นแล้วเสด็จเป็นจอมทัพออกไปต่อสู้กับข้าศึก จึงตรัสประกาศขึ้น๓ครั้งว่า ตัวเรานี้แหละ คือพระเจ้ากุสราช ใครยังรักชีวิตก็จงอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์โดยเร็วพลัน ครั้นกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครพร้อมทั้งพลโยธาหาญได้สดับพระราชโองการดังนี้ต่างก็มีความสยดสยองทิ้งกองทัพหนีไปด้วยอํานาจพระบารมีของพระบรมโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์ทรงงดงามทั้งกายและใจ

ฝ่ายท้าวสักกเทวราชได้ทรงเห็นว่าพระโพธิสัตว์มีชัยชนะแก่ข้าศึกแล้ว จึงพระราชทานแก้วมณีดวงหนึ่งให้แก่พระโพธิสัตว์พระองค์จึงยกทัพกลับเข้าสู่พระนคร แล้วกราบทูลพระเจ้ามัทราชว่า ควรยกพระราชธิดาอีก ๗ พระองค์ ให้แก่กษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครนั้น จึงจะเป็นการสมควร
เมื่อพระเจ้ามัทราชทรงอนุญาตแล้วพระเจ้ากุสราชจึงจัดการราชาภิเษกพระราชธิดาทั้ง ๗ พระองค์กับกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครแล้วก็ส่งกลับพระนคร

ส่วนพระเจ้ากุสราชได้ทรงรับแก้วมณีจากท้าวโกสีย์แล้ว ก็ทรงส่องแก้วมณีนั้นตามเทวบัญชา พอทรงส่องแก้วมณีต้องพระพักตร์และพระกายทั้งสิ้น ก็มีพระพักตร์และพระกายทั้งสิ้น สุกใสเปล่งปลั่งขึ้นดังประหนึ่งแท่งทองชมพูนุทฉะนั้น
นับแต่วันนั้นไปพระองค์ก็มีพระรูปพระโฉมอันงดงามล้ำเลิศ ด้วยอานุภาพของแก้วมณีดวงนั้น ทําให้พระนางประภาวดีทรงมีพระเสน่หาอาลัยอย่างสุดซึ้ง

พระโพธิสัตว์จึงพาพระอัครมเหสีถวายบังคมลาพระราชบิดามารดา แล้วเสด็จกลับสู่กรุงกุสาวดี พร้อมด้วยพลโยธาแห่แหนแน่นขนัด ทั้งสองพระองค์นั้นประทับอยู่ในพระราชรถคันเดียวกัน เสด็จเข้ากรุงกุสาวดีมีพระฉวีวรรณและพระรูปพระโฉมทัดเทียมกัน
พระราชมารดาของพระโพธิสัตว์ และพระชยัมบดีราชกุมาร ผู้เป็นพระอนุชา ได้เสด็จไปต้อนรับถึงนอกพระนคร ในกาลนั้นพระเจ้ากุสราชและพระนางประภาวดีก็ทรงสมัครสมานกัน ได้ทรงปกครองราชอาณาจักรกุสาวดีให้รุ่งเรืองตลอดกาลสวรรคต

ครั้นสมเด็จพระทศพลโปรดประทานเทศนาชาดกนี้จบลงแล้ว จึงทรงประกาศอริยสัจ ๔ สืบต่อไป โปรดให้ภิกษุผู้เป็นต้นเหตุแห่งพระธรรมเทศนานี้ได้สําเร็จพระโสดาปัตติผล แล้วทรงประชุมชาดกว่า
พระชนกชนนีของพระเจ้ากุสราชนั้นได้มาเกิดเป็นพระชนกชนนีของเราตถาคตนี้ ชยัมบดีราชกุมาร ได้มาเกิดเป็นพระอานนท์ นางขุชชา ได้มาเกิดเป็นนางขุชชุตตรา
พระนางประภาวดีได้มาเกิดเป็นมารดาพระราหุล บริวารเหล่านั้นได้มาเกิดเป็นบริวารของเราตถาคต
ส่วน พระเจ้ากุสราช คือเราตถาคตในบัดนี้แล จบ กุสชาดก แต่เพียงนี้..

◄ll กลับสู่สารบัญ

<<โปรดติดดตามอ่านตอนต่อไป>>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 12/11/09 at 17:53 Reply With Quote



Update 12 พ.ย. 52

ตอนที่ ๒๓

ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องการทําบาปของผู้ไม่รู้


...สมเด็จพระบรมกษัตริย์แห่งสาคลนคร จอมบพิตรอดิศรตรัสถามอรรถปัญหาอีกว่าข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า ผู้ไม่รู้ทําปาณาติบาต ย่อมได้บาปมากกว่าผู้รู้ แต่กล่าวไว้ในพระวินัยบัญญัติว่า ภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัติ ดังนี้

ถ้าผู้ไม่รู้ทําปาณาติบาต ได้บาปมากกว่า คําว่า “ภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัติก็ผิดไป” ถ้าคําว่า “ภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัติ” นั้นถูก คําว่า “ผู้ไม่รู้ทําปาณาติบาตได้บาปมากกว่าก็ผิดไป”ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ ข้ามไปได้ยากนะ พระคุณเจ้าข้า

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้า ได้ตรัสไว้จริงว่า ผู้ไม่รู้ทําปาณาติบาตย่อมได้บาปมากกว่า และที่ทรงบัญญัติไว้ก็จริง ว่าภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัติ แต่ความหมายในข้อนี้มีอยู่ต่างหาก คืออย่างไร

คืออาบัติแยกเป็นหลายอย่างเช่นเป็น สัญญาวิโมกข์ คือพ้นเพราะรู้ เพราะเข้าใจก็มี และที่เป็น นสัญญาวิโมกข์ คือไม่พ้นเพราะรู้ เพราะเข้าใจก็มี ข้อที่ว่า ภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัตินั้น หมายอาบัติที่เป็น สัญญาวิโมกข์ ขอถวายพระพร
ถูกดีแล้ว พระนาคเสน




ปัญหาที่ ๑๐

ถามเรื่องความไม่ทรงห่วงพระภิกษุสงฆ์


ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ มีพระพุทธฎีกาโปรดประทานไว้ว่า “ ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตเจ้าย่อมไม่คิดว่า เราปกครองภิกษุสงฆ์ หรือภิกษุสงฆ์มุ่งเฉพาะเรา” ดังนี้ แต่เมื่อจะทรงแสดงสภาวคุณของ พระเมตไตรยโพธิสัตว์เจ้า ก็ได้ตรัสไว้ว่า“ พระศรีอาริยเมตไตรยนั้น จักบริหารภิกษุสงฆ์ไม่ใช่พันเดียว เหมือนเราบริหารพระภิกษุสงฆ์ไม่ใช่ร้อยเดียวอยู่ในบัดนี้” ดังนี้
ข้าแต่พระนาคเสนถ้าพระตถาคตเจ้าตรัสแก่พระอานนท์ว่า เราไม่ได้คิดว่าเราบริหารพระภิกษุสงฆ์หรือว่าพระภิกษุสงฆ์มุ่งเฉพาะต่อเรา นั้นถูก คําที่ว่า พระเมตไตรยโพธิสัตว์เจ้า จะบริหารพระภิกษุสงฆ์ไม่ใช่พันเดียว เหมือนเราบริหารภิกษุสงฆ์ไม่ใช่ร้อยเดียวอยู่ในบัดนี้ ก็ผิดไป ถ้าคํานี้ถูก คําที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้คิดว่า เราบริหารภิกษุสงฆ์ก็ผิดไป ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฎิ โปรดวิสัชนาให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด

พระนาคเสนถวายพระพรว่า ข้อความทั้งสองข้อนั้น จริงทั้งนั้น ถูกทั้งนั้น แต่ว่าในปัญหาข้อนี้ ข้อหนึ่งเป็นคํามีเศษ อีกข้อหนึ่งเป็นคําไม่มีเศษไม่มีเหลือ
ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าไม่ใช่ ผู้ติดตามบริษัท ส่วนบริษัทก็ไม่ได้ติดตาม พระตถาคตเจ้า คําว่า เรา.ของเรา เป็นคําสมมุติ ไม่ใช่คําปรมัตถ์ สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ได้ปราศจากความรัก ความใยดีเสียแล้ว การถือว่าเป็น ของเรา ย่อมไม่มีแก่พระองค์ แต่มีการอาศัยเนื่องถึงกันเท่านั้น

อุปมาอุปมัย


แผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งหลายที่อยู่บนภาคพื้น แต่แผ่นดินไม่ได้มีความเยื่อใยว่า สัตว์เหล่านี้เป็นของเราฉันใด สมเด็จพระจอมไตรก็เป็นที่พึ่งที่อาศัย ของสัตว์ทั้งปวง แต่ไม่ทรงห่วงใยว่า เป็นของเราฉันนั้น
อีกอย่างหนึ่ง เมฆใหญ่ที่ตกลงมาย่อมให้ความเจริญแก่ต้นหญ้า ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเลี้ยงรักษาสัตว์ทั้งปวงไว้ สัตว์ทั้งปวงก็มีชีวิตอยู่ได้เพราะน้ำฝน แต่ว่าน้ำฝนไม่ได้ถือว่าเป็นของเราฉันใด
สมเด็จพระพุทธองค์ก็ทรงทําให้เกิดกุศลธรรมแก่สัตว์ทั้งปวงทรงรักสัตว์ทั้งปวง ไว้ด้วยศีล สัตว์ทั้งปวงที่เลื่อมใสก็ได้อาศัยพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงห่วงใยว่า“เป็นของเรา” ฉันนั้น
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไรเป็นเพราะเหตุว่าสมเด็จพระบรมศาสดาทรงละอัตตานุทิฏฐิคือ ความเห็นว่าเป็นตัวตนอย่างเด็ดขาดเสียแล้ว ขอถวายพระพร
ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ไขชัดแล้ว

( จบวรรคที่ ๒ )




วรรคที่ ๓

ปัญหาที่ ๑ ถามเรื่องทรงแสดงของลับ


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระพิชิตมาร ได้ตรัสประทานไว้ว่า “ ความสํารวมทางกาย วาจา ใจ เป็น ของดี ความสํารวมในที่ทั้งปวงเป็นของดี” ดังนี้
แต่มีกล่าวไว้ว่า พระตถาคตเจ้าประทับนั่งในท่ามกลางบริษัท ๔ ได้ทรงแสดงวัตถุคุยหะ “ของลับ” อันอยู่ในฝักแก่ เสลพราหมณ์ ต่อหน้าเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย ทั้งทรงแลบพระชิวหาออกแยงช่องพระโสตทั้งสอง และทรงแลบพระชิวหาออกปิด พระนลาต คือหน้าผาก ไม่สํารวมสิ่งที่ ควรปกปิด
ถ้าได้ตรัสไว้ว่า การสํารวมเป็นการดี จริงแล้ว คําที่ว่า ทรงแสดงวัตถุคุยหะแก่เสลพราหมณ์นั้น ก็ผิด ถ้าคําว่า ทรงแสดงวัตถุคุยหะแก่เสลพราหมณ์ นั้นถูก คําว่า การสํารวมเป็น ความดีนั้นก็ผิด ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด

พระนาคเสนเฉลยปัญหานี้ว่า ขอถวายพระพร คําทั้งสองข้อนั้นถูกทั้งนั้น แต่ว่าผู้ใดมีความสงสัยในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ก็ทรงแสดงเงาแห่งพระกาย คล้ายกับสิ่งนั้นด้วยฤทธิ์ เพื่อให้ผู้นั้นสิ้นสงสัย ผู้นั้นก็ได้เห็นปาฏิหาริย์นั้น

ข้าแต่พระนาคเสน ข้อนั้นใครจักเชื่อถือ คือผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น ได้เห็นวัตถุคุยหะนั้น แต่ผู้เดียว นอกนั้นไม่มีใครเห็น ขอพระผู้เป็น เจ้าจงชี้แจงให้โยมเข้าใจอีก

ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยเห็น บุรุษผู้เจ็บไข้ เกลื่อนกล่นด้วยญาติมิตรหรือไม่
อ๋อ.เคยเห็นซิ พระผู้เป็นเจ้า

ขอถวายพระพร ญาติมิตรที่อยู่ในที่ประชุมนั้น ได้เห็นทุกขเวทนาของบุรุษนั้น หรือไม่
ไม่ได้เห็น พระผู้เป็นเจ้า

ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ผู้ที่ยังสงสัยอยู่ ผู้นั้นก็ได้เห็นเพียงแต่เงาแห่งวัตถุคุยหะ ที่อยู่ใน ภายในผ้าสบงของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงบันดาลให้เห็นฉันนั้น อีกอย่างหนึ่ง เวลาภูตผีปีศาจเข้าสิงบุรุษ มีผู้เห็นหรือไม่
ไม่เห็น พระผู้เป็นเจ้า

ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ใดสงสัยในเรื่องวัตถุคุยหะของพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงแสดงให้เห็นแต่ผู้นั้นเท่านั้น
ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า สิ่งที่ไม่น่าจะเห็นได้แต่ผู้เดียว พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดง ให้เห็นได้แต่ผู้เดียว เป็นการกระทําได้ยาก

ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้าไม่ได้ทรงแสดงพระคุยหะด้วยกิริยาปกติธรรมดา ได้ทรงบันดาลให้เห็นเพียงเงาเท่านั้นแต่เมื่อเสลพราหมณ์ได้เห็นแล้วก็สิ้นสงสัย ถึงสิ่งที่กระทําได้แสนยาก สมเด็จพระผู้มีพระภาคก็ทรงกระทํา เพื่อให้ผู้ที่ควรรู้ธรรมได้รู้ธรรม ถ้าพระตถาคตเจ้าไม่ทรงทําอย่างนั้น ผู้ที่ควรรู้ธรรมก็จะไม่รู้ธรรม พระตถาคตเจ้าชื่อว่าเป็นพระสัพพัญญูไม่ใช่หรือ เพราะเหตุที่พระองค์เป็นพระสัพพัญญู ผู้ที่ควรรู้ธรรม ด้วยการประกอบอย่างใด ๆ พระตถาคตเจ้า ก็ทรงให้รู้ธรรมด้วยการประกอบอย่างนั้น ๆ

เหมือนกับนายแพทย์ผู้ฉลาด รู้ว่าโรคจะหายไปด้วยยาชนิดใด จะเป็นยาถ่าย หรือ ยาทา หรือผ่าตัด อบรม อย่างใดก็ทําอย่างนั้น
อีกประการหนึ่ง หญิงที่มีครรภ์แก่ถ้วนแล้ว ย่อมแสดงกระทั่งของลับ ซึ่งไม่ควร แสดงแก่หมอฉันใด
สมเด็จพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงพระคุยหะ อันไม่ควรทรงแสดงแก่เวไนย เพื่อให้รู้ธรรมด้วยฤทธิ์ฉันนั้น โอกาสอันชื่อว่าไม่ควรแสดงด้วยการกําหนดบุคคลย่อมไม่มี ถ้ามีใครได้เห็น พระหฤทัยของพระพุทธเจ้าจึงจะรู้ธรรมได้ พระองค์ก็ต้องทรงแสดงพระหฤทัยให้ผู้นั้น

สมเด็จพระภควันต์เป็นโยคัญญู คือทรงรู้จักวิธีประกอบเป็น เทสนากุสโล คือทรงฉลาดในทางทรงแสดง พระตถาคตเจ้า ทรงทราบอธิมุตติ คือนิสัยของ พระนันทะ ได้ดี จึงทรงนําพระนันทะขึ้นไปสู่สวรรค์ ให้เห็นพวกเทพกัญญา ด้วยทรงดําริว่า กุลบุตรผู้นี้จักรู้ธรรมได้ด้วยอุบายอันนี้แล้วกุลบุตรนี้ก็ได้รู้ธรรมด้วยอุบายนั้น
เป็นอันว่าสมเด็จพระบรมศาสดาทรงติเตียนเกลียดชังศุภนิมิตคือสิ่งที่เห็นว่าสวยงามไว้เป็นอันมาก แต่ได้ทรงแสดงนางอัปสร ผู้ประดับด้วยเครื่องแก้วเครื่องทอง มีสีเท้าแดงดังสีเท้านกพิราบแก่พระนันทะ เพื่อจะให้ พระนันทะรู้ธรรม พระนันทะก็ได้รู้ธรรมด้วยอุบายอันนั้น

พระตถาคตเจ้าเป็นโยคัญญู เป็นเทสนากุสโล อย่างนี้ ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง มหาบพิตร คือสมเด็จพระพิชิตมารถูกพราหมณ์ โมฆราช ทูลถามปัญหาถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ทรงแก้ด้วยทรงเห็นว่า มานะของกุลบุตรนี้ จักหายไปด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อมานะหายไปธรรมวิเศษก็จักมีดังนี้ ด้วยอาการที่ทรงกระทําอย่างนั้น มานะของกุลบุตรนั้นก็สงบไป มานะสงบไปแล้ว ก็ได้สําเร็จ อภิญญา ๖

แม้ด้วยอาการอย่างนี้ สมเด็จพระชินสีห์ ก็ชื่อว่าเป็นโยคัญญู คือผู้รู้จักวิธีประกอบ หรือวิธีการชื่อว่าเทสนากุสโล ผู้ฉลาดในเทศนา ขอถวายพระพร
ดีแล้ว พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้ แก้ปัญหานี้ออกให้แจ่มแจ้ง ด้วยอ้างเหตุการณ์หลายอย่างแล้วได้ทําลายป่ารกแล้วทํามืดให้สว่างแล้ว ทําลายข้อยุ่งยากเสียแล้ว หักล้างถ้อยคําของผู้อื่นเสียหมดแล้ว ทําให้เกิดจักษุ คือปัญญา แก่ศากยบุตรพุทธชิโนรสได้แล้ว

อธิบาย


ท่านเสลพราหมณ์ได้เห็นพระพุทธเจ้า เมื่อตรวจดูพระพุทธลักษณะตามตําราของพราหมณ์แล้วเห็นว่ายังไม่ครบถ้วนบางประการ จึงมีความสงสัยอยู่ว่า จะเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงหรือไม่ พระพุทธองค์ทรงทราบอุปนิสัย จึงได้ทรงกระทําเช่นนั้น

ส่วนพราหมณ์ “โมฆราช” ท่านเป็นศิษย์หนึ่งใน ๑๖ คน ของ “พราหมณ์พาวรี”โดยอาจารย์เป็นผู้ตั้งคําถาม ให้ศิษย์ทั้ง ๑๖คน ไปถามพระพุทธเจ้า ท่านโมฆราชจะเป็นผู้ถาม ปัญหาคนที่ ๒ แต่ถือตัวว่าตนเป็นคนมี ปัญญาดีกว่าพระพุทธเจ้าจึงตรัสห้ามไว้ก่อน เพราะรู้ว่ายังมีมานะอยู่

ต่อเมื่อถามปัญหาเป็นลําดับถึงคนที่ ๘ แล้ว ท่านโมฆราชปรารภจะทูลถามปัญหาเป็นคนที่ ๙ อีก พระบรมศาสดาก็ทรงห้ามไว้ดุจนัยหนหลัง รอให้ถามปัญหาถึง ๑๔ คนแล้ว จึงทูลถามเป็นคนที่ ๑๕ ว่า
ข้าพระพุทธเจ้าจะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชความตายจึงไม่แลเห็น คือจักไม่ตามทัน พระพุทธเจ้าข้า
สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสว่า ท่านจงเป็นคนมีสติพิจารณาเห็นโลก โดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่า เป็นตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจะข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายอย่างนี้ ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แล มัจจุราชจึงจะไม่แลเห็นฯ
ในที่สุดแห่งการแก้ปัญหาข้อนี้ ท่านโมฆราชได้บรรลุพระอรหัตผล มาณพทั้ง ๑๖ คนกับทั้งบริวาร จึงได้ทูลขออุปสมบท ต่อมาพระโมฆราชได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง




ปัญหาที่ ๒

ถามเรื่องผรุสวาจาของพระพุทธเจ้า


ข้าแต่พระนาคเสน “พระสารีบุตรธรรมเสนาบดี” กล่าวไว้ว่า พระตถาคตเจ้ามีวจีสมาจารอันบริสุทธิ์ (วาจาสุภาพ) แล้ว ไม่ต้องรักษาวจีทุจริตว่า ขออย่าให้ผู้อื่นล่วงรู้วจีทุจริตนี้ของเรา และกล่าวไว้อีกว่า เมื่อพระสุทินกลันทกบุตรกระทําความผิด พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติปาราชิก ก็ได้ทรงเปล่งพระวาจาว่า พระสุทินเป็นโมฆบุรุษด้วยผรุสวาจา(วาจาหยาบคาย)
ด้วยเหตุที่สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัส เรียกว่า โมฆบุรุษนั้น พระสุทินก็สะดุ้งใจ ด้วยความสะดุ้งใจอย่างแรงกล้า แล้วเกิดความกินแหนงไม่อาจแทงตลอดอริยมรรคได้

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าคําว่า พระตถาคตเจ้า มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ คือมีวาจาอ่อนโยนแล้ว ไม่มีวาจาทุจริตนั้นถูก ข้อที่ว่า ตรัสเรียกพระสุทินด้วยพระวาจาว่าเป็นโมฆบุรุษ เพราะความผิดของพระสุทินนั้น ก็ผิดไป ถ้าคําว่า ได้เปล่งพระวาจาเรียกพระสุทินว่าเป็นโมฆบุรุษ เพราะความผิดนั้น เป็นของถูกข้อว่า พระตถาคตเจ้ามีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ไม่มีวจีทุจริตนั้น ก็ผิดไป ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ขอได้โปรดวิสัชนาต่อไปเถิด

พระนาคเสนแก้ไขว่า ขอถวายพระพร
ข้อที่ว่า พระสารีบุตรเสนาบดีกล่าวไว้ว่า พระตถาคตเจ้ามีวจีสมาจารบริสุทธิ์ไม่มีวจีทุจริตที่จะต้องปิดบังไว้ด้วย คิดว่าอย่าให้ผู้อื่นรู้ดังนี้เป็นของจริงข้อที่ว่าทรงเปล่งพระวาจาว่าโมฆบุรุษเวลาจะทรงบัญญัติปฐมปาราชิก เพราะความผิดของพระสุทินนั้น ก็เป็นของจริง

แต่การทรงเปล่งพระวาจานั้น ได้มีขึ้นด้วยพระหฤทัยไม่ขุ่นมัว ด้วยความไม่แข่งดี ด้วยลักษณะตามเป็นจริง อะไรเป็นลักษณะจริงในข้อนั้น
การรู้อริยสัจ ๔ ในอัตภาพนี้จะไม่มีแก่ผู้ใด ความเป็นบุรุษของผู้นั้นก็เป็นโมฆะ ซึ่งแปลว่าบุรุษเปล่าคือจะทําบุญภาวนาสักเท่าใดจะได้สําเร็จมรรคผลก็หาไม่ ผู้นั้นจึงเรียกว่า “ โมฆบุรุษ” ด้วยเหตุนี้แหละ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงเรียกพระสุทินว่า โมฆบุรุษตามเป็นจริง ไม่ใช่ไม่เป็นจริง

ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ที่ด่าผู้อื่น ก็ย่อมด่าตามเป็นจริง แต่โยมก็ลงโทษปรับสินไหม เพราะเขามีความผิด อาศัยเรื่องที่เขาด่านั้นเป็นของจริง
ขอถวายพระพร ผู้ที่กระทําผิด มหาบพิตรเคยทรงกราบไหว้ หรือลุกรับ หรือสักการบูชา หรือพระราชทานรางวัล หรือพระราชทานทรัพย์ให้มีอยู่หรือไม่

ไม่มีเลย พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่กระทําผิด ย่อมสมควรแก่การด่าว่า ขู่เข็ญ กระทั่งศีรษะของเขาก็ควรตัด ควรฆ่า
ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น สมเด็จพระภควันต์ก็ทรงกระทําถูกแล้ว ไม่ใช่ทรงกระทําผิด

ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะกระทําให้เหมาะ ให้ดีกว่านั้น เพราะเพียงแต่เทพยดามนุษย์ได้ยินพระนามของพระศาสดาจารย์เจ้าเท่านั้น ก็เคารพยําเกรง สะดุ้งกลัว ละอายใจอยู่แล้ว ยิ่งได้เห็นหรือได้เข้าไปเฝ้า ได้เข้าไปไกล้ ก็ยิ่งเคารพเกรงกลัว
ขอถวายพระพร แพทย์ย่อมให้ยาถ่ายที่แรงกล้า ตามสมควรแก่โรคในลําไส้ เพื่อให้กัดเสมหะอันร้ายในลําไส้ออกเสีย มีบ้างไหม
มี พระผู้เป็นเจ้า เพราะเขามุ่งความหายจากโรค
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อสมเด็จพระธรรมสามิสร์จะทรงประทานยาถ่ายโรค คือกิเลสทั้งสิ้นก็ได้ทรงประทานยาถ่ายที่สมควรแก่โรค คือกิเลส ถึงผรุสวาจา คือคําด่าว่าของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสด้วยพระทัยเมตตา ก็ทําให้สัตว์ทั้งหลายรักใคร่ใจอ่อนโยนได้

น้ำร้อนย่อมทําของอย่างใดอย่างหนึ่งที่มียางเหนียวให้เหนียวได้ ให้อ่อนได้ฉันใด ผรุสวาจาของพระตถาคตเจ้า อันประกอบด้วยพระกรุณาก็มีประโยชน์ฉันนั้น
อนึ่งถ้อยคําของบิดาอันประกอบด้วยกรุณา ก็มีประโยชน์แก่บุตรทั้งหลายฉันใด วาจาของพระตถาคตเจ้า ถึงจะเป็นผรุสวาจา แต่ประกอบด้วยพระกรุณาก็มีประโยชน์ฉันนั้นวาจาของสมเด็จพระทรงธรรม์ ถึงจะเป็นผรุสวาจา ก็ทําลายกิเลสของสัตว์ทั้งปวงได้

น้ำมูต (ปัสสาวะ)โค ที่ดองยา ถึงจะมีกลิ่นเหม็น แต่เมื่อบุคคลดื่มกินเข้าไปแล้ว ก็แก้โรคทั้งปวงได้ฉันใด พระวาจาของพระตถาคตเจ้า ถึงจะเป็นผรุสวาจา ก็ไม่ทําให้เกิดทุกข์แก่ใครฉันนั้น
ปุยนุ่นถึงจะใหญ่ เวลาตกถูกร่างกายของผู้อื่น ก็ไม่ทําให้เจ็บปวดฉันใด พระวาจาของพระตถาคตเจ้า ถึงจะเป็นผรุสวาจา ก็ไม่ทําให้เกิดทุกข์แก่ใครฉันนั้น ขอถวายพระพร
ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาข้อนี้พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขดี ด้วยเหตุหลายอย่างแล้ว

อธิบาย


เป็นอันว่าการพูดจาหยาบคายด้วยเจตนามุ่งร้ายจึงจะเป็น ผรุสวาจา แต่ที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสติเตียน พระสุทิน ก็เป็นเพราะเหตุว่ามารดาของพระสุทินพาภรรยาเก่าของท่าน (ตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้บวช) ซึ่งกําลังมีระดูไปที่ป่ามหาวันชวนให้สึก หวังที่จะให้ครอบครองทรัพย์สมบัติ แต่พระสุทินก็ไม่ยอม

ครั้งนั้นยังไม่มีการบัญญัติพระวินัยห้ามเสพเมถุน พระสุทินเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่พอจะทําได้เพื่อให้มีบุตรไว้สืบสกุลจึงเสพเมถุนด้วยภรรยาของตน ตามคําขอร้องของมารดาว่า ช่วยสร้างพืชไว้ให้สักหน่อย
ซึ่งต่อมานางก็ตั้งครรภ์และคลอดบุตร บุตรของพระสุทินจึงได้นามว่า เจ้าพืช ภรรยาของพระสุทินก็ได้นามว่า มารดาของเจ้าพืช ต่อมาทั้งมารดาและบุตรออกบวช ได้สําเร็จอรหัตผลทั้งสองคน
ความจริงพระสุทินออกบวชด้วยศรัทธาแท้ เพราะต้องอ้อนวอนบิดามารดาถึง ๓ ครั้ง และยอมนอนอดอาหารถึง ๗ วัน เพื่อให้เห็นว่าตนมีความตั้งใจจริง ต่อมาเพื่อน ๆ ช่วยอ้อนวอน บิดามารดาจึงยอมให้บวช เมื่อบวชแล้วท่านก็ตั้งใจประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง

เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ พระสุทินจึงเกิดความไม่สบายใจขึ้นภายหลัง ถึงขนาดซูบผอม ภิกษุทั้งหลายจึงติเตียนและนําความกราบทูลพระผู้มีพระภาคพระองค์จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนแล้วจึงทรงติเตียนว่า เป็นโมฆบุรุษ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามมิให้ภิกษุเสพเมถุน ทรงปรับอาบัติปาราชิก แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด พระสุทินจึงเป็นต้นบัญญัติในข้อนี้




ปัญหาที่ ๓

ถามเรื่องวิญญาณของต้นไม้


ข้าแต่พระนาคเสน พระตถาคตเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เหตุไฉนเธอผู้มี ความรู้ มีความเพียร มีความไม่ประมาท จึงถามสุขไสยากับต้นไม้ ซึ่งไม่มีเจตนา ฟัง อะไรไม่ได้ ไม่รู้อะไร” ดังนี้แต่ตรัสไว้อีกว่า “ นี่แน่ะภารทวาชพราหมณ์ เธอจงไป ถามต้นสะคร้อ ต้นสะคร้อจะตอบเธอตาม ถ้อยคําของเรา” ดังนี้
ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าต้นไม้ไม่มีเจตนา คําที่ว่า “ภารทวาชพราหมณ์ไปพูดกับต้นสะคร้อนั้น” ก็ผิดไป ถ้าคําว่า“ภารทวาชพราหมณ์ไปพูดกับต้นไม้นั้น” เป็นคําถูกต้อง คําว่า “ต้นไม้ไม่มีเจตนาก็ผิด” ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ ขอได้โปรดแก้ให้สิ้นสงสัยเถิด

พระนาคเสนชี้แจงแสดงว่า
ขอถวายพระพร ข้อที่ว่า สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า ต้นไม้ไม่มีเจตนานั้น ก็ถูก ข้อที่ว่า ภารทวาชพราหมณ์ได้พูดกับต้นสะคร้อนั้น ก็ถูก คือ ถูกตามโลกสมัญญา อันได้แก่ ตามความเชื่อถือของคนทั้งหลาย ความจริงนั้นการพูดแห่งสิ่งไม่มีเจตนา คือไม่มีจิตวิญญาณไม่มี
แต่ว่ามี “เทวดา” ที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นสะคร้อนั้น พราหมณ์นั้นได้ไปถามต้นสะคร้อขึ้นเทวดาจึงตอบแทนต้นสะคร้อ แต่คนทั้งหลายก็เรียกว่าพูดกับต้นไม้ อันนี้เป็น “โลกบัญญัติ”

ขอถวายพระพร เกวียนอันเต็มด้วยข้าวเปลือก คนก็เรียกว่า เกวียนข้าวเปลือก คือเกวียนอันบรรทุกเต็มด้วยข้าวเปลือกคนจึงเรียกว่า เกวียนข้าวเปลือก แต่เกวียนนั้นเป็นเกวียนทําด้วยไม้ ไม่ใช่ทําด้วยข้าวเปลือก ที่เขาเรียกว่า เกวียนข้าวเปลือก ก็เพราะบรรทุกข้าวเปลือกฉันใด
ต้นไม้พูดไม่ได้ ต้นไม้ไม่มีเจตนา แต่เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้นั้นต่างหากเป็นผู้พูด คนทั้งหลายจึงถือว่าต้นไม้พูดฉันนั้น

อีกประการหนึ่ง เหมือนกับคนกําลังเอานมส้ม มากระทําให้เป็นน้ำมันเปรียงอยู่ เขาก็เรียกว่า เราทําน้ำมันเปรียง ความจริงนั้น นมส้มนั้นยังไม่เป็นน้ำมันเปรียง เพียงแต่ เขากําลังกระทําอยู่ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด
ข้อที่ว่าต้นไม้พูด ซึ่งหมายถึงเทวดาที่อยู่ที่ต้นไม้นั้นพูด ก็เป็นคําโลกบัญญัติขึ้น ฉันนั้น คนพูดกันตามความเข้าใจของโลกฉันใด พระตถาคตเจ้าก็ทรงแสดงธรรมตามความเข้าใจของโลกฉันนั้น ขอถวายพระพร
ถูกต้องแล้ว พระนาคเสน โยมยอมรับว่าถูก




ปัญหาที่ ๔

ถามเรื่องอานิสงส์แห่งบิณฑบาตทั้งสองคราว


ข้าแต่พระนาคเสน พระเถระทั้งหลาย ผู้กระทําธรรมสังคีติ สังคายนา ได้กล่าวไว้ว่า พระพุทธองค์ทรงเสวยอาหารของนายจุนท์ผู้เป็นบุตรช่างทองแล้วก็เกิดอาพาธหนัก มีมรณะเป็นที่สุด ดังนี้
และกล่าวไว้อีกว่าองค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสไว้ว่าบิณฑบาตทั้งสองคราวนี้มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน มีผลานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตอื่น ๆ บิณฑบาตทั้งสองคราวนี้ คือเมื่อใดบ้าง คือบิณฑบาตที่ นางสุชาดา ถวายก่อนที่จะได้ตรัสรู้ ๑ และบิณฑบาตที่ นายจุนท์ ถวายก่อนที่จะปรินิพพาน ๑ ดังนี้

ข้าแต่พระนาคเสน “ ถ้าอาพาธแรงกล้า ทําให้เกิดทุกขเวทนา มีมรณะเป็นที่สุดแก่พระตถาคตเจ้า เพราะเสวยอาหารของนายจุนท์” ถูกแล้ว คําที่ว่า “บิณฑบาตนั้นมีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน มีผลานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตอื่น ๆ” ก็ผิดไป
ถ้าคําว่า บิณฑบาตนั้น มีผลวิบากเสมอกัน มีผลานิสงส์ยิ่งกว่าบิณฑบาตอื่น ๆ ถูกแล้ว คําที่ว่าเกิดอาพาธแรงกล้า มีทุกขเวทนาหนัก มีมรณะเป็นที่สุด เพราะเสวยอาหารของนายจุนท์นั้น ก็ผิดไป
ข้าแต่พระนาคเสน บิณฑบาตนั้นจะมีผลมาก เพราะเจือยาพิษ เพราะทําให้เกิดโรค เพราะทําให้สิ้นอายุทําให้จักษุของชาวโลกพินาศไป ทําให้พระผู้มีพระภาคเจ้าสิ้นพระชนม์แล้ว เหตุไรจึงมีผลมาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงชี้แจงแสดงไว้ เพื่อข่มขี่ถ้อยคําของผู้อื่นเสียในเรื่องนี้ประชุมชนหลงเข้าใจว่าโรคพระโลหิตได้เกิดแก่พระพุทธเจ้าเพราะเสวยมากเกินไปด้วยอํานาจความโลภ ดังนี้ เรื่องนี้จึงเป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด

พระนาคเสนจึงตอบว่า ขอถวายพระพร คําที่ว่า
“พระพุทธองค์ทรงเสวยอาหารของนายจุนท์แล้ว เกิดอาพาธหนักมีมรณะนั้น” ก็ถูก คําที่ว่า “บิณฑบาตทั้งสองคราวนั้น มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกันมีผลานิสงส์ยิ่งกว่าบิณฑบาตอื่น ๆ นั้น” ก็ถูก เพราะว่าบิณฑบาตนั้นมีคุณมาก มีผลมาก มีวิบากมาก มีอานิสงส์ไม่ใช่น้อย

เทวดาทั้งหลายมีความยินดีเลื่อมใสด้วยคิดเห็นว่า บิณฑบาตคราวนี้เป็นคราวสุดท้ายของพระพุทธองค์แล้ว จึงโปรยผงทิพย์ลงในสุกรมัททวะ(เนื้อสุกรอ่อน) ผงทิพย์นั้นสุกเสมอกัน สุกมาก เป็นที่ยินดีแห่งใจ ร้อนด้วยไฟในท้อง
แต่ใช่ว่าโรคจะบังเกิดด้วยอาหารนั้นหามิได้ แต่เพราะพระพุทธเจ้ามีพระวรกายไม่สู้มีกําลังอยู่แล้ว อายุสังขารก็สิ้นแล้ว โรคที่เกิดขึ้นจึงกําเริบ เหมือนกับกระแสน้ำไหลอยู่ตามปกติแล้ว เมื่อฝนตกลงมาใหญ่ ก็ยิ่งมีกระแสน้ำมากขึ้นฉะนั้น
อีกอย่างหนึ่งเหมือนกับไฟอันลุกอยู่ตามปกติแล้วเมื่อใส่เชื้อไฟอย่างอื่นลงไปก็ยิ่งลุกมากขึ้น อีกนัยหนึ่ง เหมือนลมในท้องซึ่งพัดไปมาอยู่ตามปกติแล้ว เมื่อกินของไม่สุกอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปก็เกิดลมมากขึ้นฉะนั้น ไม่มีใครอาจชี้โทษในบิณฑบาตนั้นได้ว่า บิณฑบาตนั้นทําให้เกิดโรค ขอถวายพระพร

ข้าแต่พระนาคเสนเป็นเพราะเหตุไร บิณฑบาตทั้งสองนั้นจึงมีผลวิบากเสมอกัน มีผลานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตอื่น ๆ
ขอถวายพระพร เพราะอํานาจคุณธรรมในการเข้าสมาบัติอยู่เนืองๆ

คุณธรรมในการเข้าสมาบัติอยู่เนืองๆ นั้น ได้แก่อะไร พระผู้เป็นเจ้า
ขอถวายพระพร ได้แก่การเข้า อนุบุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ เข้ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ นิโรธ ๑ กลับไปกลับมา ถอยหน้า ถอยหลัง

ข้าแต่พระนาคเสน พระตถาคตเจ้าได้ เข้าอนุบุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ กลับไปกลับมาถึง ๓ ครั้ง เมื่อก่อนจะนิพพานนั้นไม่เคยมี บ้างหรือ
ไม่เคยมี มหาบพิตร
น่าอัศจรรย์ พระนาคเสน ทานอย่างเยี่ยมซึ่งไม่มีทานอื่นใดเสมอเหมือน อันไม่นับ เข้าในบิณฑบาตทั้งสองคราวนี้ก็มีอยู่
น่าอัศจรรย์ ที่ทานนั้นมีผลานิสงส์ยิ่งกว่า ทานอื่น ๆ ด้วยอํานาจแห่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ทั้ง ๙ ซึ่งเป็นของใหญ่

อธิบาย

ในอรรถกถา มหาปรินิพพานสูตร ได้กล่าวว่า ถ้าพระพุทธองค์ไม่ได้ทรงเสวยเนื้อสุกรอ่อนอันเจือด้วยผงทิพย์ ในวันนั้นจะเกิด พระโรคาพาธหนักยิ่งกว่านั้น หนักจนไม่สามารถจะเสด็จไปด้วยพระบาทได้ นอกจากจะทรงไปทางอากาศด้วยฤทธิ์เพราะในวันนั้น โรคลงพระโลหิตที่เคยเป็นมาแล้วในกลางพรรษาได้กําเริบขึ้นอีก เพราะโรคนั้นสงบลงไปด้วยอํานาจอิทธิบาทภาวนา เพียงชั่ว ๖ เดือนเท่านั้น ถ้าทรงเข้าอิทธิบาทภาวนาอีก ก็จะบรรเทาทุกขเวทนาไปอีก ๖ เดือน เมื่อถึง ๖ เดือนแล้วทรงเข้าอีก ก็จะทรงสบายไปอีก ๖ เดือน
เมื่อทรงใช้อํานาจอิทธิบาททุกระยะ ๖ เดือนไป ก็จะมีพระชนม์อยู่ตั้งกัป หรือเกินกว่า แต่ไม่ทรงทํา เพราะทรงปลงพระชนมายุสังขาร ให้เป็นไปตามเรื่องของสังขารเสียแล้ว ดังนี้




ปัญหาที่ ๕

ถามเรื่องทรงอนุญาตพุทธบูชา


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ ดูก่อนอานนท์ เธอ ทั้งหลายไม่ต้องขวนขวาย เพื่อบูชาพระสรีระ ของพระตถาคตเจ้า” แล้วตรัสไว้อีกว่า “ เธอทั้งหลาย จงบูชาธาตุของผู้ควรบูชา เพราะผู้ทําอย่างนั้น เวลาจากโลกนี้แล้ว จักได้ไปบังเกิดในสวรรค์”
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระตถาคตเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า “ดูก่อนอานนท์ พวกเธอไม่ต้องขวนขวาย เพื่อบูชาพระสรีระของพระตถาคตเจ้า” ดังนี้ถูกแล้ว คําว่า “เธอทั้งหลายจงบูชา ธาตุของผู้ควรบูชา เพราะผู้ทําอย่างนั้น จากโลกนี้แล้วจักได้ไปสู่สวรรค์” ดังนี้ก็ผิด
ถ้าพระตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า “พวกเธอ จงบูชาธาตุของผู้ควรบูชา เพราะผู้ทําอย่างนั้น จากโลกนี้แล้วจักได้ไปสวรรค์” ดังนี้ถูก คําที่ว่า “พวกเธอไม่ต้องขวนขวาย เพื่อบูชาพระสรีระของพระตถาคตเจ้า” ดังนี้ก็ผิดปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว

พระนาคเสนแก้ข้อสงสัยว่า
ขอถวายพระพร คําทั้งสองนั้น จริงทั้งนั้น คําที่ตรัสห้ามไม่ให้ขวนขวายบูชาพระสรีระของพระตถาคตเจ้านั้น ทรงห้ามเฉพาะ “พระภิกษุสงฆ์เท่านั้น” เพราะการบูชาพระสรีระศพของ พระตถาคตเจ้านั้น ไม่จําเป็นแก่พระภิกษุทั้งหลาย จําเป็นแก่เทวดามนุษย์นอกนั้น ต่างหาก

อุปมาเรียนศิลปศาสตร์


ข้อนี้มีอุปมาเหมือนกับการศึกษาทางช้าง ม้า รถ ธนู หอก ดาบ เลข คํานวณ เวทย์ มนต์ กลยุทธ์ต่าง ๆ จําเป็นสําหรับราชบุตรทั้งหลายเท่านั้น ไม่จําเป็นแก่พวกเวศย์ พวกศูทร เพราะพวกนี้จําเป็นที่จะต้องทํากสิกรรม พาณิชกรรม และเลี้ยงโคเท่านั้น
การพิจารณาสังขาร การกระทําโยนิโสมนสิการ (กําหนดใจไว้ด้วยอุบายที่ชอบธรรม) การเจริญมหาสติปัฏฐาน การค้นหาแก่นธรรม การสู้รบกับกิเลส การฝึกฝนอยู่เนือง ๆ ซึ่งประโยชน์ของตนนั้น เป็นของจําเป็นสําหรับ พระภิกษุทั้งหลาย
ส่วนการบูชาพระสรีระศพ หรือพระธาตุ ของพระพุทธเจ้านั้น จําเป็นสําหรับเทพยดา-มนุษย์นอกนั้น

อีกประการหนึ่ง เวทต่าง ๆ คือ อุรุเวท รู้ภาษาสัตว์ ยชุเวท รู้บูชายัญ อาถัพพเวท รู้ผูกแก้อาถรรพณ์ ลักขณะ รู้ทายลักษณะเป็นต้น เป็นของจําเป็นที่พวกพราหมณ์มาณพ จะต้องศึกษา ส่วนพวกเวศย์ พวกนอกนั้น จําเป็นที่จะต้องกระทํากสิกรรม พาณิชกรรม และเลี้ยงโคเท่านั้น
เพราะฉะนั้น สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาจึงทรงห้ามเสีย ถ้าไม่ทรงห้าม พระภิกษุทั้งหลายก็จะสละกระทั่งบาตรจีวรของตนออกกระทําพุทธบูชา ขอถวายพระพร
ถูกแล้ว พระนาคเสน

◄ll กลับสู่สารบัญ

<<โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป>>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 27/1/10 at 08:20 Reply With Quote



Update 27 มกราคม. 2553

ตอนที่ ๒๔

ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องสะเก็ดศิลาถูกพระบาท


...“ข้าแต่พระนาคเสน มีคํากล่าวว่า เมื่อ สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เสด็จดําเนินไปบนพื้นปฐพีในเวลาใด พื้นปฐพีอันไม่มีจิตวิญญาณ ก็ทําอาการเหมือนมีจิตวิญญาณ คือที่ต่ำก็สูงขึ้น ที่สูงก็ต่ำลงแต่มีกล่าวไว้อีกว่า สะเก็ดศิลาได้ กระเด็นมาถูกพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุใดสะเก็ดศิลาที่กระเด็นมานั้น จึงไม่กระเด็นกลับไปให้เหมือนของที่มีจิตวิญญาณ

ถ้าคําว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปบนแผ่นดินในที่ใดแผ่นดินในที่นั้นที่ต่ำก็สูง ที่สูงก็ต่ำ เหมือนมีจิตวิญญาณจริงแล้ว ข้อที่ว่า “ สะเก็ดศิลากระเด็นมาถูกพระบาท” ก็ผิดไป ถ้าข้อว่า “สะเก็ดศิลากระเด็นมาถูกพระบาท” นั้นถูก ข้อว่า “แผ่นดินอันไม่มี จิตวิญญาณ ก็แสดงอาการสูงต่ำเหมือนมีจิตวิญญาณ” ก็ผิด ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ เป็นปัญหาลึก หยั่งรู้ได้ยาก มาถึงพระผู้เป็น เจ้าแล้ว

นาคเสนเถระตอบว่า
“ขอถวายพระพร จริงทั้งสองอย่าง นั่นแหละ แต่สะเก็ดศิลานั้น ไม่ได้กระเด็น มาตามธรรมชาติของมัน ตกลงมาด้วยการกระทําของ พระเทวทัต ต่างหาก พระเทวทัตได้อาฆาตต่อสมเด็จพระบรมโลกนาถมาหลายแสนชาติแล้ว”

พระเทวทัตคิดว่าจักให้ก้อนศิลาตกลง มาทับพระพุทธเจ้า จึงได้กลิ้งก้อนศิลาใหญ่ โตเท่าเรือนยอด ลงมาด้วยกําลังเครื่องยนต์ ขณะนั้นมีก้อนศิลา ๒ ก้อน ได้ผุดขี้นจาก พื้นดินมารับก้อนศิลานั้นไว้ ก้อนศิลานั้น ถูกกระทบ ก้อนศิลา ๒ ก้อนนั้นก็แตกกระจายไปสะเก็ดศิลาก้อนหนึ่งจึงได้ตกไปถูกพระบาทของพระพุทธเจ้า

ข้าแต่พระนาคเสน ก้อนศิลา ๒ ก้อนนั้น ได้รับก้อนศิลานั้นไว้แล้ว ก็ควรจะรับ สะเก็ดศิลาไว้ด้วย
รับไว้แล้วมหาบพิตร แต่ว่าสะเก็ดศิลามีมาก บางสะเก็ดก็รับไว้ไม่หมดจึงได้ตกกระเด็นไป
เปรียบเหมือนกับนมสด หรือน้ำมันเปรียง น้ำอ้อย น้ำผึ้ง เนยใส น้ำมัน เนื้อหมี เนื้อสัตว์ ต่าง ๆที่บุคคลกําไว้ในกํามือ เล็ดลอดไหลออกไปตามช่องนิ้วมือก็มีฉันใด
สะเก็ดศิลาที่เล็ดลอดไปจากการรับไว้แห่งศิลา ๒ ก้อนนั้นก็มีได้เช่นกันฉันนั้นก้อนที่เล็ดลอดไป ก็ได้ไปตกถูกพระบาทของพระพุทธเจ้า
ข้อนี้เปรียบได้อีกอย่างหนึ่ง คือเหมือนกับทรายละเอียดที่บุคคลกําไว้ แล้วเล็ดลอด ออกตามช่องนิ้วมือฉะนั้น หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนกับคําข้าวที่บุคคลรับไว้ด้วยปาก ตกร่วงออกจากปากก็มีได้ฉันนั้น

ข้าแต่พระนาคเสน ก้อนศิลา ๒ ก้อนนั้น ได้รับก้อนศิลานั้นไว้แล้ว สะเก็ดศิลานั้นก็ควร จะเคารพพระพุทธเจ้า เหมือนกับแผ่นดินใหญ่ แสดงความเคารพ ต่อพระพุทธเจ้าเช่นกันไม่ใช่หรือ


ผู้ที่เคารพผู้อื่นไม่ได้ ๑๒ จําพวก

ขอถวายพระพรผู้ที่เคารพผู้อื่นไม่ได้มีอยู่ ๑๒ จําพวก คือ
๑. ผู้กําหนัดยินดี
๒. ผู้โกรธ
๓. ผู้หลง
๔. ผู้กําเริบ
๕. ผู้เนรคุณ
๖. ผู้มีใจกระด้างเกินไป
๗. ผู้ชั่วช้า
๘. ผู้จักลงโทษ
๙. ผู้ไม่สละ
๑๐. ผู้กําลังทุกข์
๑๑. ผู้โลภครอบงํา
๑๒. ผู้วุ่นอยู่กับการงาน
มหาราชะ ถ้าสะเก็ดศิลานั้น ไม่แตกไป จากก้อนศิลา ก้อนศิลาใหญ่ทั้งสองที่ผุดขึ้นรับนั้น ก็จะได้รับสะเก็ดศิลานั้นไว้ได้ สะเก็ดศิลานั้น ได้ตั้งอยู่ที่อากาศ ได้แตกกระเด็นไปอย่างรวดเร็วไม่มีทิศที่หมายตกไปตามแต่จะได้ จึงไปตกถูกพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อีกอย่างหนึ่ง ใบไม้แห้งที่ถูกลมหัวด้วนพัดขึ้นไป ก็ไม่มีทิศที่หมาย ย่อมตกไปตาม แต่จะได้ฉันใด สะเก็ดศิลานั้นก็ไม่มีทิศที่หมายตกไปตามแต่จะได้ฉันนั้น
อนึ่งสะเก็ดศิลานั้น ได้ตกไปถูกพระบาท ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะให้พระเทวทัต ผู้อกตัญญู ผู้กระด้าง ได้เสวยทุกข์ในนรก ขอถวายพระพร
ดีแล้วพระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้อง

(อธิบาย)

ข้อที่ว่า (ผู้กําเริบ)หมายถึง ผู้นั้นถูกคนยกย่องสรรเสริญ จึงมีมานะไม่ยอมเคารพใคร ข้อว่า (ผู้จักลงโทษ) คือถือตัวว่าเป็นใหญ่ ข้อว่า ผู้ไม่สละ คือมีความตระหนี่



ปัญหาที่ ๗

ถามเรื่องการถวายโภชนาหาร


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ โภชนะอันได้ด้วยการกล่าวคาถา ไม่สมควรที่เราจะบริโภค ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้เป็นธรรมดาของผู้รู้แจ้งเห็นจริงทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมกําจัดเสียซึ่งการกล่าวคาถา ดูก่อนพราหมณ์ ความประพฤติ ข้อนี้อยู่ในธรรม” ดังนี้

แต่ต่อมา เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาจะทรงแสดงธรรม ก็ทรงแสดงไปตามลําดับ คือทรงแสดง ทานกถา ก่อนแล้วจึงทรงแสดง สีลกถา ในภายหลัง เทพยดามนุษย์ทั้งหลาย ได้ฟังถ้อยคําของพระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่ในโลก จึงได้ชวนกันถวายทาน พระสาวกทั้งหลายก็ได้บริโภคทานอันนั้น
ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงกําจัดการกล่าวคาถาจริงแล้ว ข้อที่ว่า ทรงแสดงทานกถาก่อนก็ผิดไป

ถ้าข้อว่า ทรงแสดงทานกถาก่อนนั้นถูกข้อที่ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมกําจัดการกล่าวคาถานั้นก็ผิด
ข้อนั้นเพราะเหตุไร…..เพราะเหตุว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรแก่การถวายทานนั้นได้ทรงแสดงผลแห่งการถวายบิณฑบาตให้คฤหัสถ์ทั้งหลายฟัง
คฤหัสถ์ทั้งหลายฟังแล้วมีใจเลื่อมใสได้ ถวายทานเรื่อย ๆ ไป พวกที่ได้บริโภคทาน นั้นก็ชื่อว่า บริโภคสิ่งที่ได้ด้วยการกล่าวคาถา ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร ข้อที่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า โภชนะอันได้ด้วยการกล่าวคาถา ไม่สมควรที่เราจะฉัน แล้วทรงแสดงทานกถาก่อน อันกิริยานั้น เป็นกิริยาของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงทําให้สาธุชนยินดียิ่งด้วยทานกถาก่อน แล้วจึงทรงชักนําในเรื่องศีลต่อภายหลัง

เปรียบเหมือน คนทั้งหลายที่ให้ของเล่นแก่เด็ก ๆ ซึ่งกําลังเล่นฝุ่นเล่นทราย มีไถและ ค้อนเล็ก ๆหม้อข้าวเล็ก ๆตุ๊กตาเล็ก ๆภาชนะเล็ก ๆ รถเล็ก ๆ ธนูเล็ก ๆ เสียก่อน จึงแนะนําในเรื่องการงานต่อภายหลังฉะนั้น
อีกอย่างหนึ่ง เหมือนกับแพทย์ที่ให้คนไข้หนักดื่มน้ำมันสัก ๔ วัน หรือ ๕ วันก่อน พอมีกําลังดีจึงให้กินยาถ่ายภายหลังฉะนั้น
กล่าวคือ เมื่อจิตของผู้ถวายทานทั้งหลายอ่อนแล้ว ก็เป็นสะพานเป็นเรือช่วยให้ข้ามฝั่งสาคร คือสงสารได้ เพราะฉะนั้น สมเด็จพระทรงธรรม์จึงทรงสอนตามสมควรแก่ภูมิเสียก่อน คําสอนของพระองค์นั้น ไม่แสดงการขอด้วยกาย หรือแสดงการขอด้วยวาจา

การขอ


ข้าแต่พระนาคเสน คำว่า การขอ นั้นมีอยู่เท่าใด
ขอถวายพระพร มีอยู่ ๒ ประการ คือ การขอทางกาย ๑ การขอทางวาจา ๑ การขอทั้งสองนี้ แยกออกไปอย่างละ ๒ คือ มีโทษ ๑ ไม่มีโทษ ๑

การขอทางกายที่มีโทษ นั้นได้แก่สิ่งใด.
ได้แก่การที่ภิกษุบางรูปเข้าไปถึงตระกูลแล้ว ยืนอยู่ในที่ไม่สมควรไม่ละที่นั้นไป พระอริยะทั้งหลายย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการขอทางกายนั้น ส่วนบุคคลนั้นเป็นผู้ที่พระอริยเจ้าดูหมิ่น ติเตียน ครอบงํา ไม่ยําเกรง ดูแคลน นินทา ถึงซึ่งอันนับว่าเป็นผู้เสียอาชีพ
ยังมีอีกข้อหนึ่งมหาบพิตร ภิกษุบางรูปเข้าไปถึงตระกูล แล้วยืนอยู่ในที่ไม่สมควร ยื่นคอเล็งดูประหนึ่งว่านกยูงด้วยเข้าใจว่าคนจักไม่เห็นเรา แล้วคนก็เห็นภิกษุนั้น อันนี้ก็เป็นการขอทางกายที่มีโทษ
พระอริยเจ้าทั้งหลายไม่เลี้ยงชีพด้วยการขอทางกายนี้ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่ดูหมิ่น ติเตียนของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความนับว่า เลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควร

การขอทางกายที่ไม่มีโทษ นั้นได้แก่สิ่งใด.
ได้แก่การที่ภิกษุบางรูปเข้าไปถึงตระกูล มีสติสัมปชัญญะ ไปยืนอยู่ในที่สมควรด้วย คิดว่า ผู้ประสงค์จะให้ก็ต้องมา ผู้ไม่ประสงค์จะให้ก็ต้องหลีกไป พระอริยเจ้าทั้งหลายเลี้ยงชีพด้วยการขออย่างนี้
ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่สรรเสริญเชยชมของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความนับว่ามีความประพฤติขัดเกลากิเลส มีอาชีพบริสุทธิ์ ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระบรมสุคต ผู้เป็นวิสุทธิเทพยิ่งกว่าเทพยดาตรัสไว้ว่า
ผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมไม่ขอ ผู้มีความคิดดีทั้งหลายย่อมติเตียนการขอ พระอริยะทั้งหลายได้แต่ยืนเฉพาะ การยืนเฉพาะเป็นการขอของพระอริยะทั้งหลาย” ดังนี้การขอด้วยกายอย่างนี้ เป็นของไม่มีโทษ

การขอทางวาจาที่มีโทษ นั้นคืออย่างไร
คือภิกษุบางรูปย่อมขอสิ่งต่างๆด้วยวาจาคือ ขอจีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ที่เก็บเภสัช พระอริยะทั้งหลายย่อมไม่เลี้ยง ชีวิตด้วยการขออย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่ดูแคลนเป็นที่ติเตียนในธรรมเนียมของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งอันนับว่าผู้เสียอาชีพ

ยังอีกข้อหนึ่งมหาบพิตร คือภิกษุบางรูป เมื่อจะให้ผู้อื่นได้ยินเสียงก็กล่าวว่า เราต้องการของสิ่งนี้ เมื่อคนเหล่านั้นถูกขอด้วยวาจาอย่างนั้น เขาก็ต้องให้ การพูดขออย่างนี้ก็เป็นของมีโทษ
ยังอีกข้อหนึ่งคือภิกษุบางรูปย่อมเปล่งวาจาให้คนอื่นได้ยินว่า ควรถวายแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ ๆพวกที่ได้ยินก็จัดถวาย อันนี้ก็เป็นวจีที่มีโทษ
ขอถวายพระพร พระสารีบุตรเถระ เป็นไข้ในเวลากลางคืน เมื่อพระมหาโมคคัลลาน์ถามถึงยา ก็ได้เปล่งวาจาออกมาแล้วก็ได้ยา ครั้งนั้น พระสารีบุตรเถระก็ได้ทิ้งยานั้นเสีย ไม่ฉันยานั้นด้วยกลัวเสียอาชีพว่า ยานี้ได้เกิดแก่เราเพราะการเปล่งวาจา อย่าให้อาชีพของเราเสียไปเลย พระอริยะทั้งหลายย่อมไม่ฉันของที่ขอด้วยวาจาอย่างนั้น

การขอทางวาจาที่ไม่มีโทษ นั้นคืออะไร
คือเมื่อความจําเป็นมีขึ้น ภิกษุก็ขอยาต่อพวกญาติหรือผู้ที่ปวารณาไว้ การขออย่างนั้นเป็นของไม่มีโทษ ผู้นั้นก็เป็นที่สรรเสริญของพระอริยะทั้งหลาย นับว่าเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์

ข้าแต่พระนาคเสน เมื่อพระตถาคตเจ้า จะเสวยเทวดาทั้งหลายได้โปรยทิพยโอชาลงไปทุกคราวหรือ หรือเฉพาะในบิณฑบาตทั้งสองคราวนั้นคือ เนื้อสุกรอ่อนของนายจุนท์ กับข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาเท่านั้น
ขอถวายพระพรทุกคราวที่สมเด็จพระชินวรเจ้าเสวย เหมือนกับเมื่อพระราชากําลังเสวย พวกพนักงานเครื่องเสวยก็ได้หยิบเอากับข้าวใส่ลงไปในคําข้าวฉะนั้น
ครั้งหนึ่งเมื่อพระตถาคตเจ้าเสวยข้าวสําหรับเลี้ยงม้า ที่พวกพ่อค้าม้านําไปถวาย เทวดาทั้งหลายก็ทําให้ข้าวนั้นอ่อนด้วยผงทิพย์ แล้วน้อมเข้าไปถวาย ทําให้เกิดความสบายพระกายแก่พระตถาคตเจ้า
ข้าแต่พระนาคเสน เป็นลาภอันดีของพวกเทวดา ที่คอยปฏิบัติพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ ไปเป็นอันว่า ปัญหาข้อนี้พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขถูกต้องดีแล้ว




ปัญหาที่ ๘

ถามเรื่องทรงขวนขวายน้อยในการแสดงธรรม

ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบําเพ็ญพระบารมีมาตลอดถึง ๔ อสงไขยกับอีกแสนกัป เพื่อจะช่วยชนหมู่ใหญ่
แต่กล่าวอีกว่า เมื่อสําเร็จพระสัพพัญญุตญานแล้ว จิตขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม ดังนี้

โยมเห็นว่าข้อที่พระพุทธองค์ทรงย่อท้อในการแสดงธรรมนั้น เหมือนกับนายขมังธนู หรือศิษย์ของนายขมังธนู ที่ฝึกหัดธนูไว้เป็น อันมากแล้ว พอสงครามเกิดขึ้นก็ย่อท้อฉะนั้น หรือไม่อย่างนั้นก็เปรียบเหมือนกับนักมวย หรือศิษย์ของนักมวยที่ฝึกหัดไว้มากแล้วเมื่อจะเกิดต่อยกันขึ้นก็ท้อใจฉะนั้น
ข้าแต่พระนาคเสน พระตถาคตเจ้าทรงย่อท้อพระทัยเพราะความกลัว หรือเพราะความขวนขวายน้อยหรือเพราะไม่มีกําลังพอหรือเพราะไม่รู้ทุกสิ่ง ขอจงแก้ไข
ถ้าพระตถาคตเจ้าผู้สร้างบารมีมาตลอดถึง ๔ อสงไขยกําไรแสนกัป เพื่อโปรดเทพยดามนุษย์เป็นอันมากจริงแล้ว ข้อที่ว่าเมื่อสําเร็จพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พระหฤทัยได้น้อม ไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรมนั้นก็ผิดไป
ถ้าข้อนี้ถูก ข้อที่ว่าได้ทรงบําเพ็ญพระบารมีมาเพื่อจะทรงเทศนาโปรดเทพยดามนุษย์เป็นอันมากนั้นก็ผิดไป ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดวิสัชนาให้สิ้นสงสัยเถิด

พระนาคเสนถวายพระพรว่า
มหาบพิตรพระราชสมภาร ข้อที่ว่า ได้ทรงบําเพ็ญพระบารมีมา เพื่อจะทรงเทศนาโปรดเทพยดามนุษย์เป็นอันมาก เวลาได้สําเร็จพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พระหฤทัยของพระองค์ได้น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรมนั้น เป็นเพราะเหตุว่า
๑. ธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้นเป็นของลึกซึ้ง รู้ตามได้ยาก เป็นของละเอียด เป็นของหยั่งรู้ได้ยาก
๒. สัตวโลกทั้งหลายก็มีความอาลัยอยู่ในโลกเป็นอันมาก เพราะมากไปด้วย สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตนเราเขา ดังนี้


อุปมาอุปมัย

เปรียบเหมือนแพทย์ที่จะรักษาคนไข้ซึ่งมีโรคมากอย่าง ก็คิดว่าโรคทั้งปวงของบุรุษนี้ จะหายไปด้วยการกระทําชนิดใดหรือด้วยยาชนิดใด ข้อนี้มีอุปมาฉันใด
สมเด็จพระจอมไตรก็ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นโรคกิเลสทั้งสิ้น และทรงเห็นธรรมอันเป็นของเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ก็มีพระหฤทัยน้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรมฉันนั้น
อีกประการหนึ่ง พระราชาผู้ได้เสวยราชย์แล้ว ได้ทรงพิจารณาเห็นประชาราษฎร์ที่พึ่งพระองค์ มีนายประตู แม่ทัพนายกอง ราชบริพาร ข้าราชการ ชาวนิคม อํามาตย์ราชกัญญา ทั้งหลายแล้ว ก็ทรงรําพึงว่า เราจะสงเคราะห์ คนเหล่านี้อย่างไร
ข้อนี้ฉันใด พระตถาคตเจ้าทรงเล็งเห็น ธรรมอันเป็นของลึก เป็นของละเอียด เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก และทรงเล็งเห็นจิตของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยินดีในกามารมณ์ มากไปด้วยความเห็นว่าเป็นตัวตนเราเขา ก็มีพระหฤทัยน้อมไป ในความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรมฉันนั้น
อีกอย่างหนึ่ง ข้อที่มีพระหฤทัยน้อมไป ในความขวนขวายน้อยนั้น เป็นธรรมดาของ พระตถาคตเจ้าทั้งหลายผู้ที่ ท้าวมหาพรหม ทูลอาราธนาแล้วจึงทรงแสดงธรรม
เพราะเหตุว่าในคราวนั้น ดาบส ปริพาชก สมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้นับถือพระพรหมทั้งนั้น เมื่อพรหมได้ อาราธนาแล้วจึงจักแสดงธรรม
ข้อนี้เปรียบเหมือนพระราชาหรือมหาอํามาตย์ แสดงความเคารพต่อผู้ใด คนทั้งหลาย ก็จะเคารพผู้นั้นยิ่งขึ้นฉันนั้น
เพราะฉะนั้น ท้าวมหาพรหมจึงได้ทูล อาราธนาพระตถาคตเจ้าทั้งปวง เพื่อให้ทรงแสดงธรรม พระตถาคตเจ้าทั้งปวงที่มหาพรหม ทูลอาราธนาแล้ว จึงได้ทรงแสดงธรรมดังนี้ ขอถวายพระพร
ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน



ปัญหาที่ ๙

ถามถึงความมีอาจารย์และไม่มีอาจารย์ของพระพุทธเจ้า

ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสคํานี้ไว้ว่า “ อาจารย์ของเราไม่มี ผู้เสมอเราไม่มี ผู้เปรียบกับเราในมนุษยโลก หรือเทวโลกไม่มี ” ดังนี้ แต่ตรัสไว้อีกแห่งหนึ่งว่า
“ อาฬาระ กาลามะ ผู้เป็นอาจารย์ของเรา ได้ยกย่องเราผู้เป็นศิษย์ว่า มีความรู้เสมอกับตน ได้บูชาเราด้วยการบูชาอย่างเยี่ยม” ดังนี้

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระตถาคตเจ้า ไม่มีอาจารย์ ข้อที่ว่า อาฬาระ กาลามะ ผู้เป็น อาจารย์ของเราได้ยกย่องเรา นั้นก็ผิดไปถ้าข้อที่ว่า อาฬาระ กาลามะ ผู้เป็น อาจารย์ของเราได้ยกย่องเรา นั้นถูก ข้อที่ว่า เราไม่มีอาจารย์ นั้นก็ผิด ปัญหาข้อนี้เป็น อุภโตโกฏิ ขอได้โปรดวิสัชนาให้สิ้นสงสัยเถิด

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ทั้งสองนั้น ถูกทั้งนั้น แต่ข้อที่ตรัสว่า อาฬาระ กาลามะ ผู้เป็นอาจารย์ของเราได้ยกย่องเรานั้น ตรัสหมายถึงครั้งพระองค์ยังไม่ได้ตรัสรู้ คือในเวลานั้นมีอาจารย์สั่งสอนอยู่ถึง ๕ จําพวก คือ
๑. พราหมณ์ทั้ง ๘ ที่เป็นผู้ทํานายพระลักษณะ ได้ถวายสวัสดิมงคล กระทําการรักษา ซึ่งนับว่าเป็นอาจารย์จําพวกแรก
๒. สัพพมิตตพราหมณ์ ที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบให้สอนศิลปวิทยา
๓. เทวดา ที่ทําให้สลดพระทัยแล้วเสด็จออกบรรพชา
๔. อาฬารดาบสกาลามโคตร
๕. อุทกดาบสรามบุตร

อาจารย์ทั้ง ๕ จําพวกนี้ เป็นอาจารย์ในทางโลกิยธรรม ของพระโพธิสัตว์ผู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ต่างหาก ส่วนในทางโลกุตรธรรมนั้น ไม่มีอาจารย์สั่งสอน พระองค์ทรงสําเร็จได้ด้วย พระบารมีของพระองค์เอง จึงตรัสว่าพระองค์ ไม่มีอาจารย์ ขอถวายพระพร
ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน



ปัญหาที่ ๑๐

ถามถึงสมณะที่เลิศและไม่เลิศ

ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ ชื่อว่าเป็นสมณะเพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ” แล้วตรัสไว้อีกว่า “ เราเรียกผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นสมณะ ”
ธรรม ๔ ประการนั้น คือ
ขันติ ความอดทน ๑
อัปปาหารตา ความเป็นผู้บริโภคอาหารน้อย ๑
รติวิปปหานัง การละความยินดี ๑
อากิญจัญญัง ความไม่มีอะไรเหลือ ๑

ธรรมทั้ง ๔ นี้ ย่อมมีแก่ผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ ผู้ยังมีกิเลส ถ้าชื่อว่าเป็นสมณะเพราะความสิ้นอาสวะทั้งหลาย เป็นของถูกแล้ว ข้อที่ว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้เป็นสมณะก็ผิดไป ถ้าผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้เป็นสมณะ ข้อที่ว่า เป็นสมณะเพราะสิ้นอาสวะนั้น ก็ผิดไป ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ให้สิ้นสงสัยเถิด

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ทั้งสองประการนั้นถูกทั้งนั้น ส่วนข้อที่ตรัสไว้ว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ชื่อว่าสมณะนั้น ตรัสไว้ด้วยทรงถือ คุณวิเศษ เป็นสําคัญ
ส่วนข้อที่ตรัสว่า ชื่อว่าเป็นสมณะเพราะสิ้นอาสวะนั้น เป็นคําที่ตรัสไว้อย่างไม่เหลือ อนึ่งผู้สิ้นอาสวะแล้ว ชื่อว่าเป็นสมณะยิ่งกว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อให้สิ้นกิเลสทั้งสิ้น
ดอกไม้ที่เกิดบนบกทั้งหลาย มีดอกมะลิ เป็นอย่างเลิศ ดอกไม้ที่ร้อยแล้ว ดีกว่าดอกไม้ ที่ไม่ได้ร้อยฉันใด ข้าวสาลีดีกว่าข้าวทั้งปวงฉันใด ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ก็เป็นสมณะดีกว่า สมณะทั้งหลายฉันนั้น ขอถวายพระพร
ถูกต้องแล้ว พระนาคเสน

จบวรรคที่ ๓





วรรคที่ ๔

ปัญหาที่ ๑ ถามเกี่ยวกับเรื่องสรรเสริญ


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีผู้สรรเสริญเรา หรือสรรเสริญธรรม สรรเสริญสงฆ์ พวกเธอไม่ควรทําความร่าเริง ความดีใจ ความมีใจแปรปรวน อย่างใดอย่างหนึ่ง ”
แล้วตรัสไว้อีกว่า “ เมื่อเสลพราหมณ์ สรรเสริญตามความเป็นจริง พระตถาคตก็ทรงดีพระทัย ” แล้วได้แสดงพระคุณของพระองค์ยิ่งขึ้นไปว่า “ ดูก่อนเสลพราหมณ์ เราเป็นพระธรรมราชาผู้เยี่ยม ได้ยังธรรมจักรอันไม่มีผู้ปฏิบัติได้ให้เป็นไปโดยชอบธรรม” ดังนี้

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้า ได้ตรัสว่า เวลามีผู้สรรเสริญเราหรือสรรเสริญธรรม สรรเสริญสงฆ์ พวกเธอไม่ควรร่าเริง ไม่ควรดีใจ ไม่ควรมีใจตื่นเต้น ดังนี้ถูกแล้ว คําที่ตรัสว่า เมื่อเสลพราหมณ์สรรเสริญ ตามเป็นจริง เราตถาคตก็ร่าเริงดีใจ แล้วได้แสดงคุณของเราตถาคตให้ยิ่งขึ้นไป ดังนี้ก็ผิด
ถ้าคําว่า เมื่อเสลพราหมณ์สรรเสริญเราตามจริง เราก็ร่าเริงดีใจ ได้แสดงคุณของเราให้ยิ่งขึ้นไป ดังนี้ถูกแล้ว คําที่ตรัสว่า เวลามีผู้อื่นสรรเสริญเรา หรือธรรม หรือสงฆ์ พวกเธอไม่ควรร่าเริงดีใจ มีใจตื่นเต้น ดังนี้ก็ผิด ปัญหาข้อนี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ โปรดวิสัชนาให้ สิ้นสงสัยเถิด

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร คําทั้งสองนั้นจริงทั้งนั้น เมื่อสมเด็จพระภควันต์จะทรงแสดงลักษณะแห่งสภาวธรรมตามความเป็นจริง ก็ได้ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายไว้อย่างนั้น เมื่อเสลพราหมณ์ สรรเสริญพระองค์ตามความเป็นจริง ก็ได้ทรงแสดงคุณของพระองค์ให้ยิ่งขึ้นไปดังที่ว่าแล้วนั้น
แต่การที่ทรงแสดงคุณของพระองค์ให้ยิ่งขึ้นไปนั้น ไม่ใช่เพราะเห็นแก่ลาภยศ พรรคพวกบริวารอย่างไร เป็นเพราะทรงพระเมตตา กรุณาแก่ผู้ฟังทั้งหลายว่า ความรู้แจ้งธรรมจักมีแก่พราหมณ์นั้น พร้อมกับมาณพ ๓๐๐ คน จึงได้ทรงแสดงคุณของพระองค์ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ขอถวายพระพร
ดีแล้วพระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้องดี



ปัญหาที่ ๒

ถามเรื่องไม่เบียดเบียนและไม่ข่มเหง


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้ไว้ว่า จงอย่าเบียดเบียนผู้อื่นในโลก จงถือว่าผู้อื่นจงเป็นที่รักของเรา จงเป็นพวกของเรา” ดังนี้ แล้วตรัสอีกว่า ควรข่มขี่ ผู้ที่ควรข่มขี่ ควรยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง” ดังนี้

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า การตัดมือ ตัดเท้า การฆ่า การจองจํา การทําให้ตาย การทําให้ สิ้นเครื่องสืบต่อชีวิต ชื่อว่าการข่มขี่ คําว่า “ ข่มขี่ ” นี้ ไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ไม่ควรจะตรัสคํานี้
ถ้าตรัสว่า อย่าเบียดเบียนผู้อื่นในโลก จงรักผู้อื่น ถือว่าผู้อื่นเป็นพวกของเรา ดังนี้ถูกแล้วคําที่ว่า ควรข่มขี่ ผู้ที่ควรข่มขี่ ควรยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง ก็ผิดไป ถ้าคําว่า ควรข่มขี่ผู้ควรข่มขี่ ควรยกย่อง ผู้ที่ควรยกย่อง ดังนี้ถูกแล้ว คําที่ว่า อย่าเบียดเบียนผู้อื่นในโลก จงทําผู้อื่นให้เป็นที่รักของตัว จงนึกว่าเป็นพวกของตัว ดังนี้ก็ผิด ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัย ด้วยเถิด

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร คําทั้งสองนั้นถูกทั้งนั้น คําว่า อย่าเบียดเบียนผู้อื่นในโลก เป็นคําอนุมัติเป็นคําพร่ำสอน เป็นคําแสดงธรรมของพระตถาคตเจ้าทั้งปวง เพราะว่าธรรมมีความไม่เบียดเบียนเป็นลักษณะ การที่ตรัสอย่างนั้น ตรัสตามสภาพ คือความเป็นจริง

คําที่ตรัสว่า ควรข่มขี่ผู้ที่ควรข่มขี่ ควรยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง เป็นการมุ่งการปฏิบัติธรรม คือจิตที่ฟุ้งซ่านควรข่ม จิตที่หดหู่ควรประคองขึ้น จิตที่เป็นอกุศลควรข่มขี่เสีย จิตที่เป็นกุศลควรประคองไว้ การนึกผิดทาง ควรข่มขี่เสีย การนึกถูกทางควรประคองไว้
การปฏิบัติผิดควรข่มขี่เสีย การปฏิบัติถูกควรประคองไว้ ผู้ไม่ใช่อริยะควรข่มขี่เสีย ผู้เป็นอริยะควรประคองไว้ ผู้เป็นโจรควรข่มขี่เสีย ผู้ไม่ใช่โจรควรประคองไว้ ขอถวายพระพร

เอาละ พระนาคเสน คราวนี้พระผู้เป็นเจ้า หวนกลับมาสู่วิสัยของโยมแล้วโยมถามถึง ข้อความอันใด ข้อความอันนั้นได้เข้ามาถึง โยมแล้ว โยมจึงขอถามว่า ผู้ที่เป็นโจร เราจะควรข่มขี่อย่างไร
ขอถวายพระพร โจรที่ควรด่าว่าก็ต้องด่าว่า ที่ควรปรับไหมก็ต้องปรับไหม ที่ควร ขับไล่ก็ต้องขับไล่ ที่ควรจองจําก็ต้องจองจํา ที่ควรฆ่าก็ต้องฆ่า ควรข่มขี่โจรอย่างนี้
ข้าแต่พระนาคเสน การฆ่าโจรเป็นพระอนุมัติของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือ
ไม่เป็น มหาราชะ
ถ้าไม่เป็น เพราะเหตุไรจึงกล่าวว่า โจรนั้นเป็นผู้ควรสั่งสอนตามพระอนุมัติของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย

ขอถวายพระพร การฆ่าโจรนั้น คนทั้งหลายไม่ได้ฆ่าตามพระอนุมัติของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย โจรนั้นถูกฆ่าด้วยความผิดที่เขา กระทําเอง ก็แต่ว่าโจรนั้นบุคคลควรสั่งสอน ตามเหตุผล บุคคลอาจจับบุรุษผู้ไม่มีความผิด จูงตระเวนไปตามถนน แล้วฆ่าเสียตามมติได้หรือ
ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า
เพราะเหตุไรล่ะ
เพราะเขาไม่ได้ทําความผิด
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร โจรไม่ได้ถูกฆ่าด้วยพระอนุมัติของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ถูกฆ่าด้วยการกระทําของเขาเองต่างหาก ผู้ที่สั่งสอนโจรจะได้รับโทษอย่างไรบ้างหรือ
ไม่ได้รับโทษอย่างไรเลย ผู้เป็นเจ้า
ถ้าอย่างนั้น คําสอนของพระตถาคตเจ้า ก็เป็นคําสอนที่ถูกต้องดีแล้ว ขอถวายพระพร
พระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหาข้อนี้ดีแล้ว




ปัญหาที่ ๓

ถามเรื่องทรงขับไล่ภิกษุ


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้ไว้ว่า “ เราเป็นผู้ไม่โกรธ เป็นผู้ไม่มีตะปู คือความโกรธแล้ว ” แต่ภายหลังได้ทรงประณามขับไล่ พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร พร้อมทั้งบริวาร

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงขับไล่เพราะความโกรธ หรือเพราะความดีพระทัย ขอได้โปรดแก้ไขให้โยมเข้าใจ
ถ้าทรงขับไล่ด้วยความโกรธ ก็เป็นอันว่า พระตถาคตเจ้า ยังไม่ทรงละความโกรธ ถ้าทรงขับไล่ด้วยความยินดี ก็เป็นอันว่าไม่รู้ แต่ทรงกระทําในเมื่อยังไม่มีเหตุสมควร ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ให้สิ้นสงสัยนะ พระคุณเจ้าข้า

พระนาคเสนชี้แจงว่า
ขอถวายพระพร ข้อที่สมเด็จพระชินวร เจ้าตรัสว่า เราเป็นผู้ไม่มีความโกรธ เป็นผู้ไม่มี ตะปู คือความโกรธแล้ว แต่ได้ทรงขับไล่พระโมคคัลลาน์พระสารีบุตร พร้อมทั้งบริวาร การทรงขับไล่นั้นไม่ใช่ทรงขับไล่ด้วยความโกรธ
มหาราชะ เหมือนอย่างบุรุษผู้หนึ่งพลาด ล้มลงที่พื้นดิน หรือล้มลงที่แผ่นหิน ถูกก้อน กรวด หลักตอ ที่ไม่สม่ำเสมอ ที่มีตมมีโคลน ย่อมมีอยู่ อาตมภาพขอถามว่า แผ่นดินโกรธ หรือ จึงทําให้ผู้นั้นพลาดล้ม
แผ่นดินไม่ได้โกรธเลย ผู้เป็นเจ้า ความโกรธหรือความเลื่อมใสไม่มีแก่แผ่นดิน แผ่นดินไม่มีความยินดียินร้าย เขาพลาดล้มของเขาเอง
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร สมเด็จพระพิชิตมารไม่มีความโกรธ ความยินดียินร้ายอันใดเลย แต่พระอัครสาวกทั้งสองนั้นถูกขับไล่เพราะการกระทําผิดของตนต่างหาก

อาตมภาพขอถามว่า ธรรมดามหาสมุทร ย่อมไม่อยู่ร่วมกับซากศพ หรือจอกแหน สาหร่าย แต่อย่างได มีแต่พัดเอาซากศพ จอกแหน สาหร่ายเหล่านั้น ขึ้นไปบนฝั่งเสียโดยเร็ว มหาสมุทรนั้นโกรธหรือ จึงได้ทําอย่างนั้น
ไม่โกรธ ผู้เป็นเจ้า เพราะมหาสมุทร ไม่รู้สึกยินดียินร้ายอะไร
ข้อนี้มีอุปมาฉันใด สมเด็จพระจอมไตร ก็ไม่ทรงยินดียินร้ายแต่อย่างใด พระอัครสาวก ทั้งสองนั้นถูกขับไล่เพราะความผิดพลาดของตนต่างหาก
สมเด็จพระผู้มีพระภาคมีแต่ทรงมุ่ง ประโยชน์สุข ความดี ความงาม ให้แก่สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น ได้ทรงขับไล่ด้วยทรงเห็นว่า ภิกษุเหล่านี้จักพ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยอาการอย่างนี้ ขอถวายพระพร
สาธุ.พระนาคเสน โยมขอรับว่า ถูกอย่างพระผู้เป็นเจ้ากล่าวแล้วทุกประการ

◄ll กลับสู่สารบัญ

<<โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป>>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 27/1/10 at 08:52 Reply With Quote



(Update 27 ม.ค. 2553)

ตอนที่ ๒๕

ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องความเป็นสัพพัญญูของพระพุทธเจ้า


พระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ตรัสถามว่า
ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญูแต่กล่าวไว้อีกว่า
เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงขับไล่พระภิกษุสงฆ์ มี พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เป็นหัวหน้าไม่ให้เข้ามาเฝ้าแล้วพวกกษัตริย์ศากยราช กับท้าวสหัมบดีพรหม ได้พร้อมกันเข้าไปเฝ้า ทูลขอโทษต่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคําอุปมากับพืชและลูกโค

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อุปมาทั้งสองข้อที่ ทําให้สมเด็จพระบรมศาสดาทรงอดโทษนั้น พระตถาคตเจ้าไม่ทรงทราบหรือ ถ้าไม่ทรงทราบจะว่าพระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูได้อย่างไร
ถ้าทรงทราบ แต่ทรงพระประสงค์จะทดลองใจของภิกษุเหล่านั้นว่าจะคิดอย่างไร จึงได้ทรงขับไล่ ก็เป็นอันว่า พระตถาคตเจ้า ไม่มีพระกรุณา ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว
พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าเป็น พระสัพพัญญูจริง แต่ว่าทรงอดโทษด้วยอุปมา ทั้งสองข้อนั้น คือเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย ย่อมทําให้พระตถาคตเจ้าผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรม ทรงเลื่อมใสได้ด้วยธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้แล้ว

ขอถวายพระพร ภรรยาย่อมให้สามีดีใจ ด้วยทรัพย์ของสามีที่หามาได้เอง คือเมื่อได้เห็นภรรยานําทรัพย์ที่ตนหามาได้นั้นออกมาให้ดู ก็ดีใจฉันใด พวกกษัตริย์ศากยราช กับท้าวสหัมบดีพรหม ก็ได้ทําให้พระตถาคตเจ้าทรงชื่นชมยินดี ด้วยธรรมของพระองค์เองฉันนั้น
อีกประการหนึ่ง ช่างกัลบกผู้ตกแต่งพระเกศของพระราชา ก็ทําให้พระราชาทรงพอพระทัย ด้วยเครื่องประดับของพระราชาเอง ถึงกับได้รับพระราชทานรางวัลฉันใด
พวกนั้นก็ได้ทําให้พระตถาคตเจ้า ทรงโปรดปรานด้วยธรรมของพระองค์เองพระตถาคตเจ้าก็ได้ทรงแสดงความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ให้พวกนั้นฟังฉันนั้น
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนสัทธิวิหาริก ศิษย์ ได้ทําให้อุปัชฌาย์ดีใจด้วยอาหารที่อุปัชฌาย์บิณฑบาตมาได้เอง คือเมื่ออุปัชฌาย์บิณฑบาตได้อาหารมาวางไว้แล้ว สัทธิวิหาริกก็จัดน้อมเข้าไปถวาย อุปัชฌาย์ก็ดีใจฉะนั้น
ขอถวายพระพร
สาธุ.พระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้อง ดีแล้ว




ปัญหาที่ ๕

ถามเรื่องไม่มีที่อยู่ประจําและไม่มีอาลัย


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า “ การไม่มีที่อยู่ประจําไม่มีความอาลัยในสิ่งใดเป็นความเห็นของมุนี ” ดังนี้
แล้วตรัสอีกว่า “ บุคคลควรสร้างวิหารให้น่ายินดี ควรให้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูตรมา อยู่ในวิหารนั้น ” ดังนี้ ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัย

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้า ได้ตรัสคําทั้งสองนั้นไว้อย่างนั้นจริง ๆ คําที่ ตรัสว่า การไม่มีที่อยู่ประจํา ไม่มีความอาลัยในสิ่งใด เป็นความเห็นของมุนีนั้น เป็นคําที่ตรัสออกไปด้วยทรงเห็นว่า สิ่งทั้งสองนั้นสมควรแก่สมณะ เพราะสมณะไม่ควรมีที่อยู่ประจํา ไม่ควรอาลัยในสิ่งใด ควรทําตนเหมือนกับเนื้อในป่าฉะนั้น
ข้อที่ตรัสไว้ว่า บุคคลควรสร้างวิหารให้น่ายินดี แล้วให้ภิกษุผู้เป็นพหูสูตรทรงพระไตรปิฎกมาอยู่นั้น ตรัสด้วยทรงเล็งเห็น ประโยชน์ ๒ ประการ คือ

ประการที่ ๑ ทรงเล็งเห็นว่า วิหารทาน การให้ที่อยู่ที่อาศัยเป็นทาน เป็นของที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญว่าดี พวกสร้างวิหารให้เป็นทาน อาจสําเร็จแก่พระนิพพาน พ้นจาก ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันนี้เป็นอานิสงส์
ในการสร้างวิหารทานเป็นข้อแรก
ประการที่ ๒ เมื่อมีวิหารอยู่ก็จักมี พระภิกษุผู้มีความรู้ มาอาศัยอยู่เป็นอันมาก ใครอยากพบเห็นก็จะพบเห็นได้ง่าย อันนี้เป็น อานิสงส์ในวิหารข้อที่สอง แต่พระภิกษุไม่ควร มีความอาลัยเกี่ยวข้องในที่อยู่จึงทรงสอนอย่างนั้น
ขอถวายพระพร
ถูกแล้ว พระนาคเสน




ปัญหาที่ ๖

ถามเรื่องสํารวมท้อง


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุไม่ควรประมาทในอาหารที่ลุกขึ้นยืนรับ ควรเป็นผู้สํารวมท้อง” ดังนี้
แล้วตรัสอีกว่า “ ดูก่อนอุทายี บางคราว เราตถาคตได้ฉันอาหารเต็มเสมอขอบปากบาตร บางคราวก็ยิ่งกว่านั้น” ดังนี้
ถ้าทรงสอนให้สํารวมท้อง คําที่ตรัสว่า บางคราวเสวยอาหารเต็มเสมอขอบปากบาตร และยิ่งกว่าก็มีนั้น ก็ผิดไป ถ้าไม่ผิด คําว่าควรสํารวมท้อง ก็ผิดไป ปัญหานี้ก็เป็น อุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัยเช่นกัน

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร คําที่ตรัสไว้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นจริงทั้งนั้น ส่วนคําที่ตรัสว่า ไม่ควรประมาทในอาหารที่ลุกขึ้นยืนรับ ควรเป็นผู้สํารวมท้องนั้น เป็นถ้อยคําที่ปรากฏทั่วไปของ พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูเจ้าทั้งหลาย
เพราะเหตุว่า ผู้ไม่สํารวมท้องย่อมทําบาป ต่าง ๆ ได้ คือทําปาณาติบาตก็มี ทําอทินนาทานก็มี ทํากาเมสุมิจฉาจารก็มี กล่าวมุสาวาทก็มี ดื่มน้ำเมาก็มี ฆ่ามารดาบิดาก็มี ฆ่าพระอรหันต์ก็มี ทําสงฆ์ให้แตกกันก็มี ทําโลหิตุปบาทก็มี พระเทวทัต ทําสงฆ์ให้แตกกันไม่ใช่เพราะไม่สํารวมท้องหรือ.

สมเด็จพระบรมศาสดาทรงเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ จึงได้ทรงสอนให้สํารวมท้อง ผู้สํารวมท้องย่อมล่วงรู้อริจสัจ ๔ สําเร็จ สามัญผล ๔ มีความชํานาญในปฏิสัมภิทา ๔ สมาบัติ ๘ อภิญญา ๖ ทรงไว้ซึ่งสมณธรรม ทั้งสิ้น
ลูกนกแขกเต้าเป็นผู้สํารวมท้อง จึงได้ทําให้สวรรค์ชั้นดาวดึงส์หวั่นไหว ทําให้พระอินทร์เสด็จลงมาหาใช่หรือไม่ สมเด็จพระจอมไตรทรงเห็นอานิสงส์ต่าง ๆ อย่างนี้ จึงได้ทรงสอนให้สํารวมท้อง
ส่วนข้อที่ตรัสว่า บางคราวได้เสวยอาหาร เสมอขอบปากบาตรก็มี ยิ่งกว่าก็มีนั้น เป็นคําที่พระตถาคตเจ้าผู้สําเร็จกิจทั้งปวงแล้ว ได้ตรัสไว้ด้วยมุ่งหมายพระองค์เองเท่านั้น
ผู้เป็นโรคเมื่อต้องการหายจากโรค ควรงดเว้นของแสลงฉันใด ผู้ยังมีกิเลสอยู่ยังไม่เห็นของจริง ก็ควรสํารวมท้องฉันนั้น อีกอย่างหนึ่ง
แก้วมณีที่บริสุทธิ์ผ่องใสอยู่แล้ว ไม่จําเป็นต้องขัดสีฉันใด พระพุทธเจ้าผู้สําเร็จพุทธวิสัยแล้ว ก็ไม่จําเป็นต้องห้ามในพุทธจริยาทั้งหลายฉันนั้น ขอถวายพระพร
ถูกดีแล้ว พระนาคเสน




ปัญหาที่ ๗

ถามเรื่องปกปิดพระธรรมวินัย


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จมหามุนีได้ตรัสคํานี้ไว้ว่า “ ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้า ประกาศไว้แล้ว มีผู้เปิดเผยจึงสว่างไสว เมื่อปิดก็ไม่สว่างไสว ” แล้วตรัสไว้อีกว่า “ พระปาฏิโมกข์และพระวินัยทั้งสิ้น เป็นของอันภิกษุทั้งหลายปกปิดแล้ว ” ดังนี้

ถ้าบุคคลได้ความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา เปิดพระวินัยบัญญัติไว้ จะทําให้งามดี การศีกษา การสํารวมในพระวินัยบัญญัติ และศีลคุณ อาจารบัญญัติ อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส จะปรากฏรุ่งเรืองขึ้น
ถ้าคําว่า เปิดพระธรรมวินัยไว้ จะรุ่งเรืองดี เป็นคําถูก คําว่า ให้ปกปิดพระวินัยไว้ ก็ผิด ถ้าคําว่า ให้ปกปิดพระวินัยไว้เป็นของถูก คําว่าให้เปิดพระธรรมวินัยจึงจะรุ่งเรืองดีก็เป็นของผิด ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไข

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร คําทั้งสองนั้นถูกต้องทั้งนั้น ก็แต่ว่าการปิดนั้น ไม่ได้ปิดทั่วไป ปิดมีเขตแดนต่างหาก คือสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปิดพระปาฏิโมกข์ อันมีสีมาเป็นเขตแดน ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
๑.ปิดตามวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ๒.ปิดด้วยความเคารพพระธรรม ๓.ปิดด้วยความเคารพภูมิของภิกษุ

๑.ปิดตามวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อนนั้น คืออย่างไร.คือพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทรงแสดงพระปาฏิโมกข์ ในท่ามกลางภิกษุทั้งหลาย ปิดเฉพาะพวกนอกจาก ภิกษุเท่านั้น เหมือนกับขัตติยมายา คือประเพณีของกษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมรู้เฉพาะในวงศ์กษัตริย์เท่านั้น ปกปิดพวกอื่นไม่ให้รู้
๒. ปิดเพราะเคารพพระธรรมนั้น คืออย่างไร.คือพระธรรมเป็นของควรเคารพ เป็นของหนัก ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในพระธรรม จึงจะสําเร็จธรรมได้ ถ้าไม่ปกปิดไว้ ผู้ไม่ปฏิบัติชอบในระบอบธรรมวินัย คือพวกคฤหัสถ์ก็จะติเตียนได้ จึงทรงโปรดให้ปกปิดพระปาฏิโมกข์ไว้ ด้วยความเคารพพระธรรมว่าอย่าให้พระธรรม อันเป็นแก่นอันประเสริฐนี้ เป็นที่ดูหมิ่นดูแคลน ดูถูกติเตียน ของพวกที่ไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเลย เปรียบเหมือนจันทน์แดง อันมีแก่น ประเสริฐ สมควรแก่ขัตติยกัญญาเท่านั้นฉะนั้น

๓. ปิดเพราะความเคารพภูมิของภิกษุนั้น คืออย่างไรคือความเป็นภิกษุเป็นของมีคุณชั่งไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ตีราคาไม่ได้ ไม่มีสิ่งใดเสมอ เปรียบเหมือนทรัพย์อันประเสริฐอย่างใด อย่างหนึ่ง คือเครื่องนุ่งห่ม เครื่องปู ม้า ช้าง รถ ทอง เงิน ที่ช่างทองตกแต่งดีแล้ว ย่อมสมควรแก่พระราชาทั้งหลายฉันใด คุณธรรมคือการศึกษาเล่าเรียน การสํารวมในพระปาฏิโมกข์ ย่อมสมควรแก่ภิกษุสงฆ์ฉันนั้น ขอถวายพระพร

ถูกดีแล้ว พระนาคเสน




ปัญหาที่ ๘

ถามเรื่องความหนักเบาแห่งมุสาวาท


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้ว่า “ เป็นปาราชิกเพราะแกล้งกล่าว เท็จ ” แต่ตรัสอีกว่า “ แกล้งกล่าวเท็จเป็นอาบัติเบา แสดงในสํานักภิกษุองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ ”
ความ ๒ ข้อนี้ต่างกันอย่างไรเหตุไร ข้อหนึ่งจึงเป็น อเตกิจฉา คือแก้ไขไม่ได้ อีกข้อหนึ่งเป็น สเตกิจฉา คือแก้ไขได้

ถ้าที่ตรัสว่า แกล้งกล่าวเท็จเป็นปาราชิก ถูกแล้ว คําที่ตรัสว่า แกล้งกล่าวเท็จเป็นอาบัติเบา ก็ผิดไป ถ้าที่ตรัสว่า แกล้งกล่าวเท็จเป็นอาบัติเบานั้นถูก ที่ตรัสว่า แกล้งกล่าวเท็จเป็นปาราชิกนั้นก็ผิดไป
ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไข

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสว่า แกล้งกล่าวเท็จเป็นปาราชิก นั้นก็ถูก ที่ตรัสว่า แกล้งกล่าวเท็จเป็นอาบัติเบา นั้นก็ถูก เพราะว่าการแกล้งกล่าวเท็จนั้นเป็นของหนักและ เบาตามวัตถุ
มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างไร ถ้ามีบุรุษคนหนึ่งตบตีบุรุษอีกคนหนึ่งด้วยมือ พระองค์จะทรงลงโทษแก่ผู้ตบตีนั้นอย่างไร
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าบุรุษนั้นไม่ขอโทษก็จะต้องปรับไหมเขา เป็นเงิน ๑ กหาปณะ เป็นอย่างมาก

ขอถวายพระพร ถ้าบุรุษคนเดียวกันนั้นเอง ตีมหาบพิตรด้วยฝ่ามือ บุรุษนั้นจะได้รับโทษอย่างไร
ข้าแต่พระนาคเสน ต้องให้ตัดมือบุรุษนั้น จนกระทั่งถึงตัดศีรษะ ริบบ้านเรือน ให้ฆ่าเสียถึง ๗ ชั่วตระกูล
ขอถวายพระพร การตบตีด้วยมืออย่างเดียวกัน เหตุไฉนจึงมีโทษหนักเบากว่ากันล่ะ
อ๋อ.เพราะเป็นเหตุด้วยวัตถุ
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร การแกล้งกล่าวเท็จ ก็มีโทษหนักเบาตามวัตถุ ขอถวายพระพร
ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน




ปัญหาที่ ๙

ถามถึงเรื่องผู้ควรแก่การขอ


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ได้ตรัสประทานไว้ว่า “ เราเป็นพราหมณ์ ผู้ควรแก่การขอ ผู้มีมืออันล้างไว้เนือง ๆ ผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายสุดท้าย ผู้เยี่ยม ”แล้วตรัสอีกว่า “ พระพากุละเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเรา ในทางมีอาพาธน้อย ” ดังนี้

อาพาธได้เกิดในพระวรกายของพระพุทธเจ้าหลายครั้ง ถ้าพระตถาคตเจ้าเป็นผู้เยี่ยมจริง คําที่ว่า พระพากุละเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเรา ในทางมีอาพาธน้อย ก็ผิดไป ถ้าพระพากุละเป็นผู้มีอาพาธน้อยจริง คําที่ว่า
พระตถาคตเจ้าเป็นผู้เยี่ยม ก็ผิดไป
ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ สมควรแก้ไขอีก

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ทั้งสองนั้น ถูกทั้งนั้น ข้อที่ตรัสไว้นั้น เป็นความดีภายนอกต่างหากคือพระสาวกทั้งหลายที่ไม่นอนเลย ได้แต่ยืนกับเดินเท่านั้นตลอดวันก็มี ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้ามีทั้งทรงยืน เดิน นั่ง นอน สาวกเหล่านั้น จึงมีการยืนกับการเดิน นั้นเป็นคุณพิเศษ
พวกสาวกที่นั่งฉันในอาสนะเดียว ถึงจะเสียชีวิตก็ไม่ยอมนั่งฉันในอาสนะที่สองก็มี ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเสวยในอาสนะที่สองก็ได้ พวกนั้นจึงมีการนั่งฉันในอาสนะเดียว นั้นเป็นคุณวิเศษ

ส่วน พระผู้มีพระภาคเจ้าที่ว่าเป็นผู้เยี่ยมนั้น คือเยี่ยมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทศพลญาณ เวสารัชชญาณ พุทธธรรม ๑๘ ที่ว่าเป็นผู้เยี่ยม ทรงหมายพุทธวิสัยทั้งสิ้น
ในหมู่มนุษย์ ผู้หนึ่งมีชาติตระกูลสูง ผู้หนึ่งมีทรัพย์ ผู้หนึ่งมีวิชา ผู้หนึ่งมีศิลปะ ผู้หนึ่งแกล้วกล้า ผู้หนึ่งเฉียบแหลม มีคุณวิเศษต่าง ๆ กัน แต่พระราชาย่อมสูงสุดกว่าบุรุษ เหล่านั้นฉันใด สมเด็จพระจอมไตรก็เป็นผู้ล้ำเลิศประเสริฐสุดกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายฉันนั้น
พระพากุละผู้มีอาพาธน้อย จึงเลิศกว่า ผู้อื่นในทางอาพาธน้อยเท่านั้น ไม่ใช่เลิศกว่า ผู้อื่นในสิ่งทั้งปวง ขอถวายพระพร
ถูกแล้วพระนาคเสน โยมรับรองว่าถูก ต้องดี

อธิบาย


บุพพกรรมที่ทําให้ พระพากุละ เป็นผู้มีอาพาธน้อย ก็เพราะเหตุว่า ท่านได้เคยรักษาโรคลมให้แก่ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ชาติต่อมาท่านก็ได้รักษาโรคไข้ป่าให้แก่ พระวิปัสสีทศพล กับช่วยพยาบาลพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ด้วยอานิสงส์ในการหายามารักษาโรค ดังกล่าวแล้วนี้ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นผู้เลิศในทางมีอาพาธน้อย ตามประวัติของท่านกล่าวว่า ท่านได้ออกบวชเมื่ออายุ ๘๐ ปี แล้วได้สําเร็จพระอรหันต์ ในวันที่ ๘ ท่านอยู่จนถึงอายุ ๑๖๐ ปี ในระหว่างนั้นท่านได้ประพฤติธุดงค์ ในข้ออยู่ป่าเป็นวัตร และถืออิริยาบทนั่งเป็นวัตร ตั้งแต่บวชไม่เคยจําพรรษาในบ้านเลย ปรากฏว่าท่านไม่มีโรคเบียดเบียนเลย ไม่ต้องทําการรักษาพยาบาลด้วยเภสัช โดยที่สุด ผลสมอสักชิ้นเดียวท่านก็ไม่เคยฉัน ดังนี้

จบวรรคที่ ๔





วรรคที่ ๕

ปัญหาที่ ๑ ถามถึงอํานาจฤทธิ์และกรรม


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “ บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา มหาโมคคัลลาน์เป็นผู้เลิศในทางฤทธิ์ ”
แล้วมีปรากฏว่า พระมหาโมคคัลลาน์นั้น ถูกพวกโจรทุบตีจนศีรษะแตก กระดูก เส้น เอ็นสมองแหลกละเอียด เหมือนกับเมล็ด ข้าวสาร แล้วพระมหาโมคคัลลาน์ก็ปรินิพพาน ด้วยเหตุนั้น ดังนี้
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระโมคคัลลาน์ เป็นผู้เลิศในทางฤทธิ์จริง ข้อที่ว่า พวกโจรทุบตีแหลกละเอียดจนปรินิพพาน นั้นก็ผิด ถ้าข้อที่ว่า ถูกพวกโจรทุบตีแหลกละเอียดจนปรินิพพาน นั้นถูก ข้อที่ว่า พระมหาโมคคัลลาน์เป็นผู้เลิศในทางฤทธิ์ นั้นก็ผิด
พระมหาโมคคัลลาน์ไม่สามารถกําจัด พวกโจรอันจักมีแก่ตนด้วยฤทธิ์ได้หรือไม่อาจ เป็นที่พึ่งของมนุษยโลก เทวโลกได้หรือ ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัยเช่นกัน

พระนาคเสนชี้แจงว่า
ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสว่า “ พระมหาโมคคัลลาน์เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ ” นั้นก็ถูก ข้อที่ว่า “พระมหาโมคคัลลาน์ถูกโจรทุบตีถึงปรินิพพาน” นั้นก็ถูก แต่ข้อนั้นเป็นด้วย กรรม เข้ายึดถือ
ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งทั้งสองคือ วิสัยของผู้มีฤทธิ์ ๑ ผลของกรรม ๑ เป็นอจินไตย ใคร ๆ ไม่ควรคิดไม่ใช่หรือ
ขอถวายพระพร สิ่งที่ไม่ควรคิดทั้งสองอย่างนี้ อย่างหนึ่งมีกําลังมากกว่า ข้อนี้เปรียบ เหมือนพระราชากับประชาชน พระราชาองค์เดียว ย่อมมีอํานาจครอบประชาชนฉันใด ผล ของกรรมอันมีกําลังยิ่งกว่า ก็ครอบสิ่งทั้งปวง ฉันนั้น กิริยาอย่างอื่นของผู้ที่กรรมเข้ายึดถือแล้ว ย่อมไม่ได้โอกาส

มีบุรุษคนหนึ่งกระทําผิดพระราชอาชญา อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมไม่มีใครช่วยได้ มารดา บิดา พี่หญิง พี่ชาย มิตรสหาย ก็ช่วยไม่ได้ พระราชาต้องทรงลงโทษแก่ผู้นั้น ตามความผิด ของเขาฉันใด ผลของกรรมก็มีกําลังแรงกว่าฤทธิ์ ย่อมครอบงําฤทธิ์ได้ฉันนั้น
อีกประการหนึ่ง เมื่อไฟไหม้ป่าลุกลามมาใหญ่ ถึงจะตักน้ำไปดับตั้งพันโอ่ง ก็ไม่อาจดับได้ สู้ไฟป่านั้นไม่ได้ เพราะไฟป่ามีกําลัง มากกว่าฉันใด ผลของกรรมก็มีกําลังมากกว่าฤทธิ์ ครอบงําฤทธิ์ได้ฉันนั้น
เพราะฉะนั้นแหละ มหาบพิตร พระมหาโมคคัลลาน์ผู้ที่กรรมเข้ายึดถือแล้ว จึงถูกพวกโจรทุบตี ไม่สามารถกั้นกางได้ด้วยฤทธิ์
สาธุ.พระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้องดี แล้ว




ปัญหาที่ ๒

ถามถึงธรรมดาของพระโพธิสัตว์


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสไว้ในธัมมตาปริยายว่า “ มารดา บิดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายในปางก่อน ย่อมเป็นนิยตะ คือแน่นอน การตรัสรู้ก็ แน่นอนอัครสาวกทั้งสองก็แน่นอน พระโอรสก็แน่นอน อุปัฏฐากก็แน่นอน ” ดังนี้
แต่มีกล่าวอีกว่า พระโพธิสัตว์ผู้ยังประทับอยู่ในดุสิตสวรรค์ได้เล็งดู มหาวิโลกนะ ๘ คือ เล็งดูกาลเวลา ๑ เล็งดูทวีป ๑ เล็งดูประเทศ ๑ เล็งดูพระชนนี ๑ ตระกูล ๑ อายุ ๑ เดือน ๑ การเสด็จออกบรรพชา ๑ ดังนี้

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เมื่อญาณยังไม่แก่กล้า การตรัสรู้ย่อมไม่มี เมื่อญาณแก่กล้าแล้ว ไม่อาจรอเวลาพิจารณาได้ เหตุไรพระโพธิสัตว์ จึงเล็งดูเวลาว่า เป็นเวลาที่เราสมควรจะลงไป เกิดในมนุษย์หรือไม่.
ข้าแต่พระนาคเสน ถ้ามารดาบิดาของพระโพธิสัตว์แน่นอนแล้ว ข้อที่ว่า “ เล็งดู ตระกูลบิดามารดานั้น ” ก็ผิด ถ้าข้อที่ว่า “ เล็งดูตระกูลมารดาบิดานั้นถูก ” ข้อที่ว่า “ มารดา บิดาของพระโพธิสัตว์แน่นอนนั้น ” ก็ผิด
ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิมาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าควรแก้ไข

พระนาคเสนวิสัชนาว่า
ขอถวายพระพร มารดาบิดาของพระโพธิสัตว์เป็นของแน่นอนนั้นก็จริง พระโพธิสัตว์เล็งดูตระกูลมารดาบิดานั้นก็จริง การเล็งดู ตระกูลของมารดาบิดานั้นเล็งดูอย่างไรคือเล็งดูว่ามารดาบิดาของเราเป็นกษัตริย์หรือพราหมณ์
ผู้ที่เล็งดูมี ๘ จําพวกสิ่งที่เป็นอนาคต แต่ควรเล็งดูก่อนนั้น มีอยู่ ๘ อย่าง คือ

๑. พ่อค้า ต้องเล็งดูสินค้าก่อน
๒. ช้าง ต้องคลําหนทางด้วยงวงก่อน
๓. พ่อค้าเกวียน ต้องพิจารณาดูท่าข้ามก่อน
๔. ต้นหน คือนายท้ายสําเภา ต้องพิจารณา ดูฝั่งเสียก่อน
๕. แพทย์ ต้องตรวจดูอายุก่อน จึงเข้าใกล้ คนไข้
๖. ผู้จะข้ามสะพาน ต้องดูว่าสะพานมั่นคง หรือไม่เสียก่อน
๗. พระภิกษุ ต้องพิจารณาเสียก่อนจึงฉัน
๘. พระโพธิสัตว์ชาติสุดท้าย ต้องพิจารณา ดูตระกูลเสียก่อน ดังนี้ขอถวายพระพร

สาธุ.พระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้อง




ปัญหาที่ ๓

ถามถึงเรื่องฆ่าตัวเอง


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า“ ภิกษุไม่ควรทำตนให้ตกไป (คือไม่ควรทำลายชีวิตตนเอง) ภิกษุใดทำตนให้ตกไป ต้องปรับอาบัติภิกษุนั้น ตามสมควรแก่เหตุการณ์”
แต่พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้อีกว่า เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายไม่ว่าในที่ใด ๆ ย่อมทรงแสดง เพื่อตัดการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้ขาดไป ผู้ใด พ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้ ก็ทรงสรรเสริญอย่างเยี่ยม

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไม่ให้ภิกษุทําลายตนเองนั้นถูก ข้อที่ได้ทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตัดขาด ซึ่งเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ผิด
ถ้าการทรงแสดงธรรม เพื่อตัดการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้ขาดนั้นเป็นของถูก ข้อที่ ห้ามไม่ให้ทําลายตัวเองก็ผิด ปัญหานี้ก็เป็น อุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัยต่อไป

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสห้ามไม่ให้ ภิกษุทําลายตัวเองนั้นก็ถูก ข้อที่ทรงแสดง ธรรมเพื่อให้ตัดการเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้น ให้ขาดก็ถูก แต่ในข้อนั้น ย่อมมีเหตุการณ์ที่ให้ทรงห้ามและทรงชักนํา
ขอถวายพระพร ผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อม ด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ทํากิเลสให้พินาศ เหมือนกับยาดับพิษงู ย่อมดับพิษร้าย คือกิเลสของสัตว์ทั้งหลายเหมือนกับยาทั่วไปย่อมกําจัดเหงื่อไคล คือกิเลสของสัตว์ทั้งหลายเหมือนกับน้ำ ย่อมให้ได้สมบัติอันประเสริฐทั้งปวง เหมือนกับแก้วมณีโชติย่อมทําให้ข้ามแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๔ เหมือนกับเรือ
ย่อมพาข้ามที่กันดาร คือการเกิด เหมือนกับ นายเกวียน ย่อมดับไฟ ๓ กองของสัตว์ ทั้งหลายเหมือนกับลม ย่อมทําให้ความปรารถนาของสัตว์ทั้งหลายเต็มบริบูรณ์เหมือนกับฝนห่าใหญ่ที่ตกลงมา ย่อมให้สัตว์ทั้งหลายศึกษา สิ่งที่เป็นกุศลเหมือนอาจารย์ ย่อมบอกทางปลอดภัยให้แก่สัตว์ทั้งหลายเหมือนกับผู้บอกทิศบอกทาง

สมเด็จพระพิชิตมารผู้มีพระคุณมาก มีพระคุณเป็นเอนก มีพระคุณหาประมาณมิได้ เต็มไปด้วยกองพระคุณ เป็นผู้ทําความเจริญให้แก่สัตว์ทั้งหลายอย่างนี้ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามไม่ให้ทําลายตัวเอง ด้วยทรงพระมหากรุณาว่า อย่าให้ผู้มีศีลพินาศไป

พระกุมารกัสสปเถระ ผู้แสดงธรรมได้อย่างวิจิตร เมื่อจะแสดงโลกหน้าถวายแก่ พระเจ้าปายาสิ ได้กล่าวไว้ว่า
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีลธรรมอันงาม อยู่ในโลกนี้ตลอดกาลนาน ด้วยอาการใด ๆ ก็ตาม ก็มีแต่ปฏิบัติเพื่อให้เป็นประโยชน์สุขแก่สัตวโลกทั้งหลาย ด้วยอาการนั้น ๆ

แต่เพราะเหตุไร สมเด็จพระจอมไตรจึงทรงแสดงว่า
ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้า รําพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การตายของ มารดาบิดา พี่น้อง บุตร ธิดา ญาติ ก็เป็น ทุกข์ ความเสื่อมญาติ ความเกิดโรค ความเสียทรัพย์ ความเสียศีล ความเสียทิฏฐิ
ราชภัย โจรภัย เวรภัย ทุพภิกขภัย อัคคีภัย อุทกภัย อุมมิภัยคือลูกคลื่น กุมภิรภัย คือจระเข้ อาวัฏฏภัย คือน้ำวน สุสุกาภัย ปลาร้าย อัตตานุวาทภัย ติเตียนตนเอง ปรานุวาทภัย ถูกผู้อื่นติเตียน อสิโลกภัย เสื่อมลาภ ปริสารัชชภัย ครั่นคร้ามในที่ประชุม ทัณฑภัย ถูกราชทัณฑ์ ทุคคติภัย ทุคติ อาชีวิตภัย หาเลี้ยงชีพ มรณภัย ถึงซึ่งความตาย เหล่านี้ทั้งสิ้น เป็นทุกข์ทั้งนั้น

การถูกตัดมือ ตัดเท้า ตัดหู ตัดจมูก ตัดปาก การถูกถลกหนังศีรษะ แล้วเอาก้อนเหล็กแดงวางลงไป การถลกหนังทั้งตัว แล้วขัดด้วยหินหยาบ ๆให้ขาวเหมือนสังข์ การทําปากราหู คือเอาขอเหล็กงัดปากขึ้น แล้วจุดประทีปทิ้งเข้าไปในปากให้ไฟลุกโพลงอยู่ในปาก การทําเปลวไฟให้สว่าง คือเอาผ้าขี้ริ้วชุบน้ำมัน พันตลอดตัวแล้วจุดไฟ
การจุดนิ้วมือต่างประทีป คือเอาผ้าชุบ น้ำมันพันนิ้วมือ แล้วจุดให้เหมือนประทีป การให้นุ่งผ้าแกะคือถลกหนังตั้งแต่คอลงไปจนถึงข้อเท้า แล้วไล่ให้วิ่ง ให้วิ่งเหยียบหนังของตัวไป การให้นุ่งผ้าเปลือกปอ คือถลกหนัง ตั้งแต่ศีรษะลงไปพักไว้ที่สะเอวตอนหนึ่ง ถลกจากสะเอวไปถึงข้อเท้าตอนหนึ่ง ทําให้เป็นเหมือนท่อนล่างนุ่งผ้าเปลือกปอ

การทําให้ยืนแบบแพะ คือให้คุกเข่า คุกศอกลงบนหลาวเหล็ก แล้วเสียบปักไว้กับพื้นดิน การตกเบ็ด คือเอาเบ็ดเกี่ยวเนื้อในตัว ดึงให้หนัง เนื้อ เอ็น ขาดออกไปทีละชิ้น ๆ การทําให้เป็นรูปเงิน คือเอามีดคม ๆ เชือดเนื้อ ออกไปทีละก้อน ๆ เท่ากับรูปเงินกลม ๆ
การรดด้วยน้ำแสบ คือฟันแทงให้ทั่วตัว แล้วเอาน้ำแสบน้ำเค็มรดราดลงไป จนกระทั่ง หนังเนื้อเอ็นหลุดออกไปเหลือแต่กระดูก การตอกลิ่มคือให้นอนตะแคงลงแล้วเอาหลาวเหล็กแทงช่องหูข้างบน ให้ทะลุลงไปปักแน่นอยู่กับพื้นดินข้างล่าง แล้วจับเท้าหมุนเวียนไปรอบ ๆ

การทําให้เหมือนมัดฟาง คือเชือดผิวหนังออกจนหมด ทุบกระดูกให้แตกด้วยก้อนหิน แล้วจับที่ผมดึงขึ้น ผูกผมไว้ให้เหมือนกับมัดฟาง การเอาน้ำมันเดือดๆเทรดตัว การให้สุนัขกัดกิน การปักไว้บนหลาว เหล่านี้
ล้วนแต่เป็นทุกข์ใหญ่ทั้งนั้น สัตวโลกทั้งหลายย่อมได้รับทุกข์ต่าง ๆ อย่างที่ว่ามานี้

เมื่อฝนตกลงที่ภูเขาหิมพานต์ ก็มีน้ำไหล หลั่งไปสู่แม่น้ำ พัดเอาหิน กรวด ไม้แห้ง กิ่งไม้ รากไม้ น้อยใหญ่ในป่า ให้ไหลไปฉันใด ทุกข์ต่าง ๆ เป็นอันมากอย่างที่กล่าวมานี้ ก็ไหล ไปตามกระแสน้ำ คือสงสารฉันนั้น
การเวียนว่ายตายเกิดเป็นทุกข์ การไม่เวียนว่ายตายเกิดเป็นสุข เมื่อสมเด็จพระบรมสุคตจะทรงแสดงคุณการไม่เวียนว่ายตายเกิด และทรงแสดงโทษแห่งการเวียนว่ายตายเกิด จึงได้ทรงแสดงทุกข์ต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก เพื่อให้สําเร็จการไม่เวียนว่ายตายเกิด เพื่อให้พ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตายไป อันนี้แหละ เป็นเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงทุกข์ไว้ต่าง ๆ ขอถวายพระพร

สาธุพระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ ปัญหาข้อนี้ถูกต้องดีแล้ว




ปัญหาที่ ๔

ถามเกี่ยวกับอานิสงส์เมตตา


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ เมตตาเจโตวิมุตติ ” คือความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยเมตตา อันบุคคลอบรมแล้ว ทําให้มีแล้ว ทําให้มากแล้ว ทําให้เหมือนยานพาหนะแล้ว ทําให้เป็นที่ตั้งแล้ว ตั้งไว้เนือง ๆ แล้ว สะสมไว้ดีแล้ว อบรมไว้แก่กล้าแล้ว ย่อมหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ
๑. นอนหลับสบาย
๒. เวลาตื่นก็สบาย
๓. ไม่ฝันลามก
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
๗. ไฟไม่ไหม้ ไม่ถูกยาพิษและอาวุธ
๘. หน้าตาเบิกบาน ใจมั่นคง
๙. สีหน้าผ่องใส
๑๐. ไม่หลงใหลในเวลาตาย
๑๑. เมื่อยังไม่สําเร็จอรหันต์ ก็ได้เกิดในพรหมโลก

แล้วมีเรื่องกล่าวไว้อีกว่า สุวรรณสาม ผู้อยู่ในเมตตา ผู้มีหมู่เนื้อเป็นบริวารอยู่ในป่าใหญ่ ถูกพระยาปิลยักษ์ยิงด้วยลูกศรอันอาบ ด้วยยาพิษ ล้มสลบอยู่ในที่นั้นทันที ดังนี้
ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอานิสงส์เมตตา มีอยู่อย่างนั้นจริง เรื่องที่ว่าสุวรรณสามถูกศร พระยาปิลยักษ์นั้นก็ผิด ถ้าเรื่องที่ว่าสุวรรณสาม ถูกศรพระยาปิลยักษ์นั้นถูก ข้อที่ว่าถึงอานิสงส์เมตตานั้นก็ผิด

ปัญหาข้อนี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ เป็นปัญหาละเอียดลึกซึ้ง ขอได้โปรดแก้ให้สิ้นสงสัยแก่บุคคลในภายหน้าด้วย

พระนาคเสนแก้ไขว่า
ขอถวายพระพร ข้อที่ว่า ด้วยอานิสงส์เมตตานั้นก็ถูก ที่ว่าสุวรรณสามถูกลูกศรพระยาปิลยักษ์นั้นก็ถูก แต่ว่าในข้อนั้นมีเหตุการณ์อยู่เหตุการณ์นั้นคืออะไรคือคุณอานิสงส์เหล่านั้น ไม่ใช่คุณอานิสงส์ของบุคคล เป็นคุณอานิสงส์แห่งเมตตาภาวนาต่างหาก

เมื่อสุวรรณสามยกหม้อน้ำขึ้นบ่านั้น เผลอไปไม่ได้เจริญเมตตา คือในขณะใดบุคคลเจริญเมตตาอยู่ ในขณะนั้นไฟก็ไม่ไหม้ ยาพิษก็ไม่ถูก อาวุธก็แคล้วคลาด ผู้มุ่งทําร้ายก็ไม่ได้โอกาส จึงว่าคุณเหล่านั้นเป็นคุณแห่งเมตตาภาวนา ไม่ใช่คุณแห่งบุคคล ขอจงทรงทราบด้วยอุปมา ดังนี้
เปรียบประดุจบุรุษผู้แกล้วกล้า สวมเกราะแน่นหนาดีแล้วย่อมเข้าสู่สงคราม เมื่อบุรุษย่างเข้าสู่สงคราม ลูกศรที่ข้าศึกยิงมา ถึงถูกก็ไม่เข้า การที่ลูกศรถูกไม่เข้านั้น ไม่ใช่คุณความดีของผู้แกล้วกล้าในสงคราม เป็นคุณความดีของเกราะต่างหาก

ข้อนี้มีอุปมาฉันใด อานิสงส์ ๑๑ อย่างนั้น ก็ไม่ใช่คุณความดีของบุคคล เป็นคุณความดีของเมตตาภาวนาต่างหากฉันนั้น
อีกประการหนึ่ง เหมือนกับบุรุษมีรากยาทิพย์ หายตัวยังอยู่ในมือตราบใด ก็ไม่มีใครเห็นตราบนั้น การไม่มีผู้เห็นนั้น ไม่ใช่เป็นความดีของบุรุษนั้นเป็นความดีของรากยานั้นต่างหาก
น่าอัศจรรย์ พระนาคเสนเป็นอันว่า “เมตตาภาวนา” ป้องกันสิ่งชั่วร้ายทั้งปวงได้
ขอถวายพระพร เมตตาภาวนาย่อมนำคุณความดีทั้งสิ้นมาให้แก่บุคคลทั้งหลาย ผู้ที่ต้องการอานิสงส์เมตตา ควรเจริญเมตตา ขอถวายพระพร

◄ll กลับสู่สารบัญ

<<โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป>>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 19/3/10 at 19:05 Reply With Quote



ตอนที่ ๒๖


ปัญหาที่ ๕

ถามถึงความเสมอกันและไม่เสมอกัน แห่งกุศลและอกุศล

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน วิบากของบุคคลทั้งสอง คือผู้ทํากุศลกับผู้ทําอกุศล มีผลเสมอ กันหรือต่างกันอย่างไร?”
พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร ต่างกัน คือกุศลมีสุข เป็นผล ทําให้ไปเกิดในสวรรค์ อกุศลมีทุกข์ เป็นผล ทําให้ไปเกิดในนรก”

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสต่อไปว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน มีคํากล่าวไว้ว่า พระเทวทัต มีแต่ดําอย่างเดียว ประกอบด้วย ความดําอย่างเดียว ส่วน พระโพธิสัตว์ มีแต่ ขาวอย่างเดียว ประกอบด้วยของขาวอย่างเดียว แต่มีกล่าวไว้อีกว่า พระเทวทัตเสมอกัน กับพระโพธิสัตว์ ด้วยยศและพรรคพวก ในชาตินั้น ๆ ก็มี ยิ่งกว่าก็มี

อย่างเช่นคราวหนึ่ง พระเทวทัตได้เกิด เป็นบุตรปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี พระ โพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลเทหยากเยื่อ แต่เป็น ผู้มีวิชา ร่ายวิชาให้เกิดผลมะม่วงได้นอกฤดูกาล เป็นอันว่า คราวนั้น พระโพธิสัตว์ต่ำกว่า พระเทวทัตด้วยชาติตระกูล
ในคราวหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระโพธิสัตว์เกิดเป็นช้างของพระเจ้า แผ่นดินองค์นั้น อีกเรื่องหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็นมนุษย์ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นวานร อีกเรื่องหนึ่ง พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาช้าง ฉัททันต์
พระเทวทัตเกิดเป็นนายพราน ฆ่าพญาช้างฉัททันต์นั้นเสีย


อีกเรื่องหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นพรานป่า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกกระทา อีกเรื่องหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็น “พระเจ้ากาสี ” ที่พันธุมดีนคร พระโพธิสัตว์เกิดเป็น “ ขันติวาทีฤาษี ” ถูก พระเจ้ากาสีให้ตัดมือตัดเท้าเสีย เรื่องเหล่านี้ ชี้ให้เห็นว่าง พระเทวทัตยิ่งกว่าพระโพธิสัตว์ ด้วยชาติ ตระกูล ยศ ศักดิ์ บริวารก็มี และยัง มีอีกหลายเรื่อง เช่น

เรื่องพระเทวทัตเกิดเป็นชีเปลือย ชื่อว่า “ โกรัมภิกะ ” พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญานาค ชื่อว่า “ ปันทรกะ ” อีกคราวหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็น ชฎิลดาบส พระโพธิสัตว์เกิดเป็นสุกรใหญ่ อีก ชาติหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็นพระราชา ผู้ทรงพระนามว่า “ อุปริปราช ” ผู้เที่ยวไปในอากาศได้ พระโพธิสัตว์เกิดเป็น “ กบิลพราหมณ์ราชครู ”
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นมนุษย์ ชื่อว่า “ สามะ ” พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาเนื้อ ชื่อว่า “ รุรุ ” อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็น นายพราน ชื่อว่า “ สุสามะ ” พระโพธิสัตว์เกิด เป็นพญาช้างเผือก ถูกพระเทวทัตตามไปเลื่อย งาถึง ๗ ครั้ง
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นพญาสุนัขจิ้งจอก เป็นใหญ่กว่าพระราชาทั้งหลาย ในชมพูทวีป ส่วนพระโพธิสัตว์เกิดเป็น “ วิธุรบัณฑิต ” เรื่องเหล่านี้ทั้งสิ้นก็ชี้ให้เห็นว่า พระเทวทัตยิ่งกว่าด้วยชาติ ตระกูล ยศ ศักดิ์ บริวาร

ที่เสมอกันก็มี คือ ชาติหนึ่งพระเทวทัต เกิดเป็นพญาช้างฆ่าลูกนางนกไส้ พระโพธิสัตว์ ก็เกิดเป็นพญาช้างอีกฝูงหนึ่งเหมือนกัน คราวหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็นยักษ์ ชื่อว่า “ อธรรม ” พระโพธิสัตว์ก็เกิดเป็นยักษ์เหมือน กัน ชื่อว่า “ สุธรรม ”
คราวหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็นนายเรือ เป็นใหญ่กว่าตระกูล ๕๐๐ พระโพธิสัตว์ก็ เกิดเป็นนายเรือ เป็นใหญ่กว่าตระกูล ๕๐๐ เหมือนกัน อีกคราวหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็น พญาเนื้อชื่อว่า “ สาขะ ” พระโพธิสัตว์ก็เกิด เป็นพญาเนื้อเหมือนกัน ชื่อว่า “ นิโครธะ ”

ที่ยิ่งหย่อนกว่ากันก็มี เช่น คราวหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นปุโรหิต ชื่อว่า “ กัณฑหาล พราหมณ์ ” พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระราชกุมาร ชื่อว่า “ พระจันทกุมาร ” อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นหัวหน้าพ่อค้าเกวียน ๕๐๐ พระโพธิสัตว์ก็เกิดเป็นหัวหน้าพ่อค้าเกวียน ๕๐๐ เหมือนกัน ชาติหนึ่งพระเทวทัตเกิด เป็น “ อลาตเสนาบดี ” พระโพธิสัตว์เกิดเป็น “ นารทพรหม ”
อีกคราวหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นพระ ราชากาสี พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระราชโอรส ทรงพระนามว่า “ มหาปทุมกุมาร ” อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นพระราชามหาตปาตะ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระราชโอรส ถูกพระ ราชบิดาให้ตัดมือ เท้า และศีรษะเสีย

มาถึงชาติปัจจุบันนี้ บุคคลทั้งสองนั้น ก็ได้มาเกิดในตระกูลศากยราชเหมือนกัน แต่พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระเทวทัต ก็ได้ออกบวชสําเร็จฌานโลกีย์
โยมจึงสงสัยว่า ข้อที่ว่า “ กุศลให้ผลเป็น สุข ทําให้เกิดในสวรรค์ อกุศลให้ผลเป็นทุกข์ ทําให้เกิดในนรก กุศลและอกุศลมีผลไม่ เสมอกัน ”
แต่เหตุใดบางชาติพระเทวทัตก็ยิ่งกว่า บางชาติก็เสมอกัน บางชาติก็ต่ำกว่าา จะว่ามี ผลไม่เสมอกันอย่างไร จะว่าต่างกันอย่างไร ถ้าดํากับขาวมีคติเสมอกัน กุศลกับอกุศลก็ ต้องมีคติเสมอกัน พระคุณเจ้าข้า ?”

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร กุศลกับอกุศลไม่ใช่มี ผลเสมอกัน ไม่ใช่ว่าพระเทวทัตจะทําผิดต่อ คนทั้งหลายเสมอไป ส่วนพระโพธิสัตว์ก็ไม่ใช่ว่า ไม่ได้ทําความผิดเลย ผู้ใดทําผิดต่อพระโพธิสัตว์ ผู้นั้นก็ได้รับผลร้าย
เวลาพระเทวทัตได้เกิดเป็นพระราชา ก็ได้ปกครองบ้านเมืองดี มีการให้สร้างสะพาน สร้างศาลาและสระน้ำก็มี ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกําพร้า คนขอทานก็มี แล้วเขาก็ได้รับสมบัติในชาตินั้น ด้วยผล แห่งบุญอันนั้น ใครไม่อาจกล่าวได้ว่า พระเทวทัตได้เสวยสมบัติด้วยไม่ได้ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม อบรมจิตใจเลย
ข้อที่มหาบพิตรตรัสว่า พระเทวทัตกับ พระโพธิสัตว์พบกันเสมอนั้นไม่จริง ตั้งร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติก็ไม่พบกัน นานจึงจะ พบกันสักชาติหนึ่ง เหมือนกับเต่าตาบอดอยู่ ในมหาสมุทร โผล่ขึ้นมาตั้งแสนครั้ง ก็ไม่พบ ขอนไม้สักทีก็มี หรือเปรียบเหมือนกับการที่ จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นของได้แสนยาก ฉะนั้น

พระสารีบุตรเถระได้เกี่ยวเนื่องกับพระ โพธิสัตว์ คือเป็นบิดา เป็นปู่ เป็นอาว์ เป็นพี่ชาย น้องชาย เป็นบุตร เป็นหลาน เป็นมิตรสหาย กันกับพระโพธิสัตว์ก็มี
แต่ว่าหลายแสนชาติ กว่าจะได้เกี่ยวเนื่อง กันสักชาติหนึ่ง ด้วยเหตุว่า สัตว์ทั้งหลายใน วัฏสงสาร ที่ถูกกระแสสงสารพัดไป ย่อมพบ กับสิ่งไม่เป็นที่รักก็มี พบกับสิ่งอันเป็นที่รักก็มี เหมือนกับน้ำที่ไหลบ่าไป ย่อมพบของสะอาดก็มี ไม่สะอาดก็มี ดีก็มี ไม่ดีก็มี ฉะนั้น

พระเทวทัตคราวเกิดเป็น “อธรรมยักษ์” ตัวเองก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ยังแนะนําผู้อื่น ไม่ให้ตั้งอยู่ในธรรมอีก แล้วไปตกนรกใหญ่ อยู่ถึง ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี
ส่วนพระโพธิสัตว์ เมื่อคราวเกิดเป็น “สุธรรมยักษ์” ตัวเองก็ตั้งอยู่ในธรรม ยังชักนํา บุคคลเหล่าอื่นให้ตั้งอยู่ในธรรมอีก ชาตินั้นได้ ขึ้นไปเสวยทิพยสมบัติอยู่ในสวรรค์ตลอด ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี
มาชาติปัจจุบันนี้ พระเทวทัตก็ไม่เลื่อมใส ต่อพระพุทธเจ้า จนถึงกับทําสังฆเภท แล้วจม ลงไปในพื้นดิน ส่วนสมเด็จพระชินสีห์ตรัสรู้ ธรรมทั้งปวง แล้วก็ดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง จึงควรเห็นว่า กุศลกับอกุศลให้ผลต่างกันมาก ขอถวายพระพร”
“สาธุ…พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหาข้อนี้ถูกต้องดีแล้ว “

อธิบาย


ฏีกามิลินท์ ท่านอธิบายข้อที่กล่าวว่า “พระเทวทัตเกิดเป็นพญาสุนัขจิ้งจอก เป็น ใหญ่กว่าพระราชาทั้งหลายในชมพูทวีปนั้น” มี แจ้งอยู่ใน สัพพทาฐิกชาดก คือในชาดกนั้นว่า
มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ได้ยินพราหมณ์ คนหนึ่ง ไปนั่งร่ายมนต์ปฐวิชัยอยู่ในป่าช้าแห่ง หนึ่ง ก็จําเอามนต์นั้นได้ เมื่อเข้าไปร่ายมนต์ ในป่าหิมพานต์ สัตว์ทั้งหลายมีพญาราชสีห์ เป็นต้น ก็เกรงกลัวอํานาจ ยอมมอบตัวเป็นทาส ทั้งสิ้น ตั้งให้สุนัขจิ้งจอกตัวนั้นเป็นพญา เรียกว่า “พญาทาฐิกะ” แปลว่า ผู้เป็นใหญ่กว่าสัตว์มีเขี้ยว มีเล็บทั้งปวง

แล้วพญาทาฐิกะนั้น ก็มีใจกําเริบฮึกเหิม ขึ้นนั่งบนหลังพญาราชสีห์กรีฑาทัพสัตว์ป่า เข้าไปล้อมเมืองพาราณสีไว้ คราวนั้น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นราชครูของพระเจ้าพาราณสี มีชื่อว่า วิธุรบัณฑิต ได้ออกความคิดฆ่าพญาสุนัขจิ้งจอกนั้นเสียทั้งบริวาร
เมื่อรู้ว่าพญาสุนัขจิ้งจอกยกกองทัพมาล้อมเมือง จะให้ราชสีห์แผดเสียงให้คนตายหมด ทั้งเมือง จึงขอผลัดกับพญาสุนัขจิ้งจอกไว้ ๗ วัน หลังจากนั้นพระโพธิสัตว์จึงประกาศให้ ชาวเมืองอุดหูด้วยสําลี เมื่อพญาราชสีห์แผดเสียงแล้ว พญาสุนัขจิ้งจอกกับบริวาร ซึ่งอยู่ ในที่มีประมาณ ๓ โยชน์ ก็มีอันแก้วหูแตกตายสิ้น ดังนี้
ในชาดกไม่ได้กล่าวว่า “พญาสุนัขจิ้งจอก เป็นใหญ่กว่าพระราชาในชมพูทวีปเลย” แต่ใน มิลินทปัญหาว่า “พญาสุนัขจิ้งจอกกระทํา พระราชาทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้ยอม เป็นบริวารของตน” เป็นอันผิดจากชาดกไป ฉะนั้น ควรถือชาดกเป็นใหญ่ เพราะมีมา ก่อนมิลินทปัญหา




ปัญหาที่ ๖

ถามเกี่ยวกับนางอมราเทวีของมโหสถ


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ถ้าสตรีทั้งปวงได้ขณะ คือ โอกาส ๑ ได้ที่ลับ ๑ ถูกเกี้ยว ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้แล้ว ต้องทําความชั่ว ถึงไม่พบเห็นบุรุษอื่นที่ดีกว่าคนง่อยเปลี้ย ก็ต้องทําความชั่วกับคนง่อยเปลี้ย” ดังนี้
แต่มีกล่าวไว้อีกว่า “นางอมราภรรยาของ มโหสถ ถูกมโหสถทิ้งไว้ที่กระท่อมยายแก่ คนหนึ่ง ให้อยู่ในที่สงัดโดยลําพังแล้ว ให้บุรุษไปเล้าโลมด้วยทรัพย์ตั้งพัน ก็ไม่ยอมทํา ความชั่ว”
ถ้าข้อที่ตรัสไว้นั้นเป็นของจริง ข้อที่ กล่าวถึงนางอมรานั้นก็ไม่จริง ถ้าข้อที่กล่าว ถึงนางอมรานั้นจริง ข้อที่ตรัสไว้นั้นก็ไม่จริง ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้สิ้น สงสัยด้วยเถิด”

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ทั้งสองอย่าง นั้นจริงทั้งนั้น แต่นางอมรานั้นไม่ได้ขณะโอกาส ไม่ได้ที่ลับ ไม่ถูกเกี้ยว

ข้อที่ว่า นางอมราไม่ได้โอกาสนั้น คือ นางอมรากลัวถูกติเตียนในโลกนี้ ๑ กลัวไฟ นรกในโลกหน้า ๑ ยังไม่สละมโหสถซึ่งเป็นที่รักของตน ๑ ยังเคารพมโหสถอยู่มาก ๑ ยังเคารพธรรมอยู่มาก ๑ ยังมีนิสัยติเตียนความเลวอยู่ ๑ ไม่อยากจะทําลายความดีของตน ๑ รวมเป็นเหตุหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้ จึงเรียกว่าไม่ได้โอกาส
ข้อที่ว่า ไม่ได้ที่ลับนั้น คือนางอมราเห็นว่าถึงมนุษย์ไม่เห็น อมนุษย์ก็ต้องเห็น ถ้าอมนุษย์ ไม่เห็น ผู้รู้จักจิตใจของผู้อื่นก็ต้องเห็น ถ้าผู้รู้ จิตใจของผู้อื่นไม่เห็น ตัวเองก็ต้องเห็น นึกอยู่ อย่างนี้ จึงไม่ทําความชั่วในคราวนั้น
ข้อที่ว่า ไม่ถูกเกี้ยวนั้น คือถูกเกี้ยวก็จริง แต่ว่าเหมือนกับไม่ถูกเกี้ยว เพราะนางอมรานึกเกรงความดีของมโหสถอยู่มาก นางรู้ว่า มโหสถเป็นเจ้าปัญญา ประกอบด้วยองคคุณถึง ๒๘ ประการ คือ

เป็นผู้แกล้วกล้า ๑ เป็นผู้มีความละอาย ต่อความชั่ว ๑ เป็นผู้กลัวความชั่ว ๑ มีพรรค พวก ๑ มีมิตรสหาย ๑ อดทน ๑ มีศีล ๑ พูดจริง ๑ มีความบริสุทธิ์ ๑ ไม่ขี้โกรธ ๑ ไม่ถือตัว ๑ ไม่ริษยา ๑ มีความเพียร ๑ รู้จักหาทรัพย์ ๑ รู้จักยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่น ๑
ชอบแบ่งปัน ๑ มีวาจาไพเราะ ๑ รู้จัก เคารพยําเกรง ๑ เป็นคนอ่อนโยน ๑ ไม่โอ้อวด ๑ ไม่มีมารยา ๑ มีความคิดดีมาก ๑ มีวิชาดี มาก ๑ มีชื่อเสียง ๑ เกื้อกูลผู้อาศัย ๑ เป็น ที่พอใจของคนทั้งปวง ๑ มีทรัพย์ ๑ มียศ ๑
นางอมราเห็นว่าผู้ที่มาเกี้ยวนั้นสู้มโหสถ ไม่ได้ จึงไม่ยอมทําความชั่ว ดังนี้ ขอถวาย พระพร”
“สาธุ... พระนาคเสน คําแก้ของพระผู้เป็นเจ้านี้ถูกต้องดีแล้ว“




ปัญหาที่ ๗

ถามถึงความไม่กลัวแห่งพระขีณาสพ


“ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "พระอรหันต์ทั้งหลาย หมดความสะดุ้งกลัว หมดความหวังต่อสิ่งใดๆ แล้ว" ดังนี้
แต่มีกล่าวไว้อีกว่า “พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้เห็นช้างธนบาล พระเทวทัตปล่อยมา วิ่งตรงมาข้างหน้าก็พากันสละพระพุทธเจ้า แยกกันไปคนละทิศละทาง ยังเหลือแต่ พระอานนท์ องค์เดียวเท่านั้น”
จึงขอถามว่า พระอรหันต์เหล่านั้นหลีก ไปเพราะความกลัว ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้า จะปรากฏด้วยกรรมของพระองค์เอง หรือ อยากเห็นพระปาฏิหาริย์อันชั่งไม่ได้ อันไพบูลย์ อันไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอ ของพระตถาคตเจ้า หรืออย่างไร...
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าคําว่า “พระอรหันต์ ทั้งหลายไม่มีความกลัว ความสะดุ้ง ความ หวังจริงแล้ว” ข้อที่ว่า “พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ เห็นช้างวิ่งตรงมา ก็ทิ้งพระพุทธเจ้าเสีย วิ่งไปองค์ละทิศละทาง ยังเหลือแต่พระอานนท์ องค์เดียวเท่านั้น” ก็ผิด
ถ้าว่าข้อนี้ถูก ข้อที่ว่า “พระอรหันต์ ทั้งหลาย ไม่มีความกลัว ไม่มีความสะดุ้ง ไม่มี ความหวังต่อสิ่งทั้งปวงนั้น” ก็ผิด ปัญหานี้เป็น อุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้สิ้นสงสัยเถิด”

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร คําทั้งสองนั้นจริงทั้งนั้น ก็แต่ว่าการที่ทิ้งพระพุทธองค์ไปนั้น ไม่ใช่เพราะ ความกลัว เพราะเหตุที่ให้กลัวนั้น พระอรหันต์ ตัดขาดไปสิ้นแล้ว
ขอถวายพระพร ปฐพีใหญ่นี้ เมื่อถูกขุด หรือถูกทําลาย หรือรองรับไว้ซึ่งทะเล และ ภูเขาต่าง ๆ นั้น รู้จักกลัวหรือไม่?”
“ไม่รู้จักกลัว พระผู้เป็นเจ้า“
“เพราะอะไร มหาบพิตร?”
“เพราะเหตุที่ให้กลัวหรือสะดุ้งนั้นไม่มีแก่ปฐพีใหญ่นี้”
“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เหตุที่ให้กลัวหรือสะดุ้ง ก็ไม่มีแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย อนึ่ง ยอดภูเขาเวลาถูกทำลาย หรือถูกตี ถูกเผาด้วยไฟ รู้จักกลัวหรือไม่”
“ไม่รู้จักกลัว พระผู้เป็นเจ้า”
“เพราะอะไร มหาบพิตร”
“เพราะยอดภูเขานั้นไม่มีเหตุที่จะให้กลัวหรือสะดุ้ง”

ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระอรหันต์ทั้งหลายก็ไม่มีเหตุให้กลัว ให้สะดุ้ง ถึงสัตว์โลกทั้งหลายในแสนโลกธาตุ จะถืออาวุธมาล้อมพระอรหันต์องค์เดียว ก็ไม่อาจทำจิตพระอรหันต์ให้สะดุ้งกลัวได้ ก็แต่ว่าพระอรหันต์ทั้งหลายในคราวนั้นได้นึกว่า
วันนี้ เมื่อพระพุทธองค์ผู้หระเสริฐกว่าเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย เสด็จเข้าสู้เมืองนี้ ช้างธนบาลก็วิ่งตรงมา พระอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐาก ก็จะไม่สละพระพุทธองค์ ถ้าพวกเราไม่สละพระพุทธองค์ไป คุณของพระอานนท์ก็จะไม่ปรากฏ เหตุที่จะให้ทรงแสดงธรรมก็ไม่เกิดขึ้น
เมื่อพวกเราสละไป มหาชนหมู่ใหญ่ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ก็จักพ้นจากกิเลสเป็นอันมาก คุณของพระอานนท์ก็จะปรากฏ พระอรหันต์ทั้งหลายนั้น เล็งเห็นอานิสงค์อย่างนี้ จึงได้แยกไปองค์ละทิศองค์ละทาง ขอถวายพระพร
สาธุ... พระนาคเสน โยมรับว่า ความกลัวหรือความสะดุ้ง ไม่มีแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย



ปัญหาที่ ๘

ถามคุณและโทษแห่งสันถวไมตรี


“ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคํานี้ไว้ว่า "ภัยเกิดจากสันถวะคือความชอบพอกัน ธุลีย่อมเกิดจากที่อยู่ที่อาศัย ความไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีความชอบกัน เป็นความเห็นของมุนี"
แล้วตรัสไว้อีกว่า "บุคคลควรสร้างวิหาร คือที่อยู่ให้น่ายินดี แล้วให้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็น พหูสูตรมาอยู่" ดังนี้
ถ้าตรัสไว้อย่างนี้จริง ข้อที่ตรัสว่า “ให้ สร้างวิหารนั้น” ก็ผิด ถ้าคําว่า “ให้สร้างวิหาร นั้น” ถูก ข้อที่ตรัสไว้อย่างนั้นก็ผิด ปัญหา ข้อนี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไข”

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร ที่ตรัสไว้สองอย่างนั้น จริงทั้งนั้น ข้อที่ตรัสว่า “ภัยเกิดจากสันถวะ ความรักใคร่ชอบพอ ธุลีเกิดจากที่อยู่ที่อาศัย การไม่มีที่อยู่ที่อาศัย ไม่มีสันถวะ เป็นความ เห็นของมุนีนั้น” เป็นคําแสดงสภาพ เป็นคําที่ ไม่เหลือ เป็นคําไม่มีปัญหา เป็นของสมควรแก่ สมณะ เป็นปฏิปทาของสมณะ เป็นการ ปฏิบัติของสมณะ สมณะต้องปฏิบัติเหมือน กับเนื้อในป่า เมื่อจะไปที่ไหนก็ไม่ห่วงใย ไปได้ตามสบาย ฉะนั้น

ข้อที่ตรัสว่า “บุคคลควรสร้างวิหารให้เป็น ที่ยินดี แล้วให้พระภิกษุผู้เป็นพหูสูตรมาอยู่นั้น” เป็นเพราะเหตุ ๒ ประการ คือ
๑. เป็นเพราะผู้ได้สร้างวิหารให้เป็นทาน อันเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสสรรเสริญแล้ว ย่อมพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้เป็นอานิสงส์
๒. ทรงเห็นว่า เมื่อมีภิกษุอยู่ในวิหาร ผู้อยากพบเห็นก็พบเห็นได้ง่าย เมื่อไม่มีวิหาร ไม่มีที่อยู่ที่อาศัย ก็จะพบเห็นพระภิกษุได้ยาก
พระองค์ทรงเห็นประโยชน์ ๒ ประการนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนั้น แต่พระภิกษุไม่ควรอาลัย ในที่อยู่นั้น ขอถวายพระพร”
“สาธุ...พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าแก้ไข ถูกต้องดีแท้ ”




ปัญหาที่ ๙

ถามถึงความมีอาพาธน้อยของพระพุทธเจ้า


“ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ เราเป็นผู้ควรแก่การขอ เป็นผู้ มีมือสะอาด เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย เป็นผู้เยี่ยม เป็นหมอยา เป็นหมอผ่าตัด"
แล้วตรัสไว้อีกว่า "พระพากุละเลิศกว่า สาวกทั้งหลายของเรา บรรดาที่มีอาพาธน้อย"
และมีปรากฏว่า สมเด็จพระบรมศาสดา ได้ทรงประชวรหลายครั้ง ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้าเป็นผู้เยี่ยมจริง ข้อที่ตรัสว่า “พระพากุละเลิศกว่าสาวกทั้งหลายของเรา บรรดาที่มีอาพาธน้อย” ดังนี้ก็ผิด
ถ้าคําว่า “พระพากุละเลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลาย ผู้มีอาพาธน้อย” เป็นของจริงแล้ว คําที่ว่า “พระตถาคตเจ้าเป็นผู้เยี่ยม คือไม่มีผู้อื่น ยิ่งกว่านั้น” ก็ไม่จริง ปัญหาข้อนี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไข

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ทั้งสองอย่าง นั้น จริงทั้งนั้น แต่ข้อที่ตรัสว่า “พระพากุละ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีอาพาธน้อยนั้น” ตรัสหมายถึงสิ่งที่มีอยู่เฉพาะตัวอย่างหนึ่ง ๆ เท่านั้น
คือพวกสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่มีแต่ยืนกับเดินเท่านั้น ตลอดวันตลอดคืนก็มี ส่วนสมเด็จพระชินสีห์ทั้งทรงยืน เดิน นั่ง นอน พวกภิกษุที่มีแต่ยืนกับเดินเท่านั้น ก็ยิ่ง กว่าเพียงด้วยการยืน กับการเดินเท่านั้น
พวกที่นั่งฉันในอาสนะเดียว เมื่อลุก จากที่นั่งนั้นแล้ว ไม่ฉันอาหารที่ไหนอีก เพราะ เห็นแก่ชีวิตก็มี ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าฉัน วันละ ๒ เวลา ๓ เวลาก็มี คือตั้งแต่อรุณขึ้น ถึงเที่ยงเสวย ๒-๓ หนก็มี แต่พวกฉันหน เดียวนั้น ก็ยิ่งกว่าเพียงการฉันเท่านั้น ไม่ใช่ ยิ่งไปกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง

ส่วนสมเด็จพระพิชิตมารที่ว่าเป็นผู้เยี่ยม ไม่มีใครยิ่งกว่านั้น คือเยี่ยมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ พุทธธรรม ๑๘ อสาธารณญาณ ๖
เปรียบเหมือนพระราชา ย่อมยิ่งกว่า ผู้มีชาติตระกูล มีทรัพย์ มีวิชา มีศิลปะ มีความแกล้วกล้า มีความหลักแหลมทั้งปวง ฉันใด องค์สมเด็จพระจอมไตรก็เยี่ยมกว่า สรรพสัตว์ทั้งปวงฉันนั้น
การที่พระพากุละมีอาพาธน้อยนั้น เป็นด้วยอานิสงส์ที่ได้กระทําไว้ คือในชาติก่อน พระพากุละเกิดเป็นดาบส ได้ถวายยาแก้โรคลมในท้องของ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า และถวายยาแก้ไข้แก่ พระวิปัสสีทศพล กับ พระภิกษุ ๒ ล้าน ๘ แสนองค์ แล้ว ปรารถนาให้เป็นผู้มีอาพาธน้อย จึงได้เป็น ผู้มีอาพาธน้อย

เมื่ออาพาธเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี ไม่เกิดก็ดี ทรงถือธุดงค์ก็ดี ไม่ทรงถือก็ดี ผู้ที่จะเสมอกับพระองค์ไม่มี ข้อนี้ ถูกตามที่ ตรัสประทานไว้ใน สังยุตตนิกาย ว่า
"บรรดาสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่มีเท้าไม่มีเท้า
หรือมีเท้า ๒ เท้า ๔ เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมี สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรากฏว่าเลิศกว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น"

“ถูกดีแท้ พระนาคเสน“




ปัญหาที่ ๑๐

ถามเรื่องพระพุทธเจ้าทรงกระทําทางให้เกิด


“ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ทําให้เกิดทางอันยังไม่เกิด" แล้วตรัสไว้อีกว่า "เราได้เห็นทางเก่า อันเป็น ทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปาง ก่อน ทรงเดินตามกันมา" ดังนี้
ถ้าคําว่า “พระตถาคตเจ้าทําให้เกิดทาง อันยังไม่เกิด” นั้นถูก คําที่ว่า “เราได้เห็นทางเก่า อันเป็นทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ทรงเดินตามกันมาแล้วนั้น” ก็ผิด
ถ้าคําว่า “เราได้เห็นทางเก่า อันเป็นทาง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเดินตาม กันมาแล้ว” นั้นถูก คําที่ว่า “พระตถาคตเจ้า ทําให้เกิดทางอันยังไม่เกิดนั้น” ก็ผิด ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรจะแก้ไข”

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร คําทั้งสองนั้นถูกตาม ความจริงทั้งนั้นคือเมื่อพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ในปางก่อนอันตรธานไปแล้ว ผู้บอกทางก็ไม่มี ทางก็หายไป พระตถาคตเจ้าได้ทรงเห็นทางอันลบเลือนไปแล้ว อันหายไปแล้ว อันมีสิ่งกําบังไว้ อันไม่เป็นที่ไปมาได้แล้วนั้น ได้ด้วย ปัญญาจักษุของพระองค์ จึงตรัสว่า ได้เห็น ทางเก่า เมื่อทรงสั่งสอน ก็ได้ชื่อว่าทําให้เกิด ทางอันยังไม่เกิด
เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงอันตรธานไปแล้ว แก้วมณีก็ไปหลบซ่อนอยู่ในระหว่างยอดเขา (วิบุลบรรพต)เสีย เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิองค์ใหม่มีขึ้น จึงมาปรากฏขึ้นอย่างนั้นไม่ใช่ หรือ?”

อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า คือแก้วมณีนั้น ไม่ได้มีประจําอยู่เป็นปกติ ต่อเมื่อมีพระเจ้า จักรพรรดิเกิดขึ้น จึงจะปรากฏขึ้น
“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ทางอันเกษมเยือกเย็น อันเป็นทางอันประกอบด้วย องค์ ๘ (มรรค ๘) เมื่อผู้สั่งสอนไม่มี ทางนั้นก็ลบเลือนหายไป พระตถาคตเจ้าจึงทรง เล็งเห็นทางนั้น แล้วทรงบอกให้แก่เทพยดา มนุษย์ทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง หญิงที่มีบุตรเกิดในท้อง เขาเรียกว่า “ผู้ทําให้ลูกเกิด” ฉันใด สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงเห็นทางแล้วทรงบอกทาง ที่หายไปแล้วนั้น จึงเรียกว่า “ผู้ทําให้เกิดทาง” ฉะนั้น
อีกอย่างหนึ่ง เหมือนกับบุรุษคนหนึ่งได้ พบของที่หายไป ก็มีการพูดกันว่า ของนั้น เกิดขึ้นด้วยผู้นั้น หรือบุรุษคนใดคนหนึ่งถางป่า ที่รกให้เตียน ทําให้เกิดเป็นพื้นที่สะอาดขึ้น ก็มี การกล่าวกันว่า ที่นั้นเป็นของบุรุษนั้น บุรุษนั้น ชื่อว่าเป็นเจ้าของฉันใด
พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นทางเก่าของพระพุทธเจ้าในปางก่อนแล้วทรงบอก ก็เรียกว่า “ผู้ทําให้เกิดทางอันยังไม่เกิด” ฉันนั้น ขอถวาย พระพร”
“ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้อง ดีแล้ว”

วรรคที่ ๕





วรรคที่ ๖

ปัญหาที่ ๑ ถามถึงโทษแห่งปฏิปทา


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
"ข้าแต่พระนาคเสน นับแต่พระโพธิสัตว์เจ้าได้ทําทุกกรกิริยาแล้วมา ก็ไม่ได้ทําความเพียรสู้รบกับกิเลส กําจัดเสนามัจจุ กําหนดอาหาร ในที่อื่นอีก ในการทําความเพียรยิ่ง ใหญ่อย่างนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าก็ไม่ได้ความ ดีใจอย่างใด จึงได้ทรงเปลี่ยนความคิดอย่าง นั้นเสีย แล้วได้ตรัสไว้ว่า
"เราไม่ได้สําเร็จความรู้ความเห็นพิเศษ อันเป็นของพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของ มนุษย์ธรรมดา ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อน นี้เลย ทางตรัสรู้ทางอื่นเห็นจะมี"
ทรงดําริดังนี้แล้ว ก็เลิกทุกกรกิริยานั้น เสีย แล้วได้สําเร็จพระสัพพัญญุตญาณด้วย ทางอื่น แล้วทรงแนะนําสั่งสอนพวกสาวก ด้วยปฏิปทานั้นอีกว่า
"เธอทั้งหลาย จงทําความเพียร จง ประกอบในพระพุทธศาสนา จงกําจัดเสนา มัจจุ เหมือนช้างหักไม้อ้อฉะนั้น" ดังนี้
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระตถาคตเจ้าทรง เบื่อหน่ายในปฏิปทาใดแล้ว เหตุไรจึงทรง ชักนําพวกสาวกในปฏิปทานั้น?"

พระนาคเสนตอบว่า
"ขอถวายพระพร ในคราวนั้นก็ดี ในบัดนี้ก็ดี ปฏิปทานั้นก็คงเป็นปฏิปทานั้นเอง พระโพธิสัตว์เจ้าปฏิบัติตามปฏิปทานั้นแล้ว จึงสําเร็จความเป็นพระสัพพัญญู ในเมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าทรงทําความเพียรอันยิ่ง ก็ได้ตัดอาหาร ไม่ให้เหลือ เมื่อตัดอาหารหมดแล้ว ก็หมดกําลังใจ เมื่อหมดกําลังใจ ก็ไม่อาจสําเร็จความเป็นพระสัพพัญญูได้
เมื่อทรงเสวยอาหารที่เป็นคํา ๆ ตามสมควร ไม่ช้าก็ได้สําเร็จความเป็นพระสัพพัญญู ด้วยปฏิปทานั้น ปฏิปทานั้นแหละ ทําให้ได้พระสัพพัญญุตญาณแก่พระตถาคตเจ้า ทั้งหลาย เหมือนกับอาหารอันให้ความสุขสําราญ แก่สัตว์ทั้งหลายฉันนั้น
องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ไม่ได้สําเร็จ พระสัพพัญญุตญาณในขณะนั้นด้วยสิ่งใด สิ่งนั้นไม่ใช่โทษแห่งการทําความเพียร ไม่ใช่ โทษแห่งการสู้รบกับกิเลส เป็นโทษแห่งการตัด อาหารเท่านั้น ปฏิปทานั้นเป็นของมีอยู่ทุกเมื่อ

บุรุษเดินทางไกลด้วยความรีบร้อน จะต้องเสียกําลังแข้งขา หรือเป็นง่อยเปลี้ยเดิน ไปมาไม่ได้ การที่เดินไปมาไม่ได้นั้น จะว่าเป็นโทษแห่งแผ่นดินอย่างนั้นหรือ..มหาบพิตร?"
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน อันใหญ่นี้ย่อมมีประจําอยู่ทําเมื่อ การที่บุรุษนั้น เสียกําลังแข้งขาจนเดินไม่ได้นั้น ไม่ใช่เป็นโทษแห่งแผ่นดิน เป็นโทษแห่งความพยายาม ต่างหาก"

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร การที่สมเด็จพระพิชิตมาร ไม่สําเร็จสัพพัญญุตญาณ ในขณะนั้น ไม่ใช่เป็นโทษแห่งความเพียร ไม่ใช่เป็นโทษแห่งการสู้รบกิเลส เป็นโทษแห่งการขาดอาหารต่างหาก ปฏิปทานั้นมีอยู่ทุกเมื่อ
อีกอย่างหนึ่ง บุรุษนุ่งผ้าที่เศร้าหมอง ไม่รู้จักซัก ปล่อยให้เศร้าหมองอยู่นั่นเอง การ ที่ผ้าเศร้าหมองนั้น ไม่ใช่เป็นโทษแห่งน้ำ น้ำ มีอยู่ทุกเมื่อ เป็นโทษแห่งบุรุษนั้นต่างหากฉันใด
การที่พระโพธิสัตว์ไม่สําเร็จพระสัพพัญ ญุตญาณ ในขณะที่บําเพ็ญทุกกรกิริยานั้น ไม่ใช่เป็นโทษแห่งความเพียร ไม่ใช่เป็นโทษ แห่งการสู้รบกับกิเลส เป็นโทษแห่งการขาด อาหารต่างหากฉันนั้น ปฏิปทานั้นมีอยู่ทุกเมื่อ
เพราะฉะนั้น สมเด็จพระภควันต์จึงทรง สั่งสอนชักชวนพวกสาวก ด้วยปฏิปทานั้น ปฏิปทานั้นเป็นของดีไม่มีโทษ เป็นของอยู่ อย่างนั้นแหละ มหาบพิตร"
"ข้าแต่พระนาคเสน ข้อนี้พระผู้เป็นเจ้า แก้ถูกต้องดีแล้ว"




ปัญหาที่ ๒

ถามถึงธรรมที่ไม่ให้เนิ่นช้า


"ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีเครื่องไม่เนิ่นช้า เป็นที่มายินดี จงยินดีในเครื่องไม่เนิ่นช้า" ดังนี้ โยมขอถามว่า เครื่องไม่เนิ่นช้านั้นได้แก่ อะไร?"
พระนาคเสนตอบว่า
"ขอถวายพระพร เครื่องไม่เนิ่นช้าได้แก่ โสดาปัตติผล สกิทาคามีผล อนาคามีผล อรหัตผล"
พระเจ้ามิลินท์ซักถามต่อไปว่า
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าโสดาปัตติผล ตลอดถึงอรหัตผลเป็นเครื่องไม่เนิ่นช้าแล้ว เหตุใดภิกษุทั้งหลายจึงเล่าเรียนสอบถามซึ่ง พระพุทธวจนะมีองค์ ๙ คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อติวุตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ (รวมเรียกพระไตรปิฎก) อยู่และยังเกี่ยวข้อง อยู่กับนวกรรม คือการก่อสร้างและเกี่ยวข้อง อยู่กับทาน การบูชา ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า กระทํากรรมที่ทรงห้ามไม่ใช่หรือ?

พระนาคเสนชี้แจงว่า
"ขอถวายพระพร ภิกษุเหล่าใดยังเล่า เรียนสอบถามอยู่ ยังเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอยู่ ยังเกี่ยวข้องกับทานอยู่ เกี่ยวข้องกับการบูชาอยู่ ภิกษุเหล่านั้นทั้งสิ้น ชื่อว่า กระทําเพื่อถึงเครื่องไม่เนิ่นช้าทั้งนั้น
ขอถวายพระพร ภิกษุเหล่าใดบริสุทธิ์ ตามสภาพอยู่แล้ว มีวาสนาบารมีอันได้อบรม ไว้ในปางก่อนมาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นย่อมเป็น ผู้ไม่มีเครื่องเนิ่นช้า ด้วยขณะแห่งจิตดวงเดียว (ได้บรรลุมรรคผลในชั่วขณะจิตเดียว)
ส่วนภิกษุเหล่าใด ยังเป็นผู้ศึกษาอยู่ ภิกษุเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีเครื่องเนิ่นช้าด้วย ประโยค คือยังต้องบําเพ็ญบารมีด้วยสิ่งเหล่านี้อยู่

เนื้อความข้อนี้ควรทราบด้วยอุปมา คือสมมุติว่ามีบุรุษชาวนาผู้หนึ่ง หว่านพืชลงในนาแล้ว ก็เก็บผลแห่งพืชข้าว ได้ด้วยกำลังและความเพียรของตน โดยไม่ต้องล้อมรั้วก็มี บุรุษอีกคนหนึ่ง หว่านพืชลงในนาแล้ว ต้องเข้าป่าตัดเอากิ่งไม้ ใบไม้ และหลักรั้ว มาทำรั้วจึงได้ผลแห่งพืชข้าว
การแสวงหาเครื่องล้อมรั้วนั้น ก็เพื่อพืชข้าวฉันใด ภิกษุเหล่าใดบริสุทธิ์อยู่ตามสภาพแล้วได้อบรมวาสนาบารมีไว้ในปางก่อนแล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็เป็นผู้ไม่มีเครื่องเนิ่นช้า ด้วยขณะจิตเดียว เปรียบเหมือนบุรุษที่ได้ข้าวด้วยไม่ต้องล้อมรั้วฉะนั้น
ส่วนภิกษุเหล่าใดยังศึกษาอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ชื่อว่าไม่เนิ่นช้า ด้วยการบำเพ็ญบารมีสิ่งเหล่านี้ เหมือนกับบุรุษที่ล้อมรั้ว แล้วจึงได้ข้าวฉะนั้น

อีกประการหนึ่ง ขั้วผลไม้ย่อมอยู่บนยอดต้นไม้ใหญ่ มีผู้มีฤทธิ์คนใดคนหนึ่ง มาถึงต้นไม้ใหญ่นั้น ก็นำเอาผลไม้นั้นไปได้ที่เดียว ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นผู้ไม่มีฤทธิ์ เมื่อมาถึงต้นไม้นั้นแล้ว ต้องหาตัดไม้และเถาวัลย์มาผูกเป็นพะอง พาดขึ้นต้นไม้ใหญ่นั้น จึงจะเก็บเอาผลไปได้
การที่บุรุษนั้นหาไม้มาทำพะอง ก็เพื่อต้องการผลไม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใดบริสุทธิ์อยู่ตามสภาพแล้ว ได้อบรมวาสนาบารมีแล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็เป็นผู้ไม่เนิ่นช้า คือสำเร็จได้ด้วยขณะจิตเดียวเท่านั้น เปรียบเหมือนผู้มีฤทธิ์นำผลไม้นั้นไปได้ฉะนั้น
ส่วนพวกที่ยังศึกษาอยู่ ก็ย่อมสำเร็จมรรคผล ด้วยการบำเพ็ญบารมีสิ่งเหล่านี้ เหมือนกับบุรุษนำผลไม้ไปได้ ด้วยอาศัยพะอมพาดขึ้นไปฉะนั้น

อีกอย่างหนึ่งเหมือนกับผู้จะทำประโยชน์ คนหนึ่งมีความเข้าใจดี ก็ทำให้สำเร็จได้โดยลำพังผู้เดียว อีกคนหนึ่งเป็นคนมีทรัพย์ แต่ไม่เข้าใจดี ต้องจ้างคนอื่นให้ช่วยทำจึงจะสำเร็จได้ การที่บุรุษนั้นมีทรัพย์ จ้างคนอื่นก็เพื่อกิจธุระนั้นฉันใด
พวกใดที่บริสุทธิ์ตามสภาพแล้วได้อบรมวาสนาบารมีไว้ในปางก่อนแล้ว พวกนั้นก็ได้สำเร็จอภิญญา ๖ ด้วยขณะจิตเดียว เปรียบเหมือนบุรุษสำเร็จประโยชน์โดยลำพังผู้เดียวฉะนั้น
ส่วนพวกใดยังศึกษาอยู่ พวกนั้นย่อมสำเร็จอริยสัจ ด้วยการบำเพ็ญบารมีสิ่งเหล่านี้ เหมือนกับบุรุษผู้ให้สำเร็จประโยชน์ ด้วยเอาทรัพย์จ้างผู้อื่นฉันนั้น

ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว โยมขอรับทราบว่าถูกต้องดีแท้

◄ll กลับสู่สารบัญ

<<โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป>>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 19/3/10 at 19:28 Reply With Quote



ตอนที่ ๒๗


ปัญหาที่ ๓ ถามถึงความเป็นพระอรหันต์แห่งคฤหัสถ์

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน มีคํากล่าวไว้ว่า "คฤหัสถ์ผู้สําเร็จอรหันต์แล้ว ย่อมมีคติ ๒ ประการ คือบรรพชาในวันนั้น ๑ ปรินิพพานในวันนั้น ๑ ไม่อาจเลยวันนั้นไปได้" ดังนี้
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าในวันนั้น ไม่ได้อาจารย์ หรืออุปัชฌาย์ หรือบาตร จีวร ผู้ สําเร็จอรหันต์แล้วนั้นจะบรรพชาเอง หรือเลยวันนั้นไป หรือมีพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์องค์ใดองค์หนึ่งมาให้บรรพชา จะได้หรือไม่ หรือ ต้องปรินิพพานไป?”
พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร พระอรหันต์นั้นบรรพชาเองไม่ได้ ถ้าบรรพชาเองก็ชื่อว่า "ไถยสังวาส”(ลักเพศ คือ ปลอมบวช) และเลยวันนั้นไป ก็ไม่ได้ จะมีพระอรหันต์องค์อื่นมาหรือไม่มี ก็ตาม ก็ต้องปรินิพพานในวันนั้น”

“ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้นความเป็นพระอรหันต์ก็ทําให้สิ้นชีวิตน่ะซิ”
“ขอถวายพระพร คฤหัสถ์ถึงสําเร็จอรหันต์แล้วก็ต้องบรรพชา หรือปรินิพพาน ในวันนั้น เพราะเพศคฤหัสถ์ไม่มีกําลังพอ ข้อที่สิ้นชีวิตไปนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะโทษแห่งความเป็นพระอรหันต์ เป็นเพราะโทษแห่งคฤหัสถ์ ไม่มีกําลังพอต่างหาก
ขอถวายพระพร ธรรมดาโภชนาหาร ย่อมรักษาอายุ รักษาชีวิตของสัตว์ทั้งหลายไว้ แต่ว่าโภชนาหารนั้น ย่อมทําให้สิ้นชีวิตได้ ด้วยไฟย่อยอาหารไม่พอ การสิ้นชีวิตนั้นไม่ใช่ เป็นโทษแห่งอาหารนั้น เป็นโทษแห่งไฟย่อยอาหารไม่พอฉันใด

การที่คฤหัสถ์ผู้ได้สําเร็จพระอรหันต์แล้ว ต้องบรรพชาหรือปรินิพพานในวันนั้น ข้อนั้น ไม่ใช่เป็นโทษแห่งความเป็นพระอรหันต์ เป็นโทษแห่งเพศคฤหัสถ์มีกําลังไม่พอฉันนั้น
อีกประการหนึ่ง เหมือนกับบุคคลยกเอาก้อนศิลาหนัก ๆ วางลงบนฟ่อนหญ้าเล็กๆ ฟ่อนหญ้าเล็ก ๆ นั้น ก็ต้องจมลงไปเพราะกําลัง ไม่พอฉันใด ข้อนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น
อีกอย่างหนึ่ง เหมือนบุรุษผู้มีบุญน้อย เมื่อได้ราชสมบัติอันใหญ่แล้ว ก็ไม่อาจรักษา ความเป็นอิสระไว้ได้ฉันใด คฤหัสถ์ผู้ใด้สําเร็จพระอรหันต์แล้ว ก็ไม่อาจรับรองความเป็นอรหันต์ไว้ได้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงต้อง บรรพชาหรือปรินิพพานในวันนั้น ขอถวาย พระพร”
“ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน”




ปัญหาที่ ๔

ถามเรื่องโลมกัสสปฤาษี


“ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราเป็นมนุษย์อยู่เมื่อก่อน เราไม่ชอบเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย" ดังนี้ แต่คราวเสวยพระชาติ เป็น โลมกัสสปฤาษี ได้เห็นนางจันทวดี ก็ได้ ฆ่าสัตว์หลายร้อยบูชายัญ
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าข้อว่า “ไม่เคยเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย” เป็นของถูก ข้อว่า “ฆ่าสัตว์บูชายัญครั้งเป็นโลมกัสสปฤาษี” ก็ผิดไป
ถ้าข้อว่า “เป็นโลมกัสสปฤาษีได้ฆ่าสัตว์ บูชายัญ” นั้นถูก ข้อว่า “ไม่เคยเบียดเบียนสัตว์” นั้นก็ผิด ปัญหาข้อนี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ แก้ได้ยาก โปรดแก้ให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด”

พระนาคเสนจึงตอบว่า
“ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสว่า “เมื่อเราเป็นมนุษย์อยู่ชาติก่อน เราไม่ได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย” นั้นก็ถูก ข้อว่า “ครั้งเป็นโลมกัสสปฤาษี ได้ฆ่าสัตว์หลายร้อยบูชายัญ” นั้นก็ถูก ก็แต่ว่า ข้อนั้น เป็นด้วยอํานาจราคะ รักใคร่หลงใหล ในนางจันทวดี หาได้มีเจตนาแกล้งฆ่าสัตว์ให้ตายไม่”

“ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลย่อมฆ่าผู้อื่น ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือด้วยอํานาจ
ราคะ ๑
โทสะ ๑
โมหะ ๑
มานะ ๑
โลภะ ๑
ชีวิต ๑
ความโง่เขลา ๑
ตามบทบัญญัติ ๑
ส่วน โลมกัสสปฤาษีกระทํานั้น เป็นการกระทําปกติ

“ขอถวายพระพร ไม่ใช่เป็นการกระทําปกติ ถ้าโลมกัสสปฤาษีน้อมใจลงไป เพื่อจะบูชายัญใหญ่ตามสภาวะปกติ ไม่ใช่ด้วยปัญญา ก็คงไม่กล่าวไว้ว่า”
“บุคคลไม่ควรต้องการแผ่นดิน อันมีสมุทรเป็นขอบเขต มีสาครเป็นกุณฑล พร้อมกับการนินทา ดูก่อนเสยหะอํามาตย์ เธอจงรู้อย่างนี้เถิด...” ดังนี้
ขอถวายพระพร โลมกัสสปฤาษีผู้พูดอย่างนี้ แต่พอได้เห็นพระนางจันทวดีก็เสียสติ หลงใหล ได้ฆ่าสัตว์บูชายัญด้วยความเสียสติ
ขอถวายพระพร ธรรมดาคนเสียสติ คือคนบ้า ย่อมเหยียบไฟก็ได้ กินยาพิษก็ได้ วิ่งเข้าหาช้างตกมันก็ได้ แล่นลงไปสู่ทะเลที่ ไม่ใช่ท่าก็ได้ ตกน้ำครําก็ได้ เหยียบหนาม เหยียบตอก็ได้ กระโดดลงจากภูเขาก็ได้ กิน ของน่าเกลียดโสโครกก็ได้ เปลือยกายเดิน ไปตามถนนก็ได้ ทําสิ่งที่ไม่ควรทําได้ต่าง ๆฉันใด โลมกัสสปฤาษีก็เสียสติ จึงได้ฆ่าสัตว์ บูชายัญในคราวนั้น

บาปที่คนบ้าทํา ย่อมไม่มีโทษ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต อาตมภาพขอถามว่า ถ้ามีคนบ้าทําผิด จะทรงลงโทษหรือไม่?”
“ไม่ลงโทษ พระผู้เป็นเจ้า เพียงแต่ให้ ไล่ตีให้หนีไปเท่านั้น”
“ขอถวายพระพร ความผิดย่อมไม่มีแก่คนบ้าฉันใด โลมกัสสปฤาษีก็ไม่มีความ ผิดในการฆ่าสัตว์บูชายัญ เพราะความเป็นบ้า ในคราวนั้น พอจิตเป็นปกติขึ้น ก็ได้สําเร็จ อภิญญา ๕ อีก แล้วได้ขึ้นไปเกิดในพรหมโลก ขอถวายพระพร”
“ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขถูกต้องดีแล้ว”

อธิบาย

เรื่องโลมกัสสปฤาษีนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้เสวยพระชาติเป็นฤาษี ได้หลงรักพระราชธิดาของพระเจ้าพาราณสี จนยอมรับว่าจะไปฆ่าสัตว์บูชายัญ
แต่พอยกพระขรรค์แก้วขึ้นด้วยคิดจะตัดคอช้าง ช้างก็ได้ร้องขึ้นด้วยความตกใจกลัว ขณะนั้น ช้าง ม้า โค ลา เป็นต้น ที่เขาผูกไว้เพื่อจะฆ่าบูชายัญ ก็ได้ร้องขึ้นด้วยเสียงสนั่นหวั่นไหว ด้วยความกลัวตาย

โลมกัสสปฤาษีรู้สึกสลดใจ พอก้มลง เห็นเงาบริขารฤาษีของตน มีชฎาเป็นต้น ก็ได้สติทันที แล้วกลับได้ฌานเหมือนอย่างเดิม ขึ้นไปนั่งอยู่บนอากาศสั่งให้ปล่อยสัตว์ทั้งหลาย แล้วก็กลับไปสู่ป่าหิมพานต์ตามเดิม
เป็นอันว่า โลมกัสสปฤาษีไม่ทันได้ ฆ่าสัตว์บูชายัญ แต่ในมิลินทปัญหากล่าวว่า “ฆ่าสัตว์หลายร้อยบูชายัญ” เรื่องนี้ท่านอาจจะ ตั้งปัญหาถาม หมายถึงในขณะที่กําลังจะฆ่าก็ได้ จึงได้ใช้คําพูดตายตัวอย่างนั้น
เนื่องจากท่านทั้งสองเป็นบัณฑิต มีความชํานาญในพระไตรปิฎก จึงขอฝากให้ท่านผู้อ่าน โปรดวินิจฉัยให้รอบคอบด้วย




ปัญหาที่ ๕

ถามเรื่องพญาช้างฉัททันต์


“ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้าคราวเป็นพญาช้างฉัททันต์ได้กล่าวไว้ว่า
"เราได้จับนายพรานไว้ด้วยคิดว่าจะฆ่า แต่พอ ได้เห็นผ้ากาสาวะ อันเป็นธงของฤาษีทั้งหลาย เราก็นึกขึ้นได้ว่า ผู้ที่มีธงของพระอรหันต์เป็น ผู้ไม่ควรฆ่า" ดังนี้
และมีกล่าวไว้อีกว่า “ครั้งพระองค์เป็นโชติปาลมาณพ ได้ด่าว่า สมเด็จพระพุทธกัสสป ด้วยคําว่า “สมณะศีรษะโล้น...” ดังนี้
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระโพธิสัตว์ ถึงเป็นเดรัจฉานก็เคารพผ้ากาสาวะ ข้อที่ว่า “โชติปาลมาณพด่าว่าสมเด็จพระพุทธกัสสป อย่างนั้น” ก็ผิดไป ถ้าไม่ผิด ข้อว่า “พญาช้างฉัททันต์เคารพผ้ากาสาวะนั้น” ก็ผิด
เป็นเพราะเหตุใด พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมนุษย์ ผู้มีญาณแก่กล้าแล้ว ได้เห็นสมเด็จพระพุทธกัสสป ผู้ล้ำเลิศในโลก ผู้ทรงนุ่งห่ม ผ้ากาสาวะจึงไม่เคารพ ปัญหาข้อนี้ก็เป็น อุภโตโกฏิ ขอได้โปรดแก้ไขด้วย

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร ทั้งสองเรื่องนั้นถูกทั้งนั้น ก็แต่ว่าเรื่องที่โชติปาลมาณพว่าสมเด็จ พระพุทธกัสสปในคราวนั้น เป็นด้วยอํานาจเขาถือชาติตระกูลของเขาเกินไป คือ
โชติปาลมาณพเกิดในตระกูลที่ไม่มีศรัทธา เลื่อมใส มารดาบิดา พี่น้องหญิง พี่น้องชาย ทาสีทาสาคนใช้ คนบําเรอ และศิษย์ของมาณพ นั้นทั้งสิ้น ล้วนแต่เคารพพรหมถือว่าพวก พราหมณ์เท่านั้นประเสริฐสูงสุด แล้วติเตียน เกลียดชังบรรพชิตทั้งหลาย
โชติปาลมาณพได้เชื่อถือตามลัทธิของ พวกพราหมณ์ ได้ฟังถ้อยคําของพวกพราหมณ์ ที่ด่าว่าบรรพชิตอยู่เสมอ เวลาช่างปั้นหม้อ ชื่อว่า “ฆฏิการะ” ชวนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงได้ตอบ ว่า “ต้องการอะไรกับการที่จะพบสมณะศีรษะโล้น...”

ขอถวายพระพร ยาอมฤตเมื่อผสมกับ ยาพิษก็กลายเป็นรสขม ส่วนยาพิษเวลามา ผสมกับยาอมฤต ก็กลายเป็นรสหวานฉันใด น้ำเย็นถูกไฟก็ร้อน คนเลวได้มิตรดีก็เป็นคนดี คนดีได้มิตรเลวก็เป็นคนเลวฉันใด โชติปาล มาณพเกิดในตระกูลที่ไม่มีศรัทธาเลื่อมใส ก็กลายเป็นอันธพาลไปตามตระกูลฉันนั้น
กองไฟใหญ่ที่ลุกรุ่งโรจน์อยู่ ก็มีแสงสว่างดี เวลาถูกน้ำก็หมดแสง กลายเป็นสีดําไป เหมือนกับผลไม้ที่หล่นจากขั้ว แก่งอมแล้ว เน่าไปฉะนั้น
ด้วยเหตุนี้แหละมหาบพิตร โชติปาลมาณพผู้มีปัญญา มีแสงสว่างด้วยความไพบูลย์แห่งญาณอย่างนั้นก็จริง แต่เวลาเกิดในตระกูล ที่ไม่มีศรัทธาเลื่อมใส ก็กลายเป็นอันธพาลไป ถึงกับได้ด่าว่าพระพุทธเจ้า
เวลาเข้าไปถึงพระพุทธเจ้าแล้วจึงรู้จัก คุณของพระองค์ แล้วได้บรรพชาในพระพุทธ ศาสนา ทําอภิญญาสมาบัติให้เกิด แล้วก็ได้ไป เกิดในพรหมโลก ขอถวายพระพร”
สาธุ...พระนาคเสน โยมขอรับว่าถูกต้อง ดีแล้ว

อธิบาย


เรื่องที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น พญาฉัททันต์ นั้น มีปรากฏอยู่ในชาดกว่า ยังมีนางภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง ในขณะที่นั่งฟังพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอยู่นั้น ได้ระลึกชาติหนหลังว่า ตนเองเคยเกิดเป็นนางพญาช้าง ซึ่งเป็นภรรยาของพญาฉัททันต์ ต่อมาได้ให้ นายพรานฆ่าพญาช้างนั้น ครั้นนึกได้อย่างนี้ จึงร้องไห้ขึ้นในท่ามกลางคนทั้งหลาย
พระศาสดาทรงปรารภเหตุนี้แล้ว จึงทรง ตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ในอดีตกาล พญาฉัททันต์มีอัครมเหสีอยู่ ๒ เชือก ชื่อว่า จูฬสุภัททา และ มหาสุภัททา ได้อาศัยอยู่ใน ป่าหิมพานต์ พร้อมกับบริวารทั้งหลาย และได้ กระทําการบูชากราบไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์อยู่เป็นนิจ
ต่อมานางจูฬสุภัททาเกิดน้อยใจ ได้ผูกอาฆาตพยาบาทพญาฉัททันต์ จึงได้นําผลไม้ไป ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้ได้ไปเกิดเป็นพระมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ครั้นปรารถนาดังนี้ จึงเริ่มอดอาหาร จนถึงแก่ความตาย แล้วก็ได้ไปเกิดเป็นพระมเหสี มีพระนามว่า สุภัททา สมความปรารถนา

ครั้นพระนางระลึกชาติหนหลังได้ จึงให้นายพรานไปดักยิงพญาฉัททันต์ ด้วยลูกศรอาบยาพิษ พญาช้างได้รับความเจ็บปวดมาก จึงเอื้อมงวงจับไว้หวังจะฆ่าเสีย แต่พอได้เห็นผ้ากาสาวพัสตร์ที่นายพรานเอามาคลุมศีรษะไว้ อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่ตนมีความ เคารพเลื่อมใสอยู่ จึงยับยั้งใจเอาไว้ได้
เมื่อซักถามจนทราบความแล้วไซร้ จึงก้มศีรษะลงให้นายพรานเลื่อยเอางา ในขณะที่ เลื่อยนั้น พญาช้างได้รับความเจ็บปวดมาก มีโลหิตไหลออกมาเต็มปาก พอนายพรานลับตา ไปแล้ว นางพญาช้างมหาสุภัททาพร้อมกับบริวาร ก็มาถึง พอดีกับพญาฉัททันต์ได้สิ้นใจตายไปแล้ว ฝ่ายพระนางสุภัททาได้เห็นงาพญาช้าง ผู้เคยเป็นสามีที่รักของตน จึงเกิดความสลดใจ จนถึงกับหัวใจแตกลงไปทันที
ครั้นสมเด็จพระชินสีห์ทรงแสดงเรื่องนี้ จบแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า “พระนางสุภัททา” ได้มาเกิดเป็นภิกษุณีสาวรูปนี้ “พญาฉัททันต์” นั้น คือตัวเราตถาคตในบัดนี้




ปัญหาที่ ๖

ถามถึงเรื่องฆฏิการอุบาสก


“ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ที่อยู่ของช่างหม้อชื่อว่า ฆฏิการะ กระทําอากาศให้เป็นหลังคา ฝนตกลงมาไม่รั่วตลอด ๓ เดือนฤดูฝน" แต่ตรัสไว้อีกว่า "พระคันธกุฎีของพระพุทธกัสสปฝนรั่ว"
โยมจึงขอถามว่า เหตุไรพระคันธกุฎีของ “พระพุทธกัสสป” ผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยพระบารมี แล้วฝนจึงรั่ว ถ้าที่อยู่ของฆฏิการช่างหม้อไม่มีหลังคา แต่ฝนไม่รั่วตลอด ๓ เดือนเป็นของ ถูกแล้ว คําที่ว่า “พระคันธกุฎีของพระพุทธ กัสสปฝนรั่วนั้น” ก็ผิด
ถ้าคําว่า “พระคันธกุฎีของพระพุทธ กัสสปรั่ว” นั้นถูก คําที่ว่า “เรือนของฆฏิการ ช่างหม้อไม่มีหลังคา แต่ฝนตกลงมาไม่รั่ว ไม่เปียกนั้น” ก็ผิด ปัญหาข้อนี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้สิ้นสงสัยเถิด

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร คําทั้งสองนั้นถูกทั้งนั้น แต่ว่าฆฏิการช่างหม้อ เป็นคนมีศีล มีธรรมอันดี ได้สร้างสมบุญกุศลไว้มากแล้ว ได้เลี้ยงมารดา บิดาผู้ชราตาบอดอยู่ เวลาที่เขาไม่อยู่ ได้มีคนไป รื้อเอาหญ้าที่มุงหลังคาเรือนของเขา ไปมุงพระ คันธกุฎีของพระพุทธเจ้าเสีย

เวลาเขากลับมารู้เข้า เขาก็เกิดปีติโสมนัส เต็มที่ว่า เป็นอันว่า เราได้สละหลังคาถวายแก่พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสูงสุดในโลกแล้ว เขาจึงได้รับผลเห็นทันตาอย่างนั้น
องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ย่อมไม่ทรงหวั่นไหว ด้วยอาการแปลกเพียงเท่านั้น เหมือนกับพระยาเขาสิเนรุราช อันไม่หวั่นไหว ด้วยลมใหญ่อันพัดมาตั้งแสน ๆ ฉะนั้น หรือเหมือนกับมหาสมุทรอันไม่รู้จักเต็มไม่รู้จักพร่อง ไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง ด้วยน้ำที่ไหลไปจากคงคาใหญ่ ๆ ตั้งหลายหมื่นหลาย แสนสายฉะนั้น
การที่พระคันธกุฎีรั่วนั้น ย่อมเป็นด้วย ทรงพระมหากรุณาแก่มหาชน คือองค์สมเด็จพระทศพลเจ้าทั้งหลาย ย่อมเล็งเห็นประโยชน์ ๒ ประการ จึงไม่ทรงรับปัจจัยที่ทรงเนรมิตขึ้น เอง ด้วยทรงเห็นว่า เทพยดามนุษย์ทั้งหลาย ได้ถวายปัจจัยแก่พระพุทธเจ้าด้วยความเลื่อมใสว่า เป็นผู้ควรแก่การถวายอย่างเลิศแล้ว ก็พ้นจากทุคติทั้งปวง

อีกประการหนึ่ง ทรงเห็นว่าอย่าให้คนอื่น ๆ ติเตียนได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงต้องการ สิ่งใด ก็ทรงเนรมิตเอาเอง ดังนี้
ถ้าพระอินทร์หรือพระพรหม จะทําให้ พระคันธกุฎีของพระพุทธเจ้าไม่รั่ว หรือถ้าหาก พระพุทธเจ้าทรงทำเอง ก็จะมีผู้ติเตียนได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงทําสิ่งอันเป็นหน้าที่ของสัตวโลกทั่วไป หาสมควรแก่พระองค์ไม่ พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงขอวัตถุสิ่งของใด ๆ ถึงไม่มีก็ไม่ทรงขอ จึงมีเทพยดามนุษย์สรรเสริญทั่วไป ขอถวายพระพร
สาธุ...พระนาคเสน ข้อนี้ถูกต้องดีแล้ว

อธิบาย


ขอนําเนื้อความใน ฆฏิการสูตร มาให้ทราบโดยย่อว่า สมเด็จพระบรมศาสดาทรง ปรารภนายช่างหม้อ ชื่อว่า ฆฏิการะ ผู้เป็นอุปัฏฐากที่เลิศของพระพุทธกัสสป ได้ชวน โชติปาลมาณพ ผู้เป็นสหายรัก ไปเฝ้าสมเด็จ พระพุทธกัสสปถึง ๓ ครั้ง
มาณพก็ตอบปฏิเสธว่า จะมีประโยชน์ อะไร ที่จะเห็นสมณะศีรษะโล้นผู้นั้น ต่อมา ฆฏิการช่างหม้อได้ออกอุบายจนสามารถนําเพื่อน ไปฟังธรรมได้ ครั้งนั้น สมเด็จพระพุทธกัสสป ได้ทรงแสดงธรรมว่า
"ดูก่อนโชติปาล เราได้บําเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้เต็มเปี่ยมแล้ว จึงได้ตรัสรู้ พระสัพพัญญุตญาณ แล้วมีภิกษุเป็นบริวาร ๒ หมื่นองค์ฉันใด
เธอได้บําเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้เต็มก็จักได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ แล้วจักมีหมู่สมณะเป็นบริวารฉันนั้น อันผู้เช่นเธอหาสมควรอยู่ด้วยความประมาทไม่"
โชติปาลมาณพได้ฟังดังนั้น จึงเกิดความเลื่อมใส และได้ออกบวชในกาลต่อมา ดังนี้




ปัญหาที่ ๗

ถามถึงความเป็นพระราชาของพระพุทธเจ้า


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ควรแก่การขอ"แต่ตรัสไว้อีกว่า "ดูก่อนเสลพราหมณ์ เรา เป็นพระราชา" ดังนี้
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าคําที่ว่า “เราเป็นพราหมณ์” นั้นถูก คําที่ว่า “เราเป็นพระราชา” ก็ผิด ถ้าคําที่ว่า “เราเป็นพระราชา” ถูก คําที่ว่า “เราเป็นพราหมณ์” ก็ผิด เพราะเหตุว่าในชาติๆ เดียว จะมี ๒ วรรณะ คือเป็นทั้งกษัตริย์ ทั้งพราหมณ์ไม่ได้ ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขด้วย
พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร ถูกทั้งสองอย่าง คือเหตุที่ให้เป็นพราหมณ์ก็มี เหตุที่ให้เป็นพระราชาก็มี”

ข้าแต่พระนาคเสน เหตุอะไรทําให้เป็นพราหมณ์>เหตุอะไรทําให้เป็นพระราชา?
ขอถวายพระพร เหตุที่พระพุทธเจ้า ทรงละบาปอกุศลทั้งสิ้นนั้นแหละ ทําให้เป็น พราหมณ์ ธรรมดาผู้ชื่อว่า “พราหมณ์” ย่อมล่วงพ้นความสงสัยทั้งสิ้นด้วยตนเอง
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาพราหมณ์ย่อมพ้นจาก ภพ คติ กําเนิด ทั้งสิ้น พ้นจากมลทินทั้งสิ้น ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นผู้มากไปด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้ทรงไว้ซึ่ง การเรียน การสอน การขวนขวาย การทรมานตน สํารวมตน มีนิยมเป็นกําหนดการ
เป็นผู้รักษาไว้ซึ่งคําสอนและประเพณีอันดีทั้งปวง เป็นผู้อยู่ด้วยฌาน เป็นผู้ทรงทราบ ซึ่งความเป็นไปในภพน้อย ภพใหญ่ และคติ ทั้งปวง เป็นผู้ที่ได้พระนามขึ้นเองว่าเป็น “พราหมณ์” พร้อมกับเวลาที่ได้สําเร็จพระ สัพพัญญุตญาณ ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิ

ข้อที่ได้พระนามว่าเป็น “พระราชา” นั้น เพราะธรรมดาพระราชา ย่อมสั่งสอนนรชนใน อาณาเขตของตน พระพุทธเจ้าก็ทรงสั่งสอน สัตวโลกทั้งสิ้น
ธรรมดาพระราชา ย่อมครอบงํามนุษย์ทั้งหลาย ทําให้หมู่ญาติรื่นเริง ทําให้หมู่ศัตรู ทุกข์โศก ทรงยกเศวตฉัตรอันขาวสะอาด ปราศจากมลทิน มีซี่ไม่ต่ำกว่าร้อย มีคันไม้ แก่นแน่นหนา นํามาซึ่งพระเกียรติยศและศิริ อันใหญ่ฉันใด
พระพุทธเจ้าก็ทรงยกเศวตฉัตรอัน บริสุทธิ์คือวิมุตติ มรรค ผล นิพพาน แล้วทรงทําหมู่เสนามารที่ปฏิบัติผิดให้เศร้าโศก ทรงทําเทพยดามนุษย์ที่ปฏิบัติถูกให้รื่นเริง ทรงยกเศวตฉัตรอันมีซี่ คือพระปรีชาญาณอันประเสริฐ มีคันไม้แก่นแน่นหนา แข็งแรง คือพระขันติ อันนํามาซึ่งยศและศิริอันใหญ่ ในหมื่นโลกธาตุ ฉันนั้น

ธรรมดาพระราชา ย่อมเป็นที่กราบไหว้ ของประชาชนผู้พบเห็นฉันใด พระพุทธเจ้า ควรเป็นที่กราบไหว้ของเทพยดามนุษย์ทั้งหลายฉันนั้น
ธรรมดาพระราชา ย่อมทรงโปรดปรานแก่ผู้ทําถูกฉันใด พระพุทธเจ้าก็ทรงโปรดปราน ผู้ปฏิบัติถูกฉันนั้น
ธรรมดาพระราชา ย่อมทรงเคารพนับถือ โบราณพระราชประเพณีดํารงราชสกุลวงศ์ ไว้ให้ยั่งยืนฉันใด พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพ นับถือ ซึ่งพระพุทธประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ไว้ให้ดีฉันนั้น
ด้วยเหตุนี้แหละ มหาบพิตร สมเด็จพระธรรมสามิสร์จึงได้พระนามว่าเป็น “พระราชา” ด้วยพระคุณธรรมของพระองค์เอง
เหตุที่จะให้พระตถาคตเจ้าได้พระนามว่า เป็น “พราหมณ์”และเป็น “พระราชา” นั้นมีอยู่มาก ถึงจะพรรณนาไปตลอดกัปก็ไม่รู้จักสิ้น ไม่จําเป็นอะไรที่จะพูดให้มากเกินไป เชิญรับไว้ เพียงย่อ ๆ เท่านี้เถิด ขอถวายพระพร
สาธุ...พระนาคเสน ท่านแก้ปัญหาข้อนี้ ถูกต้องดีแล้ว



ปัญหาที่ ๘

ถามถึงเหตุที่ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นพร้อมกัน ๒ พระองค์


“ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เกิดพร้อมกันในโลกธาตุอันเดียว"
ก็พระตถาคตเจ้าทั้งปวง เมื่อจะทรงแสดงธรรม ก็ทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ อริยสัจ ๔ เมื่อจะให้ศึกษาก็ให้ศึกษาในไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) เมื่อจะทรงพร่ำสอนก็ทรง พร่ำสอนในอัปปมาทปฏิบัติ (การเป็นผู้ไม่ประมาท) เหมือนกันทั้งนั้น
แต่เหตุไรจึงไม่เกิดพร้อมกัน ๒ องค์ โยมเห็นว่า ถ้ามีพระพุทธเจ้าเกิดพร้อมกัน หลายองค์ จะทําให้เกิดประโยชน์สุขแก่โลก มากยิ่งขึ้น แต่เหตุไรจึงเกิดพร้อมกัน ๒ องค์ ไม่ได้ โยมสงสัย?

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร หมื่นโลกธาตุนี้ ทรงไว้ได้เพียงพระคุณธรรมของพระพุทธเจ้า คราวละพระองค์เดียวเท่านั้น ถ้ามีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น พร้อมกันถึง ๒ พระองค์ หมื่นโลกธาตุนี้ก็ จะทรงอยู่ไม่ไหว จักถล่มทะลายไป เรือที่พอนั่งคนเดียวได้ เมื่อมีผู้มานั่ง ๒ คน เรือนั้นจะทรงอยู่ได้หรือไม่?

ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า เรือนั้นต้องจม
“ข้อนี้ก็มีอุปมาฉันนั้นแหละ มหาบพิตร อีกประการหนึ่ง บุรุษกินข้าวอิ่มแล้ว มีผู้ให้ กินข้าวอีกเท่านั้นลงไป บุรุษนั้นจะเป็นสุข หรือไม่?”
ไม่เป็นสุข พระผู้เป็นเจ้า ถ้าเขาขืนกิน ลงไปให้มากอีกเท่านั้น เขาก็ต้องตาย
“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร อีกอย่างหนึ่ง มีเกวียนอยู่ ๒ เล่ม บรรทุกเต็ม ไปด้วยรัตนะเหมือนกัน แต่เมื่อมีผู้มาขนเอา รัตนะจากเกวียนอีกเล่มหนึ่ง ขึ้นไปบรรทุกรวมเกวียนเล่มเดียวกัน เกวียนเล่มนั้นจะทรงไหวไหม?”
ไม่ไหว พระผู้เป็นเจ้า เกวียนเล่มนั้น ดุมต้องแตก กําต้องหัก กงต้องทรุดลง เพลาต้องหัก เพราะหนักเกินไป

“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร แต่ขอให้พระองค์ทรงสดับเหตุอื่นต่อไปอีก คือถ้า มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นพร้อมกัน ๒ พระองค์ ความวิวาทของพุทธบริษัทก็จักมีขึ้น คือ ต่างฝ่ายก็จะยกย่องพระพุทธเจ้าของตน
เปรียบเหมือนบริวารของอํามาตย์ผู้ใหญ่ ๒ คน ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ยกย่องนายของตนฉะนั้น
อนึ่งถ้ามีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นพร้อมกันถึง ๒ พระองค์ คําว่า อัคโคพุทโธ พระพุทธเจ้าเป็นอัครบุคคลนั้น คํานี้มิผิดไปหรือ
เชฏโฐ พุทโธ พระพุทธเจ้าเป็นผู้เจริญที่สุดก็จะผิด
วิสิฏโฐ พุทโธ พระพุทธเจ้าประเสริฐกว่า เทพยดามนุษย์นั้นก็ผิด
อุตตโมพุทโธ พระพุทธเจ้าเป็นผู้อุดม ก็จะผิดไปสิ้น ดังนี้ เป็นต้น

อีกประการหนึ่ง ธรรมดามีอยู่ว่าใน แผ่นดินใหญ่หนึ่ง ๆ ก็มีสาครใหญ่เพียงหนึ่ง เขาสิเนรุราชเพียงหนึ่ง อากาศเพียงหนึ่ง ท้าวสักกะเพียงหนึ่ง มารเพียงหนึ่ง มหาพรหมเพียงหนึ่งเท่านั้น
ด้วยเหตุเหล่านี้แหละ จึงไม่มีพระพุทธ เจ้าเกิดพร้อมกันถึง ๒ พระองค์ ขอถวาย พระพร
ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขดีด้วยเหตุการณ์หลายอย่างโยม ขอรับว่าถูกต้องดีทั้งนั้น




ปัญหาที่ ๙

ถามเรื่องสัมมาปฏิบัติของคฤหัสถ์และบรรพชิต


ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
"เราสรรเสริญสัมมาปฏิบัติทั้งของ คฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะถ้าคฤหัสถ์และ บรรพชิตปฏิบัติชอบ ก็ได้สําเร็จเญยยธรรม (ธรรมที่พึงรู้) อันเป็นกุศล" ดังนี้
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าหากคฤหัสถ์ผู้เกลือกกลั้วด้วยบุตร ภรรยา ผู้ได้นุ่งห่มดี ผู้ได้ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อมทา ผู้ยินดีในเงินทอง ผู้ประดับ ผมด้วยเครื่องประดับมีค่า ได้สําเร็จธรรมที่ พึงรู้ได้เหมือนกับบรรพชิต ผู้นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด อาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ ทําให้บริบูรณ์ในสีลขันธ์ ทั้ง ๔ ยึดมั่นในสิกขาบททั้งหลาย ประพฤติ ธุดงคคุณ ๑๓ แล้ว
คฤหัสถ์และบรรพชิต ก็ไม่เห็นจะแปลกอะไรกัน การบรรพชาทนอดอยาก ก็ไม่เห็น จะมีประโยชน์อันใด สู้เป็นคฤหัสถ์ไม่ได้ ประโยชน์อะไรที่จะทําตัวให้ลําบาก เพราะผู้ทําให้ตัวเป็นสุข ก็ได้สุขเหมือนกัน

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า “เราสรรเสริญสัมมาปฏิบัติ ทั้งของคฤหัสถ์และบรรพชิต คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม เมื่อปฏิบัติชอบแล้วก็ได้สําเร็จ ธรรมที่พึงรู้ทั้งนั้น”
ข้อนี้ ทรงมุ่งการปฏิบัติชอบเป็นใหญ่ เพราะถึงเป็นบรรพชิตถ้าไม่ปฏิบัติชอบ ก็ห่างไกลจากคุณวิเศษ ไม่ต้องพูดถึงคฤหัสถ์ ถึงจะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม ถ้าปฏิบัติชอบก็สําเร็จธรรม ที่พึงรู้ได้เหมือนกับบรรพชิต

ก็แต่ว่าบรรพชิตเป็นใหญ่แห่งสามัญผล (ผลของความเป็นสมณะ) เพราะการบรรพชาเป็นของมีคุณมาก มีคุณเป็นเอนก มีคุณหาประมาณมิได้ไม่อาจปริมาณคุณของบรรพชาได้ เหมือนกับแก้วมณีโชติของพระเจ้าจักรพรรดิ ที่ไม่มีใครอาจตีราคาได้ หรือเหมือนกับลูกคลื่นในมหาสมุทร ซึ่งไม่มีใคร ประมาณได้ฉะนั้น
สิ่งที่ควรทําทุกสิ่ง บรรพชิตย่อมทําสําเร็จได้เร็วไม่ชักช้า คือบรรพชิตเป็นผู้มักน้อย ผู้สันโดษ ผู้เงียบสงัด ผู้ไม่คลุกคลี ผู้มีความเพียรแรงกล้า ผู้ไม่มีห่วงใย ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผู้มีอาจาระ (ความประพฤติ) ขัดเกลาแล้ว ฉลาดในการปฏิบัติธุดงค์ ย่อมสําเร็จคุณวิเศษได้เร็ว เหมือนกับลูกศรที่ไม่มีข้อมีปม ที่เหลาเกลี้ยงเกลาดี ที่ตรงดี เวลายิงไปย่อม ไปได้รวดเร็วฉันนั้น
เป็นอันว่า สิ่งที่ควรทําทั้งสิ้น บรรพชิตทําให้สําเร็จได้เร็วกว่าคฤหัสถ์ ขอถวายพระพร
ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน

จบวรรคที่ ๖





วรรคที่ ๗

ปัญหาที่ ๑ ถามเรื่องพระสึก


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
ข้าแต่พระนาคเสน ศาสนาของพระ ตถาคตเจ้านี้ เป็นของใหญ่ เป็นแก่น เป็นของ ที่เลือกแล้ว เป็นของดีที่สุด เป็นของประเสริฐ ไม่มีอะไรเปรียบ เป็นของบริสุทธิ์ เป็นของไม่มีมลทิน เป็นของขาว เป็นของไม่มีโทษ จึงไม่สมควรให้คฤหัสถ์บรรพชา ต่อเมื่อ คฤหัสถ์นั้นได้สําเร็จมรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่อาจสึกมาได้ จึงควรให้บรรพชา
ทั้งนี้เพราะเหตุไร..เพราะเหตุว่า ปุถุชน บรรพชาในพระพุทธศาสนาอันบริสุทธิ์แล้ว สึกออกมาก็เป็นเหตุให้มีผู้คิดว่า ศาสนาของพระสมณโคดม เป็นศาสนาเปล่า เพราะพวกที่บวชแล้วยังสึกมาได้ โยมเห็นอย่างนี้ โยมจึงว่าไม่สมควรให้คฤหัสถ์ปุถุชนบรรพชา

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร มีสระใหญ่เต็มเปี่ยมด้วยน้ำเย็นใสสะอาดอยู่สระหนึ่ง เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งที่เปื้อนด้วยเหงื่อไคล ลงไปอาบน้ำใน สระนั้นแล้ว ไม่ได้ขัดสีเหงื่อไคล หรือสิ่งที่เศร้าหมอง ได้ขึ้นมาจากสระ จะมีคนติเตียนบุรุษนั้น หรือติเตียนสระนั้นอย่างไร?”
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า จะมีแต่คนติเตียนบุรุษนั้นว่า ลงไปอาบน้ำในสระแล้วก็กลับขึ้นมาทั้งร่างกายยังสกปรกอยู่ ไม่มีใครจะติเตียน สระนั้นว่า ไม่ทําให้บุรุษนั้นสะอาด

ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาราชะ คือพระ ตถาคตเจ้าได้ทรงสร้างสระอันประเสริฐ คือ พระสัทธรรมเต็มด้วยน้ำใสสะอาด คือวิมุตติ อันประเสริฐไว้อีก พวกที่เศร้าหมองด้วยกิเลส ก็คิดว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายลงสรงน้ำในสระ คือพระสัทธรรมนี้แล้ว ก็ล้างกิเลสทั้งปวงได้
แต่ถ้ามีผู้ใดลงอาบน้ำในสระ คือพระธรรมอันประเสริฐ แล้วหวนกลับออกไปทั้งกิเลส ก็จะมีผู้ติเตียนเขาได้ว่า ได้บรรพชาในศาสนาอันประเสริฐแล้ว ก็ยังทําที่พึ่งให้แก่ตนไม่ได้ ยังต้องสึกไป พระศาสนาอันประเสริฐ จะทําผู้ไม่ปฏิบัติตาม ให้บริสุทธิ์เองได้อย่างใดจะโทษพระศาสนาได้อย่างไร

อีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่ามีบุรุษคนหนึ่ง กําลังป่วยหนัก ได้เห็นหมอผ่าตัดที่เคยรักษา คนไข้หายมามากแล้ว เป็นผู้รอบรู้ในเรื่องความเกิดแห่งโรค แต่ไม่ให้หมอนั้นรักษา ได้กลับไปทั้งที่ยังเจ็บไข้อยู่ มหาชนจะติเตียนคนป่วยหรือติเตียนหมอ?
อ๋อ...ต้องติเตียนคนป่วย ไม่มีใครจะ ติเตียนหมอเป็นแน่ พระผู้เป็นเจ้า

ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระ ตถาคตเจ้าได้ทรงจัดยาอมฤต อันสามารถระงับโรค คือกิเลสทั้งสิ้นไว้ในผอบ อันได้แก่พระพุทธศาสนาไว้แล้ว พวกที่รู้ตัวว่าถูกโรคภัย คือกิเลสบีบคั้น ก็ได้ดื่มยาอมฤตของ พระพุทธเจ้า แล้วก็หายจากโรคคือกิเลสทั้งสิ้น
ส่วนผู้ที่ไม่ดื่มยาอมฤต ได้กลับสึกไปทั้งกิเลส ก็จะได้รับคําติเตียนว่า ได้บวชใน พระพุทธศาสนาแล้ว ทําที่พึ่งให้แก่ตัวไม่ได้ ได้หมุนเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลวอีก พระพุทธศาสนาจักทําให้ผู้ไม่ปฏิบัติตาม ให้บริสุทธิ์เองได้อย่างไร โทษอะไรจะมีแก่พระพุทธศาสนา

อีกประการหนึ่ง บุรุษที่หิวข้าวไปถึงที่ เขาเลี้ยงข้าวแล้ว ไม่กินข้าว ได้กลับไปทั้งความหิว คนจะติเตียนบุรุษที่หิวนั้น หรือว่า จะติเตียนข้าวล่ะ...มหาบพิตร?
ต้องติเตียนบุรุษนั้นซิ ผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้น มหาบพิตร คือพระพุทธเจ้า ได้ทรงจัดข้าว อันได้แก่กายคตาสติ อันมีรสอร่อยยิ่ง อันเป็นของเยี่ยม เป็นของประเสริฐ เป็นของสงบ เป็นของเยือกเย็น เป็นของประณีต เป็นของอันไม่รู้จักตายไว้ในผอบ คือพระพุทธศาสนาแล้ว

พวกใดมีความหิว คือมีกิเลสครอบงํา มีใจเร่าร้อนด้วยตัณหา บริโภคข้าวอันนี้แล้ว ก็กําจัดตัณหาทั้งปวง ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ เสียได้ ส่วนผู้ที่ไม่กินข้าวนี้ กลับไปทั้งความหิวด้วยตัณหา ก็จะมีแต่ผู้ติเตียนเขา ไม่มีผู้ติเตียนพระพุทธศาสนา
ขอถวายพระพร ถ้าพระพุทธเจ้าให้คฤหัสถ์ผู้ได้สําเร็จผล อย่างใดอย่างหนึ่งเสียก่อนแล้ว จึงโปรดให้บรรพชา การบรรพชานี้ จะชื่อว่าเป็นไปเพื่อละกิเลส เพื่ออบรมความบริสุทธิ์ได้อย่างไร สิ่งที่ควรทําในบรรพชาก็ไม่มี

สมมุติว่า มีบุรุษคนหนึ่งได้ลงทุนให้คนขุดสระไว้ แล้วประกาศว่า พวกที่มีร่างกาย เศร้าหมอง อย่ามาลงอาบน้ำที่สระนี้เป็นอันขาด ให้ลงอาบได้แต่ผู้มีกายไม่เศร้าหมองเท่านั้น อย่างนี้จะสมควรหรือไม่?
ไม่สมควร พระผู้เป็นเจ้า เพราะเขาได้สร้างสระน้ำไว้ก็เพื่อต้องการให้คนที่มีร่างกายเศร้าหมองได้อาบ นอกจากนั้นก็ไม่มีอะไร
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ถ้าพระพุทธเจ้าจะโปรดให้บรรพชาเฉพาะคฤหัสถ์ ผู้ได้สําเร็จมรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว สิ่งที่เขาควรทําในการบรรพชา เขาก็ได้ทําแล้ว เขาจะต้องการอะไรกับบรรพชา

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง สมมุติ ว่ามีหมอยาวิเศษคนหนึ่ง ทํายาไว้แล้วเขาควร ประกาศว่า ผู้ที่เจ็บไข้อย่ามาหาข้าพเจ้า ให้มาแต่ผู้ไม่เจ็บไข้เท่านั้น อย่างนี้หรือจึงจะสมควร?
ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า เพราะยาของเขาเป็นของสําหรับรักษาโรค คนไม่มีโรค ก็ไม่จําเป็นที่เขาจะต้องรักษา
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือถ้าพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ให้บรรพชา เฉพาะคฤหัสถ์ที่ได้มรรคผลแล้ว ก็ไม่จําเป็นต้องบรรพชา เพราะสิ่งที่ควรทําในบรรพชา ก็ได้ทําแล้ว

ขอถวายพระพร อีกประการหนึ่ง เหมือนกับบุรุษคนใดคนหนึ่ง จัดอาหารไว้หลายร้อยถาด แล้วเขาประกาศว่า พวกที่หิวอย่าเข้ามา จงให้เข้ามาแต่พวกที่อิ่มแล้ว เขาประกาศอย่างนี้ จะสมควรหรือไม่?”
ไม่สมควร พระผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร

คุณอันชั่งไม่ได้ ๕ ประการ


อนึ่ง พวกที่สึกไปย่อมแสดงให้คนอื่นเห็นซึ่งคุณอันชั่งไม่ได้ ๕ ประการ ของพระพุทธศาสนา คุณอันชั่งไม่ได้ ๕ ประการ นั้น คืออะไรบ้าง...คือ
ความเป็นภูมิใหญ่ ๑
ความเป็นของบริสุทธิ์ ๑
ความไม่อยู่ร่วมกับผู้ลามก ๑
ความรู้แจ้งแทงตลอดได้ยาก ๑
ความมีการสํารวมมาก ๑

ข้อที่ว่าแสดงความเป็นภูมิใหญ่นั้นคือ อย่างไร... สมมุติว่ามีบุรุษคนหนึ่ง เป็นคนมี นิสัยต่ำช้า ไม่มีคุณวิเศษอันใด ไม่มีความรู้อันใด เมื่อได้ราชสมบัติอันใหญ่หลวง ไม่ช้าก็จะถึง ความวิบัติ ไม่อาจรักษาความเป็นใหญ่ไว้ได้ เพราะความเป็นใหญ่นั้น เป็นของใหญ่ฉันใด
พวกที่ไม่มีคุณวิเศษ ไม่ได้กระทําบุญไว้ ไม่มีความรู้อันใด เวลาได้บรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ไม่อาจดํารงเพศบรรพชิตไว้ได้ ได้ตกออกไปจากพระพุทธศาสนาในไม่ช้าเพราะภูมิในพระพุทธศาสนาเป็นของใหญ่ฉันนั้น

ข้อว่า แสดงให้เห็นความบริสุทธิ์อย่างเยี่ยมนั้น คืออย่างไร... คือน้ำที่ตกลงบนใบบัว ย่อมกลิ้งไหลลงไปจากใบบัว ไม่ติดอยู่ในใบบัวได้ เพราะใบบัวเป็นของบริสุทธิ์ฉันใด พวกที่มีนิสัยโอ้อวดคดโกง มีความเห็นไม่ดี ได้บรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว ไม่ช้าก็ตก ออกไปจากพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธ ศาสนาเป็นของบริสุทธิ์ฉันนั้น

ข้อว่าแสดงให้เห็นความไม่อยู่ร่วมกันกับผู้ลามกนั้นคืออย่างไร... คือธรรมดา มหาสมุทรย่อมไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมพัดซากศพขึ้นไปบนบกโดยเร็วพลัน เพราะ มหาสมุทรเป็นที่อาศัยอยู่ของหมู่สัตว์ใหญ่ ๆฉันใด พวกที่ลามกได้บรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว ไม่ช้าก็ตกออกไปจากพระพุทธศาสนา เพราะพุทธศาสนาเป็นที่อยู่ของผู้มีคุณธรรมใหญ่ คือพระอริยเจ้าทั้งหลายฉันนั้น

ข้อว่า แสดงซึ่งความเป็นของรู้แจ้งได้ยากนั้น คืออย่างไร.. คือพวกที่ไม่เก่งในวิชาธนู ย่อมไม่อาจยิงให้ถูกปลายขนทรายได้ฉันใด พวกที่ไม่มีปัญญา บ้าเซ่อ ลุ่มหลง ก็ไม่อาจ แทงตลอดซึ่งอริยสัจ ๔ อันเป็นของละเอียดยิ่งได้ฉันนั้น เขาจึงได้ตกออกไปจากพระพุทธศาสนาโดยเร็วพลัน

ข้อว่า แสดงให้เห็นซึ่งความเป็นของมีการสํารวมมากนั้น คืออย่างไร... คือ บุรุษที่เข้าสู่ยุทธภูมิใหญ่ ได้เห็นข้าศึกล้อมรอบก็กลัวแล้ว วิ่งหนี เพราะกลัวการระวังรักษา ซึ่งศาตราวุธ มีอยู่มากฉันใด พวกที่มีนิสัยลามก ไม่ชอบสํารวม ไม่มีความละอายบาป ไม่มีความอดทน ก็ไม่อาจรักษาสิกขาบทเป็นอันมากไว้ได้ ต้องตก ออกไปจากพระพุทธศาสนาในไม่ช้าฉันนั้น

ขอถวายพระพร ดอกไม้ที่มีหนอนเจาะ ย่อมมีในกอดอกมะลิ อันนับว่าสูงสุดกว่า ดอกไม้ที่เกิดอยู่บนบกทั้งสิ้น ดอกที่หนอน เจาะก็ตกร่วงลงไป ส่วนดอกที่ยังอยู่ก็ส่งกลิ่น หอมฉันใด
พวกที่บวชในพระพุทธศาสนาแล้วสึกไป ก็เปรียบเหมือนดอกมะลิที่ถูกหนอนเจาะ แล้วตกร่วงลงไปฉันนั้น ส่วนพวกที่ยังอยู่ก็ทําให้ มนุษยโลก เทวโลก ได้รับกลิ่นหอม คือกลิ่น ศีลอันประเสริฐฉันนั้น
ข้าวสาลีอันชื่อว่า “กุรุมพกะ” อันมีใน จําพวกข้าวสาลีแดงที่ไม่มีอันตราย แต่พอเกิดขึ้นแล้วก็เสียไปในระหว่าง ส่วนข้าวสาลีที่ยัง อยู่ก็สมควรเป็นเครื่องเสวยสําหรับพระราชา ฉันใด
พวกที่บรรพชาแล้วสึกไป ก็เหมือนกับ ข้าวสาลีที่เสียไปในระหว่างฉันนั้น ส่วนพวกที่ ยังอยู่ก็สมควรแก่ความเป็นพระอรหันต์ฉันนั้น

อีกประการหนึ่ง แก้วมณีอันให้สําเร็จ ความปรารถนาทั้งปวง ถึงบางแห่งจะมีตําหนิ ก็ไม่มีผู้ติ ส่วนที่บริสุทธิ์ก็เป็นที่ชื่นชมยินดี ของมหาชนทั้งปวงฉันใด
พวกที่บรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว สึกไป เท่ากับเป็นตําหนิหรือเป็นสะเก็ด ส่วน พวกที่ยังอยู่ย่อมทําให้เกิดความร่าเริงยินดี แก่เทพยดามนุษย์ทั้งหลายฉันนั้น
อีกอย่างหนึ่ง แก่นจันทน์แดงถึงจะเน่า เป็นบางแห่ง ก็ไม่มีผู้ติเพราะที่ไม่เน่าไม่เสีย ย่อมมีกลิ่นหอมฉันใด
พวกที่สึกไปก็เหมือนกับแก่นจันทน์แดง ที่เน่าที่เสีย ส่วนพวกที่ยังอยู่ก็ส่งกลิ่นหอมอัน ประเสริฐคือศีล ให้หอมทั่วเทวโลกมนุษยโลก ฉันนั้น ขอถวายพระพร
สาธุ...พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้ แสดงความเป็นของประเสริฐสุด แห่งพระพุทธศาสนาไว้ถูกต้องดีแล้วทุกประการ

◄ll กลับสู่สารบัญ

<<โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป>>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 22/3/10 at 14:16 Reply With Quote



ตอนที่ ๒๘
ปัญหาที่ ๒ ถามเรื่องเวทนาทางกายทางใจของพระอรหันต์


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
ข้าแต่พระนาคเสน มีคํากล่าวว่า พระอรหันต์ได้เสวยแต่เวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ ดังนี้
โยมขอถามว่า พระอรหันต์มีจิตไหม สิ่งใดเป็นไปเพราะอาศัยกาย พระอรหันต์ ไม่ได้เป็นใหญ่ในสิ่งนั้นอย่างนั้นหรือ?

พระนาคเสนตอบว่า “อย่างนั้น มหาบพิตร”
ข้าแต่พระนาคเสน ข้อที่ว่า พระอรหันต์ ไม่ได้เป็นใหญ่ในกาย อันเป็นไปของผู้มีจิตวิญญาณอยู่นั้นย่อมไม่สมควร เพราะถึงนกก็ย่อมเป็นใหญ่ในรังของตน
“ขอถวายพระพร สิ่งที่มีอยู่ในกาย วิ่งไปตามกาย หมุนไปตามกายทุกภพมีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ
ความเย็น ๑
ความร้อน ๑
ความหิว ๑
ความกระหาย ๑
อุจจาระ ๑
ปัสสาวะ ๑
ความง่วง ๑
ความแก่ ๑
ความเจ็บ ๑
ความตาย ๑
พระอรหันต์ไม่ได้เป็นใหญ่ในสิ่งทั้ง ๑๐ นั้น”

ข้าแต่พระนาคเสน เหตุใดพระอรหันต์จึงไม่มีอํานาจในกาย ไม่เป็นใหญ่ในกาย
“ขอถวายพระพร พวกสัตว์ที่อาศัยแผ่นดินทั้งสิ้น มีอํานาจในแผ่นดินหรือไม่?”
ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า

“ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ถึงจิตของพระอรหันต์ อาศัยกาย พระอรหันต์ก็ไม่มีอํานาจทางกายฉันนั้น ขอถวายพระพร”
ข้าแต่พระนาคเสน เพราะเหตุใด ปุถุชนจึงได้เสวยเวทนาทางกายบ้าง ทางใจบ้าง”
“ขอถวายพระพร เพราะปุถุชนไม่ได้อบรมจิตใจ จึงได้เสวยเวทนาทางกายบ้าง ทางใจบ้าง ข้อนี้เปรียบเหมือนโคที่กําลังหิว เขาผูกไว้ที่กอหญ้า หรือที่เครือไม้ เมื่อหิวจัดเข้าก็ กระโดดหนีไป ทําให้เครื่องผูกนั้นขาดไปได้ ฉันใด
เวทนาเกิดแก่ผู้ไม่ได้อบรมจิตใจแล้ว ก็ทําจิตใจให้กําเริบ จิตกําเริบแล้วก็เกี่ยวเนื่องไปถึงกาย แล้วเขาก็ร้องไห้คร่ำครวญ อันนี้แหละเป็นเหตุให้ปุถุชนได้เสวยเวทนาทางกายบ้าง ทางใจบ้าง”

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็เหตุอันใดเล่าที่ทําให้พระอรหันต์ ได้เสวยแต่เวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ
“ขอถวายพระพร เพราะพระอรหันต์ได้ อบรมจิตใจไว้ดีแล้ว เวลาได้รับทุกขเวทนา ก็ยึดมั่นว่าเป็นอนิจจัง ผูกจิตไว้ในเสาคือสมาธิ แล้วจิตก็ไม่ดิ้นรนหวั่นไหว มีแต่กายเท่านั้น ที่เป็นไปตามอํานาจเวทนา เหตุอันนี้แหละ ทําให้พระอรหันต์ได้เสวยแต่เวทนาทางกาย อย่างเดียว”
ข้าแต่พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงเหตุ ในการที่จิตไม่หวั่นไหวไปตามกายให้โยมฟัง

“ขอถวายพระพร ต้นไม้ใหญ่ที่สมบูรณ์ ด้วยลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ เมื่อกิ่งไหวเวลาถูกลมพัด ลําต้นจะไหวด้วยไหม?”
ไม่ไหว พระผู้เป็นเจ้า
“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เพราะจิตของพระอรหันต์มั่นอยู่ในอนิจจัง ไม่รู้จักหวั่นไหว เปรียบเหมือนลําต้นแห่งต้นไม้ใหญ่ฉะนั้น”
น่าอัศจรรย์ พระผู้เป็นเจ้า ธรรมประทีปอันมีประจําอยู่ทุกเมื่ออย่างนี้ โยมไม่เคยได้เห็นเลย



ปัญหาที่ ๓

ถามเรื่องอันตรายแห่งการสําเร็จธรรม ของคฤหัสถ์ผู้ปาราชิก


“ข้าแต่พระนาคเสน ถ้ามีคฤหัสถ์ผู้ใดผู้หนึ่งต้องปาราชิกแล้ว ต่อมาภายหลังได้บรรพชา เขาเองก็ไม่รู้ว่า เราเป็นคฤหัสถ์ต้องปาราชิกแล้ว ผู้อื่นก็ไม่รู้ ธรรมาภิสมัยจะมีแก่เขาหรือไม่? ”
“ไม่มี มหาบพิตร”
“เพราะเหตุไร พระผู้เป็นเจ้า?”
“ขอถวายพระพร เพราะเหตุว่า เหตุอันใดที่จะทําให้ได้ธรรมาภิสมัย เหตุอันนั้นเขาได้ตัดขาดแล้ว เพราะฉะนั้น ธรรมาภิสมัยจึงไม่มีแก่เขา”
“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มีคํากล่าวว่า ความรําคาญใจย่อมมีแก่ผู้รู้ เมื่อมีความรําคาญใจก็มีเครื่องกั้น เมื่อมีเครื่องกั้นแล้ว ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี ก็ผู้ไม่รู้ไม่มีความรําคาญ มีจิตสงบอยู่ เหตุไรจึงไม่มีธรรมาภิสมัย แก้ไขยาก โปรดแก้ไขด้วย?”

“ขอถวายพระพร พืชที่หว่านลงในที่ดินอันดี จะงอกขึ้นได้หรือไม่?”
“งอกได้ พระผู้เป็นเจ้า”
“ขอถวายพระพร ถ้าพืชนั้นเขาหว่านลงบนศิลาแลง จะงอกขึ้นได้หรือไม่?”
“งอกไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า”
“ขอถวายพระพร เพราะเหตุไร พืชจึงงอกขึ้นในดินที่ดี เพราะเหตุไร จึงไม่งอกขึ้นที่ศิลาแลง?”
“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพราะศิลาแลง ไม่เป็นเหตุให้พืชงอกขึ้นได้ พืชจึงไม่งอกขึ้น”

“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เพราะเหตุที่เขาตัดสิ่งที่จะให้เกิดธรรมาภิสมัยเสียแล้ว ธรรมาภิสมัยจึงไม่มี อีกอย่างหนึ่ง ไม้ค้อน ก้อนดินที่บุคคลโยนขึ้นไปในอากาศ ย่อมตกลงมาที่พื้นดิน หรือว่าจะค้างอยู่บนอากาศ?”
“ไม่ค้าง พระผู้เป็นเจ้า”
“เพราะเหตุไร มหาบพิตร?”
“เพราะเหตุว่า อากาศไม่เป็นที่ตั้งอยู่แห่งไม้ค้อนก้อนดิน

“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เพราะเมื่อเขาตัดเหตุที่จะให้ได้อภิสมัยแล้ว อภิสมัยก็ไม่มี อีกประการหนึ่ง ธรรมดาไฟย่อมลุกโพลงอยู่บนบก จึงขอถามว่า ไฟนั้นจะลุกโพลง อยู่บนน้ำได้หรือ?”
“ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า”
“เพราะเหตุไร มหาบพิตร?”
“เพราะเหตุว่า น้ำไม่เป็นที่ให้ไฟลุก”
“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อเขาตัดเหตุที่จะให้ได้ธรรมาภิสมัย ธรรมาภิสมัย ก็ไม่มี”
“ข้าแต่พระนาคเสน ขอท่านจงคิดเนื้อความข้อนี้อีก คือสมมุติว่าโยมไม่รู้เลยว่าโยมเป็นปาราชิก เมื่อไม่รู้ก็ไม่เกิดความรําคาญใจ จะมีเครื่องกั้นกางได้อย่างไร?”
“ขอถวายพระพร ผู้ที่ไม่รู้ยาพิษอันแรงกล้า แต่ได้กินยาพิษนั้นเข้า เขาจะตายไหม?”
“ตาย พระผู้เป็นเจ้า”

“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร บาปที่ผู้ไม่รู้กระทํา ก็กระทําอันตรายแก่อภิสมัยได้ อีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่เหยียบไฟด้วยไม่รู้ ไฟจะไหม้ไหม?”
“ไหม้ พระผู้เป็นเจ้า”
“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร บาปที่กระทําลงไปแล้ว ถึงไม่รู้ก็จะกระทําอันตรายแก่อภิสมัยได้ อีกประการหนึ่ง อสรพิษกัดผู้ที่ไม่รู้ตายไหม?”
“ตาย พระผู้เป็นเจ้า
“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ถึงบาปผู้ไม่รู้กระทํา ก็กระทําอันตรายแก่อภิสมัยได้”

“ขอถวายพระพร พระราชากาลิงคราช ผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ได้ทรงช้างแก้วไปทางอากาศ ถึงไม่ทรงทราบว่า เป็นต้นไม้ศรีมหาโพธิเก่าอยู่ที่ตรงนั้น แต่ก็ไม่อาจเหาะข้ามไปบนต้นไม้ศรีมหาโพธินั้นไม่ใช่หรือ.. อันนี้ก็ชี้ให้เห็นว่า ถึงบาปที่ผู้ไม่รู้กระทํา ก็กระทําอันตรายแก่ธรรมาภิสมัยได้”
“ข้าแต่พระนาคเสน คําแก้ไขของพระผู้เป็นเจ้านี้ ไม่อาจมีใครคัดค้านได้”




ปัญหาที่ ๔

ถามเรื่องสมณะทุศีลคฤหัสถ์ทุศีล


“ข้าแต่พระนาคเสน คฤหัสถ์ทุศีล กับ สมณะทุศีล ต่างกันอย่างไร คนทั้งสองนี้มี คติเสมอกัน มีวิบากเสมอกันหรืออย่างไร?”
“ขอถวายพระพร คุณธรรม ๑๐ ประการ ของ สมณะทุศีล ทําให้ดียิ่งกว่า คฤหัสถ์ทุศีล และทําให้การถวายทานของชาวบ้านมีผลมาก ได้ด้วยเหตุ ๑๐ ประการอีก”

คุณธรรม ๑๐ ประการ


๑. ความเคารพในพระพุทธเจ้า
๒. ความเคารพในพระธรรม
๓. ความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์
๕. ความพยายามเล่าเรียน
๖. ความมากไปด้วยการฟัง
๗. ความเคารพต่อที่ประชุม
๘. ความเป็นผู้มุ่งต่อความเพียร
๙. ยังรักษาไว้ซึ่งเพศภิกษุ
๑๐.ยังรู้จักปกปิดความชั่วของตัวไว้ด้วยความละอาย เหมือนกับหญิงที่มีสามี ลักลอบ ทําความชั่ว ด้วยกลัวผู้อื่นจะรู้เห็นฉะนั้น


เหตุ ๑๐ ประการ


เหตุ ๑๐ ประการ ที่ทําให้การถวายทาน ของชาวบ้านมีผลมากนั้น คืออะไรบ้าง คือ
๑. ความทรงไว้ซึ่งเกราะ คือกาสาวพัสตร์อัน บุคคลไม่ควรฆ่า
๒. ความทรงไว้ซึ่งเพศภิกษุ
๓. ความเข้าถึงซึ่งการกระทํากิจวัตรของสงฆ์
๔. ความนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
๕. ความอบรมนิสัย ในทางความเพียร
๖. ความแสวงหาซึ่งพระธรรมคําสั่งสอนของ พระชินวร
๗. การแสดงซึ่งธรรมอันประเสริฐ
๘. การถือพระธรรมเป็นเกราะ เป็นคติ เป็น ที่พึ่งในเบื้องหน้า
๙. มีความเห็นตรงแน่วแน่ว่า พระพุทธเจ้าเป็น ผู้เลิศ
๑๐. การถือมั่นซึ่งอุโบสถ

ขอถวายพระพร สมณะทุศีลถึงมีศีลวิบัติ แล้วก็ยังทําทานของทายกผู้ถวายให้บริสุทธิ์ได้ เปรียบเหมือนน้ำอันชําระล้างซึ่งโคลน เลน ฝุ่นละออง เหงื่อไคลให้หายไปได้ หรือเปรียบเหมือนน้ำร้อน ถึงจะร้อน ก็ยังดับไฟกองใหญ่ได้ หรือเปรียบเหมือนโภชนะอันกําจัดความหิวได้ ฉะนั้น
ข้อนี้ สมกับที่สมเด็จพระชินสีห์ได้ตรัส ไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่า
"ผู้มีศีลมีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแล้ว ให้ทานของที่ได้มาโดยชอบแก่ผู้ทุศีล การถวายทานของเขานั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่าย ทายก" ดังนี้ ขอถวายพระพร

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสสรรเสริญว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้ กระทําปัญหาที่โยมถาม ให้มีรสไม่รู้จักตายให้เป็นของควรฟัง ด้วยอุปมาเหตุการณ์หลาย อย่าง เหมือนพ่อครัว หรือลูกมือของพ่อครัว ผู้ฉลาด ได้เนื้อมาเพียงก้อนเดียว ก็ตกแต่ง อาหารได้หลายอย่าง เพื่อถวายแก่พระราชา ฉันนั้น”




ปัญหาที่ ๕

ถามความมีชีวิตแห่งน้ำ


“ข้าแต่พระนาคเสน เวลาน้ำถูกความร้อน ย่อมมีเสียงร้องต่าง ๆ น้ำมีชีวิตหรืออย่างไร? ”
“น้ำไม่มีชีวิต ขอถวายพระพร ก็แต่ว่า เวลาน้ำถูกความร้อนด้วยไฟ ก็ย่อมมีเสียง”
“ข้าแต่พระนาคเสน พวกเดียรถีย์บางพวกถือว่าน้ำมีชีวิต เขาจึงไม่ใช้น้ำเย็น ใช้แต่น้ำที่ต้มแล้วเท่านั้น ทั้งเขาติเตียนชาวพุทธว่า พวกสมณศากยบุตรเบียดเบียนของที่มีชีวิต อินทรีย์อันเดียว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงปลดเปลื้อง ข้อครหานั้นเสียเถิด พระคุณเจ้าข้า“
“ขอถวายพระพร น้ำไม่มีชีวิตเลย ชีพ หรือสัตว์ไม่มีอยู่ในน้ำ ก็แต่ว่าน้ำมีเสียงดังได้ ด้วยกําลังความร้อนแห่งไฟ เปรียบเหมือนน้ำ อันตกลงในบึง ในสระ ในหนอง ในซอกเขา ในบ่อน้ำ ในที่ลุ่ม ในสระโบกขรณี ก็มีเสียงดังฉะนั้น

อีกประการหนึ่ง ขอมหาบพิตรได้ทรงสดับเหตุให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ คือน้ำอันบุคคลใส่ลงไปในข้าวสาร แล้วยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ น้ำจะมีเสียงดังไหม?”
“ไม่มีเสียงดัง พระผู้เป็นเจ้า”
“ขอถวายพระพร เวลาภาชนะน้ำนั้น ถูกยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ น้ำจะนิ่งสงบอยู่ไหม?”
“ไม่นิ่งสงบ พระผู้เป็นเจ้า น้ำนั้นจะต้องเดือดมีฟองข้าวล้นออกไป”
“เพราะเหตุไร น้ำปกติจึงนิ่งสงบ ส่วนน้ำที่ร้อนด้วยไฟจึงเดือดพล่าน?”
“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า น้ำปกตินิ่งอยู่ ส่วนที่ร้อนด้วยไฟย่อมมีเสียงดัง เพราะกําลังความร้อนแห่งไฟ”
“ขอถวายพระพร ถึงเหตุอันนี้ก็เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า น้ำไม่มีชีวิต ขอพระองค์จงสดับเหตุ ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือน้ำที่อยู่ในภาชนะน้ำในบ้าน เขาปิดไว้ไม่ใช่หรือ?”
“ใช่ พระผู้เป็นเจ้า”
“ก็น้ำนั้นเดือดพล่านหรือไม่?”
“ไม่เดือด พระผู้เป็นเจ้า”

“ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่า น้ำในมหาสมุทรเป็นลูกคลื่น มีเสียงดังลั่นอยู่เสมอ?”
“เคยสดับ พระผู้เป็นเจ้า”
“ขอถวายพระพร เหตุไรน้ำในขันที่เขา ปิดไว้จึงไม่เป็นลูกคลื่น ไม่มีมีเสียงดัง ส่วนน้ำในมหาสมุทรมีลูกคลื่น มีเสียงดัง?”
“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า การที่น้ำในมหาสมุทรเป็นลูกคลื่น มีเสียงดังนั้น เพราะกําลังลมพัด ส่วนน้ำในขันน้ำที่เขาปิดไว้นั้น ไม่ถูกลมพัด”
“ขอถวายพระพร น้ำในมหาสมุทรเป็นลูกคลื่นมีเสียงดัง เพราะกําลังลมฉันใด น้ำที่ต้มบนเตาไฟก็มีเสียงดัง เพราะกําลังความร้อน ฉันนั้น ขอถวายพระพร ธรรมดาหน้ากลอง เขาย่อมหุ้มด้วยหนังแห้งไม่ใช่หรือ?”
“ใช่ พระผู้เป็นเจ้า”

“ขอถวายพระพร กลองเป็นของมีชีวิต จิตใจหรือไม่?”
“ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า”
“ขอถวายพระพร กลองไม่มีชีวิตจิตใจ แต่เหตุไรจึงมีเสียงดัง?”
“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า กลองมีเสียงดังด้วย ความพยายามอันเกิดจากสตรีหรือบุรุษ”
“ขอถวายพระพร กลองมีเสียงดังได้ด้วย ความพยายามของสตรีหรือบุรุษฉันใด น้ำก็มี เสียงดังได้ด้วยความร้อนฉันนั้น เหตุอันนี้ก็ชี้ ให้เห็นว่า น้ำไม่มีชีวิตจิตใจ แต่มีเสียงดังได้ เพราะความร้อนแห่งไฟ
ขอถวายพระพร ปัญหาที่มหาบพิตร ได้ตรัสถามมาแล้ว ก็ได้แก้ถวายดีแล้วทั้งนั้น จึงขอถามมหาบพิตรว่า น้ำในภาชนะทั้งปวง เมื่อถูกร้อนก็ดังเหมือนกันทั้งนั้น หรือดังเป็น บางภาชนะ?”
“ไม่ดังเหมือนกันหมด ดังเป็นบางภาชนะ พระผู้เป็นเจ้า”

“ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ก็เป็นอันว่ามหาบพิตรได้ทิ้งความเห็นของพระองค์ กลับเข้าหาความเห็นของอาตมภาพแล้วว่า น้ำไม่มี ชีวิตจิตใจ ”
ขอถวายพระพร ถ้าน้ำในภาชนะทั้งปวง เมื่อถูกร้อนก็ดังเหมือนกันหมด คํากล่าวว่า น้ำมีชีวิตก็สมควร เพราะน้ำไม่ได้แยกออก ไปเป็นสอง คือ มีชีวิตก็มี ไม่มีชีวิตก็มี
“ขอถวายพระพร ถ้าน้ำมีชีวิต เวลา ฝูงช้างลงเล่นน้ำ ดูดน้ำเข้าไปทางงวง แล้วใส่ เข้าไปในปากไหลเข้าไปในท้อง น้ำก็ต้องมีเสียงร้อง หรือเวลาสําเภาใหญ่ ๆ บรรทุกเต็มไป ด้วยสินค้าแล่นไปในมหาสมุทร น้ำที่ถูกสําเภา เบียดเสียด ก็ต้องมีเสียงร้อง หรือเวลาปลาใหญ่ ๆ ตัวยาวตั้งหลาย ร้อยโยชน์ คือ ปลาติมิติมิงคละดําผุดดําว่ายอยู่ในน้ำมหาสมุทร ถ้าน้ำมีชีวิตก็ต้องร้อง เพราะเหตุน้ำไม่มีชีวิตจึงไม่ร้อง”

พระเจ้ามิลินท์ตรัสยกย่องว่า
“สาธุ...พระนาคเสน ปัญหาอันถึงซึ่งการแสดง พระผู้เป็นเจ้าได้แจงออกไว้ ด้วยการแจงสมควรแล้วทั้งนั้น เปรียบเหมือนแก้วมณีที่มีค่ามาก เมื่อส่งไปถึงนายช่างผู้ฉลาด เขาก็ ทําให้ดียิ่งขึ้น หรือแก้วมุกดา แก่นจันทน์แดง อันน่าสรรเสริญฉะนั้น”




ปัญหาที่ ๖

ถามถึงสิ่งที่ไม่มีในโลก


“ข้าแต่พระนาคเสน ในโลกนี้ย่อม ปรากฏมีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้า ประเทศราช เทวดา มนุษย์ ผู้มีทรัพย์ ผู้ไม่มี ทรัพย์ ผู้ไปดี ผู้ไปไม่ดี เพศหญิง เพศชาย กรรมดีกรรมชั่ว ผลของกรรมดีกรรมชั่ว สัตว์ที่เกิดในฟองไข่ เกิดในท้องแม่ เกิดใน เหงื่อไคล เกิดขึ้นเอง ไม่มีเท้าก็มี มีเพียง ๒ เท้า ๔ เท้า หลายเท้าก็มี
มีทั้งยักษ์ รากษส กุมภัณฑ์ อสูร ทานพ คนธรรพ์ เปรต ปีศาจ กินนร นาค ครุฑ ฤาษี วิชาธร ช้าง ม้า โค กระบือ อูฐ ลา แพะ แกะ เนื้อ สุกร สิงห์ พยัคฆ์ เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาไน สุนัขบ้าน สุนัขป่า นกต่าง ๆ ทอง เงิน มุกดา มณี สังข์ ศิลา ประพาฬ แก้วแดง แก้วลาย แก้วไพฑูรย์ เพชร แก้วผลึก เหล็ก ทองแดง แร่เงิน แร่สัมฤทธิ์

ผ้าป่าน ผ้าไหม ผ้าด้าย ป่าน ปอ ขน สัตว์ ข้าวไม่มีเปลือก ข้าวมีเปลือก ข้าวละมาน หญ้ากับแก้ ลูกเดือย หญ้าละมาน ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ถั่วพลู ต้นไม้ที่มีรากหอม มีแก่นหอม มีกระพี้หอม มีเปลือกหอม มีใบหอม มีดอกหอม มีผลหอม มีข้อหอม หญ้า เครือไม้ กอไม้ ต้นไม้ ดวงดาว ต้นไม้ใหญ่ แม่น้ำ ภูเขา ทะเล ปลา เต่า เป็นอันมาก
“สิ่งเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกทั้งนั้น สิ่งที่ ไม่มีในโลก ถ้ามีอยู่ขอจงบอกให้แก่โยมด้วย”
พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร สิ่งที่ไม่มีในโลกมีอยู่ ๓ ประการ คือ
๑. สิ่งที่มีเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ตาม จะไม่แก่ไม่ตาย ไม่มีในโลก
๒. ความเที่ยงแห่งสังขารทั้งหลายไม่มี
๓. เมื่อว่าตามปรมัตถ์แล้ว คําว่าสัตว์บุคคลไม่มี รวมเป็นของไม่มีอยู่ในโลก ๓ อย่างนี้ แหละ มหาบพิตร
“สาธุ...พระนาคเสน ปัญหาข้อนี้พระผู้เป็นเจ้ากล่าวแก้ถูกต้องดีแล้ว”




ปัญหาที่ ๗

ถามถึงความเผลอสติของพระอรหันต์


“ข้าแต่พระนาคเสน ความเผลอสติของ พระอรหันต์มีอยู่หรือ?”
“ขอถวายพระพร ไม่มี”
“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระอรหันต์ต้องอาบัติบ้างหรือไม่?”
“ขอถวายพระพร ต้อง”
“ต้องเพราะวัตถุอะไร?”
“ขอถวายพระพร ต้องด้วยสําคัญผิดคือเวลาวิกาล เข้าใจว่าเป็นกาลก็มี ห้ามการรับ ประเคนแล้ว เข้าใจว่าไม่ได้ห้ามก็มี อาหารที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้ เข้าใจว่าเป็นเดนภิกษุไข้ก็มี”
“ข้าแต่พระนาคเสน ภิกษุย่อมต้องอาบัติ ด้วยอาการ ๒ คือ ด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ ๑ ด้วยความไม่รู้ ๑ พระอรหันต์ต้องอาบัติ ด้วยความไม่เอื้อเฟื้อมีอยู่หรือ?”
“ไม่มีเลย มหาบพิตร”

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระอรหันต์ยังต้องอาบัติอยู่ แต่ความไม่เอื้อเฟื้อย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ ถ้าอย่างนั้นความเผลอสติ ก็มี แก่พระอรหันต์น่ะซิ”
“ไม่มี มหาบพิตร เป็นแต่พระอรหันต์ ยังต้องอาบัติอยู่”
“ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้โยมเข้าใจในข้อนี้ว่า เป็นเพราะอะไร?”

“ขอถวายพระพร ลักษณะแห่งโทษมีอยู่ ๒ ประการ คือ เป็นโลกวัชชะ ๑ เป็น ปัณณัตติวัชชะ ๑
ที่เป็นโลกวัชชะ( เป็นโทษทางโลกนั้น) ได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐
ที่เป็นปัณณัตติวัชชะ เป็นโทษทางพระวินัยนั้น ได้แก่ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ไว้สําหรับพระภิกษุสาวกทั้งหลาย
อย่าง วิกาลโภชนสิกขาบท คือการฉันอาหารในเวลาวิกาล เป็นโทษในทางพระวินัย แต่ไม่เป็นโทษทางโลก หรือ การทําให้ภูตคาม เคลื่อนที่ คือการตัดต้นไม้ใบหญ้า เป็นต้น เป็นโทษทางพระวินัย แต่ไม่เป็นโทษทางโลก การว่ายน้ำเล่น เป็นโทษทางพระวินัย แต่ไม่เป็นโทษทางโลก

สิ่งที่เป็นโทษทางพระวินัยนี้แหละ เรียกว่า “ปัณณัตติวัชชะ” ส่วนที่เป็นโทษทางโลกนั้น พระอรหันต์ไม่ทําอย่างเด็ดขาด สิ่งที่เป็นโทษทางวินัย เมื่อยังไม่รู้ก็ทํา เพราะว่าการรู้สิ่งทั้งปวง ไม่ใช่วิสัยของพระอรหันต์ทั่วไป สิ่งที่พระอรหันต์ไม่รู้ก็มี เช่น นามและโคตรแห่งสตรีบุรุษ
พระอรหันต์รู้ได้เฉพาะวิมุตติ คือการหลุดพ้นก็มี พระอรหันต์ขั้นอภิญญา ๖ ก็รู้เฉพาะในวิสัยแห่งตน สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าเท่านั้น จึงจะรู้หมด ขอถวายพระพร
“ถูกต้อง พระนาคเสน”




ปัญหาที่ ๘

ถามถึงความมีอยู่แห่งนิพพาน


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยกรรม สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยเหตุสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยฤดู มีปรากฏอยู่ในโลกแล้ว สิ่งใดที่ไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิดด้วยเหตุ ไม่เกิดด้วยฤดู ขอพระผู้เป็น เจ้าจงบอกสิ่งนั้นแก่โยม”
พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร สิ่งที่ไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิดด้วยเหตุ ไม่เกิดด้วยฤดูนั้น มีอยู่ ๒ คือ อากาศ ๑ นิพพาน ๑"
“ข้าแต่พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้า จงอย่าลบล้างคําของพระพุทธเจ้า ไม่รู้ก็อย่า แก้ปัญหานี้”
“ขอถวายพระพร เหตุใดอาตมภาพจึงว่า อย่างนี้ และเหตุใดมหาบพิตรจึงห้ามอาตมภาพ อย่างนี้?”

พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพราะไม่ควรกล่าวว่า อากาศไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิดด้วยเหตุ ไม่เกิด
ด้วยฤดู สมเด็จพระบรมครูได้ทรงบอกทางสําเร็จนิพพานให้แก่พระสาวก ด้วยเหตุหลายร้อยอย่าง พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า นิพพานไม่ เกิดด้วยเหตุ”
พระนาคเสนเฉลยว่า

“ขอถวายพระพร สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ได้ทรงบอกทางสําเร็จนิพพานแก่พวกสาวกด้วยเหตุหลายร้อยอย่างจริง แต่ไม่ใช่ทรงบอกเหตุให้เกิดนิพพาน”
พระเจ้ามิลินท์ตรัสแย้งอีกว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน ในข้อนี้เท่ากับโยมออกจากที่มืดเข้าไปสู่ที่มืด ออกจากป่าเข้าสู่ ป่าอีก ออกจากที่รกเข้าสู่ที่รกอีก เพราะเหตุ ให้สําเร็จพระนิพพานมีอยู่ แต่เหตุให้เกิด นิพพานไม่มี
ถ้าเหตุให้สําเร็จนิพพานมีอยู่ เหตุให้เกิด นิพพานก็ต้องมี เหมือนบิดามีอยู่ เหตุที่ให้เกิดบิดาก็ต้องมีอยู่ อาจารย์มีอยู่ เหตุที่ให้เกิดของอาจารย์นั้นก็ต้องมีอยู่ พืชมีอยู่ เหตุให้เกิดพืชนั้นก็ต้องมีอยู่ หรือเมื่อยอดแห่งต้นไม้มีอยู่ ตอนกลางและรากก็ต้องมี”

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร มหาราชะ นิพพานเป็น อนุปาทานียะ คือไม่เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เพราะฉะนั้นจึงไม่มีเหตุ”
“ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงให้โยมเข้าใจว่า เหตุให้สําเร็จนิพพานมีอยู่ แต่เหตุให้เกิดนิพพานไม่มี”
“ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ขอมหาบพิตรจงตั้งพระโสตลงสดับ อาตมภาพ จักแสดงถวาย คือบุรุษอาจจากที่นี้ไปถึงเขา หิมพานต์ได้ตามกําลังปกติหรือ?”
“ได้ พระผู้เป็นเจ้า”

“ขอถวายพระพร บุรุษนั้นอาจนําภูเขาหิมพานต์ มาไว้ในที่นี้ได้ด้วยกําลังตามปกติหรือ?”
“ไม่อาจ พระผู้เป็นเจ้า”
“ขอถวายพระพร ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ คือบุคคลอาจบอกทางสําเร็จนิพพานได้ แต่ไม่อาจบอกเหตุให้เกิดนิพพานได้ ขอถวายพระพร บุรุษอาจข้ามมหาสมุทรไปได้ ด้วยเรือตาม กําลังปกติไหม?”
“อาจได้ พระผู้เป็นเจ้า
“ก็บุรุษนั้นอาจนําเอาฝั่งมหาสมุทรข้างโน้น มาตั้งไว้ข้างนี้ ด้วยกําลังตามปกติไหม?”
“ไม่อาจ พระผู้เป็นเจ้า”

“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือทางสําเร็จนิพพานนั้นอาจบอกได้ แต่ไม่อาจบอก เหตุให้เกิดนิพพานได้ เพราะนิพพานเป็น อสังขตธรรม" ธรรมที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง
“ข้าแต่พระนาคเสน นิพพานเป็นอสังขตธรรม ไม่มีใครอาจบอกได้อย่างนั้นหรือ?”
“อย่างนั้นมหาบพิตร นิพพานเป็นอสังขตธรรม ไม่มีอะไรตกแต่งได้ ไม่มีอะไรกระทําได้ นิพพานเป็นของไม่ควรกล่าวว่า เกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิด หรือจักต้องเกิด ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอดีต หรืออนาคต หรือปัจจุบัน ไม่ควรกล่าวว่า เป็นของต้องเห็นด้วยตา เป็นของต้อง ได้ยินด้วยหู รู้ด้วยจมูก ลิ้น กาย อย่างใดเลย”
“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าเป็นอย่างนั้น นิพพานก็เป็นความไม่มีเป็นธรรมดา เราพูด ได้ว่านิพพานไม่มีอย่างนั้นซิ”
“ขอถวายพระพร นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบ อันประณีต อันเที่ยงตรง อันไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส”

“ข้าแต่พระนาคเสน นิพพานนั้นเป็นเช่นไร ขอจงให้โยมเข้าใจด้วยคําอุปมา คือด้วย การเปรียบกับสิ่งที่มีอยู่ รู้อยู่ตามธรรมดา”
“ขอถวายพระพร ลมมีอยู่หรือ?”
“มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”
“ถ้าอย่างนั้น ขอมหาบพิตรจงแสดงลม ให้อาตมภาพเห็นด้วยสี สัณฐาน น้อย ใหญ่ ยาว สั้น”
“ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า เพราะไม่มีใครอาจจับต้องลมได้ แต่ว่าลมนั้นมีอยู่”
“ขอถวายพระพร ถ้าไม่อาจชี้ลมได้ว่า ลมมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร ลมก็ไม่มีน่ะซิ?”
“มี พระผู้เป็นเจ้า โยมรู้อยู่เต็มใจว่า ลมมี แต่ไม่อาจแสดงลมให้เห็นได้”
“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร นิพพาน มีอยู่จริง แต่ว่าไม่มีใครอาจแสดงให้เห็นได้ว่า นิพพานมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร”
“ข้าแต่พระนาคเสน โยมเข้าใจได้ดีตาม ข้ออุปมาแล้ว โยมยอมรับว่านิพพานมีจริง”




ปัญหาที่ ๙

ถามถึงสิ่งที่เกิดจากกรรมและไม่เกิดจากกรรม


“ข้าแต่พระนาคเสน อะไรเกิดด้วยกรรม เกิดด้วยเหตุ เกิดด้วยฤดู และอะไรไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิดด้วยเหตุ ไม่เกิดด้วยฤดู?”
“ขอถวายพระพร พวกสัตว์ที่มีจิตใจทั้งสิ้น เกิดด้วยกรรม ไฟกับพืชทั้งสิ้นเกิดด้วยเหตุ แผ่นดิน ภูเขา น้ำ ลม ทั้งสิ้นเกิดด้วยฤดู อากาศกับนิพพานไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิด ด้วยเหตุ ไม่เกิดด้วยฤดู

นิพพาน ใคร ๆ ไม่ควรกล่าวว่า เกิดด้วย กรรม หรือเกิดด้วยเหตุ เกิดด้วยฤดู และไม่ควรกล่าวว่า เป็นของเกิดอยู่แล้ว หรือยังไม่เกิด หรือจักต้องเกิด ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอดีตอนาคต หรือปัจจุบัน ไม่ควรกล่าวว่า เป็นของ ต้องรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย นอก จากเป็นของที่รู้ด้วยใจเท่านั้น
แต่พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมเห็นนิพพานด้วยญาณอันบริสุทธิ์
“ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาอันน่ายินดี พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ไขดีแล้ว ทําให้โยมสิ้นสงสัยแล้ว พระผู้เป็นเจ้าได้ชื่อว่า มาถึงความเป็นผู้เยี่ยมในคณะสงฆ์อันประเสริฐแล้ว”

จบวรรคที่ ๗

◄ll กลับสู่สารบัญ

<<โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป>>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 26/3/10 at 13:36 Reply With Quote



ตอนที่ ๒๙


วรรคที่ ๘

ปัญหาที่ ๑ ถามถึงความตายแห่งยักษ์

"ข้าแต่พระนาคเสน ยักษ์มีอยู่ในโลก หรือ?"
"ขอถวายพระพร มี"
"ยักษ์จุติจากกําเนิดของยักษ์ไหม?"
"ขอถวายพระพร จุติ"

"แต่เหตุไร เวลายักษ์ตายจึงไม่เห็นซากศพ ไม่ได้กลิ่นซากศพ?"
"ขอถวายพระพร ซากศพของยักษ์ที่ตาย ไปแล้วมีอยู่ แต่กลิ่นซากศพถูกลมพัดไปเสีย ด้วยว่าเวลายักษ์ตายแล้วนั้น ปรากฏว่าเป็น ตั้กแตนก็มี เป็นหนอนก็มี เป็นมดก็มี เป็นยุงก็มี เป็นงูก็มี เป็นแมงป่องก็มี เป็นตะขาบก็มี เป็นสัตว์เกิดจากฟองไข่ก็มี เป็นเนื้อป่าสัตว์ป่า ก็มี"
"ข้าแต่พระนาคเสน ผู้อื่นนอกจากผู้มีความรู้อย่างพระผู้เป็นเจ้า ย่อมแก้ปัญหาข้อนี้ ไม่ได้



ปัญหาที่ ๒

ถามเรื่องไม่ทรงบัญญัติสิกขาบท


ข้าแต่พระนาคเสน พวกอาจารย์ของ พวกแพทย์ปางก่อนมีอยู่ เช่น นารทะ ๑ ธัมมันตริกะ ๑ อังคีรสะ ๑ กปิละ ๑ กัณฑรัตติกามะ ๑ อตุละ ๑ บุพพกัจจายตนะ๑ อาจารย์เหล่านั้นทั้งสิ้น รู้จักความเกิดขึ้นแห่งโรค ต้นเหตุแห่งโรค แดนเกิดแห่งโรค สมุฏฐานแห่งโรค กิริยาอาการแห่งโรค การรักษาโรค รักษาหายและไม่หายได้โดยเร็วพลันว่า ในร่างกายจักมีโรคเกิดขึ้นเท่านี้ รู้ได้อย่างรวดเร็ว เหมือนกับจับกลุ่มด้ายแล้วม้วนไปตามลําดับฉะนั้น

อาจารย์เหล่านั้นทั้งสิ้นไม่ใช่พระสัพพัญญู ส่วนสมเด็จพระบรมครูเจ้าเป็นพระสัพพัญญู ทรงรู้อนาคตได้สิ้นว่า ในเรื่องนั้นจะต้องบัญญัติ สิกขาบทเท่านั้น แต่เหตุใดจึงไม่ทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้ให้สิ้นเชิงทีเดียว ต่อเมื่อเกิดเรื่องขึ้นแล้ว มีพวกมนุษย์ติเตียนแล้ว จึงทรง บัญญัติสิกขาบท?"

พระนาคเสนตอบว่า
"ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าทรง ทราบแล้วว่า ในสมัยนี้เมื่อมนุษย์เหล่านี้ติเตียน เราจักต้องบัญญัติสิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทกว่า ๆ แต่ว่าพระตถาคตเจ้าทรงเล็งเห็นว่า
ถ้าเราจักบัญญัติสิกขาบทไว้ให้ครบทีเดียว มหาชนก็จักร้อนใจว่า ในศาสนานี้มีสิ่งที่จะต้อง รักษาอยู่มาก เป็นการยากที่จะบรรพชาใน ศาสนาของพระสมณโคดม ถึงพวกอยาก บรรพชาก็จักไม่บรรพชา ทั้งจักไม่มีผู้เชื่อฟัง ถ้อยคําของเรา พวกที่ไม่เชื่อฟังถ้อยคําของเรา ก็จักไปเกิดในอบาย เมื่อเกิดเรื่องขึ้นแล้ว มีความ เสียหายปรากฏขึ้นแล้ว เราจึงบัญญัติสิกขาบท

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นอย่างนี้ จึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้า ทีเดียว ขอถวายพระพร
"อย่างนั้น พระนาคเสน เป็นอันพระตถาคตเจ้าทรงเล็งเห็นเรื่องนี้ได้ดีแล้ว ถ้ามีผู้ได้ยินได้ฟังว่า มีสิ่งที่จะต้องรักษาในพระพุทธศาสนาอยู่มาก ก็จักสะดุ้งกลัว จักไม่มีผู้บรรพชา โยมยอมรับว่าถูกต้อง อย่างที่พระผู้เป็นเจ้า วิสัชนา"



ปัญหาที่ ๓

ถามถึงมลทินแห่งดวงอาทิตย์


"ข้าแต่พระนาคเสน ดวงอาทิตย์นี้แผ่รัศมี แรงกล้าอยู่เป็นนิจ หรือว่าบางเวลาก็อ่อนไป?"
"ขอถวายพระพร ดวงอาทิตย์นี้แผ่รัศมี แรงกล้าอยู่ทุกเวลา"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าดวงอาทิตย์นี้ แผ่รัศมีแรงกล้าอยู่ทุกเวลา เหตุไรบางเวลา จึงร้อนน้อย บางเวลาจึงร้อนมาก?"
"ขอถวายพระพร เหตุว่าดวงอาทิตย์ ถูกโรค ๔ อย่าง ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งบีบคั้น จึงร้อนน้อยไป โรค ๔ อย่างนั้น ได้แก่ หมอก ๑ ควัน ๑ เมฆ ๑ ราหู ๑"
"น่าอัศจรรย์! พระนาคเสน ถึงดวงอาทิตย์ อันมีเดชกล้าก็ยังมีโรค ไม่ต้องพูดถึงสัตว์เหล่าอื่น การจําแนกปัญหานี้ ผู้อื่นนอกจากผู้มีความรู้ดังพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ไม่อาจจําแนกได้"



ปัญหาที่ ๔

ถามเรื่องความร้อนแห่งดวงอาทิตย์


"ข้าแต่พระนาคเสน เหตุไฉนดวงอาทิตย์ จึงต้องแผ่รัศมีแรงกล้าในฤดูหนาว ส่วนใน ฤดูร้อนไม่แผ่รัศมีแรงกล้า?"
"ขอถวายพระพร เพราะในฤดูร้อนมี ผงธุลีน้อย มีฝุ่นละอองในท้องฟ้าน้อย มีหมอกหนา มีลมแรงกล้า สิ่งเหล่านี้ปิดรัศมีแห่งดวงอาทิตย์ไว้ เพราะฉะนั้น ในฤดูร้อน ดวงอาทิตย์จึงแผดแสงน้อยไป
ส่วนในฤดูหนาว เบื้องต่ำแผ่นดินเย็น เบื้องบนมีเมฆใหญ่ตั้งขึ้น มีผงธุลีมาก ส่วนละอองสงบนิ่งอยู่ไม่เที่ยวไปในท้องฟ้า ท้องฟ้าปราศจากมลทิน ลมบนอากาศพัด อ่อน ๆ

เมื่อเป็นอย่างนั้น ดวงอาทิตย์ก็บริสุทธิ์ รัศมีแห่งดวงอาทิตย์ก็แรงกล้า เพราะพ้นจาก เครื่องขัดขวาง ส่วนที่ประกอบเครื่องขัดขวาง มีเมฆ เป็นต้น ย่อมทําให้รัศมีแห่งดวงอาทิตย์ ไม่แรงกล้า
ด้วยเหตุนี้แหละ ดวงอาทิตย์จึงเปล่งรัศมีแรงกล้าในฤดูหนาว ไม่เปล่งรัศมีแรงกล้าในฤดูร้อน ขอถวายพระพร
"ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า ดวงอาทิตย์พ้นจากเครื่องกีดขวางทั้งหลาย จึงแผ่รัศมีแรงกล้า ถ้าประกอบด้วยเมฆ เป็นต้น ก็ไม่แผ่รัศมีแรงกล้า"



ปัญหาที่ ๕

ถามถึงเรื่องทานของพระเวสสันดร


"ข้าแต่พระนาคเสน พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมให้บุตรภรรยาเป็นทานเหมือนกันหมดหรือ หรือให้เฉพาะพระเวสสันดรเท่านั้น?"
"ขอถวายพระพร เหมือนกันหมด ไม่เฉพาะแต่พระเวสสันดร"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ให้ทานบุตรภรรยาเหมือนกันหมด ก็ขอถามว่าให้ด้วยความยินยอมของบุตรภรรยา เหล่านั้นหรือไม่?"
"ขอถวายพระพร สําหรับภรรยายินยอม แต่ว่าบุตรนั้นที่ยังเป็นทารกอยู่ ก็ร้องไห้ เพราะยังไม่รู้จักอะไร ถ้ารู้จักความดีแล้วก็ยินดีตาม ไม่ร้องไห้รําพันเช่นนั้น"

คําถามที่กระทําได้ยาก ๗ ข้อ

พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
"ข้าแต่พระนาคเสน การที่พระโพธิสัตว์ ได้ให้บุตรอันเป็นที่รักของตน เพื่อไปเป็นทาสของพราหมณ์ เป็นของกระทําได้ยากข้อที่ ๑
การที่พระโพธิสัตว์ได้เห็นพราหมณ์ผูกมัด พระเจ้าลูกทั้งสอง ด้วยเครือไม้แล้วเฆี่ยนตีไป แต่ทรงเฉยอยู่ได้นั้น เป็นสิ่งที่กระทําได้ยาก ข้อที่ ๒
การที่พระโพธิสัตว์ได้ยกพระเจ้าลูกทั้งสอง ที่สลัดเครื่องผูกให้หลุดออก แล้ววิ่งกลับไป หาพระองค์อีกนั้น พระองค์ได้ทรงอนุญาตให้พราหมณ์ ผูกมัดไปด้วยเครือไม้อีก เป็นสิ่งที่กระทําได้ยากข้อที่ ๓
การที่พระโพธิสัตว์ทรงได้ยินเสียงพระเจ้าลูกทั้งสองร่ำร้องไห้ว่า "พราหมณ์นี้เป็นยักษ์ จะนําหม่อมฉันทั้งสองไปกินเสีย" ก็ทรงเฉยอยู่ไม่ทรงปลอบโยนว่า "อย่ากลัวเลยลูกเอ๋ย!" อันนี้เป็นสิ่งที่กระทําได้ยากข้อที่ ๔

การที่พระชาลีกุมาร ได้หมอบกราบลงร้องไห้คร่ำครวญอยู่ที่พระบาทว่า "ขอให้พระน้องนางกัณหากลับมาอยู่กับพระองค์เถิด หม่อมฉันผู้เดียวจะไปกับยักษ์ ยักษ์จะกิน หรืออย่างไรก็ช่าง" แต่พระเวสสันดรไม่ทรงรับคําอ้อนวอนอันนี้ ข้อนี้เป็นสิ่งที่กระทําได้ยากข้อที่ ๕
เมื่อพระชาลีกุมารร้องไห้คร่ำครวญว่า "ข้าแต่พระบิดา พระหทัยของพระองค์ช่างแข็งกระด้างดังแผ่นศิลา เมื่อข้าพระองค์ทั้งสองกําลังได้ทุกข์ พระองค์ยังเพิกเฉยอยู่ได้ พระองค์ไม่ทรงห้ามยักษ์ ที่จักนําหม่อมฉันทั้งสองไปในป่าใหญ่ อันไม่มีมนุษย์นี้เลย" ดังนี้ พระเวสสันดรก็ไม่ทรงกรุณา อันนี้เป็นสิ่งที่กระทํา ได้ยากข้อที่ ๖
เมื่อพระเจ้าลูกทั้งสองร้องไห้ด้วยเสียง อันน่าสยดสยองจนลับคลองพระเนตรไป แต่พระหฤทัยของพระเวสสันดร ซึ่งควรจะแตกออกเป็นร้อยเสี่ยง พันเสี่ยง ก็ไม่แตก ข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่กระทําได้ยากข้อที่ ๗
พระเวสสันดรผู้มุ่งบุญ เหตุใดจึงทําทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ควรที่พระเวสสันดรจะให้ทานตัวเอง ไม่ใช่หรือ?"

พระนาคเสนเฉลยว่า
"ขอถวายพระพร เพราะเหตุที่พระเวสสันดร ได้กระทําสิ่งที่ทําได้ยาก จึงมีเสียงสรรเสริญทั่วหมื่นโลกธาตุ เหล่าเทพยเจ้า อสูร ครุฑ นาค พระอินทร์ ยักษ์ ต่างก็สรรเสริญ อยู่ในที่อยู่ของตน ๆ กลองทิพย์ก็บันลือขึ้นเอง จนกระทั่งทุกวันนี้ ยังมีผู้คิดกันอยู่ว่า ทานของพระเวสสันดรนั้น ดีหรือไม่ดี
กิตติศัพท์อันนั้นย่อมแสดงให้เห็นคุณ ๑๐ ประการของพระโพธิสัตว์ ผู้มีสติปัญญาละเอียด ผู้รู้แจ้งเห็นแจ้งคุณ ๑๐ ประการนั้น

คุณ ๑๐ ประการของพระโพธิสัตว์


๑.ความไม่ติดอยู่ในของรักของชอบใจ
๒.ความไม่อาลัยเกี่ยวข้อง
๓.ความสละ
๔.ความปล่อย
๕.ความไม่หวนคิดกลับกลอก
๖.ความละเอียด
๗.ความเป็นของใหญ่
๘.ความเป็นของรู้ตามได้ยาก
๙.ความเป็นของได้ยาก
๑๐.ความเป็นของไม่มีใครเสมอ

ข้าแต่พระนาคเสนบุคคลเหล่าใด ทําผู้อื่นให้เป็นทุกข์ด้วยการให้ทาน ทานของบุคคลเหล่านั้นจะให้ผลเป็นสุข จะทําให้ไปเกิดในสวรรค์ได้มีอยู่หรือ
มีอยู่มหาบพิตร
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอจงแสดงเหตุการณ์เปรียบเทียบ
ขอถวายพระพร ถ้ามีสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีศีลธรรมอันดีเป็นโรคมีร่างกายตายไปแถบหนี่ง หรือเป็นโรคง่อยเปลี้ยหรือเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่งเดินไม่ได้ มีผู้อยากได้บุญคนใดคนหนึ่งยกสมณพราหมณ์นั้นขึ้นสู่ยานพาหนะนําไปส่งให้ถึงที่ประสงค์บุคคลผู้นั้นจะได้ผลเป็นสุขได้ไปเกิดในสวรรค์หรือไม่

ได้ไปเกิดทีเดียว พระผู้เป็นเจ้า อย่าว่าแต่ยานทิพย์เลย ถึงผู้นั้นจะเกิดในที่ใด ก็จะได้ยานพาหนะสมควรแก่ที่นั้น ๆ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ยานช้าง ยานม้า ยานรถ ยานทางบก ยานทางน้ำ เมื่อเกิดในสวรรค์ก็ จะได้ยานทิพย์ ความสุขจักต้องเกิดแก่เขาตาม สมควรแก่ชาติกําเนิด ชาติสุดท้ายเขาก็จักได้ขึ้นยานฤทธิ์ ไปถึงเมืองนิพพานเป็นแน่
ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นทานที่ให้ ด้วยทําให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นก็มีผลเป็นสุข ทําให้เกิดในสวรรค์ได้ พระเวสสันดรทําให้พระเจ้าลูก ทั้งสองต้องเป็นทุกข์ ด้วยการถูกผูกมัดด้วยเถาวัลย์ ก็จะได้เสวยสุขเหมือนอย่างนั้น

แต่ขอมหาบพิตรจงทรงสดับเหตุให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก เพื่อให้เห็นว่าการให้ทานด้วย การทําทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ก็มีผลเป็นสุข ทําให้เกิดในสวรรค์ได้ คือ
พระราชาที่ให้เก็บพลีกรรม(ส่วย) โดยชอบธรรม มาทรงบริจาคทานตามอํานาจนั้นมีอยู่ พระราชานั้นจะได้ความสุข อันเกิดจากการทรงให้ทานนั้นบ้างหรือ ทานนั้นจักทําให้ไปเกิดในสวรรค์ได้หรือไม่
ได้ พระผู้เป็นเจ้า พระราชานั้นจักต้องได้ รับผลแห่งทานนั้นหลายแสนเท่า จักได้เกิด เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา จักได้เกิดเป็น เทวดายิ่งกว่าเทวดา เกิดเป็นพรหมยิ่งกว่าพรหม
เกิดเป็นพราหมณ์ยิ่งกว่าพราหมณ์ เกิดเป็นพระอรหันต์ยิ่งกว่าพระอรหันต์เป็นแน่

ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นทานที่ให้ด้วยการทําให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ ก็ต้องมีผลเป็นสุข ต้องให้เกิดในสวรรค์ได้ เพราะพระราชาทรงบีบคั้นประชาชนมาให้ทาน ยังได้เสวยยศ และสุขอย่างนั้นได้

อติทาน

พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
ข้าแต่พระนาคเสน ทานที่พระเวสสันดรทรงกระทํานั้นเป็นอติทาน คือเป็นทานอย่างยิ่ง เพราะพระเวสสันดรได้ทรงให้ทานพระอัคร มเหสีของพระองค์ เพื่อให้ไปเป็นภรรยาของผู้อื่น ทรงให้ทานพระเจ้าลูกทั้งสอง เพื่อให้ไปเป็นทาสของพราหมณ์
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อันธรรมดาการให้ทานเกินไป ผู้รู้ทั้งหลายในโลกก็ตําหนิติเตียน เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกหนักเกินไป เพลาเกวียนก็หัก เรือบรรทุกหนักเกินไปก็จม อาหารที่กินมากเกินไปก็ไม่ย่อย ข้าวในนา เมื่อฝนตกมากเกินไปก็เสีย การให้ทานเกินไปก็สิ้นทรัพย์ แดดร้อนเกินไปในแผ่นดินก็ร้อน รักเกินไปก็บ้า โกรธเกินไปก็มีโทษ
หลงเกินไปก็ทําสิ่งที่ไม่ควรทํา โลภเกินไปก็ทําให้ลักขโมย พูดมากเกินไปก็พลาด น้ำเต็มฝั่งเกินไปก็ล้น ลมแรงเกินไปสายฟ้าก็ตก ไฟร้อนเกินไปน้ำก็ล้น เอาใจใส่ต่อการเรียนเกินไปก็บ้า กล้าเกินไปก็ตายเร็ว ฉะนั้น ข้าแต่พระนาคเสน พระเวสสันดรให้ทานเกินไป ก็ไม่มีผล

พระนาคเสนถวายวิสัชนาว่า
ขอถวายพระพร อติทาน คือทานอันยิ่ง เป็นของผู้รู้ทั้งหลายในโลกสรรเสริญ พวกใดให้ทานเช่นนั้นได้ พวกนั้นย่อมได้รับความสรรเสริญในโลก คนปล้ำย่อมทําให้คนปล้ำ อีกฝ่ายหนึ่งล้มลงด้วยกําลังแรงกว่า แผ่นดินย่อมทรงไว้ได้ซึ่งคนและสัตว์ ภูเขา ต้นไม้ ทั้งหลาย เพราะแผ่นดินเป็นของใหญ่ยิ่ง

มหาสมุทรไม่รู้จักเต็ม เพราะมหาสมุทรเป็นของใหญ่ยิ่ง เขาสิเนรุไม่รู้จักหวั่นไหว เพราะเขาสิเนรุเป็นของหนักยิ่ง อากาศไม่มีที่สุด เพราะอากาศเป็นของกว้างยิ่ง ดวงอาทิตย์กําจัด เมฆหมอกเสียได้ เพราะมีรัศมียิ่ง ราชสีห์ไม่มีความกลัว เพราะมีชาติกําเนิดยิ่ง
แก้วมณีให้สําเร็จความปรารถนาทั้งปวง เพราะเป็นของมีคุณยิ่ง พระราชาย่อมเป็นใหญ่ เพราะเป็นผู้มีบุญยิ่ง ไฟย่อมเผาสิ่งทั้งปวงได้ เพราะมีความร้อนยิ่ง เพชรย่อมเจาะแก้วมณี แก้วมุกดา แก้วผลึกได้ เพราะเป็นของแข็งยิ่ง เทพยดา มนุษย์ ยักษ์ อสูรทั้งหลาย ย่อมหมอบกราบภิกษุ เพราะมีศีลยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่มีผู้เปรียบ เพราะเป็นผู้วิเศษยิ่ง

ข้อความเหล่านี้ฉันใด ทานอันยิ่งก็เป็น ที่สรรเสริญของผู้รู้ทั้งหลายฉันนั้น
ทานอันยิ่งของพระเวสสันดรนั้น มีผู้สรรเสริญทั่วหมื่นโลกธาตุ เพราะทานอันยิ่ง นั่นแหละ พระเวสสันดรจึงได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้ล้ำเลิศในมนุษยโลก เทวโลก ขอถวายพระพร

ทานที่ไม่ควรให้มีอยู่หรือ
มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า ทานที่ไม่ควรให้นั้น มีอยู่ ๑๐ อย่าง ผู้ใดให้ทานเหล่านี้ ผู้นั้น ก็ไปสู่อบาย มีดังนี้

ทาน ๑๐ อย่างที่ไม่ควรให้

๑ . หญิงให้เมถุนธรรมเป็นทาน
๒ . ปล่อยโคตัวผู้เข้าไปในฝูงแม่โคเพื่อเมถุนธรรม
๓ . ให้น้ำเมา คือสุราเมรัยเป็นทาน
๔ . ให้รูปเขียนอันประกอบด้วยเมถุนธรรมเป็นทาน
๕ . ให้ศาตราวุธเป็นทาน
๖ . ให้ยาพิษเป็นทาน
๗ . ให้โซ่ตรวน ขื่อคา เป็นทาน
๘ . ให้ไก่เพื่อให้เขาไปฆ่า
๙ . ให้สุกรเพื่อให้เขาไปฆ่า
๑๐ . ให้ทานเครื่องตวง ตาชั่ง ทะนาน เพื่อใช้โกง
เหล่านี้ บัณฑิตไม่สรรเสริญ ทําผู้ให้ให้ แล้วไปสู่อบายนะ พระผู้เป็นเจ้า

ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่ได้ถาม ถึงสิ่งที่ไม่ควรให้ทาน ถามถึงสิ่งที่ควรให้ทาน แต่เมื่อทักขิไณยบุคคล (ผู้ควรรับทาน) ยังไม่เกิดก็ยังไม่ควรให้ ว่าทานอย่างนั้นมีอยู่หรือ ดังนี้ต่างหาก
อ๋อ. . .ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า เพราะเมื่อจิตเลื่อมใสเกิดขึ้นแล้ว คนบางพวกก็ให้ทาน โภชนะแก่ทักขิไณยบุคคล บางพวกก็ให้ทาน เครื่องนุ่มห่มก็มี ให้ทานที่นอนก็มี ให้ทาน ที่อยู่ที่อาศัยก็มี ให้ทานเครื่องปูก็มี ให้ทาน เครื่องนุ่งห่มก็มี ให้ทานทาสีและทาสก็มี ให้ทานเรือกสวนไร่นาที่ดินก็มี ให้ทานสัตว์ ๒เท้า ๔ เท้าก็มี ให้ทานทรัพย์ตั้งร้อยตั้งพันก็มี ให้ทานราชสมบัติใหญ่ก็มี ให้ทานชีวิตก็มี

ขอถวายพระพร ถ้าหากว่าในโลกนี้ ผู้อื่นยังให้ทานชีวิตได้ เหตุใดจึงมีผู้ติเตียน พระเวสสันดร ผู้เป็นทานบดีอย่างร้ายแรง เพราะเหตุพระราชทานพระราชโอรส ธิดา อัครมเหสี
อีกประการหนึ่ง เมื่อว่าตามปกติโลกแล้ว บิดาให้บุตรเป็นค่าใช้หนี้ หรือเป็นค่าเลี้ยงชีพ หรือขายไป เพื่อเหตุใดเหตุหนึ่งก็ได้ไม่ใช่หรือ

ได้ พระผู้เป็นเจ้า
ถ้าได้ พระเวสสันดรเมื่อยังไม่สําเร็จ พระสัพพัญญุตญาณก็เป็นทุกข์ เพื่อต้องการ พระสัพพัญญุตญาณนั้น จึงได้ให้โอรส ธิดา อัครมเหสี เป็นทาน แต่เหตุใดมหาบพิตร จึงทรงติเตียนพระเวสสันดรอย่างร้ายแรงล่ะ
ข้าแต่พระนาคเสน โยมไม่ได้ติเตียน ทานของพระเวสสันดรเลย เป็นแต่ติเตียน การที่พระเวสสันดร ได้ให้ทานโอรสธิดากับ อัครมเหสีเท่านั้น เพราะเมื่อว่าตามที่ถูกแล้ว เวลายาจกมาทูลขอโอรส ธิดา อัครมเหสี พระเวสสันดรควรพระราชทานตัวของพระองค์เอง จึงจะสมควร
ขอถวายพระพร ข้อนั้นไม่ใช่การกระทํา ของสัตบุรุษ คือเมื่อเขาขอบุตรภรรยา จะให้ตัวเองนั้นไม่ถูก เมื่อเขาขอสิ่งใด ๆ ก็ควรให้สิ่ง นั้น ๆ อันนี้เป็นการกระทําของสัตบุรุษทั้งหลาย

ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่ามีบุรุษคนหนึ่งมาขอน้ำ ผู้ใดให้ข้าวแก่บุรุษนั้น จะเรียกว่าผู้นั้นเป็นกิจจการี คือผู้กระทําตามหน้าที่แล้วหรือ
ไม่เรียก พระผู้เป็นเจ้า เมื่อเขาขอสิ่งใด ก็ให้สิ่งนั้น จึงจะเรียกว่ากระทําถูก
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือเมื่อพราหมณ์ทูลขอโอรส ธิดา อัครมเหสี พระเวสสันดรผู้เป็นทานบดี ก็ไม่พระราชทานตัว ของพระองค์เอง ได้พระราชทานโอรสธิดา อัครมเหสีไปแก่พราหมณ์นั้น ถ้าพราหมณ์นั้น ขอพระสรีระทั้งสิ้นของพระเวสสันดร พระบาทท้าวเธอต้องไม่ห่วงใยเสียดายพระองค์ ต้องทรงบริจาคพระองค์ไปแล้ว

ถ้านักเลงสะกา หรือสุนัขบ้าน สุนัขป่า เข้าไปทูลขอพระเวสสันดรว่า ขอจงให้พระองค์ ยอมเป็นทาสของข้าพระองค์พระเวสสันดร ก็จะทรงยินยอมทีเดียว ทั้งจะไม่ทรงเดือดร้อน เสียใจภายหลัง เพราะว่าพระวรกายของพระเวสสันดรเป็นของทั่วไปแก่คนหมู่มาก
เหมือนกับต้นไม้มีผลอันเป็นของทั่วไป แก่หมู่นกต่าง ๆ ฉะนั้น ด้วยพระเวสสันดรทรงเห็นว่า เมื่อเราปฏิบัติอย่างนี้ จึงจะสําเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ

อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้ไม่มีทรัพย์ ผู้ต้องการทรัพย์ ผู้เที่ยวแสวงหาทรัพย์ ย่อมเที่ยวหาไป ตามทางดงทางเกวียน ทางน้ำ ทางบก เพื่อให้ได้ทรัพย์ฉันใด พระเวสสันดรผู้ไม่มีทรัพย์ คือพระสัพพัญญุตญาณ ก็ได้แสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ด้วยการพระราชทานทรัพย์ และธัญชาติ ยาน พาหนะ ทาสี ทาสา ทรัพย์ สมบัติ บุตร ภรรยา ตลอดถึงหนัง เลือดเนื้อ หัวใจ ชีวิตของพระองค์ฉันนั้น
อีกประการหนึ่ง อํามาตย์ผู้ต้องการความเจริญ ต้องการเป็นใหญ่เป็นโต คือต้องการเป็นพระราชา ย่อมสละทรัพย์สมบัติข้าวของ เงินทอง ทั้งสิ้นของตนแก่คนอื่น ๆ ฉันใด พระเวสสันดรก็ทรงสละสิ่งของภายนอก ตลอดจนถึงชีวิตแก่ผู้อื่น เพื่อให้ได้พระสัมมาสัมโพธิญาณฉันนั้น

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง พระเวสสันดรทานบดีทรงดําริว่า พราหมณ์ขอสิ่งใด เราควรให้สิ่งนั้น จึงจะเรียกว่าเราทําถูก ทรงดําริอย่างนี้ จึงได้พระราชทานโอรส ธิดา อัครมเหสี
การที่พระองค์พระราชทานโอรส ธิดา อัครมเหสี ให้แก่พราหมณ์นั้น ไม่ใช่เพราะความเกลียดชัง หรือเห็นว่ามีอยู่มาก หรือ เพราะไม่อาจเลี้ยงได้ หรือเพราะรําคาญได้พระราชทานไปเพราะทรงมุ่งหวังพระสัพพัญญุตญาณต่างหาก ทรงรักพระสัพพัญญุตญาณมากกว่า

ข้อนี้สมกับที่ตรัสไว้ใน จริยาปิฎกว่า "ไม่ใช่ว่าลูกทั้งสองเป็นที่เกลียดชังของเรา ไม่ใช่ว่ามัทรีไม่เป็นที่รักของเรา พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เราจึงได้ให้ทาน บุตรธิดาภรรยา อันเป็นที่รักของเรา"
ขอถวายพระพร ครั้นพระเวสสันดร พระราชทานโอรสธิดาไปแล้ว ก็ได้เสด็จเข้าไป ภายในบรรณศาลา ทรงพระกรรแสงด้วยความรักยิ่ง ดวงหทัยได้ร้อนขึ้น เมื่อพระนาสิก ไม่พอหายใจ ก็ได้ปล่อยลมหายใจร้อน ๆ ออกมาทางพระโอษฐ์ มีน้ำพระเนตรเจือด้วย พระโลหิต ไหลนองเต็มสองพระเนตร
เป็นอันว่า พระเวสสันดรทรงรักพระราชโอรสธิดาอย่างยิ่ง แต่ได้ทรงอดกลั้นความโศก ไว้ได้ด้วยทรงดําริว่า อย่าให้ทานของเราเสียไปเลย

อานิสงส์ ๒ ประการ

ขอถวายพระพร คราวนั้น พระเวสสันดร ได้เล็งเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ จึงได้ทรง พระราชทานพระเจ้าลูกทั้งสอง เพื่อให้ไปเป็น ทาสของพราหมณ์ อานิสงส์ ๒ ประการนั้น คือประการใดบ้าง
ประการที่ ๑ ว่า อย่าให้ ทานตบะ เครื่องเผากิเลส คือทานของเราเสียไปเลย
ประการที่ ๒ ว่า ลูกเล็กทั้งสองของเรา เป็นทุกข์ ด้วยได้กินแต่ลูกไม้หัวมัน เมื่อเรา ให้ทานไป พระเจ้าปู่จะได้ทรงรับไปเลี้ยง เพราะ พระเวสสันดรทรงทราบดีอยู่ว่า คนอื่น ๆ ไม่ อาจใช้ลูกของเราให้เป็นทาสทาสีได้ พระเจ้าปู่ จะต้องไถ่ลูกทั้งสองของเราไว้ ทั้งจักมารับ เราด้วย
เป็นอันว่า พระเวสสันดรเล็งเห็นคุณวิเศษ คืออานิสงส์ ๒ ประการนี้ จึงได้พระราชทาน ลูกทั้งสองไป

อีกประการหนึ่ง พระเวสสันดรทรงทราบอยู่ว่า พราหมณ์ผู้นี้แก่เฒ่าเต็มทีแล้ว ใกล้จะตายอยู่แล้ว คงไม่อาจใช้ลูกทั้งสองของเราเป็นทาสได้ บุรุษอาจจับดวงจันทร์หรือ ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ลงมาใส่ไว้ในชะลอมหรือในผอบ หรือทําให้หมดรัศมีได้ด้วยกําลังปกติหรือไม่
ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พราหมณ์เฒ่าผู้มีบุญน้อยนั้น ก็ไม่อาจใช้พระเจ้าลูกทั้งสองให้เป็นทาสได้เหมือนกันฉะนั้น

อีกอย่างหนึ่ง ขอจงสดับเหตุให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือแก้วมณีโชติของพระเจ้าจักรพรรดิอันมีรัศมีแผ่ไปตลอด ๑๐๐ โยชน์นั้น ไม่มีใครอาจเอาผ้าขี้ริ้วหุ้มห่อปกปิดไว้ได้
อนึ่ง ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิย่อมไม่มีใครขึ้นขี่ได้ หรืออาจปกปิดไว้ได้ด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งฉันใด พระเจ้าลูกทั้งสองของพระเวสสันดร ก็ไม่มีใครอาจใช้เป็นทาสทาสีได้ฉันนั้น

อีกอย่างหนึ่ง มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ หาประมาณมิได้ย่อมไม่มีใครอาจปิดให้มีแต่เพียงท่าเดียวได้ พระยานันโทปนันทนาคราช ที่สามารถพันรอบเขาสิเนรุราชได้ ๗ รอบนั้น ย่อมไม่มีใครสามารถจับมาใส่ชะลอมหรือผอบ ไปเล่นละครได้
พระยาเขาหิมพานต์อันสูงถึง ๕๐๐ โยชน์ กว้างยาวถึง ๓๐๐ โยชน์ มียอดถึง ๘ หมื่น ๔ พันยอด อันเป็นแดนเกิดแห่งมหานที ๕๐๐ สาย อันเป็นที่อาศัยของหมู่ภูตใหญ่ ๆ เป็นที่ ทรงไว้ซึ่งไม้หอมต่าง ๆ สล้างสลอยไปด้วย ทิพยโอสถตั้งร้อยๆ อย่าง ย่อมแลดูสูงตระหง่าน เหมือนกับเมฆอันลอยในท้องฟ้าฉันใด

พระเวสสันดรก็สูงด้วยพระเกียรติยศ เหมือนกับพระยาเขาหิมพานต์ฉันนั้น ใครเล่า จักอาจใช้พระเจ้าลูกทั้งสองให้เป็นทาสได้
อีกประการหนึ่ง กองเพลิงที่ลุกรุ่งเรืองอยู่บนภูเขาในเวลากลางคืนมืด ๆ ย่อมปรากฏ เห็นแต่ไกลฉันใด พระเวสสันดรก็ปรากฏเห็นไกลฉันนั้น

อีกอย่างหนึ่ง กลิ่นดอกกากะทิงบนภูเขาหิมพานต์ เมื่อมีลมพัดมา ย่อมส่งกลิ่นไปไกลได้ถึง ๑๒ โยชน์ฉันใด กลิ่นความดีของพระเวสสันดรก็หอมฟุ้งไปทั่วแดนอสูร คนธรรพ์ ยักษ์ รากษส นาค ครุฑ กินนร อินทร์พรหมทั้งหลายทุกชั้นฟ้าฉันนั้น เมื่อเป็นอย่างนั้น ใครเล่าจักอาจใช้พระเจ้าลูกทั้งสองของพระเวสสันดรให้เป็นทาสทาสีได้

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง พระเวสสันดรได้ทรงกําชับสั่งพระชาลีกุมารไว้ว่า
ลูกเอ๋ย พระเจ้าปู่จักต้องไถ่เจ้าทั้งสอง ด้วยทรัพย์จากพราหมณ์ไป แต่เมื่อจะทรงไถ่นั้น จงให้ไถ่ตัวเจ้าด้วยทองคําพันตําลึง ให้ไถ่น้องกัณหาด้วยทาส ทาสี ช้าง ม้า โค ทองคํา อย่างละร้อย ๆ ถ้าพระเจ้าปู่จะทรงบังคับเอา เปล่า ๆ พวกเจ้าอย่ายอม จงติดตามพราหมณ์ไป ทรงสอนอย่างนี้แล้ว จึงได้พระราชทานไป

ฝ่ายพระชาลีกุมารที่พระเจ้าปู่ตรัสถามว่า จะต้องไถ่เจ้าทั้งสองอย่างไร จึงได้กราบทูลว่า
พระบิดาของหม่อมฉันได้ตีราคาหม่อมฉันไว้พันตําลึงทอง ได้ทรงตีราคาน้องกัญหาไว้ด้วยทรัพย์อย่างละร้อย มีช้าง ๑๐๐ เชือก เป็นต้น พระเจ้าข้า เรื่องมีมาอย่างนี้แหละ มหาบพิตร
ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้ทําลายข่ายทิฏฐิ ย่ำยีถ้อยคําของผู้อื่นได้แล้ว ได้แสดงเหตุผลไว้เพียงพอแล้ว ทําให้เข้าใจ ปัญหาข้อนี้ได้ง่ายแล้ว

◄ll กลับสู่สารบัญ

<<โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป>>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 10/6/10 at 23:37 Reply With Quote


สารบัญ

(โปรด "คลิก" เลื่อนขึ้นเลื่อนลง อ่านได้แต่ละตอน)



ปัญหาที่ ๖ ว่าด้วยการทรงทําทุกกรกิริยา )
ปัญหาที่ ๗ ว่าด้วยกําลังแห่งกุศลอกุศล
ปัญหาที่ ๘ ว่าด้วยการทําบุญให้ผู้ตาย
ปัญหาที่ ๙ ว่าด้วยความใหญ่และไม่ใหญ่แห่งกุศลอกุศล
ปัญหาที่ ๑๐ ว่าด้วยความฝันและเหตุให้ฝัน

วรรคที่ ๙
ปัญหาที่ ๑ ถามถึงกาลมรณะ อกาลมรณะ
ปัญหาที่ ๒ ถามถึงปาฏิหาริย์ในเจดีย์ของพระอรหันต์
ปัญหาที่ ๓ ถามถึงการสําเร็จธรรมของบุคคล
ปัญหาที่ ๔ ถามถึงความไม่เจือทุกข์แห่งนิพพาน
ปัญหาที่ ๕ ถามถึงเรื่องนิพพานโดยรูปพรรณสัณฐาน
ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องการกระทําให้แจ้งนิพพาน
ปัญหาที่ ๗ ถามถึงที่ตั้งนิพพาน
ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องสิ่งที่ควรรู้ด้วยอนุมาน
ปัญหาที่ ๙ ถามเกี่ยวกับธุดงค์

อุปมาปัญหา ว่าด้วยอุปมาต่างๆ

หัวข้ออุปมาต่างๆ ๑๑ วรรค
โฆรสวรรคที่ ๑
ลาวุลตาวรรคที่ ๒
จักกวัตติวรรคที่ ๓
กุญชรวรรคที่ ๔
สีหวรรคที่ ๕
มักกฏวรรคที่ ๖
กุมภวรรคที่ ๗
เกิดเหตุอัศจรรย์ในวันปุจฉาวิสัชนาจบแล้ว
พระราชาเสด็จออกบรรพชาแล้วได้สําเร็จพระอรหันต์

********** จบบริบูรณ์ **********




Update 10 มิ.ย. 53

ตอนที่ ๓๐

ปัญหาที่ ๖ ว่าด้วยการทรงทําทุกกรกิริยา


ข้าแต่พระนาคเสน พระโพธิสัตว์ทําทุกกรกิริยาเหมือนกันทั้งหมดหรือ หรือว่า ทําเฉพาะพระโคดมบรมโพธิสัตว์เท่านั้น
ไม่เหมือนกันหมด มหาบพิตร ทําเฉพาะพระโคดมบรมโพธิสัตว์เท่านั้น
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ถูก กับความต่างกันของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
ขอถวายพระพร พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมต่างกัน ๔ อย่างคือต่างกันด้วยตระกูล ๑ เวลาสร้างบารมี ๑ พระชนมายุ ๑ ประมาณพระสรีรกาย ๑
แต่เมื่อได้ตรัสรู้แล้วพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่ต่างกันด้วยพระรูปลักษณะ ๑ ตบะ ๑ ศีล ๑ สมาธิ ๑ ปัญญา ๑ วิมุตติ ๑ วิมุตติญาณทัสสนะ ๑ เวสารัชชธรรม ๔ ทศพลญาณ ๑๐ พุทธญาณ ๑๔ พุทธธรรม ๑๘
เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสมอกัน ด้วย "พุทธธรรม"

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเสมอกันด้วยพุทธธรรม คือธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว เหตุใดจึงทําทุกกรกิริยา เฉพาะพระโคดมบรมโพธิสัตว์เท่านั้น
ขอถวายพระพร เพราะพระโคดมบรมโพธิสัตว์ ได้เสด็จออกทรงบรรพชา ในเวลาที่พระโพธิญาณยังไม่แก่กล้า จึงต้องทรงทําทุกกรกิริยา เพื่อรอความแก่กล้าแห่งพระโพธิญาณ
ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้นพระโคดมบรมโพธิสัตว์ก็ควรจะเสด็จออกบรรพชา ในเวลาที่พระโพธิญาณแก่กล้า จึงจะสมควร
ถูกแล้ว มหาบพิตร แต่ว่าพระโคดมบรมโพธิสัตว์ได้ทรงเห็นความวิปริตของพวกนางสนม จึงทรงเบื่อหน่าย เทวดาจําพวกมาร จึงคิดว่า เวลานี้เป็นเวลาที่จะกําจัดความเบื่อหน่ายจึงได้ปรากฏตัวที่อากาศเปล่งวาจาขึ้นว่า

ขอท่านอย่าวุ่นวายเลยอีก ๗ วันนับจากนี้ไป จักรแก้วอันเป็นทิพย์ก็จะปรากฏขึ้นแก่ท่าน จักรแก้วนั้นมีกําพันหนึ่ง พร้อมทั้งกง ดุม เพลา พร้อมเสร็จ ท่านจักได้ทรงจักร แล้วไปได้ทั่วโลก จักมีอํานาจแผ่ไปทั่วโลก จักมีพระราชโอรสตั้งพัน ล้วนแต่เป็นผู้แกล้วกล้า สามารถย่ำยีข้าศึกทั้งปวงท่านจักสมบูรณ์ ด้วยแก้ว ๗ ประการ จักได้เป็นใหญ่ในทวีป ทั้ง ๔
พอพระโคดมบรมโพธิสัตว์ได้ฟังคําของมารอย่างนี้ ก็ยิ่งสลดใจมากขึ้น ร้อนพระทัยมากขึ้น เปรียบเหมือนบุรุษถูกแทงด้วยเหล็กแดงฉะนั้น หรือเปรียบเหมือนผู้ถูกไฟร้อน อีกอย่างหนึ่ง แผ่นดินใหญ่นี้ ย่อมชุ่มอยู่ด้วยน้ำตามปกติ เวลาฝนห่าใหญ่ตกลงมา ก็ยิ่งชุ่มหนักขึ้นฉันใด พระโพธิสัตว์เจ้า เบื่อหน่ายโลกอยู่ตามปกติแล้ว เมื่อได้ฟังถ้อยคําของมารนั้น ก็ยิ่งทรงเบื่อหน่ายมากขึ้นฉันนั้น

ข้าแต่พระนาคเสน จักรแก้วจักเกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์เจ้าในวันที่ ๗ ไม่ใช่หรือ เหตุใดพระโพธิสัตว์จึงไม่กลับพระทัย รอจนให้จักรแก้วเกิดขึ้น
ขอถวายพระพร ไม่ใช่ว่าจักรแก้วจะเกิดแก่พระโพธิสัตว์เจ้าในวันที่ ๗ นั้นจริง เป็นแต่มารกล่าวเท็จเพื่อเล้าโลมพระโพธิสัตว์เจ้าเท่านั้น ถึงจักรแก้วจะเกิดแก่พระโพธิสัตว์เจ้าจริง พระโพธิสัตว์เจ้าก็ไม่ยอมกลับพระทัย ทั้งนี้เพราะอะไร.. เพราะพระโพธิสัตว์เจ้า ยึดมั่นแล้วว่าสิ่งทั้งปวงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปลงพระทัยลงสู่ความสิ้นอุปาทานแล้ว

น้ำที่ไหลไปจากสระอโนดาต ย่อมไหลไปสู่คงคานที แล้วน้ำในคงคานทีก็ไหลเข้าไปสู่มหาสมุทร น้ำในมหาสมุทรก็ไหลเข้าไปสู่ ปากบาดาล น้ำที่ปากบาดาลจะไหลกลับมา สู่มหาสมุทร น้ำในมหาสมุทรจะไหลกลับไปสู่ คงคานที น้ำในคงคานทีจะไหลกลับคืนไปสู่สระอโนดาตหรือไม่
ไม่ พระผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระโพธิสัตว์เจ้าได้สร้างพระบารมีมาตลอด ๔ อสงไขยกับแสนกัปแล้ว ถึงชาติสุดท้ายแล้ว จะกลับพระทัยเพราะเห็นแก่สมบัติอย่างนั้น จนให้พระโพธิญาณแก่กล้าตลอดถึง ๖ ปี จึงจะเสด็จออกบรรพชา เป็นพระสัพพัญญู พุทธเจ้านั้นไม่ได้ฉันนั้น
อาตมภาพขอถามว่า พระโพธิสัตว์เจ้าจะกลับพระทัยเพราะเหตุแห่งจักรแก้วได้หรือ
ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า

ถึงพื้นปฐพีใหญ่จะล่มจมไปหรือภูเขา ต่าง ๆ ทั้งสิ้นจะโค่น แม่น้ำใหญ่ทั้งปวงจะแห้ง พระโพธิสัตว์เจ้ายังไม่สําเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นอันไม่กลับพระทัยเป็นอันขาดถึงมหาสมุทรอันเป็นที่ขังน้ำเค็มหาประมาณมิได้จะแห้งขอดลงไปเหมือนกับน้ำในรอยโคก็ตาม ถึงน้ำในมหาคงคาจะไหลทวนกระแสขึ้นไป เบื้องบนก็ตาม
พระยาเขาสิเนรุจะแตกออกไปตั้งร้อย เสี่ยงพันเสี่ยงก็ตาม อากาศจะม้วนกลมเหมือน เสื่อลําแพนก็ตาม ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งดวงดาว จะตกลงมาที่พื้นดินเหมือนก้อนดินก็ตาม พระโพธิสัตว์ยังไม่สําเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นอันไม่กลับพระทัยเป็นอันขาด เพราะอะไร .เพราะพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้ทําลายเครื่องผูกทั้งปวงแล้ว

ข้าแต่พระนาคเสน เครื่องผูกในโลก มีอยู่เท่าใด
ขอถวายพระพร มีอยู่ ๑๐ ประการ
คืออะไรบ้าง
"เครื่องผูกในโลก ๑๐ ประการ ได้แก่ มารดาบิดา ภรรยา บุตร ญาติ มิตร ทรัพย์ ลาภ สักการะ อิสริยยศ และกามคุณ ๕ สัตว์ทั้งหลายออกไปจากโลกไม่ได้ เพราะ เครื่องผูก ๑๐ ประการนี้แหละ เครื่องผูก ๑๐ ประการนี้ พระโพธิสัตว์เจ้าได้ทําลายเสียสิ้นแล้ว เพราะฉะนั้นพระโพธิสัตว์เจ้าจึงไม่กลับพระทัย

ข้าแต่พระนาคเสน เมื่อจิตเบื่อหน่ายเกิดขึ้น เมื่อญาณยังไม่แก่กล้า ถ้าพระโพธิสัตว์เจ้า เสด็จออกบรรพชา ตามคําของเทวดาที่เป็นมารนั้นแล้ว จะมีประโยชน์อันใด ด้วยการที่ พระโพธิสัตว์เจ้าจะทรงทําทุกกรกิริยา พระโพธิสัตว์เจ้าควรรอให้พระญาณแก่กล้า ควรหักสิ่งทั้งปวงไม่ใช่หรือ
ขอถวายพระพร มีบุคคลอยู่ ๑๐ จําพวก ที่มีผู้ดูหมิ่นดูแคลนเกลียดชังติเตียน ครอบงําไม่ยําเกรง บุคคล ๑๐ จําพวกนั้น คือ หญิงหม้าย ๑ ผู้ทุพพลภาพ ๑ ผู้ไม่มีมิตรมีญาติ ๑ ผู้กินจุ ๑ ผู้อยู่ในตระกูลอันไม่น่าเคารพ ๑ ผู้มีมิตรเลวทราม ๑ ผู้เสื่อมทรัพย์ ๑ ผู้เสียศีล ๑ ผู้เสียการงาน ๑ ผู้เสียการประกอบ ๑

เมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าระลึกถึงบุคคลทั้ง ๑๐ จําพวกนี้ ก็ทรงนึกว่าเราไม่ควรเป็นผู้เสียการงาน เสียการประกอบ ให้เป็นที่ติเตียนของเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย เราควรเป็นเจ้าของการงาน ควรเคารพการกระทํา
ควรมีการกระทําเป็นใหญ่ มีการกระทําเป็นปกติ ทรงไว้ซึ่งการกระทําอาศัยการกระทํา ไม่ปล่อยเครื่องผูก คือการกระทํา ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ด้วยเหตุนี้ พระโพธิสัตว์เจ้าจึงได้ทรงทําทุกกรกิริยา เพื่อรอความแก่กล้าแห่งญาณ
พระเจ้ามิลินท์ตรัสอีกว่า
ข้าแต่พระนาคเสน พระโพธิสัตว์ผู้ทําทุกกรกิริยาได้กล่าวไว้ว่า เราไม่ได้สําเร็จความรู้ ความเห็นวิเศษอันเป็นของอริยะอันยิ่งกว่าธรรมดาของมนุษย์ได้ ด้วยทุกกรกิริยาอัน เผ็ดร้อนนี้ ทางอื่นที่จะให้ตรัสรู้ได้จักต้องมี ก็ในคราวนั้น ความเผลอสติได้มีแก่พระโพธิสัตว์เจ้า เพราะแรงปรารภทางบ้างหรือไม่
พระนาคเสนชี้แจงว่า
ขอถวายพระพร สิ่งที่จะทําให้จิตเสียกําลังใจ ไม่ทําให้จิตตั้งมั่นดี เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย มีอยู่ ๒๕ ประการ คือ

สิ่งที่ทําให้เสียกําลังใจ

๑ . ความโกรธ
๒ . ความผูกโกรธ
๓ . ความลบหลู่บุญคุณของผู้อื่น
๔ . ความตีเสมอกับผู้อื่น
๕ . ความริษยาไม่ยินดีต่อความดีของผู้อื่น
๖ . ความตระหนี่เหนียวแน่น
๗ . ความมีเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง
๘ . ความโอ้อวด
๙ . ความดื้อดึง
๑๐ . ความแข่งดี
๑๑ . ความถือตัว
๑๒ . ความดูหมิ่นผู้อื่น
๑๓ . ความมัวเมา
๑๔ . ความเมาใหญ่
๑๕ . ความง่วงเหงา
๑๖ . ความเพลิดเพลิน
๑๗ . ความเกียจคร้าน
๑๘ . ความคบมิตรลามก
๑๙ . รูปของคนและสัตว์สิ่งของ
๒๐ . เสียงของคนสัตว์สิ่งของ
๒๑ . กลิ่นของคนสัตว์สิ่งของ
๒๒ . รสของคนสัตว์สิ่งของ
๒๓ . สิ่งที่ถูกต้องทางกาย
๒๔ . ความหิวกระหาย
๒๕ . ความไม่ยินดีในทางดี

พระโพธิสัตว์เจ้าได้ครอบงํากายด้วยความหิวกระหาย คือปล่อยให้ความหิวกระหายครอบงํากาย เมื่อความหิวกระหายครอบงํากายแล้ว จิตก็ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
พระโพธิสัตว์เจ้าได้แสวงหาการสําเร็จอริยสัจ ๔ อยู่ตลอด ๔ อสงไขยกับอีกแสนกัปแล้ว ในภพสุดท้ายจักมีความเผลอสติเพราะปรารภทางได้อย่างไร เป็นแต่พระโพธิสัตว์นึกขึ้นมาว่า ทางตรัสรู้ทางอื่นจะมีหรืออย่างไร
เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติแล้วได้ ๑ เดือน ได้ทรงนั่งสมาธิอยู่ ณ ที่บรรทมภายใต้ต้นหว้า อันมีเงาร่มเย็นนั้น ในเวลาที่พระราชบิดาทรงแรกนาขวัญ ก็ยังได้สําเร็จฌาน ๔ ขอถวายพระพร
ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน โยมรับว่า เมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าจะทรงรอให้ญาณแก่กล้า จึงได้ทําทุกกรกิริยา

◄ll กลับสู่สารบัญ



ปัญหาที่ ๗

ว่าด้วยกําลังแห่งกุศลอกุศล


ข้าแต่พระนาคเสน กุศลกับอกุศล อย่างไหนยิ่งกว่ากัน มีกําลังกว่ากัน
ขอถวายพระพร กุศล ยิ่งกว่า มีกําลัง แรงกว่า
พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมไม่เชื่อว่า กุศลยิ่งกว่า มีกําลังแรงกว่า เพราะเห็นอยู่ทั่วกันว่า ผู้ทําปาณาติบาต ฆ่ามนุษย์ ผู้ทําอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปล้นชาวบ้าน ปล้นคนเดินทาง ฉ้อโกง หลอกลวง ทั้งสิ้นนี้ ย่อมถูกลงโทษต่าง ๆ คือ

ถูกตัดมือก็มี ตัดเท้าก็มี ตัดหู ตัดจมูกก็มี เอาหม้อข้าวครอบหัวก็มี ถลกหนังแล้วขัดด้วย หินหยาบให้ขาวเหมือนสังข์ก็มี ทําปากราหู คือจุดไฟยัดเข้าปากก็มี ทําตัวเป็นดอกไม้เพลิงคือเอาผ้าชุบน้ำมันพันตัวแล้วจุดไฟก็มี จุดนิ้วมือต่างประทีป คือผ้าขี้ริ้วชุบน้ำมันพันนิ้วมือ แล้วจุดไฟก็มี

ทําหนังแกะ คือลอกหนังตั้งแต่คอลงไป ถึงข้อเท้า แล้วให้เดินเหยียบหนังตัวเองไปก็มี ทําผ้าผูกคอ คือถลกหนังตั้งแต่คอลงไปพักไว้ที่บั้นเอวเสียตอนหนึ่ง ถลกหนังจากใต้บั้นเอว ลงไปถึงข้อเท้า ให้เหมือนนุ่งผ้าเปลือกปอก็มี ตอกข้อเท้าทั้งสองเข่าทั้งสองขึงไว้กับพื้นดินก็มี เอาเบ็ดเกี่ยวเนื้อออกเป็นชิ้น ๆ ก็มี

เชือดเนื้อออกทีละก้อน ๆ เท่าเงิน กหาปณะก็มี ฟันแทงให้ทั่วตัว แล้วเอาน้ำแสบ น้ำเค็มเทราดก็มี ให้นอนตะแคงเอาหลาวแทงช่องหู ปักลงไปกับพื้นดินให้แน่น แล้วจับเท้า หมุนก็มี ทําดั่งฟาง คือเชือดเอาผิวหนังออก แล้วทุบกระดูกให้แตกด้วยก้อนหิน จับผมดึง ถลกหนังขึ้น ทําให้เหมือนมัดฟางก็มี เอาน้ำมันร้อน ๆ เทราดก็มี ให้สุนัขกัดกินก็มี เสียบหลาวไว้ทั้งเป็นก็มี ตัดศีรษะด้วยดาบก็มี

พวกทําบาปในกลางคืนได้รับผลบาปในกลางคืนก็มี พวกทําบาปกลางคืนได้รับผลบาปกลางวันก็มี พวกทําบาปกลางวันได้รับผลบาปกลางวันก็มี บางพวกที่ได้รับกลางคืน บางพวกล่วงไป ๒-๓ วันจึงได้รับ เป็นอันว่า พวกทําบาปทั้งสิ้น ได้รับผลในทันตาเห็น

ส่วนผู้ให้ทานแก่สมณพราหมณ์องค์เดียว หรือ ๒ องค์ ๓ องค์ ๔ องค์ ๕ องค์ ๑๐ องค์ ๑๐๐ องค์ พันองค์ แสนองค์ จึงได้รับผล คือทรัพย์ ยศ หรือสุข ในปัจจุบันก็มี บางคนก็ได้เสวยสมบัติด้วยศีล ๕ ก็มี ด้วยศีล ๘ ก็มี

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร บริษัททั้ง ๔ นี้ ให้ทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถ แล้วไปสวรรค์ทั้งเป็น ก็มีอยู่
คือใครบ้างล่ะ พระผู้เป็นเจ้า
ขอถวายพระพร คือ พระเจ้ามันธาตุราช ๑ พระเจ้าเนมิราช ๑ พระเจ้าสาธินราช ๑ โคตติลพราหมณ์ ๑
ข้าแต่พระนาคเสน เรื่องบุคคลทั้ง ๔ นั้น เป็นเรื่องนานหลายพันชาติมาแล้ว ถ้าพระผู้เป็นเจ้าสามารถ จงบอกเรื่องที่มีอยู่ในครั้ง พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ว่า ผู้ที่ทําบุญแล้ว ได้ผลทันตาเห็นนั้นคือใครบ้าง

บุคคลตัวอย่าง


ขอถวายพระพรคือ
นายปุณณกะ ผู้เป็นทาสของเศรษฐี (เมณฑกเศรษฐี) ซึ่งได้ใส่บาตรพระสารีบุตรเถระ แล้วได้เป็น เศรษฐีในวันนั้น
พระนางโคปาลมาตาเทวี ตัดมวยผม ออกขายได้เงิน ๘ กหาปณะ แล้วซื้ออาหาร ถวายแก่พระ ๘ องค์ มีพระมหากัจจายนเถระเป็นประธาน แล้วได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน (ในพระสูตรว่าเป็นพระเจ้า จัณฑปัชโชติ) ในวันนั้น
นางสุปิยาอุบาสิกา เชือดเนื้อขาออกปิ้ง ถวายพระอาพาธองค์หนึ่ง แล้วรุ่งขึ้นก็มีเนื้องอกขึ้นเต็มเป็นปกติ
พระนางมัลลิกา ได้เอาขนมถั่วใส่บาตร พระพุทธเจ้า แล้วได้เป็นพระอัครมเหสีของ พระเจ้าโกศลในวันนั้น
นายสุมนมาลาการ บูชาพระพุทธเจ้า ด้วยดอกมะลิ ๘ กํามือ แล้วได้รับพระราชทานรางวัลจากพระราชาสิ่งละ ๘ ในวันนั้น เป็นอันว่า บุคคลทั้งสิ้นนี้ ได้ทรัพย์ ยศ ในชาติปัจจุบันนี้ ขอถวายพระพร

ข้าแต่พระนาคเสน ท่านพิจารณาเห็นเพียง ๖ คน เท่านี้หรือ
เพียง ๖ คนเท่านี้แหละ มหาบพิตร

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสอีกว่า
ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น อกุศล ก็มีกําลังยิ่งนัก เพราะว่าคราวหนึ่งโยมได้เห็น บุรุษคราวละ ๑๐ คน ๒๐ คน ๓๐ คน ๔๐ คน ๑๐๐ คน ๑,๐๐๐ คน ถูกเสียบหลาว ทั้งเป็นด้วยผลบาปของเขา

บุตรของเสนาบดีแห่งพระเจ้าจันทคุตต์ ชื่อว่า ภัททบาล ได้เกิดทําสงครามกับพระเจ้า จันทคุตต์ ในการทําสงครามกลางเมืองคราวนั้น พลนิกายทั้งสองฝ่าย ต่างก็มีมือถือดาบอันคมกล้า ฆ่าฟันกันล้มตายเป็นอันมาก การที่พวกนั้น ถึงความพินาศอย่างนั้น ก็เพราะผลของบาปกรรม เหตุอันนี้แหละ โยมจึงว่าอกุศลมีกําลังยิ่งกว่า

โยมได้ฟังมาว่า พระเจ้าโกศล ได้ถวายอสทิสทาน ในครั้งพระพุทธองค์ยังทรงดํารงอยู่ จริงไหม
พระนาคเสนยอมรับว่า
จริง มหาบพิตร
ข้าแต่พระนาคเสน พระเจ้าโกศลถวายอสทิสทานนั้นแล้วได้ทรัพย์ ยศ หรือสุข อย่างใดอย่างหนึ่งในปัจจุบันหรือไม่
ไม่ได้ มหาบพิตร
ถ้าไม่ได้ ก็เป็นอันว่า อกุศลมีกําลังยิ่งกว่า
ขอถวายพระพร อกุศลย่อมให้ผลเร็ว เพราะเป็นของเล็กน้อย ส่วนกุศลย่อมให้ผลช้า เพราะเป็นของใหญ่ ความข้อนี้ควรทราบด้วย อุปมาดังนี้

ในอปรันตชนบทมีธัญชาติ คือข้าวเปลือกชนิดหนึ่งชื่อว่า "กุมุทธภัณฑิกา" อันจัดเป็น ข้าวเบา หว่านลงในนาเดือนเดียวก็ได้ผล ส่วนข้าวสาลีต้อง ๕-๖ เดือนจึงจักได้ผล ข้อนี้ มหาบพิตรว่าเป็นเพราะอะไร
โยมว่าเป็นเพราะข้าวกุมุทธภัณฑิกาเป็นของเล็กน้อย ส่วนข้าวสาลีเป็นของใหญ่ เพราะเป็นข้าวเสวยของพระราชา ส่วนข้าวกุมุทธกัณฑิกา เป็นข้าวของพวกทาสกรรมกร
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เพราะอกุศลเป็นของเล็กน้อยจึงให้ผลเร็ว ส่วน กุศลเป็นของใหญ่ จึงให้ผลช้า

พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งใดให้ผลเร็ว สิ่งนั้นชื่อว่า มีกําลังยิ่งกว่า เพราะฉะนั้น อกุศลจึงมีกําลังยิ่งกว่าเหมือนกับพลรบที่เข้าสู่สนามรบ ผู้ใดจับศัตรูมาได้เร็ว ผู้นั้นชื่อว่าผู้แกล้วกล้า สามารถ หมอผ่าตัดคนใดถอนลูกศรออกได้เร็ว หมอผ่าตัดคนนั้นชื่อว่าหมอฉลาด คนนับคนใด นับได้เร็ว คนนับคนนั้นก็ชื่อว่าเก่ง คนปล้ำคนใด จับคู่ปล้ำด้วยกันฟาดลงได้ทั้งยืน คนปล้ำ คนนั้นก็ชื่อว่าแกล้วกล้าสามารถ

ข้อเปรียบเหล่านี้มีอุปมาฉันใด กุศลหรืออกุศลใดสามารถให้ผลเร็ว กุศลหรืออกุศล นั้น ก็ชื่อว่ามีกําลังยิ่งกว่าฉันนั้น
พระนาคเสนอธิบายว่า
ขอถวายพระพร กรรมทั้งสองนี้ เป็นกรรมให้ผลในชาติที่ ๒ รองจากชาตินี้ลงไป อีกอย่างหนึ่ง อกุศลที่ให้ผลในปัจจุบันนั้น เป็น เพราะมีโทษมาก
กษัตริย์องค์ก่อน ๆ ทรงกําหนดโทษไว้ว่า ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ขโมยของผู้อื่น เป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น กล่าวเท็จ ปล้นบ้านเมือง แย่งชิงคนเดินทาง ทําของปลอม ทําการหลอกลวง ผู้นั้นต้องได้รับโทษอาญาคือฆ่าหรือตัดอวัยวะ หรือเฆี่ยนตี อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ แล้วพระราชาเหล่านั้น ก็ลงโทษตามที่ทรงกําหนดไว้

ส่วนผลของทานศีล มีผู้กําหนดไว้หรือไม่ว่า ผู้ใดให้ทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถ พระราชาต้องพระราชทานทรัพย์ ยศ แก่ผู้นั้น เหมือนกับการลงโทษผู้กระทําผิดกฎหมาย
ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า
ขอถวายพระพร ถ้ามีกุศลก็ต้องให้ผลทันตาเห็นแก่ผู้ให้ทานทั้งนั้น แต่เพราะไม่มี พระราชกําหนดกฎหมายไว้ กุศลจึงไม่ให้ผล ทันตาเห็นเสมอไป ส่วนในภพต่อ ๆ ไป เขาก็ได้ผล มีกําลังยิ่งกว่า สําหรับอกุศลไม่ใช่อย่างนั้น
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ปัญหานี้ท่านได้แก้ไข ถูกต้องดีแล้ว

◄ll กลับสู่สารบัญ




ปัญหาที่ ๘

ว่าด้วยการทําบุญให้ผู้ตาย


ข้าแต่พระนาคเสน พวกทายกให้ทานแล้ว อุทิศให้แก่ผู้ที่ตายไปก่อนแล้วว่า ขอทานนี้ จงมีแก่พวกนั้น ดังนี้ ขอถามว่า พวกนั้นได้รับผลจากทานนั้นบ้างหรือไม่
ขอถวายพระพร บางพวกก็ได้รับ บางพวกก็ไม่ได้รับ
พวกไหนได้รับ พวกไหนไม่ได้รับ พระผู้เป็นเจ้า
ขอถวายพระพร พวกเกิดในนรก สวรรค์ เดรัจฉาน ทั้ง ๓ จําพวกนี้ไม่ได้รับ และอีก ๓ จําพวก คือ จําพวกอสุรกาย จําพวกเปรต อดข้าวอดน้ำ จําพวกเปรตเพลิงไหม้อยู่เป็นนิจ ก็ไม่ได้รับ ได้รับแต่จําพวก ปรทัตตูปชีวีเปรต คืออาศัยผู้อื่นอุทิศให้จําพวกเดียวเท่านั้น

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น ทานที่พวกทายกให้ ก็เป็นทานเสียเปล่า ไม่มีผล เพราะพวกที่ตายไปแล้วไม่ได้รับ
ขอถวายพระพร จะไม่มีผลหามิได้ เพราะพวกทายกยังได้รับผลแห่งทานนั้นอยู่

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอ้างเหตุให้โยมเข้าใจ
ขอถวายพระพร เหมือนอย่างมีคนพวกหนึ่ง จัดปลา เนื้อ สุรา อาหาร ส่งไปให้แก่พวกญาติ ถ้าพวกญาติไม่รับไว้ ข้าวน้ำที่ส่งไปทั้งหลายนั้น จะเสียเปล่าหรืออย่างไร
ไม่เสียเปล่า พระผู้เป็นเจ้า ของนั้น เขาต้องส่งกลับมาให้เจ้าของอีก ]

ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ถึงพวกที่ล่วงลับไปแล้วไม่ได้รับผลทานนั้น พวกทายกก็ยังได้รับ อีกอย่างหนึ่ง อาตมภาพขอถามว่า เมื่อบุรุษเข้าไปในห้อง ไม่มีประตูทะลุออกไป เขาจะออกทางไหน
เขาต้องออกทางที่เข้าไปซิ ผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พวกทายกก็ยังได้รับผลทานนั้นอยู่
อย่างนั้นพระนาคเสน โยมรับว่า พวกทายกยังได้รับผลทานของเขาอยู่ เพราะฉะนั้น โยมไม่ซักถึงเหตุผลอีกละ

◄ll กลับสู่สารบัญ



ปัญหาที่ ๙

ว่าด้วยความใหญ่และไม่ใหญ่ แห่งกุศลอกุศล


ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าทานที่พวกทายก ให้ไปถึงผู้ที่ตายไปแล้ว พวกที่ตายไปแล้วได้รับผลทานนั้น ผู้ใดฆ่าสัตว์ ฆ่ามนุษย์ มีมือเปื้อนด้วยโลหิต มีใจคิดร้าย ทํากรรมหยาบช้าแล้ว อุทิศผลให้แก่พวกที่ตายไปแล้วว่า ผลแห่งกรรม ของเรานี้จงไปถึงพวกที่ตายไปแล้ว ดังนี้ ผลแห่งกรรมนั้นจะถึงพวกที่ตายไปแล้วหรือไม่
พระนาคเสนตอบว่า
ไม่ถึง มหาบพิตร
เหตุไร พระผู้เป็นเจ้า อกุศลนั้นจึงไม่ไปถึง
ขอถวายพระพร ธรรมดาอกุศลย่อมไม่มีใครต้องการ ไม่มีใครอาจทําโลกทั้งสิ้น ให้มีรสชาติอันเดียวกัน ขอมหาบพิตรอย่าถาม อาตมภาพอย่างนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ควรถาม เช่นจะถามว่า เหตุใดฝักข้าวโพดจึงตั้ง ลูกฟักเขียวฟักทองจึงห้อย น้ำในคงคาจึงไม่ไหลขึ้นข้างบน มนุษย์กับสัตว์มีปีกจึงมี ๒ เท้า สัตว์ป่าเป็นต้น มี ๔ เท้า ดังนี้ เป็นของไม่ควรถามทั้งนั้น

ข้าแต่พระนาคเสน โยมไม่ได้ถามด้วย มุ่งจะทําให้พระผู้เป็นเจ้าลําบากใจ โยมถามด้วย มุ่งให้หมดความสงสัยเท่านั้น พวกมนุษย์เป็นอันมากที่ทําบาป ที่ไม่รู้จักอะไรย่อมไม่ได้ โอกาสที่จะถามพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้น โยมจึงถามพระผู้เป็นเจ้าอย่างนี้

ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่อาจ จําแนกบาปกรรมให้หมดรวดเดียวได้ด้วย อนุมานอันนี้ เหมือนอย่างว่า พวกมนุษย์กระทําให้น้ำไหลไปไกลได้ด้วยรางได้ แต่ว่า อาจให้น้ำไหลขึ้นไปสู่ภูเขา ที่เป็นโพรงด้วยรางน้ำได้หรือไม่
ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร อาตมาอาจแบ่งผลกุศลได้ แต่ไม่อาจแบ่งผลอกุศลได้ อีกอย่างหนึ่ง ประทีปย่อมลุกโพลงด้วยน้ำมัน แต่มหาบพิตรอาจทําให้ประทีปลุกโพลงด้วยน้ำได้หรือไม่
ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร อาตมาก็อาจแบ่งผลกุศลได้ แต่ไม่อาจแบ่งผลอกุศลได้ อีกประการหนึ่ง พวกชาวนาย่อมไขน้ำจากเหมืองมาสู่นาทําให้ข้าวงามได้ แต่ว่าอาจไขน้ำ มหาสมุทรเข้ามาสู่นา ทําให้ข้าวงามได้หรือไม่
ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร อาตมาก็อาจแบ่งผลกุศลได้ แต่ไม่อาจแบ่งผลอกุศลได้

ข้าแต่พระนาคเสน เหตุใดจึงว่าอาจ แบ่งผลกุศลได้ ไม่อาจแบ่งผลอกุศลได้ ขอจงอ้างเหตุให้โยมเข้าใจ โยมไม่ใช่คนตาบอด ไม่ใช่ผู้ไม่มีเครื่องกําหนด โยมได้ฟังแล้วจักเข้าใจได้
ขอถวายพระพร บาปมีผลน้อย บุญมีผลมาก อกุศลย่อมให้ผลเฉพาะผู้กระทําเท่านั้น แผ่ผลไปถึงผู้อื่นไม่ได้ ส่วนกุศลย่อมแผ่ผลไปทั่วโลกได้
ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมา

ขอถวายพระพร หยาดน้ำนิดเดียวตกลงไปที่พื้นดินแล้ว จะไหลซึมไปตลอดที่ ๑๐ โยชน์ หรือ ๑๒ โยชน์ ๑๓ โยชน์ ได้หรือไม่
ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า หยาดน้ำนิดเดียวนั้น ตกลงไปในที่ใดก็ซึมแห้งไปในที่นั้น
เพราะอะไร มหาบพิตร
เพราะหยาดน้ำนั้นมีน้อย ผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร อกุศลมีผลน้อย ให้ผลได้เฉพาะผู้กระทําเท่านั้น ไม่ อาจแบ่งผลให้ผู้อื่นได้
อีกอย่างหนึ่ง เมฆใหญ่ตกลงมาย่อม ทําให้บึง สระ เหมือง ซอกระแหง สระโบกขรณี ที่ลุ่ม ที่ดอน ทั้งสิ้นเต็มไปด้วยน้ำ แต่เมฆใหญ่นั้นจะไหลลงไปเต็มทั้งข้างล่าง และทางขวาง และไหลทั่วไปรอบตัวได้หรือไม่
ได้ พระผู้เป็นเจ้า
เพราะเหตุไร มหาบพิตร
เพราะเมฆใหญ่ คือฝนห่าใหญ่นั้น เป็นของใหญ่น่ะซิ พระผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร กุศลมีผลมาก จึงอาจแจกแบ่งไปถึงเทพยดามนุษย์ อื่น ๆ ได้

ข้าแต่พระนาคเสน เพราะเหตุไร บาปจึงมีผลน้อย บุญจึงมีผลมาก
ขอถวายพระพร เหมือนอย่างผู้ใดผู้หนึ่งได้ให้ทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถศีลแล้ว เขาย่อมร่าเริงดีใจเรื่อย ๆ ไป เมื่อเขาร่าเริงดีใจ เรื่อย ๆ ไป กุศลก็เจริญยิ่งขึ้นฉันใด
บ่อน้ำที่มีน้ำออกมาก ถึงจะมีผู้ตักไป น้ำก็ไหลออกเรื่อยไป ไม่อาจทําน้ำนั้นให้สิ้นได้ ฉันใด เมื่อบุคคลคิดถึงกุศล ก็เกิดปีติเรื่อย ไปฉันนั้น

ถ้าเขาทํากุศลอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปีแล้ว นึกถึงกุศลนั้นอยู่เรื่อยไป กุศลก็เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ผู้นั้นอาจแบ่งส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่นได้ตามชอบใจ อันนี้ก็เป็นเหตุอันหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า บุญมีผลมาก
ส่วนผู้ทําอกุศลย่อมร้อนใจ ใจย่อมหดหู่ถอยกลับจากอกุศลนั้น อกุศลนั้นก็ไม่ งอกงามอีกต่อไป มีแต่จะหมดไปเท่านั้น
เหมือนอย่างว่า น้ำน้อยที่มีอยู่ในแม่น้ำอันมากไปด้วยทราย มีแต่จะแห้งหายไปเท่านั้น อันนี้เป็นเหตุชี้ให้เห็นว่า อกุศลมีน้อย ขอถวายพระพร
ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน เป็นอันว่า ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าได้ทําลายลัทธิคด ๆ โกง ๆ ของพวกเดียรถีย์สิ้นแล้ว

◄ll กลับสู่สารบัญ



ปัญหาที่ ๑๐

ว่าด้วยความฝันและเหตุให้ฝัน


ข้าแต่พระนาคเสน หญิงชายทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมฝันเห็นสิ่งต่าง ๆ ดีก็มี ไม่ดีก็มี เคยเห็นก็มี ไม่เคยเห็นก็มี ปลอดภัยก็มี มีภัยก็มี ควรทําก็มี ไม่ควรทําก็มี อยู่ไกลก็มี อยู่ใกล้ก็มี บางทีฝันเห็นสิ่งที่ล่วงมาแล้วตั้ง หลายกัป การฝันนั้นเป็นอะไร ใครเป็นผู้เห็น
พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร สิ่งใดเข้ามาถึงทางแห่งปฐมจิตดวงแรก สิ่งนั้นชื่อว่า "สุบินนิมิต" คือเครื่องหมายแห่งการฝัน ผู้เห็นสุบินนิมิต คือ
ผู้ฝันมีอยู่ ๖ จําพวก ได้แก่จําพวก
ลมกําเริบ ๑ ดีกําเริบ ๑ เสมหะกําเริบ ๑ สิ่งทั้ง ๓ นี้กําเริบ ๑ เทพสังหรณ์ ๑ สิ่งที่เคยประพฤติมาปรากฏ ๑ ในการฝัน ๖ ประการนั้น สิ่งที่เคย ประพฤติคือบุญบาปที่ทําไว้ในปางก่อน มาปรากฏให้เป็นนิมิตเท่านั้น เป็นของจริง เสมอไป นอกนั้นไม่จริง


ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ที่ฝันด้วยสิ่งที่เคยประพฤติมาปรากฏนั้น จิตของผู้นั้นไปเลือกค้นนิมิตนั้นเอง หรือว่านิมิตนั้นปรากฏในจิตเอง หรือว่าผู้อื่นแสดงนิมิตให้เห็น
ขอถวายพระพร จิตของผู้นั้นไม่ได้ไปเลือกค้นนิมิตนั้นเอง ผู้อื่นก็ไม่ได้บอกแก่ผู้นั้น นิมิตนั้นเองมาปรากฏในจิต
ข้อนี้เปรียบเหมือนกระจก คือธรรมดากระจกไม่ได้ไปเลือกค้นเงา ผู้อื่นก็ไม่ได้นํา เงาให้ปรากฏในกระจก แต่เงาก็มาจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มาปรากฏในกระจกฉันใด จิตก็ไม่ได้ไปค้นนิมิตเอง ผู้อื่นก็ไม่ได้มาบอก แต่นิมิต ได้มาจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาปรากฏในจิตฉันนั้น

ข้าแต่พระนาคเสน จิตนั้นฝันเห็นสิ่งใด จิตนั้นรู้หรือไม่ว่าจักมีผล คือความปลอดภัย หรือมีภัยด้วยการฝันเห็นอันนี้
ขอถวายพระพร ไม่รู้ แต่ว่าเมื่อนิมิตเกิดขึ้นแล้ว คือฝันเห็นแล้วก็เล่าให้ผู้อื่นฟัง ผู้อื่นก็ช่วยตีความฝันจากนิมิตนั้น

ข้าแต่พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอ้างเหตุมาแสดง
ขอถวายพระพร สมมุติว่ามีเมล็ดดํา ๆ เท่าเมล็ดงาเกิดขึ้นในร่างกาย เพื่อความมีลาภ หรือความไม่มีลาภ เพื่อความมียศ หรือความ ไม่มียศ เพื่อความนินทาหรือสรรเสริญ เพื่อทุกข์หรือเพื่อสุข เมล็ดดํา ๆ เท่าเมล็ดงานั้น รู้หรือไม่ว่า เราจักแสดงผลอันนี้ จึงได้เกิดขึ้น
ไม่รู้ พระผู้เป็นเจ้า ต่อเมื่อพวกเนมิตกาจารย์ได้เห็นจึงจะรู้
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร จิตที่ฝันเห็นนั้นไม่รู้ว่าจะมีผลอย่างไร ต่อเมื่อฝันเห็นแล้ว ผู้นั้นบอกแก่ผู้อื่น ผู้อื่นจึงช่วยตี ความฝันนั้นให้

ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ที่ฝันนั้น ขณะนั้นหลับหรือตื่น
ขอถวายพระพร เวลาหลับก็ไม่ฝัน ตื่นก็ไม่ฝัน ฝันในระหว่างยังไม่หลับไม่ตื่น คือจิตของผู้นั้นย่างลงสู่ความหลับ จิตลงจากภวังค์แล้วมิได้กลับไปกลับมา ขณะนั้น จะรู้ว่าสุขทุกข์นั้นหามิได้ ความฝันย่อมไม่มี แก่ผู้ไม่รู้จักสุขทุกข์ ต่อเมื่อจิตประหวัดเป็นไปได้จึงจะฝัน

เงาย่อมไม่ปรากฏในกระจกในที่มืดฉันใด เมื่อจิตไม่กลับไปกลับมาก็ไม่ฝันฉันนั้น กระจกส่องเป็นฉันใด กายเราก็เป็นฉันนั้น ที่มืดเป็นฉันใด การหลับก็เป็นฉันนั้น แสงแห่งดวงอาทิตย์ฉันใด จิตก็ฉันนั้น อีกประการหนึ่ง รัศมีแห่งดวงอาทิตย์ อันหมอกปกคลุมแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ รัศมีแห่งดวงอาทิตย์ก็มีอยู่นั่นเอง เมื่อหมอกยังไม่จางไป รัศมีแห่งดวงอาทิตย์ก็ไม่ปรากฏฉันใด

จิตที่หลับไปจากภวังค์แล้วมิได้หวั่นไหวไปมา เมื่อจิตมิได้หวั่นไหวไปมาแล้วก็มิได้ฝันฉันนั้น
ดวงอาทิตย์ฉันใด กายเราก็ฉันนั้น เมฆหมอกที่ปกคลุมฉันใด การหลับก็ฉันนั้น รัศมีแห่งดวงอาทิตย์ฉันใด จิตก็ฉันนั้น

ขอถวายพระพร ถึงร่างกายมีอยู่ จิตของบุคคลทั้งสองจําพวก คือ
จําพวกที่หลับสนิท กับ จําพวกที่เข้า นิโรธสมาบัติ ย่อมไม่หวั่นไหว
เวลาตื่นจิตก็โลเล ขุ่นมัว หวั่นไหว ไม่เป็นปกติ นิมิตก็ไม่มาปรากฏแก่จิต พวกบุรุษที่มุ่งความลับย่อมเว้นจากที่แจ้ง ที่ปรากฏ เปิดเผย มีผู้คนไปมาฉันใด เหตุผลอันเป็นทิพย์ ก็ไม่ปรากฏแก่ผู้ตื่น ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ตื่นจึงไม่ฝัน
อีกอย่างหนึ่ง โพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย อันเป็นฝ่ายกุศล ย่อมไม่ปรากฏแก่ภิกษุผู้เสียศีลธรรมอันดีฉันใด เหตุผลอันเป็นทิพย์ ก็ไม่ปรากฏแก่ผู้ตื่นฉันนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ตื่นอยู่จึงไม่ฝัน

ข้าแต่พระนาคเสน ลักษณะของการหลับมีอยู่ ๓ ประการมิใช่หรือ
ขอถวายพระพร การหลับมีอยู่ ๓ ประการ คือหลับในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด
หลับในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดนั้น เป็นประการใด

ขอถวายพระพร
หลับในเบื้องต้นนั้น ได้แก่การที่กายอ่อนแอ หมดกําลัง ไม่ควร แก่การงาน
หลับท่ามกลางนั้น ได้แก่หลับ ๆ ตื่น ๆ คล้ายกับการหลับแห่งวานร
หลับในที่สุดนั้น ได้แก่จิตลงจากภวังค์

เพราะฉะนั้น ผู้หลับท่ามกลาง คือผู้หลับ ๆ ตื่น ๆ เหมือนกับการหลับแห่งวานรนั้นแหละฝัน
ธรรมดาพระโยคาวจร ผู้มีสมาธิอันได้อบรมแล้ว มีใจมั่นคงแล้ว มีปัญญาไม่วอกแวก เข้าไปอยู่ในที่กลางป่าอันเงียบสงัด เพื่อใคร่ครวญซึ่งอรรถอันสุขุม ย่อมไม่หลับ ก็ย่อมรู้ธรรมอันสุขุม
ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ผู้ที่ไม่ใช่ตื่น ไม่ใช่หลับ เพียงแต่เข้าถึงการหลับครึ่ง ๆ กลางๆ เหมือน กับวานร ย่อมฝันฉันนั้น

เสียงอึกทึกฉันใด ผู้ตื่นก็ฉันนั้น วิเวก ฉันใด ผู้หลับดังวานรก็ฉันนั้น ผู้ละความอึกทึก เว้นการหลับมีจิตเป็นอุเบกขา ย่อมรู้ธรรม อันสุขุมได้ฉันใด ผู้ที่ไม่ใช่ตื่น ไม่ใช่หลับ มีอาการหลับดังวานร ก็ฝันเห็นฉันนั้น ขอถวายพระพร
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมจะรับถ้อยคําจําไว้ในกาลบัดนี้

จบวรรคที่ ๘

◄ll กลับสู่สารบัญ

<<โปรดติดตามอ่านตอน "วรรคที่ ๙" ต่อไป>>




kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 3/11/10 at 13:43 Reply With Quote



Update 3 พ.ย. 53
ตอนที่ ๓๑

วรรคที่ ๙

ปัญหาที่ ๑ ถามถึงกาลมรณะ อกาลมรณะ


ข้าแต่พระนาคเสน อันว่ามนุษย์ทั้งหลาย ตายในเวลาที่ควรตายทั้งนั้น หรือว่าตายในเวลาที่ยังไม่ควรตายก็มี
ขอถวายพระพร ตายในเวลาควรตาย อันเรียกว่า กาลมรณะก็มี ตายในเวลายังไม่ควรตาย อันเรียกว่าอกาลมรณะ ก็มี
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พวกไหนตายในเวลาควรตาย พวกไหนตายในเวลาไม่ควรตาย
ขอถวายพระพร ต้นมะม่วงหรือต้นไม้อื่น ที่มีผลหล่นไปแต่กําลังตั้งช่อก็มี หล่นไป ในเวลามีขั้วแล้วก็มี หล่นไปในเวลาโตเท่าหัวแมลงวันก็มี หล่นไปในเวลาดิบก็มี หล่นไปในเวลาสุกก็มี มหาบพิตรเคยเห็นบ้างไหม

อ๋อ . . .เคยเห็นซิ พระผู้เป็นเจ้า
ขอถวายพระพร ผลไม้ที่หล่นไปในเวลาสุก เรียกว่า หล่นไปในเวลาที่ควรหล่น ส่วนผลไม้นอกนั้น เรียกว่า หล่นไปในเวลายังไม่ควรหล่นคือหล่นไปด้วยหนอนเจาะก็มี นกจิกก็มี ลมพัดก็มี เน่าก็มี เรียกว่า หล่น ไปในเวลาที่ยังไม่ควรหล่นทั้งนั้น ฉันใด
พวกที่ตายในเวลาชรา เรียกว่าตายในเวลาควรตายทั้งนั้น นอกนั้นเรียกว่า ตาย ในเวลายังไม่ควรตาย คือบางพวกก็ตายด้วย กรรมแทรก บางพวกก็ตายด้วยคติ คือคติอันหนักชักไป บางพวกก็ตายด้วยกิริยา

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามอีกว่า
ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า พวกตายด้วยกรรมชักไปก็ดี ตายด้วยคติชักไปก็ดี ตายด้วยกิริยาชักไปก็ดี ตายด้วยชราครอบงําก็ดี โยมเห็นว่า ตายในเวลาควรตายทั้งนั้น ก็ผู้ที่ตายในท้องก่อนที่จะคลอด หรือ พอออกจากท้องมารดาก็ตาย หรือตายในเวลามีอายุ ๕-๖ เดือน หรือตายในเวลามีอายุ ๑๐ เดือน หรือตายในเวลามีอายุ ๗ ปี โยมก็เห็นว่า ตายในเวลาควรตายทั้งนั้น[/color]
ถ้าความเห็นนี้ถูก อกาลมรณะ คือการตายในเวลายังไม่ควรตายก็ไม่มี เรียกว่า ตายในเวลาที่ควรตายด้วยกันทั้งนั้น

ผู้ที่ตายก่อนอายุขัยมี ๗ จําพวก

ขอถวายพระพร ผู้ที่ตายในเวลายังไม่สิ้นอายุขัย มีอยู่ ๗ จําพวก คือ พวกหิวจัดตายก็มี กระหายน้ำจัดตายก็มี ถูกงูกัดตายก็มี ถูกยาพิษตายก็มี ถูกไฟไหม้ตายก็มี ตกน้ำตายก็มี ถูกอาวุธตายก็มี พวกนี้เรียกว่า ตาย ในเวลายังไม่ควรตาย ทั้งนั้น

ตายด้วยเหตุ ๘ ประการ

อันความตายของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ ลมกําเริบ ดีกําเริบ เสมหะกําเริบ สิ่งทั้ง ๓ นี้กําเริบ ฤดูแปรปรวน บริหารร่างกายไม่ดี ถูกผู้อื่นกระทํา กรรมให้ผล รวมเป็น ๗ ประการด้วยกัน
ตายด้วยกรรมให้ผล เรียกว่าตายสมควรแก่กรรมของตน นอกนั้นเรียกว่า ตายไม่สมควรแก่กรรม
คือบุคคลบางพวกตายด้วยกรรมที่ทําไว้ ในชาติปางก่อน ผู้ใดทําให้ผู้อื่นอดตายไว้ในชาติก่อน

ผู้นั้นต้องตายด้วยความอดอยากหลายพันปี บางทีตายด้วยความอดอยากใน เวลาเป็นเด็กก็มี ในเวลากลางคนก็มี ในเวลากลางอายุก็มี ในเวลาแก่ก็มี
ผู้ใดทําให้ผู้อื่นอดน้ำตายไว้ในชาติก่อน ผู้นั้นต้องอดน้ำตายอยู่หลายพันปี คืออดน้ำตายในเวลาเป็นเด็กก็มี กลางคนก็มี แก่ก็มี
ผู้ใดทําให้ผู้อื่นตายด้วยให้งูกัดสัตว์ต่อย ผู้นั้นก็ต้องตายด้วยงูกัดสัตว์ต่อยอยู่หลายพันชาติ ตายในเวลายังเป็นเด็กก็มี กลางคนก็มี แก่ก็มี
ผู้ใดทําให้ผู้อื่นตายด้วยยาพิษ ผู้นั้นก็ ต้องตายด้วยยาพิษหลายพันชาติ ตายในเวลายังเป็นเด็กก็มี เป็นผู้ใหญ่ก็มี แก่ก็มี

ผู้ใดทําให้ผู้อื่นตายด้วยไฟ ผู้นั้นก็ต้องตายด้วยไฟหลายแสนชาติ
ผู้ใดทําให้ผู้อื่นตายด้วยน้ำผู้นั้นก็ต้องตายด้วยน้ำหลายแสนชาติคือตกน้ำตาย จมน้ำตาย
ผู้ใดทําให้ผู้อื่นตายด้วยอาวุธ ผู้นั้นก็ต้องตายด้วยอาวุธ หลายแสนชาติ
การตายของพวกเหล่านี้ เรียกว่า ตายสมควรแก่กรรมทั้งนั้น

ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าเห็นว่า ตายในเวลาไม่ควรตายอันเรียกว่า อกาลมรณะมีอยู่ ขอนิมนต์แสดงอกาลมรณะให้โยมฟัง
ขอถวายพระพร กองไฟใหญ่ที่ไหม้หญ้า ไหม้ไม้ กิ่งไม้ หมดแล้วก็ดับไป กองไฟใหญ่นั้น ชื่อว่าดับในเวลาควรดับหรือ

อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ผู้ที่มีชีวิตอยู่นานจึงตาย เรียกว่า ตายในเวลาควรตาย อีกประการหนึ่ง กองไฟใหญ่ที่ยังไหม้เชื้อไม่หมด แต่มีฝนห่าใหญ่ตกลงมาทําให้ดับกองไฟใหญ่นั้นจะชื่อว่าดับในเวลาควรดับหรือไม่

เรียกไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า
เพราะอะไรมหาบพิตร กองไฟอย่างหลัง จึงไม่มีคติเสมอกับกองไฟอย่างก่อน

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพราะกองไฟอย่างหลัง ถูกน้ำที่มาใหม่เบียดเบียน จึงได้ดับไป
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ผู้ที่ตายด้วยโรคอันมีลม หรือดี หรือเสมหะ เป็น สมุฏฐาน หรือสิ่งทั้ง ๓ กําเริบ หรือฤดูแปรปรวน การรักษาร่างกายไม่ดี หรือผู้อื่นกระทํา หิว กระหาย ถูกงูกัด ถูกยาพิษ ถูกไฟไหม้ จมน้ำ ถูกอาวุธตาย เหล่านี้ เรียกว่า ตายในเวลายัง ไม่ควรตายทั้งนั้น

เหตุที่ให้ตายในเวลายังไม่ควรตาย ได้แก่โรคเป็นต้น อย่างที่ว่ามานี้แหละ ขอถวายพระพร
อีกอย่างหนึ่ง เมฆตั้งขึ้นในท้องฟ้า เมื่อจะทําที่ลุ่มที่ดอนให้เต็มก็เป็นฝนตกลงมา เมฆนั้นไม่มีสิ่งใดกีดขวาง ก็ตกลงมาได้ไม่ใช่ หรือ
อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้มีชีวิตอยู่นานก็ตายไปเอง อีกประการหนึ่ง
เมฆตั้งขึ้นในท้องฟ้า แล้วมีลมมาพัดไป จะเป็นฝนตกลงมาได้ไหม

ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า
เพราะเหตุไร มหาบพิตร เมฆอย่างหลังกับอย่างก่อนจึงไม่มีคติเสมอกัน
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพราะเมฆอย่างหลัง ถูกลมพัดไปเสีย จึงเป็นฝนตกลงมาไม่ได้
ข้อที่ตายในเวลาไม่ควรตาย ก็มีอุปมา ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร

ขอถวายพระพร อนึ่งอสรพิษที่มีฤทธิ์แรงกล้า ได้โกรธกัดบุคคลคนหนึ่งให้ถึงซึ่งความตาย ไม่มียาแก้ได้ พิษของงูนั้น เรียกว่าถึงซึ่งที่สุดฉันใด ผู้ที่มีอายุอยู่นานสิ้นอายุขัยแล้ว ก็ตายไปฉันนั้น
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่ถูกงูกัดแต่มียาฆ่าพิษนั้นเสีย พิษนั้นเรียกว่าหมดไปในเวลาที่ควรหมดหรือไม่

ไม่เรียก พระผู้เป็นเจ้า
เพราะเหตุไร มหาบพิตร พิษงูอย่างก่อนกับอย่างหลังจึงไม่เหมือนกัน
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พิษงูอย่างก่อนถูกยากําจัดเสียจึงหมดไปในเวลายังไม่ควรหมด
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ผู้ที่ตายในเวลายังไม่หมดอายุขัย ก็เรียกว่า ตายใน เวลาไม่ควรทั้งนั้น

ขอถวายพระพร อีกสิ่งหนึ่งนายขมังธนู ยิงลูกธนูไป ลูกธนูนั้นจะต้องไปจนสุดกําลัง ในเมื่อไม่มีสิ่งใดกีดขวางฉันใด ผู้ที่มีชีวิตอยู่นานก็ต้องตายด้วยสิ้นอายุขัยฉันนั้น ลูกธนู ที่มีสิ่งขัดขวางก็ไปไม่ถึงที่สุดฉันใด พวกมีสิ่งขัดขวางก็ตายในเวลายังไม่ถึงที่สุดแห่งอายุขัยฉันนั้น

อีกเรื่องหนึ่ง เสียงภาชนะทองเหลืองที่ มีผู้ตีจะต้องดังไปจนสุดเสียง ในเมื่อไม่มีสิ่ง ขัดขวางฉันใด บุคคลก็จักต้องตายในเวลาแก่เวลาสิ้นอายุขัย ในเมื่อไม่มีอันตรายอย่างใด อย่างหนึ่งฉันนั้น เสียงภาชนะทองเหลือง ถ้ามีสิ่งขัดขวางก็ดังไปไม่ถึงที่สุดฉันใด สัตว์ทั้งหลายถ้ามีสิ่งขัดขวาง ก็ตายในเวลายังไม่สิ้นอายุขัยฉันนั้น

อีกอย่างหนึ่ง พืชที่บุคคลหว่านลงในที่นาดี ถ้าฝนตกดี และไม่มีสิ่งเบียดเบียนก็จักงอกงามดีฉันใด สัตว์ทั้งหลายถ้าไม่มีอันตราย มาแทรกแทรง ก็จะอยู่ไปจนกระทั่งสิ้นอายุขัย ฉันนั้น พืชที่เขาปลูกหว่านไว้ ถ้าขาดน้ำก็ตาย เรียกว่ามีสิ่งขัดขวางฉันใด สัตว์ทั้งหลายถ้ามีอันตรายก็ตายก่อนสิ้นอายุขัยฉันนั้น

ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่า มีหนอนเกิดในต้นข้าวอ่อน ๆ กัดกินกระทั่งราก
เคยได้สดับ ทั้งได้เคยเห็นด้วย พระ ผู้เป็นเจ้า
ขอถวายพระพร ข้าวนั้นเรียกว่า เสีย ไปในเวลาควรเสียหรือไม่
ไม่เรียก พระผู้เป็นเจ้า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ผู้ที่ตายด้วยอันตรายต่าง ๆ ในระหว่างอายุขัยก็เรียกว่า ตายในเวลาไม่ควรตาย

ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่า เมื่อข้าวกําลังออกรวงมีฝนห่าใหญ่ตกลงมาทําให้ข้าวร่วงไปหมด
เคยได้สดับ ทั้งเคยได้เห็นด้วย พระ ผู้เป็นเจ้า
ข้าวกล้าที่เสียไปด้วยฝนนั้น เรียกว่า เสียไปในเวลาไม่ควรเสียฉันใด ผู้ที่ตายด้วยโรคภัยต่าง ๆ ในระหว่างอายุขัยก็เรียกว่า ตายในเวลาไม่ควรตาย ฉันนั้น ขอถวาย พระพร
น่าอัศจรรย์ พระนาคเสน ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขแจ่มแจ้งดีแล้ว

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 17/11/10 at 15:14 Reply With Quote





Update 17 พ.ย. 53

ปัญหาที่ ๒

ถามถึงปาฏิหาริย์ในเจดีย์ของพระอรหันต์


ข้าแต่พระนาคเสน ปาฏิหาริย์ย่อมมีที่เจดีย์หรือที่เชิงตะกอนของพระอรหันต์ ที่ปรินิพพานแล้วทั้งสิ้น หรือว่าบางพวกมี บางพวกไม่มี
ขอถวายพระพร บางพวกมี บางพวก ไม่มี
พวกไหนมี พวกไหนไม่มี ผู้เป็นเจ้า
บุคคล ๓ จําพวกมี

คือจําพวกหนึ่ง อธิษฐานไว้ ด้วยความอนุเคราะห์เทพยดา มนุษย์ว่า จงให้เกิดปาฏิหาริย์ขึ้นที่เชิงตะกอน ของเรา
อีกพวกหนึ่ง เทวดาบันดาล ให้เห็น ความอัศจรรย์ของพระอรหันต์ เพื่อให้คน ทั้งหลายเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
อีกพวกหนึ่ง มีสตรีหรือบุรุษผู้มีความเลื่อมใสศรัทธา ถือเอาของหอมหรือดอกไม้ หรือผ้า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วอธิษฐานให้เป็น อย่างนั้นอย่างนี้ แล้วโยนสิ่งเหล่านั้นเข้าไปใน ที่เผาศพพระอรหันต์

ถ้าไม่มีการอธิษฐาน ก็ไม่มีปาฏิหาริย์ ถึงไม่มีปาฏิหาริย์ ผู้เป็นบัณฑิตก็รู้ได้ดีว่า ท่านผู้นี้ปรินิพพานแล้ว
ถูกอย่างพระผู้เป็นเจ้าแก้ไขมาแล้ว




ปัญหาที่ ๓

ถามถึงการสําเร็จธรรมของบุคคล


ข้าแต่พระนาคเสน พวกที่ปฏิบัติชอบ ได้ธรรมาภิสมัยเหมือนกันทั้งนั้นหรือ
ขอถวายพระพร บางพวกก็ได้ บางพวก ก็ไม่ได้
ใครได้ ใครไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า

ขอถวายพระพร พวกที่ไม่ได้นั้น มีอยู่หลายจําพวกด้วยกัน คือเดรัจฉาน ๑ เปรต ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ ผู้ลวงโลก ๑ ผู้ฆ่ามารดา ๑ ผู้ฆ่าบิดา ๑ ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ๑ ผู้ทําสังฆเภท ๑ (ทําสงฆ์ให้แตกกัน) ผู้ทําโลหิตุปบาท ๑( ทําพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต) ผู้เป็นไถยสังวาส ๑ (ปลอมบวช) ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ๑ ผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี ๑ ผู้มีอาบัติสังฆาทิเสสติดตัว ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ( กะเทย) อุภโตพยัญชนก ๑ (คนสองเพศ) เด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ ๑
พวกเหล่านี้ถึงปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้ธรรมาภิสมัย

พระเจ้ามิลินท์ตรัสแย้งว่า
ข้าแต่พระนาคเสน บุคคล ๑๕ จําพวก เบื้องต้น เป็นพวกทําผิดจะได้ธรรมาภิสมัยหรือไม่ก็ช่างเถอะ แต่จําพวกที่ ๑๖ คือเด็ก อายุต่ำกว่า ๗ ขวบนี้แหละเป็นปัญหา
เพราะเด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ ยังไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ มานะ มิจฉาทิฏฐิ อรติ กามวิตกอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรมดาผู้ที่ห่างไกลจากกิเลส สมควรจะรู้แจ้งแทงตลอด ซึ่งอริยสัจ ๔ ไม่ใช่หรือ

พระนาคเสนอธิบายว่า
ขอถวายพระพร ข้อนี้ขอจงทรงฟังเหตุผล คือถ้าเด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ รู้จัก เกิดราคะ โทสะ โมหะ รู้จักมัวเมาในสิ่งที่ ควรมัวเมา รู้จักยินดี ไม่ยินดี รู้จักนึกถึง กุศลอกุศล ก็จักมีธรรมาภิสมัยได้ แต่เด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบนั้น จิตมีกําลังน้อย ส่วนพระนิพพานเป็นของใหญ่ ของหนัก จึงไม่อาจรู้แจ้งแทงตลอดนิพพานได้

เปรียบเหมือนบุรุษมีกําลังน้อย ไม่อาจยกภูเขาสิเนรุราชได้ฉันนั้น หรือเปรียบเหมือน หยาดน้ำอันเล็กน้อย ไม่อาจซึมไปทั่วแผ่นดินใหญ่ได้ หรือเปรียบเหมือนเปลวไฟเล็กน้อย ไม่อาจทําให้สว่างทั่วโลกได้ หรือเปรียบเหมือนตัวหนอนไม่อาจกลืนช้างได้ฉะนั้น
ข้าแต่พระนาคเสน ตามที่พระผู้เป็นเจ้า แก้มานี้ โยมเข้าใจดีแล้ว




ปัญหาที่ ๔

ถามถึงความไม่เจือทุกข์แห่งพระนิพพาน


ข้าแต่พระนาคเสน นิพพานมีสุขอย่างเดียว หรือมีทุกข์เจือปน
ขอถวายพระพร นิพพานมีสุขอย่างเดียว ไม่มีทุกข์เจือปนเลย
พระเจ้ามิลินท์ตรัสแย้งว่า

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมไม่เชื่อว่า นิพพานมีสุขอย่างเดียว โยมเชื่อว่า นิพพาน เจือทุกข์ ที่ว่านิพพานเจือทุกข์เพราะมีเหตุอยู่ คือพวกแสวงหานิพพาน ย่อมเดือดร้อนกายใจ มีการกําหนดซึ่งการยืน การเดิน การนั่ง การนอน และอาหาร อดหลับอดนอน มีการ บีบคั้นอายตนะ มีการสละทรัพย์ ญาติมิตร สหายที่รัก

ส่วนพวกที่หาความสุขในทางโลก ย่อม ได้รื่นเริงบันเทิงใจด้วยกามคุณ ๕ คือตาก็ได้ เห็นรูปที่สวยงาม หูก็ได้ฟังเสียงเพราะ ๆ จมูกก็ได้สูดดมกลิ่นหอม ๆ ลิ้นก็ได้รับรสอร่อย กายก็ได้ถูกต้องสัมผัสที่ให้เกิดความสุข ใจก็ นึกถึงแต่อารมณ์ที่ให้เกิดความสุข ผู้ละสิ่งที่ ชอบอย่างไรก็ตาม จะให้เกิดความสุขทางตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ เสียแล้ว ย่อมได้รับแต่ ความทุกข์ทางกายทางใจ

มาคันทิยปริพาชก ได้ติเตียนสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดม เป็นผู้กําจัดความเจริญ ดังนี้ ไม่ใช่หรือ เหตุอันนี้ แหละ โยมจึงกล่าวว่า นิพพานเจือทุกข์

พระนาคเสนถวายพระพรว่า
ดูก่อนมหาบพิตร นิพพานไม่เจือทุกข์เลย นิพพานเป็นสุขอย่างเดียว ข้อที่พระองค์ ตรัสว่า นิพพานเป็นทุกข์นั้น ไม่ใช่ทุกข์ของ นิพพาน เป็นทุกข์ของการจะทําให้สําเร็จ นิพพาน ต่างหาก คือการทําให้สําเร็จนิพพานในเบื้องต้นนั้นเป็นทุกข์ ส่วนนิพพานเป็นสุข อย่างเดียว

ขอถามมหาบพิตรว่า ความสุขในราชสมบัติของพระราชาทั้งหลายมีอยู่หรือ
มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า
ขอถวายพระพร ราชสุขนั้นเจือด้วยทุกข์ไม่ใช่หรือ
ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า
ก็พระราชาทั้งหลาย เมื่อปลายแดนพระราชอาณาเขตเกิดกําเริบขึ้น ต้องห้อมล้อม ด้วยหมู่อํามาตย์ ข้าราชการ พลทหาร เสด็จไปปราบ ต้องลําบากด้วยเหลือบ ยุง ลม แดด ลําบากด้วยการเดินทาง ต้องสู้รบกัน ต้องหยั่งลงสู่ความสงสัยในชีวิต เหตุใดจึงว่าราชสุข ไม่เจือทุกข์

พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า
ข้าแต่พระนาคเสน นั่นไม่ใช่ราชสุข เป็นส่วนเบื้องต้นแห่งการที่จะได้ราชสุขต่างหาก พระราชาทั้งหลายย่อมได้ราชสุขด้วยความทุกข์ เวลาได้แล้วก็ได้เสวยราชสุข อันราชสุขไม่เจือทุกข์ ราชสุขอย่างหนึ่ง ทุกข์ก็อย่างหนึ่ง ไม่ใช่ อย่างเดียวกัน

พระนาคเสนจึงกล่าวต่อไปว่า
ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร นิพพานเป็นสุขอย่างเดียว ไม่เจือทุกข์เลย ส่วนพวกแสวงหานิพพาน ย่อมทําให้กายใจเร่าร้อน ลําบากด้วยการยืน เดิน นั่ง นอน อาหาร ตัดความสุขทางอายตนะเสีย ทําให้กายใจ ลําบาก แต่เมื่อได้นิพพานแล้ว ก็ได้เสวยสุข อย่างเดียว
เหมือนพระราชาทั้งหลาย เมื่อกําจัดข้าศึกศัตรูได้สิ้นแล้ว ก็ได้เสวยราชสุขอย่างเดียวฉะนั้น เป็นอันว่านิพพานเป็นสุขอย่างเดียว ไม่เจือทุกข์เลย นิพพานก็อย่างหนึ่ง ทุกข์ก็อย่างหนึ่ง ไม่ใช่อย่างเดียวกัน

ขอได้ทรงสดับเหตุอย่างอื่นให้ยิ่งขึ้นไป กว่านี้อีก คือพวกอาจารย์ที่มีศิลปะ ย่อมมีความสุขในศิลปะไม่ใช่หรือ
ใช่ พระผู้เป็นเจ้า
สุขในศิลปะนั้น เจือทุกข์บ้างไหม
ไม่เจือเลย พระผู้เป็นเจ้า

เหตุใดพวกเรียนศิลปะ จึงต้องเอาใจใส่ต่ออาจารย์ ด้วยการกราบไหว้ การลุกรับ การตักน้ำ การปัดกวาด การให้ไม้สีฟันและ น้ำบ้วนปาก การกินเดนอาจารย์ การนวดฟั้น ขัดสีให้อาจารย์ การปฏิบัติเอาใจอาจารย์ นอน ก็ไม่เป็นสุข กินก็ไม่เป็นสุข ทําให้กายใจ เดือดร้อน
ข้าแต่พระนาคเสน ข้อนั้นไม่ใช่สุขในศิลปะ เป็นส่วนเบื้องต้นแห่งการแสวงหาศิลปะต่างหาก พวกอาจารย์แสวงหาศิลปะได้ด้วยความทุกข์ แต่ล้วนก็ได้เสวยสุขในศิลปะ สุขในศิลปะไม่เจือทุกข์เลย ทุกข์อย่างหนึ่ง สุขในศิลปะก็อีกอย่างหนึ่ง
เรื่องนิพพานก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร
เอาละ พระผู้เป็นเจ้า เป็นอันโยมรับว่า เป็นจริงอย่างนั้น

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 30/11/10 at 10:25 Reply With Quote



Update 30 พ.ย. 53
ปัญหาที่ ๕


ถามเรื่องนิพพานโดยรูปพรรณสัณฐาน

ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า นิพพาน แต่พระผู้เป็นเจ้าอาจชี้รูปหรือ สัณฐาน วัย ประมาณ แห่งนิพพานนั้นได้ด้วยอุปมา หรือเหตุ หรือปัจจัย หรือนัย อย่างใดอย่างหนึ่งได้หรือไม่
ไม่ได้ มหาบพิตร เพราะนิพพานไม่มี ของเปรียบ
ข้าแต่พระนาคเสน ข้อนี้โยมยังไม่ปลงใจ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอ้างเหตุให้โยมเข้าใจก่อน
ขอถวายพระพร ได้ . .อาตมภาพขอถามว่า มหาสมุทรมีอยู่หรือไม่

มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า
ถ้ามีผู้ถามมหาบพิตรว่า น้ำในมหาสมุทรมีเท่าไร สัตว์ในมหาสมุทรมีเท่าไร มหาบพิตร จะตอบเขาว่ากระไร
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้ามีผู้ถามโยมอย่างนี้ โยมก็จะตอบเขาว่า ถามสิ่งที่ไม่ควรถาม ปัญหานี้เป็นของควรพักไว้ไม่ใช่ควรจําแนก ใคร ๆ ไม่ ควรถาม

เพราะเหตุไร มหาบพิตร จึงต้องทรงตอบเขาอย่างนี้ ตามที่ถูกมหาบพิตรควรตอบ เขาว่า น้ำในมหาสมุทรมีอยู่เท่านั้น สัตว์ในมหาสมุทรมีอยู่เท่านี้ไม่ใช่หรือ
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไม่อาจตอบอย่างนั้นได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาเหลือวิสัย โยมจะทําอย่างไร
เรื่องนิพพานก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร แต่ว่า ผู้มีฤทธิ์ มีอํานาจทางจิต อาจคํานวณได้ว่า น้ำและสัตว์ในมหาสมุทรมีอยู่เท่านั้น แต่ไม่อาจชี้รูป หรือสัณฐาน วัย ประมาณ แห่ง นิพพานได้ด้วยอุปมา หรือด้วยเหตุ หรือด้วยปัจจัย หรือด้วยนัย

ขอได้โปรดทรงสดับเหตุอื่นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือเทพเจ้าชื่อว่าอรูปกายิกา(อรูป พรหม) ในจําพวกเทพมีอยู่หรือ
มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า
มหาบพิตรอาจชี้รูป หรือสัณฐาน วัย หรือประมาณ แห่งพวกเทพจําพวกอรูปกายิกา เหล่านั้น โดยอุปมา หรือด้วยเหตุ ด้วยปัจจัย ด้วยนัย ได้หรือไม่

ไม่อาจ พระผู้เป็นเจ้า
ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นพวกเทพ อรูปกายิกาที่ไม่มีรูปร่างปรากฏ ก็ไม่มีน่ะซิ
มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า แต่ว่าไม่มีใครอาจ ชี้รูป หรือสัณฐาน วัย หรือประมาณ แห่ง เทพเจ้าเหล่านั้นได้ด้วยอุปมา เหตุ ปัจจัย หรือนัยได้
ขอถวายพระพร เรื่องนิพพานก็ฉันนั้น แหละ มหาบพิตร

แสดงคุณแห่งนิพพาน

ข้าแต่พระนาคเสน ข้อที่ว่านิพพาน เป็นสุขอย่างเดียวก็จงพักไว้ แต่ว่าไม่มีใคร อาจชี้รูป สัณฐาน วัย หรือประมาณแห่งนิพพาน ได้ด้วยอุปมา เหตุ ปัจจัย หรือนัย ก็คุณของ นิพพานพอจะเทียบกับสิ่งอื่นได้ เพียงแต่จะชี้ให้เห็นได้สักเล็กน้อยด้วยอุปมามีอยู่หรือ
เมื่อว่าโดยย่อก็มีอยู่ มหาบพิตร

ดีแล้ว พระคุณเจ้าข้า โยมขอฟังการแสดงเพียงบางส่วนแห่งคุณของนิพพาน ขอได้โปรดแสดงให้โยมดับความร้อนใจอยากจะฟัง เหมือนกับการดับความร้อนด้วยน้ำเย็น หรือด้วยลมอ่อน ๆ ฉะนั้นเถิด
ขอถวายพระพร ดอกปทุมมีคุณ ๑ น้ำมีคุณ ๒ ยาดับพิษงูมีคุณ ๓ มหาสมุทรมีคุณ ๔ โภชนะมีคุณ ๕ อากาศมีคุณ ๑๐ แก้วมณีมีคุณ ๓ จันทน์แดงมีคุณ ๓ เนยใสมีคุณ ๓ ยอดคีรีมีคุณ๕ คุณแห่งสิ่งเหล่านี้พอเปรียบเทียบกับคุณแห่งนิพพานได้

ข้าแต่พระนาคเสน ข้อนี้คืออย่างไร
ขอถวายพระพร คือ ดอกปทุมที่ว่ามีคุณ ๑ นั้น ได้แก่น้ำไม่ติดค้างอยู่ได้ เหมือนกับ นิพพานไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส
ข้าแต่พระนาคเสน น้ำมีคุณ ๒ เป็นอย่างไร
ขอถวายพระพร น้ำมีคุณ ๒ คือ ความเย็น ๑ การดับความร้อน ๑ ทั้งสอง ประการนี้ พอเปรียบเทียบกับนิพพานอันเป็นของเย็น เป็นของดับความร้อนคือกิเลสได้

อนึ่ง น้ำอันเย็นนั้น ยังกําจัดความเศร้าหมองในร่างกาย และความกระหายความเร่าร้อนได้ เหมือนกับนิพพานอันกําจัด ความกระหาย คือตัณหาทั้ง ๓ ได้
ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่า คุณแห่งยาดับพิษงูมี ๓ นั้น คืออย่างไร
ขอถวายพระพร คือยาดับพิษงู ย่อมเป็นเครื่องดับพิษ เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย เหมือนกับนิพพานอันดับพิษคือกิเลส และยาดับพิษงูทําให้หมดโรค เหมือนกับนิพพาน ทําให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง ยาดับพิษงูเป็นของไม่ตาย เหมือนกับนิพพานอันเป็นของไม่ตายฉะนั้น

ข้าแต่พระนาคเสน คุณแห่งมหาสมุทร ๔ ที่พอจะเปรียบกับนิพพานได้นั้น คืออย่างไร
ขอถวายพระพร คือ มหาสมุทรเป็นของบริสุทธิ์ ว่างเปล่าจากซากศพทั้งหลาย ก็เปรียบเหมือนกับนิพพานอันว่างเปล่าจากกิเลสทั้งหลาย ๑
มหาสมุทรใหญ่แลไม่เห็นฝั่ง ไม่รู้จักเต็มด้วยน้ำที่ไหลมาจากที่ทั้งปวง เหมือนกับนิพพาน อันเป็นของใหญ่แลไม่เห็นฝั่ง ไม่รู้จักเต็มด้วย สรรพสัตว์ฉะนั้น ๑

มหาสมุทรอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ใหญ่ ๆ เหมือนกับนิพพานอันเป็นที่อยู่ของผู้มีคุณใหญ่ คือผู้สิ้นกิเลสแล้วฉะนั้น ๑
มหาสมุทรย่อมเจือไปด้วยดอกไม้ คือ ลูกคลื่นหาประมาณมิได้เหมือนกับนิพพาน อันเต็มไปด้วยดอกไม้ คือวิชชา วิมุตติ อัน บริสุทธิ์หาประมาณมิได้ฉะนั้น ๑
ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่าโภชนะมีคุณ ๕ พอจะเทียบกับคุณแห่งนิพพานได้นั้น คือ อย่างไร

ขอถวายพระพร ธรรมดาโภชนะ ย่อมทรงไว้ซึ่งอายุ ทําให้เจริญกําลัง ทําให้เกิดวรรณะ ระงับความกระวนกระวาย กําจัดความหิว ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
เหมือนกับนิพพานอันทรงไว้ซึ่งอายุ ด้วยการกําจัดชรา มรณะเสีย ทําให้เจริญกําลังคือฤทธิ์ ให้เกิดวรรณะคือศีล ระงับความกระวนกระวายคือกิเลสทั้งปวง กําจัดซึ่งความหิวคือทุกข์ทั้งปวงฉะนั้น

ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่าอากาศมีคุณ ๑๐ พอจะเทียบกับนิพพานได้นั้น คืออย่างไร
ขอถวายพระพร คืออากาศไม่รู้จักเกิด ไม่รู้จักแก่ ไม่รู้จักตาย ไม่รู้จักเคลื่อน ไม่รู้จักปรากฏ กดขี่ไม่ได้ โจรขโมยไม่ได้ ไม่อิง อาศัยอะไร เป็นที่ไปแห่งนก ไม่มีเครื่องกั้นกาง ไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนกับนิพพานฉะนั้น
ข้าแต่พระนาคเสน ข้อที่ว่า แก้วมณีมีคุณ ๓ ซึ่งพอจะเทียบกันกับคุณแห่งนิพพาน ได้นั้น คืออย่างไร

ขอถวายพระพร คือแก้วมณี ให้สําเร็จความปรารถนา ๑ ทําให้ร่าเริงใจ ๑ ทําให้สว่าง ๑ ฉันใด นิพพานก็ให้สําเร็จความปรารถนา ทําให้ร่าเริงใจ ทําให้สว่างฉันนั้น
ข้าแต่พระนาคเสน ข้อที่ว่า จันทน์แดง มีคุณ ๓ พอจะเทียบกับนิพพานได้นั้น คือ อย่างไร
ขอถวายพระพร คือธรรมดาจันทน์แดง ย่อมเป็นของหาได้ยาก ๑ มีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นอื่นเสมอ ๑ และเป็นที่สรรเสริญแห่งคนทั้งหลาย ๑ ฉันใด นิพพานก็เป็นของหาได้ยาก มีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นอื่นเสมอ เป็นที่สรรเสริญแห่งพระอริยเจ้าทั้งหลายฉันนั้น

ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่าเนยใสมีคุณ ๓ พอจะเทียบกับคุณแห่งนิพพานได้นั้น คืออย่างไร
ขอถวายพระพร ธรรมดาเนยใส ย่อมมีสีดี มีรสดี มีกลิ่นดี ฉันใด นิพพานก็มีสี คือ คุณดี มีรสคือไม่รู้จักตาย มีกลิ่นคือศีลฉันนั้น
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ที่ว่ายอดคีรีมีคุณ ๕ พอจะเทียบกับคุณแห่งนิพพานได้นั้นคือ อย่างไร

ขอถวายพระพร คือยอดคีรีเป็นของสูง เป็นของไม่หวั่นไหว ขึ้นได้ยาก ไม่เป็นที่งอกงามแห่งพืชทั้งปวง พ้นจากการยินดียินร้าย เหมือน กับนิพพานฉันนั้น
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า การที่แก้มาแล้วนี้ เป็นการถูกต้องดีทั้งนั้น

◄ll กลับสู่สารบัญ




ปัญหาที่ ๖


ถามเรื่องการกระทําให้แจ้งนิพพาน

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามต่อไปว่า
ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า นิพพานไม่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไม่ใช่เกิดแล้ว ไม่ใช่ยังไม่เกิด ไม่ใช่ว่าจักเกิดก็ผู้ที่ปฏิบัติชอบย่อมได้สําเร็จนิพพานมีอยู่ ผู้นั้นสําเร็จนิพพานที่เกิดแล้ว หรือว่าทําให้นิพพานเกิดแล้วจึงสําเร็จ

พระนาคเสนตอบว่า
ขอถวายพระพร ไม่ใช่ว่าสําเร็จนิพพาน ที่เกิดแล้ว ไม่ใช่ว่าทําให้นิพพานเกิดแล้วจึงสําเร็จ เป็นแต่ว่านิพพานธาตุนั้นมีอยู่ ผู้ปฏิบัติชอบก็สําเร็จนิพพานธาตุนั้น
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า

ข้าแต่พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้า อย่าทําปัญหานี้ให้ปกปิดเลย จงแสดงออกให้แจ่มแจ้งเถิด สิ่งใดที่ผู้มีฉันทะอุตสาหะ ได้ศึกษาแล้วในเรื่องนิพพาน ขอจงบอกสิ่งนั้นทั้งสิ้น เพราะในเรื่องนิพพานนั้น ประชุมชนสงสัยกันอยู่มาก ขอจงทําลายความสงสัยอันเป็นเหมือนลูกศร ที่ฝังอยู่ในดวงใจของคน ทั้งหลายเถิด พระผู้เป็นเจ้า

สภาวะแดนนิพพาน

ขอถวายพระพร นิพพานธาตุ ธาตุคือ นิพพานอันสงบ อันเป็นสุข อันประณีตนั้นมีอยู่ ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อพิจารณาสังขารตามคําสอน ของพระพุทธเจ้า ก็กระทําให้แจ้งนิพพานธาตุ ด้วยปัญญา เหมือนกับศิษย์กระทําให้แจ้งวิชา ตามคําสอนของอาจารย์ด้วยปัญญาฉะนั้น

อันนิพพานนั้น บุคคลควรเห็นอย่างไร . . ควรเห็นว่า เป็นของไม่มีเสนียดจัญไร ไม่มี อุปัทวะ เป็นของสงบ ไม่มีภัย ปลอดภัย สุขสบาย น่ายินดี เป็นของประณีต เป็นของ สะอาด เป็นของเย็น

ขอถวายพระพร เรื่องนี้เปรียบเหมือน อะไร . . .เปรียบเหมือนบุรุษที่ถูกล้อมด้วยกองไฟ ใหญ่เบียดเบียน ก็พยายามหนีจากกองไฟใหญ่ ไปอยู่ในที่ไม่มีภัย แล้วเขาก็ได้สุขยิ่งฉันใด ผู้ปฏิบัติชอบ เร่าร้อนด้วยไฟ ๓ กอง ก็หนีจากไฟ ๓ กอง ด้วยโยนิโสมนสิการ ( ทําจิตไว้ด้วยอุบายอันชอบธรรม) เข้าไปอยู่ ในที่ไม่มีไฟ ๓ กอง แล้วเขาก็กระทําให้แจ้งนิพพาน อันเป็นเอกันตบรมสุขฉันนั้น

ควรเห็นไฟ ๓ กองเหมือนกับกองไฟใหญ่ ควรเห็นผู้ปฏิบัติชอบ เหมือนกับผู้หนี กองไฟใหญ่ ควรเห็นนิพพานเหมือนที่ไม่มี กองไฟใหญ่ฉะนั้น
อีกประการหนึ่ง บุรุษผู้มีซากศพงู หรือซากสุนัข หรือซากมนุษย์ ผูกติดคอแล้ว พยายามสลัดซากศพนั้น ไปสู่ที่ไม่มีซากศพ แล้วเขาก็ได้ความสุขอย่างยิ่งฉันใด ผู้ปฏิบัติชอบก็กระทําให้แจ้งนิพพาน อันเป็นบรมสุข อันไม่มีซากศพคือกิเลส ด้วยโยนิโสมนสิการ ฉันนั้น

ควรเห็นกามคุณ ๕ เหมือนซากศพ ควรเห็นผู้ปฏิบัติชอบ เหมือนผู้พยายามหนี ซากศพ ควรเห็นนิพพานเหมือนที่ไม่มีซากศพ ฉะนั้น
อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้กลัวภัย ย่อมพยายามหนีจากที่มีภัย ไปสู่ที่ไม่มีภัย แล้วเขาก็ได้ความสุขอย่างยิ่งฉันใด ผู้ปฏิบัติชอบ ก็กระทําให้แจ้งนิพพานอันเป็นบรมสุข อันไม่มีภัย ไม่มีความสะดุ้ง ด้วยโยนิโสมนสิการนั้น

ควรเห็นภัยอันมีเรื่อยไป เพราะอาศัยความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกับภัย ควร เห็นผู้ปฏิบัติชอบเหมือนกับผู้กลัวภัย ควรเห็นนิพพานเหมือนที่ไม่มีภัยฉะนั้น
อนึ่ง บุรุษผู้ตกเลนตกหล่ม ย่อมพยายามหนีจากเลนจากหล่ม ไปสู่ที่ไม่มีเลนไม่มีหล่ม แล้วเขาก็ได้ความสุขยิ่งฉันใด

ผู้ปฏิบัติชอบก็ได้สําเร็จนิพพานอันเป็นสุขยิ่ง อันไม่มีเลนไม่มีหล่มคือกิเลส ด้วยโยนิโสมนสิการฉันนั้น
ควรเห็นลาภสักการะสรรเสริญ เหมือน เลนเหมือนหล่ม ผู้ปฏิบัติชอบเหมือนผู้พยายาม หนีเลนหนีหล่ม นิพพานเหมือนที่ไม่มีเลน มีหล่มฉะนั้น

วิธีกระทําให้แจ้งนิพพาน

ข้าแต่พระนาคเสน นิพพานนั้น บุคคลกระทําให้แจ้งว่าอย่างไร
ขอถวายพระพร ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเห็นความเป็นไปแห่ง สังขารทั้งหลาย ผู้เห็นความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมเห็นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในสังขาร แล้วก็ไม่เห็นสิ่งใด ๆ ในสังขารว่าเป็นสุข ทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ไม่เห็นอะไรในร่างกายที่จะควรยึดถือไว้

เหมือนกับบุรุษที่ไม่เห็นสิ่งใดในเหล็กแดง ที่ตนควรจะจับ ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ฉะนั้น
เมื่อเห็นสังขารอันเป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดถือ ความไม่ยินดีก็เกิดขึ้นในจิต ความเร่าร้อน ก็ย่างลงในกาย ผู้นั้นเมื่อเห็นว่า ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่หลบหลีก ก็เบื่อหน่ายในภพ ทั้งหลาย

เปรียบเหมือนบุรุษเข้าไปสู่กองไฟใหญ่ เห็นว่าไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย ก็เบื่อหน่ายกองไฟฉะนั้น
ผู้ที่เห็นว่าน่ากลัวในสังขาร ก็คิดขึ้นได้ว่า สังขารที่เป็นไปนี้เป็นของเร่าร้อน แล้วก็เห็น ความทุกข์มากความคับแค้นมาก ในภพทั้งหลาย เห็นความดับสังขารทั้งปวง ความสละกิเลสทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายตัณหา ความดับตัณหา นิพพาน คือความไม่มีตัณหา ว่าเป็นความสงบอย่างยิ่ง

เมื่อเป็นอย่างนั้น จิตของผู้นั้นก็แล่นไป ในความไม่เป็นไปแห่งสังขาร แล้วจิตใจก็ผ่องใส ร่าเริง ยินดีว่าเราได้ที่พึ่งแล้ว เปรียบเหมือน บุรุษที่หลงทาง ไปพบทางเกวียนที่จะพาตนไปถึงที่ประสงค์ จิตก็แล่นไปในทางนั้น แล้วก็ สบายใจว่า เราได้ทางแล้วฉะนั้น
ผู้เล็งเห็นความไม่เป็นไปแห่งสังขารว่า เป็นของหมดทุกข์ทั้งสิ้น แล้วก็อบรมความรู้ ความเห็นนั้นให้แรงกล้าเต็มที่ แล้วก็ตั้งสติ วิริยะ ปีติ ไว้ในความไม่เป็นไปแห่งสังขาร จิตของผู้นั้นก็ล่วงเลยความเป็นไปแห่งสังขาร ไปถึงความไม่เป็นไปแห่งสังขาร

ผู้ไปถึงความไม่เป็นไปแห่งสังขารแล้ว เรียกว่า ผู้ปฏิบัติชอบ กระทําให้แจ้ง นิพพาน ดังนี้แหละ ขอถวายพระพร
ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน

◄ll กลับสู่สารบัญ




ตอนที่ ๓๒


ปัญหาที่ ๗


ถามถึงที่ตั้งนิพพาน

“ข้าแต่พระนาคเสน ที่ทางบูรพาหรือทางทักษิณ ทางปัจฉิมหรือทางอุดร ทางเบื้องบน ทางเบื้องต่ำ ทางขวาง ที่นิพพานตั้งอยู่ มีอยู่ หรือไม่?”
“ไม่มี มหาบพิตร”

พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าที่นิพพานตั้งอยู่ไม่มี นิพพานก็ไม่มี ข้อที่ว่าการกระทําให้แจ้งนิพพานก็ผิด ในเรื่องนี้โยมขออ้างเหตุว่า นาเป็นที่ตั้งแห่งข้าว ดอกไม้เป็นที่ตั้งแห่งกลิ่น กอไม้เป็นที่ตั้งแห่งดอกไม้ ต้นไม้เป็นที่ตั้งแห่งผลไม้ บ่อแก้วเป็นที่ตั้งแห่งแก้ว ผู้ต้องการสิ่งใด ๆ ในสิ่งนั้น ไปที่นั้นแล้วก็ได้สิ่งนั้น ๆ ฉันใด
ถ้านิพพานมี ที่ตั้งแห่งนิพพานก็ควรมี ฉันนั้น เพราะที่ตั้งแห่งนิพพานไม่มี โยมจึงว่านิพพานไม่มี คําที่ว่ากระทําให้แจ้งนิพพานนั้นก็ผิดไป”

พระนาคเสนตอบว่า
“ขอถวายพระพร ที่ตั้งแห่งนิพพานไม่มี แต่นิพพานมี ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย ด้วยโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กระทําให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ไฟมีอยู่ แต่ที่ตั้งแห่งไฟไม่มี เมื่อบุคคล เอาไม้ ๒ อันมาสีกันเข้าก็ได้ไฟฉันใด นิพพานก็มีอยู่ แต่ว่าที่ตั้งนิพพานไม่มี เมื่อผู้ปฏิบัติชอบ เล็งเห็นความตั้งขึ้น และเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย ด้วยโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กระทําให้ แจ้งนิพพานฉันนั้น

อีกอย่างหนึ่ง แก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้วมีอยู่ แต่ที่ตั้งแห่ง แก้ว ๗ ประการนั้นไม่มี กษัตริย์ผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมได้แก้ว ๗ ประการนี้ ด้วยผลแห่งการ ปฏิบัติฉันใด
นิพพานก็มีอยู่ แต่ที่ตั้งนิพพานไม่มี เมื่อผู้ปฏิบัติชอบ เล็งเห็นความสิ้นความเสื่อม แห่งสังขารทั้งหลาย ด้วยโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กระทําให้แจ้งนิพพานฉันนั้น”

“ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าที่ตั้งนิพพานไม่มี ผู้ปฏิบัติชอบตั้งอยู่ในที่ใด จึงกระทําให้แจ้งนิพพาน ที่นั้นมีอยู่หรือ?”
“ขอถวายพระพร มีอยู่”
“มีอยู่อย่างไร โยมขอฟัง?”

“ขอถวายพระพร มีอยู่อย่างนี้ คือที่ตั้งนั้นได้แก่ศีล ผู้ตั้งอยู่ในศีล ผู้มีโยนิโสมนสิการ คือตั้งใจไว้ด้วยอุบายที่ฉลาด ผู้ปฏิบัติชอบ ไม่ว่าอยู่ในที่ใด ๆ จะเป็นป่าสักกายวัน หรือ จีนวิลาตวัน อลสันทนคร นิกุมพนคร กาสีโกศลนคร กัสมิรนคร คันธารนคร ยอดภูเขา พรหมโลกก็ตาม ก็กระทําให้แจ้ง นิพพานได้ทั้งนั้น ขอถวายพระพร”

“เป็นอันถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้แสดงนิพพานไว้แล้ว ได้แสดงการกระทําให้แจ้งนิพพานไว้แล้ว ได้ยกธงชัย คือพระธรรมขึ้นไว้แล้ว ได้ตั้งเครื่องนําพระธรรมไว้แล้ว โยมขอรับว่าถูกต้องดี”

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 22/12/10 at 14:53 Reply With Quote



ปัญหาที่ ๘
ถามเรื่องสิ่งที่ควรรู้ด้วยอนุมาน


ลําดับนั้น พระเจ้ามิลินท์ผู้ตั้งอยู่ในสาราณียธรรม (ข้อปฏิบัติที่ทําให้ระลึกถึงกัน) กับผู้เป็นปราชญ์ด้วยกันแล้ว มีพระราชประสงค์จะทรงทราบ ทรงสดับ ทรงจําไว้ ทรงเห็น แสงสว่างแห่งญาณ ทรงทําลายความไม่มีญาณ ทรงทําให้ญาณเกิดขึ้น ทําให้อวิชชาหมดไป

ก้าวล่วงเสียซึ่งกระแสสงสาร ตัดเสียซึ่งกระแสตัณหา ทรงปรารถนาจะถึงนิพพาน จะถูกต้องนิพพาน จึงทรงปลุกฉันทะความพอใจ ความเพียร ปัญญา อุตสาหะ ตั้งสติสัมปชัญญะให้แรงขึ้นเต็มที่ แล้วจึงถามพระนาคเสนเถระต่อไปว่า

“ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้เห็น พระพุทธเจ้าหรือไม่?”
“ขอถวายพระพร ไม่ได้เห็น”
“ก็อาจารย์ของพระผู้เป็นเจ้าได้เห็นหรือไม่?”
“ขอถวายพระพร ไม่ได้เห็น”

“ถ้าพระผู้เป็นเจ้าไม่เห็น อาจารย์ก็ไม่เห็น พระพุทธเจ้าก็เป็นอันไม่มี”
“ขอถวายพระพร กษัตริย์ทั้งหลายในปางก่อน ที่เป็นต้นวงศ์กษัตริย์มีอยู่หรือไม่?”
“มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้ทรงเห็น หรือไม่?”

“ไม่เห็น พระผู้เป็นเจ้า”
“พวกปุโรหิต เสนาบดี มหาอํามาตย์ ราชบริพารของมหาบพิตร ได้เห็นหรือไม่?”
“ไม่ได้เห็น พระผู้เป็นเจ้า”
“ขอถวายพระพร ถ้าไม่มีผู้ได้เห็น กษัตริย์ ก่อน ๆ ก็ต้องไม่มี”

“มี พระผู้เป็นเจ้า เพราะเครื่องราชูปโภคของกษัตริย์ก่อน ๆ มีอยู่ คือเศวตฉัตร พระมงกุฏ พัดวาลวิชนี ที่บรรทม พระขรรค์แก้ว อันทําให้โยมเชื่อว่ากษัตริย์ก่อน ๆ มีอยู่”

“ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ธรรม พุทธบริโภคของพระพุทธเจ้ามีอยู่ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ซึ่งทําให้รู้ว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่
พระพุทธเจ้านั้น บุคคลควรรู้ว่ามีอยู่ด้วย เหตุอันนี้ ด้วยปัจจัยอันนี้ ด้วยนัยอันนี้ ด้วยอนุมานอันนี้”

“ข้าแต่พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมา”
“ขอถวายพระพร นายช่างผู้จะสร้างพระนคร ย่อมพิจารณาภูมิประเทศเสียก่อน เห็นว่าที่ใดเป็นที่เสมอ ไม่ลุ่มไม่ดอน ไม่มีหิน มีกรวด ไม่มีเครื่องรบกวน ไม่มีโทษ เป็นที่น่ายินดี แล้วจึงทําพื้นที่นั้นให้ราบคาบ เพื่อให้ปราศจากเสี้ยนหนามหลักตอ แล้วจึงสร้างพระนคร อันสวยงามลงในที่นั้น

การสร้างพระนครนั้น ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ มีคูและกําแพงล้อมรอบ มีป้อมประตู มั่นคง มีถนน ๔ แพร่ง ๓ แพร่ง มีถนนหลวง อันมีพื้นสะอาดเสมอดี มีตลาดค้าขาย มีสวน ดอกไม้ผลไม้ บ่อน้ำ สระน้ำ ท่าน้ำ ไว้เป็นอันดี เมื่อพระนครนั้นสําเร็จพร้อมทุกประการแล้ว นายช่างก็ไปสู่ที่อื่น

ต่อมาภายหลัง พระนครนั้นก็เจริญกว้างขวางขึ้น บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร เกษมสุขสําราญ มีผู้คนเกลื่อนกล่นมากไป ด้วยกษัตริย์ พราหมณ์ เวศย์ ศูทร นายช้าง นายม้า นายรถ พลเดินเท้า นายขมังธนู หมู่บัณเฑาก์และกะเทย ลูกอํามาตย์ ลูกหลวง พลโยธาที่แกล้วกล้าสามารถ ลูกทาส ลูกคน รับจ้าง พวกนักมวย

ช่างต่าง ๆ ช่างตัดผม ช่างทําผง ช่างดอกไม้ ช่างทอง ช่างเงิน ช่างดีบุก ช่างทองเหลือง ทองแดง ช่างเหล็ก ช่างแก้ว ช่างไม้ถือ ช่างไม้ค้อน ช่างเกราะ ช่างตุ้มหู ช่างเจียระไน ช่างขัดเกลา ช่างทําเงินมาสก

ช่างหูก ช่างหม้อ ช่างคทา ช่างหอก ช่างแกะ ช่างหนัง ช่างเชือก ช่างทําฟัน ช่างหวี
ช่างด้าย ช่างหญ้า ช่างทราย ช่างดินเหนียว ช่างดาบ ช่างหอก ช่างหลาว ช่างเกาทัณฑ์ ช่างผ้ากัมพล ช่างดอกไม้ เป็นต้น


ช่างผู้ฉลาดได้สร้างเมืองไว้อย่างนี้ฉันใด พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ ผู้ล้ำเลิศ ผู้ไม่มีใครเหมือน ผู้ชั่งพระคุณไม่ได้ ผู้นับพระคุณไม่ได้ ผู้ประมาณพระคุณไม่ได้ ผู้บริสุทธ์ด้วยพระคุณ ผู้มีพระปรีชา พระเดช พระกําลัง พระวิริยะ หาที่สุดมิได้

ผู้ถึงความสําเร็จแห่งกําลังของพระพุทธเจ้า ทรงทําลายมารพร้อมทั้งเสนา ทําลายข่าย คือทิฏฐิ ทําลายอวิชชา ทําให้วิชชาเกิด ทรงไว้ซึ่งพระธรรมจักร สําเร็จพระสัพพัญญุตญาณ ชนะสงครามทั้งสิ้นแล้ว ก็ได้ทรงสร้างธรรมนคร ไว้ฉันนั้น

ธรรมดานครของพระพุทธเจ้านั้น มีศีลเป็นกําแพง มีหิริเป็นคูน้ำรอบ มีสติเป็นนาย ประตู มีพระปรีชาญาณเป็นซุ้มประตู มีพระวินัยเป็นป้อม มีศรัทธาเป็นเสาระเนียด มีปัญญาเป็นปราสาท มีพระสูตรเป็นทางไปมา มีพระอภิธรรมเป็นทาง ๓ แพร่ง ๔ แพร่ง มีพระวิริยะเป็นโรงวินิจฉัย

มีสติปัฏฐานเป็นวิถี สองข้างวิถีคือ สติปัฏฐานนั้น เต็มไปด้วยตลาดดอกไม้ ตลาดของหอม ตลาดผลไม้ ตลาดยาแก้ยาพิษ ตลาดยาทั่วไป ตลาดยาอมฤต ตลาดรัตนะ ตลาดสิ่งทั้งปวง”

“ข้าแต่พระนาคเสน ตลาดของพระ พุทธเจ้าเหล่านั้น ตลาดดอกไม้ ได้แก่อะไร”
“ขอถวายพระพร ตลาดดอกไม้ ได้แก่ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา อัฏฐิกสัญญา ปุฬุวกสัญญา วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา วิปุพพกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา วิกขายิตกสัญญา หตวิกขิตตกสัญญา โลหิตกสัญญา อานาปานสติ มรณสติ กายคตาสติ

เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง การจําแนกอารมณ์เหล่านี้ไว้แล้ว ผู้อยากพ้น จากชรามรณะ ก็ถือเอาอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ในอารมณ์เหล่านี้ แล้วก็จะพ้นจากราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ข้ามสงสารไปได้ กั้นกระแสตัณหาได้ ตัดความสงสัยได้ ฆ่ากิเลสทั้งปวงได้
แล้วเข้าไปสู่พระนครคือ นิพพาน อันไม่มัวหมอง ไม่มีธุลี เป็นของบริสุทธิ์ เป็นของขาว เป็นของไม่รู้เกิด ไม่รู้แก่ ไม่รู้ตาย เป็นสุข เป็นเมืองเย็น เป็นเมืองไม่มีภัย เป็นเมืองอันสูงสุด

เป็นอันว่า บุคคลถือเอาทรัพย์อันเป็น มูลค่าเข้าไปสู่ตลาด ซื้อเอาดอกไม้ คืออารมณ์ เหล่านั้นแล้วก็พ้นจากทุกข์ ขอถวายพระพร”
“สมควรแท้ พระนาคเสน”

“ข้าแต่พระนาคเสน แล้วก็ ตลาดของหอม ของพระพุทธเจ้านั้นได้แก่สิ่งใด?”
“ขอถวายพระพร ได้แก่ ศีล คือพระ พุทธเจ้าได้ทรงจําแนกศีล อันมีกลิ่นหอมไป ทั่วทิศทั้งปวงไว้เป็นหลายประเภท มีพระไตรสรณคมน์เป็นเบื้องต้น และศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลอันนับเข้าในอุเทส ๕ ศีลอันนับเข้าใน พระปาฏิโมกข์ อันนี้แหละเป็นตลาดของหอม ของพระพุทธเจ้า

ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระชินสีห์ตรัสไว้ว่า
"กลิ่นดอกไม้ กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา กลิ่นดอกมะลิ ย่อมทวนลมไปไม่ได้ ส่วนกลิ่นของสัปปุรุษทั้งหลาย ย่อมหอมทวนลม ไปได้

สัปปุรุษย่อมมีกลิ่นหอมไปตลอดทิศ ทั้งปวง กลิ่นศีล เยี่ยมกว่ากลิ่นจันทน์ กลิ่น กฤษณา กลิ่นดอกอุบล เพราะกลิ่นของหอม เหล่านี้มีประมาณเล็กน้อย ส่วนกลิ่นของ ผู้มีศีลทั้งหลาย ย่อมหอมฟุ้งขึ้นไปถึงเทวโลก ดังนี้ ขอถวายพระพร”
“ชอบแล้ว พระนาคเสน”

“ข้าแต่พระนาคเสน ตลาดผลไม้ ของพระพุทธเจ้าได้แก่อะไร?”
“ขอถวายพระพร ได้แก่ โลกุตตรผล ที่สูงขึ้นไปกว่ากันเป็นชั้น ๆ คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามีผล อนาคามีผล อรหัตตผล สุญญตผลสมาบัติ อนิมิตตผลสมาบัติ อัปปณิหิตผลสมาบัติ อเนญชผลสมาบัติ อุเบกขาผลสมาบัติ
ผู้ใดต้องการผลใด ๆ ถือเอามูลค่าแล้ว ก็ซื้อเอาผลนั้น ๆ ได้ตามต้องการ เหมือนกับ ผู้ต้องการผลมะม่วงชนิดใด ๆ ก็ซื้อเอาผลอัน ไม่รู้จักตายของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เป็นสุข ตลอดไป ขอถวายพระพร”
“ข้อนี้ก็ชอบแล้ว พระนาคเสน”

“ข้าแต่พระนาคเสน ตลาดยาแก้พิษงู ของพระพุทธเจ้านั้น ได้แก่อะไร?”
“ขอถวายพระพรได้แก่ อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เพราะผู้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง มีความเกิดเป็นทุกข์ เป็นต้น เป็นอันว่าบุคคลเหล่าใด ถูกพิษงูแล้ว ดื่มยาแก้พิษงูของพระพุทธเจ้า คือพระธรรม บุคคลเหล่านั้นก็สิ้นพิษงู ขอถวายพระพร”
“ข้อนี้ก็ชอบแล้ว พระนาคเสน”

“ข้าแต่พระนาคเสน ตลาดยาแก้เจ็บไข้ทั่วไป ของพระพุทธเจ้านั้น ได้แก่อะไร?”
“ขอถวายพระพร ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ยาอื่นที่มีดาษดื่นอยู่ในโลกเสมอด้วยยา คือพระธรรมของพระพุทธเจ้าไม่มี

พระพุทธเจ้าได้ทรงตั้งตลาดยาไว้อย่างนี้แล้ว ผู้ที่ได้ดื่มยาของพระพุทธเจ้านั้น ก็เป็นสุข มหาบพิตร เคยได้สดับหรือไม่ว่า มีผู้ทูลถาม ตามลัทธิของตน พระพุทธเจ้าก็ทรงแก้ได้สิ้น?”

“เคยได้สดับ พระผู้เป็นเจ้า”
“ขอถวายพระพร เทพยดามนุษย์ที่ได้ สดับการแก้ปัญหาของพระพุทธเจ้าแล้วได้
ดื่มโอสถคือพระธรรมแล้ว ก็ไม่แก่ไม่ตาย ได้ถูกต้องนิพพานแล้ว ก็ดับทุกข์ร้อนทั้งปวง ขอถวายพระพร”

“ข้อนี้ก็ชอบแล้ว พระนาคเสน”

“ข้าแต่พระนาคเสน ตลาดยาอมฤต ของพระพุทธเจ้านั้น ได้แก่อะไร?”
“ขอถวายพระพร ได้แก่ กายคตาสติ ที่เทพยดามนุษย์ได้ดื่มแล้ว ก็หลุดพ้นจาก การเกิด แก่ ตาย โศกเศร้า รําพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ ทั้งสิ้น เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงเห็นประชุมชนเกิดโรคต่างๆ จึงได้ทรงตั้งตลาดยาอมฤต คือไม่รู้จักตายไว้ ขอถวายพระพร”
“ข้อนี้ก็สมควรแล้ว พระนาคเสน”

“ข้าแต่พระนาคเสน ตลาดรัตนะ ของพระพุทธเจ้านั้น ได้แก่อะไร?”
“ขอถวายพระพร ได้แก่ ศีลรัตนะ สมาธิรัตนะ ปัญญารัตนะ วิมุตติรัตนะ วิมุตติญาณทัสสนรัตนะ ปฏิสัมภิทารัตนะ โพชฌงครัตนะอันทําให้โลกทั้งสิ้นสว่างไสว
ศีลรัตนะนั้นได้แก่อะไร ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสิตศีล จูฬศีล มัชฌิมศีล มหาศีล มรรคศีล ผลศีล

สมาธิรัตนะ นั้นได้แก่ สมาธิอันมีทั้ง วิตกวิจาร ๑ สมาธิอันไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ๑ สมาธิอันไม่มีทั้งวิตกวิจาร ๑ สุญญตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑ อัปปณิหิตสมาธิ ๑
ภิกษุได้แก้วคือสมาธินี้แล้ว ย่อมกําจัด กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เสียได้ กําจัดมานะ อุทธัจจะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา กิเลส ทั้งปวงเสียได้ สิ่งเหล่านั้นไม่ติดค้างอยู่ในใจ เหมือนกับน้ำไม่ติดอยู่ที่ใบบัวฉะนั้น

ปัญญารัตนะนั้นได้แก่ การรู้ตามเป็นจริงซึ่งสิ่งที่เป็นกุศล เป็นอกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ ควรประพฤติ ไม่ควรประพฤติ เลว ดี ดํา ขาว ทั้งดํา ทั้งขาว ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ผู้ที่ได้แก้วคือปัญญาแล้ว ย่อมไม่ติดอยู่ ในภพ ไม่ยินดีในภพ ย่อมได้ถูกต้องสิ่งที่ไม่รู้จักตายโดยเร็วพลัน

วิมุตติรัตนะ ได้แก่ความเป็นพระอรหันต์ อันหลุดพ้นจากสิ่งทั้งปวง
วิมุตติญาณทัสสนรัตนะ ได้แก่การพิจารณาเห็นซึ่งความหลุดพ้นจากกิเลส
ปฏิสัมภิทารัตนะได้แก่ อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา อันทําให้แกล้วกล้าใน ที่ทั้งปวง
โพชฌงครัตนะได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ขอถวายพระพร”

“ข้าแต่พระนาคเสน ตลาดสิ่งทั้งปวง ของพระพุทธเจ้านั้น ได้แก่อะไร?”
“ขอถวายพระพร ได้แก่พระพุทธวจนะ อันประกอบด้วยองค์ ๙ และพระบรมสารีริกธาตุ บริโภคเจดีย์ พระสังฆรัตนะ ชาติสมบัติ โภคสมบัติ อายุสมบัติ อาโรคยสมบัติ วัณณสมบัติ ปัญญาสมบัติ ญาณสมบัติ มานุสิกสมบัติ ทิพยสมบัติ นิพพานสมบัติ มีอยู่ในตลาดนี้ทั้งสิ้น
บุคคลย่อมซื้อเอาได้ด้วยทรัพย์คือศรัทธา ผู้ซื้อเอาสมบัติเหล่านี้ ได้ด้วยทรัพย์คือศรัทธา ก็มีความสุขตลอดไป

อุปมาธรรมนคร

ขอถวายพระพร ในธรรมนครของพระพุทธเจ้านั้น มีแต่บุคคลผู้วิเศษทั้งนั้น คือ มีแต่พระธรรมกถึก พระวินัยธร พระผู้ทรง พระสูตร พระผู้ทรงพระอภิธรรม พระผู้ทรงชาดก พระผู้ทรงนิกายทั้ง ๕ พระผู้สมบูรณ์ ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ยินดีในโพชฌงคภาวนา เป็นพระวิปัสสนา

เป็นผู้ประกอบประโยชน์ของตน และผู้อยู่ในป่าช้า ผู้อยู่ตามลอมฟาง ผู้ถือธุดงค์ต่าง ๆ ผู้ได้สําเร็จมรรคผลคุณวิเศษต่าง ๆ ทั้งนั้น ผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีอาสวะ ไม่มีตัณหา ไม่มีอุปาทาน ย่อมอยู่ในธรรมนคร

ผู้ไกลจากกิเลส ผู้พ้นจากกิเลส ผู้เจริญฌาน ผู้มีเครื่องนุ่งห่มเศร้าหมอง ผู้ยินดีอยู่ในป่าก็มี อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น ผู้ไม่นอนได้แต่นั่ง ผู้อยู่ในป่าช้า ผู้มีแต่ยืนกับเดิน ผู้ใช้ผ้าบังสุกุล ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น ผู้ใช้เฉพาะไตรจีวร มีพระธรรมขันธ์เป็นที่ ๔ ผู้ยินดีในอาสนะเดียว ผู้รู้แจ้ง ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น

ผู้ยินดีในฌาน ผู้มีจิตสงบ ผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้ปรารถนาความไม่มีสิ่งใด ก็อยู่ในธรรมนคร ทั้งนั้น ผู้ได้มรรคผล ผู้ยังศึกษาอยู่ ผู้ยังหวังผลสูงสุดอยู่ ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น ผู้เป็น พระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ผู้ยินดีในโพชฌงคภาวนา ผู้เห็นแจ้งธรรมต่างๆ ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น

ผู้ฉลาดในอิทธิบาท ยินดีในสมาธิภาวนา ประกอบสัมมัปปธานเนือง ๆ ก็อยู่ในธรรมนคร ทั้งนั้น ผู้สําเร็จอภิญญา ผู้ยินดีในปีติ และโคจรผู้เที่ยวไปในอากาศ ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น ผู้ทอดจักษุลงเบื้องต่ำ ผู้พูดน้อย ผู้สํารวมรักษาทวาร ผู้ฝึกตนดี ผู้มีธรรมสูงสุด ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น ผู้สําเร็จวิชชา ๓ อภิญญา ๖ อิทธิฤทธิ์ ปัญญา ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น

ขอถวายพระพร พระภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงญาณอันประเสริญหาประมาณมิได้ ผู้ไม่มีเครื่องข้อง ผู้มีคุณชั่งไม่ได้ ผู้ทรงไว้ซึ่งคุณและยศ ผู้ทรงสิริ ผู้ทรงกําจัด ผู้ทรงเชาว์ ผู้ทรงฤทธิ์ ผู้ทรงแสงสว่าง ผู้ทรงมติ ผู้ทรงวิมุตติ ผู้ทรงธรรม ผู้ทรงพระธรรมจักร ผู้สําเร็จปัญญา เรียกว่า ”เป็นธรรมเสนาบดี”ในธรรมนคร

พระภิกษุทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์ ผู้ได้ปฏิสัมภิทา ผู้มีเวสารัชชญาณ ผู้ทรงไว้ซึ่งคุณ ผู้เข้าใกล้ได้ยาก ผู้เที่ยวไปไม่มีห่วง ผู้ทําแผ่นดินให้ไหว ลูบคลําดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ได้ ผู้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆได้ เรียกว่า ”ธรรมปุโรหิต” ในธรรมนคร

พวกประพฤติธุดงค์ พวกมักน้อย พวกสันโดษ พวกเกลียดการแสวงหาที่ไม่ชอบธรรม พวกถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นกิจวัตร ผู้เกลียดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ผู้อยู่ในที่สงัด ผู้ไม่ห่วงใยในกายและชีวิต ผู้ถึงพระอรหันต์ ผู้ไม่ทิ้งธุดงค์ เรียกว่า ”ธัมมักขทัสสนา” คือเป็นผู้ว่ากล่าวผู้น้อยผู้ใหญ่ อยู่ในธรรมนคร

ผู้บริสุทธิ์ ผู้ฉลาดในการตายการเกิด ผู้ได้ทิพจักขุ เรียกว่า ”พวกโชตกา” คือพวกนั่งยามตามไฟ ตรวจตราไปในธรรมนคร

พวกเป็นพหูสูตร มีอาคม ทรงธรรมวินัย ทรงมาติกา ฉลาดในอักขระน้อยใหญ่ และเสียงหนัก เสียงเบา เสียงยาว เสียงสั้น ผู้ทรงไว้ซึ่งศาสนาประกอบด้วยองค์ ๙ เรียกว่า ”ธรรมรักขา” คือผู้รักษาธรรมในธรรมนคร

ผู้แตกฉานในพระธรรมวินัย เรียกว่า ”รูปทักขา” คือเป็นคนทายลักษณะในธรรมนคร
ผู้สําเร็จอริยสัจ ๔ เรียกว่า ”ผลาปณิกา” คือชาวร้านขายดอกไม้ในธรรมนคร
ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เรียกว่า ”คันธาปณิกา” คือชาวร้านขายของหอมในธรรมนคร

ผู้ยินดีในพระธรรม ผู้ถือธุดงค์ ผู้มั่น ในกถาวัตถุ ๑๐ เรียกว่า ”นักดื่ม” ในธรรมนคร
ผู้ประกอบความเพียรเพื่อป้องกันกิเลส เรียกว่า ”ผู้รักษานคร” ในธรรมนคร
ผู้บอกกล่าวสั่งสอนซึ่งธรรม เรียกว่า ”ธัมมาปณิก”

ผู้ออกตลาดพระธรรมในธรรมนคร ผู้กินพระธรรม ทรงไว้ซึ่งพระธรรมคําสอนมาก ผู้แทงตลอดซึ่งลักษณะแห่งสระ พยัญชนะ ในพระธรรม ผู้รู้แจ้งพระธรรม เรียกว่า ”ธรรมเศรษฐี” ในธรรมนคร
ผู้แทงตลอดซึ่งการแสดงธรรมอย่างสูง ผู้สะสม ผู้แจก ผู้แสดงออกซึ่งอารมณ์ ผู้สําเร็จคุณคือการศึกษา เรียกว่า ”อิสสรธัมมิกา” คือเป็นอาลักษณ์และราชบัณฑิตในธรรมนคร

เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงสร้างธรรมนครไว้ดีอย่างนี้แล้ว จึงทําให้รู้ได้ว่า พระพุทธเจ้านั้นมีอยู่ เหมือนกับเมื่อเห็นนครมีอยู่ ก็ต้องรู้ว่านายช่างผู้สร้างนครก็ต้องมีอยู่ฉะนั้น ขอถวายพระพร”
“ข้าแต่พระนาคเสน พระภิกษุทั้งหลาย ผู้มีกําลังปัญญาดีอย่างพระผู้เป็นเจ้า อาจสร้างธรรมนครได้ แต่ยังเชื่อได้ยากว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่ ขอจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นไป”

อุปมาลูกคลื่นในมหาสมุทร

“ขอถวายพระพร มหาสมุทรย่อมลึกตามลําดับ ทรงไว้ซึ่งทรายหาประมาณมิได้ เกลื่อนกล่นไปด้วยปลาติมิติ ปลามิงคละ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งนาค ครุฑ และผีเสื้อน้ำ เป็นต้น เมื่อมีปลาใหญ่จะแสดงกําลังของตนก็ผุดขึ้นมาทําให้มหาสมุทรตีฟองนองละลอก คนได้เห็นแล้วก็รู้ได้ด้วยอนุมานว่า มีปลาใหญ่ อยู่ในมหาสมุทรนี้ฉันใด

มหาสมุทรคือโลกนี้ ก็ลึกไปตามลําดับ เป็นที่ขังน้ำ คือราคะ โทสะ โมหะ หาประมาณมิได้ เกลื่อนกล่นด้วยพาลปุถุชน แออัดรกรุงรัง ด้วยกิเลส ล้อมไว้ด้วยข่ายคือทิฏฐิ เป็นที่ไหลไปแห่งกระแสน้ำคือตัณหา สล้างสลอนด้วยธงชัยคือมานะ เร่าร้อนด้วยไฟ ๓ กอง มืดด้วยความไม่รู้ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งคนดี คนชั่วทั้งสิ้น มีกษัตริย์ พราหมณ์ เวศย์ ศูทร อาชีวก ปัณฑรังค์ ปริพาชก นิครนถ์ และต่างๆหาประมาณมิได้

พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกแล้ว ก็ทําให้โลกสะเทื้อนสะท้านด้วยลูกคลื่น คือพระธรรม เปลื้องสัตว์ทั้งหลายให้พ้นภัยพ้นจากทุคติทั้งปวง ประทานความไม่มีภัย ความไม่รู้จักตาย และยาแก้พิษ ยาแก้โรคต่าง ๆ ทําให้โลกไปถึงที่ ปลอดภัย ทําให้โลกไม่มีมลทิน ปราศจากมลทิน ทําให้โลกขาว ฝึกโลก ทําให้โลกสงบ ทําให้โลกตั้งอยู่ในปฏิสัมภิทาทั้งปวง ตลอดถึงหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ ทรงแสดงลูกคลื่น คือพระธรรมว่า อันนี้เป็นทุกขอริยสัจ

ผู้ได้เห็นลูกคลื่นคือพระธรรมแล้ว ได้สําเร็จโสดาปัตติผลก็มี สําเร็จสกิทาคามีผลก็มี สําเร็จอนาคามีผลก็มี สําเร็จอรหัตตผลก็มี ถือศีลก็มี เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็มี ได้เพียงศรัทธาเลื่อมใสก็มี เหมือนครั้งพระพุทธเจ้า ทรงแสดงทุกขสัจ ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในดาวดึงส์สวรรค์ฉะนั้น

คือในคราวนั้น ด้วยกําลังลูกคลื่น คือ พระธรรมของพระพุทธเจ้า ได้มีเทวดาถึง ๘๐ โกฏิ ได้ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีมลทินว่า ”สิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาทั้งมวล ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดาทั้งนั้น”

พวกใดได้เห็นลูกคลื่น คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ถึงซึ่งความตกลงใจ พวกนั้นย่อมได้คุณวิเศษยิ่งอย่างนั้น
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดง สมุทัยสัจ ก็ทําให้โลกนี้กับทั้งเทวโลกกระเพื่อม ทําให้ เกิดละลอกคลื่นคือพระธรรม ดังคราวทรงแสดงสมุทัยสัจที่ ปาสาณกเจดีย์ เป็นตัวอย่าง

คือในคราวนั้น ด้วยกําลังละลอกคลื่น คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ทําให้เทพยดา มนุษย์ ๑๔ โกฏิ ได้ธรรมจักษุอันปราศจาก ธุลีมลทินว่า “ทุกสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ก็มีความดับไปเป็นธรรมดาทั้งนั้น” พวกใดได้เห็นละลอกคลื่น คือพระธรรม ของพระพุทธเจ้าแล้วตกลงใจ พวกนั้นก็ได้ บรรลุคุณวิเศษอย่างนั้น

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดง นิโรธสัจ ก็ทรงทําให้โลกนี้กับทั้งเทวโลกกระเพื่อม ทําให้เกิดลูกคลื่นคือพระธรรม เหมือนครั้งทรงแสดง นิโรธสัจ คราวเสด็จลงจาก ดาวดึงส์สวรรค์

คือในคราวนั้น มีผู้ได้สําเร็จธรรมจักษุ ถึง ๓๐ โกฏิ ด้วยกําลังลูกคลื่น คือกําลังของพระพุทธเจ้า พวกใดได้เห็นลูกคลื่น คือ กําลังของพระพุทธเจ้าแล้วถึงความตกลงใจ พวกนั้นก็ได้คุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนั้น

ส่วนในบัดนี้ พระสาวกเหล่าใดของพระพุทธเจ้า ตัดเครื่องผูกได้แล้ว กําจัดราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว ละกิเลสได้แล้ว มีใจบริสุทธิ์แล้ว มีใจข้ามไปได้ดีแล้ว กระทําให้แจ้งแล้ว ถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว
พระสาวกเหล่านั้น ก็ชื่อว่าถึงความสงบอย่างเยี่ยม ด้วยกําลังลูกคลื่นคือพระธรรม ด้วยเหตุการณ์อันนี้ ด้วยอนุมานอันนี้แหละ จึงควรทราบว่า พระพุทธเจ้านั้นมีอยู่

ขอมหาบพิตรจงทรงจําไว้ว่า พวกที่ได้ เห็นลูกคลื่นในสาครก็รู้ด้วยอนุมานว่า สาคร นั้น จักต้องเป็นของกว้างใหญ่ฉันใด ผู้มีปัญญา ทั้งหลายได้เห็นลูกคลื่น คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้กําจัดความเศร้าโศกแล้ว ผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ผู้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว ผู้เปลื้องการเวียนว่ายอยู่ในภพได้แล้วก็รู้ได้ว่า พระพุทธเจ้าผู้ทําให้เกิดลูกคลื่น คือ พระธรรม จักต้องเป็นผู้ล้ำเลิศในโลก ดังนี้

“ข้าแต่พระนาคเสน โยมเคยได้ฟังมาว่า พวกฤาษีภายนอก ย่อมทําให้โลกนี้กับ เทวโลกหวั่นไหวได้ แสดงกําลังฤทธิ์ก็ได้ จึงยากที่จะเชื่อได้ว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่ ขอจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นไป”

อุปมาพระยาเขาหิมพานต์

“ขอถวายพระพร พระยาเขาหิมพานต์ ประกอบด้วยระเบียบแห่งยอดเขา เงื้อมเขา ล้วนเป็นศิลา ตั้งอยู่ในประเทศชื่อว่า ”อชปถะ สังกุปถะ วลปถะ และเปตตปตะ” เป็นที่อาศัย อยู่แห่งตระกูลช้างฉัททันต์ ล้อมไปด้วยต้นไม้ เครือไม้ อันปกคลุมเป็นสุมทุมต้นพฤกษา ประดับประดาด้วยโตรกตรอกซอกเหวเขา

มีต้นไม้เครือไม้นานาประการ ใหญ่สูง กว้างขวางดังท้องฟ้า เต็มไปด้วยต้นไม้ดอก ต้นไม้ผล เกลื่อนกล่นไปด้วยสิ่งที่ทรงไว้ซึ่งน้ำ คือซอกเขาลําเนาธาร อันมีน้ำเย็นใสสบายดี ประดับประดาไปด้วยเครื่องแวดล้อมคือหมู่ สัตว์ต่าง ๆ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งหมู่คนธรรพ์ เป็นที่เที่ยวไปมาแห่งวิชาธรและสัตว์มีปีกต่าง ๆ

เป็นที่อาศัยอยู่แห่ง ครุฑ นาค อสูร กุมภัณฑ์ และยักษ์ทั้งหลาย และเป็นที่อาศัย อยู่แห่งหมู่สัตว์ร้ายนานาประการ ทั้งเต็มไปด้วย รากไม้ผลไม้ที่เป็นยา ทั้งมากไปด้วยเครื่องหอม มีจันทน์แดง กฤษณา กะลัมพัก เป็นต้น เป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งที่มีกลิ่นหอมทั้งปวง

มีภูเขา ล้อมรอบ คือ เขาตรีกูฏ เขาศิริกูฏ เขาไกรลาส เขาสุมนกูฏ เขาจิตตกูฏ เขายุคันธร แลดูสูงขี้นไปเป็นชั้นเหมือนกับก้อนเมฆในวันแรม หรือเหมือนกับดอกอัญชันสีเขียว ดูเป็นสีคราม สีม่วง สีหม่น บางแห่งก็เหมือน สีกายแห่งพญานาคอันเขียวดํา หรือเหมือนกับพยับแดดในเดือน ๕

มนุษย์ทั้งหลายเห็นยอดเขานั้นตั้งแต่ไกล ก็เข้าใจด้วยอนุมานว่า พระยาเขาหิมพานต์ มีอยู่ฉันใด ภูเขาใหญ่คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า อันพัวพันไว้ด้วยอารมณ์ คือ ฌานและธรรม มรรคผลเป็นเอนก เป็นที่อาศัยอยู่แห่งยอดเขา เงื้อมเขาอันว่างเปล่า อันไม่มีนิมิต ไม่มีที่ตั้ง

อันมีผลคือพระธรรมกถึก พระวินัยธร พระผู้ทรงพระสูตร พระผู้ทรงพระอภิธรรม เป็นที่อาศัยอยู่แห่งกุศลคือพระอรหันต์ เป็นที่เที่ยวไปมาแห่งพระอริยเจ้าผู้ได้มรรคผล เป็นที่อาศัยอยู่แห่งผู้เข้าใกล้ได้ยากด้วยศีลธรรม คือผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ผู้ถือบิณฑบาตเป็น ข้อวัตร ผู้มักน้อย ผู้ถือปฏิสัมภิทา ๔ เวสา รัชชญาณ ๔ และผู้เลิศด้วยปัญญา เป็นต้น

เกลื่อนกล่นด้วยยาถ่ายโรค ยาแก้พิษ ยารักษาไข้ เป็นบ่อเกิดแห่งของหอมทั้งปวง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สติปัฏฐาน สันโดษ ห้อมล้อมด้วยภูเขาอันประเสริฐคือ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรค ล้วนแต่เป็นภูเขาธรรมสูง ๆ ทั้งนั้น

ส่วนภูเขาธรรมที่สูงยิ่งก็คือ พระนิพพาน อันไม่มีธุลีมลทิน อันขาวผ่อง ไม่มีสิ่งใดถูกต้อง เป็นที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง เป็นที่สักการะ เคารพนับถือยิ่ง ของเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย ภูเขาธรรมของพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่

ด้วยภูเขาธรรมนั้นแหละ ทําให้รู้ด้วย อนุมานว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่แน่ ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานนานมาแล้วก็ดี พระศาสนาของพระองค์อันไม่หวั่นไหว อันแพร่หลายดีก็ยังมีอยู่

ขอมหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า บุคคลได้เห็นยอดภูเขาอันสูงเยี่ยมเทียมเมฆ ก็รู้ได้ ด้วยอนุมานว่า ภูเขาใหญ่ในป่าหิมพานต์นั้นมีอยู่ ฉันใด บุคคลได้เห็นธรรมบรรพตคีรี ภูเขาธรรมของพระพุทธเจ้า อันเป็นที่เยือกเย็น ไม่เป็นที่ขังทุกข์ แล้วก็รู้ได้ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้าผู้ล้ำเลิศนั้นจักมีอยู่แน่ ดังนี้ ขอถวายพระพร

“ข้าแต่พระนาคเสน พวกศาสนาภายนอก เขาก็แสดงมหาสมุทรโลก และธรรมคีรีได้ โดยเอนกวิธี เพราะฉะนั้น จึงยากที่จะเชื่อได้ว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่ด้วยเหตุนี้ ขอจงอุปมา ให้ยิ่งขึ้นไป”

อุปมาเมฆฝนห่าใหญ่

“ขอถวายพระพร เมื่อเมฆใหญ่อันจะตั้งขึ้นมาในทิศทั้ง ๔ จะให้ฝนห่าใหญ่ตกลงมานั้น ย่อมมีเครื่องหมายเป็นสําคัญ คือเบื้องบนอากาศ เป็นกลุ่มเป็นก้อนห้อยย้อยเหมือนสร้อยสังวาลย์ ทั้งมีลมใหญ่พัดผ่านมา ประชาชนทั้งหลายก็ดีใจ ช้าง ม้า สกุณา ก็บินร่อนชื่นชม สายฟ้าก็ แปลบปลาบทั่วทิศทั้งหลาย

ก้อนเมฆก็มีมากมายกว่าหมื่นพัน มีสีสัน ต่าง ๆ กัน บ้างเขียว บ้างเหลือง บ้างแดง บ้างขาว บ้างเลื่อม มีสีอ่อนแซมซ้อนสลับกัน อึงมี่กึกก้องไปด้วยเสียงฟ้าร้องเป็นอัศจรรย์ เมื่อฝนห่าใหญ่ตกลงมา ก็มีน้ำฝนเต็มไปทั้งโตรกตรอกซอกเขา และห้วยหนองคลองบึง ต้นไม้ใหญ่น้อยก็เขียวชอุ่มเป็นพุ่มงาม

คนทั้งหลายก็อนุมานว่า ฝนครั้งนี้เป็นฝนห่าใหญ่ฉันใด อันว่าเมฆใหญ่ คือพระธรรม ของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อจะตกลงมาก็มีอาการเหมือนกัน พระพุทธเจ้าก็ทําให้มนุษยโลก เทวโลก ชื่นชมยินดีด้วยห่าฝนพระธรรม ทําให้จิตใจของผู้ได้มรรคผลเกิดความอภิรมย์ยิ่ง กําจัดเสียซึ่งกิเลสตัณหา เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน

บางพวกก็ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ปาฏิโมกข์สังวรศีล และ มรรคผลชั้นสูง ๆ เป็นลําดับขึ้นไป จึงควรรู้ ด้วยอนุมานว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่

ขอมหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า คนทั้งหลายได้เห็นแผ่นดินชุ่มเย็นดี มีของสดเขียว เกิดขึ้น มีน้ำมาก ก็รู้ด้วยอนุมานว่า แผ่นดิน ดับร้อนด้วยฝนห่าใหญ่ฉันใด
ผู้มีปัญญาได้เห็นเทพยดามนุษย์ร่าเริง บันเทิงใจ ก็รู้ด้วยอนุมานว่า เอิบอิ่มด้วยฝน ห่าใหญ่ คือพระธรรมฉันนั้น ดังนี้ ขอถวาย พระพร”

“ข้าแต่พระนาคเสน เมฆใหญ่ คือ พระธรรม อันตกลงมากําจัดเสียซึ่งอวิชชานี้ ก็เป็นการดีแล้ว แต่ขอจงแสดงซึ่งกําลังของพระพุทธเจ้า ตามเหตุการณ์ให้ยิ่งขึ้นไปอีก”

อุปมารอยพญาช้าง

“ขอถวายพระพร พญาช้างตัวประเสริฐ อันสูง ๗ ศอก ยาว ๙ ศอก มีลักษณะดีถึง ๑๐ แห่ง เป็นเจ้าแห่งฝูงช้างอันมีในธรณี มีตาขาว หางขาว เล็บขาว เหมือนกับสีหมอก และ เหมือนกับเศวตฉัตร เหมือนกับวิมานขาว มีกายเต็มไม่บกพร่อง มีอายตนะครบบริบูรณ์ ดูงาม เหมือนยอดเขา อันมีหมู่ไม้ขึ้นสะพรั่ง

พญาช้างนั้นอาจกําจัดข้าศึกทั้งปวงได้ มีกายใหญ่โต มีงางอกงามดังงอนไถ มีฤทธิ์ กล้าหาญ ชํานาญในการที่จะทนเที่ยวไปในที่ ต่าง ๆ เป็นพญาช้างหนุ่ม แต่ละเสียซึ่งที่อยู่ ของตน เที่ยวไปแสวงหาอาหารในป่าตาม สบายใจ เวลาคนทั้งหลายได้เห็นรอย ก็รู้ด้วย อนุมานว่า เป็นรอยพญาช้างฉันใด พระพุทธเจ้า ก็เปรียบเหมือนกับช้างฉันนั้น

เพราะเหตุว่า รอยพระพุทธเจ้ามีลักษณะ ประเสริฐถึง ๑๐๘ ประการ พระพุทธเจ้านั้น เปรียบด้วยพญาราชสีห์ก็ได้ เปรียบด้วย โคอสุภราชก็ได้ เพราะพระองค์ทรงพร้อมด้วย พระคุณธรรมทั้งปวง พระองค์ทรงสละพระนคร กบิลพัสดุ์ อันเป็นพระนครที่น่ายินดีเสียแล้ว เที่ยวแสวงหาทางธรรม ได้สําเร็จพระธรรมแล้ว ก็ทรงแสดงรอยพระบาท คือ โพชฌงค์ ๗ ไว้

รอยพระบาทเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นรอย ล้ำเลิศ ทําให้เกิดผลอันเลิศนานาประการ ด้วย เหตุการณ์อันนี้ ก็ควรรู้ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่เป็นแน่ ขอถวายพระพร”

“ข้าแต่พระนาคเสน น่าอัศจรรย์ เพราะรอยพญาช้างไม่ตั้งอยู่นาน ปรากฏอยู่เพียง ๕-๖ เดือนเท่านั้น นอกนั้นก็ลบเลือนไป
ส่วนรอยพระบาท คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า ยังปรากฏอยู่ในโลกกระทั่งทุกวันนี้ แต่ขอจงแสดงซึ่งกําลังของพระพุทธเจ้า ให้ยิ่งขึ้นไปอีกตามเหตุการณ์”

อุปมาพญาราชสีห์

“ขอถวายพระพร พญาราชสีห์ไม่มีความ สะดุ้งกลัวสิ่งใดฉันใด พระพุทธเจ้าก็ไม่สะดุ้งกลัวต่อสิ่งใดฉันนั้น พญาราชสีห์เป็นใหญ่กว่า สัตว์ทั้งหลายฉันใด พระพุทธเจ้าก็เป็นใหญ่กว่า คณาจารย์ทั้งหมดฉันนั้น

เสียงพญาราชสีห์ ย่อมเป็นที่สะดุ้งกลัว ของสัตว์เหล่าอื่น แต่เป็นที่ยินดีของหมู่ราชสีห์ ด้วยกันฉันใด เสียงแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า ก็เป็นที่สะดุ้งกลัวแก่พวกเจ้าลัทธิ แต่ทําให้เกิด ความโสมนัสยินดีแก่พวกมีความเลื่อมใสศรัทธา ฉันนั้น

ด้วยเหตุนี้ ก็ควรทราบว่าพระพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งคุณอันหาที่สุดมิได้ ขอให้มหาบพิตรทรงเข้าพระทัยเถิดว่า เมื่อคนทั้งหลาย ได้เห็นเนื้อและนก สะดุ้งกลัวด้วยเสียงราชสีห์ ก็รู้ได้ด้วยอนุมานว่า พวกเดียรถีย์ก็สะดุ้งกลัว พระธรรมของพระพุทธเจ้าฉันนั้น ขอถวายพระพร”

“ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่าพระพุทธเจ้า ได้ทรงบรรลือพระสุรเสียง คือการทรงแสดง พระธรรมไว้ให้พวกเดียรถีย์ สะดุ้งกลัวกระทั่งทุกวันนี้ แต่ขอจงแสดงกําลังของพระพุทธเจ้า ให้ยิ่งขึ้นไปอีก”

อุปมาแม่น้ำใหญ่

“ขอถวายพระพร แม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ ย่อม ไหลมาจากป่าหิมพานต์ พัดเอาสัตว์และสิ่งของ ต่าง ๆ ลงไปสู่มหาสมุทร คนทั้งหลายก็รู้ว่า เป็นกระแสแม่น้ำใหญ่ฉันใด ธรรมนทีของพระพุทธเจ้าก็พัดเอาหมู่สัตว์ ให้ไหลเข้าไปสู่สาครอันประเสริฐ คือ นิพพานฉันนั้น ด้วยเหตุอันนี้ก็ควรรู้ด้วย อนุมานว่า พระพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ประกอบด้วยพระคุณธรรมทั้งปวง

ขอมหาบพิตรจงทรงจําไว้ว่า เมื่อบุคคล ได้เห็นเปือกตมโคลนเลนติดค้างอยู่ตามยอดไม้ ก็รู้ได้ว่ามีน้ำใหญ่ท่วมมาฉันใด เวลาได้เห็น เทพยดามนุษย์ ผู้ทิ้งเปือกตมคือกิเลสไว้ในโลก ก็ควรรู้ได้ด้วยอุปมาว่า พระธรรมนทีอันใหญ่ ของพระพุทธเจ้า ได้พัดพาเอาสัตวโลกไปฉันนั้น ขอถวายพระพร”

“ข้าแต่พระนาคเสน พระธรรมนทีของ พระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงตกแต่งไว้ เพื่อให้พัดพาเอากิเลสไปมีอยู่หรือ?”
“มีอยู่ ขอถวายพระพร”
“ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมา ให้ยิ่งขึ้นไป”

อุปมากลิ่นดอกไม้

“ขอถวายพระพร เมื่อลมพัดเอากลิ่นดอกไม้ไปถึงไหน ก็หอมไปถึงนั้น แต่ว่าหอมไปได้ตามลมเท่านั้น หอมทวนลมไปไม่ได้ ส่วนกลิ่นธรรมของพระพุทธเจ้า ย่อมหอมไป ได้ทั้งตามลมและทวนลม ด้วยเหตุนี้ก็ควรรู้ ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่

ขอได้โปรดใส่พระทัยว่า คนทั้งหลาย ได้กลิ่นหอมมาตามลม ก็รู้ด้วยอนุมานว่า เป็นกลิ่นหอมดอกไม้ฉันใด ผู้มีปัญญาทั้งหลายได้ กลิ่นหอมคือศีล ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ก็รู้ได้ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้าผู้เยี่ยม มีอยู่

ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่อาจแสดง ให้สิ้นสุดกําลังของพระพุทธเจ้าได้ด้วยเหตุ ตั้งพัน จะอ้างเหตุอย่างไรก็ได้ เพราะว่าพระคุณธรรมของพระพุทธเจ้ามีมาก หาประมาณมิได้ ข้อนี้เปรียบเหมือนช่างดอกไม้ผู้ฉลาด เมื่อดอกไม้มีอยู่มาก จะร้อยให้เป็นดอกไม้ อย่างไรก็ได้ฉันนั้น ขอถวายพระพร”

“ข้าแต่พระนาคเสน เท่าที่พระผู้เป็นเจ้า แสดงกําลังของพระพุทธเจ้ามานี้ ก็เป็นที่ พอใจของโยมแล้ว โยมสบายใจด้วยการแก้ปัญหาอันวิจิตรยิ่งแล้ว”

อธิบาย


ขอแปลคําจากอุปมา ตลาดดอกไม้ ดังต่อไปนี้ว่า
อนิจจสัญญา กําหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร อนัตตสัญญา หมายความ ไม่มีตัวตน อสุภสัญญา หมายความไม่งามแห่งกาย อาทีนวสัญญา หมายโทษแห่งกาย คือความเจ็บป่วย เป็นต้น ปหานสัญญา หมายเพื่อละความยึดถือ วิราคสัญญา หมายละความกําหนัดยินดี

นิโรธสัญญา หมายความดับตัณหา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา หมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา หมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา หมายร่างที่มีแต่กระดูก ปุฬุวกสัญญา หมายซากศพที่มีหมู่หนอนชอนไช วินีลกสัญญา หมายซากศพ ที่มีสีเขียวคล้ำ

วิจฉิททกสัญญา หมายซากศพที่ขาดเป็นท่อน วิปุพพกสัญญา หมายซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม อุทธุมาตกสัญญา หมาย ซากศพที่พองขึ้นอืด วิกขายิตกสัญญา หมายซากศพที่ถูกสัตว์แทะกินไปบ้างแล้ว หตวิกขิตตกสัญญา หมายซากศพที่เละเทะกระจัดกระจาย โลหิตกสัญญา หมายซากศพที่เปลอะเปื้อนด้วยเลือด

ส่วนใน โลกุตตรผล อันมี สุญญตผลสมาบัติ คือสมาบัติที่ว่างจากกิเลสเป็นผล อนิมิตตผลสมาบัติ คือสมาบัติที่ไม่มีนิมิตจากกิเลสเป็นผลอัปปณิหิตผลสมาบัติ คือสมาบัติที่ไม่ปรารถนากิเลสเป็นผลอเนญชผลสมาบัติ คือสมาบัติที่ไม่หวั่นไหวจากกิเลส เป็นผลอุเบกขาผลสมาบัติ คือสมาบัติที่วางเฉยจากกิเลสเป็นผล

และในข้อ สมาธิรัตนะแปลคําว่า สุญญตสมาธิ คือสมาธิที่พิจารณาอนัตตา ว่างจากตัวตน อนิมิตตสมาธิ คือสมาธิที่พิจารณาอนิจจัง ไม่ถือนิมิตในร่างกาย อัปปณิหิตสมาธิ คือสมาธิที่พิจารณาทุกขัง ไม่ปรารถนาในร่างกาย

และคําว่า กามวิตก คือคิดในกามคุณ พยาบาทวิตก คือคิดปองร้ายผู้อื่น วิหิงสาวิตก คือคิดเบียดเบียนผู้อื่น ดังนี้

คําว่า พระพุทธวจนะ หรือ พระไตรปิฎก อันประกอบด้วยองค์ ๙ คือ
สุตตะ ได้แก่อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรต่าง ๆ
เคยยะ คือพระสูตรที่ประกอบด้วย คาถาทั้งหลาย

เวยยากรณะ คือพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธวจนะ ที่ไม่ได้จัดเข้าในองค์ ๘ ได้ชื่อว่าเวยยากรณะทั้งหมด
คาถา คือพระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วน ๆ ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรในสุตตนิบาต
อุทาน คือพระสูตร ๘๒ สูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ

อิติวุตตกะ คือพระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ขึ้นต้นด้วยคําว่า ”ข้อนี้สมจริงดังที่พระพุทธ เจ้าตรัสไว้”
ชาดก เป็นการแสดงเรื่องในอดีตชาติ ของพระพุทธเจ้า มีทั้งหมด ๕๕๐ เรื่อง

อัพภูตธรรม คือพระสูตรที่ประกอบ พร้อมด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมทั้งหมด
เวทัลละ คือระเบียบคําที่ผู้ถามได้ความ รู้แจ้งและความยินดี แล้วถามต่อ ๆ ขึ้นไป

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 12/1/11 at 13:11 Reply With Quote



ตอนที่ ๓๓


ปัญหาที่ ๙

ถามเกี่ยวกับธุดงค์

พระเจ้ามิลินท์ได้ทรงเห็นพวกภิกษุ ที่ถือธุดงค์อยู่ในป่ามีอยู่ ทั้งรู้ว่าคฤหัสถ์ผู้ได้ สําเร็จอนาคามีผลมีอยู่ จึงทรงสงสัยว่า ถ้า คฤหัสถ์สําเร็จธรรมได้ ธุดงค์ก็ไม่มีประโยชน์อันใด เราจักถามถึงพระศาสนาอันละเอียด อันย่ำยีเสียซึ่งถ้อยคําของผู้อื่น อันเป็นของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้ เพื่อให้ สิ้นสงสัยของเรา

ครั้นทรงดําริดังนี้แล้ว จึงได้รีบเสด็จไป หาพระนาคเสนด้วยความรีบร้อน เหมือนกับโคที่กระหายน้ำ และเหมือนกับคนที่หิวข้าว เหมือนกับคนเดินทางไปพบพวกเกวียน หรือเหมือนกับคนเจ็บไข้ต้องการหมอ เหมือนกับคนไม่มีทรัพย์แสวงหาทรัพย์

เหมือนกับผู้จะข้ามฟากต้องการเรือ เหมือนกับคนกําลังเกิดความรัก ต้องการความรัก หรือเหมือนกับคนเป่าปี่ ต้องการให้ปี่มีเสียงไพเราะ หรือเหมือนกับคนกลัวภัย แสวงหาที่พึ่ง หรือเหมือนกับพระภิกษุผู้ ต้องการความดับกิเลสฉะนั้น
ครั้นเสด็จเข้าไปถึงแล้ว จึงทรงนึกถึง คุณอันประเสริฐ ๑๐ ประการ ว่าถ้าเราถามแล้วท่านแก้ให้เราฟัง

เราก็จักหมดสงสัย ๑
ใจของเราจักบริสุทธิ์ ๑
เราจักไม่มีวิตกที่ชั่ว ๑
จักถึงซึ่งกระแสธรรม ๑

จักได้ปัญญาจักษุ ๑
จะได้ชื่อว่าอาจารย์ อนุเคราะห์ ๑
จักเป็นผู้ไม่มีเครื่องกีดขวางกุศลธรรมทั้งปวง ๑

จะได้ประกอบด้วย โลกุตตรธรรม ๑
จักไม่สะดุ้งกลัวต่อภพทั้งปวง ๑
เวลาเข้าสู่ที่ประชุมจะอาจแทงตลอดเหตุผลทั้งปวง ๑

ทรงดําริดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสถามขึ้นว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน คฤหัสถ์ได้สําเร็จ นิพพานมีอยู่หรือ?”
“มีอยู่ มหาบพิตร มีอยู่มากทีเดียว นับเป็นจํานวนร้อยหมื่นแสนล้านโกฏิไม่ได้”
“ขอพระผู้เป็นเจ้า จงแสดงให้โยม แจ่มแจ้งด้วยเถิด”

“ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นอาตมภาพจักแสดงถวาย คือพระธรรมในพระพุทธศาสนา อันประกอบด้วยองค์ ๙ ย่อมรวมลงใน ธุดงค์ ทั้งนั้น เหมือนกับน้ำฝนที่ตกมาทั้งสิ้น ย่อมไหลไปรวมมหาสมุทรฉันนั้น อาตมภาพจักจําแนกเนื้อความข้อนี้ให้แจ่มแจ้ง เหมือน อาจารย์เลขผู้ฉลาดสอนเลขให้แก่ลูกศิษย์ฉะนั้น

คฤหัสถ์ผู้ได้มรรคผลในสมัยพุทธกาล

ขอถวายพระพร ที่กรุงสาวัตถีมีอริยสาวก ๕ โกฏิ มีอุบาสกอุบาสิกาตั้งอยู่ในอนาคามีผลถึง ๓๕๗,๐๐๐ คน พวกนั้นล้วนแต่เป็นคฤหัสถ์ทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นบรรพชิตเลย ยังมีอีกคือ
คราวที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ยมกปาฏิหาริย์ ก็มีพวกคฤหัสถ์บรรลุมรรคผล ถึง ๒๐ โกฏิ

คราวทรงแสดงราหุโลวาทสูตร มหามงคลสูตร สมจิตตปริยายสูตร ปราภวสูตร จูฬสุภัททสูตร กลหวิวาทสูตร จูฬพยูหสูตร มหาพยูหสูตร ตุวัฏฏกสูตร สารีปุตตสูตร มีเทวดาบรรลุมรรคผลนับไม่ถ้วน
ในกรุงราชคฤห์มีอริยสาวก ซึ่งล้วนแต่เป็นอุบาสกอุบาสิกา ๓๕๐,๐๐๐ คน ยังมีอีก คือ

ในคราวทรงทรมานช้างธนบาล มีผู้ได้บรรลุมรรคผลอีก ๙๐ โกฏิ
คราวทรงแก้ปัญหาแห่งมาณพ ๑๖ คน (ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี) ที่ปาสาณกเจดีย์มีผู้บรรลุมรรคผลอีก ๑๔ โกฏิ
คราวทรงแสดงสักกปัญหาสูตร ที่ถ้ำอินทสาลคูหา มีเทวดาบรรลุมรรคผลถึง ๘๐ โกฏิ
คราวทรงแสดงธัมมจักกัปวัตตนสูตร ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวันครั้งแรก มีพรหม ๑๘ โกฏิ กับเทวดาประมาณมิได้บรรลุมรรคผล

ในคราวทรงแสดงพระอภิธรรม ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในดาวดึงส์สวรรค์ มีเทวดาบรรลุมรรคผล ๘๐ โกฏิ
ในคราวเสด็จลงจากดาวดึงส์ก็มีผู้บรรลุมรรคผล ๓๐ โกฏิ
ในคราวทรงแสดงพุทธวงศ์ที่นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์
และในคราวทรงแสดงมหาสมัยสูตร ก็มีเทวดาได้บรรลุมรรคผลนับไม่ได้

ในคราวนายสุมนมาลาการบูชาด้วยดอกมะลิ อันเรียกว่าในสมาคมแห่งสุมนมาลาการ
และในสมาคมคราวทรงแสดงเรื่องอานันทเศรษฐี
ในสมาคมคราวโปรดชัมพุกาชีวก
ในสมาคมคราวมัณฑุกเทพบุตรลงมาเฝ้า
ในสมาคมคราวมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรลงมาเฝ้า

คราวสมาคมนางสุรสานครโสเภณี และนางสิริมานครโสเภณี ธิดาช่างทอหูก (เปสการี) นางจูฬสุภัททา สาเกตพราหมณ์ อาฬาหณทัสสนะ สุนาปรันตปะ สักกปัญหา ติโลกุฑฑสูตร มีผู้บรรลุมรรคผลถึง ๘๔,๐๐๐ คน
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในโลก อันมีใน ๑๖ ชนบทนั้น หรือไม่ว่าประทับอยู่ในที่ใด ๆ โดยมากมีเทพยดามนุษย์ สําเร็จนิพพานในที่ นั้น ๆ คราวละ ๒ - ๓ ตลอดถึงคราวละแสน เทพยดามนุษย์เหล่านั้น เป็นพวกคฤหัสถ์ทั้งนั้น ขอถวายพระพร

พระเจ้ามิลินท์ตรัสแย้งว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าคฤหัสถ์สําเร็จนิพพานได้ ธุดงคคุณ ๑๓ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าหากว่าความเจ็บไข้หายไปได้ด้วยการร่ายมนต์ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรกับยาถ่าย และคนผู้มีความรู้ ถ้าปราบศัตรูได้ด้วยกําปั้น ดาบ หอก แหลน หลาว เกาทัณฑ์ ธนู หน้าไม้ ค้อนเหล็ก ไม้ค้อน ก็ไม่มีประโยชน์อะไร[/color]

ถ้าขึ้นต้นไม้ได้ด้วยการผูกไม้หรือกิ่งไม้ ที่เป็นข้อเป็นปมคด ๆ งอ ๆ เป็นโพรงได้ ก็ไม่จําเป็นอะไรกับการที่จะแสวงหาบันไดยาว ๆ ถ้าธาตุจะเสมอดีได้ด้วยการนอนตามพื้นดิน ก็ไม่จําเป็นอะไรกับการแสวงหาที่นอนที่สุขสบายดี ถ้าสามารถเดินผ่านพ้นทางที่มีอันตรายลําพังผู้เดียวได้ ก็ไม่จําเป็นอะไรกับการแสวงหา พรรคพวกที่มีศาตราวุธ

ถ้าสามารถข้ามแม่น้ำไปได้ด้วยแขนของตน ก็ไม่จําเป็นอะไรกับการแสวงหาสะพาน หรือเรือ ถ้าการกินอยู่ของตนมีอยู่แล้ว ก็ไม่จําเป็นอะไรที่จะต้องเที่ยวขอผู้อื่น ถ้าได้น้ำในที่ไม่มีห้วงน้ำแล้ว ก็ไม่จําเป็นอะไรที่จะขุดบ่อน้ำ หนองน้ำ สระน้ำ ข้อความเหล่านี้ฉันใด
ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าคฤหัสถ์สําเร็จนิพพานได้ ก็ไม่จําเป็นอะไรที่จะต้องถือ ธุดงคคุณ

คุณแห่งธุดงค์ ๒๘ ประการ

ขอถวายพระพร ธุดงค์ประกอบด้วย คุณเหล่าใด ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงต้องการ คุณแห่งธุดงค์เหล่านั้น มีอยู่ ๒๘ ประการคือ

๑. การหาเลี้ยงชีพบริสุทธิ์
๒. มีผลเป็นสุข
๓. เป็นของไม่มีโทษ
๔. บําบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย

๕. เป็นของไม่มีภัย
๖. เป็นของไม่เบียดเบียน
๗. มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม
๘. ไม่มีมารยาหลอกลวง

๙. ไม่ขุ่นมัว
๑๐. เป็นเครื่องป้องกัน
๑๑. ให้สําเร็จสิ่งที่ปรารถนา
๑๒. กําจัดเสียซึ่งอาวุธทั้งปวง

๑๓. มีประโยชน์ในทางสํารวม
๑๔. สมควรแก่สมณะ
๑๕. สงบนิ่ง
๑๖. หลุดพ้น

๑๗. เป็นเหตุให้สิ้นราคะ
๑๘. ระงับเสียซึ่งโทสะ
๑๙. ทําโมหะให้พินาศ
๒๐. กําจัดเสียซึ่งมานะ

๒๑. เป็นเหตุตัดเสียซึ่งวิตกชั่ว
๒๒. ทําให้ข้ามสงสัยเสียได้
๒๓. กําจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน
๒๔. กําจัดเสียซึ่งความไม่ยินดีในธรรม

๒๕. เป็นเหตุให้อดทน
๒๖. เป็นของชั่งไม่ได้
๒๗. เป็นของหาประมาณมิได้
๒๘. ทําให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง

องค์ ๑๘ ของผู้สมาทานธุดงค์

ขอถวายพระพร บุคคลเหล่าใดสมาทาน ถือมั่นธุดงคคุณ บุคคลเหล่านั้นย่อมประกอบ ด้วยองค์ ๑๘ คือ

๑. มีมรรยาทบริสุทธิ์
๒. มีปฏิปทาบริบูรณ์ดี
๓. รักษากายวาจาดี
๔. มีใจบริสุทธิ์ดี

๕. ประคองความเพียรดี
๖. ระงับความกลัว
๗. ปราศจากความยึดถือในตัวตน
๘. ระงับความอาฆาต

๙. มีจิตเมตตา
๑๐. รอบรู้อาหาร
๑๑. เป็นที่เคารพแห่งสัตว์ทั้งปวง
๑๒. เป็นผู้รู้จักพอดีในโภชนะ

๑๓. เป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียร
๑๔. ไม่ห่วงที่อยู่
๑๕. อยู่ที่ไหนสบายก็อยู่ที่นั่น

๑๖. เกลียดชังความชั่ว
๑๗. ยินดีในวิเวก
๑๘. ไม่ประมาทเนือง ๆ

ผู้ควรแก่ธุดงคคุณ ๑๐


ขอถวายพระพร บุคคลผู้ที่ควรแก่ ธุดงคคุณ มีอยู่ ๑๐ คือ
๑. ผู้มีศรัทธา
๒. ผู้มีหิริ (ละอายความชั่ว)
๓. ผู้มีความอดทน

๔. ผู้ไม่คดโกง
๕. ผู้อยู่ในอํานาจเหตุผล
๖. ผู้ไม่ละโมภ
๗. ผู้ใคร่ต่อการศึกษา

๘. ผู้มีใจมั่นคง
๙. ผู้ไม่ชอบยกโทษผู้อื่น
๑๐. ผู้อยู่ด้วยเมตตา

ขอถวายพระพร พวกคฤหัสถ์ที่กระทําให้แจ้งนิพพานทั้งสิ้น ล้วนได้กระทําในธุดงคคุณ ๑๓ ไว้ในชาติก่อน ๆ แล้วทั้งนั้น มาในชาตินี้ ได้กระทําความประพฤติ และการปฏิบัติให้ บริสุทธิ์ซ้ำอีก จึงจะสําเร็จนิพพานได้

อุปมาธุดงคคุณ

เปรียบเหมือนพวกนายขมังธนูผู้ฉลาด ได้ฝึกหัดวิชาธนูไว้ก่อนแล้ว ครั้นเข้าไปสู่ พระราชฐาน ก็ยิงถวายพระมหากษัตริย์ได้แม่นยํา แล้วได้รับพระราชทานรางวัลเป็นอันมาก ฉะนั้นผู้ไม่ได้กระทําในธุดงค์ไว้เมื่อชาติก่อน ย่อมไม่สําเร็จอรหันต์ในชาตินี้ จะสําเร็จก็เพียงโสดาปัตติผลเท่านั้น

อีกประการหนึ่ง ผู้ได้กระทําธุดงค์ ๑๓ ไว้ในชาติก่อนมาชํานาญแล้ว มาชาตินี้ได้อบรมความประพฤติและข้อปฏิบัติซ้ำอีก ก็กระทําให้แจ้งนิพพานได้ เหมือนกับแพทย์ที่เรียนจน ชํานิชํานาญในสํานักอาจารย์มาแล้ว ก็รักษาโรคได้ดีฉะนั้น

การสําเร็จธรรมย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่บริสุทธิ์ในธุดงคคุณ เหมือนกับการไม่งอกขึ้นแห่งพืช ด้วยไม่ถูกรดน้ำฉะนั้น หรือเหมือนกับการไปสู่สุคติ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทํากุศลไว้ฉะนั้น

ขอถวายพระพร ธุดงคคุณเปรียบเหมือน ปฐพี เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผู้มุ่งความบริสุทธิ์ และเปรียบเหมือนน้ำ เพราะเป็นเครื่องชําระกิเลสมลทิน เปรียบเหมือนไฟ เพราะเป็นเครื่องเผากิเลสทั้งปวง เปรียบเหมือนลม เพราะเป็นเครื่องพัดเอามลทินคือกิเลสไป เปรียบเหมือนยาแก้พิษงู เพราะเป็นเครื่องแก้ความ เจ็บไข้คือกิเลส

เปรียบเหมือนดังน้ำอมฤต เพราะทําลายกิเลสทั้งปวง เปรียบเหมือนนา เพราะเป็นที่งอกขึ้นแห่งคุณของสมณะทั้งปวง เปรียบเหมือนแก้วมโนหรจินดา เพราะให้สําเร็จสมบัติตาม ความปรารถนา เปรียบเหมือนเรือ เพราะให้ข้ามฟากคือสงสารได้ เปรียบเหมือนเครื่องป้องกันภัย เพราะทําให้เกิดความเบาใจแก่ผู้กลัวชรามรณะ

เปรียบเหมือนมารดา เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์ ซึ่งผู้กําจัดกิเลสแห่งทุกข์ เปรียบเหมือนบิดา เพราะทําให้เกิดผลแห่งความเป็นสมณะ เปรียบเหมือนมิตร เพราะไม่ทําให้ผิดพลาด จากการแสวงหาคุณธรรม เปรียบเหมือนดอกปทุม เพราะไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส เปรียบเหมือนของหอม ๔ อย่าง เพราะกําจัดกลิ่นเหม็นคือกิเลส

เปรียบเหมือนพระยาเขาสิเนรุราช เพราะไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ เปรียบเหมือนอากาศ เพราะปราศจากการยึดถือในสิ่งทั้งปวง เปรียบเหมือนแม่น้ำ เพราะเป็นที่ล้างเครื่องเศร้าหมองคือกิเลส เปรียบเหมือนผู้นําทาง เพราะช่วยให้ข้ามพ้นหนทางที่กันดาร คือหลงผิดไปกับการเกิด เปรียบเหมือนหมู่เกวียน เพราะส่งให้ถึงพระนครคือนิพพานอันประเสริฐ อันไม่มีภัย ไม่มีกิเลสและกองทุกข์

เปรียบเหมือนกระจกที่บริสุทธิ์สะอาด เพราะทําให้เห็นความจริงแห่งสังขารทั้งหลาย เปรียบเหมือนโล่ห์ เพราะเป็นเครื่องกั้นซึ่งไม้ค้อน ลูกศร อาวุธ คือกิเลสเปรียบเหมือนดวงจันทร์ เพราะทําให้เกิดความเย็นใจ เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ เพราะกําจัดความมืดทั้งปวง

ขอถวายพระพร ธุดงคคุณย่อมมีคุณมาก เป็นของทําความเกื้อกูล ทําความสบาย ทําความรัก ทําความไม่มีโทษ ทําให้ไปจากบาปเป็นที่ตั้ง นํามาซึ่งยศ นํามาซึ่งสุข มีสุขเป็นผล มีคุณ มากมายก่ายกอง มีพระคุณหาประมาณมิได้ เป็นของประเสริฐในที่ทั้งปวง

เป็นเครื่องกําจัดภัย กําจัดโศก กําจัดทุกข์ กําจัดความกระวนกระวาย กําจัดความเร่าร้อน กําจัดความไม่ยินดีทางธรรม กําจัดภพ กำจัดตะปู กําจัดราคะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิ กําจัดอกุศลทั้งปวง

ขอถวายพระพร มนุษย์ทั้งหลายย่อมบริโภคอาหาร เพราะเป็นเครื่องค้ำชูชีวิต ย่อมบริโภคยาใช้ยา เพราะเป็นของเกื้อกูล ย่อมคบมิตร เพราะเห็นแก่อุปการคุณ ย่อม หารือ เพราะมุ่งจะข้ามฟาก ย่อมหาดอกไม้ ของหอมด้วยต้องการกลิ่นหอม ย่อมหาเครื่องป้องกันภัยด้วยไม่อยากมีภัย ย่อมหา แผ่นดินด้วยเห็นว่าเป็นที่อาศัย

ย่อมหาอาจารย์เพราะอยากได้ความรู้ ย่อมหาพระราชาเพราะอยากได้ยศ ย่อมหาแก้วมณี เพราะอยากได้สําเร็จความปรารถนา ทั้งปวงฉันใด พระอริยะทั้งหลายก็ประพฤติ ธุดงคคุณ ด้วยเห็นว่าเป็นเครื่องให้สําเร็จคุณแห่งสมณะทั้งปวงฉันนั้น

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง น้ำเป็นของทําให้พืชงอกงาม ไฟเป็นของเผาอาหาร เป็นของทําให้เกิดกําลัง เครื่องไม้สําหรับผูกมัดอาวุธสําหรับผ่าตัด น้ำดื่มสําหรับกําจัดความกระหายน้ำ ขุมทรัพย์ทําให้เกิดความยินดี เรือสําหรับข้ามฟาก ยาสําหรับแก้โรค

ยานพาหนะสําหรับไปมาให้สบาย เครื่องป้องกันสําหรับกําจัดภัย พระราชาสําหรับ ปกครอง โล่ห์สําหรับป้องกันไม้ค้อน ก้อนดิน ก้อนเหล็ก ลูกศร อาวุธ อาจารย์สำหรับสั่งสอน มารดาสําหรับเลี้ยง กระจกสําหรับส่องเครื่องแต่งกายให้สวยงาม ผ้าสําหรับปกปิด

บันไดสําหรับให้ขึ้นลง คันชั่งสําหรับชั่ง มนต์สําหรับร่าย อาวุธสําหรับป้องกันตัว ประทีปสําหรับกําจัดความมืด ลมสําหรับดับความร้อน ศิลปะสําหรับเลี้ยงชีวิต ยาแก้พิษสําหรับรักษาชีวิต บ่อสําหรับทําให้เกิดแก้ว แก้วสําหรับประดับ อาญาสําหรับไม่ให้ล่วงละเมิด ความเป็นใหญ่สําหรับให้มีอํานาจฉันใด ธุดงคคุณก็ฉันนั้น

คือธุดงคคุณสําหรับเป็นที่งอกแห่งพืช คือคุณแห่งความเป็นสมณะ สําหรับเผามลทิน คือกิเลส ทําให้เกิดกําลังฤทธิ์เป็นเครื่องผูกสติไว้ เป็นเครื่องกําจัดลูกศรคือความสงสัย เป็นเครื่องกําจัดความหิวกระหายคือตัณหา เป็นเครื่องทําให้เบาใจในการสําเร็จธรรม เป็นเครื่องข้ามห้วงกิเลสทั้ง ๔

เป็นเครื่องดับโรคคือกิเลส เป็นเครื่อง ทําให้ไปสู่ที่มีความสุขคือนิพพาน เป็นเครื่อง ดับทุกข์ทั้งปวง เป็นเครื่องรักษาสมณคุณ เป็นเครื่องกําจัดวิตกชั่วร้าย เป็นเครื่องสอน ให้ได้สมณคุณ เป็นเครื่องเลี้ยงสมณคุณ เป็นเครื่องทําให้เป็นสมถะวิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน เป็นที่สรรเสริญแห่งโลกทั้งสิ้น

เป็นเครื่องทําให้เกิดคุณอันใหญ่อันงาม เป็นเครื่องเปิดเผยอุบายทั้งปวง เป็นที่ขึ้นไปสู่ ยอดเขาคือสมณคุณ เป็นเครื่องชั่งซึ่งความเป็นไปแห่งจิตไม่ให้คดโกง เป็นเครื่องสาธยาย ธรรมที่ควรเกี่ยวข้องและไม่ควรเกี่ยวข้อง เป็นเครื่องปราบศัตรูคือกิเลส เป็นเครื่องกําจัด ความมืดคืออวิชชา

เป็นเครื่องดับความเร่าร้อนคือไฟ ๓ กอง เป็นเครื่องให้สําเร็จสมบัติอันสงบละเอียด เป็น เครื่องให้เกิดการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เป็นเครื่องรักษาไว้ซึ่งคุณธรรมทั้งปวง เป็นที่เกิดแห่งแก้วอันประเสริฐคืออภิญญา ๖ เป็นเครื่องประกอบ ทําให้เกิดสันติสุขอย่างยิ่ง ทําให้ไม่ล่วงอริยธรรมไปได้

เป็นอันว่า ธุดงคคุณอย่างหนึ่ง ๆ ย่อมทําให้ได้คุณเหล่านี้ ธุดงคคุณเป็นของมีคุณ ชั่งไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน เป็นของประเสริฐสุด

ขอถวายพระพร บุคคลผู้มักมาก ผู้ลวงโลก ผู้ละโมภ ผู้เห็นแก่ท้อง ผู้มุ่งลาภยศ สรรเสริญ ผู้ไม่ประกอบในทางธรรม ย่อมไม่สมควรสมาทานธุดงค์ เพราะจะทําให้ได้รับโทษ ทวีคูณ ทั้งในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป

คือในชาตินี้ก็จะได้รับแต่ความติเตียน ส่วนในชาติหน้าก็จักไปจมอยู่ในอเวจีนรก พ้นจากอเวจีนรกมาแล้ว จะมาเกิดเป็นเปรตอีก เหมือนกับผู้ทําผิดต่อพระราชา ย่อมได้รับ พระราชอาชญา มีตัดมือตัดเท้าเป็นต้นฉะนั้น

ส่วนผู้ที่มักน้อยสันโดษ ชอบสงัด มีความเพียรแรงกล้า ไม่มีความโอ้อวดมารยา ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ไม่มุ่งลาภยศ สรรเสริญ เป็นผู้บวชด้วยศรัทธา ปรารถนาจะพ้นจาก ชรามรณะ จึงควรสมาทานธุดงค์

เมื่อสมาทานธุดงค์แล้ว ย่อมได้รับผลทวีคูณ ย่อมเป็นที่รักใคร่พอใจของเทพยดา มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อมั่นอยู่ในธุดงค์แล้ว คุณธรรมทั้งหลายก็เจริญขึ้น แล้วก็ได้สําเร็จ โลกุตตรผลนานาประการ เหมือนกับผู้เป็น ข้าเฝ้าของพระมหากษัตริย์ ทําให้เป็นที่โปรดปรานของพระมหากษัตริย์แล้ว ย่อมได้รับพระราชทานสิ่งของต่าง ๆ ฉะนั้น

ขอถวายพระพร ผู้ที่กระทําให้บริสุทธิ์ ในธุดงคคุณ ๑๓ แล้ว ย่อมได้สําเร็จคุณวิเศษ ต่าง ๆ เป็นต้นว่า รูปสมาบัติ ๔ อรูปสมาบัติ ๔ และอภิญญา ๖ อันว่าธุดงคคุณ ๑๓ นั้น ได้แก่อะไร...

ธุดงค์ ๑๓ ข้อ

๑. ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
๒. ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร
๓. ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

๔. ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร
๕. ถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
๖. ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร
๗ ถือห้ามภัตอันนํามาถวาย เมื่อภายหลังเป็นวัตร

๘. ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
๙. ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร
๑๐. ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร

๑๑. ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร
๑๒. ถืออยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร
๑๓. ถือการนั่งเป็นวัตร

ผู้ที่ทําให้บริบูรณ์ในธุดงคคุณ ๑๓ นั้น แล้วย่อมได้สามัญคุณทั้งปวง เปรียบเหมือน พ่อค้าเรือผู้มีทรัพย์ ไปค้าขายได้กําไรงามฉะนั้น หรือเปรียบเหมือนชาวนาทํานาได้ข้าวมาก เปรียบเหมือนกษัตริย์ ได้เป็นใหญ่ในปฐพีฉะนั้น
ขอถวายพระพร พระอุปเสนเถระ ผู้เป็นบุตรแห่งวังคันตพราหมณ์ ได้ทําให้ บริบูรณ์ในธุดงคคุณ ได้รับสรรเสริญจาก พระพุทธองค์ในที่ประชุมชน

ขอถวายพระพร ดอกปทุมอันเป็นที่ต้องการของคนทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ คือ เป็นของอ่อนนุ่ม ๑ สวยงาม ๑ มีกลิ่นหอม ๑ น่ารัก ๑ น่าต้องการ ๑ น่าสรรเสริญ ๑ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและตม ๑ ประดับไปด้วยใบอ่อนเกษรและกลีบ ๑ เป็นที่ประชุมแห่งแมลงผึ้งแมลงภู่ ๑ เจริญ อยู่ในน้ำอันเย็น ๑

ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ธุดงคคุณก็ประกอบ ด้วยคุณ ๑๐ ประการฉันนั้น คือ อ่อนสนิท ๑ สวยงาม ๑ มีกลิ่นหอม ๑ น่ารัก ๑ น่าต้องการ ๑ น่าสรรเสริญ ๑ ไม่แปดเปื้อน ด้วยน้ำและโคลนเลน ๑ ประดับด้วยใบเกษร และก้าน ๑ เป็นที่เกาะเกี่ยวแห่งหมู่แมลงผึ้ง ๑ เกิดขึ้นในน้ำอันเย็น ๑

คุณอันประเสริฐ ๓๐ ของผู้บําเพ็ญธุดงค์

ขอถวายพระพร อริยสาวกย่อมประกอบ ด้วยคุณอันประเสริฐ ๓๐ ด้วยธุดงค์ ๑๓ อันตนได้บําเพ็ญแล้วในชาติก่อน คุณอัน ประเสริฐ ๓๐ นั้น ได้แก่อะไร...ได้แก่

๑. มีจิตเมตตา อ่อนโยน เยือกเย็น
๒. ฆ่ากิเลส กําจัดกิเลส
๓. ฆ่ามานะทิฏฐิ กําจัดมานะทิฏฐิ
๔. มีศรัทธาตั้งมั่น

๕. ได้ความร่าเริงดีใจง่าย
๖. ได้สมาบัติอันเป็นสุขอย่างสงบแน่นอน
๗. อบรมด้วยกลิ่นหอมคือศีล
๘. เป็นที่รักของเทวดามนุษย์ทั้งหลาย

๙. ได้กําลังแห่งพระขีณาสพ
๑๐. เป็นที่ปรารถนาของพระอริยบุคคล
๑๑. เป็นที่สรรเสริญและเป็นที่เชยชม แห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย
๑๒. เป็นที่กราบไหว้บูชาของพวกอสูร

๑๓. เป็นที่สรรเสริญของมารทั้งหลาย
๑๔. เป็นผู้ไม่ติดอยู่ในโลก
๑๕. เป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย
๑๖. เป็นผู้สําเร็จประโยชน์อันประเสริฐ คือมรรคผล

๑๗. เป็นผู้มีส่วนแห่งปัจจัยอันไพบูลย์ประณีต
๑๘. เป็นผู้ไม่ห่วงใยในที่อยู่ที่นอน
๑๙. เป็นผู้อยู่ด้วยฌานอันประเสริฐ
๒๐. เป็นผู้ตัดวัตถุแห่งกิเลสให้ขาดสูญ

๒๑. มั่นอยู่ในธรรมอันไม่รู้จักกําเริบ
๒๒. มีการบริโภคสิ่งไม่มีโทษ
๒๓. เป็นผู้หลุดพ้นจากคติ คือภพที่จะถือ กําเนิดอีก
๒๔. เป็นผู้ข้ามความสงสัยทั้งปวงได้

๒๕. เป็นผู้เพ่งต่อวิมุตติ คือความหลุดพ้น
๒๖. เป็นผู้เข้าถึงซึ่งเครื่องป้องกันภัย อันไม่หวั่นไหว
๒๗. เป็นผู้ตัดอนุสัย คือกิเลสละเอียดเสียได้

๒๘. เป็นผู้ถึงความสิ้นอาสวะทั้งปวง
๒๙. เป็นผู้ได้ซึ่งสุขสมาบัติอันสงบ
๓๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสมณคุณ คือคุณแห่งสมณะ

ขอถวายพระพร พระสารีบุตรเถระ ผู้ล้ำเลิศในหมื่นโลกธาตุ ยกองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอเหมือน ก็เพราะได้อบรมในธุดงคคุณ ๑๓ มาตลอด อสงไขย หาประมาณมิได้ ได้รับยกย่องจาก พระพุทธองค์ว่า
"เป็นผู้ใช้พระธรรมจักรอันเยี่ยม ตามเยี่ยงอย่างพระพุทธองค์ได้"

จึงเป็นอันว่า ธุดงคคุณ ให้ซึ่งคุณหาที่สุดมิได้อย่างนี้แล ขอถวายพระพร”
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า พระพุทธวจนะทั้งสิ้น ที่ให้สําเร็จคุณวิเศษทั้งหลาย ย่อมรวมลงใน ธุดงคคุณ ๑๓ ทั้งนั้น ข้อนี้ เป็นอันโยมเข้าใจดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า”

อธิบาย

พระอุปเสนเถระ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติขัดเกลาด้วยธุดงคคุณ ท่านได้เดินทางไป กรุงสาวัตถี มิได้เอื้อเฟื้ออาลัยในข้อกติกา ของพระสงฆ์ทั้งหลาย พาภิกษุผู้เป็นศิษย์ ของตนเข้าไปสู่สํานักของพระผู้มีพระภาค ในเวลาเสด็จเข้าที่เร้นอันสงัด ถวายนมัสการ โดยเคารพแล้ว ก็นั่งอยู่ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ส่วนว่าองค์สมเด็จพระบรมศาสดา ทอดพระเนตรดูผู้เป็นศิษย์ของพระอุปเสนนั้น มีกิริยาพาทีเป็นแบบเดียวพิมพ์เดียวกัน ก็มีพระหฤทัยหรรษา จึงตรัสสนทนาปราศรัย ด้วยกับศิษย์ของพระอุปเสนนั้น
แล้วจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
"ดูก่อนอุปเสนะ ศิษย์ของเธอเหล่านี้ ดูจริยามารยาทเป็นพิมพ์เดียวกัน ศิษย์ของเธอนั้น สั่งสอนกันด้วยอุบายประการใด?"

พระอุปเสนจึงทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเข้ามาสู่สํานักของข้าพระองค์แล้ว ขอบรรพชาก็ดี ขอนิสสัยก็ดี ข้าพระองค์จึงว่า รูปนี้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ถ้าแม้ท่านถือได้อย่างนี้ จึงจะบวชให้ และจะให้นิสสัย ถ้าทําไม่ได้ก็ไม่บวชให้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ศิษย์ของข้าพระองค์ จึงพร้อมกัน ปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า” ดังนี้

<<โปรดติดตามอ่าน อุปมาปัญหา ว่าด้วยอุปมาต่าง ๆ>>


◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 31/1/11 at 14:52 Reply With Quote



อุปมาปัญหา ว่าด้วยอุปมาต่าง ๆ


“ข้าแต่พระนาคเสน ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร จึงสําเร็จพระอรหันต์ได้?”
ขอถวายพระพร ภิกษุผู้มุ่งจะสําเร็จพระอรหันต์ ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งลา องค์ ๕ แห่งไก่ องค์ ๑๐ แห่งกระแต องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง องค์ ๒ แห่งพ่อเสือเหลือง องค์ ๕ แห่งเต่า องค์ ๑ แห่งไม้ไผ่ องค์ ๒ แห่งกา องค์ ๒ แห่งวานร (นี้เป็น วรรคที่ ๑)

(วรรคที่ ๒) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งเครือ น้ำเต้า องค์ ๓ แห่งดอกปทุม องค์ ๒ แห่งพัด องค์ ๑ แห่งไม้ขานาง องค์ ๓ แห่งเรือ องค์ ๒ แห่งเครื่องขัดข้องเรือ องค์ ๑ แห่งเสากระโดง องค์ ๓ แห่งนายท้ายเรือ องค์ ๑ แห่งกรรมกร องค์ ๕ แห่งทะเล

(วรรคที่ ๓) ควรถือเอาองค์ ๕ แห่งปฐพี องค์ ๕ แห่งแม่น้ำ องค์ ๕ แห่งไฟ องค์ ๕ แห่งพายุ องค์ ๕ แห่งบรรพต องค์ ๕ แห่งอากาศ องค์ ๕ แห่งพระจันทร์ องค์ ๗ แห่งพระอาทิตย์ องค์ ๓ แห่งท้าวสักกะ องค์ ๕ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

(วรรคที่ ๔) ควรถือเอาเองค์ ๑ แห่งปลวก องค์ ๒ แห่งแมว องค์ ๑ แห่งหนู องค์ ๑แห่งแมงป่อง องค์ ๑ แห่งพังพอน องค์ ๒ แห่งสุนัขจิ้งจอก องค์ ๓ แห่งเนื้อในป่า องค์ ๔ แห่งโค องค์ ๒ แห่งหมู องค์ ๕ แห่งช้าง

(วรรคที่ ๕) ควรถือเอาเองค์ ๗ แห่ง ราชสีห์ องค์ ๓ แห่งนกจากพราก องค์ ๒ แห่งนกเงือก องค์ ๑ แห่งนกกระจอก องค์ ๒ แห่งนกเค้า องค์ ๒ แห่งตะขาบ องค์ ๒ แห่งค้างคาว องค์ ๑ แห่งปลิง องค์ ๓ แห่งงู องค์ ๑ แห่งงูเหลือม

(วรรคที่ ๖)ควรถือเอาองค์ ๑ แห่ง แมงมุม องค์ ๑ แห่งเด็กอ่อน องค์ ๑ แห่ง เต่าเหลือง องค์ ๕ แห่งป่า องค์ ๓ แห่งต้นไม้ องค์ ๕ แห่งเมฆ องค์ ๓ แห่งแก้วมณี องค์ ๔ แห่งนายพราน องค์ ๒ แห่งพรานเบ็ด องค์ ๒ แห่งช่างไม้

(วรรคที่ ๗) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่ง ช่างหม้อ องค์ ๒ แห่งกาลักน้ำ องค์ ๓ แห่ง ฉัตร องค์ ๓ แห่งนา องค์ ๒ แห่งยาดับพิษงู องค์ ๓ แห่งโภชนะ องค์ ๔ แห่งนายขมังธนู องค์ ๔ แห่งพระราชา องค์ ๒ แห่งนายประตู องค์ ๑ แห่งหินบด

(วรรคที่ ๘ ควรถือเอาองค์ ๒ แห่ง ประทีป องค์ ๒ แห่งนกยูง องค์ ๒ แห่ง โคอุสุภราช องค์ ๒ แห่งม้า องค์ ๒ แห่งบ่อน้ำ องค์ ๒ แห่งเขื่อน องค์ ๒ แห่งคันชั่ง องค์ ๒ แห่งพระขรรค์ องค์ ๒ แห่งชาวประมง องค์ ๑ แห่งกู้หนี้

(วรรคที่ ๙) ควรถือเอาองค์ ๒ แห่ง คนเจ็บป่วย องค์ ๒ แห่งหนทาง องค์ ๒ แห่งแม่น้ำ องค์ ๑ แห่งมหรสพ องค์ ๓ แห่งบาตร องค์ ๑ แห่งของเสวย องค์ ๓ แห่งโจร องค์ ๑ แห่งเหยี่ยวนกเขา องค์ ๑ แห่งสุนัข องค์ ๓ แห่งคนรักษาโรค องค์ ๒ แห่งหญิงมีครรภ์

(วรรคที่ ๑๐) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งนก จามรี องค์ ๒ แห่งนกกระต้อยตีวิด องค์ ๒ แห่งนกพิราบ องค์ ๒ แห่งนกตาข้างเดียว องค์ ๓ แห่งคนไถนา องค์ ๑ แห่งสุนัข จิ้งจอกชัมพุกะ องค์ ๒ แห่งผ้ากรองด่าง องค์ ๑ แห่งทัพพี องค์ ๓ แห่งคนใช้หนี้แล้ว องค์ ๑ แห่งอวิจีนิกะ

(วรรคที่ ๑๑) ควรถือเอาองค์ ๒ แห่งนาย สารถี องค์ ๑ แห่งช่างหูก องค์ ๑ แห่งมัตถยิกะ องค์ ๒ แห่งโภชนกะ องค์ ๑ แห่งช่างชุน องค์ ๑ แห่งนายเรือ องค์ ๒ แห่งแมลงภู่

◄ll กลับสู่สารบัญ




โฆรสวรรคที่ ๑

อุปมาองค์ ๑ แห่งลา


“ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่าควรถือองค์ ๑ แห่งลานั้น หมายความว่า องค์หนึ่งแห่งลานั้น ได้แก่อะไร?”
“ขอถวายพระพร ธรรมดาว่า ลา นั้น ไม่เลือกที่นอน นอนบนกองหยากเยื่อก็มี ที่ทาง ๔ แพร่งก็มี ๓ แพร่งก็มี ที่ประตูบ้านก็มี ที่กองแกลบก็มีฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่เลือก ที่นอนฉันนั้น ปูแผ่นหนังลงไป ในที่ปูด้วย หญ้าหรือใบไม้ หรือเตียงไม้ หรือแผ่นดิน แห่งใดแห่งหนึ่งแล้วก็นอนฉันนั้น

ข้อนี้สมกับที่มีพระพุทธดํารัสไว้ว่า
"ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ ทํากายเหมือนท่อนไม้ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร"
ส่วน พระสารีบุตรเถระ ได้กล่าวไว้ว่า
"การนั่งคู้บัลลังก์ คือนั่งขัดสมาธิก็พออยู่สบาย สําหรับภิกษุผู้มุ่งต่อพระนิพพาน" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

อุปมาองค์ ๕ แห่งไก่

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งไก่นั้น ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ไก่ ย่อมอยู่ในที่สงัดแต่ในเวลายังวันฉันใด พระโยคาวจร ก็กวาดลานพระเจดีย์ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ อาบน้ำ ชําระกาย ไหว้พระเจดีย์แต่ในเวลายังวัน แล้ว ไปหาอยู่ในที่สงัดแต่ในเวลายังวันฉันนั้น อันนี้ เป็นองค์แรกแห่งไก่

ธรรมดาไก่ย่อมตื่นแต่เช้าฉันใด พระโยคาวจรก็ตื่นแต่เช้าฉันนั้น แล้วลงไปปัดกวาดลานพระเจดีย์ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ชําระร่างกายดีแล้ว ก็กราบไหว้พระเจดีย์แล้ว จึงเข้าไปสู่ที่สงัดอีก อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งไก่

ธรรมดาไก่ย่อมคุ้ยเขี่ยพื้นดินหากินอาหาร ฉันใด พระโยคาวจรก็พิจารณาแล้วจึงฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อให้เกิดความคะนอง ความมัวเมา ความสวยงามแห่งร่างกาย ฉันเพียงให้กายนี้ อยู่ได้ เพื่อจะได้ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป และเพื่อบรรเทาเวทนาเก่า กําจัดเวทนาใหม่ เท่านั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งไก่

ข้อนี้สมกับสมเด็จพระจอมไตรตรัสไว้ว่า
"บุคคลกินเนื้อแห่งบุตรในทางกันดาร ได้ด้วยความลําบากใจ กินพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันใด หรือบุคคลเติมน้ำมันหยอดเพลา พอให้รถแล่นไปได้ฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันอาหารพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันนั้น"

ธรรมดาไก่ถึงมีตา ก็เหมือนตาบอดในเวลากลางคืนฉันใด พระโยคาวจรถึงตาไม่บอด ก็ควรเป็นเหมือนตาบอดฉันนั้น ทั้งในเวลาอยู่ในป่าหรือเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้ ต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันน่ายินดี อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งไก่

ข้อนี้สมกับถ้อยคําของ พระมหากัจจายนเถระ กล่าวไว้ว่า
"พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้ คนไม่มีกําลัง เมื่อเกิด เรื่องขึ้น ควรนอนเหมือนคนตาย" ดังนี้

ธรรมดาไก่ถึงถูกไล่ตีด้วยก้อนดิน ไม้ค้อน หรือถูกตีด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตาม ก็ไม่ทิ้งที่อยู่ ของตนฉันใด พระโยคาวจรถึงจะทําจีวรกรรม คือการทําจีวร หรือนวกรรม คือการก่อสร้าง การเรียน การถาม ก็ไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการ คือตั้งใจไว้ด้วยอุบายอันชอบฉันนั้น อันนี้ เป็นองค์ ๕ แห่งไก่

ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
"อะไรเป็นโคจรของภิกษุ เป็นวิสัยบิดาของตน อันนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้
ถึง พระสารีบุตรเถระ ก็ได้กล่าวไว้ว่า
"ไก่ย่อมไม่ทิ้งเล้าไก่ของตน ย่อมรู้จักสิ่งที่ควรกินไม่ควรกิน พอให้ชีวิตเป็นไปได้ฉันใด พระพุทธบุตรก็ไม่ควรประมาท ไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการอันประเสริฐฉันนั้น" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

ตอนที่ ๓๔

อุปมาองค์ ๑ แห่งกระแต


“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งกระแต ได้แก่อะไร?”
“ขอถวายพระพร ธรรมดา กระแต เมื่อ พบศัตรูย่อมพองหางขึ้นให้ใหญ่ต่อสู้กับศัตรูฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น เมื่อเกิดศัตรูคือ กิเลสขึ้น ก็พองหางคือ สติปัฏฐาน ให้ใหญ่ขึ้น กั้นกางกิเลสทั้งปวงด้วยหาง คือสติปัฏฐาน อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งกระแต

ข้อนี้สมกับคําของ พระจูฬปันถก ว่า "เมื่อกิเลสอันจะกําจัดคุณสมณะปรากฏขึ้นในเวลาใด เวลานั้นพระโยคาวจรก็พองหาง คือสติปัฏฐานขึ้นบ่อย ๆ ฉันนั้น"

องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลืองนั้นคืออย่างไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา แม่เสือเหลือง พอมีท้องแล้ว ก็ไม่เข้าใกล้ตัวผู้อีกฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น พระโยคาวจรได้เห็น ปฏิสนธิ คือความเกิด ความอยู่ในครรภ์ ความจุติ ความแตก ความสิ้น ความวินาศ ทุกขภัยในสงสารแล้ว ก็ควรกระทําโยนิโส มนสิการด้วยคิดว่า เราจักไม่เกิดในภพทั้งหลายอีก อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง ข้อนี้ สมกับพระพุทธพจน์ใน ธนิยโคปาลสูตร ว่า

"ธรรมดาโคผู้สลัดเครื่องผูกไว้ ทําลายเถาวัลย์ให้ขาดแล้ว ย่อมไม่กลับไปสู่เครื่องผูกอีกฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือควรคิดว่า เราจักไม่ยอมเกิดอีก" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๒ แห่งเสือเหลือง

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งเสือเหลืองนั้นได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดาว่า เสือเหลือง ย่อมไปแอบซุ่มอยู่ตามกอหญ้า พุ่มไม้ ซอกเขาในป่าแล้วก็จับเนื้อฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรย่อมไปหาที่อยู่ในที่สงัด อันได้แก่ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าใหญ่ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อได้ที่สงัดอย่างนั้น ก็ได้สําเร็จอภิญญา ๖ ในไม่ช้า อันนี้เป็นองค์ที่๑ แห่งเสือเหลือง

ข้อนี้สมกับคําของ พระเถระผู้ทําสังคายนาทั้งหลาย ว่า
"เสือเหลืองแอบซุ่มจับเนื้อฉันใด พระพุทธบุตรผู้ประกอบความเพียร ผู้เจริญวิปัสสนา ก็เข้าไปอยู่ป่าแล้วถือเอาซึ่งผลอันสูงสุดฉะนั้น"

ธรรมดาเสือเหลืองย่อมไม่กินเนื้อที่ล้มลงข้างซ้ายฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรย่อมไม่ฉันอาหารที่ได้ด้วยผิดธรรมวินัย คือได้ด้วยการลวงโลก การประจบ การพูดเลียบเคียง การพูดเหยียดผู้อื่น การแลกลาภด้วยลาภ หรือด้วยการให้ไม้แก่น ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้ผลไม้ ให้ดินเหนียว

ให้ผงผัดหน้า ให้เครื่องถูตัว ให้ไม้สีฟัน ให้น้ำล้างหน้า ให้ข้าวต้ม ให้แกงถั่ว ให้ของแลกเปลี่ยนแก่ชาวบ้าน หรือรับใช้ชาวบ้าน หรือเป็นหมอ เป็นทูต เป็นผู้รับส่งข่าว หรือ ให้อาหารแลกอาหาร หรือวัตถุวิชา เขตตวิชา อัควิชา อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนกับเสือเหลือง ไม่กินเนื้อที่ล้มลงข้างซ้าย อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเสือเหลือง

ข้อนี้สมกับคําของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
"พระภิกษุคิดว่า ถ้าเราฉันอาหารที่เกิดจากการขอด้วยวาจา เราก็จะมีโทษ มีผู้ติเตียน ถึงไส้ของเราจะทะลักออกมาภายนอกก็ตาม เราก็จักไม่ทําลายอาชีวปาริสุทธิศีล (เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ) เป็นอันขาด"

คํานี้พระอุปเสนวังคันตบุตรก็ได้กล่าวไว้ว่า
"ถึงไส้ใหญ่ของเราจักทะลักออกมาข้างนอกก็ตาม เราก็จะไม่ให้เสียอาชีวปาริสุทธิศีล ไม่ประพฤติอเนสนกรรม ทําลายอาชีวะนั้น เป็นอันขาด" ขอถวายพระพร”

องค์ ๕ แห่งเต่า

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งเต่าได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา เต่า ย่อมอยู่ในน้ำฉันใด พระโยคาวจรก็อยู่ด้วยเมตตาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเต่า

ธรรมดาเต่าเมื่อโผล่ขึ้นจากน้ำย่อมชูศีรษะแลดูสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วจึงจมไปให้ลึก ด้วยคิดว่า อย่าให้มีผู้อื่นเห็นเราฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือเมื่อกิเลสเกิดขึ้นก็ดําลงไปในสระน้ำคืออารมณ์ให้ลึกด้วยคิดว่าอย่าให้กิเลสเห็นเราอีก อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเต่า

ธรรมดาเต่าย่อมขึ้นจากน้ำมาผิงแดดฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจร เลิกจากการนั่ง การยืน การนอน การเดินแล้ว ก็ทําให้ใจร้อนในสัมมัปปธาน (ความเพียรที่ตั้ง ไว้ถูกต้อง) อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งเต่า

ธรรมดาเต่าย่อมขุดดินลงไปอยู่ในที่เงียบฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรทิ้งลาภ สักการะ สรรเสริญแล้วก็เข้าป่าหาที่อยู่สงัด อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งเต่า ข้อนี้สมกับคําของพระอุปเสนวังคันตบุตร ว่า
"พระภิกษุควรอยู่ในเสนาสนะที่สงัด ที่ไม่มีเสียงอึกทึก มีแต่หมู่สัตว์ร้าย เพื่อเห็นแก่ความสงัด" ดังนี้

ธรรมดาเต่าเมื่อเที่ยวไป ถ้าได้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็หดตีนหดหัวเข้าอยู่ในกระดองนิ่งอยู่เพื่อรักษาตัวฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือ เมื่ออารมณ์อันน่ารักใคร่ภายนอกมาปรากฏ พระโยคาวจรปิดประตูระวังสํารวมใจไว้ข้างใน มีสติสัมปชัญญะรักษาสมณธรรมอยู่ อันนี้ เป็นองค์ที่ ๕ แห่งเต่า

ข้อนี้สมกับคําของพระพุทธเจ้าว่า
"เต่าย่อมซ่อนอวัยวะทั้ง ๕ ไว้ในกระดองของตนฉันใด พระภิกษุก็ควรตั้งใจมิให้อยู่ในวิตก ไม่อิงอาศัยอะไร ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ติเตียนใครฉันนั้น" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๑ แห่งไม้ไผ่

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งไม้ไผ่ ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ไม้ไผ่ ย่อมอ่อนไปตามลม ไม่ขัดขืนฉันใด พระโยคาวจร ก็กระทําตามคําสอนของพระพุทธเจ้า กระทําแต่สิ่งที่สมควร ไม่ฝ่าฝืนพระธรรมวินัยฉันนั้น

ข้อนี้สมกับคําของ พระราหุลเถระ ว่า "ควรกระทําตามซึ่งคําในพระพุทธวจนะ อันมีองค์ ๙ ประการทุกเมื่อ ควรทําแต่สิ่งที่สมควร สิ่งที่ไม่มีโทษ ควรพยายามให้ยิ่ง ขึ้นไป" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๑ แห่งแล่งธนู

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งแล่งธนู ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา แล่งลูกธนู คือรางหน้าไม้ที่ช่างทําดีแล้ว ย่อมตรงตลอดต้น ตลอดปลายฉันใด พระโยคาวจรก็ควรตรงต่อเพื่อนพรหมจรรย์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งแล่งธนู

ข้อนี้สมกับคําของพระพุทธองค์ใน วิธุรปุณณกชาดก ว่า
"ธีรชนควรเป็นเหมือนแล่งธนู ควรอ่อนตามลมเหมือนไม้ไผ่ ไม่ควรทําตนเป็นข้าศึก จึงจักอยู่ในพระราชสํานักได้" ขอถวายพระพร”

องค์ ๒ แห่งกา

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งกาได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา กา ย่อมระแวงสงสัยอยู่เสมอ ย่อมขวนขวายอยู่เสมอฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจร มีความระมัดระวังอยู่เสมอ สํารวมอินทรีย์ อยู่เสมอ อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งกา

ธรรมดากาเห็นอาหารสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือ ซากสัตว์หรือของเดน แล้วก็ป่าวร้างพวกญาติ มากินฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือ เมื่อได้ลาภโดยชอบธรรมแล้ว ควรแจกแบ่งให้ เพื่อนพรหมจรรย์ อันนี้เป็นองค์ ๒ แห่งกา

ข้อนี้สมกับคําของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
"ถ้ามีผู้น้อมนําโภชนาหารให้แก่เรา เราก็แจกแบ่งเสียก่อนแล้วจึงฉัน" ขอถวายพระพร”

องค์ ๒ แห่งวานร

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งวานรได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา วานร เมื่อหาที่อยู่ ก็ไปหาที่อยู่อันป้องกันภัยได้ คือ ต้นไม้ใหญ่ ที่มีกิ่งดกหนาเงียบสงัดฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือพระโยคาวจร ควรหาที่อยู่กับกัลยาณมิตร ผู้มีศีลธรรมดีงาม ผู้มีความรู้มาก ผู้รู้จักสั่งสอน อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งวานร

ธรรมดาวานรย่อมเที่ยวไปตามต้นไม้ ยืนบนต้นไม้ นั่งบนต้นไม้ นอนบนต้นไม้ อยู่บนต้นไม้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือควรยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในป่า ควรอบรมสติปัฏฐานอยู่ในป่า อันนี้เป็นองค์ ที่ ๒ แห่งวานร

ข้อนี้สมกับคําของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
"ภิกษุผู้ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในป่าย่อม ดูงาม เพราะป่าเป็นของที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

จบโฆรสวรรคที่ ๑


◄ll กลับสู่สารบัญ



ลาวุลตาวรรคที่ ๒

องค์ ๑ แห่งเครือน้ำเต้า

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งเครือน้ำเต้าได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา เครือน้ำเต้า ย่อมเอางวงของตนเกาะหญ้าหรือต้นไม้เครือไม้ขึ้นไปงอกงามอยู่เบื้องบนฉันใด พระโยคาวจร ผู้มุ่งความเจริญในพระอรหันต์ ก็ควรยึดหน่วง อารมณ์ด้วยใจ ขึ้นไปเจริญอยู่ในความเป็นพระอรหันต์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งเครือน้ำเต้า

ข้อนี้สมกับคําของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
"ธรรมดาเครือน้ำเต้าย่อมเอางวงของตน พันหญ้าหรือต้นไม้ หรือเครือไม้ แล้วขึ้นไปงอกงามอยู่เบื้องบนฉันใด พระพุทธบุตรผู้มุ่ง หวังอรหัตตผล ก็ควรยึดหน่วงอารมณ์ ทําให้ อเสขผล (ผลที่ไม่ต้องเป็นผู้ศึกษาอีก) เจริญฉันนั้น" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๓ แห่งดอกปทุม

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งดอกปทุมได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ดอกปทุม เกิดอยู่ในน้ำ โตอยู่ในน้ำ แต่น้ำไม่ติดค้างอยู่ได้ฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรติดอยู่ใน ตระกูล หมู่คณะ ลาภยศ การบูชานับถือ และจตุปัจจัยที่บริโภค กับกิเลสทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งดอกปทุม

ธรรมดาดอกปทุมย่อมพ้นน้ำขึ้นไปตั้งอยู่ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรครอบงําโลกทั้งสิ้น สูงขึ้นไปจากโลก แล้วอยู่ในโลกุตตรธรรมฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งดอกปทุม
ธรรมดาดอกปทุมถูกลมพัดเพียงเล็กน้อยก็ไหวฉันใด พระโยคาวจรก็ควรระวังกิเลสแม้ เพียงเล็กน้อย ควรเห็นโทษแม้เพียงเล็กน้อยว่า เป็นของน่ากลัวฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งดอกปทุม

ข้อนี้สมกับคําของพระพุทธเจ้าว่า
"ภิกษุย่อมเห็นภัยในโทษอันเล็กน้อย แล้วถือมั่นอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๒ แห่งพืช

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งพืช ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา พืช ถึงมี เพียงเล็กน้อย เมื่อเขาปลูกหว่านลงในที่ดี เวลาฝนตกลงมาดี ก็ย่อมให้ผลมากฉันใด พระโยคาวจรก็ควรปฏิบัติชอบ เพื่อให้ศีล ส่งให้ได้โลกุตตรผลฉันนั้น อันนี้เป็นองค์แรกแห่งพืช

ธรรมดาพืชที่เขาปลูกหว่านลงในที่บริสุทธิ์ดี ย่อมงอกขึ้นได้เร็วฉันใด จิตของพระโยคาวจรผู้อยู่ในที่สงัด ผู้อบรมสติปัฏฐาน ก็งอกงามขึ้นได้เร็วฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งพืช

ข้อนี้สมกับคําของ พระอนุรุทธเถระ ว่า
"พืชอันตั้งอยู่ในที่บริสุทธิ์ดี ย่อมมีผลไพบูลย์ ทําให้ผู้ปลูกหว่านดีใจฉันใด จิตของพระโยคาวจรที่บริสุทธิ์อยู่ในที่สงัด ก็งอกงามขึ้นเร็วในที่ดินอันดี คือสติปัฏฐานฉันนั้น" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๑ แห่งไม้ขานาง

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งไม้ขานาง ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ไม้ขานาง ย่อมเจริญอยู่ใต้ดิน แล้วสูงขึ้นตั้ง ๑๐๐ ศอกฉันใด พระโยคาวจรก็ควรแสวงหาสมณธรรม คือสามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ อยู่ในที่สงัดฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งไม้ขานาง

ข้อนี้สมกับคําของ พระราหุลเถระ ว่า
"ไม้ขานางมีรากหยั่งลงไปใต้ดินตั้ง ๑๐๐ ศอก เวลาถึงกาลแก่แล้ว ก็งอกขึ้นในวันเดียวตั้ง ๑๐๐ ศอกฉันใด พระโยคาวจรผู้อยู่ในที่สงัด ก็เจริญขึ้นด้วยธรรมฉันนั้น" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๓ แห่งเรือ

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งเรือ ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา เรือ ย่อมพาคนเป็นอันมากข้ามแม่น้ำไป ด้วยความพร้อม กันแห่งไม้ขนานต่าง ๆ เป็นอันมากฉันใด พระโยคาวจรก็ควรข้ามโลกนี้กับทั้งเทวโลกไปด้วยความพร้อมกัน แห่งความขนานกันด้วยธรรมหลายอย่าง คือ อาจารคุณ สีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ อันนี้เป็นองค์แรกแห่งเรือ

ธรรมดาเรือย่อมสู้ลูกคลื่น สู้ลมเป็นอันมากฉันใด พระโยคาวจรก็ควรสู้ลูกคลื่นคือ กิเลสต่าง ๆ เป็นอันมาก เช่นลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ การบูชา การกราบไหว้ การนินทา สรรเสริญ ความสุข ความทุกข์ ความนับถือ ความดูหมิ่น เป็นอันมากฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ที่ ๒ แห่งเรือ

ธรรมดาเรือย่อมแล่นไปในมหาสมุทรอันกว้างลึก เต็มไปด้วยสัตว์น้ำหาประมาณมิได้ มีปลาติงมิงคละ มังกร เป็นต้น ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้ใจอันขวนขวายซึ่งบารมีที่จะข่มขี่เสียซึ่งสัญญาทั้งปวง เที่ยวไปในการรู้แจ้งแทงตลอด ซึ่งสัจจะ ๔ อันมีรอบ ๓ มี อาการ ๑๒ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งเรือ

ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน สัจจสังยุตต์ อันมีในสังยุตตนิกายว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลาย จะคิดก็ควรคิดว่า อันนี้เป็นทุกข์ อันนี้เป็น ทุกขสมุทัย อันนี้เป็นทุกขนิโรธ อันนี้เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ขอถวายพระพร”

องค์ ๒ เครื่องขัดข้องเรือ

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งเรือ อันติดหินโสโครกในมหาสมุทรนั้น ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา เครื่องขัดข้องแห่งเรือ ย่อมขัดข้องเรือไว้ในมหาสมุทรกว้างใหญ่ อันมากไปด้วยละลอกคลื่น ไม่ให้ไปสู่ทิศต่าง ๆ ได้ฉันใด พระโยคาวจรก็มีจิตข้องอยู่ในลูกคลื่น คือราคะ โทสะ โมหะ ในเครื่องกระทบคือวิตกใหญ่ ไม่ให้ไปสู่ทิศต่างๆ ได้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์แรกแห่งเครื่องขัดข้องเรือ

ธรรมดาเครื่องขัดข้องเรือ ย่อมข้องเรือไว้ในน้ำอันลึกตั้ง ๑๐๐ ศอกก็มีฉันใด พระโยคาวจรไม่ควรข้องอยู่ในเครื่องข้อง คือ ลาภ ยศ สักการะ การกราบไหว้บูชา ควร ตั้งจิตไว้ในปัจจัย พอให้ร่างกายเป็นไปได้เท่านั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเครื่องขัดข้องเรือ

ข้อนี้สมกับคําของพระสารีบุตรเถระ ว่า
"เครื่องขัดข้องเรือในมหาสมุทร ย่อมไม่ลอยอยู่ มีแต่จมอยู่ข้างล่างฉันใด ท่านทั้งหลาย อย่าข้องอยู่ในลาภสักการะ อย่าจมอยู่ในลาภสักการะฉันนั้น" ขอถวายพระพร”

องค์ ๑ แห่งเสากระโดง

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งเสา กระโดงได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา เสากระโดง ย่อมทรงไว้ซึ่งเชือกและรอกและใบเรือฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ทุกเวลาก้าวหน้า ถอยกลับ แลเหลียว คู้เหยียด ครองสังฆาฏิ บาตร จีวร ฉันดื่ม เคี้ยมลิ้ม ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ เดิน ยืน นั่ง นอน ตื่น พูด นิ่ง ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งเสากระโดง

ข้อนี้สมกับคําของพระพุทธเจ้าว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ อันนี้เป็นคําสั่งสอนสําหรับ เธอทั้งหลาย" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๓ แห่งนายท้ายเรือ

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งต้นหน คือนายท้ายเรือได้แก่สิ่งไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ต้นหน ย่อมเอาใจใส่เรืออยู่เป็นนิจ ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ประมาทเผลอเรอฉันใด พระโยคาวจรก็ควรไม่ประมาท ควรกําหนดจิตไว้ด้วยโยนิโสมนสิการอยู่เป็นนิจ ทั้งกลางวันและกลางคืนฉันนั้น อันนี้เป็นองค์๑แห่งต้นหน

ข้อนี้ สมกับพระดํารัสของสมเด็จพระทศพลใน พระธรรมบท ว่า
"เธอทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท จงรักษาจิตของตน จงยกตนขึ้นจากหล่ม เหมือนกับกุญชรที่ตกหล่ม แล้วยกตนขึ้น จากหล่มได้ฉันนั้น"

ธรรมดาต้นหนย่อมรู้สิ่งที่ดีและไม่ดีใน มหาสมุทรได้สิ้นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรรู้จักสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษไม่มีโทษ ควรเกี่ยวข้องไม่ควรเกี่ยวข้อง เลวดี เปรียบ ด้วยของดําของขาวฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งต้นหน

ธรรมดาต้นหนย่อมตั้งเข็มทิศด้วยตนเอง ไม่ให้ผู้อื่นแตะต้องฉันใด พระโยคาวจรก็ควร ตั้งเข็มทิศไว้ในใจ ห้ามใจไม่ให้นึกถึงสิ่งที่เป็นบาปอกุศลต่าง ๆ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งต้นหน
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ที่ปรากฏ อยู่ ในคัมภีร์ สังยุตตนิกาย ว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่า นึกถึงสิ่งที่เป็นบาปอกุศล อันเป็นกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกเลย" ขอถวายพระพร”

องค์ ๑ แห่งกรรมกร

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งกรรมกร ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา กรรมกร ย่อมคิดว่า เราเป็นลูกจ้าง เราจักต้องให้ได้ ค่าจ้างมาก เราจักต้องไม่ประมาทฉันใด พระ โยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือควรคิดว่า เมื่อ เราพิจารณากายอันประกอบด้วยธาตุ ๔ นี้ เราก็เป็นผู้ไม่ประมาทเนือง ๆ มีสติสัมปชัญญะ ดี มีใจแน่วแน่ เมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็จักพ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้า รําพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ เพราะฉะนั้น เราไม่ ควรจะประมาท อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งกรรมกร

ข้อนี้สมกับคําของพระสารีบุตรเถระว่า
"ขอท่านทั้งหลาย จงพิจารณากายนี้ จงกําหนดรู้กายนี้ร่ำไป จงเห็นสภาพในกาย จึงจักทําให้สิ้นทุกข์ได้" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๕ แห่งมหาสมุทร

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่ง มหาสมุทรได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา มหาสมุทร ย่อมไม่อยู่ร่วมกับซากศพฉันใด พระโยคาวจร ก็ไม่ควรอยู่ร่วมกับราคะโทสะโมหะ มานะ ทิฏฐิ ลบหลู่คุณท่าน ตระหนี่ ริษยา มายา สาไถย โกหก ความคดโกง ความทุจริต กิเลสมลทินทั้งหลายฉันนั้น อันนี้เป็นองค์แรกแห่งมหาสมุทร

ธรรมดามหาสมุทรย่อมรักษาไว้ซึ่งแก้ว ต่าง ๆ คือ แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ แก้วผลึก ไว้ไม่ให้ กระจัดกระจายออกไปภายนอกได้ฉันใด พระโยคาวจรได้บรรลุมรรคผล ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ วิปัสสนา อภิญญาแล้ว ก็ควรปกปิดไว้ ไม่ควรนําออกไปภายนอกฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งมหาสมุทร

ธรรมดามหาสมุทรย่อมอยู่ร่วมกับ สัตว์ใหญ่ ๆ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มักน้อย ผู้สันโดษ ผู้กล่าวคําอันเป็นเครื่องกําจัด ผู้มีความขัดเกลา ผู้สมบูรณ์ด้วยกิริยามารยาท ผู้เป็นลัชชี ผู้มีศีลเป็นที่รัก ผู้เป็นที่เคารพเป็นที่นับถือ เป็นผู้ว่ากล่าว เป็นผู้ควรแก่การว่ากล่าว ผู้ตักเตือน ผู้ติเตียนความชั่ว ผู้สั่งสอน ผู้ให้รู้แจ้ง ผู้ให้เห็นจริง ให้ถือมั่น ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งมหาสมุทร

ธรรมดามหาสมุทรย่อมเต็มด้วยน้ำไหล มาจากแม่น้ำต่าง ๆ หลายร้อยสาย มีแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ เป็นต้น ทั้งมีน้ำฝน ตกลงมาจากอากาศ แต่น้ำเหล่านั้นก็ไม่ล้นฝั่ง ไปได้ฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรแกล้งล่วงสิกขาบท เพราะเห็นแก่ลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ ความนับถือ การไหว้การบูชา ตลอดถึงเหตุ ที่จะให้สิ้นชีวิต อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งมหาสมุทร

ข้อนี้สมกับพระพุทธฎีกาที่ตรัสประทาน ไว้ว่า
"มหาสมุทรมีน้ำเต็มฝั่ง ไม่ล้นฝั่งไปได้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเรา ก็ไม่ล่วงสิกขาบท ที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตฉันนั้น"

ธรรมดามหาสมุทรย่อมไม่รู้จักเต็มด้วย น้ำ อันไหลมาจากแม่น้ำทั้งปวง มีแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ เป็นต้น อีกทั้งน้ำฝน ด้วยฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรอิ่มด้วยการเรียน การฟัง การทรงจํา การวินิจฉัย พระธรรมวินัย พระสูตร วิเคราะห์ นิกเขปบท บทสนธิ บทวิภัตติ ในพระพุทธศาสนาฉันนั้น อันนี้ เป็นองค์ที่ ๕ แห่งมหาสมุทร

ข้อนี้สมกับคําของสมเด็จพระบรมสุคต ใน มหาสุตตโสมชาดก ว่า
"ไฟนี้ไหม้หญ้าและไม้ย่อมไม่รู้จักอิ่ม ด้วยเชื้อไฟ มหาสมุทรย่อมไม่รู้จักอิ่มด้วยน้ำ ฉันใด บัณฑิตทั้งหลายก็ไม่รู้จักอิ่ม ด้วยคํา อันเป็นสุภาษิตฉันนั้น" ขอถวายพระพร”

จบลาวุลตาวรรคที่ ๒


◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 2/3/11 at 13:15 Reply With Quote



จักกวัตติวรรคที่ ๓


องค์ ๕ แห่งแผ่นดิน

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่ง แผ่นดินได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา แผ่นดิน ถึงจะมีคนเทของที่น่ายินดีและไม่น่ายินดี คือ การบูน กฤษณา จันทน์ หญ้าฝรั่น เป็นต้นก็ดี เทลงไปซึ่งดี เสมหะ โลหิต เหงื่อ มันข้น น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้นก็ดี ก็เป็นอยู่เช่นนั้นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นเช่นนั้น ในสิ่งที่ น่าต้องการ คือ ลาภ ความไม่มีลาภ ยศ ความไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ ทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์แรกแห่งแผ่นดิน

ธรรมดาแผ่นดินย่อมปราศจากเครื่องประดับตกแต่ง มีแต่อบรมอยู่ด้วยกลิ่นของตนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรปราศจากเครื่อง ประดับตกแต่ง ควรอบรมด้วยกลิ่นศีลของตน ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งแผ่นดิน

ธรรมดาแผ่นดินย่อมไม่มีระหว่าง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นของหนาแน่นกว้างขวาง ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้มีศีลอยู่เป็นนิจ อย่าให้ศีลขาดวิ่นเป็นช่องเป็นรู ให้ศีลหนาแน่น กว้างขวางอยู่ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่ง แผ่นดิน

ธรรมดาแผ่นดินย่อมทรงไว้ซึ่งคามนิคม นคร ชนบท ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง เนื้อ นก นรชน หญิงชายไม่ย่อท้อ ฉันใด พระโยคาวจรถึงจะต้องเป็นผู้ว่ากล่าว สั่งสอนผู้อื่น หรือถูกผู้อื่นว่ากล่าวสั่งสอน ก็ ไม่ควรย่อท้อฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่ง แผ่นดิน

ธรรมดาแผ่นดินย่อมปราศจากความ ยินดียินร้ายฉันใด พระโยคาวจรก็ควรปราศจาก ความยินดียินร้าย ความมีใจเสมอกับแผ่นดินฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งแผ่นดิน

ข้อนี้สมกับคําของอุบาสิกา จูฬสุภัททา กล่าวสรรเสริญสมณะของตนไว้ว่า
"ถึงมีผู้ถากข้างหนึ่งด้วยมีดพร้า ทา ร่างกายข้างหนึ่งด้วยของหอมให้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ไม่มีความยินดียินร้าย จิตของข้าพเจ้าเสมอด้วยแผ่นดิน สมณะทั้งหลาย ของข้าพเจ้าก็เช่นเดียวกัน" ขอถวายพระพร”

องค์ ๕ แห่งน้ำ

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งน้ำได้แก่ อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา น้ำ อันตั้ง อยู่นิ่ง ๆ ไม่ไหว ไม่มีผู้กวน ย่อมบริสุทธิ์ตาม สภาวะปกติ คือความเป็นเองฉันใด พระโยคาวจรก็ควรละการลวงโลก การโอ้อวด การพูดเลียบเคียง เพื่อหาลาภ การพูด เหยียดผู้อื่นเพื่อหาลาภเสียแล้ว ควรเป็นผู้มี ความประพฤติบริสุทธิ์ตามสภาวะปกติฉันนั้นอันนี้เป็นองค์แรกแห่งน้ำ

ธรรมดาน้ำย่อมตั้งอยู่ตามสภาพ คือ ความเย็นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้ทํา ความเย็นให้แก่ผู้อื่นด้วยขันติ และความไม่ เบียดเบียน ความเมตตากรุณาฉันนั้น อันนี้ เป็นองค์ที่ ๒ แห่งน้ำ
ธรรมดาน้ำย่อมทําสิ่งที่ไม่สะอาดให้ สะอาดฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทําแต่สิ่งที่ ไม่มีโทษในที่ทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งน้ำ

ธรรมดาน้ำย่อมเป็นที่ต้องการแห่งคน และสัตว์เป็นอันมากฉันใด พระโยคาวจรผู้ มักน้อย สันโดษ สงัด เงียบ ก็เป็นที่ต้องการ แห่งโลกทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งน้ำ
ธรรมดาน้ำย่อมไม่นําสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ เข้าไปให้แก่ใครฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควร ทําให้เกิดเรื่องทะเลาะวิวาทบาดหมาง ความ เพ่งโทษ ความริษยา ให้เกิดแก่ผู้อื่นฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งน้ำ

ข้อนี้สมกับคําของพระพุทธเจ้าใน กัณหชาดก ว่า
"ข้าแต่ท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าพระองค์จะประทานพรแก่ หม่อมฉัน ก็ขอจงประทานพรว่า อย่าให้กายหรือใจของหม่อมฉัน ทําให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นเลย" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๕ แห่งไฟ

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งไฟได้แก่ อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ไฟ ย่อมเผา หญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเผากิเลสทั้งภายนอกภายในด้วยไฟคือญาณฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งไฟ
ธรรมดาไฟย่อมไม่มีเมตตากรุณาฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรมีเมตตากรุณาในกิเลส ทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งไฟ

ธรรมดาไฟย่อมกําจัดความเย็นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทําให้เกิดไฟ คือความเพียรเผากิเลสทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งไฟ
ธรรมดาไฟย่อมไม่มีความยินดียินร้าย มีแต่ทําให้เกิดความร้อนฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรมีใจเสมอด้วยไฟ ปราศจากความยินดี ยินร้ายฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งไฟ

ธรรมดาไฟย่อมกําจัดความมืด ทําให้เกิดความสว่างฉันใด พระโยคาวจรก็ควรกําจัด ความมืดคืออวิชชา ทําให้เกิดความสว่าง คือ ญาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งไฟ
ข้อนี้สมกับพระพุทธโอวาทที่ทรงสอน พระราหุล ว่า

"ดูก่อนราหุล เธอจงอบรมจิตใจให้ เสมอกับไฟ เพราะเมื่อเธออบรมจิตใจให้ เสมอกับไฟได้แล้ว สิ่งที่ถูกต้องอันเป็นที่พอใจ และไม่พอใจ ย่อมไม่ครอบงําจิตใจได้" ดังนี้ ขอถวายพระพร

องค์ ๕ แห่งพายุ

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งพายุ ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา พายุ ย่อม พัดหอบเอากลิ่นดอกไม้ที่บานแล้วในแนวป่า ให้ฟุ้งไปฉันใด พระโยคาวจรก็ควรยินดีอยู่ในป่า อันมีดอกไม้คือวิมุตติเป็นอารมณ์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งพายุ
ธรรมดาพายุ ย่อมพัดหมุนหมู่ไม้ทั้งปวง ให้พินาศฉันใด พระโยคาวจรก็ควรพิจารณา สังขารอยู่ในป่า ขยี้กิเลสทั้งหลายให้แหลกราญ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งพายุ

ธรรมดาพายุ ย่อมเที่ยวไปในอากาศฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้ใจเที่ยวไปในโลกุตตรธรรม
ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งพายุ
ธรรมดาพายุย่อมได้เสวยกลิ่นหอมฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเสวยกลิ่นหอม คือศีลอัน ประเสริฐของตนฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งพายุ

ธรรมดาพายุย่อมพัดเรื่อยไป ไม่ห่วงใย เสียดายสิ่งใดฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรห่วงใยต่อสิ่งทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งพายุ
ข้อนี้สมกับพุทธภาษิต ที่องค์สมเด็จธรรมสามิสร์ตรัสไว้ใน สุตตนิบาต ว่า
"ภัยย่อมเกิดจากตัณหา ธุลีย่อมเกิดจากอาลัย ความไม่มีอาลัย ไม่มีตัณหา เป็นความเห็นของมุนี" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๕ แห่งภูเขา

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งภูเขา ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ภูเขา ย่อม ไม่หวั่นไหวฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรหวั่นไหว ในสิ่งที่น่ายินดียินร้ายฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งภูเขา
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
"ภูเขาศิลาแท่งทึบ ย่อมไม่ไหวด้วยลม ฉันใด บัณฑิตทั้งหลายก็ไม่ไหวด้วยนินทา สรรเสริญฉันนั้น" ดังนี้

ธรรมดาภูเขาย่อมเป็นของแข็ง ไม่ระคน กับสิ่งใดฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีใจ เข้มแข็งในสิ่งทั้งปวง ไม่คลุกคลีกับกิเลสใด ๆ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งภูเขา
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
"ผู้ที่ไม่คลุกคลีกับคฤหัสถ์บรรพชิต ไม่มีความห่วงใย มีแต่ความมักน้อย เรา เรียกว่า "พราหมณ์" ดังนี้

ธรรมดาภูเขาศิลาย่อมไม่มีพืชพรรณงอก ขึ้นได้ฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรให้กิเลสงอกขึ้นในใจของตนฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งภูเขา
ข้อนี้สมกับคําของ พระสุภูติเถระ ว่า

"เวลาที่จิตประกอบด้วย ราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นแก่เรา เราก็พิจารณาอยู่ผู้เดียว เราไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ในสิ่งที่น่าเกิด ราคะ โทสะ โมหะ เราสอนตัวเราเองว่า ถ้าท่านเกิดราคะ โทสะ โมหะ ก็จงออก ไปจากป่า เพราะที่ป่านี้เป็นที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่มีมลทิน ผู้มีตบะ ท่านอย่าทําลายที่อัน บริสุทธิ์ ท่านจงออกไปจากป่า" ดังนี้

ธรรมดาภูเขาย่อมเป็นของสูงฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้สูงด้วยญาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งภูเขา
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
"เมื่อใดบัณฑิตกําจัดความประมาท ด้วยความไม่ประมาทได้แล้ว ขึ้นสู่ปราสาท คือปัญญา เมื่อนั้นท่านก็ไม่มีความเศร้าโศก ได้เล็งเห็นผู้เศร้าโศก เหมือนกับผู้อยู่บนเขา แลเห็นคนผู้อยู่ข้างล่างฉะนั้น"

ธรรมดาภูเขาย่อมไม่ฟูขึ้นยุบลงฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรฟูขึ้นและยุบลงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งภูเขา
ข้อนี้สมกับคํา ของอุบาสิกา จูฬสุภัททา ว่า
"พระสมณะทั้งหลายของเรา ย่อมไม่ฟู ขึ้นยุบลง ด้วยความมีลาภและความไม่มีลาภ เหมือนกับคนอื่น ๆ" ดังนี้ ขอถวายพระพร”

ตอนที่ ๓๕

องค์ ๕ แห่งอากาศ

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งอากาศ ได้แก่สิ่งใด?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา อากาศ ไม่มี ใครจับถือเอาได้ฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรให้กิเลสยึดถือฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งอากาศ

ธรรมดาอากาศ ย่อมเป็นที่เที่ยวไปแห่ง ฤาษี ดาบส ภูต สัตว์มีปีก ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้ใจสัญจรไปในสังขาร ทั้งหลายว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งอากาศ
ธรรมดาอากาศ ย่อมเป็นที่เกิดแห่งความสะดุ้งกลัวฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทําให้ใจ สะดุ้งกลัวต่อการเกิดในภพทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งอากาศ

ธรรมดาอากาศ ย่อมไม่มีที่สุด ไม่มี ประมาณฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้มีสีลาจารวัตร ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีปริมาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งอากาศ
ธรรมดาอากาศ ย่อมไม่ติดไม่ข้องไม่ตั้ง ไม่พัวพันอยู่ในสิ่งใดฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ ควรข้อง ไม่ควรติด ไม่ควรตั้งอยู่ ไม่ควร ผูกพันอยู่ในตระกูล หมู่คณะ ลาภ อาวาส เครื่องกังวล ปัจจัย และกิเลสทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งอากาศ

ข้อนี้สมกับที่ทรงสอน พระราหุล ไว้ว่า
“ดูก่อนราหุล อากาศย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด ได้ฉันใด เธอจงอบรมจิตใจให้เสมอกับ อากาศฉันนั้น เพราะเมื่อเธออบรมจิตใจให้เสมอกับอากาศได้แล้ว อารมณ์ที่มากระทบ อันเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ย่อมไม่ครอบงําจิตใจได้” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๕ แห่งดวงจันทร์

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่ง ดวงจันทร์ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ดวงจันทร์ ย่อมขึ้นในเวลาข้างขึ้น แล้วเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นใน อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ อาคม (พระปริยัติธรรม) อธิคม (มรรคผล) ความสงัด ความสํารวมอินทรีย์ ความรู้จักประมาณใน โภชนะ ความเพียรฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งพระจันทร์

ธรรมดาพระจันทร์ ย่อมเป็นอธิบดียิ่ง อย่างหนึ่งฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีฉันทาธิบดี อันยิ่งฉันนั้นอันนี้จัดเป็นองค์ที่ ๒ แห่งพระจันทร์
ธรรมดาพระจันทร์ ย่อมเที่ยวไปใน กลางคืนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเที่ยวไป ด้วยวิเวกฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่ง พระจันทร์

ธรรมดาพระจันทร์ ย่อมมีวิมานเป็นธงชัยฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีศีลเป็นธงชัยฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งพระจันทร์
ธรรมดาพระจันทร์ ย่อมมีผู้อยากให้ ตั้งขึ้นมาฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเข้าไป สู่ตระกูล ด้วยมีผู้นิมนต์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งพระจันทร์ ข้อนี้สมกับประพันธ์ พุทธภาษิตใน สังยุตตนิกาย ว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเข้าไปสู่ตระกูล ด้วยอาการเหมือนดวงจันทร์ อย่าทํากายใจให้คดงอในตระกูล อย่าคะนอง กายใจในตระกูล” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๗ แห่งดวงอาทิตย์

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๗ แห่ง ดวงอาทิตย์ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ดวงอาทิตย์ย่อมทําพืชทั้งปวงให้เหี่ยวแห้งฉันใด พระ โยคาวจรก็ควรทํากิเลสทั้งปวงให้แห้งฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งดวงอาทิตย์
ธรรมดาดวงอาทิตย์ ย่อมกําจัดมืดฉันใด พระโยคาวจรก็ควรกําจัดความมืดทั้งปวง คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งดวงอาทิตย์
ธรรมดาดวงอาทิตย์ ย่อมเที่ยวไปเนืองๆ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรกระทําโยนิโส มนสิการเนือง ๆ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งดวงอาทิตย์

ธรรมดาดวงอาทิตย์ ย่อมมีรัศมีเป็นมาลา (ระเบียบ) ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีรัศมี คืออารมณ์เป็นมาลาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งดวงอาทิตย์

ธรรมดาดวงอาทิตย์ ย่อมทําให้หมู่มหาชน ร้อนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทําให้โลกนี้ กับทั้งเทวโลกร้อนด้วยอาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งดวงอาทิตย์

ธรรมดาดวงอาทิตย์ ย่อมกลัวภัย คือราหู ฉันใด พระโยคาวจรได้เห็นบุคคลทั้งหลาย ที่รกรุงรังไปด้วยทุจริต และทุคติ สวมด้วย เครื่องขนานคือทิฏฐิ เดินไปผิดทาง ก็ควร ทําให้ใจสลดด้วยความกลัวสังเวช อันนี้เป็น องค์ที่ ๖ แห่งดวงอาทิตย์

ธรรมดาดวงอาทิตย์ ย่อมทําให้เห็นของดี ของเลวฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทําตนให้เห็น โลกิยธรรม โลกุตตรธรรม ด้วยอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๗ แห่งดวงอาทิตย์
ข้อนี้สมกับคําของ พระวังคีสเถระ ว่า

“เมื่อดวงอาทิตย์ตั้งขึ้น ย่อมทําให้เห็น สิ่งต่าง ๆ ทั้งสะอาดไม่สะอาด ดีเลว ฉันใด พระภิกษุผู้ทรงธรรม ก็ทําให้หมู่ชนอันถูก อวิชชาปกปิดไว้ ให้ได้เห็นทางธรรมต่าง ๆ เหมือนกับดวงอาทิตย์ที่ตั้งขึ้นมาฉันนั้น”

องค์ ๓ แห่งท้าวสักกะ

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่ง ท้าวสักกะได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ท้าวสักกะ ย่อมเพียบพร้อมด้วยสุขอย่างเดียวฉันใด พระโยคาวจรก็ควรยินดีในสุข อันเกิดจาก วิเวกอย่างเยี่ยมฝ่ายเดียวกันฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งท้าวสักกะ

ธรรมดาท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทพ ทั้งหลาย ได้เห็นเทพยเจ้าทั้งหลายแล้ว ก็ทําให้เกิดความร่าเริงฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทําใจให้เกิดความร่าเริงไม่หดหู่ ไม่เกียจคร้านในกุศลธรรมทั้งหลายฉันนั้น อันนี้เป็น องค์ที่ ๒ แห่งท้าวสักกะ

ธรรมดาท้าวสักกะ ย่อมไม่เกิดความ เบื่อหน่าย ไม่เกิดความรําคาญฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรให้เกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งที่สงัดฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งท้าวสักกะ

ข้อนี้สมกับคําของ พระสุภูติเถระว่า
“ข้าแต่มหาวีรเจ้า นับแต่ข้าพระองค์ได้ บรรพชาในศาสนาของพระองค์ ย่อมไม่รู้สึกว่า มีสัญญาสักอย่างเดียว อันเกี่ยวกับ กามารมณ์เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์เลย” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๔ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๔ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมทรงสงเคราะห์ประชาชนด้วย สังคหวัตถุ ๔ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรสงเคราะห์ ควรประคอง ควรอนุเคราะห์ ควรทําให้ร่าเริงแก่บริษัท ๔ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

ธรรมดาในแว่นแคว้นพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมไม่มีโจรผู้ร้ายฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ ควรให้มีโจรผู้ร้าย คือกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ฉันนั้น ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
“ผู้ใดยินดีในการระงับวิตก อบรมอสุภะ มีสติทุกเมื่อ ผู้นั้นจะทําที่สุดแห่งทุกข์ได้ จะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้” ดังนี้

ธรรมดาพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเสด็จเลียบโลก เพื่อทรงพิจารณาดูคนดีคนเลวทุกวันฉันใด พระโยคาวจรก็ควรพิจารณา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกวัน แล้วทําให้บริสุทธิ์ ด้วยคิดว่า >วันคืนของเราผู้ไม่ข้องอยู่ด้วยฐานะทั้ง ๓ นี้ ได้ล่วงเลยไปแล้วอย่างไร อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าจักรพรรดิข้อนี้ สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ว่า

“บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทําอะไรอยู่” ดังนี้

ธรรมดาพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมทรง จัดการรักษาให้ดี ทั้งภายในภายนอกฉันใด พระโยคาวจรก็ควรตั้งนายประตู คือสติ ให้รักษากิเลสทั้งภายในภายนอกฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีนายประตู คือสติ ย่อมละอกุศล อบรมกุศล ละสิ่งที่มีโทษ อบรมสิ่งที่ไม่มีโทษ รักษาตน ให้บริสุทธิ์” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

จบจักกวัตติวรรคที่ ๓


◄ll กลับสู่สารบัญ



กุญชรวรรคที่ ๔

องค์ ๑ แห่งปลวก

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งปลวก ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ปลวก ย่อมทําหลังคาปิดตัวเองแล้วอาศัยอยู่ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทําหลังคา คือศีลสังวร ปิดใจของตนอยู่ฉันนั้น เพราะเมื่อปิดใจ ของตนด้วยศีลสังวรแล้ว ย่อมล่วงพ้นภัย ทั้งปวงได้ อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งปลวกข้อนี้สมกับคําของ พระอุปเสนเถระ ว่า

“พระโยคีกระทําเครื่องมุงใจ คือศีลสังวรแล้ว ไม่ติดอยู่ในอะไร ย่อมพ้นจากภัยได้” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๒ แห่งแมว

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งแมว ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา แมว เวลาไปที่ถ้ำหรือที่ซอก ที่รู ที่โพรง ที่ระหว่างถ้ำก็ดี ก็แสวงหาแต่หนูฉันใด พระโยคาวจรผู้ไปอยู่ที่บ้าน ที่ป่า หรือที่โคนต้นไม้ ที่แจ้ง ที่ว่างบ้านเรือน ก็ไม่ควรประมาท ควรแสวงหาโภชนะ คือ กายคตาสติ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งแมว

ธรรมดาแมว ย่อมแสวงหาอาหารในที่ ใกล้ ๆ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรพิจารณาขันธ์ ๕ ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีความตั้งขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
“ไม่ต้องกล่าวไปให้ไกลแต่นี้นัก ภวัคค-พรหม (พรหมชั้นสูงสุด) จักทําอะไรได้ ควรเบื่อหน่ายเฉพาะในกายของตน อันมีอยู่ ในปัจจุบันนี้แหละ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๑ แห่งหนู

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งหนูได้แก่ อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา หนู ย่อมเที่ยวหาอาหารข้างโน้นข้างนี้ฉันใด พระโยคาวจรเมื่อเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้ ก็ควรแสวง หาโยนิโสมนสิการฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งหนูข้อนี้สมกับคําของ พระอุปเสนเถระ ว่า
“ผู้แสวงหาธรรม ผู้เห็นธรรมต่าง ๆ ผู้ไม่ย่อท้อ ผู้สงบ ย่อมมีสติอยู่ทุกเมื่อ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๑ แห่งแมงป่อง

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งแมงป่อง ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา แมงป่อง ย่อมมีหางเป็นอาวุธ ย่อมชูหางของตน เที่ยวไปฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีญาณ เป็นอาวุธ ควรชูญาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งแมงป่อง ข้อนี้สมกับคําของ พระอุปเสนเถระ ว่า

“ภิกษุผู้ถือเอาพระขรรค์ คือญาณ ผู้เห็นธรรมด้วยอาการต่าง ๆ ย่อมพ้นจาก ภัยทั้งปวง ภิกษุนั้นย่อมอดทนสิ่งที่ทนได้ยาก ในโลก” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๑ แห่งพังพอน

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งพังพอน ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา พังพอน เมื่อจะไปสู้กับงู ย่อมมอมตัวด้วยยาเสียก่อน จึงเข้าไปใกล้งู เพื่อจะสู้กับงูฉันใด พระ โยคาวจรเมื่อจะเข้าไปใกล้โลก อันมากไปด้วย ความบาดหมาง ความทะเลาะวิวาท ก็ทาอวัยวะด้วยยา คือเมตตาเสียก่อน จึงจะให้โลกทั้งปวงดับความเร่าร้อนได้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งพังพอนข้อนี้สมกับคําของ พระสารีบุตรเถระ ว่า

“พระภิกษุควรมีเมตตาแก่ตนและผู้อื่น ควรแผ่จิตเมตตาไป อันนี้เป็นคําสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๒ แห่งสุนัขจิ้งจอก

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งสุนัข จิ้งจอกได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา สุนัขจิ้งจอก ได้โภชนะแล้วย่อมไม่เกลียดชัง ย่อมกินพอ ความประสงค์ฉันใด พระโยคาวจรได้โภชนะแล้ว ก็ไม่ควรเกลียดชัง ไม่ว่าชนิดไหน ควรฉันพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งสุนัขจิ้งจอก ข้อนี้สมกับคําของพระมหากัสสปเถระว่า

“เวลาเราออกจากเสนาสนะเข้าไปบิณฑบาต ถึงบุรุษโรคเรื้อนที่กําลังกินข้าวอยู่ กําเอาคําข้าวด้วยมือเป็นโรคเรื้อนมาใส่บาตรให้เรา เราก็นําไปฉัน ไม่เกลียดชังอย่างไร” ดังนี้

ธรรมดาสุนัขจิ้งจอกได้โภชนะแล้ว ย่อมไม่เลือกว่าเลวดีอย่างไรฉันใด พระโยคาวจร ได้โภชนะแล้ว ก็ไม่เลือกว่าเลวดี ยินดีตามที่ได้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งสุนัขจิ้งจอก ข้อนี้สมกับคําของ พระอุปเสนเถระ ว่า

“บุคคลควรยินดีแม้ด้วยของเลว ไม่ควรปรารถนาอย่างอื่น ใจของผู้ข้องอยู่ในรสทั้งหลาย ย่อมไม่ยินดีในฌาน ความสันโดษ ตามมีตามได้ ย่อมทําให้เป็นสมณะบริบูรณ์” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๓ แห่งเนื้อในป่า

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ที่ ๓ แห่งเนื้อ ในป่าได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา เนื้อในป่า ย่อมเที่ยวไปในป่า ในเวลากลางคืน ในที่แจ้ง ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรอยู่ในป่าในเวลา กลางวัน ส่วนในเวลากลางคืนควรอยู่ในที่แจ้ง อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเนื้อในป่า ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า

“ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมอยู่ในที่แจ้ง เวลากลางคืนหน้าหนาว ส่วนกลางวันอยู่ในป่า สําหรับเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน เวลากลางวัน เราอยู่ในที่แจ้ง เวลากลางคืนเราอยู่ในป่า”
ธรรมดาเนื้อในป่า ย่อมรู้จักหลบหลีก ลูกศรฉันใด พระโยคาวจรก็ควรรู้จักหลบหลีก กิเลสฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเนื้อในป่า

ธรรมดาเนื้อในป่า ได้เห็นมนุษย์แล้วย่อม วิ่งหนี ด้วยคิดว่าอย่าให้มนุษย์ได้เห็นเราฉันใด พระโยคาวจรได้เห็นพวกทุศีล พวกเกียจคร้าน พวกยินดีในหมู่คณะ ก็ควรหนีไปด้วยคิดว่า อย่าให้พวกนี้ได้เห็นเรา อย่าให้เราได้เห็นพวกนี้ อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งเนื้อในป่าข้อนี้สมกับคําอัน พระสารีบุตรเถระ กล่าวไว้ว่า

“เรานึกว่าคนมีความต้องการในทางลามก คนเกียจคร้าน คนท้อถอย คนสดับน้อย คนประพฤติไม่ดี คนไม่สงบ อย่าได้พบเห็น เราเลย” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๔ แห่งโค

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๔ แห่งโคได้แก่
อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา โค ย่อมไม่ ทิ้งคอกของตนฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ ควรทิ้งโอกาสของตนฉันนั้น คือไม่ควรทิ้ง ซึ่งการนึกว่า กายนี้มีการขัดสีอบรมอยู่เป็นนิจ มีการแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งโค

ธรรมดาโคย่อมถือเอาแอก ย่อมนํา แอกไปด้วยความสุขและความทุกข์ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต ด้วยการ สู้สุขสู้ทุกข์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งโค

ธรรมดาโคย่อมเต็มใจดื่มน้ำฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเต็มใจฟังคําสั่งสอนของพระอุปัชฌาย์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งโค
ธรรมดาโคเมื่อเจ้าของฝึกหัดให้ทําอย่างไร ย่อมทําตามทุกอย่างฉันใด พระโยคาวจรก็ควรยินดีรับคําสอนของภิกษุด้วยกัน หรือของอุบาสกชาวบ้านฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งโคข้อนี้สมกับคําของพระสารีบุตรเถระว่า

“ถึงผู้บวชในวันนั้นมีอายุเพียง ๗ ขวบ สอนเราก็ตาม เราก็ยินดีรับคําสอน เราได้เห็นผู้นั้น ก็ปลูกความพอใจ ความรักอย่างแรงกล้า ยินดีนอบน้อมว่าเป็นอาจารย์ แล้วแสดงความเคารพเนือง ๆ” ดังนี้

องค์ ๒ แห่งสุกร

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งสุกร ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา สุกร ย่อม ชอบนอนแช่น้ำในฤดูร้อนฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรอบรมเมตตาภาวนาอันเย็นดี ในเวลา จิตเร่าร้อนตื่นเต้นฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งสุกร

ธรรมดาสุกรย่อมขุดดินด้วยจมูกของตน ทําให้เป็นรางน้ำในที่มีน้ำ แล้วนอนแช่อยู่ในราง ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรพิจารณากายไว้ แล้วฝังอารมณ์ให้นอนอยู่ภายในใจฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งสุกร ข้อนี้สมกับคําของ พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ว่า

“ภิกษุผู้เล็งเห็นสภาพแห่งกายแล้ว ควรหลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว แล้วนอนอยู่ ในภายในอารมณ์” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๕ แห่งช้าง

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งช้าง ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ช้าง เมื่อเที่ยวไปย่อมเอาเท้ากระชุ่นดินฉันใด พระโยคาวจรผู้พิจารณากาย ก็ควรทําลายกิเลสทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งช้าง

ธรรมดาช้าง ย่อมแลไปตรง ๆ ไม่แลดู ทิศโน้นทิศนี้ฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควร เหลียวดูทิศโน้นทิศนี้ ไม่ควรแหงนดูก้มดู ควรดูเพียงชั่วระยะแอกฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ที่ ๒ แห่งช้าง

ธรรมดาช้าง ย่อมไม่นอนประจําอยู่ในที่ แห่งเดียว เที่ยวหากินในที่ใด ไม่พักนอนใน ที่นั้นฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรนอนประจํา คือไม่ควรห่วงใยในที่เที่ยวบิณฑบาต ถ้าได้เห็นที่ชอบใจ คือปะรํา หรือโคนต้นไม้ หรือถ้ำ หรือเงื้อมเขา ก็ควรเข้าพักอยู่ในที่นั้น แล้วไม่ ควรห่วงใยในที่นั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งช้าง

ธรรมดาช้าง เวลาลงน้ำย่อมเล่นน้ำตาม สบายฉันใด พระโยคาวจรเวลาลงสู่สระโบกขรณี คือมหาสติปัฏฐาน อันเต็มเปี่ยมด้วยน้ำอันประเสริฐ คือพระธรรมอันเย็นใสอันดาษไปด้วยดอกไม้ คือวิมุตติ ก็ควรเล่นอยู่ด้วยการพิจารณาสังขาร อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งช้าง

ธรรมดาช้าง ย่อมมีสติทุกเวลายกเท้า ขึ้นวางเท้าลงฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมี สติสัมปชัญญะทุกเวลายกเท้าขึ้นวางเท้าลง ทุกเวลาเดินไปมา คู้เหยียด แลเหลียว ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งช้างข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์ สังยุตตนิกาย ว่า

“การสํารวมกาย วาจา ใจ เป็นของดี การระวังในสิ่งทั้งปวงเป็นของดี ผู้ระวังในสิ่ง ทั้งปวง ผู้มีความละอาย เรียกว่า ผู้รักษากาย วาจา ใจ ดีแล้ว” ดังนี้ ขอถวายพระพร”
จบกุญชรวรรคที่ ๔


◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 1/4/11 at 15:06 Reply With Quote



สีหวรรคที่ ๕


องค์ ๗ แห่งราชสีห์

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๗ แห่งราชสีห์ ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ราชสีห์ ย่อม มีกายขาวบริสุทธิ์ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้ มีจิตขาวบริสุทธิ์ ปราศจากความรําคาญฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งราชสีห์
ธรรมดาราชสีห์ ย่อมเที่ยวไปด้วยเท้าทั้ง ๔ มีการเที่ยวไปงดงามฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรเที่ยวไปด้วยอิทธิบาท ๔ ฉันนั้น อันนี้เป็น องค์ที่ ๒ แห่งราชสีห์

ธรรมดาราชสีห์ ย่อมมีไกรสรคือสร้อยคอ สีสวยงามยิ่งฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีไกรสร คือศีลอันสวยงามยิ่งฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งราชสีห์
ธรรมดาราชสีห์ถึงจะตาย ก็ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อใครฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรอ่อนน้อมต่อใคร เพราะเห็นแก่ปัจจัย ๔ ถึงจะสิ้นชีวิตก็ช่าง อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งราชสีห์

ธรรมดาราชสีห์ ย่อมเที่ยวหาอาหารไป ตามลําดับ ได้อาหารในที่ใดก็กินให้อิ่มในที่นั้น ไม่เลือกกินเฉพาะเนื้อที่ดี ๆ ฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรเที่ยวบิณฑบาตไปตามลําดับตระกูล ไม่ควรเลือกตระกูลและอาหารฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งราชสีห์
ธรรมดาราชสีห์ ย่อมไม่สะสมอาหาร กินคราวหนึ่งแล้วไม่เก็บไว้กินอีกฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรสะสมอาหารฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๖ แห่งราชสีห์

ธรรมดาราชสีห์เวลาหาอาหารไม่ได้ ก็ไม่ทุกข์ร้อน ได้แล้วก็ไม่ติดฉันใด พระโยคาวจร เวลาหาอาหารไม่ได้ ก็ไม่ควรทุกข์ร้อน เวลาได้ก็ไม่ควรติดใจรสอาหาร ควรฉันด้วยการพิจารณา เพื่อจะออกจากโลก อันนี้เป็นองค์ ที่ ๗ แห่งราชสีห์ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์
ในคัมภีร์ สังยุตตนิกาย ว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระกัสสปนี้ ย่อมยินดีด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ สรรเสริญความยินดีในบิณฑบาตตามมีตามได้ ไม่แสวงหาบิณฑบาตในทางไม่ชอบ เมื่อไม่ได้ก็ไม่ควรทุกข์ร้อน เวลาได้ก็ไม่ติดในรสอาหาร รู้จักพิจารณาโทษแห่งอาหาร” ดังนี้
ขอถวายพระพร”

องค์ ๓ แห่งนกจากพราก

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่ง นกจากพรากได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา นกจากพราก ย่อมไม่ทิ้งเมียจนตลอดชีวิตฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการจนตลอดชีวิตฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนกจากพราก

ธรรมดานกจากพราก ย่อมกินหอย สาหร่าย จอกแหน เป็นอาหารด้วยความยินดี จึงไม่เสื่อมจากกําลังและสีกาย ด้วยความยินดี นั้นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรยินดีตามมี ตามได้ฉันนั้น เพราะผู้ยินดีตามมีตามได้ ย่อมไม่เสื่อมจากศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และกุศลธรรมทั้งปวงอันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนกจากพราก

ธรรมดานกจากพราก ย่อมไม่เบียดเบียน สัตว์ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทิ้งท่อนไม้ และอาวุธ ควรมีความละอาย มีใจอ่อน นึก สงเคราะห์สัตว์ทั้งหลายด้วยเมตตาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งนกจากพราก ข้อนี้ สมกับพระพุทธพจน์ใน จักกวากชาดก ว่า

“ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นชื่อว่ามีเมตตาในสัตว์ทั้งหลาย เวรย่อมไม่มีแก่ผู้นั้นด้วยเหตุใดๆ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๒ แห่งนางนกเงือก

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งนาง นกเงือกได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา นางนกเงือก ย่อมให้ผัวอยู่เลี้ยงลูกในโพรงด้วยความหึงฉันใดพระโยคาวจรเมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจของตน ก็ควรเอาใจของตนใส่ลงในโพรง คือการ สํารวมโดยชอบ เพื่อความกั้นกางกิเลส แล้ว อบรมกายคตาสติไว้ด้วยมโนทวารอันนี้เป็น องค์ที่ ๑ แห่งนางนกเงือก

ธรรมดานางนกเงือก เวลากลางวันไป เที่ยวหากินในป่า พอถึงเวลาเย็นก็บินไปหา เพื่อนฝูง เพื่อรักษาตัวฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรหาที่สงัดโดยลําพังผู้เดียว เพื่อให้ หลุดพ้นจากสังโยชน์ เมื่อได้ความยินดีใน ความสงัดนั้น ก็ควรไปอยู่กับหมู่สงฆ์ เพื่อ ป้องกันภัย คือการว่ากล่าวติเตียนฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนางนกเงือก

ข้อนี้สมกับคําที่ ท้าวสหัมบดีพรหม ได้ กล่าวขึ้นในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าว่า
“พระภิกษุควรอยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด เพื่อปลดเปลื้องจากสังโยชน์ ถ้าไม่ได้ความยินดีในที่สงัดนั้น ก็ควรไปอยู่ในหมู่สงฆ์ ควรมีสติรักษาตนให้ดี” ดังนี้

องค์ ๑ แห่งนกกระจอก

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่ง นกกระจอกได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา นกกระจอก ย่อมอาศัยอยู่ในเรือนคน แต่ไม่เพ่งอยากได้ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งของคน มีใจเป็นกลางเฉยอยู่มากไปด้วยความจําฉันใด พระโยคาวจรเข้าไปถึงตระกูลอื่นแล้ว ก็ไม่ควรถือเอานิมิตในเตียง ตั่ง ที่นั่ง ที่นอน เครื่องประดับประดา เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ เครื่องกิน ภาชนะใช้สอยต่าง ๆ ของสตรีหรือ บุรุษในตระกูลนั้น

ควรมีใจเป็นกลาง ควรใส่ใจไว้แต่ในสมณสัญญาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งนกกระจอก ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ ใน จูฬนารทชาดก ว่า
“ภิกษุเข้าไปสู่ตระกูลอื่นแล้ว ควรขบฉันข้าวน้ำตามที่เขาน้อมถวาย แต่ไม่ควรหลงไหล ไปในรูปต่าง ๆ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๒ แห่งนกเค้า

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งนกเค้า ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา นกเค้า ย่อม เป็นศัตรูกันกับกา พอถึงเวลากลางคืนก็ไปตีฝูงกา ฆ่าตายเป็นอันมากฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรเป็นข้าศึกกับอวิชชา ควรนั่งอยู่ในที่สงัดแต่ผู้เดียว ควรตัดอวิชชาทิ้งเสียพร้อมทั้งราก ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนกเค้า

ธรรมดานกเค้าย่อมซ่อนตัวอยู่ดีฉันใด พระโยคาวจรก็ควรซ่อนตัวไว้ดี ด้วยการยินดี ในที่สงัดฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนกเค้าข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์ สังยุตตนิกาย ว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอควรอยู่ในที่สงัด เพราะผู้อยู่ในที่สงัด ผู้ยินดีในที่สงัด ย่อมพิจารณาเห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค”

องค์ ๑ แห่งตะขาบ

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งตะขาบ ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ตะขาบ ย่อม ร้องบอกความปลอดภัย และความมีภัยแก่ผู้อื่น ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรแสดงธรรมบอกนรก สวรรค์ นิพพาน แก่ผู้อื่นฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งตะขาบข้อนี้สมกับคําที่ พระปิณโฑลภารทวาช เถระ กล่าวไว้ว่า

“พระโยคาวจรควรแสดงสิ่งที่น่าสะดุ้ง กลัวในนรก และความสุขอันไพบูลย์ใน นิพพานให้ผู้อื่นฟัง” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๒ แห่งค้างคาว

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งค้างคาว ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ค้างคาว บิน เข้าไปในเรือนแล้ว บินวนไปวนมาแล้วก็บิน ออกไป ไม่กังวลอยู่ในเรือนฉันใด พระโยคาวจร เข้าไปบิณฑบาตในบ้าน เที่ยวไปตามลําดับแล้ว ได้หรือไม่ได้ก็ตาม ก็ควรกลับออกไปโดยเร็ว พลันฉันนั้น ไม่ควรกังวลอยู่ในบ้าน อันนี้เป็น องค์ที่ ๑ แห่งค้างคาว

ธรรมดาค้างคาว เมื่ออาศัยอยู่ในเรือนคน ก็ไม่ทําความเสียหายให้แก่คนฉันใด พระ โยคาวจรเข้าไปถึงตระกูลแล้ว ก็ไม่ควรทําความ เดือดร้อนเสียใจให้คนทั้งหลาย ด้วยการขอสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือด้วยการ ทําไม่ดีทางกาย หรือด้วยการพูดมากเกินไปหรือด้วยการทําตนให้เป็นผู้มีสุขทุกข์เท่ากับคนในตระกูลนั้น

ไม่ควรทําให้เสียบุญกุศลของเขา ควรทําแต่ความเจริญให้เขาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งค้างคาวข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน ลักขณสังยุต ในคัมภีร์ทีฆนิกายว่า
“ภิกษุไม่ควรทําให้ชาวบ้านเสื่อมศรัทธา ศีล สุตะ พุทธิ จาคะ ธรรมะ ทรัพย์สมบัติ ไร่นา เรือกสวน บุตร ภรรยา สัตว์ ๔ เท้า ญาติมิตร พวกพ้อง กําลัง ผิวพรรณ ความสุขสบายแต่อย่างใด พระโยคาวจรย่อม มุ่งแต่ความมั่งคั่งให้แก่ชาวบ้าน” ดังนี้

องค์ ๑ แห่งปลิง

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งปลิง ได้แก่สิ่งใด?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ปลิง เกาะในที่ใดก็ตาม ต้องเกาะให้แน่นในที่นั้นแล้ว จึงดูดกินเลือดฉันใด พระโยคาวจรมีจิตเกาะ ในอารมณ์ใด ควรเกาะอารมณ์นั้นให้แน่น ด้วย สี สัณฐาน ทิศ โอกาส กําหนด เพศ นิมิต แล้วดื่มวิมุตติรสอันบริสุทธิ์ด้วยอารมณ์นั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งปลิง ข้อนี้สมกับคําของ พระอนุรุทธเถระ ว่า

“พระภิกษุควรมีจิตบริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในอารมณ์แล้ว ควรดื่มวิมุตติรสอันบริสุทธิ์ ด้วยจิตนั้น” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๓ แห่งงู

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งงูได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา งู ย่อมไป ด้วยอกฉันใด พระโยคาวจรก็ควรไปด้วย ปัญญาฉันนั้น เพราะจิตของพระโยคาวจร ผู้ไปด้วยปัญญา ย่อมเที่ยวไปในธรรมที่ควรรู้ ย่อมละเว้นสิ่งที่ไม่ควรกําหนดจดจํา อบรมไว้ แต่สิ่งที่ควรกําหนดจดจําฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งงู

ธรรมดางูเมื่อเที่ยวไป ย่อมหลีกเว้น ยาแก้พิษของตนฉันใด พระโยคาวจรก็ควร หลีกเว้นทุจริตฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งงู
ธรรมดางูเห็นมนุษย์แล้ว ย่อมทุกข์โศก ฉันใด พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงวิตกที่ไม่ดีแล้ว ก็ควรทุกข์โศกเสียใจว่า วันของเราได้ล่วงไป ด้วยความประมาทเสียแล้ว วันที่ล่วงไปแล้วนั้น เราไม่อาจได้คืนมาอีก อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งงูข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน กินนรชาดก ว่า

“ดูก่อนนายพราน เราพลัดกันเพียงคืนเดียว ก็นึกเสียใจไม่รู้จักหาย นึกเสียใจว่า คืนที่เราพลัดกันนั้น เราไม่ได้คืนมาอีก” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๑ แห่งงูเหลือม

“ขอถวายพระพร องค์ ๑ แห่งงูเหลือม ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา งูเหลือม ย่อมมีร่างกายใหญ่ มีท้องพร่องอยู่หลายวัน ไม่ได้อาหารพอเต็มท้อง ได้พอยังร่างกายให้ เป็นไปได้เท่านั้นฉันใด พระโยคาวจรผู้เที่ยว ไปบิณฑบาต ก็มุ่งอาหารที่ผู้อื่นให้ งดเว้นจาก การถือเอาด้วยตนเอง ได้อาหารพอเต็มท้อง ได้ยาก

แต่ผู้อยู่ในอํานาจเหตุผล ถึงได้ฉันอาหาร ยังไม่อิ่ม ต้องมีอีก ๔ หรือ ๕ คําจึงจักอิ่ม ก็ควรเติมน้ำลงไปให้เต็ม อันนี้เป็นองค์ ๑ ข้อนี้สมกับคําของ พระสารีบุตรเถระ ว่า

“ภิกษุผู้ฉันอาหาร ทั้งสดและแห้ง ก็ไม่ควรฉันให้อิ่มนัก ควรให้มีท้องพร่อง รู้จัก ประมาณในอาหาร ควรมีสติละเว้น ไม่ควร ฉันอาหารให้อิ่มเกินไป เมื่อรู้ว่ายังอีก ๔-๕ คําก็จักอิ่ม ก็ควรหยุดดื่มน้ำเสีย เพราะเท่านี้ก็พออยู่สบาย สําหรับ ภิกษุผู้กระทําความเพียร” ดังนี้ ขอถวายพระพร”
จบสีหวรรคที่ ๕


◄ll กลับสู่สารบัญ




ตอนที่ ๓๖ (ตอนจบ)

มักกฏวรรคที่ ๖

องค์ ๑ แห่งแมงมุม

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งแมงมุม ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา แมงมุม ชักใยขวางทางไว้แล้วก็จ้องดูอยู่ ถ้าหนอน หรือแมลงมาติดในใยของตน ก็จับกินเสียฉันใด พระโยคาวจรก็ควรชักใย คือสติปัฏฐาน ขึงไว้ ที่ทวารทั้ง ๖ ถ้ามีแมลง คือกิเลสมาติด ก็ควร ฆ่าเสียฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งแมงมุม ข้อนี้สมกับคําของพระอนุรุทธเถระว่า

“เพดานที่กั้นทวารทั้ง ๖ อยู่ คือ สติปัฏฐานอันประเสริฐ เวลากิเลสมาติดที่เพดาน คือสติปัฏฐานนั้น พระภิกษุก็ควร ฆ่าเสีย” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๑ แห่งทารก

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งทารก ที่ยังกินนมอยู่ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ทารกที่ยังกินนมอยู่ ย่อมขวนขวายในประโยชน์ของตน เวลาอยากกินนมก็ร้องไห้ฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรขวนขวายในประโยชน์ของตนฉันนั้น คือควรขวนขวายในธรรมอันชอบใจตน ควรขวนขวายในการเล่าเรียนไต่ถามการประกอบ ความสงัด การอยู่ในสํานักครู การคบกัลยาณมิตร อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งทารกข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน ทีฆนิกายปรินิพพานสูตร ว่า

“ดูก่อนอานนท์ พวกเธอจงประกอบในประโยชน์ของตน อย่าได้ประมาทในประโยชน์ของตน” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๑ แห่งเต่าเหลือง

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่ง เต่าเหลืองได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา เต่าเหลือง ย่อมเว้นน้ำเพราะกลัวน้ำ เมื่อเว้นน้ำก็มีอายุยืนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเห็นภัยในความประมาท เห็นคุณวิเศษในความไม่ประมาท จึงจักไม่เสื่อมจากคุณวิเศษ จักได้เข้าใกล้นิพพาน อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งเต่าเหลืองข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน พระธรรมบท ว่า

“ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท ผู้เห็นภัยในความประมาท ย่อมไม่เสื่อม ย่อมได้อยู่ใกล้นิพพาน” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๕ แห่งป่า

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งป่าได้แก่สิ่งใด?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ป่า ย่อม ปิดบังคนที่ไม่สะอาดไว้ฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรปิดบังความผิดพลั้งของผู้อื่นไว้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งป่า
ธรรมดาป่าย่อมเป็นที่ว่างเปล่า ไม่มีคนไปมาฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้ว่างเปล่า จากกิเลสทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งป่า

ธรรมดาป่าย่อมเป็นที่เงียบสงัดฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเงียบสงัดจากสิ่งที่เป็น บาปอกุศลฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งป่า
ธรรมดาป่าย่อมเป็นที่บริสุทธิ์ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้บริสุทธิ์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งป่า

ธรรมดาป่าย่อมเป็นที่อาศัยอยู่ของพระอริยชนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรคบอริยชน ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งป่า ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์ สังยุตตนิกาย ว่า
“บุคคลควรอยู่ร่วมกับอริยะผู้สงัด ผู้มีใจตั้งมั่น ผู้รู้แจ้ง ผู้มีความเพียรแรงกล้า เป็นนิจ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๓ แห่งต้นไม้

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งต้นไม้ ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ต้นไม้ ย่อมทรงไว้ซึ่งดอกและผลฉันใด พระโยคาวจรก็ ควรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งดอกคือวิมุตติ ผลคือ สมณคุณ อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งต้นไม้
ธรรมดาต้นไม้ย่อมให้ร่มเงาแก่ผู้เข้าไปพักอาศัยฉันใด พระโยคาวจรก็ควรต้อนรับ ผู้ที่เข้ามาหาตน ด้วยอามิสหรือธรรมฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งต้นไม้

ธรรมดาต้นไม้ย่อมไม่ทําเงาของตนให้แปลกกัน ย่อมแผ่ไปให้เสมอกันฉันใด พระ โยคาวจรก็ไม่ควรทําให้แปลกกันในสัตว์ ทั้งหลายฉันนั้น คือควรแผ่เมตตาไปให้เสมอกัน ทั้งในผู้เป็นโจร เป็นผู้จะฆ่าตน เป็นข้าศึกของตนและตนเอง อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งต้นไม้ ข้อนี้สมกับคําของพระสารีบุตรเถระว่า

“พระมุนี คือพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นผู้มี พระหฤทัยเสมอไปแก่สัตว์ทั้งหลาย เช่น พระเทวทัต โจรองคุลิมาล ช้างธนบาล และ พระราหุล เป็นตัวอย่าง” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๕ แห่งเมฆ

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งเมฆ ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา เมฆ ย่อม ระงับเสียซึ่งละอองเหงื่อไคล ซึ่งเกิดแล้วฉันใด พระโยคาวจรก็ควรระงับเหงื่อไคล คือกิเลส ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเมฆ
ธรรมดาเมฆคือฝนที่ตกลงมา ย่อมดับความร้อนในแผ่นดินฉันใด พระโยคาวจรก็ควรดับทุกข์ร้อนของโลก ด้วยเมตตาภาวนา ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเมฆ

ธรรมดาเมฆย่อมทําให้พืชทั้งปวงงอกขึ้น ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทําให้พืช คือศรัทธา ของบุคคลทั้งหลายให้งอกขึ้นฉันนั้น ควรปลูกพืชคือศรัทธานั้นไว้ในสมบัติทั้ง ๓ คือ มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งเมฆ

ธรรมดาเมฆย่อมตั้งขึ้นตามฤดูฝน แล้วเป็นฝนตกลงมา ทําให้หญ้า ต้นไม้ เครือไม้ พุ่มไม้ ต้นยา ป่าไม้ เกิดขึ้นในพื้นธรณีฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทําให้โยนิโสมนสิการเกิดขึ้น แล้วทําให้สมณธรรม และกุศลธรรมทั้งปวง เกิดขึ้นฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งเมฆ

ธรรมดาเมฆคือก้อนน้ำ เมื่อตกลงมาก็ทําให้แม่น้ำ หนอง สระ ซอก ห้วยระแหง บึง บ่อ เป็นต้น ให้เต็มไปด้วยน้ำฉันใด พระโยคาวจรเมื่อเมฆ คือโลกุตตรธรรม ตกลงมาด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรม ควรทําใจของบุคคลทั้งหลาย ผู้มุ่งต่อโลกุตตรธรรม ให้เต็มบริบูรณ์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งเมฆ ข้อนี้สมกับคําของ พระสารีบุตรเถระ ว่า

“พระมหามุนีทรงเล็งเห็นผู้ที่ควรจะให้รู้ อยู่ในที่ไกลตั้งแสนโยชน์ก็ตาม ก็เสด็จไป โปรดให้รู้ทันที” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๓ แห่งแก้วมณี

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งแก้วมณี ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา แก้วมณี ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้ฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์แท้ฉันนั้น อันนี้เป็น องค์ที่ ๑ แห่งแก้วมณี
ธรรมดาแก้วมณี ย่อมไม่มีสิ่งใดเจือปน อยู่ข้างในฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรปะปน อยู่ด้วยสหายที่เป็นบาปฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งแก้วมณี

ธรรมดาแก้วมณี ย่อมประกอบกับแก้ว ที่เกิดเองฉันใด พระโยคาวจรก็ควรประกอบ กับแก้วมณีคือพระอริยะฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งแก้วมณี ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ ใน สุตตนิบาต ว่า

“ผู้บริสุทธิ์เมื่ออยู่กับผู้บริสุทธิ์ ผู้มีสติ อยู่กับผู้มีสติ ก็จักมีปัญญาทําให้สิ้นทุกข์” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๔ แห่งนายพราน

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๔ แห่ง นายพรานได้แก่สิ่งใด?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา นายพราน ย่อมหลับน้อยฉันใด พระโยคาวจรก็ควร หลับน้อยฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่ง นายพราน
ธรรมดานายพรานย่อมผูกใจไว้ในหมู่เนื้อฉันใด พระโยคาวจรก็ควรผูกใจไว้ในอารมณ์ อันจักให้ได้คุณวิเศษที่ตนได้แล้วฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนายพราน

ธรรมดานายพรานย่อมรู้จักเวลากระทําของตนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรรู้จักเวลา ฉันนั้น คือควรรู้ว่าเวลานี้เป็นเวลาเข้าสู่ที่สงัด เวลานี้เป็นเวลาออกจากที่สงัด อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งนายพราน

ธรรมดานายพรานพอแลเห็นเนื้อ ก็เกิดความร่าเริงว่า เราจักได้เนื้อตัวนี้ฉันใด พระ โยคาวจรพอได้ความยินดีในอารมณ์ ก็ควรเกิดความร่าเริงใจว่า เราจักได้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไปฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งนายพราน ข้อนี้สมกับคําของ พระโมฆราชเถระ กล่าวว่า

“ภิกษุผู้มีความเพียร ได้ความยินดีในอารมณ์แล้ว ควรทําให้เกิดความร่าเริง ยิ่งขึ้นไปว่า เราจักได้บรรลุธรรมวิเศษอันยิ่ง” ดังนี้ ขอถวายพระพร”
(หมายเหตุ : คําสุภาษิตนี้ ฉบับพิสดาร บอกว่า เป็นของพระโมคคัลลาน์)

องค์ ๒ แห่งพรานเบ็ด

“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่ง พรานเบ็ดได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา พรานเบ็ด ย่อมดึงปลาขึ้นมาได้ด้วยเหยื่อฉันใด พระโยคาวจรก็ควรดึงผลสมณะ อันยิ่งขึ้นมาให้ได้ด้วยญาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งพรานเบ็ด

ธรรมดาพรานเบ็ดสละสัตว์ที่เป็นเหยื่อ เพียงเล็กน้อย ก็ได้ปลามากฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรสละเหยื่ออันเล็กน้อย คืออามิสในโลก ฉันนั้น เพราะพระโยคาวจรสละสุขของโลกเพียงเล็กน้อยแล้วก็ได้สมณคุณอันไพบูลย์ อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งพรานเบ็ดข้อนี้สมกับคําของ พระราหุลเถระ ว่า

“พระภิกษุสละโลกามิสแล้ว ย่อมได้ อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นเพราะไม่ถือนิมิตในร่างกาย) สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นเพราะว่างจากกิเลส) อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้น เพราะไม่ปรารถนาในร่างกาย) และผล ๔ อภิญญา ๖” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

องค์ ๒ แห่งช่างไม้

“ขอถวายพระพร องค์ ๒ แห่งช่างไม้ได้แก่อะไร?”

“ขอถวายพระพร ธรรมดา ช่างไม้ ดีด บรรทัดแล้วจึงถากไม้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรดีดบรรทัดลงในคําสั่งสอนของสมเด็จพระชินวรเจ้า แล้วยืนอยู่ที่เหนือพื้นปฐพีคือศีล จับเอามีดคือปัญญาด้วยมือ คือศรัทธาแล้วถากกิเลสทั้งหลายให้สูญหายไปฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งช่างไม้

ธรรมดาช่างไม้ถากเปลือกกระพี้ออกทิ้ง ถือเอาแต่แก่นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรถาก ซึ่งลัทธิต่าง ๆ เช่น มีความเห็นว่าโลกเที่ยงบ้าง เห็นว่าตายแล้วสูญบ้าง เป็นต้น แล้วถือเอา แต่แก่น คือความเป็นเองแห่งสังขารทั้งหลายว่า ไม่มีอะไรเป็นสัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา มีแต่ของว่างเปล่า เป็นของที่ไม่เที่ยงทั้งนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งช่างไม้ ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในสุตตนิบาต ว่า

“ท่านทั้งหลายควรปัดเป่าเสียซึ่งความมืด ควรกวาดเสียซึ่งหยากเยื่อเชื้อฝอย ควรทิ้ง เสียซึ่งผู้ไม่ใช่สมณะแต่ถือตัวว่าเป็นสมณะ ควรทิ้งเสียซึ่งผู้มีนิสัยลามก มีความประพฤติ และโคจรลามก ควรเป็นผู้บริสุทธิ์ อยู่กับ ผู้บริสุทธิ์ ควรเป็นผู้มีสติ อยู่กับผู้มีสติ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

จบมักกฏวรรคที่ ๖


◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved