|
|
|
posted on 21/2/08 at 19:32 |
|
ภาพข่าว...การเดินทางไป "ประเทศศรีลังกา" เมื่อวันที่ 23-28 ม.ค. 2551
ถ้ำดัมบุลลา (The Golden Temple)
ด้านหลังพระประธาน บนภูเขาลูกนี้ มีภาพเขียนฝาผนัง (เฟสโก) อยู่ภายในถ้ำ
วัดมหาวิหาร (ต้นพระศรีมหาโพธิ์) เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา ก่อนจะไปไหว้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ได้เข้าไปทำบุญ
กับ สมเด็จพระสังฆราชณ วัดมหาวิหาร แต่ท่านอาพาธอยู่ จึงให้พระเลขาฯ มารับเครื่องไทยทานแทน
จากนั้น พระเลขาฯ ได้นำเข้าไปไหว้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ถึงรั้วชั้นใน ซึ่งหาโอกาสยากที่จะเข้าไปได้
ชาวศรีลังกายังไม่มีโอกาสอย่างพวกเรา คงด้วยความเลื่อมใส เขาจึงอนุเคราห์พวกเราคนไทย
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นแรก จะเหลืออยู่ต้นไม่ใหญ่นัก เป็นหน่อของต้นที่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระนางสังฆมิตตาเถรี
(พระธิดาของ พระเจ้าอโศก มหาราช เป็นผู้นำมาปลูกไว้ ตรงนี้ เมื่อ พ.ศ. 236) ซึ่งเดิมเป็นสถานที่
พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ตั้งแต่สมัยยังทรงพระชนม์อยู่
พวกเราได้ถวายบาตร, จีวร, ผ้าอาสนะ แด่พระนางสังฆมิตตาเถรี ผู้เป็นพระอรหันต์ ในขณะที่กล่าวคำจบ
ปรากฏว่ามีลมพัดวูบมาในเวลานั้น เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก จากนั้น จึงเดินชมไม้ค้ำกิ่งต้นโพธิ์ ซึ่งทำด้วยทองคำล้ำค่า
มิน่าเขาถึงหวงแหนยิ่งนัก
จึงได้ร่วมทำบุญเป็นเงินประมาณ 11,050 รูปี
จากนั้นได้ไปที่ สุวรรณมาลิกเจดีย์ (รุวันเวลิสายะเจดีย์) สูง 178 ฟุต พระเจ้าทุฎฐคามินีอภัยสร้าง
เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ ที่ได้มาจาก นาคพิภพ ซึ่งเดิม กษัตริย์โกลิยะ บรรจุไว้ที่รามคาม
ต่อมาน้ำเซาะพระเจดีย์พัง ลงไปพญานาคได้นำไปไว้ที่นาคพิภพ
คณะตามรอยพระพุทธบาท ได้พบปาฏิหาริย์ที่นี่ 2 ครั้ง เมื่อ ปี 2537 และ ปี 2545 ครั้งแรกมีละอองฝนโปรยปรายลงมา ครั้งที่สองมีลมพัดหมุนในบริเวณนี้
ครั้งที่สาม ปี 2551 ปรากฏว่าได้พบในขณะที่กำลังจะทาสีใหม่พอดี
จึงได้ร่วมทำบุญเป็นเงินประมาณ 13,000 รูปี และ 60 ดอลลาร์
สุวรรณมาลิกเจดีย์นี้ สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยเสด็จประทับนั่งเข้า นิโรธสมาบัติเหมือนกัน
(ในลังกา พระพุทธเจ้าเสด็จเข้านิโรธสมาบัติรวม 16 แห่ง ที่นี่เป็นการเสด็จมาในครั้งที่ 3)
ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาลังกา 3 ครั้ง คือ
ครั้งแรก ตรัสรู้ได้ 9 เดือน, ครั้งที่ 2 ตรัสรู้ได้ 5 พรรษา, ครั้งที่ได้ 8 พรรษา
ถูปารามเจดีย์ แห่งเมืองอนุราธปุระ
ต่อมาได้ไปไหว้พระเจดีย์ที่สำคัญกว่าที่อื่นทั้งหมดในบริเวณนี้ รนั่นก็คือ"ถูปาราม" อันเป็นที่พระพุทธเจ้า
เสด็จมาเข้า "นิโรธสมาบัติ" ถึง 7 วัน อีกทั้งเป็นที่บรรจุ "พระรากขวัญ" คือ กระดูกไหปลาร้า เบื้องขวา อีกด้วย
ถูปารามเจดีย์ (พระรากขวัญเบื้องขวา) จึงเป็น "ปฐมเจดีย์" ของ เมืองอนุราธปุระ ปรากฏว่า
เดิมเป็นที่ บรรจุเครื่องบริขารของพระพุทธเจ้าในอดีตทั้ง 3 พระองค์ มาแล้วด้วย คือ
1. ธัมมกรก เครื่องกรองน้ำ ของพระกกุสันโธ
2. ประคตเอว ของพระโกนาคม
3. ผ้าอาบน้ำ ของ พระพุทธกัสสป
อีกทั้งสถานที่นี้ ยังเป็นที่ทำ "สังคายนาพระไตรปิฎก" ครั้งที่ 4 อีกด้วย
พวกเราจึงได้นำผ้าห่มไปเดินประทักษิณรอบพระเจดีย์ เป็นการระลึกถึง คุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
มีชาวศรีลังกามาร่วมเดินถือผ้าแห่รอบไปด้วย จึงได้ร่วมทำบุญเป็นเงินประมาณ 13,850 รูปี และ 40 ดอลลาร์
ถูปารามเจดีย์ จึงมีความสำคัญเทียบเท่ากับ ชเวดากอง ของพม่า หรือ พระธาตุเชิงชุม สกลนคร
เพราะเป็นที่เสด็จของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย อันเป็นพุทธประเพณี ในอนาคต พระศรีอาริย์
ก็จะเสด็จมาในที่ทุกสถานตามที่กล่าวแล้ว เช่นกัน
ในบริเวณนี้ ยังมีสถานที่พระพุทธเจ้าเข้า "นิโรธสมาบัติ" อีก นั่นก็คือ "อภัยคีรี" แต่ก่อนที่จะเข้าไปไหว้
ได้ร่วมทำบุญบูรณะกับเจ้าอาวาส กันก่อน เพราะไปพบตอนที่เขากำลังบูรณะพอดี ที่เรียกว่า
"พระธาตุเข้าเฝือก" นั่นเอง โชคดีจริงๆ เยย...
อภัยคีรีเจดีย์ เป็นที่เพิ่งมาเป็นครั้งแรก แต่ก่อนไปไม่ถึงสักที จึงได้ถ่ายรูปหมู... เอ้ย..รูปหมู่..กันเป็นที่รำลึก
จึงได้ร่วมทำบุญเป็นเงินประมาณ 20,000 รูปี และ 200 ดอลลาร์
จากนั้นก็ไปที่ "เชตวันเจดีย์" อันเป็นที่พระพุทธเจ้าเข้า "นิโรธสมาบัติ" อีกเช่นกัน ถือว่าเป็น 1 ใน 16 แห่ง
และเป็นที่บรรจุ "พระเกศาธาตุ" ด้วยนะ จะบอกให้... ไปลังกาคราวนี้ แทบจะวิ่งไหว้กัน เพราะต้องทำเวลาตลอด
เพราะกลัวว่าจะไปที่"มหินตเล" ไม่ทัน ตอนนี้ก็เริ่มเย็นแล้ว ประมาณ 5 โมงเย็นเห็นจะได้
เชตวันเจดีย์แห่งนี้ เมื่อปี 2545 พบว่ากำลังตั้งนั่งร้านบูรณะพอดี จึงได้ร่วมทำบุญไปในครั้งนั้นแล้ว การไปครั้งนี้
ก็เพื่อคนอื่นที่ยังไม่ได้ไป ตอนนี้ถือว่าได้ไหว้ครบถ้วนใน เมืองอนุราธปุระ ณ สถานที่นี้แล้วคือ
ได้ไหว้ทั้งพระเกศาธาตุ, พระรากขวัญ และ ต้นศรีมหาโพธิ์ เป็นต้น
(ในภาพ หลวงพี่ชัยวัฒน์ และ หลวงพ่อสุรพงษ์ ได้ถวายผ้าห่มพระเจดีย์)
เจดีย์มหินตะเล
ในตอนนี้ เป็นเวลาเย็นมากแล้ว พวกเราเพิ่งมาจากเมืองไทย เมื่อวานนี้เอง
(วันที่ 25 ม.ค. 51) จำนวน 26 คน (กลับมา เลขท้ายออก 26 พอดี)
พอมาถึง "วัดมหินตะเล" จึงได้รีบนำเครื่องบริขาร คือ บาตร จีวร ผ้าอาสนะ เพื่อถวายบูชา พระมหินทเถระ
(พี่ชาย พระนางสังฆมิตตา) องค์อรหันต์ ผู้นำพระศาสนามาตั้งมั่นในถิ่นนี้
ภายใน วัดมหินตะเล นี้ ยังมีพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุอีกองค์หนึ่งทาสีขาว
อยู่บนยอดเขา ชื่อว่า "มหาเสยะเจดีย์" ภาพนี้เป็นเวลาเย็นใกล้ค่ำแล้ว
ก้อนหินนี้เรียกว่า "เจดีย์มหินตะเล" เป็นจุดสำคัญที่สุด เดิมเรียกว่า "มิสสกะบรรพต" ตามประวัติกล่าวว่า
เป็นที่ประทับยืน ของ พระมหินทเถระ และคณะอีก 6 ท่าน ที่เหาะมาทางอากาศจากเมืองปาตลีบุตรแล้วลงมา
ยืนบนหินก้อนนี้เพื่อโปรดพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งอนุราธปุระ ที่กำลังประพาศป่าล่าสัตว์พอดี
บริเวณนี้ ชาวศรีลังกาเคารพนับถือมาก เพราะถือว่า เป็นที่ประทับยืนครั้งแรก
ในการเสด็จมาที่ศรีลังกาของ พระมหินทเถระ เมื่อ พ.ศ. 236
พวกเราได้รู้ความสำคัญเช่นนี้ แม้จะเป็นเวลาเย็น และเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางไปกราบไหว้มาทั้งวัน
แต่ด้วยความเข้มแข็ง ทุกคนจึงเดินขึ้นไปทั้งที่มีลมแรงและอันตรายจากการเดินขึ้นไปในเวลาเย็นมากแล้ว
ทั้งนี้เพื่อบูชารอยเท้าของท่านผู้เป็นพระอรหันตสาวก
ตามพระไตรปิฎกบอกว่า ในอดีตกาล ก้อนหินที่มีสัณฐานคล้ายฐานพระ เจดีย์นี้ เคยเป็นที่ประทับยืนของพระสาวก
ของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ มาแล้วเช่นกัน ทุกคนจึงปลาบปลื้มปีติยินดี เมื่อหลวงพี่ชัยวัฒน์ได้เล่าประวัติทั้งหลาย
ให้ฟังไปด้วย
จึงช่วยกันนำน้ำหอมไปโสรจสรง และปิดทองคำเปลว พร้อมกับอธิษฐาน เหมือนกับที่ทุกแห่งที่ผ่านมาว่า
"ขอได้เห็นธรรมตามที่ท่านได้เห็นแล้ว โดยฉับพลันนั้นเทอญฯ"
ด้านหลังที่เห็น คือ พระราชวังบนยอดเขาสิกิริยา แท่งหินใหญ่คล้ายรูปเรือนี้ มองดูแล้ว
ใครจะคิดว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกอีกแห่งหนึ่ง
เขาสิกิริยา (สีหดีรันคะ) หรือชาวบ้านเรียกกันว่า "กาสิงห์" เป็นหินผาตระหง่านสูงถึง 900 ฟุต
โปโลนารุวะ เมืองโบราณที่เหมือนกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย หรืออยุธยา คือซากปรักหักพัง
สมัยพระเจ้าปรักกรมพาหุ ครองราชย์ นับตั้งแต่ พ.ศ. 1696-1729 ทำให้มองเห็นถึงกฎพระไตรลักษณ์
คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะมีค่าสง่างามเพียงใด ผลที่สุดก็สลายไปกับกาลเวลา
พระพุทธโฆษาจารย์ ชาวเมืองสะเทิม (สุธรรมวดี) ได้มาแปลพระไตรปิฎก จากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี
หมู่บ้านแถวนี้เรียก "มะตะเล" บริเวณวัดเรียก อาโลกวิหาร (อาลุวิหาร)
ถ้ำอาโลกวิหาร
หลังจากที่พวกเราได้ถวายบาตร, ผ้าไตรจีวร , อาสนะ เพื่อบูชาสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และได้โมทนา
ในความดีของท่านแล้ว จึงได้มาร่วมทำบุญกับท่านเจ้าของบ้านเป็นเงินประมาณ 20,100 รูปี และ 225 ดอลลาร์
คณะของพวกเราได้ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์
พระเจดีย์ที่พวกเราได้ร่วมทำบุญสร้าง และได้ถ่ายรูปหมู่กันเป็นที่ระลึก
คณะพวกเรา ได้เดินทางมาถึงเมืองแคนดี้ วัตถุประสงค์เพื่อไปกราบไหว้พระเขี้ยวแก้ว
และได้เข้าไปทำบุญกับ สมเด็จพระสังฆราช
สมัยกรุงศรีอยุธยา พระอุบาลีเถระ พระธรรมทูตของไทยชุดแรก เพื่อมาบรรพชาอุปสมบทให้กับกุลบุตรชาวลังกาทวีป
ที่ ศิริวัฒนานคร (เมืองแคนดี้) เมื่อ พ.ศ.2295 จนศาสนวงศ์ในลังกาตั้งมั่นถึงปัจจุบันนี้
ทุกคนปลาบปลื้มปีติยินดี เมื่อหลวงพี่ชัยวัฒน์ได้เล่าประวัติทั้งหลายให้ฟัง
ตามประวัติเล่าว่า สมัยนั้นศาสนาพุทธในศรีลังกาได้เสื่อมลง จนไม่สามารถจะอุปสมบทพระสงฆ์ได้
พระเจ้ากิตติศิริราชสิงหะจึงได้ส่งทูตไปขอพระสงฆ์จาก พระเจ้าบรมโกศ พระองค์จึงได้ส่ง พระอุบาลี พร้อมคณะ
เดินทางมาที่นี่ เมื่อปี พ.ศ. 2294-2295 แล้วได้บวชให้แก่ สามเณรสรณังกร ซึ่งเป็นสามเณรอายุได้ 80 ปี
ไม่มีใครบวชให้ ต้องรอบวช เป็นพระนานถึง 20 ปี สามเณรรูปนี้ จึงเป็นพระสงฆ์องค์แรกของ "สยามวงศ์" บางครั้ง
ชาวศรีลังกาก็เรียกว่า "พระอุบาลีวงศ์" แล้วได้เป็นสังฆราชองค์แรกสมัยนั้นด้วย
ทำให้พวกเราได้ทราบถึง ความมุ่งมั่น ความตั้งใจ การรอคอย ถึง 80 ปี
เพื่อที่จะได้บรรพชาอุปสมบท ของกุลบุตรชาวลังกาทวีป
คณะตามรอยพระพุทธบาท ได้ร่วมทำบุญกันอีก คราวนี้ เป็นการสร้างโบสถ์ ไว้ในพุทธศาสนา ซึ่งพวกเราทุกคน
ก็มีความปลื้มปิติกันมาก ที่ได้มีโอกาส ทำบุญ ในสถานที่พระอุบาลีเถระ จึงได้ร่วมทำบุญ
เป็นเงินประมาณ 10,000 รูปี , 300 ดอลลาร์ และ 5,000.-บาท
มหิยังคณเจดีย์ เมืองมหิยังเกน่า
สมัยสมเด็จองค์ปัจจุบันได้เสด็จเป็นครั้งแรก ณ เกาะลังกา หลังจากตรัสรู้ใน เดือนที่ 9 ได้เสด็จประทับยืนบนอากาศ
ตรงจุดที่สร้าง มหิยังคณเจดีย์ (เมืองมหิยังเกน่า) ทรงทรมานยักษ์ให้พ่ายแพ้หนีไปแล้ว เหล่าเทพยดาได้มา ชุมนุมฟัง
พระสัทธรรมเทศนา ครั้งนั้น สุมนเทพบุตร ผู้เป็นใหญ่ได้สำเร็จ โสดาปัตติผล เมื่อทราบว่าพระองค์จะเสด็จกลับ จึงกราบทูลขอวัตถุที่ควรจะไหว้บูชาแทนพระองค์
สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงทรงเสยพระเกศาธาตุประทาน ให้ เทพบุตรนั้นจึง
บรรจุไว้ในพระเจดีย์แก้วอินทนิลสูง 7 ศอก นับเป็นปฐมเจดีย์ แห่งแรกของเกาะลังกานี้
คณะของพวกเรา ได้ถวายย่าม , อาสนะ และร่วมทำบุญเป็นเงินประมาณ 6,100 รูปี ,50 ดอลลาร์ และ 2,000 บาท
จากนั้น พวกเราได้แห่ผ้าห่มรอบมหิยังคณเจดีย์ แล้วทำพิธีบูชาสักการะ
คณะของพวกเรา ได้นั่งกรรมฐาน และถวายกุศลหน้าพระเจดีย์ มหยังคณเจดีย์ ซึ่งสถานที่นี้เป็น พระปฐมเจดีย์
ของศรีลังกามาแต่ครั้งพุทธกาล อันเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระบรมธาตุส่วนพระศอ (คอ) ของพระพุทธเจ้า
หลังจากเดินทางกลับจาก มหิยังคณเจดีย์ ก็ได้เห็นป้ายการสร้างพระพุทธรูป 45 ฟุต(13.5 เมตร)
คณะของพวกเราก็ได้แวะลงจากรถ และติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อร่วมทำบุญสร้างพระพุทธรูป 45 ฟุต (13.5 เมตร)
เป็นเงินประมาณ 10,000 รูปี และ 200 ดอลลาร์
พระพุทธรูป 45 ฟุต (13.5 เมตร) ที่พวกเราได้ร่วมทำบุญสร้าง และได้ถ่ายรูปกันเป็นที่ระลึก
ทิวทัศน์หน้าวิหารพระทันตธาตุ เมืองแคนดี้
วัดอนันดา พวกเราได้ร่วมสร้างวิหาร และโรงเรียน เป็นเงินประมาณ 10,100 รูปี , 100 ดอลลาร์ และ 6200.-บาท
วัดอนันดา ร่วมสร้างวิหาร และโรงเรียน
พวกเราได้ร่วมถ่ายรูปหมู่ กับพระ เณร วัดอนันดา เป็นที่ระลึก
วัดกัลยาณี เมืองโคลัมโบ
ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายริมแม่น้ำเกลานี ซึ่งไหลมาจากยอดเขาศิริปาทะ (สุมนกูฎ)
วัดกัลยาณี นี้ถือว่าเป็นการเสด็จมาลังกาในครั้งที่ 3 ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามคำอาราธนาของ
พญามณีอักขิกะนาคราช ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ชื่อ "มาไนชิกะ" หมายถึง สมัยพุทธกาล เดิมเกาะลังกา
เป็นที่อยู่อาศัยของพวกนาคและ ยักษ์ทั้งหลาย (ต่อมาพระเจ้าวิชัยกุมาร ได้เป็นกษัตริย์พระองค์แรก)
แต่จะเป็นชาวเกาะชนพื้นเมืองดั้งเดิม ซึ่งมีนิสัยดุร้ายป่าเถื่อน หรือเป็นนาคและยักษ์จริง
แล้วแต่จะสันนิษฐานกัน ซึ่งได้เป็นผู้บรรจุแท่นประทับนั่งของพระพุทธเจ้าไว้ในพระเจดีย์นี้ด้วย
จากนั้น พวกเราได้แห่ผ้าห่มสไบทองรอบพระเจดีย์ โดยมีชาวศรีลังการ่วมขบวนแห่ด้วย
ในขณะที่เริ่มแห่งผ้าห่มสไปทองอยู่นั้น ปรากฏว่ามีเมฆก้อนใหญ่ได้ มาบดบังแสงพระอาทิตย์ในเวลานั้น
ซึ่งทำให้คณะของพวกเราปลื้มปิติ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก จากนั้น พวกเราทำพิธี บูชาสักการะ
หลังจากได้แห่ผ้า และบูชาสักการะแล้ว ก็ได้ห่มผ้าห่มสไบทองรอบพระเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
วัดพุทธกูล
เป็นวัดที่พระอาจารย์แสนจำพรรษาอยู่ ซึ่งพระอาจารย์แสน เป็นคนชาวกัมพูชา และได้มาศึกษาต่อที่ศรีลังกา
ได้เป็นหัวหน้านำพาคณะของพวกเราไปยังสถานที่ต่าง ๆ และยังได้ร่วมทำบุญสร้าง ศาลาและกุฏิสงฆ์
เป็นเงินประมาณ 10,000 รูปี , 120 ดอลลาร์ และ 1,100. บาท
ได้นำน้ำผลไม้ มาให้คณะของพวกเราได้ชิมรสชาติกัน ซึ่งพวกเราแทบทุกคน
ไม่เคยได้รับประทานกันมาก่อน มีรสชาติออกเปรี้ยวนิด ๆ แต่อร่อยดี
วัดคงคาราม เมืองโคลัมโบ
ชาวศรีลังกาจะมีความเคารพนับถือต้นศรีมหาโพธิ์เป็นอันมาก มีประเพณีการบูชาสรงน้ำ
คือ เอาน้ำไปราดรดที่โคนต้นด้วย
คณะของพวกเรา ได้ถวายสร้อยทองคำ เพื่อเป็นพุทธบูชา
หลังจากนั้น คณะของพวกเรายังได้ร่วมทำบุญกันอีก
พระองค์เล็กที่สุด ถ่ายผ่านแว่นขยาย วัดคงคาราม โคลัมโบ
คณะของพวกเรา ดีใจมาก ที่ได้เห็นชาวศรีลังกา กำลังช่วยกันล้าง ทำความสะอาด
พระเจดีย์ พวกเราต่างไม่รอท่า รีบเข้าไปช่วยล้างกันบ้าง
|
|
|
|
Posts: 2043 |
Registered: 8/1/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
|
|
"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player
ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป
ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved
|
|
|
|