ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 3/4/08 at 23:30 Reply With Quote

งานวัดพระแท่นดงรัง (ตอนจบ) จากหนังสือ "ตามรอยพระพุทธบาท" เล่ม 1 (ตอน 4)


<< ตอน 1 ภาคเหนือ-ใต้ ปี 2536-37
<< ตอน 2 ภาคอีสาน ปี 2538
<< ตอน 3 ภาคกลาง ปี 2538



สารบัญ

01.
งานรวมภาค ณ วัดพระแท่นดงรัง เมื่อปี 2539
02. การจัดสร้างพระพุทธรูปปางปรินิพพาน
03. ขบวนแถวมี ๓ ขบวน
04. พระชัยวัฒน์กล่าว "วัตถุประสงค์ของการจัดงาน”
05. พระแท่นดงรังเป็นสถานที่ทรงปรินิพพานจริงหรือไม่?
06. งานพิธีจำลองเหตุการณ์ "วันปรินิพพาน"
07. สมมุติราชรถเป็นพระแท่นปรินิพพาน
08. มหาพิธีบวงสรวง คล้ายกับ "วันมหาสมัย"
09. คำชี้แจงเรื่องที่กล่าวหาว่า "เผาพระพุทธเจ้า"
10. งานพิธีจำลองเหตุการณ์ "วันถวายพระเพลิง"
11. งานพิธีจำลองเหตุการณ์ "วันแจกพระบรมสารีริกธาตุ" (อัพเดทตอนจบ 22 สค. 53)




งานรวมภาค ณ วัดพระแท่นดงรัง

วันที่ 30 เมษายน ปี 2539





(คลิกชม..คลิปวีดีโอ ตอนที่ 1)

ผู้เขียนได้เล่าเรื่อง การจัดงานครบรอบ ๓ ปี ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อมรณภาพ ผ่าน ไปแล้ว พร้อมทั้งความสำเร็จของ “ฐานแก้ว”และ “ผ้าห่มทองคำ”อันสวยงามวิจิตรตระการ ตา ที่บ่งบอกถึงงานฝีมืออันทรงคุณค่าของช่าง ศิลปไทย ที่ได้ประดิษฐ์อย่างประณีตบรรจง คง ไว้ด้วยความงามของลวดลายอันละเอียดชดช้อย ระยิบระยับเมื่อต้องกับแสงไฟ ที่มองลึกเข้าไป ถึงในจิตใจของผู้สร้าง จะบอกความหมายอัน ลึกซึ้งถึงแก่นธรรมทีเดียว

นับเป็นผลงานที่ได้รับความสำเร็จและความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพราะ เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ท่านร่วมสร้าง พร้อมกับ คณะผู้ดำเนินงาน ได้แก่ คุณอภิชาติ สุขุม คุณแสงเดือน พร้อมพันธ์ พร้อมทั้งคณะคือ คุณสุภรณ์ (ใหญ่) และ คุณจริยา เป็นต้น ที่ทุกคนต่างก็มุ่งมั่นที่จะแสดงความกตัญญูต่อท่านผู้มีพระคุณ ด้วยความรักและความเคา รพอย่างสูง หวังจะจัดทำสิ่งของที่มีค่าสูงสุดอัน ประเสริฐ เพื่อเป็นการสนองและบูชาพระคุณ ความดีของท่าน ที่พวกเราได้รวมใจจัดทำถวาย

ฉะนั้น ไม่มีคุณความดีอะไรพอที่จะตอบแทนได้ หลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว นอกจาก “แท่นแก้ว”อันสูงค่างามสง่านี้ ที่จะเทิดทูน เหนือเศียรเกล้าของพวกเรา เหล่าศิษยานุศิษย์ และลูกหลานของท่านทั้งหลาย เพื่อท่านจะได้ ทอดร่างนอนอย่างสงบสุขตลอดไป จนกว่าวัดนี้จะเสื่อมสลาย เมื่อใกล้อายุพระพุทธศาสนาครบ ๕ พันปี เป็นการฝากร่างนี้ไว้เป็นอนุสรณ์แห่งแผ่นดิน ซึ่งเป็นชาติสุดท้ายของการเกิด

สาธุ...ขออำนาจผลแห่งความดีที่ลูกๆ ของท่านได้กระทำแล้ว เพื่อบูชาพระคุณของ พ่อผู้ประเสริฐ จงบังเกิดแสงธรรมแห่งปัญญาแก่ลูกชายหญิงทั้งหลาย ผู้ปรารถนาความพ้น ทุกข์ ผู้หวังทอดร่างนอนสงบสุขอยู่ในโลก เพียงชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย เฉกเช่นเดียวกับ พระอริยเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ให้ได้รับผลโดยฉับพลันนั้นเทอญ ฯ

ขอกล่าวย้อนเมื่อตอนที่แล้วไว้เพียงนี้ ต่อไปจะขอเล่าเรื่อง “งานรวมภาค” ณ วัดพระ แท่นดงรัง หลังจากที่ได้นัดกันไว้ในงาน “ภาค กลาง”วัดพระพุทธบาทสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ครั้นถึงกำหนดงาน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๖ตรงกับ วันอังคารที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๙ จึงมีผู้เดินทางมาร่วมงานกันอย่าง มากมาย ถือว่ามากกว่าทุกงานที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ได้มี “คณะผู้จัดงาน”เดินทาง ไปก่อนล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ ๒๘ เมษายน เพื่อจัดเตรียมสถานที่ โดยมีรถบรรทุกช่วยกันขนของไปจากวัดจำนวน ๑๒ คัน สิ่งของที่ขน ไปก็มีเครื่องสักการะต่างๆ เช่น เสลี่ยง มณฑป เล็ก และราชรถ เป็นต้น ในขณะที่รถจะเลี้ยว ซ้ายออกไปถนนใหญ่ทางด้านวิหาร ๑๐๐ เมตร ได้มีละอองฝนโปรยปรายมาเล็กน้อย แล้วก็ หยุดหายไปในทันที นับว่าเป็นสิริมงคลที่ดี จึงคิดว่างานนี้คงจะสำคัญมาก

สำหรับรถที่ช่วยบรรทุกสิ่งของนั้น ก็มี ช่างเนียน นำรถบรรทุก ๖ ล้อมาช่วยขนพระ พุทธรูปปาง “ปรินิพพาน” และเสลี่ยง เป็นต้น ส่วนราชรถก็มี พระสมาน (เวลานี้ลาสิกขาบท แล้ว) ช่วยกันนำขึ้นรถบรรทุก ๑๐ ล้อของ ทิดสมหมายจากด่านช้าง นอกจากนั้นมีรถของ คุณหมออู๊ด, คุณสุจิต - คุณต้อม(เพชรบูรณ์) คุณสำราญ, คุณประทีป, คุณสกลรัตน์(หมู), และ คุณโอฬาร เป็นต้น (คุณโอฬารกับคุณ ศรีลักษณ์ได้อัดรูปพระแท่นไปแจกในงานด้วย)

เมื่อไปถึงวัดพระแท่นดงรังแล้ว เจ้าหน้าที่ก็เตรียมจัดสถานที่บริเวณสนามฟุตบอล หน้าวัด แล้วกางเต้นท์เป็นรูปตัว "U" โดยมี เต้นท์ที่เช่ามาพร้อมกับเก้าอี้ กับทางทหารนำ เต้นท์มาร่วมด้วย คือ พ.อ.น.พ.นพพรและ พ.อ.ปริญญา กองพลทหารราบที่ ๙ กาญจนบุรี ในเวลาเดียวกันนั้น พระเมรุมาศ ๕ ยอดที่ได้นำมาจากอยุธยาโดยรถบรรทุก ๑๐ ล้อ จำนวน ๓ คัน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ เจ้าหน้าที่ กำลังจะประกอบแล้วเสร็จพอดี เมื่อประดับ ด้วยดอกไม้หลายหลากสีแล้ว จึงเป็นที่สวยงาม มาก เมรุนี้เช่ามาในราคาประมาณ ๗ หมื่นบาท ติดต่อโดย อ.ทวีศักดิ์ รักดนตรีจ.อยุธยา

ต่อจากนั้นพระที่มาช่วยประดับตกแต่งผ้าก็มี พระมหาปรีชา, พระมหาธวัชชัยจากนครปฐม อ.มานพ, อ.ประเสริฐ และอ.รื่นจากพิจิตร ก็ได้มาช่วยกันประดับผ้าที่ราชรถ และเต้นท์ปะรำพิธีทั้งหมด พอถึงตอนเย็นฝน ก็เทกระหน่ำลงมาอีก ทางวัดบอกว่าฝนเพิ่งเริ่ม จะตกตั้งแต่วันที่ ๒๗ เป็นต้นมา พอถึงตอนเย็น วันที่ ๒๘ และวันที่ ๒๙ ก็ตกลงมาอีกเล็กน้อย

ฉะนั้น การจัดเตรียมโต๊ะบวงสรวง และ สิ่งของต่างๆ จึงได้รับความร่วมมือจาก คณะชาวท่าเรือมี คุณสมศักดิ์, คุณกอปร์ชัย, คุณ สุรพล, ส.ท.นิพนธ์, คุณวิสันเป็นต้น ที่ได้ ช่วยกันขนสิ่งของและติดต่อรถบรรทุกน้ำมาช่วยทางวัด เพราะปรากฏว่าน้ำประปาไม่ไหล ตั้งแต่วันที่ ๒๘ นับว่าโชคดีเหลือเกิน

พอถึงวันที่ ๒๙ ก็เริ่มมีผู้เดินทางมาถึง จึงได้ทำพิธีบวงสรวงในตอนเย็น เพื่อขอพรแด่ ท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย ให้การจัดงานในครั้งนี้ ได้ผ่านพ้นไปด้วยดี อย่าได้มีอุปสรรคอันตรายมากล้ำกลายแต่อย่างใด หลังจากที่ได้เปิดเทปหลวงพ่อบวงสรวงจบแล้ว จึงยืนถอยห่างออก มาจากโต๊ะบวงสรวงที่ คุณแดงจัดเตรียมให้

เมื่อทุกคนเงยหน้าขึ้นไปบนท้องฟ้าทาง ด้านวิหารพระแท่น ได้ปรากฏเป็นแสงสีรุ้งหลาย หลากสีบังเกิดขึ้น แสงนั้นได้เห็นชัดกับสายตา ของคนประมาณเกือบ ๕๐ คนที่ยืนอยู่ในบริเวณ นั้น แสงเหล่านั้นได้เคลื่อนไปมาอย่างช้าๆ เป็น รูปโค้งบ้าง ปะติดปะต่อมาเป็นเศียรพระพุทธ รูปบ้างอย่างอัศจรรย์ (มองดูคล้ายกับเศียรพระ พุทธรูปที่นำไปถวาย) ประมาณ ๒๐ นาที แสง เหล่านี้ค่อยๆ เลือนหายไป มองกลับลงมาเห็น พวกเราหลายคนพนมมือแล้วก้มกราบลงไปกับ พื้นดิน ส่วนที่ยืนอยู่บ้างก็พนมมือตลอดเวลา

หลังจากนั้นพวกเราก็ไปทำงานกันต่อไป โดยเฉพาะพวกที่มาถึงก่อนคือ รถบัสจากคณะ ภาคใต้ เช่นหาดใหญ่ รถบัสของคณะภาคอีสาน รถบัสของคณะพระบาท ๔ รอย แล้วก็ทยอย กันเข้ามาทุกคณะ เพื่อได้จัดเตรียมทำดอกไม้บายศรี ซึ่งจะมีกันทุกภาค ศาลากว้างใหญ่ที่วัดพระแท่นดงรัง จึงแออัดไปด้วยพวกเราทั่ว ทุกภาคที่ได้นั่งจัดทำกันไปทั้งคืน บางคนก็มี การซักซ้อมถวายบังคม เพราะจะต้องแต่งองค์ ทรงชุดพราหมณ์บ้าง ชุดฤาษีบ้าง เป็นต้น

ในงานนี้ จึงมีการบันทึกภาพวีดีโอไว้ตั้งแต่ก่อนงาน ภาพการจัดเตรียมงานจึงได้ถูกถ่ายทำไว้โดยตลอด โดยทีมงานถ่ายทำของ คุณทรงศักดิ์ เทวะธีรรัชต์ ทั้งภายนอกศาลาหน้าสนามฟุตบอล ที่ได้กางเต้นท์ไว้เต็มสนามกันเลย และหน้าวิหารพระแท่นฯ ก็มีการตกแต่งประดับผ้าที่ราชรถอย่างสวยงาม เพื่อจะได้เป็นที่ประดิษฐานรูปจำลองของพระพุทธเจ้า ในลักษณะประทับนอนปรินิพพานบนพระแท่นบรรทม

<< กลับสู่ด้านบน



kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 16/8/10 at 16:06 Reply With Quote



การจัดสร้างพระพุทธรูป "ปางปรินิพพาน"



(คลิกชม..คลิปวีดีโอ ตอนที่ 2)

การจัดสร้างพระพุทธรูปปางปรินิพพานในครั้งนี้ ได้มีช่างต๋อง ลูกเขยช่างเนียน และนายช่างประเสริฐ เป็นผู้ร่วมคิดร่วมกันทำจนสำเร็จ สวยงามเหมือนพระพุทธเจ้ากำลังบรรทมจริง ๆ กันเลย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปจาก “ปางไสยาสน์”ที่ประทับนอนเอาพระหัตถ์ขวาหนุนพระเศียร แต่ปางปรินิพพานนี้ พระเศียรอยู่บนหมอนเป็นปกติ โดยพระหัตถ์ขวาวางแนบกับพระพักตร์

เหมือนกับพระพุทธรูปที่เขาปั้นไว้ในวิหารที่ประเทศอินเดีย แต่ของเราที่ทำไปในงานครั้งนี้ ทำเป็น ๒ องค์ด้วยกัน องค์หนึ่งทำเป็นหุ่นกระดาษ เพื่อจำลองเหตุการณ์ตอน “ถวายพระเพลิงพระบรมศพ”อีกองค์หนึ่งหล่อเป็นทองสัมฤทธิ์ เพื่อนำไปถวายไว้ที่ วัดพระแท่นดงรัง ทั้งหมดเป็นเงิน ๗ หมื่นบาทเศษ

รวมความว่า งานรวมภาคครั้งนี้ ได้มีการจัดเตรียมมาตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๓๙ ทั้งเครื่องแต่งกายและสิ่งของ ที่จะสมมุติเหตุการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล อันเป็นวาระสุดท้ายขององค์สมเด็จพระพิชิตมาร เสด็จดับขันธปรินิพพาน..ว่ามีเหตุการณ์อะไร เกิดขึ้นบ้าง..?

ความจริงเราไปกราบไหว้สถานที่นี้ก็เป็น บุญใหญ่แล้ว แต่จะไปทั้งทีถ้ามีการย้อนภาพ เหตุการณ์ไปในอดีต พร้อมกับเอา“พุทธประวัติ”มาเรียบเรียงเป็นบท แล้วมีผู้แสดงประกอบไป กับการบรรยาย จะช่วยให้ผู้ชมทั้งหลายมีความ เข้าใจได้ง่ายเหมือนกับกำลังเรียนพุทธประวัติ จะช่วยให้จดจำเหตุการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

อีกทั้งเป็นการจัดงานสรุปรวมรอยพระบาททั้ง ๔ ภาค ที่ได้ไปจัดงานสมโภชมาแล้ว เผื่อคนที่ไปไม่ครบภาคบ้าง หรือคนที่ยังมิได้ ไปภาคไหนเลยบ้าง จะได้มีโอกาสกราบทั้งรอย พระบาท และกราบทั้งพระแท่นที่ทรงปรินิพพาน ถือเป็นการตามเสด็จ..หรือเป็นการตามรอยพระ ยุคลบาท ที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถเสด็จ ไปประกาศพระศาสนาทุกแว่นแคว้น จนกระทั่ง เสด็จมาดับขันธปรินิพพาน

พวกเราก็ตามเสด็จมาโดยตลอด อาจจะ ตามเสด็จมาหลายพุทธันดรก็ได้ บัดนี้ พระพุทธองค์ทรงละทิ้งสังขารไว้ระหว่างนางรังทั้งคู่ การ เสด็จไปที่ไหนใน “วัฏฏสงสาร” สำหรับพระ องค์คงไม่มีอีกแล้ว พวกเราก็เช่นเดียวกัน งาน การติดตามรอยพระบาทในชาตินี้ ถือเป็นเคล็ด วิถีแห่งชีวิตของการเกิด

เมื่อเราติดตามรอยพระพุทธบาท ที่พระ องค์ทรงอธิษฐานไว้ปรากฏในที่ใด ในที่นั้นจะเป็นที่มีความสำคัญ และ พญานาคราช จะกราบ ทูลแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อขอพิทักษ์รักษาไว้ ฉะนั้น สถานที่ใดที่ผู้สิ้นกิเลส ไปยืนอยู่ สถานที่นั้นจะมีรังสีแห่งความบริสุทธิ์ จึงเป็นสิริมงคลและมีอานิสงส์ใหญ่แก่ผู้ไปกราบ ไหว้ เพราะจะทำให้การสิ้นกิเลส มีผลอย่าง รวดเร็วกว่าปกติ

เป็นอันว่า ผู้ที่เดินทางไปบูชารอยพระพุทธบาท จะมีกำลังบุญเพิ่พูนอย่างมหาศาล เพราะต้องตัดชีวิตร่างกาย เสี่ยงต่อภัยอันตรายทั้งหลาย จึงไปได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อไปพบแล้ว จะมีความรู้สึกประทับใจไปนาน เพราะอานุภาพ รังสีแห่งความบริสุทธิ์ของผู้ประเสริฐทั้งหลาย อันมีพระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันตสาวก ทั้งหลาย ที่ได้ไปประทับยืนอยู่ ณ บริเวณนั้น

บางแห่งก็ยังมีพระพุทธเจ้าในอดีตเคย เสด็จมาแล้วหลายพระองค์ เช่น วัดพระพุทธบาทสี่รอยเป็นต้น เมื่อเรากลับมาแล้วอานุภาพ แห่งความบริสุทธิ์นั้น ก็ได้เกาะติดอยู่ที่จิตใจ ของเรากลับมาด้วย ช่วยให้การเจริญสมณธรรมบำเพ็ญบารมีเป็นผลสำเร็จพูนทวี ด้วยเหตุนี้ ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยจึงได้บูรณะสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จมา เพื่อเป็นการสร้างบารมี หวังที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล

เพราะฉะนั้น พวกเราจึงได้เฝ้าติดตาม รอยพระพุทธบาท นับตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ มาจน ถึงปัจจุบันนี้ จะเลือกสถานที่ที่พระพุทธองค์ ได้เสด็จมาเท่านั้น เพราะจะเป็นหนทางแห่ง การพ้นทุกข์ได้อย่างรวดเร็วที่สุด ปรากฏว่ายิ่ง ตามเสด็จเท่าไร ก็ทำให้มีข่าวพบรอยพระพุทธบาทใหม่ๆ อยู่เสมอ เหมือนกับถึงกาลถึงเวลา ที่ท่านจะปรากฏให้เห็น คงจะถูกซ้อนเร้นมานาน

เป็นอันว่า การจัดเตรียมสถานที่ การจัดทำบายศรีและเครื่องสักการะทุกอย่าง ก็ได้สำเร็จเรียบร้อยด้วยความพร้อมเพรียงกัน จน ถึงเช้า วันอังคารที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๙ ก่อน ๖ โมงเช้าสักเล็กน้อย ก็ออกมาจัดปูผ้าที่โต๊ะบวงสรวง ปรากฏว่าท้องฟ้ายังสว่างไม่เต็มที่ มองเห็นแสงสีรุ้งหลายหลากสี เพิ่งปรากฏขึ้น เหนือวิหารพระแท่นและเขาถวายพระเพลิง

ลักษณะของแสงที่เกิดนั้น ไม่เหมือน กับรุ้งธรรมดา ที่จะปรากฏให้เห็นเป็นเส้นโค้งพร้อมกัน แล้วก็จะเลือนหายไปในทันที หลังจากที่ละอองฝนหมดไปแล้ว แต่ลักษณะที่เห็น ในตอนนี้ ไม่มีทีท่าว่าฝนจะตก เพราะกำลังใกล้จะสว่างแล้ว และแสงที่เห็นนี้จะค่อยๆ พุ่งขึ้นเป็นเส้นโค้งอย่างช้าๆ ตั้งแต่เวลาใกล้ ๖ โมงเช้า ไปจนถึง ๗ โมงกว่าๆ สวยงามมาก

หลังจากนั้นก็มีผู้มาเล่าให้ฟังกันมาก บางคนก็ถ่ายรูปไว้ บางคนก็เห็นชั้นเดียว บาง คนก็เห็นเป็น ๒ ชั้น โค้งจรดพื้นดินทั้งสอง ข้าง ส่วนลูกชาย อ.สมพงษ์ จากบ้านก๋ง ก็ บันทึกภาพวีดีโอไว้ได้ทัน เพราะขึ้นอยู่นานมาก ผู้ที่เดินทางมาแต่ละทิศ เช่นจากภาคใต้, อีสาน, ตะวันออก, หรือมาจากวัดท่าซุงก็ดี จะเห็นกันมา ตั้งแต่ระยะไกลๆ (ถ้าไม่นอนหลับบนรถนะ)

แต่ไม่รู้ว่าแสงสายรุ้งขึ้นที่ไหน ก็ได้ติด ตามมาเรื่อยๆ จนถึงวัดพระแท่นดงรัง จึงได้ รู้ว่าขึ้นจากบริเวณนี้นี่เอง นับว่าเป็นที่อัศจรรย์ แก่ผู้ที่พบเห็นในวันนั้นมาก เพราะมีคำถามว่า ทำไมต้องขึ้นเฉพาะในวันนั้น หลังจากผ่านมา ได้ ๒ ปีแล้ว ก็ไม่มีข่าวว่าพบเห็นในลักษณะอย่างนั้นอีก จึงน่าจะเชื่อว่าเป็นอำนาจพุทธานุภาพอย่างแน่นอน

เมื่อญาติโยมพุทธบริษัทต่างเดินทางมาถึงแล้ว ในบริเวณวัดรถจอดเต็มไปหมด รถบัส ทั้งหมดประมาณ ๒๕ คัน รถตู้รถเก๋งอีกเป็น จำนวน ๑๐๐ กว่าคัน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลองสำรวจจำนวนคนแล้ว ประมาณ ๗,๐๐๐ คน ทั้งญาติโยมที่มาจากแต่ละภาคของประเทศ และ ลูกหลานหลวงพ่อที่รออยู่กาญจนบุรี และที่ จังหวัดใกล้เคียง เช่น สุพรรณบุรี เป็นต้น

หลังจากทุกคนเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ของตน และรับประทานอาหารเช้าแล้ว ก็ได้ มาร่วมจัดขบวนข้างหน้าวิหารพระแท่น โดยมี เจ้าหน้าที่จัดขบวนและจัดเตรียมสิ่งของสำหรับถือตามแผนที่วางไว้ เห็นเหล่าหญิงชายเดินกรีดกรายด้วยเครื่องแต่งกายหลายหลากสี

ll กลับสู่ด้านบน




ขบวนแถวมี ๓ ขบวน


เริ่มจาก ขบวนแรกเป็นแถวขบวนแห่ รูปพระบาททั้ง ๔ ภาค โดยเจ้าอาวาสแต่ละภาคจะเป็นผู้อัญเชิญรูปรอยพระบาท พร้อม ทั้งญาติโยมทั้งหลายแต่งกายชุดประจำภาคของ ตน และชุดฟ้อนรำของแต่ละภาคด้วย

ส่วนขบวนที่ ๒ เป็น ขบวนพระมีการ อัญเชิญเสลี่ยงสมเด็จองค์ปฐม เสลี่ยงพระ มณฑปพระบรมสารีริกธาตุ รูปหลวงพ่อ และราชรถอัญเชิญรูปจำลองพระพุทธเจ้าขณะทรง ปรินิพพานบนพระแท่น โดยมีผู้แต่งชุด ฤาษี เป็นผู้อัญเชิญราชรถ มี มัลลปาโมกข์ (แต่งเหมือนกับพระยาแรกนาขวัญ) และ พราหมณ์ ราชครู เป็นผู้อัญเชิญ “เครื่องสูง”

ต่อไปเป็นขบวนที่ ๓ เรียกว่า ขบวนหลวง เป็นขบวนของบรรดา มัลลกษัตริย์ ๘ พระองค์ และชุดฝ่ายในพระราชสำนัก กับ นางมัลลิกา พร้อมทั้งบุตรีอีก ๑๖ คน ซึ่งอยู่ในชุดส่าหรี แล้วมี พราหมณ์เจ้าพิธี และเศรษฐีคฤบดี ร่วมเดินตามหลังอีกมากมาย



ขบวนที่ ๑ ภาคเหนือ


ครั้นการจัดขบวนทุกขบวนเสร็จสิ้นแล้ว จึงให้อาณัติสัญญาณเริ่มเดินออกไปทางประตู หน้าวัด นำโดย “วงสะล้อซอซึง”ของภาคเหนือ และผู้แต่งชุดไทย ๒ คนถือป้าย“คณะศิษย์ พระราชพรหมยาน”ตามด้วยหญิงสาวแต่งชุด ไทยชาวเหนือถือป้ายคำว่า “ภาคเหนือ” และ ป้าย “วัดพระบาทสี่รอย” โดยมีผู้เชิญธงชาติ และธงธรรมจักรนำขบวน แล้วมี ครูบาพรชัย เจ้าอาวาสวัดพระบาทสี่รอยเป็นผู้อัญเชิญรูปพระ พุทธบาท ๔ รอย มีผู้ถือสัปทนเดินกางกั้น

ต่อจากนั้นจะมีหนุ่มสาวอยู่ในชุดชาวเหนือ เดินถือคานเสลี่ยงบายศรี อันมีบายศรีดอกไม้ บายศรีหมากพลู เป็นต้น และถือร่มเงินร่มทอง ถือโคมแบบทางเหนือ ฉัตร พัดหางนกยูง ตาม ด้วยเกวียนบรรทุกกลองใหญ่ที่ชาวเหนือเขา เรียกว่า “กลองเทวดา” ซึ่งได้นำขึ้นรถบรรทุก มาด้วย เสียงกลองและฆ้องดังผ่านไป ขบวน ตุงทั้งหลายก็เดินเรียงรายตามมา โดยมีขบวน สาวชาวเหนือในชุดฟ้อนเล็บเดินอยู่ท่ามกลาง

ภาคใต้


เมื่อขบวนภาคเหนือผ่านพ้นไป ก็เป็น ขบวน ภาคใต้ มีสตรีสาวแต่งกายในชุดไทย ชาวใต้ ในมือถือป้ายอักษร “ภาคใต้” และ “วัดพระบาทเกาะแก้วพิสดาร” โดยมี พระน้อง ถือรูปรอยพระพุทธบาทและถือพุ่มเงินพุ่มทอง ไปด้วยกัน ๓ รูป ตามด้วยหนุ่มในชุดปักษ์ใต้ ถือคานเสลี่ยงบายศรี ๔ คน (คุณอ้อย ช่วยรอด และชาวหาดใหญ่เป็นผู้จัดทำบายศรี) ทั้งนี้ ได้ มีชาวภูเก็ตและชาวสุราษฎร์ก็มาด้วย ทุกคนนั้น แต่งกายเป็นแบบภาคใต้เหมือนกันหมด

ภาคอีสาน


ขบวนต่อไปเป็นขบวน ภาคอีสานผู้ร่วมขบวนทุกคนอยู่ในชุดแต่งกายประจำภาค ได้เดินทางมาจากนครราชสีมา ศรีสะเกษ และสกลนคร เป็นต้น โดยมีผู้ถือป้ายอักษรคำว่า “ภาคอีสาน” และ “วัดพระบาทภูสิงห์” ผู้ที่ ถือรูปรอยพระพุทธบาทคือ เจ้าอาวาสวัดพระบาทภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ตามด้วยเสลี่ยงบายศรี ที่มีรูปแบบทางภาคอีสาน (อ.เพ็ญศรี สกลนคร)

ภาคตะวันออก


ต่อจากขบวนภาคอีสานก็เป็นขบวนของ ภาคตะวันออก มีผู้ถือป้ายและเสลี่ยงบายศรี เช่นกัน เจ้าภาพจัดทำบายศรีได้แก่ คณะบ้านฉาง จ.ระยอง แล้วยังมีคณะที่มาจากสัตหีบ จันทบุรี สนามชัยเขต และแปดริ้ว ร่วมสมทบกันเป็นจำนวนมาก (คุณหมู – คุณพงษ์ ช่วยทำ)

ภาคตะวันตก


ขบวนที่ตามหลังมาอีก ก็ได้แก่ขบวนภาคตะวันตก มีผู้ถือป้ายและเสลี่ยงบายศรี โดย มี พ.อ.ทพ.ญ.เตือนใจ และคณะกาญจนบุรี ช่วยกันจัดทำ ๑ ต้น และน้องสาวของ พระ พงษ์ชัย ช่วยทำอีก ๑ ต้น

ภาคกลาง


ต่อไปก็จะเป็นขบวนของ ภาคกลางมี ผู้ถือป้ายและเสลี่ยงบายศรี ซึ่งจัดโดย คุณอรทัย พร้อมคณะสระบุรี ขบวนนี้จะมีเสลี่ยง “พุ่มเงิน” จริงๆ อีกด้วย จัดทำโดย คุณต๋อย, คุณต้อย, คุณธนพล และคณะ ทั้งนี้ พระมหาประดิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย ได้เป็นผู้อัญเชิญรูป รอยพระพุทธบาท ขบวนแถวภาคกลางนี้จะมีวง กลองยาวร่ายรำนำขบวนไปด้วย ช่วยให้ผู้ร่วม ขบวนทุกภาคครึกครื้นไปตามๆ กัน

เมื่อขบวน “รวมภาค” เดินผ่านพ้นไป ครบทั้ง ๖ ภาค โดยมีผู้แต่งกายชุดประจำภาค ได้อัญเชิญป้ายอักษร (คุณสัมพันธ์ พิษณุโลก เป็นผู้จัดทำ) รูปภาพรอยพระพุทธบาททั้ง ๔ ภาค และเครื่องสักการะต่างๆ อันมีบายศรี ในรูปแบบต่างๆ ของแต่ละภาค โดยมี วงสะล้อ ซอซึง นำขบวนภาคเหนือและภาคอื่นๆ แล้วมีวงกลองยาว นำขบวนภาคกลางเป็นการปิดท้าย ของขบวนที่ ๑



ขบวนที่ ๒ ขบวนพระ


ส่วนขบวนที่ ๒ เรียกว่า “ขบวนพระ” ได้มี คณะพุดตานเป็นผู้อัญเชิญเสลี่ยงสมเด็จองค์ปฐม ที่ได้ทำเป็นรูปธรรมจักรอยู่ด้านหลัง แล้วประดับตกแต่งด้วยดอกดาวเรืองอย่างสวย งามเป็นกรณีพิเศษ โดยคณะของ คุณดาว และ คุณมณีที่มากับ คุณหมออู๊ด

ต่อจากเสลี่ยงสมเด็จองค์ปฐม ซึ่งมี คณะพระภิกษุ ๓ รูป เดินถือพานขอขมาและ ฉัตรเงินฉัตรทองนำเสด็จแล้ว ยังมีผู้ถือคานหาม เสลี่ยง “พระมณฑปน้อย” อันเป็นที่ประดิษฐาน ของพระเจดีย์แก้วใส ภายในจะมองเห็นพระบรม สารีริกธาตุ ซึ่งจะได้อัญเชิญไปทำพิธีบรรจุไว้ใน พระเศียรของพระพุทธรูป “ปางปรินิพพาน”

ถัดจากนั้นก็เป็นขบวนผู้แต่งกายชุด ฤาษี ๑๒ คน โดยแบ่งเป็น ๒ แถว (ผมและหนวด เคราปลอมนั้น จัดทำโดย คุณจรรยา ที่อยู่ ประตูน้ำ พร้อมทั้งพาคณะมาช่วยแต่งตัวอีกด้วย) ได้อัญเชิญราชรถอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพจำลองขององค์พระศาสดาจารย์

ในขบวนราชรถนั้น จะมีผู้แต่งกายเป็น มัลลปาโมกข์๘ คน และผู้ที่แต่งเป็น พราหมณ์ราชครูอีกประมาณ ๑๐ กว่าคนนั้น เดินถือ “เครื่องสูง” อันมีฉัตร ๙ ชั้น ๒ คู่ พัดโบก จามร และแส้หางนกยูง อย่างละ ๑ คู่ (จัดทำโดย อ.สมพร จากศูนย์ศิลปาชีพบางไทร)

ต่อจากนั้นก็เป็นขบวนของพระสงฆ์จากวัดท่าซุงและมาจากวัดอื่นๆ เดินถือเครื่องบูชาต่างๆ โดยมี พระครูสมุห์พิชิต เป็นผู้อัญเชิญ รูปหลวงปู่ปานพระพิชัย อัญเชิญรูปหลวงพ่อ และ พระลำพึง เป็นผู้อัญเชิญรูปท้าวมหาราช



ขบวนที่ ๓ ขบวนหลวง



เมื่อขบวนพระผ่านพ้นไปแล้ว จะเป็นแถวของ ขบวนหลวง ซึ่งมีผู้แต่งกายในชุดส่าหรี ๒ คน เดินถือป้ายอักษรคำว่า “คณะตามรอยพระพุทธบาท” ตามด้วยทหารมหาดเล็กเดินถือ ธงช่อช้างทั้งสองข้าง ตรงกลางก็เป็นผู้แต่งกาย สมมุติเป็น มัลลกษัตริย์ แห่งเมืองกุสินารา เดินถือพานพุ่มบายศรีเล็กๆ (คณะพระวันชัย เป็นผู้จัดทำ) โดยมีทหารมหาดเล็กเดินถือสัปทน กางกั้นมัลลกษัตริย์ทั้ง ๘ พระองค์

ต่อจาก “มัลลกษัตริย์” ก็จะเป็นชุด พระมเหสีและสาวสรรกำนัลใน ทุกคนเดินถือ เครื่องสักการบูชา ตามด้วยขบวน ชุดส่าหรี, ชุดเศรษฐีคหบดี อันประดับด้วยเครื่องแต่งกาย หลายหลากสี แล้วปิดท้ายขบวนด้วยชุดขาวของ “พราหมณ์เจ้าพิธี” และประชาชนทั้งหลาย

สำหรับเหตุการณ์ตอนนี้ จะต้องขออภัย ท่านผู้อ่านด้วย ที่จำเป็นต้องเล่าย้อนเรื่องราว กันอย่างละเอียด เพราะมีผู้ร่วมงานกันมาก ถ้า ไม่กล่าวถึงก็จะเป็นการไม่สมควร แต่อาจจะ ขาดตกบกพร่องไปบ้าง เนื่องจากเหตุการณ์ผ่านนานแล้ว ถึงอย่างไรก็ตาม..คิดว่าพวกเราทุกคน ไม่ได้สนใจเรื่องนี้ สนใจแต่เรื่องการทำความดี เพื่อความสามัคคีเท่านั้น

ครั้นขบวนทั้ง ๓ อันได้แก่ขบวนราษฎร์ ขบวนพระ ขบวนหลวง ได้เดินออกไปภายนอก วัด แล้วก็เลี้ยวซ้ายออกนอกถนนใหญ่ ไปถึงสี่แยกแล้วจึงเลี้ยวขวากลับมา ในขณะที่หัวขบวน คือ “ภาคเหนือ” เดินวกกลับมา ขบวนอื่นๆ ที่เดินตามหลังกันมาก็สามารถมองเห็นด้วยกัน ทุกขบวน ทุกคนล้วนมองดูซึ่งกันและกันด้วย ความชื่นชมยินดี

เสียงของสะล้อซอซึง เสียงกลองเทวดาผ่านมา เสียงของกลองยาวกำลังจะผ่านสวน ทางกันไป ในขบวนธงทิวได้พัดโบกปลิวไสว ผู้คนทั้งหลายชายหญิงก็ได้แต่งกายย้อนอดีต ไปสมัยพุทธกาล คือจะแบบ “แขก” หน่อยๆ มีทั้งกษัตริย์ ฤาษีชีพราหมณ์ ประชาราษฎร์ทั้งหลาย ต่างก็มาร่วมขบวนแห่พระบรมศพ เพื่ออัญเชิญไปถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ณ มกุฎพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา

ท่ามกลางอากาศที่กำลังสบายในเวลาเช้าของวันนั้น ประมาณ ๙ โมงเช้า ยังไม่มีแสงแดดให้ปรากฏ มีแต่ความร่มเย็นไปตลอด ทาง จนกระทั่งเลี้ยวขวาเข้าทางประตูกลางของ วัด ก็ได้รับการโปรยข้าวตอกดอกไม้อยู่ทั้งสอง ข้างทาง เสียงประทัดได้ดังขึ้นเป็นการต้อนรับ

ขบวนแถวทั้งหมดยาวเหยียด ได้เดินเข้ามาในวัด แล้วอ้อมพระเมรุมาศเข้ามาในปะรำ พิธี ขบวนแต่ละภาคก็ได้เข้าไปนั่งประจำที่ของ ตน โดยแบ่งเต้นท์นั่งกันเป็นภาคๆ ไม่ปะปนกัน ส่วนราชรถและพระมณฑปน้อยก็อัญเชิญมาไว้ ตรงกลางหน้าโต๊ะบายศรีที่อยู่ตรงหน้าพระเมรุ มาศ โดยเจ้าหน้าที่ได้จัดบายศรีไว้บนโต๊ะของ แต่ละภาค ซึ่งมีป้ายหนังสือบอกไว้ทุกโต๊ะ เพื่อไม่ให้สับสนกัน

พิธีกรรมในครั้งนี้ น่าจะเรียกว่า “มหาพิธีบวงสรวง” เพราะมีบายศรีของแต่ละภาค รวมทั้งสิ้นประมาณ ๑๐ ต้น เมื่อวางลงบนโต๊ะ แล้ว จะมีความสวยงามแตกต่างกันไป ถือว่า เป็น “บายศรีรวมภาค” เหมือนกับชุดแต่งกาย ประจำภาค ที่มีความสวยสดงดงามไปตามความ นิยมของชาวไทยแต่ละภาค

งานรวมภาคครั้งนี้ จึงเป็นงานรวมภาคของ รอยพระพุทธบาทรวมภาคของ บายศรีรวมภาคของ ชุดเครื่องแต่งกาย และรวมภาคของ ชุดฟ้อนรำจึงทำให้พวกเราต้องมารวมกัน ณ ที่นี้กันอย่างมากมาย จนเก้าอี้หลายพันตัวที่ เตรียมไว้นั่งในเต้นท์ทั้งหมด ๕๐ เต้นท์ก็ยังไม่เพียงพอ ต้องออกมานั่งบนพื้นสนามหญ้ากัน แต่ทุกคนก็ยังมีสีหน้ายิ้มแย้ม ไม่แสดงความรัง เกียจ เพราะทุกคนพอใจที่ได้มาร่วมงาน

ถึงแม้ท่านผู้อ่านทั้งหลายก็เช่นกัน การ นำมาเล่าภายหลังนั้น มิได้นำมาเล่ากันเพื่อสนุก แต่เพื่อให้ทุกท่านได้อนุโมทนา เพราะมีหลาย ท่านมักจะนิยมทำบุญเป็นส่วนตัวบ้าง ฝากมา ร่วมทำบุญบ้าง เพราะไม่สามารถจะไปร่วมงานได้ จึงจำเป็นต้องนำมาเล่า เพื่อจะได้ทราบว่า เป็นผลบุญและผลงานของท่านร่วมกัน

เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ท่านได้ฝากไป ทำบุญทุกครั้ง หรือทุกแห่งที่ไปจัดงานมาแล้ว ถือว่าทุกท่านทั้งที่ไปด้วยกัน หรือที่ไม่สามารถ จะไปได้ ทุกคนมีโอกาสเป็นเจ้าภาพเหมือนกัน หมด ได้บุญทุกอย่างที่กระทำแล้วทุกประการ

เมื่อขบวนของแต่ละภาค ที่จะได้ร่วมกันอัญเชิญรอยพระพุทธบาท และพระบรมศพจำลองมาแล้ว บางคนก็ได้กลิ่นหอมโชยมา ในขณะที่เคลื่อนราชรถเข้ามาในมณฑลพิธี เมื่อเจ้า หน้าที่จัดโต๊ะบายศรีและที่โต๊ะหมู่บูชาเรียบร้อยแล้ว ทุกคนที่นั่งอยู่ในเต้นท์เป็นรูปตัว “U” ก็สามารถมองเห็นกันได้ทั้งหมดทุกภาค

โดยมีพระเมรุมาศเป็นศูนย์กลางไกล ออกไป แล้วมีโต๊ะบายศรีทั้ง ๖ ภาค โต๊ะหมู่บูชา ราชรถและมณฑปน้อย ทั้งหมดตั้งอยู่ตรงกลาง หน้าพระเมรุมาศ ซึ่งอยู่ด้านหน้าปะรำพิธีอำนวย การพอดี โดยมีการปูคล้ายพรมสีเขียวเป็นทาง เดิน เหมือนลาดพระบาทตรงไปยังพระเมรุมาศ

ในปะรำพิธีอำนวยการ อีกด้านหนึ่งก็ จะเป็นตั่งสำหรับบรรดา “มัลลกษัตริย์” ประทับ นั่ง ซึ่งมีหมอนขวานวางอยู่ข้างๆ โดยมีมเหสี และฝ่ายในนั่งอยู่ด้านหลัง พร้อมทั้งมหาดเล็กนั่ง อยู่ใกล้ๆ เช่นกัน นอกจากนั้นก็เป็นชุด มัลลปาโมกข์ ฤาษี พราหมณ์ราชครู พราหมณ์เจ้าพิธี และ นางมัลลิกา (ชุดส่าหรี)

ตามประวัติบอกว่า นางเป็นชายาของ ท่านพันธุละเสนาบดีหลังจากสูญเสียสามีและบุตรทั้ง ๑๖ คนแล้ว นาง จึงกลับมากรุงกุสินารากับลูกสะใภ้ทั้ง ๑๖ คน ถัดออกไปจากนั้น ก็จะเป็นปะรำของ พระสงฆ์ทั้งหลาย อันมี พระเดชพระคุณท่าน เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี (วัดไชยชุมพลฯ), ท่านรองเจ้าคณะจังหวัด (วัดท่ามะขาม), เจ้าคณะอำเภอ, เจ้าคณะตำบล, เจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรัง และเจ้าอาวาสวัดต่างๆ อีกหลายสิบรูป โดยมีเจ้าอาวาส วัดท่ามะกา ได้นำเครื่องขยายเสียงมาช่วยในงาน และเจ้าอาวาส วัดท่าเรือ ได้ช่วยเอื้อเฟื้อเรื่องสถานที่พักอีกด้วย

ll กลับสู่ด้านบน



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2034
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 16/8/10 at 16:09 Reply With Quote



วัตถุประสงค์การจัดงาน


เมื่อคณะภิกษุสงฆ์และบรรดาท่านพุทธบริษัทนั่งพร้อมกันในปะรำพิธีแล้ว ผู้จัดจึงได้ออกมากล่าวถึง วัตถุประสงค์การจัด “งานรวม ภาค” ในครั้งนี้ว่า... “ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบพระคุณและ อนุโมทนาพระภิกษุและบรรดาญาติโยมพุทธ บริษัททั้งหลาย ต่างก็ได้มารวมตัวกันร่วมงาน อันเป็นมหากุศล เพื่อย้อนอดีตรำลึกนึกถึงวัน สำคัญในทางพระพุทธศาสนาคือ วันวิสาขบูชา อันเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของ องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัม พุทธเจ้า ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทย ต่างก็ให้ ความสำคัญในวันนี้ แต่พอดีปีนี้เป็นปี ๘ สอง หน จึงต้องเลื่อนไปกลางเดือน ๗ ส่วนเหตุที่ไม่ เลื่อนไปจัดในวันนั้นประเดี๋ยวก็คงจะได้ทราบกัน

สำหรับ คณะศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ที่ได้รวมตัวกันทั่วทุกภาคของประ เทศ ได้จัดกิจกรรมฟื้นฟูโบราณสถานที่สำคัญ และ “รณรงค์วัฒนธรรมไทย” เพื่อเน้นความ สามัคคีในหมู่คณะศิษย์ของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อ ให้ได้ทำความรู้จักกันฉันท์พี่น้อง จนได้รับการเรียกขานกันว่า คณะตามรอยพระพุทธบาท ซึ่งพวกเราก็ได้จัดงานตามรอยพระยุคลบาทขององค์สมเด็จพระศาสดา ซึ่งได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณ โปรดประทานรอยพระพุทธบาทไว้ทั่ว สุวรรณภูมิ คือแหลมทองของไทยนี้.

อนุโมทนา “คณะภาคเหนือ”


คณะผู้จัดจึงได้เริ่มงานครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ที่ วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธ บาทจริงของ สมเด็จพระพุทธกกุสันโธ พระ พุทธโกนาคม พระพุทธกัสสปและ พระสมณ โคดม อันเป็น พระพุทธบาทรอยที่ ๔ ใน ๕ รอย ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกว่าอยู่ที่ โยนก บุรี ก็คือเชียงใหม่นี่เอง ซึ่งปัจจุบันนี้มี ท่าน ครูบาพรชัย ปิยวัณโณ เป็นเจ้าอาวาส

ในครั้งนั้นได้จัดงานพิธีบวงสรวงสักการะบูชาและทอดกฐินเป็นครั้งแรก โดยมีคณะเจ้าภาพคือ อ.นภาพร และคณะ “สยามกลการ” ซึ่งมี คุณสุพัฒน์-อ.นฤมล, อ.อำไพ, อ.ชาญยุทธ, คุณประยุทธ, คุณสกุลวุฒิ-คุณสิริกร และชาว เชียงใหม่อีกหลายท่าน ร่วมประสานงานกัน

จึงขอให้ทุกท่านทั้งที่เอ่ยนามหรือไม่ก็ ตามในแต่ละภาค เมื่อกล่าวถึงคณะใดก็ขอให้ยืนขึ้น เพื่อให้ผู้ที่มาจากภาคอื่นๆ ได้อนุโมทนาและปรบมือให้เกียรติพร้อมกัน ตอนนี้ขอเริ่ม จากภาคเหนือเลย..”

เมื่อกล่าวจบดังนี้แล้ว ผู้ที่นั่งอยู่ในปะรำพิธีทาง ภาคเหนือได้ลุกยืนขึ้น พร้อมกับเสียง ปรบมือจากภาคต่างๆ ดังก้องไปทั่วบริเวณนั้น ผู้จัดจึงกล่าวต่อไปอีกว่า...



อนุโมทนา “คณะภาคใต้”


“ต่อมาได้จัด งานลอยกระทง เพื่อบูชา รอยพระพุทธบาท ณ เกาะแก้วพิศดาร จ.ภูเก็ต อันเป็น รอยพระบาทที่ ๕ ที่องค์สมเด็จพระ บรมศาสดาทรงประทานไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมทานที อันมี พญานัมทานาคราช เป็นผู้ อารักขา ตามโบราณราชประเพณีที่ นางนพมาศ เป็นผู้คิดลอยกระทง

ซึ่งเราลอยกันมาตั้ง ๗๐๐ กว่าปีจึง จะได้พบ ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณ หลวงพ่อ อ่ำ หรืออดีต พระราชกวี วัดโสมนัสวรวิหาร ที่ท่านได้อ่านพบแผ่นศิลาจารึกที่เรียกกันว่า “กระเบื้องจาร” นั่นเอง ในงานนี้ปรากฏมีสิ่ง อัศจรรย์มากมาย ตามที่ท่านทั้งหลายได้ประสบ ด้วยตนเองกันมาแล้ว

งานที่สำเร็จลุล่วงและปลอดภัยไปด้วย ดีนั้น ต้องขออนุโมทนา คณะเจ้าหน้าที่ดำเนิน งานหลายท่านจากกรุงเทพฯ ส่วนทางภูเก็ตก็มี คณะคุณสาธิต, คุณคำนวณ, คุณประสงค์, คุณวิชิต, คุณศรีอดุลย์, คุณวรเทพ และ คุณ สันติ ซึ่งในงานคืนนั้นมีการเซอร์ไพรซ์ คือ พลุไฟ ในรูปแบบต่างๆ หลายหลากสีมีความ สวยงามมาก และ โคมลอย ซึ่งมี คุณสุพัฒน์-อ.นฤมล นำมาจากเชียงใหม่จำนวน ๑๐๐ โคม

พลุและโคมลอยที่ได้เตรียมไว้ทั้ง ๒ แห่งได้ถูกจุดขึ้นพร้อมกันที่ แหลมพรหมเทพ เพื่อบูชาพระเขี้ยวแก้ว ณ พระจุฬามณีเจดีย สถาน บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยได้มีการจัดทำ “พระเจดีย์จำลอง” ไว้ร่วมพิธีด้วย และจุดขึ้นที่ เกาะแก้วพิสดาร ซึ่งอยู่ฝั่งตรงกันข้าม เพื่อบูชา รอยพระพุทธบาทในยามค่ำคืน ทั้งนี้มีคณะภูเก็ต ร่วมกับ คุณสิทธิ - คุณนุช จากกรุงเทพฯ อ.พรทิพย์ - คุณบุปผาพร จากสุโขทัย ร่วมกัน เป็นเจ้าภาพ เป็นเงิน ๕ หมื่นบาท

ส่วนเรื่อง พุ่มเงิน พุ่มทอง ก็ได้รับความ เอื้อเฟื้อจาก คุณโรส, อ.เครือพรรณ, อ.ประภา, อ.เสริมสวาท, คุณวันเพ็ญ(ชะอำ) และเรื่อง ฉัตร ก็ได้ คุณวิมาลี ที่ได้จัดร่วมไปทุกงาน

สำหรับทาง กระบี่ มี คุณวัชรพล (บุ๋ม) เป็นผู้ประสานงานกับคุณพ่อ ที่เคยเป็นประมงจังหวัดอยู่ที่นั่น รวมทั้งคุณแม่และน้อง ๆ ได้ช่วยกันจัดเลี้ยงอาหารเช้าที่ วัดถ้ำเสือครั้น เมื่อผ่าน จ.ตรัง เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน ก็มี คุณวีณา (แต๋ว) เป็นผู้ประสานงานกับลูก ศิษย์หลวงพ่อที่ตรัง จนพวกเรารับประทานกัน ไม่หวาดไม่ไหว มีเสียงบอกว่าอาหารอร่อยไม่ แพ้ใครเหมือนกัน โดยเฉพาะ “ขนมเค็ก”

ส่วนทาง หาดใหญ่ ที่ได้จัดงานอัญเชิญ รูปหล่อหลวงปู่ปานและหลวงพ่อ ไปไว้ที่วิหาร น้ำน้อย ซึ่งได้มีการบูรณะพระวิหารเป็นครั้งแรกนั้น ได้มี คุณธนนันท์ (อ้อย), คุณสุทัศน์, คุณแย้ม, คุณนคร, คุณสมพงษ์, คุณปรีชา พร้อมทั้ง “คณะชาวหาดใหญ่และชาวสงขลา” ร่วมกันจัดงาน

สำหรับทาง นครศรีธรรมราช ก็มี คุณ ดรุณ พรหมคีรี เป็นผู้ประสานงานกับทางด้าน อ.แพรวพรรณ , อ.นงเยาว์ วค.นครศรีธรรมราช และชาวนครอีกหลายท่าน การเดินทางไปปักษ์ ใต้ในครั้งนี้ ปรากฏว่าเป็นที่ประทับใจไปทุกแห่ง



อนุโมทนา “คณะภาคอีสาน”


ครั้นถึงปี พ.ศ.๒๕๓๘ อันเป็นภาคที่ ๓ ภาคอีสาน ได้มีการจัดงานพิธีสักการะ รอยพระพุทธบาทภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ อันเป็นรอย พระพุทธบาทข้างซ้ายที่มีอานุภาพมาก งานนี้มี คุณโสภิณ (เกียง) และ คุณปรีชา สามีผู้ที่ ล่วงลับไปก่อนจัดงานไม่กี่วัน แต่ก็มีกำลังใจ มาช่วยงานจนสำเร็จ ได้ช่วยกันกับญาติข้างสามี คือเจ้าของ ร้านอาหารไพลิน จ.สุรินทร์ เลี้ยงอาหารทั้งมื้อเช้าและมื้อกลางวัน

ส่วน คุณเบญจพร และ คุณวรเทพ ได้ประสานกับครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ อ.ขุขันธ์ อันมี อ.สมชัย แสงสว่าง เป็นต้น ซึ่งมีทั้งครู ร.ร.บ้านศาลา และชาวบ้านศาลาทุกคน พร้อมทั้ง ได้จัดแสดงฟ้อนรำพื้นบ้านและกันตรึมให้ชม ส่วนชุดฟ้อนปราสาทหิน คุณอาภาภรณ์ อยุธยา เป็นผู้ติดต่อมาจาก วค.ร้อยเอ็ด โดยมี คณะโคราช เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย พอตอนจะกลับ ก็มีการแถมท้ายด้วยบั้งไฟพร้อมตะไลยักษ์ และ มีการมอบกระติบข้าวเหนียวและหมูยอ ปรากฏ ว่าเป็นที่ประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ที่คอยดักส่งก่อน จะออกเดินทาง คือคณะชาวกัณทรลักษณ์ อัน มี คุณพงศ์พร และ อ.ณรงค์ เป็นต้น ต่อจากนั้นได้เดินทางไปทำพิธีสักการบูชา และทอดผ้าป่าที่ วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม โดยมี อ.อารีรัตน์ จาก ร.ร.ธาตุพนม ที่เคย เป็นเพื่อน อ.ประภา มาก่อน เป็นผู้ประสานงาน และทาง วัดพระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร ก็มี คุณจิตรลัดดา สุทธินันท์ จ.อุทัยธานี เป็นผู้ ประสานงานกับ อ.เพ็ญศรี ร.ร.สกลราชวิทยาลัย (หลวงปู่ภูพาน เป็นองค์อุปถัมภ์) นำนักเรียนใน จ.สกลนคร แต่งชุดผ้าไหมภูไทอย่างสวยงาม จนเป็นที่ชื่นชมและกล่าวถึงจากผู้ที่ได้พบเห็น ในวันนั้นกันอย่างมากมาย



อนุโมทนา “คณะภาคกลาง”


เมื่อไป ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน แล้วจะมา ภาคตะวันตก ก็พอดีมีข่าวพบรอย พระพุทธบาทใหม่ ณ วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี จึงจำต้องจัดงานซ้ำในปีเดียวกันกับภาคอีสาน เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๓๘ ก่อนน้ำท่วมเพียงเดือนเดียว โดยได้จัดงานทอดผ้าป่าและพิธี สมโภชรอยพระพุทธบาทใหม่ และรอยพระพุทธ บาทเก่าจังหวัดสระบุรี พร้อมกันทั้งสองแห่ง โดยมี พระมหาประดิษฐ์ เจ้าอาวาส พร้อมกับชาวบ้านวัดพระพุทธฉายทุกท่าน ต่างได้ร่วมกันจัดสถานที่และจัดเลี้ยงอาหาร ถึงคน จะมามากแค่ไหน..แม่ครัวก็สู้ไม่อั้น จนเป็นที่กล่าวขานในภายหลังว่า..อร่อยไปเสียทุกอย่าง

งานนี้มีคนช่วยกันเยอะ เช่น สารวัตร ภัทราวุธ กับคณะอาจารย์ ร.ร.เมืองใหม่ จ.ลพบุรี และ อ.สำอางค์ นำวงโยธวาทิตมาจากโรงเรียน พิบูลย์วิทยาลัย จ.ลพบุรี และนำอาหารมาสมทบ ที่วัดพระฉายคุณชนะ (ท่าลาน) ก็นำมาด้วย แล้วยังมีคณะ อ.ทวีศักดิ์ - อ.อารี นำกลองยาว และคณะชุดฟ้อนมาจากอยุธยาให้ชมอีกด้วย

ส่วนพวกสระบุรีก็มากันมาก เช่น คุณอรทัย ช่วยทำบายศรีกับ คุณแดง, คุณมี๋ (น้อง สาวพระพงษ์ชัย) แม่ชีเล็ก ซึ่งมีคณะ คุณอ้อย จากหาดใหญ่มาร่วมด้วย ทั้งคณะ พระวันชัย จากสุโขทัย ก็ทำบายศรีมาสมทบอีกต่างหาก ส่วนที่ วัดพระพุทธบาท ก็ได้ คณะคุณอู่วารี, คุณสมร, คุณปัญญา, คุณวิสุทธิ์, จ่าวิรัตน์ ช่วยประสานงานและเลี้ยงน้ำกันอีกด้วย แต่ งานทำป้ายทุกแห่งก็ได้ คุณสัมพันธ์ กันฟัก พร้อมคณะ อ.สันต์ - อ.เกษริน จ.พิษณุโลก

สรุปสุดท้ายของการจัดงาน ซึ่งมาแถม ท้ายที่บ้านของเราเอง คือ งานครบรอบ ๓ ปี วันมรณภาพของหลวงพ่อ ที่ผ่านไปแล้ว ซึ่ง จะไปจัดงานอีกครั้งที่วัดในวันพรุ่งนี้ (๑ พ.ค.๓๙) เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระโพธิสัตว์ ๒ พระองค์ ที่ได้ทรงเคยเกี่ยวข้องกัน

ฉะนั้น ทุกงานที่ผ่านมา..พร้อมเพรียงกัน ดี..ตรงเวลา..รวดเร็ว..สะดวก..ราบรื่น..ปลอดภัย เป็นสุขใจ..เพราะสามัคคีด้วยกันดี ไม่มีทะเลาะ เบาะแว้งกัน ทุกคนเสียสละเพื่อส่วนรวม บาง ครั้งต้องอดทนต่อบางคนที่ปากเสียบ้าง เป็นต้น

เป็นอันว่า ถ้าไม่มี เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการทั้งหลาย ที่ช่วยขนของ ช่วยจัดริ้วขบวน และ ช่วยจัดรถ ช่วยทำบายศรี และเครื่องสักการะทั้งหลาย หรือถ้าไม่มี “คณะผู้ร่วมเดินทาง” มาทุกภาคดังที่นั่งกันอยู่ในปะรำพิธีนี้ งานเหล่านี้ ไปไม่ตลอด พวกเราคงไม่มีโอกาสมายืนพร้อม กันอยู่ ณ ที่นี้ จึงไม่จำเป็นต้องแนะนำอะไร ไปมาก นอกจากขอให้ทุกท่านต่างอนุโมทนา กัน ณ บัดนี้”

ครั้นกล่าวอนุโมทนาแต่ละภาคที่ได้จัดงานผ่านพ้นไปแล้วดังนี้ ผู้ที่อยู่ในปะรำพิธี แต่ละภาคก็ลุกยืนขึ้น ส่วนทุกคนที่นั่งอยู่ใน ปะรำพิธีภาคอื่นๆ ต่างก็อนุโมทนาสาธุ..แล้ว ปรบมือดังก้องไปทั่ว จนกระทั่งสุดท้ายเหลือทาง “ภาคตะวันตก” ซึ่งจะเล่าต่อไป..

อนุโมทนา "ภาคตะวันตก"


เรื่อง "งานรวมภาค" ครั้งนี้มีผู้ร่วมงานที่ผ่านมาทุกภาค นับตั้งแต่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคกลางแล้วมาอนุโมทนารวมภาคกันที่ วัดพระแท่นดงรัง โดยขอให้ทุกท่านที่เอ่ยนามมาแล้วนั้นลุกยืนขึ้น เพื่อน้อมรับเสียงปรบมือและอนุโมทนาการ

นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา ประมาณ ๐๙.๓๐ น. ของวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๙ ภายในเต้นท์ปะรำพิธีที่ถูกจัดขึ้นที่สนาม ฟุตบอล ภายในบริเวณวัดพระแท่นดงรัง เป็นการประกาศคุณงามความดี ด้วยความรักและ ความสามัคคีที่มีต่อกัน เพื่อแสดงความเป็นมิตร ความเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกัน ที่ได้มีโอกาส เดินทางไปเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกันในแต่ละภาค

ทั้งนี้ ด้วยความรักความผูกพัน อาจจะ นับกันไม่ได้ว่า..เราเคยพบเคยรู้จักกันแต่เพียงชาตินี้..หรือว่าหลายชาติที่ผ่านมา เราได้เคยร่วม สร้างบุญสร้างกุศล โดยเฉพาะการเดินทางรอบ ประเทศ ถ้ามิได้เคยนัดหมายกันมาก่อน เราคง จะมิได้มาพบกันอย่างแน่นอน พวกเราจึงภูมิ ใจที่ได้มาพบกันอีก เสมือนกับเป็นญาติพี่น้อง ร่วมสายโลหิตกันมาแต่ในปางก่อนฉะนั้น

เหตุการณ์ในตอนต่อไปนี้ หลังจากการแนะนำผู้ร่วมงานที่ผ่านมาแต่ละภาคจบสิ้นแล้ว ก็เป็นการแนะนำผู้ร่วมงานทาง ภาคตะวันตก ซึ่งเป็นเจ้าภาพของงานนี้ ที่ได้เลือกเอาสถานที่สำคัญ คือ วัดพระแท่นดงรัง อันมีท่านเจ้าคุณ พระวิสุทธิกาญจนวิบูลย์ เป็นเจ้าอาวาส โดย มีลูกศิษย์หลวงพ่อฯ ที่เป็นคณะนายทหารจาก กองพลทหารราบที่ ๙และ คณะศิษย์ชาวเมือง กาญจน์ ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี เช่น...

เรื่องการจัดเลี้ยงอาหารก็มี คุณศรีเพ็ญ ธีรวิวัฒน์, คุณอารีย์ ขันแก้ว, อ.สนิท เภาเจริญ, คุณวลีพร เหลืองไพบูลย์ และชาวเมืองกาญจน์ อีกหลายท่าน พร้อมด้วย คุณอิทธิมนต์ ชิต ประสงค์ และคณะชาวคลองด่าน สมุทรปราการ ช่วยกันจัดเลี้ยงอาหารเช้าและกลางวัน

ส่วนอาหารกล่องตอนเย็นคณะบ้าน ทับกระดาน จ.สุพรรณบุรี มี คุณอุทร วังป่า, คุณเสน่ห์ - คุณประเทือง ขำแผลงและ คุณสุจินต์ - คุณบุญช่วย เสาร์เฉลิม พร้อม ด้วยชาวคณะท่าเรือ อันมี คุณสมศักดิ์ พูน ศักดิ์ไพศาล เป็นผู้ประสานงาน และได้นำ เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย มาช่วยจัดรถให้ด้วย

ในงานนี้ยังมีผู้ร่วมงานอีกหลายท่านเช่น คุณสุจิต และ คุณต้อม จ.เพชรบูรณ์ ก็รับอาสาอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นรถบรรทุกไปเกือบทุกภาค ส่วนการบันทึกภาพเหตุการณ์ ของงานแต่ละภาคก็มีคุณทรงศักดิ์-คุณบงกช เทวะธีรรัตน์ เป็นผู้ประสานงานกับช่างกล้อง

สำหรับ “ดอกบัว” (ประดิษฐ์) ๕,๐๐๐ ดอก ที่จะใช้ในตอนสมมุติเหตุการณ์คราวถวาย พระเพลิงนั้น ก็เป็นฝีมือจากหลายท่านช่วยกันทำ เช่นอ.ประภา อ.ประยงค์ อ.เครือพรรณ คุณโรส และ คณะกองทุน แล้วยังมีคณะของ พ.อ. ปริญญา ร่วมด้วย ส่วน หนุ่ม จาก ไทยรัฐ ก็มีหน้าที่จัดทำต้นฉบับรูปภาพ “รอยพระบาท”ทุกภาค พร้อมกันนี้ คุณวิไล จาก “ห้องเสื้อ สิริกรผ้าไหม” ก็ได้ช่วยจัดทำ ผ้าคลุมพระแท่น พร้อม หมอนอิง สวยงามเป็นพิเศษอีกด้วย

งานนี้มีการมอบของที่ระลึกเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นเมืองขุนแผนเก่า ทาง คุณสุชิน, คุณนันทวัน, คุณอนันต์, คุณพาสนา, คุณใช้, และ ชาวคณะโคราช ได้ร่วมทุนจัดทำพระผง รุ่นพิเศษ “พระยากาญจนบุรี” พร้อม ลูกประคำ จากวัด หลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งได้ผ่านขั้นตอนพิธีพุทธาภิเษกมาแล้ว เพื่อมอบให้แก่ผู้มาร่วมงาน ทุกท่าน โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ในงานแต่ละภาคที่จัดผ่านไปนั้น มีคน เพิ่มขึ้นทุกที ปรากฏการณ์พิเศษก็เกิดขึ้นทุก สถานที่ โดยเฉพาะตอนที่เดินทางไปถึง วัดพระธาตุพนม จึงได้ทราบว่าสถานที่นี้มีความเกี่ยวพันกับเลข ๘ มาก่อน บังเอิญเราไปตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งเป็น จังหวะที่เขากำลังบูรณะองค์พระธาตุอยู่พอดี

ครั้นมาถึงปี ๒๕๓๙ ก็มีเหตุบังเอิญ ในการจัด งานพิธีสมโภชพระแท่นดงรัง เมื่อ วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๙ ตรงกับ วันอังคาร ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ใกล้วันคล้ายวันที่องค์ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพาน

(วันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๖ หรือ ที่เรียกว่า“วันวิสาขบูชา” เป็นวันสำคัญของพระพุทธเจ้า ๓ วัน คือ วันศุกร์ เป็นวันประ สูติ วันพุธ เป็นวันตรัสรู้ วันอังคาร เป็นวัน ปรินิพพาน)

แต่การจัดงานในครั้งนี้ ถือว่าตรงกับวันคล้ายวันปรินิพพานพอดี ทำไมถึงกล่าว เช่นนั้น ก็เป็นเพราะว่า วันอังคารที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๙ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ กลางเดือน ๖ นั้น วันนี้แหละถือเป็นวันกลางเดือน ๖ เพราะ ทางลังกาและอินเดีย หรือแม้แต่เบื้องบนสวรรค์ เขานับ “วันโกน” ของเราเป็น “วันพระ” ของเขา ด้วยเหตุที่อัศจรรย์ตรงกันอย่างนี้ งานนี้จึงถือเป็นการจัดงานสมโภชพระแท่นที่ทรงปรินิพพาน เนื่องในวโรกาสที่กาลเวลาผ่านไปใกล้จะครบ ๒,๕๔๐ ปีพอดี

◄ll กลับสู่ด้านบน



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2034
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 16/8/10 at 16:36 Reply With Quote



พระแท่นดงรัง

เป็นสถานที่ทรงปรินิพพานจริงหรือไม่?


สำหรับสถานที่นี้เป็นพุทธสถานที่สำคัญ มาแต่โบราณกาล ตามความเชื่อของคนไทย ซึ่งมีหลักฐานใน “นิราศพระแท่นดงรัง” ที่ได้ บรรยายไว้เป็นคำกลอนของ นายมี (หมื่นพรหม สมพัตสร์) เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ ก็เชื่อว่าได้เป็น สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาปรินิพพานจริง อีกทั้งยังมี พระแท่น, บ่อบ้วนพระโอษฐ์, เขา ถวายพระเพลิง และอื่นๆ อีกที่ยังปรากฏอยู่ เป็นหลักฐาน ส่วน ต้นรังทั้งคู่ ที่เคยมีอยู่นั้น บัดนี้ไม่เหลือให้เห็นอยู่อีกแล้ว

สำหรับผู้เขียนนั้นไม่มีหลักฐานอะไร เพียงแต่ตอนที่บวชใหม่ๆ เมื่อประมาณเกือบ ๒๐ ปีมาแล้ว พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้บอก กับผู้เขียนว่า...

“ตามประวัติที่กล่าวว่า พระมหากัสสป เดินทางมาจาก “ปาวาลเจดีย์” นั้น ท่านมาจาก “ดงพญาไฟ” (สมัยนี้เรียกว่า “ดงพญาเย็น”)แล้วมาถวายบังคมพระบรมศพที่ “พระแท่นดงรัง” นี่เอง...”

หลังจากนั้นไม่นาน ผู้เขียนก็ได้เดินทาง มาที่นี่ พบว่าหลักฐานโบราณสถานต่างๆ เรามีปรากฏชัดมาก จึงได้นำ หนังสือประวัติวัด พระแท่น ที่ทางวัดได้จัดพิมพ์ไว้แจกสำหรับผู้ที่มากราบไหว้ เมื่ออ่านพบเรื่องตอนที่อ้างถึง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ว่า ท่านได้เดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ณ ประเทศอินเดีย คือสถานที่ ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรม และปรินิพพาน ให้ ท่านเจ้าคุณองค์หนึ่งในกรุงเทพฯ ฟัง พระ เถระองค์นั้นฟังแล้วก็ยิ้มๆ ไม่พูดอะไร แต่พอ มรณภาพก็มีหนังสือที่ท่านเขียนเอาไว้ก่อนตาย เพื่อแจกให้เป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่มางานเผาศพของ ท่าน ในหนังสือเล่มนั้นบอกว่า

“พระพุทธเจ้ามาปรินิพพานที่เมืองไทย คือ “พระแท่นดงรัง” นี่เอง...”

นอกจากนี้ หลวงปู่วัย ที่อยู่หินกอง จ.สระบุรี ท่านก็ยืนยันด้วยว่าที่นี่เป็นที่จริง ทั้ง ยังได้มากราบนมัสการเป็นประจำทุกปี พร้อม กับบอกอีกว่า แม้ เขาถวายพระเพลิง ก็เป็นของจริงเช่นกัน ส่วนหลักฐานอื่นที่ประกอบ การวินิจฉัยทางด้านโบราณวัตถุ ท่านเจ้าคุณ พระราชกวีวัดโสมนัสวรวิหาร ก็ได้แสดง ความเห็นไว้ในพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ว่า

“ในทางเหนือเส้นเขตแดน จ.ราชบุรี และเข้าไปถึง จ.กาญจนบุรี มีซากโบราณเป็น เมืองอยู่ ชื่อว่า “โกสินราย” และมีวัดชื่อว่า “โกสินารายณ์” ซึ่งใกล้กับชื่อว่า “กุสินารา” สมคล้องกันมาก...”



พระประโทณเจดีย์


แต่ยังมีเหตุผลที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง คือในพระไตรปิฎกก็ยังเล่าว่า หลังจากถวาย พระเพลิงพระบรมศพแล้ว ก็มีการจัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากอาจารย์ของมัลลกษัตริย์คือ โทณพราหมณ์ แล้วได้นำ ทะนานทอง ที่ ตวงนั้นไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่เมืองกุสินารา เวลานี้ปรากฏว่าไม่มีข่าวการพบเจดีย์ ที่บรรจุทะนานทอง หรือที่เรียกว่า “ตุมพเจดีย์” ที่เมืองกุสินาราในประเทศอินเดียเลย แต่ที่ ปรากฏเป็นหลักฐานในเมืองไทยว่า พระเจดีย์ องค์นี้อยู่ที่วัดพระประโทณ จ.นครปฐม นี่เอง เพราะฉะนั้น ถ้าจะสรุปกันง่ายๆ ว่า “ทะนาน ทอง”อยู่ที่ไหน“เมืองกุสินารา” ก็ต้องอยู่ ใกล้ๆ กันที่นั้น

จึงขออ้างหลักฐานจาก “หนังสือประวัติ ของวัดพระประโทณเจดีย์” ที่ได้อ้างตามตำนาน เล่าสืบกันมาว่า ณ เมืองทวารวดี ในสุวรรณภูมิ ตำบลพระประโทณนี้เป็นที่อยู่ของ “พราหมณ์” ตระกูลหนึ่ง เรียกว่า “โทณพราหมณ์”

แต่หลวงพ่อท่านบอกว่าจริงๆ แล้ว ท่าน ชื่อว่า “โสณพราหมณ์” คงจะเรียกเพี้ยนกัน ไปภายหลัง ต่อมาท่านได้สร้างเรือนหินเป็นที่ เก็บทะนานทองไว้ตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล จนกระทั่งพุทธศักราช ๑๑๓๓ พระเจ้าศรีสิทธิ ชัยพรหมเทพ ผู้สร้างเมืองนครชัยศรี ได้ยก ทัพมาแย่งทะนานทองไปได้ แล้วก็ได้ส่งไปแลก เปลี่ยนพระบรมสารีริกธาตุจากกษัตริย์ลังกา

ส่วน นิราศของนายมี ก็เชื่อว่าโทณ พราหมณ์เป็นผู้มาสร้างเอาไว้ แต่บางคนสมัย นี้วินิจฉัยว่าตระกูลพราหมณ์นี้ อาจจะอพยพ มาจากอินเดีย แล้วนำทะนานทองมาบรรจุไว้ภายหลัง คงเป็นเพราะมีความเชื่อว่า กุสินารา อยู่ที่ประเทศอินเดีย

เมื่อโทณพราหมณ์อยู่ในเมืองไทย แต่ ไปเป็นอาจารย์ถึงที่โน่น มันเป็นไปได้ที่ไหน น่าจะเฉลียวใจกันบ้างว่า ซากเมืองโกสินราย ของเราก็มีอยู่ ในบริเวณพระประโทณก็มีหลักฐานว่า เคยมีหมู่บ้านพราหมณ์มาก่อน พระ แท่นปรินิพพานที่อยู่ในระหว่างนางรังทั้งคู่ก็มีอยู่ โดยเฉพาะ เขาถวายพระเพลิง(มกุฎพันธน เจดีย์) ของเราเป็นภูเขาจริงๆ มิได้ก่อขึ้นด้วย อิฐเหมือนกับที่ประเทศอินเดีย

หลักฐานทั้งหมดอยู่ใกล้กันทั้งนั้น แต่ เราก็ยกเอาไปไว้ที่อินเดียทั้งนั้น ของสำคัญที่อยู่ในเมืองไทย เราเป็นคนไทยจึงได้มองข้ามความ สำคัญไป อีกทั้งนักปราชญ์สมัยนี้ก็ยกว่าเป็น เรื่องสมมุติกัน โดยเฉพาะที่หน้าวิหารพระแท่น ก็เขียนหนังสือบอกว่าเป็น “พระแท่นที่สมมุติ” เพราะเขาไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมือง ไทย ตามที่ครูบาอาจารย์เขาสอนสืบๆ กันมา เท่ากับดูถูกความเชื่อของคนสมัยโบราณแท้ๆ จึงขอฝากบทกลอนเป็นตัวอย่าง คือ “นิราศของ นายมี”ไว้ดังนี้

“ถึงประโทณารามพราหมณ์เขาสร้าง เป็นพระปรางค์แต่บุราณนานนักหนา แต่ครั้งตวงพระธาตุพระศาสดา พราหมณ์ศรัทธาสร้างสรรค์ไว้มั่นคง...”

เมื่อมาถึงพระแท่นท่านก็พรรณนาไว้อีกว่า

“เห็นแต่แท่นแผ่นผายังปรากฏ
แสนกำหรดเศร้าจิตพิศวง
น้ำเนตรหยัดหยดย้อยเป็นฝอยลง
คิดถึงองค์พระสัพพัญญุตัญญาณ...”


ส่วนที่เขาถวายพระเพลิงท่านก็ยังเชื่อว่า

“เป็นแก้วแกมเกิดก้อนชง่อนผา
เป็นที่เทพนิมิตด้วยฤทธา
พิจารณาสมความตามบาลี
เป็นก้อนแก้วแวววาบปละปลาบแสง
คือเครื่องแต่งพระศพพระชินสีห์
จึงเกิดเป็นบรรพตปรากฏมี
ด้วยเป็นที่ถวายพระเพลิงเชิงตระกอน...”


สำหรับ “นิราศของสามเณรกลั่น” ศิษย์เอกของ ท่านสุนทรภู่ ก็รจนาไว้ว่า


“ถึงพระแท่นแสนสงัดเห็นวัดมี
ทั้งโบสถ์ที่ครอบพระแท่นแผ่นศิลา
กับต้นรังทั้งคู่ยังอยู่พร้อม
ดูยอดน้อมมาข้างแท่นที่แผ่นผา...”


ดังนี้ ด้วยหลักฐานความเชื่อถือของคน สมัยก่อน ที่บ่งบอกความในใจ ยังคงความเลื่อม ใสไว้ในบทกลอน เพื่ออนุชนรุ่นหลังจะได้รู้คุณค่า แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่ความเชื่อถือของผู้อ่าน และไม่ควรนำมาถกเถียงกัน ผู้เขียนเพียงแต่นำหลักฐานมาอ้างอิง เพื่อการศึกษาหาความรู้ ของท่านผู้อ่านเท่านั้น ท่านจะเชื่อหรือไม่ก็แล้ว แต่..จะไม่ขอยืนยันทั้งสิ้น

แต่การจัดงานในสถานที่นี้ ไม่มีใครเป็น พยานยืนยันได้ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เขียนได้รับ ฟังมาจากหลวงพ่อโดยตรง บางคนเขาอาจจะ ไม่เชื่อถือก็ได้ จึงได้นำหลักฐานต่างๆ มาอ้าง อิงด้วย แต่คงจะไม่สร้างความมั่นใจให้มากนัก จึงได้คิดอยู่ในใจว่า ถ้ามีปรากฏการณ์พิเศษบ้าง ก็คงจะดี ต่อมาจึงได้มีสิ่งที่เกิดขึ้นรับรอง ดังที่เล่าผ่านไปแล้วนั้น ส่วนรายละเอียดขอให้ ติดตามเรื่องราวกันต่อไป

ในตอนนี้จะขอแจ้งพิธีกรรมต่างๆ ให้ ทราบว่า จะทำพิธีบวงสรวงก่อน อันเป็นการ จำลองเหตุการณ์วันปรินิพพาน เมื่ออัญเชิญพระพุทธสรีระ (จำลอง) ขึ้นพระเมรุมาศแล้ว จึงจะทำพิธีสรรเสริญพระเกียรติคุณขององค์ สมเด็จพระบรมศาสดา แล้วจะทำพิธีถวายพระ เพลิงพระพุทธสรีระ ที่เรียกกันว่าวันอัฏฐมีบูชา คือ วันถวายพระเพลิง ซึ่งตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นการจำลองตอนที่ ๑ - ๒

ต่อจากนั้นจะเป็นเหตุการณ์ตอนที่ ๓ จำลองการแจกพระบรมสารีริกธาตุ แก่บรรดากษัตริย์ทั้ง ๘ เมือง แล้วจึงจะอัญเชิญพระ บรมสารีริกธาตุนั้นมาบรรจุไว้ที่พระพุทธรูปปาง ปรินิพพาน เพื่อถวายไว้เป็นอนุสรณ์ ณ สถานที่นี้ แล้วถวายผ้าป่ามหาสังฆทานรวมทุกภาค พระสงฆ์ให้พร เป็นอันเสร็จพิธี

ต่อไปนี้ก็จะเป็นการจำลองตอนที่ ๑ ซึ่งจะบรรยายไปพร้อมกับผู้แสดงประกอบ...

◄ll กลับสู่ด้านบน




งานพิธีจำลองเหตุการณ์


วันปรินิพพาน


โอกาสนี้จะขอเริ่ม งานจำลองเหตุการณ์ วันปรินิพพานซึ่งตามพระพุทธประวัติเล่าไว้ว่า การที่องค์สมเด็จพระพิชิตมาร ได้เลือกเมืองกุสินาราเป็นที่ปรินิพพานนั้น เพราะในอดีตกาล สถานที่นี้ เป็นเมืองที่กว้างใหญ่ไพศาลและมี ผู้คนมาก สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สรรพสิ่ง ผู้คน ทั้งหลายชายหญิงต่างมีความสงบสุข จึงมีนาม ว่า“กุสาวดี” ในสมัยนั้น สมเด็จพระภควันต์ บรมศาสดาเสวยพระชาติเป็น พระเจ้ามหาสุทัศน จักรพรรดิราช ครอบครองเมืองนี้

ด้วยเหตุนั้นครั้นเสด็จดับขันธปรินิพพาน ระหว่างนางรังทั้งคู่ อันอยู่ในป่าสาลวันของ มัลลกษัตริย์ แล้วก็บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินไหว กลองทิพย์ก็บันลือลั่นเสียงสนั่นไปในนภากาศ ขณะนั้นมีผู้เปล่งวาจาสรรเสริญพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า แสดงความไม่เที่ยงของสังขาร ทั้งหลาย ด้วยความเลื่อมใสและสลดใจ ในการปรินิพพานขององค์สมเด็จพระจอมไตร ผู้เป็นครูของมวลหมู่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ภาษิตของท้าวสหัมบดีพรหม


เวลานั้น ท้าวสหัมบดีพรหม จึงได้กล่าว คาถานี้ว่า
“ผู้ที่เกิดมาแล้วทั้งสิ้น จักต้องทิ้งร่าง กายไว้ในโลก เพราะพระตถาคตผู้เป็นพระ ศาสดาทรงพระคุณเช่นนี้ ไม่มีผู้เปรียบได้ในโลก ผู้สมบูรณ์ด้วยพระกำลัง ตรัสรู้แล้วโดยชอบ ก็ยังเสด็จดับขันธปรินิพพาน...”

ภาษิตของท้าวสักกเทวราช


ท้าวสักกเทวราชก็ได้กล่าวคาถาเช่นกันว่า
“สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความ เกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ความสงบไปแห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความสุข...”

ภาษิตของพระอนุรุทธ


พระอนุรุทธได้กล่าวคาถามีใจความว่า
“ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระหฤทัยตั้งมั่น ผู้คงที่ ไม่มีแล้ว พระองค์เป็นนักปราชญ์อัน ประเสริฐ ผู้ไม่หวั่นไหว ได้ทรงอดกลั้นทุกข เวทนาด้วยพระหฤทัยอันไม่ย่อท้อ ทรงสิ้นลมปราณไปด้วยความสงบ ได้ถึงซึ่งความหลุดพ้น แห่งจิตไปแล้ว เหมือนดวงประทีปที่สว่างอยู่ แล้วดับไปฉะนั้น...”

ภาษิตของพระอานนท์


“เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ ประกอบด้วยพระอาการอันประเสริฐทั้งปวง ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว สิ่งมหัศจรรย์ได้ พลันเกิดขึ้นน่าพึงกลัว มีขนพองสยองเกล้า ไปทั่วกัน...”

ส่วนบรรดาพุทธบริษัทนั้นไซร้ ที่ประชุมกันอยู่ในอุทยานสาลวัน ต่างก็เศร้าโศกร่ำไรรำพัน พระอนุรุทธและพระอานนท์จึงได้แสดงธรรมมีกถาปลุกปลอบใจตามวิสัยควรแก่เวลา แด่บรรดาท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ครั้นสว่างแล้วพระอนุรุทธจึงมีเถรบัญชา ให้พระอานนท์รีบเข้าไปในเมืองกุสินารา เพื่อแจ้งข่าวเสด็จปรินิพพานขององค์สมเด็จพระพิชิตมาร ขณะที่พระอานนท์เข้าไปแจ้งข่าวนั้น เป็นเวลาที่มัลลกษัตริย์กำลังประชุมกันอยู่พอดี...

◄ll กลับสู่ด้านบน



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2034
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 16/8/10 at 16:39 Reply With Quote



สมมุติราชรถ

เป็นพระแท่นปรินิพพาน


“เมื่อมัลลกษัตริย์และพระราชโอรสธิดา พระสุนิสาประชาบดีทั้งหลายได้สดับข่าวดังนั้น ก็ทรงอาลัยในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นยิ่งนัก จึง ทรงรับสั่งพวกอำมาตย์ข้าราชบริพาร ให้นำดอกไม้และของหอม พร้อมด้วยผ้าขาว ๕๐๐ พับ เสด็จไปยังสวนสาลวันอันเป็นที่เสด็จปรินิพพาน แล้วทำการสักการบูชาพระพุทธสรีระ ด้วยการ ตกแต่งเพดานผ้า ประดับด้วยพวงดอกไม้เป็น ระเบียบ แล้วมีฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี"

(ผู้เขียนได้บรรยายพุทธประวัติมาถึง ตอนนี้ผู้แสดงประกอบทั้งหลายที่ได้แต่งกาย ชุดมัลลกษัตริย์ ๘ คน ได้นำเครื่องสักการะและผ้าขาวออกไปถวายที่พระพุทธสรีระจำลอง อันประดิษฐานอยู่บนราชรถ ซึ่งอยู่ตรงกลางบริเวณปะรำพิธีนั้น ครั้นชุดมัลลกษัตริย์ออกไปแล้ว ผู้ที่แต่งกายชุดฝ่ายในพระราชสำนัก ชุดพราหมณ์ และชุดฤาษี ต่างก็สมมุติตามเสด็จออกไปถวาย บังคมพระบรมศพเป็นลำดับ เสียงบรรยายได้ ดังก้องไปทั่วบริเวณต่อไปอีกว่า)

“มหาชนเป็นอันมาก แม้จะอยู่ในที่ไกล เมื่อได้ทราบข่าวปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ต่างก็ถือนานาสุคนธชาติมาสักการบูชามากมาย สุดจะคณนา เวลาค่ำก็ตามชวาลาสว่างไสวทั่วสาลวัน ประชาชนต่างพากันมาไม่ขาดสายตลอด เวลา ๖ วันไม่มีหยุด พากันรีบรุดมาทำการ สักการบูชาด้วยความเลื่อมใส เพื่อถวายความ เคารพในองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา เป็นวาระสุดท้าย เพราะโอกาสต่อไปคงจะมิได้ เห็นพระพุทธองค์ผู้ทรงคุณประเสริฐ พระรูป พระโฉมของพระองค์อันงามเลิศกว่าใครๆ ต้อง ดับสลายไปในที่สุด

เมื่อบูชาคำรบครบจนถึงวันที่ ๗ บรรดา มัลลกษัตริย์จึงทรงปรึกษาเห็นสมควรว่า พวก เราจักอัญเชิญพระพุทธสรีระเข้าสู่พระนครโดย ทางทิศใต้ แล้วจักนำออกจากพระนครไปถวาย พระเพลิงในทางทิศใต้กันเถิด

ครั้นทรงปรึกษากันอย่างนี้แล้ว มัลลปาโมกข์ (คือกษัตริย์ที่เป็นหัวหน้า) ๘ พระ องค์ ทรงสรงสนานพระเศียรและทรงเปลี่ยน ผ้าใหม่ แล้วก็พร้อมกันเข้าไปอัญเชิญพระพุทธ สรีระ แต่ไม่สามารถจะยกขึ้นได้ จึงทรงไต่ถาม พระอนุรุทธ ว่าเป็นด้วยเหตุผลประการใด..?

พระเถระจึงตอบว่า เป็นด้วยไม่ถูกต้อง ตามความประสงค์ของเทวดาทั้งหลาย คือเทวดาทั้งหลายประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธสรีระเข้าไปสู่พระนครโดยทางทิศเหนือ พอไปถึงกลาง พระนครแล้ว จึงอัญเชิญออกทางทิศตะวันออก เพื่อถวายพระเพลิง ณ มกุฎพันธนเจดีย์

เมื่อพวกมัลลกษัตริย์ได้ทรงสดับดังนี้ แล้วก็ตรัสว่า ขอให้เป็นไปตามประสงค์ของ เทวดาทั้งหลายเถิด ในคราวนั้น ได้มีดอกมณ ฑาทิพย์ตกลงจากสวรรค์ทั่วทั้งเมืองกุสินารา สูงเพียงสะเอวก็มี เพียงเข่าก็มี

บรรดามัลลกษัตริย์ได้พร้อมกันสักการบูชาพระพุทธสรีระ ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และมาลาสุคนธชาติ ทั้งของทิพย์ และของมนุษย์ แล้วได้อัญเชิญพระพุทธสรีระจากพระแท่นบรรทม ขึ้นประดิษฐานบนเตียง มาลาอาสน์ ซึ่งตกแต่งด้วยอาภรณ์อันวิจิตร แล้วเคลื่อนขบวนเข้าไปในท่ามกลางพระนคร ทางประตูเมืองด้านทิศเหนือ

ชาวประชาพากันเข้าขบวนแห่ตามพระพุทธสรีระสุดประมาณ เสียงดุริยางค์ดนตรีแซ่ ประสาน ทั้งอัศจรรย์ดอกมณฑาทิพย์ก็ร่วงหล่น ลงมาจากสรวงสวรรค์ เพื่อบูชาองค์สมเด็จพระทรงธรรม์กันมากมาย ส่วนหญิงชายพากันบูชา ทั่วทุกสถาน ตลอดทางที่พระพุทธสรีระแห่ ผ่านไปตามลำดับ...”



นางมัลลิกาถวายเครื่องประดับ


ครั้นได้บรรยายมาถึงตอนนี้ พอดีกับผู้แสดงเป็นมัลลกษัตริย์ เหล่าพระประยูรญาติและอำมาตย์ข้าราชบริพาร ได้ถวายบังคมแล้ว กลับเข้ามานั่งในปะรำพิธีตามเดิม ส่วนผู้ที่แต่ง ชุดส่าหรีทั้ง ๑๗ คน อันมี คุณแสงเดือน เป็นต้น ได้สมมุติตนเป็นนางมัลลิกา พร้อมด้วยบุตรี ที่เป็นสะใภ้อีก ๑๖ คน เดินถือพานผ้าห่ม สีทองประดับเพชรพลอยอยู่ในมือ

ผ้าห่มที่ได้ตัดเย็บเป็นพิเศษนี้ ตัดโดย คุณวิไล แล้วนำไปให้ คุณยุพา ภรรยาของ พ.ท.แสวงเป็นผู้ประดับเพชรพลอย เพื่อให้สมมุติเป็นเครื่องลดามหาประสาธน์ ผู้เขียน จึงได้บรรยายต่อไปอีกว่า...

“ขณะนั้น นางมัลลิกา ผู้เป็นภรรยาของ ท่านพันธุละเสนาบดี ซึ่งมีนิเวศน์อยู่ในนครนั้น ครั้นได้ทราบว่าขบวนอัญเชิญจะผ่านมาทางนั้น นางก็มีความปลาบปลื้มยินดี ที่จะได้อัญชลีอภิวาทเป็นโอกาสครั้งสุดท้าย

นางจึงดำริด้วยความเลื่อมใสว่า นับ ตั้งแต่ท่านพันธุละล่วงลับไปแล้ว เครื่องประดับ อันมีชื่อว่า “มหาลดาประสาธน์”เราก็มิได้นำมา ประดับตกแต่งร่างกายเลย คงเก็บรักษาไว้เป็น อันดี ควรจะถวายเป็นอาภรณ์ประดับพระพุทธสรีระสมเด็จพระชินศรี เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในวาระสุดท้ายนี้...”

(อันเครื่องอาภรณ์มหาลดาประสาธน์นี้ งามวิจิตรมีค่ามากถึง ๙๐ ล้าน ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ ในสมัยนั้นมีอยู่เพียง ๓ เครื่อง คือ นางวิสาขา ๑ นางมัลลิกา ๑ เศรษฐีธิดา ภรรยาท่านเทวทานิยะสาระ ๑ ซึ่ง เป็นอาภรณ์ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นของสำหรับผู้ มีบุญเท่านั้น)

“ครั้นเมื่อขบวนอัญเชิญพระพุทธสรีระ ผ่านมาถึงหน้าบ้านนางมัลลิกา นางจึงได้ร้องขอ แสดงความประสงค์จะบูชาด้วยเครื่องอาภรณ์ มหาลดาประสาธน์เจ้าหน้าที่ผู้อัญเชิญพระพุทธ สรีระศพ จึงวางเตียงมาลาอาสน์ที่ประดิษฐาน พระพุทธบรมศพลง เพื่อให้คณะของนางมัลลิกา ถวายอภิวาท แล้วนางจึงได้นำเอาเครื่องอาภรณ์ มหาลดาประสาธน์ ที่สำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ ของตน ซึ่งเป็นของที่สวยงามมีค่ามาก อันเป็น สมบัติที่รักและหวงแหนยิ่งของตน เข้าไปคลุม พระบรมศพขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาด้วย ความเคารพเลื่อมใส แล้วตั้งความปรารถนาว่า “เมื่อข้าพเจ้ายังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสารอยู่ตราบใด ขอจงอย่าให้ร่างกายของข้าพเจ้า ปราศจากเครื่องประดับอยู่ตราบนั้นเถิด...”

ครั้นนางมัลลิกาคลุมพระบรมศพเสร็จ แล้ว ขณะนั้นพระพุทธสรีระศพขององค์สมเด็จ พระประทีปแก้ว ก็งามโอภาสเป็นที่เจริญตาเจริญ ใจปรากฏแก่มหาชนทั้งหลาย ต่างพากันแซ่ซ้อง สาธุการเป็นอันมาก...”

(เมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้ อันเป็นตอน ที่ผู้แสดงภาพประกอบพร้อมไปกับคำบรรยาย พวกเราทุกคนมองดูแล้ว เหมือนกับเข้าไปอยู่ ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ จึงกล่าวคำว่า “สาธุ..!” ขึ้นพร้อมกัน หลังจากเห็นผู้แต่งกายชุดส่าหรี สีสดสวยกำลังช่วยกันเอาผ้าคลุมพระบรมศพ แล้วถอยออกมานั่งถวายบังคมพร้อมกันอย่าง มีระเบียบ แล้วจึงได้บรรยายความกันต่อไป เพื่อให้ผู้ชมล่องลอยเข้าสู่บรรยากาศ คล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสมัยพุทธกาล)

“เหล่าเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย จึง อัญเชิญพระบรมศพออกจากพระนครทางประตู ทิศตะวันออก แล้วจึงอัญเชิญไปประดิษฐานเพื่อถวายพระเพลิงที่ มกุฎพันธนเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันออกแห่งกุสินารามหานคร...” ดังนี้

◄ll กลับสู่ด้านบน




มหาพิธีบวงสรวง คล้ายกับ "วันมหาสมัย"


สำหรับเหตุการณ์ในตอนนี้ พวกเราก็ ได้จัดขบวนแห่ เป็นการสมมุติเหตุการณ์ตอนที่ ได้อัญเชิญพระพุทธสรีระจากเมืองกุสินารามาสู่มกุฎพันธนเจดีย์ตรงนี้แล้ว นี้เป็นการจำลองภาพ เหตุการณ์อันดับแรก ซึ่งพวกเราก็ได้สมมุติแต่ง ชุดเป็นพวกมัลลกษัตริย์และชุดชาวเมืองกุสินารากัน เป็นการสิ้นสุดจำลองเหตุการณ์ตอนที่ ๑

ฉะนั้น ก่อนที่จะเข้าถึง พิธีจำลองเหตุ การณ์ถวายพระเพลิง กัน ต่อไปก็จะขอเริ่มพิธีบวงสรวงก่อน อันเป็นประเพณีที่ครูบาอาจารย์ ทั้งหลายกระทำมา นับตั้งแต่หลวงปู่ปาน และ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน เป็นต้น เมื่อถึง กาลเวลาหรือเป็นสถานที่สำคัญ พวกเราผู้เป็น ลูกหลานของท่านต่างก็น้อมใจ เพื่อมาร่วมงานกันกระทำพิธีนี้ด้วยความเคารพ ถึงแม้ท่านจะ ล่วงลับดับสังขารไปแล้วก็ตาม ยังระลึกนึกถึง เหมือนกับท่านยังอยู่กับลูกหลาน ด้วยการอัญเชิญรูปภาพของท่าน แม้เสียงของท่านก็กระจาย ไปทั่วทุกทิศ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

จึงขอให้พวกเราน้อมจิตกัน เพื่อย้อน รำลึกถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา ความประทับใจที่ ได้ฝังไว้ในความทรงจำตลอดไป เรามีความ ปลาบปลื้มใจที่ได้มารู้จักกัน และมายืนอยู่พร้อม หน้ากันฉันท์ญาติมิตร เมื่อรู้ว่าเป็นสานุศิษย์สำนักเดียวกัน เราจึงมีน้ำใจไมตรีต่อกัน ได้ติดตามมาร่วมงานกันโดยตลอด

อาตมาเองก็มีความซาบซึ้งใจเป็นยิ่งนัก ในความดีความสามัคคีที่มีต่อกัน เนื่องด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถจัดงานให้ครบถ้วนได้ โดยไม่มี อุปสรรคแต่ประการใดในระหว่างทาง คืองานไม่ ล้มไปก่อนที่จะครบภาคน่าจะเป็นนิมิตหมายว่า ทางเดินของพวกเราคงจะไปได้สะดวก..ราบรื่น สมหวัง..และเป็นสุขใจไปในที่สุด ในระหว่าง ที่ยังทรงชีวิตอยู่และจากโลกนี้ไปแล้ว เพราะ อานิสงส์แห่งการดำเนินร่วมกันบุกเบิกทาง ทั้งได้อนุรักษ์โบราณประเพณีเป็นแบบอย่างไว้ให้ แก่อนุชนรุ่นหลัง

ฉะนั้น เมื่อมารำลึกนึกถึงงานที่ผ่านมา หลังจากการติดตามรอยพระยุคลบาทมาครบทั้ง สองข้างใน ๔ ทิศ คือทั้งพระบาทข้างขวาและ พระบาทข้างซ้าย อีกทั้งได้มีโอกาสอภิวาทฝ่า พระบาทของพระพุทธเจ้าที่ผ่านไปแล้วในอดีตทั้ง ๓ พระองค์ คือ สมเด็จพระกกุสันโธ สมเด็จ พระโกนาคม และ สมเด็จพระพุทธกัสสป จนกระทั่งถึง สมเด็จองค์ปัจจุบัน เป็นที่สุด

ครั้นพระพุทธองค์ได้เสด็จเข้าสู่พระ แท่นเพื่อปรินิพพาน พวกเราผู้ปฏิญาณตนเป็น พุทธสาวกและพุทธสาวิกามานาน ต่างก็ได้ตกลงปลงใจกันตามเสด็จมาโดยตลอดหลายพุทธันดร เพื่อวิงวอนขอข้ามฝั่งจากวัฏฏสงสาร เข้าสู่แดน อมตมหานิพพานเช่นเดียวกัน

บัดนี้ งานรวมภาค ที่ทุกคนได้อุตส่าห์ บากบั่นพยายาม แม้บางคนจะไม่ครบทุกภาค แต่ก็ได้อาราธนาพระคุณเจ้าผู้เป็นเจ้าของรอยพระพุทธบาทมาด้วยทุกภาค เพื่อพวกเราได้ วันทาสักการะรวมกัน และพร้อมเพรียงกันอีก ครั้ง เพื่อเป็นสักขีพยาน ณ สถานที่ที่ปรินิพพานนี้ ให้เป็นนิมิตหมายที่ดีว่า พวกเราจะเผา กิเลสให้หมดสิ้นเชื้อแห่งการเกิดฉะนั้น

เพื่อเราจะได้หยุดการเดิน จะไม่หลง ก้าวเข้าไปในอบายภูมิ คือทางไปสู่ทุคติ เราจะยุติการท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสาร เราจะไม่ ดำเนินต่อไปในที่ไหนๆ อีก นอกจากสถานที่ แห่งเดียวที่เราจะติดตามพระพุทธองค์ไป นั่นก็คือ...แดนพระนิพพานเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

ในตอนนี้จึงขออาราธนาท่านเจ้าอาวาสรอยพระพุทธบาททั้ง ๔ ภาค และท่านเจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรัง จุดธูปเทียนที่โต๊ะบวงสรวง และหลวงพี่โอจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาด้วยครับ พร้อมกันนี้ขอให้ทุกท่านพนมมือ ตั้งจิตน้อมเอารอยพระพุทธบาททั้ง ๔ ภาค อีกทั้งพระแท่นที่ปรินิพพาน ยกขึ้นไว้เหนือเศียรเกล้าของ เราตามพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในตอนหนึ่งว่า ตั้งใจ จะอุปถัมภก..ยอยกพระพุทธศาสนา.. ดังนี้

สำหรับสถานที่แห่งนี้ จะเป็นจริงหรือคิดว่าเป็นการสมมุติกันขึ้นมาก็ตามที ยากที่เราจะพิสูจน์กันได้ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่าย แต่ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าอยู่ที่ประเทศอื่น บางคนถึงกับคิดกันว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยเสด็จมาถึงประเทศไทยเสียด้วยซ้ำไป

ฉะนั้น นอกจากบุญความดีที่เรามีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ตลอดถึงเทพยดาอารักษ์ผู้พิทักษ์รักษาเขตนี้ ถ้ายังไม่เปิดเผยความจริงก็ต้องทิ้งไว้เป็นปริศนาอีกต่อไป เพราะฉะนั้นเพื่อคลายความสงสัย หากกาลเวลามาถึงแล้วไซร้ ขอทุกสิ่งจงได้ประจักษ์ สิ่งใดที่เคยมีก็ขอจงได้ปรากฏ สิ่งใดที่ไม่เคย ปรากฏก็ขอให้มี เพื่อเป็นสักขีพยานยืนยันความชื่อของคนสมัยโบราณ และเพื่อเป็นการเจริญศรัทธาปสาทธะแก่บรรดาลูกหลานของหลวงพ่อ ต่อไปนี้ขอให้ทุกท่านตั้งจิตอธิษฐานดังนี้

“ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาบารมี องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆ พระองค์ อันมีสมเด็จองค์ปฐมทรงเป็นประธาน พระพุทธกกุสันโธ พระพุทธโกนาคม พระพุทธกัสสป และสมเด็จองค์ปัจจุบันเป็นที่สุด พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ และพระธรรม

พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ผู้เป็นพระอัครสาวก และพระอรหันตสาวก ของพระพุทธเจ้า ทั้งหลายที่ผ่านไปแล้วในอดีต ตั้งแต่ต้นพุทธวงศ์ จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ อันมี พระสารีบุตร พระโมคคัลลาน์ พระมหากัสสป พระอนุรุทธ และ พระอานนท์ เป็นต้น

ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา อันมีหลวงปู่ปานและหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เป็นที่สุด ภาคเหนือมีท่านครูเจ้าบาศรีวิชัย ภาคอีสานมีหลวงปู่มั่น ภาคกลางมีหลวงปู่โต ภาคใต้มีหลวงปู่ทวดเป็นที่สุด

พระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลาย อันมีพระศรีอาริยเมตไตรยเป็นต้น ตลอดจนถึงพรหมโลก ซึ่งมีท่านสหัมบดีพรหมเป็นประธาน ท่านท้าวผกาพรหม ท่านท้าวมหาชมภูเป็นที่สุด สวรรค์ทุกชั้นฟ้า อันมีหมู่เทพยดาเหล่านางฟ้าทั้งหลาย ทั้งหมื่นโลกธาตุ ทั่วแสนโกฏิจักรวาล ผู้มีหน้าที่รักษาทรัพยากรของชาติ รักษานภากาศ รักษามหาสมุทร จนกระทั่งสุดพื้นปฐพี

คือที่เป็นอากาศเทวดาก็ดี เป็นรุกขเทวดาก็ดี เป็นภุมเทวดาก็ดี จะเป็นประเทศอื่นก็ดี หรือประเทศไทยก็ดี ที่ยังเป็นเขตแดนพระพุทธศาสนา คือผู้ที่รักษาอาณาเขตนี้ และที่รอยพระพุทธบาททุกแห่ง กับทั้งที่พระบรมธาตุทุกสถาน

พระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และเจ้าพ่อหลักเมือง ทั่วทั้งเมืองไทย โดยมีท่านปู่ท่านย่า และท่านแม่ทรงเป็นประธาน ทั้งคณะท่านพระยายมราชผู้เป็นสักขีพยาน โดยมีคณะท้าวจตุโลกบาลเป็นที่สุด

ขอได้โปรดเสด็จมา ณ สถานที่นี้ ต่อหน้าพระแท่นธรณี เพื่อเป็นสักขีพยาน ปวงข้า พระพุทธเจ้าจะขอตั้งสัตยาธิษฐาน หวังประสานผลบุญราศรีที่ได้บำเพ็ญมาร่วมกัน นับวันตั้งแต่ อดีตชาติมาจนถึงโอกาสนี้ ซึ่งมีการบูชาสักการะและบูรณะพระบรมธาตุ กับทั้งรอยพระพุทธบาทบรม ได้ถวายบังคมก้มเศียรเกล้า เวียนมาบรรจบครบทั้ง ๔ ทิศ

ด้วยการมอบกายถวายชีวิต จนถึงกิจงานรวมภาคครั้งนี้ ขออานิสงส์บุญทั้งหมดที่มีจงทวีมารวมตัวกันให้เต็มครบถ้วนทั้ง ๓๐ ทัศ จัดอยู่ในปรมัตถบารมี ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระบรมครูได้ตรัสรู้แจ้งแห่งธรรมแล้ว ขอให้ลูกแก้วทั้งหลาย จงได้เห็นธรรมนั้นทุกประการ หากยังไม่เข้านิพพานเพียงใด ขอคำว่า “ไม่มี” ทั้งหมด จงอย่าได้มาบังเกิดปรากฏ เมื่อสังขารหมดสิ้นไป อารมณ์ใจอย่าได้มืดมัว ขอให้แสงสีรัศมีกาย จงส่องกระจายไปทั่ว และทิพยวิมานทั้งหลาย จงเฉิดฉายงามสดใส

ถ้าโลกจะประสบสงครามใหญ่ ซึ่งอาจจะมีต่อไปในกาลข้างหน้า ตามที่พระศาสดาทรงทำนายว่ายักษ์ร้ายนอกพุทธศาสนา อาจจะรบราฆ่าฟันกัน ด้วยอาวุธอันทันสมัย หากเป็นจริงตามนั้นไซร้ ขอโปรดได้อภิบาลชาวไทย ผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมทั้งหลาย ให้พ้นจากภัยพิบัติเหล่านั้น

ครั้นจะย่างก้าวไปในสารทิศใด ขอเทพไท้เทวาแต่ละทิศ จงมีจิตคิดเมตตา โปรดจำหมู่ ข้าพเจ้าไว้ ขอทั้งศาสตราและสรรพอาวุธ ทั้งอุบัติเหตุอาเพทภัย ทั้งคุณไสยยาพิษ ผู้คิดเป็นศัตรูหมู่พาล จงอย่าได้ทำอันตรายทั้งหมด หากมีผู้ที่คิดคดทรยศ ต่อสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ โปรดขจัดให้สิ้นไป อย่าให้ทำการณ์สิ่งใดสำเร็จ จงได้สูญหายมลายไป ด้วยภัยของตนเอง

ขอให้พ้นจากทุพภิกขภัย คือความอดอยากยากจน และพ้นจากภัยธรรมชาติทั้งปวง คือฟ้าผ่า ลมแรง ไฟไหม้ น้ำท่วมใหญ่ และแผ่นดินไหว เป็นต้น สัพพะทุกข์ สัพพะโศก, สัพพะโรค สัพพะภัย, สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร, จงพินาศหมดสิ้นไป ด้วยชัยมงคลทั้งหลาย

เมื่อกาลเวลาที่มาถึงไซร้ ขอให้มีผู้บริหาร บ้านเมืองที่ทรงธรรม คนดีเข้ามารักษาประเทศชาติ เพื่อให้ประชาราษฎร์มั่งคั่งเกษมศรี ให้มีความอยู่ดีกินดี พืชสวนไร่ในนาอย่าได้เสียหาย ค้าขายก็ขอให้ได้กำไรดี

อีกทั้งแร่ธาตุทองคำ และน้ำมันทั้งหลาย อันเป็นทรัพยากรของชาติ ขอจงได้ปรากฏโดยเร็วพลัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาวไทย จนถึงเข้ายุคชาวศรีวิไล แล้วมีความรุ่งเรืองไปในอาณาประเทศ เพื่อจะสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา อันจะแผ่ไปในภายภาคหน้า ตามพุทธพยากรณ์ไว้ว่า หลังกึ่งพุทธกาลแล้ว พระศาสนาจะรุ่งเรืองอีก วาระหนึ่ง

บัดนี้ใกล้จะครบ ๒๐ ปี ตามที่หลวงพ่อบอกไว้ว่า จะเข้าถึงยุคอภิญญาใหญ่ หากมีบุญ วาสนาบารมี ขอให้มีผู้ปฏิบัติได้ เพื่อช่วยกันประกาศพระศาสนา เป็นการขจัดภัยจากอลัชชี คือผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย

สาธุ.. ด้วยอำนาจแห่งสัจจะอธิษฐานนี้ ขอพระบารมีทุกท่านได้โปรดประทานพร ให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพระองค์ อันนับเนื่องอยู่ในศากยวงศ์ ถ้าหากคงไม่เกินวิสัย ขอให้เป็นไปตามนั้น และให้สามารถปฏิบัติตนจนได้ผล ทั้งสุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ และปฏิสัมภิทัปปัตโต โดยฉับพลัน นั้นเทอญ...”

(และในวันนี้จะมีพิธีบวงสรวงเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเป็นการทำพิธีสืบชะตาชีวิตอีกด้วย จึงให้ทุกคนตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้ท่านช่วยกำจัด ปัดเป่าเคราะห์กรรมทั้งหลายให้สูญสิ้นไป)

คล้ายกับวันมหาสมัย


เมื่อกล่าวจบดังนี้แล้ว ต่อจากนั้นจึงได้ อาราธนาพระเดชพระคุณหลวงพ่อกระทำมหาพิธีบวงสรวง จึงนับเป็นครั้งแรกในการอัญเชิญ ผู้ทรงคุณความดีทั้งแสนโกฏิจักรวาล เพื่อเสด็จ มาประชุมพร้อมกันเป็นจำนวนมาก คล้ายกับ วันมหาสมัย ซึ่งจะเกิดขึ้นในสมัยที่พระพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่เท่านั้น

ในคราวที่เทพเจ้ามาประชุมพร้อมกัน เต็มจักรวาลนั้น พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง จะเกิด วันมหาสมัย คือวันที่เหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย มาชุมนุมพร้อมกันเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่ง เหตุการณ์ครั้งนี้ก็ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเช่น กันหลังจากกึ่งพุทธกาลนี้ แล้วจะไม่เกิดขึ้นอีก เลย จนตราบเท่าสิ้นอายุพระพุทธศาสนา

แต่วันสุดท้ายของการสิ้นสุดพระพุทธศาสนานั้น พระบรมสารีริกธาตุจากที่ต่างๆ จะเสด็จมารวมกัน ปรากฏเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อทรงแสดงธรรมโปรดบรรดา เหล่าเทพอัปสรทั้งหลายเป็นวาระสุดท้าย หลังจากนั้นเตโชธาตุจะบันดาลขึ้นเผาผลาญจนหมดสิ้นไป จึงถือว่าหมดอายุพระพุทธศาสนาจริงๆ

ครั้นเสียงเทปของหลวงพ่อจบลงแล้ว ทุกคนตั้งใจอธิษฐานและนมัสการพระรัตนตรัย ด้วยความเคารพ ความเงียบสงบยังปรากฏอยู่ ผู้เขียนจึงกล่าวต่อไปอีกว่า ขอให้ทุกท่านตั้งใจขอ ขมาโทษโปรดตั้ง นะโม ๓ จบแล้วว่าตามดังนี้

“ภันเต ภควา..ข้าแด่องค์สมเด็จพระผู้ มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ หากข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินพระองค์ ด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี มิได้เจตนาก็ดี ทั้งต่อหน้า หรือลับหลังก็ดี

ในขณะที่ยังท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสาร นับตั้งแต่พระองค์ทรงปรารถนาพระโพธิญาณ ได้บำเพ็ญพระบารมีมาจนตราบเท่ากาลตรัสรู้ ในระหว่างนี้ ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อาจจะเคยเกิดพบแล้วสบประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินพระองค์ ถ้าหากจะพึงมีโทษเพียงใด ขอองค์สมเด็จพระจอมไตรได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบ เท่าเข้าสู่พระนิพพานเถิด..พระพุทธเจ้าข้า” ต่อไปจะเป็นการเจริญพระพุทธคุณ และ กล่าวคำนมัสการ ลายลักษณ์พระบาท พร้อมกัน แต่ก่อนที่จะสวดนั้น ขอให้ทุกคนตั้งใจนึกถึงรอยพระพุทธบาททั้ง ๕ แห่ง ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ศรีลังกา ๒ แห่ง ของที่เรา ๓ แห่ง และทั่วทุกภาคของประเทศไทย เรียกว่าไหว้รอยพระพุทธบาทที่ปรากฏอยู่ทั่วโลกก็ว่าได้..”

หลังจากกล่าวคำนมัสการลายลักษณ์แล้ว ก็จะเป็น “การฟ้อนรำบวงสรวง” ทั้ง ๔ ภาค ซึ่งยังอยู่ในเหตุการณ์ “จำลองวันปรินิพพาน” จะติดตามได้ในตอนต่อไป..สวัสดี.

◄ll กลับสู่ด้านบน



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2034
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 19/8/10 at 09:30 Reply With Quote



ความเดิมจากตอนที่แล้ว ได้เล่าเรื่อง การขออาราธนาบารมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อ เพื่อกระทำมหาพิธีบวงสรวง เป็นการอัญเชิญ ท่านผู้มีคุณทั้งหลาย ได้โปรดเสด็จมาประชุม พร้อมกัน เพื่อเป็นสักขีพยานที่บรรดาลูกหลาน ของหลวงพ่อ ได้สร้างคุณงามความดีกันเป็น กรณีพิเศษ

นั่นก็คือการจัด งานพิธีสมโภชรอยพระพุทธบาทรวมกันทั้ง ๔ ภาค พร้อมกับ งานพิธีจำลองเหตุการณ์คล้ายวันปรินิพพาน โดยการจัดขบวนอัญเชิญเครื่องสักการะ เช่นบายศรี ที่ได้จัดทำอย่างประณีตและสวยงาม มีลักษณะ รูปแบบตามประเพณีนิยมของแต่ละภาค

หลังจากขบวนแห่เดินเข้ามาในปะรำพิธี แล้ว จึงประกาศแนะนำผู้ร่วมงานทั่วทุกภาค เพื่อให้แต่ละภาคได้อนุโมทนากัน เป็นการรวม น้ำใจระหว่างลูกศิษย์ของหลวงพ่อที่อยู่ห่างไกล เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ให้ได้รู้จักกันแต่ละภาค

เราจึงได้นัดมารวมตัวเพื่อจัด งานรวมภาค กัน ณ ที่นี้ จึงถือว่าเป็น งานพิธีสมโภชพระแท่นดงรัง ไปพร้อมๆ กัน

จากหลักฐานที่ได้ค้นคว้ามายืนยันแล้ว จะเห็นว่าเมืองไทยเรามีโบราณสถานที่สำคัญ มากมาย จึงทำให้รู้ร่องรอยของการประกาศ พระพุทธศาสนา โดยที่องค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมาโปรดคนไทยตั้งแต่ สมัยพุทธกาลแล้ว แต่เป็นเพราะเราไม่ค่อยจะ เชื่อคนโบราณ จึงทำให้ไม่รู้คุณค่าของดีที่มีอยู่ ในเมืองไทย

ฉะนั้น “คณะตามรอยพระพุทธบาท” จึงจำต้องฟื้นฟูโบราณสถานที่คู่บ้านคู่เมืองมา แต่อดีตกาล พร้อมทั้งช่วยสืบสานรอยไทย คือ การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมไทยมิให้สูญสิ้น ไป โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก “ปรากฏการณ์ พิเศษ” แทบทุกแห่งที่ได้ไปสักการบูชา ทำให้ เกิดความศรัทธามั่นคงยิ่งขึ้น

จนกระทั่งมาถึง งานรวมภาค เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๙ ในขณะที่จะทำพิธีมหา บวงสรวง จึงได้ร่วมกันอธิษฐานเป็นกรณีพิเศษ คือขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายรับรองความเชื่อถือ เพื่อช่วยให้คลายความสงสัย หากกาลเวลามา ถึงไซร้ ขอทุกสิ่งจงได้ประจักษ์เป็นสักขีพยาน

ปรากฏว่าการจัดงานในวันนั้น ท่ามกลางสนามกีฬาฟุตบอล ปกติก่อนวันงาน ๒ วัน ได้ไปเตรียมจัดสถานที่ เช่น จัดโต๊ะบวงสรวง และกางเต้นท์ เป็นต้น ผลปรากฏว่าแดดร้อนเหลือเกิน จะมีฝนตกบ้างในตอนเย็นๆ แต่คนที่นั่นบอกว่าปกติปลายเดือนเมษายน อากาศ ที่นั่นจะร้อนอบอ้าวมากเป็นพิเศษ

แต่เมื่อถึงวันงานจริงๆ อากาศที่เคย เร่าร้อน แสงแดดที่เคยแผดเผาอยู่เป็นนิจ กลับกลายมาเป็นมิตรอย่างน่าประหลาดใจ แต่ที่น่า เศร้าก็คือว่า..น้ำประปากลับไม่ไหลมาให้ใช้เลย นับตั้งแต่ก่อนงาน ๒ วันจนถึงวันงาน

แต่ที่สามารถจัดงานให้ผ่านพ้นไปได้ ก็ เป็นความสามารถของ ชาวคณะท่าเรือ มี คุณสมศักดิ์ เป็นต้น ได้ช่วยติดต่อรถบรรทุกน้ำจากเทศบาลมาเติมในแทงค์น้ำให้ตลอดวันงานจึงสามารถจัดงานให้ผ่านไปได้อย่างน่าใจหาย

ต่อมาก็ได้ประทับใจในสิ่งที่ขาดหายไป คือ นับตั้งแต่เช้าไปจนถึงเย็น ก่อนวันงานแดดที่เคยแผดเผาอยู่ตลอดทั้งวัน กลับหายไปอย่าง ไม่น่าเชื่อ ดังจะสังเกตได้จากภาพถ่ายทุกรูปจะไม่มีเงาของคนหรือวัตถุสิ่งของเลย อากาศจะคลึ้มอยู่ตลอดทั้งวัน บางครั้งก็จะมีฝนปรอย ลงมาร่วมพิธีชั่วขณะหนึ่ง

ในขณะที่ทำพิธีอยู่นั้น บางคนมีธุระจำเป็นต้องกลับก่อน แล้วได้มาเล่าให้ฟังในตอน หลังว่า ตนเองได้ขับรถออกไปจากวัด ได้พบ ฝนตกหนักอยู่โดยรอบๆ เว้นเฉพาะบริเวณวัด พระแท่นดงรังเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้อากาศ บริเวณปะรำพิธีเย็นสบายๆ มีลมพัดโชยมาเบาๆ อยู่เสมอ การที่น้ำประปาในวัดไม่ไหล จึงถือ เป็นการแก้เคล็ดไปโดยปริยาย เพราะทุกท่าน ก็เดินทางโดยปลอดภัย แม้งานก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ปรากฏการณ์พิเศษอย่างนี้ จึงน่าเชื่อว่าโบราณสถานที่สำคัญในเมืองไทย เป็นของที่เกิดขึ้นจริงตั้งแต่สมัยพุทธกาล ทั้งนี้ แล้วแต่ ความเชื่อของแต่ละคน แต่ตามที่ได้ไปจัดงาน กลับมาแล้ว ไม่มีใครมาซักถามด้วยความสงสัย ว่าจะเป็นที่เสด็จดับขันธปรินิพพานจริงหรือไม่ เพราะทุกคนได้เห็น..ได้พบ..และได้ประสบมากับตนเอง จากจำนวนทั้งหมดหลายพันคนในวันนั้นแล้ว พร้อมที่จะเป็นพยานยืนยันกันต่อไป

เป็นอันว่า หลังจากพิสูจน์ความจริงด้วยการอธิษฐานแล้ว ทุกคนต่างก็มีความเชื่อมั่น จึงได้ร่วมใจกันจัด งานพิธีจำลองเหตุการณ์ วันปรินิพพาน ด้วยชุดแต่งกายย้อนยุคสมัยพุทธกาล พร้อมด้วยรูปจำลอง (ทำด้วยกระดาษ) ขององค์ สมเด็จพระบรมศาสดา โดยที่มีลักษณะบรรทม อยู่บนพระแท่นที่ปรินิพพาน เพื่อจะได้ทำพิธี จำลองเหตุการณ์ตอนถวายพระเพลิง ให้เกิด สมจริงสมจังกันขึ้นมา



คำชี้แจง (อยู่ในหนังสือตามรอยพระพุทธบาทเล่ม ๑)

แต่อาจจะมีบางท่านบ้างไหม..ที่ไม่เข้าใจได้กล่าวขานว่า เป็นการไม่สมควรที่จุดไฟเผารูปพระพุทธเจ้า ผู้เขียนจึงถือโอกาสนี้ชี้แจงแถลงไข เพื่อความเข้าใจให้กระจ่าง เนื่องด้วยการจัดงานในครั้งนี้ ได้จัดทำตามแบบอย่างของที่อื่น

เพราะการจัดงานพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพนั้น วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์ ก็ได้จัดทำเป็นประเพณีกันมานานแล้ว ถ้าไม่เชื่อก็ลองไปสืบถามชาวอุตรดิตถ์ได้ เพราะเขาทำกัน มา ๑๐๐ กว่าปีแล้ว โดยทางวัดได้จัดทำรูปพระพุทธเจ้าจำลอง แล้วมีการจุดไฟถวายพระเพลิงกันจริงๆ

ถ้าจะคิดไตร่ตรองกันแล้ว ก็ไม่เห็นจะเป็นการปรามาสพระพุทธเจ้าตรงไหน เพราะเรามิได้ทำกันเล่นๆ โดยขาดความเคารพ แต่เราทำไปเพื่อเป็นการจำลองเหตุการณ์ หวังจะให้ เกิดบุญกุศลครบถ้วนทุกประการ เหมือนกับผู้ ที่ได้เคยเกิดทันคราวงานถวายพระเพลิงจริงๆ

ทั้งนี้ จึงมิได้เอาไฟไปเผาด้วยความประ สงค์ร้าย หรือหวังจะทำลายรูปพระพุทธเจ้านั้น เพราะเขาสร้างมาเพื่อที่จะเผากันโดยเฉพาะ เหมือนกับ วัดมหาธาตุ จ.อุตรดิตถ์ นั่นแหละ งานนี้จึงทำไปด้วยความเคารพ ด้วยเจตนาที่ เป็นบุญ ไม่ใช่เจตนาที่เป็นบาป จึงขอให้ดูที่เจตนาด้วย หวังว่าคงจะช่วยให้เข้าใจ เพราะ คนที่จะปรามาสจริงๆ นั่นไม่ใช่ใคร..ก็คือตัวเราเองนั่นแหละ..

จึงขอเตือนไว้ว่า ควรจะขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัย มิฉะนั้นจะเกิดโทษต่อการบรรลุมรรคผลของตนเอง เพราะไปกล่าวโทษผู้แสวง หาหนทางพ้นทุกข์ด้วยกัน และจะทราบดีต่อเมื่อเราจากโลกนี้ไปแล้ว จึงขอให้ทบทวนวิชา “มโนมยิทธิ” ให้ดี ตามที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนไว้ เพราะคนที่เขาได้จริงๆ จะไม่เข้าใจคลาด เคลื่อนอย่างนี้แน่นอน

ฉะนั้น การเป็นโทษจากที่ตนเองเข้าใจ ผิดไม่เป็นไร แต่ถ้าทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดไปด้วย จะช่วยให้เกิดโทษมหาศาล ณ โอกาสนี้ จึงขอเตือนลูกหลานหลวงพ่อด้วยความหวังดีว่า การที่เรามารู้จักและได้ร่วมทางสร้างบุญบารมีกัน ในระหว่างทาง อาจจะมีการกระทบกระทั่งล่วง เกินกันเป็นธรรมดา แต่พยายามหักใจให้อภัย กันไว้ ถือว่าพวกเราไม่ใช่คนอื่นไกล ได้เคยเป็นญาติพี่น้องกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว เราไม่ใช่จะเพิ่งรู้จักกันสักกะหน่อย...

ถ้าหากเราได้ประมาทพลาดพลั้งล่วง เกินซึ่งกันและกัน อย่าถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือไม่เป็นไร เพราะเราอาจจะไปล่วงเกินต่อ ผู้ที่มีคุณกับเรามาก่อน เช่น ผู้นั้นอาจจะเคยเป็นพี่เป็นน้อง เป็นสามีภรรยา เป็นบิดามารดา ที่เคารพ หรืออาจจะพบกับบุตรธิดา อันเป็นที่รักของเรามาแต่ชาติปางก่อนก็ได้
โดยเฉพาะพวกเราในกลุ่มพุทธบริษัทของหลวงพ่อ ท่านได้เคยบอกแล้วว่า ได้ร่วมสร้างบุญความดีกันมาแล้วมากมาย และได้เกิดพบองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามาแล้วหลายวาระ บางคนก็เคยปรารถนาพุทธภูมิมาก่อน บางคนก็จัดอยู่ในปรมัตถบารมี บางท่านอาจจะมีคุณธรรมเป็นพระอริยเจ้าแล้วก็ได้

ผู้เขียนจึงขอย้ำเตือนว่า ขอให้พวกเรา ทุกคน จงสังวรณ์ระวังไว้ให้มาก อย่าพยายาม สร้างกรรมที่เป็นโทษหนัก การอธิษฐานขอพระ นิพพานในชาตินี้ของท่านนั้น อาจจะเป็นหมัน ก็ได้ เพราะในขณะที่สร้างความดี ถ้ามีการ ล่วงเกินกัน ท่านคงจะขุ่นข้องหมองใจไปบ้าง ต่อผู้ร่วมสร้างบุญบารมีด้วยกัน

ทั้งนี้ ท่านอาจจะผิดพลาดไปล่วงเกิน ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่เป็นพระอริยเจ้า แต่ก็ได้สร้างบุญบารมีตามพระเดชพระคุณหลวงพ่อมาด้วย กันอย่างน้อยเป็นเวลา ๑๖ อสงไขย ก็ถือว่าเป็น ผู้ทรงคุณความดี ถ้าเราไปล่วงเกินซึ่งกันและกัน ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะเจตนาหรือไม่ ก็ตาม กรรมเพียงเล็กน้อยเหล่านั้น จะพลันเป็นโทษหนักทันที อาจจะเป็นอุปสรรคอันตราย ทำให้ขวางกั้นหนทางแห่งการบรรลุมรรคผลแก่ ตนเองได้ในที่สุด

ขอเล่าเรื่องราวกันต่อไปว่า ในตอนที่แล้วได้ จำลองเหตุการณ์วันปรินิพพาน มาถึงตอนที่มัลลกษัตริย์และชาวเมืองกุสินาราได้ ถวายสักการบูชา นับตั้งแต่วันที่องค์สมเด็จพระ บรมศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๖ เรียกว่า วันวิสาขบูชา จนถึงวันที่ ๗ คือ วันแรม ๘ ค่ำ กลางเดือน ๖ หรือที่เรียกว่า วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวาย พระเพลิงนั่นเอง

ในครั้งนั้น ได้จัดขบวนอัญเชิญพระพุทธสรีระจากสวนสาลวัน แล้วเข้ามาในเมือง กุสินารา ขณะนั้น นางมัลลิกา ผู้เป็นชายาของ ท่านพันธุลเสนาบดี ได้เข้าไปถวายเครื่องอาภรณ์ มหาลดาประสาธน์ จึงทำให้พระบรมศพงามผ่อง ใสยิ่งนัก เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่จึงได้อัญเชิญพระ บรมศพไปสู่ มกุฎพันธนเจดีย์ เพื่อทำพิธีการ ถวายพระเพลิงกันต่อไป

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ผู้จัดก็ ได้บรรยายไปตามบทที่ได้เรียบเรียงจาก “พุทธประวัติ” แล้วมีผู้แสดงประกอบได้ด้วยอย่าง สมบทบาท ช่วยให้เกิดบรรยากาศเหมือนกับ ผู้ชมได้อยู่ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

ฉะนั้น ก่อนที่จะมีการ จำลองเหตุการณ์คราวถวายพระเพลิง อันเป็นตอนที่ ๒ นั้น พวกเราก็ได้จัดบายศรีรวมภาค เพื่อทำพิธีบวง สรวงกันก่อน เป็นการอัญเชิญท่านผู้เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนา และผู้ที่รักษาอาณาเขตพระพุทธศาสนา ทั้งหมื่นโลกธาตุ ทั่วแสนโกฏิ จักรวาล ที่เรียกว่า วันมหาสันนิบาต อันเป็น วันคล้ายกับ วันมหาสมัย ที่เกิดขึ้นครั้งเดียวในสมัยพุทธกาลนั่นเอง และเหตุการณ์ครั้งนี้ก็จะ มีเพียงครั้งเดียวเช่นกันในสมัยหลังพุทธกาล

เมื่อท่านเจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรัง และเจ้าอาวาสรอยพระพุทธบาททุกภาค ได้จุดธูปเทียนที่โต๊ะบวงสรวงที่วางพานบายศรีไว้แต่ละภาคแล้ว จึงเปิดเทปหลวงพ่อบวงสรวงและนมัสการพระรัตนตรัย แล้วจึงกล่าวคำนมัสการ ลายลักษณ์พระบาท พร้อมกัน

ครั้นเสร็จสิ้นพิธีสักการบูชาแล้ว ต่อ จากนั้นจะเป็นการ ฟ้อนรำบวงสรวง เพื่อน้อม ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เช่นเดียวกับบรรดามัลลกษัตริย์และชาวเมือง กุสินาราที่ได้ร่วมกันจัดงานวันปรินิพพานในครั้ง กระนั้น นอกจากจะบูชาด้วยของหอมและดอกไม้แล้ว ท่านยังบูชาด้วยการฟ้อนรำ ขับร้องและประโคมดนตรี จนครบ ๗ ราตรี แล้วจึง จะทำการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

สำหรับงานรวมภาคในครั้งนี้ ขอบอก ตามตรงว่าเป็นภาระที่หนักมาก แต่อาศัยคุณ ความดีของลูกหลานหลวงพ่อ ต่างก็มารวมตัว ช่วยงานกันเป็นอย่างดี อะไรที่ขาด..สิ่งใดที่ไม่ มี..สิ่งใดที่บกพร่อง...ทุกคนทำด้วยความเต็มใจ จัดเป็นทีมเวอร์คที่เข้มแข็งมาก มีความคล่อง ตัวในงานพิธีทุกอย่าง ทุกท่านไม่เกี่ยงงอนกัน ทำด้วยความเสียสละ หวังที่จะสนองพระคุณ ความดีของพระพุทธเจ้า ตลอดถึงครูบาอาจารย์ ทั้งหลาย อันมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นที่สุด

ความกตัญญูเท่านั้นจะเป็นพลังให้พวกเราได้มีความมั่นคงในพระศาสนา และสามารถ รวมตัวกันได้ยั่งยืน ด้วยการติดตามไปร่วมงาน ในภาคอื่นๆ อีก หลังจากงานในภาคของตน เองเสร็จแล้ว พวกเราก็ยังไม่ทอดทิ้งกัน ยัง ไปมาหาสู่อยู่เสมอ

กิจกรรมนี้จึงถือว่าเป็นการเร่งรัดบุญ บารมีกันจริงๆ เพราะผู้ที่กำลังใจไม่ถึง หรือ มีบุพกรรมเข้ามาตัดรอน มักจะท้อถอยกันไป เสียก่อน ก่อนที่จะไปได้ครบถ้วนตามกำหนดในปี ๒๕๔๒

ฉะนั้น งานตามรอยพระพุทธบาท จึงเปรียบเสมือนเป็นเครื่องกำหนดวัดบุญบารมี ของผู้ที่ปรารถนาพระนิพพาน โดยที่ไม่ต้องไป รอให้ถึงชาติหน้า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ท่านประทาน มาเฉพาะบุคคลเท่านั้น ผู้ใดที่อ่อนแอ ผู้นั้น ย่อมกลัวอุปสรรคเป็นธรรมดา ส่วนผู้ที่มีความ เข้มแข็ง ย่อมฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ ผู้นั้นย่อม ได้ชื่อว่าเป็นผู้เดินทางข้ามถึงฝั่งก่อน

การที่กล่าวเช่นนี้ มิได้หมายความว่าผู้ที่มิได้ไปกราบรอยพระพุทธบาทแล้ว จะไป นิพพานไม่ได้ อาจจะไปด้วยบุญอย่างอื่นก็ได้ แต่ถ้าได้กราบไหว้รอยพระพุทธบาทและพระ บรมธาตุแล้ว คิดว่าน่าจะช่วยให้เร็วขึ้น

เพราะสังเกตจากครูบาอาจารย์ในอดีตทั้งหลาย ส่วนใหญ่ท่านมักจะเดินธุดงค์ เพื่อประสงค์ไปกราบรอยพระพุทธบาทเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น หลวงปู่ปาน เคยนำหลวงพ่อไป กราบรอยพระพุทธบาทสระบุรี ซึ่งสมัยนั้นต้องผจญกับอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิด

ส่วนทางภาคเหนือ ครูบาศรีวิชัย ท่านจะ นิยมบูรณะพระเจดีย์และมณฑปครอบรอยพระ พุทธบาท เช่น วัดพระพุทธบาทสี่รอย เป็นต้น โดยเฉพาะ หลวงปู่สิม ท่านก็เคยเดินทางไป กราบมาแล้ว และยังมีพระธุดงค์สายอื่นๆ ก็ มักจะเดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาทกันอยู่ เสมอ เพราะเหตุแห่ง “ปุญญักเขตตัง” คือ เป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ จึงจาริกไปเพื่อแสวง หาโมกขธรรม คือธรรมอันเป็นเครื่องหลุดพ้น

หวังว่าเหตุผลดังกล่าวนี้ คงจะช่วยให้ ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจ และเกิดความอุตสาหะ พยายาม อย่างน้อยเราก็จะภูมิใจในสิ่งที่ทำได้ ยาก ถือว่าเป็นชัยชนะของตนเอง แล้วเราจะ มีความมั่นใจ เกิดพลังศรัทธาอย่างแท้จริง มุ่ง มั่นที่จะทำลายกิเลสให้เป็นสมุจเฉทไปในที่สุด

ต่อไปการฟ้อนรำบวงสรวงที่ได้จัดเตรียม ไว้ทุกภาค หรือที่เรียกกันว่า ฟ้อนรำ ๔ ภาค ก็พร้อมแล้วที่จะได้ออกมาร่ายรำ ซึ่งจะเริ่มด้วย ชุดฟ้อนรำจาก ภาคเหนือ ก่อน ต่อจากนั้นจะ เป็นชุดฟ้อนรำจากทาง ภาคอีสาน แล้วติดตาม ด้วย ภาคใต้ ภาคกลาง และ ภาคตะวันตก

สำหรับชุดฟ้อนรำจาก ภาคเหนือ เป็น การฟ้อนรำ ชุดฟ้อนเล็บ รวม ๒ คณะ โดย คณะเด็กนักเรียน โรงเรียนพร้าววิทยาคม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ จำนวน ๑๙ คน ควบคุม โดย อ.นิตยา บุญเป็งและ อ.ชาญยุทธ ชนบดี เฉลิมรุ่ง ส่วนคณะที่ ๒ เป็นคณะฟ้อนรำจาก วัดพระบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ นำโดยครูบาพรชัย เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทสี่รอย

เมื่อเสียงเพลงฟ้อนเล็บดังขึ้น ชุดฟ้อน รำทั้งสองคณะต่างก็เดินออกไปร่ายรำพร้อมกันผู้ชมที่นั่งอยู่ในเต้นท์ปะรำพิธีต่างมองด้วยความสนใจ เห็นชุดฟ้อนรำอยู่ในชุดไทยชาวเหนือ นุ่ง ผ้าพื้นมีลายสลับ ใส่เสื้อกระบอกแขนยาวสี แดงบ้าง สีเหลืองบ้าง โดยมีผ้าสไบพาดอยู่บนไหล่ แล้วเกล้าผมมวยคาดด้วยพวงมะลิ ต่าง รำฟ้อนด้วยท่าทางอ่อนช้อยงดงาม ย่างกรายไป มาอย่างช้าๆ ตามจังหวะเสียงปี่ซอเชียงใหม่ ที่บรรเลงได้อย่างไพเราะจับใจเหลือเกิน

ครั้นแล้วเสียงปรบมือก็ดังกึกก้อง เมื่อ การฟ้อนรำ ชุดฟ้อนเล็บ ของ ภาคเหนือ จบ ลงไปแล้ว ผู้ฟ้อนรำต่างก็มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่ม ใส เมื่อผู้ชมทั้งหลายตบมือให้กำลังใจ หลังจากเดินกลับเข้ามาในปะรำพิธีแล้ว ผู้จัดก็ได้ ประกาศเชิญคณะฟ้อนรำจากภาคอีสาน ออกไปฟ้อนรำเป็นภาคที่ ๒ ต่อไป

สำหรับการฟ้อนรำทางภาคอีสานในครั้งนี้ ได้จัดเตรียมกันมาถึง ๒ คณะ คือคณะ เด็กนักเรียนจาก อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ นำโดย อ.ณรงค์ และ คุณพงษ์พร ซึ่งต่อมา ได้ตั้งชื่อคณะของตนเองว่า คณะหมูยอ เพราะเหตุที่ได้นำหมูยอไปแจกให้ตามรถ ตอนจัดงานที่วัดพระบาทภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อปี ๒๕๓๘ ได้นำเด็กมา “เซิ้งกระติบ” จำนวน ๑๒ คน

ส่วนคณะที่ ๒ เป็นคณะที่ คุณเล็ก (ทำงานอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี) ได้ช่วยประสานงานกับทาง อ.เพ็ญศรี จากโรงเรียนสกลราชฯ จ.สกลนคร โดยมี คุณอนันต์ และ คุณพาสนา จากโคราช ได้นำรถบัสของตนเอง ๑ คัน ไป ช่วยรับส่ง “คณะฟ้อนรำ” จากจังหวัดสกลนคร จำนวนเด็กนักเรียนมัธยมชายหญิงและครูบา อาจารย์ผู้ควบคุมอีกหลายท่าน รวมแล้ว ๕๕ คน คณะนี้ได้เตรียมฟ้อนรำไว้ ๓ ชุด ดังนี้

ชุดที่ ๑ ชุดบูชาพระธาตุ โดยคณะนักเรียน ร.ร.สกลราชวิทยานุกูล

ชุดที่ ๒ ชุดฟ้อนสาวภูไท โดยคณะนักเรียน ร.ร.ร่มเกล้าวิทยา

ชุดที่ ๓ ชุดฟ้อนหางนกยูง โดยคณะนักเรียน ร.ร.ร่มเกล้าวิทยา

คณะวงดนตรีพื้นเมือง โปงลาง จาก นักเรียน ร.ร.ธาตุนารายณ์วิทยา

พิธีกรผู้บรรยาย คือ อ.สงวนศรี และ อ.เพ็ญศรี เป็นผู้ประสานงาน โดยมี อาจารย์เจนยุทธนา (หลวงปู่ภูพาน) วัดภูดินแดง เป็นผู้ให้การสนับสนุนเครื่องแต่งกาย ทั้งนี้ อ.เพ็ญศรี ได้รับหน้าที่เป็นผู้จัดทำบายศรีของ ภาคอีสาน มาร่วมด้วย จึงช่วยให้บายศรีได้มีครบทุกภาค ตามความประสงค์ทุกประการ

หลังจากฟ้อนรำ “ภาคอีสาน” จบลง ไปแล้ว ได้ยินเสียงปรบมือพร้อมทั้งเสียงของความชื่นชมกันทั่วไป เพราะเครื่องแต่งกายก็ สวยงามทั้งชายและหญิง ผ้าไหมไทยที่สวมใส่อยู่ในชุด “บูชาพระธาตุ” ขณะที่เยื้องกราย ไปด้วยท่วงท่าอันสง่างาม พร้อมกับถือพานดอก ไม้และบายศรีไว้ในมือ แล้วเดินเข้าไปถวายไว้ ด้านหน้าโต๊ะบวงสรวง เพื่อบูชาพระพุทธสรีระ ศพด้วยความเคารพ

ในขณะที่ชุด “บูชาพระธาตุ” เดินกลับ เข้ามา ฟ้อนชุดที่ ๒ คือ “ฟ้อนสาวภูไท” ก็ เดินออกไปร่ายรำอย่างอ่อนช้อย คล้ายฟ้อน เล็บทางภาคเหนือ และฟ้อนชุดที่ ๓ ได้แก่ “ฟ้อนหางนกยูง” ก็ออกมาเต้นรำในชุดแต่ง กายสมัยโบราณจริงๆ ในมือทั้งสองข้างของ ผู้ร่ายรำได้แกว่งไกวไปมาด้วยหางนกยูง ตาม จังหวะของเสียงกลองที่เร้าใจ สร้างความสนุก สนานให้แก่ผู้ชมในวันนั้นกันอย่างมากมาย
ต่อจากนั้นก็เป็นชุดฟ้อนรำของ ภาคใต้ เป็นการฟ้อนบวงสรวงชุด ระบำศรีวิชัย โดยการแสดงของ คณะนกยูง จากหาดใหญ่

ต่อไปเป็นการฟ้อนรำของ ภาคกลาง ในชุด ระบำลพบุรี เป็นการรำของคณะนักเรียน ร.ร.เมืองใหม่ จ.ลพบุรี

หลังจากการรำชุดนี้ผ่านไปแล้ว ก็เป็นการรำของภาคสุดท้ายในชุด ระบำทวาราวดี จาก คณะศิษย์เก่า ร.ร.พระสุธรรมยานฯ ซึ่งมี อ.ต้อย เป็นผู้ฝึกสอน และ คุณวัลภา ได้เป็นผู้ ประสานงาน การฟ้อนรำทุกชุดได้รับเสียงปรบมือดังกึกก้องไปทั่วบริเวณนั้น

เมื่อการฟ้อนรำ “บวงสรวง” ได้เสร็จ สิ้นครบทุกภาค เพื่อเป็นการบูชาคุณพระรัตน ตรัยแล้ว พระสงฆ์ก็ได้ออกไปฉันภัตตาหาร เพลที่ศาลา ส่วนฆราวาสก็พากันไปทานอาหาร ที่ได้จัดเลี้ยงอยู่ในเต้นท์ใกล้ๆ ปะรำพิธีนั้น

สำหรับผู้จัดและพระชาญณรงค์ซึ่งเป็นผู้ช่วยควบคุมเครื่องเสียงนั้น ได้นั่งฉันเพลอยู่ ตรงบริเวณนั้น เพราะพิธีการยังต่อเนื่องกันอยู่ ไม่สามารถปลีกตัวไปได้เลย ฉะนั้น ก่อนที่จะ รับประทานอาหารกลางวัน จึงได้ให้ผู้แต่งกาย ชุด “ฝ่ายในราชสำนัก” หลายคน ได้ช่วยกัน อัญเชิญผ้าคลุมพระแท่นพร้อมทั้งหมอนขวาน ที่ได้ตัดเย็บอย่างสวยงามโดย คุณวิไล และพี่สาวเข้าไปใน “วิหารพระแท่นปรินิพพาน”

ส่วนบรรยากาศหน้าปะรำพิธี ในระหว่าง ที่รับประทานอาหารกลางวัน โดยการจัดเลี้ยง ต้อนรับของคณะชาวเมืองกาญจน์นั้น ได้มีการแสดงของ คณะกลองยาว จากจังหวัดอยุธยา สลับกับการแสดงดนตรีพื้นเมือง สะล้อซอซึง จากภาคเหนือ ควบคุมโดย อ.ไพโรจน์ จิตเจริญ ได้ร่วมบรรเลงขับกล่อมไปด้วยกัน

ต่อจากนั้นเป็นการแสดงของทางภาค เหนืออีก ได้แก่ การฟ้อนเล็บ ชุดพิเศษ คือเป็น การฟ้อนเล็บโดยเด็กนักเรียนชาย จำนวน ๑๐ คน จาก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ที่เรียกว่าเป็น “ชุดพิเศษ” นั้นก็เป็นเพราะว่าการฟ้อนเล็บ โดยทั่วไป มักจะนิยมเป็นผู้หญิง แต่คราวนี้ อ.อำไพ สุจนิล ขอนำนักเรียนชายมาฟ้อน เล็บแทน เพื่อให้เกิดบรรยากาศอีกแบบหนึ่ง

เมื่อฟ้อนเล็บจบลงไปแล้ว การแสดง การฟ้อนดาบ ๑๒ เล่ม โดย อาจารย์สมบูรณ์ เพชรกันพุม จาก โรงเรียนบ้านสันทรายหลวงอ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ก็ได้ออกมาร่ายรำต่อไป นับเป็นศิลปะงดงามของไทยอีกแบบหนึ่ง

ในขณะที่พักทานอาหารกลางวันนั้น ได้ มีการแสดงดังที่กล่าวแล้ว ส่วนบางท่านหลัง จากทานอาหารเสร็จแล้ว ก็เข้าไปกราบนมัสการ ภายใน “วิหารพระแท่น” และด้านหลังของพระ วิหารก็มี “บ่อบ้วนพระโอษฐ์” แต่บางคนก็ได้ เดินขึ้นไปบน “เขาถวายพระเพลิง”

สมัยก่อนบนเขาถวายพระเพลิงนั้น จะ มีก้อนหินเล็กๆ มีรูปพรรณสัณฐานคล้ายกับ “เมล็ดข้าวสาร” บางเม็ดก็ใส บางเม็ดก็ขุ่น เป็นสีขาวบ้าง เป็นสีอื่นๆ บ้าง ชาวบ้านบาง คนบอกว่า สิ่งของเหล่านี้เป็นของศักดิ์สิทธิ์บน เขาถวายพระเพลิงมาตั้งแต่สมัยโบราณ

ครั้นมาถึงสมัยปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ จะมาเที่ยวสนุกสนาน ไม่ค่อยจะมีความเคารพ เลื่อมใส บางครั้งจะมีหนุ่มสาวขึ้นมานั่งจีบกัน บ้าง จึงทำให้ของศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้หายไปนาน แล้ว แต่ไม่ทราบว่านานเท่าไร นี้เป็นคำบอก เล่าของคณะท่าเรือที่ได้คอยประสานงานที่นั่น

แต่ก่อนที่จะจัดงาน “คณะเจ้าหน้าที่ของ เรา” ได้เดินทางไปติดต่อกับทางวัดก่อน เมื่อ เดือนมกราคม ๒๕๓๙ คือเตรียมงานก่อนประ มาณ ๓-๔ เดือน เมื่อขึ้นไปบนเขาถวายพระ เพลิง มีชาวบ้านที่นั่นได้นำ “ข้าวสารแก้ว” นี้มาให้พวกเรา บอกว่าของศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ที่หายไปนาน เวลานี้ได้กลับมามีขึ้นอีกแล้ว

คราวนี้ไม่ใช่เฉพาะ “ชาวบ้าน” แล้ว พวก “ชาวเรา” ที่ยังไม่ได้ต่างก็พากันไปค้นหาตามบริเวณนั้น ใครจะอธิษฐานต้องการเท่าไร ก็หาได้สมความปรารถนากันทุกคน



ประวัติวัดพระแท่นดงรัง

ก่อนที่จะจากลากันในฉบับนี้ จะขอนำ ประวัติวัดพระแท่นดงรัง มาเล่าไว้โดยย่อดังนี้

๑. เขาถวายพระเพลิง บริเวณที่ตั้งวัด มีเทือกเขาอยู่ ๒ หย่อม คือทางทิศตะวันตก เรียกว่า เขาถวายพระเพลิง มีมณฑปครอบ รอยพระพุทธบาทจำลอง อยู่บนยอดเขา ซึ่ง เดิมเป็น เชิงตะกอน อันเป็นที่ถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระ เรียกกันว่า มกุฎพันธนเจดีย์

๒. พระแท่นที่ปรินิพพาน ส่วนทางทิศ ตะวันออกเป็นเทือกเขาเตี้ยๆ ลาดไปทางเหนือ หินเชิงเขาที่ลาดลงไปนั้น มีลักษณะเป็นแท่น หินหน้าลาดเกลี้ยงเกลา คล้ายแท่นสำหรับคน นอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตาม หนังสือ ประวัติ ทางวัดก็ได้ยืนยันตามคติของคนโบราณ ที่เชื่อกันว่า “พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทม และ เสด็จดับขันธปรินิพพานบนแท่นนี้..”

สำหรับวิหารที่สร้างครอบพระแท่นไว้นั้น กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าหลังเดิมคงสร้างใน ราวสมัยรัชกาลที่ ๑ สภาพบริเวณทั่วไปเป็น ป่าไม้เต็งไม้รัง เดิมมี ต้นรังทั้งคู่ ขึ้นอยู่ริม พระแท่นข้างละต้น แล้วโน้มยอดเข้าหากัน

๓. บ่อบ้วนพระโอษฐ์ อยู่ทางด้านหลัง วิหารพระแท่น ซึ่งเป็นเทือกเขาเดียวกันกับ พระแท่นนี้ มีก้อนศิลาตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่ไม้ นานาพันธุ์ มีบ่อน้ำเล็กๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรม ชาติ มีน้ำใสสะอาดตลอดเวลา เชื่อกันว่า.. เป็นที่ซึ่ง พระพุทธเจ้าทรงลงพระโลหิตก่อนปรินิพพาน และได้บ้วนพระโอษฐ์ที่บ่อนี้

๔. วิหารทรมานพระกาย ติดกับวิหาร พระแท่นด้านทิศตะวันออก มีวิหารหลังหนึ่ง มีพระพุทธรูปปางทุกขกิริยา ตรงหน้าพระพุทธ รูปมีที่ตั้ง แท่นหินบดยา ซึ่งประชาชนจะมา อธิษฐานบดยาบำบัดรักษาโรคต่างๆ ตามความ เชื่อถือ ซึ่งมีผลปรากฏว่าหายมาแล้วมากมาย

๕. ปล่องพญานาค อยู่ข้างประตูทาง เข้าวัด มีสถานที่เป็นบ่อลึก ๑ บ่อ กล่าวกัน ว่าเป็นทางขึ้นของบรรดา พญานาค เพื่อมา นมัสการเชิงตะกอนที่ถวายพระเพลิงพระพุทธ สรีระบนเขาถวายพระเพลิง แต่ครั้งสมัยพุทธ กาล หรือที่เรียกกันว่า “ปล่องพญานาค” ที่ ปากบ่อมีอิฐโบราณก่อเป็นคันไว้ สำหรับกั้นดิน ที่จะพังลงไปทับบ่อ

๖. สวนนายจุนทะ ทางทิศเหนือของ องค์พระแท่น ระยะห่าง ๕๐๐ เมตร มีบริเวณป่า มีลักษณะเป็นสวน มีต้นไม้ เช่น มะม่วง มะตูม ตาลโตนด ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โดย กล่าวกันว่าเป็นสวนของ นายจุนทะ กุมารบุตร ผู้ถวายเนื้อสุกรอ่อนแด่พระพุทธเจ้าก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน

เป็นอันว่า ขอนำมาเล่าไว้แต่เพียงแค่นี้ สรุปความที่ผ่านมานั้น ได้เล่าเรื่อง พิธีจำลอง เหตุการณ์วันปรินิพพาน โดยมีผู้แสดงประกอบ เมื่อทำพิธีบวงสรวงและฟ้อนรำบวงสรวงทั้ง ๔ ภาคแล้ว ขณะที่พระสงฆ์ฉันเพลและญาติโยมทานอาหารกลางวันนั้น ก็มีการละเล่นจากภาค ต่างๆ สลับกันไป แล้วไว้พบกันฉบับหน้าตอน “พิธีจำลองเหตุการณ์วันถวายพระเพลิง” สวัสดี

โปรดติดตามตอนต่อไป งานรวมภาค ณ วัดพระแท่นดงรัง

◄ll กลับสู่ด้านบน



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2034
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 19/8/10 at 09:39 Reply With Quote



ตามที่ได้เล่าเรื่องไปแล้วนั้น เป็นการจัด งานพิธีสมโภชรอยพระพุทธบาท รวมกันทั้ง ๔ ภาค พร้อมกับ งานพิธีจำลองเหตุการณ์วันปรินิพพาน ซึ่งได้มีผู้แต่งกายย้อนยุคสมัยพุทธ กาล แล้วแสดงภาพประกอบไปตามคำที่บรรยาย โดยเริ่มจัดขบวนอัญเชิญเครื่องบายศรี ๖ ภาค และรูปภาพรอยพระพุทธบาททั้ง ๔ ภาค พร้อม ทั้งอัญเชิญราชรถอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธ สรีระจำลองของพระพุทธเจ้า

เมื่อได้อัญเชิญเข้ามาในบริเวณปะรำพิธีแล้ว จึงได้แจ้งวัตถุประสงค์ของการจัดงาน แล้ว อนุโมทนาการแด่ผู้ร่วมงานทุกภาค หลังจากนั้น จึงได้บรรยายเหตุการณ์วันปรินิพพาน จนมาถึงตอนที่ นางมัลลิกา ผู้เป็นชายาของท่าน พันธุล เสนาบดี ได้ถวายเครื่องประดับของตนอันมีชื่อ ว่า มหาลดาประสาธน์ เมื่อคลุมพระบรมศพแล้ว ปรากฏว่าพระพุทธสรีระงามโอภาสยิ่งนัก

ต่อจากนั้นจึงเริ่ม “มหาพิธีบวงสรวง” แล้วจึงกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย ขอขมาโทษ และคำนมัสการลายลักษณ์พระบาท ครั้นพิธีบวงสรวงและสักการบูชาเสร็จแล้ว จึงเป็นการ ฟ้อนรำบวงสรวง แต่ละภาค คือ:-
ฟ้อนเล็บ จากภาคเหนือ
ฟ้อนสาวภูไท จากภาคอีสาน
ฟ้อนระบำศรีวิชัย จากภาคใต้
ฟ้อนระบำลพบุรี จากภาคกลาง
ฟ้อนระบำทวาราวดี จากภาคตะวันตก



งานพิธีจำลองเหตุการณ์

วันถวายพระเพลิง

หลังจากฟ้อนรำเสร็จสิ้นแล้ว เป็นเวลา ฉันภัตตาหารเพลพอดี ในขณะที่พระฉันเพล และญาติโยมทานอาหารกลางวันนั้น ได้มีการ แสดงรำกลองยาว การฟ้อนเล็บของเด็กนักเรียนชาย การฟ้อนดาบ การบรรเลงของวงสะล้อ ซอซึง และวงโปงลาง เป็นต้น

ส่วนบางคนทานอาหารแล้ว ได้เข้าไปในวิหารพระแท่นบ้าง ขึ้นบนเขาถวายพระเพลิง บ้าง เป็นต้น จนกระทั่งถึงเวลาบ่าย เห็นว่า สมควรแก่เวลาแล้ว จึงได้ประกาศให้ทุกคน เข้ามานั่งในปะรำพิธีตามเดิม เพื่อจะได้เริ่มงานพิธีในตอนที่ ๒ กันต่อไป

แต่ก่อนที่จะได้บรรยายนั้น พนักงาน ผู้อัญเชิญพระบรมศพ ซึ่งได้แต่งกายสมมุติใน ชุดพระฤาษีและชีพราหมณ์อีกหลายคน ได้เข้า ไปถวายบังคม แล้วอัญเชิญราชรถ ที่อยู่ท่ามกลางโต๊ะบวงสรวงออกมาที่หน้าปะรำพิธี เพื่อที่ผู้ ชมจะได้เห็นโดยทั่วถึงกัน แล้วผู้จัดจึงได้เริ่มคำ บรรยายต่อไปว่า...

“ในตอนเช้า เราได้สมมุติเหตุการณ์ในวันปรินิพพาน บรรดามัลลกษัตริย์และชาวเมือง กุสินารา ต่างพากันบูชาพระพุทธสรีระศพ จน ได้กำหนดครบในวันที่ ๗ ซึ่งพวกเราก็ได้ย้อน เหตุการณ์มาถึงตอนนี้ ซึ่งในวันนั้นจะตรงกับ วันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ที่เรียกว่า วันอัฏฐมี บูชา คือ วันถวายพระเพลิง นั่นเอง

เมื่อขบวนแห่อัญเชิญพระบรมศพมาที่ มกุฎพันธนเจดีย์ ด้านทิศตะวันออกแห่งกรุงกุสินารามหานคร ถึงยังที่จิตกาธาน (เชิงตะกอน) ซึ่งได้จัดทำไว้ด้วย ไม้จันทน์หอม อัน งามวิจิตรนั้น มัลลปาโมกข ์ ทั้งหลาย (มัลลปาโมกข์ คือหัวหน้ามัลลกษัตริย์ ๘ องค์) จึงได้ตรัสถามวิธีการปฏิบัติพระพุทธสรีระต่อ พระอานนท์ ว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร..?”

(ในขณะที่กำลังบรรยายไปถึงตอนนี้ ได้ มีผู้แต่งกายสมมุติเป็นมัลลปาโมกข์ทั้ง ๘ คน มี คุณทนงฤทธิ์ เป็นต้น ซึ่งอยู่ในชุดเสื้อคลุม สีขาว ใส่หมวกขาวมียอดแหลม เหมือนกับ “พระยาแรกนาขวัญ” ต่างพากันออกมาแสดง ภาพประกอบไปด้วย แล้วผู้จัดจึงได้บรรยายตาม พุทธประวัติ ต่อไปอีกว่า)

“พระอานนท์จึงได้ชี้แจงตามพระพุทธประสงค์ ที่ทรงประทานแก่ตนเมื่อก่อนปรินิพ พานว่า พวกท่านพึงปฏิบัติในพระพุทธสรีระ ของพระตถาคต ให้เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระศพของ พระเจ้าจักรพรรดิ ฉะนั้น เขาปฏิบัติ ในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นอย่างไร เล่า...?

ดูก่อนท่านทั้งหลาย เขาห่อพระศพของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วห่อด้วยผ้าใหม่เป็นชั้นๆ ไปถึง ๕๐๐ ชั้น แล้วเชิญลงสู่รางทองคำอันเต็มไปด้วยน้ำมันหอม แล้วครอบด้วยรางทองคำอีกอันหนึ่ง ทำเชิง ตะกอนด้วยไม้หอมทั้งสิ้น แล้วจึงถวายพระเพลิง

ครั้นถวายพระเพลิงแล้ว ให้นำพระอัฏฐิ ธาตุไปก่อ พระเจดีย์ ไว้ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง เพื่อให้เป็นที่กราบไหว้สักการบูชาของประชาชน ทั้งหลาย เขาปฏิบัติในพระศพของพระเจ้าจักร พรรดิด้วยประการฉะนี้แล

พวกท่านพึงปฏิบัติด้วยการสร้างพระ เจดีย์ของตถาคตเจ้าไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ซึ่งบุคคลเหล่าใดจะยกพวงมาลัยและของหอมขึ้นสักการบูชา หรือจะยังจิตให้เลื่อมใสในพระ เจดีย์นั้น ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่บุคคลเหล่านั้นตลอดกาลนาน..”

เมื่อมัลลปาโมกข์ทั้งหลายได้ทราบ ด้วยอุบายดังนั้น จึงได้จัดการพันพระพุทธสรีระ ด้วยผ้าใหม่ แล้วซับด้วยสำลีอันบริสุทธิ์เป็นชั้นๆ ไปจนครบ ๕๐๐ ชั้น แล้วอัญเชิญลง ประดิษฐานในรางทองคำ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำมันหอม ครอบด้วยรางทองคำอีกอันหนึ่ง ตามคำ แนะนำของพระอานนท์ทุกประการ

ครั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงอัญเชิญหีบ ทองนั้นขึ้นประดิษฐานบนจิตกาธาน เพื่อทำการ ถวายพระเพลิงพระบรมศพขององค์สมเด็จพระ ทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าในโอกาส อันควรต่อไป

สำหรับรูปภาพเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นการแสดงลีลาประกอบโดย คณะศิษย์ ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ตามที่ได้อธิบาย ไว้ที่รูปภาพเหล่านั้น จะเห็นว่าทุกคนแสดงได้ อย่างสมจริงสมจัง เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นจริง โดยเฉพาะผู้ชมหลายพันคนในวันนั้น ต่างมองดูด้วยความประทับใจ คล้ายกับได้อยู่ ในบรรยากาศสมัยพุทธกาลจริงๆ เช่นกัน

หลังจากอัญเชิญพระพุทธสรีระ ซึ่งได้ ทำเป็นพระพุทธรูปจำลอง พร้อมกับทำหีบทองด้วยไม้อัดเช่นกัน เพื่อเป็นการจำลองจากคำใน พระไตรปิฎกที่เรียกว่า “รางทองคำ” มีลักษณะ เป็น ๒ อัน คือหงายอันหนึ่ง และคว่ำอันหนึ่ง แล้วนำมาประกบเป็นอันเดียวกัน

เมื่ออัญเชิญพระพุทธสรีระขึ้นบนเชิง ตะกอนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ชมที่นั่งอยู่ใน ปะรำพิธีแต่ละภาค ต่างก็กำลังสนใจว่าผู้จัด จะทำอะไรต่อไป เมื่อเห็นว่าทุกคนพร้อมแล้ว จึงได้เริ่ม พิธีการสรรเสริญเทิดพระเกียรติคุณแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก่อนที่ จะกล่าวคำนั้นก็ได้ขออาราธนาให้พระสงฆ์ขึ้น ไปนั่งบนพระเมรุมาศก่อน แล้วจึงเริ่มพิธีสดุดี ผู้มีพระคุณสูงสุดต่อไป โดยมีเสียงบรรเลงของ เพลง “ธรณีกันแสง” คลอขึ้นเบาๆ



คำสรรเสริญเทิดพระเกียรติคุณ

แด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า

ก่อนที่จะถึงพิธีถวายพระเพลิงกันต่อไป จะขอกล่าวถึง พุทธประวัติ โดยสังเขป แต่ ความจริงพุทธศาสนิกชนชาวไทยส่วนใหญ่ต่าง ก็ได้ทราบประวัติความเป็นมากันแล้ว ในที่นี้ จะขอพรรณนาถึงน้ำพระทัยขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า กว่า ที่พระพุทธองค์จะทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิ ญาณมาได้นั้น พระองค์จะต้องฝ่าฟันอุปสรรค และต้องทุกข์ยากลำบากพระวรกายเพียงไร

โดยนับตั้งแต่เสวยพระชาติในตอนต้น ที่ปรารถนาพุทธภูมิ จนมาถึงตอนสุดท้ายของ การบำเพ็ญบารมีเพื่อพระโพธิญาณนั้น จะต้อง เสียสละอวัยวะ สละชีวิต สละลูก สละเมีย ตลอดถึงทรัพย์สมบัติทุกประการ อันเป็นที่รัก ยิ่งของพระองค์ ยากที่ปุถุชนคนสามัญกระทำได้

แต่เพราะด้วยมีน้ำพระทัยเมตตาต่อสัตว์โลก ที่จะต้องประสบภัยไปในวัฏฏสงสาร พระองค์จึงทรงพระมหากรุณา หวังจะแสวงหา วิโมกขธรรม เพื่อรื้อสัตว์ขนสัตว์ให้พ้นจากห้วง ทุกข์ทั้งหลาย จะได้ข้ามฝั่งสังสารวัฏฏ์ด้วยการ กำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป ถึงแม้แต่ละชาติจะต้องพบกับความยุ่งยาก เพราะเหตุที่ พระเทวทัต อาฆาตพยาบาทจองเวร

แต่ก็หาทำให้พระพุทธองค์ทรงท้อถอย ไม่ กลับพยายามอดกลั้นข่มใจไว้ด้วยความขันติ เช่น คราวที่เสวยพระชาติเป็น พระดาบส ส่วนพระเทวทัตเกิดเป็น กษัตริย์ เมื่อได้ทรงสดับว่า ดาบสตนนี้บำเพ็ญ “ขันติธรรม” เป็นอารมณ์ จึงได้ทดสอบตบะของพระดาบส โดยสั่งให้คน ตัดแขนตัดขา จนกระทั่งลมปราณขาดสิ้นไป

หรือคราวเสวยพระชาติเป็น พญาภูริทัต นาคราช แม้จะโดนบ่วงบาศของนายพราน จน ได้รับความทุกขเวทนาเจ็บปวดแสนสาหัส แต่ ก็หาได้ทำให้น้ำพระทัยของพระโพธิสัตว์เจ้าให้ หวั่นไหวได้ พระองค์ได้ทรงตั้งจิตอยู่ในพระ ขันติธรรม คือการอดกลั้นความโกรธ เพราะ พระองค์ทรงเห็นประโยชน์ในอนาคตกาล พระ องค์จึงยอมเสียสละทุกสิ่ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคราวเสวยพระ ชาติเป็น พระเจ้าสีวิราช ครองเมืองสีพี พระ บาทท้าวเธอควักพระเนตรข้างหนึ่งประทานให้ แก่ พราหมณ์ตาบอด ทุกขเวทนาอันเหลือที่จะ ประมาณได้เกิดขึ้นกับพระองค์ พระโลหิตก็ได้ ไหลหยาดหยดออกมาจนเปียกพระภูษาที่ทรงนุ่ง พวกนางสนมกำนัลใน เหล่าอำมาตย์ ข้าราชบริพารทั้งหลาย ได้พากันหมอบร้องไห้ ต่างพากันกราบทูลทัดทาน เพราะสงสารใน พระองค์ แต่ก็หาทรงยับยั้งไม่ พระภูวนัยทรง อดกลั้นทุกขเวทนาไว้ แล้วตรัสสั่งให้แพทย์ รับพระเนตรไว้ด้วยมือซ้าย ถือศาสตราด้วย มือข้างขวา ตัดเส้นที่เกี่ยวดวงพระเนตรให้ขาด แล้วรับเอาดวงพระเนตรไปวางลงที่ฝ่าพระหัตถ์ ของพระเจ้าสีวิราชบรมกษัตริย์

พระบาทท้าวเธอได้ทอดพระเนตรข้าง ขวา ด้วยพระเนตรข้างซ้าย แล้วทรงประทาน ให้แก่พราหมณ์ผู้นั้น พร้อมกับตรัสว่า...

“พระสัพพัญญุตญาณ..ได้เป็นที่รัก ยิ่งกว่าจักษุนี้..ตั้งร้อยเท่า..พันเท่า..แสนเท่า.. การให้จักษุเป็นทานนี้..ขอจงเป็นปัจจัยแก่พระ สัพพัญญุตญาณนั้นเถิด..!”

พระโพธิสัตว์เจ้าได้ทรงพระดำริว่า การ ให้จักษุเป็นทานนี้เป็นการดีแล้ว แล้วก็เกิดพระ ปีติซาบซ่านทั่วพระสรรพางค์กาย จึงได้พระ ราชทานพระเนตรอีกข้างหนึ่งแก่พราหมณ์นั้น

นี้เป็นตัวอย่างของการเสวยพระชาติ ที่พระองค์ทรงบริจาคอวัยวะเป็นทาน และยังมีการบั่นพระเศียร แหวกพระอุระอีกด้วย เพราะ ฉะนั้น ในอดีตกาลที่ผ่านมา แม้แต่เลือดเนื้อ และชีวิตนี้ พระองค์ได้ทรงอุทิศมาตลอด ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป นับแต่ทอดพระวรกาย เพื่อถวายเป็นสะพานให้พระพุทธเจ้าทรงพระนาม ว่า พระพุทธทีปังกร เสด็จดำเนินพร้อมทั้งพระ สาวกทั้งหลาย แล้วได้รับพระพุทธพยากรณ์ว่า..

“นับตั้งแต่นี้อีกต่อไป ๔ อสงไขยกำไร แสนกัป หน่อเนื้อพระบรมพงศ์โพธิสัตว์พระ องค์นี้ จะได้ตรัสรู้เป็นพระศาสดาเอกในอนาคต กาล มีนามเรียกขานว่า.. พระสมณโคดม..”

น้ำพระทัยของพระองค์ที่ได้เสวยพระ ชาติเป็น สุเมธดาบส ในขณะนั้น จึงมีความ ชื่นบาน เหมือนกับจะได้สำเร็จสัพพัญญุตญาณ ในวันรุ่งขึ้น แล้วพระองค์จึงทรงตั้งมโนปนิธาน เร่งบำเพ็ญพระบารมี เพื่อแสวงหาพระโพธิญาณ ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสารอันยาวนาน เป็นทั้ง คนและสัตว์ หวังจะกำจัดกิเลสให้สิ้นไป แล้ว จะได้สั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลายอีกต่อไป จนได้รับพระพุทธพยากรณ์ในสำนัก ของพระพุทธเจ้า ผ่านไปแล้ว ๒๔ พระองค์ นับตั้งแต่ สมเด็จพระพุทธทีปังกร เป็นต้นมาจนกระทั่ง สมเด็จพระพุทธกัสสป เป็นที่สุด

หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้เสวยพระชาติเป็น พระเวสสันดร แล้วทรงบริจาคมหาทาน จน เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวถึง ๗ ครั้ง

เมื่อสวรรคตแล้วจึงได้อุบัติในสวรรค์ ชั้นดุสิต เสวยทิพยสมบัติอยู่นานถึง ๕๗๖ ล้านปี แล้วจึงได้จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้น ลงมาถือ กำเนิดในพระครรภ์แห่ง พระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระอัครมเหสีของ พระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ ไทยอาหม แห่งเมืองกบิลพัสดุ์

พระองค์ทรงประสูติตรงกับ วันศุกร์ อันเป็นวันเพ็ญ กลางเดือน ๖ ปีจอ ทรง พระนามว่า สิทธัตถะราชกุมาร เมื่อทรงพระ เจริญวัยอยู่ในปราสาท พระราชบิดาจึงให้ทรง อภิเษกสมรสกับ พระนางพิมพา (ยโสธรา) ผู้เป็นพระธิดาแห่ง เทวทหนคร จนมีพระโอรส องค์หนึ่ง นามว่า ราหุลกุมาร

ครั้นถึงกาลเวลาที่จะมาถึง จึงทำให้ น้ำพระทัยของพระโพธิสัตว์ ให้เบื่อหน่ายในเพศ คฤหัสถ์หวังจะตัดกามคุณที่วุ่นวาย ทั้งนี้ ด้วย คงจะเป็นเพราะอำนาจแห่งวาสนา ที่ได้บำเพ็ญ พระบารมีมาหวังที่จะบรรลุพระโพธิญาณ จึง ได้เสด็จออกบรรพชามหาภิเนษกรมณ์ หลังจาก ต้องระทมเพราะทรมานพระวรกาย

ผลสุดท้ายจึงได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัม โพธิญาณ เป็นพระศาสดาจารย์เอกของโลก สม พระหฤทัยตามที่ได้ตั้งความปรารถนามาหลายพุทธันดร ณ พระแท่นบัลลังก์ภายใต้ร่มไม้ ศรีมหาโพธิ์ ในคืนวันเพ็ญ กลางเดือน ๖ อัน เป็น วันพุธ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี

บัดนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงข้ามถึงฝั่งสำเร็จแล้ว ทรงพระเกษมสำราญอยู่ในพระทัย เพราะเหตุแห่งการพ้นจากบ่วงมาร มีกามคุณ ๕ เป็นต้น พระองค์ทรงชนะ..ทรงเผาผลาญ.. ทรงทำลายข้าศึกศัตรู คือกิเลสทั้งปวงให้พินาศ ขาดสิ้นไป ด้วยพระแสงศาสตราวุธ คือพระ บารมีที่ได้ทรงบำเพ็ญเพียรมาทั้ง ๓๐ ทัศ

พระองค์ได้ทรงกำจัดมารทั้งในและนอกด้วยหอกและดาบ คือศีล สมาธิ และปัญญา ดวงจิตของพระองค์จึงผุดผ่องใสสะอาดเป็นแก้ว เพราะขจัดความสกปรกแล้วด้วยคุณธรรม คือ อริยสัจ ๔ ประการ

ครั้นโปรดแสดงธรรมที่ได้เห็นแล้วตลอด ทั่วทั้งชมพูทวีป เพื่อให้ได้ดื่มอมฤตธรรม คือ คุณของพระนิพพาน จนมีพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ครบถ้วนตลอด ๔๕ พรรษา จึงได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ในระหว่างนางรังทั้งคู่ ณ เมืองกุสินารามหานคร เมื่อวันเพ็ญกลางเดือน ๖ ซึ่งตรงกับ วันอังคาร ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราชที่ ๑

ถ้าจะนับกาลเวลาก็จะครบอายุพระพุทธ ศาสนา ๒,๕๔๐ ปีพอดี จึงเหมือนกับถึงกาล ถึงเวลา หลังที่จากกันมาตั้งแต่ กรุงสาวัตถี ต้องมาพบปะกันอีก ณ สถานที่นี้ เสมือนกับ มีสิ่งที่บันดาลใจ วันนี้จึงนับว่าเป็นวันมหามงคล เป็นอย่างยิ่ง ที่พุทธบริษัทชายหญิงมาร่วมกัน เพื่อเป็นวันอนุสรณ์ย้อนรำลึก จึงได้ผนึกกำลังกันจัด งานพิธีสมโภชพระแท่นที่ปรินิพพาน ที่มีอายุกาลจะครบ ๒,๕๔๐ ปีที่ผ่านมา

อันปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เกิดมา ภายหลังกึ่งพุทธกาล ในเมื่อพระองค์ทรงดับขันธ์แล้ว จึงเป็นเหมือนแก้วแตกไปไร้วิญญาณ มาชาตินี้ยังมีจิตคิดถึงกุศล ได้พบหนทางสว่าง ไสวไม่มืดมน เข้าดลใจให้เลื่อมใสในพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ

แต่ด้วยบุญบารมีที่บำเพ็ญมาไม่ดีพอ จำต้องรอโอกาสมาถึงชาตินี้ เหมือนกับเรือที่ ล่องไปในวารี เพราะพลาดหวังที่จะได้บรรลุ ธรรมในคำสอน ต่อเบื้องพระพักตร์ขององค์ สมเด็จพระชินวร ในขณะที่พระองค์ทรงสั่งสอน แสดงธรรม

แต่ด้วยมโนปณิธานที่ตั้งมั่นกันมานาน ตามที่ตั้งจิตอธิษฐานตั้งแต่ครั้งอดีตกาล เพื่อจะช่วยสนับสนุนท่านพ่อผู้ประเสริฐ หวังจะเกิด สร้างความดีร่วมกับท่าน เพียงต้องการอีก ๗ ชาติก็มาบรรจบ จึงจะครบร่วมประกาศพระ ศาสนา อันลูกหลานติดตามกันมาด้วยความ เคารพ หวังได้พบสดับตรับฟังธรรมซึ่งคำสอน ในสมัยที่บิดรเป็นพระพุทธเจ้า

แต่ก็เศร้าเพราะพ่อมาละเสียซึ่งโพธิญาณ ทิ้งลูกหลานผู้เป็นเผ่าพงษ์ขององค์อินทร์ จำ ต้องสิ้นเหมือนลูกที่ถูกทอดทิ้ง ต่อไปนี้ลูกชาย หญิงเอาจริงทั้งหมด จะช่วยกันทดแทนคุณพระ ชินศรี เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันสร้างแต่ความดี โดยไม่หวังที่จะประวิงวันและเวลา

เพราะตัณหาพาไปให้ประมาท อาจจะ พลาดโอกาสขาดวาสนา ควรคำนึงร่วมกันสร้าง หนทางลา เพื่อที่ว่าจะได้ไม่หลงรสบทละคร ทั้งท่านย่าท่านปู่และท่านพี่ ท่านแม่ศรีท่านพ่อ ที่ไปรออยู่ก่อน ทิ้งลูกน้อยกลอยใจให้อาวรณ์ จะต้องจรติดตามรอยพระยุคลบาท ขององค์ สมเด็จพระโลกนาถ ที่ทรงประกาศขอบเขต พระศาสนา หวังที่จะมาเร่งรัดตัดกิเลสเพื่อให้ เป็นสมุจเฉทปหาน

ปวงลูกทั้งหลายขอน้อมกราบกรานด้วย เบญจางคประดิษฐ์ ขอน้อมจิตพนมกรขึ้นเศียร เกล้า ในพระคุณความดีขององค์สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้า เมื่อเข้าเฝ้ารอยพระพุทธบาทของ พระศาสดา น้ำพระทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ทรงพระมหากรุณาธิคุณแก่พุทธบริษัท เปรียบ ประดุจดังเช่นมหานที ยังฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการ เพื่อเป็นสักขีพยานในการบูชา สวย ตระการตาอยู่บนท้องฟ้า เป็นที่น่าปลาบปลื้มใจ อย่างล้นพ้น ดังที่เห็นเป็นอัศจรรย์กันทุกคน

บุญบารมีใดที่พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญมาแล้ว นับตั้งแต่พระองค์ทรงตั้งจิตหวังพระ โพธิญาณ จนตราบเท่าถึงกาลตรัสรู้ ข้าพระ พุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นโอรสและธิดาของพระ องค์ ขอกราบอนุโมทนาการ ขอยกย่องเป็น พระบรมครู เสมือนผู้เป็นพระธรรมราชา

หวังที่จะรู้แจ้งแทงตลอดในธรรม หาก จะล่วงลับดับสังขารไป ขอพระบารมีทั้ง ๓๐ ทัศ ขององค์สมเด็จพระจอมไตรได้ทรงโปรด น้อมจิตใจให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส จงปรากฏอยู่ในธรรมาพิสมัย เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา โดยฉับพลันในปัจจุบันนี้เทอญ..”

ครั้นจบคำสรรเสริญเทิดพระเกียรติ คุณแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทุก คนที่ได้ตั้งจิตน้อมใจไปตามกระแสเสียง ต่างก็ยกมือขึ้นพนมพร้อมกับกล่าวคำว่า..สาธุ! ขึ้นพร้อมกัน แต่ก็ไม่ค่อยจะได้ยินเสียงเท่าใดนัก เพราะมีหลายคนที่กำลังสะอื้นร่ำไห้ บางคนก็ มีน้ำตาไหลลงมาอาบแก้ม ด้วยความตื้นตันใจ ในน้ำพระทัยของพระโพธิสัตว์เจ้า

โดยเฉพาะในตอนบ่ายของวันนั้น ภาย ในบริเวณวัดพระแท่นดงรัง อากาศร่มรื่นตลอด เวลา นับตั้งแต่เริ่มงานในตอนเช้า ไม่มีแสงแดด ออกมาแผดเผาเลย ท้องฟ้าจึงเสมือนกับแสดง อาการเศร้าโศกไปด้วย (แต่บางคนกลับมาแล้ว ปรากฏว่าผิวคล้ำเหมือนกับไปตากแดดมา)

การกล่าวคำสรรเสริญเทิดพระเกียรติ คุณแด่พระพุทธเจ้าในเวลานั้น จึงเป็นการกระทำ ด้วยความเคารพอย่างสุดซึ้ง ต่อเบื้องพระพุทธ สรีระอันเป็นชาติสุดท้ายแห่งการเกิดของพระองค์ ขณะที่ได้ทอดพระวรกายอยู่บนเชิงตะกอน ความ รู้สึกของพวกเราในตอนนั้น จึงเหมือนกับได้พบเห็นพระพุทธองค์เป็นครั้งสุดท้ายเช่นกัน

แม้จะเป็นการจำลองเหตุการณ์ก็ตามที แต่ทุกคนก็ได้จัดงานพิธีเหมือนกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจริงในครั้งสมัยพุทธกาล ในขณะนั้น บรรยากาศที่ปรากฏอยู่ในความสงบ จะได้ยินแต่ เสียงเพลงที่บรรเลงอย่างสร้อยเศร้าแต่แผ่วเบา เคล้ากับเสียงพรรณนาพระคุณความดี ขององค์ สมเด็จพระชินสีห์ที่ดังก้องไปทั่ว

ในท่ามกลางแห่งการหวลระลึกนึกถึง ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐนั้น ความโศกศัลย์ พลันเกิดขึ้นดังที่กล่าวแล้ว แต่พวกเราผู้เป็นสาวกของพระองค์ก็มีความภูมิใจ ถึงแม้ชาติก่อนอาจจะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

แต่ในชาตินี้..ในวโรกาสนี้..อันเป็นสมัย กึ่งพุทธกาลนี้ แม้จะอยู่ห่างไกลกันเพียงใดก็ตาม พวกเราก็ยังสามารถมารวมตัว เพื่อช่วย กันจัดงานพิธีในครั้งนี้ ด้วยการทุ่มเททั้งชีวิต และจิตใจในงานที่จะจัดขึ้น ทุกคนตั้งใจไว้ว่า จะต้องจัดให้สมพระเกียรติคุณของพระองค์

เพื่อเป็นการยกย่องสรรเสริญ ในฐานะ ที่พระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ ซึ่งมีเกียรติสูง สุดของความเป็นคน เมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงได้รับการเคารพกราบไหว้ในฐานะเป็นผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์และเทวา ฉะนั้น ผล บุญในครั้งนี้ จึงคิดว่าน่าจะมีอานิสงส์มหาศาล คล้ายกับสมัยพุทธกาลเช่นกัน

เมื่อกล่าวคำสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว ต่อจากนั้น พระสงฆ์ที่นั่งอยู่บนพระ เมรุมาศทั้งสี่ด้าน ก็ได้สรรเสริญคุณของพระ ธรรม นั่นก็คือการสวดบท มาติกา ที่เรียกว่า พระอภิธรรม เป็นการสาธยายคำบาลีที่มีความ สำคัญเป็นพระพุทธพจน์อันปรากฏในพระไตรปิฎก

ในขณะที่พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมนั้นพลันก็มีสายฝนโปรยปรายมาชั่วขณะหนึ่ง แล้ว ก็หายไปในบัดดล สร้างความปีติปลาบปลื้มใจ เป็นอย่างยิ่ง ทุกคนนั่งนิ่งตั้งใจฟังอย่างสงบ แล้วค่อยพบกับเหตุการณ์ในตอนต่อไป.. สวัสดี



ผู้จัดได้เล่าเรื่องการจัดงาน พิธีจำลองเหตุการณ์วันปรินิพพาน อันเป็นเรื่องราวที่เกิด ขึ้นสมัยพุทธกาล เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ที่เรียกว่า วันวิสาขบูชา ซึ่งพวกเราก็ ได้มีการแต่งกายย้อนยุคย้อนสมัยกัน ด้วยการ จัดขบวนอัญเชิญพระพุทธสรีระ เพื่อทำพิธีการ ถวายพระเพลิงต่อไป ในขณะที่ทำพิธีบวงสรวง สักการบูชา และฟ้อนรำบวงสรวงของแต่ละภาค จบแล้ว ทุกคนจึงไปทานอาหารกลางวันกัน

ฉะนั้น ภาพเหตุการณ์แห่งการย้อนอดีต ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ณ วัดพระแท่นดงรัง จะเห็นผู้คนที่แต่งกายย้อนยุคไปในสมัยพุทธกาล นับจำนวนเป็นร้อยๆ คน ซึ่งมองดูบรรยากาศ โดยรวมแล้ว ทั้งหญิงและชายที่เดินไปเดินมา กันขวักไขว่ ต่างก็แต่งกายมีสีสันสวยสดงด งามหลายหลากสี มีหลายแบบหลายลักษณะ คล้ายๆ แขก แต่บางคนก็แต่งกายอยู่ในชุดประ จำภาคของตน

ในตอนบ่าย จึงได้เริ่มจัดงานในตอนที่ ๒ คือ งานพิธีจำลองเหตุการณ์วันถวาย พระเพลิง ตามพุทธประวัติเล่าว่า หลังจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว มัลลกษัตริย์และชาวเมืองกุสินารา จึงได้ทำการสักการบูชาพระพุทธ สรีระ ๗ วัน จนถึงวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ที่เรียกกันว่า วันอัฏฐมีบูชา คือ วันถวายพระเพลิง จึงได้อัญเชิญพระพุทธสรีระมาที่ มกุฎพันธนเจดีย์ เพื่อทำการถวายพระเพลิงต่อไป

ในขณะที่ผู้จัดบรรยายไปนั้น ก็มีผู้ที่แต่งกายในชุดฤาษี ชุดพราหมณ์ และชุดมัลลปาโมกข์ ต่างก็ออกมาแสดงลีลาประกอบไปด้วย เพื่อช่วยให้ผู้ชมที่นั่งอยู่ในปะรำพิธีทั้ง ๔ ภาค จะได้เข้าใจเหตุการณ์อย่างครบถ้วน

ครั้นมัลลปาโมกข์ห่อพระพุทธสรีระ ด้วยผ้าขาวและพันด้วยสำลีเป็นชั้นๆ ไปจนครบ ๕๐๐ ชั้น และอัญเชิญลงไปในหีบทอง ตามที่ พระอานนท์ แนะนำทุกประการแล้ว จึงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนเชิงตะกอน ในระหว่างนั้น ผู้จัดจึงได้กล่าวคำสรรเสริญเทิดพระเกียรติคุณแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่ามกลาง ความซาบซึ้งตรึงใจ ตามที่ได้พรรณนาการ ปรารถนาพระโพธิญาณว่า กว่าที่จะได้ตรัสรู้ อภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์จำต้อง เสียสละทุกอย่าง แม้แต่ชีวิตของพระองค์เอง

ตามธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมา ต่อ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในขณะที่ทอดร่างบนเชิง ตะกอน ก่อนที่ถูกเผาเป็นเถ้าถ่านนั้น มักจะ มีการเล่าประวัติ เพื่อเป็นการให้เกียรติต่อผู้ตาย ทุกคนจะยืนรับฟังด้วยความเคารพ เป็นการ ไว้อาลัยต่อผู้ล่วงลับไปแล้ว ก่อนที่ร่างกายจะ ดับสูญสิ้นไปในเปลวเพลิง

ฉะนั้น การเตรียมงานตอนก่อนที่จะ ถวายพระเพลิง จึงอยากจะมีการเล่าประวัติ ของพระพุทธองค์โดยย่อ นับตั้งแต่ปรารถนา พระโพธิญาณ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติคุณ ของพระองค์อย่างสูงสุด ในเมื่อบุคคลธรรมดาสามัญเขายังทำกันได้ พวกเราจะทำถวายพระ พุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าไม่ได้เชียวหรือ..!

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการถวายคำสดุดีก่อน ที่จะได้ถวายพระเพลิง จนเป็นเหตุให้ผู้รับฟัง ทั้งหลาย ต่างก็มีความซาบซึ้งตรึงใจ บางคนถึงกับหยาดน้ำตาไหลรินออกมา เพราะมีความ รู้สึกรักและอาลัย เหมือนกับจะได้เห็นพระพุทธ องค์เป็นวาระสุดท้ายฉะนั้น

แต่ก่อนที่จะถวายพระเพลิง พระสงฆ์ ที่ได้นั่งบนพระเมรุมาศทั้ง ๔ ด้าน ก็ได้สวด สาธยาย พระอภิธรรม เป็นการสรรเสริญพระ ธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ แล้วนำมา สั่งสอนพุทธบริษัททั้งหลาย ท่ามกลางสายฝน ที่ได้โปรยปรายมาชั่วขณะหนึ่งเป็นอัศจรรย์

เสมือนกับเป็นสักขีพยานในการจำลองเหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ว่าการกระทำความ ดีของพวกเราในครั้งนี้ คงไม่ไร้ผลอย่างแน่นอน และน่าจะมีอานิสงส์มหาศาล เช่นเดียวกับสมัย ครั้งพุทธกาล แล้วผู้จัดก็ได้ประกาศให้ผู้แต่ง กายชุด มัลลกษัตริย์ทั้ง ๘ พระองค์ เดินขึ้นมาทอดผ้าบังสุกุล โดยมีผู้แต่งกายชุด พราหมณ์ ๘ คน เดินถือผ้าไตรจีวรนำออกมาก่อน

สำหรับเหตุการณ์ในตอนนี้ หลังจากที่ พระสงฆ์และญาติโยมพุทธบริษัท ต่างก็พากัน เดินออกมาจากปะรำพิธี เพื่อที่จะถวายดอกไม้ จันทน์บนพระเมรุมาศ (แต่ดูตามรูปภาพจะเห็นเป็นดอกบัว นั่นเป็นการทำแทนดอกไม้จันทน์ เพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นพระพุทธเจ้า)

การจัดพิธีถวายพระเพลิง (จำลอง) ใน ครั้งนี้ จึงจัดทำด้วยความเคารพ ทุกคนที่มา ในงานต่างเดินเข้าแถวกันอย่างสงบ ความรู้สึกที่มีอยู่ในใจ เหมือนกับได้ย้อนเข้าไปในอดีต ทำให้เกิดความปลื้มใจ ภาพทั้งหมดที่ปรากฏแก่สายตา จึงยากที่จะลืมเลือนไปได้ ในโอกาสที่นำเรื่องมาเล่านี้ ย่อมมีผลสะท้อนให้ผู้อ่านทุกท่าน ที่ไม่สามารถเดินทางไปร่วมงานได้ สามารถย้อนตามเข้าไปในเหตุการณ์ด้วยตนเอง จึงขอให้ตั้งจิตอนุโมทนาร่วมกัน เพราะเป็นผลบุญที่ยิ่งใหญ่ไพศาล เสมือนกับกำลังจะได้ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระฉะนั้น

แต่ทว่ายังไม่ถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นนะ ท่านผู้อ่านที่รัก..! เพราะยังมีเหตุที่จะต้องเล่ากันอีก จะเป็นเพราะมีเหตุอันใด.. ก็ขอให้ติดตามกันต่อไปว่า...

“ครั้งนั้น..บรรดาพุทธบริษัทได้ทำการ สักการบูชา เมื่อสมควรแก่เวลาแล้ว มัลลปาโมกข์ ที่เป็นหัวหน้า ๔ องค์ สรงสนานพระ เศียรแล้วก็ทรงพระภูษาใหม่ ตั้งพระทัยว่าจะ ใส่ไฟที่เชิงตะกอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งสำเร็จด้วยไม้จันทน์อันประดับด้วย รัตนะสองพัน มีความสูงประมาณ ๑๒๐ ศอก

ตามภาพเหตุการณ์ที่สมมุติกันนั้น ท่านผู้อ่านจะสังเกตได้ว่า ผู้แสดงได้แสดงลีลาท่าทางประกอบไปตามบทที่บรรยาย ซึ่งจะมีเสียง เพลงไทยเดิมบรรเลงคลอเคล้าไปตลอดเวลา ช่วยให้เกิดบรรยากาศเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ นั้นจริงๆ ทุกคนต่างนั่งมองดูด้วยความสงบ

เมื่อเห็นผู้แสดงเป็นมัลลปาโมกข์เดิน เข้ามาในปะรำพิธี เพื่ออัญเชิญไฟพระราชทาน แล้วเดินกลับขึ้นไปบนพระเมรุมาศ ทั้งหมดได้ถวายบังคมก่อน แล้วจึงเดินขึ้นไปจุดไฟบนเชิงตะกอนทั้ง ๔ ด้าน แต่ก็แสร้งทำเป็นจุดไม่ติด ไปตามบทที่กำลังบรรยายอยู่นั้น สักครู่หนึ่งจึงเดินกลับลงมา แล้วผู้จัดก็ได้กล่าวต่อไปอีกว่า

“ลำดับนั้น..มัลลกษัตริย์ทรงมีความ สงสัย จึงได้เสด็จเข้าไปทูลถาม พระอนุรุทธ ว่าเหตุที่เพลิงไม่ติดโพลงขึ้นนั้นเป็นเพราะอะไร

พระเถระจึงตอบว่า เป็นเพราะไม่ตรงตามความ ประสงค์ของเทพเจ้าทั้งหลาย

พวกมัลลกษัตริย์จึงตรัสถามว่า เทพเจ้า ทั้งหลายมีความประสงค์อย่างไร พระเถระ จึงแถลงไขว่า ประสงค์จะให้รอพระมหากัสสป เถระ เวลานี้พระมหาเถระกำลังเดินทางจากเมือง ปาวามาสู่เมืองกุสินารา พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ องค์

พระมหากัสสปเถระยังไม่ได้ถวายบังคมพระบาทของพระศาสดาตราบใด เชิงตะกอนของ องค์สมเด็จพระจอมไตรจะยังไม่ไหม้ตราบนั้น มัลลกษัตริย์จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น..จงให้เป็นไปตามความประสงค์ของเทพเจ้าทั้งปวงเถิด.."

ในตอนนี้ คุณนุวงศ์ ผู้สมมุติเป็นหัวหน้ามัลลกษัตริย์ทั้งหลาย จึงได้ลุกขึ้นไปด้าน หน้าพระสงฆ์ที่กำลังนั่งอยู่ในปะรำพิธีนั้น ซึ่งมี ท่านเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี และ หลวงพี่โอ เป็นต้น พร้อมกับนั่งคุกเข่าทั้งสองข้างพนมมือ ทำท่ากราบทูล สักครู่หนึ่งแล้วจึงลุกออกมา ผู้บรรยายจึงได้กล่าวต่อไปอีกว่า...

“ในคราวที่มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ได้ อัญเชิญพระบรมศพของสมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าขึ้นประดิษฐานไว้ที่เชิงตะกอนแล้วนั้น พระมหากัสสปเถระ ผู้เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ได้ รับการยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศในทางธุดงค์

พระมหาเถระได้พาบรรดาพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ องค์ เดินทางมาจาก เมืองปาวา ไปสู่เมืองกุสินารามหานคร เพื่อเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระ ชินวร แต่ขณะนั้นเป็นเวลาเที่ยงวัน แสงแดด แผดกล้ายิ่งนัก พระเถระทั้งหลายจึงเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า จึงพากันเข้าหยุดพักร่มไม้ริมทาง..”

ในขณะที่บรรยายมาถึงตอนนี้ ปรากฏว่าผู้ชมหลายท่านถึงกับตะลึง เพราะนึกไม่ถึงว่าจะมีพระภิกษุหลายรูปห่มผ้าจีวรสีกรัก เดินสะพายบาตรและถือกลดไว้บนบ่า ออกมาข้างหน้าปะรำพิธีอย่างช้าๆ ด้วยอาการอันสำรวม

สำหรับผู้รับบทเป็นพระมหากัสสปนั้น ได้รับความร่วมมือจากเพื่อนพระภิกษุที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อแถวนั้น อันมี พระครูสังฆรักษ์ สนิท (อาจารย์ดง) และ พระยงยุทธ วัดหนองโรง เป็นต้น แล้วจึงได้บรรยายต่อไปว่า...

“ครั้นพอพักหายเหนื่อยแล้ว เตรียมที่จะ ออกเดินทางต่อไป ก็ได้เห็น อาชีวก คือนัก บวชนอกพระพุทธศาสนาผู้หนึ่ง เดินถือดอก ชบาสวรรค์กั้นศีรษะต่างร่มมาตามทาง (คุณนพดล) ผู้รับบทเป็น อาชีวก ได้เดินถือดอก ชบาสวรรค์ (มณฑารพ) ซึ่งจัดทำเป็นพิเศษโดย คุณโรส ได้ถือกั้นเป็นร่มเดินออกมาเช่นกัน)

พระมหาเถระจึงนึกฉงนในใจ เพราะ ดอกไม้ทิพย์เช่นนี้ จะตกลงมาในมนุษยโลก แต่เฉพาะในคราวที่สำคัญๆ เช่น ในเวลาท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล ๑ พระโพธิสัตว์เสด็จสู่พระครรภ์ และประสูติจากครรภ์พระมารดา ๑ หรือเสด็จ ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์แล้วได้ตรัสรู้ ๑ พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมจักร ๑ ทรงกระ ทำยมกปาฏิหาริย์ ๑ เสด็จลงมาจากดาวดึงส เทวโลก ๑ ทรงปลงอายุสังขาร ๑ เป็นต้น

การที่ดอกมณฑารพตกลงมาในครั้งนี้ เห็นทีจะเป็นด้วยเหตุพระบรมศาสดาของเรา เสด็จดับขันธปรินิพพานเสียแล้ว พระมหาเถระ มีความสงสัยดังนี้ จึงประคองอัญชลีเฉพาะต่อพระบรมศาสดา แล้วถามอาชีวกผู้นั้นว่า ท่าน รู้เรื่องพระบรมศาสดาของเราบ้างหรือไม่?

อาชีวกตอบว่า รู้..วันนี้แหละเป็นวันที่ ๗ นับแต่พระสมณโคดมปรินิพพานมาแล้ว เราได้ดอกมณฑารพนี้มาแต่ที่พระโคดมปรินิพพาน เมื่อภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่ปราศจากราคะ ได้ฟัง ถ้อยคำของอาชีวกบอกเช่นนั้น ก็เศร้าโศกเสีย ใจร่ำไห้ ส่วนภิกษุทั้งหลายที่ปราศจากราคะแล้ว ก็มีสติสัมปชัญญะคำนึงถึงว่า สังขารทั้งหลาย ล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน

ในคราวนั้น วุฑฒบรรพชิต คือพระที่บวชตอนแก่รูปหนึ่งมีชื่อว่า สุภัททะ ได้กล่าว วาจาจ้วงจาบต่อพระบรมศาสดา พระมหากัสสป เถระเห็นว่า แม้เพียงสมเด็จพระบรมศาสดาปรินิพานได้ ๗ วันเท่านั้น ก็ยังมีเสี้ยนหนาม หลักตอเกิดขึ้น ถ้าพวกลามกเช่นนี้ได้พรรค พวกลามกมากขึ้นแล้ว ก็จะทำให้พระศาสนา เสื่อมลง แล้วคิดต่อไปว่า

ถ้าจะว่ากล่าวตักเตือนในตอนนี้ อาจ จะมีผู้ครหานินทาได้ว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานยังไม่ทันไร พวกสาวกก็ทะเลาะวิวาทกันแล้ว คิดดังนี้แล้วจึงได้นิ่งเฉยไว้ แต่ก็ได้กล่าวปลุก ปลอบใจแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อย่าเลยท่านทั้ง หลาย..ท่านอย่าได้เศร้าโศกเสียใจร้องไห้ร่ำไร เลย สมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกไว้แต่เดิมทีแล้วมิใช่หรือว่า...

ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักใคร่ทั้งปวง ย่อมมีเป็นธรรมดา ไม่มีใครบังคังสิ่งที่เกิดขึ้น เหล่านี้ได้ จะต้องแตกหักผุพังไปเป็นธรรมดา ดังนี้แล้วจึงได้พาพระสงฆ์บริวารเดินทางไปยัง กุสินารามหานคร ตรงไปยัง มกุฎพันธนเจดีย์ อันเป็นที่ถวายพระเพลิง

ครั้นถึงยังพระจิตกาธาน คือเชิงตะกอน อันที่ประดิษฐานพระบรมศพแล้ว จึงทำจีวรลด ไหล่ลงมาข้างหนึ่ง ประคองมือทั้งสองขึ้นพนม แล้วกระทำประทักษิณเวียนพระจิตกาธานสิ้น ๓ รอบ...”

ในขณะที่บรรยายความนั้น คณะพระภิกษุสงฆ์ดังกล่าว ก็ได้เดินขึ้นสู่พระเมรุมาศ อย่างเป็นระเบียบ พร้อมทั้งพนมมือเดินเวียน รอบเชิงตะกอน ๓ รอบ โดยมีพระเถรานุเถระ และญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ที่นั่งอยู่ในเต้นท์ปะรำพิธี ต่างก็จ้องมองดูกันด้วยความสนใจ ตั้งใจฟังเสียงบรรยายต่อไปอีกว่า...

“เมื่อครบ ๓ รอบแล้ว พระมหากัสสป เถระ จึงเดินขึ้นเข้าสู่ทิศแห่งพระยุคลบาทแล้ว น้อมถวายอภิวาทและตั้งจิตอธิษฐานว่า

“ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เจริญ ขอให้พระบรมบาททั้งคู่ขององค์สมเด็จ พระบรมครู ผู้ทรงพระเมตตาได้เสด็จไปประทาน การอุปสมบทให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ผู้มีนามว่า “กัสสป”

อีกทั้งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังทรงพระมหากรุณาโปรดประทานจีวรของ พระองค์ เพื่อให้ข้าพระพุทธเจ้าไว้ใช้เป็นการ ส่วนตัว ขอจงออกมาจากหีบทอง เพื่อรับการอภิวาทแห่งข้าพระพุทธเจ้า “กัสสป” ซึ่งตั้งใจมาน้อมถวายคารวะ ณ กาลบัดนี้เถิด..พระ พุทธเจ้าข้า...”

แล้วพระมหากัสสปก็ยกมือขึ้นประคอง รองรับพระยุคลบาทของสมเด็จพระบรมศาสดา ที่ได้ปรากฏออกมาเป็นที่อัศจรรย์ พระเถระจึง ยกพระบาทคู่นั้นขึ้นชูเชิดเทิดไว้บนศีรษะของตน พร้อมกับอธิษฐานว่า

“ข้าพระพุทธเจ้ามิได้อยู่เฝ้าปฏิบัติพระองค์ เพราะหวังคงไว้ซึ่ง ธุดงควัตร ทั้งที่พระ องค์ทรงพระกรุณาตรัสเตือนว่า เธอแก่แล้ว..จง อยู่ในสำนักของตถาคตเถิด แต่ข้าพระองค์ก็มิ ได้อนุวัตรตามพระพุทธประสงค ์ คงได้ประมาท พลาดพลั้งลงถึงดังนี้ ขอองค์สมเด็จพระมหามุนี ได้โปรดอดโทษแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด พระ พุทธเจ้าข้า..”

เมื่อบรรยายมาถึงตอนนี้ ได้มีบางคน กลับมาเล่าให้ฟังภายหลังว่า ต้องเสียน้ำตากัน อีกครั้ง เพราะขณะที่รับฟังเรื่องราวที่กล่าวนั้น ความรู้สึกเหมือนกับอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ ครั้นพระสงฆ์ทั้งหลายกราบนมัสการแล้ว จึงค่อยทยอยเดินลงมาจากพระเมรุกลับมานั่งที่เดิม

“ครั้นพระมหากัสสปกับพระสงฆ์ ๕๐๐ องค ์ และบรรดามหาชนทั้งหลาย ต่างก็ได้เข้าไป กราบนมัสการพระบรมยุคลบาทโดยสมควรแก่เวลาแล้ว พระบาททั้งสองก็ถอยถดหดหายกลับ เข้าไปในพระหีบทองดังเดิม ทุกสิ่งทุกอย่างได้ ตั้งอยู่เป็นปกติ ถือเป็นมหัศจรรย์อันยิ่งใหญ่ อีกวาระหนึ่ง

ในเวลานั้น เสียงความเศร้าโศกเสียใจ ของมวลเทพยดาและมนุษย ์ ซึ่งได้หยุดสร่างสะอื้นแล้วแต่วันก่อนนั้น ก็ได้พลันดังสนั่นขึ้น อีก เสมอด้วยวันเสด็จดับขันธปรินิพพานนั่นเอง ขณะนั้น เตโชธาตุ ก็บันดาลติดพระ จิตกาธานขึ้นเอง ด้วยอานุภาพของเหล่าเทพยดา ทั้งหลาย เปลวเพลิงได้ลุกพวยพุ่งเผาผลาญ พระพุทธสรีระ พร้อมคู่ผ้าทั้ง ๕๐๐ ชั้น กับหีบทองและเชิงตะกอนจนหมดสิ้นไป

แต่ก็ยังมีบางส่วนของพระพุทธสรีระที่ ยังไม่ไหม้ไฟคือ ผิว หนัง เนื้อ เอ็น ไขข้อ หาได้ไหม้เป็นเถ้าหรือเป็นเขม่าไปไม่ ยังปรากฏ เป็นสรีระอยู่ เหมือนกับเนยใสหรือน้ำมันที่ไฟไหม้ ย่อมไม่มีปรากฏเป็นเถ้าหรือเป็นเขม่าฉะนั้น

แต่ในผ้าทั้ง ๕๐๐ คู่นั้น ไฟไหม้เพียง ๒ ผืน คือผืนในสุดและผืนนอกเท่านั้น ส่วน ที่เหลือไฟไหม้พระพุทธสรีระให้แหลกละเอียดไป แต่ที่ไม่แหลกละเอียดไปนั้นมีอยู่ ๗ พระ ธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ กับ พระรากขวัญ ทั้งสอง (ไหปลาร้า) และ พระอุณหิส ๑ (ส่วน กลางของหน้าผาก) ส่วนพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ก็ได้แตกกระจัดกระจายไป มีลักษณะเท่าเมล็ดพันธุ์ ผักกาด ส่วนขนาดที่ใหญ่นั้นเท่าเมล็ดข้าวสาร หัก และเมล็ดถั่วเขียวที่ผ่าครึ่งเท่านั้น...”

โปรดติดตามตอนต่อไป งานรวมภาค ณ วัดพระแท่นดงรัง (ตอนจบ)


◄ll กลับสู่ด้านบน



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2034
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 20/8/10 at 10:36 Reply With Quote


(Update 22-08-53)

งานพระแท่นดงรัง "ตอนจบ"

พิธีจำลองเหตุการณ์

วันแจกพระบรมสารีริกธาตุ

สำหรับเหตุการณ์ตอนถวายพระเพลิงไฟที่ลุกขึ้นมาเองนั้น ได้อาศัยเทคนิคสมัยใหม่ คือใช้ “รีโมทคอนโทรล” ทำให้ไฟลุกขึ้นเองได้ ต่อไปเป็นตอนที่ ๓ คือ พิธีจำลองการแจกพระ บรมสารีริกธาตุ แต่ก่อนที่จะถึงตอนนั้น ผู้จัด ก็ได้ให้ผู้แต่งกาย ชุดฤาษี อัญเชิญราชรถออก ไปก่อน ส่วนผู้แต่งกาย ชุดพราหมณ์ อัญเชิญ พระมณฑปน้อย เข้ามาหน้าปะรำพิธี พร้อมทั้ง ให้ผู้แต่งชุด มัลลปาโมกข์ทั้ง ๘ เดินถือผอบ ทองคำอันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กับทั้งพานดอกไม้และน้ำหอมขึ้นไปบนเชิงตะกอน

เมื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามความ ประสงค์แล้ว จึงได้บรรยายต่อไปว่า...

“ครั้นเสร็จการถวายพระเพลิงแล้ว ท่อ อุทกธารแห่งน้ำทิพย์ก็ตกลงมาจากนภากาศ ได้ดับเพลิงที่ลุกไหม้ให้ดับลง เป็นสายโตเท่าแขนก็มี เท่าต้นตาลก็มี บ้างก็พลุ่งขึ้นจากต้นรังที่ตั้งอยู่รอบบริเวณนั้น คือน้ำได้พลุ่งออก ระหว่างลำต้นและค่าคบแห่งต้นรังเหล่านั้น บ้าง ก็มีท่อน้ำพลุ่งขึ้นจากดินโดยรอบนั้น มีสายประ มาณเท่างอนไถ มีสีเหมือนกับสร้อยแก้วผลึก

ส่วนเปลวเพลิงที่พวยพุ่งขึ้นจากระหว่างกิ่งและค่าคบ และใบแห่งต้นรังที่ตั้งล้อมเชิง ตะกอนอยู่นั้น ย่อมไม่ไหม้ใบรังหรือกิ่งรังและ ดอกรังแม้แต่อย่างใด มดดำมดแดงแมลงมุม และสัตว์ต่างๆ ย่อมเที่ยวไปมาได้ในระหว่าง เปลวไฟ โดยไม่มีอันตรายแม้แต่อย่างใด

ครั้งนั้น มัลลกษัตริย์ทั้งหลายต่างก็มี ความชื่นบาน ได้อัญเชิญมาซึ่งพานทอง อัน เต็มไปด้วยสุคนธวารี (น้ำหอม) มาโสรจสรง ลงที่พระจิตกาธาน แล้วก็เก็บพระบรมสารีริก ธาตุทั้งหลายไว้ใน พระหีบทองน้อย กับทั้งให้ตกแต่งซึ่งพระราชสัณฐาคาร ในท่ามกลางพระนคร ให้งามวิจิตรตระการด้วย สรรพาภรณ์ ควรเป็นที่สถิตประดิษฐานพระ บรมสารีริกธาตุที่คารวะอันสูงส่ง แล้วได้ทำการ สักการบูชาด้วยธูปเทียนสุคนธมาลาบุปผาชาติ"

เมื่อได้กล่าวมาถึงตอนนี้ ผู้แต่งกายชุด มัลลปาโมกข์ พราหมณ์ และฤาษี ได้แสดงท่า ทางประกอบไปด้วย โดยการจัดตั้งขบวนแถว เพื่ออัญเชิญ พระหีบทองน้อย ซึ่งผู้จัดได้ไป ซื้อมาจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า พร้อมกับเครื่องสูงต่างๆ เช่น จามรและสัปทน เป็นต้น

ครั้นอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจาก พระเมรุมาศ เดินเข้ามายังที่ พระมณฑปน้อย ซึ่งได้สมมุติว่าเป็น พระราชสัณฐาคาร ในเมือง กุสินารามหานครแล้ว จึงถวายความเคารพโดยพร้อมเพรียงกัน และได้อธิบายต่อไปว่า...

“แท้จริง..โดยปกติพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาว จะ ไม่แตกทำลายคงอยู่เป็นแท่ง แต่พระบรมศาสดา ทั้งหลายทรงดำริว่า ตถาคตจะมีชนมายุน้อย ประกาศพระศาสนาอยู่ไม่นานก็จะปรินิพพาน พระศาสนาจะไม่แผ่ไพศาลไปนานาประเทศ

เหตุดังนี้..จึงทรงอธิษฐานว่า เมื่อตถาคต ปรินิพพานเสร็จการถวายพระเพลิงแล้ว ขอพระ ธาตุทั้งหลายจงแตกกระจายออกเป็น ๓ สัณฐาน คือขนาดเล็ก กลาง และโต มหาชนจะได้เชิญไปสักการบูชาในนานาประเทศที่อยู่ของตน จะ เป็นทางให้เข้าถึงกุศล อันอำนวยผลให้บังเกิดในสุคติภพต่อไป

สำหรับพระราชสัณฐาคารนั้น อันเป็นที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระบาทท้าวเธอ ได้โปรดให้เจ้าพนักงานประพรมด้วยของหอมทั้งหลาย แล้วโปรยปรายด้วยข้าวตอกดอกไม้ ไปให้ทั่ว มีเพดานกางกั้นในเบื้องบน ทำให้ ขจิตรด้วยดาวทองและดาวเงิน ห้อยพวงของ หอม พวงดอกไม้ และพวงแก้วไว้เป็นทิวแถว กั้นสองข้างทางด้วยผ้าม่าน ตั้งแต่พระราชสัณ ฐาคารจนกระทั่งถึงมกุฎพันธนเจดีย์

ส่วนเบื้องบนถนนหนทางนั้นกั้นด้วย เพดาน ขจิตรด้วยดาวทองและดาวเงิน เป็นต้น ห้อยย้อยไปด้วยพวงของหอม พวงดอกไม้ และ พวงแก้วไว้ในที่นั้นๆ แล้วให้ยกธง ๕ ประการ อันมีเสาแล้วด้วยไม้มีสีเหมือนแก้วมณีและไม้ไผ่ ล้อมด้วยธงชัยและธงแผ่นผ้าไว้โดยรอบ ตั้งไว้แล้วซึ่งต้นกล้วยและหม้อน้ำตามรายทาง ตามไว้ ซึ่งประทีปอันมีด้าม แล้วจึงยก พระหีบทองน้อย ที่บรรจุพระบรมธาตุขึ้นบนคอช้างที่ประดับด้วย คชาภรณ์ บูชาด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น

แล้วให้มีการเล่น “สาธุกีฬา” แห่พระ บรมธาตุเข้าไปในภายในพระนคร ครั้นถึงจึงเชิญพระบรมธาตุขึ้นประดิษฐานบนบัลลังก์แก้ว ๗ ประการ ที่พระราชสัณฐาคารนั้นกั้นไว้ด้วย เศวตฉัตรในเบื้องบน

ต่อมาบรรดามัลลกษัตริย์ทั้งหลายพากันกริ่งเกรงว่า อาจจะมีอรินทราชทั้งหลายจักมา ช่วงชิง จึงให้จัดตั้งจาตุรงคเสนาโยธาหาญป้อง กันรักษาพระบรมสารีริกธาตุ ทั้งภายในและ ภายนอกพระนครอย่างมั่นคง แล้วให้จัดการ สมโภชบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยเครื่องดุริยางค์ดนตรี ฟ้อนรำ ขับร้อง ทั้งกีฬานักษัตร นานาประการเป็นที่มโหฬารยิ่งนักตลอดกาลถึง ๗ วัน..”

ครั้นได้บรรยายมาถึงตอนนี้ ท่านผู้อ่านจะเห็นภาพลีลาการแสดงประกอบ รู้สึกว่าคน ที่ยืนถือดาบและหอก ได้ออกมาป้องกันรักษาพระบรมสารีริกธาตุอยู่รายรอบพระราชสัณฐาคารนั้น มองดูด้วยท่าทางอย่างทะมัดทะแมง

ในขณะที่จะบรรยายเรื่องราวต่อไป ผู้แต่งชุดกษัตริย์ทั้ง ๗ เมือง คือ คุณนุวงศ์, คุณประสงค์, คุณแสวง, คุณประทีป, คุณชาลี, คุณทวีศักดิ์ และ คุณฉลอง ต่างก็เดินถือดาบออกมาพร้อมกับทหารมหาดเล็ก ตามที่ได้นัด กันไว้แล้ว โดยมี คุณสนิท (ตุ๊) เป็นผู้ประสานงาน เพื่อทำทีท่ายกขบวนทัพเข้ามาขอพระบรมสารีริกธาตุจากมัลลกษัตริย์ ซึ่งรับบทโดย คุณ หมอนพพร ขณะนั่งอยู่ในปะรำพิธี

กรณีผู้ที่รับบทเป็นกษัตริย์ ๘ คนนั้น จะมีการจับฉลากกันก่อนว่าใครจะได้เมืองไหน ปรากฏว่า คุณหมอนพพร ซึ่งเป็นทหารอยู่ที่ กาญจนบุรี จับฉลากเป็นคนสุดท้ายได้ เมืองกุสินารา พอดี นับเป็นเรื่องที่แปลกมาก

เมื่อทุกคนเดินออกมาแล้ว จึงได้บรรยาย ความตาม พุทธประวัติ ต่อไปว่า...

“ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ครอง นครราชคฤห์ พระเจ้าลิจฉวี แห่งนครไพศาลี พระเจ้าสากยราช แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าถูลียราช แห่งเมืองอัลลกัปปนคร พระเจ้าโกลิยราช แห่งเมืองรามคาม พระเจ้ามัลลราช แห่งเมืองปาวานคร และ มหาพราหมณ์ ผู้ครองเมืองเวฏฐะทีปะกะนคร รวม ๗ นคร ด้วยกัน ล้วนมีความเลื่อมใสและความเคารพ นับถือมั่นในพระพุทธศาสนา

ครั้นได้ทราบข่าวปรินิพพานขององค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดา ต่างก็มีความ เศร้าโศกอาลัยในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมาก จึงแต่งราชทูตส่งไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ณ เมืองกุสินารา เพื่อจะได้สร้างพระเจดีย์บรรจุไว้เป็นที่สักการบูชา เป็นสิริมงคลแก่พระนคร ของพระองค์สืบไป

ครั้นส่งราชทูตไปแล้ว ก็ยังเกรงไปว่า กษัตริย์มัลลราช จะขัดขืนไม่ยอมดังปรารถนา จึงให้จัดโยธาแสนยากรเป็นกองทัพ พร้อมด้วย จาตุรงคโยธาเสนาหาญครบถ้วนด้วยศัสตราวุธ เต็มกระบวนศึกเดินทัพติดตามราชทูตไปด้วย ทรงตั้งพระทัยว่า หากกษัตริย์แห่งกุสินารามหา นครขัดขืน ไม่ยอมให้ด้วยไมตรี ก็จะยกพล เข้าย่ำยีบังคับเอาพระบรมสารีริกธาตุด้วยกำลัง ทหาร

เมื่อกษัตริย์ทั้งหลายมีพระเจ้าอชาตศัตรู เป็นอาทิ ต่างยกทัพมาถึงชานเมืองกุสินารา ครั้นทราบข่าวจากราชทูตว่ามัลลกษัตริย์ไม่ยอม ให้พระบรมธาตุดังประสงค์ พระองค์ก็ทรงไม่ พอพระทัย ต่างก็ยกทัพเข้าประชิดติดกำแพง จัดตั้งค่ายรายเรียงพระนครกุสินาราทั้ง ๗ ทัพ

ในกาลนั้น โทณพราหมณ์ ผู้เป็นบัณฑิต เป็นทิศาปาโมกข์อาจารย์สอนไตรเพทแก่กษัตริย์ ทั้งหลาย พิจารณาเหตุอันพึงจะมีในสิ่งซึ่งมิใช่เหตุควรประหัตประหารกัน จึงได้ออกไประงับ การวิวาทของกษัตริย์ทั้งปวง ด้วยถ้อยคำที่เป็น หลักธรรมในเรื่องของ ความสามัคคี จนกษัตริย์ ทั้งปวงเลื่อมใสในถ้อยคำ จึงให้เปิดประตูเมือง กุสินารา แล้วอัญเชิญบรรดากษัตริย์ทั้งปวงเข้า มาในพระราชสัณฐาคาร อันเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุนั้น...”

สำหรับเรื่องราวในตอนนี้ จะมีผู้แต่ง กายเป็น โทณพราหมณ์ รับบทแสดงโดย คุณพงษ์ศักดิ์ ซึ่งได้แสดงลีลาท่าทางไปพร้อมกับคำบรรยาย ส่วนผู้ที่รับบทเป็นกษัตริย์และเหล่าทหารหาญก็ไม่เบา เมื่อแสดงมาถึงตอนที่ทราบว่า มัลลกษัตริย์ไม่ยอมแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ ก็มีการชักอาวุธออกมาแสดงท่าทางขึงขังจริงจัง จึงทำให้ผู้ชมทั้งหลายพลอยตื่นเต้นไปด้วย

ส่วนถ้อยคำที่ โทณพราหมณ์ กล่าว ไว้เป็นภาษิตนั้น ผู้อ่านบางท่านอาจจะต้องการทราบว่าท่านพูดอย่างไร...ในยามหน้าสิ่วหน้า ขวานอย่างนั้น จึงทำให้บรรดากษัตริย์ทั้ง ๗ เมือง อันมี พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นต้น จึงยอม จำนนสงบศึกทุกอย่าง แล้วหันมาเจรจากันด้วย สันติวิธี สุดท้ายนี้ จึงขอนำมาให้อ่านกันดังนี้

“...ขอท่านทั้งหลายจงฟังถ้อยคำของข้าพเจ้า คือพระพุทธเจ้าของชาวเราทั้งหลาย ได้เคยทรงแสดง “ขันติ” คือความอดทนเอาไว้ การที่เราทั้งหลายจะสู้รบกัน เพราะพระบรมธาตุของพระองค์นั้นไม่สมควร เราทั้งหลายควรจะพร้อมเพรียงกันแบ่งพระบรมธาตุของพระองค์ ให้แพร่หลายไปในทิศทั้งปวง เพราะคนทั้งหลายที่เลื่อมใสต่อพระองค์ยังมีอยู่มาก” นี่คือถ้อย คำที่เป็นภาษิต ซึ่งจะมีอีกในตอนจบ...สวัสดี.



การจัดงานย้อนอดีตรำลึกไปในสมัยครั้งพุทธกาล โดยจัดงานพิธีจำลองเหตุการณ์ ๓ ตอน คือตอนที่ ๑ เป็นการจำลองเหตุการณ์ วันปรินิพพาน
ตอนที่ ๒
จำลองเหตุการณ์ วันถวายพระเพลิง
ส่วน ตอนที่ ๓ จำลอง เหตุการณ์ตอนแจกพระบรมสารีริกธาตุ

สำหรับตอนที่แล้วนั้น ท่านผู้อ่านได้ติด ตามเรื่องราวมาถึงตอนหลังจากถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว บรรดากษัตริย์ทั้ง ๗ พระนคร มี พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งกรุงราชคฤห์ เป็นต้น ต่างก็กรีฑาทัพมาประชิดติดพระนคร กุสินารา เพื่อจะขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ

แต่ก่อนที่จะเล่าเรื่องราวกันต่อไป จะ ขอเล่าย้อนตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปรินิพพานไปแล้วนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู ยังไม่ทรงทราบ แต่พวกอำมาตย์ของพระองค์ได้ทราบ ข่าวก่อน จึงคิดกันว่า...

ผู้เป็นปุถุชนที่มีความศรัทธา เท่ากับพระราชาของเราย่อมไม่มี ถ้าพระองค์ทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็จักมีพระหฤทัยแตกทำลาย พวกเราควรจะรักษาพระชนม์ของ พระองค์ไว้ คิดกันดังนี้แล้วจึงให้นำรางทอง คำมา ๓ ราง ใส่ให้เต็มด้วยของที่อร่อยๆ ๔ อย่างแล้ว จึงกราบทูลพระบรมกษัตริย์ว่า

“ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฝันเห็นเหตุร้ายอย่างหนึ่ง เพื่อจะป้องกันเหตุร้ายนั้น จึงขอให้พระองค์ทรงผ้าเปลือกไม้สองชั้น ลงบรรทมที่ รางทองคำนี้ ให้พอพ้นน้ำแต่ปลายพระนาสิก เถิด พระเจ้าข้า...”

ครั้นพระเจ้าอชาตศัตรูทรงกระทำตามแล้ว อำมาตย์คนหนึ่งจึงเปลื้องเครื่องแต่งตัว ออกสยายผมลง หันหน้าไปทางทิศที่พระพุทธ เจ้าปรินิพพาน ยกมือพนมขึ้นกราบทูลว่า

“ข้าแต่สมมุติเทวราช ผู้ที่พ้นจากความ ตายย่อมไม่มี บัดนี้ พระพุทธเจ้าผู้เจริญด้วยชนมายุ ผู้เป็นพระเจดีย์ ผู้เป็นเนื้อนาบุญ ผู้เป็น แท่นอภิเศก ผู้เป็นศาสดาเอกของเราทั้งหลาย ได้ปรินิพพานที่เมืองกุสินาราแล้ว พระเจ้าข้า...”

เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงสดับถ้อยคำดังนี้ ก็สิ้นพระสติสลบลงไปด้วยความเสีย พระทัย ปล่อยไออุ่นลงไปในของอร่อย ๔ อย่าง นั้น พวกอำมาตย์จึงเชิญขึ้นจากรางทองคำที่ ๑ แล้วให้ไปบรรทมในรางทองคำที่ ๒ ต่อไป

ลำดับนั้นพระบาทท้าวเธอทรงได้พระสติขึ้นแล้ว จึงตรัสถามว่าท่านทั้งหลายว่าอะไร พออำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า พระพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์แล้ว พระองค์ก็ทรงสลบไปอีก

พวกอำมาตย์ก็พร้อมกันประคองขึ้นจากรางทองคำที่ ๒ นั้น นำไปวางลงในรางทองคำที่ ๓ จนกระทั่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์ทรงได้พระ สติขึ้นอีก จึงตรัสถามอีกเป็นครั้งที่ ๒ แล้ว ก็สลบไปอีก เมื่อทรงฟื้นขึ้นมาอีกเป็นวาระที่ ๓ แล้วก็ทรงคร่ำครวญเสด็จไปในระหว่างถนนเหมือนกับคนวิกลจริต

พระบาทท้าว เธอมีนางรำที่แต่งตัวเป็นบริวาร เสด็จออกจากพระนครไปยังสวนมะม่วงของ หมอชีวกโกมารภัจ ทอดพระเนตรสถานที่ ที่พระพุทธองค์เคยประทับนั่งแสดงธรรม แล้ว พร่ำร้องไห้รำพันซ้ำๆ ว่า

“...สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเคยประทับนั่งแสดงธรรมที่นี้มิใช่หรือ... ทรงบรรเทาซึ่งความโศกศัลย์ของข้าพระองค์ ข้าแต่พระผู้มี พระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้ามายังสำนักของพระ องค์แล้ว แต่บัดนี้..พระองค์ไม่ทรงประทานแม้ คำโต้ตอบแก่ข้าพระพุทธองค์ แล้วทรงระลึกถึง พระคุณของพระพุทธเจ้าประมาณ ๖๐ คาถา”

นับว่าพระองค์ทรงมีพระทัยผูกพันกับพระพุทธเจ้าอย่างลึกซึ้ง เพราะเป็นเหตุให้ทรงคลายความทุกข์โศกอย่างยิ่ง จากการที่ทรงเคย กระทำความผิดเป็น อนันตริยกรรม ด้วยการ ประหารชีวิตพระราชบิดาคือ พระเจ้าพิมพิสาร

แต่ต่อมาพระเจ้าอชาตศัตรูทรงระลึก ถึงความผิดพลาดนั้นได้ จึงหันกลับมาเลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า หลังจากนั้นก็ได้ทรงอุปถัมภ์ พระพุทธศาสนาให้ พระมหากัสสป ได้กระทำ สังคายนาพระไตรปิฎกกับพระอรหันต์ ๕๐๐องค์

ครั้นพระองค์สร่างจากพระโศกาดูรแล้ว จึงทรงส่งราชทูตพร้อมด้วยพระราชสาส์นไปสู่ เมืองกุสินารา เมื่อราชทูตไปแล้วจึงเตรียมจตุรงค เสนาเสด็จตามไปภายหลัง ด้วยทรงพระดำริว่า

ถ้าพวกกษัตริย์ในเมืองกุสินาราไม่แบ่งส่วนพระบรมธาตุให้โดยดี เราจะบุกเอาด้วย กำลังพลโยธี ส่วนกษัตริย์ในพระนครต่างๆ มีกษัตริย์ในเมืองเวสาลี เป็นต้น ก็ได้ส่งทูต ไปด้วยเช่นกัน พร้อมทั้งยกพลทหารติดตาม ไปในเบื้องหลังดังเช่นกองทัพแห่งกรุงราชคฤห์

ในขณะนั้น กองทัพทั้ง ๗ พระนคร ก็ได้เข้าล้อมเมืองกุสินาราไว้อย่างแน่นหนา แล้ว ส่งราชทูตเข้าไปแจ้งมัลลกษัตริย์ทั้งหลายว่า จะ แบ่งพระบรมธาตุให้หรือไม่..หรือว่าจะสู้รบกัน

เหล่ามัลลกษัตริย์ตอบว่า “เราไม่ได้ขออาราธนาให้พระพุทธเจ้า เสด็จมานิพพานที่เมืองของเรา พระองค์ได้เสด็จ มานิพพานเอง แก้วอันใดเกิดขึ้นในบ้านเมืองของ ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็จะไม่ให้แก้วอัน นั้นแก่เรา คำว่า “แก้ว” ที่จะเท่าเทียมกับแก้ว คือพระพุทธเจ้านั้น ย่อมไม่มีในมนุษยโลกและเทวโลก พวกเราได้แก้วอันประเสริฐสูงสุดเช่น นี้แล้ว จะไม่ยอมแบ่งให้แก่ใคร มิใช่ว่าจะได้ ดื่มน้ำนมมารดาแต่พวกท่าน จะเป็นบุรุษแต่พวก ท่านก็หาไม่ พวกเราก็ได้ดื่มน้ำนมมารดาและ เป็นบุรุษเหมือนกัน ท่านทั้งหลายจะสู้รบก็ยินดี”

มีคำถามว่า.. ถ้าเกิดการสู้รบกันขึ้นนั้น ข้างไหนจะมีชัยชนะ..?

มีคำตอบว่า.. ข้างเมืองกุสินาราจะมีชัยชนะ เพราะเหตุว่าเทพยดาทั้งหลายที่มาบูชา พระบรมสารีริกธาตุ ได้เข้าเป็นฝักฝ่ายกับข้างชาวเมืองกุสินาราทั้งนั้น

ในคราวนั้น โทณพราหมณ์ ผู้เป็นอา จารย์ใหญ่ของกษัตริย์ในชมพูทวีป ได้ขึ้นไป บนเชิงเทินกำแพง ร้องประกาศห้ามไม่ให้สู้รบกันด้วยสุนทรพจน์ว่า



สุนทรพจน์ของโทณพราหมณ์

“อัมหากัง พุทโธ... แปลเป็นใจความดัง นี้ว่า...พระพุทธเจ้าของพวกเรา แม้พระองค์ยัง ไม่บรรลุพุทธภูมิ ในคราวที่ทรงบำเพ็ญบารมี ทั้งหลาย ไม่ทรงทำความโกรธในคนอื่นๆ ได้ กระทำแต่ ขันติ คืออดทนอย่างเดียว

สมัยเสวยพระชาติเป็น ขันติวาทิดาบส สมัยเป็น พญาช้างฉัททันต์ สมัยเป็นพญานาค ชื่อ ภูริทัตตะ และในชาดกอื่นๆ เป็นอันมาก ครั้นถึงบัดนี้ พระพุทธเจ้าของพวกเราก็ได้ทรงบรรลุลักษณะความเป็นผู้คงที่ ในอารมณ์ที่ชอบ ใจและไม่ชอบใจแล้ว ก็ยังคงทรงสั่งสอนเรื่อง ขันติ อยู่นั่นเอง การที่พวกเราจะมาประหัต ประหารกันด้วยเหตุนี้ย่อมไม่ดีเลย

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านทั้งหมดจงเป็นผู้อดกลั้น สามัคคีพร้อมเพรียงกัน พวกเรายินดีพร้อมใจกันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วน ขอให้พระเจดีย์จง แพร่หลายไปทั่วทุกทิศเถิด เพราะเหล่าชนผู้ที่ เลื่อมใสแล้วในพระองค์ผู้มีพระจักษุญาณ ยัง มีอยู่อีกมาก...” ดังนี้

ครั้นสิ้นสุดการกล่าว “สุนทรพจน์” ของ โทณพราหมณ์ ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ของกษัตริย์ ทั้งหลาย ความโกรธ..ความขุ่นข้องหมองใจก็ พลันสงบลงไป เหมือนกับเอาน้ำลงไปราดรด บนกองไฟฉะนั้น ทำให้น้ำพระทัยของกษัตริย์ ทั้ง ๗ เมืองเยือกเย็นลง รวมทั้งความโล่งใจ ของมัลลกษัตริย์ไปด้วย ที่อาจารย์ของตนแก้ ปัญหาผ่านพ้นไปได้ ตามที่บรรยายมาถึงตอนนี้ ผู้แสดงเป็นกษัตริย์ทั้งหลายจึงได้มารวมกัน

สำหรับการแสดงลีลาประกอบกับคำบรรยายนั้น ผู้แสดงทุกท่านพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อจะให้เกิดภาพลักษณ์ที่เป็นจริง ช่วยให้เกิดบรรยากาศที่แท้จริง ซึ่งอากาศในวันนั้น ก็เหมือนเป็นใจ ขณะที่บรรยายนั้นหันหน้าไป ทางเขาถวายพระเพลิง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก พอดี มองดูบนท้องฟ้าเห็นมีเมฆก้อนหนึ่ง ที่คอยบดบังแสงอาทิตย์ตลอดเวลา ถ้าดูโดยภาพ รวมแล้ว จะเห็นเหมือนกับควันไฟกำลังลอยขึ้นจาก เขาถวายพระเพลิง ฉะนั้น

เป็นอันว่า ถ้าจะดูตามภาพประกอบที่ลงในหนังสือ ผู้อ่านจะสังเกตได้ทุกภาพว่า ไม่มีเงาของคนหรือวัตถุสิ่งของเลยตลอดทั้งวัน เพราะฉะนั้น เมื่อถ่ายภาพออกมา แล้วนำมา ลงในหนังสือทุกตอนที่ผ่านมา จึงทำให้ภาพไม่ สว่างตา คือไม่ชัดเจนเท่าที่ควร แต่ก็ยังดีกว่า ที่จะไม่มีเอาเสียเลย อย่างน้อยช่วยให้การอ่านเรื่องราวที่เล่าผ่านมานี้ จะช่วยให้เกิดภาพพจน์ ได้ดียิ่งขึ้น คราวนี้มาอ่านเรื่องราวกันต่อไปนะ

เมื่อ คุณพงษ์ศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้แสดงเป็น โทณพราหมณ์ เดินออกไปทำท่าเจรจาสงบศึก แล้วผู้รับบทเป็นกษัตริย์ทั้ง ๗ เมือง จึงแสดง ทีท่าว่ายอมจำนน แล้วจึงกลับมานั่งยังที่ของ ตนในปะรำพิธีตามเดิมฟังเสียงกล่าวต่อไปว่า

“เมื่อกษัตริย์เหล่านั้นยินยอมแล้วโทณพราหมณ์ จึงให้เปิดพระหีบทองน้อย (ผอบทองคำ) กษัตริย์ทั้งปวงเห็นพระบรมสารีริกธาตุ ทั้งหลาย อันทรงพรรณพิลาศงามโอภาสด้วย รัศมี ที่ประดิษฐานอยู่ในพระหีบทอง ได้เตือน พระทัยกษัตริย์ทั้งหลายให้ระลึกถึงพระมหา กรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระทศพล จึงได้พร้อมกันอภิวาทพากันรำพันว่า

(ในตอนนี้ ผู้แต่งเป็นกษัตริย์ลุกขึ้น ยืนยกมือไหว้ สักครู่หนึ่งแล้วจึงนั่งลง แล้วให้ผู้ แสดงเป็นกษัตริย์ทั้งหมดเอาผ้าเช็ดหน้าทำเป็น ซับน้ำตา เพื่อแสดงให้สมกับบทที่จะกล่าวต่อไป)

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ แต่ก่อนข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้เห็นพระสรีระของพระ องค์มีผิวพรรณผุดผ่องดังทองคำ พร้อมทั้งมี ลักษณะพระมหาบุรุษ ๓๒ ประการ แวดล้อม ด้วยฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการ งามรุ่ง เรืองด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ แต่ บัดนี้..ก็เหลือแต่พระบรมธาตุ อันมีวรรณะดั่ง ทองคำ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การณ์นี้ไม่ สมควรแก่พระองค์เลย...” ดังนี้

ในขณะที่บรรดาพระราชาทั้งหลาย กำลังคร่ำครวญด้วยความโศกศัลย์รันทดอยู่นั้น ผู้เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตเช่น โทณพราหมณ์ เห็นเป็นโอกาสเหมาะ เมื่อรู้ว่าทุกคนกำลังเผลอ จึงแอบหยิบ พระเขี้ยวแก้วข้างขวาเบื้องบน ของ สมเด็จพระทศพลขึ้นซ่อนไว้ในมวยผม”

ถ้าดูตามรูปภาพก็จะเห็น คุณพงษ์ศักดิ์ กำลังแสดงท่าทางประกอบไปด้วย แต่ก็มีเรื่อง ตลกจะเล่าให้ฟังเล็กน้อย เมื่อได้บรรยายมาถึง ตอนนี้ ผู้แสดงบท “โทณพราหมณ์” ก็มีการ ขัดข้องทาง “เทคนิค” กันเล็กน้อย คือแสดง ท่าทางไม่ตรงกับบทที่กำลังบรรยาย

ผู้จัดจึงต้องอ่านบทซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ก็ยังไม่เห็นยกมือขึ้นสักที จำต้องบอกนอกบทไปว่า “ยกมือขึ้นแล้วหรือยัง?” จึงมีเสียงหัวเราะของผู้ชมผสมไปด้วย มาถามทีหลัง คุณพงษ์ศักดิ์ บอกว่าไม่ค่อยได้ยิน สงสัยจะตื่นเต้นกระมัง..?

เนื่องจากงานที่จัดทั้งหมดนี้ ได้พิมพ์บทแจกไปให้ผู้แสดงประกอบเท่านั้น โดยให้ แต่ละคนหรือแต่ละคณะไปฝึกซักซ้อมกันเอง ซึ่งมีเวลาเตรียมงานกันเพียง ๒-๓ เดือนเท่านั้น จึงไม่เคยที่จะได้มาซ้อมรวมกันทั้งหมดเลย เป็นเพราะต่างคนต่างไม่มีเวลา แล้วก็อยู่ห่างไกลกันอีกด้วย ทำให้เกิดความหนักใจแก่ผู้จัดมาก

แต่เมื่อมาถึงวันงานจริงคือ วันอังคารที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๙ ทุกคนได้แสดงความ สามารถของตนเอง คือรู้จักสร้างความสัมพันธ์ฉันท์มิตร ทั้ง ๆ ที่มิได้เคยสนิทสนมกันมาก่อน แต่ก็ได้ร่วมแสดงกันอย่างสมบทบาทจริง ๆ จึงสร้างความเบาใจ และช่วยบรรเทาความทุกข์ใจ ให้แก่ผู้จัด เหมือนกับช่วยขจัดของเสียที่หมัก หมมในร่างกายให้ออกไปฉะนั้น)

“ครั้นสำเร็จตามประสงค์ของตนแล้ว จึงจัดการตักตวงพระบรมสารีริกธาตุด้วย ทะนานทอง เป็น ๘ ส่วน ได้พระนครละ ๒ ทะนานเท่าๆ กันพอดี รวมพระบรมสารีริกธาตุเป็น ๑๖ ทะนานด้วยกัน"

ในโอกาสที่กำลังบรรยาย พุทธประวัติ นั้น ผู้แต่งชุด พราหมณ์ราชทูต ทั้ง ๗ คน เดินถือ ผอบแก้ว ที่วางอยู่บนพาน (ผอบทั้ง ๘ ใบนี้ได้มาจาก อ.บุปผาชาติ (โอ๋) ออกไปรับ พระบรมสารีริกธาตุจาก โทณพราหมณ์ แล้ว อัญเชิญเข้ามาถวายกษัตริย์ทั้ง ๗ เมือง ส่วน โทณพราหมณ์เข้ามาถวายมัลลกษัตริย์ ซึ่งได้ สมมุตินั่งอยู่ในปะรำพิธี โดยมีผู้ชมทั้งหลาย นั่งอยู่โดยรอบ เพื่อชมเรื่องราวที่จะกล่าวต่อไป

“ครั้นแบ่งพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว จึงได้อัญเชิญเข้าไปถวายแด่บรรดาพระมหา กษัตริย์ทั้งหลาย ในขณะนั้น ท้าวสักกเทวราช จึงได้ทรงลอบเอา พระเขี้ยวแก้ว ที่ซ่อนอยู่ ในมวยผมของ โทณพราหมณ์ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดียสถาน บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่อไป

ฝ่ายโทณพราหมณ์ก็ยกมือขึ้นค้นหา พระเขี้ยวแก้วบนมวยผม เมื่อไม่พบก็เสียใจ ครั้นจะไต่ถามก็กลัวว่าเขาจะรู้ความจริง จึงนิ่งเฉยไว้ไม่แสดงอาการอันใดออกมา

ต่อมาบรรดากษัตริย์ทั้งหลาย เมื่อได้ รับส่วนแบ่งแห่งพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ต่าง องค์ต่างก็จัดขบวนแห่อันมโหฬาร อัญเชิญพระ บรมสารีริกธาตุไปยังพระนครของตนด้วยกอง เกียรติยศอันสวยงาม แล้วให้ก่อพระสถูปเจดีย์ขึ้น บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นที่สักการบูชาของมหาชน จึงปรากฏว่ามีพระเจดีย์ที่บรรจุพระ บรมธาตุอยู่ทั่วไป คือ

๑. พระเจ้าอชาตศัตรู อัญเชิญไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ เมืองราชคฤห์

๒. พระเจ้าลิจฉวี อัญเชิญไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ เมืองไพสาลี

๓. พระเจ้าสากยราช อัญเชิญไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ กรุงกบิลพัสดุ์ และในปัจจุบันนี้ พระบรมสารีริกธาตุบางส่วน ได้ถูกอัญเชิญ มาสถิตอยู่ที่ พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕

๔. พระเจ้าถูลียราช อัญเชิญไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ เมืองอัลลกัปปนคร

๕. พระเจ้าโกลิยราช อัญเชิญไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ เมืองรามคาม

๖. พระเจ้ามัลลราช อัญเชิญไปบรรจุ ไว้ในพระเจดีย์ที่ เมืองปาวา

๗. มหาพราหมณ์ อัญเชิญไปบรรจุไว้ ในพระเจดีย์ที่ เวฏฐะทีปะกะนคร

๘. มัลลกษัตริย์ อัญเชิญไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ กุสินารามหานคร

๙. ทะนานทอง ที่ตวงพระบรมสารีริก ธาตุนั้น โทณพราหมณ์ ได้ขอมาบรรจุไว้ที่ เมืองกุสินารา หรือที่เรียกกันว่า พระตุมพเจดีย์ แปลว่า เจดีย์เป็นที่บรรจุทะนานทอง ซึ่งปรากฏตามหลักฐานยืนยันว่า คือ พระประ โทณเจดีย์ อยู่ที่เมืองไทยนี่เอง

๑๐. พระอังคาร หรือ “เถ้าถ่าน” นั้น พระเจ้าโมริยราช ได้อัญเชิญไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ เมืองปิปผลิวัน ซึ่งเรื่องนี้ผู้เขียนได้พบหลักฐานจาก ตำนานพระธาตุขามแก่น เล่าว่า...



ประวัติ “พระอังคารธาตุ”

ที่ปรากฏอยู่ในเมืองไทย

“ในขณะนั้น พระเจ้าโมริยกษัตริย์แห่ง โมริยวงศ์ ผู้ครองนครโมรีย์ (ประเทศกัมพูชา ในปัจจุบัน) ได้ทรงทราบข่าวการเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน จึงได้เดินทางมา กรุงกุสินารายณ์ (ท่านผู้อ่านจะสังเกตได้ว่า ในตำนานเล่มนี้ เรียก คำว่า “กุสินารา” เป็น “กุสินารายณ์” ตรง กับชื่อซากเมืองเดิมในเขตกาญจนบุรี)

แต่พอไปถึงทราบว่า พระบรมสารีริก ธาตุถูกแบ่งปันกันหมด เหลือแต่พระอังคารธาตุ เท่านั้น ที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน พระองค์จึงทรงขอรับพระอังคารธาตุนั้น โดยบรรจุไว้ในกระอูบ ทอง แล้วอัญเชิญมายังที่ ภูกำพร้า (พระธาตุพนม) เพราะมีศรัทธาใคร่จะได้นำพระอังคารธาตุไปบรรจุร่วมกับพระอุรังคธาตุด้วย...”

ในตอนนี้ จะขอนำเรื่องราวที่กล่าวไว้ใน ตำนานพระธาตุพนม มาแทรกไว้ดังนี้...

“ในขณะที่จะถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระนั้น พระอุรังคธาตุ คือ พระบรมธาตุ ส่วนหน้าอก ได้เสด็จออกจากพระหีบทองด้วย อำนาจพุทธานุภาพมาประดิษฐานอยู่เหนือฝ่ามือ ข้างขวาของ พระมหากัสสป เพื่อนำไปบรรจุ ไว้ในพระเจดีย์ที่ ภูกำพร้า ตามพระพุทธประ สงค์ต่อไป

แต่ก่อนที่จะอัญเชิญไปภูกำพร้านั้น พระ มหาเถระพร้อมกับพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ได้ แวะที่ เมืองหนองหารหลวง (สกลนคร) ก่อน ในเวลานั้น พระยาสุวรรณภิงคาร เป็นผู้ครอง เมือง มีพระราชประสงค์จะขอแบ่งพระอุรังคธาตุไว้ครึ่งหนึ่ง แต่พระมหากัสสปทูลห้ามว่า พระองค์อย่าได้ทรงฝ่าฝืนพระพุทธบัญชาเลย

เมื่อพระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงบูชา พระอุรังคธาตุ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลาย แล้วก็ร่วมขบวนอัญเชิญ พระอุรังคธาตุ ไปสู่ ภูกำพร้ากับพระเถระทั้งหลาย แต่พระองค์ตรัส ห้ามมิให้ผู้หญิงไปด้วยแม้แต่คนเดียว

ฝ่ายหญิงทั้งหลายอันมีพระราชเทวี คือ พระนางนารายณ์เจงเวง เป็นต้น จึงพากันเข้า ไปไหว้พระมหาเถระแล้วกล่าวว่า ผู้ข้าทั้งหลาย จะขอเอาพระอุรังคธาตุไว้บ้าง เพราะได้แข่งขันกับทางฝ่ายผู้ชาย ปรากฏว่าฝ่ายผู้หญิงเป็นผู้สร้างพระเจดีย์เป็นที่บรรจุได้เสร็จก่อน

ครั้งนั้น พระมหากัสสปคิดจะอนุเคราะห์ หญิงทั้งหลาย จึงให้พระอรหันต์องค์หนึ่งกลับ ไปสู่ที่ถวายพระเพลิง นำเอา พระอังคาร มา จากเชิงตะกอน ๓ ทะนาน ด้วยอิทธิฤทธิ์แล้ว มอบให้แก่หญิงทั้งหลาย เพื่อนำไปบรรจุไว้ใน พระเจดีย์ที่พระราชอุทยาน สถานที่นั้นจึงได้ชื่อว่า พระธาตุนารายณ์ (ปัจจุบันนี้คือ วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง อยู่ในเมืองสกลนคร)

ส่วนผู้ชายที่ได้ไปสร้างพระเจดีย์ค้างไว้ บน ดอยแท่น เทือกเขาภูพาน อันเป็นที่พระพุทธ เจ้าเคยเสด็จมาประทับนั่ง (สมัยนี้เรียกว่า พระธาตุภูเพ็ก) ขอนำ ตำนานพระธาตุพนม มาเล่า ไว้เพียงแค่นี้ ส่วน ตำนานพระธาตุขามแก่น จ.ขอนแก่น ก็ได้เล่าต่อไปอีกว่า...

“ในระหว่างการเดินทางได้พากันพักแรมค้างคืน ณ สถานที่แห่งหนึ่งเป็นที่ดอน มีต้น มะขามใหญ่ตายซากอยู่ตอหนึ่ง เปลือกไม่มี เหลือแต่แก่นข้างใน จึงได้อัญเชิญพระอังคาร ธาตุวางไว้บนตอมะขามผุนั้น ครั้นรุ่งเช้าจึงออกเดินทางต่อไปยังพระธาตุพนม เมื่อลุถึงพระธาตุพนม กลับปรากฏ ว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว และ ได้บรรจุพระอุรังคธาตุไว้ในองค์พระธาตุเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว จะนำสิ่งของใดเข้าไปบรรจุไว้ ภายในมิได้อีกแล้ว

ดังนั้น โมริยกษัตริย์และคณะจึงได้ออก เดินทางกลับมาตามเส้นทางเดิมด้วยความผิดหวัง ที่ไม่สามารถอัญเชิญพระอังคารธาตุไปประดิษ ฐาน ณ พระธาตุพนมได้ เมื่อเดินทางผ่านมาถึงต้นมะขามใหญ่ ซึ่งเคยพักค้างแรมก็ต้องประหลาดใจ ปรากฏ ว่าตอต้นมะขามผุที่ตายไปแล้วนั้น กลับผลิดอก ออกผลเจริญงอกงาม แตกใบเขียวชอุ่ม แล ดูงามตายิ่ง

โมริยกษัตริย์และคณะเห็นเป็นอัศจรรย์ ด้วยอำนาจพุทธานุภาพแห่งพระอังคารธาตุ จึงทรงโปรดให้สร้างพระเจดีย์ครอบต้นมะขามใหญ่ ขึ้น พร้อมกับอัญเชิญพระอังคารธาตุประดิษ ฐานไว้ภายในพระธาตุองค์นั้น พร้อมบรรจุของ มีค่าต่างๆ อาทิ แก้วแหวนเงินทองลงในคำสั่ง สอนของพระพุทธเจ้า ๙ บท ไว้ในเจดีย์นั้น เรียกว่า “พระเจ้า ๙ องค์”

ต่อมาบริเวณนั้น ได้มีชาวบ้านมาอยู่ อาศัยกันมากขึ้น จนกลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อว่า “บ้านขาม” สมัยต่อมาได้สร้างเป็นเมืองแล้ว ตั้งชื่อตามพระธาตุว่า “เมืองขามแก่น” ภายหลัง เรียกเพี้ยนไปว่า “ขอนแก่น” ดังนี้...”

แต่ในตำนานบางเล่มได้เล่าว่า พระยาหลังเขียว หรือ โมริยกษัตริย์ ได้อัญเชิญพระอังคารธาตุไปสถาปนาไว้ในนครโมรีย์ก่อนแล้ว จึงนำพระอังคารเดินทางมาที่นี่พร้อมพระอรหันต์ ๙ องค์ จึงขอนำเรื่องราวมาเล่าไว้เพียงแค่นี้

ขอกลับมาเล่าถึงเหตุการณ์นับตั้งแต่ วันปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร เพ็ญเดือน ๖ ปีมะเส็ง จนถึงครบกำหนด ๗ วัน คือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ จึงได้ถวายพระเพลิงพระบรม ศพขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึง ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุตามลำดับนั้น

การสมมุติเรื่องราวโดยย่อตาม พุทธประวัติ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากญาติโยม และ เพื่อนพระภิกษุทั้งหลาย ที่ได้ร่วมกันมาแสดงแบบการแต่งกาย ประจำภาค แต่ละภาคก็ดี ชุดฟ้อนรำ ของทุกภาคก็ดี หรือย้อนไปสมัย พุทธกาลก็ดี เพื่อจำลองเหตุการณ์ที่ผ่านไปเมื่อ ๒,๕๔๐ ปีมาแล้ว ก็เป็นอันว่าสิ้นสุดยุติกัน เพียงแค่นี้

จึงขออนุโมทนาความดีทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันจัดเลี้ยงอาหารก็ดี จัดทำบายศรี จัดสถานที่ ช่วยขนสิ่งของต่างๆ ช่วยประสานงานทุกด้าน ถือว่าทุกท่านเป็นเจ้าภาพ รวมทั้งเพื่อนพระภิกษุ ทุกรูปไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ขออวยพรให้ทุกท่าน ที่ได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนา จง ได้พบหนทางแห่งมรรคผลนิพพานเทอญ

ต่อไปนี้ขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยอัญเชิญ ราชรถกลับเข้ามาที่หน้าปะรำพิธีด้วย แล้วขอให้ผู้แทนกษัตริย์ทั้ง ๘ เมือง นำผอบแก้วที่ สมมุติว่าบรรจุพระบรมธาตุส่วนของตนนั้นไปที่ราชรถ เพื่อทำพิธีบรรจุไว้ในพระพุทธรูป ปางปรินิพพาน ต่อไป และในเวลาที่กำลังบรรจุนั้น ขอให้ญาติโยมจับด้ายสายสิญจน์ไว้ ตั้งใจอธิษฐานร่วมบรรจุพระบรมธาตุในครั้งนี้ด้วย

ครั้นประกาศดังนี้แล้ว บรรดาเจ้าพนักงานทั้งหลาย ต่างก็ช่วยกันอัญเชิญราชรถกลับเข้ามาหน้าปะรำพิธี จึงเป็นที่แปลกใจแก่ผู้ชมทั้งหลาย เพราะราชรถที่เคยประดิษฐานของ พระพุทธรูปจำลอง ซึ่งได้ทำพิธีถวายพระเพลิงกันไปหมดสิ้น บัดนี้ ได้กลับมาเป็นพระพุทธรูปโลหะปิดทองงามเหลืองอร่ามอีกองค์หนึ่ง



พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่เดินทางไปร่วมงานในวันนั้น นอกจากจะได้เห็นพระพุทธรูปจำลอง ตามที่ได้อัญเชิญไปร่วมขบวนแห่ใน ตอนเช้าแล้ว ส่วนใหญ่จะยังไม่ทราบว่า ผู้จัด ได้เตรียมหล่อพระพุทธรูป ปางปรินิพพาน ไป ด้วยอีก ๑ องค ์ เพื่อสำหรับทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในตอนสุดท้ายของงาน ซึ่งจะทำพิธีในเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น.

ฉะนั้น ถ้ามีผู้ที่เดินทางกลับไปก่อนในระหว่างงาน จะไม่ทราบเรื่องนี้เลยว่า นอกจาก จะมีพระพุทธรูป ปางปรินิพพานที่ทำด้วยกระ ดาษ เพื่อที่จะกระทำพิธีถวายพระเพลิงกันจริงๆ แล้ว ผู้จัดจะทำพระพุทธรูป ปางปรินิพพาน องค์จริงที่หล่อด้วยโลหะไปด้วยอีกองค์หนึ่ง ซึ่ง ได้ให้เจ้าหน้าที่เอาไว้ข้างหลังพระเมรุมาศก่อน

เมื่อดูตามรูปภาพนี้แล้ว ท่านผู้อ่านจะสังเกตได้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีรูปลักษณะเหมือนกับ พระพุทธรูปจำลอง องค์ที่ถวาย พระเพลิงไปแล้ว จึงทำให้บางคนที่กลับไปก่อน อาจจะเข้าใจผิดคิดว่า การที่เผาพระพุทธรูปนั้น จะเป็นการปรามาสพระพุทธเจ้า

แต่ความเป็นจริงแล้ว พระพุทธรูปองค์จำลอง ที่เขาทำด้วยกระดาษนั้น เขาทำเพื่อ ให้เกิดบุญกุศลใหญ่ ถือว่าได้มีโอกาสถวาย พระเพลิงพระพุทธเจ้าคล้ายกับสมัยพุทธกาล เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด

ครั้นเมื่อเผาหมดสิ้นไปแล้ว แต่ปรากฏว่ายังมีออกมาให้เห็นอีก ๑ องค์ ดูเหลืองอร่ามงามตามาก นั่นเป็นการวางแผนเอาไว้ก่อนแล้ว การที่ทำเช่นนี้ก็ไม่มีอะไร หวังจะให้ทุกคนแปลก ใจเล่นเท่านั้น เพราะทุกท่านก็มีโอกาสได้ร่วมสร้าง เนื่องจากเป็นเงินกองกลางของพวกเรา ทุกคน จึงขอให้ทุกท่านได้ร่วมกันอนุโมทนา สาธุการเทอญ

หลังจากเจ้าหน้าที่ได้อัญเชิญราชรถอันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป “ปางปรินิพพาน” แล้ว ซึ่งมีลักษณะสวยงามเหมือน กับองค์ที่ถวายพระเพลิงไปแล้ว เพราะสร้างมา จากแบบพิมพ์เดียวกัน

ต่อจากนั้น ผู้ที่แต่ง ชุดกษัตริย์ทั้ง ๘ พระนคร ต่างก็ได้เดินถือ พานผอบแก้ว เป็นการสมมุติว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แล้วอัญเชิญไปถวายไว้ที่ราชรถ เพื่อเป็นการจำลองเหตุการณ์ตามพุทธประวัติ ตอนที่กษัตริย์ทั้งหลายนำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ อันประดิษฐานอยู่ที่พระนครของพระองค์ เพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาของบรรดา ประชาชนทั้งหลาย

เมื่อผู้ที่แต่งชุดสมมุติเป็นกษัตริย์ทั้ง ๘ พระนคร ได้เดินกลับมานั่งยังที่เดิมของตนเองแล้ว เจ้าหน้าที่จึงเตรียมผอบพระบรมสารีริกธาตุจริง เพื่ออาราธนาให้พระเดชพระคุณท่าน เจ้าคุณ พระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัด กาญจนบุรี และท่านเจ้าคุณ พระวิสุทธิกาญจนวิบูลย์ เจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรัง เป็นผู้บรรจุพระบรมธาตุภายในพระเศียรของพระพุทธรูป

ในขณะที่กำลังบรรจุอยู่นั้น ถือว่าเป็นเวลาอันอุดมมงคล พระเถรานุเถระทั้งหลาย จึงได้เจริญชัยมงคลคาถา เจ้าพนักงานตีฆ้องลั่นกลองชัยไปตลอดพิธี โดยมีญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ร่วมเป็นสักขีพยานการกระทำพิธีในครั้งนี้ พร้อมทั้งได้ยินเสียงพลุสัญญาณหลาย ชนิดดังขึ้น เป็นการบอกกล่าวต่อเหล่าเทพเจ้า ทั้งหลายได้ร่วมอนุโมทนาการ

สำหรับการจุดพลุในงานนี้ มีชาวคณะ ท่าเรือ คือ คุณสมศักดิ์ พูนศักดิ์ไพศาล เป็น ผู้ติดต่อประสานงาน โดยมีการจุดพลุ ๒ ครั้ง คือ ครั้งแรก ขณะทำ พิธีการถวายพระเพลิง และครั้งที่ ๒ พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อให้เกิดบรรยากาศตามโบราณราชประเพณี เมื่อเสร็จพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว เจ้าหน้าที่จึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานใน วิหารพระแท่น เพื่ออนุสรณ์แห่งการตามรอย พระพุทธบาทไว้ ณ สถานที่นี้สืบต่อไป



พิธีทอดผ้าป่ามหากุศล

ต่อจากนั้น ผู้จัดจึงได้แจ้งยอดเงินที่ ได้ร่วมกันบริจาคไว้ในระหว่างตอนพักเที่ยง ซึ่งเป็นตอนที่หลังจากทานอาหารกลางวันกันแล้ว ผู้ที่ร่วมทำบุญทุกท่านจึงได้รับมอบของที่ระลึกคือ พระผงรุ่นพิเศษ ได้จัดสร้างไว้เป็นอนุสรณ์ ที่ท่าน...เคยเป็น “ขุนแผน” มาก่อน ซึ่งต่อ มาได้เป็น พระยากาญจนบุรี โดยมีเจ้าภาพ ในการจัดสร้างคือ คณะโคราช นั่นเอง

พร้อมกันนี้ยังมี ลูกประคำ จากวัด หลวงพ่ออุตตมะ และรูปภาพ พระแท่น พร้อมทั้งรูปภาพ รอยพระพุทธบาททั้ง ๔ ภาค อีกด้วย งานนี้มีของมอบให้กันหลายอย่าง จึงมี ผู้ร่วมสมทบทุนกันมากมาย แต่จำนวนเงินเท่าไรนั้น จะขอแจ้งยอดทั้งหมดในฉบับหน้า

เมื่อถึงเวลาทำพิธีทอดผ้าป่า เจ้าหน้าที่จึงได้ถวายผ้าไตรจีวรพร้อมด้วยของที่เป็นบริวารทั้งหลาย พร้อมทั้งแบ่งเงินถวายให้แก่เจ้าอาวาส วัดพระแท่นดงรัง ๑ แสนบาทเศษ เจ้าอาวาส วัดพระบาททั้ง ๔ แห่งๆ ละ ๕ หมื่นบาท เจ้าอาวาสวัดอื่นๆ อีกวัดละ ๑ หมื่นบาท และถวายพระทั่วไปอีกหลายองค์หลายพันบาท

เมื่อถวายปัจจัยและสิ่งของแล้ว ท่านเจ้าอาวาส วัดพระแท่นดงรัง จึงได้กล่าววาจา สัมโมทนียกถา แทนพระสงฆ์ทั้งหมด มีใจความ โดยย่อว่า ท่านรู้สึกปลาบปลื้มใจเป็นอย่างมาก ในการจัดงานครั้งนี้ ถึงแม้จะมีเงินมากก็จัดไม่ ได้อย่างนี้ ถ้าไม่ได้ด้วย ความศรัทธา ของแต่ ละคน งานคงไม่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเช่นนี้ จึงขอให้ญาติโยมจงมีความสุขตลอดไปเทอญ

ครั้นท่านเจ้าคุณกล่าวจบแล้ว ทั้งพระภิกษุและพุทธบริษัททั้งหลาย ในนาม คณะ ศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ทั่วทุกภาค ต่างก็ยกมือพนมกล่าวคำ “สาธุ” ขึ้นพร้อมกันแล้วผู้จัดจึงได้กล่าวสรุปงานทั้งหมดว่า

ในวันนี้พวกเราได้เดินทางมาร่วมพิธีกัน ถือว่าเป็นวันสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะได้ร่วมงานอันเป็นมหากุศลกันตลอดทั้ง วันคือ ในตอนเช้าได้จัดขบวนแห่รูป รอยพระ พุทธบาททั้ง ๔ ภาค และ บายศรีรวมภาค พร้อมทั้งมีการแต่งกาย ชุดประจำภาค และชุด ฟ้อนรำ ๔ ภาค อีกด้วย

การจัด งานรวมภาค ในครั้งนี้ จึงเป็นการรวมเรื่องพิธีกรรมทุกอย่าง คือ มหาพิธี บวงสรวง พิธีสมโภชรอยพระพุทธบาททั้ง ๔ ภาค พร้อมทั้ง พระแท่นที่ปรินิพพาน และ พิธีจำลองเหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อเป็นการย้อนรอยถอยหลังไปในสมัยพุทธกาล ถือ ว่าเป็นการรวมตัวของผู้ที่มุ่งหวังพระนิพพาน วันนี้จึงน่าจะเรียกว่า วันมหาสันนิบาตสโมสร

หลังจากพิธีจำลองเหตุการณ์ วันปรินิพพาน, วันถวายพระเพลิง และ วันแจกพระบรมสารีริกธาตุ แล้วยังมี พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และ พิธีทอดผ้าป่ามหากุศล กันอีก

สำหรับการจัด งานฟื้นฟูรอยพระพุทธบาท ที่ ผ่านมาแต่ละภาค พวกเราก็ได้จัดสร้าง พระพุทธรูป ไปถวายเกือบทุกแห่ง และเป็นการ สร้างตามพระพุทธลักษณะไว้ครบทุกอิริยาบถ คือพระพุทธรูปยืน ดำเนิน นั่ง และนอน เป็นต้น

โดยเริ่มจาก ภาคเหนือ ได้อัญเชิญพระ พุทธรูป “สมเด็จองค์ปฐม” ขนาดหน้าตัก ๓๐ นิ้ว พร้อมกับ รูปเหมือนหลวงพ่อ ไปถวาย วัดพระพุทธบาทสี่รอย จ.เชียงใหม่

ครั้งที่ ๒ ภาคใต้ พวกเราได้จัดสร้างพระพุทธรูปดำเนิน “ประทับรอยพระพุทธบาท” สูง ๙ ศอก เพื่อประดิษฐานไว้ ณ เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต พร้อมทั้งอัญเชิญรูปเหมือน หลวงปู่ปานและหลวงพ่อ ไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารน้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ครั้งที่ ๓ ภาคอีสาน ได้สร้างพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก ๕๐ นิ้ว และพระอัครสาวกทั้งสอง อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดพระพุทธบาทภูสิงห์ จ. ศรีสะเกษ

ครั้งที่ ๔ ภาคกลาง ได้อัญเชิญพระพุทธรูปยืน ปางเปิดโลก ๑ องค์ และพระพุทธ รูปนั่ง ๔ สมัยคือ สมัยเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง และ พระพุทธชินราช รวม ๕ องค์

เป็นอันว่า พระพุทธรูปที่อัญเชิญไป ประดิษฐานไว้ทั่วทุกภาคนั้น จะเป็นพระพุทธ รูปยืน เดิน นั่ง และนอน คือ พระพุทธรูปปางปรินิพพาน โดยมาครบทั้ง ๔ อิริยาบถ ณ วัดพระแท่นดงรังเป็นที่สุดท้ายนั่นเอง

ประการสำคัญ ได้ทำพิธีบรรจุพระบรม สารีริกธาตุไว้ใน พระเกตุมาลา บนพระเศียรของ พระพุทธรูปทุกองค์ ที่ได้อัญเชิญไปประดิษ ฐานไว้ทั่วทุกภาคนั้น เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ประ เทศชาติและพระพุทธศาสนาสืบต่อไป

งานพระแท่นดงรัง "ตอนจบ"

◄ll กลับสู่สารบัญ



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2034
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 6/9/10 at 06:38 Reply With Quote


(Update ตอนจบ 06-09-53)


webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2034
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved