|
|
|
posted on 6/8/08 at 13:25 |
|
ภาพข่าว..การเดินทางไปประเทศจีน (แผ่นดินใหญ่) ครั้งที่ 3 ปี 2547
การเดินทางไปประเทศจีน ครั้งที่ ๓
วันที่ ๒๔ มี.ค. - ๔ เม.ย. ๒๕๔๗
๑. ยอดเขาอู่ไถซาน
๒. ยอดเขาจิ่วหัวซาน
๓. วัดหลิงอิ่นซื่อ (พระจี้กง) เมืองหังโจว
๔. เกาะผู่ถัวซาน (เจ้าแม่กวนอิม)
๕. วัดหนานหัวซื่อ เมืองเสากวาน
๖. วัดลิ่วหย่ง เมืองกวางเจา
๗. วัดกวางเซียวซื่อ เมืองกวางเจา
กวางเจา - ไท่หยวน
สาเหตุที่มีการเดินทางครั้งนี้อีก ดังที่เล่าผ่านไปแล้วว่า ได้พบกับสิ่งที่เกิดขึ้นบนง้อไบ้ อย่างไม่คาดคิดมาก่อน จึงเริ่มสนใจที่จะไต่ถาม
ว่าเมืองจีนยังมีสถานที่ใดที่สำคัญอีก พอดีมีคน รู้จักกันชื่อ คุณพงศ์พิชญ์ (เจี๊ยบ)
วงค์โสภณศิริเคยไปศึกษาที่กวางเจา ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของจีนเป็นอย่างดี จึงรับอาสาที่จะนำ ไปกราบไหว้ให้ครบถ้วนในครั้งนี้
ผู้เขียนจึงชวนผู้ที่รู้ภาษาจีนไปด้วยอีก ๑ คน คือ คุณสุชัย (ท้ง) ชินบุตรานนท์
และคุณพงศ์พิชญ์ก็ชวนเพื่อนไปอีก ๑ คน คือ คุณชุมพล (ชุม) โอสายไทยโดยจัดโปรแกรม
การเดินทางหลังจากเสร็จ งานพิธีบรรจุหัวใจ ในองค์พระใหญ่ ที่จังหวัดชุมพรเสร็จแล้ว
คุณพงศ์พิชญ์ หรือ เจี๊ยบเคยจัดทัวร์เที่ยวเมืองจีนมาก่อน จึงช่วยจัดการเรื่องการเดินทางทุกอย่าง
ก่อนเดินทางได้แจ้งว่า สถาน ทูตจีนอนุมัติให้ไปเพียง ๑๐ วันเท่านั้น ทั้งที่โปรแกรมจะต้องอยู่ถึง ๑๒ วัน แต่ค่อยไป
แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ภายหลังก็แล้วกัน
วันที่ ๒๔ มี.ค. ๔๗ ออกเดินทางสู่ เมืองกวางเจาประเทศจีน ระหว่างทางที่ออก จากสนามบินจะมาขึ้นรถแท็กซี่
ปรากฏว่ามีฝน ฝอยๆ ละเอียดตกลงมาด้วย คืนนี้พักที่หอพัก ภายในมหาวิทยาลัย ที่เจี๊ยบและชุมเคยเรียนอยู่
วันที่ ๒๕ มี.ค. ๔๗ เมื่อคืนนี้ ฝนตกฉ่ำไปทั้งเมืองเลย อากาศเย็นสบายอุณหภูมิประ มาณ ๑๖ องศา เราไปกันที่สนามบินไปลงที่ ไท่หยวนต้องฉันเพลบนเครื่องบิน พวกเราก็ เตรียมเสบียงไว้แล้ว ขณะอยู่บนเครื่องกัปตัน บอกว่า เมื่องไท่หยวนอยู่ใน
มณฑลซานซีมีอุณหภูมิ ๕ องศา
เมืองไท่หยวนเป็นเมืองในหมอก เพราะ ตั้งอยู่บนที่ราบสูง จึงมีหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี ในสมัยศตวรรษที่ ๑๓ มาร์โคโปโลได้ บรรยายเกี่ยวกับเมืองนี้ว่า เป็นเมืองที่เจริญรุ่ง เรือง และเป็นศูนย์กลางการค้าการอุตสาหกรรม ที่ยิ่งใหญ่
อู่ไถซาน
แต่เราต้องนั่งรถตู้ที่มารอรับไปที่ เขาอู่ไถซานอีกประมาณ ๔ ชั่วโมง ระหว่างทาง ได้แวะตามตัวเมืองต่างๆ
ชาวบ้านบางคนเห็น พระไทยไม่รู้จัก ต่างมองกันจนเหลียวหลัง คง จะไม่มีใครมาถึงดินแดนแห่งนี้มาก่อน บ้างก็ขี่จักรยานไปมองไป เราก็กลัวแกจะล้มลงไป เสียก่อน
ระหว่างทางเห็นมีคนเดินลากรถไป ด้วยไหว้ไปด้วย
คนขับรถตู้บอกว่า คนนั้นจะไปที่ยอด เขาอู่ไถซาน ด้วยความศรัทธาจึงเดินไปไหว้ไป จนกว่าจะถึง เราฟังแล้วก็นึกชมน้ำใจในความ เลื่อมใส
แสดงให้เห็นว่าภูเขาแห่งนี้ นับเป็น ๑ ใน ๔ แห่งที่ศักดิ์สิทธิ์จริง มองภูเขาที่อยู่ ไกลออกไป จะเห็นหิมะเกาะทิวเขาขาวโพลน
คนขับรถตู้บอกว่า หิมะเพิ่งตกเมื่อวาน นี้เอง พวกเราฟังแล้วก็พูดกันว่า ถ้ายังงั้นก็ตก ตรงกับวันที่เราเดินทางพอดีนะซิ นับว่าเริ่มพบ ในสิ่งที่แปลกๆ
อีกแล้ว ตามที่หลวงปู่วงศ์บอก ว่าเป็นฝนแก้ว รถตู้วิ่งข้ามเขาผ่านซุ้มประตู แล้วจอดพักที่ด่านตรวจ ลงเดินยืดเส้นยืดสาย ท่ามกลางอากาศเย็นมีลมพอสมควร
ยืนมองดูต้นไม้บนยอดเขาก็แห้ง บนนี้ เป็นที่ราบสูง เมืองไท่หยวนนี้เป็นภูเขาทั้งนั้น แล้วก็นั่งรถตู้ต่อไปอีก พวกเราโชคดีถ้าเราเดิน
ทางเมื่อวานนี้ก็จะลื่น ตอนนี้หิมะกำลังละลาย ไปบ้าง เวลา ๑๕.๔๕ น. ถึงบริเวณยอดเขา อู่ไถซานมองดูรอบๆ
เห็นตึกรามบ้านช่องใหญ่ โตมโหฬาร มีโรงแรม มีร้านอาหาร ยาวเหยียด เป็นแถวทั้งสองฟากฝั่งถนน
พวกเรามาจังหวะดีที่ยังไม่ถึงเทศกาล หากมาตอนนั้นคนจะเยอะมาก ข้างบนนี้เป็นเมืองอยู่บนภูเขา มีที่พัก มีร้านอาหาร ไว้ต้อน
รับพวกนักแสวงบุญที่เดินทางมาจากแดนไกล ในตอนนี้ เจี๊ยบเข้าไปติดต่อที่พัก มองเห็น ผู้หญิงที่ต้อนรับแก้มเป็นสีชมพู คงเป็นเพราะ ความหนาวเย็นก็ได้
ตอนนี้เป็นเวลาบ่าย แต่ แดดไม่ร้อนมีแต่ลมเย็น อากาศแค่ ๑๐ องศา
วัดซูเซียงซื่อ
ยอดเขาอู่ไถซานเป็นสถานที่สำคัญของ พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมี ชื่อ เหวินซูในบริเวณนี้ที่เราจะไปกราบไหว้มีประมาณ ๔ วัด หลังจากได้ที่พักแล้ว จึงไปที่ วัดซูเซียงซื่อเป็นอันดับแรก ข้างบนนี้อากาศเย็นมาก ยังมี ร่องรอยหิมะหลงเหลืออยู่
คณะเดินขึ้นบันไดสู่ลานกว้าง มองดู รอบๆ ภายในอาคารมีรูปปั้นตัวกิเลนสีเขียว ผงาดกลางแท่นบูชา ผู้เขียนจุดธูปเทียนบูชารูป ปั้นพระโพธิสัตว์
เหวินซูที่ประทับอยู่บนกิเลน เสร็จแล้วเดินชมบริเวณวัดโดยรอบ มองเห็น ป้ายขนาดใหญ่
เจี๊ยบบอกว่าป้ายนี้เป็นป้าย จักรพรรดิ คังซี - หยงเจิ้น
สมัยแมนจูปกครองจีน จักรพรรดิองค์ แรกชื่อ ซุ่นจื้อและองค์ที่ ๒ เป็นจักรพรรดิ คังซีส่วนองค์ที่ ๓ ก็จะเป็น หย่งเจิ้นแล้วก็
จะมาถึงจักรพรรดิ เฉียนหลงทั้งคังซี หย่งเจิ้น และเฉียนหลง สามองค์นี้มีชื่อเสียงมากที่สุด
จีนช่วงนี้มีความเจริญมาก จากนั้นก็เดินออกมา มองดูพื้นดินเต็มไป ด้วยหิมะที่เพิ่งตกลงมา จึงหยิบหิมะขึ้นมาโปรย
พอที่จะได้ชื่อว่าได้มาสัมผัสกับมือแล้วนั่นเอง มองไปรอบยอดเขา เห็นพระอาทิตย์ตกไปแล้ว จึงเดินทางกลับที่พักกัน
วัดผูซ่าติ่ง
เช้าวันที่ ๒๖ มี.ค. ๔๗ นั่งฉันอาหาร เช้าแถวนั้น แล้วขึ้นรถตู้ออกเดินทาง มองเห็น ขวดน้ำหน้ารถเป็นน้ำแข็งไปแล้ว รถเข้าไปจอด ที่ วัดผูซ่าติ่งมีป้ายบอกว่า อู่ไถเซิ่นจิ่งแปลว่า ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่
จักรพรรดิคังซีประทาน ป้ายนี้ไว้ วัดนี้มีรูปพระโพธิสัตว์ ๓ องค์ คือ เจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์ผู่เสียน
และพระ โพธิสัตว์เหวินซู
วัดนี้สร้างมาแล้วประมาณ ๙๐๐ กว่าปี จำลองมาจากพระราชวังปู่ตาลากงในทิเบต ซึ่งเป็นนิกายลามะ
วัดนี้ถือเป็นวัดนิกายทิเบต ที่สำคัญที่สุดในอู่ไถซาน จักรพรรดิซุ่นจื้อ ซึ่ง
เป็นกษัตริย์องค์แรกในราชวงศ์ชิง (แมนจู) หลังจากที่สนมเอกที่พระองค์รักมากที่สุดเสีย ชีวิตไป พระองค์ก็ได้สละราชสมบัติออกบวช ก็ได้มาอยู่ที่อู่ไถซาน
แต่ไม่รู้ว่าอยู่วัดไหน
วัดต้าเสียนทงซื่อ
ตอนนี้ได้มาถึงวัดที่ ๓ แล้ว เป็นวัดที่ สร้างสมัยราชวงศ์ฮั่น โดยจักรพรรดิฮั่นหมิงตี้ ถือเป็นวัดเก่าแก่อันดับ ๒ ในจีน (วัดเก่าแก่ ที่สุดคือ
วัดม้าขาว) อยู่ในหลั่วหยาง มณฑล เหอหนาน การวางผังแปลนสร้างวัดของจีน จะ เหมือนกันทุกแห่ง
คือหน้าวิหารจะมีการปลูกต้นไม้และ จัดสวนหย่อม เรียกว่า สวนเชตวันวิหารแรก ที่พบด้านหน้า จะมีรูป
พระศรีอาริย์ ข้างในก็ จะมีรูปท้าวมหาราชทั้ง ๔ ท้าวธตรฐ
จะถืองู ท้าวเวสสุวรรณถือร่ม ท้าววิรูปักษ์ถือพิณ
ท้าววิรุฬหกถือดาบ
ส่วนภายในวิหารจะมีพระพุทธรูป ซ้าย มือจะเป็น พระมหากัสสปขวามือคือ พระอานนท์พุทธศาสนาของจีนจะเป็นนิกายเซน โดย พระมหากัสสปเป็นผู้สืบทอดผ้าจีวรและบาตรของพระพุทธเจ้า
ส่วนกระถางก็ใหญ่โตมโหฬาร ชาวจีนนิยมจุดธูปเป็นกำๆ มิน่าถึงมีอานิสงส์ ได้ครองแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาลไปด้วย
วัดถ่าเยวี่ยนซื่อ
วัดแห่งนี้เรามาถึงป้ายทางเข้าวัด เจี๊ยบ บอกว่าชื่อ เจดีย์ถ่าเยวี่ยนซื่อเป็นเจดีย์ใหญ่
สีขาวบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างในสมัย ราชวงศ์หยวนของมองโกล ประมาณ ๑,๙๐๐ ปีมาแล้ว ข้างๆ เจดีย์มีรอยพระพุทธบาทจำลอง ด้วย ในบริเวณนั้น
ยังมีเจดีย์ขาวองค์เล็กอีก
ตามประวัติเล่าว่า พระโพธิสัตว์เหวินซู ได้จุติมาเป็นหญิงคนหนึ่ง แล้วได้มาขออาหาร กินที่วัดนี้ แล้วทิ้งเส้นเกศาไว้ให้กำมือหนึ่ง
จึงมีการสร้างเจดีย์นี้ไว้ สรุปภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ๔ แห่ง มีดังนี้
๑. พระโพธิสัตว์ผู่เสียนยอดเขาง้อไบ้ เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน
๒. พระโพธิสัตว์เหวินซู ยอดเขาอู่ไถ ซาน เมืองไท่หยวน มณฑลซานซี
๓. พระโพธิสัตว์ตี้จั้งหวัง(ปรารถนา เป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้าย) ยอดเขาจิ่วหัวซาน มณฑลอันฮุย
อยู่ใกล้ๆ เมืองเซี่ยงไฮ้
๔. เจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์เกาะผู่ถัวซาน มณฑลเจ๋อเจียง อยู่ใกล้ๆ เมืองหังโจว
ไท่หยวน - เซียงไฮ้
วันนี้วันที่ ๒๗ มี.ค. ๔๗ เมื่อวานเดิน ทางกลับจาก อู่ไถซานมาพักที่ ไท่หยวน ก่อน ในตอนเช้าถึงนั่งเครื่องบินไปที่ เซี่ยงไฮ้
เพื่อเดินทางไปที่ ยอดเขาจิ่วหัวซาน ต้องนั่งรถกัน ถึง ๘ ชั่วโมงครึ่ง กว่าจะถึงยอดเขา
เมื่อจะติดต่อที่พัก เจ้าคนขับรถคันนี้มี ทีท่าจะตุกติกกินหัวคิว จึงต้องลงไปติดต่อเอง เพื่อไม่ให้เจี๊ยบเสียชื่อในฐานะที่เป็นไกด์มาก่อน
คืนนั้นก็นอนหลับสบายดี พวกเราพูดภาษาจีน ได้ทั้ง ๓ คน (เว้นผู้เขียน) เขาจึงเดินเที่ยวไปได้ทุกแห่ง บนยอดเขานี้มีคนขึ้นมาเที่ยวเยอะ มาก เป็นเมืองๆ
หนึ่งที่อยู่บนยอดเขา
ในตอนเช้า ผู้เขียนนั่งฉันบะหมี่น้ำ และซาลาเปาใกล้ๆ ที่พัก มีคลองระบายน้ำเล็กๆ ไหลผ่าน บรรยากาศคล้ายโรงเตี้ยมในหนังจีน เวลา ๐๗.๐๐ น. วันที่ ๒๘
มี.ค. ๔๗ จึงนั่ง กระเช้าต่อขึ้นไปบนยอดสูงสุด (ยอดเทียนไถ) เช้านี้อากาศแจ่มใสไม่มีเมฆหมอกเลย คิดไม่ถึงเลยว่า ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทุกแห่ง
จะมีผู้คนเดินทางมากราบไหว้กันมากมายถึง เพียงนี้ ถึงแม้จะสูงแค่ไหน เขาก็สามารถทำ กระเช้าไฟฟ้าขึ้นไปได้ ปลูกศาลาวิหารไว้บน หน้าผา
มองดูแล้วไม่ธรรมดาเลย
คนเดินไปมาขวักไขว่ยังกะไม่ได้อยู่บนเขากันเลย กลิ่นธูปควันเทียนลอยเต็มไปหมด มีทั้งคนเฒ่าคนแก่และหนุ่มสาว ต่างก็อธิษฐาน บนบานศาลกล่าว
เพื่อความเป็นมิ่งขวัญแก่ชีวิต ซึ่งยากที่จะขึ้นมาพิชิตบนนี้ได้ ถ้าไม่ตั้งใจให้ เด็ดเดี่ยวและมั่นคง
พวกเราเดินตรงไปที่คนมุงดูอยู่ในศาลาหลังเล็กแห่งหนึ่ง เห็นเดินเข้าไปย่ำๆ บนพื้น หินที่มีรอยเท้าคู่หนึ่ง เจี๊ยบอธิบายว่าเป็นรอย เท้าพระโพธิสัตว์
ตี้จั้งหวังอยู่ในวิหารหลังนี้ ชื่อว่า กู้ไป้จิงไถ
เป็นรอยเท้าบนพื้นหินธรรม ชาติชัดเจน ทั้งซ้ายและขวายาวประมาณ ๑ ฟุต ท่านคงเป็นคนตัวใหญ่มาก เกิดในสมัยราชวงศ์ ถัง ตั้งพันกว่าปีมาแล้ว
การไหว้บูชาของชาวจีน เขาจะเดินเข้า ไปเหยียบย่ำบนรอยเท้าของท่าน ต่างคนต่าง แย่งเข้าไปเหยียบย่ำ จนผู้เขียนเข้าไปไม่ได้ ต้อง รอจังหวะคนน้อยๆ
พอว่างก็รีบเข้าไปทันที เราก็ไหว้แบบไทยๆ คือน้อมศีรษะเข้าไปก้ม กราบไหว้ พระจีนที่ยืนอยู่พนมมือหน้ายิ้มๆ แสดงถึงความเข้าใจในอาการที่เรากราบไหว้
แต่พอเริ่มปิดทองและสรงน้ำหอม ยัง ไม่ทันจะโงหัวออกมา เกือบถูกกยายซิ้มแก่เดิน เข้ามาเหยียบหัว ดีว่าไหวทันรีบหลบออกมา เสียก่อน
ไม่งั้นคงโดนเหยียบไปแล้ว แทนที่ จะเหยียบเท้าท่าน ดันมาเหยียบหัวเราเสียก่อน แหม..น่าจะใจเย็นรอสักนิด..เท้าไวชะมัด
|
|
|
|
Posts: 462 |
Registered: 12/3/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
posted on 12/8/08 at 20:26 |
|
(Update 12 ส.ค. 51)
จากนั้นก็เดินเข้าไปข้างในวิหาร เพื่อเข้าไปไหว้รูปปั้นของพระโพธิสัตว์องค์นี้ หลังจากนั้นนั่งกระเช้ากลับลงมา ข้างล่างแดดเริ่ม ออก
มีคนรอขึ้นกระเช้ากันมากมาย โชคดีที่ เราไปกันตั้งแต่เช้า แล้วก็ไปที่ ภูเขาโย่วเซิน เตี้ยน
ร่างของท่านตี้จั้งหวังไม่เน่าอยู่ที่นี่ ผู้เขียน ได้นำเพชรรัสเซียเจียระไน (ติดหน้าผาก) ไปด้วย โดยตั้งใจนำไปถวายบูชาพระโพธิสัตว์ทุกองค์
ภูเขาจิ่วหัวซานเริ่มมีพระมาอยู่ในสมัยราชวงศ์จิ๋น ประมาณพันกว่าปี หลังจากสาม ก๊กนิดเดียว เมื่อรวมสามก๊กแล้วก็เป็นราชวงศ์ จิ๋น ซึ่งก่อนราชวงศ์ถัง
๑๐๐ กว่าปี ก็มีพระ อินเดียเริ่มมาอยู่ที่นี่ พอมาถึงราชวงศ์ถัง ก็มี พระที่เป็นเชื้อพระวงศ์ของเกาหลี จินเฉียว เจวี่ยะ
ท่านบวชในเกาหลีแล้วมาปฏิบัติอยู่ที่นี่
เมื่อมรณภาพร่างของท่านไม่เน่าไม่เปื่อยนับเป็นองค์แรกที่เขาจิ่วหัวซานนี้ หลังจากนั้น พระที่มาปฏิบัติที่นี่ ก็ยังมีอีกหลายรูปที่ร่างไม่
เน่าไม่เปื่อย มีพระตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง ราช วงศ์หมิง โดยเฉพาะองค์นี้มีทั้งรอยเท้า มีร่าง จริงของท่าน เสียดายที่บรรจุเอาไว้ในเจดีย์
เขาห้ามถ่ายรูปภาพและถ่ายวีดีโอด้วย
ร่างนี้มีมานานถึง ๑,๐๐๐ ปีแล้วนะ ชาวจีนจะเคารพนับถือมาก ท่านมีบุญญาธิการ สามารถเหยียบหินให้เป็นรอยเท้าได้ และที่
สำคัญปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์องค์สุดท้าย ด้วย เจี๊ยบบอกว่าประมาณว่าในนรกไม่ว่าง เมื่อใด ท่านจะไม่บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า อีก ยาวนานมากเลย
สร้างบารมีเยอะมาก
ในขณะที่กำลังเดินผ่าน มีพระลามะรูป หนึ่งยืนอยู่ จึงชวนถ่ายรูปร่วมกัน พอถ่ายเสร็จ จะให้พระธาตุ แต่แถมขอเงินค่ารถ จึงแก้เผ็ด
ด้วยการให้ด้ายสายสิญจน์แทน ทีหลังจะได้ไม่ ขอกันง่ายๆ แบบนี้ ต่อจากนั้นนั่งรถรางไฟฟ้า เพื่อจะไปไหว้ร่างของพระจีนที่ไม่เน่าอีก
วิหารหลังนี้ชื่อว่า ไป่ซุ่ยกง กำลัง บูรณะวิหาร จึงทำบุญไป ๕๐ หยวน แล้วเดิน
ไปที่ร่างของท่านในลักษณะนั่งขัดสมาธิ ตาม ประวัติเจี๊ยบเล่าว่า ท่านเกิดที่ปักกิ่งแล้วไปบวช ที่อู่ไถซาน ขณะนั้นอายุ ๒๔ ปีได้ธุดงค์มาอยู่
ที่นี่ในปลายราชวงศ์หมิง ประมาณ ๒๐๐ กว่า ปีที่ผ่านมา แล้วท่านมรณภาพไป กษัตริย์องค์ สุดท้ายชื่อ ฉงเจิน
ก็มาเจอร่างของท่าน
เมื่อได้บูรณะวัดแล้ว ต่อมาในราชวงศ์ ชิง วิหารแห่งนี้ถูกไฟไหม้ ไฟได้ล้อมเข้ามา รอบวิหาร ปรากฏว่าร่างของท่านยกมือขึ้นมา คล้ายห้ามไฟไว้ทั้งสองข้าง
แล้วไฟก็ดับลงไปทันที มือที่ยกบังไฟอยู่นั้นก็ค้างมาจนกระทั่ง บัดนี้ ตอนนั้นเจ้าอาวาสหนีไฟเข้ามาหลบอยู่ ใต้ฐานของท่าน เจ้าอาวาสชื่อ ผู่เสีย ก็เลย รอดมาด้วย
แล้วก็ยังมีร่างไม่เน่าอีก มีทั้งแม่ชีและ พระหลวงจีนที่บ้าๆ บอๆ สมัยมีชีวิตอยู่ชาว บ้านเข้าใจว่าเป็นพระที่สติไม่ค่อยดีชื่อ ต้าซิ่ง เหอซั่ง มีรูปภาพของท่านด้วย มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ประมาณยี่สิบปีมานี้เอง พอถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๑
เปิดโลงมาก็พบว่าร่างไม่เน่า
รวมแล้วข้างบนเขานี้ ยังมีร่างไม่เน่า ประมาณ ๑๑ ร่าง แต่ก่อนมีมากกว่านี้ แต่ถูก มาดามชิง
ปฏิวัติวัฒนธรรม สั่งเผาร่างไปเสีย ตั้งเยอะ ส่วนที่เหลือนี่ถูกนำไปซ่อนไว้จึงรอด มาได้ วันนี้บังเอิญที่เราไปกัน ตรงกับวันสำคัญ ของจีน
เจี๊ยบเข้าไปคุยกับหลวงจีนบอกว่า
วันนี้ชาวจีนเขาถือว่าเป็นวันที่พระพุทธ เจ้าออกบวช วันจันทรคติเรียกว่าชูปาวัน ๘ ค่ำ เดือน ๒
มิน่าถึงมีคนมาเยอะ นับว่าเป็น สิริมงคลแก่พวกเราที่มาตรงกับวันสำคัญของ จีนพอดี เมื่อได้ยืนชมทิวทัศน์บนยอดเขาแล้ว จึงกลับลงมาถึงตีนเขาได้เวลาฉันเพลพอดี
ครั้นมองขึ้นไปบนยอดเขาอีกครั้ง เห็นหมอก ลงเต็มไปหมด ไม่เหมือนตอนเช้าที่แจ่มใส
วัดหลิงอิ่นซือ
ครั้นได้ฉันเพลกันเรียบร้อยแล้ว ภารกิจ ในการกราบไหว้ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญก็ผ่าน ไปใกล้จะครบแล้ว ยังคงเหลือเกาะผู่ถัวซานแห่ง เดียว
จึงเดินทางต่อไปที่ หังโจว ในเวลาเย็น ได้ติดต่อที่พักในเมือง ตอนเช้าวันที่ ๒๙ มี.ค.
ก็ได้มานั่งฉันโจ๊กอยู่ริมถนน มีแม่ค้าหาบมา วางขาย ฉันเสร็จแล้วก็ไปที่ วัดหลิงอิ่นซือ
วัดแห่งนี้ส่วนใหญ่มีภาพแกะสลักนูน สูงจากภูเขาลึกเข้าไป มีเตียงนอนของ ท่านจี้กง
อยู่ภายในถ้ำไม่ลึกมาก ชาวจีนที่มาเที่ยว ชอบไปลูบเตียงของท่าน ทางวัดจัดเป็นสวน หย่อมภายในร่มรื่นดี มีสระน้ำ ต้นไม้เขียว ชอุ่ม
มีเจดีย์องค์ใหญ่อยู่ในวัดด้วยมีชื่อว่า เจดีย์จี้กง บูรณะโดยกษัตริย์
ว่านลี่
ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ด้าน หน้าวิหารมีบ่อน้ำเล็กๆ เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ด้วย จากนั้นก็นัดกับเจ้าหน้าที่บริษัททัวร์มารับ
พาสสปอร์ตของผู้เขียนไปต่อวีซ่า แล้วพวกเรา ไปซื้อใบชาที่มีชื่อเสียงของหังโจวชื่อ หลงจิ่ง ฉา ผู้เขียนไม่ได้ซื้อนะ ได้แต่ลองชิมแค่นั้นเอง
หังโจว - หนิงโป - เกาะผู่ถัวซาน
ออกจากร้านใบชาก็ไปเที่ยวชม ทะเลสาบซีหู ที่มีชื่อเสียงในเรื่องสวยงามตามธรรม ชาติ
เดิมทะเลสาบนี้เป็นเพียงอ่าวของแม่น้ำ เซียงถัง ตั้งแต่สมัยรางวงศ์ถังเป็นต้นมา พื้น ที่นี้ได้ถูกขยายจนกลายเป็นทะเลสาบ กินพื้น ที่ราว ๕.๖ ตารางกิโลเมตร
เมื่อเดินชมไปได้ สักครู่หนึ่ง ฝนเริ่มตกลงมาจึงต้องกลับที่พักกัน
วันที่ ๓๐ มี.ค. ๔๗ ออกเดินทางไปที่ หนิงโป โดยนั่งรถไปประมาณ ๓ - ๔ ชั่วโมง ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งทะเล
แล้วนั่งเรือเฟอรี่ออก ไปอีก ๑ ชั่วโมง ๒๐ นาที จึงจะถึง เกาะผู่ถัว ซาน มีคนบอกว่าเกาะแห่งนี้ไปยาก
บางครั้ง คลื่นลมแรง เรือไม่สามารถจะวิ่งออกไปได้ แต่วันนั้นเราไปแบบไม่รู้เรื่องอะไรเลยนะ คลื่นลมสงบดี แต่มีฝนโปรยลงมาตลอดทาง
เมื่อเรือวิ่งมาได้ครึ่งทาง แดดออกอากาศ ร้อนขึ้น จึงไปหาที่พักกันก่อน เสร็จแล้วก็เดินกันไปที่ริมชายหาด จนกระทั่งถึงทางเข้าวัด เจ้าแม่กวนอิม
เห็นรูปปั้นของท่านยืนสูงเด่น ใหญ่มากอยู่ริมทะเล สูงประมาณ ๓๓ เมตร น้ำหนัก ๗๐ ตัน
พวกเราเดินเลี้ยวขวาไปก่อน แล้ว ขึ้นเนินไปจะเห็นก้อนหินใหญ่อยู่ริมทะเล ผู้เขียนแปลกใจจึงตรงเข้าไป เพราะเห็นมีหนัง สือจีนเขียนไว้ด้วย
ให้พวกเราอ่านบอกว่าเป็น รอยเท้าเจ้าแม่กวนอิม แต่เขาห้ามไม่ให้ปีน ขึ้นไป จึงต้องถอยหลังออกไปถ่ายภาพกัน
สอบถามคนขายของที่โรงแรม เธอบอก ว่าเคยเห็นเป็นรอยเท้าอยู่บนหินตามธรรมชาติ ยาวประมาณ ๒ ฟุต มีรอยส้นและรอยนิ้วเท้า ชัดเจน ชาวจีนเรียกว่า
กวนอิมเที่ยว คำว่า เที่ยว ภาษาจีนแปลว่า กระโดด ก้อนหิน นี้วางเกยอยู่บนหน้าผาริมทะเลตามธรรมชาติ
คล้ายๆ กับพระธาตุอินทร์แขวนที่พม่า
ผู้เขียนจึงสันนิษฐานว่า เดิมทีรูปปั้นนี้ ไม่ได้อยู่ที่นี่มาก่อน แต่รอยเท้านี้มีมาก่อน นานแล้ว จะถือว่าเป็นรอยเท้าของเจ้าแม่กวน อิม อาจจะไม่ถูกต้อง
ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็น รอยเท้าของบุคคลอื่นก็เป็นได้ หรือจะเป็นรอย พระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ณ ดิน แดนแห่งนี้ ซึ่งไม่มีอะไรเป็นหลักฐาน ได้แต่
คาดคะเนกันไปเท่านั้นเอง
หลังจากนั้นก็เดินต่อไปที่ วัดหนันไห่ กวนอิม หรือวัดเจ้าแม่กวนอิมที่เคลื่อนย้ายไม่ ได้
ตามประวัติเล่าว่า เดิมรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม อยู่ที่ อู่ไถซาน หลังจากได้อัญเชิญมาไว้ที่นี่แล้ว
ชาวญี่ปุ่นต้องการจะนำกลับไปประเทศของตน แต่ปรากฏว่ายกเท่าไรก็ไม่ขึ้น ชาวจีนเห็นความ อัศจรรย์เช่นนั้นจึงได้สร้างวัดนี้ขึ้น
ปัจจุบันนี้คนไทยหรือคนจีนจากที่ต่างๆ นิยมเดินทางมากราบไหว้กันอยู่เสมอ แต่บาง ครั้งเจอคลื่นลมก็ไม่สามารถจะเดินทางมาได้
รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมเดิมนั้น จะเห็นอยู่ในท่า นั่งอยู่ในดอกบัว สมัยที่พระเดชพระคุณหลวง พ่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านเคยบอกว่าคือ ท่านแม่ศรี
ท่านแม่ศรีเคยเป็นหมอมาก่อน เวลาที่ หลวงพ่อป่วยไข้ไม่สบาย ท่านแม่จะมาสั่งเรื่อง ยา และอาหารที่จะฉันอยู่เป็นประจำ เสียดาย
ที่ท่านบอกว่าเป็นลูกเขยเจ๊ก เคยเกิดแถวแม่น้ำ เหลือง แต่ไม่มีรายละเอียดอะไรเลย จึงขอเล่า ตามที่มีข้อมูลอยู่เพียงนี้
เมื่อได้เข้าไปถวายเพชรหน้าผากที่หน้า รูปปั้นของท่านแล้ว จึงเป็นอันว่าได้ถวายพระโพธิสัตว์จนครบถ้วนแล้ว จึงเดินขึ้นมาที่รูป ปั้นสูงใหญ่ของท่าน
ได้พบกลุ่มคนไทยที่มา เที่ยวที่นี่ด้วย หลังจากทักทายและถ่ายรูปภาพ เป็นที่ระลึกเสร็จแล้ว จึงเดินทางกลับที่พักกัน
ในตอนนี้ เจี๊ยบแจ้งข่าวดีว่า วีซ่า ของ ผู้เขียนต่อได้แล้ว และมีเหตุน่าประหลาดใจเกิด ขึ้น
ในระหว่างที่เราเดินทางมานี้ เขาต้องการ หลักฐานว่า เราพักที่ไหนโรงแรมอะไร เขาก็ ติดต่อเจี๊ยบไม่ได้ บังเอิญเขาพลิกหนังสือพาสสปอร์ตของผู้เขียน
เห็นใบเสร็จค่าห้องพักที่โรงแรมออกไว้ให้ ขณะเดียวกันเจี๊ยบก็หาใบ เสร็จใบนี้ เพื่อเป็นหลักฐานรวบรวมค่าใช้จ่าย หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ
สุดท้ายไปอยู่ในพาสสปอร์ต ของผู้เขียนนั่นเอง นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก
วันที่ ๓๑ มี.ค. ๔๗ พวกเราได้ย้อน กลับไปที่วัดเจ้าแม่กวนอิมอีกครั้ง เขาเรียกว่า เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว
สูงประมาณ ๘๐ ซ.ม. จากนั้นก็ไปไหว้ พระเจดีย์ต้าเป๋าถ่า สร้างใน สมัยราชวงศ์หยวน (๘๐๐ - ๙๐๐ ปีมาแล้ว)
แล้วก็ไปที่ วัดฟูจิซื่อ
เดิมทีเข้าใจว่าวัดนี้จะมีน้ำมนต์ของเจ้าแม่กวนอิมที่อยู่ในถ้ำ แต่ปรากฏว่าน้ำมนต์เจ้า แม่กวนอิมที่หยดมาแบบธรรมชาติ ต้องไปอีกเกาะหนึ่ง
ซึ่งเราไม่สามารถไปได้ จึงเดินชม รอบๆ บริเวณวัด แล้วจึงเดินทางกลับในเวลา เที่ยงเศษๆ
ในขณะที่เดินไปที่ท่าเรือ มองเห็นพระอาทิตย์ทรงกลดสวยอร่ามในยามเที่ยงวัน รัศมีวงกลมรอบพระอาทิตย์ เหมือนกับร่มที่กางออก มาอยู่เหนือศีรษะของเรา
ทุกคนต่างแหงนมอง ด้วยความปลื้มใจ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ๔ แห่ง ก็สามารถเดินทางมาครบ ณ สถานที่นี้แล้ว ถ้า จะย้อนเริ่มต้นแสงรุ้งที่หน้าผาภูเขาง้อไบ้แล้ว
ก็ได้มาเห็นพระอาทิตย์ทรงกลดครบ ๔ ที่นี่พอดี
ผู้เขียนก็หมดภาระหน้าที่ ต่อไปนี้ก็จะ เดินทางกลับ หลังจากสามารถอยู่ต่อในเมือง จีนอีก ๒ วัน ทุกอย่างก็สมหวังดังตั้งใจ
ยังมีเวลาที่จะไปกราบไหว้สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ บาตรและจีวรของพระพุทธเจ้า ที่เมืองเสากวาน
มณฑลกวางตุ้ง กันต่อไป
คณะของพวกเรา ๔ คน นั่งเรือกลับมาถึงเมืองหนิงโปแล้ว ได้นั่งรถต่อมาที่เซี่ยงไฮ้ ในเวลาเย็น
พวกนี้พาออกไปชมตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ ได้มายืนชมทัศนียภาพที่หน้า ตึกหอหอยไข่มุก
ซึ่งจีนเคยใช้เป็นสถานที่ประชุม APEC โดย ได้จัดงานก่อนเมืองไทยมาแล้ว
ในเมืองเซี่ยงไฮ้มีความเจริญมาก ถนน หนทางกว้างขวางใหญ่โต จีนคงจะเป็นจ้าวแห่ง เอเซียแน่นอน เขาพัฒนาบ้านเมืองได้รวดเร็ว มาก
ยืนมองดูอยู่ริมแม่น้ำในใจกลางเมือง ผู้ คนเดินขวักไขว่ไปมา จนกระทั่งมืดค่ำลมแรง ได้ชมแสงสีพอสมควรแล้ว จึงเดินทางกลับที่พัก
เซี่ยงไฮ้ - กวางเจา - เสากวาน
รุ่งเช้าวันที่ ๑ เม.ย. ๔๗ ออกจากที่พัก มีฝนตก ถึงสนามบินเซี่ยงไฮ้แล้วนั่งเครื่องบิน ต่อไปที่ กวางเจา แต่เครื่องบินลงจอดที่กวาง เจาไม่ได้ เนื่องจากฝนตกหนัก เลยต้องลงไป จอดพักที่สนามบินหนานชัง กว่าจะถึงสนาม
บินกวางเจาก็เป็นเวลาบ่ายแล้ว
ในเมืองกวางเจาฝนก็ยังตกอยู่ จึงเอาของ ไปฝากไว้ที่โรงแรมก่อน แล้วเดินทางต่อไปที่ เสากวาน โดยทางรถไฟ
บริเวณสถานีรถไฟมี ผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก ในเมืองจีนมีโจรผู้ ร้ายชุกชุม ต้องมีรถตำรวจจอดรอวิ่งไล่จับผู้ ร้ายอยู่เสมอ
รถแท็กซี่ก็ต้องมีรั้วกั้นอยู่ระหว่าง คนขับกับผู้โดยสาร คงมีการจี้ชิงรถอยู่เสมอ
ใครบอกว่าค่าครองชีพในเมืองจีนถูกเรื่องนี้คงไม่จริง ถ้าลองเดินทางมาเอง โดยไม่ ต้องผ่านบริษัททัวร์ เราจะรู้ว่าค่าอาหารการกิน ค่าพาหนะต่างๆ ไม่ถูกเลย
โดยเฉพาะน้ำดื่ม ขวดละ ๓ หยวน เท่ากับ ๑๕ บาทของเรานะ เมื่อกลับมาแล้วได้คิดค่าใช้จ่าย รวม ๑๒ วัน หมดกันไปคนละ ๖ - ๗ หมื่นบาท
ในตอนนี้ ปรากฏว่ารถไฟคนแน่นมาก จึงต้องเปลี่ยนแผนไปทางรถทัวร์แทน นั่งรถไป ประมาณ ๓ ชั่วโมง เจี๊ยบก็พาไปเยี่ยมญาติที่ในตัวเมืองเสากวาน
ต่างคนต่างดีใจที่ได้พบกัน แต่ญาติของเจี๊ยบก็เคยเดินทางไปเยี่ยมที่เมืองไทย มาแล้ว จึงนั่งคุยถามสารทุกข์สุขดิบกันพอสมควร
แล้วก็ออกไปทานอาหารและหาที่พักกัน
วัดหนานหัวซื่อ
ตอนเช้าวันที่ ๒ เม.ย. ๔๗ ออกเดินทาง ไปที่ วัดหนานหัวซื่อ เมืองเสากวาน มณฑลกวาง ตุ้ง
อยู่ห่างจากเมืองกวางเจาประมาณ ๒๐๐ กว่า กม. เจี๊ยบเล่าว่าเดิมจริงๆ เป็นวัดที่มีพระอินเดีย รูปหนึ่ง พระองค์นี้มาอยู่ก่อน ปรมาจารย์ตั๊กม้อ ประมาณ ๑๐ กว่าปี สมัยราชวงศ์เหลียว เรียกว่า ยุคหนันเฉา เป็นช่วงของ จักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ ประมาณ พ.ศ. ๑๐๔๕ - ๑๑๐๐
(๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว)
พระภิกษุรูปนี้ชื่อว่า จื่อเย้าเหอซั่ง เป็น ชาวอินเดีย
ได้นำต้นพระศรีมหาโพธิ์มาจากอินเดียเป็นต้นแรกด้วย แล้วนำมาปลูกเป็นต้นแรกที่ วัดกวางเซี่ยวซื่อ ในกวางเจา
หลังจากนั้นท่านก็ เอาหน่อจากที่กวางเจามาปลูกไว้ที่นี่ แล้วท่านก็ ได้สร้างวัดนี้ เวลานี้ยังมีอยู่ ๒ ต้น
ขณะที่ ท่านจื่อเย้าเหอซั่ง ปลูกต้นโพธิ์ที่ กวางเจา
ได้ทำนายไว้ว่า หลังจากที่ท่านมรณภาพ ๑๗๐ ปี จากนั้นจะมีพระโพธิสัตว์มาบวชที่ใต้ ต้นโพธิ์ต้นนี้ ซึ่งตรงกับ ปรมาจารย์องค์ที่ ๖ ได้ไปถือบวชใต้ต้นโพธิ์พอดี และท่านยังทำนาย อีกว่า พระโพธิสัตว์องค์นี้ จะมาสร้างพระพุทธ
ศาสนานิกายมหายานให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมา
ส่วนแม่ชีองค์หนึ่งชื่อ อู๋จิ้นจั้ง ที่อยู่ใน สมัยเดียวกับพระปรมาจารย์องค์ที่ ๖ แม่ชีเคยได้
ถามปรมาจารย์องค์ที่ ๖ ว่า ตัวท่านไม่รู้หนังสือ แล้วจะอธิบายธรรมะได้อย่างไร ปรมาจารย์องค์ ที่ ๖ ตอบว่า พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ไม่เกี่ยว
กับตัวหนังสือ ในวัดนี้จึงมีร่างพระจีนที่ไม่เน่า อีก ๓ ร่าง คือ ปรมาจารย์องค์ที่ ๖ เรียกว่า
ลิ่วจู่ มืองไทยเรารู้จักในนาม เว่ยหลาง แต่จริงๆ
ต้องเรียกว่า ฮุ่ยเหนิง
ท่านเป็นองค์สำคัญทางพุทธนิกายเซน ร่างไม่เน่า โดยนั่งสมาธิมรณภาพตั้งแต่สมัย พระนางบูเช็กเทียน
พันกว่าปีมาแล้ว ตอนนี้นับ อายุตั้งแต่ท่านมรณภาพถึงวันนี้ เกือบใกล้ๆ ๑,๓๐๐ ปีแล้ว ทางวัดกำลังจะจัดงานฉลองพอดี นับว่ามาได้จังหวะดีเกือบทุกแห่ง
ประวัติปรมาจารย์องค์ที่ ๖ นี้ เป็นองค์ที่ สืบต่อมรดกชิ้นสำคัญของพระพุทธเจ้า นั่นก็คือ ผ้าจีวรและบาตร
ที่ได้รักษาสืบต่อกันมา โดย ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ เป็นองค์ที่ ๒๘ ที่นำจาก อินเดีย
แล้วพระจีนรักษาต่ออีก ๖ องค์ รวมเป็น ๓๓ รุ่นมาแล้ว
เริ่มแรกพระมหากัสสปได้มอบให้พระอานนท์
เป็นผู้รักษาไว้เป็นอันดับ ๑ ก่อน หลังจากพระอานนท์ก็มีทายาทสืบต่อมาเรื่อยๆ จนถึง ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ
เป็นลำดับที่ ๒๘ ท่านเดินทางมาจากประเทศอินเดีย ได้นำของล้ำ ค่านี้มาพร้อมกับต้นโพธิ์ด้วย แล้วมอบหมายให้ พระจีนรักษาไว้อีก ๖ รูป รวมเป็น ๓๓ รุ่น
สุด ท้ายคือ ท่านเว่ยหลาง ได้มรณภาพไปแล้ว ใน ปัจจุบันนี้บาตรและจีวรของพระพุทธเจ้าถูก บรรจุไว้ในพระเจดีย์
ชื่อว่า พระเจดีย์หลิงเจ้า
แต่ก่อนที่ปรมาจารย์ตั๊กม้อจะมาที่เมืองจีน อาจารย์ของท่านได้สั่งไว้ก่อนว่า บาตรกับจีวร เป็นเพียงแค่วัตถุ ไม่ใช่ธรรมะ ให้ไปแล้วนี่คนยัง
ติดวัตถุอยู่ เพราะฉะนั้น ต้องไปเผยแพร่พระ ศาสนาให้ครบ ๒๐๐ ปี แล้วให้หยุดการสืบทอด บาตรกับจีวร
ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อได้มาขึ้นฝั่งที่กวาง เจา แล้วก็เดินทางขึ้นไปทางเหนือ เมืองหลวงที่ วัดเส้าหลินแล้ว ท่านก็หาผู้ที่สืบทอดบาตรกับจีวร
ไล่ลงมาถึงปรมาจารย์องค์ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ พอมาถึงองค์ที่ ๖ นี่ เดิมทีบิดาของท่านเป็นคน ทางเมืองหลวง และเป็นข้าราชการ แต่โดนเนร เทศมาอยู่กวางเจา
มาอยู่ได้ไม่นานก็เสียชีวิต
ปรมาจารย์องค์ที่ ๖ นี้ ฐานะค่อนข้างจะ ลำบาก อาชีพของท่านก็คือตัดฝืนขาย หลังจาก นั้นท่านก็เดินทางไปเรียนหนังสือ ท่านก็มีบุญ พอเอาฟืนไปส่ง
พบแขกคนหนึ่งซึ่งเพิ่งเดินทาง ไปไหว้ปรมาจารย์องค์ที่ ๕ มา แล้วก็ท่องบท สวดมนต์นั้นให้ฟัง ท่านได้ยินก็เกิดศรัทธา
ท่านก็เลยถามว่า บทสวดมนต์ที่สวดนี่มาจากไหน ชายคนนั้นบอกว่าจำมาจากองค์ที่ ๕ หลังจากทำธุระให้แม่เสร็จแล้ว องค์ที่ ๖ จึงเดิน ทางไปศึกษากับองค์ที่ ๕
ประมาณ ๘ เดือน พอดีองค์ที่ ๕ กำลังหาผู้สืบทอดบาตรกับจีวร โดยทดสอบให้เขียนโศลกขึ้นมาบทหนึ่ง โศลก ก็เหมือนกลอนจีน แต่เป็นกลอนทางพระศาสนา
ถ้าใครเขียนได้ดี ท่านก็มอบบาตรและ จีวรให้เป็นผู้สืบทอดรักษาต่อไป กลอนบทนี้เป็น บทที่สำคัญ ศิษย์เอกของปรมาจารย์องค์ที่ ๕ ชื่อว่า
เสินซิ่ว เขียนโศลกเอาไว้ว่า
ท่านก็เปรียบร่างของคนเราเหมือน ต้นโพธิ์ จิตใจก็เหมือนกับกระจก ถ้าเราเช็ดขัด ถูบ่อยๆ มันก็เหมือนกับว่าไม่ให้ฝุ่นละอองมา เกาะติดกระจกหรือจิตใจ
ฝ่ายปรมาจารย์องค์ที่ ๖ ชื่อ ลิ่วจู่ ถึงแม้ จะไม่มีความรู้ เพราะฐานะยากจน ไม่ได้เรียน หนังสือ
แต่อาศัยคนอื่นท่องให้ฟัง อาศัยท่านมี บุญเก่าจึงรู้ขึ้นมาเองว่า คนนี้ยังไม่ลึกซึ้งในธรรมะ ท่านก็เลยเอาบทกลอนมาแก้ใหม่ว่า
ต้นโพธิ์เดิมที ไม่มีต้น ไม่มีตัวตน กระ จกก็ไม่เป็นกระจก เดิมทุกสิ่งทุกอย่างมาจากไม่ มีตัวตน ในเมื่อทุกสิ่งไม่มีตัวตนแล้ว ฝุ่นละออง
ซึ่งเปรียบเหมือนกิเลส มันจะไปเกาะติดอะไร ในเมื่อทุกอย่างมันไม่มีตัวตน
บทโศลกนี้ลึกซึ้งกว่า ท่านจึงได้รับบาตร และจีวรมาไว้ ตอนนั้นมีคนแย่งชิงกันมาก ท่าน อาจารย์ก็เลยสั่งให้ลงไปหลบซ่อนตัว หลังจาก
นั้นเมื่อได้เวลาแล้วก็ให้ออกมาบวช ท่านก็ได้ หลบซ่อนตัวอยู่แถวละแวกนี้ หลังจากท่านลงไป บวชที่กวางเจา โดยปลงผมที่ใต้ต้นโพธิ์ต้นแรกนี้
พอบวชแล้วท่านก็เผยแพร่พระศาสนา อยู่ที่วัดหนานหัวซื่อ แห่งนี้แหละ ในตอนนั้นรุ่ง เรืองมาก
จักรพรรดิบูเช็กเทียน ก็เคยส่งหนังสือ มานิมนต์ท่านเข้าเมืองหลวง แต่ท่านไม่ไป แล้ว
ภายหลังจักรพรรดิบูเช็กเทียน ก็เลยส่งจีวรและ บาตรขึ้นมาถวาย นิกายเซนรุ่งเรืองในจีนมาก
ก่อนท่านจะมรณภาพ ท่านกลับไปสร้าง พระเจดีย์ที่บ้านเกิดท่าน ท่านกล่าวกับลูกศิษย์ ทุกคนว่าอีกไม่กี่เดือนหลังจากนี้ ท่านจะมรณภาพแล้ว เพราะฉะนั้น
ท่านต้องรีบกลับไปสร้าง พระเจดีย์ให้เสร็จ พอสร้างพระเจดีย์เสร็จ ท่าน ฉันเจนะ พอฉันเสร็จปุ๊บก็บอกลา บอกลาทุก คนหมดเลย บอกลูกศิษย์ว่าท่านจะไปละ
หลังจากนั้นท่านก็นั่งสมาธิมรณภาพไป เลย พอมรณภาพไปแล้ว ลูกศิษย์ก็แย่งร่างของ ท่าน ทางลูกศิษย์วัดหนานหัวซื่อ ที่เสากวาน
ก็อยากได้ร่างจริงเอาไว้ที่นี้ เพราะทางนี้เป็นบ้าน เกิดของท่าน เมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น จึงใช้ วิธีการทำนายด้วยการจุดธูป
ถ้าควันธูปลอยไปทางไหน ให้เอาร่างจริง ไปไว้ทางนั้น ปรากฏว่าควันธูปลอยมาทางเสา กวาน ลูกศิษย์ก็เลยย้ายร่างจริงไป ตามบันทึก ประวัติได้บอกชัดเจนเลยว่า
เอาร่างจริงของท่าน พร้อมบาตรจีวรของพระพุทธเจ้า ย้ายมาจากวัด หนานหัวซื่อมาไว้ที่นี้ แล้วในบันทึกบอกว่า ให้ เอาบาตรและจีวรบรรจุไว้ในพระเจดีย์
ซึ่งเราได้สันนิษฐานเอาว่า น่าจะเป็นพระ เจดีย์องค์ที่อยู่ด้านหลัง ซึ่งเป็นพระเจดีย์ที่เก่าแก่ ที่สุด เป็นศิลปะในราชวงศ์ถัง เมื่อวินิจฉัยกัน
ดังนี้แล้ว จึงได้เข้าไปกราบไหว้บูชาบาตรและ จีวรของพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่ทราบว่าบรรจุอยู่ตรง ส่วนไหนในพระเจดีย์
ต่อมาผู้เขียนก็ได้วิเคราะห์ว่า ตามบันทึก เป็นภาษาจีนนี้ ถือว่าเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ว่าบาตรและผ้าจีวรบรรจุอยู่ ณ ที่นี้ แต่ ผ้าจีวร ไม่แน่ว่าคืออะไร จึงนึกขึ้นได้ว่าก่อนที่พระพุทธ เจ้าจะปรินิพพาน พระองค์ทรงมอบ ผ้าสังฆาฏิ ให้แก่ พระมหากัสสป ภายหลังพระเถระเข้า สู่นิพพานแล้ว
ตำนานต่างๆ ก็ไม่เคยบอกเลยว่า ผ้าสังฆาฏิของพระพุทธเจ้าผืนนี้ไปอยู่ที่ไหน
ถ้าหากว่าเป็นที่คาดคะเนจริง นับว่าพวก เราโชคดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้พบมรดกล้ำค่าของ พระมหากัสสป
โดยมีการเก็บรักษาสืบทอดกัน มาเป็นรุ่นๆ นับตั้งแต่ พระอานนท์ แล้วศิษย์ของ ท่านก็ได้สืบต่อมาในอินเดีย ๒๗
รุ่น จนถึง พระปรมาจารย์ตั๊กม้อ นำมาสู่จีนอีก ๖ รุ่น สุด ท้ายจึงถูกบรรจุไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ เมื่อ ๑,๕๐๐
ปีที่ผ่านมา ซึ่งทางวัดกำลังเตรียมจะจัดงานฉลอง
หลังจากพูดคุยกันแล้ว จึงเดินเข้าไปข้าง ในพระเจดีย์ เพื่อกราบไหว้บาตรและผ้าสังฆาฏิ ของพระพุทธเจ้า ที่บรรจุไว้ส่วนใดส่วนหนึ่งใน พระเจดีย์แห่งนี้
ถึงแม้จะไม่ได้เห็นก็ไม่เป็นไร ขอให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนอย่างนี้ โดยเฉพาะเมือง จีนมีการบันทึกประวัติเอาไว้ และสามารถเก็บ รักษาไว้นานนับพันปี
จากนั้นก็ออกมาปิดทองสรงน้ำ ขณะที่ เดินออกมาเพื่อจะเวียนเทียนรอบพระเจดีย์นี้ ได้มองขึ้นไปบนท้องฟ้า เห็นพระอาทิตย์ทรงกลด เจิดจ้า
รัศมีเป็นวงกลมกระจายออกเป็นสีรุ้ง สวยงาม พวกเราต่างพูดกันว่า การสันนิษฐาน คงจะ ถูกต้อง ท่านจึงได้รับรองด้วยลักษณะเช่นนี้
หลังจากนั้นก็เดินไปที่ด้านหลังพระเจดีย์ มีวิหารจู่เตี้ยน หมายถึงวิหารของปรมาจารย์ ภาย ในวิหารจะมีร่างจริงของปรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง องค์ ที่ ๖
อายุประมาณ ๑,๒๙๐ ปี นับเป็นองค์สุดท้าย ที่ได้สืบทอดกันมายาวนาน ร่างของท่านนั่งตัว ตรงขัดสมาธิ และยังมีอีกสององค์ที่ร่างไม่เน่า
คงจะเป็นพระรุ่นที่สืบต่อกันมาภายหลัง
พระปรมาจารย์องค์ที่ ๖ ได้เคยทำนายไว้ว่า หลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว จะมีคนมา ตัดศีรษะของท่าน พอผ่านไปแล้วได้ ๒ ปี มีลูก
ศิษย์ของท่านได้นำผงธูปมาพอกร่างของท่าน และเอาผ้าห่อไว้แล้วนำร่างของท่านไปใส่ไว้ใน พระเจดีย์ แอบซ่อนไว้ระยะหนึ่ง
พอเลยช่วงระยะเวลาที่ท่านทำนายไว้ แล้ว จึงได้นำร่างมาประดิษฐานไว้ในวิหาร ซึ่งสร้างในสมัย ราชวงศ์หมิง พร้อมๆ กับพระอดีตเจ้า อาวาสช่วงราชวงศ์หมิงอีก ๒ องค์ ชื่อว่า พระปรมาจารย์ฮันซัน และ พระปรมาจารย์ตันเทียน ซึ่งอายุอยู่ในราว ๕๐๐ -
๖๐๐ ปีที่ผ่านมา พระ ปรมาจารย์นิกายเซนมีทั้งหมด ๖ องค์ ดังนี้
องค์ที่ ๑ พระปรมาจารย์ตั๊กม้อ
องค์ที่ ๒ พระปรมาจารย์อุ้ยเคอ
องค์ที่ ๓ พระปรมาจารย์เซ็นซื่อ
องค์ที่ ๔ พระปรมาจารย์เต้าจิ้น
องค์ที่ ๕ พระปรมาจารย์ตาซื่อ
ในบริเวณนี้ยังมีรูปหินอ่อนแกะสลักพระจื่อเย้าเหอซั่ง ซึ่งเป็นชาวอินเดียที่นำต้น โพธิ์ต้นแรกมาปลูกไว้
ส่วนด้านหลังของวัด เป็นป่าไม้ ทางวัดได้ทำบันไดลงไป ตามประวัติ เล่าว่า เป็นบริเวณที่ปรมาจารย์องค์ที่ ๖ นำบาตร และผ้าสังฆาฏิของพระพุทธเจ้ามาล้างทำความ
สะอาดที่นี่
เจี๊ยบเล่าว่าสมัยก่อนเคยมาที่นี่ ยังเห็นเป็นธรรมชาติ คือจะมีน้ำไหลออกมาเองตลอด เวลา คล้ายน้ำผุดออกมาจากพื้นดิน น้ำเย็นใส สะอาด แต่ปัจจุบันนี้
ทางวัดได้สร้างให้น้ำไหล ออกมาจากก๊อกน้ำ จึงไม่ประทับใจเท่าที่ควร ข้างบ่อน้ำนี้มีป้ายสมัยราชวงศ์หมิง บอกว่าเป็น น้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้รักษาคนเป็นโรคได้
ครั้นได้เดินชมจนได้เวลาเพลแล้ว จึงเข้า ไปฉันเพลอาหารเจที่ร้านข้างวัดนั้น ยังมองเห็น พระอาทิตย์ทรงกลดอยู่ จนกระทั่งฉันเสร็จแล้ว
เดินชมภายในวัดอีกรอบหนึ่ง จนถึงเวลาประ มาณบ่าย ๒ โมง ก่อนจะเดินทางกลับก็มายืน ถ่ายภาพที่หน้าวัด สังเกตได้ว่าพระอาทิตย์ที่ทรง
กลดมานานนับชั่วโมงเริ่มเลือนหายไป
การที่ผู้เขียนเล่าถึงเหตุเช่นนี้ คงไม่คิดว่า เล่าแต่เรื่องแบบนี้นะ ความจริงผู้เขียนก็เหมือน กับคนอื่นๆ ที่ไม่ค่อยจะเชื่อเรื่องอย่างนี้ คือคอย
แต่ระแวงว่าไม่ใช่เรื่องจริงนั่นเอง แต่เมื่อได้คอย สังเกตเห็นจนมั่นใจแล้ว จึงแน่ใจว่าท่านคงจะ รับรองเรื่องที่เราเข้าใจ หมายถึงว่าพระเจดีย์แห่งนี้
ต้องเป็นที่บรรจุบาตรและผ้าสังฆาฏิอย่างแน่นอน
เป็นอันว่าเราจะได้หมดสงสัย ไม่เข้าข้าง ตัวเองจนเกินไป คงจะกลับกันได้แล้ว ในเมื่อได้ พบเครื่องบริขารของพระพุทธเจ้าที่นอกเหนือ จากตำนาน
หมายถึงไม่มีใครรู้มาก่อนว่า ผ้าผืนนี้จะมาตกอยู่ในแผ่นดินของจีน แต่ก็ถูกต้องตรง ตัวที่สุด เพราะ พระมหากัสสป และ พระอานนท์ ท่านเป็นที่รักและเคารพนับถือ
สิ่งของอันล้ำค่า นี้สมควรเป็นสมบัติของชาวจีนอย่างแน่นอนที่สุด
พวกเราได้บุญจากการที่มากราบไหว้ บูชา และเป็นผู้เปิดเผยให้ชาวพุทธทั้งหลายได้ รับรู้รับทราบ ผลบุญครั้งนี้นับว่ามหาศาลอยู่แล้ว
จึงเดินทางกลับด้วยความประทับใจ จนได้เวลา เย็นญาติของเจี๊ยบได้บอกว่า แปลกใจมากที่พวก เราไปไหว้พระที่ วัดหนานหัวซื่อ
ท้องฟ้าสว่าง มีแสงแดดสดใส ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่มีแดด มาหลายวันแล้ว
เสากวาน - กวางเจา
เวลา ๐๗.๐๐ น. เพิ่มพลังด้วยบะหมี่ข้างๆ โรงแรมในยามเช้า แล้วเตรียมอาหารเพลไปฉัน บนรถไฟด้วย หนุ่ม (เริ่มน้อยๆ) ๓ คนนี้ ช่วย อุปฐากเป็นอย่างดี
อาศัยที่พูดจีนได้ จึงสะดวก เป็นอย่างมาก จะไปไหนก็คล่องตัว แค่ ๔ คน พอดีกับรถแท๊กซี่ด้วย นั่งรถไฟชั้นวีไอพีสะดวก ดีกว่า
ไม่ต้องไปเบียดเสียดกับชาวจีน
ผู้ชายในเมืองจีนส่วนใหญ่มักจะสูบบุหรี่ ในที่สาธารณะ แม้แต่ในลิฟต์ก็ตาม คิดว่าผู้บริหาร มุ่งแต่จะสร้างความเจริญในด้านวัตถุ แต่ทางด้าน
นิสัยหรือมรรยาท คงยังต้องพัฒนากันอีกไกล การเดินทางโดยทางรถไฟจะดีกว่ามาก ประมาณ เกือบ ๓ ชั่วโมง ก็ถึงกวางเจา พวกเราออกเดิน ทางต่อทันที
เดินไปนิดเดียวก็ถึง วัดลิ่วหย่ง
ความจริงในเมืองกวางเจาก็มีวัดสำคัญ หลายแห่ง แต่ที่เจี๊ยบนำมานี้คงจะเกี่ยวข้องกับ ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ และปรมาจารย์องค์ที่ ๖ ภายในวัดลิ่วหย่ง
จึงมีรูปหล่อของท่านด้วย ซึ่ง หล่อในสมัยราชวงศ์ชิง นอกจากนี้ก็ยังมีที่สำคัญ คือ พระเจดีย์ไม้ ๙ ชั้น จึงได้เข้าเวียนเทียนกราบ
ไหว้บูชาพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่นั้น
วัดกวางเซียวซื่อ เมืองกวางเจา
วันนี้เป็นวันใกล้จะกลับแล้ว จึงยังเหลือ สถานที่สำคัญอีกแห่งเดียว ตามที่ได้เล่าประวัติ กันไปแล้ว นั่นก็คือ วัดกวางเซียวซื่อ เดิมสร้าง ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว จึงเข้าไปดูต้นโพธิ์กัน ซึ่งมีพระมาจากอินเดียนำ
หน่อมาปลูกไว้ แต่ต้นแรกนี้ถูกฟ้าผ่าไปแล้ว จึงต้องไปนำหน่อจากวัดหนานหัวซื่อมาปลูกใหม่
ต่อจากนั้นก็ไปที่เจดีย์อันเป็นที่บรรจุเส้นเกศาของ ปรมาจารย์องค์ที่ ๖ ตามที่เล่าไปแล้วว่า
ท่านได้ปลงผมออกบวชที่ใต้ต้นโพธิ์ต้นแรกนี้ แล้วพวกเราก็เดินชมต่อไป ผู้เขียนเห็นศาลาเล็กๆ หลังหนึ่งเป็นศาลาโปร่ง เจี๊ยบได้อธิบายว่า เดิม
สถานที่ตรงนี้เป็นที่ล้างบาตรและผ้าสังฆาฏิของ พระพุทธเจ้ามาก่อน
(พอเอ่ยถึงเลข ๖ อยากจะแทรกเกล็ดความ รู้ไว้สักนิดว่า สมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ยังมีชีวิตอยู่ มีวันหนึ่งได้มีการทำบุญเพื่อถวาย
พระราชกุศลแด่รัชกาลที่ ๖ ณ วิหารแก้วร้อยเมตร ในขณะนั้นท่านได้เล่าให้ฟังว่า พระมา บอกท่านว่า
เวลานี้ได้มาเกิดแถวถนนสุขุมวิท แล้ว อายุได้ประมาณ ๖ ขวบแล้ว เกิดในตระกูล ที่มีเชื้อสายจีน ต่อไปจะได้เป็นผู้นำของประเทศ
เพราะผู้นำจะต้องมีความสามารถในด้านค้าขาย)
ขณะที่พวกเราไปถึงวัดนี้ เป็นเวลาที่ทาง วัดกำลังบูรณะพระอุโบสถ จึงได้ร่วมทำบุญ ๒๐ ดอลลาร์ และมีเจดีย์เหล็กเก่าแก่ ๒๐ องค์ จึงได้
เริ่มสรงน้ำที่องค์แรก หลังจากแวะไปทำบุญซ่อม พระอุโบสถแล้ว ช่วงที่จะเดินไปไหว้เจดีย์เหล็ก องค์สุดท้าย ปรากฏว่ามีฝนโบกขรพรรษตกลง มาทันทีทันใด
เป็นละอองแว็บเดียวก็หายไป ทุก คนรู้สึกปลาบปลื้มใจในครั้งนี้
ผู้เขียนจึงให้กำลังใจทุกคน โดยเฉพาะ เจี๊ยบที่ได้นำมาครั้งนี้ แล้วก็ค้นหาประวัติมาเล่า สู่กันฟังโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นเรื่องที่หาฟังได้ยาก
คิดว่าท่านคงจะให้กำลังใจเจี๊ยบด้วยในเรื่องนี้ จึง ขออนุโมทนาทั้งสามคน ที่มีส่วนช่วยให้การเดิน ทางไปกราบไหว้ครบถ้วนทุกแห่ง โดยเฉพาะ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ๔ แห่งนี้ แถมได้มากราบไหว้ บาตร และ ผ้าสังฆาฏิ ของพระพุทธเจ้าด้วย
นับว่าคงจะเป็นผลบุญมหาศาล จึงได้มี ปรากฏการณ์เช่นนี้ อีกทั้งยังมีพระอาทิตย์ทรง กลดอีก ๒ แห่ง คือที่ เกาะผู่ถัวซาน และ วัดหนานหัวซื่อ ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์หรือเป็น
พยานรับรอง ตามที่พวกเราเข้าใจอย่างถูกต้องว่า เป็นของสำคัญของท่านอย่างแน่นอน
วันสุดท้าย คือวันที่ ๔ เม.ย. ๔๗ แห่ง การเดินทางบนผืนแผ่นดินของ พระโพธิสัตว์ ทั้งหลายนี้
ในขณะที่นั่งอยู่บนเครื่องบินใกล้จะ ถึงกรุงเทพฯ ก็ยังมีแสงสีรุ้งขึ้น ๒ ชั้น เป็นโค้งยาวๆ ไม่เหมือนกับที่เคยเห็นมาก่อน เห็นชั่วนิดเดียวก็หายไป
จึงเป็นอันว่าการเดินทาง ครั้งที่ ๓ คงต้องยุติไว้เพียงแค่นี้
สำหรับการไปประเทศจีนทั้ง ๓ ครั้ง พอ จะสรุปได้ว่าไปที่ เมืองปักกิ่ง, คุนหมิง, ตาลีฟู, เฉินตู (ง้อไบ้), เล่อซาน,
ซีอาน, หลั่วหยาง, กวาง เจา, ไท่หยวน (อู่ไถซาน), จิ่วหัวซาน, เกาะผู่ถัว ซาน, เซี่ยงไฮ้, หังโจว, และ เสากวาน ในครั้งที่ ๔
นี้คงจะปิดท้ายรายการกันที่ สิบสองปันนา ต่อไป.
คลิก..ติดตามการเดินทาง ครั้งที่ 4 http://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=84
|
|
|
|
Posts: 462 |
Registered: 12/3/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
|
|
"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player
ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป
ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved
|
|
|
|