ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 21/3/08 at 09:33 Reply With Quote

บทความเรื่อง.. "พระมหาธาตุเจดีย์" โดย คุณธีระ วรวงศ์จิตติ


        พระมหาเจดีย์ในพระพุทธศาสนา ปริศนาแห่งพระมหาเจดีย์ และ พระบรมสารีริกธาตุ ที่ประดิษฐาน ณ. พระมหาเจดีย์ต่างๆ

๑. พระเจดีย์ในพระพุทธศาสนา
        "เจดีย์" ตามความหมาย หมายถึง "สิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่บูชาระลึกถึง มักจะหมายรวมกับคำว่า "สถูป" คือที่ที่สร้างขึ้นมาเก็บอัฐิธาตุของผู้ที่ล่วงไปแล้ว เพื่อให้ลูกหลานและผู้ที่เคารพนับถือได้สักการะบูชา เรามักจะเรียกรวมกันว่า "สถูปเจดีย์" แล้วเรียกอย่างสั้นว่า "เจดีย์"

        ซึ่งมีความหมายเป็นการเรียกเฉพาะถึงสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีกธาตุของพระพุทธเจ้า หรือพระธาตุของพระอรหัตร์ หรือบรรจุเครื่องอัฐบริขารของพระพุทธเจ้า หรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป หรือข้าวของเครื่องประดับที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นพุทธบูชา

        คำว่า เจดีย์ มาจากคำบาลี คำว่า " เจดียะ " หรือ "ใจดียะ " หมายถึงจิตใจหรืออนุสรณ์เตือนใจ คำว่า "เจดีย์" ยังหมายรวมไปถึง ถาวรวัตถุ สิ่งก่อสร้าง พระพุทธรูป พระไตรปิฎก สังเวชนียสถาน และสิ่งที่เตือนใจให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยด้วย

        ๒. พุทธเจดีย์ หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า "เจดีย์" คือ สื่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อระลึกนึกถึง ต่อพระพุทธเจ้าและพระรัตนตรัย ยังแบ่งออกเป็น ๔. ประเภท คือ
๒.๑ *ธาตุเจดีย์* หมายถึงสิ่งก่อสร้างที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เรามักเรียกว่า "พระมหาธาตุเจดีย์" อินเดีย เรียกเจดีย์ประเภทนี้ว่า "สรีริกสถูป"

๒.๒ *บริโภคเจดีย์* หมายถึง สถานที่ที่เป็นที่ระลึกถึงพระพุทธองค์ ได้แก่ "สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง" คือ สวนลุมพินีวันที่ประสูติ อุรุเวลาเสนานิคม (พุทธคยา) ที่ตรัสรู้ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (สารนาถ) ที่ที่แสดงปฐมเทสนา และ สาละวโนทยาน เมืองกุสินาราที่ปรินิพพาน

        และต่อมาได้เพิ่มที่แสดงปาฎิหาริย์อีก ๔ แห่ง คือ เมืองสังกัสที่เสด็จลงจากดาวดึงส์ เมืองสาวัตตถี ที่ทำ ยมกปาฎิหาริย์ เมืองราชคฤห์ที่ทรมาณช้างนาฬาคีรี เมืองเวสาลีที่ทรมาณพญาวานร และ ยังหมายรวมไปถึง พระเจดีย์ที่บรรจุเครื่องใช้ที่กี่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า ได้แก่ อัฏฐบริขาร มีบาตรและจีวร เป็นต้น อินเดีย เรียกเจดีย์ประเภทนี้ว่า "ปาริโภคสถูป"

๒.๓ *ธรรมเจดีย์* หมายถึง พระธรรมคัมภีร์ในพุทธศาสนา เป็นสิ่งแทนคำสอนของพระพุทธเจ้า ต่อมาเขียนเป็นตัวอักษรประดิษฐ์ไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา เช่น หอพระไตรปิฎก รวมถึงส่วนที่เป็นพระไตรปิฎกเอง และไม่ว่าจะจารึกในรูปแบบใด

๒.๔ *อุเทสิกเจดีย์* หมายถึง สถานที่หรือสิ่งของที่สร้างขึ้น โดยเจตนาอุทิศต่อพระพุทธเจ้า โดยมีหลายรูปแบบลักษณะ เช่น พระพุทธรูป พระพิมพ์พระเครื่องต่างๆ ธรรมเจดีย์ ธรรมจักร รวมถึงเจดีย์ที่เป็นพุทธบังลังก์ พระแท่นพระพุทธเจ้า รวมถึงพระพุทธฉาย และ พระพุทธบาท ด้วย อินเดีย เรียกว่า "อุทเทสิกสถูป"

๓. รูปแบบของพระบรมธาตุเจดีย์ คือเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มักสร้างเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม หรือรูปโอคว่ำ มียอดแหลม ไม่ว่ารูปลักษณาการในยุดใดที่เป็น เจดีย์ทรงโอคว่ำ หรือ แบบสาณจี อันเป็นเจดีย์รูปแบบแรกๆ ของพุทธศาสนา เจดีย์ทรงลังกาแบบสุโขทัย เจดีย์ทรงลังกาแบบอยุธยา หรือรูปทรงที่หลากหลายรูปแบบที่สร้างขึ้นมา ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์มาจนปัจจุบันและในอนาคต จะมีรูปแบบทางสถาปนิกออกมาอย่างไรก็ตาม ก็ล้วนแล้วแต่แฝงปรัชญา หรือ นัยยะ ทางพระพุทธศาสนาไว้ทั้งสิ้น

๔. พุทธปรัชญา หรือ นัยยะ ที่แฝงไว้ในสถาปัตยกรรมแห่งพระมหาเจดีย์
ความหมายแห่งพระมหาเจดีย์
        เมื่อขณะที่เรานึกถึงหรือดูพระเจดีย์ต่างๆ นั้น เราจะนึกถึงหรือเห็นสิ่งก่อสร้างหรือสถาปัตยกรรมที่เป็นรูประฆังคว่ำ หรือคล้ายฝาชีครอบ มียอดแหลมๆพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า อันพุทธศาสนิกชนแต่โบราณมาจนปัจจุบันและอนาคต สร้างข้นมาเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และหรือพระธาตุแห่งพระอริยสงฆ์ แลบุคคลอันเป็นบูชนียบุคคลนั้น

        โบราณจารย์ท่านได้แฝงพุทธปรัชญาปริศนาธรรม ไว้ในรูปลักษณ์แห่งสิ่งก่อสร้าง หรือสถาปกรรมนี้ไว้ อันอาจพิจารณาออกมาได้ ๒ นัยยะ ดังนี้

๔.๑ นัยยะที่ ๑. เป็นนัยยะแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นฐานแห่งการปฎิบัติแห่งพระพุทธศาสนา คือ
๑.๑ ส่วน ฐานของเจดีย์ ตีความได้ว่าเป็นฐานของชีวิต คือ ศีล
๑.๒ ส่วนที่โค้งมนเหนือขึ้นมาคล้ายระฆังหรือเรียกว่าองค์ระฆัง คล้ายคนนั่งสมาธิ คือ การปฎิบัติสมาธิภาวนา
๑.๓ ส่วนที่เป็นส่วนยอดแหลมคล้ายปลีกกล้วยตั้งแต่ปล้องไฉนขึ้นไป คือ มรรค ๘ หรือ มรรควิธีที่จะถึงจึงความหลุดพ้น
๑.๔ ส่วนยอดสุด ที่เป็นตุ้มกลมๆ คล้ายลูกแก้ว ที่เรียกว่าหยดน้ำค้างนั้น หมายถึง พระนิพพาน

๔.๒ นัยยะที่ ๒. เป็นนัยยะแห่งภูมิภพต่างๆ ตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา อันเป็นไตรภูมิ ที่ประกอบไปด้วย นรกภูมิ มนุษย์ภูมิ และสวรรค์ (พรหม) ภูมิ ดังอาจจะพิจารณาได้ดังนี้
๔.๒.๑ ส่วนที่เป็นฐานแห่งองค์เจดีย์ ที่เรียกว่าฐานเขียง มักจะทำเป็นฐานในลักษณะทรงกลมหรือเหลี่ยม (จะเป็นกี่เหลี่ยมก็ตาม) นั้นหมายถึง
๔.๒.๑.๑ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันเป็นองค์ประกอบที่ก่อเกิดสังขารรูปกายแห่งวัตถุ คน สัตว์ สิ่งของทั้งหลาย ที่เป็นตัวเกิดแห่งมนุษย์โลก และ/หรือ
๔.๒.๑.๒ ทวีปทั้ง ๔ อันเป็นทวีปที่มีอยู่ตามจักรวาลแห่งพุทธศาสนา นั้นคือ
๔. ๒.๑.๒.๑ อุตตรกุรุทวีป
๔. ๒.๑.๒.๒ ปุพพวิเทหทวีป
๔.๒.๑.๒.๓ อปรโคยานทวีป
๔. ๒.๑.๒.๔ ชมพูทวีป (แต่ปราชญ์ท่านจะหมายโลกมนุษย์นี้ทั้งหมดคือ ชมพูทวีป)

๔.๒.๒ ส่วนที่ต่ำลงไปจากฐานเจดีย์จนถึงพื้นดิน ท่านตีนัยยะเป็นภูมิชั้นล่างคือฝ่ายทุคติ ที่ประกอบด้วย ดิรัจฉาน อสุรกาย เปรต และ นรก

๔.๒.๓ ส่วนที่เหนือฐานขึ้นมา อันเป็นรูปทรงทั่วไปที่คล้ายระฆังคว่ำอันเรียกว่า "องค์ระฆัง" นั้น ท่านหมายถึง "โลกมนุษย์" นี้เอง

๔.๒.๔ เหนือส่วนที่เป็นรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำนั้นขึ้นไปข้างบน มักจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า "บัลลังก์" นั้นตีความตามนัยยะนั้นได้ว่าคือ ทิศทั้งสี่ ที่ที่มีท้าวมหาราชทั้งสี่ ผู้ทำหน้าที่รักษาทิศทั้งสี่ และเหนือขึ้นอีกมักจะเป็นเสาเตี้ยๆ ( ส่วนใหญ่จะเป็น ๖ เสา ) หมายถึง สวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า คือ
        ๑. จาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓.ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรตี ๖. ปรนิมมิตาวสวัสดี

๒.๕ ข้างบนขึ้นเป็นจะเป็นปล้องๆ ซ้อนขึ้นไปที่เรียกว่า "ปล้องไฉน" มักจะมี ๑๖ ปล้อง อันหมายถึงรูปพรหม ๑๖ ชั้น อันประกอบด้วย ( ไล่จากล่างขึ้นบน) รูปพรหมขั้น
๑. ปาริสัชชา ๒. ปุโรหิตา ๓. มหาพรหมา ๔. ปริตตาภา ๕. อัปปมาณาภา ๖.
อาภัสสรา ๗. ปริตตาสุภา ๘. อัปปมาณา ๙. สุภากิณหา ๑๐. เวหาปผลา ๑๑. อสัญญีสัตตา ๑๒. อวิหา ๑๓. อตัปปา ๑๔. สุทัสสา ๑๕ สุทัสสี ๑๖. อกนิฎฐา

๒.๖ ถัดจาก "ปล้องไฉน " ขึ้นไป เป็นรูปคล้ายปลีกกล้วย ที่เรียกว่า "ปลีกกล้วย" นั้น
หมายถึง พรหมชั้นอรูปพรหม ๔. คือ อรูปพรหมชั้น ๑. อากาสานัญจายตนะ ๒. วิญญาณัญจายตนะ ๓. อากิญจัญญายตนะ ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

๒. ๗ เหนือขึ้นไปเป็นรูปลูกแก้วหรือตุ่มกลมๆ เรียกว่า "หยาดน้ำค้าง" อันมักจะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้น ถือว่าเป็นนัยยะสำคัญที่หมายในการสร้างพระมหาเจดีย์ทั้งหลายนั้น นั่นคือ "โลกุตตรภูมิ" หรือ แดนที่พ้นแล้วจากกิเลสอาสวะทั้งปวง ถือเป้าหมายสูงสุดแห่งพุทธศาสนา

๒.๘ เหนือขึ้นไปอีก มักจะทำเป็นยอดฉัตรเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ( ส่วนใหญ่ ๓ ชั้น ) นั้นหมายถึง "พระรัตนตรัย" อันเสมือนร่ม ที่ให้ความร่มเย็นมายังโลกทั้งสามเบื้องล่างนั้นแล

๕. พระมหาเจดีย์ที่สำคัญ ที่ประดิษฐสถานพระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆ ( กล่าวเฉพาะในประเทศไทย )
        *พระจุฬามณีเจดีย์สถาน* เป็นพระเจดีย์ที่สถิตย์อยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศเกล้าเมาลี หรือพระจุฬาเมาลี (มวยผม) ของพระพุทธเจ้า กล่าวกันว่า เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัคถะ ครั้งเสด็จออกบรรพชา เมื่อเสด็จข้ามแม่น้ำอโนมาแล้ว จะอธิษฐานเพศบรรพชิต ทรงตัดพระเกศาขว้างขึ้นไปในอากาศ พระอินทราเทวราชได้นำผอมแก้วมารองรับ นำไปประดิษฐานใว้ที่พระจุฬามณีเจดีย์สถาน

        และต่อมาครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ในขณะที่แจกพระบรมสารีริกธาตุ พระอินทร์ได้นำเอาพระทาฐธาตุ ( พระเขี้ยวแก้วเบิ้องบนขวา) ที่โทณพราหมณ์ซ่อนไว้ในผ้าโพกศีรษะ ใส่ผอมทองนำไปบรรจุในพระจุฬามณีเจดีย์สถานนี้ด้วย

*พระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า* นั้น มีอยู่มากมายหลายที่ทั้งในประเทศไทย , พม่า , ลังกา
        ส่วนที่เป็น*ส่วนกลางพระกระหม่อม* ประดิษฐานอยู่ที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุหริภุญชัย(จังหวัดลำพูน), วัดพระบรมธาตุเจดีย์ดอยสุเทพ (จังหวัดเชียงใหม่) ,พระบรมธาตุวัดสวนดอก วัดสวนดอก
(จังหวัดเชียงใหม่) , เจดีย์พระบรมธาตุที่วัดแหลมลี่ (จังหวัดแพร่)

ส่วนที่เป็น *พระเกศาธาตุ* ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระธาตุดอยทอง (จังหวัดเชียงราย) , วัดพระธาตุจอมกิตติ (จังหวัดเชียงราย), วัดพระธาตุภูเข้า (จังหวัดเชียงราย), วัดพระธาตุสามมุงเมือง (พระธาตุสบรวก) วัดพระธาตุดอนจัน , วัดพระธาตุดอยกู่แก้ว , วัดพระพุทธทศพลญาณ (ป่าหมากหน่อ ), วัดพระธาตุสันขวาง , วัดพระธาตุดอยเวา, ถ้ำปุ่ม , ถ้ำปลา, พระธาตุวัดพระแก้ว วัดพระธาตุปูเต้า, วัดพระธาตุจอมจ้อ, วัดพระธาตุปูคำ, พระธาตุผาอาบ (ที่กล่าวมาล้วนอยู่ที่จังหวัดเชียงรายทั้งสิ้น)

         พระธาตุวัดบุพพาราม, วัดศรีเกิด , วัดป่าหก - วัดกู่เต้า (วัดเวฬุนาราม), วัดเชียงมั่น , วัดนันทาราม, วัดเจดีย์หลวง, วัดพระธาตุดอยคำ, วัดพระธาตุช่างเคิ่ง, วัดพระธาตุดอยกู่ใต้, วัดพระธาตุดอยรวก, วัดพระธาตุดอยสะกาน, วัดพระธาตุดอยกู่, วัดพระธาตุท่าตูม, วัดพระธาตุเจดีย์เหลี่ยม . วัดพระนอนป่าเก็ดถี่ (ในเศียรพระนอน), วัดพระธาตุเจ้าดอยเกิ้ง, วัดพระนอนขอนม่วง, วัดพระธาตจอมหิน, พระธาตุในถ้ำตับเต่า (ล้วนอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่)

        วัดพระธาตุแช่แห้ง, วัดพระธาตุเขาน้อย, พระธาตุวัดกู่คำ, พระธาตุวัดไผ่เหลือง, วัดพระธาตุสวนตาล (ล้วนอยู่ทีจังหวัดน่าน)

        วัดพระธาตุจอมทอง, พระธาตุวัดป่าแดงบุญนาค, วัดพระธาตุดอยน้อย, วัดพระธาตุภูขวาง , วัดพระธาตุขิงแกง , วัดพระธาตุจอมไก่ , วัดพระธาตุจอมไคร้, วัดพระธาตุจอมศีล, วัดพระธาตุแจโว, วัดพระธาตุจำม่วง, วัดพระธาตุดอยคำ, วัดพระธาตุสบแวน, วัดพระธาตุภูซาง, วัดพระธาตุดอยหยวก, วัดพระธาตุปูปอ (ล้วนอยู่ที่จังหวัดพะเยา)

        วัดพระธาตุช่อแฮ , พระธาตุจอมแจ้ง, วัดพระธาตุหนองจันทร์, วัดพระธาตุปูแจ (ล้วนอยู่ที่จังหวักแพร่)

        วัดพระแก้วดอยเต้าสุชาราม (พระเกศาธาตุพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์), วัดพระธาตุม่วงคำ, พระธาตุวัดม่อนจำศีล , พระธาตุวัดม่อนพญาแช่, พระธาตุวัดพระเจ้าทันใจ, พระธาตุวัดดอยป่าตาล, พระธาตุวัดดอยอุ้มลอง, วัดพระธาตุปางม่วง, วัดพระธาตุคอยคู่ , วัดพระธาตุธาตุม่อนไก่แจ้, วัดพระธาตุม่อนไก่เขี่ย, พระธาตุดอยแก้ว, วัดพระธาตุดอยผาปูน วัดพระธาตุธาตุม่อนทรายเหงา, วัดพระธาตุม่อนทรายนอน, วัดพระธาตุลำปางหลวง (ล้วนอยู่ที่จังหวัดลำปาง )

        วัดพระมหาธาตุ (พระบรมธาตุ) ( จังหวัดสุโขทัย ), วัดพระมหาธาตุแก่งสร้อย ( จังหวัดตาก ). วัดพระมหาธาตุ (พระบรมธาตุ) ( จังหวัดเพชรบูรณ์ )

* พระเศียรขวา* ประดิษฐานอยู่ที่พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุจอมทอง (จังหวัดเชียงใหม่), วัดพระธาตุดอยทอง (จังหวัดเชียงราย)

*พระเศียรซ้าย* อยู่ที่ วัดพระธาตุดอยน้อย (จังหวัดเชียงใหม่ )

*หน้าผาก* อยู่ที่ วัดพระธาตุดอยทอง (จังหวัดเชียงราย) , วัดพะธาตุจอมกิตติ ( จังหวัดชียงราย ), วัดพระธาตุจอมยอง ประเทศพม่า

*หน้าผากซ้าย* อยู่ที่ วัดพระธาตุดอยเกิ้ง (จังหวัดเชียงใหม่)

*ขอบตาขวา* อยู่ที่ วัดพระธาตุดอยหยวก (จังหวัดพะเยา )

*ดั้งจมูก* อยู่ที่ วัดพระธาตุจอมจ้อ (จังหวัดเชียงราย)

*ปลายจมูก* อยู่ที่ วัดพระธาตุแจโว (จังหวัดพะเยา )

*กกหูขวา* อยู่ที่ วัดพระธาตุป่าแดงบุญนาค (จังหวัดพะเยา )

*กกหูซ้าย* อยู่ที่ วัดพระธาตุป่าแดงบุญนาค ( จังหวัดพะเยา )

*พระเขี้ยวแก้ว* อยู่ที่ วัดพระมหาธาตุ (จังหวัดนครศรีธรรมราช ), วัดเพชรพลี (จังหวัดเพชรบุรี) , พระจุฬามณีเจดีย์สถาน ( บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ) วัดรำเปิ่ง ( จังหวัดเชียงใหม่) และ ยังมีที่ ประเทศลังกา ,จีน , พม่า อีกด้วย

*พระเขี้ยวฝาง* อยู่ที่พระธาตุ วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ (จังหวัดอุตรดิตถ์), พระธาตุบุวัดบ้านโคกป่าฝาง (โพนจิกเวียงงัว ) (จังหวัดหนองคาย) , หอแพ (ประเทศลาว)

*พระทนต์ธาตุ (ฟัน)* อยู่ที่ วัดพระธาตุแสนไห (จังหวัดเชียงใหม่)

*ริมฝีปากล่าง* อยู่ที่ วัดพระธาตุสบแวน (จังหวัดพะเยา )

*คางขวา* อยู่ที่ วัดพระธาตุวัดเจดีย์เหลี่ยม (จังหวัดเชียงใหม่)

*คางซ้าย* อยู่ที่ วัดพระธาตุวัดเจดีย์หลวง (จังหวัดเชียงใหม่) , วัดม่วงคำ

*ลำคอหน้า-หลัง* อยู่ที่ วัดพระธาตุลำปางหลวง(จังหวัดลำปาง) , และที่ มหิยังคณเจดีย์ ประเทศศรีลังกา

*ท้ายทอย* อยู่ที่ วัดพระธาตุนาดูน (จังหวัดมหาสารคาม )

*ไหล่ขวา* อยู่ที่ วัดพระธาตุปูตั๊บ (จังหวัดแพร่ )

*ไหล่ซ้าย* อยู่ที่ วัดพระธาตุขวยปู (จังหวัดแพร่ )

*ไหปลาร้าขวา* อยู่ที่ วัดพระธาตุจอมแจ้ง (จังหวัดเชียงใหม่) , ถูปาราม (ลังกา)

*ไหปลาร้าซ้าย* อยู่ที่ วัดพระธาตุดอยตุง(จังหวัดเชียงราย) และ มีสถิตย์ที่ ทุสสเจดีย์พรหมโลก อีกด้วย

*หน้าอก อยู่ที่ วัดพระธาตุพนม (จังหวัดนครพนม) , วัดพระธาตุประสิทธิ์ ( อำเภอนาหว้า (จังหวัดนครพนม) วัดพระธาตุเขาจอมแจ้ง (จังหวัดเชียงใหม่ )

* หัวใจ* อยู่ที่ วัดพระแก้วดอยเต้า (จังหวัดลำปาง)

*สันหลัง* อยู่ที่ วัดพระธาตุอิงรัง (ลาว)

*บ่าขวา* อยู่ที่ วัดพระธาตุปูตั๊บ ( จังหวัดแพร่ )

*ไหล่ ซ้าย* อยู่ที่ วัดพระธาตุขวยปู (จังหวัดแพร่ )

*แขนขวา* อยู่ที่ วัดพระธาตุจอมกิตติ (จังหวัดเชียงราย)

* แขนซ้าย* อยู่ที่ วัดพระธาตุจอมทอง (จังหวัดพะเยา) วัดพระธาตุดอยเต่าคำ ( จังหวัดลำปาง )

*ข้อศอกขวา* อยู่ที่ วัดพระธาตุแก่งสร้อย (จังหวัดตาก)

*ข้อศอกซ้าย* อยู่ที่ วัดพระธาตุช่อแฮ (จังหวัดแพร่ )

*ข้อมือขวา* อยู่ที่ วัดพระธาตุภูขวาง (จังหวัดพะเยา )

*ข้อมือซ้าย* อยู่ที่ วัดพระแช่แห้ง(จังหวัดน่าน)

*ฝ่ามือขวา* อยู่ที่ วัดพระธาตุจอมท้าว (พม่า )

*ฝ่ามือซ้าย* อยู่ที่ วัดทุ่งธาตุ (อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ), วัดพระธาตุจอมทอง ( พม่า )

*นิ้วทั้งสิบ* อยู่ที่ วัดพระธาตุดอยทอง(จังหวัดเชียงราย)

*หัวแม่มือซ้าย* อยู่ที่ วัดพระธาตุจอมแจ้ง (จังหวัดแพร่)

*นิ้วก้อย * อยู่ที่ วัดพระธาตุดอยน้อย (จังหวัดพะเยา )

*นิ้วก้อยเบื้องซ้าย* อยู่ที่ วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว (จังหวัดเชียงราย)

*เล็บ* อยู่ที่ วัดพระธาตุม่อนพญาแช่ ( จังหวัดลำปาง )

*ซึ่โครงซ้าย* อยู่ที่ วัดพระธาตุจอมปิง (จังหวัดลำปาง ), วัดท่าตูม (จังหวัดเชียงใหม่)

*ตับ* อยู่ที่ วัดพระธาตุสันดอน ( จังหวัดลำปาง )

*หัวเหน่า* อยู่ที่ วัดพระธาตุบังพวน (จังหวัดหนองคาย)

*ก้นกบ* อยู่ที่ วัดพระธาตุปุ้มปุก ( ลาว )

*ส้นเท้าขวา* อยู่ที่ พระธาตุปูคำ (จังหวัดเชียงราย)

*ตาตุ่มขวา* อยู่ที่ พระธาตุดอยกู่แก้ว (จังหวัดเชียงราย), พระธาตุวัดป่าสัก (พระธาตุโคปผกะ) (จังหวัดเชียงราย)

*ตาตุ่มซ้าย* อยู่ที่ พระธาตุปูแจ (จังหวัดแพร่ )

*เท้าขวา* อยู่ที่ พระธาตุขิงแกง (จังหวัดพะเยา ), เจดีย์หน้าวัดธาตุเมืองลาหนองคาย (จมอยู่ในม่น้ำโขง) (จังหวัดหนองคาย )

*พระอังคารธาตุ (เถ้ากระดูก)* อยู่ที่ พระธาตุขามแก่น (จังหวัดขอนแก่น) , พระธาตุนารายณ์แจงแวง ( จังหวัดสกลนคร )

*พระเสมหธาตุ* อยู่ที่ พระธาตุวัดพชรพลี (จังหวัดเพชรบุรี)

*แก้มขวา * อยู่ที่ วัดพระธาตุม่อนทรายนอน (จังหวัดลำปาง)

*ทะนานทองคำที่ใช้ตรงพระบรมสารีกธาตุ* อยู่ที่ พระมหาธาตุเจดีย์วัดพระประโทน
(จังหวัดนครปฐม)

*ถาดทองคำที่รองรับพระอุรังคธาตุ* ขณะสร้างพระธาตุพนม อยู่ที่ วัดพระธาตุตาดทอง
(ถาดทอง ) (จังหวัดยโสธร )

*ดินสังเวชนีย์สถาน ๔* อยู่ที่ วัดพระธาตประสิทธิ์ ( อ.นาหว้า จ. นครพนม )

*กระดุมจีวรของพระพุทธเจ้า* อยู่ที่ วัดพระธาตุดุม (จังหวัดสกลนคร)

*สถานที่พระพุทธเจ้าบ้วนพระโอษฐ์* อยู่ที่ วัดพระธาตุภูเข้า (จังหวัดเชียงราย )

*สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งฉันภัตตาหาร* อยู่ที่ พระธาตุสามมุงเมือง ( พระธาตุสบรวก ), วัดสวนดอก ( จังหวัดเชียงราย )

*สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงบรรทม* อยู่ที่ วัดมหาธาตุดอยจัน (จังหวัดเชียงราย )

*ผ้าอาบทองคำ* ก้อนหินแก้วที่ทรงประทับยืน* อยู่ที่ พระธาตุผาอาบ (อ.เทิง จังหวัดเชียงราย )

*พระบรมธาตุน้ำล้างพระพักตร์* อยู่ที่ วัดพระธาตุดอยจอมแจ้ง (จังหวัดเชียงใหม่ )

*พระบรมธาตุน้ำสระพระเกศ* และ น้ำสรงพระพุทธบาท* อยู่ที่ วัดพระธาตุช่อแลพระงาม ( จังหวัดเชียงใหม่ )

*พระธาตุน้ำล้างมือผ่านนิ้วทั้ง ๕* อยู่ที่ วัดพระธาตุห้าดวง (จังหวัดลำพูน )

        และ *พระบรมธาตุเจดีย์ พิเศษ* มี
๑. พระจุฬามณีเจดีย์สถาน บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาบน และ พระเมาลี ( พระเกษเกล้า )

๒. ทุสสเจดีย์ พระเจดีย์สูง ๑๒ โยชน์ บนพรหมโลก (ประดิษฐานพระภูษาที่พระพุทธเจ้าทรงออกผนวช , พระเกศาธาตุบางส่วน และ พระบรมธาตุส่วนไหปลาร้า (พระรากขวัญ )เบื้องซ้าย และ พระอุณหิส (มงกุฎเครื่องอาภรณ์มหาลดาปสาธน์ ที่นางมัลลิกาทูลอัญเชิญสวมพระพุทธสรีระศพ)
๓. นาคทวีป ( เมืองนาค ) (พระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้ายล่าง , พระบรมธาตุส่วนคอ )
๔. เมืองตักศิลา ( พระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้ายบน )
๕. เมืองคันธาราษฎร์ (พระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาล่าง ) ปัจจุบันอยู่ที่ศรีลังกา
๖ เมืองสวรคโลก จังหวัดสุโขทัย ( พระบรมธาตุส่วนกลาง )
๗. เมืองปาฎลีบุตร ( พระธรรมกรก ( ที่กรองน้ำ ) และพระกายพันธ์ ( ผ้ารัดประคด )
๘. เมืองมิถิลา ( ตาลีฟู ) ( ไม้สีฟันทิพย์ )
๙ . เมืองวิเทหะ ( กระบอกเข็ม )
๑๐. เมืองเจติยนคร ( รองพระบาท )
๑๑. หมู่บ้านพรหมณ์ ชื่อ อุสิลคาม ( สลกบาตร )
๑๒. เมืองมงกุฏนคร ( อาสนะ และ หมอนอิง )
๑๓. เมืองพันธุมดี (เมืองภัททาราฐ ) (ผ้าไตรจีวรที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัว คือ ผ้าอาบ ผ้าห่ม (จีวร) และสบง )
๑๔. เมืองมวร ( มธุ ) นคร หรือ เมืองวิเทหะ (พระบรมธาตุเขี้ยวฝาง และ บาตร )
๑๕. เมืองกุรุรัฐ ( โกสัมภี ) ( ผ้านิสีหนะสันถัต ) (ผ้าปูนั่ง )
๑๖. ทุสสะเจดีย์ ( อกันนิฐา ) ริมแม่น้ำอโนมา เจดีย์สร้างโคยฆะฎิกามหาพรหม ( บรรจุพระอุทมสาฎก (ผ้าผลัดสรมน้ำเมื่อออกผนวช ) )
๑๗. เจดีย์ เหนือดอนทราย ริมแม่น้ำอโนม สร้างโคยพญานาคชื่อ กาฬะนาคราช ( บรรจุดาบศรีกันชัย ที่ปลงพระเกษเกล้า)



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 19/4/08 at 22:20 Reply With Quote


(Update 20 เม.ย. 2551)

รูปภาพประกอบ
แสดงจุดตำแหน่งสถานที่ที่ "พระบรมสารีริกธาตุทั้งพระวรกาย"
อันประดิษฐานอยู่ใน "ชมพูทวีป"

พระชัยวั่ฒน์ อชิโต ผู้รวบรวม (จากปกหลังหนังสือ "ตามรอยพระพุทธบาท" เล่มที่ 1)





webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved