ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 6/10/08 at 16:42 Reply With Quote

ความรู้เรื่อง..การตั้งครรภ์ ข้อเท็จจริงที่ควรทราบ คลอดเอง-ผ่าออก?


การตั้งครรภ์ ข้อเท็จจริงที่ควรทราบ คลอดเอง-ผ่าออก? อะไรคือความเสี่ยง


การตั้งครรภ์และการคลอด เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่การแพทย์

".......เมื่อไรที่ผมเห็นคำกล่าวนี้ซึ่งสั่งสอนมาแต่โบราณ ทำให้ผมอดคิดขึ้นมาไม่ได้ว่า เรานี้ช่างโชคดีหนอ และ ลูกเมียเรานี้ช่างโชคดีจริงๆ หนอ (ที่ผ่านช่วงธรรมชาติของการตั้งครรภ์และการคลอดมาได้) แม้ว่าตนเองจะเป็นแพทย์ และลูกคนสุดท้องจะได้ทำคลอดด้วยมือของตนเอง ก็ยังจำความรู้สึกตื่นเต้นได้ดี อย่าให้ความเป็นธรรมชาติ ต้องถูกบิดเบือนไปมากนัก อย่าเพิ่งคิดว่า เมื่อเราปล่อยไปตามธรรมชาติแล้ว จะไม่มีความเสี่ยงเลย และประการสำคัญคือ อย่าให้ธรรมชาติ ถูกเบี่ยงเบนไปทำให้เกิดความเสี่ยงมากชึ้น

การคลอดโดยธรรมชาติ คือธรรมชาติที่สุดแล้ว เป็นวิธีพื้นฐานที่สุดในการดำรงเผ่าพันธ์เรามานับล้าน ๆ ปี มาปัจจุบัน ด้วยวิทยาการก้าวหน้าขึ้น การคลอดธรรมชาติโดยมีคนช่วยมีความปลอดภัยสูง ผลดีต่อแม่และเด็กมากมาย แม้จะมีการพัฒนาวิธีการอื่นๆ มากมาย การคลอดโดยธรรมชาติ ในทางการแพทย์ ก็ยังดีที่สุด และปลอดภัยที่สุดเพราะผ่านการพิสูจน์มาแล้วนับล้านๆ ปี

แต่...ด้วยความคาดหวังของพ่อแม่ สังคม หรือด้วยปัจจัยอะไรก็แล้วแต่ ทำให้มีการเลือกที่จะผ่าตัดทำคลอดมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า การผ่าตัด ย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าธรรมชาติ ไม่ว่าจะกล่าวอ้างอย่างไร การผ่าคลอด ก็ยังมีความเสี่ยงที่แม่เด็กจะเสียชีวิต 3 เท่าเมื่อเทียบกับการคลอดโดยธรรมชาติอยู่ดี และเมื่อฝืนธรรมชาติ ...ก็ควรต้องมีการยอมรับสิ่งที่จะตามมา..ไม่ว่าจะผลข้างเคียง แม้ว่าเราจำใจจะต้องผ่า เพราะเกิดภาวะแทรกซ้อน ก็ตาม

คิดๆ ดู....เรากว่าจะเกิดมามีความเสี่ยงมากมาย ไหนจะตั้งแต่ตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสแท้ง และเมื่อการตั้งครรภ์ผ่านไป ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงอีก 8% ที่เรียกว่า "การตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง" โดยเฉพาะถ้าแม่มีอายุมาก ก็จะประสบปัญหา "ความเสี่ยงในการคลอดของแม่อายุมาก" เพิ่มกว่าปกติ พอเกิดมาแล้ว โอกาสที่จะมีกรรมพันธ์บกพร่องอีกประมาณ 1 ใน 1000 รวมๆ แล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า เราที่ครบ32สมองปกติ และเกิดจากการคลอดปกติที่ไร้ปัญหาเลย(ไม่ต้องผ่า) นี้เกิดมาได้เป็น หนึ่งในประมาณ 900 กว่าคน จาก 1000 การตั้งครรภ์

แต่...ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าความเสี่ยงทั้งหลาย จากการคลอดเอง ไม่ว่าจะปกติ หรือไม่ปกติ ก็ตาม ก็ยังเทียบไม่ได้ กับการอยู่ในสังคมที่มีความเสี่ยง เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ เสี่ยงที่จะเกิดการเป็นมะเร็งหรือเจ็บป่วยโรคร้ายแรงอื่น ๆ เสี่ยงที่ลูกเราจะโดนฆาตกรรม หรือเสียผู้เสียคน คิดดูเล่น ๆ สงกรานต์ปีนี้(แค่ 10วัน) มีคนตายกี่คน เมื่อเทียบกับการมีแม่ที่ตายคลอด ก็พอจะเห็นตัวอย่างได้

อะไรคือการผ่าท้องคลอด caesarian section

บางครั้ง คุณอาจเคยได้ยินหมอกล่าวกับพยาบาลว่า "เคสนี้สงสัยหัวติด น่าจะต้อง ซีซาร์ด่วน" ลองดูซิว่า คุณจะเข้าใจว่าอะไรบ้าง "หัวติด" หมายถึงความกว้างของหัวเด็ก มากกว่าความกว้างของอุ้งเชิงกราน หรือมีอะไรไปกันไม่ให้เด็กเอาหัวลงคลอดผ่านมาทางช่องคลอดปกติ (ซึ่งภาวะหัวติดนี้ เป็นภาวะที่ทำให้แพทย์ตัดสินใจทำคลอดด้วยวิธีการผ่าออกมากที่สุด)

"ซีซาร์" ที่แพทย์หรือพยาบาลชอบใช้กัน ก็มาจากคำว่า "ซีซาเรียน เซ็คชั่น"ซึ่งก็คือการผ่าเอาเด็กออกทางหน้าท้อง ทำไมต้องเป็นซีซาร์ จากหลักฐานและตำนานต่างๆ เชื่อกันว่า จักรพรรดิโรมันผู้ยิ่งใหญ่ คือ จูเลียส ซีซาร์ ถือกำเนิดมาด้วยวิธีนี้ (และมีนิยายเล่าขานว่า ตัวแม่ของเขาก็ปลอดภัย! อาจเป็นเลื่องเล่าลือ เพราะแค่เมื่อสมัย 100 กว่าปีมานี้ การผ่าคลอดก็เสี่ยงที่แม่จะตายถึง 80 กว่า % แล้ว ไม่ต้องพูดถึงสมัยสองพันกว่าปี)

แต่ข้อมูลที่น่าจะอธิบายได้ดีกว่า คือแม่ของซีซาร์ เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เรียกว่า มาร์ฟาน(marfan's syndrome) โรคกรรมพันธ์ซึ่งจะทำให้หญิงที่คลอดบุตรนั้นเสียชีวิตระหว่างคลอดบุตร ทำให้เชื่อว่า ซีซาร์ ถูกผ่าเอาออกมาจากท้องแม่ ก่อนที่แม่จะตายไป หรือเมื่อแม่เพิ่งจะตายไป

ข้อบ่งชี้ การตัดสินใจในการผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้อง

การดำเนินไปของการคลอดหยุดชะงัก(เด็กไม่ลงมาอีกหลังจากลงต่ำมาระยะหนึ่ง)

เด็กมีอาการของการขาดออกซิเจน(fetal distress)

แม่มีปัญหาเช่น การตั้งครรภ์เป็นพิษ

เด็กแฝดหลายคน

ความผิดปกติของท่าการคลอดเช่น เด็กเอาเท้าลง

ใช้ยากระตุ้นคลอด หรือใช้เครื่องมือดึงเด็กไม่ออก

เด็กตัวใหญ่เกินไป

รกเกาะต่ำ (placenta previa) หรือรกลอกก่อนกำหนด

การติดเชื้อในมดลูก หรือช่องคลอดบางอย่าง

แม่ที่เคยมีการผ่าคลอดมาแล้ว


สำหรับแม่ที่มีการผ่าคลอดมาแล้ว เหตุผลที่ว่าทำไมต้องผ่าอีก เพราะในสมัยก่อน การผ่าคลอด จะทำในแนวตั้ง และกรีดเอากล้ามเนื้อของมดลูกทำให้มดลูกขาดความแข็งแรง เสี่ยงต่อการที่พอเบ่งเต็มที่ในการคลอดแล้วจะมดลูกแตกได้ แต่ปัจจุบัน เรามักผ่าในแนวนอนโคนมดลูก เหนือต่อกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งไม่ค่อยมีผลต่อการหดตัวกล้ามเนื้อ เราจึงพบว่า แม่บางคน ผ่าคลอดในลูกคนแรก ก็สามารถคลอดปกติในลูกคนต่อไปได้

ความเสี่ยงของการผ่าคลอด

ข้อมูลจาก textbook เมื่อปี 1990 สิบปีมาแล้ว พบว่า จะมีผู้หญิงเสียชีวิต 1 ใน 2500 ครั้งของการผ่า เมื่อเทียบกับ 1 ใน 10000 ของการคลอดเอง ปัจจุบัน ตัวเลขลดน้อยลงมาก แต่ก็ยังเป็น 3 เท่าของการคลอดธรรมชาติ

ชนิดของการผ่า

classical วิธีโบราณ ผ่าตามแนวยาว ทำได้รวดเร็ว เด็กคลอดเร็ว มีพื้นที่เปิดหน้าท้องมากกว่า แต่ไม่นิยมทำกันในปัจจุบัน เพราะเสี่ยงต่อการที่ท้องต่อไปมดลูกแตก แผลไม่สวย เลือดออกมาก

- ผ่าตัดส่วนล่าง นิยมในปัจจุบัน สามารถซ่อนแผลลงในกางเกงในได้

- ผ่าพร้อมตัดมดลูกไปด้วย ในกรณีที่เกิดปัญหาของการคลอด เช่น รกเกาะต่ำ เกาะไปโดนเส้นเลือด ทำให้ตกเลือด เลือดออกไม่หยุด เอารกออกไม่ได้เพราะเกาะแน่น เป็นต้น

- ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน และด้วยข้อบ่งชี้ใด ๆ มีความเสี่ยงเสมอ สำหรับ ซีซาร์ ให้พร้อมรอรับ และรอรับสิ่งที่จะตามมาคือ การพักฟื้นที่ยาวนานกว่า การปวดแผลที่มากกว่า การคลอดปกติ (และเสียเงินมากกว่าด้วย)




รวม Link เรื่องสุขภาพและการแพทย์

http://www.thaiclinic.com
มีบทความเกี่ยวกับสุขภาพ โดยนายแพทย์ธนศ พัวพรพงษ์ และข่าวเกี่ยวกับสุขภาพ รวมถึงเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแพทย์

http://www.redcross.or.th
เป็นเว็บไซท์ของสภากาชาดไทย ให้บริการความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ ข่าวประชาสัมพันธ์ของสภากาชาดไทย รวมถึงบทความเกี่ยวกับสุขภาพของคนไทย

http://www-ddc.moph.go.th
เป็นเว็บไซท์ของกรมควบคุมโรค ที่มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านวิชาการและเทคโนโลยีการป้องกันและควบคุมโรคของประเทศ และระดับนานาชาติ

http://www.fda.moph.go.th
เว็บไซท์ของคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งมีข่าวเกี่ยวข้องกับการแพทย์ และเภสัชกร รวมถึงการประชาสัมพันธ์และกิจกรรมของสำนักคณะกรรมการอาหารและยา

http://www.mohanamai.com
สมาคมหมออนามัย ให้ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนโดยตรง และเป็นเว็บไซท์ที่สนับสนุนการดำเนินงานทางด้านอนามัยของรัฐบาล รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้แก่ชุมชน

http://www.dmh.go.th
กรมสุขภาพจิต และกระทรวงสาธารณสุข ให้ความรู้ทางด้านการแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

http://www.md.chula.ac.th
คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถานศึกษาและศูนย์บริการข้อมูลให้ความรู้ทางการแพทย์ และข่าวสารเกี่ยวกับการแพทย์

http://www.nhso.go.th
สำนักงานหลักประกันสุขภาพ ให้บริการความรู้ทางการแพทย์ รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารการประกันสุขภาพต่อประชาชนโดยทั่วไป

http://www.thaimedtech.com
ศูนย์บริการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร

http://www.thaicpg.org
สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ เป็นศูนย์กลางการพัฒนาวิชาการแพทย์ ด้านการกำหนดและพัฒนามาตรฐานคลินิก บริการ เพื่อให้สถานบริการสุขภาพดี มีคุณภาพได้มาตรฐาน

http://www.pharmacycouncil.org
สภาเภสัชกรรม ให้บริการความรู้ทางด้านเภสัชกรรมทั้งหมด การศึกษา การวิจัย มาตรฐานวิชาชีพของเภสัชกร

http://dmsic.moph.go.th
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพทย์ รวมถึงคุณภาพของยาและเวชภัณฑ์

http://www.medassocthai.org
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแพทย์ และดูแลตรวจสอบเกี่ยวกับจรรยาบรรณของแพทย์ทั่วประเทศไทย

http://www.heart.kku.ac.th
ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ข้อมูลทางการแพทย์ด้านโรคหัวใจ และหลอดเลือด

http://www.yourdentistinter.com
ศูนย์ทันตกรรมนานาชาติ ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพฟัน

http://www.thaimedicalhub.com
ไทยเมดิคัลฮับ ศูนย์กลางในการติดต่อประสานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เสนอข้อมูลการให้บริการของโรงพยาบาลต่างๆ ของไทย ข้อมูลโครงการไทยเมดิคัลฮับ เสนอข้อมูลแพทย์ไทย ศูนย์รวมแพทย์ ให้คำปรึกษาทางการแพทย์สำหรับคนต่างชาติที่เข้ามารับการรักษาในประเทศไทย บริการปรึกษาอาการป่วยผ่านเว็บไซต์

http://www.chulacancer.net
ฬาแคนเซอร์ ให้ความรู้ทางการแพทย์ เรื่องโรคมะเร็ง มีข้อปฏิบัติและความรู้สำหรับบุคคลทั่วไป และผู้ป่ายโรคมะเร็ง โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved