ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 26/7/18 at 15:12 Reply With Quote

(ตอนที่ 47/1 ถ้ำพระมหากัสสปเถระ) เล่าเรื่องการเดินทางไปเมืองพม่า 14 มกราคม -11 กุมภาพันธ์ 2561


@ ดูตอนที่ 1 - 29
http://www.tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=1050
@ ดูตอนที่ 47/2
http://www.tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=1053

สารบัญ (เลือกคลิกที่รายการ)

[30]
ตอนที่ ๓๐ พระเจดีย์ชเวดอว์เมียต
[31] ตอนที่ ๓๑ พระเจดีย์ชเวดากอง
[32] ตอนที่ ๓๒ พระเจดีย์สุเล
[33] ตอนที่ ๓๓ พระเจดีย์โบตาทอง
[34] ตอนที่ ๓๔ พระเจดีย์ชเวนัตต่อง
[35] ตอนที่ ๓๕ พระพุทธรูปแว่นทองชเวเมี้ยตมัน
[36] ตอนที่ ๓๖ พระเจดีย์บอบอยี
[37] ตอนที่ ๓๗ พระเจดีย์ชเวซานดอว์
[38] ตอนที่ ๓๘ พระเจดีย์เมี่ยตะลัน
[39] ตอนที่ ๓๙ พระเจดีย์จองตอว์ยา
[40/1] ตอนที่ ๔๐/๑ รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ทตอว์ มินบู
[40/2] ตอนที่ ๔๐/๒ รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ทตอว์ มินบู
[41/1] ตอนที่ ๔๑/๑ พระมหามุนี อารกัน เมืองมร็อคอู (ยะไข่)
[41/2] ตอนที่ ๔๑/๒ พระมหามุนี อารกัน เมืองมร็อคอู (ยะไข่)
[42/1] ตอนที่ ๔๒/๑ พระเจดีย์ตันจิต่อง พุกาม
[42/2] ตอนที่ ๔๒/๒ พระเจดีย์ตุรินต่อง
[42/3] ตอนที่ ๔๒/๓ พระเจดีย์ชเวซิก่อง
[42/4] ตอนที่ ๔๒/๔ พระเจดีย์อานันดา
[42/5] ตอนที่ ๔๒/๕ พระเจดีย์ยัวฮองยี, พระเจดีย์จุฬามณี
[42/6] ตอนที่ ๔๒/๖ พระเจดีย์ติโลมินโล
[42/7] ตอนที่ ๔๒/๗ พระเจดีย์ชเวซานดอว์
[42/8] ตอนที่ ๔๒/๘ พระเจดีย์โลกะนันดา
[42/9] ตอนที่ ๔๒/๙ พระเจดีย์บูพญา
[43] ตอนที่ ๔๓ พระเจดีย์ชเวมุดอว์ เมืองปะโคะกู
[44] ตอนที่ ๔๔ พระพุทธรูปยืน วัดมหาโพธิตาต่อง
[45] ตอนที่ ๔๕ พระเจดีย์สัมพุทเธ
[46] ตอนที่ ๔๖ พระเจดีย์ชเวซิก่อง
[47/1] ตอนที่ ๔๗/๑ ถ้ำพระมหากัสสปะ

[ ตอนที่ 30 ]
(Update 30 กรกฎาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่ห้า) 18 มกราคม 2561 (หงสาวดี - ย่างกุ้ง)

(แห่งที่ 4) พระเจดีย์ชเวตอว์เมียต (Swe Taw Myat Pagoda) ย่างกุ้ง (Yangon)

...สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในย่างกุ้งลำดับต่อไปที่พวกเราได้เดินทางไปกราบสักการะในวันนี้ คือ "พระเจดีย์ชเวตอว์เมียต" ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน "พระเขี้ยวแก้ว" หรือ "พระทันตธาตุ" ของพระพุทธเจ้า

ลักษณะด้านนอกเป็นพระเจดีย์แปดเหลี่ยมสีขาวประดับตกแต่งด้วยทอง โดยยอดเจดีย์สร้างด้วยทองคำแท้ ดูแล้วมีลักษณะคล้ายกับ "พระเจดีย์อนันดา" ของพุกาม

ก่อนจะเข้าไปชมด้านใน สำหรับชาวต่างชาติอย่างพวกเรา จะต้องเสียเงินค่าเข้าชมคนละ 2,000 จ๊าด ดูภายนอกว่างดงามแล้ว ภายในพระเจดีย์ก็มีความงดงามตระการตาไม่แพ้กัน

เพดานปิดทองเหลืองอร่ามเรืองรอง ลวดลายละเอียดประณีตงดงาม ตรงกลางเป็นที่ประดิษฐาน "พระเขี้ยวแก้วจำลอง" ที่อัญเชิญมาจากประเทศจีน (พระอาจารย์ย้ำว่า ไม่ได้มาจาก "ศรีลังกา" นะคะ)


เดิมทีพระเจดีย์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน "พระเขี้ยวแก้ว" ของพระพุทธเจ้า ที่อัญเชิญมาจากกรุงปักกิ่งในปีพ.ศ.2537 เป็นเวลา 45 วัน ซึ่งเป็นองค์เดียวกันกับที่อัญเชิญมาที่พุทธมณฑล เมื่อปีพ.ศ.2545

ในครั้งนั้นได้มีการอัญเชิญ "พระเขี้ยวแก้วจำลอง" ทำจากงาช้างมาด้วย 2 องค์ หลังจากอัญเชิญองค์จริงกลับไปแล้ว

พระเขี้ยวแก้วจำลอง หนึ่งในสององค์ยังคงประดิษฐานอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ เพื่อให้ชาวพม่ากราบไหว้บูชาแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เดิมประดิษฐานอยู่ที่พระเจดีย์ชเวดากอง

เมื่อปี 2539 พระอาจารย์ได้นำคณะฯ ไปกราบไหว้พระเจดีย์ชเวดากอง จึงได้พบ "พระเขี้ยวแก้ว" อยู่ที่นั่น จึงได้กราบไหว้และบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐาน


...ต่อมาท่านได้เดินทางมาพร้อมกับหลวงพ่อเจ้าคุณ "พระราชภาวนาโกศล" ซึ่งท่านเดินทางมาพม่าเป็นครั้งแรก เมื่อลงจากเครื่องบินก็เดินทางมาไหว้ที่นี่เป็นจุดแรก

พอเดินเข้าไปไหว้ข้างใน ท่านถึงกับปลื้มปีติจนน้ำตาไหล เพราะท่านนึกไม่ถึงว่าพม่าจะสร้างพระเจดีย์ได้สวยงามขนาดนี้

ส่วนเงินที่สร้างพระเจดีย์ชเวตอว์เมียต ก็มาจากเงินบริจาคของพุทธศาสนิกชนชาวพม่า และชาวพุทธทั่วโลก คนไทยนิยมเรียกว่า "วัดพระเขี้ยวแก้วจุฬามณี"

พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้นำคณะกล่าวคำถวายเครื่องบูชา โดยมีชาวพม่ามองดูด้วยความสนใจอยู่ห่างๆ และได้นำผ้าทองปักชื่อคณะตามรอยพระพุทธบาทถวายไว้เป็นพุทธบูชาด้วย

เป็นจังหวะที่พระเจดีย์กำลังจะบูรณะซ่อมแซมอยู่พอดี พระอาจารย์ชัยวัฒน์จึงร่วมทำบุญบูรณะ 50,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 20,000 จ๊าด

จากนั้นก็รีบขึ้นรถไปต่อ เพราะยังเหลืออีกหลายที่ๆ เราต้องไปในวันนี้ ในตอนหน้าจะพาท่านผู้อ่านไปกราบไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันดับ 1 ของพม่า ที่ต้องไปอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต แล้วเจอกันตอนต่อไปค่ะ...สวัสดีค่ะ

**ภาพสุดท้ายเป็นรูปที่ถ่ายหลังจากพระอาจารย์ไปแล้ว ไม่กี่วันก็มีการตั้งนั่งร้านเพื่อซ่อมพระเจดีย์ต่อไป พวกเราจึงโชคดีสองชั้นอีกตามเคย..โมทนาด้วยกันนะค่ะ


"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 30/7/18 at 04:40 Reply With Quote


[ ตอนที่ 31 ]
(Update 5 สิงหาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561


(วันที่ห้า) 18 มกราคม 2561 (หงสาวดี - ย่างกุ้ง)

(แห่งที่ 5) พระเจดีย์ชเวดากอง (Shwedagon Pagoda) ย่างกุ้ง (Yangon)

...หลังจากกราบสักการะ "พระเขี้ยวแก้ว" ที่พระเจดีย์ชเวตอว์เมียตกันเรียบร้อยแล้ว พี่คนขับรถตู้ได้พาเราไปยัง "พระเจดีย์ชเวดากอง" ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 8 กิโลเมตร

พระอาจารย์ชัยวัฒน์เคยมาที่นี่ ในการเยือนพม่าครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2539 พี่ๆ บางท่านก็เคยมาแล้ว ส่วนใหญ่เพิ่งจะเคยมาเป็นครั้งแรก (รวมทั้งตัวผู้เขียนด้วย) พอมาเห็นของจริง ก็อดจะตื่นเต้นไม่ได้

ทางขึ้นพระเจดีย์มีทั้งหมด 3 แบบให้เลือกตามอัธยาศัย จะไปทางลิฟต์แก้ว, บันไดเลื่อน หรือจะขึ้นบันได ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด นับว่าก้าวล้ำนำสมัยกว่าบ้านเรามาก

ก่อนจะเข้าไปด้านใน ก็ต้องเสียค่าเข้าชมเสียก่อนคนละ 5 ยูเอสดอลลาร์ แล้วติดสติ๊กเกอร์สีประจำวันไว้ที่หน้าอก เพื่อให้รู้ว่าชำระค่าเข้าชมแล้ว

พระอาจารย์เลือกที่จะใช้ลิฟต์ เพื่อประหยัดเวลา เพราะยังเหลือที่อื่นๆ ที่ต้องไปอีกหลายแห่ง ช่วงที่เรามาตรงกับวันธรรมดา ไม่ใช่เสาร์อาทิตย์

เพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรที่หนาแน่น โชคดีที่โชเฟอร์ของเรา "คุณมินต์ซู" เป็นชาวย่างกุ้งพอดี จึงรู้ทางหลบหลีกได้เป็นอย่างดี

แต่วันนี้ผู้คนยังคงหลั่งไหลมากราบไหว้ไม่ขาดสายตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่ว่าจะเป็นคนท้องถิ่นหรือนักท่องเที่ยว และเป็นเช่นนี้ทุกวัน

เมื่อถึงลานพระเจดีย์ พระเจดีย์สีทองอร่ามเรืองรองปรากฏอยู่เบื้องหน้า พวกเราได้ตรงเข้าไปทำบุญที่ซุ้มบริจาคบริเวณลานพระเจดีย์

พอเจ้าหน้าที่เห็นพวกเราควักสตางค์ ทั้งเงินจ๊าด เงินดอลลาร์ และเงินไทยออกมากองเต็มโต๊ะ เลยแนะนำให้เข้าไปบริจาคที่ห้องอำนวยการที่อยู่ข้างๆ


(ห้องวีไอพีนี้ พระอาจารย์เคยบริจาคค่าแผ่นทองคำแท้ 550 ดอลลาห์ เมื่อปี 2553)


(ภาพนี้ปี 2561 นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ได้ทำบุญบูรณะใหญ่อีกครั้งหนึ่ง)

...พวกเราตั้งใจจะทำบุญที่นี่เยอะเป็นพิเศษ เพราะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันดับ 1 ของพม่า ช่วงที่เราไป กำลังมีการบูรณะพระเจดีย์บริวารอยู่พอดี เลยเป็นโชค 2 ชั้นของคณะตามรอยพระพุทธบาทอีกแล้ว

ระหว่างรอบริจาคเงินอยู่ในห้องรับรองติดแอร์เย็นเจี๊ยบ เจ้าหน้าที่จัดเตรียมชากาแฟมาตอนรับ ยังมีคนรอบริจาคเงินก่อนหน้าเราประมาณ 2-3 คิว

คนที่มารอคิวที่ห้องนี้ ส่วนใหญ่จะบริจาคกันครั้งละมากๆ เจ้าหน้าที่ถึงให้รอในห้องรับรองพิเศษ

ระหว่างรอ เราก็นับเงินกันไปพลางๆ นับไปนับมาก็ไม่หมดสักที เดี๋ยวคนนั้นคนนี้เติมต่อยอดไปเรื่อยๆ เรียกว่า ทำเท่าไรก็ไม่อิ่ม

พระอาจารย์จึงเป็นผู้ปิดยอด รวมเป็นเงินบริจาคเพื่อบูรณะทุกอย่าง 400,000 จ๊าด กับอีก 500 ยูเอสดอลลาร์ และทำบุญค่าไฟฟ้าแสงสว่างอีก 100,000 จ๊าด

ถ้าคิดเป็นเงินจ๊าด รวมทั้งสิ้น 1,165,000 จ๊าด นับเป็นอันดับ 4 ของยอดเงินทำบุญอันดับที่สูงที่สุด โดยมีประธานสำนักงานที่รับผิดชอบดูแลพระเจดีย์ ได้ออกมารับมอบเงินด้วยตนเอง และมอบใบอนุโมทนาบัตรเป็นที่ระลึก

สำหรับพวกเราอะไรก็ไม่สำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับบุญที่ได้ทำในครั้งนี้ เป็นบุญใหญ่ที่จะตราตรึงใจต่อไปอีกนานแสนนาน สถานที่นี้จึงถูกจัดเป็นอันดับที่ 19 คือได้รับเกียรติอย่างสูงสุด


ประวัติพระเจดีย์ชเวดากอง


..ตามตำนาน พระเจดีย์แห่งนี้เป็นที่บรรจุบริขารของพระพุทธเจ้าในกัปนี้มาแล้ว 4 พระองค์ ดังนี้

- 1. ไม้เท้า ของสมเด็จพระกุกกุสันโธ
- 2. เครื่องกรองน้ำ ของสมเด็จพระโกนาคม
- 3. ผ้าจีวร ของสมเด็จพระพุทธกัสสป (ตำนานมอญ บอกว่า ผ้าอาบน้ำ)
- 4. พระเกศา 8 เส้น ของสมเด็จพระสมณโคดม

และในอนาคต เมื่อ "พระศรีอาริยเมตไตรย" เสด็จปรินิพพานไปแล้ว จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระศอ (คอ) และพระนลาฏ (หน้าผาก) มาบรรจุไว้ ณ ที่แห่งนี้ด้วย

ตามที่ทราบประวัติกันดีอยู่แล้วว่า พ่อค้าสองพี่น้องชาวมอญ ชื่อว่า "ตะปุสสะ" และ "ภัลลิกะ" เป็นผู้อัญเชิญพระเกศามาบรรจุไว้ที่พระเจดีย์ชเวดากอง

ตามตำนานมอญของแท้ดั้งเดิม เรียกว่า "พระเจดีย์เลียะเกิง" มีพี่น้องสองคนชื่อ 'ตะเปา" และ"ตะปอ" เดินทางมาจากอาณาจักรรามัญ "เมืองอสิตัญจนะ" (เมืองโอกลาปา) มีชื่อว่า "โบกขรวดี" ในหมู่บ้านเวียโกลง ทางทิศตะวันออกของเจดีย์เลียะเกิง

พ่อค้าสองพี่น้องได้ถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้า หลังจากที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว 49 วัน ครั้นพระองค์ได้เสวยแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนา จนพ่อค้าสองคนตั้งอยู่ในสรณคมน์ 2 คือ พระพุทธและพระธรรม นับเป็นอุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนา

แล้วพระองค์จึงประทานพระเกศาธาตุ 8 เส้น พร้อมตรัสสั่งให้พ่อค้าทั้งสองกับพระเจ้าโอกลาปานำไปบรรจุไว้บน "ภูเขาสิงฆุตตระ" ซึ่งเป็นสถานที่เคยบรรจุบริขารของพระพุทธเจ้าทั้งสามพระองค์ล่วงมาแล้ว

ขณะที่ประคองรับเอาพระเกศาทูนขึ้นไว้บนศีรษะนั้น พระรัศมีพุ่งออกมาแวววับ มีแสงสว่างรุ่งโรจน์ทั้งป่า แม้แต่แผ่นดินก็หวั่นไหว คลื่นลมในมหาสมุทรก็พัดแรง อันเป็นการบูชาด้วยความเคารพของบรรดาเทพพรหมทั้งหลาย ที่ได้แซ่ซ้องสาธุการถึง 3 ครั้ง

เมื่ออัญเชิญมาถึงภูเขาสิงฆุตตระ ก่อนจะบรรจุพระเกศาธาตุนั้น มีพิธีการสรงน้ำก่อน มนุษย์และเทวดามีความยินดีแซ่ซ้องสาธุการ

พระเกศาธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์ ลอยสูงไปในอากาศ แผ่พระรัศมีกระจายออกไปทั่วจักรวาล คนตาบอดก็มองเห็น คนหูหนวกก็ได้ยิน คนพิการก็หายเป็นปกติ แผ่นดินสะเทือนหวั่นไหว ฟ้าแลบแปลบปลาบ สายฝนโปรยปรายลงมาในขณะนั้น

พระเจ้าโอกลาปาและพระมเหสีมีพระทัยโสมนัสยินดี จึงได้ถอดมงกุฏและเครื่องประดับออกบูชา พร้อมด้วยมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ต่างก็บูชาด้วยสิ่งของมีค่าหาประมาณมิได้

หลังจากสรงน้ำแล้ว จึงบรรจุไว้ในอุโมงค์ แล้วสร้างพระเจดีย์ครอบไว้สูง 28 ศอก (บางแห่งว่า สูง 44 ศอก) ในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งปัจจุบันชาวมอญและพม่าได้ถือเป็นวันทำบุญประจำปี และเป็นเทศกาลเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

ประวัติบางแห่งเล่าว่า ได้สร้างพระเจดีย์บนเนิน "ดากอง" หรือ "ตะโก้ง" คำว่า "ชเว" แปลว่า "ทอง" ชาวพม่าจึงเรียกว่า "ชเวดากอง"

ตามประวัติบอกด้วยว่า ปิดด้วยแผ่นทองคำแท้แบบทองจังโก 8,688 แผ่น น้ำหนักรวม 2 ตัน ประดับเพชร 5,548 เม็ด พลอย นิล บุศราคัมอีก 2,317 เม็ด และมรกต ทั้งหมดประดับอยู่บนสุดเหนือฉัตรขนาดใหญ่ 10 เมตร ซึ่งประดับเพชรไว้ถึง 40,000 กว่าเม็ด รวม 70 กะรัต

พระเจดีย์แห่งนี้ได้รับการทะนุบำนุงมาโดยตลอด จนมาถึง พระยาอู่, พระเจ้าราชาธิราช, กษัตริย์เจาปู, พระนางเชงสอบู จนมาถึงสมัย พระเจ้าธรรมเจดีย์ ได้มีการต่อเติมจนมีความสูงทั้งหมด 326 ฟุต


ต่อมาในสมัยพระเจ้ามินดง ได้พระราชทานฉัตรใหม่ เมื่อปีพ.ศ.2415 แล้วทำพิธียกฉัตร 7 ชั้น สร้างด้วยทองคำหนัก 20,229 บาทเศษ อีกทั้งยังประดับด้วยมณีเพชรพลอย ที่พระองค์ได้บริจาคร่วมกับประชาชนชาวพม่า 36,411 เม็ด

ก่อนจะเสียเอกราชให้อังกฤษ ยังสามารถมองเห็นภายในพระเจดีย์ว่า บรรจุเครื่องบริขารของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ได้ โดยเฉพาะพระเกศาธาตุจะบรรจุไว้ในผอบทอง ประดิษฐานบนเรือสำเภาทอง สามารถลอยขึ้นลงตามน้ำได้ด้วย

จนมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าสีป่อ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า เห็นว่าไม่สามารถรักษาประเทศไว้ได้ จึงทรงมีรับสั่งให้ก่อปิดองค์พระเจดีย์ไม่ให้เห็นสิ่งของด้านใน

ทหารอังกฤษได้แอบขุดพระเจดีย์เพื่อหาทรัพย์สินสิ่งของมีค่า ชาวพม่าจึงรวมตัวกันเรียกร้อง พระราชินีอังกฤษจึงทรงมีรับสั่งให้คืนพระเจดีย์ชเวดากองคืนให้แก่ชาวพม่า หลังจากนั้นก็ได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่ และมีความสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


...หลังจากถวายเครื่องบูชาแล้ว พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้พาพวกเราเดินชมบริเวณรอบๆ เช่น พระเจดีย์ชเวดากองจำลอง สร้างด้วยทองคำหนัก 52 กิโลกรัม แล้วเข้าไปนมัสการ "พระเขี้ยวแก้ว" จำลอง ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ ภายในเต็มไปด้วยของเก่าแก่มีค่า ดูละลานตาไปหมด

มาดูบริเวณด้านนอกกันบ้าง มีสิ่งที่สะดุดตาก็คือ "พระเจดีย์ศรีมหาโพธิ์" เป็นพระเจดีย์สีเขียวอ่อน มีลักษณะแตกต่างจากเจดีย์อื่นๆ จำลองมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย

นอกจากนี้ยังมีต้นศรีมหาโพธิ์ 2 ต้น แยกหน่อมาจากต้นศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย และปลูกโดย อูนุ นายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่า

เก็บภาพความประทับใจมุมต่างๆ ได้ครบถ้วนแล้ว ก็ออกเดินทางไปต่อ พอดีมองจากมุมสูง เห็นพระเจดีย์องค์หนึ่งกำลังเข้าเฝือกอยู่ พระอาจารย์จึงให้แวะทำบุญ จะเป็นที่ไหนนั้น โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ…สวัสดีค่ะ


"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 4/8/18 at 15:14 Reply With Quote


[ ตอนที่ 32 ]
(Update 10 สิงหาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561


(วันที่ห้า) 18 มกราคม 2561 (หงสาวดี - ย่างกุ้ง)


(แห่งที่ 6) พระเจดีย์สุเล (Sule Pagoda) เมืองย่างกุ้ง (Yangon)

...ก่อนที่จะไปพระเจดีย์สุเล พี่คนขับรถตู้ได้พาพวกเราออกเดินทางจากพระเจดีย์ชเวดากองไปทางทิศใต้อีกเล็กน้อย เพื่อตามหาพระเจดีย์ที่กำลังเข้าเฝือก ที่เรามองเห็นจากด้านบนของพระเจดีย์ชเวดากอง

ทราบชื่อภายหลังว่า "พระเจดีย์มหาวิชะยะ" (วิช้ย) เนื่องจากเวลามีจำกัด จึงส่งตัวแทนวิ่งเข้าไปทำบุญบูรณะแบบด่วนจี๋ 100,000 จ๊าด


สถาปัตยกรรมภายในโถงพระเจดีย์สวยงามอลังการมาก เพดานเป็นภาพท้องฟ้า ผนังรอบๆ เป็นภาพพุทธประวัติ ตรงกลางประดิษฐานพระพุทธรูปพระพุทธเจ้า 8 พระองค์

ทำบุญเสร็จปุ๊บ..รีบกระโดดขึ้นรถไปกันต่อที่ "พระเจดีย์สุเล" (Sule Pagoda) เป็นพระเจดีย์รูปทรงแปดเหลี่ยมสีทองอร่าม มองเห็นเด่นมาแต่ไกล

ตำแหน่งของพระเจดีย์แห่งนี้ค่อนข้างจะแปลกอยู่สักหน่อย เพราะตั้งอยู่กลางวงเวียน รถราวิ่งกันขวักไขว่ เวลาข้ามถนน จึงต้องใช้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ

ก่อนจะเข้าไปด้านใน ต้องเสียค่าเข้าชมคนละ 4,000 จ๊าด สำหรับผู้ที่ต้องการมาแสวงบุญที่พม่า ควรจะเตรียมงบสำหรับค่าเข้าชมเผื่อไว้ด้วย เพราะดูจะเป็นธรรมเนียมของสถานที่หลายแห่ง โดยเฉพาะในตัวเมืองย่างกุ้งไปเสียแล้ว

มีผู้กล่าวไว้ว่า "หากพระเจดีย์ชเวดากอง คือจิตวิญญาณของคนพม่า พระเจดีย์สุเล ก็คือหัวใจของคนย่างกุ้ง"


ประวัติพระเจดีย์สุเล

...ตามตำนานมอญ พระเจดีย์แห่งนี้เคยเป็นปะรำพิธีที่ประดิษฐาน "พระเกศาธาตุ" ที่พ่อค้าสองพี่น้องชาวมอญอัญเชิญมา เพื่อบรรจุในพระเจดีย์ชเวดากอง

ด้วยเหตุที่เคยเป็นที่ตั้งของพระเกศาธาตุ จึงมีชื่อว่า "กยาดบู" มีอำมาตย์ผู้หนึ่ง ชื่อว่า "อสุกะ" ได้บรรจุพระเกศาธาตุไว้ 2 องค์ จึงเรียกว่า "เจดีย์อสุกะ"

ภายหลังอำมาตย์มอญชื่อ "สุระ" ได้มาบูรณะ จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "เจดีย์สุระ" ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น "พระเจดีย์สุเล"

บางตำนานบอกว่า สร้างเพื่ออุทิศให้แก่ "สุเลนัต" เทพของพม่า ซึ่งชาวพม่าเคารพนับถือ ในฐานะที่ข่วยปกป้องคุ้มครองแผ่นดิน ปัจจุบันบรรจุพระเกศาธาตุหนึ่งเส้น

เอาเป็นว่าจะบรรจุไว้กี่เส้นก็ตาม ถือว่าเป็น "พระเกศาธาตุ" แน่นอน ช่วงที่พวกเราไปถึง กำลังมีการเตรียมฉัตรใหม่ เพื่อรอเปลี่ยนในอีก 2 ปีข้างหน้า พระอาจารย์ชัยวัฒน์จึงร่วมทำบุญบูรณะและยกฉัตรใหม่ล่วงหน้า 50,000 จ๊าด และเงินไทยอีก 6,000 บาท

ทำบุญกันมาทั้งวันแล้ว รู้สึกว่า เวลาผ่านไปไวจริงๆ เรายังเหลือสถานที่สำคัญในย่างกุ้งอีกหนึ่งแห่ง ก่อนจะจบรายการของวันนี้

ก็ยังเป็นสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกับพระเจดีย์ชเวดากองอยู่ ติดตามได้ตอนต่อไปนะคะ สำหรับตอนนี้ขอลาไปก่อนค่ะ สวัสดีค่ะ


"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 5/8/18 at 06:34 Reply With Quote


[ ตอนที่ 33 ]
(Update 15 สิงหาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561


(วันที่ห้า) 18 มกราคม 2561 (หงสาวดี - ย่างกุ้ง)


(วันนี้ 7 แห่ง คือ 1.พระเจดีย์เมระมุ, 2.ไจ้คาซาน, 3.พระพุทธไสยาสน์เฉ้าทัตยี (พระนอนตาหวาน), 4.พระเจดีย์ชเวดอว์เมียต (พระเขี้ยวแก้วจากจีน), 5.ชเวดากอง, 6.สุเล, 7.โบตาทอง)


(แห่งที่ 7) พระเจดีย์โบตาทอง (Botataung Pagoda) ย่างกุ้ง (Yangon)


...ทำบุญกันมาทั้งวันแล้ว ปิดท้ายรายการกราบไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในย่างกุ้งกันที่ “พระเจดีย์โบตาทอง" หรือ "โบดาต่อง" ตามสำเนียงพม่า ก่อนเข้าไปข้างใน ต้องเสียค่าเข้าชมคนละ 6,000 จ๊าดกันเสียก่อนนะคะ

พระเจดีย์แห่งนี้เป็นแห่งเดียวที่สามารถเข้าไปกราบสักการะพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าได้ใกล้ชิดที่สุด ใจกลางพระเจดีย์ สามารถมองเห็นพระเกศาธาตุ บรรจุอยู่ในครอบแก้วใส มีแค่กระจกกั้นเท่านั้น

"โบตาทอง" แปลว่า นายพลหนึ่งพันนาย มีตำนานเกี่ยวเนื่องกับพระเจดีย์ชเวดากองดังนี้ค่ะ


ประวัติพระเจดีย์โบตาทอง


ในรัชสมัยของพระเจ้าโอกลาปาแห่งราชอาณาจักรมอญ พระองค์ได้เสด็จพร้อมเหล่าเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย (บางแห่งว่า มีนายพล 1,000 นาย)

เพื่อไปอัญเชิญ "พระเกศาธาตุ" ที่พ่อค้าสองพี่น้องชาวมอญ คือ "ตะปุสสะ" และ "ภัลลิกะ" อัญเชิญมาทางเรือ เพื่อนำไปบรรจุในพระมหาเจดีย์ชเวดากอง

สองพี่น้องได้อัญเชิญมาขึ้นฝั่งที่ "เมืองดากอง" หรือ "เมืองเลียะเกิง" พระไตรปิฎกเรียก "อุกกลชนบท" (อุกกะละชนบท) ปัจจุบันคือ "ย่างกุ้ง" หรือ "ตะโก้ง" นั่นเอง

ตำนานพระเจ้าเลียบโลก เรียกว่า "อุปลนคร" ส่วนพระเจ้าโอกลาปาอยู่ใน "เมืองธัญญวดีนคร" เป็นใหญ่กว่าเมืองทั้งหลาย

ในเวลานั้น มีชายแก่ชื่อ "เลียะถี" เป็นคนยากจน แต่มีศรัทธาแรงกล้า พยายามเบียดเสียดฝูงชนที่มาห้อมล้อมที่ท่าเรือ หวังจะเข้ามาบูชาพระเกศาธาตุ

พระเจ้าโอกลาปาทรงมีพระทัยเมตตา เห็นใจว่า "นายเลียะถี" มีความเลื่อมใสอย่างแท้จริง ไม่เสียดายชีวิตที่จะถูกลงอาชญา จึงตรัสอนุญาตให้เข้ามากระทำการบูชาได้

นายเลียะถีจึงเปลื้องผ้าห่มของตนเองออกมาบูชาพระเกศาธาตุ ทันใดนั้นเอง ด้วยอำนาจแห่งการบูชา พระเกศาธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์รัศมี 6 ประการ

สถานที่แห่งนี้ภายหลัง พระเจ้าโอกลาปาได้ให้สร้างพระเจดีย์องค์นี้ไว้เป็นอนุสรณ์ บรรจุพระเกศาธาตุไว้ 2 เส้น (บางแห่งว่า 1 เส้น) และขนานนามพระเจดีย์องค์นี้ว่า "เจดีย์เลียะถีอัด"

ภายหลังเพี้ยนไปเป็น "กยาด-เต-ออบ" ปัจจุบันนี้เรียกว่า "พระเจดีย์โบตาทอง" แปลว่า นายพล 1,000 นาย ที่ไปรอรับพระเกศาธาตุคราวนั้น

ต่อมาพระเจดีย์ถูกระเบิดจากฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อปีพ.ศ.2486 ได้พบพระเกศาธาตุและพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งพระเจ้าอลองสินธุ พยายามจะนำมาจากจีน แต่ไม่สำเร็จ

ต่อมาภายหลัง รัฐบาลจีนจึงได้คืนให้แก่ชาวพม่า เมื่อพระเจดีย์โบดาตองบูรณะเสร็จในปีพ.ศ.2496 ได้มีการอัญเชิญพระเกศาธาตุมาประดิษฐานไว้ตรงใจกลางพระเจดีย์ อยู่ในครอบแก้วใส สามารถกราบสักการะได้อย่างใกล้ชิดมากๆ ค่ะ


เมื่อเข้าไปในพระเจดีย์ จะมีช่องทางเดินซิกแซกคล้ายเขาวงกต ฝาผนังภายในทำด้วยทองเหลืองอร่ามมีลวดลายแกะสลักงดงามมาก

ระหว่างทางเดินมีวัตถุโบราณมีค่าจัดแสดงอยู่ในตู้กระจก มีลูกกรงเหล็กกั้นอีกชั้นหนึ่ง พวกเราเดินชมกันเพลิน ด้วยความตื่นตาตื่นใจ และนึกชื่นชมคนพม่าที่รักษาสิ่งของมีค่าแต่โบราณไว้อย่างดียิ่ง

ด้านซ้ายมือของพระเจดีย์ จะมีรูปปั้น "เทพเจ้าทันใจ" หรือ นัตโบโบยี (Bo Bo Gyi) ยืนชี้นิ้ว ตามประวัติของพม่าเล่าว่า เทวดาองค์นี้ เป็นผู้ชี้บอกสถานที่สร้างพระเจดีย์ (ชเวดากอง) ที่ภูเขาสิงฆุตตระ

พระเจดีย์นี้อยู่ใกล้ท่าเรือปากแม่น้ำย่างกุ้ง สำหรับพี่ไทยเรานิยมไปกราบไหว้เทพทันใจองค์นี้ เพราะเชื่อว่า อธิษฐานสิ่งใด แล้วจะสมหวังรวดเร็วทันใจดังจรวดค่ะ

ช่วงที่ไปเป็นความโชคดีของพวกเราพอดีที่พระเจดีย์กำลังมีการบูรณะครั้งใหญ่ พระอาจารย์ชัยวัฒน์จึงร่วมบุญบูรณะ 100,000 จ๊าด เงินไทย 5,000 บาท และเงินยูเอสดอลลาร์อีก 100 ดอลลาร์ และทำบุญค่าไฟฟ้า 20,000 จ๊าด

พอทำบุญเสร็จ ฟ้าก็มืดแล้ว ต้องไปหาร้านอาหารเพื่อฝากท้องในย่างกุ้ง คืนนี้เราจะพักกันในเมืองหลวง เพื่อเตรียมตัวออกเดินทางไป "เมืองแปร" แต่เช้าตรู่พรุ่งนี้

สรุปว่าวันนี้เราได้กราบไหว้สถานที่สำคัญในเมืองย่างกุ้งกันทั้งหมด 7+1 แห่ง (รวมกับพระเจดีย์มหาวิชะยะด้วย) บุญมีหลากหลาย มีทั้งพระเจดีย์ พระพุทธรูป และพระเขี้ยวแก้ว

และยังได้ไปช่วงที่มีการบูรณะพอดี เลยได้ทำบุญกันเต็มที่ คนที่ร่วมทำบุญกับพระอาจารย์ ถึงไม่ได้มาเอง ก็ได้บุญครบถ้วนเช่นเดียวกันค่ะ

สำหรับพรุ่งนี้เราจะไป "เมืองแปร" กันค่ะ มีเรื่องราวดีๆ และเกร็ดความรู้มาเล่าให้ฟังอีกเช่นเคย แล้วพบกันตอนต่อไปนะคะ...สวัสดีค่ะ


"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 10/8/18 at 15:41 Reply With Quote


[ ตอนที่ 34 ]
(Update 20 สิงหาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่หก) 19 มกราคม 2561 (หงสาวดี - ย่างกุ้ง - แปร)

(แห่งที่ 1) พระเจดีย์ชเวนัตต่อง (Shwe Nat Taung Pagoda) เมืองแปร (Pyay) (พบใหม่)

...เช้าวันนี้ (19 มกราคม 2561) ย่างเข้าสู่ (วันที่หก) ของการเดินทางแสวงบุญบนแผ่นดินพม่า หลังจากพักผ่อนนอนหลับกันเต็มที่ไปเมื่อคืน

พวกเราก็ออกเดินทางตั้งแต่ฟ้ายังไม่สาง พร้อมพกเสบียงอาหารจากโรงแรมไปด้วย เพื่อหลีกหนีรถติดในเมืองหลวง มุ่งหน้าไปยังเมืองแปร ซึ่งอยู่ห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราวๆ 260 กิโลเมตร

สำหรับคนชอบอ่านนวนิยายเก่าๆ อาจจะคุ้นชื่อ "เมืองแปร" จากเรื่องผู้ชนะสิบทิศกันอยู่บ้าง วันนี้เราจะพาท่านผู้อ่านไปสัมผัสเมืองแปรอย่างใกล้ชิดค่ะ

"เมืองแปร" (Pyay) หรือ "ปยี" ในภาษาพม่า อยู่ในเขตหงสาวดี มีทำเลที่ตั้งบนที่ราบลุ่มปากแม่น้ำอิรวดี

ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีเกษตร (Srikshetra) ของ "ชาวพยู" ชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของพม่า

คัมภีร์ศาสนวงศ์เล่าไว้ว่า เมื่อปีพ.ศ.101 ท่านทั้งเจ็ด อันประกอบด้วย ท่านชฎิล, ท้าวสักกะ, พญานาค, พญาครุฑ, ท้าวกุมภัณฑ์, เจ้าแม่จันที และพระเป็นเจ้าปรเมศวร เป็นผู้สร้างนครศรีเกษตร


สถานที่สำคัญในเมืองแปรมีหลายแห่ง แต่จุดแรกที่เราจะไปวันนี้ ก็คือ "พระเจดีย์ชเวนัตต่อง" (Shwe Nat Taung Pagoda) บ้างก็เรียก "ชเวต่อง" (Shwe Taung) ตั้งอยู่บนเนินเขาชเวต่อง บรรจุพระเกศาธาตุค่ะ

พระอาจารย์ชัยวัฒน์เพิ่งเคยมาที่นี่เป็นครั้งแรก พร้อมๆ กับพวกเราเช่นกัน จึงลงบันทึกไว้ว่า เป็นสถานที่พบใหม่

สาเหตุที่มีชื่อว่า "ชเวนัตต่อง" นั้น เป็นเพราะมีตำนานว่า มีเทวดามาช่วยสร้าง คำว่า "นัต" (Nats) ในภาษาพม่านั้น หมายถึง "ผี" หรือ "เทวดา" เวลาจัดงานประจำปี (ดูวีดีโอของพม่า) ทีไร ปรากฏว่ามีคนมากันมากกว่าที่อื่น

ภาพวาดที่ติดรายรอบศาลา ดูจะยืนยันตำนานนี้ให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คนขับรถตู้ของเราเล่าเพิ่มเติมว่า กษัตริย์พม่าได้มีพระราชโองการให้สร้างพระเจดีย์แห่งนี้

ตอนกลางวันประชาชนได้มาช่วยกันสร้าง เทวดาท่านอยากได้บุญบ้าง เลยมาช่วยสร้างตอนกลางคืน เวลาที่คนนอนหลับพักผ่อน การก่อสร้างจึงรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

ส่วนคำว่า "ชเวต่อง" หมายถึง "ภูเขาทอง" (Golden Hill) น่าจะเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งที่ตั้งอยู่บนเนินเขาก็เป็นได้

ตอนพระอาจารย์ชัยวัฒน์ลงจากรถ มีลมเย็นพัดมาวูบใหญ่จนรู้สึกได้ แล้วได้ยินเสียงดังปัง เหมือนมีของตกลงบนหลังคาสังกะสี แต่แหงนไปดูก็ไม่เห็นมีอะไรตกหล่น

ในบริเวณวัดยังมีพระพุทธรูปทำด้วยหินอ่อน มีพระพักตร์งดงามเปี่ยมด้วยความเมตตา ตั้งเรียงกันเป็นหมู่ดูสวยงาม และมีพระประธานที่มีลักษณะงดงามเช่นเดียวกัน

ระหว่างที่พี่ๆ ผู้ชายขึ้นไปห่มผ้าทองพระประธานอยู่นั้น ก็มีลมพัดมาค่อนข้างแรงจนผ้าปลิวสไวอยู่ตลอดเวลา

พระอาจารย์ได้นำเงินกองกลางร่วมทำบุญบูรณะ 50,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 20,000 จ๊าด จากนั้นได้ออกเดินทางไปต่อ ตามโปรแกรมเป็น "พระพุทธรูปแว่นทอง" (Shwemyetman Buddha Image) ค่ะ

แต่ระหว่างทางก็มาเจอบุญใหญ่แบบไม่คาดฝันอีกแล้ว เมื่อมีคนตาดีเหลือบไปเห็นพระเจดีย์องค์น้อยกำลังเข้าเฝือกอยู่ข้างทาง

พระอาจารย์จึงให้เลี้ยวเข้าไปทำบุญ เมื่อไปถึง ก็มีพระองค์หนึ่งยืนรออยู่ที่หน้าประตูทางเข้า เหมือนท่านรอเราอยู่

ท่านพาเข้าไปดูข้างใน และเล่าว่า กำลังขึ้นนั่งร้าน เพื่อเตรียมจะบูรณะพระเจดีย์และซ่อมแซมฉัตรใหม่ โดยจะทำใหม่ทั้งหมด โดยฉัตรใหม่นี้จะมีลูกแก้วอยู่บนยอดฉัตรด้วย

พวกเรามาได้เวลาประจวบเหมาะพอดี เลยได้เปิดประเดิมบุญเป็นคณะแรก อย่างนี้สินะที่เค้าเรียกว่า "บุญจัดสรร"

พระอาจารย์ร่วมบุญบูรณะพระเจดีย์และยกฉัตรใหม่เป็นเงิน 100,000 จ๊าด ทราบชื่อพระเจดีย์ภายหลังว่า ชื่อ "นิปปานช่อกอ"

เก็บเกี่ยวบุญกันเรียบร้อยแล้ว ก็เดินทางไปต่อค่ะ ตอนหน้าจะพาไปกราบ "พระพุทธรูปแว่นทอง" อันโด่งดังแห่งเมืองแปร ห้ามพลาดนะคะ สวัสดีค่ะ


"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 15/8/18 at 10:27 Reply With Quote


[ ตอนที่ 35 ]
(Update 25 สิงหาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่หก) 19 มกราคม 2561 (หงสาวดี - ย่างกุ้ง - แปร)

(แห่งที่ 2) พระพุทธรูปแว่นทองชเวเมี้ยตมัน (Shwe Myet Man Buddha Image) เมืองแปร (Pyay)

"...หลังจากแวะทำบุญระหว่างทางเรียบร้อยแล้ว เราก็มาถึง "วัดชเวเมี้ยตมัน" (Shwe Myet Man Pagoda) ซึ่งยังอยู่ในเขตอำเภอ shwedaung แห่งเมืองแปร

นอกจาก "พระเจดีย์ชเวนัตต่อง" (Shwenattaung) แล้ว ยังมีสถานที่ประดิษฐาน "พระพุทธรูปแว่นทอง" หนึ่งเดียวในโลก และยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงอันดับหนึ่งของเมืองแปรอีกด้วย

พระพุทธรูปองค์นี้สร้างมาเกือบ 2,000 ปีแล้ว ที่น่าอัศจรรย์ก็คือ ถ้าถอดแว่นแล้ว น้ำพระเนตรจะไหล ภายในวิหารจะมีแว่นตาสีทองเก่าๆ อยู่ในตู้โชว์ เป็นแว่นที่อังกฤษสร้างให้

แต่ที่ใส่ในปัจจุบัน ชาวพม่าได้ร่วมกันสร้าง แล้วอธิษฐานให้หายจากโรคตา คนที่นี่เลื่อมใสศรัทธากันมาก มีคนมากราบไหว้ขอพรกันไม่ขาดสาย

พระอาจารย์ชัยวัฒน์มาที่นี่เป็นครั้งที่สามแล้ว ตอนมาครั้งที่แล้วได้มาร่วมบุญสร้างแว่นตาใหม่ถวายด้วย ขอกราบโมทนาบุญกับพระอาจารย์ย้อนหลังด้วยนะเจ้าคะ

การมาครั้งนี้ได้ร่วมทำบุญบูรณะ 20,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 10,000 จ๊าด ขอเชิญทุกท่านโมทนาร่วมกันนะคะ


ประวัติพระพุทธรูปแว่นทอง


...ท่านผู้อ่านคงอยากทราบแล้วใช่มั้ยคะว่า ทำไมพระพุทธรูปถึงต้องใส่แว่น ตามที่ปรากฏในพงศาวดารพม่าเล่าว่า

ในขณะที่ "พระเจ้าวิฑูฑภะ" ไล่ฆ่าพวกศากยะที่กรุงกบิลพัสดุ์ มีเจ้าชายองค์หนึ่ง มีพระนามว่า "ธรรมราช" ได้เสด็จหนีมาตั้งราชธานีอยู่เหนือเมืองสกาย เมืองอมรปุระ เขตมัณฑเลย์

แล้วได้หญิงสาวชาวพยูมาเป็นชายา ต่อมามีพระโอรส 2 องค์ แต่พระเนตรบอดตั้งแต่กำเนิด

พระราชาเกิดความอับอายจึงสั่งฆ่าทารกทั้งสอง แต่พระชายาได้นำไปซ่อนไว้ จนอายุได้ 16 ปี พระสวามีพอรู้ว่า พระโอรสยังมีชีวิตอยู่ จึงให้นำไปลอยแพ แต่พระมารดาก็แอบเอาอาหารไปไว้ในแพ

ต่อมามีหญิงชาวบ้านป่าลอบขึ้นมาขโมยอาหารของเจ้าชายเป็นประจำ และวันหนึ่งถูกจับได้ เจ้าชายจึงคิดจะฆ่าหญิงผู้นี้เสีย

แต่หญิงสาวได้ขอร้องไม่ให้ฆ่า และบอกว่า จะรักษาดวงตาให้ จนเจ้าชายทั้งสองหายเป็นปกติ

เจ้าชายได้ขึ้นฝั่งใกล้ๆ กับเมืองแปร ต่อมาได้พบกับพระฤาษีที่เป็นน้องชายของพระเจ้าธรรมราช ซึ่งก็มีศักดิ์เป็นอาแท้ๆ ของเจ้าชายทั้งสองนั่นเอง

พระฤาษีจึงสร้าง "เมืองศรีเกษตร" (Srikshetra) ให้คนพี่แต่งงานกับลูกสาวบุญธรรมชื่อ "บีดายี" ส่วนคนน้องให้แต่งกับสาวชาวป่าที่รักษาดวงตาให้

เมื่อพี่ชายตายไป น้องชายขึ้นครองราชย์แทน หญิงสาวชาวป่าไม่สามารถขึ้นเป็นมเหสีได้ เพราะเป็นสามัญชน น้องชายจึงแต่งตั้งพี่สะไภ้ขึ้นเป็นมเหสีแทน

หญิงสาวเสียใจจึงหอบลูกสาวของตนเองหนีไปตั้งเมืองใหม่ แล้วให้ธิดาชื่อว่า "ซองปา" ครองเมืองวิษณุ มีพระวิษณุคอยคุ้มครอง จึงมีขื่อว่า "เจ้าหญิงวิษณุ"

ต่อมาเมืองศรีเกษตรมีเจ้าชาย Duttabaung (ต้นราชวงศ์อาณาจักรศรีเกษตร) ผู้เป็นลูกกษัตริย์องค์พี่ขึ้นครองแทน หลังจากพระเจ้าอาตายไป

เจ้าชายได้ยกทัพไปตีเมืองวิษณุ แล้วเอาเจ้าหญิงมาเป็นชายา เจ้าหญิงจึงแกล้งทำดีให้เจ้าชายตายใจ วันหนึ่งนางแอบเอายาพิษใส่ในผ้าเช็ดหน้าให้เจ้าชายเช็ดหน้า ทำให้ดวงตาสองข้างบอดทันที

แต่เจ้าชายมิได้ถือโกรธ ทรงให้อภัยทุกอย่าง เจ้าหญิงจึงอธิษฐานว่า หากรักษาดวงตาของสามีหาย ก็จะสร้างพระพุทธรูป โดยนำดวงตาของตนเองบรรจุลงในพระพุทธรูปนั้น

ต่อมาก็สามารถรักษาดวงตาของเจ้าชายให้หายได้ เจ้าหญิงจึงสร้างพระและสั่งให้ช่างนำดวงตาของพระนางใส่ไว้ในพระพุทธรูป

แต่ข้าราชบริพารไม่ยอม จึงแอบทำแก้วตาดวงใหญ่สองดวง ซึ่งเป็นดวงแก้วใส่ลงไปแทน โดยทำให้เจ้าหญิงสลบไปเสียก่อน เมื่อฟื้นขึ้นมา ก็คิดว่าเป็นดวงตาของพระนางเองที่อยู่ในพระพุทธรูปองค์นี้

ชาวพม่าจึงมีความเชื่อว่า ตนเองมาจาก "ศากยวงศ์" คำว่า "พม่า" มาจาก "พรหม" หรือ "พรหมา" ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น "พม่า" ชาวศากยวงศ์จึงนับถือพระพรหมมาก แล้วยังมี "นกยูง" เป็นสัญลักษณ์อีกด้วย


...สำหรับเรื่องราวในพงศาวดารก็มีเพียงแค่นี้ ถ้ามีโอกาสมาเมืองแปร ก็อยากเชิญชวนท่านผู้อ่านไปกราบสักการะท่านสักครั้ง

ถ้าป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตา ก็มาตั้งจิตอธิษฐานขอบารมีท่านให้หายจากโรคได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องไม่เกินกฏแห่งกรรมนะคะ

สำหรับตอนหน้าจะมีบุญใหญ่มาฝากอีกเช่นเคย ต้องขอบอกว่าใหญ่จริงๆ ค่ะ ติดตามได้ในตอนต่อไปนะคะ...สวัสดีค่ะ


"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 20/8/18 at 13:57 Reply With Quote


[ ตอนที่ 36 ]
(Update 30 สิงหาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่หก) 19 มกราคม 2561 (หงสาวดี - ย่างกุ้ง - แปร)

(แห่งที่ 3) พระเจดีย์บอบอยี (Baw Baw Gyi Stupa) ศรีเกษตร (Srikshetra) เมืองแปร (Pyay) (พบใหม่)

"...แม้ว่าเราจะมีเวลาช่วงสั้นๆ อยู่ในเมืองแปร แต่ One Day Trip in Pyay ในวันนี้ได้ผ่านไปอย่างคุ้มค่า

ต้องกราบขอบพระคุณพระอาจารย์ชัยวัฒน์เป็นอย่างสูง ที่ท่านเมตตาจัดโปรแกรมให้พวกเราได้ไปกราบไหว้สถานที่สำคัญต่างๆ ได้ครบถ้วน

โดยใช้ Google Map เป็นตัวช่วย ประกอบกับมีคนขับรถตู้ที่เป็นมืออาชีพถึงสองคน การเดินทางจึงผ่านพ้นไปด้วยดี

แรกเริ่มเดิมที "พระเจดีย์บอบอยี" แห่งนี้ไม่ได้อยู่ในรายการ จะเป็นความบังเอิญหรือบุญจัดสรรอย่างไรก็แล้วแต่ ที่ทำให้เราไปถึงที่นั่นแบบไม่คาดคิดมาก่อน

อย่างที่เล่าไปเมื่อตอนที่แล้ว ยังจำกันได้อยู่ไหมคะ "เมืองแปร" เดิมเป็นที่ตั้งของ "อาณาจักรศรีเกษตร"

เมื่อได้มาเยือนถึงถิ่นทั้งที เราก็ไม่พลาดที่จะไปดูร่องรอยอารยธรรมโบราณของเมืองศรีเกษตร (Srikshetra) อันรุ่งเรืองเมื่อ 2,000 กว่าปีก่อน

รถตู้สองคันขับตามกันไปบนทางลูกรัง มองหาป้ายบอกทาง ก็ไม่ค่อยจะเจอ ขับไปสักพักก็รู้สึกว่า น่าจะมาผิดทาง เพราะเชื่อ GPS

ขับวนไปเวียนมาอยู่แบบนั้นสักพักใหญ่ ก็มาเจอพระเจดีย์องค์ใหญ่เบิ้ม กำลังขึ้นโครงนั่งร้าน เพื่อซ่อมแซม

หรือที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์มักจะเรียกว่า "พระเจดีย์เข้าเฝือก" สถานที่แห่งนี้พระอาจารย์เพิ่งได้มาเป็นครั้งแรกเช่นกัน เลยลงในบัญชีว่า "พบใหม่"

พระเจดีย์นี้ต่างจากพระเจดีย์ส่วนใหญ่ที่เราไปกราบไหว้กันมา เพราะได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพเดิมๆ

ไม่ต่างจากในอดีตเมื่อแรกสร้างในสมัยพระเจ้า Duttabaung ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศรีเกษตร เมื่อพันกว่าปีก่อน


"พระเจดีย์บอบอยี" เป็นหนึ่งในเก้าพระเจดีย์ที่พระองค์ทรงสร้าง เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มองไกลๆ ดูคล้ายกองฟาง

จึงเป็นพระเจดีย์แบบพม่าแท้ และมีความเก่าแก่เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นเหมือนต้นแบบให้กับเจดีย์ในกลุ่มเจดีย์แบบพม่าแท้ในยุคถัดมา (พุกาม)

สันนิษฐานว่า น่าจะได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย สังเกตว่า ที่นี่จะเรียกว่า "สถูป" (Stupa) คล้ายกับในอินเดีย ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสามพระเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองแปร

นับเป็นโบราณสถานแห่งแรกของเมียนมาร์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดย Unessco ในปี 2014


ประวัติอาณาจักรศรีเกษตร


...ขอเล่าประวัติความเป็นมาของอาณาจักรปยูอย่างสั้นๆ นะคะ เดิมชาวปยู (Pyu) บ้างก็เรียก "พยู" ตั้งถิ่นฐานมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองแปร และเรียกอาณาจักรของตัวเองว่า "ศรีเกษตร"

อยู่แถบลุ่มน้ำอิรวดี เป็นชนชาติที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนขาวพม่าดั้งเดิม บางตำราก็ว่า ชนชาติพยู ก็คือ ชาวพม่าแท้ๆ 100%

สิ่งปลูกสร้างต่างๆ รวมทั้งภาษา ศิลปะ ศาสนา และสถาปัตยกรรมล้วนได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังมีร่องรอยของเมืองโบราณใกล้เคียง

อย่างเมืองเปียทะโนมโย และเมืองหะลินยี ทั้ง 3 เมืองถูกรวมกันขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งแรกของพม่าโดยยูเนสโก ขื่อว่า "กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู" (Pyu Ancient Cities)

ซึ่งเป็นที่ๆ เรามากันวันนี้นั่นเอง ปัจจุบันภาพความยิ่งใหญ่ในอดีตเหลือเพียงความทรงจำให้เห็นผ่านซากปรักหักพังของพระเจดีย์ กำแพงเมือง และสุสานโบราณ

อาณาจักรนี้มีอำนาจปกครองเกือบตลอดแหลมมลายู จนใน พ.ศ. 651 พวกมอญทางใต้ ได้ยกทัพเข้ามารุกราน และอาณาจักรนี้ก็เริ่มเสื่อมลง

จนใน พ.ศ. 1375 อาณาจักรน่านเจ้า ก็ยกทัพลงมาทำลายลงโดยสิ้นเชิง หลังจากนั้นก็ตกอยู่ในอำนาจของชนชาติพม่า เมื่อพระเจ้าอโนรธามังช่อ ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม ทรงแผ่พระราชอำนาจเข้ามาแทนที่

ทำให้เห็นกฏธรรมดา "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" เก็บไว้เตือนตนเอง อาณาจักรศรีเกษตรที่เคยรุ่งเรืองในอดีต ก็มิอาจหนีกฏธรรมดานี้ได้เช่นกัน


บุญบังเอิญ

...ช่วงที่พวกเราไปถึงเป็นช่วงบ่าย แดดค่อนข้างแรงทีเดียว พอเห็นพระเจดีย์กำลังเข้าเฝือกอยู่ จิตใจก็เริ่มกระชุ่มกระชวย

ด้วยหวังว่า จะได้มีโอกาสร่วมซ่อมพระเจดีย์ แต่ก็ไม่เห็นทางว่า จะทำบุญอย่างไร เพราะไม่ใช่ศาสนสถานอย่างที่อื่น

แต่โชคดีที่จะได้ทำบุญซะอย่าง อะไรก็ฉุดไม่อยู่ เป็นเรื่องบังเอิญว่า ตอนที่เราไปถึง ได้เจอกับ Mr. Kyaw Myo Win รองผู้อำนวยการกรมโบราณคดีของพม่า ที่มาตรวจงานอยู่พอดี เรื่องราวเลยลงตัว

ท่านกำลังจะไปประชุมกับยูเนสโกที่ย่างกุ้งในวันรุ่งขึ้น เพื่อรายงานความคืบหน้าการซ่อมแซมพระเจดีย์ คณะจึงร่วมบุญซ่อมแซม 120,000 จ๊าด

ทางท่านรองผอ.ก็ดูจะปิติที่ได้เจอคณะเรา เรื่องราวจึงจบลงอย่างแฮ๊ปปี้ เอ็นดิ้ง ปลาบปลื้มใจกันทุกฝ่าย ก่อนจากกันท่านยังถามว่า พักที่ไหน ท่านจะให้คนนำใบโมทนาบัตรไปให้ นับว่า ท่านมีอัธยาศัยใจคอดีมากๆ

เลยทำให้รู้ว่า สาเหตุที่ต้องไปขับรถวนหลงทางเสียเวลาอยู่ตั้งนาน เพราะถ้าเราไปถึงเร็วกว่านี้ ก็จะไม่เจอท่าน และเราก็จะไม่ได้ทำบุญนั่นเอง

ก่อนกลับพระอาจารย์ได้เรียกคนงานที่กำลังซ่อมพระเจดีย์มารับเงินเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจคนละ 3,000 จ๊าด พวกเขาดูจะงงๆ แต่ก็ดีใจ ยิ้มแย้มหน้าบานกันไป ที่จู่ๆ ก็มีโชคลาภอย่างไม่คาดฝัน

One Day Trip ในเมืองแปรยังไม่จบแค่นี้ สถานที่ต่อไปในเมืองแปร เราจะไปที่ไหนกัน โปรดติดตามได้ในตอนหน้านะคะ...สวัสดีค่ะ


"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 25/8/18 at 09:58 Reply With Quote


[ ตอนที่ 37 ]
(Update 5 กันยายน 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่หก) 19 มกราคม 2561 (หงสาวดี - ย่างกุ้ง - แปร)


(วันนี้ 4 แห่ง คือ 1.พระเจดีย์ชเวนัตต่อง 2.พระพุทธรูปแว่นทอง 3.พระเจดีย์บอบอยี 4.พระเจดีย์ชเวซานดอว์)

(แห่งที่ 4) พระเจดีย์ชเวซานดอว์ (Shwesandaw Pagoda), พระพุทธรูปเซทัตจี (Sehtatgyi Buddha Image) เมืองแปร (Pyay)

"...วันนี้ปิดท้ายที่อยู่ใจกลางเมืองคือ "พระเจดีย์ชเวซานดอว์" และ "พระพุทธรูปเซทัตจี" ที่อยู่ใกล้กัน

หากท่านผู้อ่านได้มีโอกาสไปเยือนเมืองแปร ต้องไม่พลาดที่จะไปกราบ "พระเจดีย์ชเวซานดอว์" สถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองตั้งแต่สมัยพุทธกาล

สำหรับ "เมืองแปร" ชาวไทยยังจำได้ดี เพราะในประวัติศาสตร์ "พระเจ้าแปร" ได้กรีทาทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา ขณะทำสงครามยุทธหัตถีกัน ได้ฟันถูกพระสุริโยทัยขาดสะพายแล่งบนคอช้างนั้น

ส่วนคำว่า "ชเวซานดอว์" หมายถึง พระเจดีย์ที่บรรจุ "พระเกศาธาตุ" ทองคำ (Golden Hair Pagoda) แต่ทางตอนใต้ของพม่า ชาวมอญจะเรียกกันว่า "ซานดอว์เซน" (Santawshin) ส่วนภาษาอังกฤษเรียกว่า "Buddha Hair Relic"

ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมจึงมีชื่อซ้ำกันหลายแห่ง หากเห็นคำว่า "ชเวซานดอว์" ที่ไหน แสดงว่า สถานที่นั้นมี "พระเกศาธาตุ" บรรจุอยู่

พระเจดีย์ชเวซานดอว์ ในพม่านั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 แห่ง ที่เมืองแปร, ตองอู, พุกาม และย่างกุ้ง ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้วางโปรแกรมให้พวกเราได้ไปกราบครบถ้วนทุกแห่ง ดังจะเล่าในตอนต่อๆ ไปค่ะ


ประวัติพระเจดีย์ชเวซานดอว์


...สำหรับ "ชเวซานดอว์" ที่เมืองแปรนี้ บรรจุพระเกศาธาตุ 4 เส้น ตาม "ตำนานพระเจ้าเลียบโลก" พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเชียงแสน ได้ผ่านที่ย่างกุ้ง แล้วมาที่เมืองแปร

ก่อนที่จะเสด็จสู่กรุงราชคฤห์ พระพุทธองค์ได้ประทาน "พระเกศาธาตุ" ให้บรรจุไว้ ทุกๆ ปีจะมีงานล้างชะตา คล้ายกับการสะเดาะเคราะห์ของคนไทย จะมีการจุดไฟรอบๆ พระเจดีย์ คนจะเอาไม้โยนใส่ลงในเตาไฟ ถือว่า ชีวิตเก่าไปแล้ว ชีวิตใหม่จะคืนมา

พระเจดีย์แห่งนี้จะพิเศษกว่าที่อื่นๆ ตรงที่มีฉัตรถึงสองชั้น แสดงถึงความเลื่อมใสของชาวพม่าและชาวมอญ ชั้นล่างจะเป็นฉัตรของชาวมอญที่สร้างไว้ก่อน

ส่วนด้านบนจะเป็นฉัตรของชาวพม่า จะมีขนาดเล็กกว่า ว่ากันว่า "พระเจ้าอลองพญา" ต้องการแสดงพระราขอำนาจเหนือกษัตริย์มอญ หลังจากรบชนะพวกมอญ จึงสร้างฉัตรใหม่ซ้อนอีกชั้นให้อยู่เหนือกว่า ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ ค่ะ

ตามประวัติพระเจดีย์แห่งนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ.1132 หรือประมาณ 1,400 กว่าปีที่แล้ว และได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้า Duttabaung ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีเกษตร ลักษณะพระเจดีย์จะเป็นทรงระฆังคว่ำตามแบบมอญแท้ๆ



...ปัจจุบันมีความสูงรวมฐาน 39 เมตร เมื่อรวมกับความสูงของเนินเขา ว่ากันว่าชนะชเวดากองอยู่ 1 เมตร เพราะชเวดากองก็ตั้งอยู่บนเนินเขาเช่นเดียวกัน แต่ที่นี่จะมีนักท่องเที่ยวน้อยกว่า และคนไทยไม่นิยมมาเที่ยวที่นี่มากนัก

ตอนที่พวกเราไปถึงเป็นเวลาบ่ายคล้อย ยังดีที่ทันแสงสุดท้าย ก่อนพระอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้า พวกเราจึงแวะทำบุญกันก่อน เนื่องจากยังไม่มีบูรณะใหญ่ จึงนำเงินกองกลางทำบุญบูรณะล่วงหน้า 50,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 20,000 จ๊าด

พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้เล่าประวัติย่อๆ ให้พวกเราฟัง หลังจากนั้นกล่าวนำถวายเครื่องบูชา ระหว่างเดินชมรอบๆ พระเจดีย์ ก็เจอกับคณะพระพม่าที่มาทำบุญ

มีพี่ผู้หญิงพอพูดไทยได้นิดหน่อย เลยทราบว่า ท่านกำลังสร้างวัด เลยรวบรวมปัจจัยทำบุญกับท่าน เป็นบุญด่วนฉับพลันทันใจอีกแล้วค่ะ

หลังจากนั้นได้แวะกราบ "พระเขี้ยวแก้ว" องค์จำลอง ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารด้านทิศใต้ แม้จะเป็นองค์จำลอง แต่ก็มีผู้นับถือศรัทธากันมาก


เนื่องจากพระเขี้ยวแก้วองค์นี้ได้รับการอัญเชิญไปวางไว้เคียงข้างพระเขี้ยวแก้วแห่งเมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา เชื่อกันว่า พลังพุทธานุภาพได้แผ่มาถึงพระเขี้ยวแก้วองค์นี้ด้วย

ปกติจะเปิดให้คนเข้าสักการะในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมของทุกปี และทุกๆ 3 ปีก็จะมีการอัญเชิญแห่รอบๆ เมือง นับเป็นงานใหญ่ของเมืองแปรเลยทีเดียว

ช่วงที่เราไปเป็นเดือนมกราคม จึงไม่มีโอกาสเห็นองค์จริง จึงได้แต่น้อมจิตกราบผ่านลูกกรงเหล็กที่ล็อคกุญแจอย่างแน่นหนา

หลังจากนั้น จึงเดินออกมาถ่ายรูปกัน ได้เห็นพระนั่งองค์ใหญ่สีทอง กำลังอยู่ระหว่างการบูรณะ หันพระพักตร์มาทางพระเจดีย์ มีชื่อว่า "พระพุทธรูปเซดอจี" อันมีชื่อเสียงแห่งเมืองแปร

พระอาจารย์ชัยวัฒน์เลยให้ "พี่เจ" แวะนำปัจจัยไปร่วมบูรณะ 110,000 จ๊าด จึงเป็นบุญใหญ่ปิดท้ายรายการ One Day Trip in Pyay ของพวกเรา

หลังจากตระเวนมาทั้งวัน คืนนี้คงต้องหาที่พักในเมืองแปร ส่วนพรุ่งนี้จะไปไหนต่อ โปรดติดตามได้ตอนต่อไปนะคะ สวัสดีค่ะ


"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 30/8/18 at 14:00 Reply With Quote


[ ตอนที่ 38 ]
(Update 10 กันยายน 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่เจ็ด) 20 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว)


(วันนี้ 3 แห่ง คือ 1.พระเจดีย์พระเจดีย์เมี่ยตะลัน 2.พระเจดีย์จองโด่ยา 3. รอยพระพุทธบาทชเวเซทตอว์)

(แห่งที่ 1) พระเจดีย์เมี่ยตะลัน (Myathalun Pagoda) เมืองมาเกว (Magway)

"...วันนี้ย่างเข้าสู่วันที่เจ็ดของการเดินทาง หลังจากรับประทานอาหารเช้าเสร็จเรียบร้อย พวกเราได้เตรียมตัวออกเดินทางไปเมืองมาเกว (Magway) ทางตอนกลางของประเทศพม่า

การเดินทางไปตามถนนเส้นนี้สามารถไปถึงพุกามได้เลย แต่ตามกำหนดการในวันพรุ่งนี้ คือวันที่ 21 ม.ค. ท่านจะต้องไปร่วมงานพิธีเปิด "รอยพระพุทธบาทชเวเซทตอว์" อยู่ริมแม่น้ำม่าน ที่เมืองมินบู

งานนี้มีความสำคัญมาก ปีหนึ่งจะมีพิธีเปิดรอยพระพุทธบาทเพียงครั้งเดียว ถึงเดือนเมษายนเท่านั้น น้ำในแม่น้ำม่านก็จะท่วม ไม่สามารถเข้าไปกราบไหว้ได้

ฉะนั้น แผนการเดินทางของพระอาจารย์ชัยวัฒน์ ท่านตั้งใจจะไปร่วมงานนี้มาก เพราะสมัยปี 2553 ท่านได้เคยไปร่วมงานมาแล้ว ผู้คนนับพันนับหมื่น ท่านกลับมาเล่าถึงความประทับใจ ทำให้พวกเราอยากไปกันเหลือเกิน

วันเวลาที่รอใกล้มาถึงแล้ว พวกเรารู้สึกตื่นเต้นกันมาก เมืองมินบูอยู่ระหว่างแม่น้ำอิรวดีกับเมืองมาเกว จากเมืองแปรไปมาเกว ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร ใช้เวลาราวๆ 4 ชั่วโมง

ช่วงเช้ารถตู้สองคัน ขับเลียบแม่น้ำอิรวดีแบบไม่เร่งร้อน ถนนบางช่วงออกจะแคบอยู่สักหน่อย เวลารถสวนกัน คนนั่งในรถต้องคอยลุ้นอยู่เป็นระยะๆ ตลอดทาง

นั่งกินลมชมวิวแม่น้ำอิรวดีสักพักก็มาถึง "เมืองมาเกว" สถานที่ตั้ง "พระเจดีย์เมี่ยตะลัน" (Myathalun Pagoda) อันเป็นที่ประดิษฐาน "เตียงมรกตของพระพุทธเจ้า" (The Buddha's Emerald Couch)

ระหว่างทางพวกเราได้แวะพักรับประทานอาหารกลางวันกันก่อนที่ร้านอาหารสไตล์พม่า หน้าตาคล้ายๆ ข้าวราดแกงเมืองไทย อยากกินอะไร ก็ไปยืนชี้เอา แล้วจะมีเด็กไปเสิร์ฟที่โต๊ะ

พวกเราบางคนก็อดไม่ได้ที่จะขอน้ำร้อนมาต้มมาม่าที่ขนไปด้วย เพื่อเพิ่มความแซ่บให้ชีวิต ช่วยให้หายคิดถึงบ้านได้เยอะเลยค่ะ

อิ่มแล้ว ออกเดินทางต่อได้ ผ่านตัวเมืองมาเกวลัดเลาะไปตามถนน ในที่สุดก็มาถึง "พระเจดีย์เมี่ยตะลัน" พระเจดีย์สีทองตั้งเด่นตระหง่านอยู่ริมแม่น้ำอิรวดี (Ayeyawady River) เป็นสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาเกวตั้งแต่โบราณ

บรรยากาศที่นี่ดีมาก มองออกไปเห็นแม่น้ำกว้างใหญ่ เดินเข้ามาภายในจะเห็นภาพวาดเกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้าที่เกี่ยวเนื่องกับพระเจดีย์แห่งนี้ ตามที่ปรากฏในแผ่นพับของวัด

ตามที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้เคยนำมาเผยแพร่ เมื่อครั้งที่มาเยือนที่นี่เป็นครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน พอจะถอดความได้ว่า ดังนี้


ประวัติพระเจดีย์เมี่ยตะลัน


...หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณและแสดงพระธรรมเทศนาโปรดมนุษย์ทั้งหลายเป็นเวลา 20 ปี พระองค์ได้เสด็จมายังประเทศพม่า

พระองค์ได้ทรงประทับอยู่ที่หมู่บ้านเลียะเกิง (Lei-gaing) ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิรวดีอยู่ 7 วัน ยักษ์กินคนสี่ตนที่อาศัยอยู่ในป่าฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ

พอทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมา ก็อยากมากราบนมัสการ จึงข้ามแม่น้ำมายังฝั่งที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่


สมเด็จพระจอมไตรได้แสดงพระสัทธรรมเทศนาแก่ยักษ์ทั้งสี่ตน ให้เห็นว่า การฆ่าคนเป็นบาป และทรงขอให้เลิกเสีย ยักษ์สี่ตนจึงให้คำมั่นสัญญาว่า จะเลิกกินมนุษย์และถือศีลไปจนตลอดชีวิต

ยักษ์ทั้งสี่ได้ขอให้พระพุทธเจ้าประทานสิ่งที่ระลึกแทนตัวพระองค์ไว้บูชากราบไหว้ พระองค์จึงทรงประทาน "เตียงมรกต" ที่ทรงประทับนอนให้แก่พวกยักษ์

ยักษ์ทั้งสี่ นำโดยยักษ์ชื่อว่า "Bawgyaw" ได้นำเตียงข้ามกลับไปยังป่าที่ตนเองอาศัยอยู่ ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำอิรวดี และสร้างพระเจดีย์เล็กๆ ครอบเอาไว้ ต่อมาพวกยักษ์ได้ตายลง ยักษ์Bawgyaw ได้เกิดใหม่เป็นมนุษย์ มีอาชีพพ่อค้าวาณิช

เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทาน "เตียงมรกต" ให้แก่พวกยักษ์กินคนในเพลานั้น ทรงมีพุทธทำนายว่า บริเวณที่ตั้งพระเจดีย์ต่อไปภายหน้า จะกลายเป็นมหานครที่เจริญรุ่งเรืองมาก


พระอินทร์เห็นว่า สถานที่ตั้งพระเจดีย์ที่อยู่ในป่านั้นไม่เหมาะสม จึงรื้อไปสร้างใหม่ที่อื่น โดยมอบหมายให้ฤาษีสามตนที่พำนักอยู่บนเนินเขาใกล้แม่น้ำอิรวดี อัญเชิญเตียงมรกตไปบรรจุในสถานที่แห่งใหม่

ฝ่ายฤาษีทั้งสามก็ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของ "พระพุทธกัสสป" และเตียงทองคำมาบรรจุร่วมด้วย แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องให้ยักษ์ Bawgyaw ที่กลับมาเกิดใหม่เป็นพ่อค้า เป็นผู้ก่อสร้าง

คหบดีชื่อว่า "Mahagama" จึงให้ลูกสาวนามว่า "Ponnawati" ออกตามหาพ่อค้าหนุ่ม นางก็ไม่รู้ว่าจะตามตัวได้ที่ไหน

ระหว่างทางกลับบ้านนางได้แวะที่ยอดเขา "Naguttama" และทิ้งสาส์นเชิญชายหนุ่มมาเป็นผู้สร้างพระเจดีย์ ต่อมาภายหลังจึงกลายเป็นสถานที่ตั้งของพระเจดีย์ในปัจจุบัน

พระเจดีย์เดิมมีความสูง 55.5 ฟุต ในรัชสมัยกษัตริย์ Saw Lu แห่งพุกาม ได้ทรงบูรณะให้สูงขึ้นไปอีกเป็น 87 ฟุต

ต่อมาในปีพ.ศ.2390 พระเจดีย์ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้งดงามดังเดิม มีความสูงทั้งสิ้น 104 ฟุต


...ที่นี่จะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุกๆ 10 ปี ตอนนี้ผ่านมาได้ 5 ปีแล้ว เราจึงร่วมบุญซ่อมแซมล่วงหน้า 50,000 จ๊าด และค่าไฟอีก 20,000 จ๊าด

แต่ก็ต้องย้อนขออนุโมทนาที่พระอาจารย์มาเมื่อปี 2553 ในขณะนั้นทางวัดเพิ่งปิดทองใหม่ๆ ท่านได้ทำบุญ 10,000 จ๊าด สาธุด้วยค่ะ

ขอสรุปย่อๆ ว่าท่านได้ไปพม่าดังนี้ค่ะ ครั้งแรกปี 2539, ครั้งที่ 2 ปี 2543, ครั้งที่ 3 ปี 2545, ครั้งที่ 4 ปี 2553, ครั้งที่ 5 ปี 2561 (ครั้งย่อยๆ ไม่นับนะค่ะ)

ดังจะเห็นได้ว่า ที่พม่านี่จะมีของสำคัญๆ ของพระพุทธเจ้าอยู่มากมาย เนื่องจากพระองค์ทรงเล็งเห็นด้วยพระพุทธญาณแล้วว่า จะสามารถรักษาไว้ได้ต่อไปในภายภาคหน้า


นับเป็นโชคดีของพวกเราที่ได้มากราบไหว้ถึงที่ ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีโอกาสแบบนี้อีกเมื่อไร หากมองไปฝั่งตรงข้าม ก็จะเจอ "พระเจดีย์เซ็ทเคนเดอ" (Set Kane De Pagoda) ที่สร้างในสมัยเดียวกัน

งดงามอลังการไม่แพ้กัน แต่เนื่องจากเรามีเวลาน้อย ประกอบกับพระเจดีย์ยังไม่มีการบูรณะ ก็เลยไม่ได้แวะ ได้แต่น้อมจิตกราบจากฝั่งนี้


"พรพระเจดีย์เซ็ทเคนเดอ" (Set Kane De Pagoda)

ในตอนหน้าก็เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญเช่นกัน นั่นคือ "พระเจดีย์จองโด่ยา" อันเป็นที่ประดิษฐาน "พระคันธกุฎีไม้จันทน์หอม" ของพระพุทธเจ้า

ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองมินบู ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับเมืองมาเกว ยังมีเรื่องราวแปลกแต่จริงมาเล่าให้ฟังอีกแล้ว ติดตามได้ในตอนต่อไปนะคะ...สวัสดีค่ะ


"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 5/9/18 at 13:30 Reply With Quote


[ ตอนที่ 39 ]
(Update 15 กันยายน 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่เจ็ด) 20 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู)

(วันนี้ 3 แห่ง คือ 1.พระเจดีย์พระเจดีย์เมี่ยตะลัน 2.พระเจดีย์จองตอว์ยา 3. รอยพระพุทธบาทชเวเซทตอว์)

(แห่งที่ 2) พระเจดีย์จองตอว์ยา (Kyaung Taw Yar Pagoda) เมืองมินบู (Minbu)

"...หลังจากแวะฉันเพลแล้ว พระอาจารย์ชัยวัฒน์และคณะได้ออกเดินทางต่อไปยัง "พระเจดีย์จองตอว์ยา" ซึ่งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำอิรวดี (Ayeyarwady River) ห่างจากที่นี่ประมาณ 42 กิโลเมตร


เมื่อปีพ.ศ. 2543 พระอาจารย์พร้อมคณะต้องนั่งเรือข้ามฟากใช้เวลา 45 นาทีกว่าจะถึง แต่ปัจจุบันทางการพม่าได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำจากมาเกวไปเมืองมินบู ทำให้ประหยัดเวลาและสะดวกสบายขึ้นทันตา


(สมัยเมื่อ 10 ปีก่อน ยังไม่มีสะพาน ต้องข้ามเรือแล้วนั่งรถสองแถว (ขึ้นหลังคา) อย่างที่เห็นนี่แหละ)

สะพานข้ามแม่น้ำ (Magway Bridge) ยาว 2.1 ก.ม. ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำอิรวดียาวที่สุดได้แก่ สะพานข้ามแม่น้ำระหว่างพุกาม-ปะโคกกุ (Pakokku Bridge) ยาว 3.4 ก.ม.

ระหว่างทางได้แวะที่ "บ่อโคลนเดือด" (The Mud Volcanoes of Minbu) เมื่อผ่านทางเข้า ก็เห็นบ่อน้ำขนาดย่อม 2 บ่อ มีรูปปั้นพญานาคอยู่ที่ปากบ่อ

ด้วยความเชื่อว่าใต้พิภพนั้นมีพญานาค บ่อโคลนผุดเมืองมินบูริมแม่น้ำอิรวดี ที่เกิดจากก๊าซธรรมชาติก็ก่อเกิดตำนานวังพญานาคขึ้นมา

ส่งผลให้แม่ค้าแม่ขายต่างมีรายได้เลี้ยงครอบครัว ชาวบ้านนำนมไปถวายแก่พญานาค เพื่อขอพรในสิ่งที่ตนเองประสงค์

เรื่องการใช้น้ำนมสดบูชานี่ เหมือนกับพวกฮินดูบูชา "รอยพระพุทธบาท" ที่รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เขาอาจจะถือว่าน้ำนมสดเป็นน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ก็ได้


เราแทบไม่เจอนักท่องเที่ยวต่างชาติเลย ส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้านร้านถิ่น นำเครื่องเซ่นไหว้พญานาคตามความเชื่อของเขามาถวาย ด้านในเป็นบ่อโคลนเดือด ลักษณะดูคล้ายรอยพระพุทธบาท มีโคลนเดือดปุดๆ อยู่ตลอดเวลา

พระอาจารย์ได้อธิษฐานจิตว่า เป็นรอยพระพุทธบาทหรือไม่ ผลปรากฏว่าไม่ใช่ หลังจากนั้นได้เดินทางไปต่อ ระยะทางจากนี้อีกราวๆ 30 กิโลเมตร ก็มาถึง "พระเจดีย์จองตอว์ยา"

ปี 2553 คือเมื่อ 8 ปีก่อน พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้มาแวะที่นี่ ระหว่างทางไป "รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ทตอว์" เมืองมินบู

ครั้งนั้นโชคดีมากที่มาเจอพระเจดีย์กำลังเข้าเฝือกพอดี เลยได้ร่วมบุญบูรณะ 50,000 จ๊าด และทำฉัตรใหม่อีก 10,000 จ๊าด สมัยนั้นก็ถือว่า เยอะอยู่

มารอบนี้เจอสิงห์หน้าประตูทางเข้ากำลังอยู่ระหว่างการซ่อมแซม ส่วนพระเจดีย์อีก 2 ปีถึงจะมีการบูรณะใหญ่ สถานที่นี้นับเป็นพระเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองของชาวมินบู คู่กับพระเจดีย์เมี่ยตะลันของชาวเมืองมาเกว

พวกเราจึงนำเงินกองกลางร่วมบุญบูรณะซ่อมแซมล่วงหน้า 100,000 จ๊าด และทำบุญค่าไฟอีก 20,000 จ๊าด จัดกันไปเต็มที่ เพราะไม่รู้ว่า จะได้มาอีกเมื่อไร โดยเฉพาะถ้าเป็นคนไทยด้วยกันแล้ว ยากที่จะมาถึงที่นี่ได้ค่ะ


ประวัติ "พระเจดีย์จองตอว์ยา"


...เมื่อสมัยที่พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ 75 พรรษา ได้เสด็จมาที่ "วัดจองตอว์ยา" ที่อยู่ใกล้กับ "รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ทตอว์"

ชาวพยูและพม่าได้สร้าง "พระคันธกุฎี" ด้วยไม้แก่นจันทร์ทั้งหลังถวายพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้ 2 รอย

จากนั้นจึงเสด็จไปที่ "ภูเขาตันจิต่อง" ใกล้เมืองพุกาม ต่อมาภายหลัง ได้มีการสร้างพระเจดีย์ครอบพระคันธกุฎีหลังนี้ไว้

หากย้อนไปอ่านข้อมูลเก่าๆ ในwww. tamroiphrabuddhabat.com เล่าไว้ว่า สถานที่แห่งนี้มีขื่อเต็มว่า "วัดสนากูนั่นดะ จองโด่ยา"

ตามประวัติเล่าว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จมา พร้อมกับพระสงฆ์ 500 รูป พระพุทธองค์ได้ทรงประทานพระสัทธรรมเทศนา เพื่อโปรดบรรดาสาธุชนทั้งหลาย

ซึ่งมาฟังธรรมกันมากมาย พร้อมทั้งถวายสิ่งของแด่พระพุทธเจ้า ในเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จมานั้น ฝูงปลาทั้งหลายก็จะมาแสดงความเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย

...ด้วยเหตุนี้ ภายหลังจะมีปรากฏการณ์พิเศษ ดังนี้


1. ปลาจะมาที่นี่ทุกปี มาเดือนที่ 4 ของพม่า (เดือนเมษายน) ปลาจะว่ายน้ำมาก่อนเพื่อมาจำพรรษา พอครบ 1 พรรษา ก็จะว่ายน้ำกลับไป ฝูงปลาในบริเวณนี้จะหายไปหมดสิ้น

2. ฝูงปลาเหล่านี้จะกินเจ กินขนม และกินข้าวโพด
3. คนเข้าไปกอดลูบคลำได้ โดยปลาไม่ทำร้าย
4. ปลามีสีขาว ตัวไม่มีกลิ่นคาว ผิดกับปลาทั่วๆ ไป


ช่วงนี้อยู่ในช่วงเข้าพรรษาพอดี หากใครได้ไปเยือนพระเจดีย์จองตอว์ยา ก็ลองเดินไปที่ริมแม่น้ำ ส่องดูดีๆ เผื่อจะเจอปลาที่มาจำศีล แล้วส่งข่าวมาบอกกันบ้างนะคะ

หลังจากถวายเครื่องบูชาแล้ว เราก็ออกเดินทาง จุดหมายอยู่ที่ "รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ทตอว์" เมืองมินบู ระหว่างทางเจอชาวบ้านตั้งซุ้มบอกบุญซ่อม "ฉัตรพระเจดีย์" ก็เลยร่วมบุญด้วย 17,000 จ๊าด

จากนั้นก็เร่งออกเดินทางต่อ ต้องทำเวลากันนิดนึง เพื่อจะได้ไปถึงที่พักก่อนค่ำ ในตอนหน้ามีเรื่องราวผจญภัยในพม่ามาเล่าให้ฟังกันสนุกๆ อีกแล้ว เล่าเมื่อไร ก็อดขำไม่ได้ อดใจรอตอนต่อไปนะคะ..สวัสดีค่ะ


"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 10/9/18 at 13:18 Reply With Quote


[ ตอนที่ 40/1 ]
(Update 20 กันยายน 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่เจ็ด) 20 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู)

(วันนี้ 3 แห่ง คือ 1.พระเจดีย์พระเจดีย์เมี่ยตะลัน 2.พระเจดีย์จองตอว์ยา 3. รอยพระพุทธบาทชเวเซทตอว์)

(แห่งที่ 3) รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ทตอว์ (Shwe Set Taw Buddha's Footprints) เมืองมินบู (Minbu) ช่วงที่ 1

"...การท่องแดนพม่าในตอนต่อจากนี้ไป จะเริ่มเข้มข้นและมีเรื่องราวผจญภัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าพลาดตอนไหน ถือว่าน่าเสียดาย เพราะแต่ละที่ใช่ว่าจะไปกันง่ายๆ

"รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ทตอว์" หรือ "ม่านชเวเซ็ทตอว์" (The Golden Footprints) นี้ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่จัดอยู่ในสถานที่ "Unseen" ของพม่า

การจัดทัวร์โดยมากมักจะไม่จัดโปรแกรมมาที่นี่ ทั้งที่เป็นสถานที่สำคัญของพระพุทธเจ้าไม่ต่างจากเจดีย์ที่อื่นๆ

อาจจะเพราะมายาก ถนนหนทางค่อนข้างลำบาก ต้องใช้ความทรหดอดทนพอสมควรกว่าจะมาถึง เรียกได้ว่า ต้องถึกและทนจริงๆ

อีกทั้งต้องเพิ่มวิริยะบารมี เพื่อเข้าขั้นปรมัตถ์ให้ได้ จึงจะสามารถก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ มาจนถึงที่ได้สำเร็จ

แต่ถึงจะมายากเพียงใด พระอาจารย์ท่านมา 3 ครั้งแล้ว คือครั้งแรก ปี 2543 ยังไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำอิรวดี ต่อมาครั้งที่ 2 ปี 2553 มีสะพานแล้ว (โปรดดูคลิปวีดีโอเปรียบเทียบกัน)


ภาพทั้งหมดนี้ถ่ายเมื่อ ปี 2543





สมัยเมื่อ 10 ปีก่อน ยังไม่มีสะพาน ต้องข้ามเรือแล้วนั่งรถสองแถว (ขึ้นหลังคา) อย่างที่เห็นนี่แหละ



ลงจากรถสองแถวแล้วต้องเดินลุยน้ำ แม่น้ำหน้าด้านนี้จะไม่ลึกมาก มีชาวบ้านมาช่วยถือของให้ด้วย



มณฑปยอดแหลมครอบรอยพระพุทธบาท ขณะที่กำลังซ่อมอยู่ด้านในพอดี จึงได้ทำบุญร่วมบูรณะ 15,000 จ๊าด



...ย้อนความทรงจำไปเมื่อตอนที่แล้วนะคะ เราออกจาก "พระเจดีย์จองตอว์ยา" เวลาบ่ายแก่ๆ แล้วต้องรีบทำเวลาเพื่อไปหาที่พักแถวๆ แม่น้ำม่าน (Mann River)

เพราะวันรุ่งขึ้นจะมีพิธีเปิดงานเทศกาลไหว้รอยพระพุทธบาท ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือน "มกราคม" ถึง "เมษายน" ของทุกปี โดยมีการประชาสัมพันธ์ไว้ก่อนล่วงหน้า

พระอาจารย์ชัยวัฒน์ท่านติดตามข่าวทางเว็บไซด์พม่าว่า จะมีเทศกาลไหว้สถานที่สำคัญในพม่า ที่ไหนและวันไหนบ้าง เขาเรียกว่า "The Festivals of Myanmar"

สำหรับปีนี้ท่านทราบก่อนแล้วว่า งานเทศกาลเปิดรอยพระพุทธบาท วันที่ 21 มกราคม 2561 ท่านจึงได้จัดโปรแกรมเดินทาง เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค. จากมะละแหม่ง เพื่อให้มาทันเวลางานที่นี่พอดี

ฉะนั้น โปรแกรมการเดินทางทุกแห่งของท่านจึงฟิกมาก การเดินทางวันนี้ถึงแม้จะวางแผนมาดี แต่เราก็ถูกลองของก่อน เป็นการแก้เคล็ดตามธรรมเนียม

ทั้งนี้ เพื่อประหยัดเวลา "มินโซ" (หรือที่พวกเราชอบเรียกว่า "มิตซู" เพราะจำง่ายดี) คนขับรถของเรา ได้เสนอให้ไปทางลัด

จากเดิมที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้วางแผนว่า จะไปอีกเส้นหนึ่ง ลักษณะเส้นทางเป็นรูปตัวยู แต่ทางที่มินโซแนะนำจะตัดตรงกว่า จะได้ไปถึงที่พักก่อนค่ำ

แต่พอเอาเข้าจริงๆ มันไม่เป็นอย่างนั้นสิคะ เพราะทางลัดที่ว่า ถ้าดูจากแผนที่เหมือนจะมีระยะทางสั้นกว่า

แต่ถนนเป็นถนนลูกรัง ขึ้นเนินสูงๆ ต่ำๆ กระเด้งกระดอน เล่นเอาหัวสั่นหัวคลอน ยิ่งกว่าลงสนามแข่งแรลลี่รถวิบากเสียอีก

ระหว่างทางมีรถใหญ่ จำพวกรถ 6 ล้อวิ่งสวนมาบ้าง ต้องหลบแอบเข้าข้างทางจนตัวลีบ เข้าใจว่า น่าจะเป็นทางสัญจรของชาวบ้านแถวนี้เสียมากกว่า

กว่าจะพ้นทางวิบากมาได้ เล่นเอาหืดขึ้นคอ ถ้าไปทางเดิมอาจจะถึงเร็วกว่านี้ เพราะถนนดีกว่า แต่ในเมื่อโชคชะตากำหนดมาแบบนี้ ก็ทำใจเบาๆ แล้วไปต่อ

เราไปถึงแถวชเวเซ็ทตอว์ประมาณเกือบๆ 6 โมงเย็น ท้องฟ้าสลัวใกล้จะมืดเต็มที หนุ่มพม่า (เพื่อนคุณชัย คนขับรถอีกคนของเรา) ขี่มอเตอร์ไซค์มาเจอตรงจุดนัดหมาย เพื่อนำทางไปยังที่พักที่จองไว้

นึกถึงตอนนี้ ก็อดขำไม่ได้ เพราะเจ๊มายินต้องปลอมตัวเป็นคนพม่า เป็นคุณป้าของคุณชัย มาจากเมืองมิจิน่า หน้าตาเจ๊ก็พอจะได้อยู่นะ ส่วนพวกเราก็นั่งเงียบกริบอยู่ในรถ ไม่กล้าคุยกัน เดี๋ยวเค้าจะรู้ว่า เป็นคนไทย

ทางการพม่าจะค่อนข้างเข้มงวดกับการให้ต่างชาติเช่าที่พักพอสมควร เนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย พวกเราเลยนั่งตัวเกร็งกันจนเมื่อยอยู่บนรถ

ส่วนเจ๊มายินซ้อนมอเตอร์ไซค์หนุ่มพม่า ไปดูที่พักที่จองไว้ ปรากฏว่า เราไปถึงช้าไป เขาเลยให้คนอื่นพักไปแล้ว

ต้องบอกว่า เทศกาลไหว้รอยพระพุทธบาทของเขาจัดอย่างยิ่งใหญ่จริงๆ ชาวพม่าจากทั่วทุกสารทิศแห่แหนกันมากราบจำนวนเป็นพันๆ ที่พักทุกแห่งเต็มหมด (โปรดดูคลิปวีดีโอของชาวพม่า)

พอดีช่วงที่เราไปเป็นช่วงก่อนวันเปิดงาน ก็เลยยังพอหาที่พักได้ ที่พักที่ว่านั้น ก็คือบ้านไม้ไผ่ เรียกแบบบ้านๆ ก็คือ "กระต๊อบ" ดีๆ นี่เอง แต่เป็นของใหม่เพิ่งสร้างเสร็จ สร้างไว้เรียงรายยาวเหยียด ทั้งสองฝั่งแม่น้ำม่าน

ถ้าผู้อ่านดูภาพประกอบสมัยปี 2543 ที่พระอาจารย์ท่านเดินทางมาครั้งแรก ตอนนั้นเจ๊มายินได้ร่วมเดินทางด้วย จะเห็นสภาพแม่น้ำแบบเดิมๆ ที่หาดูได้ยาก

ซึ่งแตกต่างจากสมัยปัจจุบันนี้มาก ทั้งนี้เป็นเพราะทางพม่ามองเห็นธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ช่วงฤดูร้อนชาวพม่าจะได้มาพักผ่อนลงเล่นน้ำกันได้

ด้วยเหตุนี้ เขาจึงลงทุนอย่างมโหฬาร ด้วยการถมดินริมแม่น้ำให้สามารถสร้างที่พักได้ พร้อมทำสะพานข้ามด้วย ก่อนเวลาหน้าฝนน้ำในแม่น้ำสูงขึ้น เขาก็รื้อออกหมดไม่เหลือหรอ

ภาพเหล่านี้จึงเหมือนกับความฝัน จะเห็นเฉพาะหน้าแล้ง (มกรา-เมษา) เท่านั้น ต่อจากนั้นแม่น้ำก็จะพัดผ่านไป ทุกปีเขาก็จะต้องมาปรับปรุงทิวทัศน์อย่างนี้ทุกปี

แต่ความสำคัญและตื่นเต้นอยู่ที่วันทำพิธีเปิดรอยพระพุทธบาทนี่แหละ เพราะเขาจะเปิดฝาชีเหล็กที่ครอบไว้นานหลายเดือน

ด้วยเหตุที่เขามีรอยพระพุทธบาทไม่มาก มีเพียงแค่สถานที่นี้แห่งเดียว เขาจึงให้ความสำคัญมากกว่าบ้านเรา

นายทุนทั้งหลายจึงมาลงทุนเรื่องที่พักและร้านอาหารเต็มไปหมด ทั้งที่บริเวณนี้ปกติเป็นเขตป่าสงวนเงียบสงัด ไม่มีบ้านคนอาศัย

ส่วนที่พักจะจองกันเต็มหมด โชคดีที่เราหาได้ อยู่ลึกเข้าไปข้างใน เวลาอาบน้ำหรือเข้าห้องน้ำ ต้องเดินข้ามสะพานมาอีกฝั่งนึง

ปรากฏว่า คืนนั้นสมาชิกในกลุ่มสมัครใจซักแห้งกันหลายคน เพราะช่วงที่เราไปเป็นหน้าหนาว อากาศยังเย็นอยู่ บางคนก็ไม่หวั่นไหวกับความหนาวเย็น ลงอาบน้ำในแม่น้ำม่านอย่างมีความสุข

อาหารเย็นก็ต้มมาม่ากินกันแบบง่ายๆ พอตกดึกมีเรื่องฮามาเล่าให้ฟังกัน ด้วยความที่เราต้องปิดบังไม่ให้ใครรู้ว่า เป็นคนไทย เวลาจะพูดจะคุยกัน ต้องกระซิบกระซาบคุยกันเบาๆ

เวลานอน ก็ต้องเรียงแถวหน้ากระดานเบียดๆ กัน ถุงนอนที่เอามาด้วย ก็เลยได้ใช้ประโยชน์เต็มๆ วันนี้ ส่วนพระอาจารย์ชัยวัฒน์ ท่านก็นอนของท่านอีกห้องนึง

พอกำลังจะเคลิ้ม ก็ได้ยินเสียงคนมาเคาะเรียกเป็นภาษาพม่า ด้วยความที่ฟังภาษาไม่ออก ก็เลยนอนตัวเกร็ง ไม่กล้าส่งเสียง สักพักก็มีมือยื่นมาถอดหลอดไฟที่อยู่ข้างๆ ประตู ที่พอมีช่องให้มือลอดเข้ามาได้

พอตื่นมาตอนเช้าคุยกัน เลยรู้ว่า มีเจ้าหน้าที่จะมาต่อไฟฟ้าให้ เพราะช่วงแรกๆ ที่ยังไม่เปิดงาน ไฟจะชอบตก เดี๋ยวติด เดี๋ยวดับ

พอเล่าสู่กันฟัง เลยขำกันใหญ่ นึกว่าเค้าจะมาตรวจ ที่ไหนได้ จะมาต่อไฟให้ต่างหาก เล่าทีไร ก็ขำทุกที ในตอนนี้เจ๊มายินเข้ามาเล่าเสริมว่า


...ขออนุญาตเล่าเรื่องเพิ่มเติมที่ไปพักที่ชเวเซ็นตอว์นะคะ อ่านไปก็ขำไปค่ะ นึกถึงบรรยากาศที่ปลอมตัวเป็น "คุณป้ามหาเศรษฐี" ของอาชัย (คนขับรถตู้ของเรา) ที่มาจากเมืองมิจิน่าค่ะ สนุกก็สนุกกลัวก็กลัวค่ะ

แต่ก็โชคดีที่พูดพม่าได้บ้าง พอจะสื่อสารกันเข้าใจ แต่ไม่เก่งนะคะ พอได้ค่ะ เพราะพม่าเขาไม่อนุญาตให้คนไทยเข้าพัก

แต่ก็ผ่านพ้นไปด้วยดีค่ะ แต่ที่ฮาสุดๆ มาเล่าสู่กันฟังเมื่อไหร่ก็ฮาไม่เลิกค่ะ

เรื่องมีอยู่ว่าหลังจากเสร็จภารกิจส่วนตัวกันเรียบร้อยแล้ว ต่างคนก็เตรียมตัวเข้านอน แต่กระต๊อบเพิ่งสร้างเสร็จแบบหมาดๆเลยค่ะ

ไฟฟ้าในห้องก็ยังไม่มี ก็จะได้แสงไฟจากเสาไฟฟ้าข้างนอก และไฟฉายของเราที่เตรียมกันไป ก็อยู่ได้ค่ะ ไม่ลำบากอะไร

ก่อนเข้าที่พักอาชัยคนขับรถแจ้งกับทุกคนว่าเวลาคุยกันให้คุยกันเบาๆ ห้ามคุยเสียงดัง เดี๋ยวเขารู้ว่าเราเป็นคนไทย

ทุกคนเข้านอน แต่ละห้องเงียบกริบ เพราะห้องพักต่อจากคณะเราก็เป็นชาวพม่าทั้งหมดเลยค่ะ พอตกดึกมีคนงานมาเรียกว่า “ตะเทม่า ๆๆ"

ไม่มีใครตอบสักคนเดียวค่ะ เงียบกริบส่งเสียงเรียกห้องไหนก็ไม่ตอบ คนงานเลยเดินไปเรียกห้องหลวงพี่ซึ่งอยู่ถัดไปอีก1 แถว

เรียก “พ่งยี่ ๆๆๆ" เงียบกริบเหมือนเดิมค่ะ คนงานพม่าเขาก็คงจะงงเป็นไก่ตาแตกเลยนะคะ ว่าทำไมหลับสนิทกันขนาดนี้

ที่ไหนได้กลัวค่ะ กลัวตำรวจมาจับ พอรุ่งเช้าถึงได้ทราบว่า เมื่อคืนนี้คนงานมาเคาะเรียก เพื่อที่จะติดไฟในห้องนอนให้ค่ะ

ตะเทม่า. แปลว่า. เจ้านาย
พ่งยี่ แปลว่า. พระอาจารย์


...คืนนี้เป็นคืนแรกที่ได้มานอนท่ามกลางบรรยากาศแบบธรรมชาติเช่นนี้ เป็นความประทับใจยากจะลืมเลือน

พอนึกถึงพรุ่งนี้ที่จะได้ไปกราบรอยพระพุทธบาท ก็เลยตื่นเต้นจนนอนไม่ค่อยหลับ บวกกับระแวงเรื่องความปลอดภัย เลยหลับๆ ตื่นๆ จนถึงเช้า

เรื่องราวในตอนต่อไปจะเป็นอย่างไร ไว้เล่าต่อในตอนหน้า ห้ามพลาดนะคะ สวัสดีค่ะ

"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 15/9/18 at 06:26 Reply With Quote


[ ตอนที่ 40/2 ]
(Update 25 กันยายน 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่แปด) 21 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-อัน (Ann)


(รอยพระพุทธบาทชเวเซทตอว์)

(แห่งที่ 1) รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ทตอว์ (Shwe Set Taw Buddha's Footprints) เมืองมินบู (Minbu) ช่วงที่ 2

"...รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ทตอว์ อยู่ในอาณาเขตของอุทยานแห่งชาติ Shwesettaw Wildlife Sanctuary โดยมีแม่น้ำม่าน (Mann River) ไหลผ่านเทือกเขานี้

หลังจากราตรีได้ผ่านพ้นไปจนถึงรุ่งอรุณ หลายคนยังงัวเงีย เนื่องจากยังไม่หายเพลียจากการเดินทางสุดวิบากเมื่อวานกว่าจะมาถึงชเวเซ็ทตอว์

ผู้ที่ตื่นคนแรกและมาปลุกพวกเราไม่ใช่ใคร แต่เป็น "พระอาจารย์ชัยวัฒน์" นั่นเองค่ะ

ด้วยความที่ท่านเป็นห่วงพวกเราและด้วยความเมตตาปรานีของท่าน บวกกับต้องการทำเวลาเพื่อออกเดินทางแต่เช้า ท่านได้หุงข้าวต้มหม้อใหญ่ไว้ให้ ระหว่างที่พวกเราทยอยกันตื่นมาทีละคนสองคน

ท่านพูดติดตลก ว่า "โยมหุงข้าวให้ท่านฉันมาเยอะแล้ว ถึงคราวที่ท่านจะตอบแทนโยมบ้าง" พวกเรางี้แทบจะน้ำตาไหลด้วยความซาบซึ้งใจใน "รสพระทำ" เลยล่ะค่ะ

ข้าวต้มหม้อนั้นเลยอยู่ในใจเราจนบัดนี้ และต้องขอบคุณพี่หนิง (อุไรวรรณ) และเจ๊มายินด้วยค่ะ ที่ตื่นมาทำกับข้าวให้พวกเรา

พี่ๆ ในคณะก็ช่วยกันคนละไม้ละมือ ส่วนผู้เขียนก็อาสาไปช่วยพี่ๆ เหมือนกัน จนมีดบาดเลือดกระฉูด เจ๊อังคณาบอกว่า เป็นการสะเดาะเคราะห์

บรรยากาศริมแม่น้ำม่านสงบสุขอย่างบอกไม่ถูก จนอยากจะอยู่ต่อเลยได้ไหม แต่ก็ทำไม่ได้ค่ะ เพราะวันนี้เป็นวันสำคัญของผู้แสวงบุญชาวพม่าและของพวกเรา (ที่เป็นตัวแทนของชาวไทยคณะเดียว) ด้วย

เนื่องด้วยจะมีพิธีเปิดงาน "เทศกาลไหว้รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ทตอว์" เรียกสั้นๆ ว่า "Shwe Set Taw Festival" ซึ่งจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่นั่นเอง

งานนี้จัดเป็นงานช้างประจำปีของที่นี่ คนนับพันๆ คน ทั้งพม่า มอญ และกะเหรี่ยง หลั่งไหลมารวมตัวกันตลอด 3 เดือนที่เปิดงาน ตั้งแต่กลางเดือนมกราคมไปจนถึงช่วงสงกรานต์ในเดือนเมษายนโน้นแน่ะ

หลังจากนั้นก็จะปิดยาว เพราะน้ำในแม่น้ำม่านจะไหลเอ่อเข้ามาถึงรอยพระพุทธบาท ในช่วงเข้าพรรษาจะมีปลาว่ายมาจากที่อื่น มาวนเวียนอยู่แถวนั้นด้วยนะคะ แล้วจะว่ายกลับไปช่วงออกพรรษา

ข้อดีของการพักแถวแม่น้ำม่าน ทำให้เรามาถึงรอยพระพุทธบาทแต่เช้า แต่ก็ยังไม่ทันชาวบ้านที่มาสวดมนต์กันตั้งแต่เช้าตรู่อยู่ดี

ตลอดทางเดินจากที่จอดรถมายังวิหาร เต็มไปด้วยร้านค้าที่มาตั้งเรียงรายเต็มไปหมด สาวๆ ในคณะแอบส่งสายตาเล็งผ้าซิ่นสไตล์พม่า

เผื่อมีโอกาสช็อปปิ้งตอนขากลับ เงินจ๊งเงินจ๊าดที่แลกมา กะว่าจะมาช็อปสักหน่อย แต่ยังหาโอกาสไม่ได้ ส่วนใหญ่จะทำบุญหมด


รอยพระพุทธบาทที่นี่มี 2 จุด อยู่ริมแม่น้ำด้านล่าง กับอีกรอยอยู่บนยอดเขา เดิมพระอาจารย์ท่านวางแผนว่าจะขึ้นไปไหว้รอยพระพุทธบาทข้างบนก่อน

เพราะเดิมท่านเข้าใจว่า เขาจะทำพิธีเปิดช่วงบ่าย ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงบอกว่าเราไปแวะไหว้รอยด้านล่างนี้ก่อน แล้วถึงจะเดินขึ้นไปข้างบน

แต่ปรากฏว่าเกินความคาดหมาย พอพวกเราเดินเข้าไปภายในวิหาร ปรากฏว่าคนเต็มไปหมด ส่วนใหญ่จะมาสวดมนต์ใกล้ลูกกรงที่ล้อมรอบรอยพระบาท

พระอาจารย์ให้พวกเราเข้าไปที่ซุ้มเจ้าหน้าที่รับบริจาค เพื่อร่วมทำบุญบูรณะ 50,000 จ๊าด ค่าไฟฟ้า 20,000 จ๊าด ช่วงนี้ยังไม่ซ่อมอะไร แต่เราก็ทำบุญไว้ล่วงหน้าก่อน

จากนั้นพวกเราพยายามจะแทรกตัวเข้าไปใกล้รอยพระบาทให้มากที่สุด จนได้ไปอยู่ชิดทางเข้าด้านหน้า ระหว่างรอเวลา พระอาจารย์ชัยวัฒน์ก็นำคณะสวดมนต์ไปเรื่อยๆ

จนสักพักก็มีเจ้าหน้าที่มาเปิดกุญแจ มีผู้หลักผู้ใหญ่ของพม่ามากันเต็มไปหมด และยังมีพระผู้ใหญ่ระดับเจ้าอาวาสมาร่วมพิธีเปิดด้วย

จังหวะดีที่เราอยู่ด้านหน้าติดทางเข้าออก พอเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพม่าทำพิธีเปิดเสร็จแล้ว พระอาจารย์และพี่ๆ ผู้ชายเลยได้เข้าไปกราบสักการะเป็นคณะที่ 2 เรียกได้ว่า วีไอพี สุดๆ กว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว

ชาวคณะได้ถวายผ้าสไบสีทอง เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท โดยผูกไว้ที่ลูกกรงด้านข้าง ปัจจุบันได้มีการนำไม้มาพาดบนรอยพระบาท เลยมองเห็นไม่ชัดเท่าที่ควร

อีกทั้งไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าไป ถือเป็นกฏอย่างเคร่งครัด แต่บริเวณด้านนอก จะมีรอยพระพุทธบาทจำลองขนาดใหญ่ให้ผู้หญิงได้ปิดทองได้

พระอาจารย์บอกว่าคิดไม่ถึงว่าเขาจะทำพิธีเปิดช่วงเช้านี้ เพราะแต่เดิมที่พระอาจารย์มาเมื่อปี 2553 เขาทำพิธียิ่งใหญกว่านี้มาก

ท่านเล่าว่าการทำพิธีตอนนั้น เขาจะนิมนต์เจ้าอาวาสใกล้เคียง 30 กว่าวัดมาร่วมพิธีด้วย จากนั้นท่านรองนายกรัฐมนตรีพม่า จะเป็นผู้ทำพิธีเปิดรอยพระพุทธบาท

โดยมีเจ้าหน้าที่ประมาณเกือบ 10 คน ช่วยกันยกฝาครอบเหล็กออก แล้วช่วยกันทำความสะอาดบริเวณโดยรอบ พระสงฆ์ชาวพม่าจะเข้าไปทำพิธีก่อน จากนั้นจึงจะให้ประชนชนทั่วไปเข้าไปกราบสักการบูชา

ขอกลับมาเล่าต่อว่า หลังจากเจ้าหน้าที่อนุญาตให้พวกเราเข้าไปกราบไหว้ทุกคนแล้ว นับว่าสมหวังดังใจที่ปรารถนามานาน พระอาจารย์ตั้งใจจะมาแวะแค่ประเดี๋ยวเดียวแล้วจะขึ้นไปบนภูเขา

แต่ที่ไหนมาจังหวะประจวบเหมาะที่เขาทำพิธีพอดี ถือว่าเป็นบารมีของรอยพระพุทธบาท ดลบันดาลให้เข้ามาอยู่ตรงหน้าประตูทางเข้าพอดี

อีกทั้งพวกเราแต่งตัวสวยงาม เจ้าหน้าที่คงเกรงใจ อาจจะนึกว่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่มาจากไหนก็ได้ แต่คิดว่าชาวพม่าเขามองดูก็รู้ว่าเราเป็นคนไทย

แม้พวกเราจะตกเป็นเป้าสายตา แต่ก็ภูมิใจว่าพวกเราเป็นหนึ่งเดียวของคนไทย ที่ได้มีส่วนร่วมในพิธีอันยิ่งใหญ่นี้ด้วย


...จากนั้นพวกเราต้องเดินขึ้นบันไดไปอีกหลายขั้น เพื่อกราบรอยพระพุทธบาทอีกแห่งหนึ่งบนยอดเขา ระหว่างทางมีจุดให้พักเป็นระยะ พวกเราเลยถือโอกาสแวะกราบพระพุทธรูปไปด้วย

รอยพระบาทด้านบน เห็นได้ชัดว่า เป็นรอยเบื้องขวา ชาวคณะได้ถวายผ้าทองและพวงมาลัยดาวเรืองเพื่อบูชา พร้อมทั้งสวดอิติปิโส ต่อด้วยคาถาเงินล้าน


ประวัติรอยพระพุทธบาทชเวเซ็ตตอว์


ปี 2543 รอยพระพุทธบาท "ชเวเซ็ทต่อว์" ถูกครอบด้วยเหล็กฝาชีเอาไว้ แต่มาปี 2553 ได้เห็นชัดเจน


รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ทตอว์อยู่ภายในวิหารข้างล่าง สมกับรอคอยมานานนับสิบปี

“...ในปีศักราชที่ 103 ท่านได้เป็นพระพุทธเจ้าทรงผนวชได้ 20 พรรษา พระชนมายุ 56 ปี

...ปีศักราชที่ 123 (B.C 610) องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ชื่อว่า "มหาโป่งนะยะหาดามาเท" ได้เสด็จมาที่ "เซโด่วงจองโด่" เมืองตาวหยี แล้วเสด็จต่อไปที่ "ตู๊นาป๊ะลั่นต๊ะไต๋ชุโด่งเมี่ยนบูพระยา วาเนซะกะมะ จองโด่ยา"

ระหว่างทางยังไม่ถึงจองโด่ยา พระพุทธองค์ได้พบกับพระฤาษีตนหนึ่ง ซึ่งพระฤาษีตนนี้ได้สอนคนแบบผิดๆ เช่นปฏิเสธว่าไม่มีพระนิพพาน เป็นต้น

พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้พระฤาษีมีความเห็นถูก จนพระฤาษีมีความเลื่อมใสได้บรรลุธรรม แล้วขอบวชเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

...ต่อจากนั้นพระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์ที่เป็นบริวารทั้ง 500 รูป ได้เสด็จไปที่ "เมืองวันเนซะขะมะ จองโด่ยา" ไปที่ "วัดสนากูนั่นดะ" (วัดที่มีปลามาจำพรรษา)

ชาวบ้านทั้งหลายได้สร้างพระคันธกุฎีถวายแด่องค์สมเด็จพระบรมศาสดา แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ 500 รูป ได้พักอาศัยอยู่ที่วัดสนากูนั่นดะจองโด่ยาเป็นเวลา 7 วัน แล้วจึงเสด็จกลับ

...ในระหว่างทาง มีพระยานาคตนหนึ่ง ชื่อว่า "นาปะดา" ได้เข้ามากราบไหว้ขอให้พระองค์ทรงประทับรอยพระพุทธบาท พระพุทธองค์จึงทรงประทานไว้ที่ "เอ๊าเซนตอว์ยา" (เอ๊าเซน แปลว่า "ข้างล่าง")

ต่อมาได้มีพระสงฆ์รูปหนึ่งชื่อว่า "ตินสะบันด๊ะยะหาดา" ได้มากราบไหว้พร้อมทั้งทูลขอให้องค์สมเด็จพระประทีปแก้วประทับรอยพระพุทธบาท




พระเจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาท "ชเวเซ็ทตอว์" ภายในวิหารอีกรอยหนึ่งอยู่บนภูเขา

พระพุทธองค์จึงทรงประทานไว้ที่ "อาเท็ดเซนตอว์ยา" (อาเท็ด แปลว่า "ข้างบน") ต่อมาจึงมีผู้คนมากราบไหว้บูชากันอย่างมากมายจนถึงทุกวันนี้…”

หลังจากกราบไหว้รอยพระพุทธบาทได้ครบถ้วนทั้งสองรอย พวกเราก็ไปชมวิวทิวทัศน์ข้างบน มองลงมาเห็นแม่น้ำม่าน ท่ามกลางป่าเขาที่ยังอุดมสมบูรณ์เขียวขจี มีบ้านไม้ไผ่สร้างเรียงรายเต็มพื้นที่ ดูแล้วแออัดนิดๆ

ถึงตอนนี้ก็ต้องร้องตะโกนดังๆ ว่า "เราชนะแล้ว เราสำเร็จแล้ว เรารวยแล้ว รวยๆๆๆ" ตามธรรมเนียม เพราะในที่สุดเราก็มากราบนมัสการรอยพระพุทธบาทชเวเซ็ทตอว์ได้สำเร็จ แม้หนทางจะยากลำบากเพียงใด

หลังจากนั้นพระอาจารย์สั่งให้ออกเดินทางต่อ เพราะยังมีเวลาไปฉันเพลข้างหน้า คณะรถตู้จึงออกเดินทางข้ามเขา "อารกันโยมา" (Arakan Yoma) อันคดเคี้ยว เพื่อไปมร็อกอู (Mrauk U) หรือยะไข่ (Rakhine) ฝั่งตะวันตกของพม่า

วันนี้ท่านกะข้ามเขาไปให้ได้ครึ่งทางที่เมืองอัน (Ann) ก่อน โดยแวะส่งรูปและสำเนาพาสปอร์ตให้ ต.ม.พม่า ที่ตั้งด่านอยู่ข้างทาง เพื่อรีบไปหาที่พักที่ Ann ก่อนค่ำ (ท่านคำนวณระยะทางข้ามเขาประมาณ 4 ช.ม.)

เป็นอันว่า..ที่ยะไข่มีสิ่งใดหนอ..ที่ทำให้เราต้องดั้นด้นไปด้วยความยากลำบากให้ถึงที่นั่น ติดตามได้ในตอนหน้านะคะ สวัสดีค่ะ

"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 20/9/18 at 14:11 Reply With Quote


[ ตอนที่ 41/1 ]
(Update 30 กันยายน 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่แปด) 21 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-อัน (Ann)

พระมหามุนี อารกัน (Mahamuni Buddha Temple) เมืองมร็อคอู (Mrauk U) ช่วงที่ 1

"...หลังจากได้กราบไหว้ "รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ตตอว์" (Shwe Set Taw Buddha's Footprints) ได้สำเร็จสมปรารถนาทุกอย่าง

พอลองย้อนมองกลับไป พวกเราก็เกือบจะพลาดโอกาสร่วมในเทศกาลพิธีเปิด "รอยพระพุทธบาท" แบบหวุดหวิดเส้นยาแดงผ่าแปดเสียแล้วสิคะ

เนื่องจากในสมัยก่อน พิธีเปิดจะมีขึ้นในช่วงบ่าย พระอาจารย์ชัยวัฒน์ เลยวางแผนพักค้างแรมที่เมืองมินบู (Minbu) ที่อยู่ห่างจากชเวเซ็ตตอว์ ประมาณ 150 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงเศษ

แต่ก็แปลกที่มีเหตุที่ทำให้เราไม่ได้พักที่นั่น โดยพี่ติ๋ม (อภิญญา) รับหน้าที่ติดต่อจองที่พักล่วงหน้าทุกแห่ง แต่บางแห่งก็จองไม่ได้

ตอนหลังจึงทราบสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร โดยเฉพาะที่เมืองมินบูหรือมาเกว จะหาที่พักไม่ได้เลย จนกระทั่งต้องมานอนในกระต๊อบนี่เอง แล้วก็ได้เข้าร่วมพิธีเปิดรอยพระพุทธบาทสมปรารถนา

หากได้ที่พักในเมืองก็จะไม่ทันร่วมพิธีนี้อย่างแน่นอน เพราะเขาเปิดรอยพระพุทธบาทในตอนเช้ากัน

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ตอนแรกท่านตั้งใจจะขึ้นไปกราบรอยพระบาทที่อยู่บนเขาก่อน แล้วค่อยลงมากราบอีกรอยหนึ่ง ที่อยู่ในมณฑปข้างล่าง

แต่พอไปถึง เห็นคนมาออกันเต็มมณฑป จึงเดินเข้าไปดูแล้วก็หาที่นั่ง จนกระทั่งใกล้เข้าไปเรื่อยๆ จนถึงหน้าประตู

ตอนนี้ก็เลยถึงบางอ้อว่า พิธีเปิดที่มีผู้หลักผู้ใหญ่พม่ามากันมาก เขาจะมาทำกันตอนนี้แล้ว นี่เกือบจะพลาดโอกาสสำคัญไปเสียแล้วสิคะ

เหมือนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่านช่วยดลจิตดลใจ และเบื้องบนได้จัดสรรให้เราได้เจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ทำให้พวกเราได้กราบไหว้สมปรารถนาทุกอย่าง

ช่วงฉันเพล พระอาจารย์ชัยวัฒน์และชาวคณะได้แวะที่ร้านอาหารพม่า ระหว่างทางไปเมืองอัน (Ann) ที่เราจะไปพักในคืนนี้

เพื่อเตรียมตัวไปกราบนมัสการ "พระมหามุนีองค์ต้น" ที่มร็อคอู (หรือ มรัคอู, เมียวอู Mrauk U) รัฐยะไข่ (Rakhine) ในวันรุ่งขึ้น

พนักงานสาวน้อยวัยรุ่นได้ออกมาต้อนรับดูแลเทคแคร์อย่างดี พ่อครัวพม่าที่นี่ฝีมือดีมาก เคยทำงานที่เมืองไทย อาหารที่เราสั่งก็เลยอร่อยถูกปาก

ในช่วงบ่าย ระหว่างเส้นทางที่คดเคี้ยว ผ่านเทือกเขาอารกันโยมา (Arakan Yoma) พวกเราก็ได้ชมทิวทัศน์สองข้างทางด้วยความสวยงาม

แต่ก็ต้องลุ้นไปด้วยความหวาดเสียว เพราะคดเคี้ยวเลี้ยวลดสุดๆ ถนนก็เล็กและแคบ เวลามีรถใหญ่วิ่งสวนมา ทำเอาใจตกมาที่ตาตุ่ม

แต่คนพม่าเค้าชินกับเส้นทางแบบนี้ เลยขับแบบชิลล์ๆ ต้องยอมรับว่า คนขับรถตู้เราทั้งสองคนเก่งมากๆ พวกเราได้แวะลงถ่ายรูปกันเป็นระยะ

จนมาถึงรีสอร์ท (Paradise Resort) ในเวลาเย็นมากแล้ว ถึงแม้จะไม่ได้จองไว้ล่วงหน้า เพราะไม่รู้จะใช้แผนไหนดี

แต่โชคก็ยังเข้าข้างพวกเรา คือยังมีห้องพักเหลือ 10 กว่าห้อง มีคนพม่ามาพักบ้างนิดหน่อย พรุ่งนี้ ตอนล่องกลับจากมร็อคอู เราต้องกลับมาพักที่นี่อีก ก็เลยจองไว้ 2 คืน

อาหารเย็นมื้อนี้ถูกรังสรรค์โดยพี่หนิง พี่โหน่ง พี่แตน เป็นอาหารไทยพวกผัดผัก ไข่เจียว ต้มมาม่า น้ำพริกที่ขนมาจากเมืองไทย

เตาแก็สที่พี่บุ๋มขนมา ก็ได้ใช้ประโยชน์กันคราวนี้แหละค่ะ ส่วนแก็สที่ขนมา 34 กระป๋อง ยังนึกๆ อยู่ว่า จะใช้กันยังไงหมด นึกๆ แล้ว ก็ขำดี

ท่านผู้อ่านคงสงสัยใช่มั้ยคะว่า จะขนไปเยอะแยะขนาดนั้นทำไม แหม..ใครจะนึกละคะว่า มาพม่า อาหารการกินจะบริบูรณ์ขนาดนี้ อาหารไทยแทบจะหากินได้แทบทุกเมือง

ทุกอย่างผิดจากที่จินตนาการไว้หมด เพราะเมื่อหลายปีก่อน เมื่อครั้งที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์มา หลายสิ่งหลายอย่างยังไม่เจริญเท่านี้ ต้องใช้ความอดทนและความเพียรมาก

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2543 ตอนนั้นทางด่านพม่าไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติผ่านเส้นทางนี้ เนื่องจากเกรงความไม่ปลอดภัย

พระอาจารย์จึงต้องย้อนกลับไปทางย่างกุ้ง แล้วนั่งเครื่องบินไปที่เมืองสิตทวย จากนั้นก็นั่งเรือต่อไปที่ยะไข่อีก 4-5 ชั่วโมง

แต่ตอนนี้พระอาจารย์ต้องการจะข้ามเขาอารกันโยมา เพราะเห็นว่ามาถึงชเวเซ็นตอว์ก็ได้ครึ่งทางแล้ว

ก่อนการเดินทางพระอาจารย์จึงให้ "พี่หมี กัญญาวีร์" และ "ลิ้นจี่" คนงานชาวพม่า "ร้านเจ๊มายิน" โทรไปสอบถามรีสอร์ทที่เมืองอัน เพื่อให้ช่วยหารถต่อไปยะไข่

ส่วนอีกทางหนึ่งก็ติดต่อกับไกด์ท้องถิ่นที่ยะไข่เพื่อหารถมินิบัส 1 คัน แต่เขาคิดค่าเช่า 1,000 เหรียญต่อวัน

นั่นเป็นการวางแผนไว้ก่อนเดินทาง แต่พอถึงวันเดินทางจริง ปรากฏว่าตัดสินใจเอารถตู้ของเราไปเองเลยดีกว่า

ทุกอย่างจึงเป็นบุญจัดสรรลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเห็นที่พักก็หายเหนื่อยกัน ครั้นพออิ่มหนำกันแล้ว ก็แยกห้องใครห้องมัน

พักผ่อนเอาแรงสำหรับการเดินทางพรุ่งนี้ การเดินทางไปยะไข่จะเป็นอย่างไร ขอบอกว่า ไม่หมูเลยค่ะ ติดตามต่อในตอนหน้านะคะ...สวัสดีค่ะ

"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 25/9/18 at 10:15 Reply With Quote


[ ตอนที่ 41/2 ]
(Update 5 ตุลาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่เก้า) 22 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-อัน Ann-ยะไข่)

พระมหามุนี อารกัน (Mahamuni Buddha Temple) เมืองมร็อคอู (Mrauk U) ช่วงที่ 2

"...เช้าตรู่วันนี้ ตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2561 นับวันที่เก้าของการเดินทาง พวกเราออกเดินทางจากรีสอร์ตที่เมืองอัน (Ann) ตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น

เนื่องจากเป็นการเดินทางระยะทางไกล ผ่านเส้นทางวิบากเลียบเทือกเขาอารกัน จึงต้องเตรียมเผื่อเวลาไว้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์วางแผนไว้ว่า จะไปไหว้พระมหามุนีองค์ต้น (องค์พี่) แล้วกลับมาค้างคืนที่นี่อีกหนึ่งคืน

ระหว่างทางไป "มร็อกอู" ตอนแวะเข้าห้องน้ำที่ร้านค้าข้างทาง พระอาจารย์ชัยวัฒน์เห็นเด็กน้อยชาวพม่า นั่งตาแป๋วตากแดดอุ่นๆ ยามเช้า เลยอดที่จะนำขนมที่เตรียมไปจากเมืองไทยไปแจกไม่ได้

คนขับรถทำเวลาได้ดี เลยทำให้เราไปถึงที่หมายประมาณ 10.30 น. ตามที่พระอาจารย์วางโปรแกรมไว้ แหม..กว่าจะไปถึง ก็นั่งลุ้นนอนลุ้นจนตัวโก่ง ก็มันหวาดเสียวนี่คะ


พอผ่านเทือกเขาอารกันมาได้ ค่อยหายใจหายคอสะดวกหน่อย นั่งมองวิวทุ่งหญ้ามัสตาร์ดสองข้างทางอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ หน้าตาชาวบ้านแถวนี้ออกไปทางแขกอินเดีย จนบางทีก็ลืมไปว่า ชั้นอยู่เมืองพม่านะจ๊ะ

หลังจากแวะฉันเพลที่ร้านอาหาร ที่เค้าว่ากันว่า อร่อยที่สุดในเมืองแล้ว เราก็ตรงดิ่งไปยัง "วัดพระมหามุนี" ระยะทางเป็นถนนลูกรังธรรมดา ประมาณ 30-40 ก.ม. (มีคลิปวีดีโอเมื่อปี 2545 ให้ชมด้วย)

นับว่าเป็นโชคดีของพวกเราอีกครั้ง เมื่อไปถึง ที่วัดกำลังบูรณะ "ฉัตรมณฑปพระมหามุนี" อยู่พอดี เนื่องจากถูกลมพายุพัดเสียหายตั้งแต่ปีที่แล้ว

ช่วงนี้ทางวัดกำลังบูรณะ ยังเหลือฉัตรให้เราร่วมบูรณะอีก 2 ฉัตร ก่อนที่จะทำพิธียกฉัตรอีก 5 วันข้างหน้า เรียกว่า มาทันเวลา พอดี พวกเราทุกคนหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งทันทึ

จึงนำเงินกองกลางร่วมทำบุญ และยังควักเงินส่วนตัวต่อยอดเพิ่มไปอีก โดยพระอาจารย์ชัยวัฒน์เป็นผู้ปิดบุญปิดท้ายรายการ

รวมเป็นเงินทำบุญบูรณะ 300,000 จ๊าด และเงินยูเอส 500 ดอลลาห์ นอกจากนี้ ยังร่วมทำบุญค่าไฟฟ้าอีก 30,000 จ๊าด คิดเป็นเงินพม่า 995,000 จ๊าด

ทำกันแบบไม่เสียดาย เพราะโอกาสที่จะมาแบบนี้ เรียกได้ว่า ยากสุดๆ พระอาจารย์ชัยวัฒน์ท่านเคยร่วมบุญซ่อมแซมฉัตรที่วิหารพระมหามุนีที่มัณฑเลย์แล้ว

การมาครั้งนี้จึงมีนัยพิเศษ ท่านมีความรู้สึกว่า ท่านอยากจะมา ก็เลยได้มีโอกาสบูรณะฉัตรวิหารพระมาหามุนีองค์พี่ นับว่าได้ทำครบถ้วนทั้งสองแห่ง

ชาวคณะยังได้ถวายของมีค่าเพื่อบูชาพระมหามุนีองค์พี่ด้วย อันมี พวงมาลัยแก้ว, กำไล, อัญมณี, แผ่นทองคำเปลวแท้ เป็นต้น

พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้เป็นตัวแทนของพวกเรา ถวายเครื่องบูชา โดยเจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้ขึ้นไปบูชาถึงองค์พระ ได้ไปกราบแทบพระบาทท่านอย่างใกล้ชิด


ประวัติ "พระมหามุนีอารกัน (องค์ต้น)" แห่งยะไข่


...ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมเทศนาโปรดชาวเมืองธัญญาบุรี (ยะไข่) โดยเสด็จมาประทับ ณ ยอดเขาศิลาคีรี

(อยู่ด้านหลังของพระวิหาร ซึ่งอยู่ไกลมาก จะสามารถมองเห็นเจดีย์สีทองอยู่บนยอดเขา ที่สร้างเพื่อครอบจุดที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จประทับยืน และตรงข้ามกับวิหารพระมหามุนีองค์ต้น จะเป็นเทือกเขาอารกันโยมา กรุณาดูคลิปวีดีโอปี 2545)

จากนั้นพระพุทธองค์ได้เสด็จเข้ามายังพระนคร เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน พระเจ้าจันทราสุริยาทรงทูลขอให้พระพุทธเจ้าทิ้งตัวแทนของพระองค์ไว้ให้มวลมนุษย์

พระพุทธองค์จึงทรงประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ ในขณะที่ท้าวสักกะได้ทรงสร้างพระพุทธรูป ซึ่งดูราวกับมีชีวิตขึ้นมา พระมหามุนีจึงประดิษฐานเหนือบัลลังก์ประดับเพชร อยู่ที่เนินเขาสิริกุตตะ

แต่บางตำนานได้เล่าว่า "พระเจ้าจันทราสุริยา" ได้ให้ช่างนำหินมาแกะสลักเป็นรูปเหมือนของพระพุทธเจ้า ขนาดเท่าองค์จริง ขณะที่กำลังแสดงธรรมอยู่

และเมื่อเสร็จแล้วได้นำเป็นต้นแบบ โดยหล่อองค์ที่สองด้วยทองสัมฤทธิ์ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเทศนาจบแล้ว ได้ทำการหายใจรดพระพุทธรูปทั้งสององค์

ซึ่งถือว่าเป็นการปลุกเสกด้วยพระพุทธองค์เอง และได้มีพุทธวาจากล่าวกับพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ว่า จงอยู่ที่นี้ เพื่อเป็นที่สักการะของผู้มีความศรัทธาต่อไป

ฉะนั้น "พระมหามุนีองค์ต้น" หรือองค์พี่ (อารกัน มหามุนี) เป็นองค์แรกที่แกะสลักจากหินอ่อน ซึ่งมีขนาดเท่าองค์จริง

ปกติจะมีน้ำซึมออกมาตามผิวของพระพุทธรูปคล้ายกับเหงื่อซึมออกมาตลอดเวาลา แต่ปัจจุบันนี้ทางวัดได้ปิดทององค์พระ จึงทำให้ไม่มีเหงือซึมออกมาอีก

ส่วนพระมหานุมีองค์น้อง (มัณฑเลย์ มหามุนี) องค์นี้สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ มีขนาดใหญ่กว่าองค์ต้น โดยได้ทำการถอดแบบมาจาก "พระมหานุนีองค์ต้น"

ซึ่งมีผู้มาปิดทองคำเปลวจนทำให้องค์พระมีลักษณะใหญ่ขึ้น จึงเรียกว่า พระพุทธรูปเนื้อนิ่ม (ปิดทองได้เฉพาะผู้ชาย)

สมัยที่ "พระเจ้าอนุรุทธ" (อโนรธามังช่อ) ครองเมืองพุกาม พระองค์ได้พิชิตภาคเหนือของยะไข่ พยายามจะนำพระมหามุนีกลับไปด้วย แต่ก็ไม่สามารถนำกลับไปได้

ต่อมา "พระเจ้าอลองสินธุ" พระราชนัดดาของ "พระเจ้าอนุรุทธ" ตีเมืองยะไข่ พ.ศ.1661 ทหารได้ทำลายวัดและลอกเอาทองจากพระมหามุนีไป หลังจากนั้นชาวยะไข่ได้บูรณะขึ้นมาอีก

เมืองยะไข่ (มร็อกอู) เดิมเป็นที่อาศัยของชาว "ศากยะ" ที่อพยพมาจากกรุงกบิลพัสดุ์ คนที่นี่จะชำนาญการเดินเรือ จะมีอาชีพประมงและเป็นโจรสลัดด้วย

โดยเฉพาะทำเลที่ตั้งของเมืองนี้ ทางด้านหนึ่งจะติดกับทะเล อีกด้านหนึ่งจะมีเทือกเขาอารกันโยมาขวางกั้นอยู่

ทอดตัวเหมือนกำแพงเมือง ถ้ามีช่องว่างระหว่างเขา ก็จะใช้อิฐแล หินก่อขึ้นเชื่อมรอยต่อของเทือกเขาให้เป็นกำแพงต่อเนื่องกันไป

เพราะฉะนั้น เมืองยะไข่จึงมักจะไม่ค่อยมีข้าศึกมารุกราน โดยเฉพาะพระมหามุนีไม่มีใครสามารถนำไปได้ จะยกไปทางเรือก็ยาก หรือ จะข้ามเขาอารกันโยมายิ่งยากใหญ่

แต่ผลสุดท้าย ต้องพ่ายแพ้ให้แก่ราชบุตรของพระเจ้าอลองพญา ชื่อว่า พระเจ้าโบดอพญา (พระเจ้าปะดุง) ด้วยความประมาทของชาวยะไข่ด้วยที่มัวระวังแต่ทางน้ำ ไม่นึกว่าทัพของข้าศึกจะเข้ามาทาง "เมืองมินบู" แล้วข้ามเทือกเขาอารกันโยมาจนสำเร็จ

กว่าจะป้องกันได้ทัน ข้าศึกก็บุกเข้ามาถึงแล้ว ชาวยะไข่จึงต้องร่ำไห้ด้วยเความเสียดาย เมื่อข้าศึกใช้ความฉลาดที่แยบยลกว่า ชนิดว่าบุกเข้าตีท้ายครัวนั่นแหละ

ที่นี้ท่านผู้อ่านลองคิดดูอีกซิว่า พระพุทธรูปใหญ่มีน้ำหนักมากๆ อย่างนี้ เขาจะเอาข้ามเทือกเขาสูงไปได้อย่างไร

คงจะไม่ยากสำหรับผู้ที่วางแผนมาดีแล้ว ในตอนแรกนั้น จะอัญเชิญพระมหามุนีองค์ต้นไป แต่แปลกที่ไม่สามารถจะยกให้ขยับเขยื้อนได้

ทั้งที่องค์เล็กกว่า จึงเปลี่ยนใจนำพระมหามุนีองค์น้องไปแทน โดยการตัดองค์พระออกเป็น ๓ ส่วน แล้วนำไปประกอบขึ้นใหม่ที่ "เมืองอมรปุระ"

ตั้งแต่บัดนั้นมา "พระมหามุนี" องค์นี้ (สมัยนี้คนไทยเรียก "พระมหามัยมุนี" แต่ภาษาอังกฤษ Mahamuni ยังเหมือนเดิม) ก็ได้มาสถิตสถาพรอยู่ในเมืองมัณฑเลย์ ส่วนพระมหามุนีองค์พี่ ยังคงประดิษฐานที่ยะไข่

ปัจจุบัน น่าเสียดายที่มีการถอดเครื่องทรงพระมหามุนีออก เก็บใส่ไว้ในตู้กระจก เจ้าหน้าที่เล่าว่า สาเหตุที่ถอดออก เพราะชาวพม่าไม่นิยมทรงเครื่องจักรพรรดิ เพราะดูเหมือนเทวดามากกว่า ก็เลยถอดเครื่องทรงท่านออก

พระอาจารย์ชัยวัฒน์เลยตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะทำผิดที่ไปถอดเครื่องทรงท่าน เพราะเดิมท่านทรงเครื่องพระนิพพานเต็มยศ พอถอดออกก็เหมือนลดพระยศของท่าน จึงเกิดปัญหาชนกลุ่มน้อย และเหตุการณ์ไม่สงบในดินแดนแถบนี้

หลังจากกราบไหว้บูชาสมดังปรารถนาแล้ว ชาวคณะก็ต้องรีบตีรถกลับไปพักที่เมืองอันตามเดิม เพื่อไม่ให้ถึงดึกจนเกินไป

เนื่องจากหนทางค่อนข้างอันตราย ถ้าไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ก็มีโอกาสผิดพลาดค่อนข้างสูง พรุ่งนี้เราจะเดินทางกลับ และจะไปที่ไหนกันต่อ ติดตามได้ตอนต่อไปนะคะ...สวัสดีค่ะ

"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 30/9/18 at 19:11 Reply With Quote


[ ตอนที่ 42/1 ]
(Update 10 ตุลาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบ) 23 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม)

พระเจดีย์ตันจิต่อง (Tant Kyi Taung Pagoda) บ้านซุนจอง เมืองพุกาม (Bagan) ช่วงที่ 1

"...เช้าวันนี้ ตรงกับวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2561 นับนิ้วดู ก็ย่างเข้าสู่วันที่ 10 ของการเดินทางแล้วค่ะ ไม่น่าเชื่อว่า เวลาจะผ่านไปรวดเร็จดุจติดปีกบิน

ชาวคณะได้ออกเดินทางจากเมืองอัน (Ann) แต่เช้าตรู่ เพื่อไปยังเมืองพุกาม (Bagan) ซึ่งอยู่ห่างจากที่นี่ประมาณ 295 กิโลเมตร หรือขับรถประมาณ 7 ชั่วโมง ฟังดูไกล๊..ไกลจังเลยนะคะ

อากาศยามเช้าราวๆ 13 องศา เราล่องกลับไปทางเดิม โดยลัดเลาะไปตามทางเทือกเขาอารกันโยมา (Arakan Yoma) เช่นเดิม

ที่เพิ่มเติม ก็คือ ความปิติอิ่มเอมใจ ที่ได้ไปกราบ “พระมหามุนี อารกัน” ได้สำเร็จ ดังที่ได้เล่าไปเมื่อตอนก่อน แน่นอน..ว่าปลื้มเป็นที่สุด

ด้วยเหตุที่ว่า พระอาจารย์ต้องทำการบ้านก่อนเดินทางไว้ โดยเฉพาะมร็อคอูท่านบอกยากที่สุด ต้องเตรียมแผนการเดินทางไว้หลายแผน

บางแผนก็จะต้องนั่งรถในเวลากลางคืน เพื่อไปถึงในตอนเช้า พอตอนเย็นกราบไหว้พระมหามุนีองค์พี่เสร็จ ก็ต้องเดินทางกลับทันมี (หมายเหตุ - ในเรื่องนี้ท่านบอกให้เตรียมยานอนหลับไปด้วย เผื่อนอนในรถมันไม่หลับ)

สรุปว่าการเดินทางก็จบลงไปด้วยความสำเร็จ เพราะไม่ต้องหารถเช่า แล้วก็แพงด้วย เงินที่เหลือจึงได้นำไปทำบุญฉัตรใหม่กันเต็มที่

เป็นอันว่า วันนี้ก็มีเวลาไปลุยต่อให้ถึงพุกาม พร้อมกับยกภูเขา "อารกันโยมา" ออกไปจากอกได้ด้วย อนุโมทนาสาธุ..ด้วยกันค่ะ



การจัดอันดับ "ที่สุด" ในทริปนี้ (ทำบุญมากที่สุด) เป็นลำดับที่ 7. พระมหามุนี - ยะไข่ (พระวิหารทำฉัตรใหม่) ทำบุญ 995,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)

การจัดอันดับ "ที่สุด" ในทริปนี้ (วิวสายงามที่สุด) เป็นอันดับที่ 17. เทือกเขาอารกันโยมา เมืองยะไข่


ส่วนลำดับที่ 8. พระพุทธรูป (ลอยน้ำ) ไจ้ปอลอ - เมืองไจ้โท (พระวิหารทำฉัตรใหม่) ทำบุญ 569,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)


...พวกเราแวะถ่ายรูปกัน เพื่อเก็บความประทับใจไว้ในความทรงจำ แสงทองแรกของพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณได้สาดส่องลงมา กระทบกับทะเลหมอกที่ปกคลุมเทือกเขาอารกันโยมา สวยงามจนเกินคำพรรณนา

ไม่น่าเชื่อว่า เราจะผ่านเส้นทางหฤโหดมาได้ ต้องขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน ที่เมตตาปกปักรักษาคุ้มครองให้ทุกอย่างผ่านพ้นมาด้วยดี

จากนั้นได้แวะเติมพลังที่ร้านอาหารร้านเดิม ที่แวะตอนขามา สาวน้อยพนักงานเสิร์ฟ ดีอกดีใจกันใหญ่ ที่ได้เจอพวกเราอีกครั้ง รู้สึกถูกชะตากัน จนอยากจะตามเรากลับเมืองไทยด้วย

ระหว่างทาง พอดีเจอคณะชาวบ้าน ยืนบอกบุญสร้างพระเจดีย์ และทางขึ้น พระอาจารย์ชัยวัฒน์จึงร่วมบุญไป 2,000 จ๊าด บุญเล็กบุญใหญ่ เจอที่ไหน เราเก็บเรียบไม่เหลือหลอค่ะ

ในที่สุด ก็มาถึงเมืองพุกามค่ะ พระอาจารย์จะพาเรามาไหว้ “พระเขี้ยวแก้ว” ทั้ง 4 ทิศ แห่งเมืองพุกาม อันประกอบด้วย

1. พระเจดีย์ชเวซิกอง (Shwezigon Pagoda)
2. พระเจดีย์โลกะนันดา (LawkanandaPagoda)
3. พระเจดีย์ตุรินต่อง (Tuyintaung Pagoda)
4. พระเจดีย์ตันจิต่อง (Tantkyitaung Pagoda) พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่นี่เป็นแห่งแรก

พระเขี้ยวแก้วทั้งสี่แห่งนี้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ไปกราบครบถ้วนทุกแห่งแล้ว สมัยก่อนเมื่อครั้งพระอาจารย์มาพุกามครั้งแรก (ปี 2539 และ 2543 ดูคลิปได้ค่ะ)

ตอนนั้นยังไม่มีเครื่องบินมาลง ยังต้องเดินทางโดยรถยนต์ หรือรถไฟ ยังไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ และออกจะแห้งแล้ง คล้ายเป็นทะเลทรายมาก่อน ท่านจึงได้ทำพิธีบวงสรวงเป็นปฐมฤกษ์

แต่ชั่วระยะเวลาไม่กี่ปี ทางการพม่าได้พัฒนา ด้วยการต่อท่อน้ำและปลูกต้นไม้ ไปพร้อมๆ กับบูรณะปิดทององค์พระเจดีย์

จนทุกวันนี้ “เมืองแห่งพระเจดีย์สี่พันองค์” กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง กลายเป็นสถานที่ที่นักแสวงบุญทั่วโลกใฝ่ฝันจะมาเยือนให้ได้สักครั้งในชีวิต

แต่การเดินทางในครั้งนี้ ไม่แน่ใจว่าจะไปได้ครบทั้งสี่ทิศหรือไม่ เพราะพระอาจารย์ท่านถือเคล็ด จะไม่บอกสถานที่แต่ละแห่งให้ทราบก่อนเลย

ส่วนใหญ่ทุกเช้ามืด ท่านจะส่งแผนที่การเดินทาง (ผ่าน Line) เท่านั้น โดยเฉพาะเส้นทางวันนี้ ถ้าดูตามแผนที่ จะเห็นว่าท่านไม่ได้ใช้เส้นทางปกติเลย

ท่านบอกว่าไม่มีอะไรที่จะเสี่ยงยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว พวกเราต้องเดินหน้า..ฆ่าลูกเดียว เพราะอะไรรู้ไหมค่ะ ที่บอกว่าท่านต้องเสี่ยง ?

เป็นเพราะท่านบอกว่า ท่านดูแค่ใน Google Map เท่านั้น มันยังไม่รู้จริง วันนี้ท่านจึงสั่งให้รถตู้วิ่งไปตามถนนไฮเวย์สายพะสิม-พุกาม โดยผ่าน "รอยพระพุทธบาทชเวเซทตอว์" ที่เราไปมาแล้วนั่นเอง

ตามธรรมดาถ้าเป็นคนไทยหรือชาวพม่าทั่วไป ก็ต้องไปตามเส้นทางปกติ คือ จาก "เมืองอัน" ต้องไปที่ "เมืองมาเกว" ก่อนแล้วถึงจะไป "เมืองพุกาม" แล้วถึงจะไปพระเจดีย์ตันติต่อง ซึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำอิรวดีกันอีก

แต่ท่านตัดสินใจมาเส้นนี้โดยวิ่งตรงไปเลย (ดูแผนที่ประกอบด้วย) โดยไม่ต้องข้ามแม่น้ำอิรวดี แต่ต้องผ่านป่าไม้ที่ไม่มีบ้านคนบ้าง ซึ่งเป็นเขตอุทยานแห่งชาติชเวเซทตอว์นั่นเอง

เป็นอันว่า หลังจากแวะทานอาหารกลางวันที่ร้านเดิมกันแล้ว ท่านก็ตัดสินใจโดยคนขับรถตู้ก็ยังไม่เคยไป แต่เขาก็ตามใจเรา ปรากฏว่าไงรู้ไหมค่ะ สภาพถนนดีตลอดเลย แล้วก็ไม่ค่อยมีรถอีกด้วย


ประวัติเมืองพุกาม

...สมัยที่พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุได้ 70 ปี (35 พรรษา) ได้เสด็จมาที่ “ภูเขาตันจิต่อง” แล้วทรงชี้ให้พระอานนท์ ดูที่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำอิรวดี และตรัสว่า “ฝั่งโน้นมีป่าไม้และบ่อน้ำ มีนกกระยาง และนกอีกาอยู่บนต้นไม้”

คำว่า “มีนกอยู่ที่บ่อน้ำ” แปลว่า ตถาคตปรินิพพานไปแล้ว หลังจาก 651 ปี ที่ตรงนั้นจะเป็น “เมืองโป๊กกาม” (พุกาม) มีราชวงศ์ 55 พระองค์ ส่วนคำว่า “นกกระยางเกาะอยู่บนต้นไม้” แปลว่า “ประชาชนที่เมืองนี้ จะอยู่ดีกินดี มีความสุข”

ต่อมาหลังจากที่พระศาสดาพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้จะเจริญรุ่งเรือง ประมาณปี พ.ศ.651 “พระเจ้าสมุทรธิราช” สร้างเมือง “อริมัทนปุระ” หรือว่า “เมืองโป๊กกาม” (ปะกัน) และมีชนชาติพยู ตั้งเมืองหลวง อยู่ที่ “ศรีเกษตร” (เมืองแปร)

แล้วได้มีการทำสงครามกันระหว่างชาวไตจากยูนนานบ้าง จากมอญบ้าง จนถึงสมัย “พระเจ้าอนุรุทธมหาราช” หรือ “พระเจ้าอโนรธามังช่อ” (King Anawratha) (พ.ศ.1587-1620) ลำดับที่ 42 แห่งราชวงศ์ ทรงพิชิตอาณาจักรมอญได้ในปี พ.ศ.1600

พระองค์ได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงสร้างพระเจดีย์ไว้มากมาย โดยรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุจาก “เมืองปีเยย์” มีพระรากขวัญ (ไหปลาร้า) และพระนลาฏ (หน้าผาก) และทรงได้รับ “พระเขี้ยวแก้ว” จากลังกาด้วย คือ

ในปี พ.ศ.1601 พระเจ้ากรุงลังกาได้ถวายพระเขี้ยวแก้ว 1 องค์ โดยท่านทูตของลังกาอัญเชิญมาทางเรือ เมื่อมาถึง “ท่าเรือโลกะนันดา” พระเจ้าอนุรุทธได้เสด็จลงไปในน้ำ แล้วอัญเชิญขึ้นบนพระเศียร

พร้อมกับเสี่ยงอธิษฐานว่า หากพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองในเมืองพุกาม ขอให้พระเขี้ยวแก้วนี้จงแสดงอภินิหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ปรากฏว่าพระเขี้ยวแก้วได้แยกออกเป็น 4 องค์ด้วยกัน

หลังจากนั้นพระองค์ทรงปล่อยให้พญาช้างเผือกที่ใช้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วนี้ เพื่อเป็นการเสี่ยงทาย
ถ้าไปอยู่ที่ไหน ก็จะสร้างเจดีย์ที่นั่น ผลปรากฏว่า พระเขี้ยวแก้วได้ประดิษฐานอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว



...พระอาจารย์จึงให้แวะที่ “พระเจดีย์ตันจิต่อง” เป็นลำดับแรก ทางเดิมที่เราจะไป ต้องข้ามแม่น้ำอิรวดี แต่เจอปิดซ่อมสะพาน พระอาจารย์เลยให้ใช้เส้นทางขึ้นทางด้านหลังเขา ถนนค่อนข้างขรุขระ ต้องคอยลุ้นกันตลอดทาง

รถตู้นำพวกเราทั้ง 14 ชีวิต อ้อมไปทางด้านหลังพระเจดีย์ มองดูเทือกเขาที่แห่งแล้ง ราวกับวิ่งไปในทะเลทราย จนกระทั่งมองเห็นยอดพระเจดีย์แต่ไกล ก็เป็นเวลาใกล้เย็นแล้ว

ซึ่งไม่เหมือนตอนที่ท่านมาครั้งแรกๆ จะต้องไปขึ้นทางด้านหน้าพระเจดีย์ ซึ่งจะต้องผ่านหมู่บ้านพอสมควร แต่ครั้งนี้แม้ท่านจะเสี่ยง แต่ก็มาถึงจนสำเร็จและปลอดภัยค่ะ

หลังจากกราบไหว้บูชาพระเขี้ยวแก้วเรียบร้อยแล้ว ได้ร่วมบุญบูรณะ 110,000 จ๊าด และทำบุญค่าไฟฟ้า 40,000 จ๊าด พอจะกลับ ก็ได้เจอกับคุณลุงที่ดูแลสถานที่ พระอาจารย์เลยควักรูปเก่าๆ ที่มาเมื่อครั้งที่แล้วให้ดู

ปรากฏว่า คนที่อยู่ในรูปเป็นพ่อของคุณลุงเอง แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว ก่อนจากกัน คุณลุงก็มายืนส่ง โบกมือบ๊ายบาย พร้อมด้วยรอยยิ้ม นับเป็นมิตรภาพดีๆ ที่เราพบได้เกือบทุกแห่งในพม่า

คนพม่าส่วนใหญ่จริงๆ แล้ว มีนิสัยรักสงบ มีน้ำใจ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม แถมยังมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต้องรู้จัก แล้วจะรักพม่า เหมือนผู้เขียนค่ะ

คืนนี้เราได้จองที่พักที่พุกามไว้ 2 คืน (พี่ติ๋ม อภิญญา จองไว้ล่วงหน้าแล้ว) เพราะมีโปรแกรมที่จ่อรอคิวยาวเหยียด แต่จะได้ครบทั้ง 4 ทิศหรือไม่ ต้องเสี่ยงกันอีกต่อไป

เพราะว่าพุทธศาสนสถานในเมืองพุกาม ยังมีอีกมากมาย ติดตามไปเรื่อยๆ นะคะ ไว้พบกันในตอนหน้าค่ะ…สวัสดีค่ะ


"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 5/10/18 at 17:49 Reply With Quote


[ ตอนที่ 42/2 ]
(Update 15 ตุลาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบเอ็ด) 24 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม)

พระเจดีย์ตุรินต่อง (Tuyin Taung Pagoda) เมืองพุกาม (Bagan) ช่วงที่ 2

"...เช้าวันที่ 11 ของการเดินทาง วันนี้เรามาอยู่ที่ “เมืองพุกาม” ทางฝั่งตะวันตกของพม่านะคะ หลังจากนอนสลบไสลเหมือนคนแบตหมด รวดเดียวจนถึงเช้าไปเมื่อคืน

หลังจากรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมเสร็จแล้ว เราทิ้งกระเป๋าสัมภาระไว้ที่นี่ วันนี้เราจะตะลุยเมืองพุกามกันทั้งวัน แล้วค่อยกลับมาค้างที่โรงแรมเดิม

ตามโปรแกรมที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์ส่งให้พวกเราทางไลน์วันต่อวัน วันนี้ทั้งวัน เราจะตระเวนรอบเมืองพุกาม

เพื่อไปกราบไหว้พระเขี้ยวแก้วให้ครบทั้ง 4 ทิศ (กรุณาดูแผนที่ประกอบค่ะ) หลังจากที่เมื่อวาน ได้ไปกราบนมัสการที่ “พระเจดีย์ตันจิต่อง” มาเรียบร้อยแล้ว

ด้วยเหตุผลของท่าน เป็นไปตามที่วางแผนไว้ทุกประการ เพราะท่านต้องการเก็บทิศที่ยากก่อน แล้วก็สำคัญที่สุด ตามที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่นี่เป็นจุดแรก

พร้อมกับประทับยืนชี้พระหัตถ์พยากรณ์เมืองพุกามว่า จะรักษาพระพุทธศาสนาได้ครบห้าพันปี เหมือนกับที่บ้านเราคือ "พระธาตุจอมกิตติ" จ.เชียงราย

อีกทั้งด้วยความเชื่อของชาวพม่า ตามที่ "คุณชัย" โชเฟอร์รถตู้ของเราเล่าว่า ถ้าได้กราบไหว้ "พระเขี้ยวแก้ว" ทั้งสี่ทิศของเมืองพุกาม จะเป็นคนโชคดีมาก ประกอบกิจอะไรก็จะสำเร็จทุกประการ

เมื่อวานนี้เราก็ต้องลุ้นกันว่า จะทำได้ครบทั้งสี่ทิศหรือไม่ เพราะเวลาก็ใกล้มืดแล้ว แต่อาศัยฝีมือโชเฟอร์ของเรา ขับรถลงมาจากยอดเขาตันจิต่อง

แล้วมุ่งหน้าไปข้ามแม่น้ำอิรวดีที่สะพาน (Pakokku Bridge) เมืองปะโคะกู ซึ่งมีความยาว 3.4 ก.ม. อยู่ห่างจากเมืองพุกามทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 30 กิโลเมตร และกว่าจะถึงที่พักในเมืองพุกามก็มืดค่ำแล้ว


เช้าวันนี้ ตามคิว จะเริ่มต้นที่ “พระเจดีย์ตุรินต่อง” เป็นที่แรก ชื่ออาจจะฟังดูคล้ายๆ กัน ลงท้ายด้วย “ต่อง” เหมือนกัน ภาษาพม่าแปลว่า "ภูเขา" ท่านผู้อ่านอย่าสับสนนะคะ

รถตู้ได้เคลื่อนตัวออกจากโรงแรม เวลาประมาณ 07.45 น. พระอาจารย์ชัยวัฒน์ให้ความสำคัญเรื่องเวลามาก

เพราะหากพวกเรารักษาเวลาออกเดินทางได้ตามที่นัดหมาย หรือเร็วกว่าก็ยิ่งดี จะทำให้การเดินทางไปกราบไหว้ได้หลายที่ คนที่ได้กำไร ก็คือ พวกเรานั่นเอง

ทริปนี้พวกเราทำเวลากันได้ค่อนข้างดี เลยทำให้เป็นไปตามเป้า แต่วันนี้ ยังคงต้องลุ้นกันต่อว่า จะได้ไปกราบ “พระเขี้ยวแก้ว” ครบทั้งสี่แห่งหรือเปล่า ตามเรามานะคะ

ใช้เวลาไม่นาน ก็มาถึง “พระเจดีย์ตุรินต่อง” ต้องขับรถขึ้นไปบนภูเขาเหมือนเมื่อวาน แต่ทางขึ้นดีกว่ามาก รถตู้ขึ้นได้อย่างสบายๆ

พอมาถึง ภาพความทรงจำเก่าๆ ก็กลับมา หากย้อนไปเมื่อปี 2539 หรือเมื่อ 22 ปีก่อน พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้มาพม่าเป็นครั้งแรก ตอนนั้นมากับ “พระครูสมุห์พิชิต” หรือ “หลวงพ่อโอ” และคณะ

สมัยนั้นต้องเดินทางด้วยรถไฟ เพราะพุกามยังไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ ตอนมาถึง ก็เจอกับเหตุการณ์ประหลาด นั่นก็คือ มีฝนตกลงมาจนน้ำเจิ่งนอง ก่อนที่คณะพระอาจารย์ไปถึง

จะไม่เรียกว่า “น่าประหลาด” ได้อย่างไร เพราะปกติช่วงต้นปียังเป็นฤดูหนาว การที่ฝนจะตกที่พุกามเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมีภูมิประเทศแห้งแล้ง คล้ายทะเลทราย เมื่อก่อนแห้งแล้งกว่านี้มาก

การที่มีฝนตกในยามนี้ จึงไม่ใช่เรื่องธรรมดา “คุณมิคกี้” ไกด์ชาวพม่า ที่พาไปตอนนั้น ยังต้องยอมรับเลยว่า เกิดจากอำนาจพุทธบารมี คณะของพระอาจารย์จึงต้องทำพิธีบวงสรวงโดยที่มิได้เตรียมการณ์เอาไว้ก่อน

ความประทับใจเกี่ยวกับ ”พระเจดีย์ตุรินต่อง” ยังไม่หมดแค่นี้ หลังจากพักค้างคืนที่พุกาม วันรุ่งขึ้น ขณะที่รถพระอาจารย์ชัยวัฒน์ และหลวงพ่อโอ กำลังวิ่งไปไหว้พระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง ที่เพิ่งขุดพบในพระเจดีย์

มีคนเห็น “แสงรุ้ง” ขึ้นบนท้องฟ้า ใกล้ๆ กับดวงอาทิตย์ มีลักษณะเรียวๆ ท่านจีงถามคุณมิคกี้ว่า ตรงที่แสงรุ้งขึ้นบนภูเขานั้น มี “พระเจดีย์สีขาว” ชื่อว่าอะไร

คุณมิคกี้บอกว่า บนภูเขานั้นมี “พระเขี้ยวแก้ว” บรรจุอยู่ในพระเจดีย์ ที่ชื่อว่า “ตุรินต่อง” เมื่อพิจารณาดูแสงรุ้ง พบว่า

มีลักษณะโคนใหญ่ แต่ปลายเรียว คล้ายกับ “พระเขี้ยวแก้ว” ตอนนั้นยังไม่มีอยู่ในโปรแกรม ท่านก็เลยยังไม่ได้ไป

พอมาปี 2543 ท่านมีโอกาสได้กลับไปเยือนพม่าอีกครั้ง คราวนี้ได้ไปกราบไหว้ “พระเจดีย์ตุรินต่อง” สมดังปรารถนา เพราะพบว่าพระเจดีย์กำลังบูรณะอยู่พอดี

ถัดมาในปี 2545 ท่านก็ได้กลับไปที่นี่อีกครั้ง ที่โชคดีก็คือ ไปช่วงที่พระเจดีย์กำลังบูรณะพอดี เลยได้ร่วมบุญบูรณะ 10,000 จ๊าด

รวมครั้งนี้ ถือว่าได้มาทั้งหมด 3 ครั้ง หลังจากได้ถวายเครื่องบูชา อันประกอบด้วยแผ่นทองคำเปลวแท้ ฉัตรเงิน ฉัตรทอง ผ้าห่มสไบทอง อัญมณี น้ำอบน้ำปรุง

ตลอดจนของหอมทั้งหลายแล้ว ได้ทำบุญบูรณะ 85,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 30,000 จ๊าด ขอเชิญทุกท่านโมทนาบุญร่วมกันนะคะ

หลังจากนั้น ได้เดินไปชมวิว มองลงมาจากข้างบน เห็นวิวเมืองพุกาม แบบพาโนรามา 360 องศา บนภูเขามีป่าไม้สีเขียว ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ พื้นที่ราบก็มีต้นไม้อยู่เป็นระยะๆ ดูผิดจากแต่ก่อนที่พระอาจารย์เคยมา

ก็เลยคิดเล่นๆ ว่า การที่พระอาจารย์ได้ทำพิธีมาบวงสรวงที่นี่เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน น่าจะมีส่วนช่วยให้เมืองเจดีย์สี่พันองค์นี้ กลับมาเจริญรุ่งเรืองได้อีกครั้ง

หลังจากสูดอากาศบริสุทธิ์กันจนเต็มปอดแล้ว รถตู้ก็เคลื่อนตัวออกเดินทางต่อไป เพื่อแวะพักรับประทานอาหารกลางวัน

ก่อนจะลุยเมืองพุกามต่อในช่วงบ่าย ยังเหลือพระเขี้ยวแก้วอีก 2 แห่ง ติดตามกันต่อในตอนต่อไปนะคะ ว่า “Mission” นี้จะ “Possible” หรือไม่ ??


"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 11/10/18 at 14:00 Reply With Quote


[ ตอนที่ 42/3 ]
(Update 20 ตุลาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบเอ็ด) 24 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม)

พระเจดีย์ชเวซิกอง (Shwezigon Pagoda) เมืองพุกาม (Bagan) ช่วงที่ 3

"...หลังกลับมาจากการไหว้ "พระเจดีย์ตุรินต่อง" บนเขาสำเร็จแล้ว พวกเราก็ได้วกกลับเข้ามาในตัวเมือง

แวะรับประทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารพม่าจนอิ่มแปล้แล้ว ชาวคณะได้ออกเดินทางต่อไป เรายังเหลือภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จในวันนี้ นั่นก็คือ การเดินทางกราบไหว้ “พระเขี้ยวแก้วแห่งเมืองพุกาม” ให้ครบทั้ง 4 ทิศ

ทบทวนความทรงจำกันสักนิดนะคะ หลังจากเมื่อวานนี้ เราได้ไปกราบสักการะ “พระเจดีย์ตันจิต่อง” เป็นแห่งแรก

ต้องใจหายใจคว่ำที่ลืมเล่าไปว่า ตื่นเต้นกันนิดหน่อย คือนั่งไปลุ้นไประหว่างวิ่งมาตามภูเขา ปรากฏว่ารถตู้ของเราคันหนึ่ง น้ำมันใกล้จะหมดพอดี

เห็นไหมว่าหวาดเสียวแค่ไหน ถ้าเกิดน้ำมันหมดระหว่างทาง โชคดีที่มาถึงจนได้ จากนั้นก็ต้องแบ่งน้ำมันจากรถตู้อีกคัน นั่นก็ต้องนำมาเล่าย้อนหลังกัน

ครั้นถัดมาวันนี้ ก็ได้มากราบ “พระเจดีย์ตุรินต่อง” เป็นแห่งที่ 2 ยังเหลืออีกสองที่ คือ “พระเจดีย์ชเวซิกอง” และ “พระเจดีย์โลกะนันดา” จะอยู่ในโปรแกรมช่วงบ่าย

“พระเจดีย์ชเวซิกอง” ถูกจัดอันดับว่า เป็นพระเจดีย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในพุกาม นอกจากจะบรรจุ “พระทันตธาตุ” หรือ “พระเขี้ยวแก้ว” แล้ว

ยังบรรจุ “พระบรมสารีริกธาตุส่วนหน้าผาก” และ “พระรากขวัญ” (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้าอีกด้วย

น่าเสียดายว่า ช่วงที่เราไป เพิ่งมีการยกฉัตรใหม่ไปเมื่อ 4 เดือนก่อน เราเลยร่วมโมทนาบุญทุกอย่างย้อนหลัง รวมถึงบุญที่จะมีขึ้นในอนาคตด้วย

โอกาสนี้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ร่วมบุญบูรณะปิดทองล่วงหน้า 100,000 จ๊าด และทำบุญค่าไฟฟ้า 30,000 จ๊าด

จากนั้นได้เข้าไปทำพิธีกราบไหว้ถวายเครื่องสักการบูชากันที่ "จุดอธิษฐาน" ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอนุรุทธ เพื่ออธิษฐานให้สมปรารถนาเช่นกัน

ขอเล่าย้อนกลับไปสมัยปี 2539 (ดูคลิปวีดีโอประกอบ) พระอาจารย์ชัยวัฒน์นำคณะประมาณ 43 คนมาที่พุกาม เกิดอัศจรรย์มีฝนตกในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งไม่ใช่เป็นฤดูกาล

เดิมท่านไม่ได้วางแผนจะทำพิธีบวงสรวงที่นี่ แต่จะไปทำพิธีที่มัณฑเลย์ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงต้องเลื่อนเอาบายศรีมาทำพิธีที่นี่ก่อน ส่วนที่มัณฑเลย์ค่อยไปหาใบตองทำแทนภายหลัง

เป็นอันว่า การทำพิธีบวงสรวง ณ ประเทศเมียนมาร์ เมื่อปี 2539 ได้พิธีบวงสรวงแห่งแรกที่ "ชเวดากอง" แห่งที่ 2 ที่ "ชเวซิก่อง" แห่งที่ 3 เมืองมัณฑเลย์ นับเป็นครั้งแรกของการทำพิธีสำคัญในครั้งนั้น

จะเป็นด้วยผลแห่งการทำพิธี ด้วยการอาราธนา "สมเด็จองค์ปฐม" ทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยเปิดเทปเสียงหลวงพ่อฯ บวงสรวง จึงมีส่วนทำให้สถานที่สำคัญในพม่า เจริญรุ่งเรืองจนมาถึงปัจจุบันนี้


ประวัติพระเจดีย์ชเวซิกอง


พระเจดีย์ชเวซิกอง เริ่มสร้างขึ้นในปี พ.ศ.1620 ในรัชสมัยของ “พระเจ้าอนุรุทธมหาราช” หรือ “พระเจ้าอโนรธามังช่อ” (King Anawrahta) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม

ตามที่พระองค์ได้ทรงปล่อยพญาข้างเผือก ที่ใช้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วนี้ เพื่อเป็นการเสี่ยงทาย ถ้าไปหยุดที่ไหน ก็จะสร้างเจดีย์ที่นั่น พระเขี้ยวแก้วจึงได้ประดิษฐานอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว

ขณะที่สร้างฐานเจดีย์ไปได้เพียง 3 ชั้น พระองค์ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ (บางแห่งบอกว่า ถูกควายขวิดจนสิ้นพระชนม์)

พระเจ้าจันสิทธา (King Kyansittha) พระราชโอรส จึงได้มาสานต่อ จนสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.1632

== ความมหัศจรรย์ 10 อย่าง ของพระเจดีย์ชเวซิกอง ==

1. ดูเหมือนตั้งอยู่บนเนินเขา แต่จริงๆ อยู่บนพื้นราบเท่ากับสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
2. ฉัตรบนยอดเจดีย์ปักอยู่บนยอดโดยไม่มีลวดยึดไว้เลย
3. กระดาษทิ้งลงมาจากยอดเจดีย์ จะไม่ปลิวออกจากบริเวณเจดีย์
4. เงาของเจดีย์จะไม่เกินออกไปจากฐานล่าง
5. ต้นไชยา (พิกุล) ออกดอกตลอดปี
6. คนจะมานมัสการมากเท่าใด ไม่เคยเต็ม รับได้หมด
7. ฝนตกมาก น้ำไม่ขังในบริเวณเจดีย์
8. ตีระฆ้งด้านขวา ด้านซ้ายจะไม่ได้ยิน
9. มีจุดอธิษฐาน ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอนุรุทธ
10. เมื่อมีเทศกาลประจำปี ไม่เคยมีใครใส่บาตรได้เป็นคนแรก เพราะถึงจะมาเช้าแค่ไหน แต่ก็จะมีคนใส่บาตรแล้ว (เทวดามาใส่ก่อนเสมอ)

บริเวณลานพระเจดีย์แห่งนี้ จะมีหลุมเล็กๆ กว้างประมาณ 3 นิ้ว ลึก 1 นิ้ว มีน้ำขังอยู่ ถ้าก้มลงมองดู จะเห็นยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นที่สำหรับ "พระมเหสี" ของพระเจ้าอนุรุทธ ชมยอดพระเจดีย์

แต่เดิมนั้นพระนางเคยเงยหน้าขึ้นมอง เป็นเหตุให้ปิ่นปักผมตกลงมา จึงได้ให้ช่างหลวงมาหาวิธีที่พระนางมองยอดพระเจดีย์ โดยไม่ต้องเงยหน้าขึ้นไป นับว่าเป็นเทคนิคที่ชาญฉลาดของคนสมัยโบราณ

จากนั้นพระอาจารย์ได้เข้าไปไหว้พระพุทธรูปเก่าแก่องค์หนึ่ง ที่ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์เล็กๆ มีหลังคาคลุม เป็นทางเดินเข้าไปเป็นช่องเล็กๆ แคบๆ

ต้องมุดเข้าไปทีละคน เป็นพระพุทธรูปศิลาปิดทองเก่าแก่มาก เห็นว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอนุรุทธมหาราชเหมือนกัน


พระสิขีพุทธปฏิมา

พระพุทธรูปองค์นี้ ทำให้นึกถึง “พระสิขีพุทธปฏิมา” ในหนังสือ “ชินกาลมาลีปกรณ์” ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จมาประทับนั่งบนก้อนหินดำก้อนหนึ่ง ใกล้ “เมืองอยุธยา”

แล้วได้ตรัสแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่นั้นมาหินดำก้อนนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายกราบไหว้บูชาเป็นนิจ

หินก้อนนี้มีชื่อว่า “อาทรศิลา” แปลว่า “หินที่เขานับถือ” ต่อจากนั้นมา มีกษัตริย์องค์หนึ่งในเมืองมอญ ได้โปรดให้ช่างแกะสลักหินก้อนนี้เป็นพระพุทธรูปจำนวน 5 องค์

แล้วนำไปประดิษฐานอยู่ในมหานคร 1 ละโว้ 1 สุธรรมวดี (สะเทิม) 1 รัมเทศ (พุกาม) 1 อโยชชปุระ (อยุธยา) 1 และคำว่า “สิขี” แปลว่า “เปลวไฟ” หรือ “นกยูง”

ต่อมาพระเจ้าอนุรุทธได้ทูลขอพระพุทธรูปองค์นี้จาก “พระเจ้ามนูหะ” แต่ไม่ยอมให้ พระเจ้าอนุรุทธจึงยกทัพตีเมืองสะเทิมได้

แล้วจับพระเจ้ามนูหะไปไว้ที่เมืองพุกาม ภายหลังกษัตริย์ในมหานคร ผู้สร้างพระปฏิมาหินดำนี้ ได้ถวายพระพุทธรูปของพระองค์ให้แก่พระเจ้าอนุรุทธ

จึงสันนิษฐานได้ว่า เมืองพุกามต้องมีพระพุทธรูปหินดำไว้ 2 องค์ เพราะในตอนหลังพระเจ้าอนุรุทธก็ได้ถวายพระแม่เจ้าจามเทวีไป 1 องค์

ตามที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์เคยค้นคว้า พระสิขีพุทธปฏิมาทั้ง 5 องค์นี้ น่าจะอยู่ที่ “วัดมหาวัน” จ.ลำพูน ที่เรียกว่า “พระรอดหลวง”

และที่ “วัดพระธาตุลำปางหลวง” จ.ลำปาง หรือที่ “วัดพระบรมธาตุ” อ.บ้านตาก จ.ตาก ปัจจุบันเรียกว่า “พระเจ้าทันใจ” และที่เหลืออยู่ในเมืองพุกาม 1 องค์ ก็น่าจะเป็นองค์นี้ก็เป็นได้


ลืมบอกไปค่ะ ว่ากันว่า สถานที่แห่งนี้เหมาะสำหรับคนที่เกิดวันพุธ และวันเสาร์ มากราบไหว้ขอพรเป็นกรณีพิเศษ ก็ไม่รู้ว่า ทำไมเหมือนกัน แต่สำหรับเรา เกิดวันไหน ก็ไหว้แล้วดีหมด เพราะถือว่า มีพุทธานุสติ

สถานที่ต่อไป จะพาไปไหว้ “พระเจดีย์ที่สวยที่สุดในพุกาม” ทายกันถูกมั้ยคะว่า ที่ไหน ตอนหน้าจะมาเฉลยค่ะ แล้วพบกันนะคะ...สวัสดีค่ะ

"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 15/10/18 at 15:59 Reply With Quote


[ ตอนที่ 42/4 ]
(Update 25 ตุลาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบเอ็ด) 24 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม)

พระเจดีย์อานันดา (Ananda Pagoda) เมืองพุกาม (Bagan) ช่วงที่ 4

"...ในระหว่างที่เราอยู่ที่พุกาม ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็เห็นแต่พระเจดีย์เต็มไปหมด สมดังฉายา ”ดินแดนแห่งพระเจดีย์สี่พันองค์” จริงๆ ค่ะ

ในอดีตอาณาจักรพุกามนั้นมีพระเจดีย์ทั้งสิ้น 4 ล้านกว่าองค์ แต่เนื่องจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวหลายครั้ง ทำให้พระเจดีย์ได้รับความเสียหาย

ปัจจุบันจึงเหลืออยู่เพียงเท่านี้ แต่กระนั้นก็ยังมองแล้วสวยงาม เรียกได้ว่าเป็น”เมืองพระเจดีย์” ที่เดียวในโลกก็ว่าได้ พระเจดีย์ที่สำคัญในพุกามตามที่มีคนจัดอันดับไว้ มีดังนี้

1. พระเจดีย์ชเวซิกอง ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด บรรจุพระเขี้ยวแก้ว สมัยพระเจ้าอนุรุทธมหาราช
2. พระเจดีย์โลกะนันดา มีพระเขี้ยวแก้ว
3. พระเจดีย์ธรรมยางยี ใหญ่ที่สุด
4. วัดอานันดา สง่างามที่สุด
5. วัดธาตุบินยู สูงที่สุด
6. พระเจดีย์กอว์ดอว์ปลิน สวยที่สุด
7. พระเจดีย์ชเวซานดอว์ มีพระเกศาธาตุ

นับตั้งแต่มาถึงพุกาม เราได้ไปกราบไหว้พระเจดีย์ที่บรรจุ "พระเขี้ยวแก้ว" มาแล้ว 3 แห่ง ถ้ายังจำกันได้ ยังเหลือ “พระเจดีย์โลกะนันดา” อีกแห่งเดียว ก็จะครบทั้งสี่ทิศ


ประวัติ “พระเจดีย์อานันดา


...แต่ตอนนี้ ขอคั่นรายการด้วย “พระเจดีย์อานันดา” (Ananda Pagoda) ที่ขึ้นชื่อว่า สวยสง่างามที่สุดกันก่อนนะคะ

“พระเจดีย์อานันดา” หรือออกเสียงแบบพม่าว่า “อานันทพญา” (Ananda Phaya) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1633 ในรัชกาลพระเจ้าจันสิทธา (King Khansittha)

พระโอรสใน "พระเจ้าอโนรธามังช่อ" หรือพระเจ้าอนุรุทธมหาราช (King Anawrahta) ปฐมกษัตริย์แห่งราบวงศ์พุกาม ใช้เวลาเพียง 1 ปี ก็สร้างเสร็จ

ปัจจุบัน ได้รับการยกย่องว่าเป็น “เพชรน้ำเอกของพุทธศิลป์สกุลช่างพุกาม” เมื่อก่อนพระเจดีย์ยังเป็นสีขาวเหมือนพระเจดีย์องค์อื่นๆ

แต่รัฐบาลพม่าได้ทาสีทองทับในปีพ.ศ. 2533 เพื่อสมโภชการสร้างพระเจดีย์ครบรอบ 200 ปี การที่เราไปถึงก็เพิ่งจะเสร็จงานเทศกาลประจำปีพอดี

แผนผังของพระเจดีย์ที่นี่จะไม่เหมือนที่อื่น เพราะถูกออกแบบให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส และมีมุขสี่ทิศ ว่ากันว่าเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบมอญกับอินเดีย

ภายในพระเจดีย์ จะมีพระพุทธรูปประทับยืน 4 ทิศ จำนวน 4 องค์ สร้างด้วยไม้ปิดทอง มีความสูง 9.5 เมตร ประกอบด้วย

1. พระกกุสันธพุทธเจ้า ประจำทิศเหนือ (องค์เดิม แต่เดิมประจำทิศตะวันออก)
2. พระโกนาคมพุทธเจ้า ประจำทิศตะวันออก (สร้างใหม่)
3. พระกัสสปพุทธเจ้า ประจำทิศใต้ (องค์เดิม)
4. พระโคตมพุทธเจ้า ประจำทิศตะวันตก (สร้างใหม่)

สาเหตุที่พระพุทธรูป 2 ใน 4 องค์ ต้องสร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ในอดีต

พระอาจารย์ชัยวัฒน์เคยนำคณะมาแล้วตั้งแต่ปี 2539 ภายในวิหาร งดงามอลังการมากค่ะ ใช้เวลาไม่นาน เราก็ได้กราบไหว้ครบทั้งสี่ทิศ

ตามประวัติที่มาของชื่อ “พระเจดีย์อานันดา” ถูกตั้งขึ้นตามชื่อ “พระอานนท์” พระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

พระองค์ทรงยกย่องว่าเป็น “เอตทัคคะ” ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย 5 ประการ คือ เป็นพหูสูต, มีสติ, มีคติ, มีธิติ และเป็นพุทธอุปัฏฐาก

ตามตำนานเล่าว่า มีพระ 8 รูป เดินทางมาจากเทือกเขาหิมาลัย ได้เข้ามาบิณฑบาตที่วังของพระเจ้าจันสิทธา พระองค์ได้นิมนต์พระเหล่านั้นมารับบาตรที่วังทุกวัน พระกลุ่มนั้นได้เล่าให้พระองค์ฟังถึงสภาพวัดที่เคยอยู่ว่า มีลักษณะอย่างไร

พระองค์ทรงพอพระทัยมาก จึงสั่งให้จำลองมาสร้างเป็นวัดอานันดา หลังจากสร้างเสร็จแล้ว พระองค์ก็สั่งฆ่าพระที่ออกแบบ เพื่อไม่ให้ไปสร้างที่อื่นอีก ฟังแล้ว..น่าเศร้าจังเลยนะคะ


...หลังจากเดินชมความงามด้านในจนพอใจแล้ว ก็ออกมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันที่ด้านหน้าวัด ยอดพระเจดีย์สีทองกระทบกับแสงแดดในช่วงบ่าย กลายเป็นภาพที่สวยงาม

ทำให้นึกถึงความรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรพุกาม แต่ปัจจุบันทุกอย่างก็เสื่อมไปตามกาลเวลาก็ยิ่งเห็นความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง และเห็นความจริงของ “กฎไตรลักษณ์”

การเดินทางในพุกามยังไม่จบนะคะ นอกจากจะยังเหลือ “พระเขี้ยวแก้ว” อีก 1 แห่ง ก็จะครบทั้ง 4 ทิศแล้ว ยังมี "พระเกศาธาตุ" (แปลว่า "ชเวซานดอว์") ที่จะติดตามให้ครบถ้วนเช่นกัน ขอย้อนอีกสักนิดนะคะ

พระเจดีย์ที่มีชื่อเดียวกันทั้ง 4 แห่ง คือ
1. ชเวซานดอว์ เมืองแปร
2. ชเวซานดอว์ เมืองพุกาม
3. ชเวซานดอว์ เมืองตองอู
4. ชเวซานดอว์ บ้าน Twante เมืองดาลา (อยู่ฝั่งตรงข้ามกับย่างกุ้ง)

@ เรื่องราวที่บันทึกไว้ อ่านย้อนความจำได้ที่นี่ก่อน (หัวข้อที่ 10 ค่ะ)
http://www.tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=1050

ถ้าผู้อ่านนึกได้แล้ว จะทราบว่าทางคณะตามรอยฯ ได้แวะกราบไหว้ "ชเวซานดอว์ แห่งเมืองแปร" ไปแล้ว 1 แห่ง วันนี้จะได้ตามเก็บเป็นแห่งที่ 2 เช่นกันค่ะ

...ขอให้ผู้ที่สนใจติดตามกันต่อไปนะคะว่า ภารกิจนี้จะสำเร็จหรือไม่ …สวัสดีค่ะ

"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 20/10/18 at 13:44 Reply With Quote


[ ตอนที่ 42/5 ]
(Update 30 ตุลาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบเอ็ด) 24 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม)

พระเจดีย์ยัวฮองยี (Ywa Haung Gyi Temple) และพระเจดีย์จุฬามณี (Sulamani Guphaya Temple) เมืองพุกาม (Bagan) ช่วงที่ 5

"...เมืองพุกามไม่ใช่มีของดีเพียงแค่พระเจดีย์เท่านั้นนะคะ ตอนที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์มาที่นี่เมื่อปี 2539 พระอาจารย์ได้มีโอกาสไปกราบไหว้ “พระพุทธรูปสมปรารถนา” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สำคัญองค์หนึ่งที่เพิ่งขุดพบด้วยค่ะ

และในการมาเยือนพม่าครั้งล่าสุดนี้ ท่านก็อยากจะพาพวกเรามากราบไหว้ขอพร แต่ด้วยกาลเวลาผ่านมาเนิ่นนานแล้ว

ท่านก็จำไม่ได้ว่าวัดนี้ตั้งอยู่ที่ไหน พอเล่าให้คนขับรถตู้ของเราฟัง เขาก็เข้าใจไปว่าเป็น “พระเจดีย์ยัวฮองยี” ก็เลยพาพวกเรามาที่วัดนี้

พอไปถึง ดูลักษณะแล้ว เป็นคนละที่กัน ไหนๆ มาแล้ว ก็เข้าไปชมภายในวิหารเสียหน่อย เดินผ่านทางเดินเล็กๆ แคบๆ

เข้าไปข้างใน ก็เห็น “ พระพุทธรูปปางมารวิชัย” องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่บนแท่น พระพักตร์เปี่ยมไปด้วยความเมตตา

แม้ว่าภายในจะค่อนข้างมืดทึบ แต่น่าแปลกที่ผู้ออกแบบได้กำหนดตำแหน่งให้แสงอาทิตย์ส่องลงมาตกกระทบองค์พระได้พอเหมาะพอดี

ทำให้องค์พระโดดเด่นเป็นสง่าท่ามกลางความมืด นับเป็นสุดยอดการออกแบบของชาวพุกามในสมัยโบราณ



...หลังจากกราบสักการะ พร้อมทั้งถวายผ้าทองห่มองค์พระเรียบร้อยแล้ว เราก็ออกเดินทางไปยัง “วัดจุฬามณี” หรือ “วัดสุลามณี” (Sulamani Guphaya Temple) ในภาษาพม่า

ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านมินนันธู (Minnanthu) ทางตะวันเฉียงใต้ของเมืองพุกาม ใกล้กับพระเจดีย์ธรรมยางยี

ตอนไปถึงเห็นพระเจดีย์กำลังบูรณะอยู่พอดี ก็แทบจะร้องกรี๊ดด้วยความดีใจ ที่จะได้ทำบุญใหญ่กันอีกแล้ว

พอดีเห็นหัวหน้าคนงานเดินผ่านมา พระอาจารย์ชัยวัฒน์ก็เลยเรียกคนงานทั้งหมด 19 คนมารับเงิน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจคนละ 2,000 จ๊าด

ส่วนหัวหน้าคนงานได้เยอะหน่อย 5,000 จ๊าด รวมเป็นเงิน 38,000 จ๊าด พวกเขาถึงกับยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ด้วยความปลาบปลื้ม

พอแจกคนงานแล้ว ก็เดินเข้าไปด้านใน จังหวะดีที่กำลังมีการบูรณะยอดพระเจดีย์พอดี จึงร่วมบูรณะ 10,000 จ๊าด และทำบุญค่าไฟฟ้าอีก 10,000 จ๊าด

พระเจดีย์แห่งนี้สร้างในรัชสมัย “พระเจ้านรปติสิตธุ” (King Narapatisithu) ในปีพ.ศ. 1726 แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วต่อมุขออกไปสี่ทิศ

ผนังวิหารจะมีช่องเล็กๆ เจาะไว้รอบๆ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพุกามในสมัยนั้น

จุดที่พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่จะมีช่องลมให้แสงผ่านเข้ามาได้ ทำให้องค์พระดูโดดเด่นมีมิติงดงาม

ชื่อของพระเจดีย์มีความหมายว่า “ทับทิมเล็ก” ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้านรปติสิตธุทรงทอดพระเนตรเห็นลำแสงสะท้อนลงมา

พบว่าเป็นแสงจากทับทิม จึงทรงรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์ขึ้น ว่ากันว่าเป็นพระเจดีย์ที่สวยงามเป็นอันดับ 2 ของพุกาม

สถานที่แห่งนี้เคยได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อปี 2518 ต่อมาภายหลังได้มีการบูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่

จากนั้นเราได้ออกเดินทางไปต่อ เพื่อตามหา”พระพุทธรูปสมปรารถนา” ที่พระอาจารย์เคยเจอกับอภินิหาร

คือมีรุ้งขึ้น ณ ที่แห่งนี้เมื่อปี 2539 พวกเราจะสมปรารถนาดังชื่อพระพุทธรูปหรือไม่ ติดตามได้ตอนต่อไปนะคะ…สวัสดีค่ะ

"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 25/10/18 at 05:28 Reply With Quote


[ ตอนที่ 42/6 ]
(Update 5 พฤศจิกายน 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบเอ็ด) 24 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม)

พระเจดีย์ติโลมินโล (Htilo Minlo Temple) เมืองพุกาม (Bagan) ช่วงที่ 6

“...พระพุทธรูปสมปรารถนา” ที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์ เคยมากราบไหว้ เมื่อ 22 ปีที่แล้วนั้น แท้จริงแล้วอยู่ไม่ไกลเลย

หลังจากใช้ความพยายามในการตามหามาพักใหญ่ ในที่สุดเราก็มาถึง “พระเจดีย์ติโลมินโล” (Htilo Minlo Temple)

เมื่อมองจากด้านนอก ลักษณะดูคลับคล้ายคลับคลากับพระเจดีย์ที่พระอาจารย์เคยมา พอเอารูปมาเทียบกัน ก็ยิ่งมั่นใจว่า น่าจะไม่ผิดฝาผิดตัวเป็นแน่คราวนี้

ก่อนที่จะเข้าไปด้านในพระเจดีย์ เราก็แวะทำบุญตรงซุ้มรับบริจาค ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าที่หน้าประตูกันก่อนตามระเบียบ

พระอาจารย์ได้นำเงินกองกลางที่ลงขันกันไว้ ร่วมทำบุญบูรณะพระเจดีย์และค่าไฟฟ้า 56,000 จ๊าด

ก่อนจะเข้าไปกราบ “พระพุทธรูปสมปรารถนา” ข้างในพระเจดีย์ ขอเล่าถึงประวัติความเป็นมาของ “พระเจดีย์ติโลมินโล” สักเล็กน้อย


ประวัติ “พระเจดีย์ติโลมินโล”


...ในสมัยพระเจ้านรปติสิตธุ (King Narapatisithu) ทรงมีราชบุตรหลายพระองค์ เมื่อทรงจะแต่งตั้งองค์รัชทายาทสืบราชบัลลังก์ ก็ไม่อาจตั้งราชบุตรในอัครมเหสีได้ทันที

เพราะทรงเคยรับปากพระชายาองค์หนึ่ง ซึ่งคอยบริบาลพระองค์ ขณะประชวรว่า จะทรงพิจารณาราชบุตรจากชายาองค์นี้ให้ขึ้นครองราชย์ด้วย

พระองค์จึงตัดสินพระทัยเรียกราชบุตรทั้งห้าพระองค์ มานั่งล้อมวงกันแล้วตั้ง “ฉัตร” อันเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ไว้ตรงกลาง

หากฉัตรล้มลง แล้วปลายฉัตรชี้ไปที่ราชบุตรองค์ใดนั้น ก็จะทรงแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์สืบต่อจากพระองค์

ปรากฏว่าปลายฉัตรชี้ไปที่เจ้าชายชัยสิงห์ ซึ่งเป็นราชบุตรอันเกิดแต่ชายาองค์ที่บริบาลพระเจ้านรปติสิตธุ ชาวพม่าจึงเรียกพระองค์ว่า “กษัตริย์ฉัตรตั้ง” หรือ “พระเจ้าติโลมินโล”

เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ จึงสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นอนุสรณ์ ในปีพ.ศ.1761 ณ บริเวณที่พระราชบิดาทำพิธีฉัตรเสี่ยงทาย และเรียกว่า “พระเจดีย์ติโลมินโล” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบก่ออิฐถือปูน ว่ากันว่า เป็นวัดสุดท้ายที่มีการสร้างในแบบสถาปัตยกรรมพุกาม

ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีพระพุทธรูปประดิษฐาน 4 องค์ หันพระพักตร์ไป 4 ทิศ ภายในมีการเจาะช่องลมให้แสงส่องลงมาตกกระทบพระพุทธรูป ดูแล้วงดงามมีมิติ

ส่วน “พระพุทธรูปสมปรารถนา” ที่เราตามหาอยู่นั้น ได้มีการอัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ปัจจุบันถูกปิดทองทั้งองค์เหลืองอร่ามแทบไม่เห็นผิวข้างใน


ประวัติการค้นพบ


...ประวัติโดยย่อนะคะ พระพุทธรูปองค์นี้ ถูกค้นพบโดยพระภิกษุชาวพม่า ท่านได้มานั่งสมาธิที่พระเจดีย์ร้างมากว่าสิบปี

ต่อมาได้เกิดนิมิตว่า มีพระพุทธรูปอยู่ใต้ฐานพระเจดีย์ จึงขอให้กรมศิลปากรขุด ปรากฏว่า พบพระพุทธรูปองค์นี้ฝังอยู่ข้างใต้

แล้วได้แจ้งไปยังรัฐบาล ขอทำการสมโภช ระหว่างรอการสมโภชอยู่นั้น พระพุทธรูปก็ได้แสดงปาฏิหาริย์ คือ

มีแสงสีแดงเกิดขึ้นรอบองค์พระเป็นเวลา 7 คืน ว่ากันว่า ท่านศักดิ์สิทธิ์นัก สามารถอธิษฐานขอพรได้ 3 ข้อ ถ้าท่านผู้อ่านมีโอกาสไปพม่า ก็แวะไปกราบท่านได้ค่ะ


...เมื่อปี 2539 พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้นำคณะมาเยือนพม่า ตอนนั้นเพิ่งขุดพบพระพุทธรูปสมปรารถนาใหม่ๆ และได้พบอภินิหาร ณ ที่แห่งนี้ คือมีแสงรุ้งขึ้นบนท้องฟ้า มาคราวนี้ ก็มีปรากฏการณ์พิเศษเช่นเดียวกัน

หลังจากได้กราบสักการะ พร้อมทั้งถวายผ้าห่มสไบทองเพื่อบูชาองค์ท่านแล้ว ตอนก่อนจะกลับออกมา ก็มีคนตาดีบอกให้แหงนหน้าดูบนท้องฟ้า

ปรากฏว่ามีพระอาทิตย์ทรงกลดดวงใหญ่ เห็นชัดแจ๋วกันทุกคน ก็เลยรู้ว่า ที่นี่ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ อีกทั้งเป็นการยืนยันในการมาครั้งแรกของพระอาจารย์

ที่เห็นแสงรุ้งคล้ายพระเขี้ยวแก้วปรากฏบนเขา "พระเจดีย์ตุรินต่อง" เมื่อปี 2539 นี่คือปมที่ท่านได้กลับคลี่คลายอีกครั้งในปี 2545 (ดูคลิปจะเข้าใจดีกว่าค่ะ)

เราคงต้องทำเวลากันนิดหน่อย ยังเหลืออีกตั้ง 3 ที่ ตามโปรแกรมอันแน่นเอี๊ยด ที่พระอาจารย์วางแผนไว้

ยังมีบุญใหญ่มาให้โมทนากันอีกชุดใหญ่ไฟกระพริบ โปรดติดตาม…ห้ามกระพริบตานะเจ้าคะ

"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 30/10/18 at 14:39 Reply With Quote


[ ตอนที่ 42/7 ]
(Update 10 พฤศจิกายน 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบเอ็ด) 24 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม)

พระเจดีย์ชเวซานดอว์ (Shwesandaw Pagoda) เมืองพุกาม (Bagan) ช่วงที่ 7

“...ขณะนี้เรายังอยู่ที่พุกาม โดยใช้เวลาวันนี้ทั้งวัน เดินทางกราบไหว้พระเจดีย์สำคัญๆ ในพุกามเกือบจะครบแล้ว

นับว่าได้เล่ามาถึงช่วงที่ 7 แล้ว ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านได้อ่านตลอดทุกตอนหรือไม่ อย่างไรก็ดียังมี พระเจดีย์ชเวซานดอว์ (Shwesandaw Pagoda) แห่งเมืองพุกาม ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่จะพลาดเสียไม่ได้

เพราะเป็นพระเจดีย์แห่งเดียวในพุกาม ที่ประดิษฐาน “พระเกศาธาตุ” ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ตามที่ได้เล่าผ่านมาแล้ว

คำว่า "ชเวซานดอว์" หมายถึง พระเจดีย์ที่บรรจุ "พระเกศาธาตุ" ทองคำ (Golden Hair Pagoda) แต่ทางตอนใต้ของพม่า ชาวมอญจะเรียกกันว่า "ซานดอว์เซน" (Santawshin) ส่วนภาษาอังกฤษเรียกว่า "Buddha Hair Relic"

ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมจึงมีชื่อซ้ำกันหลายแห่ง หากเห็นคำว่า "ชเวซานดอว์" ที่ไหน แสดงว่า สถานที่นั้นมี "พระเกศาธาตุ" บรรจุอยู่

พระเจดีย์ชเวซานดอว์ ในพม่านั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 แห่ง ที่เมืองแปร, ตองอู, พุกาม และย่างกุ้ง ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้วางโปรแกรมให้พวกเราได้ไปกราบครบถ้วนทุกแห่ง

พระเจดีย์ชเวซานดอว์ แห่งเมืองพุกาม จึงนับเป็นแห่งที่ 2 ต่อจาก "เมืองแปร" ที่เราผ่านมาแล้ว "พระเจดีย์ชเวซานดอว์" เป็นพระเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ มีบันไดขึ้นไปชั้นบน

แต่ปัจจุบันปิดไม่ให้ขึ้นแล้ว เนื่องจากเคยมีนักท่องเที่ยวเกิดอุบัติเหตุ (แต่เราโชคดีที่จะได้เห็นกัน เพราะมีคลิปที่พระอาจารย์มาเมื่อปี 2539 สามารถเดินขึ้นไปชมข้างบนได้)

ว่ากันว่า จากด้านบน เป็นจุดชมทุ่งเจดีย์ ที่ขึ้นชื่อว่า ยามพระอาทิตย์ตก หรือพระอาทิตย์ขึ้น จะสามารถมองเห็นภาพทะเลเจดีย์สุดลูกหูลูกตา สวยงามมาก


ประวัติพระเจดีย์ชเวซานดอว์

ประวัติคร่าวๆ ของพระเจดีย์แห่งนี้ สร้างโดย “พระเจ้าอนิรุทธมหาราช” หรือ “พระเจ้าอโนรธามังช่อ” (King Anawrahta) แห่งอาณาจักรพุกาม ในปีพ.ศ.1600 หรือเมื่อ 961 ปีก่อน

เป็นที่ประดิษฐาน “พระเกศาธาตุ” ที่พระเจ้าอโนรธาทรงนำมาหลังจากรบชนะเมืองสะเทิม (Thaton) องค์ระฆังตั้งอยู่บนฐานประทักษิณซ้อนลดหลั่นขึ้นไป 5 ชั้น ด้านบนสุดมีสุวรรณฉัตรประดับอยู่

ในตำนานพม่าเรียกว่า พระเจ้านรธา (A.D. 1044-77) หลังจากการปราบปรามเมืองสะเทิมได้แล้ว ในปี A.D. 1057 ตำนานกล่าวว่า

มี “พระเกศาธาตุ” ของพระพุทธเจ้าที่ได้นำไปจากเจดีย์ในประเทศมอญ (คงจะนำไปบรรจุไว้ที่พุกาม ดังที่ได้เห็นในปัจจุบันนี้ คิดว่าพระเจ้านรธาคงจะนำ “พระพุทธสิกขีปฏิมา” ๑ ใน ๕ องค์ไปพุกามด้วย”)


ช่วงที่เราไป "พระเจดีย์ชเวซานดอว์" กำลังมีการบูรณะซ่อมแซมฉัตรอยู่พอดี เราเลยไม่รั้งรอที่จะเปิดกระเป๋า ควักเงินจ๊าดที่แลกมา ร่วมบุญใหญ่นี้

เมื่อรวมกับเงินกองกลาง ได้ยอดเงินบูรณะพระเจดีย์และซ่อมแซมฉัตรทั้งหมด 200,000 จ๊าด และทำบุญค่าไฟฟ้าอีก 20,000 จ๊าด

ส่วนคนงานที่กำลังทำงานซ่อมแซมฉัตรอย่างขะมักเขม้น ก็พลอยได้อานิสงส์ไปด้วย พระอาจารย์เรียกมารับเงิน เพื่อเป็นกำลังใจคนละ 2,000 จ๊าด

รวมทั้งหมด 15 คน รวมเป็นเงิน 30,000 จ๊าด Happy กันทุกฝ่าย ทำทานกับพวกเขา ทางเราก็ได้บุญด้วย เพราะเราคงไม่มีโอกาสได้ไปซ่อมเองเป็นแน่

โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สำคัญ คือมีการเปลี่ยนฉัตรใหม่ด้วย ถึงแม้จะผ่านพิธียกฉัตรไปไม่นานก็ตาม พวกเราก็ขอมีส่วนร่วมด้วย เพราะฉัตรนี่ไม่ได้เปลี่ยนบ่อย หลายๆ สิบปีถึงจะได้เปลี่ยนสักครั้ง พวกเราโชคดีอีกแล้ว

อีกเรื่องที่น่าแปลกก็คือ ถ้ายังจำกันได้เมื่อตอนที่แล้ว มีพระอาทิตย์ทรงกลด เกืดขึ้นที่พระเจดีย์ติโลมินโล (พระพุทธรูปสมปรารถนา)

พอมาที่นี่ พระอาทิตย์ก็ยังทรงกลดอยู่ แสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่แห่งนี้ และคงเป็นสักขีพยานให้เกิดความมั่นใจในบุญกุศล ที่พวกเราได้พยายามสร้างสมด้วยความเพียรนั่นเอง

หลังจากได้กราบสักการะและถวายเครื่องบูชาแล้ว เราก็ออกเดินทางไปต่อ จุดหมายต่อไปอยู่ไม่ไกล ห่างจากตรงนี้ไปประมาณ 5 กิโลเมตรเท่านั้นเองค่ะ มีบุญใหญ่รอเราอยู่ ติดตามต่อในตอนหน้านะคะ …สวัสดีค่ะ

"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 5/11/18 at 15:00 Reply With Quote


[ ตอนที่ 42/8 ]
(Update 15 พฤศจิกายน 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบเอ็ด) 24 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม)

พระเจดีย์โลกะนันดา (Lawkananda Pagoda) เมืองพุกาม (Bagan) ช่วงที่ 8

“...พระเจดีย์โลกะนันดา แห่งเมืองพุกามนี้ ตั้งตระหง่านอยู่ริมแม่น้ำอิระวดี ทางด้านทิศตะวันออก เมื่อหันไปทางทิศตะวันตก เราคงใกล้จะปิดท้าย พร้อมกับแสงตะวันที่กำลังจะลับขอบฟ้าเช่นกัน

หลังจากเมื่อตอนที่แล้ว สลับบรรยากาศไปกราบไหว้ “พระเกศาธาตุ” หนึ่งเดียวในเมืองพุกาม ที่ “พระเจดีย์ชเวซานดอว์” กันเรียบร้อยแล้ว


คราวนี้เราจะพาท่านผู้อ่านไปกราบนมัสการ “พระเขี้ยวแก้ว” แห่งเมืองพุกาม ให้ครบทั้ง 4 ทิศ ทบทวนกันนิดนึงนะคะ

เราไปไหว้พระเจดีย์ลำดับที่ 1 ถึง 3 กันแล้ว ส่วนลำดับที่ 4 จะเป็นแห่งสุดท้าย (ดูแผนที่ประกอบด้วย)

1. พระเจดีย์ตันจิต่อง (Tantkyitaung Pagoda)
2. พระเจดีย์ตุรินต่อง (Tuyintaung Pagoda)
3. พระเจดีย์ชเวซิกอง (Shwezigon Pagoda)
4. พระเจดีย์โลกะนันดา (Lawkananda Pagoda)

เมื่อวาน พระอาจารย์ได้เลือกที่จะไป “พระเจดีย์ตันจิต่อง” เป็นที่แรก เพราะไปมายากที่สุดในบรรดาพระเขี้ยวแก้วทั้งสี่แห่ง เนื่องจากอยู่บนเนินเขาสูง อยู่คนละฝั่งกับเมืองพุกาม ถนนหนทางก็ไม่ค่อยดีนัก

นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่สำคัญ คือเป็นที่ๆ พระพุทธเจ้าประทับยืนชี้พระหัตถ์ไปทางเมืองพุกาม พร้อมกับทรงพยากรณ์ว่า สถานที่นี้ต่อไปจะเป็นบ้านเมือง และรักษาพระพุทธศาสนาไว้ครบ 5,000 ปี

พอมาวันนี้ พระอาจารย์ก็จัดวางโปรแกรมอย่างรัดกุม เพื่อให้พวกเราได้ไปกราบไหว้พระเจดีย์สำคัญๆ ได้ครบถ้วนทั้ง 4 แห่ง ตามความเชื่อของชาวพม่าว่า ถ้าได้กราบครบถ้วนเมื่อไร จะอธิษฐานสิ่งใดก็สำเร็จทันที

ด้วยเหตุนี้ พวกเราจึงเริ่มแรกบนภูเขาก่อนที่ “พระเจดีย์ตุรินต่อง” แล้วลงมาที่ “พระเจดีย์ชเวซิก่อง” ตอนนี้ยังคงเหลืออีกเพียงแห่งเดียว

คือ “พระเจดีย์โลกะนันดา” ซึ่งมีกล้องส่องทางไกลให้ดู "พระเจดีย์ตันจิต่อง" ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำด้วย


ประวัติพระเจดีย์โลกะนันดา


...พระเจดีย์ทั้งสี่องค์ สร้างโดยกษัตริย์องค์เดียวกัน ในรัชสมัย “พระเจ้าอนิรุทธมหาราช” หรือ “พระเจ้าอโนรธามังช่อ” (King Anawrahta)

นับกษัตริย์ลำดับที่ 42 แห่งราชวงศ์ ผู้นำความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนามาสู่อาณาจักรพุกาม

ในปี พ.ศ.1601 พระเจ้ากรุงลังกาได้ถวายพระเขี้ยวแก้วหนึ่งองค์ โดยท่านทูตของลังกาอัญเชิญมาทางเรือ เมื่อมาถึง “ท่าเรือโลกะนันดา” พระเจ้าอนุรุทธได้เสด็จลงไปในน้ำ แล้วอัญเชิญขึ้นบนพระเศียร

พร้อมกับเสี่ยงอธิษฐานว่า หากพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองในพุกาม ก็ขอให้พระเขี้ยวแก้วแสดงอภินิหาร ปรากฏว่า พระเขี้ยวแก้วได้แยกออกเป็น 4 องค์ด้วยกัน

หลังจากนั้น พระองค์ทรงปล่อยให้พญาช้างเผือก ที่ใช้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วนี้ เพื่อเป็นการเสี่ยงทาย ถ้าไปอยู่ที่ไหน ก็จะสร้างเจดีย์ที่นั่น ผลปรากฏว่า พระเขี้ยวแก้วได้ประดิษฐานอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว


...เมื่อรถตู้วิ่งมาถึง ภาพที่เห็นอยู่เบื้องหน้า คือพระเจดีย์กำลังเข้าเฝือกอยู่ เท่านั้นแหละ..พวกเรารีบลงมาจากรถทันทีด้วยความดีใจ

พอไปคุยกับเจ้าหน้าที่วัด ก็เลยทราบว่า ทางวัดกำลังบูรณะและกำลังหุ้มยอดฉัตร ด้วยทองคำแท้ หนัก 16 ปอนด์

พอเห็นพระอาจารย์หยิบกระเป๋าตังค์ขึ้นมา พวกเราก็หยิบของตัวเองขึ้นมาบ้างเหมือนกัน เผลอแป๊บเดียว เงินบริจาควางกองอยู่เต็มโต๊ะ

รวมแล้วเป็นเงินบูรณะพระเจดีย์และยอดฉัตรทองคำ 200,000 จ๊าด กับอีก 500 ดอลล่าร์ และร่วมทำบุญค่าไฟฟ้าอีก 75,000 จ๊าด

รวมเป็นเงินทั้งหมดประมาณ 1,000,000 จ๊าด จนเจ้าหน้าที่งว่า คนพวกนี้มาจากไหน ทำไมถึงบ้าทำบุญกันขนาดนี้ นับเป็นลำดับที่ 6 ที่ "ทำบุญมากที่สุด"ของทริปนี้ มีอันดับดังนี้ค่ะ


...สถิติ "ทำบุญมากที่สุด"
- (1) พระเจดีย์ชเวบอดี้ - ทะเลสาบอินเล (สร้างใหม่อลังการ) ทำบุญ 5,000,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)

- (2) พระมหามุนี - มัณฑเลย์ (พระวิหารหุ้มฉัตรใหม่ด้วยทองคำแท้) ทำบุญ 3,231,500 จ๊าด


- (3) พระเจดีย์ชเวมิตซู - ทะเลสาบอินดอว์ยี (ซ่อมใหม่ทั้งหมด) ทำบุญ 1,243,000 จ๊าด


- (4) พระเจดีย์ชเวดากอง - ย่างกุ้ง (ซ่อมพระเจดีย์และบริวารโดยรอบ) ทำบุญ 1,165,000 จ๊าด


- (5) พระเจดีย์มอดินซุน - พะสิม (ซ่อมเจดีย์และฉัตร) ทำบุญ 1,160,000 จ๊าด

- (6) พระเจดีย์โลกะนันดา - พุกาม (ซ่อมเจดีย์ และ หุ่มฉัตรใหม่ด้วยทองคำแท้) ทำบุญ 1,000,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)


...นอกจากจะถวายปัจจัยแล้ว “เจ๊มายิน” และ “เจ๊หลี” ยังได้ถอดสร้อยทอง และจี้ทองคำเพื่อเป็นพุทธบูชาที่ยอดฉัตรด้วย

ก็เลยได้อานิสงส์ถวายเครื่องประดับอีกต่อหนึ่ง น้องๆ ก็ขออนุโมทนาความดีกับเจ๊ทั้งสองด้วยนะคะ

พระอาจารย์ชัยวัฒน์เคยมาที่นี่ทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรกในปี 2539 ต่อมาครั้งที่สองในปี 2545 ในครั้งนั้น ได้มีโอกาสร่วมบูรณะพระเจดีย์ด้วย

พอมาครั้งที่สามในครั้งนี้ ก็มีโอกาสได้บูรณะฉัตรถือว่า ครบถ้วนบริบูรณ์ทุกอย่าง (ดูคลิปรวมได้เลยค่ะ)

เจ้าหน้าที่วัดเห็นพวกเรามีศรัทธามาก ก็เลยอนุญาตให้พระอาจารย์และพี่ๆ ผู้ชายเข้าไปกราบและถวายเครื่องบูชาฉัตรพระเจดีย์ ที่อยู่ในลูกกรงเหล็ก ล็อคอย่างดีอย่างใกล้ชิด

ส่วนพวกผู้หญิงได้แต่โมทนาอยู่ด้านนอก แค่นี้ก็สุขใจแล้วค่ะ เจ้าหน้าที่เค้าคงสงสารเรา ก็เลยนำยอดฉัตรที่หุ้มด้วยทองคำมาให้พวกเราดูเป็นบุญตา

การได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด นำมาซึ่งความปลาบปลื้มปิติอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ไม่รู้ว่าชั่วชีวิตนี้จะได้มีโอกาสอย่างนี้อีกหรือเปล่า ถือว่าเป็นบุญของพวกเรามากๆ ที่มีโอกาสได้ร่วมบุญใหญ่นี้ค่ะ

หลังจากที่พระอาจารย์ได้นำคณะกล่าวคำถวายเครื่องบูชาแล้ว ก่อนที่พระอาทิตย์จะลับขอบฟ้ายังพอมีแสงสุดท้ายเหลืออยู่ให้พวกเราได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

เงาของพระอาทิตย์ที่ตกกระทบแม่น้ำอิระวดี มองดูแล้วคล้ายพระเจดีย์กลับหัว เอ๋…หรือว่าเราจะทำบุญ จนตาลายหรือเปล่าก็ไม่รู้สิ

โปรแกรมวันนี้ ยังเหลืออีกหนึ่งที่ค่ะ พระเจดีย์แห่งสุดท้าย ที่เราจะไปในวันนี้ ถ้าเป็นในสมัยก่อน ก็เปรียบเสมือนหลักชัยของนักเดินเรือ จะเป็นที่ไหนหนอ? ต้องติดตามต่อไปในตอนหน้านะคะ…สวัสดีค่ะ

"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 10/11/18 at 14:21 Reply With Quote


.

[ ตอนที่ 42/9 ]
(Update 20 พฤศจิกายน 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบเอ็ด) 24 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม)

พระเจดีย์บูพญา (Bupaya Pagoda) เมืองพุกาม (Bagan) ช่วงที่ 9

“...เวลาผ่านไปดุจติดปีกบิน เผลอแป๊บเดียว พระอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้าแล้ว เราปิดท้ายรายการตะลอนทัวร์เมืองพุกามกันที่ “พระเจดีย์บูพญา” (Bupaya pagoda)

พระเจดีย์ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอิระวดี (Irrawaddy River) อยู่ไม่ไกลจาก "พระเจดีย์โลกะนันดา" ตามที่เล่าไปตอนที่แล้ว พวกเรายังมาทันเวลาพอดี

ถ้าจำไม่ได้ผิด พระอาจารย์ชัยวัฒน์เคยเล่าให้ฟังว่า ท่านเคยนั่งรถทัวร์มาลงเรือขึ้นฝั่งที่นี่ โดยข้ามฝั่งมาจากหมู่บ้าน "พระเจดีย์ตันจิต่อง"

สมัยนี้ไม่มีเรือบรรทุกรถแล้ว เพราะรถวิ่งไปข้ามสะพานที่เมืองปะโคะกูกันหมด ท่าเรือแห่งนี้จึงมีเฉพาะเรือหางยาวบรรทุกคนข้ามฝั่งเท่านั้น แล้วไปเหมารถสองแถวต่อไป


ประวัติพระเจดีย์บูพญา

พระเจดีย์สีทองเหลืองอร่าม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ ตามตำนาน สันนิษฐานว่า สร้างในรัชสมัยของ “พระเจ้าปยูซอที” (King Pyusawhti)

สมัยอาณาจักรศรีเกษตร ในศตวรรษที่ 8 บางตำนานก็ว่า พระองค์เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 3 แห่งพุกาม

เดิมพระองค์เป็นสามัญชน ที่อาสาไปปราบนักเลงหัวโจก 5 คน ที่เกะกะระราน หาประโยชน์จากชาวเมือง คงคล้ายๆ กับ “มาเฟีย” ในสมัยปัจจุบัน

โดยหนึ่งในห้าของนักเลงอันธพาลนี้ เป็นเจ้าของไร่ “น้ำเต้า” มีอาณาเขตกว้างขวางในเมืองพุกาม

ในเวลาต่อมา ก็กลายเป็นสถานที่สร้าง “พระเจดีย์บูพญา” และก็เป็นที่มาของชื่อพระเจดีย์ดังกล่าว

เมื่อพระองค์ปราบปรามเหล่านักเลงอันธพาลเหล่านี้สำเร็จ พระราชาจึงพระราชทานรางวัล ด้วยการให้พระธิดาเข้าพิธีอภิเษกสมรสด้วย

หลังจากพระราชาเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ขึ้นครองราชย์สืบราชวงศ์ต่อมา และได้สร้างพระเจดีย์ตามจุดต่างๆ ที่ปราบชนะพวกนักเลงอันธพาล

คำว่า “บู” ในภาษาพม่า หมายถึง “น้ำเต้า” ส่วน “พญา” หมายถึง “พระเจดีย์” องค์พระเจดีย์เป็นรูประฆัง มีลักษณะป่องออกเล็กน้อย เหนือองค์เจดีย์มีกลีบบัว รองรับส่วนยอดที่สอบเข้าหากัน ดูคล้ายๆ รูป “น้ำเต้า”

ด้วยความที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำอิระวดี พระเจดีย์แห่งนี้จึงกลายเป็นหลักหมายของนักเดินเรือจากอดีตถึงปัจจุบัน ว่ากันว่า ถ้าเห็น "บูพญา" ก็หมายความว่า มาถึงเมืองพุกามแล้ว

เจดีย์ที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ ได้ถูกบูรณะขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจากองค์เดิมได้พังทลายลงมา และตกลงไปในน้ำ หลัจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี พ.ศ.2518


ด้วยเหตุที่ว่า ยังไม่มีการบูรณะใหญ่ พวกเราจึงนำเงินกองกลางมาร่วมบุญบูรณะ และค่าไฟฟ้า 20,000 จ๊าด

แล้วออกมาถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก ฉากหลังเป็นภาพอาทิตย์อัสดง ท้องฟ้าสีส้มตัดกับพระเจดีย์ทองคำ ยังงดงามตราตรึงในใจของเราไม่เสื่อมคลาย

ทริปทัวร์พุกามบัดนี้ก็สำเร็จเสร็จสิ้นลงแล้ว สมดังปรารถนาทุกประการ รวมแล้ว เราได้ไปกราบไหว้พระเจดีย์ทั้งหมด 9 แห่ง

แบ่งเป็น “พระเขี้ยวแก้ว” 4 แห่ง และ “พระเกศาธาตุ” 1 แห่ง รวมทั้งพระเจดีย์สำคัญ ที่เป็นไฮไลต์ของพุกามอีก 4 แห่ง รวมทั้งสิ้น 9 แห่ง

เรากลับมานอนค้างที่โรงแรมเดิมเป็นคืนที่สอง และเป็นคืนสุดท้ายที่เมืองพระเจดีย์สี่พันองค์ พอหัวถึงหมอนปุ๊บ ก็หลับปั๊บ

เพราะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการเดินทางทั้งวัน แต่ก็สุขใจที่ได้ไปกราบสักการะบูชาสถานที่สำคัญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ครบถ้วน

พรุ่งนี้ เราต้องเตรียมตัวออกเดินทางไปเมืองปะโคะกู (Pakokku) และโมนยวา (Monywa) กันแต่เช้า รับรองว่า มีบุญใหญ่รออยู่แน่นอนค่ะ โปรดติดตามต่อในตอนหน้านะคะ…สวัสดีค่ะ

"คณะทีมงานฯ"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 15/11/18 at 10:17 Reply With Quote


[ ตอนที่ 43 ]
(Update 25 พฤศจิกายน 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบสอง) 25 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู)

พระเจดีย์ชเวมุดอว์ (Shwe Mu Daw) เมืองปะโคะกู (Pakokku)

“...เช้าวันที่ 25 มกราคม 2561 นับไปนับมา ก็ย่างเข้าสู่วันที่ 12 ของการเดินทางแสวงบุญในเมียนมาร์กันแล้วนะคะ...ท่านผู้อ่านที่รัก

เราออกเดินทางออกจากพุกามแต่เช้าตรู่ ล้อเคลื่อนประมาณ 06.35 น. เพื่อไปเมืองปะโคะกู (Pakokku) และเมืองโมนยวา (Monywa) ซึ่งอยู่ห่างจากที่นี่ราวๆ 150 กิโลเมตร หรือถ้าขับรถ ก็ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง


ตามเส้นทางปกติของนักท่องเที่ยวชาวไทย โปรแกรมส่วนใหญ่ออกจากพุกามจะตรงไปที่เมืองมัณฑเลย์กันเลย แทบจะไม่มีใครเดินทางสายพุกาม - ปะโคะกู

แต่คณะตามรอยพระพุทธบาทหาใช่จะแวะที่เมืองมัณฑเลย์กันไม่ เพราะตามโปรแกรมท่านจะแวะภายหลังค่ะ โดยท่านจะขึ้นไปทางเมืองโมนยวาก่อน

แล้วท่านจะนำไปที่ "ถ้ำพระมหากัสสปะ" (Alongtaw Kassapa) ดูตามแผนที่ด้วยนะคะ นับเป็นสถานที่ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง พวกเราตื่นเต้นกันมาก รอวันเวลาที่จะมาถึงค่ะ

จากนั้นจะขึ้นไปทางเมืองชเวโบ (เมืองเกิดของพระเจ้าตะเบงชเวตี้) หลังจากนั้นก็ขึ้นไปทางเหนืออีก คือเมืองมิตจิน่า เพื่อไปยังทะเลสาบที่กว้างใหญ่กว่าทะเลสาบอินเล

นั่นก็คือ "ทะเลสาบอินดอว์ยี" ที่สวยงามยิ่ง ว่ากันว่า นอกจากจะมีถนนคนเดินข้ามทะเลสาบแล้ว ยังมีถนนสำหรับเทวดาอีกด้วยค่ะ จากนั้นจึงจะล่องกลับมาที่เมืองมัณฑเลย์ นี่คือแผนการเดินทางของท่านค่ะ

เมืองปะโคะกูอยู่ตรงข้ามกับเมืองพุกาม โดยมีแม่น้ำอิระวดีไหลผ่านระหว่างกัน สมัยก่อนต้องลงเรือข้ามแม่น้ำ แต่ปัจจุบันนี้มีการสร้างสะพานแล้ว จึงทำให้ได้รับความสะดวกเป็นอย่างมาก


ตามที่เคยเล่าไปแล้วว่า สะพานข้ามแม่น้ำที่เมืองมาเกว (Magway Bridge) ยาว 2.1 ก.ม. ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำอิระวดียาวที่สุดได้แก่ สะพานข้ามแม่น้ำระหว่างพุกาม-ปะโคกกู (Pakokku Bridge) ยาว 3.4 ก.ม.


พระเจดีย์ตันจิต่อง แห่งเมืองพุกาม

การเดินทางจากพุกามข้ามสะพานปะโคะกูนี้ ความจริงเราเคยข้ามกันมาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวันที่เดินทางกลับมาจากยะไข่ แล้วแวะไหว้พระเจดีย์ตันจิต่อง "พระเขี้ยวแก้ว" หนึ่งในสี่แห่งเมืองพุกามนั่นเอง


(Cr. คุณอนันต์ เข็มทอง นำเที่ยวเมืองปะโคะกู)

รถตู้วิ่งมาสักพัก ราวๆ 30 กิโลเมตร พอมาถึงเมืองปะโคะกู พระอาจารย์ชัยวัฒน์ให้แวะกราบ “พระเจดีย์ชเวมุดอว์”

ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำอิระวดี (Irrawaddy River) พระอาจารย์ก็เพิ่งเคยมาเป็นครั้งแรก พร้อมๆ กับพวกเราเหมือนกันค่ะ

จะว่าไปแล้ว ชื่อพระเจดีย์ของพม่า สะกดได้หลายแบบ บางทีสะกดผิดแค่ตัวเดียว จีพีเอสก็เกิดอาการปั่นป่วน หาไม่เจอกันเลยทีเดียว

พระเจดีย์ชเวมุดอว์ ก็เช่นเดียวกัน เข้าใจว่า สะกดได้หลายแบบ จะเป็น “Shwe Mu Daw” หรือ “Shwemokhtaw” ก็ได้

ถึงอย่างไรก็ตาม แม้ตัวเราจะออกเดินทางมาแล้ว ท่ามกลางอากาศสบายในยามเช้า แต่ใจของเราก็ยังหวนระลึกนึกถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา

แน่ละ..เหตุการณ์ทั้งหลายที่ผ่านไป ถ้าผู้อ่านยังพอจำได้ เราอยู่ที่เมืองพุกามมาถึง 9 ตอน หมายถึงต้องเล่าเรื่องราวมากมาย เพราะเมืองนี้เป็นเมืองที่สำคัญในอดีต

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "พระเขี้ยวแก้ว" ทั้งสี่ทิศ เราก็พิชิตจนสำเร็จแล้ว พร้อมทั้ง "พระเกศาธาตุ" (ชเวซานดอว์) อีก 1 แห่ง รวมเป็น 2 แห่ง ทั้งที่เมืองแปร

เป็นอันว่า แผนการเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ได้ครบทุกแห่งแล้ว ผ่านไปแต่ละเมืองนั้น จะต้องทำเวลาให้ได้ตามที่ท่านวางแผนไว้ไม่ให้ผิดพลาดเลย

มิฉะนั้น พวกเราจะพลาดโอกาสตามสถานที่สำคัญต่างๆ ไปหมดเลย และนับเป็นความโชคดีที่ได้บูรณะ "ยอดฉัตรทองคำ" หลายแห่ง นับตั้งแต่..

1. ยอดฉัตรพระวิหาร "พระพุทธรูปไจ้ปอลอ" (พระไฝเลื่อน) เมืองไจ้โท (ใกล้พระธาตุอินทร์แขวน)
2. ยอดฉัตรพระวิหาร "พระมหามุนีอารกัน" (องค์พี่) ที่เมืองยะไข่
3. ยอดฉัตรทองคำที่ "พระเจดีย์โลกะนันดา" เมืองพุกาม

ตามที่ได้สรุปสถานที่สำคัญมานี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านจดจำไว้ด้วย เพราะเราจะพบกับเหตุการณ์เช่นนี้อีกหลายแห่ง เพื่อติดตามอนุโมทนาบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ด้วยกันค่ะ


ประวัติพระเจดีย์ชเวมุดอว์


...ตามตำนานเขาเล่าว่า สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดีย ต่อมา “พระเจ้าอลองสิธู” (King Alaungsithu) แห่งพุกามทรงบูรณะ และเสริมความสูงของพระเจดีย์เป็น 36 ฟุต

ต่อมา ในรัชสมัยของพระเจ้า Samodogossa กษัตริย์มอญ พระองค์ได้ต่อเติมความสูงของพระเจดีย์ให้สูงขึ้นอีก

ปัจจุบัน มีความสูง 153 ฟุต ชั้นสูงสุดสร้างด้วยทองคำ ถัดมาเป็นเงิน และทองแดงตามลำดับ อีกทั้งยังประดับประดาด้วยเพชร ทับทิม และอัญมณีมีค่าอีกมากมาย


ระหว่างเดินเลียบแม่น้ำอิระวดี ชมวิวพระอาทิตย์ยามเช้า อากาศบริสุทธิ์สดชื่น พอเดินเข้าไปในเขตวัด คนยังบางตา เพราะยังเช้าอยู่

พวกเราเดินไปที่ริมแม่น้ำเพื่อถ่ายรูปกันก่อน พระอาจารย์เห็นสุนัขสองตัว ท่านจึงเอาขนมมาให้มันกิน ถือเป็นการให้ทานก่อนการเดินทาง

พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ท่านเล่าว่า หลวงปู่ปานเคยแนะนำให้ทานก่อนการเดินทาง เพื่ออานิสงส์ในการเดินทางของเรานั่นเอง

ภายในบริเวณวัดสะอาดสะอ้านเช่นกับวัดต่างๆ ในพม่า แถมยังมีน้าดื่มและพัดลมไว้บริการให้คลายร้อนอีกด้วย ช่างสะดวกสบายเสียจริง

แสดงให้เห็นว่า คนพม่าใส่ใจ แม้แต่เรื่องเล็กน้อย อะไรที่อำนวยความสะดวกให้คนที่มาสวดมนต์ทำบุญที่วัด เค้าจะทำทันที อย่างนี้ก็มีส่วนให้คนอยากเข้าวัด ว่ามั้ยคะ

ที่วัดนี้ ยังมีรอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานอยู่ในมณฑปเล็กๆ มีชาวบ้านเข้าไปนั่งสวดมนต์กันไม่ขาดสายด้วยค่ะ

พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้นำคณะกราบนมัสการพระเจดีย์สีทององค์เเล็ก ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหาร และร่วมทำบุญใส่ตู้บริจาค

เพื่อเป็นการบูรณะ 21,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 15,000 จ๊าด (มีสวิตช์ให้กดไฟสีต่างๆ อีกด้วย ไม่ธรรมดาเลยค่ะ)

จากนั้น ก็ออกเดินทางต่อ เพื่อไปเมืองโมนยวา (โมนยั้ว) ระหว่างทางผ่านเมืองปะกันยี เมืองโบราณสมัยอาณาจักรพุกาม

มองไปดูทั้งสองข้างทางเต็มไปด้วยพระเจดีย์ที่ตั้งเรียงรายอย่างสวยงาม โปรดติดตามต่อในตอนหน้านะคะ…สวัสดีค่ะ


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 20/11/18 at 18:21 Reply With Quote


[ ตอนที่ 44 ]
(Update 30 พฤศจิกายน 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบสอง) 25 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา)

พระพุทธรูปยืนเลจูน แซะจ่า (Laykyun Setkyar Buddha) วัดมหาโพธิตาต่อง (Mahar Bodhi Tataung) เมืองโมนยวา (Monywa)

“...แม้ว่า “เมืองโมนยวา” (Monywa) จะไม่ใช่เมืองหลักที่นักท่องเที่ยวแสวงบุญนิยมมากัน แต่ก็เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของพม่า

โดยเป็นเส้นทางติดต่อค้าขายระหว่างพม่าและอินเดีย และในอนาคต เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางถนนไฮเวย์ของสามประเทศ คือ พม่า อินเดีย และไทย

ซึ่งคณะทัวร์ชาวไทยก็เริ่มเดินทางมาถึงสถานที่แห่งนี้เหมือนกัน แต่เดินทางมาจากมัณฑเลย์ก่อน ส่วนคณะตามรอยฯ เดินทางมาจากพุกาม

เมื่อรถวิ่งมาถึงเมืองโมนยวา แต่เป็นนอกเมืองแล้ว โชเฟอร์ของเราก็วิ่งไปที่เป้าหมายตามที่พระอาจารย์วางแผนไว้ล่วงหน้า

นั่นก็คือพระยืนใหญ่ วัดโพธิตาต่อง โดยวิ่งผ่าน "พระเจดีย์สัมพุทเธ" (Thanboddhay Pagoda) ไปก่อน จากนั้นก็ย้อนกลับเข้ามาในตัวเมืองโมนยวา เพื่อกราบไหว้พระเจดีย์คู่บ้านคู่เมือง (พระเจดีย์ชเวซิก่อง, ซุยซิก่อง)

จากนั้นจึงพักค้างคืนเพื่อเตรียมตัวไป "ถ้ำพระมหากัสสป" (อลองดอว์กัสสปะ) ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติกันต่อไป แต่ขณะนี้ท่านยังตัดสินใจไม่ได้ว่า จะนำรถตู้ของเราไปเอง หรือเช่ารถตู้ของที่นี่ไปกัน

ถึงอย่างไรก็ตาม ความกังวลในการหารถเข้าไปนั้น นับว่าเป็นเรื่องหนักใจมาก เพราะเส้นทางเข้าไปในป่าอุทยานนั้นเป็นลูกรัง

ก่อนการเดินทางไปพม่า พระอาจารย์ได้ปรึกษากับคุณกัญญาวีร์ (พี่หมี) เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ และให้ "ลิ้นจี่" คนงานชาวพม่าของเจ๊มายินช่วยเจรจาติดต่อด้วย

แต่ก็ยังสรุปลงตัวไม่ได้ เพราะรถเช่าที่ติดต่อไว้ล่วงหน้านั้นราคาสูงไป จึงต้องรอมาหาดูด้วยตนเองดีกว่า คงจะต้องลุ้นกันต่อไปนะคะ

เมื่อรถตู้สองคันขึ้นเขาไปเล็กน้อย ณ หมู่บ้านเล็กๆ ที่ชื่อว่า “หมู่บ้านกะต่ากานต่อง” (Khatakantaung) ก็จะเห็น “พระพุทธรูปปางประทับยืนองค์ใหญ่” ที่ชาวพม่าเรียกว่า “เลจูน แซะจ่า” (Laykyun Setkyar)

พระพุทธรูปยืน, นั่ง, นอน ณ วัดมหาโพธิตาต่องแห่งนี้ ได้ถูกจัดอันดับว่า เป็นพระพุทธรูปประทับกลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในพม่า และใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ประดิษฐานเด่นเป็นสง่า เห็นมาแต่ไกล

รวมทั้ง “พระนอนขนาดมหึมา” ที่ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ดึงดูดสายตาผู้มาเยือนอย่างเราไม่น้อยไปกว่ากัน แต่ที่สะดุดตากว่าสิ่งใด

นั่นก็คือ “พระปางประทับนั่งองค์ใหญ่” ที่กำลังก่อสร้างอยู่ ที่ทำให้ใจพวกเราเริ่มเต้นแรง เพราะนั่นหมายถึงว่า เราจะได้ทำบุญใหญ่กันอีกแล้วสิคะ

“พระพุทธรูปปางประทับยืน” เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2539 และเปิดให้เข้ากราบสักการะเมื่อปี พ.ศ.2551 ด้านในองค์พระ แบ่งเป็น 31 ชั้น ความสูงรวมฐาน 424 ฟุต (129 เมตร)

แต่ละชั้น จะมีภาพวาดเกี่ยวกับ “นรกสวรรค์” สามารถเดินเข้าไปชมได้ แต่คงต้องเตรียมยาดม ยาลม ยาหม่องไว้กันเหนียวด้วยนะคะ

ไม่ไกลกันนัก ก็จะเห็น “พระพุทธไสยาสน์ชเว ตา ล่อง” ลักษณะคล้ายพระนอนตาหวานที่ย่างกุ้ง และหงสาวดี แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก

สร้างในปี พ.ศ.2534 มีความยาวทั้งหมด 333 ฟุต (101 เมตร) ที่พม่านี่ เวลาเขาสร้างอะไร เขาจริงจังมาก อยากจะมอบสโลแกน “เล็กๆ ไม่ ใหญ่ๆ (พม่า) ทำ ให้เสียจริงๆ

ช่วงที่เราไปถึง ทางวัดกำลังสร้าง “พระพุทธรูป ปางประทับนั่ง” องค์ใหญ่อยู่พอดี ความสูงรวมฐาน 208 ฟุต เฉพาะองค์พระ มีความสูง 191 ฟุต 4 นิ้ว

เฉพาะมวยผม ต้องใช้ถึง 900 ลูก ๆ ละ 110,000 จ๊าด เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ว่ากันว่า จะเป็นพระพุทธรูป ปางประทับนั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

บุญใหญ่มาอยู่ตรงหน้าแล้ว รอช้าไม่ได้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์ก็เลยทำบุญสร้างพระ 550,000 จ๊าด และถวายปัจจัยพระภิกษุผู้ดูแลการก่อสร้าง อีก 50,000 จ๊าด

ส่วนท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อน (Sayadaw U Nyeyadhammasami : "Practical Vipassana" Tayardaw) ผู้ริเริ่มการก่อสร้าง ปัจจุบันได้มรณภาพไปแล้ว

หลังจากทำบุญเสร็จ ก็ออกมาถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก แล้วแวะฉันเพลที่ร้านอาหารสไตล์พม่าแท้ๆ พวกสาวๆ มีเรดาร์ไวตามเคย แอบเล็งร้านขายผ้าซิ่นฝั่งตรงข้ามเอาไว้แล้ว ตั้งแต่ลงจากรถ

พอรับประทานเสร็จ ทุกคนวิ่งปรู๊ดออกมาช๊อปกันแบบนอนสต๊อป “มินโซ” คนขับรถตู้ของเรา ก็มาช่วยเป็นล่ามต่อรองราคาให้ด้วย แถมยังต่อเก่งอีกต่างหาก

แหม! จะว่าไป คณะหมู่เฮาชาวไทยเนี่ย นอกจากจะมาทำบุญแล้ว ยังมาช่วยช๊อปช่วยชาติ (พม่า) กระตุ้นเศรษฐกิจและจีดีพีของพม่าด้วยนะคะ อิอิ!!!

ในตอนต่อไป เราจะพาท่านผู้อ่านไปกราบพระเจดีย์ที่ถูกขนานนามว่า เป็น “บุโรพุทโธของพม่า” ที่มีลักษณะคล้ายกับ "บุโรพุทโธของอินโดนีเซีย" แล้วเจอกันตอนหน้านะคะ…สวัสดีค่ะ


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 25/11/18 at 06:38 Reply With Quote


[ ตอนที่ 45 ]
(Update 5 ธันวาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบสอง) 25 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา)

พระเจดีย์สัมพุทเธ (Thanboddhay Pagoda) เมืองโมนยวา (Monywa)

“...พระเจดีย์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นแห่งเมืองโมนยวา น่าจะหนีไม่พ้น พระเจดีย์สีทองอร่าม นามว่า "สัมพุทเธ" (Thanboddhay Pagoda) หรือ "Sambuddha Kat Kyaw Pagoda"

เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ เริ่มสร้างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และสร้างเสร็จหลังจากสงครามโลกยุติในปี พ.ศ.2495

สาเหตุที่ทำให้พระเจดีย์แห่งนี้โดดเด่นสง่างามกว่าที่อื่น น่าจะอยู่ที่สถาปัตยกรรมการออกแบบที่ซับซ้อน มีลักษณะโครงสร้างเลียนแบบ "เขาพระสุเมรุ" และมีความคล้ายคลึงกับ "บุโรพุทโธ" ของประเทศอินโดนีเซีย

บริเวณองค์เจดีย์หลัก มีเจดีย์เล็กๆ รายรอบอยู่ถึง 845 องค์ และบรรจุพระธาตุ 7,350 องค์ นอกจากนี้ ภายในวัดมีพระพุทธรูปในอิริยาบทต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็น "ปางประทับยืน" หรือ "ปางประทับนั่ง" สลับกันไปมา รวมถึงพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ที่ประดับอยู่ตามผนังเจดีย์อีกมากมาย ว่ากันว่า นับได้ถึง 582,363 องค์เลยทีเดียว

เมื่อเข้าไปเดินชมข้างในพระเจดีย์ ก็ต้องทึ่งกับการออกแบบตกแต่งด้วยลายปูนปั้นอันวิจิตรงดงามอ่อนช้อย มีพระประธานองค์ใหญ่ นามว่า "โพธิตาต่อง" (Bodhitahtaung) ประดิษฐานอยู่บนฐานบัลลังก์

นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่มักไม่ค่อยพบเห็นในเมืองไทย คนพม่าเชื่อว่า หากต้องการแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุจากการเดินทาง

จะต้องมาไหว้พระขอพรที่ "พระเจดีย์สัมพุทเธ" แห่งนี้ โดยเฉพาะทัวร์ชาวไทยก็นิยมมาที่นี่เช่นกันค่ะ

ช่วงที่เราไปถึง ทางวัดกำลังมีการสร้างซุ้มประตูทางเข้าพอดี คณะตามรอยพระพุทธบาทจึงได้ร่วมบุญนี้ และร่วมบูรณะพระเจดีย์ด้วยเป็นเงิน 150,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 50,000 จ๊าด

หลังจากทำบุญเสร็จ ก็ออกมารออยู่ที่ด้านนอกแถวๆ ลานจอดรถ พร้อมกับหาข่าวไปด้วย เนื่องจากพระอาจารย์ตั้งใจจะพาพวกเราไป "ถ้ำอลองดอว์กัสสปะ" ในวันพรุ่งนี้ แต่ยังหารถไม่ได้

ลองถามๆ คนแถวนั้น พอดีไปเจอแจ็คพอต เป็นชายพม่าสองคนพ่อลูก มีอาชีพรับจ้างขับรถตู้ให้เช่า แล้วแต่ลูกค้าว่า จะเหมาไปที่ไหน

พระอาจารย์กำลังต้องการคนขับที่รู้ทาง และมีรถที่สามารถลุยสมบุกสมบันได้อยู่พอดี เพราะหนทางที่จะไปนั้นโหดหินไม่ใช่น้อย และไปยากมากๆ

ท่านได้เจรจาต่อรองผ่านล่ามของเรา คือ พี่ชัย (โชเฟอร์) ให้บอกกับเจ้าของรถเช่าว่า ไว้ถึงที่พักแล้วค่อยตัดสินใจ พร้อมกับขอเบอร์โทรศัพท์ไว้ด้วย

พระอาจารย์ท่านบอกภายหลังว่า นี่เป็นเทคนิคของเราเท่านั้น ถ้าเรายังสามารถหารถที่อื่นได้อีก พร้อมกับราคาที่ไม่แพงเกินไป เราก็สามารถเลือกรถที่ดีที่ถูกใจได้

ฉะนั้น เหมือนกับเทวดาท่านจัดสรรมาให้ ทุกอย่างจะลงได้ตัวอย่างไร พรุ่งนี้คงต้องเตรียมตัวลุ้นกันให้สุด ๆ ไปเลยว่า พระอาจารย์ท่านจะใช้ความสามารถนำพาพวกเราไปได้หรือไม่

ทั้งนี้ ท่านได้เคยไปมาแล้วถึง 2 ครั้ง แต่ครั้งแรก (ปี 2543) ยังไปไม่ถึง เพราะข้ามแม่น้ำไปไม่ได้ ต่อมาครั้งที่สอง (ปี 2545) ท่านก็สามารถไปถึงจนได้ ไว้รอตอนเล่าช่วงนั้น ท่านจะนำวีดีโอสมัยนั้นมาให้ชมกันด้วยค่ะ

สำหรับโปรแกรมวันนี้ยังไม่หมดนะคะ ยังมีบุญใหญ่รอเราอยู่อีกหนึ่งแห่ง จะเป็นที่ไหน ถ้าให้เดา ก็คงเดาไม่ได้ เพราะไม่ได้ไปด้วยกัน จึงขอให้ติดตามในตอนต่อไปค่ะ ลาไปก่อนนะคะ...สวัสดีค่ะ

คณะทีมงานฯ

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 30/11/18 at 14:37 Reply With Quote


[ ตอนที่ 46 ]
(Update 10 ธันวาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบสอง) 25 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา)

พระเจดีย์ชเวซิก่อง (Shwezigon Pagoda) เมืองโมนยวา (Monywa)

“...การเดินทางที่ต้องแข่งกับเวลา บางครั้งก็ทำให้พวกเราเป็นห่วงพระอาจารย์ชัยวัฒน์ ด้วยเกรงว่า จะทำให้ท่านเหนื่อยล้าเกินไป

สิบกว่าวันในพม่า พระอาจารย์ดูจะเป็นผู้ที่ต้องแบกรับภาระหนักที่สุด ไหนจะต้องวางแผนการเดินทาง

ไหนจะต้องคอยกระชับเวลาให้คุ้มค่ามากที่สุด เพื่อผลประโยชน์ของพวกเรา จะได้ไปกราบไหว้สถานที่สำคัญได้ครบถ้วน เพราะไม่ได้มากันง่ายๆ

การที่ท่านไม่สามารถพาคนไปจำนวนมากได้ ก็เนื่องด้วยสาเหตุนี้ ขนาดไปกันแค่สิบกว่าชีวิต บางครั้งก็เหมือนจับปูใส่กระด้ง

แต่ด้วยความที่ทุกคนมีความตั้งใจจริง ที่จะมากราบสถานที่สำคัญของพระพุทธเจ้า ทำให้ทุกคนผนึกดวงใจเป็นหนึ่งเดียวกัน

แต่ละคนจึงคอยช่วยเหลือดูแลกันเป็นทีมเวิร์ค พวกเราไม่มีความขัดแย้งในเรื่องส่วนตัว เพราะทุกคนรู้ว่าทำเพื่อส่วนรวม ด้วยความเสียสละซึ่งกันและกัน

ถึงแม้จะมีเรื่องไม่ถูกใจบ้างเป็นธรรมดา แต่พวกเราก็คอยช่วยกันปรับไม่ให้มีช่องว่าง ทำให้ผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ มาได้ด้วยดี

วันนี้จึงเป็นวันที่เราไปได้หลายแห่ง นับตั้งแต่พระใหญ่ "วัดมหาโพธิตาต่อง", พระเจดีย์สัมพุทเธ จึงคงเหลือสถานที่แห่งสุดท้ายในเมืองโมนยวา

นั่นก็คือ “พระเจดีย์ชเวซิกอง” (Shwezigon Pagoda) หรือ “ซุยซิก่อง” ตามสำเนียงพม่า เป็นพระเจดีย์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองโมนยวา (Monywa)

ชื่อพระเจดีย์ของพม่า บางครั้งก็พ้องกัน ถ้ายังจำกันได้ เราเคยไป “พระเจดีย์ชเวซิกอง” แห่งเมืองพุกาม(Bagan) มาแล้ว สร้างโดย “พระเจ้าอนิรุทธมหาราช” หรือ “พระเจ้าอโนรธามังช่อ”

แต่องค์นี้ เก่ากว่านั้นอีก เท่าที่ค้นคว้ามาได้ ยังไม่ปรากฎว่า ใครเป็นผู้สร้าง แต่ตามตำนานของพม่าเล่าว่า

ในพุทธศตวรรษที่ 4 พระเจ้า Widadapua ได้ทำศึกรุกไล่ชาวศากยะ อันเป็นตระกูลของเจ้าชายสิทธัตถะ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

จนแตกกระสานซ่านเซ็น บางส่วนถอยร่นจนมาถึง ”โปวินต่อง” (Hpo Win Daung) ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำชินด์วิน (Chindwin River)

ระหว่างนั้น ได้มีลำแสงสว่างไสวขนาดใหญ่ พุ่งขึ้นจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ซึ่งเป็นตำแห่งที่ตั้งของพระเจดีย์ในปัจจุบัน คนทั้งหลายจึงเชื่อกันว่า นี่เป็นนิมิตหมายอันเป็นมงคล

นอกจากนี้ วัดนี้ยังมีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นสถานที่พำนักในบั้นปลายชีวิตของ “Ledi Sayadaw” พระมหาเถระของพม่า

ซึ่งท่านนอกจากจะเป็นนักปราชญ์แล้ว ยังเชี่ยวชาญด้านการสอนวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงองค์หนึ่งของพม่า มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

พระเจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองโมนยวาอันจอแจ แต่พอเข้าไปข้างในวัด อย่างกับหลุดเข้าไปอยู่อีกโลกหนึ่ง ที่มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ปราศจากความวุ่นวาย

ช่วงที่เราไป ทางวัดกำลังมีการบูรณะปิดทององค์พระเจดีย์ด้วยแผ่นทอง ขนาด 9 X 9 นิ้ว (แอบกระซิบว่า ทองของเขาแผ่นใหญ่มากค่ะ) แผ่นละ 6,000 จ๊าด ต้องใช้ทั้งหมดประมาณ 6,000 แผ่น

ทางคณะเราเลยร่วมบุญแผ่นทอง 50 แผ่น เป็นเงิน 300,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้าอีก 35,000 จ๊าด

พระอาจารย์ยังเรียกคนงาน ที่กำลังทำงานอย่างตั้งอกตั้งใจมารับเงินเบี้ยเลี้ยงพิเศษอีกคนละ 2,000 จ๊าด นับได้ 7 คนพอดี รวมแล้ว 14,000 จ๊าด ยิ้มแย้มหน้าบานกันไป เบิกบานใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

สำหรับพระอาจารย์ชัยวัฒน์ การมาครั้งนี้เหมือนการย้อนเวลากลับไปเมื่อ 16 ปีก่อนอีกครั้ง ตอนที่ท่านมาที่นี่ครั้งแรก

ท่านเล่าให้ฟังแบบติดตลกว่า ตอนนั้น ยังทำบุญแบบกระจุ๋มกระจิ๋มแค่หลักหมื่น (จ๊าด) แต่ตอนนี้ ทำบุญกันเป็นแสนๆ (จ๊าด)

โดยเฉพาะถ้าดูคลิปวีดีโอปี 2545 จะเห็นว่าท่านได้มีโอกาสร่วมทำบุญสร้างฉัตรใหม่ด้วย นับเป็นความโชคดี เพราะการเปลี่ยนฉัตรแต่ละครั้ง ต้องรอเวลานานหลายสิบปี

หลังจากกราบสักการะและถวายเครื่องบูชาเรียบร้อยแล้ว ก็ออกมาถ่ายรูปกัน มีชายหนุ่มชาวพม่ามาขอถ่ายรูปกับพระอาจารย์ด้วย

เค้าคงรู้ว่า คณะเราเป็นคนไทย จริงๆ แล้ว ไทย-พม่า ก็หน้าตาคล้ายๆ กันนะ ว่าไปแล้ว

แม้จะมีเวลาน้อยนิด แต่เราก็ได้เดินชมบริเวณวัดได้เกือบทั่ว นอกจากจะมีพระพุทธรูปโบราณ ที่ทำด้วยไม้สักแล้ว ยังมีต้นโพธิ์เก่าแก่ และรูปปั้นเทพและท่านปู่ฤาษีของพม่า

ที่สะดุดตา ก็คือ รูปปั้นปลาช่อนสองตัวที่อยู่ตรงลานวัด ถามไถ่ได้ความว่า ปลาช่อนสองผัวเมียนี้มักจะมาว่ายวนเวียนแสดงอาการเคารพพระเป็นประจำ

การเดินทางท่องเมืองโมนยวา ก็สรุปปิดท้ายที่นี่นะคะ สรุปแล้ว วันนี้ได้ไปกราบไหว้พระเจดีย์และพระใหญ่ทั้งหมด 4 แห่ง

แต่ละแห่งก็ทำบุญแบบจัดเต็ม เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้โมทนาบุญกันอย่างเต็มที่ หลังจากนั้นก็เข้าที่พัก โดยคุณอภิญญา (พี่ติ๋ม) นาคสวัสดิ์ ได้จองโรงแรมที่นี่ไว้ 2 คืน

ในช่วงตอนหัวค่ำทราบข่าวว่า คุณชัย (โชเฟอร์ของเรา) ได้ติดต่อเจ้าของรถตู้ชาวพม่า ตามที่ได้พบกันที่พระเจดีย์สัมพุทเธ

บอกให้เขานำรถมาให้พระอาจารย์ดูสภาพก่อน จากนั้นท่านก็ตัดสินใจเช่ารถตู้ 2 คัน โดยนัดหมายให้มารับที่โรงแรมในตอนเช้ามืด

สำหรับพรุ่งนี้ ขอบอกว่า เป็นหนึ่งในความประทับใจที่สุดของทริปนี้ (ของผู้เขียน) เลยล่ะค่ะ ติดตามได้ตอนต่อไปนะคะ สวัสดีค่ะ

คณะทีมงานฯ

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 5/12/18 at 08:48 Reply With Quote


[ ตอนที่ 47/1 ]
(Update 15 ธันวาคม 2561)


Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2561

(วันที่สิบสาม) 26 มกราคม 2561 (มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา)

ถ้ำพระมหากัสสป (Alaungdaw Kathapa Cave) เมืองโมนยวา (Monywa)

“...เช้าตรู่วันที่ 26 มกราคม 2561 ย่างเข้าสู่วันที่ 13 ของการเดินทางแสวงบุญในพม่าของคณะตามรอยพระพุทธบาท นำโดยพระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต

วันนี้นับเป็นการเดินทางครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของพวกเราที่รอคอยกันมานาน และเป็นเป้าหมายที่ปรารถนาของชาวพุทธทุกคนที่จะมาถึงสถานที่นี่ให้ได้

จุดหมายปลายทางอยู่ที่ “ถ้ำอลองดอว์กัสสป” ในภาษาพม่า หมายถึง “พระศพท่านพระมหากัสสป” นั่นเอง

การเตรียมรถเช่าของเราก็พร้อมตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว เมื่อโชเฟอร์รถตู้ชาวโมนยวาสองพ่อลูก ขับรถตู้ไซส์มินิค่อนข้างไปทางเก่ามากกว่าใหม่ 2 คัน

ต่างก็มารับพวกเราที่โรงแรมตรงตามเวลานัดหมาย ล้อหมุนออกจากที่พักในตัวเมืองโมนยวาประมาณ 04.40 น.

การที่ต้องออกเดินทางตั้งแต่ไก่โห่ เพราะระยะทางจากที่นี่ไปยัง “อุทยานแห่งชาติอลองดอว์ กัสสป” (Alaungdaw Kathapa National Park) นั้นไกลมิใช่น้อย

อีกทั้งเส้นทางยังสมบุกสมบัน ถนนดินลูกรังตลอดทาง ลองนึกภาพถนนตามบ้านนอกของพม่าดูเอาละกันค่ะ

ความจริงพระอาจารย์ได้เตรียมการเดินทางมานานนับเดือน วางแผนไว้หลายแบบเช่น เข้าไปค้างคืนภายในอุทยาน หรือไปเช้ากลับเย็นเลย

แต่ก็ติดต่อกับใครไม่ได้ ทั้งที่พักและรถเช่า พี่หมี (กัญญาวีร์) เป็นผู้ติดต่อด้วยภาษาอังกฤษ และลิ้นจี่ ลูกน้องชาวพม่าของเจ๊มายินก็ตาม

ผลที่สุดก็มาลงตัวที่นี่ เหมือนยกภูเขาออกจากอก ความจริงเจ้าของรถเช่าบอกว่า ถ้าไปเช้ากลับเย็น พวกเราควรออกเดินทางตั้งแต่ตี 3

วันนี้ “คุณชัย” คนขับรถตู้ของเราจึงวางพวงมาลัยชั่วคราว มานั่งเป็นผู้โดยสารและเป็นล่ามจำเป็นให้พวกเรา 1 วัน

ส่วน “มินโซ” คนขับรถตู้อีกคนหนึ่ง ไม่ได้มาด้วย พระอาจารย์ให้พักผ่อน และเฝ้ารถอยู่ที่โรงแรม เพราะที่นั่งไม่พอ

ด้วยเหตุที่ว่าพวกเราออกสายไป เขาจึงขับด้วยความรวดเร็วไปตามสะพานข้ามแม่น้ำซินด์วินด์ เวลาผ่านไปเกือบ 4 ชั่วโมง เราก็มาถึงที่หมาย

ระหว่างทาง คนขับรถตู้ได้แวะให้พวกเราเข้าห้องน้ำที่ร้านอาหาร ซึ่งเป็นจุดพักรถ โดยมีรถจอดอยู่หลายคัน

นับว่ามีความเจริญมากกว่าสมัยก่อน พระอาจารย์บอกว่าแต่ก่อนเป็นป่าทั้งนั้น ไม่มีร้านอาหารอย่างนี้ ไม่มีวัดต่างๆ มาสร้างซุ้มชั่วคราว คอยบอกบุญเป็นระยะๆ ตลอดเส้นทาง

บางจุดในระหว่างทางก็มีชาวบ้านมาทำทางให้ โดยถือจอบคอยเกลี่ยดินให้ราบเรียบ เพื่อให้รถได้หยุดบริจารเงินเป็นค่าแรงบ้าง เป็นวิธีหาเงินที่ดีและได้บุญไปด้วย

นับว่าสะดวกสบายกว่าสมัยก่อนที่พระอาจารย์เคยมา ส่วนมื้อเช้า ก็รับประทานเสบียงที่เตรียมมากันในรถ

เมื่อปี 2543 พระอาจารย์มาที่นี่เป็นครั้งแรก ตอนนั้นต้องข้ามแม่น้ำซินด์วิน (ยังไม่มีสะพาน) แล้วนั่งรถสองแถวต่อเข้าไปในป่าตามถนนธรรมชาติ (กรุณาดูคลิปวีดีโอด้วยค่ะ)

พอข้ามแม่น้ำมาแล้ว ท่านได้เข้าไปชมถ้ำแกะสลักพระพุทธรูปโบราณที่มีชื่อเสียง เรียกว่า "ถ้ำพูวินต่อง" เป็นการแกะสลักบนภูเขาลูกหนึ่ง

มีพระพุทธรูปร่วมสี่แสนองค์ โดยมีพุทธลักษณะต่างกันหลายแบบ แต่ทริปนี้ท่านบอกว่าไม่มีเวลาพอ จึงไม่ได้แวะ แต่ก็สามารถดูคลิปวีดีโอ เมื่อปี 2545 ได้ค่ะ


(แม้เจ้าหน้าที่ป่าไม้นำรถยีเอ็มซีมาช่วยก็ยังไปไม่ได้)

สมัยก่อนนั่งรถสองแถวเจอฝุ่นจากดินลูกรังหัวแดงไปตามๆ กัน แต่ช่วงนั้นเดือนตุลาคมยังเป็นช่วงหน้าฝนอยู่น้ำมาก จึงข้ามแม่น้ำไปไม่ได้

ถ้าเป็นหน้าแล้งน้ำลดลงไป รถก็จะข้ามไปได้ ชาวพม่านิยมมากราบไหว้ตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนมีนาคมของทุกปี โดยมีการจัดรถทัวร์จากย่างกุ้งและจากที่อื่นบ้าง

สมัยนั้นการไปครั้งแรกช่วงเดือนตุลาคม การเดินทางยังไม่สะดวก จึงต้องทำทำพิธีบวงสรวงที่บ้านพักของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ แล้วฝากพานบายศรีและเครื่องบูชาให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้พม่าถวายแทนให้

ต่อมาในปี 2545 ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พระอาจารย์ได้กลับมาที่นี่อีกครั้ง คราวนี้ได้ไปกราบจนถึงถ้ำสมดังใจปรารถนา

สมัยนั้น ต้องนั่งรถข้ามเขา แล้วยังต้องนั่งช้างต่อไปอีก ยังไม่เจริญดังเช่นปัจจุบัน ร้านอาหารก็ไม่มีขาย ท่านต้องเข้าไปพักค้างคืนที่บ้านพักในอุทยานฯ



(สมัยนั้นบางคนต้องเดินเท้าเข้าไปในป่า ส่วนที่เหลือก็ขึ้นช้างพร้อมบายศรีและเครื่องบูชาครบชุด)


การมาครั้งนี้ ถือว่าพวกเราโชคดี ที่สะพานข้ามแม่น้ำ สร้างเสร็จเมื่อ 5 ปีก่อน ก็เลยช่วยย่นระยะทางได้มาก

ตอนที่เราไปถึง มีชาวพม่าเดินทางมากราบไหว้กันมากมาย บางคนก็เดินขึ้นเขา บางคนก็ใช้บริการนั่งช้าง เชือกละ 8,000 จ๊าด

ตอนแรก พระอาจารย์ตัดสินใจว่า จะเดินขึ้นไปเองดีกว่า เพราะถ้ารอช้าง ก็จะเสียเวลา เพราะยังมีชาวบ้านยังรอขึ้นช้างอีกหลายสิบคน

พอเดินเลี้ยวขึ้นเขามาได้สักหน่อย ก็เจอกับขบวนช้างที่เดินสวนกลับลงมารับคนที่อยู่ข้างล่าง ก็เลยถือเป็นโชคดีของพวกเรา ที่มีช้างลงมารับทันเวลาพอดี ราวกับถูกจัดสรรไว้อย่างนั้นแหละ

พอนั่งช้างไปประมาณ 30 นาที ก็ถึงศาลาหลังหนึ่ง ภายในมีหินแกะสลักเป็นรูป “ท่านพระมหากัสสปเถระ” ในท่านอนบนแท่นนิพพาน ให้คนได้บูชากราบไหว้ แต่ตัวถ้ำ ยังต้องเดินต่อไปอีก



รูปปั้นพระมหากัสสปจำลอง จุดตำแหน่งนี้ จะตรงกับตำแหน่งพระศพของท่าน ภายในถ้ำที่ลึกลงไปในภูเขานี้

ลักษณะของถ้ำ

...ตามประวัติเล่าว่า สร้างขึ้นตั้งแต่สมัย “พระเจ้าอชาตศัตรู” แต่ศาลาหลังนี้ เพิ่งสร้างได้ประมาณ 30 กว่าปี

จากศาลาพระนอน จะมีทางเดินทอดตัวตามแนวเขาที่ทั้งชันทั้งลึกลงไปข้างล่าง เราเดินไปตามบันได มองเห็นน้ำที่ไหลมารวมกันที่แอ่งน้ำด้านล่าง


(ทางเดินลงไปในถ้ำระหว่างภูเขาเป็นสามเส้า มีบันไดเดินลงไปแต่ก็ชันมาก)

ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า มีลักษณะของภูเขาสามลูกมาพิงซ้อนกัน (ตรงตามในพระไตรปิฎก ที่กล่าวไว้ว่า ท่านได้นิพพานเมื่อวันพุธ ในภูเขาสามเส้าโอบล้อมชื่อว่า “เวภาลบรรพต”)

เพราะด้านหนึ่ง ก็ยังมีรอยระหว่างภูเขา ซึ่งซ้อนกันไม่สนิท เป็นโพรงขนาดสูง จะมีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมาก และมีน้ำไหลลงมาตามผนังของภูเขา


เมื่อเดินตามทางเดินเข้าไป จะเห็นเป็นถ้ำลึกเข้าไปในภูเขา ซึ่งถ้าที่ตั้งพระศพของท่านจะอยู่ขวามือ ดูจากปากประตูถ้า จะคล้ายรูปคนยืนขนาดสูงใหญ่

เล่ากันว่า เมื่อประมาณกึ่งพุทธกาล (พ.ศ.2500) ได้มีฝรั่งเข้าไปถ่ายรูปออกมาได้ ซึ่งเล่าว่า ข้างในมีพระศพอยู่ในสภาพไม่เน่าเปื่อย ลักษณะคล้ายคนนอนหลับ ยังมีดอกไม้ธูปเทียนจุดบูชาอยู่

คนที่นี่เล่าว่า ถ้ำจะเปิดเองทุกปี ประมาณ 5 นาที ปีนี้วันถ้ำเปิดตรงกับวันที่ 30-31 มกราคม ชาวบ้านจะเริ่มทยอยมาจับจองที่พัก และรอจนกว่าถ้ำจะเปิด แต่ก็ไม่รู้ว่า จะเปิดเมื่อไหร่

พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้นำคณะกล่าวถวายเครื่องบูชา พวกเราเป็นชาวต่างชาติคณะเดีย ท่ามกลางชาวพม่าที่มากราบไหว้อย่างเนืองแน่น จนแทบจะไม่มีที่จะยืน

พวกเราตั้งจิตกราบนมัสการท่านด้วยความเคารพและอิ่มเอมใจ เพราะกว่าจะมาถึงที่นี่ได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยค่ะ

เรื่องราวเกี่ยวกับ “ถ้ำพระมหากัสสป” ยังมีต่อในตอนที่ 2 จะนำบุพกรรมของท่านพระมหากัสสป เหตุที่ต้องนิพพานในบริเวณนี้

และเพราะเหตุใดจึงยังไม่ถวายเพลิงสรีระศพของท่าน มาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปนะคะ สวัสดีค่ะ

คณะทีมงานฯ

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่สารบัญ




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 10/12/18 at 10:50 Reply With Quote


.


webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 15/12/18 at 14:37 Reply With Quote


.


webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved