posted on 3/6/19 at 09:32
(ตอนที่ 80 สรุปปี 2561-62) เล่าเรื่องการเดินทางไปเมืองพม่า 14 มกราคม -11 กุมภาพันธ์ 2561
[71] พระเจดีย์ไจ้เข้า
[72] พระเจดีย์ดาโนะ (Danoke Pagoda)
[73] พระเจดีย์ชเวซานดอว์
[74] วัดงูพองตอว์โช๊ค
[75] พระเจดีย์มอดินซูน
[76] พระพุทธรูปลอยน้ำ เมืองพะสิม
[77] หงสาวดี-บีลิน
[78] เมืองบีลิน
[79] สรุปการเดินทางปี 2561
[80] สรุปการเดินทางปี 2561-62
[ ตอนที่ 71 ]
(Update 5 มิถุนายน 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบสอง) 4 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล-ตองยี-ตองอู-สิเร
ียม) ตอน พระเจดีย์ไจ้เข้า (Kyaik Khauk Pagoda) เมืองสิเรียม (Syriam)
VIDEO
...โปรแกรมสุดท้ายของวันนี้ ก่อนจะเข้าที่พัก พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้พาพวกเรามากราบพระเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองของสิเรียมอีกแห่งหนึ่ง
ที่มีความสำคัญ ถือเป็นหัวใจของที่นี่ก็ว่าได้
พระเจดีย์ไจ้เข้า (Kyaik Khauk Pagoda) เป็นพระเจดีย์ที่สร้างในยุคสมัยเดียวกับพระเจดีย์กลางน้ำไจ้หม่อวน ตั้งอยู่ทางใต้ของกรุงย่างกุ้ง
ช่วงเวลาที่เรากลับออกจาก พระเจดีย์ไจ้หม่อวน ก็เย็นมากแล้ว พระอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้า เป็นที่รู้กันว่า การจราจรในช่วงเย็นค่อนข้างจะติดขัดอยู่แล้ว
เพราะเป็นช่วงที่คนเลิกงาน
พอดีว่า ทางวัดกำลังมีงานประจำปี คนพม่าที่เดินทางมากราบไหว้ก็ยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ รถราเลยติดขัดมากเป็นพิเศษ แต่อย่างไรก็ดี
โชเฟอร์คนเก่งของเราก็ใช้วิทยายุทธขั้นสูง ซอกแซกพาเราไปถึงที่หมายได้ในที่สุด
พระเจดีย์ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ มีทางขึ้นสี่ด้าน สำหรับคนที่ไม่อยากเดิน ก็มีลิฟท์คอยอำนวยความสะดวก บรรยากาศยามค่ำคืน ก็สวยไม่แพ้กลางวัน
พอเห็นพระเจดีย์สีทองกำลังเข้าเฝือกอยู่ พวกเราเลยมีเฮ เพราะจะได้ทำบุญใหญ่กันอีกวาระอีกแล้ว สำหรับพระอาจารย์ ดูไม่ออกว่า
ท่านตื่นเต้นอย่างพวกเราหรือเปล่า
เนื่องจากท่านเคยมาแล้ว ถ้ารวมครั้งนี้ ก็นับได้ 3 ครั้งด้วยกัน ซึ่งทุกครั้งที่มา ท่านก็ได้มาช่วงที่กำลังบูรณะทุกครั้ง จะว่าบังเอิญ ก็ไม่น่าจะใช่
น่าจะเป็นบุญของท่านมากกว่า
แต่ถ้าย้อนดูคลิปวีดีโอเมื่อปี 2539 แล้ว ท่านอาจารย์เล่าว่า สมัยก่อนพระเจดีย์อยู่กลางทุ่งเลยนะ บ้านเรือนก็อยู่ห่างไกล พอมาถึงสมัยนี้แทบไม่น่าเชื่อว่า
พระเจดีย์อยู่ในท่ามกลางตึกรามบ้านช่องเต็มไปหมด
สิ่งสำคัญก่อนอื่นใด ท่านพาพวกเราแวะทำบุญก่อน เงินกองกลางที่เตรียมไว้ ดูจะยังไม่พร่อง แม้จะผ่านมาหลายวันแล้ว
ถ้าที่ไหนมีบูรณะใหญ่ พวกเราก็จะคอยต่อยอดไปเรื่อยๆ แต่สุดท้ายพระอาจารย์ก็จะเป็นผู้ปิดยอด เพื่อให้ญาติโยมที่ถวายปัจจัยร่วมบุญกับท่าน
ที่อยู่เมืองไทยก็ดีหรือโอนมาร่วมบุญจากต่างประเทศก็ดี ได้บุญด้วย
เนื่องจากที่นี่กำลังบูรณะพอดี ท่านเลยร่วมทำบุญ 200,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 50,000 จ๊าด คนที่จดรายละเอียดยอดเงินทำบุญเป็นหน้าที่ของ พี่น้อยโหน่ง
ปัทมาพร และมี พี่หมี กัญญาวีร์ คอยเป็นฝ่ายสนับสนุนข้อมูลอยู่ตลอด
ประวัติพระเจดีย์ไจ้เข้า
...สำหรับที่นี่ พระอาจารย์ชัยวัฒน์บอกว่า มีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะบรรจุ พระเกศาธาตุ 6 เส้น และ พระบรมสารีริกธาตุ จากศรีลังกา
ตามที่เว็บไซด์ของพม่าเล่าไว้ดังนี้
...It lies on Ottaringa Hill, Thanlyin, on southern bank of Bago River, at the conuence of Yangon and Bago Rivers.
In Sakarit 241 it was built by ashin Khawla and Thaton King Sula Thirima Thawka enshrining six sacred hair relics of Buddha and relics obtained from
the King of Ceylon (Sri Lanka).
It was known as Khawlaka Pagoda. Later it came to be called Kyaikkhauk Pagoda. It is over 2000 years old, one of the most noted in Myanmar, revered by
kings and the people of successive periods.
สถานที่นี้ตั้งอยู่บนเนินเขา Ottaringa Thanlyin บนฝั่งใต้ของแม่น้ำ Bago ที่บรรจบของแม่น้ำย่างกุ้งและแม่น้ำ Bago
ในมหาศักราช 241 ถูกสร้างขึ้นโดย Ashin Khawla และ กษัตริย์แห่งสะเทิม สุละสิริมาโศกะ ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า 6 เส้น
และพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับจากกษัตริย์แห่งศรีลังกา
เดิมเป็นที่รู้จักกันชื่อว่า พระเจดีย์ Khawlaka สมัยต่อมาเรียกกันว่า เจดีย์ไจ้เข้า มีอายุกว่า 2000 ปี
ซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศพม่า ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของกษัตริย์และประชาชนในยุคต่อๆ ไป
...โปรแกรมวันนี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ เพราะเป็นเวลามืดค่ำแล้ว ต้องตีรถกลับเข้ามาหาที่พักในเมืองย่างกุ้ง
โชคดีที่พระอาจารย์ค้นหาได้ในเน็ต
แต่เมื่อเข้าไปถึงโรงแรมแล้วออกมารับประทานอาหารเย็น ที่ร้านอาหารในซูเปอร์มาร์เก็ตละแวกนั้น ปรากฏว่าพี่ชายของ "มินท์ซู"
โชเฟอร์ชาวย่างกุ้งของเราทำงานอยู่แถวนี้ คืนนั้น "มินท์ซู" จึงเอาลูกเมียมาให้รู้จักกัน พวกเราจึงให้รางวัลแก่ครอบครัวของเขาทุกคน
ส่วนวันพรุ่งนี้สามารถเดินทางไป "เมืองพะสิม" (Pathein) ได้สะดวก เพราะอาจารย์ได้เลือกโรงแรมที่เข้ากับเส้นทางไปวันต่อไป ส่วนจะไปที่ไหนบ้าง
สำคัญมาก..ต้องติดตามได้ในตอนหน้านะคะ
มิงกะลาบา !!
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2043
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 5/6/19 at 10:29
[ ตอนที่ 72 ]
(Update 10 มิถุนายน 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบสาม) 5 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล-ตองยี-ตองอู-สิเร
ียม-ดาลา (Dala) ตอน พระเจดีย์ดาโนะ (Danoke Pagoda) เมืองดาลา (Dala Township)
VIDEO
...เช้าวันนี้ที่ย่างกุ้ง (5 กุมภาพันธ์ 2562) ย่างเข้าสู่วันที่ 23 ของการเดินทางเก็บเกี่ยวบุญในพม่า
วันเวลายังคงทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเที่ยงตรง เช่นเดียวกับพวกเรา ที่ไม่หยุดสะสมเสบียงบุญเพื่อพระนิพพานเช่นเดียวกัน
วันนี้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์มีโปรแกรมไปเมืองดาลา (Dala Township) เพื่อไปกราบนมัสการพระเจดีย์ดาโนะ (Danoke Pagoda) ที่อยู่ไม่ไกลจากย่างกุ้งนัก
การข้ามฝั่งจากย่างกุ้งไปเมืองดาลาได้หลายทาง คือไปตามถนนสายย่างกุ้ง - พะสิม (Pathein) ก็ได้ ด้วยการข้ามสะพานแม่น้ำย่างกุ้ง
แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปที่เมืองดาลา
* (ถ้าตรงไปก็เป็นเมืองพะสิม จนถึงปลายสุดปากอ่าวมหาสุมทรอินเดีย นั่นก็คือ "พระเจดีย์มอดินซุน" (Mawtinsoon Pagoda) อันเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ
ที่พญานาคนำมาบรรจุไว้ก่อนชเวดากอง)
แต่พระอาจารย์เลือกที่จะไปทางตรง คือนั่งเรือเฟอร์รี่ ขนไปได้ทั้งรถและคน โดยเลือกรอบเวลา 8.15 น. แต่กว่าจะได้ขึ้นเรือจริงๆ ก็ 9 โมงเช้า
พระอาจารย์เล่าว่า สมัยก่อนที่มาเมื่อปี พ.ศ.2553 บ้านเมืองยังไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ ข้ามแม่น้ำย่างกุ้งแล้ว ต้องเหมารถมอเตอร์ไซค์จากท่าเรือเข้ามาวัด
การที่ท่านมาเมื่อปี 2553 นั้น เป็นเพราะเหตุได้ข่าวว่าปีที่แล้ว "พายุนาร์กิส" พัดถล่มพระเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองพังไปหลายแห่ง
ท่านจึงได้เดินทางมาเพื่อร่วมทำบุญปฏิสังขรณ์
สมัยนั้นการเดินทางในประเทศพม่ายังไม่สะดวกสบายอย่างปัจจุบัน เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบภายใน นักท่องเที่ยวต่างชาติจะต้องยื่นเอกสารแสดงความจำนงว่า
จะเดินทางไปที่ไหน บางเมืองก็ไม่อนุญาตให้เข้า การเดินทางไปไหนมาไหนจะทำตามอำเภอใจไม่ได้
พอข้ามมาถึงฝั่งเมืองดาลาแล้ว ก็ต้องใช้ "Google Map" เป็นนาวิเกเตอร์ นำทางไปยังพระเจดีย์ดาโนะ ที่อยู่ห่างจากตรงนี้ไปอีก 22 กิโลแม้ว เอ๊ย! กิโลเมตร
ขอบอกว่า ไม่ได้หาเจอกันง่ายๆ นะคะ ตอนแรกอากู๋..กูเกิล หาไม่เจอ ต้องใส่คำว่า "ไจ้" (Kyaik) เข้าไปด้วย เป็น "ไจ้ดาโนะ" ถึงจะเจอ
มาถึงขนาดนี้แล้ว ยากแค่ไหน เราก็จะไปให้ถึง ตอนแรกรถตู้สองคัน ก็ขับตามกันไปดีอยู่ ถนนบางช่วงก็กำลังทำทาง ช่วงที่ทำเสร็จแล้ว ก็เป็นคอนกรีต
บางช่วงยังทำไม่เสร็จก็เป็นลูกรัง ส่วนข้างทางก็เป็นท้องทุ่งโล่งๆ
ขับไปขับมา รถตู้อีกคันที่ "มินท์ซู" เป็นคนขับ เกิดยางรั่วกลางทาง เลยต้องจอดเปลี่ยนยาง ส่วนรถตู้อีกคันเลยต้องล่วงหน้าไปก่อน แม้ในใจลึกๆ
พระอาจารย์จะเป็นห่วงลูกศิษย์รถอีกคันหนึ่ง
แต่ก็ต้องตัดใจ ไม่เช่นนั้นงานก็จะเสีย อาศัยถามทางจากชาวบ้านแถวนั้นบ้าง ในที่สุด ก็มาถึง "พระเจดีย์ดาโนะ" จนได้
ได้พบกับพระที่อยู่ที่วัด 3 รูป ท่านกุลีกุจอออกมาต้อนรับด้วยความเป็นมิตร หญิงสาวชาวบ้านที่มาทำบุญที่วัด ก็นำขนมและเครื่องดื่มมาถวายพระอาจารย์
และยังแบ่งเจือจานมาให้พวกเราด้วย
ขณะที่ไปถึงนั้น เจ้าอาวาสไม่อยู่ ทราบว่าท่านไปที่ "พระเจดีย์มอดินซุน" ที่อยู่ห่างไกลมาก อีกทั้งพระอาจารย์ก็มีโปรแกรมจะไปที่นั่นด้วย
พระรูปหนึ่งในวัดจึงติดต่อเจ้าอาวาสทางโทรศัพท์ พร้อมกับบอกว่าพวกเราทำบุญไว้ที่นี่ด้วย เจ้าอาวาสรับสายแล้วชักชวนให้พระอาจารย์รีบเดินทางไปที่
"พระเจดีย์มอดินซุน" ท่านจะรออยู่ที่โน่น
ขอย้อนกลับมาเล่าต่อว่า พระเจดีย์แห่งนี้มีความสำคัญ ที่คนไทยไม่ค่อยรู้จักและไปถึง เป็นสถานที่บรรจุ "พระเกศาธาตุ" มากถึง 24 เส้น
และพระบรมสารีริกธาตุอีก "24 องค์"
แต่เป็นเรื่องน่าแปลกกว่าพระเจดีย์องค์อื่นๆ ที่พระเจดีย์องค์นี้มีประวัติว่าเคยล้มมาแล้วถึง 9 ครั้ง ครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ.2552 นี่เอง
🌻🌿 ประวัติพระเจดีย์ดาโนะ 🍀🌻
...สมัยนั้นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า "สุระติวิมาตอกะ" ปกครองเมืองดาลา วันหนึ่งพระองค์ได้ฝันว่า มี "พระเกศาธาตุ" และ "พระทนต์" (ฟัน)
อยู่กับพระมหากษัตริย์ประเทศอินเดียชื่อ "อะตอกาแม"
พระองค์จึงได้โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 7 รูป เดินทางไปประเทศอินเดีย เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าว พระสงฆ์ทั้ง 7 รูปมีรายชื่อดังต่อไปนี้
1. พระอเชนกีตะ โกตะ
2. พระอเชนเต๊ะคะ ปินยา องค์นี้อยู่ดาโนะ (เมืองดาลา)
3. พระอเชนตากะละ ปินยา องค์นี้อยู่ต่งแต (Twantay เมิองดาลา)
4. พระอเชนโบด๊ะ เงี๊ยนะ องค์นี้อยู่ไจ้โท (พระธาตุอินทร์แขวน)
5. พระอเชนเต๊ะตะ องค์นี้อยู่ซินไจ้ (พระธาตุซินไจ้) อยู่เลยพระธาตุอินทร์แขวนไป
6. พระอเชนอติละ องค์นี้อยู่แดแม๊ะ
7. พระอเชนโต่งด๊ะ องค์นี้อยู่เมาะลำใย (เมาะละแหม่ง)
พระมหากษัตริย์อินเดียได้ทรงแบ่งพระเกศาธาตุให้จำนวน 78 องค์ และพระทนต์ 3 องค์ เมื่อได้มาแล้ว พระมหากษัตริย์เมืองดาลา ได้ทรงสร้างพระเจดีย์
และนำพระเกศาธาตุไปบรรจุที่ "พระเจดีย์ดาโนะ" พระเจดีย์องค์นี้ได้บรรจุพระเกศาธาตุ จำนวน 24 เส้น และพระบรมสารีริกธาตุอีกจำนวน 24 องค์
ชื่อเดิมของพระเจดีย์ดาโนะ ชื่อว่า "ดาโนะกาฮะ" พระเจดีย์ดาโนะสร้างเสร็จ ศักราชปีที่ 240 (นับปีแบบพม่า)
(สภาพที่พระเจดีย์ดาโน๊ตพังทลายลงมาอย่างที่เห็นนี้)
พระเจดีย์ดาโนะตั้งอยู่ที่ จังหวัดตะลา หรือ "ดาลา" พระเจดีย์เดิมสูงแค่ 16 ศอก ถึงแม้ทางวัดจะสร้างขึ้นมาใหม่ แต่ก็ได้ล้มลงไปอีก นับได้ 9 ครั้งแล้ว
ดังนี้...
ครั้งที่ 1 ล้มลงไปเมื่อปี พ.ศ.1883 ส่วนที่บรรจุพระเกศาธาตุได้พังลงมา และได้สร้างใหม่
ครั้งที่ 2 ล้มลงไปเมื่อปี พ.ศ.1937 พระมหากษัตริย์กับพระมเหสีจากกรุงหงสาวดี ได้สร้างฉัตรมาถวาย
ครั้งที่ 3 ล้มลงไปเมื่อปี พ.ศ.2001 ได้เกิดแผ่นดินไหว พระเจดีย์ได้พังล้มลงมา
ครั้งที่ 4 ล้มลงไปเมื่อปี พ.ศ.2108 ได้เกิดแผ่นดินไหว พระเจดีย์ได้พังล้มลงมา
ครั้งที่ 5 ล้มลงไปเมื่อปี พ.ศ.2198 ได้มีการบูรณะ คือสร้างพระเจดีย์ขึ้นมาใหม่ ทำให้เจดีย์สูงขึ้นเป็น 45 ศอก
ครั้งที่ 6 ล้มลงไปเมื่อปี พ.ศ.2359 ได้เกิดแผ่นดินไหว พระเจดีย์ได้พังล้มลงมา
ครั้งที่ 7 ล้มลงไปเมื่อปี พ.ศ.2433 ได้เกิดแผ่นดินไหว พระเจดีย์ได้พังล้มลงมา
ครั้งที่ 8 ล้มลงไปเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ได้เกิดพายุนาร์กีสพัดถล่ม พระเจดียฺได้พังล้มลงมา
ครั้งที่ 9 บูรณะเสร็จแล้ว ได้ล้มลงไปเองอีกเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2552 (ท่านเจ้าอาวาสเล่าว่า เดิมความสูงปกติ 180 เมตร จึงคิดจะสร้างให้สูง 189.6
เมตร ซึ่งในครั้งนั้น พระอาจารย์ได้เดินทางมาร่วมทำบุญ 30,000 จ๊าด)
**หมายเหตุ ทางพม่านับศักราชไม่ตรงกับพุทธศักราชของไทย ประวัติการล้มอาจจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง ทางทีมงานฯ ต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้
ระหว่างรอรถตู้อีกคัน พระอาจารย์ได้สนทนากับพระสงฆ์ที่อยู่ที่วัดนี้ เลยทราบว่า อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดพระธาตุไจ้ทีซองที่มรณภาพไปแล้ว
(Kyaik Htee Saung Sayadaw) เป็นผู้มาบูรณะพระเจดีย์ที่นี่ และชาวบ้านละแวกนี้ก็เคารพนับถือท่านมาก
หลังจากรถตู้ของมินท์ซูซ่อมเสร็จเรียบร้อย และตามมาสมทบที่วัดแล้ว พระอาจารย์ได้ร่วมบุญบูรณะเป็นเงินไทย 5,000 บาท และเงินพม่า 30,000 จ๊าด นอกจากนี้
ยังร่วมทำบุญค่าไฟฟ้าอีก 60,000 จ๊าดด้วย
จากนั้นท่านได้นำคณะกราบสักการะพระเจดีย์ อันเป็นที่ประดิษฐาน "พระเกศาธาตุ" และ "พระบรมสารีริกธาตุ" ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พร้อมกับถวายเครื่องบูชา ที่หอบหิ้วกันมาจากเมืองไทย โดยมีเจ๊หลี จารุภา และเฮียก๊วยเจ๋ง พร้อมเจ้าภาพใหญ่จากเมืองไทย คือ พี่แมว ลักษมี - พี่ชาญวิทย์
มโนธีรวัฒน์ ที่จะต้องขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง
หลังจากร่ำลากันเรียบร้อยแล้ว เราได้กลับออกจากพระเจดีย์ดาโนะด้วยความปลื้มปิติอิ่มเอมใจในบุญใหญ่ที่หาโอกาสทำได้ยาก
เพราะที่นี่มาได้ยาก หากไม่มีพระอาจารย์นำพาพวกเรามาแล้ว คงจะไม่ได้มีโอกาสเช่นนี้ ขอน้อมกราบขอบพระคุณพระอาจารย์เป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ
*(กรุณาดูแผนที่จะทราบว่าไกลแค่ไหน)
พอออกจากวัดแล้ว ได้เวลาฉันเพลพอดี เราจึงแวะเติมพลังกันที่ร้านอาหารของชาวบ้านแถวๆ ข้างวัด จะกลัวอะไร ในเมื่อเรามีเชฟฝีมือเยี่ยมจากไอร์แลนด์มาด้วย
พี่ต่าย พี่แตน สองเชฟคนเก่งประจำคณะ ก็ได้แสดงฝีมือทอดไข่เจียวอีกวาระ มื้อนี้ก็รอดตายผ่านพ้นไปได้อีกมื้อ
พระอาจารย์ท่านเห็นเจ้าตูบสี่ขา ท่าทางผอมกะหร่องอยู่ 3-4 ตัว เลยเอาอาหารที่พวกเรากินไม่หมดมาเลี้ยง เจ้าหมาน้อยเลยโชคดีกินกันจนอิ่มแปล้
นี่ก็ยังดีมีอิ่มทั้งคนและเจ้าหมาน้อย แต่ครั้งก่อนที่พระอาจารย์มาเมื่อปี 2553 ท่านบอกว่าไม่มีอะไรในร้านค้าที่เงียบเหงา สมัยนั้นยังไม่เจริญ
มีเงินจ๊าดแต่ไม่มีอาหารที่จะซื้อ
โชคดีที่ท่านพก "ข้าวและอาหารกระป๋อง" ไปจากเมืองไทยด้วย ท่านไปกัน 2 คนกับ คุณทนงฤทธิ์ (ธนฤทธิ์) สีทับทิม ที่เพิ่งเสียชีวิตไปไม่นาน
พอเปิดกระป๋องแล้วฉันได้เลย ไม่ต้องไปอุ่นไฟให้เสียเวลา
สำหรับตอนหน้า จะพาท่านผู้อ่านไปกราบนมัสการ "พระเจดีน์ชเวซานดอว์ ที่บ้านต่งแต (Twantay)" ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน อย่าลืมติดตาม พร้อมกับกดไลค์กดแชร์
เพื่อเป็นธรรมทานนะคะ...สวัสดีค่ะ"
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2043
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 10/6/19 at 08:50
[ ตอนที่ 73 ]
(Update 15 มิถุนายน 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบสาม) 5 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล-ตองยี-ตองอู-สิเร
ียม-ดาลา (Dala)
ตอน พระเจดีย์ชเวซานดอว์ (Shwesandaw Pagoda) เมืองต่งเต (Twante Township)
VIDEO
VIDEO
VIDEO
...หลังจากแวะรับประทานมื้อเที่ยงที่ร้านอาหารริมทางข้างๆ พระเจดีย์ดาโนะแล้ว คาราวานบุญก็เคลื่อนขบวนไปต่อ ยังมีบุญใหญ่ๆ
รอเราอยู่ ตามพวกเรามานะคะ
จากเมืองดาลา ขับรถไปอีกประมาณชั่วโมงครึ่ง เราก็มาถึง "พระเจดีย์ชเวซานดอว์" แห่งเมืองต่งเต ซึ่งเป็นชเวซานดอว์แห่งสุดท้ายในทริปนี้จากทั้งหมด 4
แห่งในพม่า
อ่านมาถึงตอนนี้ ก็เป็นตอนที่ 73 แล้ว ท่านผู้อ่านคงจะคุ้นหูกับชื่อ "พระเจดีย์ชเวซานดอว์" กันบ้างไม่มากก็น้อย
ถ้าเจอคำนี้เมื่อไร แสดงว่า พระเจดีย์นั้นเป็นที่ประดิษฐาน "พระเกศาธาตุ" ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง
คำว่า "ชเวซานดอว์" ของชาวพม่า กับ "ซานดอว์เซน" ของชาวมอญ นั้นต่างก็หมายถึง พระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุ ทั้งคู่ (ชาวมอญบางคนเรียกว่า "ธาตุศก"
คล้ายกับคนไทย)
ถ้าอยู่ในเขตชุมชนชาวมอญ ก็เรียก "ซานดอว์เซน" ถ้าอยู่ในเขตพม่า ก็เรียก "ชเวซานดอว์" หมายถึง "พระเกศาทองคำ" (The Golden Hair Relic) นั่นเองค่ะ
ชเวซานดอว์ 4 ทิศในพม่า
ในประเทศพม่า มีพระเจดีย์ขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า "ชเวซานดอว์" ทั้งหมด 4 แห่งด้วยกัน ดังนี้
1. พระเจดีย์ชเวซานดอว์แห่งเมืองตองอู (Taungoo) ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่า อยู่ทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้งประมาณ 180 ไมล์
2. พระเจดีย์ชเวซานดอว์แห่งเมืองแปร (Pyay) ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 160 ไมล์
3. พระเจดีย์ชเวซานดอว์แห่งเมืองพุกาม (Bagan) ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าอีกแห่งหนึ่งในพม่าตอนกลาง
4. พระเจดีย์ชเวซานดอว์แห่งเมืองต่งเต (Twante) ซึ่งเป็นเมืองเก่าทางประวัติศาสตร์ อยู่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี (Ayeyawaddy Delta)
🌲🌻ประวัติพระเจดีย์ชเวซานดอว์แห่งเมืองต่งเต🌻🌲
ภาพปกหนังสือประวัติ (แปลโดย "คุณลิ้นจี่" ร้านมายิน จ.พิจิตร)
...พระเจดีย์ชเวซานดอว์แห่งเมืองต่งเตนั้น ตามตำนานเล่าว่า สร้างตั้งแต่สมัยพุทธกาล ช่วงที่พระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่
พระพุทธเจ้าประสูติ ปีศักราชที่ 68 วันศุกร์ เดือนพฤษภาคม สมัยนั้นยังมีพระสงฆ์รูปหนึ่งชื่อ "พระควัมปติ" ได้เดินทางมาที่ "เมืองสุธรรมปุระ"
(ชื่อเดิมของเมืองตะโท คนไทยเรียก "สะเทิม" หรือ "เมืองสุธรรมวดี" Thudhammawaddy นั่นเอง) แล้วได้มาสวดมนต์อุทิศถวายให้กับพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า
"เต้ตะติ๊ฮะเดอร์มายาสะ"
เมื่อกษัตริย์พระองค์นี้ได้ทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกแล้ว มีพระราชประสงค์จะได้พบพระพุทธเจ้าบ้าง จึงโปรดให้พระสงฆ์ไปกราบทูลอาราธนา
องค์สมเด็จพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์ 2,000 รูป (ในพรรษาที่ 8) จึงได้เหาะมาตามคำอาราธนาที่เมืองสุธรรมปุระ ระหว่างทางทรงหยุดพักที่ "เกาะเจ้าซินจอง"
แล้วเหาะต่อไปที่ "ภูเขาซินไจ้" (Zingyaik Taung)
พระองค์ทรงหยุดที่เนินเขาและหันหน้าไปทางทิศตะวันตก แล้วแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์เห็นจึงได้กราบทูลถามว่า
"เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงสถานที่นี้แล้ว เพราะเหตุใดจึงทรงแย้มพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้าข้า"
องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสว่า ในสมัยชาติที่แล้ว ตถาคตได้เสวยพระชาติเป็น "พญาช้าง" และเป็น "พญากวาง" อยู่ที่ "ต่งเตมยุดาโกง"
แล้วได้เสียชีวิตที่นี่ ร่างก็ถูกฝังอยู่ที่นี่
จากนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า จะประทานพระเกศาธาตุไว้ที่เมืองสุธรรมปุระ 2 เส้น และหลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว จะทรงประทานเพิ่มให้อีก 4 เส้น
ต่อมามีพ่อค้า 3 คนพี่น้องชื่อ ตุ๊มานะเท, เต๊ะคะปันยา, ตากะละปันยา (ในที่บางแห่งบอกว่า 2 พี่น้องชื่อ "สิกขปันนา" Tikkha Panna และ "สักการะปันนา"
Sagara Panna กับชาวประมง 500 คน)ได้นั่งเรือออกทะเล เพื่อตามหาพระพุทธเจ้า ตามที่ได้ยินมาว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ "ภูเขาซินไจ้"
แต่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ไม่นานก็ได้เดินทางไปประทับที่เมืองสุธรรมปุระ ซึ่งพ่อค้า 3 พี่น้องก็ได้เดินทางตามไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองดังกล่าว
แล้วถวายขนมแด่พระองค์
จากนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงประทานพระเกศาธาตุให้ 2 เส้น เมื่อวันที่ 14 วันอังคาร เดือนพฤศจิกายน ศักราชปีที่ 111
เมื่อพ่อค้าทั้ง 3 พี่น้องได้รับพระเกศาธาตุแล้ว จึงได้เดินทางกลับเมืองต่งเต มีชาวบ้านทราบข่าวจึงออกมาต้อนรับประมาณ 500 คน (บางแห่งบอกว่า ท่าเรือเมือง
Thiho Nge Khabin)
แต่ขณะที่พ่อค้าทั้ง 3 พี่น้องได้รับพระเกศาธาตุมานั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสสั่งไว้ว่าให้นำไปบรรจุที่ "ต่งเตมยุดาโกง" สันเขามยุดา (Mayuda Ridge)
หรืออ่านว่า "มารุดา" ก็ได้
แต่พ่อค้าทั้ง 3 พี่น้อง ไม่ทราบว่า "ต่งเตมยุดา" อยู่ที่ใด ทั้ง 3 พี่น้องจึงได้ตั้งจิตอธิฐานว่า ถ้า "ต่งเตมยุดา" อยู่ที่ใดก็ขอให้เกิดปาฏิหาริย์
ขณะนั้นได้เกิดลมพายุหมุนแรงที่บริเวณนั้น ชาวบ้านและพ่อค้า 3 พี่น้อง ก็ตื่นเต้นดีใจมาก จึงได้ช่วยกันปรับพื้นที่บริเวณนั้น
เพื่อสร้างพระเจดีย์บรรจุพระเกศาธาตุ
ขณะที่ทำพิธีบรรจุพระเกศาธาตุลงในผอบ ได้มีสิ่งอัศจรรย์เกิดขึ้น คือมีแสงฉัพพรรณรังสีปรากฏออกมาจากผอบ อีกทั้งแผ่นดินก็ได้ไหวสั่นสะเทือนทั่วบริเวณไปหมด
เจ้าเมืองและชาวบ้านทั้งหลายจึงได้นำสิ่งของมีค่ามากมายมาบรรจุไว้ในเจดีย์ และมีการเรียกชื่อเจดีย์นี้ว่า "พระเจดีย์ชเวซานดอร์"
โดยได้ไช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 9 ปี
(คำว่า "เจ้าเมือง" บางแห่งกล่าวว่า King of Pokkrawaddy named Thamein Htaw Banna Yan and his chief Queen Meinda Devi โดยการสร้างจากรากฐานในปีพศ. 114
ไปจนถึงยอดฉัตรในปี 123
สมัยต่อมา (อีก 115 ปีต่อมา) ได้มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระนามว่า "ปัญญากอแลแม" และพระฤาษีที่ชื่อ "ตื๊ยังก็กะติก กอแลละแม"
ได้ปรึกษากันว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ศาสนาจะได้ไม่ดับสูญหายไปจากโลกนี้ และพระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า
ถ้าพระพุทธองค์ปรินิพานแล้วจะประทานพระเกศาธาตุให้ 4 เส้น ไว้ให้กับพระมหากษัตริย์ของเมืองสุธรรมปุระ ชื่อ "พระเจ้าศิริธรรมะ" (Thiri Dhamma)
ซึ่งพระมหากษัตริย์ได้ตั้งไจมอบไห้กับพระอรหันต์จำนวน 7 รูปที่มารอรับ และพระฤาษีทราบข่าวก็เหาะมารอรับเช่นกัน
ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง 7 รูปได้บอกกับพระฤๅษีว่า จะนำไปให้กับพระฤๅษีเอง พระฤาษีก็ดีใจมากจึงได้เหาะกลับไปที่อยู่
หลังจากนั้นพระอรหันต์ทั้ง 7 รูปได้นำพระเกศาธาตุจำนวน 4 เส้นไปที่ "คะเบียนติโฮ" ที่พระฤๅษีอยู่ แล้วมอบพระเกศาธาตุให้กับพระฤๅษี
เพื่อนำไปถวายให้พระมหากษัตริย์ต่อไป
เมื่อพระฤๅษีนำไปถวายให้พระมหากษัตริย์แล้วก็ได้นำไปที่ "ต่งเต" เพื่อบรรจุที่เจดีย์ เมื่อศักราชปีที่ 238 เดือนกุมภาพันธ์ วันที่ 3 วันศุกร์ เวลาตี 1
กว่า ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง 7 องค์ ประกอบด้วย
1. พระอุปากะ
2. พระตอนะ
3. พระอุตาละ
4. พระอนุลองดา
5. พระเตต๊ะ
6. พระโก๊ะทะ
7. พระตอเมยะ
พระเกศาธาตุที่บรรจุครั้งแรกมี 2 เส้น บรรจุครั้งที่ 2 อีก 4 เส้น รวมเป็นพระเกศาธาตุ 6 เส้น ซึ่งได้นำมาบรรจุรวมกันไว้ในที่เดียวกัน (ส่วนชื่อเมือง
"ต่งเตมยุดาโกง" ปัจจุบันเรียกสั้นๆ ว่า "ต่งเต")
จากบันทึกเหตุการณ์ต่อไปว่า พระเจดีย์ได้รับการบำรุงรักษาและปรับปรุง ตลอดช่วงเวลาที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่มีช่องว่างอันยาวนาน 3
ช่วงที่ไม่ได้บันทึกไว้ คือ
- ช่วงที่ 1 ศักราชที่ 101 ถึง 936 ซึ่งเป็นช่องว่าง 835 ปี
- ช่วงที่ 2 ตั้งแต่ปี ค.ศ.1284 ถึงปี ค.ศ.1354 ซึ่งมีระยะห่าง 74 ปี และ
- ช่วงที่ 3 ปี ค.ศ.1661 ถึง 1763 ซึ่งเป็นช่องว่าง 102 ปี
ยกเว้น 3 ช่วงว่างนี้ การลำดับเหตุการณ์จะเป็นเรื่องต่อเนื่องกัน ทำให้มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์มากมาย
เนื่องจากเจดีย์ตั้งอยู่บนแผ่นดินโลก ซึ่งได้รับความเสียหายร้ายแรง และถูกทำลายจากแผ่นดินไหวใหญ่ 7 แห่งในช่วง 796 ปี (ค.ศ.1054 ถึง 1850)
ใน ค.ศ.1054, 1394, 1512, 1564, 1596, 1773 และ 1783 ได้รับการซ่อมแซมและรื้อถอนโดยกษัตริย์ของพม่า 24 พระองค์ และบูรณะขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้ง
เป็นอันว่า กษัตริย์พม่าหลายองค์ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์เป็นระยะๆ จนถึงสมัยของพระเจ้าเซงพยูเชง (Hsinbyushin) แห่งราชวงศ์คองบอง คือพระเจ้ามังระ
(พ.ศ. 2306-2319) อยู่ในราชวงศ์อลองพญานั่นเอง
พระองค์ได้บูรณะพระเจดีย์ โดยออกแบบให้มีรูปลักษณ์เหมือนกับ "พระเจดีย์ชเวดากอง" และเพิ่มความสูงขึ้นอีก 136 ศอก พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์องค์เล็กอีก 40
องค์ขึ้นรายรอบ
นอกจากนี้ ยังมีบันทึกการยกฉัตรใหม่ถึง 6 ครั้ง และมีรายชื่อของพระราชาผู้บูรณะ 24 พระองค์ รวมทั้งกษัตริย์ที่มีชื่อเสียง เช่น
Duttabaung, Anawrahta, Kyanzittha, Banna U Rajadarit, Queen Shin Saw Pu, Dhamazedi, Tabin Shwehti, Bayint Naung, Anaukpetlun, Thalun, Hsinbyushin,
Bodawpaya, Bagyidaw, Thayawaddy และ Bagan
* หมายเหตุ - คำว่า "บางแห่ง" หมายถึงจากการรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยพระมหาเถระ Leidi U Pannavamsa ไม่ว่าจะเป็นการจารึกบนใบปาล์มแห้ง,
สมุดข่อยแผ่นพับ, ก้อนหิน และระฆังโบราณ เป็นต้น
...พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้รำลึกความหลังให้พวกเราฟังว่า เมื่อก่อนที่ท่านเคยมาเมื่อแปดปี (2553) ก่อน แถวนี้ค่อนข้างเปลี่ยว
ไม่มีอะไรเลย ช่างต่างกับปัจจุบันคนละเรื่องเดียวกัน
คราวนั้นท่านก็ได้ร่วมบูรณะไปแล้ว ครั้งนี้พอทราบว่า กำลังจะมีการบูรณะปีหน้า พวกเราก็รีบควักกระเป๋ากันใหญ่ นอกจากเงินกองกลางแล้ว ยังเติมเพิ่มเข้าไปอีก
และพระอาจารย์ก็เป็นผู้ปิดบุญอีกเช่นเคย
รวมยอดเงินบูรณะ เป็นเงินไทย 5,000 บาท และเงินพม่า 100,000 จ๊าด และทำบุญค่าไฟฟ้าอีก 60,000 จ๊าด ทำบุญกันจนกระเป๋าเบาไปเลย
สรุปว่า ทริปนี้เราได้มากราบ "พระเจดีย์ชเวซานดอว์" ครบถ้วนทั้ง 4 ทิศ ตามที่พระอาจารย์ได้ตั้งใจไว้ ขอเชิญทุกท่านโมทนาบุญร่วมกัน
ขอให้บุญกุศลนี้จงเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันด้วยเทอญ
ในตอนหน้า เรื่องเกี่ยวกับ "งู" จะกลับมาอีกครั้ง อย่างที่รู้กัน พม่าเขามีวัดงูหลายแห่งด้วยกัน ที่ "บ้านต่งเต" เขาก็มีเหมิอนกัน
จะเหมือนหรือแตกต่างจากวัดงูที่อื่นอย่างไร มาติดตามต่อตอนต่อไปนะคะ...มิงกะลาบา...ลาไปก่อนค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2043
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 10/6/19 at 09:42
[ ตอนที่ 74 ]
(Update 20 มิถุนายน 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบสาม) 5 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล-ตองยี-ตองอู-สิเร
ียม-ดาลา-ต่งเต)
ตอน วัดงูพองตอว์โช๊ค (Paung Taw Choke Snake Temple) เมืองต่งเต (Twante Township)
...โปรแกรมสุดท้ายของวันนี้ แอบตื่นเต้นเร้าใจเล็กน้อย เพราะพระอาจารย์พาเรามายัง "พระเจดีย์พองตอว์โช๊ค"
ซึ่งเป็นวัดงูที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่ง อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่เมืองต่งเตนี่เอง
ก่อนหน้านี้ เราเคยแวะไปที่วัดงู ที่เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) กันมาแล้ว ปัจจุบันเหลืองูเหลือมแค่ 2 ตัว มักจะเลื้อยมาเฝ้าพระพุทธรูปทุกวันเป็นประจำ
พอถึงเวลา 11 โมง งูก็จะเลื้อยออกมาจากหีบ ผู้ดูแลก็จะอุ้มไปอาบน้ำโรยด้วยดอกไม้ในบ่อ เสร็จแล้วก็จะนำมาให้อาหารเป็นไข่ผสมกับนมสด
งูที่นี่ค่อนข้างเชื่อง และไม่ทำร้ายคน คนที่มาดูงู ก็บริจาคเงินบำรุงวัดด้วย ถือว่า งูก็มีส่วนช่วยหาเงินเข้าวัด ถึงแม้จะเป็นสัตว์ก็ตาม
มนุษย์อย่างเราเลยขอโมทนากับงูเหล่านี้ แอบคิดเหมือนกันว่า ไม่น่าจะใช่งูธรรมดา เพราะรู้ภาษามาก
สรุปว่าเมืองพม่าเขามีวัดงู (Snake Temple) อยู่ 3 แห่ง คือ
1. มัณฑะเลย์ (Mandalay)
2. ต่งเต (Twante)
3. หงสาวดี (Bago) ภายหลังได้กลับมากราบไหว้ครบถ้วนเมื่อ ปี 2562 แล้ว
ก่อนจะถึง "วัดงูพองดอว์โช๊ค" พวกเราก็จินตนาการไปต่างๆ นาๆ ว่า จะเหมือนที่มัณฑะเลย์หรือเปล่า คิดไปก็เท่านั้น ไปดูของจริงกันเลยดีกว่าค่ะ
พอรถจอดปุ๊บ เด็กๆ ชาวบ้านละแวกนั้นก็วิ่งกรูกันเข้ามารุมล้อมเรา ในมือก็หิ้วถุงใส่ปลาเป็นๆ มาด้วย ต่างก็แย่งกันนำเสนอปลาในถุงให้เราซื้อปล่อยในทะเลสาบ
วัดงูที่นี่จะแปลกกว่าที่อื่น ตรงที่ตั้งอยู่กลางทะเลสาบ มีทางเดินเล็กๆ ทอดยาวไปยังพระเจดีย์ที่อยู่กลางน้ำ
มองเห็นศาลากลางน้ำและพระเจดีย์สีทองอยู่ไม่ไกล
VIDEO
พอเดินเข้าไปใกล้ ชักเริ่มตื่นเต้นแฮะ สำหรับพี่บางท่านที่ไม่ค่อยเลิฟงูเท่าไร ก็ขอรออยู่ริมสระ ไม่เดินเข้าไป จะปลอดภัยกว่า
สมาชิกที่เหลือก็เดินตามพระอาจารย์ไป พอเข้าไปข้างใน ก็ต้องตกตะลึงกับบรรดางูเป็นสิบๆ ตัว มีหลายไซส์ ทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก
นอนขดอยู่ตามมุมต่างๆ อย่างกับถูกสต๊าฟไว้ มองดูคล้ายๆ กับกำลังจำศีลอยู่ ไม่สนใจกับแขกที่มาเยี่ยมเยือน เหมือนเราไม่มีตัวตนอย่างนั้นแหละ
งูบางตัวเลื้อยพันอยู่บนกิ่งต้นไม้เทียม ที่สร้างขึ้นให้เป็นที่อยู่ของงู บางตัวก็ขดตัวอยู่บนชั้นราวเหล็กบนหน้าต่าง บางตัวก็อยู่บนพื้นตามมุมห้อง
ส่วนบางตัวก็พอใจกับการนอนใต้โต๊ะที่วางพระ เรียกได้ว่า มองไปทางไหนก็มีแต่งู ถ้าคนกลัวงูคงจะขวัญบินเหมือนกัน
คนที่กล้าที่สุดในกลุ่ม ขอยกให้พระอาจารย์ชัยวัฒน์ค่ะ เพราะสามารถจับต้องและอุ้มงูเหลือมตัวใหญ่ได้แบบสบายๆ
เจ้างูเหลือมก็ดูเหมือนจะชอบพระอาจารย์เสียด้วยสิ
แม่ชีที่ดูแลสถานที่นี้เล่าว่า เมื่อก่อนมีงูประมาณ 40 ตัว แล้วก็ออกลูกออกหลาน บางตัวก็ตายไป แต่ก็มีชาวบ้านนำงูตัวเล็กๆ มาให้อีก ปัจจุบันมีอยู่ราวๆ 50
ตัว
งูที่นี่ก็กินนมเป็นอาหารเหมือนงูที่วัดงูที่มัณฑะเลย์ เวลาให้อาหารประมาณ 18.30 น.ของทุกๆ วัน มีกล่องนมตั้งวางอยู่ใกล้ๆ โต๊ะบริจาค
พระอาจารย์เลยร่วมทำบุญซื้อนมเลี้ยงงู เรียกได้ว่า ได้บุญสองต่อ งูก็อิ่มท้อง แถมเงินก็เข้าวัด
ทางวัดก็จะได้นำเงินไปบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ได้อีกในอนาคต
หลังจากถ่ายรูปเก็บภาพเป็นที่ระลึกแล้ว ก่อนกลับเจ๊มายินก็ซื้อปลาจากเด็กๆ ที่รอคอยพวกเราอย่างใจจดใจจ่อ มาปล่อยในทะเลสาบ
พ่อค้าแม่ค้าตัวน้อยดูจะดีใจที่ขายหมด หน้าตายิ้มแย้มมีความสุข
โปรแกรมวันนี้ก็สิ้นสุดลง พร้อมๆ กับการเดินทางย้อนกลับไปทางเดิม ผ่านเมืองดาลา (Dala) ถ้าดูตามแผนที่ก็จะถึงทางแยกถนนใหญ่ เลี้ยวขวากลับไปทางย่างกุ้ง
หากเลี้ยวซ้ายก็จะไปทางพะสิม (Pathein) หรือ (Bassein)
พระอาจารย์มีกำหนดการไปทางพะสิม (พัก 2 คืน) เพราะยังมีพระพุทธรูปลอยน้ำ "ไจ้มุทธอว์" หรือ ชเวมุทธอว์ (Shwe mokhtaw Pagoda) เหลืออีก 1
แห่งที่จะไหว้ให้ครบถ้วน
อีกทั้งยังมีพระเจดีย์ที่สำคัญและเดินทางไปยาก นั่นก็คือ "พระเจดีย์มอดินซุน" (Mawtinzun Pagoda) ที่เก่าแก่กว่า "พระเจดีย์ชเวดากอง" (Shwedagon
Pagoda)
การเดินทางกว่าจะไปถึงที่พัก ตะวันก็ค่อยๆ ลับขอบฟ้าไป พรุ่งนี้ค่อยว่ากันใหม่ ในตอนหน้า จะพาท่านผู้อ่านไปกราบนมัสการอดใจรอแป๊บ
แล้วพบกันตอนต่อไปค่ะ...มิงกะลาบา !!
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2043
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 15/6/19 at 05:52
[ ตอนที่ 75 ]
(Update 25 มิถุนายน 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบสี่) 6 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล-ตองยี-ตองอู-สิเร
ียม-ดาลา-ต่งเต-พะสิม)
ตอน พระเจดีย์มอดินซูน (Mawtinzun Pagoda) เมืองพะสิม (Pathein)
VIDEO
...วันเวลาดูจะหมุนผ่านไปอย่างรวดเร็ว เผลอแป๊บเดียวเรามาอยู่ที่พม่า 24 วันแล้วแต่ละวันก็มีโปรแกรมแน่นเอี๊ยดตั้งแต่เช้ายันค่ำ
วันนี้ก็ไม่ต่างจากวันก่อนๆ จุดหมายปลายทางของเราในวันนี้อยู่ที่ "พระเจดีย์มอดินซูน" (Mawtinzun Pagoda) ที่อยู่ไกลถึงแหลมเนเกรย์ ปากอ่าวเบงกอล
(มหาสมุทรอินเดีย) โน่นเลย
เพื่อบุญใหญ่ที่รออยู่ ถึงไกลแค่ไหน เราก็จะไปให้ถึง ถ้าเป็นเมื่อก่อน คงต้องใช้เวลาเป็นวันๆ แต่เดี๋ยวนี้เค้าพัฒนาแล้ว ถนนหนทางดีขึ้นกว่าเดิมเยอะ
ช่วยย่นระยะเวลาการเดินทางให้สั้นลงได้มาก
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ท่านเล่าให้ฟังว่า การเดินทางมาที่นี่เมื่อปี พ.ศ.2543 นั้นโหดสุดๆ ไม่มีที่ไหนโหดยิ่งกว่าที่นี่
สมัยนั้นต้องนั่งเรือเอี๊ยมจุ๊น ติดเครื่องหางยาว ออกเดินทางจากท่าเรือที่เมืองพะสิมตั้งแต่เช้ามืด ล่องเรือไปตามแม่น้ำ ใช้เวลา 9 ชั่วโมงกว่า
พอขึ้นฝั่งแล้ว ก็ต้องเดินต่อไปอีก 5 กิโลเศษ หรือถ้านั่งเกวียน ก็ใช้เวลาประมาณ 30 นาที กว่าจะไปถึง ซึ่งทางเดินเป็นแค่ชายหาดเท่านั้น
การที่ชาวบ้านบอกให้รอก่อน เพราะต้องรอน้ำลง จึงจะสามารถเดินไปได้
พระอาจารย์และคณะต้องเดินเลียบชายทะเล ฝ่าคลื่นลมและสายฝนกระหน่ำไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง ในเวลาค่ำมองอะไรก็ไม่ค่อยเห็น มีตกหลุมตกบ่อบ้าง
แต่ในที่สุดก็มาถึงจนได้ *(ต้องดูคลิปด้วยค่ะ)
ฟังแล้ว ต้องยอมให้กับความพากเพียรมานะอุตสาหะของพระอาจารย์และทีมงานสมัยนั้น จะไปจะมาแต่ละที่ก็แสนลำบาก ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งมั่นคง
ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรค และมีศรัทธาแท้ จึงจะสำเร็จลุล่วงได้
...ส่วนการเดินทางของเราในวันนี้ ไม่ต้องล่องเรือเอี๊ยมจุ๊นเหมือนวันนั้น เราออกเดินทางจากที่พักที่เมืองพะสิมราวๆ 7 โมงเช้า ใช้เวลาเดินทางโดยรถตู้ประมาณ
4 ชั่วโมงครึ่ง
เพราะสมัยนี้มีการตัดถนนข้ามเขาไปได้แล้ว แม้จะมีระยะทาง 167 กิโลเมตรก็จริง แต่เนื่องจากถนนหนทางยังไม่ดีมากนัก เลยต้องใช้ความอดทนอยู่บนรถตู้นานหน่อย
แต่ก็ดีกว่าอยู่บนเรือ 9 ชั่วโมงกว่าเหมือนสมัยก่อน
แวะทำบุญกันก่อน
...อีก 14 กิโลจะถึงจุดหมาย เราขับรถผ่านซุ้มบอกบุญริมทางแห่งหนึ่งในหมู่บ้าน Kone Tan เลยแวะทำบุญ พอดีใกล้เวลาฉันเพล พระอาจารย์เลยพักฉันเพลที่นี่
ระหว่างรอสาวๆ ในคณะเตรียมอาหารอันมี มาม่า ปลากระป๋อง รวมถึงของแห้งทั้งหลาย ที่ขนมาจากเมืองไทย พระอาจารย์ได้ถวายปัจจัยร่วมบุญสร้างวัด 100,000 จ๊าด
และถวายส่วนองค์พระ 3,000 บาท พร้อมทั้งอาหารแห้งอื่นๆ
ในที่สุดเราก็มาถึง "พระเจดีย์มอดินซูน" ถ้าเป็นเมื่อก่อน หากมาช่วงน้ำขึ้น ระดับน้ำจะสูงขึ้นท่วมบริเวณรอบๆ ถึงฐานพระเจดีย์ จนดูเหมือนว่า
พระเจดีย์อยู่กลางน้ำ
แต่ปัจจุบัน ดูเหมือนว่า จะมีการสร้างแนวกำแพงป้องกันน้ำท่วม และถนนเป็นคอนกรีต เหมือนเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ
ช่างต่างจากตอนที่พระอาจารย์มาที่นี่ครั้งแรกลิบลับ
ในตอนนั้นมาถึงราวๆ 5 ทุ่มกว่า พอถึงปุ๊บ ก็ได้ยินเสียงฟ้าร้องคำรามครืนคราน กระแสลมโหมกระหน่ำ ต้องทำพิธีกันท่ามกลางสายฝน เป็นอะไรที่สุดๆ จริงๆ
พระอาจารย์เล่าว่า ตามประวัติของสถานที่นี้ ในวันที่ทำพิธีบรรจุ "พระเกศาธาตุ" ตำนานบอกว่า มีลมฝนพัดกระหน่ำลงมาอย่างนี้เช่นกัน
ด้วยความยากลำบาก ท่านถึงกับออกปากว่า ไม่ทราบว่าพญานาคจะต้อนรับหรือขับไล่เราไปกันแน่ ถึงได้ลำบากยากเข็ญถึงเพียงนี้
ตัดภาพกลับสู่ปัจจุบัน พอลงจากรถ ท่านเจ้าอาวาส "วัดดาโนะ" (Danoke Pagoda) เมืองดาลา (Dala) ที่มารออยู่ก่อนแล้ว ได้ออกมาต้อนรับพระอาจารย์และคณะ
โดยพี่ชัย (โชเฟอร์) เป็นล่ามแปลให้เราฟัง ท่านนึกว่าจะมาทันเพล จึงได้เตรียมอาหารกลางวันไว้สำหรับพวกเราเต็มที่
พระเจดีย์ดาโนะ เมืองดาลา
...ขอเล่าย้อนไปก่อนหน้านี้ พระอาจารย์ได้แวะที่วัดดาโนะ แต่ไม่เจอท่านเจ้าอาวาส ได้คุยกันทางโทรศัพท์ ที่พระลูกวัดท่านต่อสายให้ เลยทราบว่า
ท่านมาร่วมพิธียกฉัตรที่มอดินซูน และท่านจะรอพวกเราอยู่ที่นี่
ทางวัดได้นำน้ำชาและขนมมาเลี้ยงต้อนรับพวกเราอย่างอบอุ่น พอดีเพิ่งอิ่มจากข้าวเที่ยง เลยทานได้นิดหน่อย แต่ขนมพื้นเมืองของเขาก็อร่อยดีนะจะว่าไป
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้เล่าให้ท่านเจ้าอาวาสวัดดาโนะฟัง ถึงอดีตที่ท่านเคยมาที่นี่เมื่อ 18 ปีก่อน เพราะมาสมัยนั้นมืดค่ำแล้วมองไม่เห็นอะไรเลย
ครั้งนั้นเป็นเรื่องบังเอิญมาก ที่มาตรงช่วงที่พระเจดีย์กำลังเข้าเฝือกและยกฉัตรใหม่พอดี ซึ่งไม่ใช่ว่า จะเจอกันง่ายๆ เพราะกว่าจะได้เปลี่ยนฉัตรก็นานถึง 24
ปี
พอมาครั้งนี้ ก็มาเจอพระเจดีย์เพิ่งจะยกฉัตรใหม่อีก เพิ่งผ่านไปแค่สองสามวัน มีงานฉลองสมโภช มีโรงทานเลี้ยงอาหารคนที่มาร่วมงาน 5 วัน 5 คืน
เป็นงานใหญ่ประจำปีเลยทีเดียว
พระอาจารย์เลยทำบุญแบบเต็มที่ เพราะที่นี่สร้างก่อนชเวดากอง มีประวัติความเป็นมาแสนอัศจรรย์ ดังจะเล่าให้ฟังดังต่อไปนี้
🌺🌿ประวัติพระเจดีย์มอดินซูน🌿🌺
...ในหนังสือตามรอยพระพุทธบาทเล่ม 4 เล่าโดยย่อไว้ว่า "ท่านตปุสสะ" และ "ท่านภัลลิกะ" สองพี่น้องได้เดินทางไปค้าขายทางเรือที่ประเทศอินเดีย
ระหว่างทางได้ถวายอาหารแด่พระพุทธเจ้า ในขณะที่ออกจากการเสวยวิมุตติสุขมาแล้ว 49 วัน แล้วได้ประทาน "พระเกศาธาตุ" ให้ 8 เส้น เพื่อนำไปบรรจุที่
"ดอยสิงฆุตตระ"
ในระหว่างที่เดินทางกลับ พระราชาแห่ง "อจิตตะนคร" (ยะไข่) ได้ขอไว้ 2 เส้น จากนั้นก็เดินทางมาถึงบริเวณนี้
"พญาชัยเสนนาคราช" ได้เห็นรัศมีบนเรือ จึงแอบขโมย "พระเกศาธาตุ" ไปอีก 2 เส้น หลังจากนั้นพ่อค้าทั้งสองคนก็อัญเชิญ "พระเกศาธาตุ"
ไปบรรจุไว้ที่ชเวดากอง
ต่อมาพระเกศาธาตุก็ได้บรรจุไว้ในอุโมงค์ ลึกลงไป 60 ศอก ณ มอดินซูนแห่งนี้ ซึ่งมีประวัติเป็นภาษาอังกฤษ ที่เว็บไซด์ชาวพม่านำมาลงไว้
นั่นแสดงให้เห็นว่าเป็นพระเจดีย์ร่วมสมัย "พระเจ้าอโศกมหาราช" ปีพ.ศ.235 คือหลังทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่เมืองปาฏลีบุตรแล้วนั่นเอง
ตามที่ผู้เขียนเคยเล่าไปแล้วว่า พระเจดีย์ร่วมสมัยพระเจ้าอโศกนั้นมีหลายแห่ง ทั้งในประเทศพม่าและเมืองไทย เช่น พระธาตุศรีจอมทอง, หริภุญชัย, ลำปางหลวง
เป็นต้น
ส่วนประเทศพม่าก็มีพระเจดีย์อลอดูปั๊ก (Alodaw Pauk) ที่อินเล, และพระเจดีย์ Shwe Kyet Yet ที่อมรปุระ มัณฑะเลย์ เป็นต้น
Mawtinsoon Pagoda
...This pagoda is situated at Maw Tin Zun, Ngaputaw Township in the Pathein District of the Ayeyarwaddy Divison. Maw Tin Zun is also called Nagayit
Mountain, Tharana Mountain or Neibban Mountain.
The pagoda is believed to have been built in Sakarit 103 by Zeyathena, the king of dragons, enshrining two hair relics of Buddha obtained from the two
brothers Tapusa and Balika. It was name Maha Makuta Yanthi.
It was repaired by King Thiri Dhammar Thawka, the king who held the Third Buddhist Synod, and later, in Sakarit 457, King Alaung Sithu of Bagan
renovated the pagoda and renamed it Phaung-daw-Oo pagoda
เจดีย์นี้ตั้งอยู่ที่มอดินซูน เมือง Ngaputaw ในเขตพะสิม ของรัฐอิรวดี พระเจดีย์มอดินซินบางทีเรียกว่าภูเขานาคายิต, ภูเขาสะระณะ หรือภูเขานิพพาน
เจดีย์นี้เชื่อกันว่าได้สร้างขึ้นในมหาศักราช 103 โดย Zeyathena (ชะยะเสนะ=ชัยเสน) ซึ่งเป็นพญานาคราช ประดิษฐานพระเกศาธาตุ 2 ของพระพุทธเจ้า
ที่ได้จากสองพี่น้องตปุสสะ และภัลลิกะ ซึ่งเป็นชื่อ "มหามาคุตะยันติ"
ภายหลังได้รับการซ่อมแซมโดยพระเจ้าสิริธัมมาโศกะ (คนไทยเรียก พระเจ้าอโศก) กษัตริย์ผู้จัดทำสังคายนา ครั้งที่ 3 และต่อมาในมหาศักราช 457
กษัตริย์อลองสินธุ แห่งพุกาม ได้ปรับปรุงเจดีย์ และเปลี่ยนชื่อว่า พระเจดีย์พองดอว์อู [/coor]
[color=purple]หลวงปู่ชัยวงศ์ก็อยากมาที่นี่
..ขอย้อนกลับมาเล่าถึงไกด์ชาวพม่าชื่อ "คุณมิคกี้" เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อน "หลวงปู่ชัยวงศ์" ได้นั่งเครื่องบินกลับมาจากอินเดีย
ระหว่างที่บินผ่านบริเวณนี้ ปรากฏว่า เครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างแรง ท่านจึงได้ถามว่า บริเวณนี้มีอะไรหรือ ตอบว่า ตรงนี้มีพระเจดีย์
ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า
นับเป็นแห่งแรก ก่อนพระเจดีย์ชเวดากอง ท่านก็ปรารภว่าอยากจะมาที่นี่ แต่หลวงปู่ก็มรณภาพไปเสียก่อน
...ปัจจุบัน "พระเจดีย์มอดินซูน" อยู่ในความดูแลของท่านเจ้าอาวาสวัดพระธาตุไจ้ทีซอง (Kyaik Htee Saung Sayadaw) เมืองบิลิน
(Bilin)
ก่อนหน้านี้ อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดไจ้ทีซององค์ก่อนที่มรณภาพไปแล้ว ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน ก็ได้มาบูรณะจนกลับมาอยู่ในสภาพดี
จากเดิมเหลือแต่ซากกองอิฐ จนมาเป็นพระเจดีย์ที่สวยงาม จากนั้นก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาเป็นระยะๆ จนถึงปัจจุบัน
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ร่วมทำบุญบูรณะ พร้อมทั้งยกฉัตรใหม่ เป็นเงินไทย 5,000 บาท และเงินพม่า 300,000 จ๊าด ทำบุญค่าไฟฟ้า 2,000 บาท กับ 80,000 จ๊าด
ถวายส่วนองค์ท่านเจ้าอาวาส 10,000 บาท และเงินพม่าอีก 100,000 จ๊าด
จากนั้น ท่านได้นำคณะกราบนมัสการพระเจดีย์ พร้อมกับถวายเครื่องบูชา ท่านเจ้าอาวาสวัดดาโนะ ก็ร่วมบูชาไปพร้อมๆ กับพวกเราด้วย
หน้าตาทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส อันเกิดจากความปิติในบุญอันบริสุทธิ์ ทุกคนหล่อหลอมใจเป็นหนึ่งเดียวกัน
เพื่อบูชาพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มี "เขา" ไม่มี "เรา" มีแต่ "พวกเรา" ในฐานะ "บุตรของพระพุทธเจ้า" เหมือนๆ กัน
หลังจากนั้นท่านเจ้าอาวาสวัดดาโนะได้พาพวกเราเดินชมรอบๆ วัด มีรูปเขียนถ่ายทอดเรื่องราวประวัติของที่นี่ พร้อมทั้งรูปปั้นของกษัตริย์ที่มาบูรณะ อันมี
"พระเจ้าอนุรุทธมหาราช", "พระเจ้าจันสิทธา" และ "พระเจ้าอลองสินธุ" เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีรูปปั้น "พญานาค" ในร่างมนุษย์ ผู้เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวในตำนานด้วย
เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ถึงเวลาต้องร่ำลา เราออกเดินทางจากมอดินซูน ประมาณ 14.45 น. เพื่อเดินทางกลับพะสิม กว่าจะถึง ก็คงจะค่ำ แต่ก็ไม่หนักใจเพราะพี่ติ๋ม
อภิญญา จองโรงแรมไว้ล่วงหน้าตั้ง 2 คืน
พวกเราจึงเดินทางกลับพร้อมทั้งเก็บความรู้สึกดีๆ กลับเมืองไทย แม้เวลาจะผ่านไปเป็นปีแล้ว ก็ยังประทับใจอยู่จนบัดนี้
สำหรับตอนหน้า จะพาท่านผู้อ่านไปกราบ "พระพุทธรูปลอยน้ำ" องค์ที่ 4 ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายของทริปนี้ ก่อนปิดฉากอำลาพม่าในอีกไม่กี่วัน อย่าลืมติตตาม
พร้อมทั้งกดไลค์กดแชร์ เพื่อเป็นธรรมทานนะคะ สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2043
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 20/6/19 at 14:27
[ ตอนที่ 76 ]
(Update 5 กรกฎาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบห้า) 7 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล-ตองยี-ตองอู-สิเร
ียม-ดาลา-ต่งเต-พะสิม)
ตอน พระพุทธรูปชเวมุทธอว์ (Shwemokhtaw Buddha Image) เมืองพะสิม (Pathein)
VIDEO
...เช้าวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นวันที่น่าจดจำอีกหนึ่งวัน เพราะเป็นวันที่เราได้กราบสักการะบูชา "พระพุทธรูปลอยน้ำ"
ของพม่าครบทั้งสี่องค์
พระพุทธรูปลอยน้ำองค์ที่สี่นี้ มีชื่อว่า "พระพุทธรูปชเวมุทธอว์" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแห่งเมืองพะสิม หรือที่คนพม่า เรียกว่า "เมืองปะเต็ง"
(Pathein) นั่นเองค่ะ
ตอนแรกที่คุยเรื่องเส้นทาง พอบอกว่า "เมืองพะสิม" โชเฟอร์ของเราทำหน้างุนงง สายตามีเครื่องหมายคำถามว่า มันคือที่ไหน???
เล่นใบ้คำอยู่นานสองนาน กว่าจะรู้ว่า คือเมืองปะเต็ง เรื่องการออกเสียงชื่อเมืองต่างๆ ที่ต่างกันของคนไทยกับคนพม่า เลยกลายเป็นเรื่องขำขันประจำทริปนี้ไป
"พระพุทธรูปชเวมุทธอว์" เป็นหนึ่งในสี่พระพุทธรูปลอยน้ำ ที่ลอยมาจากลังกา ได้ลอยเข้ามาถึงเมืองพะสิม มีพระพักตร์เหมือนกับ "พระพุทธรูปไจ้ปอลอ"
เมืองไจ้โท ที่ไปไหว้กันมาก่อนหน้านี้
พระพุทธรูปลอยน้ำในพม่า หรือเมืองมอญในอดีตนี้ มีประวัติคล้ายๆ กับที่เมืองไทยเช่น หลวงพ่อโสธร, หลวงพ่อวัดบ้านแหลม, หลวงพ่อบางพลี และหลวงพ่อวัดไร่ขิง
เป็นต้น
ส่วนภายในบริเวณนี้ยังมี "พระเจดีย์ชเวมอดอว์" ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุตั้งแต่สมัย " พระเจ้าอโศกมหาราช" และพระเขี้ยวแก้ว 2
องค์ที่อัญเชิญมาจากจีนและศรีลังกาด้วย
สำหรับ "พระพุทธรูปชเวมุทธอว์" ถูกบรรจุอยู่ในพระเจดีย์ แต่ได้สร้างองค์จำลองขึ้นไว้แทน ประดิษฐานอยู่ภายในวิหาร
ตอนที่พระอาจารย์ไปเมื่อปี 2543 ขณะที่กำลังสรงน้ำพระประธาน ที่กำลังบูรณะอยู่นั้น ปรากฏว่า มีฝนโปรยลงมาคล้ายกับเป็นน้ำมนต์จากฟากฟ้า
พอมาครั้งนี้ ตอนที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์ไปถึง ท่านก็ถามหาเจ้าหน้าที่สมัยนั้น พร้อมกับนำรูปถ่ายมาให้ดูด้วย เขาเห็นแล้วบอกว่ามีอยู่คนหนึ่ง
ประเดี๋ยวจะไปตามมาให้
จากนั้นก็มีเจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งเดินออกมา ขอเรียกว่า "คุณตา" ซึ่งมีอายุมากแล้ว แต่ดูแข็งแรงเดินออกมาต้อนรับ พอเห็นพระอาจารย์ คุณตาก็จำได้ว่า
พระอาจารย์เคยมาที่นี่เมื่อ 18 ปีก่อน
ตอนนั้นคุณตา ผู้มีนามว่า "U Tin Shine" เป็นผู้ดูแลวัดนี้ ตั้งแต่เมื่อ 30 ปีมาแล้ว ตอนนี้ก็ยังเป็นอยู่ ปัจจุบันคุณตาอายุ 74 ปีแล้ว แต่ความจำยังดี
และยังเดินเหินได้คล่องแคล่ว
คุณตาเข้ามาจับไม้จับมือ และกอดพระอาจารย์อย่างดีใจ เหมือนเจอมิตรที่ไม่ได้พบกันมานาน เป็นภาพบรรยากาศที่น่าซาบซึ้ง แสดงถึงมิตรภาพที่ไม่มีพรมแดน
มาคราวนี้ถือว่า โชคดีของพวกเรา ที่มาช่วงที่กำลังจะมีการบูรณะฉัตรและพระเจดีย์ และในปีหน้า ก็จะมีการบูรณะปิดทองพระเจดีย์ ซึ่งมีเจ้าภาพเรียบร้อยแล้ว
พระอาจารย์จึงร่วมบุญบูรณะ 300,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้าอีก 50,000 จ๊าด โดยได้มอบให้แก่คุณตา ซึ่งท่านดูจะปลื้มปิติมาก ทางเราเองก็ซึ้งไม่แพ้กันค่ะ
หลังจากนั้น พระอาจารย์ได้กราบนมัสการ พร้อมทั้งถวายเครื่องบูชาพระเจดีย์ ก่อนกลับ ก็มาถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก
ปิดท้ายด้วยการแก้เคล็ด
...หลังจากกลับออกมาแล้ว รถตู้ของมินต์ซู เกิดยางแตก เลยต้องแวะเปลี่ยนยางก่อน นึกๆ แล้ว ก็รู้สึกเห็นใจมินต์ซู เพราะรถคันที่เขาขับมักจะเจอเหตุการณ์หนักๆ
หลายอย่าง
เหมือนสะเดาะเคราะห์ให้เรา แต่ก็ไม่มีใครเป็นอะไร อาจเป็นด้วยพุทธานุภาพ และเทวดารักษาก็เป็นได้
ระหว่างรอที่ร้านเปลี่ยนยาง พวกเราก็ฆ่าเวลาด้วยการขี่จักรยานสามล้อ ถ่ายรูปเล่นไปพลางๆ เจ๊ๆ ทั้งหลาย ดูจะมีความสุข หัวเราะกันเอิ๊กอ๊าก
เป็นช่วงเวลารีแลกซ์เบาๆ หลังจากต้องเร่งรีบเดินทางกันมาตลอดทริป
ใช้เวลาซ่อมไม่นาน พวกเราก็ต้องโบกมืออำลา "เมืองพะสิม" หลังจากแวะรับประทานอาหารกลางวันระหว่างทาง เราต้องเดินทางกลับไป
เมื่อได้มองดูในตัวเมืองพะสิมแล้ว เท่าที่สังเกตในเมืองแต่ละแห่งที่ผ่านมา ต้องยกให้เมืองตองยี (Taunggyi) และเมืองพะสิม (Pathein)
เป็นเมืองที่สะอาดเป็นที่สุด
หลังจากพักค้างคืนได้ 2 คืนตาม 2 เป้าหมายแล้ว คือ "พระเจดีย์มอดินซูน" พระเกศาธาตุแห่งแรก (ก่อนชเวดากอง) และติดสถิติในทริปนี้ "ไปไกลที่สุด" ด้วย
และ "พระพุทธรูป (ลอยน้ำ) ชเวมุทธอว์" สมหวังดังใจ อีกทั้งได้ทำบุญบูรณะ "องค์พระธาตุ" กับ "ฉัตร" ทั้งสองแห่งด้วย
สรุปยอดเงินทำบุญ "พระพุทธรูปลอยน้ำ"
...ถ้าจะย้อนเหตุการณ์ที่ผ่านมา ท่านได้ทำบุญร่วมบูรณะ "พระพุทธรูปลอยน้ำ" ครบถ้วนทั้ง 4 แห่ง (โดยไม่รู้มาก่อนว่าจะบูรณะ
ถือว่าบุญจัดสรรให้มาพบโดยบังเอิญ) คือ
ปี 2561
- องค์ที่ 1 พระพุทธรูปชเวมุทธอว์ (Shwe MokeHtaw) ปากอ่าวเบงกอล เมืองพะสิม (Pathein หรือ Bassein) ทำบุญ 300,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้าอีก 50,000 จ๊าด
- องค์ที่ 2 พระพุทธรูปไจ้ปอลอ (Kyaik Pawlaw) หรือ "พระพุทธรูปไฝเลื่อน" เมืองไจ้โท (Kyaikhto) ทำบุญ 569,000 จ๊าด (ถวายพร้อมเครื่องประดับ)
และค่าไฟฟ้าอีก 20,000 จ๊าด
ปี 2562
- องค์ที่ 3 พระพุทธรูปไจ้คามี (Kyaik Khami) เมืองมะละแหม่ง (Mawlamyine) ทำบุญ 524,000 จ๊าด
- องค์ที่ 4 พระพุทธรูปชินโมที (Shin Mokti) เมืองทวาย (Dawei) ทำบุญ 1,530,000 จ๊าด
- รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,975,000 จ๊าด
ประวัติพระพุทธรูป (ลอยน้ำ) ของพม่า
...ตามประวัติของมอญเล่าว่า พระพุทธรูปทั้งสี่องค์ สร้างในสมัย "พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ" เจ้าผู้ครองนครอนุราธปุระ (ศรีลังกา) สมัยเดียวกับ
"พระเจ้าอโศกมหาราช" แห่งเมืองปาฏลีบุตร (อินเดีย)
สมัยนั้นพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระราชโอรสคือ "พระมหินทเถระ" ไปประกาศพระศาสนาที่ลังกาทวีป
ในเวลานั้น "พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ" ได้สร้างพระพุทธรูปไว้เป็นจำนวนมาก ในจำนวนพระพุทธรูปหลายองค์ มีอภินิหารเกิดขึ้นกับพระพุทธรูป 4 องค์ คือ
เกิดมีรัศมีขึ้น และองค์พระก็กระพริบตาได้ด้วย
พระราชาทรงปีติมาก จึงอยากจะนำพระพุทธรูปไปบูชาที่พระราชวัง แต่พระมหินทเถระทูลแนะนำว่า ไม่ควรนำไปบูชาเป็นส่วนพระองค์
อยากให้พระพุทธรูปได้ไปตามที่ท่านปรารถนาจะไป
พระราชาจึงทรงตกลงและตั้งจิตอธิษฐาน ลอยพระพุทธรูปลงสู่มหาสมุทรอินเดีย เมื่อปี พ.ศ.237 (หลังทำสังคายนาครั้งที่ 3 แล้ว) ที่ท่าเรือชมพูโกละ ลังกาทวีป
พระพุทธปฏิมากรได้แสดงอภินิหารอีก คือมีรัศมีสว่างและกระพริบตา แล้วได้ลอยไปในมหาสมุทรอินเดียอย่างรวดเร็ว ได้ลอยไปตามกระแสน้ำและไปประดิษฐานตามจุดต่างๆ
ดังที่กล่าวมาแล้ว
พะสิม - ย่างกุ้ง - หงสาวดี
...ขอย้อนกลับมาเล่าเรื่องต่อไปว่า หลังจากนั้นก็พักผ่อนกันไปในรถ เพื่อเดินทางไปค้างคืนที่หงสาวดี โดยการล่องใต้กลับไปทางเดิม คือ
ผ่านพระธาตุอินทร์แขวน เมืองไจ้โท, เมืองบิลิน, มะละแหม่ง. พะอ่าน, และเมียวดีในที่สุด
แต่เนื่องจากคุณนันทณัฏฐ์ (เกศราทิพย์) จำเป็นต้องกลับไปทางเครื่องบินก่อน จึงได้แวะส่งที่รีสอร์ทแห่งหนึ่งในเมืองย่างกุ้ง ซึ่งมีระยะทางจากที่นี่ประมาณ
160 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาเดินทางราวๆ 3 ชั่วโมง
ในขณะที่ไปถึงรีสอร์ทแล้ว คุณติ๋ว นันทณัฏฐ์ มีความประสงค์จะนั่งรถแท็กซี่ไปไหว้พระเจดีย์กาบาเอ (KaBa Aye Pagoda)
อันเป็นที่บรรจุพระธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลาน์
พวกเราจึงฝากไปร่วมทำบุญด้วย เพราะในขณะเดินทาง คุณติ๋วได้แจ้งเข้าทางกลุ่มไลน์ว่า พระธาตุกำลังบูรณะอยู่พอดี พร้อมกับพระเจดีย์ชเวตอว์เมี๊ยต
(พระเขี้ยวแก้ว Shwe Taw Myat Paya) รวมทั้งสองแห่ง 80,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้าอีก 40,000 จ๊าด
พวกเราจึงบอกว่าช่วยออกเงินทำบุญไปให้ก่อน ปรากฏว่าคุณติ๋วทำบุญไปชนิดเทกระเป๋ากันเลย กลับมาคืนนั้นต้องหาอาหารเท่าที่มีรองท้องไปก่อน
แต่ก่อนที่จะจากกันไป ในขณะที่คุณติ๋วเข้ามาลาพระอาจารย์ที่นั่งอยู่ในรถตู้ ปรากฏว่าท่านเห็นมีฝนตกลงมาหนึ่งหยดที่บนหัวคุณติ๋วด้วย
ซึ่งมีพวกเราหลายคนก็เห็นกันเป็นที่น่าอัศจรรย์มาก เหมือนกับท่านให้พรให้เป็นกำลังใจฉะนั้นแหละ จึงได้โบกมือร่ำลากันด้วยความตื้นตันใจ
ขณะที่รถตู้ 2 คันกำลังจะวิ่งออกนอกเมืองนั้น มองเห็น "พระเจดีย์ไจ้คาลอว์" (Kyaik Kalaw) ตั้งนั่งร้านกำลังบูรณะอยู่ จึงแวะร่วมทำบุญ 200,000 จ๊าด
และค่าไฟฟ้าอีก 50,000 จ๊าด
สมัยก่อนปี 2553 พระอาจารย์เคยมาพบบูรณะเหมือนกัน ทั้งพระเจดีย์ไจ้คาลอร์ (ทำบุญ 3,000 จ๊าด) และพระเจดีย์ไจ้คาลี (ทำบุญ 2,000 จ๊าด)
นี่เป็นตอนใกล้จบแล้ว เพราะหลังจากนั้นกลับไปพักค้างคืนที่หงสาวดี โดยจองที่พักเดิมไว้แล้ว ส่วนในตอนหน้าคงจะเป็นการแวะทำบุญระหว่างทางกัน
ขอลาไปก่อนนะคะ...สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2043
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 25/6/19 at 10:55
[ ตอนที่ 77 ]
(Update 10 กรกฎาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 8 กุมภาพันธ์ 2561 (นับเป็นวันที่ "ยี่สิบหก" ของการเดินทาง)
เริ่มต้นจากเมียวดี-มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-อันน์-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อิ
นเล-ตองยี-ตองอู-สิเรียม-ดาลา-ต่งเต-พะสิม-หงสาวดี-บิลิน)
หงสาวดี (Bago) - บีลิน (Bilin)
...ช่วงขาล่องกลับทางใต้ของพม่า หรือรัฐมอญเก่า ไม่ได้เล่ารายละเอียดมากนัก เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ต้องค้นหาพระเจดีย์ตาม
"ตำนานมอญ" อีกหลายแห่ง
โดยการเพิ่มคำว่า (พบใหม่) ถือว่าเป็นการค้นพบนั่นเอง ด้วยเหตุที่ยังตามหาบางแห่งไม่พบ จึงเป็นเหตุให้ต้องเดินทางต่อในปี 2562 อีก 21 วัน บวกกับปี 2561
จำนวน 29 วัน รวมเป็น 50 วันพอดี
1. พระมหาเจดีย์ (Mahazedi Paya) พระเจ้าบุเรงนองทรงสร้างไว้ในเมืองหงสาวดี เดิมเป็นที่บรรจุ "พระทันตธาตุ"
สมัยต่อมาได้ย้ายไปที่เมืองตองอู กำลังจะบูรณะปิดทององค์พระเจดีย์ ในเดือนมีนาคม 2561
- ทำบุญบูรณะพระเจดีย์ 102,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 10,000 จ๊าด
ในระหว่างทางจากเมืองหงสาวดี กำลังมีการบูรณะพระเจดีย์ 4 แห่ง ดังนี้
2. ทำบุญสร้างพระเจดีย์ Aung Dha Pya 50,000 จ๊าด
3. ทำบุญสร้างพระเจดีย์ Maha Bunya (มหาปัญญา) 50,000 จ๊าด
4. ทำบุญสร้างฉัตร Shwe Rhay 60,000 จ๊าด
5. ทำบุญบูรณะ 50,000 จ๊าด
ต่อจากนั้นได้เดินทางตามถนนสายหงสาวดี-ไจ้โท-พระธาตุอินทร์แขวน เพื่อค้นหาพระเจดีย์ที่ตกค้างอยู่ตาม "ตำนานมอญ"
6. พระเจดีย์ไจ้กะวะ เมื่อปี 1289 เรียก "ไจ้กะวะ" ต่อมาปี 2234 เรียก ไจ้อังวะ ปัจจุบันเรียก "เลนมิดซ๋วย" บ้านกะวะ (Kawa) ทางใต้เมืองหงสาวดี
(ตำนานมอญบอกว่าบรรจุ พระทันตธาตุ) สร้างเมื่อปี 237 (พบใหม่)
- ทำบุญบูรณะพระเจดีย์ 200,000 จ๊าด, ค่าไฟฟ้า 50,000 จ๊าด, ถวายส่วนองค์เจ้าอาวาสและสามเณร 36,000 จ๊าด พร้อมอาหารแห้ง
7. พระเจดีย์ไจ้มะกอว์ซานดอว์เซน (Kyaik Mark Kaw) บ้านพะเล (Palay) เดิมสร้างเมื่อปี 1298 สร้างครอบเจดีย์เก่าเมื่อปี 2000 ตามตำนานมอญบอกว่าบรรจุ
พระเกศาธาตุ คือซานดอว์เซน (พบใหม่)
- ทำบุญบูรณะพระเจดีย์ 100,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 20,000 จ๊าด
8. พระเจดีย์ไจ้มุกคะนิงซานดอว์เซน (Muk Kha Nein) บ้านมุกคะนิง บรรจุ พระเกศาธาตุ (พบใหม่)
- ทำบุญบูรณะทาสีใหม่ 130,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 20,000 จ๊าด
*(ตำนานบอกว่า พระเจดีย์ไจ้มูกะเกาะโน็ต หรือเรียก "พระเจดีย์มุคาจี" ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ระหว่างหมู่บ้านมุคาจี กับ หมู่บ้านมุคากเล เมืองหงสาวดี
บรรจุพระทันตธาตุ แต่ยังหาไม่เจอ)
9. พระเจดีย์ธัมมะไต้ซานดอว์เซน บ้านอินทะกอว์ บรรจุ พระเกศาธาตุ (พบใหม่)
- ทำบุญบูรณะ และค่าไฟฟ้า 200,000 จ๊าด
...จากหงสาวดีล่องลงมาผ่านพระธาตุอินทร์ เมืองไจ้โท ก่อนถึงเมืองบีลิน เพื่อข้ามแม่น้ำสะโตง (Sittaung Bridge) ช่วงนี้ผ่านเมืองเก่าเรียกว่าเมือง Sittaung
ไว้แวะทำบุญ 2 แห่ง คือ
10. พระเจดีย์เต็งสะยัต (Thein Za Yat) หมู่บ้านเต็งสะยัต อยู่ทางขวาของแม่น้ำสะโตง (Sittaung) เดิมเรียกตามชื่อหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันเรียกว่า
เมี่ยะเต็งตัง (Mya Thein Tan) ทางเจ้าหน้าที่บอกว่าบรรจุ พระเกศาธาตุ กับ ผ้าจีวร แต่ตามตำนานมอญบอกว่าบรรจุ พระทันตธาตุ (พบใหม่)
- ทำบุญบูรณะ 80,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 20,000 จ๊าด
11. พระเจดีย์ไจ้กะลอนปอน (Kyaik Kalunpun) อยู่บนภูเขาชะยะปัพพะตะ (ชัย+บรรพต) เมืองเก่า SitTaung ใกล้แม่น้ำสะโตง (พบใหม่)
วัดอยู่บนเชิงเขาริมถนนพอดี บรรจุพระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุส่วนต่างๆ 7 องค์, และพระทันตธาตุ 1 องค์ (แต่ตามตำนานมอญบอกว่าบรรจุ พระทันตธาตุ)
- ทำบุญบูรณะ 100,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 30,000 จ๊าด
...เมื่อทำบุญเสร็จสรรพก็เดินทางกลับมาที่เมืองบีลิน (Bilin) ตามกำหนดการต้องพักที่นี่ 1 คืน โดยการจองที่พักที่เดิมเอาไว้แล้ว
ส่วนอาหารเย็น (ใกล้ค่ำ) ก็จองไว้กับคุณอองซู-คุณปุ๊ก (เจ้าของร้านอาหารและรถตู้ที่เช่ามา 2 คันนี่แหละ) เพราะมีกุ๊กทำอาหารไทยได้แบบสบายๆ ค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2043
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 5/7/19 at 08:47
[ ตอนที่ 78 ]
(Update 15 กรกฎาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 9-11 กุมภาพันธ์ 2561 (นับเป็นวันที่ "ยี่สิบเจ็ด-ยี่สิบเก้า"
ของการเดินทาง)
...เริ่มต้นจากเมียวดี-มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-อันน์-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์
-อินเล-ตองยี-ตองอู-สิเรียม-ดาลา-ต่งเต-พะสิม-หงสาวดี-บิลิน-สะเทิม-พะอาน-มะละแหม่ง-เมียวดี
บีลิน (Bilin)
...ช่วงเช้า พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้พบกับเจ้าอาวาสไจ้ทีซอง (Ven Sayadaw Nagathipa) เป็นครั้งแรก หลังจากเจ้าอาวาส
"พระเจดีย์มอตินซูน" (พะสิม) ได้โทรมาบอกไว้ล่วงหน้าแล้วว่า
พระอาจารย์ชัยวัฒน์จะมาแวะที่นี่ เพราะเจ้าอาวาสพระเจดีย์มอตินซูนเป็นลูกศิษย์ของท่าน โดยถูกส่งให้ไปเป็นเจ้าอาวาสที่นั่น นับเป็น 1 ใน 69 แห่ง
ที่เจ้าอาวาสไจ้ทีซองดูแลอยู่
หลังจากได้พบกันแล้ว ท่านได้นำชมสังขารพระอาจารย์ (Kyite Htee Saung Sayadaw) ของท่าน ศพไม่เน่าเหมือนหลวงพ่อของเราเช่นกัน ต่อจากนั้นก็ได้ทำบุญกับท่าน
แล้วเดินทางต่อไปอีกหลายแห่ง ดังนี้
1. พระเจดีย์ไจ้ทีซอง (Kyite Htee Saung) เมืองบีลิน บรรจุพระเกศาธาตุ 6 เส้น และพระทันตธาตุ
- ทำบุญบูรณะ 120,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 30,000 จ๊าด
2. พระเจดีย์ซกกะลิซานดอว์เซน (Zokali Sandawshin) บ้านซกกะลิ (พบใหม่) บรรจุพระเกศาธาตุ 1 เส้น
- ทำบุญบูรณะ 100,000 จ๊าด ทำบุญค่าไฟฟ้า 20,000 จ๊าด
(ช่วงบ่าย) 3. พระเจดีย์ชเวโบนทาร์ (Shwe Bon Thar) (พบใหม่) บรรจุพระเกศาธาตุ 1 เส้น
- ทำบุญบูรณะ 100,000 จ๊าด, ค่าไฟฟ้า 50,000 จ๊าด, ถวายส่วนองค์พระ 11,000 จ๊าด
4. พระเจดีย์ไจ้เกลาสะ (Kay Lar Tha) หรือกีลาต๊ะ เมืองบีลิน (พบใหม่) บรรจุพระเกศาธาตุ 6 เส้น
- ทำบุญบูรณะ และค่าไฟฟ้า 100,000 จ๊าด
5. พระเจดีย์ไจ้เดโยซานดอว์เซน (Kyaik Dhayo Sandawshin) (พบใหม่) บรรจุพระเกศาธาตุ 1 เส้น
- ทำบุญบูรณะ 100,000 จ๊าด, ค่าไฟฟ้า 50,000 จ๊าด, ถวายส่วนองค์พระ 26,000 จ๊าด
6. พระเจดีย์ไจ้เต (Kyaik Tal) เขาส้มเค เมืองบีลิน บรรจุพระเกศาธาตุ 1 เส้น
- ทำบุญบูรณะ 100,000 จ๊าด, ค่าไฟฟ้า 50,000 จ๊าด, ถวายส่วนองค์พระ 35,000 จ๊าด
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 (บีลิน-สะเทิม-พะอาน-มะละแหม่ง)
1. พระเจดีย์ชเวยินเมียว (Shwe Yin Myaw) เมือง Thein Zeik (พบใหม่) บรรจุสิ่งของมีค่า 7 อย่าง
- ทำบุญบูรณะวิหาร และฉัตร 340,000 จ๊าด, ค่าไฟฟ้า 60,000 จ๊าด, และเป็นเจ้าภาพสร้างพระสาวก 1 องค์ เป็นเงิน 300,000 จ๊าด (สร้างทั้งหมด 23 องค์
สร้างเสร็จแล้ว 17 องค์ แบบยืนอุ้มบาตร ต่อมาปี 2562 จึงได้แวะไปฉลองกันอีกครั้ง)
2. พระเจดีย์ไจ้กอว์ (Kyaik Kaw) หรือปัจจุบันเรียก ชเวโบนทา (Shwe Bon Thar) บ้าน Thein Zeik (พบใหม่)
"ไจ้กอว์" แปลว่า ดอกไม้ทองคำ (จึงเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนชื่อพระเจดีย์ใหม่ เพื่อปิดบังสิ่งของมีค่าที่บรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ ) บรรจุพระเกศาธาตุ 2
เส้น และดอกไม้ทองคำ 5 ดอก
- ทำบุญบูรณะพระเจดีย์ 250,000 จ๊าด, ค่าไฟฟ้า 50,000 จ๊าด, ถวายส่วนองค์พระ 30,000 จ๊าด
3. พระเจดีย์อลันติยา บ้านอลันติยา (เป็นอดีตวัดเก่าที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน) พระเจดีย์สูง 429 ฟุต
- ทำบุญบูรณะ 160,000 จ๊าด ทำบุญค่าไฟฟ้า 40,000 จ๊าด
4. พระเจดีย์ไจ้กะต้า (Kyaik Ka Thar) (ตามตำนานมอญสมัยก่อนเรียก "ไจ้ก้า" และต่อมาเรียก "ไจ้อบ") (พบใหม่) บรรจุพระทันตธาตุ ทำบุญตามอัธยาศัย
สะเทิม (Thaton) - พะอาน (Hpa-An)
VIDEO
(หลวงพ่อตัมมิยะ สมัยนั้นเป็นพระเถระที่ชาวพม่าและชาวมอญตลอดจนถึงชาวกะเหรี่ยง แม้แต่ชาวไทยบางคนก็มีความเคารพนับถือท่านมาก
คลิปวีดีโอนี้จึงมีคุณค่าเป็นอย่างมาก ที่ยังหลงเหลือให้พวกเราให้ชมกัน)
...ในตอนนี้เดินทางมาถึงเมืองพะอาน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง รถวิ่งผ่าน "วัดธัมมัญญะต่องเมียซองี่นองพญา"
ทำให้นึกถึงเมื่อปี 2545 โชคดีได้มีโอกาสได้พบหลวงพ่อธัมมัญญะ (ออกเสียงว่า ตัมมิยะ) แล้วได้ถวายสังฆทานกับท่าน
นับเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย กลับมาไม่นานได้ข่าวว่าท่านมรณภาพ แล้วก็มีคนมาเอาศพของท่าน จนป่านนี้ก็ไม่มีใครทราบว่าอยู่ที่ไหน
ที่ว่าโชคดี เพราะวันนั้นท่านให้ลูกศิษย์มารอพบ เหมือนกับท่านรู้ล่วงหน้า แล้วนำพวกเราเดินขึ้นไปบนศาลา ผ่านคนรอท่านอยู่นับร้อยคน
แล้วเดินเข้าไปในห้องส่วนตัวของท่าน จึงได้ทำบุญกับท่านสมความตั้งใจ
เมื่อพระอาจารย์กล่าวนำคำถวายสังฆทาน ท่านบอกว่าให้ต่อคำว่า "นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ" ด้วย
1. พระเจดีย์เจ๊าะกาแล็ท (Kyaut KaLatt) บ้านคะโล เมืองพะอาน
- ทำบุญทุกอย่าง 100,000 จ๊าด
(ทัศนียภาพบริเวณ "พระเจดีย์เจ๊ากะแล็ท" เมืองพะอาน)
"พระเจดีย์เจ๊ากะแล็ท" ซึ่งมีรูปร่างแปลกๆ อีกด้วย ตามที่ได้นำรูปภาพมาจากเว็บของพม่า
2. พระเจดีย์ซอยกะเบง (Zwegabin) อยู่บนยอดเขาสูง เมืองพะอาน พระเกศาธาตุ 1 เส้น
- ทำบุญยอดฉัตร 20,000 จ๊าด
รถวิ่งไปตามถนนลาดยางผ่านซุ้มประตูทางเข้า "พระเจดีย์ซอยกะเบง" ซึ่งจะมองเห็นสูงตระหง่านอยู่ใจกลางเมืองพะอาน
เมื่อเข้าไปถึงเชิงเขาแล้ว มองดูเวลาไม่สามารถจะเดินขึ้นไปได้ จึงได้แต่ถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน เพราะเป็นสถานที่สำคัญมากของชาวมอญ ชาวกะเหรี่ยง
และชาวพม่าทั้งหลายในเขตนี้
เนื่องจากในตำนาน "พระเกศาธาตุ" ของมอญ (ลำดับที่ 3) เล่าว่า "ฤาษีสีหะกุมาร" ได้อัญเชิญ "พระเกศาธาตุ" มาบรรจุไว้ 1 เส้นที่
"พระเจดีย์ไจ้ซอยกะเบง" (ภาษามอญเรียกเป็น "ไจ้ซอยบาง") เมืองพะอาน (อยู่ระหว่างบ้านอินดูกับพะอาน)
เมื่อปี 2545 ไม่สามารถจะขึ้นได้ จึงได้เดินทางเข้าตัวเมืองพะอาน แล้วได้เข้าไปขอ copy รูปภาพจากร้านถ่ายรูปดิจิตอล ซึ่งมีหลายภาพที่สวยงามมาก
ยากที่จะหาชมได้ตามเว็บไซด์ต่างๆ
พะอาน-มะละแหม่ง (เมาะลำเลิง)
...ขอย้อนกลับมาเล่าเรื่องต่อไปว่า ได้ออกเดินทางจากพะอานไปทางมะละแหม่ง ระหว่างทางได้แวะไปทำบุญตามสถานที่ต่างๆ อีกดังนี้
3. พระเจดีย์ไจ้ปันกะยอน (Kyite Pan Ka Yohn) บ้านสาตะเพียน (Zar Ta Pyin) เมืองมะละแหม่ง
พระเจดีย์สร้างสมัยพระเจ้าอโศก มีอายุกว่า 700 ปีแล้ว บรรจุพระเขี้ยวแก้ว ทำบุญตามอัธยาศัย
4. พระเจดีย์เลโจวสัจจาอ่อง (Lay Kyune Satkyar Aung) บ้านสาตะเพียน เมืองมะละแหม่ง พระเจดีย์มีอายุกว่า 100 ปี (อยู่ใกล้กับพระเจดีย์ไจ้ปันกะยอน)
- ทำบุญบูรณะพระเจดีย์ 300,000 จ๊าด, ค่าไฟฟ้า 50,000 จ๊าด และแจกให้คนงาน 29,000 จ๊าด
...ถ้าผู้อ่านเห็นยอดเงินทำบุญแล้ว คงแปลกใจว่าพระเจดีย์นี้ไม่มีประวัติสำคัญ แต่ทำไมจึงต้องทำบุญมากเป็นพิเศษ
ความจริงพระอาจารย์ไม่ได้รู้จักมาก่อน แต่พอเดินทางมาถึงพระเจดีย์ไจ้ปันกะยอน มองเห็นคนงานกำลังก่อสร้างพระเจดีย์ที่อยู่ใกล้กัน
ท่านตั้งใจจะแวะไปทำบุญ หลังจากไหว้พระทันตธาตุเสร็จแล้ว หลังจากนั้นจึงเดินไปถามคนงาน ปรากฏว่ามีอยู่คนหนึ่ง เคยมาทำงานที่เมืองไทยพอพูดไทยได้
จึงได้ทราบรายละเอียดว่า มีผู้หญิงสูงอายุคนหนึ่งนั่งสมาธิ แล้วมีผู้มาสั่งให้สร้างพระเจดีย์ที่ไหนบ้าง ขณะนี้ได้สร้างพระเจดีย์ไปแล้วประมาณ 50 แห่ง
โดยไม่มีทุนรอนแต่อย่างใด ทำไปตามคำสั่งเบื้องบน บอกว่าให้ไปทำแล้วจะมีคนมาทำบุญเอง ปรากฏว่าสำเร็จทุกแห่ง
จึงโชคดีเหมือนกับท่านสั่งให้มาสร้างรอพวกเรา จึงได้ทำบุญมากมายเป็นกรณีพิเศษ พร้อมทั้งมอบวัตถุสิ่งของมีค่าให้บรรจุไว้ด้วย
ในขณะนั้น ผู้หญิงคนนี้ก็เดินเข้ามา คนงานได้บอกว่า วันนี้พวกเขารอมาตั้งแต่เช้า เพราะผู้หญิงคนนี้บอกว่า วันนี้จะมีคนมาทำบุญด้วย
พวกคนงานเดินเข้ามาคุยด้วยหลายคน บอกว่ารอกันมาจนถึงเย็นยังไม่ยอมเลิกงาน พอดีรถพวกเราเข้ามา เขาก็มองดูอยู่ แต่ยังไม่แน่ใจ
พอพระอาจารย์เดินเข้ามา พวกเขาจึงดีใจกันมาก ที่ผู้หญิงคนนี้บอกล่วงหน้าตรงทุกอย่าง พวกเราก็ดีใจเช่นกัน จากนั้นก็ร่ำลากลับไปพักที่มะละแหม่ง
ต่อมาปี 2562 ก็ได้กลับมาที่นี่อีก แล้วก็เจอกันโดยบังเอิญอีก เพราะไม่ได้นัดหมายไว้ แต่ผู้หญิงคนนี้บอกว่า วันนี้อยากมาที่นี่
ทั้งที่พระเจดีย์แห่งนี้สร้างเสร็จแล้ว
แต่มีคำสั่งเบื้องบนให้ไปสร้างอีกแห่ง ซึ่งอยู่ไกลไปจากนี้มาก พวกเราก็ร่วมทำบุญกับแกอีกเป็นครั้งที่ 2 นี่ก็คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นแบบแปลกๆ
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 (มะละแหม่ง - เมียวดี)
1. ทำบุญบูรณะพระเจดีย์ (ระหว่างทาง) 211,250 จ๊าด
2. ทำบุญบูรณะพระเจดีย์ (ระหว่างทาง) 200,000 จ๊าด
3. ทำบุญบูรณะพระเจดีย์ (ระหว่างทาง) 125,000 จ๊าด
วันนี้ได้ข่าวท่านเจ้าคุณอนันต์ฯ มรณภาพ
...วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเดินทาง ตอนหัวค่ำได้ทราบข่าวว่า ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าซุงมรณภาพ ซึ่งตรงกับวันเดินทางกลับพอดี
(พระอาจารย์ไม่ได้นัดหมายกับท่านไว้ก่อนนะ)
ด้วยเหตุนี้ จึงออกเดินทางจากเมืองมะละแหม่งกลับไปที่เมืองเมียวดี ตอนเช้าขณะที่เริ่มออกจากตัวเมือง มองเห็นหมอกลงหนาจัดมาก จนต้องเปิดไฟหน้ารถ
โชเฟอร์ไม่กล้าขับเร็ว
รถวิ่งไปตามถนนผ่านเมืองพะอาน เจอหมอกลงตลอดทาง ตั้งแต่เช้าจนถึงเกือบ 10 โมงเช้า นับว่าเป็นเรื่องแปลก ที่หมอกน่าจะหมดไปตั้งนานแล้ว
จึงนึกขึ้นได้ว่า สมัยก่อนท่านขึ้นไปดอยตุงบอกว่า การที่หมอกลงมามาก แสดงว่าพระเทวดาท่านเสด็จมากันมากเช่นกัน
เรื่องนี้จะเป็นจริงอย่างไรก็เล่าสู่กันฟังว่า พวกเราได้ทำบุญตามสถานต่างๆ มากมาย โดยเฉพะการบูรณะพระเจดีย์พร้อมฉัตร โดยไม่ได้นัดหมายกัน
คือไม่รู้จักและไม่ทราบมาก่อน
ท่านคงอนุโมทนากับพวกเรา และได้ช่วยปกป้องคุ้มครองรักษา พร้อมกับเปิดทางให้พวกเราได้ทำบุญสมเจตนาทุกอย่าง เพราะในระหว่างการเดินทาง
ไม่มีประสบเหตุอาเพทภัยแต่อย่างใด..สวัสดีค่ะ"
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตาม "ตอนจบ" ต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2043
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 10/7/19 at 13:57
[ ตอนที่ 79 ]
(Update 20 กรกฎาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบหก-ยี่สิบเก้า) 8-11 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล-ตองยี-ตองอู-สิเร
ียม-ดาลา-ต่งเต-พะสิม-หงสาวดี-บิลิน-สะเทิม-พะอ่าน-มะละแหม่ง-เมียวดี)
สรุปการเดินทางปี 2561
ตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค.- ก.พ. 2561
...การเดินทาง 29 วัน รวมสถานที่สำคัญ 134 แห่ง (เฉพาะที่ต้องการไปแค่ 95 แห่ง นอกจากนั้นไปพบระหว่างทาง)
ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญมาแต่โบราณ ได้แก่ พระพุทธรูป (อิริยาบถนั่ง ยืน นอน), พระเกศาธาตุ, พระทันตธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) มีชื่อดังต่อไปนี้
1. พระพุทธรูปประทับนั่ง พระมหามุนี 2 องค์ คือ
- พระมหามุนี (องค์พี่ - อารกันมหามุนี) เมืองยะไข่
- พระมหามุนี (องค์น้อง) เมืองมัณฑเลย์
2. พระพุทธรูปลอยน้ำ 4 องค์ของพม่า คือ
- ไจ้คามี เมืองมะละแหม่ง
- ไจ้ปอลอ เมืองไจ้โท
- ไจ้มุทธอว์ เมืองพะสิม
- ชินมุที เมืองทวาย
3 พระพุทธรูปประทับนั่ง (พิเศษ)
- พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท วัดไจ้มะยอว์ เมืองมะละแหม่ง
- พระพุทธรูปนั่ง 4 ทิศ วัดไจ้ปุ้น เมืองหงสาวดี
- พระพุทธรูปแว่นทอง เมืองแปร
- พระพุทธรูปสมปรารถนา เมืองพุกาม
- พระพุทธรูปเจ้าตอว์ยี เมืองมัณฑเลย์
- พระพุทธรูปมากที่สุด 583,363 องค์ พระเจดีย์สัมพุทเธ เมืองโมนยวา
4. พระพุทธรูปประทับยืนใหญ่
- วัดโพธิตาต่อง (Maha BodhiTah Taung) เมืองโมนยวา
5. พระพุทธไสยาสน์ 3 แห่ง คือ
- เจาทัตยี (พระนอนตาหวาน) ย่างกุ้ง
- ชเวต้าละยอง (พระนอนยิ้มหวาน) หงสาวดี
- วัดเวนเซโตยะ (พระนอนใหญ่ที่สุดในพม่า) มะละแหม่ง
6. พระพุทธรูปที่มี "งู" อยู่ด้วย 3 แห่ง คือ
- วัดพญางู Snake Pagoda (ใกล้เมืองมัณฑเลย์)
- ศาลากลางน้ำ "กัมโบเม็งกะลา" บ้านต่องแต (Twante) เมืองดาลา (Dala อยู่ฝั่งตรงข้ามกับย่างกุ้ง)
- หงสาวดี (ไปปี 2562)
7. พระเจดีย์บรรจุ พระเขี้ยวแก้ว ครบทั้ง 4 ทิศ ของเมืองพุกาม คือ
- ชเวซิก่อง (Shwezigon Pagoda)
- โลกะนันดา (LawkanandaPagoda)
- ตันจิต่อง (Tantkyitaung Pagoda)
- ตุรินต่อง (Tuyintaung Pagoda)
8. พระเกศาธาตุ แห่งเมืองสุธรรมวดี (สะเทิม)
- ไจ้ทิโย, ไจ้เกลาสะ, ไจ้ทีซอ, กุสินาโย, เมรัล, นอละบู, ซินไจ้, ซอยกะเปง,
9. สถานที่พบใหม่ คือ พระเจดีย์ชเวคาซาน เมืองย่างกุ้ง, ชเวนัทต่อง เมืองแปร, ยะติต่อง เมืองไจ้โท, ชเวบนทาร์, ไจ้เดโย เมืองบิเลน และมีที่หงสาวดีอีก 2-3
แห่ง เช่น ไจ้กลอนปอน เป็นต้น
10. พระเจดีย์ชเวซานดอว์ (พระเกศาธาตุ) ชื่อเดียวกันครบทั้ง 4 แห่ง คือ
- ชเวซานดอว์ เมืองพุกาม (Bagan)
- ชเวซานดอว์ เมืองแปร (Pyay)
- ชเวซานดอว์ เมืองตองอู (Taungoo)
- ชเวซานดอว์ เมืองต่งเต (Twante) อยู่ฝั่งตรงข้ามกับย่างกุ้ง
11. รอยพระพุทธบาท 3 แห่ง คือ
- รอยพระพุทธบาท เกาะกูด เมืองละมาย จังหวัดเย
- รอยพระพุทธบาท ชเวเซทต่อว์ เมืองมินบู
- รอยพระพุทธบาท บนภูเขามัณฑเลย์
12. พระเจดีย์กลางน้ำที่สวยงาม 3 แห่ง คือ
- พระเจดีย์เยเลพญา (ไจ้หม่อวน) สิเรียม
- พระเจดีย์พองดอว์อู (พระบัวเข็ม) ทะเลสาบอินเล
- พระเจดีย์ชเวมิตซู ทะเลสาบอินดอว์ยี มิตจิน่า
การจัดอันดับ "ที่สุด" ในทริปนี้
1. สวยงามที่สุด - พระเจดีย์ชเวมิตซู ทะเลสาบอินดอว์ยี เมืองมิตจิน่า
2. ไปไกลที่สุด - พระเจดีย์มอดินซุน (พระเกศาธาตุ) เมืองพะสิม
3. เก่าแก่ที่สุด - พระเจดีย์มอดินซุน เมืองพะสิม (สร้างก่อนชเวดากอง)
4. ไปยากที่สุด - พระมหามุนีอารกัน เมืองยะไข่ (ต้องข้ามเทือกเขาอารกันโยมา)
(อลองดอว์กัสสปะ ต้องเช่ารถไปต่างหากแล้วนั่งช้างต่อไปอีกด้วย)
5. ไปลำบากที่สุด - อลองดอว์กัสสปะ (ศพพระมหากัสสปะ) เมืองโมนยวา
6. ตื่นเต้นที่สุด - รอยพระพุทธบาท ชเวเซทตอว์ เมืองมินบู (ต้องนอนกระต๊อบมืดๆ คืนนั้นไม่ได้อาบน้ำกันเลย)
7. โชคดีเป็นที่สุด - รอยพระพุทธบาท ชเวเซทตอว์ และ พิธีล้างพระพักตร์พระมหามุนี (ร่วมงานพิธีทั้งสองแห่ง
ปรากฏว่าได้อยู่แถวหน้าชาวพม่านับร้อยนับพันคนที่นั่งรออยู่) - อลองดอว์กัสสปะ ได้นั่งช้างไปแบบบังเอิญ โดยไม่ต้องรอคิวเหมือนชาวพม่าทั่วไป
8. หวาดเสียวที่สุด (รถเกือบเฉี่ยวกัน) ระหว่างเมืองแปรไปพุกาม (มีคนเห็นภาพในอดีตว่าเคยเกิดที่นี่)
9. พระเกศาธาตุอยู่สูงชันที่สุด - พระเจดีย์ซินไจ้, นอละบู, กุสินาเยา, เมรัล, ไจ้เกลาสะ, ไจ้เดโย เมืองสะเทิม
(พระเจดีย์นอละบู (พันธุเสลา) สร้างก่อนพระเจดีย์ไจ้ทีโย 5 วัน เป็นผู้สร้างคณะเดียวกัน)
10. โหดที่สุด - เสียวที่สุด - เหวี่ยงที่สุด - สะบักสะบอมที่สุด - พระเจดีย์นอละบู (ต้องนั่งรถขนหมูขึ้นไป)
11. อัศจรรย์ที่สุด - พระเจดีย์เมรัล เมืองบีลิน (มีก้อนหินคล้าย "อินทร์แขวน" เป็นจำนวนมาก)
12. ผิดหวังเป็นที่สุด - พระเจดีย์ซอยกะเปง เมืองพะอ่าน (พระเกศาธาตุอยู่สูงถึง 700 เมตร ไม่สามารถเดินขึ้นไปได้)
13. ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด - พระเจดีย์ไจ้ตาลาน (บรรจุพระเกศาธาตุ และ พระทันตธาตุ) มะละแหม่ง (พระอาทิตย์ทรงกลดที่นี่)
14. ปาฏิหาริย์ที่สุด - เสริมพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้น (ชื่อ Lay Kyune Satkyar Aung) บ.สาตะเพียน (Zar ta pyin) มะละแหม่ง
(ได้พบกับหญิงชาวพม่าได้นิมิตบอกไว้ล่วงหน้าว่า วันนี้พวกเราจะมาทำบุญที่นี่)
15. นั่งรถไฟสายสุดเสียวที่สุด (Gokteik) เมืองพินอูลวิน
16. ประทับใจมากที่สุด - นั่งกระเช้าลอยฟ้า ที่พระธาตุอินทร์แขวน
(เลือกมุมที่สวยงามที่สุด บนเทือกเขาอารกันโยมา)
17. วิวสายงามที่สุด - เทือกเขาอารกันโยมา เมืองยะไข่
18. เหมือนที่สุด - หลวงพ่อไจ้ทีซอง เมืองบีลิน (ศพไม่เน่าเหมือนหลวงพ่อฯ วัดท่าซุง)
Credit : burmasite.blogspot.com
ภาพถ่ายเมื่อปี 2553 นับเป็นครั้งแรกที่ได้ทำบุญ
เป็นค่าแผ่นทองคำแท้ 1 แผ่น (550 ดอลลาร์) หุ้มพระเจดีย์ชเวดากอง
(ภาพนี้ปี 2561 นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ได้ทำบุญบูรณะใหญ่อีกครั้งหนึ่ง)
19. ได้รับเกียรติเป็นที่สุด - ชเวดากอง (ประธานฯ ออกมารับเงินทำบุญจำนวน 1,165,000 จ๊าด ในห้อง VIP)
20. บังเอิญเป็นที่สุด - หวยออกเลขท้ายตรงกับจำนวนคน 15 คน และออกจำนวนวัน 29 วันด้วย (รางวัลที่หนึ่ง 309915 ออกงวดวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561,
และออกงวดวันที่ 2 มีนาคม 2561 รางวัลที่หนึ่ง 759415 เลขท้าย 29)
21. เมืองพม่าที่สะอาดเป็นที่สุด - เมืองตองยี (Taunggyi) และ พะสิม (Pathein)
22. เหลือเชื่อเป็นที่สุด - พระเจดีย์โบโบยี (Bawbawgyi) เมืองเก่าศรีเกษตร (Sri Ksetra) แปร (หลงทางเข้าไปในเขตอุทยานเมืองเก่า
ได้พบกับหัวหน้าช่างซ่อมพระเจดีย์พอดี จึงได้ทำบุญร่วมซ่อมโดยไม่น่าเชื่อ)
23. แปลกที่สุด - ไฟดับเอง 3 ครั้ง (ดับแป๊บเดียวนะ) ที่พักบ้านมุด่อง มะละแหม่ง, ร้านอาหารในตลาดหงสาวดี, วัดพองดอว์อู
(ในขณะที่พระอาจารย์เล่าเรื่องประวัติพระบัวเข็มองค์เล็ก คือองค์ที่ 5)
24. พบใหม่มากที่สุด (พระเกศาธาตุ, พระทันตธาตุ) รวม 23 แห่ง
- 1 พระเจดีย์ชเวคาซาน เมืองย่างกุ้ง (พระเกศาธาตุ 7 เส้น),
- 2 พระเจดีย์บ้านคามู เมืองย่างกุ้ง (ระหว่างสร้างชเวดากอง อัญเชิญ "พระเกศาธาตุ" มาหยุดพักที่นี่ก่อน)
- 3 ชเวนัทต่อง เมืองแปร (พระเกศาธาตุ 1 เส้น),
- 4 ยะติต่อง (อยู่บนยอดเขาใกล้พระเจดีย์ไจ้ทิโย) เมืองไจ้โท (พระเกศาธาตุ 1 เส้น),
- 5 ไจ้เกลาสะ เมืองบีเลน (พระเกศาธาตุ 1 เส้น)
- 6 *ชเวโบนทาร์ เมืองบีเลน (พระเกศาธาตุ 1 เส้น)
- 7 ไจ้เดโย เมืองบีเลน (พระเกศาธาตุ 1 เส้น)
- 8 โซกะลิซานดอว์เซน เมืองบีเลน (พระเกศาธาตุ)
- 9 พระเจดีย์บอบอยี อุทยานแห่งชาติศรีเกษตร เมืองแปร
- 10 พระเจดีย์ Shwe Moke Daw (ปะโคะกู) ใกล้พุกาม
- 11 พระเจดีย์ Maw Daw Myin Thar เมืองชเวโบ
- 12 พระพุทธรูปเจ้าตอว์ยี (เก่า) เมืองมัณฑเลย์ (อยู่ใกล้วัดงู)
- 13 พระพุทธรูปเจ้าตอว์ยี (ใหม่) เมืองมัณฑเลย์ (อยู่ในเมือง)
- 14 พระเจดีย์ Shwe Kyat Yat อมรปุระ (สร้างสมัยพระเจ้าอโศก)
- 15 พระเจดีย์ไจ้กะวะ เมืองหงสาวดี (พระทันตธาตุ)
- 16 ไจ้มะกอว์ซานดอว์เซน เมืองหงสาวดี (พระเกศาธาตุ)
- 17 ไจ้มุกะนิงซานดอว์เซน เมืองหงสาวดี (พระเกศาธาตุ)
- 18 ธรรมไต้เจดีย์ซานดอว์เซน เมืองหงสาวดี (พระเกศาธาตุ)
- 19 เต็งสะยัต เมืองหงสาวดี (พระเกศาธาตุ)
- 20 ไจ้กลอนปอน เมืองหงสาวดี (พระเกศาธาตุ)
- 21 ไจ้กะตา เมืองหงสาวดี (พระทันตธาตุ) ยังไม่ได้ไป
- 22 *ชเวโบนทาร์ (เดิมชื่อ Kyaik kaw) บ้าน Theinzeik
- 23 ชเวกูนี่ (Shwe GuNi) บ้านเฉ้าคา (Kyaukka) เมืองโมนยวา (Monywa)
25. แสนรู้ที่สุด - ช้างที่ "อลองดอว์กัสสปะ" ก้มลงกราบพระอาจารย์เอง
26. เสียความรู้สึกที่สุด - เจ้าหน้าที่ตามเก็บเงินค่าเข้าชม (บางแห่ง) ทั้งๆ ที่พวกเราทำบุญมากกว่านั้นเสียอีก
27. ปลื้มปิติที่สุด - วันที่จะกลับจากย่างกุ้ง มีหยดน้ำลงมาจากฟ้า 1 หยด, วันเดินทางกลับจากมะละแหม่งก็เช่นกัน ตอนเช้ามีหมอกลงหนามากตลอดทางจนกระทั่งสาย
28. ทำบุญมากที่สุด
- (1) พระเจดีย์ชเวบอดี้ - ทะเลสาบอินเล (สร้างใหม่อลังการ) ทำบุญ 5,000,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)
- (2) พระมหามุนี - มัณฑเลย์ (พระวิหารหุ้มฉัตรใหม่ด้วยทองคำแท้) ทำบุญ 3,231,500 จ๊าด
- (3) พระเจดีย์ชเวมิตซู - ทะเลสาบอินดอว์ยี (ซ่อมใหม่ทั้งหมด) ทำบุญ 1,243,000 จ๊าด
- (4) พระเจดีย์ชเวดากอง - ย่างกุ้ง (ซ่อมพระเจดีย์และบริวารโดยรอบ) ทำบุญ 1,165,000 จ๊าด
- (5) พระเจดีย์มอดินซุน - พะสิม (ซ่อมเจดีย์และฉัตร) ทำบุญ 1,160,000 จ๊าด
- (6) พระเจดีย์โลกะนันดา - พุกาม (ซ่อมเจดีย์ และ หุ่มฉัตรใหม่ด้วยทองคำแท้) ทำบุญ 1,000,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)
- (7) พระมหามุนี - ยะไข่ (พระวิหารทำฉัตรใหม่) ทำบุญ 995,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)
- (8) พระพุทธรูป (ลอยน้ำ) ไจ้ปอลอ - เมืองไจ้โท (พระวิหารทำฉัตรใหม่) ทำบุญ 569,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)
- (9) เสริมพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้น (ชื่อ Lay Kyune Satkyar Aung) - บ.สาตะเพียน มะละแหม่ง ทำบุญ 379,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)
สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมด
...จากผู้เดินทาง 15 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,276,848 บาท (เป็นเงินพม่ารวม 52,829,357 จ๊าด) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 29 วัน เงินไทย 520,799 บาท (เป็นเงินพม่า 21,589,414 จ๊าด)
- ค่าเช่ารถตู้, ค่าน้ำมัน, ทิปคนขับรถ
- ค่าเข้าชม (บางแห่ง) จ่ายเป็นดอลลาร์
- ค่าผ่านด่าน
- ค่าที่พัก และ ค่าอาหาร (ร้านอาหาร + เตรียมเสบียงไปเองด้วย)
- ค่าทำวีซ่า
- ถวายสังฆทาน 6 ชุด ก่อนออกเดินทาง เพื่อขอให้ท่านช่วยในการเดินทาง และช่วยเรื่องสุขภาพด้วย)
2. เงินทำบุญรวม 134 แห่ง เงินไทย 695,859 บาท + ถวายพระสังฆราชพม่ามาที่วัดท่าซุง 40,000 จ๊าด (เป็นเงินพม่า 28,794,213 จ๊าด)
- นับเป็นความโชคดีที่ได้มีโอกาสดังนี้ คือ
บูรณะ (พระพุทธรูปใหญ่, พระสาวก, พระเจดีย์และฉัตร, พระวิหาร)
สร้างใหม่ (พระพุทธรูปใหญ่, พระสาวก, พระเจดีย์และฉัตร, พระวิหาร)
นับว่าเป็นการบังเอิญเกือบทุกแห่ง ที่เรียกกันว่า "บุญจัดสรร" นั่นเอง
3. ค่าเครื่องบูชา เงินไทย 59,190 บาท (เป็นเงินพม่า 2,445,730 จ๊าด)
- พานบายศรี,
- ฉัตรเงินฉัตรทอง,
- พุ่มเงินทอง,
- แก้วมณี และหินหลายหลากสี
- น้ำหอม, แผ่นทองคำเปลว
- ผ้าสไบทอง (ปักชื่อคณะตามรอยด้วย)
- ผ้าห่มพระพุทธรูป
- ย่ามถวายพระชาวพม่า
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต และคณะทีมงานฯ
วีดีโอ - คุณวัชรพล ศรีขวัญ, คุณเจ (สุทธิรักษ์) ตันเจริญ
วีดีโอเก่า - คุณอภิมุข อารยศิริกุล
ภาพ - คุณนันทณัฏฐ์ (ติ๋ว), คุณจารุภา (เจ๊หลี), เจ๊มายิน
บันทึกข้อมูล - คุณปัทมาภรณ์ (น้อยโหน่ง)
(โปรดติดตาม "ตอนจบ" ต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2043
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 15/7/19 at 14:25
[ ตอนที่ 80 จบ ]
(Update 25 กรกฎาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 21 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 4 กุมภาพันธ์ 2562
(ย่างกุ้ง-หงสาวดี-ไจ้โท-บิลิน-สะเทิม-มะละแหม่ง-มุด่อง-พะอ่าน-บ้านเกาะคะมาย (เกาะยักษ์)-ไจ้คามี-ละมาย-เย-ทวาย-มะริด-ตะนาวศรี-เกาะสอง)
สรุปการเดินทาง ปี 2562
ตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค.- 4 ก.พ.2562
...ปี 2562 เดินทาง 21 วัน บวกกับเมื่อปี 2561 อีก 29 วัน รวมเป็น 50 วันพอดี มีรายละเอียดดังนี้
วันที่ 14 มกราคม 2562 (ย่างกุ้ง)
1 พระเจดีย์ชเวดอเมียต (พระเขี้ยวแก้ว) 30,000 จ๊าด
2 พระเจดีย์ชเวดากอง 2,375,000 จ๊าด
วันที่ 15 มกราคม 2562 (ย่างกุ้ง)
3 พระเจดีย์โบดาทอง 2,097,500 จ๊าด
4 พระนอนตาหวาน เจ๊าทัตยี 1,043,000 จ๊าด
5 พระเจดีย์คาบาเอ 177,000 จ๊าด
6 พระพุทธรูปนั่ง งาทัตจี 140,000 จ๊าด
วันที่ 16 มกราคม2562 (ย่างกุ้ง - หงสาวดี)
7 วัดบารมี สร้างพระเจดีย์ 445,000 จ๊าด
8 พระพุทธรูปนั่งสี่ทิศ ไจ้ปุ้น 10,000 จ๊าด
9 พระนอนยิ้มหวาน ชเวต้าลียอง (ทำบุญตามอัธยาศัย)
10 พระนอนเมี่ยต้าลียอง 221,000 จ๊าด
11 พระมหาเจดีย์ 60,000 จ๊าด
12 ชมพระราชวังบุเรงนอง
13 พระเจดีย์มุเตา 70,000 จ๊าด
วันที่ 17 มกราคม 2562 (หงสาวดี - ไจ้โท)
14 วัดงู สร้างพระเจดีย์ 983,000 จ๊าด
15 สร้างพระเจดีย์ (ระหว่างทาง) 290,000 จ๊าด
16 สร้างพระเจดีย์ (ระหว่างทาง) 50,000 จ๊าด
17 พระเจดีย์เมี๊ยะเต็งตัง (Mya Thein Tan) 30,000 จ๊าด
18 พระเจดีย์ไจ้กะลอมปอน (Kyaik Kalunpun) 70,000 จ๊าด
19 พระเจดีย์ไจ้กะต้า 61,000 จ๊าด
20 พระพุทธรูปลอยน้ำ ไจ้ปอลอ (ไฝเลื่อน) ปิดทองฝาผนัง 155,000 จ๊าด
วันที่ 18 มกราคม 2562 (ไจ้โท- บิลิน)
21 สร้างพระใหญ่ วัดพญาตองซู (Three Pagoda Mountain) 3,223,000 จ๊าด (ทำบุญ 2 ครั้ง)
22 สร้างพระเจดีย์ และฉัตร (ระหว่างทาง) 35,000 จ๊าด
23 พระเจดีย์ Kan Kaw Nyin Naung บีลิน 50,000 จ๊าด
24 พระเจดีย์กุสินาเยา 11,000 จ๊าด
25 พระเจดีย์เมลัน 20,000 จ๊าด
วันที่ 19 มกราคม 2562 (บิลิน)
26 ทำบุญกับเจ้าอาวาส วัดไจ้ทีซอง 2,164,500 จ๊าด
27 พระเจดีย์แจ๊ะมินเต่า (พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น "พญาไก่")
28 พระเจดีย์ไจ้เดโย 55,000 จ๊าด
29 พระเจดีย์ไจ้เกลาสะ 35,000 จ๊าด
30 พระเจดีย์เมี่ยวตาเบท (Mya Tha Bate บรรจุบาตรพระพุทธเจ้าด้วย)
31 พระเจดีย์ชเวโบนทาร์ 55,000 จ๊าด
32 พระเจดีย์ซกกะลิ (Zokali)
33 พระจดีย์เมขลา (Zwe Ka Lar พบใหม่) 50,000 จ๊าด
34 พระเจดีย์สักกะ (That Ka พบใหม่) 50,000 จ๊าด
วันที่ 20 มกราคม2562 (บิลิน - สะเทิม)
35 พระเจดีย์ Shwe Yin Myaw 50,000 จ๊าด
36 พระเจดีย์ชเวโบนทาร์ 42,000 จ๊าด
37 พระเจดีย์อลันติยา (ทำบุญตามอัธยาศัย) กำลังซ่อม
38 พระเจดีย์เมี่ยวตาเบท (Mya Tha Bate) จ๊าด
39 พระเจดีย์ Hnee (ทำบุญตามอัธยาศัย)
40 พระเจดีย์ชเวซายาน 11,000 จ๊าด
41 พระเจดีย์ Lay Tar 120,000 จ๊าด
วันที่ 21 มกราคม 2562 (สะเทิม-มะละแหม่ง)
42 พระเจดีย์ซินไจ้ (กำลังบูรณะ) 1,702,300 จ๊าด
43 พระเจดีย์ติยาติเม (101 Kings) 40,000 จ๊าด
44 พระเจดีย์ชเวจ่อง (Shwe Kyaung) 50,000 จ๊าด
45 เกาะแชมพู 150,000 จ๊าด
46 พระมหามุนี มะละแหม่ง 50,000 จ๊าด
47 พระจดีย์ไจ้ตาลาน 191,000 จ๊าด
วันที่ 22 มกราคม 2562 (มะละแหม่ง-มุด่อง)
48 พระเจดีย์ไจ้มะยอว์ 152,000 จ๊าด
49 พระเจดีย์กันยี (กำลังบูรณะ) 570,000 จ๊าด
50 พระนอนใหญ่ วัดเวนเซโตยะ 570,000 จ๊าด
51 พระนอนใหญ่ โลกะนันทะ (เบ็งรายพญา) 194,000 จ๊าด
52 พระเจดีย์โยโก (Rogo) 107,000 จ๊าด
53 พระเจดีย์ไจ้มุนาย (Kyaik Muh Naing) ชื่อเดิม ไจ้คะมอย 154,000 จ๊าด
54 พระเจดีย์ไจ้กะโต๊ะ (ไจ้มุป่อง) 30,000 จ๊าด
วันที่ 23 มกราคม 2562 (มะละแหม่ง-พะอ่าน-บ้านเกาะคะมาย (เกาะยักษ์)
55 พระเจดีย์ไจ้ปันกะยอน(Kyite Pan Ka Yohn) บ้านสาตะเพียน
56 พระเจดีย์เลโจวสัจจาอ่อง (Lay Kyune Sat Kyar Aung) บ้านสาตะเพียน
57 พระเจดีย์เจ้ากะแลต (สร้างวิหารหลังใหม่) 120,500 จ๊าด
58 พระเจดีย์ซอยกะเปง (พะอ่าน)
59 พระเจดีย์ไจ้เตอแกร้ (Kyite Day Karel) 747,000 จ๊าด (โอนเพิ่มอีก 500,000 จ๊าด วันที่ 30/01/2019)
60 พระเจดีย์ไจ้กะลอ (Kyite Kalo) 97,000 จ๊าด
61 พระเจดีย์ไจ้ตะมอแล 73,500 จ๊าด
วันที่ 24 มกราคม 2562 (มะละแหม่ง-มุด่องไจ้คามี)
62 พระเจดีย์ไจ้แซ บ้านกะมะวัก (KaMarWet) 50,000 จ๊าด
63 พระเจดีย์ดะโตจาว 60,000 จ๊าด
64 พระเจดีย์ไจตะเมาะ บ้านกะมะวัก (Kyaik Ta Moke) (พบใหม่) กำลังบูรณะ 235,000 จ๊าด
65 พระเจดีย์ไจ้มะยอซอกะเปง บ้านตงแซ (พบใหม่) 150,000 จ๊าด
66 พระนั่งองค์ใหญ่ Khat Ya Khat Yu บ้านลิตัก 100,000 จ๊าด
วันที่ 25 มกราคม 2562 (ไจ้คามี)
67 พระเจดีย์ไจ้ปาทาย (Kyaik Pa Taing) บ้านกะลอตต๊อต (เดิมชื่อ ไจ้กะลอตต๊อต) (พบใหม่) 400,000 จ๊าด
68 พระพุทธรูปลอยน้ำไจ้คามี (กำลังบูรณะ) 524,000 จ๊าด
69 ทำบุญฉัตรพระเจดีย์ (วัดที่บ้านกะมะวัค ทางขึ้นเจดีย์ไจ้ตะเมาะ) 50,000 จ๊าด
วันที่ 26 มกราคม 2562 (ไจ้คามี-ละมาย-เย)
70 พระเจดีย์กลางน้ำไจ้เน่ (Kyaik Nae) หรือ ไจ้โตยะนะ 200,000 จ๊าด
71 พระเจดีย์อังเค (An Khae) สร้างใหม่ 50,000 จ๊าด
72 วัดใหญ่ละมาย (ไจ้เกละสะ) 70,000 จ๊าด
วันที่ 27 มกราคม 2562 (เย-ทวาย)
73 วัดไจ้เตตะเมาะปราด (วัดสามเณรน้อย) 238,000 จ๊าด
74 พระเจดีย์ชเวซานดอว์ (Shwe San Taw) ชื่อเดิม ซูยิตเต่า 224,000 จ๊าด
75 พระเจดีย์ซากาต่อง (Sakar Taung) 550,000 จ๊าด (โอนเพิ่ม 500,000 วันที่ 30/01/2019)
76 พระเจดีย์ซานดอว์ชิน บ้านกเลงอ่อง (กำลังบูรณะ) 2,933,000 จ๊าด (โอนเพิ่ม 600,000 วันที่ 30/01/2019)
วันที่ 28 มกราคม 2562 (ทวาย)
77 รอยเท้าพระโพธิสัตว์พญากระบือ (ทำบุญใส่ตู้ตามอัธยาศัย)
78 รอยพระพุทธบาทนาปูแล 10,000 จ๊าด
79 พระเจดีย์ซินซาลอน (Shin Za Lon) (พบใหม่) 10,000 จ๊าด
80 พระพุทธบาทไจ้เป๊าซิตดอว์ยา (เบื้องขวา) บ้านสะคานยี (พบใหม่) 120,000 จ๊าด
81 พระพุทธรูปชินเป็งคิ้ว (Shin Pin Krught) 120,000 จ๊าด
82 พระเจดีย์ชเวตองซ่า (Shwe Toung Sar) 250,000 จ๊าด
83 วัดยะตองมู 50,000 จ๊าด
84 พระเจดีย์ชินโอ๊กออ (Shin Oak Aww) 70,000 จ๊าด
วันที่ 29 มกราคม 2562 (ทวาย - มะริด)
85 พระเจดีย์ชินตองเถ่ (Shin Tauk Htein) 70,000 จ๊าด
86 พระนอนองค์ใหญ่ 100,000 จ๊าด
87 พระพุทธรูปลอยน้ำ (กำลังบูรณะ) 1,530,000 จ๊าด
88 พระเจดีย์ชินโต๊กโปน (Shin Taunk Pone) 100,000 จ๊าด
89 วัดอั่งเปา บ้านปอลอ (Palaw) 80,000 จ๊าด
90 ทำบุญยอดฉัตร (ระหว่างทาง) 105,000 จ๊าด
วันที่ 30 มกราคม 2562 (มะริด)
91 พระเจดีย์ปอดอมู (Paw Daw Mu) 120,000 จ๊าด
92 พระเจดีย์คาบาโลน (Ka Bar Lone) 500,000 จ๊าด
93 พระเจดีย์เตียนตอจี (Thein Taw Gyi) (เลโจนสิมี Laygyunsimi) ชื่อเดิม ซีม่า (กำลังบูรณะ) 2,020,000 จ๊าด
94 พระนอนอตูลายันตี (A Tau La Yan Te) (เกาะประเทส) 10,000 จ๊าด
วันที่ 31 มกราคม 2562 (มะริด - ตะนาวศรี)
95 พระเจดีย์นาคากะต่อง (พบใหม่) 5,000 จ๊าด
96 ทำบุญพระเจดีย์และฉัตร (วัดอยู่ทางขึ้นพระพุทธบาท) 100,000 จ๊าด
97 รอยพระพุทธบาทซิตตอว์ย่า เขาพระพุทธบาท 200,000 จ๊าด
98 วัดจมูกโพรง 50,000 จ๊าด
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 (ตะนาวศรี-เกาะสอง)
99 ทำบุญระหว่างทาง พระเจดีย์และฉัตร (Koe Na Win) 100,000 จ๊าด
100 มอบค่าอาหารกลางวัน โรงเรียนโกอ๊ะโก่วโกมูลาเดจาว 100,000 จ๊าด
101 วัดสิงขรณ์วนาราม ตำบลสิงขร อำเภอตะนาวศรี 56,000 จ๊าด
ทำบุญปี 2562 รวมยอด 31,087,300 จ๊าด (660,500 บาท)
ทำบุญปี 2561 รวมยอด 52,829,357 จ๊าด (1,276,848 บาท)
สรุปเดินทาง 2 ครั้ง รวม 50 วัน เป็นเงิน 83,926,657 จ๊าด (1,937,348 บาท)
- อัตราแลกเปลี่ยน (พม่า) เมื่อ 13 ม.ค.61 แลกที่เมียวดี 1 บาท : 41.32 จ๊าด
- อัตราแลกเปลี่ยน (ดอลลาร์) แลกที่กรุงเทพ 1 ดอลลาร์ : 32.65 บาท
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้นำเงินที่ญาติโยมเคยถวายส่วนองค์ ร่วมทำบุญในครั้งนี้ประมาณ 400,000 บาท ทั้งที่เคยใส่ย่ามกับท่าน
หรือที่โอนเงินเข้าบัญชีก็ดี และผู้ที่ร่วมเดินทางด้วยกันก็ดี
จึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมกันอนุโมทนา "มหาบารมี" โดยพร้อมเพรียงกัน เพราะการเดินทางในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นจังหวะที่ทางวัดกำลังบูรณะเกือบทุกแห่ง
(ใบโมทนามีเยอะเหลือเกิน ขนกลับมาแทบไม่หมด)
โดยแบ่งถวายเป็น 2 ประเภท คือร่วม "บูรณะ" ตั้งต้นไว้ที่ 50,000 จ๊าดก่อน และเป็นค่า "แสงสว่าง" เป็นเงิน 20,000 จ๊าด
เพื่อบูชาองค์พระธาตุในยามค่ำคืน และถวายส่วนองค์พระชาวพม่าบ้าง (ทุกคนเตรียมเงินทำบุญทุกสกุล คือ เงินไทย, เงินพม่า, เงินดอลลาร์ ไว้พร้อม)
จึงได้สำเร็จครบถ้วนทุกประการ..เมงกาลา..สวัสดี
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต และคณะทีมงานฯ
วีดีโอ - คุณวัชรพล ศรีขวัญ, คุณเจ (สุทธิรักษ์) ตันเจริญ
วีดีโอเก่า - คุณอภิมุข อารยศิริกุล
ภาพ - คุณนันทณัฏฐ์ (ติ๋ว), คุณจารุภา (เจ๊หลี), เจ๊มายิน
บันทึกข้อมูล - คุณปัทมาภรณ์ (น้อยโหน่ง)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2043
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 20/7/19 at 19:18
Posts: 2043
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 25/7/19 at 14:57
Posts: 2043
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player
ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป
ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved