ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 5/5/09 at 08:05 Reply With Quote

การ์ตูน...วรรณคดีไทย เรื่อง "ศรีธนญชัย"


ศรีธนญชัย (เวอร์ชั่น 1)

(กดปุ่ม Play ก่อน แล้วคลิกที่ปุ่มสี่เหลี่ยมที่จอ
เพื่อขยายภาพ Full Screen)


ตอนที่ ๑


ตอนที่ ๒



คลิปวีดีโอชุด ลิขสิทธิ์เป็นของวัดท่าซุง จัดทำโดย "ทีมงานตามรอยพระพุทธบาท"

ศรีธนญชัย (เวอร์ชั่น 2)


ศรีธนญชัย (เวอร์ชั่น 2) ความยาว 46.54 นาที - ศรีธนญชัย ตอนอาหารวิเศษ
ศรีธนญชัย (เวอร์ชั่น ช่อง 3) ต้นไม้จับเท็จ - ท่องไปบนฟ้า - เทน้ำเทท่า - มาก่อนไก่โห่ - ทรงเจ้า - หัวอกแม่
ของใครหว่า - สองเดือนแล้วจ้า - จับนกใส่กรง..ได้ไหมเอ่ย - ลงน้ำกันดีกว่า..พระเจ้าข้า - ไม่อ้วน..เอาเท่าไหร่
จะยกไปได้ยังไงล่ะคร้าบ - แค่สี่ห้าบาท บาตร..เท่านั้นเองครับ - ศรีธนญชัยจะบวช(ด)..คร้าบ - บรื๋อ..อ..หนาวจังเลย
น้ำตาลใกล้มด - พลังน้ำ - จุดรวมแสง - ไข่ปิ้ง..เจ้าข้าเอ้ย - น้ำแร่ธรรมชาติ - ใครจะอึด..กว่ากัน - รุ้งเจ็ดสี - ผลข้ามคืน
โลกมันนุ่ม - ช่วยกันวิดน้ำหน่อย - สุขภาพดี..มีชัยไปกว่าครึ่ง - จะข้ามยังไงละเนี่ย - เปล่านะ..พวกเราไม่ได้ทำ

......นิทานเซียงเมี่ยง หรือ ศรีธนญชัย ได้มีการเล่าต่อกันมาในประเทศลาว และภาคอีสานของไทย แต่ก็มีเรื่องเล่าในภาคอื่นๆ เช่น ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ แม้กระทั้งประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นกัมพูชา เวียดนาม พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ออกอากาศทางช่อง 3 ช่วงเย็น ทุกวันจันทร์-อังคาร



ประวัติความเป็นมาของ.. "ยอดตลกหลวง"


.......การถ่ายทอดเรื่องราวของศรีธนญชัย ยอดตลกหลวง ผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง โดยมีบทเริ่มต้นดังนี้

กาลครั้งหนึ่งยังมีสองสามีภรรยาอยู่กินด้วยกันมาอย่างมีความสุขเป็นเวลาหลายปี แต่กลับยังไม่มีบุตร "นายชัย" ผู้เป็นสามีจึงปรึกษากับ "นางศรี" ภรรยาของตนว่าควรปลูกศาลเพียงตาทำพิธีบวงสรวงเทพยดา เพื่อขอทายาทไว้สืบสกุล ร้อนถึง พระอินทร์ เมื่อรู้สึกว่าพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ เกิดแข็งกระด้างจึงเล็งทิพยเนตรลงมาตรวจดูความเป็นไปของชาวโลก

ครั้นทราบความประสงค์ของสองสามีภรรยาก็มีจิตเมตตาคิดจะช่วยสงเคราะห์ให้สมความปรารถนา จึงมีบัญชาให้เทวบุตรองค์หนึ่งจุติลงมาในครรภ์ของนางศรี

ในค่ำคืนนั้น นางศรีฝันว่าได้ไปเที่ยวเล่นและพบเขาพระสุเมรุขวางอยู่ จึงผลักเบี่ยงให้พ้นทาง ครั้นเห็นพระจันทร์ลอยเด่นอยู่ตรงหน้าได้คว้าเอามาถือไว้ พลันนางศรีก็ตกใจตื่นรีบปลุกสามีเล่าความฝันให้ฟัง รุ่งเช้านางได้ไปหาท่านสมภารที่วัดหมายให้ช่วยทำนายฝัน

บังเอิญท่านสมภารออกไปฉันเพลนอกวัด สามเณรซึ่งเป็นผู้เฝ้ากุฏิจึงทำนายให้เองว่า นางจะให้กำเนิดบุตรชาย และเมื่อโตขึ้นเขาผู้นั้นจะได้เป็นยอดตลกหลวงผู้มีชื่อเสียง นางศรีดีใจรีบกลับไปบอกนายชัยสามี ครั้นท่านสมภารกลับมาได้ฟังเรื่องราวจากสามเณรก็ดุบอกว่าทำนายผิด เพราะลูกของเขาจะเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเหนือคนทั้งปวงต่างหาก

เมื่อครบกำหนดคลอดเพื่อนบ้านได้มาเยี่ยม และนำข้าวของมาให้เป็นอันมาก พอนางศรีแข็งแรงดีแล้วจึงชวนสามีนำลูกชายไปหาท่านสมภารให้ช่วยตั้งชื่อ ท่านสมภารได้นำชื่อของแม่คือ "ศรี" นำหน้า ปิดท้ายด้วยชื่อพ่อคือ "ชัย" โดยมีคำว่า "ธนญ" อยู่ตรงกลางจึงกลายเป็น ศรีธนญชัย ซึ่งเป็นเด็กที่ช่างพูดช่างเจรจา พ่อกับแม่และชาวบ้านต่างพากันให้ความรักและเอ็นดู

ประวัติศรีธนญชัยนั้นมีอยู่หลายเวอร์ชั่น ทางภาคเหนือและอีสานท่านเรียกว่า "บักเสี้ยงเมี้ยง" คำว่า "เสี้ยง" นั้นเพี้ยนมาจากคำว่า "เชียง" หรือ "เซียง" ซึ่งเป็นคำเรียกคนเคยบวช เหมือนกับคำว่า "ทิด" ซึ่งใช้เรียกคนเคยผ่านการบวชพระมาแล้วในภาคกลาง "เซียง"หรือ "เสี้ยงเหมี้ยง" ก็คือ "ทิดเหมี้ยง" ส่วนคำว่า "เหมี้ยง" ซึ่งคู่กับคำว่า "หมาก" นั้น หวังว่าคงไม่ต้องแปล

แต่สมัยเป็นสามเณรนั้น "เซียงเหมี้ยง" ใช้ไหวพริบเอาเหมี้ยงของพ่อค้ามากินฟรีๆ โดยการพนันกันว่า พ่อค้าจะหาบเหมี้ยงข้ามน้ำมาโดยที่เหมี้ยงไม่เปียกได้หรือไม่ ? ปรากฏว่าพวกพ่อค้าหาบเหมี้ยงลุยน้ำข้ามมา หาได้หาบเหมี้ยงข้ามน้ำมาไม่ ศรีธนญชัยปรากฏตัวในบทนี้ บทที่ได้เหมี้ยงไปกินฟรี "สี่ซ้าห้าบาท" คือกวาดเรียบ เอาทั้งซ้าคือตะกร้าหรือชะลอมและบาตรพระมาใส่เหมี้ยงฟรี จนเหมี้ยงมีให้ไม่พอปรับ นับเป็นการขึ้นชื่อลือชาในด้านไหวพริบปฏิภาณเป็นอย่างยิ่ง

สมัยราชาธิปไตยนั้น ไม่มีการคัดค้านต่อหน้าพระพักตร์ ใครขืนขัดก็จะโดนขัดทั้งดอกทั้งต้นจนตัวตาย การแสดงออกในทางการเมืองของคนไทยสมัยโบราณจึงต้องแสดงผ่านตัวละครไปในแนวตลก และผู้ที่จะสามารถต่อกรกับพระราชาได้ก็เห็นจะมีเพียงพระสงฆ์เท่านั้น ดังนั้นพระสงฆ์หรือตัวแทนของพระสงฆ์จึงถูกอุปโลกน์ให้เป็นตัวแทนฝ่ายประชาชนเข้าไปคานอำนาจกับพระราชาในการบริหารกิจการบ้านเมือง รวมถึงการวินิจฉัยอรรถคดีต่างๆ

ศรีธนญชัยจึงได้ฉายาว่า "ตลกหลวง" บวกกับภูมิปัญญาแบบไทยๆ ที่ใช้ความได้เปรียบเสียเปรียบโดยไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์กติกา แต่อาศัยเพียงว่าใครไหวพริบดีกว่าก็ได้ไป ส่วนใครโง่เง่าเอาไม่ทันก็ปล่อยให้มันเป็นฝ่ายแพ้ ไม่มีใครเหลียวแล ทุกคนสนใจก็แต่ฝ่ายชนะ ชัยชนะแบบศรีธนญชัยซึ่งไม่โปร่งใสในทางคุณธรรมจริยธรรม ไร้ทั้งจรรยาและมารยาท กลับกลายเป็นฮีโร่ในใจของคนไทย

ศรีธนชัย..เป็นผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือทางด้านสติปัญญา แต่ทำไมนะทำไม..เขาจึงกลับไม่ใช่คนน่าคบหา ความฉลาดของเขา..ไม่ได้ทำให้คนชื่นชมเขาหรอกหรือ.. มาดูสิว่า..ปฏิภาณและไหวพริบนั้น ทำให้เขารอดปลอดภัยมาได้อย่างไรกัน ชีวิตศรีธนญชัยมีทั้งด้านดีคือรู้จักใช้ปัญญา แต่อีกด้านหนึ่งใช้ความฉลาดของตนเอาเปรียบคนอื่น ไม่นึกถึงความผิดชอบชั่วดี สุดท้ายต้องรับกรรมที่ก่อไว้...?

"ศรีธนญชัยอยู่วัด"

เรื่องศรีธนญชัยอาศัยอยู่ที่วัดกับหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านสั่งไว้ว่า
"ศรีธนญชัยเอ๊ย เดี๋ยวพอดาวประกายพฤกษ์ขึ้นสูงเทียมยอดไม้ มึงเรียกกูด้วยนะ กูจะไปบิณฑบาตร" ศรีธนญชัยรับว่า "ฮึ..ได้ หลวงพ่อนอนเถอะ"

พอหลวงพ่อเข้านอน ศรีธนญชัยก็ไปหาไต้มาจุดไฟไปติดไว้ที่ยอดไม้ แสร้งทำเป็นว่าดาวประกายพฤกษ์แล้วพอกลับมาถึงไปปลุกหลวงพ่อว่า

"หลวงพ่อ..หลวงพ่อ..ดาวประกายพฤกษ์ขึ้นแล้วนะดูสิ สูงเทียมปลายยอดไม้แล้วนะ"

หลวงพ่อก็ตกใจตื่นเงยหน้าขึ้นดูเห็นดาวประกายพฤกษ์อยู่ปลายยอดไม้ ก็รีบลุกขึ้นอย่างลุกลี้ลุกลน จะไปบิณฑบาตรหลวงพ่อเดินไปๆ ว่า "อิ๊! ทำไมคนถึงเงียบจัง ไก่ก็ไม่ขัน มืดก็มืด"หลวงพ่อเดิน เดินไปวา "อิ๊! ไม่มีคนเลย" เห็นว่าไม่มีคน ก็เลยเงยหน้าขึ้นดูดาวประกายพฤกษ์ไม่มีซะแล้วหลวงพ่อกลับมาที่วัด มาที่กุฏิน่ะแหละ..มาถึงก็เรียกศรีธนญชัย

เอ๊าะ! ก่อนที่แกจะไป แกได้สั่งไว้ว่า ใครมาเรียกก็ห้ามเปิดประตู มาถึงก็เรียก "ศรีธนญชัย เปิดประตูหน่อยสิ"ศรีธนญชัย "หลวงพ่อไม่ให้เปิด"

"ศรีธนญชัยเปิดประตู เปิดประตูหน่อย""อึ๊หลวงพ่อสั่งว่า ไม่ให้เปิด"

"นี่หลวงพ่อเอง เปิดเถอะ""หลวงพ่อสั่งไว้ว่าไม่ให้เปิด"

หลวงพ่อเรียก เรียก มันก็ไม่ยอมเปิดในที่สุดหลวงพ่อก็ต้องไปนอนข้างวัด ไปนอนที่กอฟักทองของชาวบ้านพอใกล้รุ่ง ผู้หญิงคนหนึ่ง มาเก็บผลฟักทองไปตลาดนัดมาถึง ก็ดีดป็อกแป็กๆ ดีดเอา (หัวเราะ) ผลโน้น แล้วก็ดีดผลนี้ จนดีดเอาหัวหลวงพ่อหลวงพ่อตกใจตื่นลุกขึ้น กลับไปวัดคราวนี้ อยู่มาวันหนึ่งหลวงพ่อออกไปข้างนอกอีก ให้ศรีธนญชัยเฝ้าบ้านได้สั่งไว้ว่า

"มึงเฝ้ากุฏิให้ดีนะอย่าให้หมาขึ้นมาขี้ถ้ามึงให้หมาขึ้นมาขี้ แล้วกูจะให้มึงเก็บกินละ" (มีเสียงละหมาดแทรกเป็นระยะๆ) พอหลวงพ่อออกไป ศรีธนญชัยก็คั่วข้าวโพดจนหอมแล้วโขลกกับน้ำตาลทราย เกลือ แล้วเอามาปั้น ตั้งไว้ตามพื้นมองดูเหมือนขี้หมาเลยล่ะพอหลวงพ่อกลับมาถึง เห็นก็ว่า

"ฮา..กูสั่งมึงไว้แล้ว ว่าอย่าให้หมาขึ้นมาขี้ กินซะ ศรีธนญชัย"

ศรีธนญชัยก็หยิบกิน กิน กิน จนใกล้จะหมดแล้วหลวงพ่อก็ว่า

"อะไรกัน..ศรีธนญชัยนี่ มันกินขี้หมาท่าทางอร่อยเชียว"

"อิ๊หลวงพ่อชิมสิ อร่อยนะ" หลวงพ่อก็เอามาชิม พอชิมก็ว่า "เอ๊อ..อร่อยจริงด้วย" แต่มันเหลืออยู่นิดเดียว (หัวเราะ) หลวงพ่ออยากกินอีก

"เอาล่ะ ทีนี้ มึงอย่าไล่หมานะศรีธนญชัยให้หมามันขึ้นมาขี้เถอะ"พอวันต่อมา ศรีธนญชัยก็ไม่ไล่หมา ให้หมาขึ้นมาขี้ หลวงพ่อบอกว่าเหม็น กินไม่ได้"

เอ๊าะ..แล้วทำไมเหม็นล่ะศรีธนญชัย"

"อึ๊ กินไม่ได้หรอก ขี้หมาแดงนี่นา ไม่ใช่ขี้หมาหมีสักหน่อยเค้ากินขี้หมาหมีกันต่างหากล่ะ"

หลวงพ่อก็ให้เด็กไปไล่หมาหมีที่ตัวดำ ดำขึ้นมาให้มันขี้ มันก็ไม่ขี้หลวงพ่อก็ตีจนขี้แตก แล้วเอามากิน ก็ว่า "อึ๊ ทำไมถึงขมล่ะ"

"อึ๊..หลวงพ่อตีจนขี้แตกน่ะสิ"

ศรีธนญชัยก็เป็นจบเพียงเท่านี้ หวังว่าคงจะนำตัวอย่างไปใช้ในทางที่ดี ไม่ใช่เอาเปรียบคนจนเกินไป ถ้าฉลาดเป็นแบบนั้นจะหาแผ่นดินอยู่ยาก..ส..ส์..!!!


webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 2/8/11 at 17:03 Reply With Quote


(Update 02-08-54)


webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved