ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 1/9/08 at 15:11 Reply With Quote

ความรุ้เรื่องวิธีการป้องกันและรักษา "โรคมะเร็งเต้านม"


กรุณา "คลิก" ชมคลิปวีดีโอ ทีวีช่อง 9
(ออกอากาศเมื่อ 15 มิ.ย. 2551)




ตะลุยโรงหมอ : โรคมะเร็งเต้านม


สถาบันโรคมะเร็ง
http://www.nci.go.th/knowledge/nom.htm




ข่าว เวลา 15:41 น. แพทย์เตือน ตัดไข่ เสี่ยงมะเร็งเต้านม
พฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 15:45 น. — Breaking News :

ข่าวด่วน น.พ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มเยาวชนนิยมผ่าตัดเอาลูกอัณฑะออก โดยเชื่อว่าจะทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสวยงามเหมือนผู้หญิงนั้น ยืนยันว่าไม่เป็นเรื่องจริง พร้อมทั้งเตือนเด็กไทย ว่า การทำเช่นนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย...

รวมพลัง 'โบว์สีชมพู' ต้านมะเร็งเต้านม
พุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551 13:12 น. - Dailynews Web Online : สตรี

มะเร็งเต้านม” เป็นโรคร้ายอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยมากที่สุด แผนกชุดชั้นในสตรี เดอะ มอลล์ กรุ๊ป จึงเดินหน้าสานต่อโครงการการกุศล “ลองเจอเร่ย์ ซาลอน พิงค์ ริปปอน แชริตี้ ” เพื่อหารายได้ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมต่อเนื่องเป็นปีที่ 4...

คำถาม ? : มีข้อควรระวังอะไรบ้าง ที่ทำไม่ให้เป็นโรคมะเร็งเต้านม
คำตอบ : ข้อพึงปฏิบัติ ดังนี้
* ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งเป็นประจำ หลังหมดประจำเดือน 7 วัน หากพบก้อนหรือสิ่งผิดปกติใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

* ให้ความร่วมมือในการรักษา อย่าหลงเชื่อและเสียเวลาไปกับการรักษาโรคมะเร็ง ด้วย วิธีการ ทางไสยศาสตร์และยากลางบ้าน เพราะมะเร็งนั้นจะโตขึ้นเรื่อยๆ โอกาสที่จะหายขาดจะลดลง ทุกขณะ

* พึงระลึกเสมอว่ามะเร็งของเต้านมหรืออวัยวะใดก็ตาม ถ้าได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้น เร็วเท่าไร ความหวังที่โรคจะหายขาดก็ยิ่งมีมากขึ้นเพียงนั้น

ข้อมูลจาก : สถานบันมะเร็งแห่งชาติ



คณะนักวิจัยประเทศเดนมาร์ก เตือนว่าสตรีที่ดื่มสุราจัด หรือเทียบได้กับดื่มไวน์ 2 ขวด ในช่วงสุดสัปดาห์ มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 2 เท่า

วารสารสาธารณสุขยุโรป เผยแพร่ผลการศึกษาของศูนย์วิจัยแอลกอฮอล์ในเดนมาร์ก ว่า จากการศึกษากับพยาบาล 17,647 คน อายุไม่ต่ำกว่า 44 ปี พบว่า พยาบาลที่ดื่มสุราสัปดาห์ละ 22-27 แก้ว เฉลี่ยมีแอลกอฮอล์แก้วละ 12 กรัม เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม 2 เท่า ของพยาบาลที่ดื่มสุราสัปดาห์ละ 1-3 แก้ว ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นสูงสุดหากดื่มจัดในช่วงเวลาสั้นๆ

ผลการศึกษาแนะว่า ผู้หญิงไม่ควรดื่มสุราเกินสัปดาห์ละ 14 แก้ว แต่พบว่า พยาบาล 1 ใน 4 ดื่มมากกว่าเกณฑ์ดังกล่าว พยาบาล 1 ใน 10 ดื่มจัดในช่วงวันจันทร์-พฤหัสบดี คือวันละไม่ต่ำกว่า 4 แก้ว พยาบาลร้อยละ 13 ดื่มจัดในช่วงวันศุกร์-อาทิตย์ รวมไม่ต่ำกว่า 10 แก้ว

แต่ละแก้วที่ดื่มเกินเกณฑ์ที่แนะนำ จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 2 และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 4 หากเป็นช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เพราะเป็นช่วงที่คนมักดื่มสุรามากกว่าวันทำงาน คณะนักวิจัยสันนิษฐานว่า แอลกอฮอล์อาจไปเพิ่มปริมาณเอสโตรเจน ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีส่วนทำให้เป็นมะเร็งเต้านม

ไม่เพียงแต่ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเท่านั้น รูปแบบการดื่มก็มีผลเช่นกัน หากดื่มในช่วงเวลาสั้นๆ แอลกอฮอล์ในกระแสเลือดจะเข้มข้นกว่าดื่มช่วงเวลานาน ทำให้มีอันตรายมากกว่า นักวิจัยแนะนำว่า สตรีควรดื่มปานกลาง และไม่ควรดื่มจัดในคราวเดียว

ข้อมูลจาก - กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข



มะเร็งคืออะไร



"โรคมะเร็งเต้านม" เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยท่านผู้อ่านคงจะได้ยินข่าวเพื่อนหรือญาติเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้นคุณสุภาพสตรี หรือคุณสุภาพบุรุษควรมีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมไว้บ้าง โรคนี้สามารถเป็นกับคุณสุภาพบุรุษได้ครับ

ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก Tumor ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant

Benign tumor
คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามตัดออกได้และไม่กลับเป็นซ้ำ ไม่แพร่กระจายไปอวัยวะอื่น เช่น fibroadenoma, cyst, fibrocystic disease

Malignant tumor
เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis

โครงสร้างของเต้านม


เต้านมประกอบด้วยต่อมน้ำนมประมาณ 15-20 lobe ภายใน lobe ประกอบด้วย lobules และมีถุง bulbs ติดอยู่กับท่อน้ำนมซึ่งจะไปเปิดยังหัวนม nipple ภายในเต้านมยังมีหลอดเลือดและน้ำเหลือง [lymph] ซึ่งจะไปรวมกันยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้[axillary lymph node]

มะเร็งที่พบมากเกิดในท่อน้ำนมเรียก ductal carcinoma เมื่อมะเร็งแพร่กระจายมักไปตามต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และอาจไปยังกระดูก ตับ ปอด โดยไปทางหลอดเลือด

หากคลำเต้านมตัวเองจะรู้สึกอย่างไร
ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นว่าเต้านมจะประกอบด้วยต่อมน้ำนม 15-20 lobesดังนั้นเมื่อเราคลำก็จะได้ต่อมน้ำนม นอกจากนั้นลักษณะเต้านมก็จะมีการเปลี่ยนแปลงตาม อายุ ระหว่างรอบเดือน การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร การใช้ยาคุมกำเนิด วัยหมดประจำเดือน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะทำให้ลักษณะเต้านมมีการเปลี่ยนแปลง ท่านต้องคลำจนเกิดความคุ้นเคยว่าอะไรคือปกติ อะไรคือผิดปกติ

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีก้อนที่เต้านม
หากท่านคลำเต้านมเป็นประจำ ท่านจะทราบได้ว่าเต้านมที่ท่านคลำได้ผิดปกติหรือไม่ เพราะหากก่อนหน้านี้ยังคลำไม่ได้แต่เพิ่งคลำก้อนได้แสดงว่ามีก้อนที่เต้านม

หากคลำได้ก้อนที่เต้านมควรปรึกษาแพทย์แผนกใด
ท่านอาจจะปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านหรือแพทย์แผนกผ่าตัดหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับมะเร็งซึ่งจะต้องนำชิ้นเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง

โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม (Risk Factors)


การค้นพบมะเร็งในระยะเริ่มแรก

การค้นพบมะเร็งในระยะเริ่มแรกเป็นวิธีที่ทำให้การรักษาได้ผลดี คุณสุภาพสตรีมีส่วนร่วมในการค้นหาดังนี้
1. ตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรจะตรวจอย่างน้อยเดือนละครั้งระยะเวลาเหมาะสมที่จะตรวจคือหลังหมดประจำเดือน

2. ตรวจเต้านมโดยแพทย์ ควรตรวจตั้งแต่อายู 20 -39 ปี ขึ้นไปโดยตรวจทุก 3 ปี ส่วนผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีควรตรวจด้วยแพทย์ทุกปี

3. ตรวจเต้านมโดย Mammography ซึ่งสามารถตรวจพบก่อนเกิดก้อนได้ 2 ปี

การตรวจ mammography เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะค้นพบมะเร็งในระยะเริ่มแรก แนะนำให้ตรวจทุก1-2 ปีสำหรับผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปี สำหรับคุณผู้หญิงที่อายุน้อยกว่านี้หรือมีปัจจัยเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์ว่าจะตรวจบ่อยแค่ไหน ผู้ที่ตรวจเต้านมด้วยตัวเองต้องคำนึงถึงเต้านม มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และความตึงตามสภาวะรอบเดือน การตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน และการกินยาคุมกำเนิด แม้ว่าจะตรวจเต้านมด้วยตัวเองควรที่จะได้รับการตรวจด้วยแพทย์หรือ mammography

อาการของมะเร็งเต้านม


มะเร็งในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด เมื่อก้อนโตขึ้นจะทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

1. คลำพบก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้
2. มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดเต้านม
3. มีน้ำไหลออกจากหัวนม หรือเจ็บ หัวนมถูกดึงรั้งเข้าในเต้านม
4. ผิวที่เต้านมจะมีลักษณะเหมือนเปลือกส้ม

หากพบอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ แม้ว่าอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่มะเร็ง

การวินิจฉัยก้อนที่เต้านม

การวินิจฉัยหาสาเหตุของก้อน แพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับก้อน ประวัติครอบครัว ประวัติสุขภาพทั่วไปหลังจากนั้นแพทย์จะตรวจ

1. Palpation แพทย์จะคลำขนาดของก้อน ลักษณะของก้อนแข็งหรือนิ่ม ผิวขรุขระหรือเลียบ ขยับเคลื่อนไหวได้หรือไม่ ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้โตหรือไม่
2. Mammography เป็นข้อมูลเพื่อช่วยในการวินิจฉัย
3. Ultrasonography เพื่อแยกว่าก้อนนั้นเป็นของแข็งหรือของเหลว

จากข้อมูลดังกล่าวแพทย์จะตัดสินใจว่าจะวางแผนการรักษา แพทย์บางท่านอาจจะทำการตรวจเพิ่มโดยการตรวจ

1. Aspiration ใช้เข็มเจาะดูดเอาน้ำออกและส่งหาเซลล์มะเร็งในกรณีที่ก้อนนั้นเป็นของเหลว
2. Needle biopsy การใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อส่งพยาธิวิทยาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง
3. Surgical biopsy เป็นการผ่าตัดเอาก้อนออก และส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

เมื่อแพทย์ตัดสินใจจะผ่าตัดชิ้นเนื้อออกคุณสุภาพสตรีควรจะถามแพทย์ดังนี้

1. คาดว่าผลชิ้นเนื้อเป็นอย่างไร
2. ผ่าตัดนานแค่ไหน ใช้ยาสลบหรือไม่ เจ็บหรือไม่
3. เมื่อไรจะทราบผลชิ้นเนื้อ
4. ถ้าผลเป็นมะเร็งจะรักษากับใครดี

หากผลชิ้นเนื้อนั้นไม่ใช่เนื้อร้าย


โรคที่เป็นสาเหตุของก้อนที่เต้านมชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งที่พบบ่อยๆ ได้แก่

1. Fibrocystic change เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดไม่เป็นมะเร็ง ก้อนนี้เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนทำให้มีถุงน้ำ มักจะมีอาการปวดบริเวณก้อนก่อนมีประจำเดือน มักจะเป็นตอนอายุ 30-50 ปีมักจะเป็นสองข้างของเต้านม มีหลายขนาด ตำแหน่งที่พบคือบริเวณรักแร้ ก้อนนี้ขยับไปมาได้ เมื่อวัยทองก้อนนี้จะหายไป หากเป็นโรคนี้ไม่ต้องรักษา

2. Fibroadenomas มักจะเกิดในช่วงอายุ 20-40 ปีไม่ปวด ก้อนเคลื่อนไปมา การรักษาผ่าเอาออก

3. Traumatic fat necrosis เกิดจากการที่เต้านมได้รับการกระแทกและมีเลือดออกในเต้านม มักเกิดในคนที่มีเต้าโต บางครั้งผู้ป่วยอาจจะไม่รู้ตัว ไขมันเกิดการอักเสบรวมกันเป็นก้อนซึ่งอาจจะปวดหรือไม่ก็ได้
ก้อนทั้งหมดจะไม่กลายเป็นมะเร็ง

จะทำอย่างไรเมื่อผลชิ้นเนื้อเป็นมะเร็ง


พยาธิแพทย์จะบอกผลชิ้นเนื้อว่ามะเร็งนั้นอยู่เฉพาะที่ยังไม่แพร่กระจาย [ non invasive ] หรือลุกลาม [ invasive] อาจมีการส่งตรวจพิเศษ โดยการทำ hormone receptor test เพื่อช่วยวางแผนการรักษา

หลังจากทราบผลชิ้นเนื้อว่าเป็นมะเร็งยังมีเวลาอีกหลายสัปดาห์ที่จะปรึกษาแพทย์ถึงแผนการรักษา ท่านควรถามบางคำถามกับแพทย์ของท่าน

1. ผลชิ้นเนื้อเป็นชนิดไหน และเป็นระยะไหน
2. จะให้พยาธิแพทย์อ่านซ้ำจะได้หรือไม่เพราะอะไร
3. โอกาสที่มะเร็งจะแพร่กระจายมีมากหรือไม่
4. ได้ตรวจ progesterone receptor หรือไม่ผลเป็นอย่างไร
5. จะต้องตรวจอย่างอื่นอีกหรือไม่
6. จะใช้วิธีไหนรักษา
7. ข้อดีของการรักษาแต่ละอย่าง
8. ปัจจัยเสี่ยง และผลข้างเคียงของกางรักษาแต่ละอย่าง
9. มีการรักษาหรือทดลองใหม่ๆที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยหรือไม่

วิธีการรักษา


สมัยก่อนจะทำการรักษาโดยการตัดชิ้นเนื้อตรวจดูว่าเป็นมะเร็งหรือไม่หากเป็นมะเร็งก็ตัดเต้านมออกเพราะเชื่อว่าการรอเวลาจะทำให้มะเร็งแพร่กระจาย แต่จากการศึกษาพบว่าการรักษาที่เหมาะสมจะทำ 2 ขั้นตอนโดยการตัดชิ้นเนือออกไปตรวจเป็นบางส่วนหากผลออกมาเป็นมะเร็งจึงค่อยนัดมาผ่าตัดเต้านมออก

1. การผ่าตัด


ท่านควรดูแลตัวอย่างไรบ้างหากเกิด Lymphedema

1. ยกของหรือกระเป๋าด้วยแขนอีกข้าง
2. ระวังผิวไหม้จากแดดเผา
3. เจาะเลือด วัดความดันโลหิต หรือให้เคมีบำบัด ที่แขนอีกข้าง
4. ห้ามโกนขนรักแร้ ระวังเกิดแผล
5. ถ้าเกิดบาดแผลให้รีบล้างและใส่ยาปฏิชีวนะแล้วรีบปรึกษาแพทย์
6. ให้สวมถุงมือเวลาทำสวนหรือสัมผัสสารเคมีที่ระคายเคือง
7. ห้ามใส่เครื่องประดับแขนข้างขั้น

ก่อนการผ่าตัดควรถามแพทย์ผู้รักษาดังต่อไปนี้

1. จะผ่าตัดชนิดไหน
2. จะเตรียมตัวผ่าตัดอย่างไร
3. จะตัดเต้านมบางส่วนร่วมกับรังสีรักษาได้หรือไม่
4. ต้องตัดต่อมน้ำเหลืองด้วยหรือไม่
5. จะมีแผลเป็นหรือไม่ แผลน่าเกลียดหรือไม่
6. ถ้าจะทำศัลยกรรมตกแต่งจะทำได้หรือไม่
7. จะออกกำลังกายได้หรือไม่

2. Radiation therapy ใช้รังสีเพื่อฆ่าหรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยทั่วไปให้ 5 วันต่อสัปดาห์ติดต่อกัน 5-6 สัปดาห์ บางครั้งอาจให้รังสีรักษา เคมีบำบัด หรือให้ฮอร์โมนก่อนการผ่าตัดเพื่อให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง ง่ายต่อการผ่าตัด

ก่อนรับการรักษาด้วยรังสีรักษาคุณควรรู้อะไรบ้าง

1. จำเป็นต้องให้รังสีรักษาหรือไม่
2. ปัจจัยเสี่ยงหรือผลข้างเคียงของการรักษา
3. จะเริ่มรักษา และสิ้นสุดเมื่อไร
4. จะมีสภาพอย่างไรขณะรักษา
5. จะดูแลตัวเองอย่างไรขณะรักษา
6. สภาพเต้านมจะเป็นอย่างไร
7. โอกาสจะเป็นมะเร็งอีกครั้งมีหรือไม่

3. Chemotherapy เคมีบำบัด ใช้ยาฆ่ามะเร็งอาจเป็นยาฉีดหรือยากิน มักจะให้ระยะหนึ่งแล้วหยุดจุดประสงค์ของการให้คือ

1. เพื่อป้องกันมะเร็งกลับเป็นซ้ำหลังการผ่าตัด
2. ลดขนาดของก้อนมะเร็งก่อนผ่าตัด
3. เพื่อควบคุมโรคในรายที่มะเร็งแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น

4. Hormone therapy ให้ฮอร์โมนเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจะใช้ในรายที่ให้ผลบวกต่อ estrogen หรือ progesterone receptor

การเลือกวิธีรักษา การเลือกการรักษาขึ้นกับปัจจัยต่างๆดังนี้

1. อายุ
2. ภาวะประจำเดือน
3. สุขภาพทั่วไป
4. ขนาด
5. ตำแหน่งของก้อน
6. มะเร็งอยู่ในขั้นไหน

การแบ่งความรุนแรงของมะเร็งเต้านม

ผลข้างเคียงของการรักษา

1. การผ่าตัด
< เจ็บบริเวณที่ผ่าตัด
< อาจมีการติดเชื้อ หรือแผลหายช้า
< การตัดเต้านมไปข้างหนึ่งอาจทำให้เสียสมดุลทำให้ปวดหลัง คอ
< จะรู้สึกตึงๆหน้าอก แขนข้างที่ผ่าตัดจะมีแรงน้อยลง
< มีอาการชาแขนข้างที่ผ่าตัด
< บวมแขนข้างที่ผ่าตัด

2. รังสีรักษา


< อ่อนเพลีย
< ผิวหนังแห้ง แดง เจ็บ คัน
< ก่อนใช้เครื่องสำอางควรปรึกษาแพทย์
< เคมีบำบัด
< ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำทำให้เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่าย และเลือดออกง่าย
< ผมร่วง
< เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
< เป็นหมัน

4. ฮอร์โมน

ยาจะยับยังไม่ให้ร่างกายใช้ฮอร์โมนแต่ไม่ยับยังการสร้างฮอร์โมนดังนั้นผู้ป่วยจะมีอาการ วูบวาบ ตั้งครรภ์ง่าย คันช่องคลอด น้ำหนักเพิ่ม ตกขาวควรตรวจภายในทุกปีและรายงานแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ

การฟื้นฟูสภาพหลังการผ่าตัด

การคืนสู่สภาพปกติของร่างกายหลังผ่าตัดขึ้นอยู่กับระยะของโรค ชนิดของการผ่าตัด และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย ควรทำกายภาพทันทีหลังการผ่าตัดเพื่อป้องกันข้อหัวไหล่ติดยึดและเพื่อเพิ่มกำลังให้กับแขน สำหรับผู้ป่วยที่แขนบวมหลังผ่าตัดแนะนำให้ยกแขนไว้บนหมอนเวลานอน

มาป้องกันมะเร็งเต้านม


ยังไม่มีวิธีแน่นอนในการป้องกันมะเร็ง คุณสามารถป้องกันมะเร็งด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่นสมาคมมะเร็งของอเมริกาแนะนำวิธีป้องกันมะเร็งเต้านมดังนี้

1. เปลี่ยนแปลงอาหาร เช่น ลดอาหารเนื้อแดง ลดอาหารมัน งดเกลือ
2. เลือกรับประทานอาหารพวก ผักและผลไม้
3. ควบคุมน้ำหนักมิให้อ้วน ออกกำลังกายอาทิตย์ละ 4 ชั่วโมงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้
4. งดเว้นการสูบบุหรี่ และ แอลกอฮอล์
5. ให้เตรียมอาหารและเก็บอาหารอย่างปลอดภัย

วิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเอง


ก่อนการตรวจมะเร็งเต้านมท่านจะต้องทราบว่าขนาดและลักษณะเต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บางคนขนาดจะโตขึ้นและแข็งขึ้นก่อนมีประจำเดือน เมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดขนาดเต้านมก็จะโตขึ้น หลังจากเข้าสู่วัยทองขนาดเต้านมจะเล็กลง แต่บางคนอาจจะแข็งตลอดเวลาที่มีประจำเดือน ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจคือ 5-7 วันหลังประจำเดือนวันสุดท้าย เนื่องจากช่วงนี้เต้านมจะอ่อนนุ่ม ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนตรวจตามความสะดวก มีวิธีการตรวจได้ 3 วิธี


........1. ให้ตรวจดูเต้านมของท่านอย่างน้อยเดือนละครั้ง ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในห้องนอนและขณะอาบน้ำ ควรจะใช้มือทำความสะอาดแทนการใช้ฟองน้ำ หากสังเกตหรือสงสัยว่าผิดปกติ ควรจะปรึกษาแพทย์





........2. ตรวจหน้ากระจก ยืนปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย แล้วยกมือขึ้นประสานกันเหนือศีรษะเพื่อเปรียบเทียบ ขนาดของเต้านมสองข้าง มีการบิดเบี้ยวของหัวนมหรือไม่ ผิวเต้านมเรียบดีหรือไม่ถ้ามีรอยบุ๋มจะเป็นความผิดปกติ จากนั้นก้มลงเอามือจับบริเวณเข่าให้นมห้อย แล้ใช้มือบีบหัวนมว่ามีสิ่งผิดปกติไหลออกมาหรือไม่





........3. ตรวจในท่านอนราบ นอนในท่าสบายยกแขนซ้ายขึ้นเหนือศีรษะเพื่อทำให้เต้านมแบน ใช้นิ้วชี้ กลาง และนิ้วนางคลำ ไม่ใช่บีบ เริ่มจากรอบหัวนมและขยายวงจนทั่วเต้านม ถ้าเจอก้อนถือว่าผิดปกติ





........4. การคลำก็สามารถคลำในขณะยืน คลำให้ทั้งเต้าทั้งสองข้างและคลำต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ด้วย




ที่มา - http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/cancer/breastcancer.htm



การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม



ผศ.พญ.ชลทิพย์ วิรัตกพันธ์
ศูนย์วินิจฉัยเต้านม ภาควิชารังสีวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี


การตรวจคัดกรองโรคหรือ Screening เป็นการตรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาโรคตั้งแต่ระยะก่อนมีอาการหรืออาการแสดง เช่น ในกรณีของมะเร็งเต้านมคือ การตรวจพบตั้งแต่เป็นมะเร็งระยะก่อนลุกลามซึ่งอาจเห็นเป็นหินปูนชนิดร้าย หรือพบก้อนขนาดเล็กๆ ตั้งแต่ยังคลำไม่ได้ พูดง่ายๆ คือผู้ที่จะมาตรวจคัดกรองคือคนที่ไม่มีอาการผิดปกติใด โดยมุ่งหวังว่าการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะที่ไม่แสดงอาการจะสามารถรักษาหายขาด โดยใช้การรักษาไม่มาก ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ในปัจจุบันมะเร็งบางประเภทเท่านั้นที่สามารถตรวจคัดกรองได้ อาทิ มะเร็งปากมดลูก- ตรวจ pap smear, มะเร็งลำไส้ใหญ่- ตรวจหาเลือดซ่อนเร้นในอุจจาระ, สวนแป้งเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่, มะเร็งต่อมลูกหมาก- ตรวจ PSA ในเลือด, คลำต่อมลูกหมากทางทวารหนัก, มะเร็งปอด- ตรวจเอกซเรย์ปอด เป็นต้น

สำหรับมะเร็งเต้านมมีวิธีตรวจคัดกรองที่ทำร่วมกัน 3 วิธีคือ

1. แมมโมแกรม

เป็นวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด สามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมได้ 24 % เป็นการตรวจเอกซเรย์เต้านมโดยใช้เครื่องมือเฉพาะ มีการกดเต้านมและถ่ายภาพเต้านมข้างละ 2 ท่า จากนั้นรังสีแพทย์จะทำการแปลผล ผู้รับบริการบางรายจะถูกเรียกมาถ่ายภาพเอกซเรย์เพิ่ม เช่น ทำการกดเต้านมเพิ่มเฉพาะจุด หรือทำอัลตราซาวด์เพิ่มเพื่อช่วยในการวินิจฉัยหรือยืนยันว่าสิ่งที่พบผิดปกติในแมมโมแกรมเป็นของจริงหรือไม่จริง

สมาคม/องค์กรแพทย์ทั่วโลกโดยส่วนใหญ่ แนะนำให้สตรีอายุ 40 ปีขึ้นไปตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี ส่วนสตรีที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมเช่น มีประวัติมะเร็งเต้านมและ/หรือมะเร็งรังไข่ในครอบครัว โดยเฉพาะในญาติสายตรงได้แก่ คุณแม่ พี่สาวหรือน้องสาว

และยิ่งเสี่ยงมากขึ้นถ้าญาติเหล่านี้เป็นก่อนอายุ 50 ปี หรือมีญาติเป็นกันหลายคน, เคยได้รับการฉายแสงบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่อายุน้อย, เคยได้รับการเจาะชิ้นเนื้อหรือผ่าตัดเต้านมแล้วเป็น Lobular carcinoma in situ หรือ Atypical ductal hyperplasia, มีประวัติมะเร็งเต้านมในเต้านมอีกข้าง ผู้ที่มีประวัติเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมมากกว่าสตรีทั่วไป

นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเสริมทดแทนในวัยทองควรได้รับการตรวจแมมโมแกรมทุกปี เพราะชนิดของมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศหญิง การได้รับฮอร์โมนเสริมอาจทำให้มะเร็งที่ซ่อนอยู่โตเร็วขึ้น ดังนั้นจึงควรตรวจแมมโมแกรมทุกปี

บางท่านอาจเคยตรวจแมมโมแกรมแล้วรังสีแพทย์ตรวจอัลตร้าซาวด์ให้เพิ่มเติม ในขณะที่บางท่านอาจไม่ต้องตรวจอัลตร้าซาวด์ แพทย์ให้กลับบ้านได้เลย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เต้านมปกติมีส่วนประกอบหลักๆ 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นเนื้อเต้านม ซึ่งรวมต่อมผลิตน้ำนม, ท่อน้ำนมและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เมื่อทำแมมโมแกรมส่วนนี้จะเป็นสีขาว ส่วนที่ 2 คือส่วนที่เป็นไขมัน ซึ่งจะเห็นเป็นสีดำในแมมโมแกรม ถ้าส่วนที่เป็นเนื้อเต้านมมากจะเรียกว่าเต้านมมีความหนาแน่น (หรือ density) มาก

การแปลผลแมมโมแกรมจะแบ่งระดับความหนาแน่นเป็น 4 ระดับ ปัจจัยที่มีผลต่อความหนาแน่นของเนื้อเต้านม อาทิ อายุ (อายุน้อย-ความหนาแน่นของเต้านมมาก), ฮอร์โมน (ถ้าได้ฮอร์โมนเสริมหรือฮอร์โมนทดแทน-ความหนาแน่นของเต้านมมาก), เชื้อชาติ (คนเอเชีย-ความหนาแน่นของเต้านมมากกว่าคนอเมริกัน หรือ ยุโรป), กรรมพันธุ์ (ถ้าแม่มีความหนาแน่นของเต้านมมาก ลูกสาวก็มีโอกาสเหมือนกัน) เป็นต้น

ความหนาแน่นของเต้านมนี้มีความสำคัญต่อความสามารถของแมมโมแกรมในการตรวจพบความผิดปกติ เพราะถ้ามีความหนาแน่นของเต้านมมากมีโอกาสบดบังสิ่งผิดปกติได้ง่าย ในกรณีนี้อัลตร้าซาวด์จะเป็นเครื่องมือตรวจที่ช่วยได้มาก

นอกจากนี้อัลตร้าซาวด์ยังช่วยหาคำตอบว่าสิ่งผิดปกติหรือสิ่งที่สงสัยในแมมโมแกรมเป็นความผิดปกติจริงหรือไม่ แล้วความผิดปกตินั้นคืออะไร เช่น เป็นก้อนหรือถุงน้ำ (Cyst) เพราะแมมโมแกรมจะแยกสองภาวะนี้ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม อัลตร้าซาวด์ไม่สามารถแทนที่แมมโมแกรมในการเป็นเครื่องมือตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เนื่องจากมีข้อจำกัดในการตรวจพบหินปูน ซึ่งมะเร็งเต้านมก่อนระยะลุกลาม (Ductal carcinoma in situ หรือมะเร็งระยะ 0) ส่วนใหญ่มีหินปูนซึ่งเป็นสิ่งผิดปกติเพียงสิ่งเดียว ซึ่งจะตรวจพบได้โดยแมมโมแกรม

ถึงแม้แมมโมแกรมจะมีประโยชน์ แต่ผู้ที่ทำการตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรม จำเป็นต้องตระหนักถึงสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นดังต่อไปนี้

ผลลบลวง (False-negative) หมายความว่า มีสิ่งผิดปกติแต่แมมโมแกรมตรวจไม่พบความผิดปกติ ส่งผลให้การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมล่าช้าออกไป ผลลบลวงพบได้ 4-34 % หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 20% แต่ถ้ามีการตรวจอัลตร้าซาวด์ร่วมด้วยมีรายงานว่าผลลบลวงเหลือเพียง 2-3%

ผลบวกลวง (False-positive) หมายถึง จริงๆ แล้วไม่มีอะไรผิดปกติ แต่แมมโมแกรมบอกว่าผิดปกติ พบได้ 3-6 % ผลบวกลวงทำให้ต้องมาติดตามผลระยะสั้น เช่น ตรวจแมมโมแกรมและ / หรือ อัลตราซาวด์ทุก 6 เดือน หรือต้องเจาะตรวจ / ผ่าตัดตรวจชิ้นเนื้อโดยไม่จำเป็น

สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยลดผลบวกลวงได้ คือการแปลผลแมมโมแกรมปัจจุบันเทียบกับแมมโมแกรมเก่าที่เคยทำมาแล้ว ดังนั้น จึงอยากเน้นว่า ในกรณีที่เปลี่ยนสถานที่ตรวจแมมโมแกรม ให้นำแมมโมแกรมที่เคยทำจากที่เดิม มาให้รังสีแพทย์ที่ใหม่เปรียบเทียบกับของเดิมด้วย

ผลของรังสีจากการถ่ายภาพแมมโมแกรม (Radiation exposure) ปริมาณรังสีเฉลี่ยที่เต้านมได้รับจากการตรวจคัดกรองแมมโมแกรมน้อยมาก น้อยกว่าปริมาณรังสีที่ได้จากการถ่ายเอกซเรย์ปอดเสียอีก พบว่าประโยชน์ที่ได้จากการตรวจคัดกรองแมมโมแกรมสูงกว่ามาก เมื่อเทียบกับอันตรายที่อาจเกิดจากการได้รับรังสี และยังไม่มีรายงานการเกิดมะเร็งเนื่องจากรังสีที่ได้รับจากการทำแมมโมแกรม

สำหรับการรายงานผลแมมโมแกรมจะใช้แนวทางการแปลผลที่เรียกว่า BI-RADS (Breast Imaging Reporting and data system) ซึ่งเสนอโดยสมาคมรังสีแพทย์อเมริกัน จะแบ่งเป็น

Category 0 - ยังรายงานผลแน่นอนไม่ได้ ต้องการเปรียบเทียบกับแมมโมแกรมครั้งก่อน หรือต้องการการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น อัลตร้าซาวด์,

Category 1 - ไม่พบความผิดปกติใด,

Category 2 - มีสิ่งตรวจพบแต่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น หินปูนชนิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง สำหรับ Category 1 และ 2 แนะนำให้มาตรวจแมมโมแกรมในอีก 1 ปีถัดไป,

Category 3 - สิ่งที่ตรวจพบน่าจะไม่ใช่มะเร็ง (โอกาสเป็นมะเร็งไม่เกิน 2%) กรณีนี้ แนะนำให้มาตรวจแมมโมแกรมในอีก 6 เดือน เพื่อติดตามผล,

Category 4 - สิ่งที่ตรวจพบไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ จำเป็นต้องเจาะชิ้นเนื้อหรือผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบัน Category 4 ยังแยกเป็น 4A, 4B และ 4C ตามความสงสัยมาก-น้อยว่าจะเป็นมะเร็ง,

Category 5 – ความผิดปกติที่พบสงสัยอย่างยิ่งว่าเป็นมะเร็งเต้านม (โอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าหรือเท่ากับ 95%) กรณีนี้ต้องทำการเจาะชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน,

Category 6 - ได้รับการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาแล้วว่าเป็นมะเร็งเต้านมอยู่ระหว่างการรักษาเช่น ให้เคมีบำบัดก่อนการผ่าตัด แพทย์ส่งตรวจแมมโมแกรมเพื่อประเมินการตอบสนองต่อยาเคมี หรือวางแผนผ่าตัด เป็นต้น

บางท่านเมื่อมาตรวจแมมโมแกรมอาจเคยเห็นผลลักษณะเช่นนี้จะได้เข้าใจ เพราะที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเคยมีผู้มาตรวจอ่านผลแมมโมแกรมของตนเองเห็นรังสีแพทย์ระบุว่าเป็น BI-RADS 2 คิดว่าตนเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 ทำเอาตกอกตกใจใหญ่โต

มีผู้ถามผู้เขียนเสมอๆ ว่าใกล้มีประจำเดือนหรือมีประจำเดือนอยู่มาตรวจแมมโมแกรมได้หรือไม่ จำเป็นต้องเลื่อนการตรวจหรือเปล่า จะมีผลต่อการแปลผลของรังสีแพทย์ไหม

ตามหลักแล้วช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตรวจแมมโมแกรมคือ 7-14 วัน หลังหมดประจำเดือน เพราะเต้านมไม่คัดตึง เวลาใช้แผ่นกดขณะตรวจแมมโมแกรมก็ไม่เจ็บ บางรายที่มีก้อนเนื้องอกธรรมดาหรือถุงน้ำ (ซีสต์) อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เล็กน้อย หรืออาจมีถุงน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้มีประจำเดือน แต่ในทางปฏิบัติคิวนัดตรวจอาจไม่ตรงกับช่วงที่เหมาะสมดังกล่าว ไม่ต้องกังวลเพราะไม่มีผลกระทบต่อการแปลผลของรังสีแพทย์มากนัก โดยทั่วไปจึงแนะนำว่าสามารถมาตรวจได้ทุกช่วงของรอบเดือน

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม นอกจากใช้เครื่องมือทางเอกซเรย์คือ แมมโมแกรมตรวจแล้วยังมีการตรวจอีก 2 ประเภทกล่าวคือ

2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการตรวจเต้านม หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Clinical breast examination ย่อว่า CBE อายุที่เริ่มทำการตรวจและระยะห่างในการตรวจแต่ละประเทศอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

สมาคมโรคมะเร็งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้สตรีอายุ 20-39 ปี พบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมอย่างน้อยทุก 3 ปี ส่วนสตรีอายุ 40 ปีและ 40 ปีขึ้นไปให้ตรวจทุก 1 ปี สำหรับประเทศไทยเนื่องจากเราไม่พบโรคมะเร็งเต้านมสูงเท่าอเมริกา อีกทั้งแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีจำกัด จึงแนะนำให้เริ่มตรวจเต้านมโดยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์หรือ CBE เมื่ออายุ 40 ปี และตรวจทุก 1 ปี

อย่างไรก็ตาม CBE มีข้อจำกัด เพราะว่าก้อนเมื่อคลำได้แสดงว่าต้องมีขนาดพอสมควร อีกทั้งหินปูนชนิดที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งไม่สามารถคลำพบจากการตรวจเต้านม ปัจจุบันนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดสรุปได้ว่า CBE สามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านม แต่กระนั้น CBE เมื่อใช้ร่วมกับแมมโมแกรมจะช่วยเพิ่มความไวและความถูกต้องในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมมากกว่าการใช้แมมโมแกรมเพียงอย่างเดียว ดังนั้น CBE ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

3. การตรวจเต้านมด้วยตนเองหรือ Breast self-examination (BSE) ก่อนอื่นต้องเน้นว่าการตรวจเต้านมด้วยตนเองหรือต่อจากนี้จะขอเรียกย่อๆ ว่า BSE จะเกิดประโยชน์ ต้องทราบถึงวิธีการตรวจที่ถูกต้อง จากประสบการณ์ผู้เขียนพบว่า ถึงแม้มีสตรีจำนวนมากมายที่เอาใจใส่ดูแลสุขภาพเต้านมของตนเอง โดยมาตรวจแมมโมแกรมทุกปี แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงวิธีการตรวจเต้านมที่ถูกต้อง บางท่านเอานิ้วจิ้มๆ เหมือนดีดเปียโน ซึ่งโอกาสตรวจพบความผิดปกติจะยาก จึงขอให้ข้อมูลการตรวจเต้านมไว้ในบทความนี้ด้วย

BSE มีข้อจำกัดคล้าย CBE คือกว่าจะตรวจพบก้อนหรือความผิดปกติที่เต้านม โรคก็ต้องดำเนินไประยะหนึ่งแล้ว หมายถึง โอกาสที่จะตรวจพบมะเร็งระยะ 0 แทบไม่มี หรือการพบมะเร็งระยะ 1 ก็ยังยาก สมาคมการแพทย์บางสาขาของอเมริกาและแคนาดาจึงไม่รวม BSE ในแนวทางการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม คือจะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่สำหรับประเทศไทยการตรวจ BSE ยังมีประโยชน์ เนื่องจากเครื่องแมมโมแกรมมีไม่มาก รังสีแพทย์และเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคก็มีจำกัด

ที่สำคัญคือการตรวจแมมโมแกรมไม่ฟรีเหมือนอเมริกาหรือประเทศในยุโรปที่รวมอยู่ในประกันสุขภาพ ในแนวทางการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมสำหรับสตรีไทยโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ยังแนะนำให้สตรีไทยอายุ 20 ปีขึ้นไปตรวจเต้านมด้วยตนเองทุก 1 เดือน

สิ่งที่มองข้ามไม่ได้คือ การรณรงค์ให้มี BSE จะเพิ่มอัตราการตรวจแมมโมแกรมหรือ อัลตร้าซาวด์ เพราะอาจคลำได้เนื้อเต้านมแต่คิดว่าเป็นก้อน พูดง่ายๆ คือ เกิดวิตกจริตว่า เอ๊ะ!! ที่เป็นตะปุ่มตะป่ำอย่างนี้เป็นก้อนหรือเปล่า อย่างที่กล่าวข้างต้น ผู้ที่มีเนื้อเต้านมหนาแน่น นอกจากส่งผลต่อการแปลผลแมมโมแกรม บางครั้งอาจทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นก้อนผิดปกติ

กลุ่มนี้มักมีประวัติคลำก้อนได้หรือคลำก้อนได้ชัดขึ้นตอนใกล้มีประจำเดือน พอประจำเดือนหมดก้อนก็หายไป อย่างไรก็ตาม BSE มีประโยชน์ในแง่ที่กระตุ้นให้ผู้หญิงเอาใจใส่สุขภาพเต้านมของตนเอง ไม่มีใครคุ้นเคยกับเต้านมของเราเท่ากับตัวเราเอง การตรวจพบความผิดปกติจะช่วยให้มาพบแพทย์ได้เร็วขึ้น

1. สรุปแนวทางการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมสำหรับสตรีไทย ประกอบด้วยการทำแมมโมแกรม โดยแนะนำให้เริ่มทำตั้งแต่อายุ 40 ปี โดยทำทุก 1 ปี
2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการอบรมด้าน3. การตรวจเต้านม แนะนำให้เริ่มเมื่ออายุ 40 ปี โดยตรวจทุก 1 ปี
4. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง แนะนำให้เริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 20 ปีเป็นต้นไป
โดยตรวจทุก 1 เดือน
5. แนวทางการตรวจคัดกรองดังที่กล่าวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ถ้าเป็นมะเร็งก็หวังว่าจะพบก่อนระยะลุกลาม ซึ่งมีโอกาสหายขาด 100 %

หมายเหตุ : เนื้อหาในบทความนี้ ( ยกเว้นรูปภาพประกอบ ) ได้ตีพิมพ์ในวารสาร HealthToday ปีที่ 7 ฉบับที่ 77 เดือนสิงหาคม 2550 ที่มา - http://www.ramaclinic.com/patient/P2284-0907-01/index.asp



ผู้ชาย กับ “โรคมะเร็งเต้านม”

ใครว่า “มะเร็งเต้านมเกิดได้เฉพาะผู้หญิง” ผู้ชายก็สามารถเป็นได้ครับ แต่พบในอัตราที่น้อยมากแค่ 1 % เท่านั้น ส่วนสาเหตุที่แน่ชัดนั้นยังระบุไม่ได้ครับ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดเนื้อร้ายขึ้น

ส่วนหนึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้น

1. ความอ้วนอาจเป็นอีกปัจจัย เนื่องจากเซลล์ไขมันเป็นเซลล์ที่ผลิตเอสโตรเจน นอกจากนี้
2. สารเคมีในสิ่งแวดล้อมและรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป อาจมีส่วนทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเช่นกัน หรือแม้แต่การโดนรังสีบางชนิด อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้นครับ

ทางที่ดี “กันไว้ดีกว่าแก้” นะครับ





บทสรุป


มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในหญิงไทยเป็นที่สองรองจากมะเร็งปากมดล กมักเกิดในหญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปและพบมากในหญิงที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรน้อย และในผู้ที่มีประวัติญาติพี่น้องเคยเป็นมะเร็งเต้านมหญิงอายุน้อยหรือชายก็อาจเ ป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่พบได้น้อย

สาเหตุการเกิดโรค ยังไม่ทราบแน่นอน แต่ในทางระบาดวิทยาอาหารไขมันสูง มีส่วน ทำให้เกิดโรคได้ ตำแหน่งเกิดของมะเร็งเต้านมมักเป็นที่ส่วนบนด้านนอกของ เต้านมมากกว่า ส่วนอื่น

ลักษณะอาการของโรค

* เริ่มจากการคลำก้อนไม่ได้จนถึงมีก้อนเล็กๆ ขึ้นที่เต้านม ส่วนมากจะไม่มีอาการเจ็บปวด

* ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เต้านมมีลักษณะผิดไป อาจทำให้เต้านมใหญ่ขึ้น หรือบางชนิดทำให้เต้านมแข็ง หดตัวเล็กหรือแบนลงได้ ก้อนมะเร็งอาจจะรั้งให ้หัวนมบุ๋ม เข้าไปจากระดับเดิม หรือทำให้ผิวหนังบริเวณเต้านมมีลักษณะ หยาบ และขรุขระ บางรายเมื่อบีบบริเวณหัวนมจะมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลซึมออกมา มะเร็งจะลุกลาม แพร่กระจายจากตำแหน่งที่เกิดได้อย่างรวดเร็วไปตามหลอดเลือด และน้ำเหลืองสู่อวัยวะอื่นๆ

* บริเวณที่พบการแพร่กระจายได้เร็วและบ่อยที่สุดได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง ที่รักแร้

* ในรายที่เป็นมากแล้วเนื้อมะเร็งบางส่วนจะเน่าตาย ทำให้เกิดเป็นแผลขยายกว้างออกไป และมีกลิ่นเหม็นจัด

การตรวจวินิจฉัยและรักษา

* การตรวจพบและรักษามะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะมีโอกาสหายขาดได้

* การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งเป็นประจำ หลังหมดประจำเดือน 7 วัน และ การตรวจโดยเอ็กซเรย์เต้านม ช่วยให้พบความผิดปกติ หรือก้อนมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

* การรักษานั้นอาจทำโดยการผ่าตัดการบำบัดทางรังสี และการใช้ยาสังเคราะห์บางประเภท ทั้งนี้อาจจะให้การรักษาโดยวิธีการเดียวหรือร่วมกันไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับผลการ ตรวจพิเศษ ของชิ้นเนื้อมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองที่ผ่าตัดออกมา

ข้อพึงปฏิบัติ

* ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งเป็นประจำ หลังหมดประจำเดือน 7 วัน หากพบก้อนหรือสิ่งผิดปกติใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

* ให้ความร่วมมือในการรักษา อย่าหลงเชื่อและเสียเวลาไปกับการรักษาโรคมะเร็ง ด้วย วิธีการ ทางไสยศาสตร์และยากลางบ้าน เพราะมะเร็งนั้นจะโตขึ้นเรื่อยๆ โอกาสที่จะหายขาดจะลดลง ทุกขณะ

* พึงระลึกเสมอว่ามะเร็งของเต้านมหรืออวัยวะใดก็ตาม ถ้าได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้น เร็วเท่าไร ความหวังที่โรคจะหายขาดก็ยิ่งมีมากขึ้นเพียงนั้น


webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2034
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved