ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 18/4/08 at 09:42 Reply With Quote

(ตอนที่ 2) รูปภาพอสุภะ "ศพจริงๆ" ถ้าไม่มั่นใจก็อย่าเพิ่ง..."Click"


<< ย้อน ตอนที่ 1 คลิกที่นี่


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก
เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)

พิจารณาร่างกายเป็น ธาตุ ๔
[๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก ฉันใด




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม



เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ




พิจารณาเป็น "นวสี" คือ ป่าช้าทั้ง ๙

๑. ศพที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลือเยิ้ม
[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็น "ศพ" ที่เขาทิ้งในป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้








เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ



๒. ศพที่ถูกหมู่สัตว์กัดกิน
[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆ ชนิดฟอนกินอยู่บ้าง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้





เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ





ภาพอสุภะ

ภาพดูแล้วอย่าคิดมาก

ภาพดูแล้วอย่าคิดมาก 1

ภาพเตือนสติระดับต้น

ภาพเตือนสติระดับต้น 1

ภาพหวาดเสียว + ห้ามทำตาม


ภาพโครงสร้างร่างกาย

ภาพโครงสร้างร่างกาย 1

ภาพโครงสร้างร่างกาย 2

ภาพโครงสร้างร่างกาย 3

ภาพโครงสร้างร่างกาย 4

ภาพโครงสร้างร่างกาย 5

ภาพโครงสร้างร่างกาย 6

ภาพโครงสร้างร่างกาย 7

ภาพโครงสร้างร่างกาย 8

ภาพโครงสร้างร่างกาย 9

ภาพโครงสร้างร่างกาย 10

ภาพโครงสร้างร่างกาย 11

ภาพโครงสร้างร่างกาย 12

ภาพโครงสร้างร่างกาย 13

ภาพโครงสร้างร่างกาย 14

ภาพโครงสร้างร่างกาย 15

ภาพโครงสร้างร่างกาย 16

ภาพโครงสร้างร่างกาย 17

ภาพดูแล้วได้ข้อคิด 1

ภาพดูแล้วได้ข้อคิด 2

ภาพดูให้คิด 2

ภาพดูให้คิด 3


ภาพการช่วยเหลือคนที่ติดอยู่ในรถ

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 6

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 9

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 10

ภาพดูให้คิด 4

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 2

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 3

ภาพดูให้คิด

ภาพดูให้คิด 1

ภาพอุบัติเหตุจากการขับรถ

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 7

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 8

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 11

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 12

ภาพดูให้คิด 5

ภาพอุบัติเหตุจากการแข่งรถ 1


ภาพดูแล้วไม่ประมาท 4

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 5

ภาพแห่งความจริง

ภาพการผ่าตัดเสริมเต้านม

ภาพหมอผ่าตัด

ภาพการผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิง

คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
(พระมหาวีระ ถาวโร)

นวสี ๙ ชุด A (คลิปเสียงเทศน์ตอนนี้ จะไม่ตรงกับคำเทศน์ที่เป็นตัวอักษร)



(โปรดติดตามตอน "สรุปกายคตานุสสติ" ชุด B ในตอนที่ 3 ต่อไป)




ทีนี้เรามาว่ากันถึง กายคตานุสสติ หรือ ปฏิกูลบรรพ ก็ต้องนับว่าเดินเข้าไปถึงภายในกาย ว่าชิ้นส่วนของกายมีอะไรบ้าง ตับ ไต ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อย่างนี้เป็นต้น มันสะอาดหรือว่ามันสกปรก มาว่ากันถึง "กายคตานุสสติ" หรือ "ปฏิกูลบรรพ" แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วหันเข้าไปว่ากันถึงพิจารณา นวสี ๙ นวสี แปลว่า "ป่าช้า"

ป่าช้า ๙ อย่าง คือพิจารณาคนเกิดมาแล้วตาย ๑ วัน ตาย ๒ วัน ๓ วัน ๔ วัน ๕ วัน ๖ วัน เน่าอืดขึ้นมาแล้วก็โทรมลงไปเหลือแต่กระดูกเหียวแห้ง ร่างกายหมดไปมีแต่กระดูก ต่อมาก็กระดูกเรี่ยราย มานั่งพิจารณาดูว่ารูปกาย ที่เราเห็นว่าสวยนี่มันสวยจริงไหม เอารูปกายของคนที่ยังไม่ตายมาวัดกันกับคนตายว่า

ไอ้รูปกายของคนที่มันตายแล้วนี่ พอตายไปวันเดียวรักกันเกือบตายยังไม่กล้าเข้าใกล้ เห็นไหม อีตอนอยู่ด้วยกันจากกันไม่ได้ กลับบ้านผิดเวลาหน้างอ แต่พอตายไปวันเดียวพวกไม่กล้าเข้าใกล้ ถอยห่าง วันเดียวนะ นี่เพราะตายแล้ว ความสวยไม่มีแล้ว ความทรงสภาพไม่มี

เมื่อเห็นว่ารูปสวยนะ เราก็พิจารณาว่าเราหลงในรูปเพราะอะไร เราก็สร้างความเข้าใจว่า เราหลงในรูปเพราะความโง่ คือกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม ๔ อย่าง องค์สมเด็จพระชินวรซึ่งเป็นสัพพัญญูวิสัย เป็นอรหันต์ เข้าถึงนิพพาน มีความสุข ท่านสอนว่าอย่างไง เราก็ล้วงหาความจริงมาว่า

พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าเห็นรูปที่ไหนสวยละก้อให้พิจารณาปฏิกูลบรรพ เฉพาะในมหาสติปัฏฐานสูตร ถ้าหากเป็นกรรมฐาน ๔๐ ก็เรียกว่า กายคตานุสสติกรรมฐาเหมือนกัน พิจารณาอาการ ๓๒ ของรูป ว่าส่วนไหนสะอาดบ้าง น้ำลายที่เรากลืนอยู่ในปาก อมได้ กลืนได้ พอบ้วนออกมาแล้วไม่กล้าแตะต้อง เพราะเห็นว่ามันสกปรก เพราะฉะนั้น ส่วนของร่างกายทั้งหมดมีอะไรสะอาด ไม่มีอะไรน่ารัก พอไปพิจารณาป่าช้า ๙ เข้า การพิจารณาคนตาย ตั้งแต่เริ่มตายใหม่ ๆ จนค่อยไปถึงขึ้นอืด น้ำเหลืองไหล แล้วก็โทรมลง จนกระทั่งแห้งหนังหุ้มกระดูก เหลือแต่กระดูกและกระดูกเรี่ยรายไป

เราก็จะมองไม่เห็นความสวยของร่างกายแม้แต่สักนิดเดียว ไม่เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา ถ้าเราพิจารณากายคตานุสสติกรรมฐานก็ตาม หรือป่าช้า ๙ ก็ตาม มันเป็นการตัดความพอใจในรูป อย่างนี้ชื่อว่าเป็นปัจจัยให้เราระงับ เราว่ากันในนิวรณ์ ๕ ประการ ความจริงแค่อย่างเดียว นิวรณ์ ๕ นี่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ข้อเดียว ๖ อย่าง หมายความว่า ในข้อต้นมี ๖ จุด ถึงแค่จุดแรก เราก็ไม่อยากจบเสียแล้ว

เป็นอันว่า วันนี้ก็ฝากท่านทั้งหลายให้ไว้มาพิจารณาเฉพาะรูปข้อเดียว เอาจิตใจพิจารณาหาความเป็นจริง ถ้าไปเจอรูปผู้ชาย รูปผู้หญิง สัตว์ตัวผู้ สัตว์ตัวเมีย หรือว่าวัตถุก็ตาม ที่เราเห็นว่าสวย เห็นว่าพอใจ ก็ตั้งใจพิจารณาหาความจริง ด้วยอำนาจของปัญญา ว่ารูปที่เราเห็นนี่สวยจริงไหม สวยตรงไหน ความสวยทรงอยู่ไหม ที่เราเห็นว่าความสวยภายนอก ข้างในมันสกปรกหรือสะอาด

แล้วก็พิจารณากระแสพระสัจจธรรมขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถในด้านกายคตานุสสติ หรือปฏิกูลบรรพ คือนวสี ๙ เท่านี้ก็จะทำให้ใจของทุกท่านคลายต่อความพอใจในรูป ถ้าพยายามทำมาก ๆ ก็เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ของฌาน แล้วก็สามารถใช้อำนาจของวิปัสสนาญาณว่ามันทรงแบบนี้เป็นธรรมดา เราจะไม่ควรยึดถือมันเพียงแค่นี้ จิตใจของท่านก็เข้าถึง "พระอนาคามี" ได้อย่างสบาย นี่เป็นปัจจัยของพระอนาคามีนะ ก็จบมันเพียงแค่นี้

อย่าลืมว่าเรื่องของรูปนี่น่ะพิจารณา "กายคตานุสสติกรรมฐาน" นี่เป็นปัจจัยของพระอรหันต์ ถ้าพิจารณาด้าน "อสุภกรรมฐาน" คือป่าช้า ๙ เป็นปัจจัยของพระอนาคามี นี่การสำเร็จมรรคผลไม่จำเป็นว่าจะต้องไปนั่งไล่เบี้ยโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ บางคนจิตเข้าสู่ "โคตรภูญาณ" ของพระโสดาบันมันก็วิ่งปรี๊ด..ไปกระทบพระโสดา สกิทาคา อนาคา เมื่อไหร่ไม่รู้ตัว รู้ตัวเอาทีเดียวเป็นพระอรหันต์ชั่วขณะจิตเดียว อันนี้ไม่แน่นัก.....

(((( โปรดติดตามตอนต่อไป ตอนศพที่เป็นโครงกระดูก ))))

โปรด "คลิก" ชมต่อได้เลยครับ.. คลิกที่นี่ ตอนที่ 3 » 


หมายเหตุ รูปภาพประกอบนี้ กรุณาอย่าวิพากษ์วิจารณ์ ขอให้พิจารณาเป็นธรรมะเท่านั้น ควรจะอุทิศผลบุญนี้ให้แก่ผู้วายชนม์ หรือที่เรียกว่า "ครูใหญ่" จึงจะเป็นการดีที่สุด.

ข้อมูลที่มา - เว็บ http://84000.org/
รูปภาพที่มา - เว็บที่เกี่ยวกับอสุภะ



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved