posted on 20/12/18 at 10:43
(ตอนที่ 70 เมืองสิเรียม) เล่าเรื่องการเดินทางไปเมืองพม่า 14 มกราคม -11 กุมภาพันธ์ 2561
[47/2] ถ้ำพระมหากัสสปะ
[47/3] ถ้ำพระมหากัสสปะ
[48] พระเจดีย์ชเวกูนี่
[49] เมืองชเวโบ
[50/1] พระเจดีย์กลางน้ำ แห่งทะเลสาบอินดอว์ยี
[50/2] พระเจดีย์กลางน้ำ แห่งทะเลสาบอินดอว์ยี
[50/3] พระเจดีย์กลางน้ำ แห่งทะเลสาบอินดอว์ยี
[51/1] พระมหามุนี มัณฑเลย์
[51/2] ชมพิธีล้างพระพักตร์
[52] พระเจดีย์เจ๊าต่อยี
[53] วัดงู (Snake Pagoda)
[54] พระเจดีย์ชเวจั๊ตยัต
[55] พระเจดีย์กองมุดอว์
[56] พระเจดีย์สวอนอูโพนเยี่ยซิน
[57] ภูเขามัณฑะเลย์
[58] วัดกุโสดอว์
[59] พระพุทธรูปหินอ่อนเจ๊าตอว์ยี
[60] พระเจดีย์ซินะมันอ่อง เมืองพินอูลวิน
[61] พระมหาอานชุกานดา
[62] พระเจดีย์ป่อจู
[63] สะพานรถไฟก๊อกเต็ค (Gok Teik)
[64] พระเจดีย์ชเวบอดี้
[65] พระเจดีย์อะลอดูปั๊ก
[66] พระบัวเข็ม วัดพองดอว์อู
[67] เมืองตองยี
[68] พระเจดีย์ชเวซานดอว์ ตองอู
[69] พระเจดีย์เมี่ยสอญีนอง ตองอู
[70] พระเจดีย์กลางน้ำ เมืองสิเรียม
[ ตอนที่ 47/2 ]
(Update 20 ธันวาคม 2561)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบสาม) 26 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา)
VIDEO
(คลิปวีดีโอ ตอนที่ 1/2 ชาวพม่าเป็นผู้จัดทำ) ถ้ำพระมหากัสสป (Alaungdaw Kathapa Cave) เมืองโมนยวา (Monywa)
...เนื่องจากเรื่องราวการเดินทางตอน ถ้ำอลองดอว์กัสสป รายละเอียดค่อนข้างเยอะ
เลยขอแบ่งเป็นตอนย่อยๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เกร็ดความรู้ควบคู่กับอรรถรสในการเดินทางไปพร้อมๆ กันนะคะ
อย่างที่เกริ่นไว้เมื่อตอนที่แล้ว จะนำบุพกรรมท่านพระมหากัสสป เหตุที่ต้องนิพพานในบริเวณนี้ มาเล่าให้ฟัง เรื่องราวของท่านทำให้เห็นว่า กฎแห่งกรรมมีจริง
และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกหนีได้
บุพกรรมของท่านพระมหากัสสป
เหตุที่ต้องนิพพานในบริเวณนี้
...ตามประวัติของพม่าเล่าว่า มีชาติหนึ่งที่ พระมหากัสสป ได้เกิดมาเป็นเณรในสำนักของฤาษีแห่งหนึ่ง วันหนึ่งท่านได้จับนกแก้วมาเล่นในที่พักของท่าน
ขณะนั้น อาจารย์ได้เรียกใช้งาน ท่านจึงต้องนำนกแก้วไปซ่อน พอดีเหลือบเห็น เตาสามเส้า (เตาที่ใช้หินสามก้อนมาตั้งเรียง)
จึงนำนกแก้วซ่อนไว้ภายในเตาที่ไม่ได้จุดไฟ แล้วนำหม้อมาปิดทับเอาไว้
จากนั้นก็ไปทำงานตามที่อาจารย์ได้มอบหมาย จนลืมนึกถึงนกแก้วตัวนั้น กระทั่งกลับมาอีกครั้ง นกแก้วตัวนั้นก็ได้เสียชีวิตไปแล้ว
กรรมอันนี้จึงเป็นเหตุให้ท่านต้องมานิพพานในถ้ำ ที่มีภูเขาสามลูกโอบล้อมปิดเอาไว้
และยังมีเหตุอีกชาติหนึ่ง ที่ท่านได้เกิดมาเป็นช้าง และมี พระศรีอาริย์โพธิสัตว์ เกิดเป็นนายควาญช้าง สันนิษฐานว่า
คงเป็นบริเวณนี้ เพราะว่ายังมีช้างอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งทางป่าไม้ได้นำมาไว้บริการสำหรับผู้ที่มากราบไหว้
ในชาติที่เป็นช้างนี้ ท่านมีความซื่อสัตย์ต่อนายควาญช้างมาก ข่าวเล่าลือกันไปว่า แม้จะสั่งให้ทำอะไร ช้างแสนรู้เชือกนี้ก็จะทำตามทุกอย่าง
วันหนึ่งมีผู้คิดกลั่นแกล้ง โดยวิธีการท้าทายกัน แล้วเอาก้อนเหล็กเผาไฟแดงมาให้ช้างจับ เพื่อทดสอบว่า ช้างจะแสนรู้จริงหรือไม่
นายควาญช้างเสียทีคนที่คิดร้าย แต่ช้างก็ไม่อยากให้เจ้านายของตนเสียหาย จึงตัดสินใจยอมตายจับก้อนเหล็กแดงนั้น ผลที่สุดช้างนั้นก็ตายไป
ผลกรรมนี้จึงส่งผลให้ ในสมัยที่พระศรีอาริย์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จะต้องมานำร่างของพระมหากัสสป แล้วอธิษฐานให้เปลวไฟเผาร่างบนฝ่าพระหัตถ์ของพระองค์
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พระองค์เสด็จปรินิพพานในที่สุด
ยังมีเรื่องราวของทางพม่าอีกว่า ประเพณีที่น้องจะต้องถวายพระเพลิงพี่ พระมหากัสสปได้เคยเกิดเป็นน้องของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันมาก่อน
เมื่อถึงเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน ต้องรอให้พระมหากัสสปมาถวายพระเพลิง
ส่วนพระศรีอาริย์เคยเกิดเป็นน้องของพระมหากัสสป ท่านจึงต้องรอให้พระศรีอาริย์มาถวายเพลิงสรีระศพของท่านเช่นกัน
นอกจากนี้ พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก กัณฑ์ที่ 8 ในตอนท้ายได้กล่าวไว้ว่า
พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายที่นิพพานไปแล้ว แต่สรีระร่างยังไม่เน่าเปื่อยมีอยู่ 4 องค์ คือ พระมหากัสสปเถระ
นิพพานแล้ว สรีระร่างของท่านอยู่ในระหว่างภูเขา 3 ลูก ที่สุมกันอยู่ในเมืองราชคฤห์ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอังวะ
ดังนี้
จากหลักฐานนี้ แสดงให้เห็นว่า เมืองอังวะ สมัยก่อน อาจจะอยู่ในเขตแดนของเมืองราชคฤห์ ตามประเพณีของพระเจ้าแผ่นดิน
จะต้องทรงอนุญาตให้พื้นแผ่นดินตรงนั้นเป็นเขตธรณีสงฆ์
ถ้าดูตามแผนที่ของประเทศพม่า ถ้ำนี้จะอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอังวะจริงๆ
แต่ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ได้เคยบอกไว้ว่า ท่านพระมหากัสสป อยู่แถว เชียงตุง นั้น
...พระอาจารย์ชัยวัฒน์เคยไปสืบหาแถวเชียงตุง ไปจนถึงสิบสองปันนา ก็ไม่มีข่าวว่าพบแต่อย่างใด แต่ถ้าเทียบกับแผนที่พม่า ที่หลวงพ่อไปด้วยมโนมยิทธิ
จะเห็นว่าไปทางเชียงตุงเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ถ้าจะเทียบข้อมูลระหว่างเชียงตุงกับสถานที่นี้ จะเห็นว่าคนพม่าเขาเชื่อถือที่นี่กันมานานแล้ว ส่วนที่เชียงตุงไม่มีคนรู้เรื่องแบบนี้เลย
อีกประการหนึ่ง ลักษณะภูมิประเทศของภูเขาสามเส้านี้ ที่มีถ้ำอยู่เบื้องล่างก็มีที่เดียวเท่านั้น ซึ่งมีลักษณะตรงกับพระไตรปิฎกทุกอย่าง
หลวงพ่อเล่าเรื่องพระมหากัสสป
� ผู้ถาม : เอ....หลวงพ่อครับ "พระมหากัสสปะ" ท่านนิพพานแล้ว แต่ได้ยินดีเขาบอกว่า ศพของพระมหากัสสปะยังอยู่ที่ "เมืองราชคฤห์"
แล้วจะเผาได้ต่อเมื่อ "พระศรีอาริย์" มาตรัสรู้ และเผาบนมือด้วย อันนี้เป็นเหตุไฉนและข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรครับ?
�� หลวงพ่อ : ศพของพระมหากัสสปะไม่ได้อยู่เมืองราชคฤห์นี่ อยู่ที่..เชียงตุง เดาส่งแล้ว
� ผู้ถาม : อยู่ไทยนี่เองเองเหรอครับ..?
�� หลวงพ่อ : ไทยใหญ่
� ผู้ถาม : ไม่ใช่อยู่อินเดียหรือครับ...?
�� หลวงพ่อ : ปัดโธ่..จะอยู่อินเดียตะพึดเลยนะ ยกยอดให้อินเดียตะบัน..ท่านอยู่ตรงนี้ พระมหากัสสปะท่านมีงานอยู่แถวนี้ ระหว่างเชียงตุง
เชียงราย แล้วก็ประเทศจีน ที่พระพุทธเจ้าส่งให้มาประกาศศาสนา
ถ้าต่ำลงมานั้นเป็นเขตของ "พระมหากัจจายนะ" จากลำพูนลงมาก็เป็นเขตของ "พระโมคคัลลาน์" ก็ว่าตามเขต แล้วท่านก็นิพพานแถวนี้
ถ้าถามว่า "ศพของพระมหากัสสปะมีจริงไหม..?" ขอยืนยันว่ามีจริง...ยังอยู่ ดอกไม้ที่เขาบูชาก็ยังอยู่
ธูปกับเทียนที่เขาบูชาก็ยังอยู่ แต่ว่าเวลาปกตินี่เราเข้าไม่ได้ เพราะเขาลูกเล็กๆ สองลูกข้างหน้าต่ำเคลื่อนมาติดกัน
เมื่อปีกึ่งพุทธกาลน่ะเข้าได้ เขาลูกเล็ก ๆ มันขยายตัวออก เป็นเรื่องอัศจรรย์เหมือนกันนะ จนกระทั่งฝรั่งเข้าไปถ่ายภาพได้ ฉันได้ภาพที่ฝรั่งถ่ายประมาณ ๑๐
ภาพ
ในปีนั้นนะ เขาพิมพ์ขาย ไอ้ฉันน่ะไม่ได้ซื้อ เขามาให้แล้วก็เอาภาพนั้นไปให้ "หลวงพ่อเล็ก" ดู
ถามว่า..."การนั่งอยู่...การเข้าสมาธิเป็นของไม่แปลก แต่ธูปกับเทียนที่เขาบูชาทำไมจึงไม่เศร้าหมอง...ยังสด ธูปเทียนก็ยังติดอยู่" หลวงพ่อเล็ก
(หลวงพ่อเล็ก เกสโร วัดบางนมโค) ก็เลยบอกว่า
คำอธิษฐานของพระอรหันต์ จะให้เป็นอะไรก็ได้ ใครไม่เชื่อก็ไปดู พวกที่ได้ มโนมยิทธิไปดูก็ได้นี่ ไม่ต้องรอให้เขาเปิด...เข้าได้
� ผู้ถาม : แล้วที่ว่าจะเผาต้องเผาบนมือพระศรีอาริย์ล่ะครับ..?
�� หลวงพ่อ : ตามท่านว่ามา ถ้าเราไม่เชื่อเราอย่าเพิ่งตาย รอดูก่อน..จนกว่าพระศรีอาริย์จะนิพพาน!!"
� ผู้ถาม : โอ้โฮ...?
�� หลวงพ่อ : อ้าว...ถ้าพูดเวลานี้ก็เถียงกันไม่จบ บางคนว่าฉันไม่เชื่อหรอก เป็นพระพุทธเจ้า แล้วกฎแห่งกรรมย่อมสิ้นไป
มันเป็นเช่นนั้นจริง..!! ตามเรื่องมีว่า...
สมัยก่อนโน้น พระมหากัสสปะท่านเป็นช้าง รูปร่างท่านจึงใหญ่โตคล้ายช้าง แล้วพระศรีอาริย์ท่านเป็นเจ้าของ
และก็มีการพนันกันว่า ช้างตัวนี้สามารถจะหยิบอะไรก็ได้ ก็บังเอิญคนพนันมันเกเร มันเอาเหล็กเผาจนแดงโชนให้อม
ที่แรกเจ้าของยอมแพ้ ยอมให้ถูกปรับดีกว่า ไม่ยอมให้ช้างหยิบ ช้างก็รักษาศักดิ์ศรี อาศัยที่รักเจ้าของก็เอางวงหยิบ หยิบได้ฝ่ายนั้นก็ต้องแพ้
แต่ช้างก็ต้องตาย
เพราะอาศัยกรรมอันนี้หน่อยเดียว เวลาที่พระศรีอาริย์จะนิพพาน ท่านก็เอาศพพระมหากัสสปะใส่พระหัตถ์ อธิษฐานเตโชธาตุเผา
เมื่อเผาแล้วก็อาศัยเหตุนี้เป็นปัจจัยพระองค์จึงนิพพาน
แต่อย่าลืมนะ ไฟที่ใช้กำลังใจให้เกิดขึ้นมันไม่ร้อนหรอก ท่านจะร้อนก็ได้ ไม่ร้อนก็ได้
อ้างอิง - พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
จากหนังสือตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่มที่ 6 หน้าที่ 21-23
(ถ้ำพระมหากัสสป ภาพเมื่อปี 2545 ปัจจุบันทำศาลาเล็กๆ หน้าถ้ำ ทำให้ไม่เห็นเป็นธรรมชาติไปแล้ว)
...ขอกลับมาเล่าเรื่องต่อ...หลังจากกราบไหว้บูชาพระศพท่านเรียบร้อยแล้ว พวกเราเดินกลับออกมาทางเดิม สวนกับคนพม่า
ที่ทยอยมากราบไหว้เรื่อยๆ ไม่ขาดสาย
ระหว่างทาง แวะทำบุญที่ศาลาที่มีรูปปั้นพระมหากัสสปประดิษฐานอยู่ ก็มาเจอกับชายหนุ่มชาวพม่าเจ้าหน้าที่อุทยาน
เลยได้คุยกัน พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้เอารูปเก่า ตอนที่ท่านมาเมื่อปี 2545 ให้เขาดู เมื่อครั้งถ้ำยังอยู่ในสภาพเดิมๆ เลยทำให้เขารู้สึกตื่นเต้น
เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน
(บ่อน้ำ "พระมหากัสสป" ภาพเดิมๆ ปี 2545)
...พอเดินมาถึงทางออก ตรงที่มีศาลา ด้านในมีรูปปั้น พระมหากัสสป ปางนิพพาน เดินไปตามเนินเขาอีกหน่อย ก็จะเจอ บ่อน้ำพระมหากัสสป ซึ่งมีลักษณะแปลกๆ
คือบ่อน้ำอยู่บนที่สูงคือเนินเขา
ซึ่งเล่ากันว่า เป็นบ่อน้ำที่ท่านพระมหากัสสปได้มาใช้น้ำในบ่อนี้ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ บ่อนำ้นี้มีน้ำขังอยู่เสมอ ไม่เคยแห้ง ทั้งที่อยู่บนเนินเขา
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ถวายเครื่องบูชา อันมีน้ำอบน้ำปรุง ดอกไม้โปรย และแผ่นทองคำเปลว และได้นำน้ำศักดิ์สิทธิ์ในบ่อมาประพรมเป็นน้ำพระพุทธมนต์ให้พวกเรา
น้ำในบ่อสะอาดใสบริสุทธิ์ พอลองดื่มดู มีรสชาติจืดสนิท พอชาวพม่าเห็น ก็มาขอให้ท่านปะพรมให้ด้วย บางคนก็นำขวดมาให้ท่านกรอกให้ ชาวพม่าเขาจะปลื้มมาก
เวลาได้ของที่ได้รับจากพระสงฆ์
ยังเหลือจุดสำคัญอีกจุดหนึ่ง ที่พระอาจารย์ท่านตามหาอยู่ เวลาผ่านไป 16 ปีแล้ว สิ่งต่างๆ ย่อมแปรผันไปตามกาลเวลา ต้องลุ้นกันว่า
พระอาจารย์ท่านจะหาเจอหรือไม่ เก็บไว้เฉลยตอนหน้านะคะ
สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 20/12/18 at 10:43
[ ตอนที่ 47/3 ]
(Update 25 ธันวาคม 2561)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบสาม) 26 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา)
VIDEO
ถ้ำพระมหากัสสป (Alaungdaw Kathapa Cave) เมืองโมนยวา (Monywa)
...นอกจากถ้ำพระมหากัสสปแล้ว ยังมีสถานที่สำคัญในสมัยพุทธกาล ที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันอีกแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ บ่อน้ำพระเจ้าอชาตศัตรู
ที่อยู่ไม่ไกลกันนัก
เมื่อเดินจากบ่อน้ำพระมหากัสสปต่อไปอีกหน่อย ก็จะพบเจดีย์ จะเห็นที่ราบขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดและหมู่บ้าน
บริเวณด้านหลังวัดนี้เอง จะมีบ่อน้ำอยู่บ่อหนึ่ง เชื่อกันว่า เป็นบ่อน้ำที่พระเจ้าอชาตศัตรู (King Ajatashatru) ได้อธิษฐาน แล้วใช้หอกปักลงพื้น ปรากฏว่า
มีน้ำพุ่งขึ้นมาจากดิน และไหลไปสู่ถ้ำที่พระมหากัสสปนิพพาน
ประวัติในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรู
(รูปภาพแผนผังเส้นทางระหว่างภายในป่าอุทยานแห่งชาติ จะต้องเดินทางไปยังตำแหน่งที่เห็นเป็นรูปเจดีย์)
...ตามหนังสือประวัติที่บันทึกไว้เป็นภาษาพม่า จะมีแผนผังเส้นทางเดินจากกรุงราชคฤห์ มาที่ถ้ำพระมหากัสสปเถระอย่างละเอียด ตอนที่ท่านพระมหากัสสปนิพพานใหม่ๆ
พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงทราบข่าว จึงพาไพร่พลออกตามหา
เมื่อเดินมาถึงบริเวณหนึ่ง ทหารที่ติดตามมาเหน็ดเหนื่อย จึงให้พักพลเอาไว้ก่อน (ปัจจุบันนี้มีชื่อว่า หมู่บ้านอชาตศัตรู ห่างจากถ้ำไปประมาณ 4-5
กิโลเมตร)
ส่วนพระองค์เดินทางต่อไปจนรู้สึกเหนื่อยล้า จึงได้อธิษฐานขอให้ได้พบสรีระศพของท่านพระมหากัสสปด้วย (สมัยนั้นยังเป็นป่าอยู่
ส่วนวัดเพิ่งจะตั้งขึ้นมาภายหลัง)
เมื่ออธิฐานจบ พระองค์จึงปักหอกลงไปที่พื้นดิน ขอให้มีน้ำไหลไป ถ้าพระศพของท่านอยู่ตรงไหน ขอให้น้ำไหลไปทางนั้น
ปรากฏว่า น้ำพุ่งจากพื้นดินและไหลไปตามทาง พระองค์จึงเดินตามทางน้ำที่ไหลไป จนกระทั่งได้พบพระศพของท่านภายในถ้ำแห่งนี้
(ตามทางที่น้ำไหลลงมานี้ มีช่วงหนึ่งจะผ่านก้อนหินก้อนหนึ่ง ที่มีรอยเท้ายาวประมาณ 1 ศอกอยู่บนหิน ซึ่งเชื่อว่าเป็นรอยเท้าของท่านพระมหากัสสป
แต่ปัจจุบันนี้ ชาวบ้านได้มาตั้งรกรากกันมากขึ้น ทำให้น้ำอาบและสิ่งสกปรกไหลไปปิดทับหินก้อนนี้ไปแล้ว)
(ผู้ที่เดินทางไปกราบนมัสการเสร็จแล้ว จะนิยมมาอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ซึ่งมีป้ายบอกว่า ห้ามนำน้ำนี้ไปล้างเท้า)
...พระเจ้าอชาตศัตรูได้ถวายทรัพย์สมบัติอันมีค่ามากมายเพื่อบูชาพระมหากัสสป ด้านบนได้ให้ช่างแกะสลักรูปของท่านในท่านิพพาน โดยหันศีรษะไปทางทิศเหนือ
เพราะว่าจุดนี้เป็นจุดที่ตรงกันพอดี
กล่าวคือรูปที่แกะสลักข้างบน จะตรงกับพระศพที่อยู่ภายในถ้ำพอดี ทั้งนี้ พระองค์ไม่ประสงค์ให้ใครเดินข้ามพระศพของท่านไป
จากนั้นพระองค์ได้พระราชทานที่ดินเพื่อให้เป็นธรณีสงฆ์ โดยวัดจากพระนอนศิลาไปทางทิศทั้งสี่ ทิศหนึ่งยาว 20 ไมล์ (ประมาณ 30 กิโลเมตร)
ซึ่งทางวัดได้พบหลักศิลาจารึกบันทึกไว้ว่า พระองค์ได้บริจาคที่ดินเพื่อเป็นธรณีสงฆ์ แต่หลักศิลานี้ได้ถูกทำลายไปแล้วเมื่อหลายสิบปีก่อน
โดยรัฐบาลพม่าในยุคนั้น เพราะเกรงว่าทางอินเดียจะมาอ้างกรรมสิทธิ์แถบนี้ และบริเวณนี้ก็จะไม่มีหมู่บ้านใหญ่ๆ เพราะชาวบ้านรู้ว่าเป็นพื้นที่ธรณีสงฆ์
นอกจากนี้ ยังมี "สวนพระเจ้าอชาตศัตรู" ซึ่งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านอชาตศัตรูอีกด้วย ในสมัยก่อน สวนนี้จะปลูกผลไม้และดอกไม้ต่างๆ
ให้คนทั่วไปเข้ามากินฟรีหรือนำไปฟรี แต่สมัยนี้พอมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อาศัย สวนนั้นก็หายไป
สำหรับสถานที่แห่งนี้ พระอาจารย์วินิจฉัยว่า เพราะมีบุพกรรมต่อเนื่องกันมา ระหว่างนายควาญช้างคือพระศรีอาริย์ กับช้างคือพระมหากัสสปเถระ
ต่อไปในอนาคตสมัย "พระศรีอาริย์" ใกล้ปรินิพพาน ท่านคงเสด็จมาอธิษฐานให้เพลิงเผาไหม้สรีระศพพระมหากัสสปเถระ บนฝ่าพระหัตถ์ของพระองค์ ณ สถานที่แห่งนี้
บุพกรรมของท่านพระมหากัสสปเถระ เหตุที่ต้องนิพพานในบริเวณนี้ อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=626
...เป็นอันว่า หลังจากมาครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2545 หรือเมื่อ 16 ปีก่อน ในการมาครั้งที่ 3 ในครั้งนี้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์จำได้ว่า
บ่อน้ำอยู่หลังวัด จึงเดินไปดู ปัจจุบันสภาพได้เปลี่ยนไปมาก
พอมีชาวบ้านมาตั้งรกรากกันมากขึ้น ประกอบกับปราศจากการดูแลเอาใจใส่ ตอนนี้เลยกลายเป็นบ่อน้ำสาธารณะ ที่ชาวบ้านมาใช้อาบน้ำ ซักเสื้อผ้ากัน ไม่เหลือสภาพเดิมๆ
ซึ่งเป็นอะไรที่น่าเสียดายมาก
พอดีใกล้เวลาฉันเพล พวกเราเลยนิมนต์พระอาจารย์ฉันเสบียงที่นำมา ด้านนอกศาลาภายในวัด เจ้าหน้าที่วัดก็มีอัธยาศัยดี นำโต๊ะเตี้ยๆ มาตั้งให้
และอยู่คอยอำนวยความสะดวก
หลังจากฉันเสร็จแล้ว พระอาจารย์ได้แวะเข้าไปกราบและสนทนาธรรมกับท่านเจ้าอาวาส ที่ดูแลวัดนี้มา 15 ปีแล้ว โดยมี คุณชัย โชเฟอร์ของเรา
เป็นล่ามช่วยแปลให้รู้เรื่องกันได้
ท่านเล่าว่า ช่วงวันที่ 30 มกราคม ถ้ำจะเปิดทุกปี ประมาณไม่เกิน 5 นาที ถ้าใครโชคดี ก็จะเห็นภายในถ้ำ เหมือนที่เคยมีฝรั่งถ่ายรูปภายในถ้ำออกมาได้
ตามประวัติเล่าว่า ท่านทูลลาเจ้าเมืองเพื่อเข้านิพพานใน "วันพุธ" ยามเช้า ซึ่งตรงกับวันพุธที่ 30 มกราคม 2561 พอดี
และพระภิกษุชาวพม่าเล่าต่อไปอีกว่า พระศพของท่านเหมือนคนนอนหลับ ดอกไม้ที่บูชา ก็ยังสดอยู่ พวกเราได้ฟังรู้สึกเสียดาย เพราะอีก 3-4 วัน
ก็จะถึงเวลาถ้ำเปิดแล้ว มิน่าช่วงนี้ชาวบ้านทยอยเดินทางเข้ามากันมาก เพราะเขารู้เวลาที่ถ้ำเปิด
ก่อนจะลากลับด้วยความเสียดาย พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ถวายปัจจัยร่วมบุญทุกอย่าง 50,000 จ๊าด ก่อนหน้านี้ ได้หย่อนตู้บริจาคไปแล้ว 10,000 จ๊าด
และถวายปัจจัยพระสงฆ์ 5 รูปๆ ละ 5,000 จ๊าด และสามเณรลูกวัด 3,000 จ๊าด รวมเป็น 28,000 จ๊าด รวมแล้วยอดทำบุญที่นี่ทั้งหมด 88,000 จ๊าด
ตอนขากลับปรากฏว่าโชคดี คือจะต้องเดินกลับกันเอง เพราะหมดเวลาช้างทำงานแล้ว เพิ่งมารู้ทีหลังว่า ช้างทำงานตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยง
ช่วงบ่ายหลังจากหยุดพักแล้ว ช้างจะเริ่มทำงานต่อในเวลา 15.00 น.
มิน่าเล่า..ชาวบ้านเขามากันตั้งแต่เช้า เพื่อให้ทันช้างทำงานนั่นเอง จะได้ไม่ต้องเดินกลับอย่างพวกเรา แต่ขาไปก็โชคดีที่พวกเราได้ลัดคิวก่อน
โดยเดินมาได้สักพักก็เจอช้างกลับมาส่งคนพอดี พวกเราถือโอกาสขึ้นช้างตรงนั้นเลย (ขอโทษ...ตรงกับศัพท์สมัยก่อนที่เรียกกันว่า "ขี่ช้าง" จริงๆ เลยค่ะ)
ตอนนี้เป็นเวลาเที่ยงเศษๆ แล้ว พวกเรายังไม่ได้ทานข้าวกันเลย คงรอไม่ไหวจึงตัดสินใจว่า เดินลงน่าจะดีกว่า เปลี่ยนบรรยากาศบ้างอะไรบ้าง
นานๆ จะได้มาเดินท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพรในพม่า อย่างนี้ต้องสูดโอโซนให้เต็มปอดซะหน่อย ว่าแล้วก็ขยับเดินพร้อมหิ้วของพะรุงพะรัง
ไม่เหมือนตอนแรกที่ยังพอหาคนรับจ้างได้
VIDEO
(คลิปวีดีโอ ตอนที่ 2/2 ชาวพม่าเป็นผู้จัดทำ)
ในช่วงบ่าย ก็ยังพอมีชาวพม่าเดินสวนกับพวกเราขึ้นไปไหว้พระที่ถ้ำข้างบน มีชาวบ้านบางคนก็ต้องนั่งพักเหนื่อยเป็นเหมือนเราเช่นกัน
...พระอาจารย์เดินไปพร้อมกับพวกเรา เดินคุยอย่างสบายๆ ท่ามกลางบรรยาากาศที่เป็นธรรมชาติจริงๆ
...ทุกคนพกพาเอาความสุขและความสำเร็จกลับมา ถ้าไม่ได้บารมีพระและเทวดาช่วย พวกเราอาจจะกลับไม่ทันในวันนี้ก็ได้
...ในภาพ..พี่บุ๋มยืนชำเลืองดูช้าง เพราะรู้ว่าเอาเงินไปฟาดหัวช้างเท่าไร ช้างก็ไม่ยอมทำงาน เพราะเขารู้เวลาพัก
...สังเกตได้ว่าควาญช้างเขาปฏิเสธที่จะรับคนระหว่างทาง นี่คือความลับที่พระอาจารย์และพวกเราไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนเลย เพิ่งจะมาทราบในครั้งนี้นี่เอง
...เพราะฉะนั้น ความสำคัญอยู่ที่ตอนขาไป หากเดินไปตั้งแต่ตอนแรกคงไม่ไหวแน่ เพราะขาไปนั้นต้องเดินขึ้นเขาไปเรื่อยๆ แต่พอช่วงขากลับจึงเดินลงแบบสบายๆ
...นี่คือความอัศจรรย์ที่บารมีพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ สถานที่นี้ ที่ท่านช่วยให้พวกเราได้ขึ้นช้างในตอนขาไป
พอเดินลงมาถึงลานจอดรถข้างล่างรู้สึกว่า จะกินอาหารกลางวันกันไม่ค่อยอิ่ม เลยมาขอน้ำร้อนร้านอาหารแถวนั้น ต้มมาม่ากินกันอีกรอบ
เลยต่อชีวิตไปได้อีกมื้อนึง
ระหว่างนั้น มีช้างที่เจ้าของล่ามขาไว้ เพื่อให้ท่องเที่ยวได้ซื้ออ้อยเลี้ยงช้าง จู่ๆ ก็เดินมาหาพระอาจารย์ แล้วก็ก้มหมอบกราบแสดงอาการคารวะ
โดยที่เจ้าของไม่ได้บังคับ เห็นแล้ว ประทับใจสุดๆ ก็เลยอดจะถ่ายรูปเจ้าช้างแสนรู้เชือกนี้ไว้ไม่ได้ เหมือนเขาจะรู้จักพระอย่างนั้นละค่ะ
...พระอาจารย์เล่าว่า ได้เห็นช้างแล้วนึกถึงคำบอกเล่าของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ท่านบอกว่า ท่านเคยเกิดเป็นช้างมาหลายชาติ
โดยเฉพาะท่านเคยเกิดเป็นช้างมาตั้งแต่สมัย "สมเด็จองค์ปฐม" แสดงว่าพวกเราก็ต้องเคยเกิดเป็นลูกช้างเหมือนกัน
เป็นอันว่า ภารกิจได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีสำหรับวันนี้ เราคงต้องเดินทางกลับที่พักที่เมืองโมนยวา (Monywa) กันเลย เพราะต้องใช้เวลาเกือบ 4 ชั่วโมง
กว่าจะถึงซึ่งเป็นเวลาเย็นพอดี
ระหว่างทาง เจอกับซุ้มบอกบุญ สร้างฉัตรพระเจดีย์ เลยร่วมบุญกันไปตามระเบียบ เก็บบุญไว้ไม่ตกไม่หล่นเลยค่ะ
จริงๆ แล้ว ผ่านอีกหลายด่านเลย และก็ทำบุญทุกด่าน จนจดไม่หมด โดยเฉพาะพี่มายินนั่งอยู่หน้ารถ ต้องคอยโยเงินจ๊าด และลูกอมขนมเด็กตลอดทาง
....สภาพถนนที่เห็นจะเป็นเช่นนี้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม โชเฟอร์รถตู้ 2 คัน ที่เราเช่าเหมาไปทั้งวัน ขับได้อย่างชำนาญเส้นทาง
คล่องแคล่วว่องไวสมกับเป็นเจ้าถิ่นจริงๆ ทำให้กลับทันเวลาเย็นพอดี นับว่าบุญจัดสรร เทวดาบันดาลให้กับพวกเราจริงๆ ค่ะ
สำหรับตอนหน้าหลังจากพักที่โมนยวาสองคืนแล้ว ท่านจะนำไปที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง คือ "ทะเลสาบอินดอว์ยี" ที่กว้างใหญ่กว่า "ทะเลสาบอินเล"
(ต้องเดินทางขึ้นเหนือไปอีก ผ่านเมืองชเวโบไปทางเมืองมิตจิน่า)
...ต้องติดตามให้ได้นะคะ ยังมีบุญอีกมากมายให้ท่านได้โมทนาค่ะ ถ้าชอบก็กดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้คณะผู้จัดทำหน่อยนะคะ
แล้วเจอกันในตอนต่อไปค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 25/12/18 at 10:06
[ ตอนที่ 48 ]
(Update 30 ธันวาคม 2561)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบสี่) 27 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา)
VIDEO
พระเจดีย์ชเวกูนี่ (Shwe Gu Ni Pagoda) *(พบใหม่) เมืองโมนยวา (Monywa)
...หลังจากเดินทางกลับจากถ้ำอลองดอว์ กัสสป มาถึงที่พักที่เมืองโมนยวาอย่างสวัสดิภาพ ในช่วงเย็นก่อนค่ำเล็กน้อย เห็นว่า
ยังพอมีเวลา ก็เลยออกไปเดินชมตลาดเมืองโมนยวากัน โดยมี มินโซ สารถีหนุ่มเจ้าเก่าออกไปด้วย เพื่อเป็นล่ามและดูแลความปลอดภัยให้พวกเรา
ตลาดที่นี่ดูจะคึกคักกว่าที่อื่น เพราะเป็นศูนย์กลางการค้า สาวๆ ได้ผ้าซิ่นติดไม้ติดมือมากันหลายผืน โชคดีที่มีร้านตัดเสื้ออยู่ติดกับโรงแรม
พวกเราเลยให้ช่างเย็บให้แบบด่วนๆ จะได้เอามาใส่แบบทันใจ
ที่เห็นว่า ใส่ผ้าถุงไม่ซ้ำกัน ก็เพราะเหตุนี้เอง ก็ของมันงอกได้ แถมค่าเย็บก็ถู๊ก
ถูก ถ้าเย็บแบบธรรมดา ก็ตกตัวละ 25 บาทเองค่ะ
นอนพักยังไม่ทันหายเหนื่อย ก็ต้องรีบตื่นลงมากินมื้อเช้าที่โรงแรมจัดเตรียมไว้ให้ ล้อหมุนเวลา 07.05 น.
ลืมบอกไปค่ะ เช้านี้ (27 มกราคม 2561) แป๊บๆ ก็ย่างเข้าสู่วันที่ 14 ของการเดินทางแล้ว เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหกจริงๆ
เส้นทางวันนี้ เราจะเดินทางย้อนขึ้นไปทางเหนือ ผ่าน เมืองชเวโบ (Shwe Bo) ไปทางเมืองมิตจิน่า (Myitkyina)
เพื่อไป ทะเลสาบอินดอว์ยี (Indawgyi Lake) ที่นั่น มีบุญใหญ่รอเราอยู่ค่ะ แต่กว่าจะไปถึงที่พักน่าจะดึก
พระอาจารย์เลยจัดให้เป็นโปรแกรมในวันพรุ่งนี้แทน
ขณะที่รถกำลังแล่นไปเรื่อยๆ ออกไปทางตะวันออกของเมืองโมนยวาประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านเฉ้าคา (Kyaukka village) มีคนเห็นพระเจดีย์กำลังเข้าเฝือกอยู่
พระอาจารย์เลยให้เลี้ยวรถแวะทำบุญทันที
เพื่อประหยัดเวลา เลยส่งตัวแทน คือ พี่เจ, เจ๊มายิน, เจ๊หลี, และผู้เขียน ลงไปทำบุญแทน เลยต้องโกยกันหน้าตั้ง รวบรวมเงินบูรณะได้ทั้งสิ้น 100,000 จ๊าด
ใครที่ร่วมทำบุญมา หรือที่ไม่ได้ไปด้วย ก็โมทนาร่วมกันนะคะ ได้บุญเหมือนกันทุกท่านค่ะ
...เป็นอันว่าไหนๆ ก็ลงมาแล้ว เราเลยเป็นตัวแทนพระอาจารย์และชาวคณะไปกราบสักการะ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ องค์ใหญ่ ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหาร
พี่ชัยและมินโซ คนขับรถของเรา ที่ลงไปช่วยเป็นล่ามให้ เล่าให้ฟังว่า ชาวพม่าเชื่อว่า ถ้าเจ็บป่วยตรงอวัยวะส่วนใดในร่างกาย ก็ให้ปิดทองตรงอวัยวะส่วนนั้น
โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับสายตา
มิน่าล่ะ องค์ท่านจึงถูกปิดทองจนหนาไปหมด แทบไม่เห็นสภาพเดิม โดยเฉพาะที่พระเนตรและพระพักตร์
แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาอันล้นเหลือของชาวพม่าที่มีต่อพระพุทธรูปองค์นี้
ประวัติพระเจดีย์ชเวกูนี่
...ตามประวัติเล่าว่า เป็นพระเจดีย์เก่าแก่ สร้างในศตวรรษที่ 14 จากเว็บไซด์พม่า (ภาษาอังกฤษ) มีชื่อเดิมว่า Myo-Oo Athawka Pagoda
ดังนี้
http://myanmartravelinformation.com/sagaing-region/shwe-guni-pagoda.html
...Shwe Gu Ni Buddha Image lies in Kyaukka village ten miles east of Monywa Township in Sagaing Division. It was one of the 34.000 pagodas built by
King Thin Dharnma Thawka.
แปลโดยย่อว่า เป็นหนึ่งในพระเจดีย์ 34,000 แห่ง ที่สร้างโดย King Thin Dhamma Thawka เป็นต้น เมื่ออ่านผ่านไป คนไทยก็ไม่รู้ว่ากษัตริย์พระองค์นี้เป็นใคร
แต่ถ้าเราไปที่เมืองสกายน์ (ก่อนถึงภูเขาสกายน์) ยังมีพระเจดีย์ชื่อ Shwe Kyet Yet Pagoda และที่ทะเลสาบอินเลชื่อว่า The Alodaw Pauk Pagoda
(ซึ่งจะนำไปเล่าในภายหลัง)
สถานที่ทั้งสองแห่งนี้สร้างสมัย "พระเจ้าอโศกมหาราช" ตามประวัติเล่าไว้เป็นภาษาอังกฤษ จากเว็บไซด์เดียวกันนี้ว่า
http://myanmartravelinformation.com/115-others-destinations/sagaing-region.html?start=8
...1. Shwe Kyet Yet Pagoda lies on Shwe Kyet Yet Hill. also known as Mandagiri while embryo Buddha was reborn a king of chicken in his early lives. It
is one of the 84.000 pagodas built by King Thiri Dhamma Thawka in Sakarit 218.
...2. The Alodaw Pauk Pagoda is one of the 84,000 pagodas built by the famous king Thiri Dhamma Thawka. When King Anawrahta arrived in Inle Lake
ถ้าอ่านเป็นไทยเฉพาะชื่อได้แก่ พระเจ้า "ศิริธรรมะโศกะ" หรือ "พระเจ้าอโศกมหาราช" บางแห่งเรียก "ศรีธรรมโศกราช" พระองค์สร้างพระเจดีย์ 84,000
ทั่วชมพูทวีป
นี่แสดงว่าเว็บไซด์ก็คัดลอกมาผิดเหมือนกัน โดยเฉพาะคำว่า Thiri ลอกผิดเป็น Thin ถ้าเป็นคำไทยก็คือ "ศิริ" ได้แก่ "ศรี" นั่นเอง ส่วนคำว่า 84,000
ก็คัดลอกผิดเป็น 34,000 เช่นกัน
สำหรับที่เมืองไทยตามประวัติบันทึกไว้ว่า พระบรมสารีริกธาตุสมัย "พระเจ้าอโศกมหาราช" ได้นำมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์จอมทอง, หริภุญชัย, ลำปางหลวง เช่นกัน
ขอเล่าเรื่องพม่าต่อไปว่า สมัยต่อมากษัตริย์แห่งเฉ้าคา (Kyaukka) ภายใต้การปกครองของ พระเจ้ามินกองยี (Mingaung Gyi) แห่งราชวงศ์อังวะ
...(ขออธิบายก่อนว่า "ฝรั่งมังฆ้อง" หรือภาษาพม่าว่า "ปฐมมินกอง" ที่ไปทำสงครามกับกษัตริย์มอญแห่งหงสาวดี
คนไทยจะรู้จักกันในเรื่อง "ราชาธิราช" นั่นเอง)
กษัตริย์แห่งเฉ้าคาได้สร้างครอบองค์เดิม ในปี พ.ศ.1305 และมีขื่อใหม่ว่า Khaukka Shwegu Pagoda หลังจากนั้น พระเจดีย์ได้รับการบูรณะใหม่อีกครั้งโดย King
Thalun (พระเจ้าสะลัน หรือตะลัน)
...ด้วยเหตุที่มีความสำคัญเช่นนี้ จึงได้หมายเหตุพระเจดีย์ "ชเวกูนี่" แห่งนี้ว่า "พบใหม่" เสียดายที่ไม่ได้บันทึกไว้ว่า
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนไหนไว้บ้าง
แต่ก็ไม่สำคัญกับที่พวกเราได้พบพระเจดีย์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยโบราณกันโดยบังเอิญ ถ้าทางวัดไม่ตั้งนั่งร้านเพื่อบูรณะ ป่านนี้รถตู้ 2 คันคงจะเลยไปแล้ว
ถือว่าโชคดีที่ได้ทำบุญในครั้งนี้
ถึงแม้ว่าเราจะมีเวลาน้อยนิด แต่ก็แอบสังเกตว่า ที่นี่น่าจะเป็นแหล่งใหญ่ที่ผลิต "ทานาคา" ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ขึ้นชื่อของชาวพม่าออกสู่ตลาด
ส่วนใหญ่จะเป็นท่อนทานาคาสด มาเป็นท่อนๆ ทั้งเล็กและใหญ่ วางขายอยู่มากมาย
เสียดายที่เรามีเวลาน้อย เลยอดช๊อปช่วยชาติ (พม่า) เลยค่ะ ยังอยู่อีกหลายวัน น่าจะมีโอกาสบ้างล่ะน่า
สำหรับตอนต่อไป จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับ เมืองชเวโบ สถานที่ประสูติของ พระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์คองบอง ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า
แล้วเจอกันตอนหน้านะคะ
สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 30/12/18 at 11:01
[ ตอนที่ 49 ]
(Update 5 มกราคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบสี่) 27 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ)
VIDEO
พระเจดีย์ชเวตันซาร์ (Shwe TanZar Pagoda) และ พระเจดีย์มอดอว์มินทาร์ (MawDaw MyinThar Pagoda) เมืองชเวโบ (Shwebo) *(พบใหม่)
เส้นทาง : โมนยวา-อยาดอว์-ชเวโบ-อินดอว์
...ในวันนี้เรามีเป้าหมายที่ไกลมาก คือ ทะเลสาบอินดอว์ยี (Indawgyi Lake) แทนที่จะไปทางมัณฑเลย์
แต่พระอาจารย์ตัดสินใจไปทางเมืองอยาดอว์ (Ayadaw)
แล้วมุ่งหน้าไปที่เมืองชเวโบ (Shwebo) ด้วยการคำนวณระยะทางของ Google Map จากเมืองโมนยวาประมาณ 340 ก.ม. เป็นเวลา 7 ช.ม.
...ถ้าดูตามแผนที่ จะเห็นว่าท่านไปทางเมืองชเวโบ เพื่อไปที่ทะเลสาปอินดอว์ยี เมืองมิตจิน่า แล้วล่องกลับมาทางถนนหมายเลข 311 เพื่อกลับมาที่มัณฑเลย์
จากนั้นท่านจะนำไปที่ เมืองพินอูลวิน (Pyin U Lwin) ตามถนนหมายเลข 3 เพื่อไปนั่งรถไฟข้ามสะพานก็อกเต็ค (Gok teik) ชมวิวที่สวยและหวาดเสียวที่สุด
แล้วก็เมืองสีป้อ (Hsipaw) หรือเมืองแสนหวี (ไทยใหญ่) ในอดีต นี่เป็นเส้นทางโดยย่อพอให้เข้าใจ ถ้าดูแผนที่ไปด้วย
จะทำให้เพลิดเพลินไปกับการเดินทางด้วยกันนะค่ะ
"เมืองชเวโบ" แม้จะเป็นเมืองเล็กๆ แต่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกเมืองหนึ่งของพม่า ที่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังไปไม่ถึงเช่นกัน
เนื่องจากเป็นสถานที่ประสูติของ พระเจ้าอลองพญา (King Alaungpaya) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์คองบอง (Konbaung Dynasty)
ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า
เมืองชเวโบ ตั้งอยู่ในรัฐสกายน์ (Sagaing Region) อยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 110 กิโลเมตร
ทอดตัวอยู่ระหว่างแม่น้ำอิรวดีและแม่น้ำมู
เดิมมีชื่อว่า มุกโชโบ (Moksobo) อดีตราชธานีแห่งแรกในราชวงศ์คองบอง เป็นเวลา 8 ปี ระหว่างปี พ.ศ.2295 - 2303 มีประมาณ 300 ครัวเรือน
ตั้งอยู่ใกล้เมืองฮานลิน (Hanlin) เมืองโบราณของชาวพยู
ในรัชสมัยพระเจ้าอลองพญา พื้นที่ส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม เราจะเห็นทุ่งนาอันอุดมสมบูรณ์สองข้างทาง และดูจะเจริญกว่าที่อื่นๆ
จะมีอนุสาวรีย์พระเจ้าอลองพญาตั้งตระหง่านอยู่กลางใจเมือง เมืองนี้ยังเป็นที่ตั้งของ ชาวพยู แห่งอาณาจักรศรีเกษตร (เมืองเก่าแปร)
ซึ่งเป็นชนชาติดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ก่อนชาวพม่าด้วย
ประวัติพระเจ้าอลองพญา
พระเจ้าอลองพญา ถือกำเนิดในครอบครัวสามัญชน มีชื่อเดิมว่า อองไจยะ (Aung Zeya) ที่หมู่บ้านมุกโชโบ
ช่วงพม่าอยู่ระหว่างทำศึกกับมอญหงสาวดี วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2295 นายอองไจยะ ซึ่งเป็นผู้นำหมู่บ้าน ได้รวบรวมกำลังพล 46
หมู่บ้านใกล้เคียงต่อสู้กับชาวมอญ และสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ
พร้อมกับสถาปนาราชวงศ์คองบอง ในปี พ.ศ.2295 โดยสถาปนาตนเป็นกษัตริย์พระองค์แรก มีพระนามใหม่ว่า พระเจ้าอลองพญา
เป็นภาษาบาลี แปลว่า พระโพธิสัตว์ ส่วนหมู่บ้านมุกโชโบ ก็เปลี่ยนชื่อเป็น ชเวโบ แปลว่า เมืองขุนพลทอง จนถึงปัจจุบัน
พระเจ้าอลองพญามีพระราชกรณียกิจที่สำคัญ นอกจากการปราบปรามมอญ หลังการล่มสลายของราชวงศ์ตองอูแล้ว
พระองค์เป็นผู้พัฒนา เมืองตะโค่ง จากเดิมที่เป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ และพระราชทานชื่อใหม่ว่า ย่างกุ้ง
ในปีพ.ศ.2303 พระเจ้าอลองพญาเสด็จสวรรคตระหว่างทางกลับจากการทำสงครามกับอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ
ตามพงศาวดารไทยระบุว่า สวรรคตเพราะปืนใหญ่แตกที่ "วัดหน้าพระเมรุ" แต่ทางพงศาวดารพม่าระบุว่า สวรรคตเพราะประชวร
ซึ่งเป็นวัดนี้วัดเดียวในอยุธยา ที่ยังคงสภาพสมบูรณ์มาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะ พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ
เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิที่มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก
หลังจากพระเจ้าอลองพญาเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้านองดอว์ยี กษัตริย์องค์ต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ใกล้แม่น้ำอิรวดี
แต่ ชเวโบ ก็ยังคงมีความสำคัญในฐานะเป็นสถานที่ฝึกทหารให้กองทัพของราชวงศ์คองบอง นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่พระราชามักจะส่งราชบุตร
ส่วนใหญ่จะเป็นมกุฎราชกุมารมาครองเมืองนี้
ชเวโบ ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก 5 ชื่อคือ มุกโซโบ (ชื่อดั้งเดิม), ยาดานา-เทียนคา, คองบอง, ยางยี-ออง และ ชเวโบ (ชื่อปัจจุบัน)
ชาวพม่าได้ยกย่องพระเจ้าอลองพญาว่า เป็นกษัตริย์พม่าที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 1 ใน 3 พระองค์ของพม่า
(อีกสองพระองค์ได้แก่ "พระเจ้าอโนรธามังช่อ" คนไทยจะรู้จักพระองค์ในพระนามว่า "พระเจ้าอนุรุทธ" ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม และ พระเจ้าบุเรงนอง
ฉายา พระเจ้าชนะสิบทิศ ที่คนไทยรู้จักกันดี)
...จบประวัติศาสตร์เพียงแค่นี้ เมื่อรู้ว่ามาถึงเมืองสำคัญในอดีตแล้ว เราก็ไม่พลาดที่จะไปกราบพระเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองทันที
ในวันนี้มี 2 แห่งด้วยกัน
แห่งแรกก็คือ พระเจดีย์ชเวตันซา (ShweTanZar Pagoda หรือ ShweDaza Pagoda เขียนได้ 2 แบบ)
ทราบประวัติคร่าวๆ ว่า สร้างขึ้นในสมัย "พระเจ้าอลองสินธุ" กษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม ภายในพระเจดีย์
มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์โบราณหลายองค์ประดิษฐานอยู่ในตู้กระจก
ตอนที่เราไปถึง พระเจดีย์กำลังเข้าเฝือกอยู่ระหว่างการบูรณะใหญ่อยู่พอดี พวกเราเลยได้มีโอกาสได้ทำบุญใหญ่อีกครั้ง
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ส่งตัวแทนลงไปทำบุญ เพื่อประหยัดเวลา เพราะเรายังต้องเดินทางอีกไกล พี่เจเลยเป็นตัวแทนนำเงินไปร่วมบุญบูรณะ 80,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า
20,000 จ๊าด
...หลังจากนั้น เรามาแวะกราบ พระเจดีย์มอว์ดอว์ มินทาร์ (MawDaw MyinThar Pagoda) พระเจดีย์เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในตัวเมือง
สำหรับที่นี่ไม่ปรากฏประวัติเด่นชัด ทราบแต่ว่า เป็นพระเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่โบราณเช่นกัน
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้นำคณะกล่าวถวายเครื่องบูชา อันประกอบด้วยแผ่นทอง พวงมาลัยดาวเรือง น้ำอบน้ำปรุง ของหอมทั้งหลาย เป็นต้น
พร้อมทั้งร่วมทำบุญบูรณะ 40,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 10,000 จ๊าด ก่อนจะเดินทางต่อไปแล้วแวะฉันเพลระหว่างทาง
...ช่วงบ่ายเดินทางต่อไป แต่ยังไม่ถึงอินดอว์ยีก็กลัวจะมืดเสียก่อน จึงได้แวะพักที่ เมืองอินดอว์ (Indaw) ถนนลาดยางสภาพดีพอสมควร
รถตู้สองคันจึงทำเวลาได้ดี
ระหว่างทาง พระอาจารย์ได้โทรศัพท์ติดต่อกับร้านอาหารแห่งหนึ่ง ซึ่งค้นพบใน Google Map มีคนไปปักหมุดเอาไว้ จึงได้เบอร์โทรศัพท์มา แล้วให้ลูกน้องชาวพม่า
"ร้านเจ๊มายิน" ติดต่อเอาไว้ก่อน
ถึงแม้จะเป็นระยะทางที่ยาวไกล เราก็ไม่ได้แวะที่ไหนอีกเลย เพราะสถานที่พักก็ยังไม่มี เมื่อมาถึงเมืองอินดอว์ก็เป็นเวลาเย็นพอดี
โชเฟอร์รถตู้ของเรา คุณชัยและคุณมินโซแวะสอบถามโรงแรมที่อยู่ริมถนน ปรากฏว่าราคาแพง เพราะเห็นเราผ่านมาแบบกระทันหัน จึงฉวยโอกาสทันที
โชคดีที่ "พี่เจ" เห็นโรงแรมอีกแห่งหนึ่งระหว่างเข้าตัวเมือง จึงย้อนกลับไปดูปรากฏว่า..ใช่เลย มีร้านอาหารพร้อมอยู่ในปั้มน้ำมัน
สะดวกเหมือนจัดสรรไว้เลย
คืนนี้..จึงนอนหลับสบาย หลังจากเดินทางมาตลอดทั้งวัน อาหารค่ำก็ในปั้มน้ำมัน อาหารเช้าก็เช่นกัน เจ้าของที่พักและคนในร้านอาหารชาวพม่าอัธยาศัยดีมาก
พระอาจารย์สอบถามเส้นทางไปอินดอว์ยีไว้ล่วงหน้า เพราะท่านเคยมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อปี 2553 แล้วก็เลยไปเที่ยวถึง "เมืองมิตจิน่า" (Myitkyina) ด้วย
แต่ทริปนี้เวลาไม่พอจึงยังไม่ได้เมืองมิตจิน่า เพราะท่านวางแผนเดินทางกลับมาพักค้างคืนที่นี่อีกหนึ่งคืน แล้วถึงจะล่องกลับมัณฑเลย์เลย
เพราะมีคณะของเราบางคนจะต้องกลับกรุงเทพ โดยขึ้นเครื่องที่สนามบินมัณฑเลย์
เหตุการณ์ตอนหน้าจะเป็นอย่างไร ตื่นเต้นแค่ไหน..ไปกับการผจญภัยในครั้งนี้ แล้วจะเจอบุญอะไร..รออยู่อีกข้างหน้าอีก
พวกเราไม่มีใครทราบล่วงหน้ากันเลย แต่พอไปถึงก็เหมือนกับฝันไปอีกนั่นแหละ...สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 5/1/19 at 09:20
[ ตอนที่ 50/1 ]
(Update 10 มกราคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบห้า) 28 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี)
VIDEO
พระเจดีย์ชเวมิตซู (Shwe Myintzu Pagoda) ทะเลสาบอินดอว์ยี (Indawgyi Lake) เมืองมิตจีน่า (Myitkyina)
เส้นทาง : โมนยวา-อยาดอว์-ชเวโบ-อินดอว์-อินดอว์ยี
...เช้าวันที่ 28 มกราคม 2561 เรามาอยู่ที่โรงแรมในปั๊มน้ำมันเมืองอินดอว์ (Indaw) อย่างกับฝันไป เผลอแป๊บเดียว ผ่านไป 15 วันแล้ว
จนต้องถามตัวเองว่า เรามาไกลขนาดนี้เลยเหรอ ?
เวลาครึ่งเดือนที่ผ่านมา ไม่มีวันไหนที่ไม่ตื่นแต่เช้า บางทีก็ไม่รู้ว่า วันนี้จะไปที่ไหน ชีวิตการเดินทางตอนนี้ขึ้นอยู่กับพระอาจารย์องค์เดียวเท่านั้น
ที่ท่านจะต้องเตรียมวางแผนไว้ล่วงหน้า
เวลาคนขับรถถามว่า วันนี้จะไปไหน? ตอบได้คำเดียว ไม่รู้เหมือนกัน
แล้วแต่พระอาจารย์ ตอนแรกๆ โชเฟอร์ก็คงงงๆ เหมือนกันแหละ
แต่พอหลังๆ ปรับตัวได้ กลายเป็นเรื่องเฮฮาปาร์ตี้ ไปไหนไปกัน ขอแค่พระอาจารย์ท่านสั่งเป็นพอ
เพราะเริ่มจะรู้เคล็ดการเดินทางของท่าน เพื่อไม่มีอุปสรรคอันตรายที่จะเข้ามาขวางกั้น ท่านถือคติโบราณเลยไม่บอกก่อนว่าจะไปไหนบ้าง
ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเราเคยชินกันอยู่แล้ว มีหน้าที่ตามอย่างเดียว รู้แต่ว่า ท่านไม่เคยทำให้เราผิดหวังเลยสักครั้งเดียว ได้ไปครบถ้วน บุญใหญ่ๆ ทั้งนั้น
วันนี้ก็เช่นกัน มีบุญใหญ่รอเราอยู่ค่ะ พอจะเดาได้ไหมคะว่า ที่ไหน? เกริ่นกันมาหลายตอนแล้ว วันนี้แหละค่ะ ที่เราจะไปถึง ทะเลสาบอินดอว์ยี (Indawgyi Lake)
แห่งรัฐคะฉิ่น (Kachin State) กันเสียที
อาหารมื้อเช้าผ่านไปอย่างเรียบง่าย ผู้จัดการโรงแรมอัธยาศัยดีคนเดิม ตื่นมาดูแลพวกเราแต่เช้า หารู้ไม่ว่าพวกเรากว่าจะหาที่พักถูกใจ
พี่ก๊วยเจ๋งต้องนั่งรถมอเตอร์ไซด์ตระเวณหาไปทั่ว
ครั้นไปดูแล้วก็ไม่ถูกใจกัน จนต้องย้อนกลับมาที่นี่ แต่ก็ต้องมีอุปสรรคอีก โชคดีที่มีพระมาด้วย ชาวพม่าเขาเคารพนับถือพระมาก
เจ๊มายินพอพูดพม่าได้บ้าง บอกว่า "พงยี" หมายความว่ามีพระอาจารย์มาด้วย เท่านี้แหละ เขาก็ใจอ่อนยอมให้เราเข้าพักได้
เช้านี้บรรยากาศจึงสดชื่น อาหารไทยพวกผัดๆ ทอดๆ จำพวก ผัดผัก ไข่เจียว ถูกลำเลียงมาวางไว้บนโต๊ะตรงตามเวลาที่นัดกันไว้เป๊ะๆ
สำหรับเรื่องที่พัก ก่อนเดินทางท่านก็ให้คนพม่าที่อยู่ใน "ร้านเจ๊มายิน" ติดต่อหาที่พักแถวริมทะเลสาบอินดอว์ยี เจ้าหน้าที่บอกว่าให้มาเถอะ
แต่ก็พอซักถามถึงห้องพัก เขาก็วางสายแบบไม่ค่อยเต็มใจนัก
ฉะนั้น เรื่องที่พักนี่ เท่าที่สังเกตตั้งแต่เริ่มเดินทาง พี่ติ๋ม อภิญญาจะเป็นผู้ติดต่อล่วงหน้า ที่ไหนที่ติดต่อไม่ได้ หรือไม่มี
ที่นั้นจะต้องมีปัญหาให้เราต้องพักตรงนั้น เป็นแบบนี้มาหลายครั้งแล้ว
ส่วนที่อินดอว์ยีก็เช่นกัน ตอนแรกพระอาจารย์ยังตัดสินใจอยู่ว่า จะกลับมาพักที่นี่เหมือนเดิม หรือจะไปหาที่พักข้างหน้า
ด้วยความที่ยังไม่ลงตัวแน่นอนนี่เอง ท่านเลยให้ขนของขึ้นรถให้หมด แล้วไปว่ากันข้างหน้า จะได้ไม่ห่วงหน้าพะวงหลัง
จากที่นี่ไปทะเลสาบอินดอว์ยี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงเศษ คุณชัยกับคุณมินโซ สารถีเจ้าเก่า ก็ทำหน้าที่ขับรถไป
ส่วนพวกเราก็หลับคอพับคออ่อนอยู่ในรถ ขนาดรถโยกเยกโคลงเคลงแค่ไหน เราก็หลับกันได้หลับกันดีค่ะ
หลับไปได้ประเดี๋ยวเดียว ก็ต้องตื่น เพราะมีคนเห็นพระเจดีย์สีทององค์เล็กๆ กำลังบูรณะซ่อมแซมอยู่
พระอาจารย์เลยสั่งให้เลี้ยวรถ ส่งพี่เจลงไปทำบุญถวายปัจจัยร่วมบูรณะกับพระที่ดูแล รวมแล้วได้ 59,000 จ๊าด
คุณมินโซ คนขับรถตู้ ที่ลงไปด้วยบอกว่า พระเจดีย์นี้ มีชื่อว่า พระเจดีย์ยาอองยี ได้เก็บบุญเอาฤกษ์เอาชัยได้อีกหนึ่งรายการ ขนาดยังไม่ถึงอินดอว์ยีนะคะ
ไปถึงทะเลสาบอินดอว์ยีประมาณสายๆ ใกล้เวลาฉันเพลพอดี เลยแวะรับประทานอาหารกลางวันกันที่ร้านอาหารริมทะเลสาบ ที่ตั้งเรียงรายอยู่ข้างทาง
รอดตัวไปอีกหนึ่งมื้อค่ะ
พระเจดีย์กลางน้ำชเวมิตซู หรือ Shwe Myintzu Yele Paya เรียกให้เหมือนกับที่เมืองสิเรียม พระอาจารย์ชัยวัฒน์เคยมาแล้วเมื่อปี 2553 พร้อมกับพระภิกษุชาวมอญ
และพี่บุ๋ม วัชรพล
ตอนนั้นมาลำบากกว่านี้มาก ท่านนั่งรถบัสที่เขาจัดทัวร์พม่า จากย่างกุ้ง, เนปิดอว์, มัณฑเลย์, โมก๊อก (Mogok) - กะตา (Katha) - อินดอว์ (Indaw)
แล้วก็เลยขึ้นเหนือไปอีกถึงหมู่บ้านโมเยี้ยน (Mohnyin) จึงถึงคิวรถสองแถวโฟร์วีลสภาพเก่าๆ พอคนเต็มแล้วเขาจึงออก แล้ววิ่งผ่านเมืองโฮปิน (Hopin)
มาอินดอว์ยี
(สภาพรถโฟล์วิลสองแถว ต้องพักเติมน้ำแถวลำห้วย เครื่องร้อนจัดมาก สภาพรถเมื่อ 30 ปีก่อน)
สมัยก่อนสภาพถนนยังเป็นลูกรังธรรมชาติ เส้นทางถนนขุรขระ ข้ามภูเขาหลายลูก ผ่านหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน กว่าจะถึงที่พัก เขาขับเร็วมากเพื่อกลับไปเข้าคิวอีก
เวลารถสวนเขาก็ไม่ชลอกันเลย ปรากฏว่ากินฝุ่นกันไปทั้งรถทั้งคน โดยเฉพาะพี่บุ๋มนั่งอยู่บนหลังคารถ ขนกระเป๋าลงมาฝุ่นเต็มไปหมดจนแทบจำไม่ได้
จากนั้นก็เข้าที่พักเป็นแถวยาวเหยียด รถทัวร์เขาจองไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งเป็นกระต๊อบเล็กๆ หลังคามุงจากแบบชั่วคราว
ไม่มีแอร์ ไม่มีพัดลม แถมประตูห้องก็ไม่มี ต้องหาผ้ามาปิดเอง คล้ายๆ กับที่รอยพระพุทธบาทชเวเซ็ตต่อว์ เมืองมินบู ที่เราเพิ่งไปมา
แล้วช่วงที่มาตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่เขามีงานเทศกาลประจำปีพอดี คนหลั่งไหลมากราบพระเจดีย์จากทั่วทุกสารทิศ ทั้งพระภิกษุ และฆราวาส
โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ที่มาจากชายแดนจีน เรียกได้ว่า ทรหดอดทนสุดๆ จนติดตาตรึงใจอยู่ในความทรงจำจนถึงวันนี้
ส่วนพวกเราเพิ่งได้มาครั้งแรก ก็พากันตื่นตาตื่นใจกับบรรยากาศอันแสนสงบ ท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม พระเจดีย์ชเวมิตซู ประดิษฐานอยู่กลางทะเลสาบ
สำหรับสถานที่นี้ คนไทยยังมากันไม่มาก ส่วนใหญ่ก็ไปที่ทะเลสาบอินเลกัน แล้วพระอาจารย์ทราบได้อย่างไร
ท่านบอกว่า ตอนไปพักในย่างกุ้ง ปี 2553 บังเอิญนั่งฉันเช้าในห้องอาหาร เจ้าของโรงแรมชาวพม่ามาคุยด้วยเป็นภาษาอังกฤษ
สมัยนั้นพี่ทนงฤทธิ์ติดตามไปด้วยช่วยแปลให้ว่า พระเจดีย์แห่งนี้ศักดิ์สิทธิ์สำคัญมาก มีทั้งถนนคนเดินกลางวัน และถนนเทวดาเดินกลางคืนด้วย
ฟังแล้วช่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
เรื่องนี้พวกเราสนใจกันมานาน วันนี้ที่รอคอยก็ได้มาถึงแล้ว เหมือนกับฝันไปจริงๆ ภาพที่เห็นอยู่เบื้องหน้าเป็นภาพแรกของพวกเรา
นั่นก็คือภาพที่ประทับใจเป็นที่สุด และเป็นภาพที่เราต้องการเห็นที่สุด พระเจดีย์กำลังเข้าเฝือกอยู่ไกลๆ หัวใจก็เต้นรัวด้วยความปิติ
ที่จะได้ร่วมบุญใหญ่อีกครั้ง
เพราะกว่าจะมาได้ ไม่ใช่เรื่องหมูๆ พระอาจารย์ต้องวางแผนเส้นทางแบบเหนือเมฆ จนมาถึงได้สำเร็จในที่สุด แต่และแห่งแต่ละวัน เป็นไปตามแผนทุกอย่าง
ก่อนจะลงเรือหางยาวที่รอรับส่งคนตรงท่าน้ำ พระอาจารย์ได้แวะซื้ออาหารนก ไว้สำหรับให้ทานฝูงนกนางนวล ที่เป็นเจ้าถิ่นอยู่ที่นี่
ทะเลสาบอินดอว์ยีนี้เป็นหนึ่งในทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าของพม่าอีกด้วย
โดยเฉพาะนกพันธ์ุที่หายาก หรือใกล้จะสุญพันธ์ุประมาณ 10 ชนิด แต่เท่าที่เห็น ก็มีแต่เจ้านกนางนวลเท่านั้น ที่บินมาต้อนรับเรา
ระหว่างเรือล่องอยู่กลางน้ำ เหล่ากองทัพนกนางนวลบินลงมาโฉบอาหารให้เราเห็นตัวเป็นๆ ชัดๆ อย่างใกล้ชิด
กำลังเพลิดเพลินกับการให้อาหารเจ้านกน้อยได้ไม่นาน สักพักเรือก็แล่นเข้าจอดเทียบท่า พระเจดีย์กลางน้ำชเวมิตซู ตั้งเด่นอยู่ตรงหน้าเรา
ในตอนหน้า จะพาท่านไปรู้จักประวัติความเป็นมาของ พระเจดีย์ชเวมิตซู หรือชาวพม่าเรียกกันว่า "เยเลพญา" คนไทยเรียกว่า "พระเจดีย์กลางน้ำ"
ที่ไม่เหมือนสถานที่แห่งอื่นๆ
เพราะต้องสร้างกลางน้ำ และมีเรื่องราวปาฏิหาริย์อีกหลายอย่าง เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในตอนต่อไปนะคะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 10/1/19 at 09:49
[ ตอนที่ 50/2 ]
(Update 15 มกราคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบห้า) 28 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี)
พระเจดีย์ชเวมิตซู (Shwe Myintzu Pagoda)
ทะเลสาบอินดอว์ยี (Indawgyi Lake) เมืองมิตจีน่า (Myitkyina)
เส้นทาง : โมนยวา-อยาดอว์-ชเวโบ-อินดอว์-อินดอว์ยี
...หลังจากเพลิดเพลินกับการให้อาหารนกนางนวล ท่ามกลางธรรมชาติอันเงียบสงบ ณ ทะเลสาบอินดอว์ยี กันได้สักพัก
ไม่นานนัก เรือลำน้อยที่บรรทุกผู้มีศรัทธาแรงกล้าทั้งชาวพม่าและผู้มาจากต่างถิ่น ค่อยๆ ล่องมาจอดเทียบท่า พระเจดีย์ชเวมิตซู อย่างนุ่มนวล
ผู้โดยสารไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุก็ดี ฆราวาสก็ดี ทยอยเดินขึ้นบันไดอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะสมาชิกคณะตามรอยพระพุทธบาท
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ส.ว. (สูงวัย) ต่างช่วยกันฉุด ช่วยกันดึง จนทุกคนขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัย
ภาพพระเจดีย์ที่อยู่ภายใต้เฝือก ทำให้เราต้องรีบเปิดกระเป๋า หยิบเงินออกมาทั้งเงินจ๊าด และดอลลาร์ เพราะนานทีปีหน ถึงจะมาเจอบูรณะใหญ่
เมื่อครั้งที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์มาที่นี่ครั้งแรกในปี 2553 หรือเมื่อ 9 ปีก่อน ครั้งนั้นแค่ได้มากราบและทำบุญเฉยๆ
แต่ครั้งนี้ถือเป็นวาระพิเศษที่ได้มาร่วมบูรณะ ทั้งพระเจดีย์องค์ใหญ่และองค์บริวาร โอกาสประจวบเหมาะแบบนี้หาได้ง่ายๆ ที่ไหนละคะ
ประวัติพระเจดีย์ชเวมิตซู
พระเจดีย์ชเวมิตซู (Shwe Myintzu Pagoda) เป็นพระเจดีย์กลางน้ำ ณ ทะเลสาบอินดอว์ยี (Indawgyi Lake) รัฐคะฉิ่น (Kachin) ทางตอนเหนือของพม่า
ตามตำนาน ย้อนไปครั้งพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จเลียบโลกมายังดินแดนแถบนี้ แล้วทรงพยากรณ์ว่า หลังจากพระองค์เสด็จปรินิพพานล่วงไปได้ 360
ปี
แถบนี้จะเกิดหนองน้ำใหญ่ และสถานที่พระองค์หยุดประทับ จะมีเกาะเกิดขึ้นใจกลางหนองน้ำนั้น จากนั้นจะมีผู้สร้างพระเจดีย์ให้เป็นศรีแก่พระศาสนาต่อไป
ล่วงมาถึงศตวรรษที่ 1 พระเถระนามว่า อุนยีตู (Sayadaw U Nyi Hsu) และชาวบ้านได้นั่งเรือไปกลางแม่น้ำ
ท่านได้อธิษฐานเสี่ยงทาย เพื่อสร้างพระเจดีย์ ด้วยการโยนก้อนหิน 3 ก้อนลงไปในน้ำ แล้วใช้ไม้เท้าปักลงไปตรงก้อนหินพอดี เพื่อสร้างพระเจดีย์ตรงสถานที่นี้
ปีของพม่า ในปี 1230 ในสมัยพุทธกาล มีพระเถระชื่อ นิสิเปตะละ วิเนยะเกรู้กะ อันยายะวาตี มหาเถสยาดอว์ อเชนตอปีตะ (ชื่อย่อว่า อุตอปีตะ Sayadaw U
Thawbita)
ได้สร้างพระเจดีย์ชเวมิตซูขึ้น เนื่องจากบริเวณทะเลสาบอินดอว์ยีเคยมีอสูรร้ายรบกวน ทำให้ไม่มีผู้คนกล้าอาศัย
พระเถระจึงคิดว่า สมควรจะประกาศพระศาสนาในแถบนี้ ท่านจึงนั่งเรือไปตามแม่น้ำอิรวดี เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระเจดีย์ชเวดากอง
เมืองย่างกุ้ง มาบรรจุไว้ที่พระเจดีย์
ท่านได้อธิษฐานว่า ถ้าได้พระบรมสารีริกธาตุมา 5 องค์ ก็ขอให้สร้างพระเจดีย์ได้สำเร็จ ปรากฎว่า พระธาตุเสด็จมาแก่ท่านโดยอัศจรรย์
พระเจดีย์สร้างเสร็จภายใน 5 เดือน ว่ากันว่า คนสร้างตอนกลางวัน เทวดาสร้างตอนกลางคืน พวกภูติผีอสูรกายก็หายไป ผู้คนจึงเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้
และจัดพิธีสมโภชน์พระเจดีย์ในเดือนมีนาคมของทุกปี
เป็นเรื่องน่าแปลก ที่ก่อนจะถึงงานสมโภชน์ จะเกิดเนินทรายขึ้น เป็นทางเดินจากริมทะเลสาบถึงองค์พระเจดีย์กลางน้ำ มี 2 สาย เนินทรายสายหนึ่งสำหรับมนุษย์
ส่วนอีกสายหนึ่ง สำหรับเทวดาข้ามไป
เมื่อเทศกาลประจำปีที่จัดขึ้น 10 วันสิ้นสุดลง ทางเดินเนินทรายก็จะหายไป ซึ่งตอนที่เราไปในเดือนมกราคม ทางเดินเนินทรายยังไม่ปรากฎชัดเจน
แต่ก็มีคนเดินลุยน้ำอยู่บ้างเหมือนกันค่ะ
ความอัศจรรย์ของพระเจดีย์ชเวมิตซู
1. ในช่วงงานประจำปีในเดือนมีนาคม จะเกิดเนินทราย 2 ทาง ให้มนุษย์ และเทวดาได้สัญจร
2. แม้จะมีฝนตกหนัก และน้ำขึ้นสูง แต่น้ำจะไม่เอ่อล้นมาถึงฐานพระเจดีย์
3. ในช่วงงานเฉลิมฉลองประจำปี เหล่าอีกาจะหนีหายไป ครั้นเสร็จงาน พวกมันถึงจะกลับมาอีก
4. คนจากทุกเชื้อชาติมาสักการะพระเจดีย์ แต่ไม่เคยเกิดเหตุทะเลาะเบาะแว้งกัน
5. รอบเกาะที่ประดิษฐานพระเจดีย์ มีรอยเส้นสีแดงโดยรอบ เชื่อกันว่า เป็นรอยโรยยาวิเศษของเทวดา ทำให้น้ำบริสุทธิ์
6. หากวันเพ็ญตกในวันพุธ เดือนตะบอง หรือวันมาฆบูชา อยู่ในวันพุธ จะเกิดรังสีฉายมาจากพระเจดีย์ เชื่อกันว่า พระอรหันต์ดำเนินมาสักการะพระธาตุ
ภาพประวัติพระเจดีย์ชเวมิตซุ
อธิบายภาพประกอบ (ภาพที่ ๑ - ๑๘)
ภาพที่ ๑
......พระพุทธเจ้าตรัสสั่งพระอานนท์พุทธอนุชาไว้ว่า ให้พระอานนท์มาที่อินดอว์ยี แล้วสร้างพระเจดีย์ตรงนี้ ต่อมาพระอานนท์ได้เดินทางมาพร้อมกับพระสงฆ์
ภาพที่ ๒
......พระเถระชื่อ "อุนยีตู" และชาวบ้านได้นั่งเรือไปกลางแม่น้ำ พระอุนยีตูท่านได้อธิษฐานเสี่ยงทายจะสร้างพระเจดีย์
ด้วยการโยนก้อนหิน ๓ ก้อนลงไปในน้ำ แล้วใช้ไม้เท้าปักลงไปตรงก้อนหินพอดี เพื่อสร้างพระเจดีย์ตรงสถานที่นี้
ภาพที่ ๓
......ปีของพม่า ปี ๑๒๓๐ ในสมัยพุทธกาล มีพระเถระชื่อ "นิสิเปตะละ วิเนยะเกรู้กะ อันยายะวาตี มหาเถสยาดอว์ อเชนตอปีตะ" ( ชื่อย่อๆ
ของพระเถระชื่อ "อุตอปีตะ" )
มีฆราวาสชื่อ ตุ๊วันนาปาปาต๊ะ มาสร้างศาลาไว้แล้วได้ถวายแด่พระสงฆ์ ต่อมามีโยม ๔ คน
พร้อมพระสงฆ์ได้มานั่งปรึกษากันที่ศาลาจะสร้างพระเจดีย์ต่อไป
ภาพที่ ๔
......ปี ๑๒๓๐ วันออกพรรษา พระเถระชื่อ "อุตอปีตะ" นั่งเรือไปตามแม่น้ำอิระวดี เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระเจดีย์ชเวดากอง
เมืองย่างกุ้ง
มาบรรจุไว้ที่พระเจดีย์ ท่านได้อธิษฐานว่าถ้าได้พระบรมสารีริกธาตุมา ๕ พระองค์ ขอให้สร้างพระเจดีย์ได้สำเร็จ
ภาพที่ ๕
...ปี ๑๒๓๐ แม่น้ำชื่อ "อินดอว์ยี" ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ มีคนอธิษฐานว่าขอให้มีทางเดินไปพระเจดีย์ได้
เพราะพระเจดีย์อยู่กลางแม่น้ำ ระยะทางยาว ๒๗๖ ก.ม. มีทางเดินไปได้ ๒ ทาง คนเดิน ๑ ทาง เทวดาเดิน ๑ ทาง
(หมายเหตุ : ตามที่ผู้เขียนไปเห็นน่าจะ ๑ กิโลเมตรเศษเท่านั้น เพราะพม่านับระยะทางเป็นไมล์)
ภาพที่ ๖
...พระอุตอปิตะและชาวบ้าน ๔ คน ได้ทำพิธีบวงสรวงขออนุญาตสร้างพระเจดีย์ที่กองทรายกลางแม่น้ำ
ภาพที่ ๗
......วันต่อมาพระอุตอปิตะ (ก่อนที่จะมาบวชท่านชื่อ "อุตาเอ") ได้เห็นสถานที่ตรงกองทรายอันเป็นที่สร้างพระเจดีย์
เห็นเป็นรูปร่างครึ่งวงกลมลอยขึ้นมาแล้วก็หายไป พระเถระก็เข้าใจว่าท่านอนุญาตให้สร้างเจดีย์ได้
ภาพที่ ๘
......ปี ๑๒๓๐ วันเสาร์ที่ ๑๑ มีนาคม ปี ๑๘๖๙ เวลา ๕ โมงเช้า มีชาวบ้านและผู้หลักผู้ใหญ่ ๖ หมู่บ้านมารวมกันทำบุญ
เพื่อปักหลักเขตที่จะสร้างพระเจดีย์ โดยใช้ไม้เงินไม้ทองปักหลัก
(หมายเหตุ : ปี ๑๘๖๙ คงจะเป็น "คริสศักราช" ตรงกับ พ.ศ.๒๔๑๒ )
ภาพที่ ๙
......๑ ปี ๑๒๓๑ วันพฤหัสที่ ๑๓ พฤษภาคม ปี ๑๘๖๙ วันที่ ๒๒ เม.ย. เวลา ๑๑ โมงเช้า
มีชาวบ้านและผู้ใหญ่มากมายไปหมดมาช่วยกันก่อสร้างพระเจดีย์
ภาพที่ ๑๐
......ปี ๑๒๓๑ วันพฤหัสที่ ๑๒ พฤษภาคม เวลา ๑๑ โมงเช้า พระสงฆ์และชาวบ้านทั้งหลาย ช่วยกันอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่กลางพระเจดีย์
ภาพที่ ๑๑
......พระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในผอบทองคำ แล้วประดิษฐานไว้บนเรือทอง พร้อมด้วยแก้วแหวนเงินทองบรรจุไว้ในยอดพระเจดีย์
ภาพที่ ๑๒
......ปี ๑๒๓๑ วันที่ ๒ มิถุนายน เวลา ๖ โมงเย็น พระอุตอปิต๊ะเป็นประธานมีชาวบ้านและผู้ใหญ่มากมาย มาทำพิธีปักไม้ไว้ตรงกลางพระเจดีย์
เพื่อจะสร้างยอดพระเจดีย์ให้สูงขึ้น
ภาพที่ ๑๓
......ปี ๑๒๓๑ วันพฤหัสที่ ๘ กรกฎาคม เข้าพรรษา เวลา ๖ โมงเย็น สร้างยอดพระเจดีย์เพิ่มขึ้น ๕ ชั้น และสร้างยอดสูงขึ้นไปอีก ๙ ชั้น
ภาพที่ ๑๔
......พระเจดีย์สร้าง ๕ เดือนเสร็จ คนสร้างตอนกลางวัน เทวดาสร้างตอนกลางคืน
ภาพที่ ๑๕
......ปี ๑๒๖๕ พระสงฆ์ชื่อ "อุตะมะตามี๊" ได้มาดูแลสถานที่นี้ แล้วได้สร้างพระเจดีย์องค์เล็กอีก ๔ องค์ ล้อมรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่
ภาพที่ ๑๖
......ปี ๑๓๐๘ มีรูปร่างลักษณะเป็นแบบนี้
ภาพที่ ๑๗
......ปี ๑๓๒๐ มีรูปร่างลักษณะเป็นแบบนี้
ภาพที่ ๑๘
......ปี ๑๓๓๐ มีรูปร่างลักษณะเป็นแบบนี้
ปัจจุบัน ปี 2553 ยอดฉัตรเป็นอัญมณี
ที่มีค่ามาจากธรรมชาติ มีรูปร่างลักษณะสวยงามแบบนี้
ขอวกกลับมาเล่าต่อไปอีกว่า โชคดีที่พวกเรามาไม่ตรงกับงานประจำปี คนก็ยังมาไม่มากนัก
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ร่วมทำบุญบูรณะ 500,000 จ๊าด กับอีก 500 ดอลลาร์ (ประมาณ 665,000 จ๊าด) ทำบุญค่าไฟฟ้า 50,000 จ๊าด
พอดีเห็นคนงานกำลังทำงานอย่างขมักเขม้น ก็เลยแจกเงินให้คนงาน 7 คนๆ ละ 4,000 จ๊าด รวมแล้วเป็นเงิน 28,000 จ๊าด เรียกว่า ทำบุญกันจนหนำใจเลยทีเดียวค่ะ
พระอาจารย์ได้นำคณะกล่าวถวายเครื่องบูชา ที่ขนลงเรือมาด้วยความตั้งใจ ที่จะบูชาพระพุทธเจ้าด้วยใจอันบริสุทธิ์
ซึ่งได้รับการจัดอันดับที่ 1 ของความสวยงาม สำหรับสถานที่ทั้งหมดในประเทศพม่า พอที่สรุปมาให้เห็นเป็นภาพรวมดังนี้
พระเจดีย์กลางน้ำที่สวยงาม 3 แห่ง คือ
- พระเจดีย์เยเลพญา (ไจ้หม่อวน) สิเรียม
- พระเจดีย์พองดอว์อู (พระบัวเข็ม) ทะเลสาบอินเล
- พระเจดีย์ชเวมิตซู ทะเลสาบอินดอว์ยี มิตจิน่า
(ภาพเปรียบเทียบ "พระเจดีย์กลางน้ำ" 3 แห่ง)
พระเจดีย์เยเลพญา (ไจ้หม่อวน) สิเรียม
พระเจดีย์พองดอว์อู (พระบัวเข็ม) ทะเลสาบอินเล
พระเจดีย์ชเวมิตซู ทะเลสาบอินดอว์ยี มิตจิน่า
คลิปวีดีโอ "งูไหว้พระธาตุเป็นอุณาโลม"
VIDEO
คลิปนี้พระอาจารย์ได้ซื้อมาเมื่อปี 2553
บัดนี้ความปรารถนั้นได้สำเร็จแล้ว ขอเชิญท่านผู้อ่านโมทนาบุญร่วมกันนะคะ ถ้าจะนับอันดับการทำบุญมากที่สุดนั้น
สถานที่แห่งนี้นับเป็นอันดับที่ 3 เพราะเป็นการซ่อมใหม่ทั้งหมด ยอดเงินทำบุญรวม 1,243,000 จ๊าด ทริปไหว้พระเจดีย์ที่ทะเลสาบอินดอว์ยี
ยังไม่หมดแค่นี้นะคะ
ในตอนหน้า ยังมีพระเจดีย์ที่อยู่ใกล้ๆ กำลังบูรณะอยู่เช่นกัน จะเป็นที่ไหน โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 15/1/19 at 05:11
[ ตอนที่ 50/3 ]
(Update 20 มกราคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบห้า) 28 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี)
พระเจดีย์ชเวมิตซู (Shwe Myintzu Pagoda)
ทะเลสาบอินดอว์ยี (Indawgyi Lake) เมืองมิตจีน่า (Myitkyina)
เส้นทาง : โมนยวา-อยาดอว์-ชเวโบ-อินดอว์-อินดอว์ยี
...เราใช้เวลาตลอดทั้งวันของวันนี้อยู่ที่ทะเลสาบอินดอว์ยี เพื่อทำบุญกันให้เต็มที่ สมกับที่กว่าจะมาได้ ก็ยากแสนยาก
นอกจากพระเจดีย์ชเวมิตซู แล้ว ยังมีวัดอีกสองสามแห่ง ที่อยู่ใกล้ๆ กัน
พระเจดีย์แห่งที่สองที่เราแวะไปทำบุญ มีชื่อว่า ม๊อกสุมะ ตามประวัติเล่าว่า สร้างตั้งแต่สมัยพุกาม อายุกว่า 1,000 ปี จะนับไปแล้ว ก็เก่าแก่
พระเจดีย์ชเวมิตซู เสียอีก
เมื่อครั้งที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์มาที่นี่ครั้งแรกในปี 2553 ตอนนั้นเดินทางมาทางเรือหางยาว พร้อมกับพระภิกษุชาวมอญและพี่บุ๋ม วัชรพล
พอก้าวขึ้นฝั่ง ท่านสังเกตเห็นว่า ที่พื้นมีร่องรอยฝนตก ก่อนที่คณะพระอาจารย์จะมา และตกเฉพาะบริเวณนี้เท่านั้น
และยังมีปรากฎการณ์พิเศษ พระอาทิตย์แผ่รัศมี มีแสงสว่างส่องออกมาจากก้อนเมฆ อากาศครึ้ม ร่มเย็น เป็นที่น่าอัศจรรย์
ถ้ามาทางเรือ จะมีจุดสังเกตเป็นพระพุทธรูปนาคปรกองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่บนเนินริมน้ำ มองเห็นชัดเจนแต่ไกล
โชคดีเป็นของพวกเราอีกครั้ง เพราะทางวัดกำลังสร้างพระเจดีย์องค์ใหม่อยู่พอดี ด้วยความที่ว่า มีพื้นที่จำกัด ขนาดของพระเจดีย์จึงค่อนข้างกะทัดรัด
หลังจากกราบนมัสการและถวายเครื่องบูชาแล้ว พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ร่วมบุญสร้างพระเจดีย์ 100,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้าอีก 12,000 จ๊าด
และยิ่งเป็นโชคสองชั้น เพราะวัดที่อยู่ติดกันก็กำลังสร้างพระเจดีย์ มหามุนีอองบอร์ดิ และพระพุทธรูปด้วยเช่นกัน
พี่แตนจึงเป็นตัวแทนพวกเรานำเงินไปร่วมบุญด้วย 70,000 จ๊าด
เวลาช่วงบ่ายยังพอมีเหลือ โปรแกรมวันนี้ ก็เลยปิดท้ายที่ วัดพระเจ้าอินสาน หรือที่ชาวพม่าเรียกว่า หนี๋พญา มีพระพุทธรูปที่สานด้วยไม้ไผ่ทั้งองค์
แล้วทาสีทองทับ งดงามอลังการมาก
เป็นพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงในแถบนี้ ใครไปใครมา ก็ต้องมากราบไหว้ เพื่อความเป็นสิริมงคล ยิ่งช่วงงานเทศกาลประจำปีในเดือนกุมภาพันธ์
นักท่องเที่ยวก็ยิ่งมากันมากกว่านี้อีกหลายเท่า
ฝีมือการจักสานพระพุทธรูปด้วยไม่ไผ่นี้ นับเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของศิลปะพม่า ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน
ต่อมาเมื่อเดินทางไปตามจุดอื่นๆ ของประเทศพม่า ก็พบว่า ยังมีอีกหลายองค์ เป็นต้นว่า ที่เมืองสะเทิม หรือเมืองเชียงตุง ก็มีชื่อว่า หนี๋พญา เหมือนกัน
แต่การสร้างลักษณะอาจจะแตกต่างกันไป
ช่วงที่เราไปถือเป็นจังหวะดี ทางวัดกำลังเตรียมยกฉัตรพระเจดีย์ใหม่ในเดือนมีนาคม คณะจึงร่วมทำบุญยกฉัตรและบูรณะ 120,000 จ๊าด
เมื่อเก็บบุญได้ครบถ้วนแล้ว เราก็เตรียมตัวเดินทางกลับ ปัญหาก็คือ จะไปพักที่ไหนดี พระอาจารย์จึงตัดสินใจกลับไปพักที่โรงแรมเดิมที่เมืองอินดอว์
ซึ่งดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
เพราะโรงแรมที่อยู่ริมทะเลสาบ เราเคยติดต่อทางโทรศัพท์แล้ว แต่เขาก็ไม่เต็มใจเท่าไร พอมาถึงปรากฏว่ากำลังทำท่ออยู่ริมถนนนนั่นเอง
จึงไม่สะดวกต่อการเข้าพัก พวกเราก็ไม่ได้เข้าไปติดต่อ แต่ก็ทำให้เข้าใจว่า สถานที่ไหนถ้าติดต่อที่พักไม่ได้ สถานที่นั้นเราไม่ควรพัก
ท่านจึงตัดสินใจกลับไปที่เดิม
เราไปถึงที่พักตอนค่ำ ผู้จัดการโรงแรม ผู้มีไมตรีจิตคนเดิม รอต้อนรับพวกเราด้วยอาหารไทย ที่โทรมาสั่งไว้ตั้งแต่รถยังเดินทางมาไม่ถึง
เพียงชั่วพริบตา อาหารทุกอย่างก็หายวับอย่างกับเสกได้ เสร็จแล้ว ก็แยกย้ายกันพักผ่อน เพราะพรุ่งนี้มีโปรแกรมสำคัญรอเราอยู่
ที่เมืองมัณฑะเลย์
โปรดติดตามในตอนหน้านะคะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 20/1/19 at 22:20
[ ตอนที่ 51/1 ]
(Update 25 มกราคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบหก) 29 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑเลย์)
วัดพระมหามุนี (Mahamuni Buddha Temple)
เมืองมัณฑเลย์ (Mandalay)
เส้นทาง : อินดอว์ - เมี่ยวต่อง (Myataung) - มัณฑเลย์
...เช้าวันที่ 29 มกราคม 2561 ชาวคณะตื่นกันแต่เช้า ที่เก่า เวลาเดิม หลังจากกลับจากทะเลสาบอินดอว์ยีเมื่อวานนี้
เรามาพักที่โรงแรมเดิมที่เมืองอินดอว์ (Indaw) เป็นคืนที่สอง
ผู้จัดการโรงแรม ผู้มีอัธยาศัยไมตรี ดูแลต้อนรับพวกเราอย่างดี ไม่ขาดตกบกพร่อง นับเป็นโชคดีของพวกเรา ที่ไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็เจอแต่คนดี
มีเมตตาคอยช่วยเหลืออุปถัมถ์อยู่ตลอด ก่อนจากกัน ก็เลยมาถ่ายรูปหมู่ร่วมกันเป็นที่ระลึก เพราะคงยากที่จะได้เจอกันอีก
ขออนุญาตเล่าย้อนหลังเมื่อวานนี้นะคะ ระหว่างทางขากลับจากทะเลสาบอินดอว์ยี เราได้ร่วมบุญสร้างพระเจดีย์ และพระพุทธรูปหินอ่อน 2 องค์ เป็นเงิน 40,000 จ๊าด
ชาวบ้านที่ถือขันมาบอกบุญอยู่ข้างทาง พอเห็นพวกเราทำบุญ ก็ยิ้มด้วยความดีใจ เพราะนานทีปีหน จะมีคนมาทำบุญเยอะขนาดนี้
ส่วนใหญ่ก็จะทำตามกำลังหลักร้อยหลักพันกันเสียมากกว่า ส่วนใหญ่คนที่นี่มีชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างสมถะ แต่มีจิตใจที่เป็นบุญเป็นกุศล
โปรแกรมทำบุญวันนี้ เราต้องเดินทางกันยาวหลายชั่วโมง (ดูตามแผนที่) เพื่อไปยัง เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay)
ซึ่งคำนวณเวลาแล้ว น่าจะถึงตอนบ่ายแก่ๆ หรือช่วงเย็นโน่นเลย เพราะถนนหนทางก็ยังไม่ค่อยดีนัก
ระหว่างทาง ก็ได้แวะทำบุญมาเรื่อยๆ ตลอดทาง ถ้าเห็นซุ้มทำบุญที่ไหน พระอาจารย์ชัยวัฒน์ ก็จะให้จอดแวะทำบุญทุกครั้ง
รวมแล้วได้ทำบุญสร้างพระเจดีย์ไป 3 แห่ง และศูนย์ปฏิบัติธรรมอีก 1 แห่ง รวมเป็นเงิน 58,300 จ๊าด ทำแล้วทำอีก ทำบุญกันจนหนำใจเลยค่ะ
สำหรับพระอาจารย์ชัยวัฒน์ ดูท่านจะชื่นชอบมาทำบุญที่พม่าเป็นพิเศษ เห็นได้จากการที่ท่านมาหลายครั้งหลายหน แต่ละครั้งก็ได้มีโอกาสร่วมบุญใหญ่ๆ
ซึ่งหาทำได้ยาก
นอกจากจะมาทำบุญแล้ว ท่านยังต้องทำหน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ รวบรวมรายชื่อสถานที่สำคัญเกี่ยวกับพุทธประวัติ
เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไว้เป็นมรดกทางปัญญา และเป็นธรรมทานแก่อนุชนคนรุ่นหลังสืบต่อไป
ท่านได้ไปมาเกือบหมดแล้วทั่วประเทศพม่า การค้นหาสถานที่แต่ละแห่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ด้วยอุปสรรคทางด้านการสื่อสาร คนไทยกับคนพม่าออกเสียงไม่เหมือนกัน
คนพม่ากับคนมอญ ก็เรียกไม่เหมือนกันอีก
กว่าจะหาเจอแต่ละแห่ง เล่นเอาปวดเศียรเวียนเกล้า ใครไม่เจอกับตัวเอง ก็จะไม่รู้ว่า โหดขนาดไหน ผู้ที่ทำงานด้านนี้
จึงต้องใช้ความมานะพากเพียรและความอดทนอย่างมาก
กลับมาที่การเดินทางของเรากันต่อนะคะ รถตู้สองคันขับตามกันมาเรื่อยๆ จนใกล้เวลาฉันเพล วันนี้เรามีนัดกับ อาม่า คนหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารจีน
โดยรู้จักร้านทาง Google Map ที่นักท่องเที่ยวปักหมุดไว้ เดิมท่านคิดว่าอาจจะต้องแวะพักแถวนี้ จึงได้ให้ "ลิ้นจี่" ลูกน้องชาวพม่า "ร้านเจ๊มายิน"
ติดต่อตั้งแต่อยู่เมืองไทยแล้ว
แต่ปรากฏว่าขาไปท่านไปอีกเส้นทางหนึ่ง ส่วนขากลับท่านได้ให้รถเลี้ยวซ้ายไปทางเมี่ยวต่อง (Myataung) ซึ่งสามารถไปมัณฑเลย์ได้
หลังจากทักทายด้วยความดีใจ พร้อมกับได้เห็นหน้าเห็นตากันแล้ว จึงช่วยอุดหนุนด้วยการรับทานอาหารกลางวัน และพระอาจารย์แวะฉันเพลที่นี่
ซึ่งมีทั้งข้าวและก๋วยเตี๋ยว
หลังจากร่ำลากันด้วยความประทับใจแล้ว พวกเราก็ออกเดินทางไปต่อ คราวนี้ยิงยาว ไม่แวะที่ไหน จนถึงมัณฑะเลย์ในตอนบ่ายแก่ๆ
คนที่ไม่เคยมา ก็ตื่นตาตื่นใจกับความเจริญ และความเป็นระเบียบ สะอาดสะอ้านของมัณฑะเลย์
จะเห็นว่า มีการวางผังเมืองอย่างดี ซึ่งตรงนี้ น่าจะได้รับอิทธิพลจากอังกฤษ ที่เป็นเจ้าอาณานิคมในอดีต
ระหว่างทางไปยังที่พัก รถเราวิ่งผ่าน พระราชวังมัณฑะเลย์ อันยิ่งใหญ่ในอดีต ปัจจุบันเหลือเพียงภาพความทรงจำให้ได้ระลึกถึงเท่านั้น
เนื่องจากมีเวลาน้อย เลยไม่ได้แวะ เราได้แต่มองผ่านกระจกรถ และปลงอนิจจัง เห็นความเสื่อม การตั้งอยู่ และดับไป
ประวัติเมืองมัณฑะเลย์
...มัณฑะเลย์ (Mandalay) หรือ มันดาลา ตามสำเนียงพม่า เป็นอดีตราชธานีของพม่า ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอิรวดี ห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศเหนือ 716 กิโลเมตร
เป็นเมืองใหญ่อันดับสองรองจากนครย่างกุ้ง
ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของ พระเจ้ามินดง แห่งราชวงศ์คองบอง ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ในปีพ.ศ.2400 โดยย้ายเมืองมาจาก อมรปุระ และตั้งชื่อตามภูเขามัณฑะเลย์
ที่อยู่ใกล้เคียง
28 ปีต่อมา มัณฑะเลย์ ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิอังกฤษ และเป็นจุดสิ้นสุดการปกครองระบบกษัตริย์ของพม่าตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ร่วมบูรณะฉัตรทองคำ (ช่วงบ่าย)
...ถ้ามาเยือนเมืองมัณฑะเลย์ สิ่งที่จะพลาดไม่ได้ คือการไปกราบนมัสการ พระมหามุนี (องค์น้อง) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของที่นี่
ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 5 ของพม่า ที่ต้องมาให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต
ปกติแล้ว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะนิยมไปเวลาเช้าตรู่ เพื่อไปดูพิธีล้างพระพักตร์พระมหามุนี โดยพระสงฆ์จะเป็นผู้ทำพิธี เริ่มประมาณตี 4 ของทุกวัน
แต่พระอาจารย์ชัยวัฒน์เห็นว่า ถ้ามาพรุ่งนี้ตอนเช้า คนจะเบียดเสียดยัดเยียดกัน จะกราบไหว้อะไรก็ไม่สะดวก ท่านจึงตัดสินใจมาช่วงเย็น อากาศกำลังสบาย
แดดร่มลมตก
อีกทั้งคนก็ไม่เยอะมาก ชาวบ้านก็มาสวดมนต์กันตามปกติ แต่ถ้าเป็นช่วงเช้า อย่างกับหนังคนละม้วน แล้วจะเล่าให้ฟังตอนต่อไปค่ะ
เพราะงานเทศกาลประจำปีที่นี่ ปีนี้จะตรงกับวันที่ 30 มกราคม 2561 ท่านจึงเดินทางมาก่อนล่วงหน้า 1 วัน
ฉะนั้น สำหรับตอนนี้อาจจะแปลกตาสำหรับนักแสวงบุญอย่างเราๆ เพราะเขาจัดสถานที่เป็นกรณีพิเศษ คือผูกผ้าและประดับไฟไว้อย่างสวยงาม
ส่วนประตูทางเข้าวัดมีหลายทาง ถ้าไม่นัดกันให้ดี ก็อาจจะหากันไม่เจอ พระมหามุนี ประดิษฐานเด่นอยู่บนแท่นบัลลังก์ด้านบน ใจกลางวิหาร
เห็นในรูปว่า งามแล้ว องค์จริง ยิ่งงดงามกว่าหลายร้อยเท่า ส่วนด้านข้างก็มีรูปพระมหามุนีเดิมๆ หลายสมัย เพื่อเปรียบเทียบว่า
พระพุทธรูปองค์นี้มีชีวิตชีวาเหมือนมนุษย์ คือตั้งแต่หนุ่มจนแก่
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้กล่าวนำถวายเครื่องบูชา อันมีฉัตรเงิน ฉัตรทอง ดอกบัวเงิน ดอกบัวทอง พานพุ่มเงินพุ่มทอง และของหอมทั้งหลาย เพื่อบูชาพระมหามุนี
หลังจากนั้นได้ออกไปทำบุญด้านนอกกันต่อ
พวกเราโชคดีมาก ที่ไปถึงตอนที่ทางวัดกำลังบูรณะใหญ่พอดี พระอาจารย์เคยได้มาร่วมบูรณะ เมื่อปี 2545 ผ่านมา 16 ปี เพิ่งจะมีการบูรณะใหญ่อีกครั้ง จะว่าไปแล้ว
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะมาเจอช่วงบูรณะใหญ่เช่นนี้
อนึ่ง พวกเราก็โชคดีสองชั้น นั่นก็คือได้มีโอกาสร่วมบูรณะฉัตรวิหาร พระมหามุนี (องค์พี่ - อารกันมหามุนี) เมืองยะไข่ กันมาแล้วด้วย
พวกเราเลยจัดหนักจัดเต็มที่ คือได้บูรณะทั้งองค์พี่และองค์น้อง
นอกจากจะมีเงินทำบุญกองกลางแล้ว ยังมีเงินต่อยอดส่วนตัว ต่อกันไป ต่อกันมาอีก ทั้งเงินไทย เงินพม่า เงินดอลลาร์ก็มีมาแจมด้วย จนยอดเงินพุ่งกระฉูด
เป็นเงินไทย 55,000 บาท เงินพม่า 250,000 จ๊าด และเงิน 550 ดอลลาร์ สิริรวมแล้วทั้งหมด คิดเป็นเงิน 3,231,500 จ๊าด
เลยถูกบันทึกให้เป็นยอดเงินทำบุญที่สูงที่สุดเป็น "อันดับ 2" ของทริปนี้ค่ะ
คืนนี้กลับไปคงนอนหลับฝันดี ด้วยความปิติในบุญใหญ่ที่ได้ทำในวันนี้ ขอเชิญท่านผู้อ่านโมทนาบุญร่วมกันนะคะ
เพราะเหตุใดจึงเรียกว่า พระมหามุนี(องค์น้อง) เรื่องนี้มีตำนานค่ะ แต่เนื้อที่หมดแล้ว ไว้จะมาเล่าให้ฟังในตอนหน้า (ต่อ)
ติดตามกันให้ได้นะคะ
มิงกะลาบา
!!!
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 26/1/19 at 06:20
[ ตอนที่ 51/2 ]
(Update 15 กุมภาพันธ์ 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบเจ็ด) 31 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑเลย์)
วัดพระมหามุนี (Mahamuni Buddha Temple) เมืองมัณฑเลย์ (Mandalay)
เส้นทาง : อินดอว์ - เมี่ยวต่อง (Myataung) - มัณฑเลย์
ชมพิธีล้างพระพักตร์
...เช้าวันที่ 31 มกราคม 2561 เรายังอยู่กันที่เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) นะคะ หลังจากกลับจากกราบสักการะ พระมหามุนี เมื่อคืนนี้
นับว่าใช้เวลากันคุ้มค่าจริงๆ คือเมื่อวานไปกันตั้งแต่บ่ายแก่ๆ จนถึงค่ำ เพื่อร่วมทำบุญบูรณะครั้งใหญ่ จำนวนเงิน 3,231,500 จ๊าด
การบูรณะครั้งนี้ พระอาจารย์บอกว่าได้ทำเป็นครั้งที่ 2 โดยบังเอิญทั้งสองครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อปี 2545 ท่านก็ได้มาทำยอดฉัตรใหม่ (มีคลิปวีดีโอตอนที่
51/1)
แล้วก็เดินชมความสวยงามของแสงไฟที่ประดับไว้ในยามค่ำคืนด้วย เนื่องจากพวกเราไปตรงกับงานเทศกาลประจำปีพอดี
พอไปถึงที่พัก ก็รีบเข้านอนทันที เพราะวันรุ่งขึ้น ต้องย้อนกลับไปวัดพระมหามุนีอีกครั้ง เพื่อชมพิธีล้างพระพักตร์ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันตอนเช้าตรู่
ถ้าถามว่าเช้าขนาดไหน ก็ต้องตอบว่า เช้ามาก ต้องออกจากโรงแรมตั้งแต่ตี 3 ฟ้ายังไม่สาง พอไปถึง ก็เจอกับคลื่นมหาชน
ทั้งนักท่องเที่ยวกรุ๊ปทัวร์ (เท่าที่สังเกต ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทย) อีกทั้งชาวพม่า ที่มาไหว้พระ มานั่งจับจองที่นั่งอยู่ก่อนหน้าเราเต็มวิหารไปหมด
พระอาจารย์ชัยวัฒน์และพี่ๆ ผู้ชายได้แยกเข้าไปอีกด้านหนึ่ง ส่วนพวกผู้หญิงก็กระจายกันนั่งอยู่ในเขตด้านล่าง ที่จัดไว้สำหรับผู้หญิง
เพราะไม่อนุญาตให้เข้าไปด้านใน
พิธีล้างพระพักตร์จะเริ่มในเวลาประมาณตี 4 พอถึงเวลา ท่านเจ้าอาวาสจะขึ้นไปทำพิธี พร้อมกับเจ้าหน้าที่พิธีการอีก 2-3 คน
ท่านใช้แปรงขนาดใหญ่ขัดบริเวณพระโอษฐ์ เหมือนการแปรงฟัน แล้วใช้ผ้าชุบน้ำที่ผสมเครื่องหอมทานาคา เช็ดบริเวณพระพักตร์อย่างนุ่มนวล
จากนั้นใช้ผ้าสะอาดค่อยๆ ซับพระพักตร์ให้แห้งอย่างเบามือ และขัดให้พระพักตร์เปล่งประกายเงางามแวววาว มีการนำพัดมาพัดถวายบริเวณพระพักตร์ด้วย
ขั้นตอนต่อมา ท่านเจ้าอาวาสจะนำผ้าเช็ดหน้า ที่มีผู้ศรัทธานำมาถวาย เช็ดพระพักตร์จนครบ แล้วส่งคืนกลับไปให้เจ้าของให้นำกลับไปบูชาที่บ้าน
ระหว่างนั้น จะมีคนคอยโบกพัดวีตามจังหวะ จนกว่าจะเสร็จพิธี
หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้พระอาจารย์ชัยวัฒน์และพี่ๆ ผู้ชาย ขึ้นไปกราบและถวายเครื่องบูชา และผ้าห่มสไบทองเป็นกรณีพิเศษ
พวกผู้หญิงที่นั่งอยู่ข้างล่างก็น้อมจิตอนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์และคณะด้วยความปลื้มปิติ บางคนก็ปิติมาก จนน้ำตาซึมออกมา
ต้องบอกว่า บรรยากาศในพระวิหารมีความเข้มขลัง เหมือนเราได้นั่งอยู่ตรงหน้าพระพุทธเจ้าจริงๆ ค่ะ
จริงๆ แล้ว พระมหามุนี นั้น มี 2 องค์ องค์ที่อยู่ มัณฑะเลย์ เรียกว่า องค์น้อง ส่วน พระมหามุนีองค์พี่ ยังอยู่ที่ยะไข่
ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้จัก พอพูดถึง พระมหามุนี คนก็จะนึกถึงแต่ที่มัณฑะเลย์
ประวัติ พระมหามุนี
...ตามประวัติในหนังสือ ตามรอยพระพุทธบาท เล่ม 4 โดยพระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต พระมหามุนี หรือที่เรียกกันว่า พระพุทธรูปทองคำเนื้อนิ่ม
เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมัณฑะเลย์ และมีพิธีล้างพระพักตร์มานานแล้ว
แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองยะไข่ คู่กับพระมหามุนีอีกองค์หนึ่ง จึงเรียก พระมหามุนี เมืองยะไข่ ว่าเป็นองค์พี่ พระมหามุนี เมืองมัณฑะเลย์
เป็นองค์น้อง
ซึ่งพระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ไปกราบไหว้ครบถ้วน และได้ร่วมบุญบูรณะทั้งสองแห่ง
ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดชาว เมืองธัญญาบุรี (เมืองยะไข่) โดยเสด็จมาประทับ ณ ยอดเขาศิลาคีรี
จากนั้นพระพุทธองค์ได้เสด็จเข้ามายังพระนคร เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน พระเจ้าจันทราสุริยา ทรงทูลขอให้พระพุทธเจ้าทิ้งตัวแทนของพระองค์ไว้ให้มวลมนุษย์
พระพุทธองค์จึงทรงประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ ในขณะที่ท้าวสักกะได้ทรงสร้างพระพุทธรูป ซึ่งดูราวกับมีชีวิตขึ้นมา พระมหามุนี
จึงประดิษฐานเหนือบัลลังก์ประดับเพชรอยู่ที่เนินเขาสิริกุตตะ
แต่บางตำนานได้เล่าว่า พระเจ้าจันทราสุริยา ได้ให้ช่างนำหินมาแกะสลักเป็นรูปเหมือนของพระพุทธเจ้า
ขนาดเท่าองค์จริง ขณะที่กำลังแสดงธรรมอยู่ และเมื่อเสร็จแล้ว ได้นำเป็นต้นแบบโดยหล่อองค์ที่สองด้วยทองสัมฤทธิ์
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเทศนาจบแล้ว ได้ทำการหายใจรดพระพุทธรูปทั้งสององค์ ซึ่งถือว่าเป็นการปลุกเสกด้วยพระพุทธองค์เอง
และได้มีพุทธวาจา กล่าวกับพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ว่า จงอยู่ที่นี้ เพื่อเป็นที่สักการะของผู้มีความศรัทธาต่อไป
ฉะนั้น พระมหามุนีองค์ต้น หรือองค์พี่ (อารกันมหามุนี) เป็นองค์แรก ที่แกะสลักจากหินอ่อน ซึ่งมีขนาดเท่าองค์จริง
ปกติจะมีน้ำซึมออกมาตามผิวของพระพุทธรูป คล้ายกับเหงื่อซึมออกมาตลอดเวลา แต่ปัจจุบันทางวัดได้ปิดทององค์พระ จึงทำให้ไม่มีเหงื่อซึมออกมาอีก
ส่วน พระมหามุนีองค์น้อง (มัณฑะเลย์มหามุนี) องค์นี้สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ มีขนาดใหญ่กว่าองค์ต้น
โดยได้ทำการถอดแบบมาจากพระมหามุนีองค์ต้น ซึ่งมีผู้มาปิดทองคำเปลวจนทำให้องค์พระมีลักษณะใหญ่ขึ้น จึงเรียกว่า พระพุทธรูปเนื้อนิ่ม
(ปิดทองได้เฉพาะผู้ชาย)
สมัยที่ พระเจ้าอนุรุทธ ครองเมืองพุกาม พระองค์ได้พิชิตภาคเหนือของยะไข่ พยายามจะนำพระมหามุนีกลับไปด้วย แต่ก็ไม่สามารถนำกลับไปได้
ต่อมา พระเจ้าอลองสินธุ พระราชนัดดาของพระเจ้าอนุรุทธ ตีเมืองยะไข่ พ.ศ. 1661 ทหารได้ทำลายวัด และลอกเอาทองจากพระมหามุนีไป หลังจากนั้น
ชาวยะไข่ได้บูรณะขึ้นมาอีก
ทำเลที่ตั้งของเมืองยะไข่ (มร็อกอู) ด้านหนึ่งจะติดกับทะเล ด้านหนึ่งจะมีเทือกเขาอารกันโยมาขวางกั้นอยู่ ทอดตัวเหมือนกำแพงเมือง
พระมหามุนี จึงไม่มีใครสามารถเอาไปได้ จะยกไปทางเรือก็ยาก หรือจะข้ามเขาอารกันโยมา ก็ยิ่งยากใหญ่
แต่ผลสุดท้ายต้องพ่ายแพ้ให้แก่ราชบุตรของพระเจ้าอลองพญา ชื่อว่า พระเจ้าโบดอพญา (พระเจ้าปะดุง)
ด้วยความประมาทของชาวยะไข่ โดยที่มัวระวังแต่ทางน้ำ ไม่นึกว่าทัพของข้าศึกจะเข้ามาทาง เมืองมินบู แล้วข้ามเทือกเขาอารกันโยมาจนสำเร็จ
ในตอนแรกนั้น จะอัญเชิญ พระมหามุนีองค์ต้น ไป แต่แปลกที่ไม่สามารถจะยกให้ขยับเขยื้อนได้ ทั้งที่องค์เล็กกว่า
จึงเปลี่ยนใจนำ พระมหามุนีองค์น้อง ไปแทน โดยการตัดองค์พระออกเป็น 3 ส่วน แล้วนำไปประกอบขึ้นใหม่ที่ เมืองอมรปุระ
ตั้งแต่บัดนั้นมา พระมหามุนี องค์นี้ก็ได้มาสถิตสถาพรอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ โดยพระเจ้าโบดอพญาทรงสั่งให้สร้างเจดีย์ 7 ชั้น ที่งดงามไม่เหมือนใครในพ.ศ.
2327 ต่อมาเจดีย์องค์แรกถูกไฟไหม้ จึงสร้างใหม่ให้เหมือนกับองค์เดิม
พระมหามุนีมีความสูง 3.8 เมตร แต่มองดูองค์พระใหญ่ขึ้น เพราะปิดทองคำเปลวหนาขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหลายปีก่อน เคยถูกไฟไหม้ น้ำทองที่ไหลออกมา
ชั่งได้หลายกิโลกรัม
รูปถ่ายที่ด้านหน้าวิหารเป็นรูปภาพขาวดำ ถ่ายไว้สมัยแรกๆ เมื่อหลายสิบปีก่อน จะเห็นว่าพระพักตร์ยังหนุ่มอยู่
แล้วก็มีภาพช่วงกลางจนมาถึงปัจจุบัน
จะเห็นว่า พระมหามุนีเหมือนคนมีอายุมากขึ้น นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก คล้ายกับอายุสังขารของคนจริงๆ
หลังจากใช้เวลาอยู่ที่วัดพระมหามุนีอยู่พอสมควร พระอาจารย์และคณะได้เดินทางกลับไปฉันเช้า ซึ่งทางโรงแรมเตรียมอาหารเช้าไว้บริการ
ยังไงก็ต้องให้ท้องอิ่มไว้ก่อน เพราะวันนี้ยังมีโปรแกรมอีกหลายแห่ง ติดตามกันได้ในตอนหน้านะคะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 15/2/19 at 04:08
[ ตอนที่ 52 ]
(Update 20 กุมภาพันธ์ 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบแปด) 31 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑเลย์)
พระเจดีย์เจ๊าต่อจี (Kyauktawgyi Pagoda) เมืองอมรปุระ (Amarapura)
...พิธีล้างพระพักตร์พระมหามุนีผ่านพ้นไปอย่างประทับใจ ความรู้สึกอิ่มเอมในบุญยังไม่ทันจางหาย
หลังจากกลับมารับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมเรียบร้อยแล้ว เราก็ออกเดินทางต่อไป
สถานที่สำคัญในเมืองมัณฑะเลย์ ยังมีอีกหลายแห่งที่รอผู้มาเยือนอย่างเราได้ค้นหา การสืบเสาะหาสถานที่แต่ละแห่ง แม้จะมี Google Map เป็นตัวช่วยบ้าง
อาศัยความรู้ความคุ้นเคยของคนขับบ้าง แต่บางครั้ง ก็มีออกนอกเส้นทางไปบ้างเหมือนกัน เช่นในครั้งนี้เป็นต้น
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ให้คนขับรถของเราพาไปที่ พระเจดีย์เจ๊าต่อจี (Kyauktawgyi Pagoda) ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือว่ามี พระพุทธรูปหินอ่อนใหญ่ที่สุด
ในย่านมัณฑะเลย์
คนขับของเราก็แสนดี พาไปถึงที่ เรื่องมันฮาตรงที่เป็นพระเจดีย์ชื่อเดียวกัน แต่คนละแห่ง วัดที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์ต้องการจะไป เป็นวัดเก่าแก่ดั้งเดิม
ตั้งอยู่ในเขตเมืองอมรปุระ
แต่ด้วยความที่อยู่ไกลกว่า นักท่องเที่ยวเลยนิยมไปวัดอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ตัวเมืองมัณฑะเลย์มากกว่า
ก็เลยต้องขับรถวนรอบเมืองแก้เคล็ดกันหนึ่งรอบ มองในแง่ดี ก็คือได้มีโอกาสชมวิวทิวทัศน์ ชมบ้านเมืองของเขา ไม่นานนักก็ถึงวัด พอไปถึงตอนสายๆ
ผู้คนยังบางตาอยู่
บรรยากาศในเขตวัดค่อนข้างเงียบสงบ พอก้าวเข้าไปข้างใน ก็เหมือนตัวเราย้อนยุคกลับเข้าไปในอดีตเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว
พระเจดีย์แห่งนี้สร้างในสมัย พระเจ้าบากันมิน (King Pagan Min) แห่งราชวงศ์คองบอง (Konbaung Dynasty) ในปี พ.ศ.2390
ชื่อ เจ๊าต่อจี แปลว่า พระใหญ่ที่สร้างจากหินอ่อน หรือที่ชาวพม่าจะรู้จักกันดีในชื่อ Taungthaman Kyauktawgyi เพราะตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาบ
Taungthaman
ถ้ามองจากภายนอก มีลักษณะคล้าย พระเจดีย์อนันดา (Ananda Pagoda) ของพุกาม แต่ภายในแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ซุ้มทางเข้าใหญ่ทั้งสี่ด้าน ตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่นเขียนบนปูนแห้ง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนสถาน วิถีชีวิต ตลอดจนวัฒนธรรมของชาวอมรปุระ
เพดานสูงให้ความรู้สึกโปร่งโล่งสบาย เวลาเดินชม
สิ่งที่เปรียบเสมือนหัวใจของที่นี่รอเราอยู่ด้านในค่ะ พระประธานที่สร้างด้วยหินอ่อนองค์ใหญ่ หน้าตักประมาณ 3.5 เมตร
ที่เป็นองค์ดั้งเดิม คู่วัดแห่งนี้มานาน มีพระพักตร์งดงาม เปี่ยมด้วยเมตตา เป็นที่ตรึงใจแก่ผู้มากราบไหว้
ตามประวัติเล่าว่า สร้างจากหินอ่อนทั้งก้อนเพียงก้อนเดียว ต้องใช้กำลังคนถึง 10,000 คน
ผลัดเปลี่ยนกันขนย้ายจากทางเหนือของมัณฑะเลย์มายังที่ประดิษฐานในปัจจุบัน โดยใช้เวลาถึงสองสัปดาห์กว่าจะลำเลียงมาได้สำเร็จ
นับว่าเป็นโชคดีของพวกเรา ที่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลวัดอนุญาตให้เราห่มผ้าทองถวายเป็นพุทธบูชา ด้วยความที่ว่า องค์พระมีขนาดใหญ่มาก
เลยต้องใช้สุภาพบุรุษหลายคนไปช่วยกันทำภารกิจนี้จนสำเร็จ
หลังจากกล่าวถวายเครื่องบูชาแล้ว พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ขึ้นไปปิดทอง และถวายเครื่องไทยทานไว้ที่อุ้งพระหัตถ์
ทำให้รู้สึกปิติเหมือนได้ถวายแทบพระหัตถ์พระพุทธเจ้าจริงๆ
ก่อนกลับ ท่านได้บริจาคปัจจัยใส่ตู้ ร่วมบุญบูรณะ ปิดทอง และค่าไฟฟ้า รวมแล้วประมาณ 20,000 จ๊าด ขอเขิญโมทนาร่วมกันนะคะ
สำหรับตอนหน้า จะพาไปเยือน วัดงู (Snack Temple) แห่งเมืองมัณฑะเลย์ ประวัติความเป็นมาของงูที่นี่นั้นไม่ธรรมดา ติดตามได้ตอนต่อไปนะคะ
มิงกะลาบา !!!
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 20/2/19 at 06:36
[ ตอนที่ 53 ]
(Update 25 กุมภาพันธ์ 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบแปด) 31 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑเลย์) วัดงู
(Snake Pagoda) เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay)
งูเฝ้าพระพุทธรูป
(Cr. pantip.com)
...หากมาพม่า แล้วไม่ได้ไปวัดงู ที่มีอยู่หลายแห่งในประเทศนี้ ก็ถือว่าน่าเสียดายอย่างยิ่ง จะเรียกว่า เป็นสถานที่ Unseen
ของเขาก็ว่าได้
ที่มัณฑะเลย์ก็มี วัดงู (Snake Pagoda) เหมือนกันค่ะ เป็นที่รู้จักกันดีของนักท่องเที่ยวต่างถิ่น หรือแม้แต่คนพม่าเอง ก็ชอบมาวัดนี้
ชื่อเสียงเรียงนามเต็มยศนั้นยาวจริงๆ Yadana Labamuni Hsu-taungpye Paya เรียกสั้นๆ ว่า Hmwe Paya หรือ Snake Pagoda ก็ได้ สั้นๆ ง่ายๆได้ใจความ
หลังจากแวะกราบ "พระเจดีย์เจ๊าต่อจี" (พระพุทธรูปหินอ่อน) เสร็จแล้ว เราก็มาแวะที่นี่ต่อ ถ้าตั้งต้นที่เมืองมัณฑะเลย์
ต้องขับรถออกไปนอกเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 30-40 นาที
วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตเมือง Paleik พระพุทธรูปที่นี่ สร้างด้วยปูนทรงเครื่องแบบพระมหามุนี มีลักษณะงดงามมาก น่าจะเป็นองค์ดั้งเดิมแต่โบราณ
VIDEO
..ตามประวัติ แต่เดิมวัดนี้สร้างในสมัยสมัยพระเจ้าอลองสินธุ พระนัดดาของพระเจ้าอนุรุทธมหาราช ประมาณปี พ.ศ.1600 แล้วทำไมถึงกลายมาเป็น วัดงู อ่านต่อนะคะ
เดี๋ยวมีเฉลยค่ะ
ตอนที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์ไปถึงเป็นช่วงสายๆ คนก็ยังไม่มากเท่าไร พอกราบพระประธานเเสร็จแล้ว เข้าไปทำบุญก่อน 20,000 จ๊าด
เพราะขณะที่ไปถึงเขากำลังซ่อมพระพุทธรูปองค์ที่งูเฝ้าอยู่พอดี
พวกเราโชคดีอีกตามเคย เนื่องจากเขาไม่ได้บูรณะบ่อย เพราะงูเลื้อยพันองค์พระอยู่ตลอดเวลา แต่ตอนนี้สายตาของทุกคนก็สอดส่ายหางู หาเท่าไร ก็หาไม่เจอ
พลันต่อมา สายตาก็ไปสะดุดกับหีบใบใหญ่ที่ตั้งแอบไว้ข้างๆ ผนังด้านหนึ่ง ถามไถ่ผู้ดูแล เลยทราบว่า งู ผู้เป็นเจ้าของสถานที่นอนสงบนิ่งอยู่ในนั้น
เป็นงูเหลือมขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็ก 2 ตัว นอนขดหลับตาพริ้ม ดูเหมือนกำลังหลับอย่างสบาย ท่าทางไม่ค่อยสนใจใคร
ผู้ดูแลเล่าว่า ทุกๆ เช้า เวลาประมาณ 11 นาฬิกา เจ้างูเหลือมจะเลื้อยขึ้นมาเอง เพื่อไปอาบน้ำและกินอาหาร พวกเราจึงตัดสินใจรอจนถึงเวลานั้นอย่างใจจดใจจ่อ
อยากจะพิสูจน์ว่า งูอะไรจะรู้ภาษาขนาดนั้น
ไม่น่าเชื่อเลยค่ะ พอถึงเวลา 11 โมงเป๊ง งูก็ผงกหัว เลื้อยขึ้นมาชูคอ ประหนึ่งจะทักทายอาคันตุกะทั้งหลาย ที่เรียงหน้ามาห้อมล้อมรอดูอย่างตื่นเต้น
คนดูแลก็รู้หน้าที่ รีบอุ้มงูไปที่บ่อน้ำที่เขาทำไว้ใกล้ๆ เป็นบ่อสี่เหลี่ยม ที่เตรียมน้ำโรยด้วยกลีบดอกไม้รอไว้อยู่แล้ว
มีขันเงินลอยน้ำเพื่อรอให้คนทำบุญค่าอาหารงูอยู่ด้วย
ไทยมุง พม่ามุง ฝรั่งมุง ก็ยกขบวนแห่ตามไปดู เกาะขอบบ่อ แบบไม่กระพริบตา ก็แหม นานๆ ที่จะได้เห็นงูอาบน้ำนี่คะ
หลังจากขัดสีฉวีวรรณจนสะอาดแล้ว คนดูแลจะนำงูมาป้อนอาหาร เป็นไข่กับนม นำมาผสมให้เข้ากัน ใช้ไข่เจ็ดฟองต่องูหนึ่งตัว
พองูอิ่มแล้ว ก็จะเลื้อยไปพันรอบองค์พระประธาน ที่เราเพิ่งกราบไหว้เมื่อสักครู่ ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน
แต่พอดีช่วงนี้ ทางวัดมีการบูรณะซ่อมแซมองค์พระ จึงเก็บงูไว้ให้อยู่ในหีบ เพราะเพิ่งทาเสร็จใหม่ๆ เลยไม่ได้เข้าไปพันเหมือนอย่างเคย
แต่พระอาจารย์ขอให้เจ้าหน้าที่อย่าเพิ่งนำงูไปไว้ในหีบไม้ เพราะอยากจะรู้ว่างูผูกพันกับพระพุทธรูปแค่ไหน ปรากฏว่างูทำท่าจะเลื้อยไปที่องค์พระจริงๆ
ประวัติวัดงู
(Cr. pantip.com)
วัดงู แต่ละที่ของพม่า จะมีความเป็นมาต่างกัน ที่นี่ก็เช่นกัน แต่เดิมก่อนจะใช้ชื่อว่า วัดงู เป็นวัดโบราณ แต่เป็นที่รู้จักในชื่อ วัดงู ตั้งแต่ปี
พ.ศ.2517
พระสงฆ์ที่ดูแลวัดในสมัยนั้นไปเจองูเหลือมสองตัว มีถิ่นพำนักอยู่ในป่า เลื้อยมาพันรอบองค์พระ ตอนจะไปทำความสะอาด ก็เลยจับเอาไปปล่อยในป่าเหมือนเดิม
แต่พอกลับมาที่วัด ก็พบว่า งูเลื้อยกลับมาพันรอบองค์พระอีกภายในวันเดียวกัน ทุกครั้งที่จับไปปล่อย ก็จะเลื้อยกลับมาเองทุกครั้ง
โดยพันรอบองค์พระไม่ยอมไปไหน คนที่นี่เชื่อว่า น่าจะเป็นวิญญาณของอดีตพระภิกษุ ที่เคยดูแลวัดนี้ กลับมาเกิดใหม่ในร่างงูเหลือม
นับตั้งแต่นั้นมา ก็เลยดูแล เลี้ยงดูอย่างดี คนก็แห่กันมาดู และมาทำบุญกับงูเฝ้าพระพุทธรูปตั้งแต่นั้น ต่อมาภายหลัง ก็มีงูเหลือมมาเพิ่มอีกหนึ่งตัว
รวมทั้งหมดสามตัว
พองูรุ่นแรกตาย ก็จะมีงูรุ่นใหม่มาแทนที่อยู่ตลอด ปัจจุบันทางวัด เหลือเพียงสองตัว ส่วนงูรุ่นแรกดั้งเดิม ทางวัดได้สต๊าฟไว้ในตู้กระจกค่ะ
มีเรื่องเล่าว่า งูที่ตายไปมาเข้าฝันผู้หญิงที่เมืองมิตจิน่า ให้นำย่ามมาถวายพระที่นี่ ก็แปลกดีเหมือนกัน งูเหลือมที่นี่จะเชื่อง และไม่เคยทำร้ายคน
ลูกเด็กเล็กแดงก็สามารถลูบคลำได้ โดยไม่มีอันตราย
ก็คงต้องขอจบเรื่องของ งู ไว้แต่เพียงเท่านี้ แต่ก็ยังมีวัดงูอีกแห่งหนึ่ง อยู่ฝั่งตรงข้ามกับย่างกุ้ง ซึ่งจะนำไปเล่าในภายหลัง
...หลังจากได้ชมความน่ารักของงูแล้ว (คณะของเราบางคน อาจจะไม่น่ารักด้วยเพราะความกลัว จึงไม่เข้าไปด้วย
คงแต่ช่วยจัดเตรียมอาหารเพลไว้ให้พระอาจารย์และพวกเราทุกคน)
นับเป็นเวลาที่ล่วงเลยเพลมาเล็กน้อย แต่ก็คุ้มค่ากับการรอคอย ท่านจึงออกมาฉันเพลที่ร้านค้าด้านนอกวัด โดยมีการคัดกรองร้านแล้วนั่นเอง
สำหรับในตอนหน้า ก็จะเป็นเรื่องของ ไก่ กันบ้าง จะเป็นไก่อะไรนั้น รอติดตามตอนต่อไปนะคะ
มิงกะลาบา !!!
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 25/2/19 at 08:12
[ ตอนที่ 54 ]
(Update 5 มีนาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบแปด) 31 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑเลย์)
พระเจดีย์ชเวจั๊ตยัต (Shwe Kyet Yet Pagoda) เมืองอมรปุระ (Amarapura) (พบใหม่)
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น "พญาไก่"
...หลังจากแวะฉันเพลที่ร้านอาหารใกล้ๆ วัดงูเรียบร้อยโรงเรียนพม่าแล้ว ก็ออกเดินทางไปต่อ ที่เมืองอมรปุระนี้
แต่อาจมีพวกเราบางคน ที่ยังหลงเหลือภาพความทรงจำที่ "วัดงู" ติดตาติดใจมาบ้าง ถึงอย่างไรก็ตาม คงได้แง่คิดว่า..
ภพภูมิต่อไปเบื้องหน้า คงไม่น่าจะมีสำหรับเรา เพราะถ้าได้อดีตังสญาณ คงรู้อดีตแห่งความเกิดได้ดี..ว่ามีความทุกข์แค่ไหน
แต่ก็จำต้องสลัดภาพอดีตออกไปก่อน เพราะยังมีสถานที่สำคัญอันเนื่องกับพระพุทธเจ้าอีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ พระเจดีย์ชเวจั๊ตยัต (Shwe Kyet Yet Pagoda)
ตั้งอยู่บน เนินเขาชเวจั๊ตยัต ริมแม่น้ำอิรวดี ชื่อเดียวกับพระเจดีย์นั่นเอง
เนินเขาแห่งนี้ ยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ มัณฑคีรี (Mandagiri) เป็นสถานที่ๆ พระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติเป็น พญาไก่ ในช่วงแรกๆ ของการปรารถนาพระโพธิญาณ
และเคยเสวยพระชาติเป็นไก่ถึง 12 ชาติ
ตามตำนานเล่าว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์เสด็จมาที่นี่พร้อมกับพระอานนท์ พระเจดีย์แห่งนี้เป็นหนึ่งใน 84,000 แห่ง ที่สร้างโดย "พระเจ้าอโศกมหาราช"
ต่อมาได้รับการบูรณะในสมัย พระเจ้าอนุรุทธมหาราช หรือ พระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งพุกาม
หลังจากนั้นทิ้งช่วงไปจนถึงสมัย พระเจ้านรปติสิทธุ ถึงได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์อีกครั้ง พร้อมกับสร้างพระเจดีย์เพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียง โดยพระราชินี
Tarapya จากเมืองสกายน์
พระเจ้า Swasawke พระเจ้าทาลุน Sinbyushin บุตรชายของ Bodaw paya Thiri Maha Dham-mabizaya Thihathu, Bagyidaw พระบรมราชินีของพุกาม พระเจ้ามินดง
ของพระราชวังภาคเหนือ
ถึงแม้จะมีการบูรณะซ่อมแซมต่อมาอีกหลายครั้ง ส่วนใหญ่ของรูปปั้นและอาคารโบราณที่เห็นในวันนี้ ยังคงหลงเหลือลักษณะโครงสร้างเดิมตามแบบพุกามอยู่
ด้วยความที่พระเจดีย์อยู่บนเนินเขา พวกเราก็เลยต้องบำเพ็ญวิริยบารมีกันอีกแล้ว ด้วยการไต่บันไดขึ้นไปข้างบนทีละขั้นๆ บางคนก็ภาวนาคาถาเงินล้านไปด้วย
กว่าจะถึง เล่นเอาเหนื่อยหอบกันเลยทีเดียว
แต่ก็คุ้มค่าที่ได้มา ปกตินักท่องเที่ยวจะไม่ค่อยมาที่นี่เท่าไร เพราะไม่ใช่สถานที่ๆ ติดอยู่ในโผของบริษัททัวร์
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ท่านก็เพิ่งทราบความสำคัญ จากประวัติในเว็บไซด์ทัวร์ของพม่า ที่เขาลงไว้เป็นภาษาอังกฤษ พวกเราเลยได้มากราบพระเจดีย์ที่ (พบใหม่)
อีกแห่งหนึ่ง
Shwe Kyet Yet Pagoda, Amarapura
...Shwe Kyet Yet Pagoda lies on Shwe Kyet Yet Hill. also known as Mandagiri while embryo Buddha was reborn a king of chicken in his early lives.
It is one of the 84,000 pagodas built by King Thiri Dhamma Thawka in Sakarit 218.
It was renovated by King Anawrahta in 411 and Narapate Sithu of Bagan in 537. Narapate Sithu built Aungswagyi and Aungswange pagodas and Narapate
Sithu Pagoda near by.
Shwe Kyet Yet Pagoda was further renovated by Queen Tarapya of Sagaing. King Swasawke.
Thalun. Sinbyushin. Bodawpaya's son Thiri Maha Dham-mabizaya Thihathu. Bagyidaw. Bagan King's consort Mindon's queen of the northern palace.
However most of the statues and ancient buildings seen today are those of King Bagan.
VIDEO
พระเจดีย์นี้อยู่ก่อนถึงภูเขาสกายน์ (Sagaing) คือก่อนข้ามสะพานแม่น้ำอิรวดีให้เลี้ยวขวาเข้าไปทันที จะมองเห็นพระเจดีย์อยู่บนเขาแต่ไกล
ปกติทัวร์คนไทยก็จะผ่านอยู่เสมอ แต่ก็ไม่ทราบความสำคัญนั่นเอง
พอไปถึง ก็แวะทำบุญกันก่อนตามระเบียบ โดยร่วมบูรณะ 100,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 50,000 จ๊าด คนดูแลวัดก็มาเล่าประวัติความเป็นมาให้เราฟัง ก็เลยเพิ่งรู้ว่า
ทุกๆ 7 ปี จะมีการบูรณะครั้งหนึ่ง
ข้อดีของเมืองพม่าก็คือ เขาเอาใจใส่สถานที่สำคัญของพระพุทธเจ้าอย่างดียิ่ง นอกจากจะรักษาประวัติของสถานที่แล้ว ยังดูแลบูรณะอย่างสม่ำเสมออีกด้วย
เลยทำให้แต่ละที่คงสภาพเดิมได้นาน และอยู่ต่อไปได้อีกนาน
หลังจากนั้นพระอาจารย์ได้แวะกราบพระประธาน ทรงเครื่องจักรพรรดิสไตล์พม่า ต้องเดินผ่านช่องแคบๆ เข้าไปกราบข้างใน องค์พระมีลักษณะงดงามมาก
ท่าทางจะเป็นของโบราณดั้งเดิม
ส่วนที่ลานด้านนอก จะมีจุดอธิษฐาน หากปรารถนาสิ่งใด ถ้าไม่เกินกฏแห่งกรรม ก็จะสำเร็จ พระอาจารย์ชัยวัฒน์เลยให้ตั้งเครื่องบูชา
เพื่อทำพิธีกราบไหว้ตรงจุดนี้
ท่านได้นำคณะกล่าวคำถวายเครื่องบูชา พร้อมทั้งอธิษฐานความปรารถนาอันสูงสุด พอสิ้นคำว่า นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ เม ก็รู้สึกปิติจนขนลุกซู่เลยค่ะ
เราไม่มีเวลาอ้อยอิ่งอยู่นานนัก ยังเหลือพระเจดีย์อีก 2 แห่ง ที่รอเราอยู่ เลยต้องรีบเก็บของ แล้วย้อนกลับมาทางเดิม
ออกเดินทางข้ามสะพานแม่น้ำอิรวดีต่อไปทางภูเขาสกายน์
ระหว่างทางเจอขบวนแห่ ท่าทางจะเป็นขบวนแห่เจ้าบ่าวเจ้าสาว วันนี้คงเป็นฤกษ์งามยามดี ก็เลยชี้ชวนกันดูผ่านหน้าต่างรถด้วยความตื่นเต้น แหม
วิถีชีวิตแบบนี้หาดูกันได้ง่ายๆ ที่ไหนกันละคะ
ในตอนต่อไป ก็จะพาไปกราบพระเขี้ยวแก้ว ที่บรรจุอยู่ในพระเจดีย์ที่สร้างในสมัยพระเจ้าบุเรงนองกันบ้าง พระเจดีย์ที่นี่มีรูปลักษณะพิเศษไม่เหมือนใคร
ไว้รอดูรูป พร้อมกับอ่านประวัติในตอนหน้านะคะ...สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 25/2/19 at 16:45
[ ตอนที่ 55 ]
(Update 10 มีนาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบแปด) 31 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์)
พระเจดีย์กองมุดอว์ (Kaungmudaw Pagoda) เมืองสกายน์ (Sagaing)
VIDEO
"พระทันตธาตุ" คู่บ้านคู่เมืองสกายน์
...หลังจากกราบไหว้พระเจดีย์ชเวจั๊ตยัตเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์ชัยวัฒน์และคณะได้ย้อนกลับมาทางเก่า
รถวิ่งข้ามสะพานแม่น้ำอิรวดีไปทางเมืองสกายน์ (Sagaing) เลยตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร ถนนหมายเลข 7 เส้นนี้สามารถไปเมืองโมนยวา
(Monywa)ได้
พระเจดีย์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของเมืองสกายน์ตั้งอยู่ที่นี่ มีชื่อว่า พระเจดีย์กองมุดอว์ (Kaungmudaw Pagoda)
พอรถเคลื่อนเข้ามาใกล้จุดหมาย ก็สังเกตเห็นพระเจดีย์สีทองขนาดใหญ่ ลักษณะแตกต่างจากพระเจดีย์ทั่วไปที่เรามักจะพบเห็นกันในพม่า
ที่จะเป็นยอดแหลมสูงขึ้นไปคล้ายปิรามิด แต่ที่นี่จะมีรูปร่างกลมมนคล้ายของศรีลังกา เป็นรูปทรงระฆังคว่ำ
โชคดีเป็นของเราอีกแล้ว เพราะทางวัดกำลังบูรณะหุ้มทองยอดฉัตรอยู่พอดี เราเลยร่วมทำบุญแผ่นทองที่ทางวัดเตรียมไว้ให้คนร่วมบุญ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ขนาดเก้าคูณเก้านิ้ว แผ่นเล็ก แผ่นละ 47,000 จ๊าด
นอกจากเงินกองกลางที่แบ่งไว้ทำบุญแล้ว ยังช่วยกันต่อยอดเพิ่ม ได้ยอดเงินบูรณะ 200,000 จ๊าด กับ 10 ยูเอสดอลลาร์ ตีเป็นทองก็เกือบ 5 แผ่น
แล้วก็ร่วมบุญค่าไฟฟ้าอีก 50,000 จ๊าด
ได้ทำบุญใหญ่กันจนสะใจแล้ว พี่ๆ ในคณะที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องเครื่องบูชาก็มาจัดเตรียมของบูชาตรงลานหน้าพระเจดีย์ด้านนอก
พอดีเป็นช่วงแดดร่มลมตก แดดเลยไม่ร้อน มีลมพัดพรายพลิ้วมาเบาๆ อากาศดูจะเป็นใจให้กับเราไม่น้อย
ผ้าห่มสไบที่จารึกชื่อผู้ถวาย มีทั้งภาษาไทย, อังกฤษ และพม่า ได้ผูกบูชาไว้กับผืนผ้าเดิม เราไปกันหลายแห่ง จึงเตรียมได้ผืนขนาดเล็กแค่นี้
ก็ถือว่าได้นำไปบูชาครบถ้วนทุกแห่ง
พระอาจารย์ได้นำคณะกราบสักการะพระเจดีย์ สิ่งที่พลาดไม่ได้ก็คือ การอธิษฐาน เพราะการที่เราได้มาอธิษฐานถึงที่
ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญต่างๆ ที่บรรจุพระเกศาธาตุ, พระทันตธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็ยิ่งมีอานิสงส์ให้สำเร็จสมปรารถนาเร็วยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ
ประวัติพระเจดีย์กองมุดอว์
...สถานที่นี้มีชื่อเป็นทางการว่า พระเจดีย์ Yaza Mani Sula Pagoda Kaungmudaw แต่คนนิยมเรียกสั้นๆ ว่า พระเจดีย์กองมุดอว์
ภายในบรรจุ พระทันตธาตุ หรือ พระเขี้ยวแก้ว ที่ได้มาจากศรีลังกา นอกจากนี้ยังมี บาตร ของพระพุทธองค์บรรจุไว้ด้วย
ตามประวัติในหนังสือตามรอยพระพุทธบาทเล่ม 4 โดยพระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต เล่าว่า เป็นพระทันตธาตุเก่าแก่ตั้งแต่โบราณสมัยพระเจ้าบุเรงนอง
ในปี พ.ศ.2103 พระเจ้าบุเรงนองทรงสร้าง พระมหาเจดีย์ ขึ้นที่เมืองหงสาวดี (พะโค) เพื่อบรรจุพระเขี้ยวแก้ว
ซึ่งเจ้าเมืองโคลัมโบถวายให้ตามสัญญา เมื่อครั้งพวกโปรตุเกสยึดเมืองโคลัมโบ และได้ชิงเอาพระเขี้ยวแก้วกลับไป
พระเจ้าบุเรงนองทรงทราบเรื่องก็ได้ขอไถ่พระเขี้ยวแก้วคืน แต่พวกโปรตุเกสไม่ยอม กลับบดพระเขี้ยวแก้วให้ละเอียดเป็นผุยผง แล้วโปรยลงทะเล
ภายหลังพระเขี้ยวแก้วแสดงปาฏิหาริย์ เสด็จกลับมายังเมืองโคลัมโบ ประจวบกับในขณะนั้นเมืองโคลัมโบมีศึกรอบข้าง
พระเจ้าบุเรงนองจึงเสนอตัวเข้าไปช่วยเหลือ ถ้าช่วยให้พ้นจากข้าศึกได้ จะขอพระเขี้ยวแก้วเป็นสิ่งตอบแทน ต่อมา พ.ศ. 2119 ทรงได้รับพระทันตธาตุ
พระองค์ตรัสว่า
สวรรค์ทรงโปรดข้าแล้ว อโนรธาได้เพียงพระทันตธาตุจำลองจากลังกา อลองสินธุไปเมืองจีนโดยเปล่าประโยชน์
แต่ข้าได้พระทันตธาตุนี้ด้วยปัญญาและศรัทธาของข้าเอง
หลังจากนั้น มีคนมาทูลว่า องค์จริงยังอยู่ที่เมืองแคนดี้ ลังกา แต่พระองค์ไม่เชื่อ ทรงลั่นกุญแจเก็บรักษาพระทันตธาตุและบาตรไว้ในพระมหาเจดีย์
พระเขี้ยวแก้วอยู่ในพระมหาเจดีย์ได้เพียง 34 ปี
ในปี พ.ศ. 2142 พระเจ้าอะเน่าแพหลุ่น ตีเมืองพะโคได้ และย้ายพระทันตธาตุไปยังตองอู แล้วโปรดให้สร้าง พระเจดีย์กองมุดอว์ ที่เมืองสกายน์
ดังเช่นในปัจจุบัน
เมื่อครั้งที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์มาเมื่อครั้งที่แล้ว พระเจดีย์ยังเป็นสีขาวอยู่ แต่ตอนนี้รัฐบาลพม่าได้ทาสีทองทับหมดแล้ว ถ้านึกไม่ออกว่า หน้าตาแบบเดิมๆ
เป็นยังไง ก็ดูรูปเปรียบเทียบได้นะคะ
เอวัง..ก็ด้วยประการฉะนี้ ยังเหลือพระเจดีย์สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่จะต้องย้อนกลับไปทางภูเขาสกายน์ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำอิรวดี พบกันในตอนต่อไปนะคะ
ณ
ตอนนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 5/3/19 at 08:07
[ ตอนที่ 56 ]
(Update 15 มีนาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบแปด) 31 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์)
พระเจดีย์สวอนอูโพนเยี่ยซิน (Swan Oo PonNya Shin Pagoda) เมืองสกายน์ (Sagaing)
VIDEO
พระเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองสกายน์
...ยามเมื่อเราออกเดินทางจากพระเจดีย์กองมุดอว์ เป็นเวลาบ่ายคล้อยแล้ว แสงอาทิตย์ที่แผดแสงแรงกล้ามาทั้งวันเริ่มจะค่อยๆ
จางหายไปทุกขณะ
ยังเหลือพระเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองสกายน์ (Sagaing) อีกที่หนึ่งที่เราต้องไปในวันนี้ นั่นก็คือ พระเจดีย์สวอนอูโพนเยี่ยชิน (Swan Oo PonNya Shin Pagoda)
(บางแห่งเรียก Soon Oo Ponya shin)
พระเจดีย์ชื่อย๊าว
ยาวนี้ ตั้งอยู่บนภูเขาสูงอีกเช่นกัน ถือเป็นจุดชมวิวของเมืองสกายน์ที่สวยที่สุด สามารถมองเห็นภูมิทัศน์ของเมืองสกายน์ได้รอบทิศทางแบบ
360 องศาเลยทีเดียว
เมื่อขึ้นมาถึงตรงจุดชมวิว ก็ต้องยกนิ้วให้ว่า สวยสมคำร่ำลือจริงๆ ค่ะ มองเห็นสะพานข้ามแม่น้ำอิรวดี และพระเจดีย์สีขาวตั้งอยู่กระจัดกระจายเป็นระยะๆ
ตามเนินเขา
โดยมีฉากหลังเป็นแม่น้ำอิรวดีช่วงที่งดงามที่สุด และมองเห็น สะพานอังวะ ที่เชื่อมระหว่างเมือง สกายน์ อังวะ และ อมรปุระ ที่อยู่กันคนละฝั่ง
อากาศยามแดดร่มลมตก ไม่ร้อนมาก กำลังสบายๆ มีลมพัดมาอ่อนๆ เป็นระยะๆ เรามาตั้งเครื่องบูชาบริเวณลานด้านนอกพระเจดีย์ มีแท่นรูปบาตรตั้งอยู่ตรงนั้นพอดี
เลยเป็นที่วางเครื่องบูชาได้อย่างเหมาะเจาะ
ระหว่างที่พี่หมวด พี่อัง และพี่ต่าย กำลังช่วยกันจัดเตรียมเครื่องบูชาอยู่นั้น พี่เจและพี่ก๊วยเจ๋ง ก็นำผ้าทองไปผูกที่รั้วพระเจดีย์
เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
พอเสร็จแล้ว ก็มานั่งล้อมวง ฟังพระอาจารย์เล่าประวัติความเป็นมาของพระเจดีย์แห่งนี้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์เคยมาที่นี่เมื่อปี พ.ศ.2539
ซึ่งเป็นการเดินทางมาพม่าครั้งแรก
ในครั้งนั้นต้องนั่งรถบัสไปที่เชิงเขา แล้วเปลี่ยนเป็นรถสองแถวต่อขึ้นไปบนเขาอีก ไม่ได้สะดวกสบายเหมือนสมัยนี้
ขณะที่รถวิ่งไปถึง ก็มีละอองฝนโปรยลงมาเล็กน้อย ทำให้ชาวคณะที่ร่วมเดินทางมากับพระอาจารย์ต่างปิติในพุทธานุภาพ
ประวัติพระเจดีย์สวอนอูโพนเยี่ยซิน
ตามประวัติเล่าว่า หลังจากที่องค์สมเด็จพระชินศรีได้เสด็จไปที่พุกามแล้ว พระองค์ได้เสด็จต่อมาที่ ภูเขาสกายน์ แล้วได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า
สถานที่แห่งนี้เคยมีพระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว 4 พระองค์ คือ
- สมัยพระพุทธกกุสันโธ ภูเขานี้เรียกว่า เศลาพับปฏะ
- สมัยพระพุทธโกนาคม เรียกว่า องคาจาระ
- สมัยพระพุทธกัสสป เรียกว่า ธัมมิกกะ
- สมัยตถาคต เรียกว่า นาคะธัตถะ หรือ ภูเขากบ
ครั้นแล้ว พระพุทธองค์ได้ตรัสเล่าต่อไปว่า เมื่อพระองค์เสวยพระชาติเป็น "กระต่าย" เคยอาศัยอยู่ที่ภูเขานี้ และเคยไปที่ภูเขามัณฑะเลย์
หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาทไว้ (คณะจะไปกราบไหว้ในวันต่อไป)
ต่อมาพ.ศ. 1856 มีอำมาตย์คนหนึ่งชื่อว่า ปุญญะมา ได้มาสร้างพระเจดีย์นี้ไว้ และตั้งชื่อว่า พระเจดีย์โพนเยี่ยซิน
หลังจากนั้นได้มีชาวบ้านมาถวายข้าวที่พระเจดีย์นี้เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่เคยมีใครได้ถวายเป็นคนแรกเลย ภายหลังจึงได้ทราบว่า
มีเทวดานำมาถวายเป็นคนแรกทุกครั้ง
จึงได้เปลี่ยนชื่อพระเจดีย์องค์นี้ว่า พระเจดีย์สวอนอูโพนเยี่ยซิน ภาษาพม่าแปลว่า ถวายข้าวเป็นครั้งแรก
เมืองสกายน์ นี้ เคยเป็นเมืองหลวงของพม่าเหนือ อยู่ในการปกครองของชาวรัฐฉาน ตั้งแต่ปี 1858-1907 จึงได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองอังวะ
ชาวพม่าเปรียบ เมืองสกายน์ เป็นเสมือนเชิงเขาพระสุเมรุอันลี้ลับ และบางคนถือว่า สกายน์ เป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาในพระพุทธศาสนา
มักจะพาลูกชายมาบรรพชาเป็น ฉินปิ้ว (สามเณร)
...หลังจากได้กราบสักการะ และถ่ายรูปหมู่ร่วมกันแล้ว ก็เดินกลับเข้ามาในวิหาร พวกเราเลยมองเห็น กบ ตัวใหญ่ หล่อด้วยสัมฤทธิ์
ตั้งอยู่คู่กับ กระต่าย ที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์เช่นกัน
ตามประวัติที่เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าได้เคยเสวยพระชาติเป็น พญากบ และ พญากระต่าย อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาก่อน ชาวพม่านิยมมาลูบคลำอยู่เสมอ
ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง จนหัวกบและกระต่ายแวววับจับตาทีเดียว
หลังจากแวะกราบพระประธาน ที่ประดิษฐานในวิหารแล้ว ก็ต้องแวะทำบุญ ซึ่งเป็นสิ่งที่พลาดไม่ได้ นับว่า เป็นบุญของพวกเรา ที่มาช่วงที่พระเจดีย์ กำลังบูรณะพอดี
เลยทำบุญกันเต็มที่ รวมแล้วแบ่งเป็นเงินบูรณะ 150,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้าอีก 50,000 จ๊าด
เราใช้เวลาที่นี่นานพอสมควร ตอนเรามาถึงวัด ฟ้ายังสว่างอยู่ แต่ตอนกลับออกมา ฟ้ามืดเสียแล้ว เลยได้เห็นบรรยากาศตอนกลางคืน ยามมีแสงไฟประดับประดา
ก็สวยงามไปอีกแบบ
คืนนี้คงไปไหนต่อไม่ได้แล้ว เพราะหมดโควต้า คงต้องกลับไปพักที่โรงแรมเดิม ตามที่จองไว้สองคืน วันพรุ่งนี้ ยังมีรายการสำคัญรออยู่อีกมาก
จึงขอกลับไปชาร์จแบตให้เต็ม พร้อมลุยต่อก่อนนะคะ โปรดติดตามต่อในตอนต่อไปค่ะ
รับรองว่า บุญใหญ่ๆ ทั้งน้าน โมทนาบุญร่วมกันนะคะ ลาไปก่อน
สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 10/3/19 at 14:15
[ ตอนที่ 57 ]
(Update 20 มีนาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบแปด) 31 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์)
ภูเขามัณฑะเลย์ (Mandalay Hill)
...เช้าวันนี้ (31 มกราคม 2561) พวกเรายังอยู่กันที่มัณฑะเลย์ โปรแกรมวันนี้ ต้องขึ้นเขากันอีกแล้ว ตั้งแต่มาพม่าเนี่ย รู้สึกว่า
จะกลายเป็นพวก มักใหญ่ใฝ่สูง ไปเสียแล้ว
มัก(ทำบุญ)ใหญ่ ใฝ่(ปีนเขา)สูง
นะคะ อย่าคิดมาก !
เขา
ที่เราจะไปในวันนี้ มีชื่อว่า เขามัณฑะเลย์ (Mandalay Hill) สถานที่ยอดฮิตในดวงใจนักท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของมัณฑะเลย์
นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่นักแสวงบุญนิยมเดินทางมากราบไหว้ด้วยเช่นกัน
ซึ่งบนภูเขาแห่งนี้ นับว่ามีสถานที่สำคัญ 2 แห่ง นั่นก็คือ "พระเจดีย์" และ "รอยพระพุทธบาท" ตามตำนานที่เล่าไว้เมื่อตอนที่แล้ว ณ ภูเขาสกายน์ว่า
พระพุทธองค์ได้เสด็จไปที่พุกามแล้ว ได้เสด็จต่อมาที่ ภูเขาสกายน์ แล้วได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า สถานที่แห่งนี้เคยมีพระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว 4 พระองค์ คือ
พระพุทธกกุสันโธ, พระพุทธโกนาคม, พระพุทธกัสสป, พระสมณโคดม และเคยเสด็จไปที่ภูเขามัณฑะเลย์ หลังจากนั้นได้ประทับรอยพระบาทไว้
โดยเฉพาะเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จยืนพยากรณ์ แต่ส่วนใหญ่คนไม่ค่อยให้ความสนใจ "รอยพระพุทธบาท" เท่าใดนัก
จึงสันนิษฐานว่าภูเขามัณฑะเลย์นี้ เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว 4 พระองค์เช่นกัน
พระเจดีย์ซูตองพญา (Su Taung Pyae Pagoda)
VIDEO
...เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) เป็นอดีตเมืองหลวง และเมืองใหญ่อันดับสองของพม่า ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี ห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศเหนือ 716
กิโลเมตร
ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2400 โดยพระเจ้ามินดง (King Mindong) พระองค์ทรงย้ายราชธานีจาก อมรปุระ มายังที่นี่ และตั้งชื่อตามภูเขามัณฑะเลย์
ที่อยู่ใกล้เคียง
คำว่า มัณฑะเลย์ เพี้ยนเสียงมาจากคำว่า มันดูลา หรือ มันดาลา หมายถึง วงล้อแห่งพลังอำนาจ หรือ มณฑลอันศักดิ์สิทธิ์ ชาวพม่าเชื่อกันว่า
พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับ ณ ที่แห่งนี้
แล้วทรงชี้พระหัตถ์ไปทางเมืองมัณฑะเลย์ ตรัสทำนายว่า พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองในเขตนี้ คงจะคล้ายกับดอยสุเทพที่เชียงใหม่
ลักษณะที่พระพุทธเจ้าประทับยืนชี้พระหัตถ์ คล้ายกับที่เมืองพุกาม หรือในเมืองไทย เช่นที่พระธาตุจอมกิตติ พระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย และพระธาตุเขาน้อย จ.น่าน
เป็นต้น
ตามประวัติบางแห่งเล่าว่า เมื่อครั้งในศาสนาพระกกุสันโธ พระพุทธโกนาคม และพระพุทธกัสสป แม้พระองค์เอง เมื่อครั้งยังเสวยพระชาติเป็นพญาสัตว์ต่างๆ
ก็ได้เคยอาศัยที่เขามัณฑะเลย์นี้ด้วยเช่นกัน
จากจุดสูงสุดบนยอดเขา เราจะเห็นความงดงามของเมืองมัณฑะเลย์ได้ทั้งเมืองแบบ 360 องศา แต่เป้าหมายของเรา ไม่ได้มาแค่ชมวิวเท่านั้น
ข้างบนยอดเขามีพระเจดีย์เก่าแก่ ชื่อว่า ซูตองพญา (Su Taung Pyae) ความหมายในภาษาพม่า แปลว่า พระเจดีย์สมปรารถนา
สันนิษฐานว่า สร้างโดย พระเจ้าอนุรุทธมหาราช หรือ พระเจ้าอโนรธามังช่อ (King Anawrahta) ปฐมกษัตริย์ผู้เกรียงไกรแห่งอาณาจักรพุกาม (Bagan) ในปี
พ.ศ.1595
ต่อมา มีการบูรณะเป็นระยะๆ โดยกษัตริย์ราชวงศ์คองบอง (Konbaung Dynasty) ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ก่อนสูญเสียเอกราชให้อังกฤษ
ภายในวิหาร ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ คือ พระกกุสันโธ พระพุทธโกนาคม พระพุทธกัสสป และพระสมณโคดม
รอบวิหาร มีระเบียงใหญ่โตกว้างขวาง สำหรับชมวิวทิวทัศน์เมืองมัณฑะเลย์ จากจุดนี้สามารถมองเห็นแม่น้ำอิรวดี พระราชวังมัณฑะเลย์ และวัดกุโสดอว์ได้ชัดเจน
นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ ที่ขุดพบที่แคว้นคันธารราษฎร์ ในประเทศอินเดีย มีอักษรจารึกว่า เป็นของ "พระเจ้ากนิษกะมหาราช"
ซึ่งทรงเป็นกษัตริย์หนึ่งในแปดพระองค์ของอินเดีย ที่ได้รับแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าที่เมืองกุสินารา
แต่ภายหลังไม่มีความสำคัญต่อชาวมุสลิม ที่ปกครองแคว้นคันธารราษฎร์ รัฐบาลอังกฤษจึงมอบให้พุทธสมาคมแห่งพม่าในปี พ.ศ.2451
ต่อมามีฤาษีตนหนึ่งชื่อ อูขันดี (U Khan Dee) รวบรวมศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวพม่า สร้างวิหารบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้น และสร้างศาสนสถานอื่นๆ
เพิ่มเติมบนภูเขาแห่งนี้
ทางขึ้นเขามีความสูง 236 เมตร มีทางขึ้นบันได 1,729 ขั้น รถตู้ของพวกเราสามารถขี้นเขาได้แบบสบายๆ พอถึงแล้ว มีทางเลือกว่า จะขึ้นลิฟต์ หรือ บันไดเลื่อน
ช่วงที่เราไปถึง เหมือนทางวัดกำลังมีงาน มีชาวบ้านนำขนมมาเลี้ยง บรรยากาศเลยดูคึกคักเป็นพิเศษ พระอาจารย์ได้พาคณะศิษย์แวะทำบุญเช่นเคย
แบ่งเป็นเงินบูรณะ 50,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้าอีก 20,000 จ๊าด รวมเป็น 70,000 จ๊าด
รอยพระพุทธบาท (The Buddhas Footprint)
...หลังจากกราบสักการะและถวายเครื่องบูชาพายในวิหารแล้ว พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้พาพวกเราเดินลงไปกราบรอยพระพุทธบาท ที่อยู่ด้านล่าง
ต้องเดินลงบันไดมาอีกหน่อย ซึ่งส่วนใหญ่คนที่มาไหว้พระ จะอยู่แต่ข้างบน ไม่ค่อยมีใครทราบว่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่ที่เนินเขาข้างล่างด้วย
ระหว่างทาง จะมีรูปปั้น นางยักษ์สันทมุขี (Sanda Muhki) ผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า นางจึงตัดเต้านมถวายเป็นพุทธบูชา พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์
พี่ชายของนางทูลถาม
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า สันทโมกขิต สั่งสมบุญบารมีมานาน ต่อไปในภายหน้า จะไปเกิดเป็น พระเจ้ามินดง กษัตริย์แห่งมัณฑะเลย์
และมีความเชื่อต่อว่า พระเจ้ามินดง มาเกิดเป็น ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย แต่วันนี้หารูปปั้นไม่เจอ เลยนำรูปจากอินเตอร์เน็ตมาลงให้ชมแทนนะคะ
รอยพระพุทธบาทอยู่บนริมหน้าผาแคบๆ ปัจจุบัน มีการทาสีทองทับ ด้วยเจตนาอยากให้เห็นชัดเจน ซึ่งต่างจากสภาพเดิมๆ (ดูคลิปปี 2539)
ที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์เคยมาเมื่อหลายปีก่อน ที่อยู่บนหินตามธรรมชาติ พอไปทาสีเข้า คนก็เลยนึกว่า ไม่ใช่ของจริง เป็นอย่างนั้นไป ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย
ก็อยากจะถือโอกาสฝากผู้ที่ดูแลรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นพระ หรือฆราวาส โปรดอย่าตกแต่งรอยพระบาทให้ผิดไปจากของเดิม
ไม่ว่าจะเป็นการขัดแต่งให้รอยชัดขึ้น หรือทาสีทองทับ เทวดาอารักษ์รอยพระบาทจะไม่พอใจ อาจจะเป็นโทษได้ ควรปล่อยไว้ในสภาพธรรมชาติแบบเดิมๆ นั้นดีที่สุด
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้นำคณะกล่าวคำถวายเครื่องบูชา อันมีแผ่นทอง พวงมาลัยดาวเรือง ดอกไม้ อัญมณี ดอกบัวแก้ว ผ้าทอง น้ำอบน้ำปรุง และของหอมทั้งหลาย
พร้อมกับตั้งจิตกราบแทบพระบาทองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวพม่าก็มาเมียงมองดูด้วยความสนใจ พอเราเก็บของ เดินออกมาแล้ว
พวกเขาก็ลงมากราบไหว้บูชาตามอย่างเราบ้าง
หลังจากเสร็จพิธีแล้ว พวกเราก็ลงจากเขาพร้อมกับความปิติอิ่มเอมใจ ที่ได้ดั้นด้นมากราบรอยพระพุทธบาทบนเขามัณฑะเลย์ได้สำเร็จสมความตั้งใจ
เป็นอีกหนึ่งบุญใหญ่ในชีวิต ที่จะจดจำไว้เป็นพุทธานุสติตลอดไปไม่ลืมเลือนค่ะ
ในตอนหน้าจะพาทุกท่านไปกราบพระเจดีย์ที่สร้างโดยพระเจ้ามินดงอีกแห่งหนึ่ง รอติดตามไปพร้อมๆ กันนะคะ มิงกะลาบา !!!
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 15/3/19 at 06:38
[ ตอนที่ 58 ]
(Update 25 มีนาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบแปด) 31 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์)
พระเจดีย์กุโสดอว์ (Kuthodaw Pagoda) เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay)
...หลังจากลงจากเขามัณฑะเลย์แล้ว สถานที่ต่อไปอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากเชิงเขาเท่าใดนัก รถวิ่งมาสักพัก ก็มาถึง วัดกุโสดอว์ (Kuthodaw
Temple) อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองมัณฑะเลย์
ถึงตอนนี้ บรรยากาศเศร้าเล็กน้อย เพราะมีสมาชิกหนุ่มหล่อคนหนึ่ง ต้องนั่งเครื่องกลับกรุงเทพไปก่อน เนื่องด้วยติดภารกิจหน้าที่การงาน นั่นก็คือ
เฮียก๊วยเจ๋ง พี่ใหญ่ของน้องๆ นั่นเอง
หลังจากร่ำลากันเรียบร้อย และส่งเฮียก๊วยเจ๋งขึ้นรถตู้ไปส่งที่สนามบินแล้ว พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้นำสมาชิกคณะตามรอยพระพุทธบาทที่เหลือ เข้าไปทำบุญด้านใน
ตามมาพร้อมๆ กันเลยนะคะ
ตอนแรกที่มองจากข้างนอก ก็นึกว่า คงได้กราบไหว้กันเฉยๆ ไม่น่ามีอะไร แต่พอเข้ามาข้างในแล้ว ก็ได้เฮกันอีกหน
เพราะพระเจดีย์องค์เล็กสีขาวที่เรียงรายกันอยู่หลายร้อยองค์กำลังบูรณะทาสีใหม่ จังหวะที่พวกเรามาพอดี
ไม่รู้ว่า เป็นเหตุบังเอิญหรือเปล่า ที่คนขับรถตู้พาเรามาเข้าทางเข้าอีกทางหนึ่ง ปกติส่วนใหญ่จะเข้าทางประตูด้านหน้า ซึ่งตกแต่งอย่างสวยงาม
พวกเราเลยเห็นว่า มีการบูรณะ ถ้าใช้ทางเข้าหลัก ก็จะไม่เห็น
ฉะนั้น จะรอช้าอยู่ใย พระอาจารย์เลยแวะทำบุญก่อน แบ่งเป็นเงินบูรณะ 200,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 100,000 จ๊าด รวมทั้งสิ้น 300,000 จ๊าด
เมื่อปี พ.ศ.2549 พระอาจารย์ได้มาที่นี่เป็นครั้งแรก ช่วงนั้นก็ถือว่า เป็นจังหวะดีเหมือนกัน
เพราะทางวัดกำลังหาเจ้าภาพบูรณะมณฑปที่ประดิษฐานจารึกพระไตรปิฎกอยู่พอดี
ทางคณะเลยได้เป็นเจ้าภาพซ่อม ลำดับที่ 73 และ 74 พอกลับมาเมืองไทย ปรากฏว่า งวดนั้นออกเลขท้ายสองตัวตรงพอดี ไม่รู้ว่าจะมีใครโชคดีบ้างไหม
ประวัติความเป็นมาวัดกุโสดอว์
VIDEO
...วัดกุโสดอว์นี้ สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้ามินดง (King Mindong) แห่งราชวงศ์คองบอง ในปี พ.ศ.2400 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สร้างพระราชวังมัณฑะเลย์
หลังจากย้ายเมืองหลวงมาที่นี่ เพื่อใช้เป็นอนุสรณ์สถานการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 5
ด้วยการจารึกพระไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์ ลงบนหินอ่อนจำนวน 729 แผ่น จนได้รับการขนานนามว่า เป็นหนังสือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์พม่า ที่มีการจารึกด้วยภาษาบาลีทั้งหมด โดยคณะสงฆ์ทั่วประเทศพม่า 2,400 รูป
จารึกพระไตรปิฎกทั้งหมดได้ถูกนำมาประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปสีขาว สร้างในปีพ.ศ. 2415 ตั้งรายล้อมพระเจดีย์มหาโลกะมาระชิน (Maha Lawka Marazein Pagoda)
พระเจดีย์สีทองที่จำลองแบบมาจาก พระเจดีย์ชเวซิกอง ที่พุกาม
ในปี พ.ศ.2428 หลังจากอังกฤษได้เข้ายึดครองพม่า ได้ทำลายพระเจดีย์ และขโมยทองคำ ตลอดจนอัญมณีเพชรนิลจินดาบนยอดฉัตรพระเจดีย์ไป
อีกทั้งยังลอกทองบนตัวอักษรบนจารึกไปด้วย
ภายหลังอังกฤษได้มอบเอกราชคืนให้แก่พม่า ประชาชนชาวพม่าได้ช่วยกันบูรณะพระเจดีย์ และจารึกพระไตรปิฎกให้กลับคืนสภาพดีดังเดิม
หลังจากนั้น พระอาจารย์ได้แวะกราบพระประธานในวิหาร เป็นพระพุทธรูปสีทองทรงเครื่องจักรพรรดิ์ ที่งดงามมาก
พร้อมทั้งถวายผ้าทองห่มองค์พระ เสร็จแล้ว ก็ได้ออกมาถ่ายรูปร่วมกันที่ด้านหน้าพระเจดีย์
แดดตอนสายๆ ร้อนเอาเรื่อง สาวๆ ในคณะเลยแวะประแป้งทานาคากับสาวพม่า ที่เดินขายรูปวาดที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวในวัด
ดูแล้วก็พอจะกลมกลืนไปกับสาวๆ ที่นี่ได้เหมือนกัน ว่ามั้ยคะ ในตอนหน้า จะพาไปไหน ยังไม่บอก อย่าลืมติดตามในตอนต่อไปนะคะ
สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 20/3/19 at 14:10
[ ตอนที่ 59 ]
(Update 5 เมษายน 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบแปด) 31 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์)
วัดพระพุทธรูปหินอ่อนเจ๊าตอว์ยี (Kyauktawgyi Buddha Image Temple) เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay)
...หลังจากออกจากวัดกุโสดอว์แล้ว ยังพอมีเวลาก่อนฉันเพล
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้พาพวกเราไปที่วัดพระพุทธรูปหินอ่อนองค์ใหญ่อีกแห่งหนึ่งในมัณฑะเลย์
ถ้ายังพอจำกันได้ เมื่อวานนี้เราก็ไปวัดชื่อเดียวกันนี้ แต่อยู่อมรปุระ คำว่า เจ๊าตอว์ยี (Kyauktawgyi) ในภาษาพม่า หมายถึง พระพุทธรูปหินอ่อน
เฉกเช่นวัดพระพุทธรูปหินอ่อนที่ใหญ่ที่สุดในพม่า ที่อยู่ที่ย่างกุ้ง ก็ใช้ชื่อว่า เจ๊าตอว์ยี เช่นเดียวกัน
หากเราจะหลงไปผิดที่ ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก เพราะชื่อซ้ำกันนั่นเอง สังเกตว่า วัดนี้จะดูคึกคักกว่าวัดเจ๊าตอว์ยีที่อมรปุระ
อาจเป็นเพราะอยู่ใกล้เขตเมืองมากกว่าก็เป็นได้
สำหรับประวัติที่นี่ สร้างโดยพระเจ้ามินดง แห่งราชวงศ์คองบอง เริ่มสร้างตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2396 ได้แรงบันดาลใจจาก "พระเจดีย์อนันดา" ของพุกาม
แต่กว่าจะแล้วเสร็จ ก็ล่วงเลยจนถึงพ.ศ. 2421
สืบเนื่องจากเกิดเหตุความไม่สงบในประเทศ และเกิดการกบฏ การก่อสร้างจึงหยุดชะงักลง แต่ก็สร้างต่อจนสำเร็จในที่สุด
จุดเด่นของพระพุทธรูปหินอ่อนองค์นี้คือ สร้างจากหินอ่อนสีเขียวอ่อนเพียงก้อนเดียว ขนาดน่าจะใหญ่มหึมามาก
เพราะต้องใช้กำลังคนในการขนย้ายจากเมืองสกายน์มาที่มัณฑะเลย์ราวๆ 10,000 - 20,000 คน ใช้เวลา 13 วันกว่าจะมาถึง
แหม..ต้องยอมรับหัวใจศรัทธาของคนพม่าสมัยก่อนจริงๆ นะคะ ที่อุทิศแรงกายแรงใจเพื่อพระพุทธศาสนา จนกลายมาเป็น พระพุทธรูปหินอ่อนเจ๊าตอว์ยี
อันงดงามในปัจจุบัน
ป่านนี้คนที่มีส่วนร่วมสร้างคงไปเสวยผลบุญบนสวรรค์กันหมด ด้วยอานิสงส์ในการสร้างพระพุทธเจ้า บุญย่อมหาประมาณมิได้
ช่วงที่เราไปถึง ทางวัดกำลังมีการบูรณะยอดพระเจดีย์วิหารอยู่พอดี แม้จะเป็นยอดเล็กๆ ไม่ใหญ่มาก แต่อานิสงส์ไม่เล็กเลยนะคะ เลยต้องปรับปรุงวิมานกันหน่อย
พระอาจารย์ร่วมทำบุญบูรณะที่นี่ 30,000 จ๊าด หลังจากกราบไหว้บูชาองค์พระพุทธรูปหินอ่อนองค์ใหญ่ด้านในวิหารเรียบร้อยแล้ว
พวกเราก็ทยอยเดินออกมา ระหว่างทางก็มีร้านขายของที่ระลึกคอยดึงดูดสมาธิเป็นระยะๆ แต่พวกเราก็ทำเป็นใจแข็ง ผ่านด่านมาได้
ลืมเล่าไปค่ะ ที่นี่เค้าจะมีซุ้มวางท่อนทานาคาให้ฝน เพื่อเพิ่มความนวลเนียนแก่ใบหน้า ตามสุภาษิต เข้าเมืองตาหลิ่ว ก็ต้องหลิ่วตาตาม สาวๆ
ในคณะเลยไปลองฝนกันใหญ่ ถือเป็นความประทับใจอีกแบบหนึ่ง
เวลาล่วงเลยมาจนจะใกล้เที่ยง เราเลยต้องแวะหาที่รับประทานอาหารกลางวันในเมือง มาลงตัวที่ร้านโกลเด้นดั๊ก
ร้านอาหารจีนชื่อดังของพม่า มีอยู่หลายสาขาตามเมืองใหญ่ๆ จากจุดที่นั่งอยู่จะมองเห็นวิว "พระราชวังมัณฑะเลย์" อยู่บนถนนฝั่งตรงข้าม
หลังจากจัดการกับอาหารที่ทางร้านทยอยมาวางจนหมดเกลี้ยงอย่างรวดเร็วแล้ว พวกเราก็พร้อมจะออกเดินทางต่อ ไปยังเมืองพินอูลวิน (Pyin Oo Lwin)
เมืองตากอากาศที่มีกลิ่นอายอังกฤษ ต้องยกนิ้วให้เลยค่ะ ว่าสวยสมคำร่ำลือจริงๆ
อดใจรอก่อนนะคะ ระหว่างทางไปพินอูลวิน ยังมีเซอร์ไพรส์บุญใหญ่แบบไม่ได้ตั้งใจอีกค่ะ จะเป็นอะไร ติดตามต่อในตอนหน้านะคะ
มิงกะลาบา..!"
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 25/3/19 at 13:50
[ ตอนที่ 60 ]
(Update 10 เมษายน 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบแปด) 31 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน) พระเจดีย์ซินะมันอ่อง (Zina Manaung Pagoda) เมืองพินอูลวิน (Pyin Oo Lwin)
...หลังจากเสร็จจากอาหารมื้อกลางวันแล้ว ชาวคณะได้ออกเดินทางต่อไป เพื่อกราบไหว้พระพุทธรูปที่สำคัญชื่อ "พระมหาอานชุกานดา" (Maha
Ant Htoo Kan Thar) เมืองพินอูลวิน
ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านไปยังเมืองหนองโจ้ (Naung Hkio) จุดหมายปลายทางของเราในค่ำคืนนี้ วันรุ่งขึ้นก็จะเดินทางสู่ "อาณาแสนหวี" คือเมืองสีป่อ (Hsipaw)
ต่อไป
ทั้งนี้ ท่านมีเป้าหมายในตอนขากลับ คือนั่งรถไฟสายสุดเสียวข้ามสะพานก็อกเต็ค (Gok teik) อันลือชื่อ โดยเฉพาะชาวต่างประเทศนิยมมากเป็นที่สุด
ระหว่างทางจากมัณฑะเลย์ไปพินอูลวิน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าประมาณ 60 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างคดเคี้ยว *(ถ้าดูตามแผนที่จะเข้าใจง่ายค่ะ)
ผ่านยอดเขาสูงชันตลอดทาง ดีที่คนขับรถตู้ของเราประสบการณ์สูง จึงพาพวกเราทั้ง 13 ชีวิตผ่านพ้นเหตุการณ์ต่างๆ มาได้อย่างปลอดภัย
พอเข้าเขตเมืองพินอูลวิน เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่าง สังเกตเห็นว่า วิวทิวทัศน์สองข้างทางดูเขียวขจี และอุดมสมบูรณ์ ต่างจากพื้นที่อื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด
อากาศที่นี่บริสุทธิ์สดชื่น เนื่องจากอยู่บนภูเขาระดับความสูงประมาณ 1,070 เมตร อากาศเลยหนาวเย็นตลอดทั้งปี จนกลายเป็นเมืองตากอากาศอันดับต้นๆ ของพม่า
เมืองเมย์เมี้ยว หรือพินอูลวิน
...ในอดีตเมืองนี้เคยเป็นฐานบัญชาการรบ และปราบพวกกบฏของอังกฤษ หลังจากระบอบกษัตริย์ของพม่าได้ล่มสลายลง
ทหารของอังกฤษส่วนใหญ่เป็นพวกทหารรับจ้างจากอินเดียและเนปาล ภายหลังอังกฤษได้คืนเอกราชแก่พม่าในปี พ.ศ.2490
พวกทหารเหล่านี้ไม่อยากกลับประเทศถิ่นฐานเดิมของตน เลยแต่งงานอยู่กินกับสาวพม่า จนออกลูกออกหลาน หน้ากระเดียดไปทางแขกอินเดีย ตามตำรา ผิวพม่า นัยน์ตาแขก
นั่นเอง
เมืองพินอูลวิน นี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่า เมย์เมี้ยว (Maymyo) คำว่า เมย์ มาจากชื่อของ พันเอกเมย์ นายทหารอังกฤษที่ถูกส่งมาปราบกบฏในยุคนั้น ส่วน
เมี้ยว เป็นภาษาพม่า แปลว่า เมือง เมื่อรวมกัน แปลว่า เมืองพันเอกเมย์
...หลังจากหลุดพ้นจากเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ พม่าก็กลับมาเรียกชื่อเดิมว่า พินอูลวิน เหมือนเก่าก่อน สภาพอาคารบ้านเรือนในพินอูลวิน
ก็ยังมีกลิ่นอายอังกฤษอยู่ ถ้าถามว่า สวยไหม ก็ต้องตอบว่า สวยค่ะ
แต่เราคงไม่มีเวลาแวะชมความงามของเมืองตากอากาศแห่งนี้มากนัก โดยเฉพาะที่มีชื่อเสียงของเมืองนี้ก็คือ ถ้ำเป๊กชิงเหม่ว (Peik Chin Myaung Cave)
ภายในมีพระพุทธรูปมากมาย คงได้แต่นำคลิปมาให้ชมแทน
VIDEO
ก่อนถึงเมืองพินอูลวิน ตอนแรกนึกว่า คงไม่มีอะไร แต่ที่ไหนได้ พอเข้าเขตพินอูลวิน ก็เจอบุญใหญ่เข้าแบบเต็มๆ
พอรถขับผ่านไปแล้ว มีคนตาดีเห็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่กำลังเข้าเฝือกอยู่ พระอาจารย์ชัยวัฒน์จึงให้เลี้ยวรถกลับไปทำบุญแบบด่วนจี๋ เพื่อไม่ให้เสียเวลา
ถ้าเราไม่แวะ คงต้องเสียใจกันหนักมาก เพราะพระเจดีย์แห่งนี้ ซึ่งมีนามว่า พระเจดีย์ซินะมันอ่อง (Zina Manaung Pagoda) กำลังบูรณะทั้งยอดฉัตรและพระเจดีย์
ยิ่งรู้มาว่า ผ่านมา 26 ปี เพิ่งได้บูรณะ ก็ยิ่งปิติมากขึ้นไปอีก นับว่า เป็นบุญจัดสรรโดยแท้ ที่ชาวบ้านเขาร่วมสร้างกันเอง
โดยไม่มีงบจากทางราชการช่วยเหลือแต่อย่างใด
บุญใหญ่หายากแบบนี้ เลยต้องทำบุญกันเเต็มที่ พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ร่วมบูรณะ 250,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 50,000 จ๊าด รวมเป็น 300,000 จ๊าด
เจ้าหน้าที่ของวัดเห็นความศรัทธาของพวกเรา เลยอัญเชิญยอดฉัตรที่ถูกเก็บรักษาอย่างดี เพื่อรอเวลายกฉัตร มาให้พวกเราได้กราบไหว้ สรงน้ำ ปิดทองอย่างใกล้ชิด
การบูรณะจวนจะใกล้แล้วเสร็จเต็มที เพราะจะมีการฉลองยกฉัตรในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2561 นับว่า เป็นบุญของพวกเราจริงๆ ค่ะ ที่ได้มาทำบุญทันเวลาพอดี
หลังจากถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึกแล้ว ชาวคณะก็ได้ออกเดินทางไปต่อ ที่พินอูลวินยังมีพระเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งหนึ่ง แอบหยอดไว้นิดหนึ่งว่า งดงามมากๆ
ไม่แพ้ที่อื่น โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปนะคะ
สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 5/4/19 at 06:12
[ ตอนที่ 61 ]
(Update 15 เมษายน 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบแปด) 31 มกราคม 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน) พระมหาอานชุกานดา (Maha Ant Htoo Kan Thar Buddha Image) เมืองพินอูลวิน (Pyin Oo Lwin)
...โปรแกรมสุดท้าย
ท้ายสุดของวันนี้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้นำชาวคณะตามรอยฯ ไปกราบพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองพินอูลวิน (Pyin Oo
Lwin) นามว่า พระมหาอานชุกานดา (Maha Ant Htoo Kan Thar)
เวลาบ่ายคล้อย ใกล้จะเย็นแบบนี้ ผู้คนที่เดินสวนกับเราค่อนข้างบางตา มุมมองจากภายนอก ดูเผินๆ พระเจดีย์นี้มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับพระเจดีย์ชเวดอว์
(Shwedaw Pagoda) ที่กรุงย่างกุ้งอย่างกับฝาแฝด
ด้วยลักษณะอาคาร สร้างเป็นหน้ามุข 4 หน้า ด้านบนหลังคาทำเป็นเจดีย์รูประฆังคว่ำ ในมหาวิหารมีพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ ปางเดียวกัน
ภายนอกว่างามแล้ว พอเเหยียบย่างเข้าไปในวิหาร ภายในก็สวยสดงดงามเป็นสีทองอร่าม อลังการไม่แพ้กัน
ต้องยอมรับว่า พม่าเขามีศรัทธาสูงมาก ศาสนสถานต่างๆ ล้วนสร้างด้วยวัสดุอย่างดี อีกทั้งเวลาบูรณะ เขาก็ทำกันจริงจัง ทำให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา
พระมหาอานชุกานดา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่อัญเชิญมาจากมัณฑะเลย์ (Mandalay) มีประวัติเล่าไว้ใน หนังสือตามรอย เล่มที่ 4 ดังนี้ว่า
ประวัติพระมหาอานชุกานดา
VIDEO
...ประวัติเดิมเล่าว่า เป็นพระพุทธรูปที่พ่อค้านำมาจากมัณฑะเลย์ เพื่อไปส่งที่เมืองจีน ครั้นนำมาถึงตรงตำแหน่งที่สร้างวัดแห่งนี้ พระก็หล่นลงมา
ถึงแม้เอารถเครนมายก ก็ไม่ขึ้น พอชาวบ้านขอซื้อพระองค์นี้ไว้ จึงสามารถยกขึ้นได้อย่างอัศจรรย์ภายใน 6 ชั่วโมงเท่านั้น
ต่อมาจึงได้มาสร้างเป็นวัด ในระหว่างนั้นก็เกิดแสงรัศมีขึ้นบนเขา และภายในคืนนั้นก็มีงูตัวใหญ่เลื้อยเข้ามาในวัด
พระมหาอานชุกานดา ทำด้วยหยกขาว มีแสงทะลุเข้าไปข้างในได้ วัดแห่งนี้สร้างโดยเงินของชาวบ้านร่วมกันเป็นเงิน 300 กว่าล้านจ๊าด ใช้เวลาสร้าง 1 ปี
ที่เมเมี้ยวนี้มีคนรวยมาก เพราะเส้นทางค้าขายจากเมเมี้ยว สามารถทะลุไปเมืองต้าลี่ (ตาลีฟู) ประเทศจีนได้
พระอาจารย์ชัยวัฒน์เคยมาที่นี่แล้ว 2 ครั้ง โดยในครั้งแรก ในปี พ.ศ.2543 ถัดมาครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2553 ตอนมาครั้งแรก บริเวณแถวนี้ ยังเป็นป่าอยู่
ไม่ได้เจริญดังเช่นปัจจุบัน
พอมาครั้งนี้ ตรงกับช่วงที่วัดกำลังบูรณะปิดทองพระเจดีย์อยู่พอดี เป็นเรื่องของบุญจัดสรรอีกแล้ว เลยร่วมบูรณะ 200,000 จ๊าด และทำบุญค่าไฟฟ้าอีก 50,000 จ๊าด
รวมแล้วเป็นเงิน 250,000 จ๊าด ขอเชิญโมทนาร่วมกันนะคะ
ด้านในวิหารยังเรียงรายไปด้วยตู้กระจกเก็บของมีค่า อันมีอัญมณี แก้วแหวนเงินทอง เพชรพลอย ที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายเป็นพุทธบูชา ละลานตาเต็มไปหมด
พวกเราก็ขอถือโอกาสโมทนากับเจ้าภาพด้วยนะคะ
ครั้นได้ทำบุญ และกราบไหว้ขอพรพระเรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์และชาวคณะได้ออกมาเดินชมความงามภายนอก ก่อนแสงสุดท้ายจะหายไป
สีทองของพระเจดีย์อร่ามเรืองรองเปล่งประกายตัดกับแสงแดดยามเย็น สวยงามจริงๆ ค่ะ
เดินไปเดินมา ก็มาเจอกับคู่บ่าวสาวชาวพม่า แต่งกายสวยงามในชุดประจำชาติ มาถ่ายรูป Pre-wedding พอดี พวกเราเลยขอถ่ายรูปด้วยไว้เป็นที่ระลึก
อิ่มเอมใจกับบุญที่ได้ทำในวันนี้ แล้วก็ออกเดินทางกันต่อ คืนนี้เราต้องพักกันที่เมืองหนองโจ้ (Naung Hkio) ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก
เพราะคนไทยไปเที่ยวกันน้อย
ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติที่ชอบเที่ยวแบบเจาะลึก พวกเราไม่ได้หวังแบบผจญภัยเช่นนั้น แต่เส้นทางมันบังคับให้ต้องเสี่ยงกัน
อย่าว่าแต่เรื่องเส้นทางที่คนไทยไม่ค่อยไปกันแล้ว แม้แต่ที่พักก็ยังไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร เมือง Naung Hkio นี้ตามที่คนไทยตั้งชื่อให้เรียกง่ายๆ ว่า
"หนองโจ้" กับ "หนองเป็ง" Nawng peng
ซึ่งมีสถานีรถไฟอยู่ตาม Google Map ที่นำมาแสดงไว้นี้ โดยมีสะพานก๊อกเต็ค (Gok teik) อยู่ระหว่างสองเมืองนี้แหละ
เส้นทางนี้พระอาจารย์ทำการบ้านไว้ล่วงหน้าเป็นเดือน กว่าจะวางแผนไปกันได้
โดยแผนการเดินทางทุกวันจะผิดพลาดไม่ได้ เพราะกำหนดการบังคับตลอด 29 วัน ว่าจะต้องไปถึงจุดนั้นจุดนี้ให้ได้ตามที่วางแผนไว้
ฉะนั้น ฝ่ายพี่หมี กัญญาวีร์ คอยค้นหาข้อมูลภาษาอังกฤษจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เจ๊มายินก็มีลูกน้องคอยแปลจากภาษาพม่า ส่วนที่ติ๋ม อภิญญา
มีหน้าที่จองที่พักจากข้อมูลเหล่านี้ โดยการจองที่พักไว้ที่ Naung Hkio Hotel
เมื่อพวกเราเดินทางมาถึงที่พักในเวลาเย็นใกล้ค่ำ พระอาจารย์จำเป็นต้องตัดการไปชมถ้ำเป๊กชิงเหม่ว (Peik Chin Myaung Cave)
ที่ภายในมีพระพุทธรูปมากมายด้วยความเสียดาย
สำหรับที่พักตามที่เล่าไปแล้วว่า จำเป็นต้องเสี่ยงจองไว้ล่วงหน้า เพราะค้นหาจากกูเกิ้ลก็มีแค่ที่นี่แห่งเดียว ในใจก็คิดว่า
จะเป็นเหมือนกับที่ผ่านมาหรือไม่
แต่พวกเราก็โชคดี ปรากฏว่าพอไปถึงหน้าโรงแรมก็แฮปปี้กันแล้ว เพราะเกินความคาดหมายนั่นเอง ทุกคนช่วยกันขนกระเป๋าเข้าที่พักทันที
โดยพรุ่งนี้มีโปรแกรมไปเมืองสีป่อ หรือสีป้อ (Hsi Paw) ซึ่งเป็นเมืองโบราณ ย้อนยุคไปสมัยเจ้าหญิงแสนหวีโน่นเลย
และขากลับยังมีไฮไลต์ เป็นการเดินทางด้วยรถไฟสายหวาดเสียว แต่สวยงามตามธรรมชาติ ข้ามสะพานก๊อกเต็ค (Gok teik) อันลือชื่อ
ที่ไม่น่าจะสร้างได้ในช่องว่างระหว่างภูเขา
เพราะขาไปพระอาจารย์กลัวเจอนักท่องเที่ยวเยอะๆ จึงวางแผนไว้ตอนขากลับแทน นี่เป็นแผนการณ์ที่ท่านวางไว้อย่างแยบยล
แหม..แค่ฟังแค่นี้ คืนนี้คงจะนอนไม่หลับ เพราะตื่นเต้นเป็นแน่ แต่ที่ไหนได้ พอหัวถึงหมอน ก็หลับคร่อกๆ อีกตามเคย เอาเป็นว่า
รออ่านตอนหน้าแล้วกันนะคะ
สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 10/4/19 at 09:32
[ ตอนที่ 62 ]
(Update 20 เมษายน 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบเก้า) 1 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ) พระเจดีย์ป่อจู ( Bawgyo Pagoda) เมืองสีป่อ (Hsipaw)
...เช้าวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 นับถึงวันนี้ เราได้เดินทางแสวงบุญในพม่าเข้าสู่วันที่ 19 แล้ว (ตามโปรแกรม 29 วัน) ไม่น่าเชื่อว่า
เราได้เดินทางค่อนประเทศมาเกินครึ่งทางแล้ว
ในแต่ละวัน เราใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเดินทางจากเมืองโน้นสู่เมืองนี้ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย (แต่อาจจะเมื่อยนิดๆ เพราะนั่งรถนานไปหน่อย)
เพราะมัวแต่ทำบุญกันจนเพลิน แล้วก็ตื่นเต้นไปกับการเดินทาง จนลืมวันลืมคืนว่า อีกไม่กี่วันก็ต้องกลับมาตุภูมิแล้ว
เราออกเดินทางจากโรงแรมในเมืองหนองโจ้ (Naung Hkio) แต่เช้า อากาศเช้านี้ออกจะเย็นกว่าที่เคย เนื่องจากเราอยู่ค่อนมาทางเหนือ
เลยต้องใส่เสื้อกันหนาวหนากว่าปกติ
ก่อนที่จะถึงไฮไลต์ของวันนี้ ที่รอคอยกันมานาน นั่นก็คือ การนั่งรถไฟข้ามสะพานก๊อกเต็ค (Gok Teik) ซึ่งเป็นสะพานรถไฟที่มีชื่อเสียงที่สุดในพม่า
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้จัดไว้เป็นโปรแกรมในช่วงบ่าย เพราะท่านได้ตรวจดูตารางการเดินรถไฟไว้แล้วว่า วันนี้รถไฟจะมาถึงสถานีหนองเป็ง (Nawng peng) เวลาเท่าไร
เพื่อจะได้ย้อนกลับมาให้ทันเวลาพอดี
ในตอนเช้า อากาศสดใส กำลังสบายแบบนี้ สถานที่แรกที่เราจะไปแวะกัน อยู่ก่อนถึงเมือง สีป่อ หรือ สีป้อ (Hsipaw) ประมาณ 8 กิโลเมตร
หากดูตามแผนที่ (Google Map) จะเห็นเส้นทางหมายเลข 3 สภาพถนนลาดยางดีตลอด แต่ช่วงที่จะผ่านหุบเขา ระหว่างเมืองหนองโจ้ไปเมืองหนองเป็งนั้น
เป็นหุบเขาที่สูงชัน
ในตอนนี้ สามารถมองดูเส้นทางรถไฟที่คู่ขนานไปกับถนนได้ จะเห็นว่าทางรถไฟคดเคี้ยวไปตามไหล่เขา ซึ่งพวกเราจะได้นั่งรถไฟในตอนขากลับ
เมื่อรถตู้ของเราสองคันวิ่งผ่านหนองเป็งไป โดยมีเป้าหมายเบื้องหน้า ได้แก่โบราณสถานคู่บ้านคู่เมือง "แสนหวี" ที่มีอายุมากกว่า 2000 ปี
ถ้ามา สีป่อ ก็ต้องมากราบ พระเจดีย์ป่อจู (Bawgyo Pagoda) พระเจดีย์ประจำเมือง และขึ้นชื่อว่า เป็นวัดที่สวยที่สุดในรัฐฉานค่ะ
ประวัติพระเจดีย์ป่อจู
VIDEO
...คำว่า ป่อจู หมายความว่า การกลับคืนสู่อ้อมอกพ่อ ป่อก็คือ "พ่อ" พูดสำนวนไทยว่า กลับคืนสู่แดนปิตุภูมิ นั่นเอง ตามประวัติที่เล่าไว้ในหนังสือ
"ตามรอยพระพุทธบาท" เล่ม 4 มีดังนี้
สถานที่นี้เดิมเคยเป็นที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น พญาหมูขาว เดิมเคยมีสระน้ำเล็กๆ พญาหมูขาวจะมาอาบน้ำที่สระน้ำนี้เสมอ
ภายหลังมีพระมาสร้างเป็นวัดขึ้น วัดนี้มีอายุมากกว่า 70 ปีแล้ว ภายในองค์พระเจดีย์มี พระพุทธรูป ที่แกะสลักด้วยไม้สักวา 4 องค์ เดิมมีอยู่ทั้งหมด 9 องค์
อยู่ที่แสนหวี 1 องค์ อีก 4 องค์ไม่รู้อยู่ที่ไหน
ไม้สักวาเป็นพืชที่มีดอกอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง ขาว แดง โดยสีเหลือง หมายถึง "พระพุทธเจ้า" พระพุทธรูปทั้งสี่องค์นี้ ประดิษฐานอยู่ในวิหาร
ข้างบนทำเป็นพระเจดีย์สีทองงดงาม
ในสมัยที่ พระเจ้าอนุรุทธ เป็นใหญ่ ในแคว้นไทยใหญ่นี้ ยังเป็นแคว้นเล็กๆ เจ้าเมืองมีธิดารูปงามชื่อว่า เจ้าหญิงโซโลมูน
ต่อมาถูกส่งให้ไปเป็นพระมเหสีของพระเจ้าอนุรุทธ ซึ่งเป็นที่โปรดปรานมาก จึงมีคนอิจฉา คอยใส่ร้ายว่า เป็นแม่มด
โชคร้ายที่พระราชาหลงเชื่อ จึงสั่งประหารชีวิต แต่เสนาอำมาตย์ได้กราบทูลขอชีวิตไว้ และช่วยเหลือให้หนีออกมาได้
ระหว่างที่เดินทางกลับแคว้นไทยใหญ่นั้น เจ้าหญิงได้ลงสรงน้ำที่สระน้ำ และทิ้งต่างหูเพชร ที่ติดตัวมาตลอดลงไปในสระน้ำแห่งนั้น (ปัจจุบันสร้าง
เจดีย์ชเวไจ้ยา เมืองอมรปุระ)
เมื่อเดินทางมาถึงที่เป็นพระธาตุป่อจูนี้ พระราชบิดาก็ออกมารับ เสมือนการกลับคืนสู่อ้อมอกของพ่อ ที่มีแต่ความเมตตาต่อลูกเสมอ
ดังในความหมายของพระธาตุแห่งนี้
วันที่เราไปถึง ดูเหมือนว่า วัดกำลังมีงานประจำปี มีร้านรวงต่างๆ มาออกร้านอยู่ด้านนอก แต่ช่วงเช้าส่วนใหญ่ยังปิดอยู่ เลยดูเงียบๆ
มีถุงพลาสติก และเศษขยะกระจายเกลื่อนพื้น ตามธรรมดาของงานวัดทั่วไป
แต่พอเข้าเขตวัด กลับสะอาดสะอ้าน เป็นระเบียบผิดกันมาก วิหารสวยสะดุดตา ตกแต่งด้วยสีทองตัดกับกระจกแก้วสีต่างๆ ที่ประดับประดา
สีโทนเขียวพาสเทลทำให้ดูอ่อนหวาน และงามสง่าน่าประทับใจ
ภายในวิหารจะมีพระเจดีย์สีทองรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสประดิษฐานอยู่ใจกลาง รอบๆ ฐานเจดีย์แต่ละทิศ จะมีพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานอยู่ทั้งสี่ทิศ
ที่ทางวัดเก็บรักษาไว้อย่างหวงแหน โดยมีลูกกรงเหล็กล็อคกุญแจอีกชั้นหนึ่ง
พอเห็นพระอาจารย์เดินเข้ามา เจ้าหน้าที่วัดได้ออกมาต้อนรับ โดยมีคุณชัย โชเฟอร์คนเก่งของเราช่วยเป็นล่ามให้เช่นเคย
ส่วนพวกผู้หญิงได้แต่นั่งกราบไหว้อยู่ด้านนอก เพราะมีป้ายห้ามผู้หญิงเข้าตั้งอยู่ที่ปาก ประตูทางเข้า
พระอาจารย์เลยนำรูปเก่าในหนังสือตามรอย เมื่อครั้งพระอาจารย์มาที่นี่ในปี 2543 ให้เจ้าหน้าที่วัดดู คราวนั้นได้ร่วมทำบุญ 8,000 จ๊าด
พอมาครั้งนี้ เห็นทางวัดกำลังทาสีกำแพงวัดอยู่พอดี เลยร่วมบูรณะ 140,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 60,000 จ๊าด รวมเป็น 200,000 จ๊าด ลงตัวพอดี
เจ้าหน้าที่วัดก็มีอัธยาศัยดี เห็นพวกเรามีศรัทธา เลยเปิดลูกกรงเหล็กให้พระอาจารย์เข้าไปปิดทอง สรงน้ำ และถวายผ้าทองพระพุทธรูปโบราณเป็นกรณีพิเศษ
สร้างความปลาบปลื้มใจให้แก่ผู้มาไกลอย่างพวกเรามาก
เสร็จแล้ว ก็มาถ่ายรูปร่วมกันที่ด้านนอก คุณลุงเจ้าหน้าที่วัดเห็นเราทำบุญกันเยอะ เลยมอบรูปพระเจดีย์ใส่กรอบอย่างดีถวายพระอาจารย์ เพื่อเป็นที่ระลึก
ดูจะเป็นธรรมเนียมของคนพม่า ที่จะมอบรูปภาพ (โดยเฉพาะเจ้าภาพรายใหญ่ จะมอบรูปที่ใส่กรอบไว้พร้อม) เพื่อให้ผู้ที่มาทำบุญให้นำกลับไปบูชาที่บ้าน
จนถึงตอนนี้ กรอบรูปที่ได้มาจากวัดต่างๆ มีอยู่เต็มรถไปหมด นึกไม่ออกว่า จะขนกลับกันยังไงเหมือนกันค่ะ
ในตอนหน้า ก็จะถึงตอนที่ทุกคนรอคอย การนั่งรถไฟข้ามสะพานก๊อกเต็ค (Gok Teik) จะหวาดเสียวอย่างที่จินตนาการไว้ไหม ไว้จะมาเล่าให้ฟังนะคะ
สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 15/4/19 at 13:42
[ ตอนที่ 63 ]
(Update 25 เมษายน 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่สิบเก้า) 1 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์)
สะพานรถไฟก๊อกเต็ค (Gok Teik)
VIDEO
...การเดินทางแสวงบุญในพม่าครานี้ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องทำบุญอย่างเดียว โปรแกรมในช่วงบ่ายที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์จัดพิเศษให้พวกเรา
เรียกได้ว่า ค่อนข้างเซอร์ไพรส์ก็ว่าได้ เพราะไม่นึกไม่ฝันว่า ครั้งหนึ่งในชีวิต จะได้มานั่งรถไฟสายหวาดเสียวและสวยงามของพม่า
ย้อนกลับไปเมื่อตอนเช้า หลังจากกลับออกมาจาก พระเจดีย์ป่อจู แล้ว พระอาจารย์ให้โชเฟอร์สองหนุ่มขับรถย้อนกลับไปส่งพวกเราที่เมืองหนองเป็ง (Naung Peng)
เพื่อขึ้นรถไฟไปยังเมืองหนองโจ้ (Naung Hkio) คือกลับไปที่เดิมที่เราออกจากจุดสตาร์ทมาเมื่อเช้านี้ เพราะพระอาจารย์ได้ศึกษาข้อมูลมาล่วงหน้าแล้วว่า
ถ้าขึ้นจากที่นี่ ผุ้โดยสารจะเบาบางกว่า
ระหว่างทางรถตู้แวะเติมน้ำมัน แอบสงสัยนิดหน่อยว่า ทำไมมีชาวบ้านซึ่งเป็นชาวไทยใหญ่มาออกันเต็มสองข้างทาง และยังจับกลุ่มกันลามเข้ามาในปั๊มน้ำมัน
เอ๊ะ
หรือว่า เค้าจะมารอต้อนรับพวกเรา (อันนี้มโนเองค่ะ)
ถามไถ่ได้ความว่า พวกเขามารอต้อนรับ ครูบาบุญชุ่ม เนื่องจากได้ข่าวว่า ท่านจะมาแวะเติมน้ำมันที่ปั๊มแถวนี้ จะเห็นได้ว่า
ชาวไทยใหญ่เคารพนับถือและศรัทธาท่านมากจริงๆ ค่ะ
ตอนที่ไปถึงสถานีรถไฟหนองเป็ง ก็เป็นเวลาฉันเพลพอดี มองหาร้านอาหาร ก็เห็นมีแต่ร้านเล็กๆ อยู่ร้านเดียว ขายอาหารพม่าแบบภูธรมากๆ
ดูแล้ว ท่าทางคงไม่รอด เลยต้องงัดบะหมี่สำเร็จรูปที่เจ๊หลี จารุภา ขนมาจากเมืองไทยมาประทังชีวิต ก็ทำให้ผ่านพ้นไปได้อีกมื้อหนึ่ง อีกทั้งพี่หนิง อุไรวรรณ
และเจ๊มายิน ต่างก็เตรียมไว้พร้อมเช่นกัน
พออิ่มท้องกันเรียบร้อย รถไฟก็แล่นมาจอดพอดี ถ้าเปรียบเทียบระหว่างรถไฟพม่ากับของไทยเรา ก็ไม่รู้ว่า จะเทคะแนนให้ใครดี เพราะสูสีกันมาก
พวกเราได้นั่งในโบกี้ที่ค่อนข้างดีหน่อย เก้าอี้นั่งสบายกว่าอีกตู้หนึ่ง
มีหมายเลขประจำที่นั่งด้วย แต่พอเอาเข้าจริง ก็นั่งสลับที่กัน จนฝรั่งบางคนเริ่มจะหัวเสียขึ้นมานิดๆ แต่ทุกอย่างก็ผ่านพ้นมาด้วยดี
พวกเราได้ที่นั่งกระจายกันไป ยังดีที่อยู่ตู้เดียวกัน ยังพอเดินไปมาหาสู่กันได้
สำหรับรถไฟก็อกเต็คนี้ ชื่อเต็ม (GokTeik Viaduct) เป็นสะพานรถไฟที่มีขื่อเสียงขจรขจาย ด้วยระยะทางที่ยาวที่สุดและเก่าที่สุดของพม่า
ที่ไม่ธรรมดาก็เพราะครองตำแหน่ง สะพานรถไฟที่สูงที่สุดในอาเซียน และเป็นอันดับสองของโลกอีกด้วย ด้วยความสูง 102 เมตร ยาว 689 เมตร
สะพานแห่งนี้สร้างเมื่อปี ค.ศ.1901 (พ.ศ.2444) โดยผู้รับเหมาชาวอเมริกัน แต่ควบคุมการก่อสร้างโดยวิศวกรชาวอังกฤษ ชื่อว่า Sir A.M. Rendel ร่วมกับบริษัท
Pennsylvania Steel Company of London
อุปกรณ์ชิ้นส่วนในการก่อสร้างเกือบทั้งหมด ถูกส่งมาทางเรือจากอเมริกาถึงท่าเรือย่างกุ้ง ใช้เวลาในการสร้างเพียงเก้าเดือนเท่านั้น
ถือเป็นผลงานชิ้นเอกของคนสมัยก่อน เพราะการสร้างสะพานรถไฟในหุบเขาลึกกว่า 200 เมตร แบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แฟ้มบุคคลต้องขอปรบมือให้จากใจจริงค่ะ
ต้องยอมรับว่า เส้นทางรถไฟผ่านเทือกเขาในรัฐฉานนี้ มันทั้งสุดเสียวและสุดสวย พวกเราตื่นตาตื่นใจไปกับวิวสองข้างทาง
ส่วนใหญ่จะเป็นป่าเขา ด้วยความจำเป็นที่จะต้องทำรางรถไฟผ่าน เนื่องจากเป็นช่องเขาขาด หมายถึงต้องอ้อมไปอ้อมมานั่นเอง (ดูตามแผนที่เส้นทางรถไฟ)
ถ้ามองลงไปเบื้องล่าง คนกลัวความสูงอาจจะต้องหลับตาปี๋ เพราะมันช่างสูงชันจริงๆ แต่ก็สวยมากเช่นกัน ลำธารน้อยๆ เบื้องล่างเป็นสีเขียวมรกตใสแจ๋ว
ดูแล้วน่าลงไปแหวกว่าย
ระหว่างทาง รถไฟได้จอดแวะแป๊บนึง ให้คนลงไปถ่ายรูป เก็บภาพความประทับใจ บางคนที่กล้าๆ หน่อย ก็ลงไปเดินบนขอบทางรถไฟที่ยื่นออกไป ดูแล้วน่าจะเป็นคนในพื้นที่
ถึงได้กล้าขนาดนั้น
โชคชะตาได้พาเรามาเจอกับสองแม่ลูกชาวพม่า ที่มีอัธยาศัยไมตรีอันดีงามคู่หนึ่ง คุยกันถูกคอประหนึ่งว่า เคยรู้จักกันมาก่อน
แม้ภาษาอังกฤษจะกระท่อนกระแท่นอยู่สักหน่อย แต่ก็พอสื่อสารกันรู้เรื่อง
เด็กน้อยผู้เป็นลูกสาวนั้นโชคดีมาก พระอาจารย์ท่านเอ็นดู เดินเอาขนมกับลูกอมมาแจก สองแม่ลูกเลยยิ้มแก้มปริด้วยความปลาบปลื้ม ชาวพม่าเค้าจะปลื้มเป็นพิเศษ
เวลาได้รับของจากพระ คงจะเห็นว่า เป็นสิริมงคลกระมัง
นั่งชมวิวกันเพลินๆ สักชั่วโมงกว่าๆ รถไฟก็แล่นเข้าเทียบชานชลาที่สถานีหนองโจ้ รถไฟยังไม่ทันจอดดี เราก็มองเห็นสองหนุ่มโชเฟอร์
มายืนยิ้มฟันขาวรอรับเราตามที่พระอาจารย์นัดแนะไว้
VIDEO
การเดินทางข้ามสะพานก๊อกเต็ค ก็สำเร็จลุล่วงเรียบร้อยโรงเรียนพม่า ท่ามกลางความประทับใจของพี่ไทยอย่างหมู่เฮา ต้องกราบขอบพระคุณพระอาจารย์ชัยวัฒน์ด้วยหัวใจ
ที่ท่านเมตตาจัดโปรแกรมนี้ให้พวกเราค่ะ
แต่ก็ทราบว่า ท่านต้องวางแผนอย่างรอบคอบ มีการเช็คข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอยู่เสมอ โดยพี่หมี กัญญาวีร์ คอยอ่านข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษ
พอจะทราบว่า เส้นทางที่ท่านจะเลือกเดินทางต่อไปนั้น จากหนองโจ้ไปทางทะเลสาบอินเล (Inle Lake) มีอยู่สองทางให้เลือก คือ..
1. ไปทางอ้อม (หนองโจ้ - มิถิลา - อินเล) คือย้อนกลับไปทางเดิม (ถนนหมายเลข 3) เมืองพินอูลวิน แล้วลงไปที่เมืองมิถิลา (Meiktila) หรือเมืองเมะทิลา
ตรงนี้เป็นสี่แยกทางหลวง
ถ้าเลี้ยวขวาก็ไปทางพุกาม หรือตรงไปทางเนปิดอว์ - ย่างกุ้ง แต่ถ้าไปจะทะเลสาบอินเล เราก็เลี้ยวซ้ายไปทางตองยี แต่ยังไม่ถึงตองยี
เราเลี้ยวขวาไปอินเลเลยก็ได้
2. ไปทางตรง (หนองโจ้ - ลอว์เส้าค์ - อินเล ) ต้องไปตามถนนหมายเลข 41
ซึ่งดูตามแผนที่ (Google Map) แล้ว จะเห็นว่าเป็นเส้นทางป่าเขาทั้งสิ้น ตรวจดูจากภาพดาวเทียมแล้ว มองหาบ้านคนยากเหลือเกิน
แต่ท่านผู้อ่านเชื่อไหมว่า พระอาจารย์ตัดสินใจเสี่ยงไปตามถนนเส้นนี้ เพราะถ้าดูตามแผนที่แล้ว จะเห็นว่าอ้อมไกลเหลือเกิน อีกทั้งถูกบังคับจากพี่ติ๋ม อภิญญา
ที่พยายามติดต่อหาที่พักที่เมืองมิถิลาก็ไม่ได้
เมื่อเป็นเช่นนี้ทุกคนก็พร้อมใจกันออกเดินทางทันที เริ่มตั้งแต่บ่ายๆ ขึ้นเขาลงเขาอยู่ตลอดเวลา บางครั้งทางลงเขาสูงชันมาก
ด้วยฝืมือโชเฟอร์ทั้งสองของอองซูทัวร์ จึงทำให้ปลอดภัยตลอดเส้นทาง
จึงขอย้ำเตือนว่า หากไม่จำเป็นไม่ควรมาเส้นนี้ แม้สภาพถนนลาดยางตลอด แต่ก็ไม่ค่อยมีรถวิ่งกัน โดยเฉพาะหากมาจากทางตองยี ไม่ควรขับรถขึ้นไปทางหนองโจ้
เพราะเป็นทางขึ้นเขาสูงชันมาก
แต่พวกเราโชคดีที่เป็นขาล่องลงมา จึงเพียงแค่ลงเขาอย่างเดียว แต่ก็หวาดเสียงพอๆ กับนั่งรถไฟนั่นแหละคะ กว่าจะถึงจุดหมายหลายทางก็เริ่มมืดแล้ว
เรียกว่าช่วงบ่ายเดินทางกันตลอด
ความจริงยังไม่ถึงทะเลสาบอินเล แค่ถึงทางแยกแค่นั้น นับตั้งแต่ออกเดินทางจากหนองโจ้ เพิ่งมองเห็นตลาดร้านค้ามากมาย ชื่อว่าเมือง ลอว์เส้าค์ (Lawksawk)
เป็นเมืองเล็กๆ ชื่อไม่คุ้นหู แต่ก็เจริญพอสมควร เพราะเป็นทางแยกเลี้ยวไปเมืองพินดายา (Pindaya) หรือตรงไปทางเมืองตองยี, ทะเลสาบอินเลก็ได้
ว่าแต่ว่า คืนนี้เราจะพักกันที่ไหนดี ยังไม่มีการแพลนไว้ พระอาจารย์ให้ขับรถไปเรื่อยๆ เป็นเรื่องบังเอิญที่มาเจอกับเจ้าของร้านขายโรตีชาชัก
ที่เคยทำงานอยู่ที่เกาะสมุยมา 13 ปี ก็เลยคุยกันเป็นภาษาไทย
ก่อนจะกลับที่พักแยกย้ายกันพักผ่อนจากโรงแรมที่อยู่ติดถนนใหญ่ สภาพก็สะดวกสบายพอสมควร แต่ก็ดีใจที่ได้ที่พักทันทีที่มืดค่ำพอดี
อาหารค่ำก็หารับทานกันแถวนั้น
เป็นอันว่า จบรายการเสี่ยงภัยสำหรับวันนี้ ที่พระอาจารย์ท่านวางแผนมาเป็นเดือน ทั้งการหาจังหวะขึ้นรถไฟ พร้อมทั้งหาเส้นทางกลับลงมาที่ "ทะเลสาบอินเล"
เพื่อไม่ให้เสียเวลากับการเดินทาง
จึงขอความกรุณาช่วยดูแผนที่ประกอบ จะเห็นว่าเส้นทางที่ผ่านมาตามเป้าหมาย "สีแดง" เรามาจากย่างกุ้งแล้วขึ้นเหนือไปที่แปร - ยะไข่ - พุกาม - โมนยั้ว -
ทะเลสาบอินดอว์ยี - กลับลงมามัณฑะเลย์ - สีป่อ
ตอนนี้เราล่องกลับลงมาที่ทะเลสาบอินเล แล้วจะลงมาเรื่อยๆ ที่เมืองเนปิดอว์ - ตองอู - ย่างกุ้ง นี่เป็นการวนรอบกลับมาที่เดิม เพื่อไปที่พระเจดีย์กลางน้ำ
(เยเลพญา) เมืองสิเรียม
แล้วต่อไปเมือง "พะสิม" จนไปถึง "พระเจดีย์มอตินซุน" สุดปลายแหลม "มหาสมุทรอินเดีย" นั่นแหละ อย่าลืมติดตามให้ได้นะคะ เพราะตามประวัติเล่าว่า
"มอตินซุน" องค์นี้สร้างก่อน "ชเวดากอง" เสียอีก
เพราะฉะนั้นการไปทุกทิศของพม่า ถ้าไม่วางแผนให้ดี เราอาจจะเสียเวลาหลายวัน แต่ละวันของเราก็มีค่าใช้จ่าย จากการเช่ารถตู้ 2 คันทุกวัน ค่าเติมน้ำมัน,
ค่าผ่านด่าน, ค่าอาหาร, ค่าที่พัก เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงต้องวางแผนให้รัดกุม เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะเรื่องกินเรื่องอยู่ไม่สำคัญ ขอให้เหลือเงินทำบุญเยอะๆ ก็พอใจแล้วคะ
วันนี้พวกเราทำสำเร็จแล้ว (แถมปลอดภัยด้วย) โมทนาด้วยกันนะคะ สำหรับตอนต่อไป เอาใจคนชอบน้ำชอบทะเล เราจะพาไปขึ้นเรือชม "ทะเลสาบอินเล"
ที่มีแนวภูเขาและท้องฟ้าเป็นขอบกั้น
รับรองว่า มีบุญใหญ่มาให้โมทนากันอย่างต่อเนื่อง ถ้าพลาดไป เสียดายแย่ แล้วพบกันตอนหน้านะคะ
มิงกะลาบา...
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 20/4/19 at 14:00
[ ตอนที่ 64 ]
(Update 30 เมษายน 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบ) 2 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล)
พระเจดีย์ชเวบอดี้ เมืองหนองชเว (Nyaungshwe Township)
...หลังจากเมื่อคืนได้ที่พักที่เมืองลอว์เส้าค์ (Lawksawk) เช้าวันนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2561) เราเก็บข้าวของออกเดินทางกันแต่เช้า
ตามแพลนที่พระอาจารย์วางไว้ว่า จะล่องกลับลงมา เพื่อไปทะเลสาบอินเล (Inle Lake)
อาหารเช้าวันนี้เป็นแบบเรียบง่าย พอดีที่โรงแรมที่เราพักไม่มีอาหารเช้าให้ ก็เลยแวะมาอุดหนุน คุณมีนา เจ้าของร้านโรตีชาชักชาวพม่า
ที่เคยไปทำงานที่เกาะสมุยอยู่ 13 ปี ร้านเดียวกับที่เรามารับประทานอาหารเมื่อวาน
ส่วนในตอนเช้า ก็จะมีปาท่องโก๋ตัวยาวใหญ่ทอดกันสดๆ ไว้ให้กินแกล้มกับชากาแฟ แหม! มันช่างเข้ากันดีเหลือเกินค่ะ
พออิ่มแล้ว ก็ออกเดินทางได้ วันนี้เราจะไปขึ้นเรือล่องชมทะเลสาบอินเล ถ้าเมื่อคืนเราค้างที่เมืองมิถิลาตามแผนเดิม ก็ต้องเสียเวลาเดินทางนานกว่านี้
เพราะอยู่ห่างจากอินเลประมาณ 200 กิโลเมตร
แต่พอเปลี่ยนโปรแกรมมาค้างที่เมืองลอว์เส้าค์ ทำให้ย่นระยะทางได้กว่า 100 กิโลเมตรเลยทีเดียว มันเป็นเรื่องบังเอิญแบบเหลือเชื่อ
ที่ต้องมีเหตุจับพลัดจับผลูให้มาค้างที่นี่
เมื่อเสร็จสรรพในการจัดสิ่งของขึ้นรถ ที่ต้องจัดแบบนี้กันทุกวัน เนื่องจากเรามีเสบียงอาหาร, เครื่องนอน, เต้นท์สุขาเคลื่อนที่, วัสดุปรุงอาหาร เช่น
หม้อหุงข้าว, กะทะ, กระติกน้ำร้อน เป็นต้น
สิ่งของเหล่านี้ พร้อมกับกระเป๋าเสื้อผ้า ผู้ที่เสียสละเวลาแต่เช้า เพื่อมาช่วยกันจัดของ นั่นก็คือทีมงานพี่ๆ ผู้ชาย คือ
พี่หมวดบุญรอดช่วยดูแลความเรียบร้อยตั้งแต่เช้ามืด
ส่วนพี่บุ๋ม วัชรพล, พี่เจ, พี่ต่าย พร้อมกับโชเฟอร์สองคน ช่วยกันจัดกระเป๋า ต้องจัดให้ได้ตามสูตรที่เคยจัดทุกวัน ไม่เช่นนั้นของจะเหลือทันที
นี่คือความทุกข์ยากตลอดทริปการเดินทาง
เป็นอันว่าขับรถมาเรื่อยๆ จนถึงสี่แยกทางหลวงหมายเลข 4 อันเป็นสายหลักที่จะไปเมืองตองยีก็ได้ หรือไปทางเมะทีลา (มิถิลา)
ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ ถ้าจะมาอินเลก็จะมาจากพุกามหรือมัณฑะเลย์ บางคนก็บินมาลงสนามบินเฮโฮที่อยู่ใกล้ที่สุด แล้วนั่งรถต่อมาที่นี่
เมื่อมาถึงสี่แยกนี้ก็เลี้ยวขวาไปทางอินเล ส่วนคณะของเรามาทางลอว์เส้าค์ก็ตรงไปเลย แต่ขากลับเราก็ต้องย้อนกลับมาทางนี้ (กรุณาดูแผนที่ประกอบ)
รถวิ่งมาถึงสี่แยก แล้วตรงไปเมืองหนองชเว (Nyaungshwe) ที่นี่มีบุญใหญ่รอเราอยู่ พอเห็นพระเจดีย์สีทองกำลังเข้าเฝือกอยู่
พระอาจารย์ก็ให้เลี้ยวรถเข้าไปทำบุญทันที
ความจริงตั้งใจจะไปชมทะเลสาบกัน แต่บังเอิญเห็นเขากำลังสร้างอยู่พอดี นานๆ เราจะเจอพระเจดีย์ที่เพิ่งสร้างใหม่แบบนี้ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่
จะเป็นพระเจดีย์เก่าแก่ ที่บูรณะใหม่เสียมากกว่า
เข้าไปคุยกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่ด้านใน ได้ความว่า เป็นพระเจดีย์จำลองจากพระเจดีย์ที่เมืองซิตตเว (Sittwe) ด้านในบรรจุพระพุทธรูปทองคำ และพระพุทธรูป 8
องค์ ประจำ 8 ทิศ
ค่าก่อสร้างทั้งหมด 120,000,000 ล้านจ๊าด เฉพาะค่าฉัตรสั่งตรงจากมัณฑะเลย์ก็ปาเข้าไปแล้ว 8,000,000 จ๊าด เป็นเงินบริจาคช่วยๆ กัน
ก็ต้องนับถือน้ำใจและร่วมโมทนากับเขา ทุกอย่างเกิดขึ้นจากความศรัทธา และสำเร็จด้วยศรัทธาจริงๆ ค่ะ
แม้เรามาทีหลัง แต่ก็ไม่ล้าหลัง เรื่องบุญเรื่องกุศลแบบนี้ ต้องจัดเต็มสิคะ รออะไร ยิ่งรู้ว่า เขาเตรียมจะยกฉัตร วันที่ 25 เดือนนี้ ยิ่งรอไม่ได้
เรื่องบุญเรื่องใหญ่ เรื่องตายเรื่องเล็กค่ะ
พระอาจารย์ได้ร่วมบุญทุกอย่าง 5,000,000 จ๊าด ถือว่าเป็นสถานที่นัมเบอร์วัน อันดับหนึ่งสูงสุดที่ทำบุญมากที่สุดในทริปนี้
เล่นเอาคุณลุงเจ้าหน้าที่อึ้งกิมกี่ไปเลย เพราะคงไม่ค่อยมีใครทำบุญครั้งละมากๆ แบบนี้
จึงขอนำ "สถิติทำบุญมากที่สุด 9 อันดับ" ซึ่งบางแห่งก็ยังไปไม่ถึง แต่ก็ขอนำมาอนุโมทนากันอีกครั้ง ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
- (1) พระเจดีย์ชเวบอดี้ - ทะเลสาบอินเล (สร้างใหม่อลังการ) ทำบุญ 5,000,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)
- (2) พระมหามุนี - มัณฑเลย์ (พระวิหารหุ้มฉัตรใหม่ด้วยทองคำแท้) ทำบุญ 3,231,500 จ๊าด
- (3) พระเจดีย์ชเวมิตซู - ทะเลสาบอินดอว์ยี (ซ่อมใหม่ทั้งหมด) ทำบุญ 1,243,000 จ๊าด
- (4) พระเจดีย์ชเวดากอง - ย่างกุ้ง (ซ่อมพระเจดีย์และบริวารโดยรอบ) ทำบุญ 1,165,000 จ๊าด
- (5) พระเจดีย์มอดินซุน - พะสิม (ซ่อมเจดีย์และฉัตร) ทำบุญ 1,160,000 จ๊าด
- (6) พระเจดีย์โลกะนันดา - พุกาม (ซ่อมเจดีย์ และ หุ่มฉัตรใหม่ด้วยทองคำแท้) ทำบุญ 1,000,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)
- (7) พระมหามุนี - ยะไข่ (พระวิหารทำฉัตรใหม่) ทำบุญ 995,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)
- (8) พระพุทธรูป (ลอยน้ำ) ไจ้ปอลอ - เมืองไจ้โท (พระวิหารทำฉัตรใหม่) ทำบุญ 569,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)
- (9) เสริมพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้น (ชื่อ Lay Kyune Satkyar Aung) - บ.สาตะเพียน มะละแหม่ง ทำบุญ 379,000 จ๊าด (ถวายเครื่องประดับด้วย)
...ส่วนพวกพี่ๆ ใครมีเครื่องประดับของมีค่าต่างๆ ก็ถอดกันสดๆ มาถวายพระพุทธเจ้ากันเดี๋ยวนั้น
คุณลุงเจ้าหน้าที่ก็พลอยตื่นเต้นไปกับพวกเราด้วย
พอหายงงจากยอดเงินที่เราทำบุญแล้ว ก็ช่วยเหลือกุลีกุจอนำผอบเงินผอบทองมาให้เราใส่เครื่องประดับ เพื่อนำไปบรรจุในพระเจดีย์ในวันยกฉัตร ต้องเรียกได้ว่า
บรรยากาศชื่นมื่นมากๆ ปิติในบุญทั้งคนไทยและคนพม่า
ก่อนกลับ พระอาจารย์ก็ได้ประพรมน้ำอบน้ำปรุง และปิดทองฉัตรที่วางเตรียมไว้ รอวันสำคัญในวันที่ 25 พร้อมกับถวายผ้าทองเป็นพุทธบูชา
ตอนจะกลับ คุณลุงเจ้าหน้าที่พอพูดไทยได้บ้าง เพราะเป็นไทยใหญ่ ยังเดินออกมาส่งพระอาจารย์ด้วยตัวเองอีกด้วย ท่าทางจะปลาบปลื้มมากๆ
ใช่แต่คุณลุงนะคะ พวกหนูเองก็ปลาบปลื้มที่ได้มีส่วนร่วมในบุญใหญ่นี้ค่ะ หลังจากกอดร่ำลากันเรียบร้อยแล้ว ก็ออกเดินทางต่อ
ตอนหน้าเราจะถึงทะเลสาบอินเลกันแล้ว รับรองว่า มีเรื่องราวที่น่าสนใจรออยู่แน่นอน..สวัสดีค่ะ"
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 25/4/19 at 08:59
[ ตอนที่ 65 ]
(Update 5 พฤษภาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบ) 2 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล)
พระเจดีย์อะลูดอว์ปั๊ก (Alodaw Pauk Pagoda) ทะเลสาบอินเล (Inle Lake)
...หลังจากทำบุญกันที่ 'พระเจดีย์ชเวบอดี้' กันจนกระเป๋าเบาหวิวแล้ว เราก็กลับออกมาด้วยความอิ่มเอมใจ พร้อมออกเดินทางต่อ
โดยเส้นทางเดิมตรงไปที่ท่าเรือ
แต่ก่อนอื่นอย่าลืมว่า โปรแกรมการเดินทางแต่ละวัน ท่านจะไม่บอกพวกเราก่อนแม้สักคนเดียว ท่านเตรียมแผนที่และกะเวลาแวะฉันเพล ท่านรู้ของท่านเพียงองค์เดียว
แม้พวกเราก็ไม่เคยถามท่านก่อน เพราะรู้ว่าท่านถือเคล็ดการเดินทาง ถ้าบอกก่อนจะมีอุปสรรคทำให้ไปไม่ถึง หรืออาจจะเป็นอันตรายระหว่างทางได้
ในตอนนี้เราจะไปล่องเรือกันที่ 'ทะเลสาบอินเล' กันจริงๆ เสียที หลังจากอารัมภบทมาหลายตอน โดยเฉพาะพวกเราที่ยังไม่เคยไป ต่างก็ตื่นเต้นกันทุกคน
เพราะได้ยินกิตติศัพท์ความสวยงามมานานแล้ว
แต่พระอาจารย์ชัยวัฒน์ท่านคงเฉยๆ เพราะเคยเดินทางมาแล้ว *(กรุณาชมคลิปปี 2545) สมัยนั้นท่านมากับทัวร์ การติดต่อเช่าเรือก็เป็นหน้าที่ของเขา
ส่วนการเดินทางครั้งนี้ พวกเราอาศัยความสามารถของโชเฟอร์รถตู้ โดยเฉพาะพี่ชัยเคยพาลูกทัวร์มาแล้ว จึงรู้จักกับเจ้าของเรือหางยาวเป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้ พี่ชัยได้ติดต่อทางโทรศัพท์นัดหมายไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเจ้าของเรือได้มารอพวกเราตั้งแต่แวะทำบุญที่ 'พระเจดีย์ชเวบอดี้'
ตามที่ได้เล่าไปตอนที่แล้ว
เจ้าของเรือได้เห็นพวกเราทำบุญกันมากๆ ท่าทางตื่นเต้นบอกกับพี่ชัยว่า ในชีวิตของตนไม่เคยเห็นการทำบุญแบบนี้มาก่อนเลย
คงเห็นพวกเราแย่งกันปิดยอดเงินทำบุญกันกระมัง แต่ส่วนใหญ่พระอาจารย์จะปิดยอดสวยๆ เกือบทุกครั้ง (เป็นเงินในย่ามที่ญาติโยมทำบุญกันมา
และที่โอนเข้าบัญชีด้วยค่ะ)
เมื่อเราเดินทางมาถึงท่าเรือเล็กๆ ด้านหลังบ้านของเจ้าของเรือ จะมีท่าน้ำจอดเรือหางยาว ที่จะเป็นพาหนะนำเราไปยังทะเลสาบอินเลอยู่หลายลำ
ภรรยาเจ้าของเรือต้อนรับพวกเราดีมาก ได้เตรียมคนขับเรือไว้พร้อม และจัดเก้าอี้นั่งไว้บนเรือเป็นอย่างดี (ค่าเก้าอี้ต้องเสียเงินเพิ่ม)
รวมแล้วต้องเช่าเรือหางยาวทั้งหมด 3 ลำ ก่อนลงเรือ พระอาจารย์ก็ไม่ลืมที่จะซื้ออาหารนกติดไปด้วย เพราะทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่อาศัยของฝูงนกนางนวล คล้ายๆ
กับทะเลสาบอินดอว์ยี ที่เราไปมาก่อนหน้านี้
เรือหางยาวของที่นี่จะมีเก้าอี้ให้นั่งชมวิวทิวทัศน์ แต่ไม่มีหลังคา พอเจอแดดร้อนๆ ก็ต้องงัดหมวก และร่ม รวมทั้งแว่นกันแดดออกมาใส่
ถึงกระนั้นก็ยังร้อนอยู่ดี แต่เพื่อแลกกับการได้ทำบุญและไปกราบไหว้สถานที่สำคัญของพระพุทธเจ้า เราย่อมยินดีอย่างที่สุด
เรือค่อยๆ ถอยออกจากท่าอย่างช้าๆ จากคลองเล็กๆ ก็เริ่มกลายเป็นน่านน้ำใหญ่ ทะเลสาบอินเลของจริงนั้นกว้างใหญ่กว่าที่คิดมาก มีความลึกประมาณ 5 เมตร กว้าง 25
เมตร และยาวประมาณ 40 กิโลเมตร
ชาวเรือที่คัดท้ายเรือให้เรา เรียกว่า ชาวอินเล หรือ อินคะ ใช้ภาษาคล้ายทางเหนือของไทย อาศัยอยู่บนเกาะลอยน้ำมานานนับพันปีมาแล้ว
พวกเขาสร้างบ้านอยู่บนสาหร่าย ที่ปักเสาลงไปในน้ำ แล้วเอาสาหร่ายมากองเรียงไปตามไม้ จากนั้นนำดินมาโปะไว้บนสาหร่าย สามารถเพาะปลูกผักได้
ชาวอินเลจึงมีอาชีพเพาะปลูกและจับปลา
ชาวอินเลพายเรือด้วยเท้าข้างเดียว แทนที่จะใช้มือพายอย่างคนทั่วไป จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ ถ้าเห็นใครพายเรือด้วยเท้าข้างเดียว
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เขาน่าจะเป็นชาวอินเล
ระหว่างเรือค่อยๆ ล่องไป เราได้โปรยอาหารให้พวกนกนางนวลที่บินตามมากันจนอิ่มแปล้ รอบๆ ทะเลสาบอินเลมีวัดประมาณ 150 วัด
ตามที่ทัวร์คนไทยจัดนำเที่ยวที่ทะเลสาบอินเล ส่วนใหญ่จะมีสถานที่ประมาณ 3-4 แห่ง เช่น วัดพองดอว์อู (พระขัวเข็ม) เป็นต้น
แต่พระอาจารย์ท่านเห็นว่า สถานที่แรกที่ควรกราบไหว้กันก่อน มีชื่อว่า พระเจดีย์อะลูดอว์ปั๊ก (Alodaw Pauk Pagoda)
เป็นสถานที่สำคัญและเก่าแก่กว่าที่อื่นทั้งหมด จะสำคัญอย่างไรลองอ่านประวัติกันก่อน
ประวัติพระเจดีย์อะลูดอว์ปั๊ก
VIDEO
...พระเจดีย์นี้เป็นพระเจดีย์เก่าแก่โบราณ อายุสองพันกว่าปี เป็นหนึ่งในพระเจดีย์ 84,000 องค์ ที่บูรณะในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช มีความหมายว่า
ทุกสิ่งสมปรารถนา
สมัยพระเจ้าอโศกมาบูรณะในเขตพม่า เท่าที่พบตามหลักฐาน คือ
- พระเจดีย์มอดินซุน (Mawtinsoon Pagoda) เป็นพระเจดีย์ที่สร้างก่อน "ชเวดากอง" ที่พวกเรากำลังจะไปในวันข้างหน้า
- พระเจดีย์ Shwe Kyat Yat อมรปุระ พวกเราไปผ่านมาแล้ว
ส่วนในเมืองไทย ตามที่พบบูรณะ "สมัยพระเจ้าอโศก" ก็มี พระธาตุศรีจอมทอง, พระธาตุลำปางหลวง, พระธาตุหริภุญชัย เป็นต้น
ภายหลัง พระเจ้าอนุรุทธ (King Anawrahta) ได้มาบูรณะใหม่ เนื่องจากยอดหักพังลงมา จึงได้บรรจุพระบรมธาตุเพิ่มอีก 8 องค์ ปัจจุบันได้สร้างครอบองค์เดิมไว้
มีช่องเล็กๆ ให้มองเห็นพระเจดีย์องค์เดิม
แรกเริ่มเดิมทีมีชื่อว่า พระเจดีย์อินพญา (Innphaya) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น พระเจดีย์ยาดานา (Yadana) จนมาปัจจุบันมีชื่อว่า อะลูดอว์ปั๊ก
ตามแบบการสร้างพระเจดีย์ของชาวไทยใหญ่
ข้อนี้สันนิษฐานได้ว่า พระเจดีย์เหล่านี้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล คือก่อนสมัยพระเจ้าอโศก หลังจากสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 3 ประมาณปี พ.ศ.235
...พระอาจารย์ชัยวัฒน์เคยมาที่นี่ในปีพ.ศ.2545 ตอนนั้นพระเจดีย์ยังเป็นสีขาว ไม่ใช่สีทองดังเช่นปัจจุบัน อีกทั้งร้านค้าต่างๆ
ยังไม่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดเหมือนตอนนี้
พระอาจารย์ได้เข้าไปกราบพระประธานภายในวัด พระพักตร์ท่านเปี่ยมด้วยความเมตตา พี่เจได้เป็นตัวแทนชาวคณะตามรอยฯ ขึ้นไปห่มผ้าทองถวายเป็นพุทธบูชา โดยมีสาวๆ
ส่งกำลังใจอยู่ด้านนอก เพราะมีป้ายห้ามผู้หญิงเข้าอีกเช่นเคย
ต่อจากนั้น พระอาจารย์ได้ประพรมสรงน้ำท่านด้วยน้ำอบน้ำปรุง พร้อมกับถวายเครื่องบูชา และได้ร่วมทำบุญบูรณะ 50,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 20,000 จ๊าด
ก่อนกลับก็ได้แจกลูกอมแก่เด็กๆ ชาวบ้านแถวนั้น พอเห็นรอยยิ้มด้วยความดีใจของเด็กน้อย เราก็พลอยมีความสุขไปด้วย
สถานที่ที่น่าสนใจที่อินเลยังไม่หมดแค่นี้ ในตอนหน้า เราจะพาท่านผู้อ่านไปกราบนมัสการ พระบัวเข็ม ที่ร่ำลือกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน
คงไว้รออ่านประวัติความเป็นมาอันเหลือเชื่อของพระบัวเข็มทั้งห้าองค์ ที่วัดพองดอว์อู (Phaung Daw Oo Pagoda) ได้ในตอนหน้านะคะ
สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 30/4/19 at 14:10
[ ตอนที่ 66 ]
(Update 10 พฤษภาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบ) 2 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล)
พระบัวเข็ม วัดพองดอว์อู (Phaung Daw U Pagoda) ทะเลสาบอินเล (Inle Lake)
...วัดที่สองที่เราจะไปกันนี้ เป็นวัดที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ อีกแห่งหนึ่งในทะเลสาบอินเล นักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมมากราบไหว้
มีชื่อว่า วัดพองดอว์อู (พระบัวเข็ม) อ่าน Phaung Daw U หรือ Phaung Daw Oo ก็ได้
ภายในวัดนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 5 องค์ คนพม่าเรียกว่า พระพองดอว์อู ส่วนคนไทยเรียกว่า พระบัวเข็ม
ตามที่เคยเล่าผ่านไปแล้ว ตอนที่ไป "พระเจดีย์ชเวมิตซู" ทะเลสาบอินดอว์ยี เมืองมิตจิน่า ทางตอนเหนือของพม่า แล้วได้สรุปว่า พระเจดีย์กลางน้ำที่สวยงามมี 3
แห่ง คือ
1. พระเจดีย์ชเวมิตซู ทะเลสาบอินดอว์ยี มิตจิน่า
2. พระเจดีย์พองดอว์อู (พระบัวเข็ม) ทะเลสาบอินเล
3. พระเจดีย์เยเลพญา (ไจ้หม่อวน) สิเรียม
ในตอนนี้ พวกเราได้กราบไหว้มา 2 แห่งแล้ว ต่อไปก็จะล่องลงไปทางใต้ เพื่อกราบไหว้ "พระเจดีย์เยเลพญา" (ไจ้หม่อวน) สิเรียม ให้ครบถ้วนทั้งสามแห่ง
🌸🍃 ประวัติพระบัวเข็ม 🍃🌸
VIDEO
...ตามประวัติในหนังสือตามรอยพระพุทธบาท เล่ม 4 เล่าว่า เมื่อพันปีที่ผ่านมา พระเจ้าอลองสินธุ (King Alaungsithu) กษัตริย์พุกาม (Bagan)
ได้เดินทางข้ามอ่าวเบงกอลและแม่น้ำอิระวดีไปที่ประเทศอินเดีย
พระเจ้าแผ่นดินที่นั่นได้มอบกิ่งต้นศรีมหาโพธิ์ที่นำมาจากพุทธคยา (กิ่งทางทิศใต้) ซึ่งพระเจ้าพุกามและชาวพม่า เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้
และเป็นทิศที่เป็นมงคลยิ่ง
พระองค์ได้อัญเชิญกิ่งโพธิ์กลับมาด้วย และได้ให้ช่างแกะสลักเป็นพระพุทธรูป 5 องค์ ไว้สำหรับบูชาในพระราชวัง
ฝ่ายพระสังฆราชและอำมาตย์ได้กราบทูลว่า พระองค์ทำเช่นนี้ก็เหมือนเห็นแก่พระองค์ ควรที่จะนำพระพุทธรูปให้ประชาชนได้บูชาด้วย
แต่ยังหาที่เหมาะสมไม่ได้พระองค์จึงเสี่ยงอธิษฐาน อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นบนหลังช้าง ถ้าเหมาะสมที่ใด ก็ขอให้ช้างอยู่ที่นั่น ปรากฏว่า
ช้างได้วิ่งออกไปทางทิศตะวันออก
จากพุกามมาถึงที่นี่ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนโดยที่ช้างมิได้หลับนอน มีเพียงกินอาหารเท่านั้น มาถึงที่นี่ก็หยุด จึงทำการสร้างวิหารขึ้น
ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อัญเชิญพระพุทธรูปบรรจุไว้ในเจดีย์ หลังสงครามสงบ จึงได้สร้างวิหารขึ้นใหม่
นอกจากนี้ยังมีประเพณีแห่พระทางเรือ (Phaung Daw-U Festival) ในช่วงเทศกาลออกพรรษา จะอัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ ขึ้นเรือ และแห่ไปตามน้ำ
เพื่อให้ประชาชนได้บูชาเป็นเวลา 2 สัปดาห์
ครั้นเรือมาถึงกลางทางเกิดล่ม พระทั้ง 5 องค์ ได้จมน้ำไป ชาวบ้านก็ได้ช่วยกันงมขึ้นมา แต่ทว่าหาได้เพียง 4 องค์เท่านั้น องค์ที่ห้า องค์เล็กหาไม่เจอ
ก็เลยแห่พระกันต่อ
จนถึงวันสุดท้าย เมื่อกลับมาถึงวัด ปรากฏว่า พระองค์ที่ห้ากลับมาอยู่วัดแล้ว โดยมีสาหร่ายติดอยู่ที่พระเศียรเต็มไปหมด
จากนั้นประเพณีนี้ ก็ยังมีอยู่ 3 ปี เหตุการณ์ก็ยังคงเป็นเช่นเดิม ชาวบ้านเห็นว่า พระองค์เล็กคงไม่ชอบออกมานอกวัด จึงมีการอัญเชิญไปแค่เพียง 4
องค์เท่านั้น
จนเมื่อยี่สิบกว่าปีมานี้ รัฐบาลพม่าซึ่งคงจะไม่ค่อยเชื่อเรื่องแบบนี้ จึงให้นำพระออกมาแห่ทั้งห้าองค์ เหตุการณ์ก็เป็นเช่นเดิม คือองค์เล็กจะหาย
และมาปรากฏที่วัดในวันสุดท้าย จนเป็นที่เล่าลือถึงความศักดิ์สิทธิ์
ชาวบ้านได้มาปิดทององค์พระจนหนาขึ้นมา ไม่สามารถจะมองเห็นองค์พระได้ ถูกวางไว้บนพานเงินโดยให้องค์เล็กอยู่ตรงกลาง อีกสี่องค์วางอยู่รอบสี่ทิศ
...บรรยากาศในช่วงบ่าย ยามเมื่อเราไปถึง สาธุชนผู้มีศรัทธาได้ทยอยมากราบไหว้พระบัวเข็มทั้ง 5 องค์อย่างไม่ขาดสาย
นักท่องเที่ยวฝรั่งก็มีบ้างประปราย มีไกด์ชาวพม่าคอยอธิบายประวัติความเป็นมาของวัด
ระหว่างจัดเตรียมเครื่องบูชาอยู่นั้น ก็เจอกับคณะคนไทย ที่เดินทางมาเที่ยวกันเองเข้ามากราบพระอาจารย์ จริงๆ แล้ว จะว่าไป
ระยะทางจากเมืองไทยมาอินเล ก็ไม่ได้ไกลมากนัก อยู่ห่างจากแม่ฮ่องสอนไปประมาณ 300 กิโลเท่านั้น อีกหน่อยในอนาคต เมื่อเส้นทางคมนาคมเชื่อมถึงกัน
การเดินทางไปอินเลจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
พระอาจารย์ได้ร่วมทำบุญบูรณะ 150,000 จ๊าด เนื่องจากเป็นวัดสำคัญของที่นี่ และทำบุญค่าไฟฟ้าอีก 20,000 จ๊าด
เจ้าหน้าที่วัดเห็นเราทำบุญเยอะ และเห็นความตั้งใจเตรียมของบูชามาอย่างอลังการงานสร้าง เลยเมตตาอนุญาตให้ถวายผ้าทองห่มรอบแท่นพระได้เป็นกรณีพิเศษ
ภายหลังเมื่อเรากลับมาเมืองไทยแล้ว ก็เห็นผ้าทองที่เราถวายยังอยู่เหมือนเดิมจากในรูปที่มีผู้ไปกราบไหว้ถ่ายลงเฟซบุค
ก็ยิ่งรู้สึกขอบคุณทางวัดที่กรุณาให้เรามีโอกาสถวายผ้าทิพย์แด่พระพุทธเจ้า
หลังจากกราบนมัสการ และถวายเครื่องบูชาเรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์และพี่ๆ ผู้ชายได้ขึ้นไปปิดทององค์พระ ส่วนผู้หญิงนั่งรออยู่ข้างล่าง (ตามเคย)
เพราะอนุญาตเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ที่ขึ้นไปปิดทองได้ แต่ก็ไม่เป็นไร เราก็ใช้ใจโมทนาตามได้ ตามที่พระท่านว่า บุญสำเร็จด้วยใจ
สภาพพระบัวเข็มแต่ละองค์ล้วนมีสภาพไม่ต่างกัน นั่นก็คือ ถูกปิดทองจนหนาเตอะ จนมองไม่เห็นสภาพเดิม แต่ที่น่าแปลกก็คือ
พระองค์ที่ห้า องค์เล็ก จะมีจุดดำๆ คล้ายกับดวงพระเนตรนูนขึ้นมา ว่ากันว่า จุดนี้ ปิดทองเท่าไหร่ก็ไม่ติด (โปรดสังเกตดูในภาพ)
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องแปลกอีกเรื่องนึง ระหว่างที่พระอาจารย์เดินชมภาพเก่าๆ ในกรอบรูปที่ประดับอยู่บนฝาผนังวิหาร และกำลังเล่าเรื่องพระองค์ที่ห้าอยู่นั้น
จู่ๆ ไฟก็ดับพรึ่บ..ซักประมาณ 5 นาที พวกเราก็มองหน้ากันเลิ่กลั่ก
เรื่องไฟดับดูจะเป็นเรื่องธรรมดาของเมืองพม่าก็ตาม แต่กับคณะตามรอยดูออกจะแปลกกว่าธรรมดา เพราะเจอไฟดับที่โรงแรมในเมืองมุด่อง
แล้วก็ที่ร้านอาหารในเมืองหงสาวดี
และก็มาครั้งนี้อีกเป็นครั้งที่ 3 เหมือนกับจะบอกเหตุอะไรสักอย่าง โดยเฉพาะครั้งนี้ไฟดับในขณะที่พระอาจารย์กล่าวถึง "พระบัวเข็มองค์เล็ก" อยู่พอดี
โปรแกรมหลักๆ ในวันนี้ ก็คงจะหมดแล้ว หลังจากนี้ พระอาจารย์ใจดี อนุญาตให้แวะช๊อปปิ้งในตลาดริมน้ำได้ 3 แห่ง แต่ดูราคาแล้ว เก็บเงินไว้ทำบุญดีกว่าค่ะ
ท่านเห็นว่าเวลาไม่พอ จึงไม่ได้นำไปชมแมวลอดห่วง (ดูคลิปปี 2545 แทนได้นะคะ) แต่กว่าเราจะกลับถึงฝั่งก็เกือบๆ 6 โมงเย็น
แล้วก็ย้อนกลับไปเข้าที่พักแบบสบายๆ ในเมือง Nyaungshwe ตามเดิม เพราะพี่ติ๋ม (อภิญญา) จองไว้แล้วล่วงหน้า
จบ "ทริปอินเล" ด้วยความประทับใจ พรุ่งนี้เราจะย้อนกลับไปทางเดิม ซึ่งเป็นทางแยกไป "เมืองตองยี (Taunggyi) รัฐชานกันค่ะ
อันเป็นเมืองหลวงของชาวไทยใหญ่ที่น่าสนใจ แม้แต่พระอาจารย์ก็ยังไม่เคยไป ไว้รออ่านในตอนหน้าว่าจะเจออะไรกันอีกบ้างนะคะ
สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 5/5/19 at 10:57
[ ตอนที่ 67 ]
(Update 15 พฤษภาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบเอ็ด) 3 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล-ตองยี-ตองอู)
พระเจดีย์สุลามนี (Sulamani Pagoda) เมืองตองยี (Taunggyi) รัฐฉาน (Shan State)
...เช้าวันที่ 21 ของการเดินทาง เรื่องเล่าวันนี้จะพาไป 2 ตองค่ะ คือ "ตองยี" และ "ตองอู" เราออกมาจากที่พักในเมืองยองชเว
(Nyaungshwe) จากทะเลสาบอินเล ย้อนขึ้นไปตรงทางสามแยก
ถ้าตรงไปก็เป็นเส้นทางเดิมที่เราลงมาจากเมืองสีป่อ (Hsipaw) ผ่านเมืองลอว์เส้าค์ (Lawksawk) ตามลูกศรใน Google Map ที่นำมาให้ดูประกอบด้วยนี้
หากเลี้ยวขวาไปทางตองยี เมืองหลวงของไทใหญ่ อาณาเขตไปถึงเมืองเชียงตุง ถ้าเลี้ยวซ้ายไปทาง "สนามบินเฮโฮ" จนไปถึงเมืองเมะทีลา (มิถิลา)
แล้วล่องลงไปทางเมืองเนปิดอว์จนถึงเมืองย่างกุ้ง
แต่คณะของเราจะไปแวะเมืองตองอู (Taung Oo) ก่อน อันเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญในเขตพะโค (หงสาวดี) อยู่ห่างจากที่นี่ประมาณเกือบ 400 กิโลเมตร
ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางทั้งวัน
ถ้าดูตามแผนที่ เป็นการเดินทางล่องกลับลงมาคนละเส้นทาง จากเดิม (ทางหลวงที่ 1) ที่เราขึ้นมาจากย่างกุ้ง - แปร - มาเกว - ยะไข่ - พุกาม - โมนยวา -
ถ้ำพระมหากัสสป - ชเวโบ - ทะเลสาบอินดอว์ยี เมืองมิตจิน่า
แล้วล่องกลับมาที่เมืองมัณฑะเลย์ - พินอูลวิน - สีป่อ - รถไฟล็อคเท็ค - หนองโจ้ - ลอว์เส้าค์ - ทะเลสาบอินเล - ตองยี - ตองอู - ย่างกุ้ง
เรียกว่าวนกลับมาที่เดิมนั่นเอง (ทางหลวงที่ 2)
แต่ขณะที่ออกเดินทางมาจากที่พักแล้ว สถานการณ์กลับพลิกผันไปโดยมิได้คาดคิดมาก่อน "พี่ชัย" โชเฟอร์ที่พูดไทยได้ของเราถามว่า จะไปเที่ยวเมืองตองยีก่อนไหม
?
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ถามว่าไปไกลไหม เพราะเราไม่ค่อยมีเวลามากนัก คนขับบอกว่าไม่ไกล พระอาจารย์จึงตัดสินใจให้รถเลี้ยวขวาไปทันที เพราะท่านเองก็ยังไม่เคยไป
VIDEO
...เมื่อมาแวะที่เมืองตองยี (Taunggyi) ซึ่งเป็นถนนลาดยางดีตลอด แต่ต้องขึ้นเขาพอสมควร เพราะตัวเมืองอยู่ในหุบเขา คือมีแนวเขาล้อมรอบ
นับว่าตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดี โดยใช้แนวเขาไว้ป้องกันรักษาเมือง
อากาศยามรุ่งอรุณจึงสดชื่น เย็นสบายกำลังดี แต่สำหรับคนขี้หนาวอาจจะต้องหยิบเสื้อกันหนาวมาใส่ เพราะบริเวณนี้อยู่ทางเหนือของพม่า และอยู่บนเนินเขา
อากาศก็จะเย็นๆ หน่อย
เมืองตองยีนี้เป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในรัฐฉาน(Shan State) ซึ่งเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในพม่า ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง
อยู่ท่ามกลางเทือกเขาสลับซับซ้อน
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 914-1,828 เมตร มีแม่น้ำสาละวินไหลผ่านตรงกลาง เสมือนแบ่งรัฐฉานออกเป็นสองส่วนโดยปริยาย
โดนฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งของเมืองตองยี (Taunggyi) และฝั่งตะวันออกมีเมืองเชียงตุง (Kyaing Tong) ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีเป็นเมืองหลัก
มีชาวไทใหญ่เป็นประชากรส่วนใหญ่
วันนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้มาเยือนตองยี ซึ่งยังไม่มีใครเคยมา ก็เพิ่งรู้เพิ่งเห็นด้วยตาว่า ตองยีเค้าสวยขนาดนี้ ถ้าไม่ได้มาเห็นเอง ก็คงจะนึกไม่ออกว่า
ตองยีหน้าตาเป็นอย่างไร
บ้านเมืองเขาค่อนข้างสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย แถมอากาศก็ดี มีตึกรามบ้านช่องทันสมัย ทั้งห้างสรรพสินค้า ธนาคาร มหาวิทยาลัย มีพรั่งพร้อม
ขนาดสนามกอล์ฟยังมีเลยค่ะ ดูเจริญกว่าที่อื่นๆ ในพม่า
เมืองตองยี จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 5 รองจากย่างกุ้ง, มัณฑะเลย์, เนปิดอว์ และมะละแหม่ง แต่เดิมเป็นเมืองเล็กๆ แต่พอช่วงที่อังกฤษปกครองพม่า
ได้พัฒนาและขยายจนกลายเป็นเมืองใหญ่
คำว่า ตอง (Taung) แปลว่า ภูเขา ส่วน ยี (Gyi) แปลว่า ใหญ่ รวมแล้ว หมายถึง เมืองที่ตั้งอยู่บนภูเขาใหญ่ นั่นเองค่ะ
ชาวเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวไทใหญ่ และชาวปะโอ
มาถึงตองยีทั้งที ก็ต้องแวะกราบวัดประจำเมืองที่มีนามว่า สุลามนี (Sulamani Pagoda) กันสักหน่อย บางทีก็สะกดว่า "สุลามุนี" (Sulamuni)
มีความหมายดี๊ดี แปลว่า ขอให้รวยๆ (อันนี้พี่ชัย โชเฟอร์รถตู้ของเราเป็นคนบอกมาค่ะ) ซึ่งตรงกับคำไทยว่า "พระจุฬามณี"
ตามประวัติไกด์พม่าเล่าว่า เป็นพระเจดีย์สร้างใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2537 ก็เมื่อประมาณ 25 ปีที่ผ่านมานี้เอง โดยสร้างเลียนแบบพระเจดีย์อนันดา (Ananda Pagoda)
เมืองพุกาม (Bagan) รูปร่างหน้าตาก็จะคล้ายๆ กัน ภายในวิหาร มีพระพุทธรูปยืนสี่ทิศ สร้างได้งดงามอลังการมาก
พระอาจารย์นำพวกเราเดินชม เพราะด้านในพระเจดีย์เดินไปได้ตลอด โดยมีพระพุทธรูปยืนอยู่ประจำทั้งสี่ทิศ พยายามมองดูว่าทางวัดมีการบูรณะสิ่งใดบ้างหรือไม่
เดินแหงนดูทั้งข้างล่างและข้างบนก็ไม่เห็นมีอะไร พวกเราก็อดเสียดายไม่ได้ เพราะพระเจดีย์ของชาวไทใหญ่ เขาสร้างได้ยิ่งใหญ่มาก
แต่พอเดินออกมาข้างนอก เพื่อจะออกทางประตูเดิมที่เข้ามา เดินสวนกับคนงานเดินถือแปลงทาสีเข้ามา จึงให้พี่ชัยถามว่าเขาเข้ามาทำอะไรกันหลายคน
พวกเขาตอบว่ากำลังจะเริ่มทำงาน เพื่อขึ้นไปทาสีข้างบนพระเจดีย์ พวกเรามองดูนาฬิกาเห็นเป็นเวลา 8 โมงเช้าพอดี
จึงนึกขึ้นได้ว่า ช่วงที่เรามานั้นที่เห็นเงียบๆ เพราะยังไม่ถึงเวลาทำงานของช่างนั่นเอง ตอนนี้พวกเราดีใจเป็นอันมาก ก่อนที่จะกลับเข้าไปทำบุญกับเจ้าหน้าที่
ท่านได้เอาเงินแจกให้พวกช่างทันที
เท่าที่นับดู มีคนงานทั้งหมด 14 คน พระอาจารย์เลยแจกเงินคนละ 2,000 จ๊าด เพื่อเป็นกำลังใจ เหมือนเราได้มีส่วนร่วมในแรงงานของบุญครั้งนี้ด้วย รวมเป็นเงิน
28,000 จ๊าด
ดูจากรอยยิ้มของคนงานแล้ว ท่าทางแฮ๊ปปี้มากค่ะ เสร็จแล้วเดินเข้าไปที่สำนักงาน เพื่อร่วมบุญบูรณะเป็นเงิน 200,000 จ๊าด และทำบุญค่าไฟฟ้าอีก 30,000 จ๊าด
นับว่าเป็นเรื่องของบุญบังเอิญจริงๆ ค่ะ
ทุกๆ ปีในเดือนพฤศจิกายน ที่วัดจะจัดงานประจำปี ช่วงเดียวกับงานลอยโคมประจำปี ปกติจะจัดหลังจากออกพรรษาต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ เลยไปถึงเดือนพฤศจิกายน
คล้ายๆ กับการลอยโคม ยี่เป็ง ทางเหนือของไทยเรา แต่โคมของเขาจะใหญ่ยักษ์ขนาดเท่าบอลลูน มีการประกวดประชันแข่งขันกัน
นักท่องเที่ยวต่างชาติจะรู้จักกันดีในชื่อ The Tazaungdaing Fire Balloons Festival เป็นงานใหญ่บิ๊กบึ้ม คนหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ
เสียดายที่มาไม่ตรงช่วงงานประจำปีของเขา อาศัยดูรูป และจินตนาการไปพลางๆ ก่อนนะคะ หลังจากนี้ ก็คงเดินทางกันยาวไปเมืองตองอู
อยากจะบอกไว้ก่อนล่วงหน้าว่าสำคัญมาก ตามที่ได้เล่าไปแล้วคำว่า "พระเจดีย์ชเวซานดอว์" (พระเกศาธาตุ) ในประเทศพม่า ที่ชื่อเหมือนกันนี้มีอยู่เพียงแค่ 4
แห่งเท่านั้น แล้วเจอกันในตอนต่อไปค่ะ
สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 10/5/19 at 08:41
[ ตอนที่ 68 ]
(Update 20 พฤษภาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบเอ็ด) 3 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล-ตองยี-ตองอู)
พระเจดีย์ชเวซานดอว์ (Shwesandaw Pagoda) เมืองตองอู (Taung Oo)
...ตามที่เกริ่นไว้เมื่อตอนที่แล้วว่า จะพาท่านผู้อ่านไปเยือน เมือง 2 ตอง หลังจากแวะทำบุญที่พระเจดีย์สุลามนี (จุฬามณี) ที่เมือง
ตองยี กันเรียบร้อยแล้ว เราก็มุ่งหน้าสู่จุดหมาย นั่นก็คือ เมืองตองอู
แต่ระยะทางยังอีกยาวไกล พระอาจารย์ได้แวะฉันเพลที่เมือง Aungban ซึ่งเป็นเมืองตากอากาศระหว่างทางไปตองอู
เส้นทางมอเตอร์เวย์ของพม่านับว่า กว้างขวาง สะดวกสบาย แต่ไม่ค่อยเห็นรถวิ่งเท่าไร ระหว่างทาง พอดีมีคนเห็นพระเจดีย์กำลังก่อสร้างอยู่พอดี
พระอาจารย์เลยให้แวะทำบุญ
ถามชาวบ้าน ได้ความว่า พระเจดีย์นี้ชื่อ ปิลองชันต้า เลยร่วมบุญสร้าง 100,000 จ๊าด หลังจากนั้น รถได้วิ่งผ่านเมืองเนปิดอว์ (Naypyidaw หรือ NayPyiTaw)
เมืองหลวงใหม่ของพม่า
บรรยากาศเรียกได้ว่า เงียบเหงา แม้จะเป็นเมืองหลวงก็ตาม แต่ดูไม่ค่อยคึกคักเหมือนย่างกุ้ง ดูแล้ว น่าจะมีแต่สถานที่ราชการ เอาเป็นว่า
ได้มาเห็นแล้วก็แล้วกัน
พระอาจารย์ให้ขับรถชมรอบเมือง แต่ดูแล้วไม่มีอะไรน่าสนใจ ท่านเลยให้วกรถกลับ เพราะเกรงว่า จะเสียเวลาในการเดินทาง ก็จะยิ่งถึงตองอูดึกกว่าเดิม
เมืองตองอูนี้ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนไทย ไม่ค่อยได้มีโอกาสมา เพราะต้องเข้าไปตามถนนเส้นทางเดิม ส่วนเส้นใหม่ไฮเวย์นี้ เขาตัดผ่านไปเลยจนถึง
มัณฑะเลย์
ดังนั้น ตองอู จึงเหลือความยิ่งใหญ่เพียงแต่ชื่อ ที่เคยรุ่งเรืองในอดีตเท่านั้น แต่ก็ยังมีสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองในอดีตให้กราบไหว้อยู่
นั่นก็คือ "พระเกศาธาตุ" (Buddha Hair Relic) ตามภาษาพม่าเรียกกันว่า "ชเวซานดอว์ (Shwesandaw)" ภาษามอญ (ทางใต้ของพม่า) เรียกว่า "ซานดอว์ชิน
(Sandawshin)"
ในประเทศเมียนมาร์ จึงมีคำว่า "ชเวซานดอว์" ที่บรรจุอยู่ที่พระเจดีย์ในเมืองสำคัญ 4 แห่ง ดังนี้คือ
1. เมืองแปร บรรจุพระเกศาธาตุ 4 เส้น
2. เมืองพุกาม บรรจุพระเกศาธาตุ 1 เส้น ย้ายมาจากเมืองสะเทิม (มอญ)
3. เมืองตองอู บรรจุพระเกศาธาตุ 1 เส้น
4. บ้านต่งแต Twante เมืองดาลา (อยู่ฝั่งตรงข้ามกับย่างกุ้ง) บรรจุพระเกศาธาตุ 1 เส้น
VIDEO
VIDEO
VIDEO
สำหรับทริปนี้ พระอาจารย์ได้นำไปกราบไหว้มา 3 เมืองแล้ว คงยังเหลืออีกแห่งเดียวเท่านั้น คือที่บ้าน Twante เมืองดาลา (Dala Township)
ตองอู เคยเป็นเมืองที่เกี่ยวพันกับกษัตริย์พม่าหลายพระองค์ อาทิเช่น พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ผู้มีเส้นผมสีทอง 1 เส้นบนศีรษะ
ที่เปรียบเสมือนฉัตรกั้นให้เป็นมิ่งขวัญ มีพระปรีชาสามารถในการรบ ได้ชัยชนะไปทุกแห่ง
นอกจากนี้ ยังเป็นเมืองของ พระเจ้าบุเรงนอง ผู้มีฉายาว่า ผู้ชนะสิบทิศ และเป็นเมืองที่ พระนางสุพรรณกัลยา เคยประทับอยู่มากกว่าเมืองอื่นๆ
เรามาถึงตองอูในเวลาค่ำ พระอาจารย์ตัดสินใจให้แวะกราบ พระเจดีย์ซานดอว์เซ็น ซึ่งเป็นพระเจดีย์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองตองอูก่อน
ตอนแรกก็งงๆ กับทางเข้า ถนนในเมืองค่อนข้างแคบ ดูแล้วหน้าตาคล้ายกันไปหมด ไปๆ มาๆ รถตู้ของเราก็หาเจอจนได้ แต่พามาเข้าทางข้างหลัง แทนที่จะเป็นข้างหน้า
ก็ค่อนข้างทุลักทุเลพอสมควรกว่าจะมาถึง
พระเจดีย์ซานดอว์เซ็นยามค่ำคืนก็สวยงดงามไปอีกแบบ สถานที่แห่งนี้ พระเจ้าบุเรงนอง มักจะมากราบไหว้อธิษฐานเสมอ และเป็นเจดีย์ที่ชาวพม่านับถือบูชาที่สุด
ตอนเรามาถึง ทางวัดเตรียมจะบูรณะใหญ่อีก 2 เดือนข้างหน้าพอดี พระอาจารย์เลยร่วมบุญบูรณะปฏิสังขรณ์ 220,000 จ๊าด และทำบุญต่าไฟฟ้าอีก 80,000 จ๊าด รวมเป็น
300,000 จ๊าดถ้วน
หลังจากกราบสักการะ และกล่าวถวายเครื่องบูชาแล้ว พระอาจารย์ได้พาพวกเรามาถวายแผ่นทองพระเจดีย์ โดยทางวัดจะมีหงส์ชักรอกขึ้นไปสู่ยอดพระเจดีย์
ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวมอญค่ะ
หลังจากทำบุญกันจนอิ่มอกอิ่มใจแล้ว เรื่องที่พักก็ยังเป็นปัญหา เพราะไม่รู้ว่า จะนอนกันที่ไหน พระอาจารย์ให้ มินโซ โชเฟอร์รถตู้ของเรา
โทรไปถามที่พักในตองอู แต่ก็หายากมาก
จนมาได้ที่พักเป็นโรงแรมเล็กๆ เกรดสองดาวครึ่ง ยังไม่ถึงสามดี สภาพอย่าให้พูดถึง เหมือนไม่มีคนมาพักมาสักชาติเศษ ห้องก็ฝุ่นจับหนาเตอะ
จนคนเป็นภูมิแพ้แทบจะบอกศาลา
แต่ทว่า ก็ต้องอดทนกันไป เพราะไม่มีทางเลือกอื่น ตั้งแต่มาพม่า ที่พักที่นี่ สภาพค่อนข้างจะแย่ที่สุดเท่าที่เราเคยเจอ
สำหรับตอนหน้า เรายังอยู่ที่ตองอู นอกจาก พระเจดีย์ชเวซานดอว์ แล้ว ยังมีเจดีย์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งหนึ่ง ไว้รออ่านตอนต่อไปนะคะ ...สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 15/5/19 at 14:31
[ ตอนที่ 69 ]
(Update 25 พฤษภาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบสอง) 4 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล-ตองยี-ตองอู)
พระเจดีย์เมี่ยสอญีนอง องค์พี่และองค์น้อง (Myat Saw Nyi Naung Pagoda) เมืองตองอู (Taung Oo)
...หลังจากเมื่อคืนหาที่พักได้ในเมืองตองอูแทบจะนาทีสุดท้าย หลับไปไม่กี่ชั่วโมง ก็ต้องฝืนกล้ำกลืนความเหนื่อยล้า
จากการเดินทางต่อเนื่องกันมาหลายวัน ตื่นอาบน้ำแต่งตัว เก็บข้าวของออกจากโรงแรมกันแต่เช้า
แม้โรงแรมที่นี่จะไม่สะดวกสบาย และสะอาดมากนัก เมื่อเทียบกับที่อื่น แต่ก็ไม่มีใครปริปากบ่น เพราะเตรียมใจมาแล้วว่า ระหว่างการเดินทางแสวงบุญใหญ่เช่นนี้
ย่อมมีอุปสรรคบ้างเป็นธรรมดา
แต่ด้วยกำลังใจที่เต็มเปี่ยม ขอให้ได้มากราบสถานที่สำคัญ ที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จ จะเจอปัญหาบ้างอะไรบ้าง ก็ค่อยๆ แก้กันไป
ด้วยบารมีพระและเทวดา ที่ท่านช่วยสงเคราะห์ด้วย ทำให้ทุกอย่างราบรื่น ได้กราบไหว้ครบทุกแห่งสมดังใจปรารถนาทุกอย่าง
*(พวกเราถวายสังฆทานให้ท่านก่อนการเดินทาง)
นอกจากนี้ คงต้องยกความดีให้แก่พระอาจารย์ชัยวัฒน์ ที่ท่านวางแผนการเดินทางไว้อย่างดี ด้วยความที่ท่านมาพม่าหลายครั้ง จนเข้าใจเส้นทางทะลุปรุโปร่ง
ทำให้กระชับเวลาการเดินทางไปได้มาก
อีกทั้งท่านอาศัย Google Map ที่มีผู้ปักหมุด (Keyword) เอาไว้ จึงสามารถสแกนหาจุดเป้าหมายได้ โดยเตรียมการทำ GPS แบบ Offline (ไม่ต้องใช้เน็ต)
เอาไว้ล่วงหน้า
พร้อมทั้งพิมพ์แผนที่เส้นทางไว้ถือในมือ และส่งภาพแผนที่ทุกจุดผ่านไลน์กลุ่ม "เม็งกาลาบา" ของพวกเรา จึงทำให้สะดวกต่อการประสานงาน ระหว่างรถตู้สองคัน
(เราก็ยังมีวิทยุสื่อสารถึงกันอีกด้วย)
เมื่อถึงคราวเดินทางลงพื้นที่จริง ช่วงนั้นจะไม่มีเสียงบอกการนำทาง แต่ก็อาศัยพระอาจารย์คอยบอกแทน โชเฟอร์ของเราจึงขับรถตามเส้นทางได้ครบถ้วนทุกเป้าหมาย
ผู้อ่านอาจจะอยากรู้ว่า ทำไมเราสามารถไปถึงจุดหมายทุกแห่ง ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เส้นทางของนักท่องเที่ยว พวกเราขอตอบว่า
อาศัยพระอาจารย์มีความรู้ทางเทคโนโลยี จึงช่วยให้สำเร็จทุกทริป ทั้งการเดินทางในบ้านเราและพม่า จึงต้องขอขอบคุณ Google Map ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ
ขอเล่าเรื่องต่อไป เช้านี้ที่ตองอู (4 กุมภาพันธ์ 2561) อากาศสดใส แม้ท้องฟ้าจะมีเมฆมาปกคลุมมากไปสักนิด เราแวะรับประทานอาหารเช้าที่ร้านอาหารพื้นเมือง
มีทั้งข้าวผัด บะหมี่ โรตี ชาชัก สารพัดสารพันให้เลือกสรร
หลังจากอิ่มแล้ว พระอาจารย์ก็เรียกโชเฟอร์สองหนุ่มสองมุมมาซักซ้อมเส้นทางที่เราจะไปกันวันนี้ โดยจะล่องลงไปที่กรุงย่างกุ้งอีกครั้ง
คงต้องนั่งรถกันยาวอีกตามเคย
พอรถแล่นออกจากตองอูไปทางทิศตะวันออกประมาณ 20 นาที ข้ามแม่น้ำซิต่อง (Sitaung River) คนไทยเรียก "แม่น้ำสะโตง"
พระอาจารย์ได้พาพวกเรามาแวะที่ พระเจดีย์เมี่ยสอญีนอง (Myat Saw Nyi Naung Pagoda) พระเจดีย์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งหนึ่งของชาวตองอู
ที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก
ตอนแรกก็สับสนเล็กน้อย เนื่องจากสมัยก่อนตอนที่พระอาจารย์มาที่นี่ ตอนนั้นยังมีแค่พระเจดีย์องค์เดียว แต่ปัจจุบัน มีพระเจดีย์อีกองค์หนึ่งตั้งอยู่ข้างๆ
กัน
พระอาจารย์เลยให้แวะไปกราบ พระเจดีย์เมี่ยสอญีนององค์พี่ ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาก่อน คำว่า เมี่ยสอญีนอง แปลว่า พระเจดีย์สองพี่น้อง นั่นเองค่ะ
ตามประวัติคร่าวๆ ที่โชเฟอร์แปลให้ฟัง ย้อนไปเมื่อครั้งพุทธกาล มีชาวบ้านสองพี่น้องได้พบพระพุทธเจ้า และได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นที่นี่ โดยองค์แรก คือองค์พี่
ภายในบรรจุ กระดูกต้นแขนขวา ส่วนองค์น้อง บรรจุ พระทันตธาตุ
VIDEO
...พระเจดีย์องค์พี่นี้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์ รวมทั้งพวกเราชาวคณะตามรอยฯ ก็เพิ่งได้มาเป็นครั้งแรก พอก้าวเข้าเขตวัด
ก็สะดุดตากับสิงห์ตัวใหญ่ นั่งยิ้มแยกเขี้ยวอยู่ข้างหน้าพระเจดีย์ ดูน่ารักมากกว่าน่ากลัว
ถัดไปเล็กน้อย เป็น ฉัตรขนาดยักษ์ ขนาดใหญ่กว่าตัวคน วางไว้อยู่บนแท่น เดาว่า น่าจะเป็นฉัตรเก่าพระเจดีย์ ที่ปลดระวางแล้ว
มาถึงก็ต้องแวะทำบุญก่อนตามระเบียบ พระอาจารย์ได้นำเงินกองกลางร่วมบุญบูรณะ 50,000 จ๊าด และทำบุญค่าไฟฟ้า 20,000 จ๊าด
หลังจากกราบไหว้บูชา และเดินชมรอบๆ วัดแล้ว ก็เดินทางไปยังพระเจดีย์องค์น้องที่อยู่ข้างๆ กัน มีทางเดินเล็กๆ เชื่อมถึงกัน มีหลังคาคลุมกันแดดกันฝน นับว่า
เป็นความรอบคอบของผู้สร้าง
พระเจดีย์เมี่ยสอญีนอง ทั้งสององค์นี้มีรูปทรงไม่เหมือนกับพระเจดีย์ทั่วไปที่เป็นทรงมอญ แต่จะมีรูปทรงเป็นเจดีย์แบบพม่า คือมีฐานแปดเหลี่ยม
แต่ขอบเป็นเหลี่ยมอย่างพม่า (หากทรงมอญ จะขอบมน)
พระอาจารย์เคยมาเมื่อปี พ.ศ.2543 ตอนนั้นแถวนี้ยังเป็นป่า ไม่ได้เจริญอย่างปัจจุบัน สีของพระเจดีย์เป็นสีทองตัดกับขาว ยังดูใหม่ๆ อยู่
คงจะเพิ่งบูรณะเมื่อไม่นานมานี้
อย่างไรเสีย ในอนาคตคงต้องมีการบูรณะอีกแน่นอน พระอาจารย์เลยนำปัจจัยไปถวายท่านเจ้าอาวาส เพื่อร่วมบุญบูรณะ 60,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้าอีก 20,000 จ๊าด
หลังจากทำบุญครบแล้วทั้งองค์พี่และองค์น้อง ก็ออกเดินทางกันต่อ เพราะเส้นทางยังอีกยาวไกล ระหว่างทาง พระอาจารย์ได้แวะฉันเพล
ที่ศูนย์อาหารตรงจุดจอดรถบนมอเตอร์เวย์ ของเขาใหญ่และทันสมัยมาก
สำหรับตอนหน้า ถึงตอนสำคัญอีกที่หนึ่ง นั่นก็คือ พระเจดีย์กลางน้ำเยเลพญา แห่งเมืองสิเรียม คงมีใครคุ้นๆ หูชื่อนี้อยู่บ้าง
เพราะของเค้าดังในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยนะจ๊ะ เดี๋ยวจะว่า ไม่บอก อดใจไว้ตอนหน้านะคะ
แล้วเจอกันค่ะ
มิงกะลาบา !!
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 20/5/19 at 07:09
[ ตอนที่ 70 ]
(Update 31 พฤษภาคม 2562)
Special Myanmar (ทัวร์พม่าพิเศษ 29 วัน)
วันที่ 14 มกราคม 11 กุมภาพันธ์ 2561 (วันที่ยี่สิบสอง) 4 กุมภาพันธ์ 2561
(มะละแหม่ง-หงสาวดี-ย่างกุ้ง-แปร-มาเกว-มินบู-Ann-ยะไข่-พุกาม-ปะโคะกู-โมนยวา-ชเวโบ-อินดอว์ยี-มัณฑะเลย์-พินอูลวิน-สีป่อ-ลอว์เส้าค์-อินเล-ตองยี-ตองอู-สิเร
ียม) ตอน พระเจดีย์กลางน้ำไจ้หม่อวน (Kyaikmawwun Yele Pagoda) เมืองสิเรียม
(Syriam)
VIDEO
...หลังจากเดินทางออกจากเมืองตองอู (Taung-oo) เราค่อยๆ เขยิบเข้ามาใกล้กรุงย่างกุ้งเข้ามาอีกนิด
เรื่องการเข้าตัวเมืองย่างกุ้งนี่ ท่านวางแผนไว้รัดกุม เพราะใครๆ ก็รู้ว่ารถติดขนาดไหน โชคดีที่ "คุณมินท์ซู" โชเฟอร์คนหนึ่งของเราเป็นชาวย่างกุ้ง
เขาจึงรู้เส้นทางหลบเลี่ยงได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งพระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้ศึกษาเส้นทางเลี่ยงเมืองจาก Google Map ท่านจึงใช้ GPS นำไปตามเส้นทางออกนอกตัวเมือง
ด้วยเหตุดังกล่าว ในช่วงบ่ายวันนี้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้พาพวกเราไปกราบนมัสการ พระเจดีย์กลางน้ำแห่งเมืองสิเรียม ได้ทันเวลาพอดี
นับเป็นพระเจดีย์ที่สำคัญและเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของพม่า อยู่ห่างจากย่างกุ้งประมาณ 20 กิโลเมตร ตามที่เคยเล่าไปแล้วว่า "เยเลพญา"
หรือพระเจดีย์กลางน้ำของพม่า ยังมีอีก 2 แห่ง คือ
✅ 1. พระเจดีย์ชเวมิตซู ทะเลสาบอินดอว์ยี มิตจิน่า
✅ 2. พระเจดีย์พองดอว์อู (พระบัวเข็ม) ทะเลสาบอินเล
ในวันนี้ พระอาจารย์ได้นำพวกเรามาไหว้ครบทั้ง 3 แห่งแล้ว แต่ก่อนจะไปไหว้พระเจดีย์ มีเรื่องตลกมาเล่าให้ฟังค่ะ
ตอนที่พระอาจารย์บอกโชเฟอร์สองหนุ่มว่า จะไป เมืองสิเรียม พวกเขาทำหน้างงๆ มีเครื่องหมายคำถามอยู่ในแววตาว่า มันคือที่ไหนหว่า..เกิดมาไม่เคยได้ยิน ?
คุยไปคุยมา ก็ถีงบางอ้อ คนพม่าเรียกเมืองสิเรียมว่า เมืองตันลยิน (Thanlyin) ซึ่งเป็นชื่อปัจจุบัน ส่วนชื่อ สิเรียม
นั้นเป็นชื่อที่เรียกกันมาแต่ดั้งเดิม
ซึ่งคุ้นหูคนไทยมากกว่า คล้ายๆ กับที่เราเรียก หงสาวดี แต่คนพม่าเรียก พะโค หรือที่คนไทยเรียก พุกาม แต่คนพม่าเรียก บากัน นั่นเองค่ะ
หลังจากผ่านทางแยกหงสาวดีแล้ว เราก็เลือกใช้สะพานข้ามแม่น้ำบาโก (Bago) ที่อยู่นอกเมือง ซึ่งดีกว่าเข้าไปข้ามสะพานที่อยู่ในเมืองย่างกุ้ง
แต่พอข้ามสะพานมาแล้ว โชเฟอร์ต้องขับพาเราเข้าไปตามถนนเล็กๆ ค่อนข้างแคบ ขับสวนกันที ก็ต้องลุ้นกันจนเหนื่อยว่า จะพ้นไหม
แต่ด้วยความที่โชเฟอร์ของเราเก่งทั้งคู่ เลยผ่านเหตุการณ์ต่างๆ มาได้อย่างปลอดภัย เราเสียเวลาอยู่บนท้องถนนกันอยู่พักใหญ่
พอดีไปเจอถนนกำลังก่อสร้าง เลยต้องวนไปวนมา แต่ก็ไปถีงก่อนพระเจดีย์ปิดแบบหวุดหวิด โชคดีที่ชาวมอญชาวพม่า ยังนิยมไหว้พระในตอนเย็น
สำหรับผู้ที่ต้องการไปกราบนมัสการ ต้องนั่งเรือรับจ้างที่จอดรอรับส่งคนที่ท่าน้ำ เพื่อข้ามไปยังพระเจดีย์ที่อยู่กลางน้ำ
นอกจากนี้ยังมีค่าเข้าชมอีกคนละ 3,000 จ๊าด คณะเรามีทั้งหมด 14 ชีวิต แต่จ่าย 39,000 จ๊าด เพราะพระอาจารย์ได้รับสิทธิยกเว้น ให้เข้าฟรี ไม่คิดเงิน
พระอาจารย์บอกว่า น่ารำคาญที่เจ้าหน้าที่ตามมาทวงเงิน ทั้งที่เราเข้ามาตั้งใจจะทำบุญอยู่แล้ว เพราะสมัยก่อนไม่มีการเก็บเงิน
ท่านมาครั้งแรกเมื่อปี 2539 (มีคลิปวีดีโอให้ชมด้วย จะเห็นสภาพเดิมๆ เมื่อ 20-30 ปีก่อน ที่ยังพอให้เห็นเป็นธรรมชาติ)
🌸🍃 ประวัติพระเจดีย์กลางน้ำไจ้หม่อวน 🍃🌸
พระเจดีย์ไจ้หม่อวน (Kyaikmawwun Pagoda) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระเจดีย์เจ้าตัน (Kyauktan Yele Pagoda)
หรือเรียกสั้นๆ ว่า เยเลพญา (Yele Paya) ตั้งอยู่ปากแม่น้ำอิรวดี เมืองสิเรียม ซึ่งอดีตเคยเป็นเมืองท่าชั้นนอกของพะโค (หงสาวดี)
นอกจากนี้ เมืองสิเรียมยังเคยเป็นฐานที่มั่นของโปรตุเกส ที่ช่วยเหลือชาวมอญทำสงครามกับพม่าในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ช่วงที่โปรตุเกสมีอิทธิพลในย่านนี้
ชาวมอญโดนบังคับให้เข้ารีตในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกกว่าหมื่นคน
ในปี พ.ศ. 2256 พระเจ้าอะน่าวแผ่หลุ่น แห่งเมืองตองอู ยกทัพเข้าตีเมืองสิเรียมแตก จากนั้นสิเรียมก็ตกอยู่ในอำนาจของทั้งพม่า มอญและไทย
พระเจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำมานานสองพันกว่าปีแล้ว ตั้งแต่สมัยอาณาจักรมอญยังเรืองอำนาจในเขตนี้
โดย กษัตริย์ปาต๊ะ อัญเชิญ พระเกศาธาตุ มาจากประเทศอินเดีย แล้วนำมาบรรจุไว้ที่เกาะกลางน้ำแห่งนี้ ซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวกรากอยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้ ยังมี พระพุทธรูปหยกขาว ตามประวัติบอกว่า ลอยน้ำมาแต่ชิ้นส่วนองค์พระพุทธรูป ขาด 5 อย่างด้วยกันคือ พระเศียร, แขน 2 ข้าง และขา 2 ข้าง
ต่อมาชาวบ้านได้นำไปทิ้ง แต่พระพุทธรูปดังกล่าวก็กลับมาที่เดิม จึงได้มีการต่อเติมองค์พระให้สมบูรณ์ ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 พระเจ้าซียาสะนา (King
Bawgasena) ทรงสร้างเจดีย์เยเลพญาขึ้น
พระองค์ได้ทรงอธิษฐานขอพร 3 ประการ สำหรับพระเจดีย์องค์นี้ คือ
1. น้ำจะมากสักเท่าใด ก็ขอให้น้ำไม่ท่วมบริเวณเกาะนี้
2. คนมามากสักเท่าใด ก็ขอให้รับได้หมด
3. คนที่มีจิตศรัทธาทำบุญวัดนี้ ขอให้ร่ำรวยโดยฉับพลัน
ชาวพุทธผู้มาเยือนก็สามารถอธิษฐานได้ 3 ข้อเช่นกัน จากนั้น พระอาจารย์ได้นำคณะกราบนมัสการพระพุทธรูปหยกขาว ประดับเครื่องทรง
มีพระพักตร์งดงาม ที่ประดิษฐานอยู่ภายใน
ต่างคนต่างตั้งจิตอธิษฐาน ขอพรของตัวเอง แต่ไม่ว่าจะอธิษฐานขอสิ่งใดก็ตาม แต่ก็จบลงท้ายด้วยคำอธิษฐาน นิพพานะ ปัจจโย โหตุ เมฯ เสมอหมือนๆ กัน
ช่วงที่เราไป ถือว่าเป็นจังหวะดี เพราะพระเจดีย์กำลังอยู่ในระหว่างการบูรณะใหญ่ หลังจากว่างเว้นการบูรณะมา 5 ปี นานๆ จะมีโอกาสดีๆ เช่นนี้สักที
พระอาจารย์เลยร่วมทำบุญ 220,000 จ๊าด และค่าไฟฟ้า 80,000 จ๊าด
นอกจากนี้ ยังแจกเงินคนงานเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ รวมแล้วเป็นเงิน 60,000 จ๊าด ถือว่า เราได้มีส่วนร่วมในการลงมือซ่อมแซมไปกับเขาด้วย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
360,000 จ๊าด
เมื่อกราบบูชาเสร็จแล้ว เราก็ต้องรีบกลับขึ้นเรือที่จอดรออยู่ เพราะนี่ก็ใกล้เวลาสนธยาเข้ามาเต็มที เรายังเหลืออีกแห่งหนึ่งที่ต้องไปในวันนี้
เลยต้องเร่งรีบทำเวลากันนิดนึง
ตอนที่เราออกมา พระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้าพอดี เลยได้เก็บภาพหมู่ร่วมกันได้ทัน ก่อนแสงสุดท้ายจะลับหายไป
สำหรับตอนหน้า จะพาท่านผู้อ่านไปกราบนมัสการพระเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งหนึ่งของสิเรียม ซึ่งสร้างสมัยเดียวกับ พระเจดีย์ไจ้หม่อวน
ติดตามให้ได้นะคะ
สวัสดีค่ะ
คณะทีมงานฯ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 24/5/19 at 08:15
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 25/5/19 at 04:25
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 31/5/19 at 19:14
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player
ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป
ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved