ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 21/11/08 at 20:01 Reply With Quote

(Update 3 ก.พ. 54) ประวัติพระพุทธศาสนา โดย.."อุณากรรณ" ( เล่ม 2 )


ย้อนอ่าน เล่มที่ 1



สารบัญ

(เลือก "คลิก" อ่านได้แต่ละตอน)


01.
บทที่ ๒๘ ยุค ๓ (พุทธันดรที่ ๓) ขุนแผนเมืองฟ้า-ดวงขวัญใจ
02. พิธีการแต่งงานแบบไทยมีมานานแลัว
03. ชฎิลเศรษฐี
04. พระกัสสปทศพลสุวรรณเจดีย์
05. บทที่ ๒๙ คนแผน
06. ขุนอู่ทอง (ผู้สร้างเมืองพงตึก)
07. "เอ่ยเชิญขวัญ" (ผู้คิดร้องรำทำเพลง)
08. บทที่ ๓๐ "ต้นผีไทย"
09. ขอมต้นปีอิน ๑๑๗๘ (ก่อน พ.ศ. ๕๑๖๓)
10. บทที่ ๓๑ "ประวัติพ่อขุนสือไทย"
11. บทที่ ๓๒ "ร่องรอยไทย" ทั้ง "ตัวสือไทย" (Update 31-5-53)
12. บทที่ ๓๓ "ภู" พุ่มคู่ทรวง หรือ ภูหุบผาสถูปลอมฟาง ซึ่งธรรมชาติสลัก-จารึกไว้ (Update 4-6-53)



Update 23 ต.ค. 51

บทที่ ๒๘


ในตอนที่แล้วนั้น ได้มาสิ้นสุดยุติลงตรงที่พุทธันดรที่ ๒ ตรงกับยุคไทย ขุนแถนเทียน ฟ้า-สีทองงาม เป็นกาลที่สมเด็จพระโกนาคมทรงอุบัติขึ้นในโลก จารึกจาก "กระเบื้องจาร" ได้เล่า "ยุคไทย" สมัยต่อไปว่า...


ยุค ๓ (พุทธันดรที่ ๓) ขุนแผนเมืองฟ้า-ดวงขวัญใจ



ขุนแผนเมืองฟ้า ขุนหญิงดวงขวัญใจ


ทั้งคู่ทองสำริดได้จากปากท่อ (ราชบุรี) เฉพาะรูปขุนแผนนั้น ความจริงเป็นพระพุทธรูปปางขอฝน รูปขุนแผนเมืองฟ้าไม่ได้มา ทั้งเคยเห็น พระขุนแผนเมืองสุพรรณบุรี เช่นขุนแผนปราบศึก มีดาบขุนแผนทรงพลมีรัดแขน ที่เป็นรูปก็เป็นพระพุทธรูป จึงกราบขอยืมเพื่อเป็นหลักฐานขุนแผน ทั้งมีส่วนกายวิภาคเหมือนกัน ซึ่งยังยืนยันว่า ช่างเดียวกัน ทั้งมือขวากวัก โดยเป็นชาวต้น คนของ "ขุนอิน" และ "นางกวัก" สร้างใน สมัย "สุวัณณภูมิ" ประมาณ พ.ศ.๒๓๕ - ๓๐๐

ในภาวะ "ผีฟ้า" ดูคล้ายมหาพรหมปุโรหิต ซึ่งเป็นที่ปรึกษาแผนความรู้ต่าง ๆ "ขุนนาง ดวงขวัญใจ" ดํารงอุดมเทพมารดาถึงมหาพรหมี กึ่งเทพกัญญาหมู่ดาวกัญญา "ผีฟ้าชาย" แต่งตัวเหมือนขุนนางมีรัดเกล้าชั้น สะไบมีเชิงบ่าเป็นดอกไม้ ส่วน "ขุนหญิงผีฟ้า" แต่งตัวเหมือนรูปนี้ และบางเบาปรากฏเพศชัดเจนตลอด

คนไทยสมัยนั้นคงมี วิชาสางใส จึงรู้ว่า "ต้นนั้น" ตายไปเป็น "ผีฟ้า" ตลอดทั้ง ๓ ยุค สมัย จึงใช้ชื่อตามว่า ชาวสรวง ชาวแถน ชาวแผน ชาวแมน ชาวทองไทย ตลอดมา "ชื่อ" และ "เรื่อง" เคารพบูชาบวงสรวงจึงปรากฏ มาถึงกาลปัจจุบัน แต่กาลนี้ไทยเลิกกันไปเป็นส่วนมาก ยังเหลือชาวชนบทที่ยังกระทํากันอยู่ เพราะเหตุนี้ "รูป" และ "เรื่อง" จึงปลอมแปลงกันไม่ได้ เพราะมีอยู่ก่อนแล้ว

"ยุคนี้...พันล้านปีที่ ๔ ที่ ๕ นี้ พอจะเข้ายุคระยะปลายแล้ว ซึ่งได้สืบต่อและทําสิ่งต่าง ๆ ได้ทิ้งไว้พอจะพบเห็นกันได้ ในครั้งแรกที่ออกมาเริ่มชีวิตกันใหม่ เพราะทุกอย่างเคยเป็นกันมาแล้ว ต่างประพฤติดีร่วมกัน อายุจึงเริ่มขึ้นไปถึงอสงไขยกาลตลอด ๕๐๐ ล้านปี ปลายของพันล้านปีที่ ๓ นั้น

เมื่อยังเป็นอสงไขยอายุนั้น ดํารงกาลตอน ๕๐๐ ล้านปี ต้นพันปีที่ ๔ ได้เกิดประมาท ประกอบอกุศลกรรม จึงเริ่มเสื่อมลง จารึกลําดับแผ่นอ่านที่ ๗๑๕ หน้า ๑ มีเส้นหนัก ขีดมุมล่าง ๓ ขีดบอกกาล ๓ หรือยุค ๓ ขุนสือไทย ฟัง จ้าวขุนสรวง เล่าแล้วจดลงจารึกไว้ว่า

"เมื่อคนเหลืองสองสิ้นนานล้นหลาย เมืองนี้ชื่อ เมืองแผน ขุนชื่อ แผนเมืองฟ้า ขุนหญิงชื่อ ดวงขวัญใจ หมู่มึงชื่อ ลวไทย ถึง คนเหลืองสาม ก็ดีมาสอนเหล่ามึง มื้อนั้น ข้าฟังด้วยสางมิลุอื่น ลุแผน (พรหม) หมู่ลวไทย ไปสู่เมืองแสงใสมาก กูยังอยู่กับมึง"

แผ่น ๗๑๕ นี้ คําชื่อ "สือไทย" "แผน" และ "ขีด ๓ ขีด" ที่มุมล่างซ้ายนั้นเห็นชัดเจน คุณวิเชียรถ่ายตัวลายได้ชัดพอเห็นได้ ได้นําหน้า ๑ นี้ ทําแผ่นพิมพ์เพื่อเป็นหลักฐานเรื่อง ทางตะวันออก โดยเฉพาะ "เรื่องไทย" และ "ชื่อไทย" ซึ่งมีอยู่จริงอยู่ชัดเพียงบางตัว แต่หลายตัวก็เลือนลางมาก แต่ก็พออ่านได้ ได้อ่านไว้และได้ความที่จารึกไว้อย่างนี้


เมื่อได้ความอย่างนี้และมีอยู่อย่างนี้ เป็นหลักฐานเรื่อง "ต้นไทย" และสิ่งที่ได้สร้างไว้คือ ลายสือไทย และ จำนวนเลข คือ "นับ" นั้น มีอยู่แล้ว หรือตั้งใช้กันมาแล้วนานนับพันปี หรือตั้งแต่ ๖,๖๐๐ ปีกว่ามาแล้ว เพราะสิ่งเหล่านี้มีอยู่ มีคนทำขึ้นซึ่งได้คงอยู่ต่อมากระทั่งถึงพวกเราในบัดนี้ และในบัดนี้ไทยก็ยังทํา,เรียน, เขียน,อ่าน ออกเป็นหนังสือพิมพ์ไปทั่ว หมู่คนไปอยู่ที่ไหน พอเห็นก็รู้ว่าเป็นคนไทย ไทยจึงยังคงอยู่ด้วยของไทย ไทยจึงเป็นตัวของไทยอยู่ตลอดกาล

"ข้างหน้านูน จะมีคนเหลืออีกสอง เมื่อคนเหลืองสามสิ้นนานมา หมู่มึงสู้กันอีกฆ่ากันตาย หลายล้น เหลืออยู่ในถ้ำเขา ออกมารวมกันสร้างเมือง ยังชื่อเมืองแผน ขุนชื่อ ขุนแผนเมือง ฟ้า ขุนหญิงชื่อ ดวงขวัญใจ ตามที่จําได้ อยู่ลุมาถึง ขุนอิน แลมึงชื่อเมืองแมน เมื่อถึง โลลาย ชื่อเมืองทองไทยลว้าไท"



เรื่องในพระพุทธศาสนา

ได้เล่าความตอนนี้ไว้ว่า เมื่อเกิดมัวเมาประมาทแล้ว ต่างประกอบอกุศลกรรม อายุก็เริ่มลดลงจากอสงไขยกาลนั้น กระทั่งถึงกาล มีอายุ ๒ หมื่นปี (วีสะติวัสสะสะหัสสานิ (๒๐ พันปี) และทั้ง ๓ องค์นี้ อุบัติ ณ สกุล "พราหมณ์" จึงไม่ใช้ "เจ้า")

พระกัสสปโพธิสัตว์อุบัติ ครองฆราวาส อยู่ ๒ พันปี จึงออกมหาภิเนษกรมณ์ ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธดํารงพระชนม์ชีพ อยู่ตลอด ๒ หมื่นปี ดับขันธปรินิพพานเข้า เมืองแสงใส (คือเมืองแก้วแสงใส ชื่อไทยนี้ ไทยคงเรียก "นิพพาน" มานานแล้ว ปราชญ์ บัณฑิตโบราณาจารย์จึงกล่าวเสมอ ๆ เช่น ถึง "เมืองแก้ว" อันกล่าวแล้ว คือ อมตมหานคร นฤพาน-มหาเวสสันดรเทศนา กุมารกัณฑ์)

ในพุทธันดรนี้ ต้นเรื่อง ติโรกุฑฑสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าว่า พระกัสสปสัมมาสัมพุทธได้ตรัสตอบ "หมู่เปรต" เหล่านั้นว่า "อนาคตแผ่นดินใหญ่สูงขึ้นประมาณ ๑ โยชน์ พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ จะได้ในกาลนั้น"

เมื่ออายุลดลงถึงกาลมิคสัญญีนั้น แผ่นดินสูงได้ครึ่งโยชน์ (เท่ากับ ๘ ก.ม.) จึงเต็มพุทธันดรที่ ๓ และเต็มพันล้านปีที่ ๓ เริ่มเข้าพันล้านปีที่ ๔ เมื่อขึ้นไปถึงอสงไขยอายุกาลนั้น ถึง ๕๐๐ ล้านปีหรือกว่า และดํารงกาลอสงไขยนั้น อีกยาวนานถึงอสงไขยเต็มพันล้านปีที่ ๔ เริ่มหรือกําลังเป็นพันล้านปีที่ ๕ คือ เอาตัวเลข ๕๐๐ ปี ว่าอายุตะกั่วมีมาก่อนโลกนั้นด้วยจะได้ ๕๐๐ ล้านปีในพันล้านปีที่ ๕ เพราะอายุเลื่อนลงถึง ๘๐ ปี

"ยุคแผน" ในพุทธันดรที่ ๓ นี้ ตามที่มีเรื่องเล่าเหตุการณ์ไว้นั้น เมื่อมิคสัญญีอันเป็นกาลสิ้นสุดพุทธันดรที่ ๒ นั้น เริ่มพุทธันดรที่ ๓ อายุจะยืนยาวขึ้นไปถึงอสงไขย คือนับไม่ได้ ก็เกิดประมาทขึ้น ประพฤติอกุศลต่าง ๆ อายุ จะลดลงกระทั่งถึงกาล พระกัสสปสัมมาสัมพุทธ ซึ่งมีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี เมื่อดับขันธปรินิพพานแล้ว อายุก็ยังลดลงเรื่อย ๆ กระทั่งถึงกาลมิคสัญญี ซึ่งเป็นกาลสิ้นสุดพุทธันดรที่ ๓ ก็เริ่มพุทธันดร ที่ ๔ อายุจะเจริญขึ้นถึงอสงไขย คือนับไม่ได้ ก็เกิดประมาท ประพฤติอกุศลต่าง ๆ อายุจะลดลง กระทั่งถึงระยะกาลอายุ ๘๐ พระโคตม สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้

ในระหว่างก่อนพระพุทธกาลนั้น พระ พุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติเป็นมหาสุตโสมราชา ได้ทรงขอวโรกาส เพื่อจะทรงสดับพระพุทธภาษิต ของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธ ซึ่ง นันทบัณฑิต ได้แสดงให้พระองค์ได้สดับ นี้แสดงถึงพระธรรมของพระองค์ ยังมีหมู่ชนในภายหลังได้สืบต่อกัน กระทั่งถึงกาลของพระเจ้าสุตโสมบรมโพธิสัตว์นั้น พออ้างได้

ส่วนในทางของเรานี้ มีชื่อว่า เมืองแผน ขุนแผนเมืองฟ้า และ คนชาวแผน ตามที่ ขุนสรวง เล่าและ ขุนสือไทย ได้จารึกไว้ คง ไม่มีอะไรอื่นมาก ชื่อ "เมืองแผน" คําว่า "เมือง" ในสมัยนั้น อาจเป็นประเทศหรือทวีป ครั้นต่อมา "เมือง" ลดลงมาแค่ "จังหวัด" จึง ต้องใช้ว่า "ประเทศ"

ส่วน "ขุน" เมื่อใครสืบต่อ ก็คงขึ้นชื่อว่า "ขุนแผนเมืองฟ้า" อย่างพระนามว่า ในหลวง พระร่วง พรหมทัต ฮ่องเต้ ส่วนชื่อประจําตัว ก็คงมีต่าง ๆ กัน ครั้นจะระบุขึ้นก็คงจําและจดไม่หมด เพื่อง่ายจึงใช้ว่า "คนแผน" หรือ "ชาวแผน" นั้นสั้นและจํารู้ง่าย คงอยู่กันมา ตลอดกาลนานนั้น

ขุนสรวง ได้เล่าบอกสั้น ๆ ย่อ ๆ แต่ก็ พอให้รู้ว่ามีอยู่และสืบกันมาในชื่อว่า "ชาวแผน" หรือ "คนแผน" คือ "คนไทย" ที่ใช้ชื่ออย่างนั้น เป็นแน่ได้ว่า "ยุคขุนแผนต้น" ของ ขุนอิน และ "เมืองแผน" นั้น มีอยู่เป็นหลักฐานแล้ว ไม่มีอะไรอ้างได้มากไปกว่านี้



พระพุทธกัสสปกาล (ยุคไทย ขุนแผน)

ในยุคไทย ขุนแผน นั้น ตรงกับพุทธันดร พระกัสสปสัมมาสัมพุทธองค์ ใน อนาคตวงศ์ ก็มีเรื่อง นันทมาณพ ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธองค์ ทรงพระนามชื่อว่า พระนรสีหสัมมาสัมพุทธองค์ เป็นพระองค์ที่ ๘ ในอนาคต กาลนั้น

"อนาคตวงศ์" เล่าถึงกาลพระกัสสปสัมมาสัมพุทธองค์นั้น ชมพูทวีป ก็ได้มีชื่อว่า "ชมพูทวีป" อย่างนั้น กับมีชื่อว่า "มัชฌิมชนบท" หรือ "มัธยมประเทศ" แล้ว ซึ่งมีชาวชนอยู่ ตลอดถึงจัมปากรัฐ ต่อจากนั้นก็ถึงดินแดนทอง หรือ ไทยทวาลาว ซึ่งท่านเขียนเป็นภาษามคธว่า "ทฺวารวติ" ก็คือที่เป็นชื่อคําภาษาไทยว่า กรุงเทพทวารวดี หรือ กรุงเทพทวาราวดี นั่นเอง ก็เจริญรุ่งเรืองมาตามที่มีพระพุทธองค์ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ๒ พระองค์ ซึ่งวางระบบ "ศีลธรรม" และ "ยุติธรรม" เป็นแบบแผนอยู่

ถึงแม้จะเสื่อมเซือยสูญหายไปก็ตาม กระนั้นเค้าความหลักฐานก็มีอยู่ เช่น ศีล ๕ หรือ นิจศีล ก็ยังมีอยู่ ซึ่งมีดาบส ฤษี ชี ผ้าขาว ฯลฯ ประพฤติกันมาแล้ว แม้จะมิใช่ธรรมวินัยแท้ หรือศีลธรรมตลอดก็ตาม แท้ที่ จริงบางส่วนก็ชื่อว่ายังมีอยู่ และจํานวนมากก็ได้ฌาน สมาบัติ อภิญญา ก็มีอยู่

ในด้าน อาณาจักรแถนไทย หลังกาล "ยุคมิคสัญญี" แล้ว ก็ได้เปลี่ยนชื่อว่า แถน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า แผน หรือ แผนไทย หรือ ไทยแผน ได้มีการสร้างบ้านเมือง ทํานาค้าขาย ประดิษฐ์ทําเครื่องมือเครื่องใช้ จึงเป็นวิชาชีพ ต่าง ๆ แต่งตั้งกฎหมาย ระบบการปกครอง ทั้งตนเองและอื่น ๆ ตลอดถึงบ้านเมือง ค้นหาให้มีเป็นวิทยาการต่าง ๆ

และก็ยังมีการกระทําคิดค้นหาสิ่งเล้นลับ เช่น กฎธรรมชาติที่เป็นอยู่และแน่นอน รู้จักคุณภาพของหิน แร่ ธาตุ ยางประสาน สารไม้ สารรส สารดิน น้ำ ลม ไฟ อาย (อากาศ) ซึ่งเป็นหลักการแล้ว ก็ได้นํามาประสม, ปน, ก่อสร้างเป็นตึกอิฐ ตึกดิน ปราสาท วิมาน หอห้อง หอคอย หอรบ ผนัง กําแพง คันคู บ้านเรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ รู้จักเก็บ รู้จักตากแห้ง รู้จักสร้างสม สร้างใหม่ รู้จักปั้นเคลือบเผา, อบ, ปิ้ง, ย่าง, ตากแห้ง

ยิ่งกว่านั้นยังได้คิดค้นหา ลายสือ เดิม ซึ่งสูญหายไปคิดค้นขึ้นใหม่ ทั้ง ตัวเลข ใช้จด ข้อความและจํานวนจํา ตลอดกระทั่งทําหลักฐาน คํานวณ ทําระยะ หรือกําหนดการต่าง ๆ รู้จัก เอาแร่ธาตุมาตั้งเป็นมาตรามูลค่าแลกเปลี่ยน ซื้อขายกัน กระทั่งคิดยวดยานเครื่องใช้ต่าง ๆ และศิลปวิทยาการ จึงมีโรงเรียน โรงหมอ ร้านค้า ถนนหนทาง บ้างก็สลักภูเขาทําบ้านเมือง ก็มี ซึ่งนับได้ว่าเจริญตลอดกัน การไปมาหาสู่ ก็มีเป็นประจํา

เพระเหตุที่ได้คิดสร้างทําเรือเล็ก, เรือมาด กะสวย, เรือมาด, เรือยาว, เรือสําเภา, รู้จักใช้แรงสัตว์ เช่น ช้าง ม้า งัวควาย คิดสร้างทําเกวียน ระแทะ ตะเฆ่ รถ กระทั่งรู้จักให้แรงธรรมชาติ เช่น แรงลม ใช้ใบ ใช้กังหัน ใช้ไฟหุง, ต้ม, ปิ้ง, เผา, ดินใช้ปั้น ปลูก ทําถนน ฉาบ ทา ประสาน เผาเครื่องใช้ ใช้กิน และทดน้ำเอาไปใช้ กระทั่งใช้แรงเครื่องยนต์ เครื่องกล แม้เครื่องใช้ทุกอย่างในกาลนี้ก็ยังใช้ธาตุ๔ เหล่านี้ตลอดทุกชนิด

และก็จากกาล "ยุคมิคสัญญี" มาแล้ว ก็มี พ่อขุนแผนเมืองฟ้า กับ ดวงขวัญใจ ซึ่งได้ออกมาจากที่หลบ "มิคสัญญีภัย" รอดพ้น มาได้นั้น ต่างก็ได้ร่วมกันยกขึ้นเป็น พ่อขุน-แม่ขุน (ผู้นํา) จึงได้นําเพาะปลูกทําขึ้นเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตแล้ว จึงนําปลูกบ้านสร้างเมืองขึ้น ได้อยู่อาศัยกันแล้ว ต่างได้เรียกกันเป็น ประจําว่า "พ่อขุน-แม่ขุน" จึงเป็น "พ่อขุนแผน เมืองฟ้า" "แม่ขุน หรือ ขุนหญิงดวงขวัญใจ" ตลอดมา

เมื่อมีความเจริญมากขึ้นต่างก็บุกเบิกตัดต้นไม้ ถางป่า ขยายให้กว้างขวางออกไปแต่ละแห่งแต่ละด้าน กระทั่งทะลุถึงกันเจอกันแล้ว จึงได้ติดต่อไปมาหาสู่กันจึงแลกเปลี่ยน ครั้นมากเข้าก็ถางป่า รานไม้ จับงัวควาย เก้ง กวาง ช้าง ม้า มาใช้งาน และเป็นที่บรรทุกขนส่งกับ ขับขี่เดินทางไกล ทั้งยังค้นไปถึง ทรงสาง หรือ ร่างแสง อันเป็นโลกอื่น กระทั่งทราบชัดถึงสรวงสวรรค์ ได้สนับสนุนและยกย่องส่งเสริม กระทั่งเป็นที่รู้และกระทําได้ตลอดกัน

จึงเป็นระบบแบบไทยซึ่งยังอยู่ประจํามาแล้ว ได้บําบวง บวงสรวง "ท่านต้น" ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่างก็ได้ทราบกันว่า ทุกคนที่ตายไป แล้วก็ได้ลอยเกิดเป็น ร่างแสง ก็คือ ทรงสาง หรือ ผีสาง จ้าวพ่อ จ้าวแม่ จ้าวต้นขุน จ้าวต้นขุนหญิง ซึ่งเป็นผีฟ้าแสง หรือแสงหล่น จ้าวที่ จ้าวทุ่ง จ้าวท่า จ้าวเขา จ้าวไร่ จ้าวนา จ้าวบ้าน จ้าวเมือง จ้าวกรุง จ้าวพระกาฬไชยศรี จ้าวพระทรงเมือง จ้าวพระเสื้อเมือง จ้าวพ่อขุนตาย หรือ จ้าวพ่อเจตภุก ตลอดถึงต้นขุนสรวง ต้นแม่นางสาง ต้นปู่ย่าแถน ต้นพ่อขุนแผน ดวงขวัญใจ และต้นผู้ทําอะไรได้ ก็ยกขึ้นเป็น ขอม, บา (ครูบาอาจารย์)

ทั้งนี้ พ่อขุนแผนเมืองฟ้า ได้สร้างวางขึ้น ใช้ชื่อว่า "แผน" ที่ให้เป็นแบบระบบ "บวงสรวง" หรือ "บําบวง" เชิญมางานเชิญมาทําขวัญต่าง ๆ ได้สร้างเฉพาะเช่น ร้านสาง หรือศาลเพียงตา เรือนสาง หรือศาลจ้าว ศาลพระภูมิ โต๊ะ เครื่องบําบวง (โต๊ะบูชา) พานบูชา ตะลุ่มบูชา กะบะบูชา โตกบูชา บัดพลี บายศรี กับร่มฉัตร ได้วางแผนกระทําเป็นแบบ เช่น แบบยืนไหว้ ก้มไหว้ ก้มค้อมคํานับ หรือก้มคํานับ นั่งไหว้ นั่งกราบ และคุกเข่ากราบ

ได้วางสร้างแผนคําแต่งเป็นคํากล่าว บวงสรวง บําบวง (บูชา) บนบาน เช่น ขอบวงสรวง บวง บูชา แต่วางแผนคํานอบน้อม เช่น ขอนอบน้อม น้อมไหว้ ขอไหว้ เป็นต้น และวางแผนแต่งคําเชิญ หรือคําเชื้อเชิญ เช่น "เชิญเอย... ขอเชิญ..." กับวางแผนคําอ้อนวอน คําขอร้อง คําขอพร เช่น ขอโปรดเอ็นดู ขอได้อํานวยอวยโชคชะตา ขอให้เจริญงอกงาม ขอให้สําเร็จ ขอจงประสิทธิ

พร้อมกับแผนเป็นแบบระบบกระทํา เช่น แบบแผนแรกนาขวัญ หรือ พิธีแรกนาขวัญ ก็คือเอามื้อแรกนาขวัญนั่นเอง แบบแผนบําบวง แม่โพสบ กระทําทั้งบูชาและสังเวย เป็นแบบแผนพิธีสังเวย แม่ย่านาง กระทําบัดพลี เครื่องบวงสรวงสังเวย ทั้งคําเชิญคําฝาก "แม่ย่านาง" กระทําเครื่องบายศรีบวงสรวง และแต่งคําเชิญขวัญ เป็นแบบแผนเชิญขวัญหรือสู่ขวัญ ตลอดกระทั่งทําขวัญเสา ทําวันเกิด โกนผมไฟ โกนจุก กระทั่งวันตาย ทั้งตั้งดอกไม้ ธูปเทียน เวียน เทียน ดอกไม้ไฟ พลุ พราวเนียง ช่อระทา กังหันไฟ ฯลฯ

ซึ่งเป็นความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา ณ ชมพูทวีป มัชฌิมชนบท ต่างก็ได้มีระบบแบบขึ้น เช่น กฎหมายและธรรมพรต ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และลัทธิพิธีการ ทั้งยัญพิธี หรือ พิธีไสยศาสตร์มากมาย ที่จัดเป็นความเจริญรุ่งเรืองตลอดกันได้มีขึ้น และสร้างสรรสืบต่อกันมาตลอด

และกาลชีพอายุมนุษย์ก็ลดลงมาถึงกาล มีอายุ ๒ หมื่นปีเป็นอายุขัยนั้น พระกัสสปบรมโพธิสัตว์มหาบุรุษ ได้อุบัติขึ้น ได้ครองฆราวาสอยู่ ๒ พันปี จึงออกมหาภิเนษกรมณ์ ได้ทรงทําความเพียรแล้วได้ตรัสรู้ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธองค์เป็นที่ ๓ นับแต่ พระกุกกุสันธะ มาในภัทรกัปนี้ ได้แสดง "พระ ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร" ปฐมเทศนาจบแล้ว มีพระอรหันตสงฆ์เป็นบริวารครบพระรัตนตรัยแล้ว ได้เสด็จจาริกโปรดเวไนยชนตลอดชมพูทวีปมัชฌิมชนบท ถึงจัมปากรัฐและ "แผนไทยชนบท"

◄ll กลับสู่ด้านบน




พิธีการแต่งงานแบบไทยมีมานานแลัว

เมืองไทยหรืออาณาจักรไทยแผนนั้น พ่อขุนแผนก็ได้ปกครองกันสืบ ๆ มา ผู้ที่ได้เป็น "พ่อขุน" ก็ขนานชื่อว่า ขุนแผนเมืองฟ้า แม่หญิงใดที่ได้ขึ้นที่ "ขุนหญิง" ก็มีชื่อว่า ดวงขวัญใจ ตลอดมาแล้ว กระทั่งถึง "ขุนแผนเมืองฟ้า" ชื่อ ไทยสกาว กับ "ขุนหญิงดวงขวัญใจ" ชื่อ ขวัญใจ และ "ขุนหญิงจวงแจ่มใจ" ชื่อ แจ่มใจ นั้น ทั้งสองนี้ได้ขึ้นที่ "ขวาซ้าย" ต่างก็มีลูกชาย หญิงด้วยกันคือ

"ขุนหญิงดวงขวัญใจ" มีลูกชายชื่อ ชาญ ฟ่องฟ้า และมีลูกหญิงชื่อ ฟ้าส่องแสง "ขุนหญิงจวงแจ่มใจ" มีลูกหญิงชื่อ เฉิมพรฟ้า มีลูกชายชื่อ กล้าก่องแก้ว ต่างก็เจริญวัยขึ้นเป็นหนุ่มสาวตามกาลแล้ว ทั้งเป็นกาลเหมาะสมที่จะพึงกระทําตามระบบแบบแผนที่ตกทอดสืบกันมานั้น

พ่อขุนแผนก็ได้กระทําตามระบบแบบแผนที่มีสืบต่อกันมานานแล้วนั้น มองเห็นพี่น้องต่างแม่กันนั้น ได้มีสนิทสนมกลมเกลียวกันดีเสมอมา ทั้งได้ทะนุถนอมประคับประคองกันตลอดมา จึงตกลงใจกระทําตามระบบแบบแผนที่มีมา จึงได้ซักถามทราบความแล้ว พร้อมทั้งพ่อแม่ญาติพี่น้องจึงตกลงที่จะจัดแจง จึงกําหนดเห็นชอบพร้อมกันว่าตั้ง ชาญฟ่องฟ้า เป็น "ขุนแผนเมืองฟ้า" กับตั้ง เฉิมพรฟ้า เป็น "ขุนหญิงดวงขวัญใจ" ครองสืบต่อไป ตั้ง กล้าก่องแก้ว เป็น "ขอมบาไทย" เป็นที่รอง ปกครองบ้านเมืองไทยสืบต่อไป จึงได้ตระ เตรียมพิธีการอันใหญ่นั้น ๆ

จึงสร้างเรือนยาว ๙ ห้อง ณ ตะวันออก ๑ ใต้ ๑ ตะวันตก ๑ เหนือ ๑ ตรงกลางสร้างเป็นหอนั่งประชุมเป็นเรือนหอ ๒ หอเหมือนกัน หอใต้ให้เป็น หอวังขุนแผน หอเหนือให้เป็น หอวังขอมบา สร้างนอกหอวังเดิม จึงเป็นการขยายเมืองออกไป และทั้งสองหอนั้นได้สร้าง ห่างกัน ๓ เส้น

ที่ ๑ เส้นนั้นได้สร้างเป็นท้องโรงกว้างใหญ่เต็มที่ ๑ เส้นนั้น ทําพื้นยกเป็นที่นั่งประชุม และยกพื้นเป็นที่นั่งแต่งงานเท่ากันและเหมือนกัน สร้างเครื่องแต่งตัวชุด "ขุนชาย-ขุนหญิง" และชุด "ขอมชาย-ขอมหญิง" ประดับดวงแก้ว และดอกไม้ทองคํา ให้สร้างให้เหมือนกันตลอด ถึงรัดเกล้ายอดและเกือกยอด แม้พวงเปียจอน ก็ให้ใช้ทองคําทําเป็นดอกจําปีประดับแก้วพริบพลี

ให้สร้างบายศรีทองคํา ๕ ชั้น ให้สร้างผ้ายกทองหุ้มบายศรีต้นทั้งคู่นั้น ให้สร้างเครื่องแบบหมอหลวงทําขวัญ ให้ใช้ทองคําเป็นช่อดอกไม้ ประดับขอบคอ ขอบแขน ขอบหน้า ขอบเชิง ให้กระทําพานทองรองขันทองรองน้ำหลั่งนั้น ให้ใช้สังข์เรี่ยมฉลุทองคําเป็นเครื่องหลั่งน้ำ ได้จับมงคลคู่ และได้จัดผอบแป้งเจิมพร้อมด้วย

ครั้นเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว และถึงกาลที่ได้กําหนดไว้แล้ว จึงให้มีการเล่นและเลี้ยงกันเป็นเวลา ๓ วัน ณ วันที่ ๔ มักให้ตรงกับวันศุกร์ เมื่อประชุมกันพร้อมแล้ว คู่หนุ่มสาวได้แต่งตัวชุดนั้น พร้อมเพื่อนหนุ่ม-เพื่อนสาว และขบวนแห่ ก็ได้เคลื่อนมายังท้องโรงใหญ่นั้น พระเจ้าพ่อขุน-พระเจ้าแม่ขุนได้นั่งรออยู่แล้ว หมอหลวงนั้น ได้เดินเข้ารับและพามายังที่นั่ง นั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว

พระเจ้าพ่อขุนแผนได้ลุกขึ้นยืน ทุกคนทั้งคู่แต่งงานด้วยลุกขึ้นยืนพร้อมกัน พระเจ้าพ่อขุนได้กล่าวประกาศตั้ง เจ้าชายฟ่องฟ้า เป็น "ขุนแผนเมืองฟ้า" ตั้ง เจ้าเฉิมพรฟ้า เป็น "ขุนหญิงดวงขวัญใจ" ตั้ง เจ้ากล้าก่องแก้ว เป็น "ขอมเมืองกล้าก่องแก้ว" ตั้ง เจ้าฟ้าส่อง แสง เป็น "ขอมหญิงฟ้าส่องแสง"

ได้รับรัดเกล้ายอดสวมแล้ว ใช้แป้งเจิมให้ทุกองค์แล้วได้ประกาศแต่งงาน "ขุนแผนเมือง ฟ้า" กับ "ขุนหญิงดวงขวัญใจ" (เฉิมพรฟ้า) และ "ขอมเมืองกล้าก่องแก้ว" กับ "ขอมหญิง ฟ้าส่องแสง" แล้วได้รับมงคลคู่ สวมให้ทั้งสองคู่นั้น เมื่อได้รับหอยยอดใหญ่เรี่ยมฉลุทองคํา จ้วงน้ำแล้วหลั่งลงบนมือคู่ครองนั้น ๆ เสร็จแล้ว หมอหลวงได้กระทําพิธีเบิกบายศรี กล่าวคําทําขวัญคู่ครองหรือบ่าวสาวแล้วได้จุดเทียน ณ แว่นเวียนตลอดแล้วส่งให้ "ต้น"

"ต้น" รับใช้อุ้งคู่มือประคองด้ามแว่นยกขึ้นแค่ทรวง วงโค้งลงนอกแล้วยกขึ้นด้านใน ๓ รอบ บางทีก็รอบเดียว ตอนขึ้นนี้ ถ้ารอบเดียว ก็ใช้มือซ้ายจับไว้ มือขวายกขึ้นเหนือเปลวเทียน โบกควันเทียนไปทางคู่มงคลสมรสนั้น พร้อมกับออกคําอวยชัยให้พร อย่างนี้ตลอดวงประชุมนั้น อย่างนี้เรียก เวียนเทียนทําขวัญแต่งงาน หรือ "เวียนเทียนทําขวัญบ่าวสาว"

บางทีก็หลั่งน้ำอย่างเดียว ถ้าใช้สังข์ก็เรียก "หลั่งน้ำสังข์" ถ้าใช้ขันหลั่งก็เรียก "หลั่งน้ำ" เฉย ๆ ถ้าสาดน้ำก็เรียกว่า "ซัดน้ำ" บางทีก็ทําสายสิญจน์ตัดเป็นท่อนยาวประมาณ ๑ คืบ ใช้ผูกข้อมือเรียกว่า "ผูกขวัญ" บางทีก็มีหนุ่มสาววัยรุ่นคู่พระนาง มีเครื่องร่ายบรรเลงให้จังหวะ คู่พระนางต่างมีมือ ซ้ายถือพานข้าวตอกดอกไม้กลีบกุหลาบ ฟ้อนรําพร้อมทั้งใช้มือขวากําโปรยเหวี่ยงไป และมีการเล่นเป็นที่สนุกสนานรื่นเริงกัน กระทั่งเย็น จึงเลี้ยงอาหารกัน ตกกลางคืนได้ส่งตัวสู่หอ แล้วเป็นอันเสร็จลงด้วยดี

จากนั้น "พ่อขุน-แม่ขุนหญิงเดิม" ก็เลื่อนขึ้นเป็น "พระเจ้าพ่อขุน-พระเจ้าแม่ขุน" ส่วนที่ทํางานนั้นก็เป็นที่เดิม ขุนแผนเมืองฟ้า และ ขอมบาไทย ได้มาทํางานตามที่เคยมาทุกอย่าง "พระเจ้าพ่อขุน-พระเจ้าแม่ขุน" ได้มาดูแลความเรียบร้อยเสมอมาตลอด ๖ เดือนนั้น ทุกอย่างก็เป็นระเบียบเรียบร้อยดีตลอดกาล

ในกาลนั้นทางชมพูทวีปมัชฌิมชนบท พระกัสสปทศพล ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธองค์แล้ว ได้ตรัส "ปฐมเทศนา" และได้วางพระศาสนาแล้ว ได้เป็นพระรัตนตรัย กับมีบริษัท ๔ ครบบริบูรณ์แล้ว พระกิตติคุณได้แพร่ไปตลอดแล้ว ซึ่งมีพุทธพรรษาได้ ๑ หมื่น ๑ พันปี ชนมายุได้ ๑ หมื่น ๔ พันปีแล้ว

พระเจ้าพ่อขุนแผนเมืองฟ้าเห็นประจักษ์แจ้งชัดลูกทั้ง ๔ นั้น ซึ่งตั้งอยู่ในหน้าที่ดีตลอด ทั้งประชาราษฎร์ ก็ชื่นชมสาธุการทั่วกัน ไม่มัวเมาในอธรรมศักดิ์อับศรีไร้เกียรติคุณ และสดชื่นดีในยุติธรรม และทรงทศพิธราชธรรม ตามที่พระกัสสปทศพลประกาศแล้ว

ประชาชนได้ปฏิบัติรักษาศีลประพฤติธรรมทั่วไป ได้ทรงทราบชัดอย่างแน่แท้แล้ว จึงคิดว่าได้หลุดพ้นจากราชภารธุระแล้ว เพราะทรงตั้งปณิธานปรารถนาพระโพธิญาณ และทรงบําเพ็ญพระบารมีทางทศพิธราชธรรมครบมาแล้วตลอดกาลนั้น จึงคิดว่าจะออกไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อจะได้ฟังพุทธพยากรณ์ เช่น "โพธิอํามาตย์" นั้น ถึงกระนั้นก็ได้ล่าช้ามิได้ฉับพลัน เหมือนท่านอื่น ๆ จึงชื่อว่ายังไม่พร้อมด้วยองค์คุณ ซึ่งกรรมบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้น จึงพร้อมทุกประการไม่ได้

ครั้นตระเตรียมพร้อมแล้ว จึงสละทั้งราชอาณาจักรและราชสมบัติ ถือผนวชครองขาวแล้ว จึงเสด็จดําเนินไปถึงพระมหาวิหาร ได้เข้าเฝ้าและอาราธนาให้แสดงธรรมว่า

"พระองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สละราชสมบัติ บุตรภรรยา ยศ สมบัติ ครองเรือนทุกประการ เพื่อสําเร็จพระโพธิญาณในอนาคต ขอพระองค์ได้ทรงโปรด แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด"

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "น้องเราผู้พุทธางกูร ตถาคตรออยู่หนึ่งหมื่นกับพันปีแล้ว หากกรรมบันดาลให้เป็นไป จึงมีเหตุให้เป็นไปอย่างนี้ จึงไม่มีองค์คุณยอดสูงสุดคือ พระอรหันต์ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ ไม่มีในกาลนี้ และในการเช่นนี้ ผู้เป็น "นิยตบรม โพธิสัตว์" แล้ว จึงยังไม่ลุถึงองค์คุณยอดสูงสุด

น้องเราได้อธิฐานสําเร็จเป็นเพศดาบส ผนวชแล้ว ได้เจริญฌานสมาบัติให้เกิดขึ้นแล้ว จงอุปสมบทเป็นภิกษุในธรรมวินัยนี้แล้ว จงประพฤติวิสุทธิธรรมให้บริสุทธิ์ จะเป็นอุปนิสัยให้ลุถึงองค์คุณยอดสูงสุดนั้นพร้อมสมบูรณ์

ในกาลว่างพระศาสนาระหว่างพุทธันดรนี้ กับพุทธันดรพระโคดมสัมมาสัมพุทธองค์ ในกาลนั้น น้องเราจะได้เกิดเป็น นันทมาณพ พาณิช เป็นพ่อค้าได้เที่ยวค้าขายได้ผลกําไร เป็นทรัพย์สมบัติมากแล้ว และยังเที่ยวค้าขาย อยู่ในกาลนั้นมีพระปัจเจกพุทธองค์ ๕๐๐ องค์

องค์หนึ่งได้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว คิดว่าจะไปโปรด จึงได้เดินเที่ยวบิณฑบาตมาตามทางนั้น ซึ่ง นันทมาณพ ได้เห็นแล้วเกิดความเลื่อมใสขึ้น จึงยกผ้ากัมพลแดงผืนหนึ่งกับทองแสนตําลึง กระทําเป็นเครื่องไทยทานถวายแล้ว จึงได้ตั้งปรารถนา พระปัจเจกพุทธองค์จะอนุโมทนา ทั้งจะมี "กุมารีสาว" คนหนึ่งจะถวายผ้าห่มแล้วปรารถนาร่วมด้วย

ครั้งนั้น น้องจะได้ผลองค์คุณยอดสูงสุดครบบริบูรณ์ บัดนี้ กาลยังไม่พร้อมจงบวชเป็นภิกษุเถิด จึงตรัสให้เป็น "เอหิอุปสมบท" เป็น "เอหิภิกขุ" แล้ว ครั้นเป็นภิกษุแล้วก็ได้กระทําความเพียรทาง วิสุทธิธรรม ๗ ครั้งถึง สัจจานุโลมิกญาณ ก็หยุดยั้งอยู่แค่นั้น เมื่อ โชติปาลมาณพ (พระสมณโคดมคราวเสวย พระชาติเป็นพระโพธิสัตว์) บวชแล้วก็ได้ดําเนินธรรมปฏิบัติร่วมกัน ถึงอายุขัยแล้วต่างก็ไปเกิด ตามคติวิสัยชั้นดุสิตภพ

พระผู้มีพระภาคพระกัสสปสัมมาสัมพุทธองค์นั้น ในกาล ๕ พันปีหลังเป็นปัจฉิมกาล ได้ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อศาสนธรรมวินัย จะได้คงอยู่ตามกาลที่สมควร จึงมีบริษัท ๔ คือ พระภิกษุ พระภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ครบบริบูรณ์แล้ว เมื่อมีพระชนมายุครบ ๒ หมื่นปีแล้ว ก่อนที่จะปรินิพพานทรงมีพระพุทธ ประสงค์มิให้พระบรมสารีริกธาตุกระจาย พระองค์จึงทรงอธิษฐานให้เป็นแท่งทึบสถิตอยู่



พระบรมธาตุเจดีย์ทองคำ

ครั้นเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ก็ได้ถวายพระเพลิงแล้วก็สถิตอยู่อย่างนั้น บริษัท ๔ จึงประชุมพร้อมกันสร้าง สุวัณณเจดีย์ คือ พระเจดีย์ทองคําเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ ในกาลที่กําลังสร้างนั้น ธรรมบท เรื่อง ชฏิลัตเถรวัตถุ ได้เล่าว่า

ในครั้งที่สร้าง พระสุวัณณเจดีย์ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุยังค้างอยู่นั้น พระอรหันตมหาขีณาสพเถระองค์หนึ่ง ไปสู่ฐานพระเจดีย์มองดูแล้วถามว่า มุขทิศเหนือพระเจดีย์ทําไมไม่สร้าง ได้ยินบอกว่า ทองคําไม่พอ ได้กล่าวกับพวกเขาว่า เราจะเข้าไปสู่บ้านแล้ว เที่ยวชักชวนเอง ท่านทั้งหลายได้เอื้อเฟื้อ กระทําเถิด

ท่านกล่าวแล้วจึงเข้าไปสู่นครชักชวนมหาชนว่า ญาติโยมทั้งหลายพระเจดีย์ของพวกเรา ณ มุขหนึ่งทองคําไม่พออยู่ ขอพวกท่าน จงรู้ทองคําเถิด ท่านกล่าวอย่างนี้กระทั่งถึงตระกูลช่างทอง ในขณะนั้นนั่นเองช่างทองกําลังนั่งทะเลาะกับภรรยาอยู่ พร้อมกับที่พระเถระ กล่าวว่า ทองคํา ณ มุขที่พวกท่านจะเอาเข้า สร้างไว้ในเจดีย์ยังไม่พอ ควรรู้ร่วมกันเถิด ดังนี้ เพราะโกรธนั้นเขาจึงกล่าวว่า

"จงโยนพระศาสดาของท่านลงน้ำไปเถิด" ดังนี้แล้ว พลันนั้นภรรยาได้กล่าวว่า "เธอได้กระทํากรรมหุนหันพลันยิ่งนัก เพราะโกรธฉันก็ควรด่าว่าหรือทุบตีเฉพาะฉัน เพราะเหตุไรจึงได้กระทําเวรในพระพุทธเจ้า ทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบันแล้ว" ช่างทองได้เกิดสังเวชพลัน ได้เข้าไปหมอบใกล้บาทมูลพระเถระแล้วกล่าวว่า

"กระผมขอขมาโทษเถอะครับ" ดังนี้แล้ว พระเถระกล่าวว่า "โยมท่านไม่ได้กล่าวอะไรกับอาตมา โปรดขอพระศาสดาให้อดโทษเถิด" ดังนี้แล้ว เขาได้ถามว่า "กระทําอย่างไรจึงจะให้พระองค์อดโทษได้ครับ" ได้ฟังท่านกล่าวว่า

"จงทําพุ่มดอกไม้ทอง ๓ พุ่ม บรรจุเข้า ณ ที่บรรจุพระบรมธาตุข้างในนั้นแล้ว จงทําผ้าแต่งตัวให้ชุ่มน้ำ ชุบผมให้ชุ่มน้ำแล้วให้พระองค์ อดโทษเถิดโยม" ดังนี้แล้วได้รับคําท่านว่า "ดีละครับ" ดังนี้

ครั้นรับคําแล้ว เมื่อจะทําพุ่มดอกไม้ทอง ก็ลูกชายทั้ง ๓ คนนั้น ได้เรียก "ลูกคนโต" มาก่อนแล้วกล่าวว่า
ลูกรัก...พ่อได้กล่าวคํามีเวรกะ พระศาสดาแล้ว ฉะนี้ จึงต้องทําพุ่มดอกไม้ทองเหล่านี้ เอาบรรจุในภายในที่บรรจุพระบรมธาตุ แล้วจักขอขมา เจ้าจงเป็นเพื่อนร่วมทําเถิด ดังนี้ แล้วได้ฟังลูกตอบว่า ผมไม่ได้ใช้ให้กล่าวคํามีเวร คุณพ่อทําเองเถิด ดังนี้แล้ว จึงเรียก "ลูกคนกลาง" มาแล้วก็กล่าวชวนอย่างนั้น ก็ได้ฟังคําตอบอย่างนั้น ไม่ต้องการทําเช่นเดียวกัน

จึงเรียกลูกคนเล็กมาแล้วได้กล่าวชวนเช่นนั้น ซึ่งได้ฟังคํากล่าวว่า กิจที่เกิดขึ้นแก่พ่อ ย่อมเป็นภาระของลูกด้วย จึงเป็นเพื่อนร่วมช่วยกระทํา ช่างทองได้กระทําพุ่มดอกไม้ ๓ พุ่มนั้น สูงประมาณคืบหนึ่งให้สําเร็จแล้ว ได้บรรจุเข้าภายในที่บรรจุพระบรมธาตุแล้ว ได้ชุบผ้าชุบผมให้เปียกชุ่มน้ำแล้ว ได้ขอขมาพระบรมศาสดา...

◄ll กลับสู่ด้านบน



kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 21/11/08 at 20:01 Reply With Quote



Update 3 พ.ย. 51

ชฎิลเศรษฐี

ในครั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้ เขาจึงได้ถูกปล่อยน้ำไปในกาลเกิดถึง ๗ ครั้ง ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายเขาได้เกิดเป็นบุตรของพาราณสี เศรษฐีธิดา ซึ่งเศรษฐีธิดานี้เมื่อเป็นสาวก็ถูกบิดามารดาส่งขึ้นไปให้อยู่ ณ ปราสาทชั้นที่ ๗ วันหนึ่งนางได้เปิดหน้าต่าง ก็พอดีกับ วิทยาธร องค์หนึ่ง เหาะมาเห็นแล้วจึงเข้าไปร่วมรักด้วยเสมอ

ต่อมานางได้มีครรภ์ครบกําหนดแล้วก็ได้คลอด จึงให้นางทาสีไปหาภาชนะผอบใหญ่มาแล้ว จึงให้ทารกนอนข้างในได้ปิดฝาครอบแล้ว จึงวางพวงดอกไม้ข้างบนแล้วสั่งทาสีว่า เจ้าจงใช้ศีรษะทูนภาชนะนี้ไปปล่อยให้ลอยไปแม่น้ำคงคา และถ้าใครถามก็จงบอกว่า พลี กรรมของนายหญิง สั่งแล้วนางทาสีก็ได้กระทําตามที่สั่งนั้น

กาลนั้นทางใต้แม่น้ำคงคา หญิงสองคนกําลังอาบน้ำอยู่ ได้เห็นภาชนะผอบลอยน้ำมา แล้ว คนหนึ่งกล่าวว่าภาชนะของฉัน อีกคนหนึ่ง กล่าวว่าของข้างในของฉัน ได้เก็บขึ้นมาเปิดดู แล้วจึงเห็นเด็ก ต่างเถียงกันอยู่ไม่อาจตกลงกันได้ แม้ถึงศาลก็ไม่สามารถตัดสินได้ จึงเข้าเฝ้าพระราชาทรงตัดสินให้แล้ว หญิงคนที่ได้เด็ก เป็นอุปัฏฐายิกาของ พระมหากัจจายนะ ได้เลี้ยงไว้เพื่อให้บวช เพราะไม่ได้อาบน้ำชําระล้างมลทินครรภ์ในวันเกิด ผมจึงหยิกยุ่ง จึงให้ชื่อว่า ชฏิล แล้ว

ครั้นใหญ่โตเดินได้แล้ว จึงนําไปถวายพระเถระ ซึ่งท่านก็ได้มองเห็นว่ามีบุญมาก จะได้เสวยสมบัติยิ่งใหญ่ จึงนําไปฝากอุปัฏฐากคนหนึ่ง ณ เมืองตักสิลา ซึ่งมีเพียงลูกสาว ก็ได้รับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

ครั้นเจริญวัยแล้ว วันหนึ่งพ่อค้านั้นมีธุระไปที่อื่น จึงให้ "ชฏิล" นั้นขายแทน ได้บอกราคาไว้ตลอดทุกอย่าง วันเดียวนั้นขายได้หมด บิดากลับมาได้ฟังและเห็นสินค้าหมดร้านแล้ว ได้แน่ใจว่าคนนี้เป็น "อนัคฆบุรุษ" ซึ่งมีคุณค่าสําคัญมาก ทั้งได้เห็นว่ามีวัยสมควรแล้ว จึงยกลูกสาวคนเดียวนั้นให้ กับได้ปลูกเคหาสน์ใหม่ให้ด้วย

ในวันขึ้นบ้านใหม่ "ชฏิล" พอก้าวเท้าเหยียบธรณีเท่านั้น ภูเขาทองคําสูงประมาณ ๘๐ ศอกก็ได้ทําลายพื้นดิน ณ ส่วนหลังเรือนนั้นตั้งขึ้นแล้ว พระราชาทรงทราบจึงพระราชทานเศรษฐฉัตรตั้งให้ จึงได้เป็น ชฏิลเศรษฐี แล้ว ต่อมาได้มีลูกชาย ๓ คนเจริญวัยแล้ว ได้ส่งคนไปสืบเศรษฐีและสมบัติเศรษฐีที่ยิ่งกว่า นักข่าวต่างก็ได้นําข่าวมหาเศรษฐีและมหาสมบัติ เศรษฐี เช่น เมณฑกเศรษฐี และ โชติกเศรษฐีเป็นต้น มาแจ้งให้ทราบ

จึงเรียกลูกชายทั้ง ๓ มาแล้วส่งจอบให้ไปขุดภูเขาทองนั้น มีลูกชายคนเล็กเพียงคนเดียวที่ขุดได้ จึงบอกเป็นโอวาทว่า มีลูกคนเล็กคนเดียวที่ได้ทําบุญร่วมกันมา ครั้นโอวาทแล้ว จึงออกไปอุปสมบทและได้บรรลุอรหัตผลไม่นานนัก มีชื่อว่าพระชฎิลัตเถระ ในพระศาสนา พระสมณโคดมในกาลบัดนี้

ในระหว่างกาลพระศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธองค์ กับกาลพระศาสนาของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จึงเป็นกาลว่างพระศาสนา คือกาลพระกัสสปพุทธันดรได้สิ้นสุดลงแล้ว ส่วนกาลพระโคดมสัมมาสัมพุทธ ศาสนาก็ยังไม่ถึง จึงเป็นกาลว่างพระพุทธองค์ ถึงกระนั้นพระธรรมของพระผู้มีพระภาคพระกัสสปทศพลนั้นก็ยังมีอยู่ เช่น

พระคาถาที่ นันทบัณฑิต นํามาแสดงแก่ พระเจ้าสุตโสมบรมโพธิสัตว์ และพระคาถา
คําถามและคําตอบ ที่พระผู้มีพระภาคพระกัสสป ทศพลตรัสประทานแก่บุรพชนของ อาฬวกยักษ์ ถึงคําตอบจะหายไป แต่ที่เป็นคําถามนั้นยังมีอยู่ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระสมณโคดมได้ตรัสเป็นคําตอบทั้งหมด จึงเป็นต้นเรื่องให้มี อาฬวก สูตร ขึ้นแล้ว




ความเป็นมาของป่าอิสิปตนมิคทายวัน

และในกาลว่างนี้ ยังมีชื่อปรากฏอีกแห่งหนึ่งคือ อิสิปตนมิคทายวัน อันแปลว่า ป่าเป็นที่พระราชทานอภัยแก่สัตว์เนื้อ อันเป็นที่ซึ่ง พระฤษีลอยขึ้น คําชื่อต้นว่า อิสิ อันแปลว่า ฤษี ซึ่งสมัยกาลนั้นมหาชนยังเรียกพระปัจเจกพุทธองค์ว่า อิสิ ก็คือ ฤษี

ก็ครั้งนั้นกุลบุตร ๕๐๐ ได้สําเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธองค์แล้ว (บางแห่งว่า องค์หนึ่ง เป็นลูกชายของพระนางมหาปชาบดีหัวหน้า) คราวแรกได้ไปอยู่ ณ ถ้ำนันทมูลบรรพต ต่อมาหวังจะโปรดทาสี ๕๐๐ ได้เหาะลอยมาลงป่าอิสิปตนมิคทายวันนั้น ซึ่งทาสีเหล่านั้นมีพระนางมหาปชาบดีเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันสร้างกุฏิเป็นที่จําพรรษาถวายแล้ว จึงรับอยู่จําพรรษาและก็ได้รับอาหารบิณฑบาตตลอดพรรษา

ครั้นออกพรรษาแล้วก็ได้ถวายไตรจีวรครบทุกองค์แล้วทั้ง ๕๐๐ องค์นั้นพร้อมกันแล้ว จึงลอยขึ้นแล้วได้ลอยไปสู่เงื้อมนันทมูล บรรพต ต่างได้สถิตอยู่ ณ เงื้อมนั้น ด้วยเหตุ ที่ได้เห็นพระปัจเจกพุทธองค์ซึ่งกาลนั้น ต่าง เรียกกันว่า อิสิ ซึ่งลอยมาและกลับไป จึงต่างกล่าวกันว่า อิสิปตนะ "ฤษีลอย"

ต่อมาอีก พระเจ้าพรหมทัต ราชาแห่งกรุงพาราณสีนั้นได้ทราบแล้ว ทั้งทรงเห็น ณ ป่านั้น มีสัตว์มากมายจึงเสด็จเพื่อล่าสัตว์ ครั้นเห็นสัตว์ต่าง ๆ ไม่ทําร้ายกัน จึงทรงงดล่าสัตว์ ทั้งโปรดตรัสพระราชทานอภัยแก่มิคชาติทุกชนิด จากนั้นจึงมีชื่อตามที่ได้รับพระราชทานไว้นั้นว่า อิสิปตนมิคทายวัน เป็นประจํามาตลอด ถึงกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแสดง "ปฐมเทศนา" และครั้งที่ ๒ ทั้งได้เสด็จจําพรรษาแรก ณ ป่านี้ จึงมีชื่อปรากฏใน ธัมมจักกัปป วัตตนสูตร และ อนัตตลักขณสูตร เป็นต้น ว่า อิสิปตนมิคทายวัน "ป่าฤษีลอย อันเป็นที่ พระราชทานอภัยแก่สัตว์เนื้อ"




โตไทยพราหมณ์

ในกาลว่างพระศาสนานี้ ใน "อนาคตวงศ์" เล่าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเล่าประวัติ โตไทยพราหมณ์ ว่า ในกาลว่างพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระพุทธกัสสป สิ้นสุดลงแล้ว พระพุทธโคดม ยังไม่ได้เสด็จอุบัติตรัสรู้นั้น โตไทยพราหมณ์นี้ได้เกิดในตระกูลพาณิชมีชื่อว่า นันทมาณพ ได้ เที่ยวค้าขายไปในที่ต่าง ๆ กระทั่งมั่งมีขึ้นพอ สมควรแล้ว

ด้วยเหตุที่ได้ตั้งปรารถนาพระสัมมาสัมโพธิญาณจึงได้บําเพ็ญบารมี ๑๐ ได้เป็นจํานวนมากแล้ว ครั้งเป็นพระราชา หรือ พ่อขุนแผน ก็เคยได้ไปเฝ้าพระกัสสปสัมมาสัมพุทธองค์นั้น เพราะเป็น "สัทธาธิกะ" ให้ทรงเชื่อยิ่งหลายอย่าง จึงเป็นเหตุให้ล่าช้า

เมื่อไปก็เสด็จไปเพราะชรามิใช่แรงกล้า แห่งสติ และวิริยะ สัจจะ อธิษฐาน ซึ่งถือ พละญาณนั้น จึงชื่อว่าไม่ถึงพร้อมด้วยองค์คุณ แต่สมเด็จพระพุทธกัสสปก็ทรงพระกรุณา ตรัสเป็นดุจทรงพยากรณ์ล่วงหน้าให้ทราบไว้ เพราะพระดํารัสเป็น "สัจจาธิษฐานบารมี" จึงมีผลส่งให้มีขึ้น

ในกาลนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งในจํานวนนั้น ได้เข้าอยู่ในนิโรธสมาบัติครบกําหนดแล้ว ก็ได้ออกเพื่อจะแสวงหาบิณฑบาต เพื่อเลี้ยงอัตภาพตามธรรมดาโลก ได้ตรวจดูจึงมองเห็น นันทมาณพ ซึ่งได้รับพยากรณ์จาก พระสัมมาสัมพุทธองค์แล้ว หวังเพื่อโปรดให้สําเร็จผล จึงไปปรากฏเฉพาะหน้า

"นันทมาณพพาณิช" เห็นแล้วมีจิตเกิดศรัทธาปสาทะ คือความเชื่อเลื่อมใสเต็มที่ เพราะผลสมณธรรมที่ได้กระทําในสมัยกาลพระกัสสปสัมมาสัมพุทธองค์นั้น เป็นเหตุให้เกิดศรัทธาปสาทะขึ้นเต็มเปี่ยมแล้ว จึงเอาผ้ากัมพลแดง กับทองคําแสนตําลึง กระทําเป็นเครื่องไทยธรรม ถวายแก่พระปัจเจกพุทธองค์เป็นมหาบริจาค แล้วกระทําปณิธานปรารถนาว่า

"พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยแก่พระสัพพัญญุตญาณในเบื้องหน้าเถิด"

พระปัจเจกพุทธองค์ได้รับทองคําซึ่งพลันนั้น ก็กลายเป็นอาหารบิณฑบาตด้วยพุทธานุภาพ และห่มผ้ากัมพลแดงปกปิดรอบองค์แล้ว เหลือแต่หัตถ์และบาทประมาณศอกหนึ่ง

พ่อค้านันทมาณพเห็นดังนั้น จึงตั้งปรารถนาเป็นครั้งที่ ๒ ว่า "ด้วยทานนี้ ขอข้าพระองค์จงมีเดชานุภาพ แผ่ไปตลอดอาณาจักรทั่วไปในใต้แผ่นพื้นปฐพีนี้โยชน์หนึ่ง"

พระปัจเจกพุทธองค์จึงกล่าวอนุโมทนาด้วย "ปัจเจกพุทธคาถานุโมทนา" ว่า "อิจฉิตัง ปัฏฐิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สมิชฌะตุ... สิ่งที่ท่านประสงค์แล้ว ปรารถนาแล้ว จงสําเร็จพลันเถิด

สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะ ระโส ยะถา... ดําริทั้งปวง จงเต็มที่เหมือนจันทร์เพ็ญ ฉะนั้น"

ครั้นอนุโมทนาแล้ว จึงเดินทางไปจากที่นั้น ในระหว่างกลางทางนั่นเอง มีกุมารีสาวน้อยคนหนึ่ง มองเห็นพระปัจเจกพุทธองค์ห่มผ้ากัมพลแดงเดินมาจึงถามว่า "พระคุณเจ้าขา ผ้าที่พระคุณเจ้าห่มมีสีแดงงามนั้น ใครถวาย เจ้าคะ ?" ก็ได้ฟังท่านตอบว่า "สีกา...ผ้าแดงนี้ พาณิชนันทมาณพถวาย"

จึงถามต่อไปว่า "เขาถวายแล้วปรารถนาอะไร?" ก็ได้ฟังคำตอบว่า "มาณพนั้นถวายแล้ว ได้กระทําปรารถนา ๒ ประการ คือ ปรารถนา พระสัพพัญญู ประการหนึ่ง กับปรารถนา สิริราชสมบัติ อีกประการหนึ่ง

ครั้นได้ฟังแล้ว กุมารีสาวนั้น จึงเอาผ้าของตนถวายแล้วตั้งปรารถนาว่า "พระคุณเจ้าผู้ทรงคุณยิ่ง ด้วยผลทานนี้ ถ้าว่านันทมาณพพาณิชนั่นได้เสวยสิริราชสมบัติ เป็นพระบรมกษัตริย์แล้ว ดิฉันขอปรารถนาเป็น นางพระยาราชมเหสีเถิด"

พระปัจเจกพุทธองค์นั้นได้มองเห็นผลสําเร็จก็ได้กล่าว "ปัจเจกพุทธคาถา" เดิมนั้นเป็น ครั้งที่ ๒ จึงหลีกไป ได้ลอยขึ้นไปทางอากาศ ได้นําอาหารบิณฑบาตไปสู่เงื้อมนันทมูลบรรพต ได้แบ่งถวายแก่พระปัจเจกพุทธองค์ ๕๐๐ นั้น ครบแล้ว ตามธรรมนิยมและวัตรปฏิบัติของพระปัจเจกพุทธองค์เป็นประจํามาแล้ว บิณฑบาตนั้นก็เกิดสมบูรณ์เพียงพอด้วยพระพุทธานุภาพ เพื่ออนุเคราะห์พระบารมีพระสัมมาสัมโพธิญาณนั้น

ด้วยเดชะผลกรรมที่กุมารีสาวนั้น ได้พลอยกระทําบุญตามนันทมาณพนั้น ทั้งสองจึงได้สมัครใจอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยาในชาตินั้น ต่อมาจึงได้คิดอ่านการกุศลให้มากขึ้น จึงได้สร้างศาลาหลังหนึ่งในที่นั้น และให้ช่างสลักเป็นรูปพระปัจเจกพุทธองค์แล้ว จึงประดิษฐานตั้งไว้ในศาลา

ฝ่ายนางกุมารีได้โกนผมเอาเส้นเกศานั้นชุบน้ำมันหอม กระทําสักการบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้เอาผมนั้นเป็นไส้เทียนจุดเป็นประทีบต้นตามถวายบูชา ตรงหน้าพระปัจเจกพุทธรูป ในศาลานั้นตามสมควร ทั้งสองได้กระทํากุศลอย่างนี้ ครั้นกระทํากาลกิริยาก็ได้เคลื่อนไปเกิด ณ ดาวดึงสพิภพ เสวยทิพยสมบัติอยู่ช้านาน

เมื่อถึงกาลสิ้นอายุจึงจุติเคลื่อนลงมาเกิดในราชสกุล สุวรรณภูมิประเทศ ทรงเจริญวัยแล้ว ก็ได้ราชาภิเษกเป็นพระบรมกษัตริย์ "สุวรรณจักรพรรดิ" กรุงเทพทวาราวดี แห่งสุวรรณภูมิประเทศ ทรงทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ทั้งทรง "ธรรมศาสตร์" และทรง "ศีลธรรม" "บารมี ๑๐" จึงมีพระนามว่า ธรรมราชาธิราชเจ้า อีกด้วย

ส่วนนางฟ้ากุมารีนั้น ก็จุติลงมาเกิดในสกุลมหาเศรษฐี อันมีสมบัติมากในกรุงเทพทวาราวดีนั้น ครั้นนางกุมารีมีชันษาไทย ๑๖ ก็ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าบรมกษัตริย์สุวรรณจักรพรรดินั้น ได้อุปภิเษกสถาปนาชื่อ ว่า พระมงคลราชเทวี มีแสนสาวสุรางค์แวดล้อมเป็นยศศักดิ์บริวาร ๑๐ แสน

ณ กาลวันหนึ่ง พระเจ้าสุวรรณจักรพรรดิ กรุงเทพทวาราวดี เสด็จแวดล้อมด้วยพระสนมข้างใน ๑๖ แสน ทรงมีพระทัยประสงค์จะทดลองพระบุญญาธิการของสมเด็จพระนางมงคลราชเทวีนั้น ให้ปรากฏแก่ทุกพระสนม ตรัสสั่งหมู่นางพระเครื่องต้นให้จัดแต่งสํารับทุกคนพร้อมกันนั่งบริโภคตรงหน้า ก็มิได้ปรากฏสิ่งพิเศษกว่าปกติ

ส่วนพระนางมงคลราชเทวีล้างพระหัตถ์ ณ สุวรรณภาชนะแล้ว รับกระยาหารกระทําเป็นคํายกขึ้นใส่พระโอษฐ์เสวย ทุกนิ้วพระหัตถ์ได้กลายเป็นทองคําทุกคําเสวยนั้น ด้วยผลทานที่จัดตกแต่งอย่างประณีต ทุกพระสนมนางได้เห็นนิ้วเป็นทองคําเช่นนั้นก็แจ้งประจักษ์ว่า พระนางพระยาเจ้ามีบุญญาธิการมาก ต่างจึงมิได้มีจิตคิดริษยา

ตั้งแต่วันนั้น ก็มีแต่ระทวยอ่อนน้อมยําเกรงพระนางมงคลราชเทวีเป็นอันมาก แม้สมเด็จพระเจ้าบรมกษัตริย์สุวรรณจักรพรรดินั้น ก็ทรงรักเสน่หาการุณนิยมเป็นอันมาก จึงได้ตั้งไว้ในตําแหน่งเอกอัครมเหสีครบถ้วนทุกประการ

พระเจ้าสุวรรณจักรพรรดินั้น ได้ครอบครองกรุงเทพทวาราวดี ได้ทรงทราบพระราชธรรมประจําพระราชสํานักครบถ้วน จึงทรงทศพิธราชธรรมตลอดกาล ทั้งได้ตั้งปรารถนามานานแล้วนั้น จึงทรงระลึกถึงพระบารมีธรรมได้ จึงทรงบําเพ็ญเป็นพระบารมีตลอด จึงทรงเกษมสุขสําราญทุกประการ พืชพรรณธัญญาหาร ก็อุดมสมบูรณ์ตลอดราชอาณาจักร

ประชาชนพลเมืองจึงอยู่เย็นเป็นสุขทั่วกัน และรื่นเริงสนุกสนานสําราญรมย์ทุกคืนวัน ฉะนี้ พระเจ้าบรมกษัตริย์สุวรรณจักรพรรดิ จึงมีพระราชโอรสธิดาต่างลําดับชั้นหลายพระองค์ ตามตําแหน่งสุวรรณจักรพรรดินั้นมีถึง ๕๐๐ องค์

ครั้งถึงอายุขัยกาลแล้ว ก็ได้เคลื่อนและท่องเที่ยวไปกับ "กุมารีมงคลราชเทวี" นั้น ทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก กระทั่งพระพุทธกาล พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ก็ได้มาอุบัติ เป็น โตไทยพราหมณ์ (ไทยใหญ่) ณ หมู่บ้านไทยใหญ่ชื่อว่า โตไทยคาม และกุมารีมงคลราชเทวีนั้น ก็ได้มาเกิดในสกุลพราหมณ์ชื่อว่า มงคลณีพราหมณี ซึ่งได้มีพราหมณ์พิธีเษกสมรส แล้วได้มีลูกชายทรวดทรงงดงามคนหนึ่ง ชื่อว่า สุภมาณพพราหมณ์ ซึ่งได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าหลายครั้ง ได้ให้มีพระสูตรขึ้นหลายสูตร

บ้านโตเทยยคาม หรือโตไทยคามนี้ เพิ่งมีชื่อขึ้นในภายหลัง ในพระศาสนาของพระกัสสปทศพลนั้น ใน ฆฏิการสูตร ปรากฏมี ชื่อว่า "เวภฬิคะ" (อรรถกถาว่าเวภัลลิคะ ฉบับสีหลและพม่าว่า เวภฬิงคะ) ในกาลพระกัสสปทศพลนั้นว่า เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ มี ประชาชนคับคั่ง และเป็นที่ที่พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ได้เสด็จประทับแล้ว คือในกาลนั้น พระกัสสปทศพลได้เสด็จมาประทับอยู่แล้ว ในกาลนี้ พระสมณโคดมพุทธเจ้าก็ได้เสด็จมา ประทับอีกพระองค์หนึ่ง ใน "ฆฏิการสูตร" นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราตรัสว่า

พระองค์ได้อุบัติในสกุลพราหมณ์ชื่อว่า โชติปาลมาณพ ซึ่งได้เป็นปิยสหายของช่างหม้อ ผู้เป็นสกุลพ่อค้าพาณิชชื่อ ฆฏิการมาณพ ซึ่งมีอาชีพปั้นหม้อขายเลี้ยงชีวิตกับบิดามารดา ซึ่งตาบอดทั้งคู่ ผู้มีอุปนิสัยแห่งมรรคผลอยู่ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปทศพล จึงเสด็จมาโปรดให้ฆฏิการมาณพได้บรรลุอนาคามีผลแล้ว พระองค์พร้อมพระภิกษุสงฆ์ก็ยังประทับอยู่

ฆฏิการะจึงชวนโชติปาลมาณพให้ไปฟังธรรมด้วยความพยายาม คราวแรกโชติปาละได้กล่าวดูถูก เพราะสําคัญตนเองว่า "อภิญญู" คือผู้รู้ยิ่งกว่า อย่างปรากฏใน อปาทาน ว่า "การตรัสรู้จะมีแก่สมณะโล้นแต่ที่ไหนหนอ... เพราะว่าการตรัสรู้เป็นของได้ยากอย่างยอดยิ่ง"

(เพราะกล่าวปรามาสดังนี้ จึงเป็นเหตุปัจจัยให้พระองค์ต้องกระทํา "ทุกรกิริยา")

แต่ที่สุดก็ยอมไปได้ฟังพระสัทธรรมพยากรณ์แล้ว จึงสละทรัพย์สมบัติเกลี่ยเป็นทานหมดแล้ว จึงออกอุปสมบทเป็นภิกษุ บําเพ็ญเนกขัมมบารมี แม้ช่างหม้อฆฏิการะนั้น ได้บรรลุอนาคามีผลแล้ว ครั้นตายแล้วได้ไปอุบัติ ณ อวิหา (ชั้นสุทธาวาส) คอยดูเพื่อน "โคดม โพธิสัตว์" นั้น

กระทั่งถึงกาลเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ จึงมาในส่วนของ "ฆฏิการมหาพรหม" ได้แสดง เพศภิกษุ อันเป็นเพศพระสัมมาสัมพุทธองค์ จะต้องทรงเป็นก่อนอื่นในกาลของพระองค์นี้ แล้วได้ถวายบริขาร ๘ แล้วได้กลับไปยัง สุทธาวาส พระองค์ก็ได้ทรงเพศภิกษุนั้นตลอดกาลของพระองค์ และจึงมี ฆฏิการสูตร ปรากฏในมัชฌิมนิกาย ณ สุตตันตปิฎก

ฆฏิการสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ พระอานนทเถระ ระบุชื่อว่า "เวภฬิคนิคม" ซึ่งเป็นดินแดนที่พระพุทธองค์พระกัสสปทศพล เสด็จมาประทับโปรดชาวนิคม ซึ่งมี ฆฏิการมาณพ กับพระองค์ซึ่งเป็น โชติปาลมาณพ ซึ่งในบัดนี้ก็มีชื่อว่า โตไทยคาม ซึ่งปรากฏอยู่ระหว่างทางไม่ไกลจากกรุงสาวัตถีนัก และไปถึงพาราณสีได้

ครั้นได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้เสด็จประทับ ในกาลที่พระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้ว ประชาชนชาวเวภฬิคนิคมได้ร่วมใจกันสร้างพระสุวรรณเจดีย์ (และชื่อว่า "กนกเจดีย์") เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมสรีรธาตุ จึงมีเรื่องปรากฏขึ้น และ "พระ ธรรมสังคาหกาจารย์" ได้รวบรวมขึ้นไว้ในพระคัมภีร์ตลอดแล้ว จึงยืนยงคงมาได้แล้ว...

ll กลับสู่ด้านบน




กสฺสปทสพลสุวณฺณเจติยวัตถุ
(อ่านว่า..กัสสะปะทสพลสุวัณณะเจติยะวัตถุ)

พระกัสสปทศพลสุวรรณเจดีย์นี้ มีปรากฏใน ธัมมปทัฏฐกถา (ธรรมบท) ภาค ๖/๑๑๕ จะได้ย่อเรื่องพอได้ใจความเป็นหลักฐานแห่งพุทธันดร และเรื่องประวัติสถานที่ที่ปรากฏตามที่ได้พบ

พระตถาคตเจ้าทรงมีพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จออกจากกรุงสาวัตถี จะเสด็จไปพาราณสี เสด็จถึง "เทวสถาน" แห่งหนึ่งใกล้ โตไทยคาม ได้ประทับ ณ โคนต้นไทรต้นหนึ่ง ณ ที่นั้น ตรัสสั่งพระภิกษุรูปหนึ่งให้ไปเรียกพราหมณ์คนหนึ่ง ซึ่งกําลังทํานาอยู่ ณ ที่ไม่ไกล พราหมณ์นั้นมาแล้วไม่ได้กราบไหว้พระองค์ แต่ได้ยืนไหว้เทวสถานนั้นเท่านั้น จึงตรัสถามว่า

"ท่านรู้หรือไม่ว่าสถานที่นี้ชื่ออะไร" เขาทูลว่า "พระโคดมผู้เจริญ พวกเราไหว้ด้วยจิตคิดว่า เป็นเจดียสถานที่มีมาตามประเพณี"
จึงตรัสต่อไปว่า "พราหมณ์...ท่านไหว้เจดีย์นี้ ก็ชื่อว่าได้กระทําดีแล้ว"

พระภิกษุทั้งหลายได้เกิดสงสัยจึงทูลถาม เพื่อทรงให้หายสงสัยจึงตรัส "ฆฏิการสูตร" ด้วยพระพุทธานุภาพได้ทรงนิรมิตแสดง พระกนกเจดีย์ อันสูง ๑ โยชน์ของพระกัสสปทศพลแล้ว และนิรมิต กนกเจดีย์อื่น อีกในอากาศ ให้เห็นแสดงแก่มหาชนแล้ว ได้ตรัสบูชาบุคคล ผู้ควรบูชา ๔ คือ ๑.พระพุทธองค์ ๒.พระ อรหันต์ ๓.พระเจ้าจักรพรรดิ ๔.บิดามารดา

แล้วได้ตรัสเจดีย์ตามนัยมหาปรินิพพาน สูตร ๔ คือ ๑. พระสรีรธาตุเจดีย์ ๒. บริโภคเจดีย์ ๓. อุเทสิกเจดีย์ ๔. ธรรมเจดีย์ คือ คัมภีร์ต่าง ๆ เช่น ไตรปิฎกเป็นที่ ๔ แล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาว่า

"ปูชาระเห ปูชะยะโต พุทเธ ยะทิจะ สาวะเก ปะปัญจะสะมะติกกันเต ติณณะ โสกะปริททะเว เต ตาทิเส ปูชะยะโต นิพพุเต อะกุโตภะเย นะ สักกา ปุญญัง"
"เมื่อบูชาผู้ควรบูชา คือพระพุทธองค์ หรือพระสาวกก็ตาม ซึ่งก้าวล่วงธรรมเนิ่นช้าได้ ทั้งข้ามพ้นโศกคร่ำครวญได้แล้ว ได้บูชา ท่านผู้คงที่เหล่านั้น ซึ่งนิพพานแล้ว ไม่มีภัยที่ไหน ใคร ๆ ไม่อาจคํานวณนับบุญว่า บุญนี้มีจํานวนเท่านี้ได้เลย ดังนี้แล"

ในตอนท้ายพราหมณ์นั้น ได้เป็นโสดาบันแล้ว พระธรรมเทศนานั้นเป็นของมีประโยชน์ เป็นอันมากเกิดแก่บริษัทแล้ว

พระกนกเจดีย์ตั้งอยู่ในอากาศ กับพระกัสสปทศพลเจดีย์นั้น ได้ตั้งอยู่ตลอด ๗ วัน จึงมีมหาสมาคมใหญ่ ต่างได้กระทําบูชากัน ตลอด ๗ วันนั้นด้วยพุทธานุภาพ กนกเจดีย์นั้นได้ไปสู่สถานของตนแล้ว ในขณะที่หายไปนั้นนั่นเอง ก็ได้มี มหาปาสานเจดีย์ เกิดขึ้นแทน

โตไทยคาม หรือ โตเทยยคามนิคม คือ หมู่บ้านไทยใหญ่ นั้น ที่ปรากฏใน "สุวัณณเจดีย์วัตถุ" ก็ดี และยังมีปรากฏในพระสูตร เช่น จูฬกัมมวิภังคสูตร และ สุภสูตร ฯลฯ มีระบุว่า "โตเทยยคาม" เช่นเดียวกัน

ในเรื่องสุวัณณเจดีย์นี้ ระบุอยู่ระหว่างทางจาก "กรุงสาวัตถี" และ "พาราณสี" นั้น ในอรรถกถาทั้ง ปปัญจสูทนี และ สุมังคลวิลาสินี มีระบุว่าเล่ากันว่านามชื่อว่า ตุทิคาม คือ บ้านตุทิ นั้นมีอยู่ในที่ไม่ไกลจากกรุงสาวัตถี เพราะเป็นบ้านที่ใหญ่ยิ่ง จึงถึงการนับชื่อว่า โตเทยยะ คือ โตไทยะ "ไทยใหญ่"

สําหรับพราหมณ์ผู้เป็นต้นนั้น ชื่อว่า "โตเทยยะ" ซึ่งได้เป็นปุโรหิตพราหมณ์ของ พระเจ้าปเสนทิโกศลราชา เพราะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ประจําบ้านตุทินั้น จึงมีชื่อว่า โตเทยยพราหมณ์ (ไทยออกเสียงว่า โตไทยะ) เฉพาะศัพท์ชื่อว่า ตุทิ เป็นภาษามคธแปลว่า ทุกข์ ลําบาก รบกวน และอ้วน ใหญ่ ถ้าเป็น โต คําโดดแปล ว่า เก่า, อ้วน, โตทนะ ปะฏัก โตเทยยะ หรือ โตไทยะ ตรงความว่า ใหญ่ไทย หรือ ไทยใหญ่

และก็โตไทยพราหมณ์นี้ ซึ่งเป็นปุโรหิตพราหมณ์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเป็นข้าราชการด้วย ทั้งเป็นผู้มีทรัพย์ถึง ๘๗ โกฏิ แต่เป็นผู้ตระหนี่ถี่เหนียวแน่นยอดยิ่ง ก็เป็นทั้งปุโรหิตพราหมณ์และเศรษฐีพราหมณ์มหาศาลด้วย กับ มังคลาณีพราหมณ์ จึงมีลูกชายคนหนึ่งชื่อ สุภะ ผู้มีรูปน่าชมและมีผิวพรรณผ่องใส เพราะเหตุที่มีรูปร่างงดงามนั้น พวกญาติจึงตั้งชื่อว่า สุภมาณพ เฉพาะคําชื่อว่า "มาณพ" เขาเรียกกันในเวลาเป็นเด็ก ในกาลเจริญวัยแล้ว ก็ยังใช้โวหารเรียกอย่างนั้นว่า "สุภมาณพ" ฉะนี้

สําหรับวงศ์สกุลพราหมณ์แล้ว ชื่อต้นเดิม ก็คงใช้เป็นชื่อสกุลด้วยว่า โตไทยพราหมณ์ หรือ โตเทยยพราหมณ์ และอาจใช้ชื่อมารดาว่า มังคลาณีบุตร แต่คงไม่มีใช้กัน

ใน อนาคตวงศ์ ตรัสว่า ทั้งสองนี้เป็น "นิยตโพธิสัตว์" จะได้ตรัสรู้เป็นพระองค์ที่ ๘ พระนามว่า นรสีหพุทธองค์ เป็นที่ ๒ ใน มัณฑกัปนั้น ฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระสมณโคดม จึงเสด็จเสมอเพื่อเป็นหลักฐานสถานที่สําคัญนั้นด้วย ทั้งทรงต้องการโปรด พระพุทธางกูร คือเนื้อหน่อพระพุทธองค์ด้วย จึงเกิดมีพระสูตร และเรื่องต่าง ๆ เป็นต้นเหตุ ให้ตรัสถึงจึงปรากฏแล้ว

สําหรับโตไทยพราหมณ์นั้น ได้เกิดเป็น นันทมาณพพาณิช ได้ถวายทานและตั้งปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูพุทธองค์ กับสมบัติสุวรรณจักรพรรดิต่อพระปัจเจกพุทธองค์แล้ว จึงได้เป็นพระเจ้าบรมกษัตริย์มั่งคั่งทรัพย์สมบัติ แล้วก็ตาม ครั้นมาเกิดในพระพุทธกาลนี้ คงจะเป็น "มัจเฉรจิต" บังเกิดขึ้น แม้ได้เป็นปุโรหิตพราหมณ์มหาศาล ถึงกระนั้นก็ปลูกปั้นให้เป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่นอย่างยอดยิ่ง ถึงมีนามระบุคุณลักษณะพิเศษว่า ปรมมัจฉรี หรือ "บรมตระหนี่" จึงคิดเสมอว่า ผู้ให้ทานนั้นชื่อว่า "โภคจะไม่สิ้นไป..ไม่มี" จึงได้กล่าวคํานี้เสมอว่า

"อัญชะนานัง ขะยัง ทิสวา วัมมิกานัย จะยะ สัญจะยัง มะธะนัญจะ สะมาหารัง ปัณฑิโต ฆะระมาวะเสติ"

"เพราะเห็นการสิ้นไปแห่งยาหยอดตา และการสะสมของเหล่าปลวก กับการรวบรวมของปวงผึ้ง บัณฑิตพึงครองเรือนได้ ก็เพราะได้ประกาศให้รู้ทั่วกันอย่างนี้ ตลอดกาลนานทีเดียว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จเสมอ เพื่อโปรดให้สร้างเสริมบารมี ในฐานะหน่อเนื้อพระพุทธางกูร ก็มิได้เคารพนับถือ"

ถึงแม้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธองค์ จะได้เสด็จมาประทับอยู่ ณ พระธูรวิหารใกล้ ๆ กันนั้น ถึงจะทักทายรู้จักบ้าง ก็มีแต่คําข่มและขับขามเท่านั้น ไม่เคยถวายข้าวสักกระบวยหนึ่ง หรือข้าวสวยสักทัพพีหนึ่งเลย เพราะโลภทรัพย์สมบัติ และมีมัจฉริยจิตครอบงําแล้ว ตลอดกาลชีวิตนั้น

ครั้นกระทํากาลกิริยาแล้วก็ได้เกิดเป็น สุนัข ในบ้านนั้นนั่นเอง สุภมาณพมีความรักใคร่สุนัขนั้นยิ่งนัก ได้ให้กินข้าวที่ตนบริโภคนั่นเอง กับอุ้มให้นอน ณ ที่นอนอันประเสริฐ สะอาดเรียบร้อยตลอดกาลนั้น

ต่อมา ณ วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกในกาลสมัยเช้ามืด ได้ทอดพระญาณเห็นสุนัขนั้น ทรงดําริรู้ตลอดว่าเพราะ "ธนโลภ" โตไทยพราหมณ์จึงเกิดเป็นสุนัขในเรือนของตน ในวันนี้เมื่อเราไปสู่เรือนของสุภมาณพแล้ว สุนัขเห็นเราจะเห่าขึ้น เราจะกล่าวคําหนึ่งแก่เขานั้น สุนัขนั้นจะรู้แจ้งว่า พระสมณโคดมรู้จักเราอยู่ จะไปนอน ณ ที่ใกล้เตาไฟ จากต้นเรื่องนั้น จะมีถ้อยคําสนทนาถามตอบขึ้น ระหว่างเรากับสุภมาณพ สุภมาณพนั้นฟังธรรมแล้ว จะตั้งอยู่ในสรณคมน์ ส่วนสุนัขนั้นทํากาละแล้วจักไปเกิดในนรก

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงทราบอย่างนี้แล้ว ในเช้าวันนั้นทรงกระทําพระสรีรกิจแล้ว เฉพาะพระองค์เดียวเท่านั้น เสด็จเข้าไปสู่บ้าน ในกาลที่มาณพออกไปนอกบ้านแล้ว จึงเสด็จสู่เรือนนั้นเพื่อทรงบิณฑบาต สุนัขได้เห็นแล้ว จึงเห่าขึ้นอยู่ได้เดินเข้าไปใกล้แล้ว พระผู้มีพระ ภาคเจ้าได้ตรัสกับสุนัขนั้นว่า

"โตไทยะ...แม้ในกาลก่อนท่านได้กล่าวคําข่มขับขามเราว่า "โภ...โภ...ผู้เจริญ ๆ" ดังนี้ จึงเกิดเป็นสุนัขแล้ว แม้ในกาลนี้ก็กระทําการเห่า จักไปสู่อเวจี"

สุนัขได้ฟังพระดํารัสนั้น จึงเกิดความเดือดร้อนว่า สมณโคดมรู้เราอยู่ ได้ลดคอลงไป นอนลงบนเถ้าระหว่างเตาไฟ คนเหล่านั้นไม่อาจเพื่ออุ้มยกขึ้นให้นอนบนที่นอนอันประเสริฐได้ เมื่อสุภมาณพกลับมาเห็นแล้วกล่าวว่า สุนัขนี้ใครให้ลงจากที่นอน ได้ฟังตอบว่า ไม่มีใครเลย และได้ฟังประวัตินั้นแล้ว มาณพได้ยินแล้วจึงโกรธว่า

"บิดาของเราไปเกิด ณ พรหมโลก สุนัขชื่อ "โตไทยะ" ไม่มี แต่สมณโคดมทําพ่อให้เป็นสุนัข ท่านนั่นแล จะกล่าวคําอะไรเล่นคล่องปากเท่านั้น"

ต้องการข่มพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยมุสาวาท จึงไปสู่วิหารเข้าไปทูลถามประวัตินั้นแล้ว แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสแก่เขา อย่างนั้นนั่นเอง เพื่อไม่ให้โต้แย้งกันมากจึง ตรัสว่า
"มาณพ...ก็ทรัพย์ที่บิดาของท่านไม่ได้บอกไว้นั้น มีอยู่หรือ?" ก็ได้ทูลว่า

"พระโคดมผู้เจริญ มีอยู่..คือ สุวรรณมาลา มีค่าแสนหนึ่ง รองเท้าทองคํามีค่าแสนหนึ่ง ถาดทองคํามีค่าแสนหนึ่ง และกหาปณะอีกแสนหนึ่ง"

พระองค์ได้ตรัสต่อไปว่า "ท่านจงไปให้สุนัขนั้นบริโภคข้าวปายาส มีน้ำน้อยแล้วให้นอนบนที่นอน ในกาลที่หลับไปแล้วหน่อยหนึ่ง จงถามดูเถิด จะบอกทั้งหมดแก่ท่าน ลําดับนั้นแล ท่านพึงรู้ซึ่งสุนัขนั้นว่า บิดาของเราแน่"

สุภมาณพยินดีแล้วด้วยเหตุ ๒ อย่างว่า ถ้าเป็นความจริงก็จะได้ทรัพย์ ถ้าไม่จริงจะข่มพระสมณโคดมด้วยมุสาวาท จึงกลับไปแล้วได้กระทําอย่างนั้น สุนัขรู้แล้วว่าลูกนี้เป็นผู้รู้เราแล้ว จึงกระทําเสียงฮื่อ ๆ เดินไปสู่ที่ฝังทรัพย์ แล้วใช้เท้าขุดคุ้ยแผ่นดินเป็นการให้สัญญาณแล้ว สุภมาณพเก็บทรัพย์หมดแล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

"ร่องรอยปฏิสนธิอันสุขุมอย่างนี้ ชื่อว่า ภพปกปิดแล้ว ยังปรากฏแก่พระสมณโคดมแล้ว พระองค์ต้องเป็นพระสัพพัญญูแน่นอน" จึงปรับปรุงแต่งปัญหา ๑๔ ข้อ เกียรติคุณเลื่องลือว่า เขานั้นเป็นนักบรรยายองควิทยา เพราะเหตุนั้น เขาจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะถือเอาธรรมบรรณาการไปถามเป็นปัญหากับพระสมณโคดมโดยครั้งที่ ๒ นั้น จึงเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับแล้วได้นําปัญหา ๑๔ ข้อนั้นทูลถาม

คราวแรก ตรัสตอบรวมกันเป็นอย่างเดียวกันว่า เพราะกรรมจําแนกให้ดีและเลว เมื่อมาณพทูลว่าไม่เข้าใจ จึงตรัสจําแนกเป็น อย่าง ๆ ได้ ๑๔ อย่าง ซึ่งยาวพอสมควร และได้เป็นสูตรชื่อว่า จูฬกัมมวิภังคสูตร อันแปลว่า "สูตรจําแนกกรรมน้อย" ที่คู่กับ มหากัมมวิภังคสูตร อันแปลว่า "สูตรจําแนกกรรมใหญ่" พอจบแล้วสุภมาณพได้กราบทูลสรรเสริญ กับกล่าวถึงสรณะ และได้ประกาศตนเป็นอุบาสกแล้ว

ใน "อนาคตวงศ์" พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพยากรณ์พ่อลูกทั้งสองนี้ คือ โตไทยพราหมณ์ และ สุภมาณพพราหมณ์ นี้จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธองค์ทั้งสองท่าน ในมัณฑกัปที่ ๓ ข้างหน้านั้น ในมัณฑกัปนั้น สุภมาณพพราหมณ์นี้ จะได้ตรัสรู้ก่อนทรงพระ นามว่า พระเทวเทพสัมมาสัมพุทธองค์ เพราะบุญญานุภาพปรมัตถบารมีที่ได้สร้างไว้ ในกาลพระโคนาคมน์สัมมาสัมพุทธองค์นั้น

ก็ในกาลพระศาสนาพระโคนาคมน์นั้น สุภมาณพนี้ได้เกิดเป็นช้างสกุลฉัตรทันต์ ซึ่งมีคุณพิเศษ คือมีงาทั้งสองเหมือนฉัตร คือร่ม เมื่อได้เห็น พระอัญญาโกณฑัญญะ อรหันตมหาขีณาสพ สาวกของพระโคนาคมน์พุทธองค์นั้น ซึ่งได้ไปปรินิพพาน ณ บริเวณลานฝั่ง "ฉัตรทันตสระ" นั้น

พระยาคชเศวตฉัตรทันต์เผือกขาวสะอาดนั้น ซึ่งได้ปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณมาแล้ว จึงมีจิตคิดประสงค์จะปลงศพท่าน ได้สละงาทั้งสองนั้น อธิษฐานให้ได้เลื่อยทิพย์มา แล้วให้เลื่อยทั้งสองออกแล้ว ได้ทํางาข้างหนึ่ง เป็น "เหม" คือโกศใส่ศพสรีรธาตุ

งาอีกข้างหนึ่ง ได้สลักทําเป็นรูปนกยูงยกคอกางปีก ชูลําแพนหางเป็นเชิงสร้างรองโกศ บรรจุพระอัญญาโกณฑัญญะ อรหันตสงฆ์สาวกพระโคนาคมน์สัมมาสัมพุทธองค์นั้น เอาผมขนบนศีรษะเป็นไส้ประทีบเทียนตามถวายสักการบูชา ฝ่ายคชบริวาร ๘ หมื่น ๔ พัน ประชุมทําสมโภชรื่นเริงบันเทิงใจพร้อมกัน

เจ้าพระยาช้างเผือกคชราชา ได้ใช้งวงยกนกยูงให้ตั้งโกศบนหลัง และช้างบริวารก็ใช้งวงช่วยประคอง ยกขึ้นตั้งบนกระพองศีรษะเรียบร้อยแล้ว จึงพร้อมกันประชุมเพลิง ขณะที่ไฟกําลังลุกไหม้อยู่นั้น นกยูงทองดุจมีวิญญาณ ได้บินไปมาในเวหาให้ลมกระพือไฟไหม้หมด แต่อัฐิธาตุตกลงเรี่ยรายบนพื้นแผ่นดินในที่นั้น เทพยดาทั้งหลายตกแต่งพระเจดีย์บรรจุพระธาตุไว้ ณ ครั้งนั้นนั่นเอง เจ้าพระยาฉัตรทันตคชราชาได้กระทําปณิธานตั้งปรารถนาว่า

"ด้วยเดชะผลสละงาทั้งสอง เพื่อกระทําสักการบูชาและถวายเพลิงศพพระอรหันตเจ้านี้ ขอจงเป็นปัจจัยได้สําเร็จแก่พระสรรเพชรดาญาณ ในอนาคตกาลเถิด"

ดังนี้แล้ว ครั้นเสียชีวิตแล้ว ก็ได้ไปเกิด ณ ดุสิตสวรรค์ เป็นเทพบุตรเสวยทิพสมบัติในวิมาน เกษมสําราญตลอดกาลแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแด่พระสารีบุตรเถระว่า

"ด้วยเดชะผลปรมัตถทานบารมียอดสูงสุดนั้น จะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธองค์ทรงนามว่า พระเทวเทพพุทธองค์ เป็นพระองค์ที่ ๗ และจะบันดาลให้มีพระพุทธรัศมี เป็นฉัพพรรณรังสี ๖ ประการ มีสัณฐานเหมือนช่อฝักบัวเมื่อยังอ่อน ๆ ปราศจากเย็นและร้อน กับทั้งรุ่งเรืองอยู่เป็นนิตยกาล

พระองค์และทุกคนทั้งหมด ก็มีสรีรร่างเสมือนสีทองละเอียดดีงามตลอด พื้นแผ่นดิน เกิดมีข้าวสาลีมีกลิ่นโอชารสหอมวิเศษ และต้นไม้กัลปพฤกษ์มีผลเป็นเครื่องบริโภค และเป็นเครื่องอุปโภคใช้ได้ จึงมีสุขเกษมสําราญ สดชื่นบานเป็นอาทิ พระองค์มีพระกายสูง ๘๐ ศอก และมีพระชนมายุอยู่ ๘ หมื่นปี เป็นพระ องค์ที่ ๑ ในมัณฑกัปนั้น แต่เป็นพระองค์ที่ ๗ แต่กาลนี้

โตไทยพราหมณ์ ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็น พระนรสีหสัมมาสัมพุทธองค์ นั้น ด้วยบุญญานุภาพปรมัตถทานบารมียอดสูงสุดนั้น ที่ได้สร้างไว้ในกาลที่เป็น นันทมาณพพาณิช ในระหว่างกาลว่างพระศาสนา พระกัสสปทศพล ที่ล่วงไปแล้ว และยังไม่ถึงกาล พระสมณโคดม นั้น ก็จะดลบันดาลให้พระองค์ประกอบด้วย พระพุทธรัศมีรุ่งเรือง อันงามดุจดวงแก้วมณีรัตนโชติรส และมีเศวตฉัตรแก้วกางกั้นเป็นนิตยกาล ทั้งพระองค์และมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปอันงดงาม มีผิวพรรณเหลืองดังสีทอง

แผ่นดินบังเกิดข้าวสาลีอันหอมมีโอชารส เป็นปกติเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ให้เกิดต้นกัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง มีสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ มวลมนุษย์จึงมีแต่สุขเกษมสําราญตลอด พระองค์มีพระกายสูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุ ๘๐ ปี เป็นพระองค์ที่ ๒ ในมัณฑกัปนั้น และเป็นพระองค์ที่ ๘ แต่กาลนี้

ยุคขุนแผน พุทธันดรที่ ๓ กาลพระกัสสปสัมมาสัมพุทธ เต็มพันล้านปีที่ ๓ คร่อม เข้าไปพันล้านปีที่ ๔ แผ่นดินสูงขึ้น ๑ โยชน์ คือ ๑๖ ก.ม. ตรงกับสมัย "แผน" ที่จะขุดลึกลงไปได้ถึง ๑๖ ก.ม. นั้นคงจะยาวมาก จึงสุดกําลังที่จะเจาะพิสูจน์กาลนั้น ๆ ได้

ยุคแผนนี้ มีชื่อต่อลงมาได้ถึงคนปัจจุบัน และไทยรู้จักชื่อและคําไทยดีด้วย ตามชื่อที่อ้างมาคนไทยรู้จักกันอยู่ คือ แผน แถน สรวง ซึ่งอ้างตามเรื่องว่ามีมาเมื่อต้นกัปย่อมไม่เป็นที่เชื่อถือ ยิ่งถ้าพูดตามอายุกาล ๔ พุทธันดร ๕ พัน ๕ ร้อยล้านปีแล้วจะยิ่งไปกันใหญ่

โลกวิทยา ว่าโลกนี้กําลังลุกเป็นไฟอยู่แล้ว เพิ่งมาเริ่มเย็น เมื่อ ๑,๗๕๐ ล้านปีนี่เอง ใช้เวลาเย็นอยู่ ๕๐๐ ล้านปีจึงสงบ ทั้งเริ่มมีสิ่งมีชีวิตและเป็นโลก และมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เมื่อ ๑,๒๕๐ ล้านปีนี่เอง ว่าตามโลกวิทยาคือ เอกสารหินของ "กรมทรัพยากรธรณี"

แต่ในฐานะที่เป็นคนและพุทธศาสนา จึงมีหน้าที่เต็มที่จะเชื่อคนไทยและเชื่อพระรัตนตรัย คือมี "ตถาคตโพธิสัทธา" อยู่แล้ว ซึ่งมีหน้าที่พูดอย่างสมบูรณ์ ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่ผิดถูกอะไร ผู้เขียนไม่มีหน้าที่ไปว่าใครด้วยฉะนี้ จึงเล่าเรื่องที่คนไทยได้เชื่อถือมา จึงสร้างรูปยืนยันกันมา แม้ในเรื่อง "ยุค" หรือ "พุทธันดร ทั้ง ๓" ก็เชื่อถือกันมาอย่างน้อยก็ ๒ พันกว่า ปีมาแล้ว..."

◄ll กลับสู่ด้านบน

( โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป )



kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 21/11/08 at 20:02 Reply With Quote



Update 16 พ.ย. 51

บทที่ ๒๙

เรื่องราวจากบทที่แล้ว ได้ดำเนินเรื่องมาถึง พุทธันดรที่ ๓ ซึ่งตรงกับ "ยุคไทย" สมัย ขุนแผนเมืองฟ้า-ดวงขวัญใจ ซึ่งมีคำอธิบายต่อไปว่า...

คนแผน

คําชื่อ "แผน" นี้ ในความรู้จักของไทยว่า แผนพูม หรือพูมแผน อันหมายถึงว่า เจริญ สวย และ รู้ ฉลาด คล่อง ฉะนี้ "คนแผน" จึงตรงกับชื่อใหม่ ๆ นี้ว่า "วัฒนชน อารยชน" จริงอยู่ "คนแผน" เท่าที่กล่าวมาเป็นชื่อ คน "ยุคชาดก" ซึ่งเหลือที่จะพบหลักฐานแม้ชั้น "ซาก" ก็คงจะหาไม่ได้ ถึงกระนั้นชื่อคําไทยก็มี อยู่แล้วใน "ยุคชาดก" หรือ "ยุคผี" นั้นได้กล่าว จาก "สุดหลัง" หรือ "ต้นก่อน"

ในที่นี้จะกล่าวแต่กาลนี้ถอยหลังลงไป ซึ่งหมายความว่า เอาเรื่องหรือหลักฐานที่พบ และรู้ใหม่ ๆ นี้ ที่เชื่อถือกันว่าเป็น "วิทยาการ" เป็นหลักฐานจากนี้ย้อนไปถึงสมัยนั้น

อย่างได้กล่าวมาแล้วว่า "คนแผน" คือ "คนเจริญ" ในเวลานี้ "วิทยาการ" เขาว่าเพิ่งมี คนมาเมื่อ ๔๕ ล้านปี แต่ยังเป็นแบบ "ลิง" คือ มีแต่เสียง ไม่มีภาษาหรือคําหมายรู้ และไม่รู้จักนุ่งผ้า ทั้งมีขนและไม่มีลูกสะบ้าเข่า และบอกว่า มีเกิดหรือพบที่ เอธิโอเปีย เขาว่ามีกะโหลกหนา แสดงว่ามีมันสมองน้อย คือไม่มีปัญญา พอจะตั้งคําพูดใช้ได้


ที่ว่าเป็น "ลิง" ก็เพียงเห็นฟันมีลักษณะแหลม ซึ่งอาจเป็นฟันคน คือเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ เมื่อสมัยที่ยังกินของดิบอยู่ ธรรมชาติอาจสร้างให้แหลมคมเพื่อขบกระดูก และกัด หั่น เช่น เด็กหนุ่มยังใช้ฟันกัด หรือตัดลวดได้ จะอย่างไรก็ดี ถึงจะเป็น "คนลิง" ก็ยังมีนามว่า "คน" อยู่


ถึงกระนั้น ก็เพียง "ฝรั่ง" ชั้นคนธรรมดานี่ แหละ พูดขึ้นตามที่คิดเอาเอง ทําไม "คนไทย" ที่มีสติปัญญาศึกษาจบชั้นไหน ๆ มาแล้ว จะไม่ลองพิจารณาดูบ้างว่า ที่กล่าวไว้นั้นจะเป็นการโกหกกันเล่นสนุก หรือเพื่อขายเอากําไร อย่างที่เขาบรรยายโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์

ส่วนของเรา โดยเฉพาะ "ตํานานพระพุทธศาสนา" และเรื่องของไทยจึงมีสติปัญญาตลอด และดีเด่น วิจารณ์ไทยว่า โกหกและป่าเถื่อน เช่น รอยพระพุทธบาท, ตํานานผีไทย ซึ่งเป็นของมีอยู่แล้วกับคนไทย ถิ่นแดนไทย และประจํามากับคนไทย ทําไมจึงไม่เชื่อกันได้ ผู้เขียนจะเชื่อและพูดว่าเป็นจริงบ้าง ทั้งพิจารณาว่าเป็นของจริง เป็นอารยธรรม หรือ "ต้นอ้าย" หรือ "เอื้อยไทย" บ้าง จะมีโทษผิดที่ตรงไหน ทั้งอาจมีคนเดียวเท่านั้น ฉะนี้ จึงเล่า เรื่องยุคเก่ากันมา


(ในตอนนี้ท่านได้อ้างเรื่องการถือกำเนิดของโลกตาม ตำราชีววิทยา ที่มนุษย์ได้สำรวจ แล้วบันทึกไว้ แต่เนื่องจากมีเนื้อที่จำกัด ผู้รวบ รวมจึงขอลงแต่รูปไว้เท่านั้น)



แมน = ไทย

เมืองแมน คนไทยแมน กับ เมืองแผน คนแผน ก็คืออันเดียวกันเปลี่ยนเพียงชื่อเท่านั้น เท่าที่เปลี่ยนนี้ดี เพราะทําให้กําหนดกาลเวลาได้ และชื่อยังคงอยู่ในคําไทย จึงเป็นหลักฐาน ว่ามีอยู่แล้ว กับมีชื่อคําไทยอยู่มาถึงปัจจุบัน และมีไปตลอดที่คนไทยไปมีอยู่

ในระยะกาลสมัย "เมืองแผน" คือ หมื่นปีมาถึง ๘ พันปีก่อนนั้น นับว่าไกลจากกาลนี้อยู่ อาจเลือนลางมาจาก "ยุคมิคสัญญี" เปลี่ยน พุทธันดรที่ ๓ เริ่มพุทธันดรที่ ๔ และเหมือนกันตลอดโลก ถ้าขืนพูดว่าเจริญมาก่อนหมื่นปี จะคัดค้านกับคํา "ฝรั่ง" ทั้งจะไม่เป็นที่น่าเชื่อ
ถือตลอดไป

ในที่นี้ก็ขอกล่าวว่า เมืองไทยนี้เจริญมา ก่อนหมื่นปี เข้าระยะกาลคิดทำประดิษฐ์ต่าง ๆ เมื่อก่อนหมื่นปีมาแล้ว ตอนนั้นยังคิดหนังสือไม่ได้ จึงไม่มีการบันทึกหรือเขียนกันไว้ เมื่อเข้าบันทึกหรือจารึกนั้น ก็เมื่อ ๘ พันปีมาแล้ว จึงเรียงตามบันทึก แต่ใช้สํานวนปัจจุบัน ทั้งคําชื่อ "เมืองแมน" นี้ บัดนี้ไทยรู้จักกันว่า "สวรรค์ชั้นฟ้า"


ขุนอินเขาเขียว กับ ขุนหญิงกวักทองมา เมื่อเกิดมาแล้วและได้กัน รักกันอยู่ร่วมกัน มีลูกชายหญิงถึง ๒๐ คน ได้ใช้ชื่อลูกตั้งเป็นชื่อ ปี, เดือน, วัน กับได้ตั้งชื่อ เมืองแมน และได้สร้างให้ "ไทย" มีสิ่งของไทยอีกมาก ซึ่งก็รวมเป็นคู่กับ "ขุนหญิงกวักทองมา" ตลอดกาลมา จึงขึ้นเป็นที่เคารพคู่กัน เมื่อสร้างเป็นรูปเคารพ ก็สร้างคู่กัน


ครั้นขึ้นเป็นที่ พระอิน หรือว่าตายไป เกิดเป็นตัวผี... "พระอินสรวงสวรรค์" แล้ว ได้เห็นเป็นรูปเดียวมาก ทั้งได้ไปพ้องกับ พระอินทรสักกเทวานมินท์ และ พระอิศวร อีกด้วย และจึงไม่ปรากฏในระบบชื่อไทย หรือเป็นคนไทย "พระอินคนไทย" หรือ "ขุนอินไทย" ที่ได้ขึ้นถึงฐานันดรศักดิ์เป็น พระอินทรเทวราช แล้ว ได้มีชื่อว่า พระอินทราธิราช หรือ พระสยามเทวาธิราช หรือ พระไทยเทวาธิราช ต่างก็มีชื่อเป็นชมพูทวีป (อินเดีย) ไปแล้ว

ที่เป็นไทยมีชื่อในจารึกสุโขทัยว่า "พระทรงเมือง" มีคําระลึกถึงถือเป็นมนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์ประจํามา ได้ฟังผู้ใหญ่สอนจําได้เป็นบางคํา ได้เรียงขึ้นใหม่ตามเค้า "มนต์นางกวัก" ว่า

"โอม...โอ...พ่อขุนพระอินเขาเขียว ทรงเรี่ยวแรงแผลงโผนแผ้ว พร้อมเพร้วพันตาแจ่มกระจ่าง ข่ามขลังฉมวกแก้วห้ายอด กําจัดตลอดรอดร้ายระรานบารมี มีพระยอดมิ่งขวัญ คู่พระศรีศักดิ์ พระนางกวักทองมา

ขอทรงประทานล่ำทําไร่สวนนาข้าวกล้า ค้าขายดีมีลาภผล...ทุกหนแห่ง ถิ่นที่ขอให้เจริญศรีมีลาภผล ดลดาลโฉลกโชคชน...พลเดชฤทธิ์สิทธิศักดิ์อัครยศ รสระรื่นชื่นใจชาย หญิงทุกถ้วนหน้า สาระพัดผลรับทรัพย์สิน ขอ พระอิน ช่วยลูกปลูกปั้นสรรเจริญ ขอเชิญคุ้มครองป้องกันสรรพภัย ทุกสถานกาล เวลาทุกทิศานุทิศ เป็นกรรมสิทธิ์แก่ลูกทุกเมื่อ...เทอญ"

ในความรู้จักของชาวพื้นเมืองไทย มี "คํามนต์" หรือ "คําขอ" เป็นประจําว่า "จ้าวพระคู๊ณ... ขุนพระอินช่วยลูกด้วย..!" พระพุทธรูปหรือพระสงฆ์มักบอกว่า "หลวงพ่อ...ช่วยลูกด้วย!"

ส่วน นางกวัก หรือ กวักทองมา นั้น มีรูปเคารพมากอยู่แล้ว และรูปนั้นมักทําเป็นมือขวากวัก มือซ้ายถือถุงเงินทอง ถือเป็น "จ้าวแม่ทรัพย์สินเงินทอง" จึงนิยมสร้างกันมาก นอกจากนี้ยังยกเป็น "จ้าวแม่ค้าขาย" กระทั่งมีมนต์นางกวักว่า

"โอม...ปู่เจ้าเขาเขียว มีลูกคนเดียวซื่อ "นางกวัก" หญิงเห็น หญิงรัก ชายเห็น ชายทัก ทุกถ้วนหน้า โอมมะพลับพลา...จะไปค้าเมืองแมน ให้ได้แสนคะนานทอง นึกเงินให้ได้เงินมากอง นึกทองให้ได้ทองมาเป็นหาบ วันนี้ให้มีลาภ สามเดือนกลับมาเรือนให้ได้เป็นเศรษฐี สามปีให้ได้ค้าตะเภาทอง โอม...ปู่จ้าวเขาเขียว ยกให้แก่ลูกคนเดียวเป็นกรรมสิทธิ์..." ฉะนี้


"จ้าวแม่นางกวัก" จึงเป็น "ต้น" และ "จ้าว" ผู้ประสิทธิ์ประสาทอาชีพ ทรัพย์สินค้าขาย ขึ้นเป็น "จ้าวแม่ผี" ผู้ศักดิ์สิทธิ์ จึงสร้างรูปเคารพ เป็นเครื่องเคารพนับถือบูชา สักการะระลึกถึงตลอดมากระทั่งบัดนี้ "นางกวัก" จึงขึ้นชื่อลือเรื่องอยู่ในหมู่คนทั่วไป

สำหรับ ขุนพระอิน และ นางกวักทองมา ซึ่งเป็นผู้ทำความเจริญไว้แก่ไทย ไทยทั่วไปจึงยกขึ้นเป็นที่ระลึกถึง บวงสรวง กราบไหว้ ขอให้ช่วย ทั้งไทยได้กระทำกันมาตลอดนั้น กระทั่งถึงกาลบัดนี้ ในหมู่ชาวชนบทหรือชาวบ้าน ทั่วไปยังกระทำกันอยู่ แต่ "ผู้รู้" หรือ "นักรู้ อดิศักดิชน" ได้เปลี่ยนไปเป็นไหว้อื่น ๆ หมด

ในภาคใต้ คนไทยที่เป็นนักเพลง "โนรา" และ "หนัง" ยังมีเพลงไหว้ครูระบุถึง "ขุนอิน" "นางกวัก" ซึ่งถือกันว่าเป็น "ต้นไทย" และเป็น "ต้นบา" "ต้นขอม" "ต้นครูบาไทย" (ได้ขอร้อง พระเดช ฌานปิโย วัดนี้ ช่วยหาให้ ได้จดมา ๔ หน้ากระดาษดูก็ถูกเปลี่ยนไปแล้ว) เช่น "ขุนอิน" มีเพียงว่า "ไหว้ท้าวอินโทในชั้นโสฬส"

มีเล่าว่า เดิมว่า "ไหว้ขุนพระอินนางกวัก ในชั้นโสฬส" กับ "ขุนแรกต้น" และ "แม่โสพบ" ก็เปลี่ยนว่า "ไหว้พระปริถวีราชา (จ้าวที่ทุ่งนา) ภุมมาหาลาภหาไชย ไหว้นางโพกภาวดี (โพสบ) นบไหว้นางธรณีคงคาเป็นแม่ใหญ่..." "แม่ซื้อ" เป็น "แม่ธรณี" "แม่ย่านาง" เป็น "แม่คงคา" ถึงอย่างนี้ก็ได้เห็นเป็นหลักฐาน จึงสุดซึ้งใจมากขอขอบคุณด้วย

ณ ภาคกลางในของหลวง เช่น แม่โพสบ เป็นแม่หญิงไทยรู้จักทำข้าว ไทยจึงยกขึ้นเป็น "จ้าวแม่ข้าว" ได้บำบวงบูชากันมา ก็ยกไปให้อินเดียแล้ว และเช่น "เพลงขุนอิน" และ "ขุนหญิงนางกวัก"ได้เข้าไปเป็นเพลงโขน เล่นเรื่อง "รามเกียรติ์" ก็ต้องเปลี่ยนไหว้ "ครูไทย" ไปไหว้ "นารายณ์ อิศวร พรหม" อันเป็นของชมพูทวีป (แขกแท้ ไม่มีชื่อว่า "พระ")

แม้ใน "พระนิพนธ์" (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์) จะย่อพอได้ความว่า "ไหว้ครู" นั้นเองควรจะเป็นว่า ศิษย์ไหว้ครู ผู้สอนวิชาให้แก่ตนแต่มีเครื่อง...ตั้งในการไหว้ครูให้เคารพด้วย จึงพาให้เข้าใจไปว่าไหว้ผี...เหล่านั้นเป็นผีอะไรก็ไม่ทราบ ทำให้พวกครูเดือดร้อน เห็นว่าเลวเกินไป จึงคิดหาเทวดาเข้ามาปรับให้เป็น "ผีฟ้า" จะได้มีศักดิ์โดยสมควร

พวกโขนเล่นเรื่อง "รามเกียรติ์" อยู่แล้ว จึงเลิกไหว้ "ครูบาไทย" ได้พร้อมกันไหว้ ถวายบังคม "นารายณ์ อิศวร พรหม" อันเป็นเทวดาแขกนั้น "บาไทย ขอมไทย ครูบาไทย" ผู้สร้างระบบรำ ระบบเสียงร้อง ระบบเสียงเครื่องทำเพลง ก็ต้องหลบเข้าฉากไปหมด แม้การรำเพลงไหว้แบบไทย ตั้งบายศรีต้น ใช้มือรำไหว้ บังคม ก้มไหว้ ฯลฯ เวลานี้ เปลี่ยนไปตามแบบอินเดีย คือถาดใส่เครื่องเซ่นบูชา เอาธูปปัก ใช้มือช้อนขึ้นชูรำยื่นถวายพระเป็นจ้าวแล้ว เพราะไทยดูถูกกันเองอย่างนี้ ของไทยก็ค่อยสูญไป ของแขกเข้ามาแทนที่ "ไทยนักรู้" "ไทยผู้รู้" ทั้งหลาย จึงยกไปให้แขกหมดแล้ว ทั้ง ๆ ที่แขกไม่มีเลย ก็ได้ไปแล้ว ดูเขาจะไม่ยอมรับ



"ต้นเรื่องไทย" และ "ชื่อต้นไทย"

กระเบื้องจารเล่าเรื่องว่า ขุนแผนเมืองฟ้า และ นางดวงขวัญใจ มาเขาทะเล สร้าง เมืองแผน อยู่ด้วยกันมา มีลูกชายคนแรกชื่อ "อิน" และมีลูกสาวชื่อ "ฟ้า" หรือ "ฟ้าอยู่เรือน" ครั้นขุนแผนเมืองฟ้าตาย ขุนอินได้ครองต่อ อยู่มาแม่ดวงขวัญใจตายอีก จึงครองต่อมา ยังไม่มีเมีย น้องสาว "ฟ้าอยู่เรือน" เล่าว่า

"สาวกวักทองมา" ลูกขุนเขาเขียว-แม่ขวัญทองมา เมืองอินนั้นสวยงามนัก ขุนอินได้ยินจึงใคร่ไปดู และได้ปลอมตัวเองเป็น "ขอม" เที่ยวไปถึงเมืองอินถิ่นเขาเขียว ขึ้นต้นไม้นั่งที่คบคอยดู ตอนบ่าย "กวักทองมา" (คงมีเพื่อนด้วย) ออกจากถ้ำมาอาบน้ำในบึงสะพังห้วย "ขุนอิน" เห็นแล้ว "สาวกวักทองมา" มีรูปร่างสวยงามอย่างเล่าลือกัน มีความพอใจลงจากต้นไม้ ดําน้ำไปโผล่ที่ใกล้

คราวแรกนางกลัวจะขึ้นหนี ขุนอินจับขา นางลงไปอาบน้ำด้วยกัน จับปูนาชูให้ คุยกัน ว่ายน้ำไปเก็บใบบัวดึงสายขึ้นมา เอาสายคล้องคอให้ใบห่มตัว และเอาสายพันเอวให้ใบไว้หน้าและหลัง พอมืดขึ้น นางกวักพาขุนอินหลบตาพ่อแม่เข้าไปในถ้ำห้องของตัว นอนด้วยกันตลอดคืน

รุ่งเช้าขุนเขาเขียวและแม่ขวัญทองมา มาแยกลูกสาวออก จับขุนอินขังไว้ในถ้ำนั้น ๑๕ วัน เมื่อ "อ้าย" (พ่อ) "เอม" (แม่) เผลอ นางเอาสายบัว กล้วย ผลไม้ไปให้ขุนอินกลางคืน เมื่อพ่อแม่หลับนางแอบไปหาและนอนกับขุนอิน บางทีพ่อแม่ก็ไม่ว่าอะไร นางจึงไปขอสัญญาปากคําว่ารักแท้ จะขอไปอยู่เมืองแผนด้วย

เมื่อขุนอินรับแล้ว พอได้โอกาสคืนวัน ๑๕ นางแก้ขุนอินปล่อยหลบพ่อแม่ออกมา เดินกลางคืนไปสู่เมืองแผน ยังไม่เข้าบ้านเมือง รุ่งเช้าอาบน้ำเล่นน้ำ เก็บฝักบัว กะจับ กินกัน หยอกล้อกัน สนุกสนานด้วยกัน ร้องรําสรวลเสกัน ไม่ได้ห่วงอะไร

กระทั่งขุนเขาเขียว ขวัญทองมา และคน อื่น ๆ ยกพวกกันมาตามทันเข้า ขุนเขาเขียวถือท่อนไม้ใหญ่มา ขุนอินจึงคว้าท่อนไม้แห้งแข็งอันหนึ่ง ได้ร้องประกาศชื่อแล้วกระโดดเข้าไปที่ขุนเขาเขียว ขุนเขาเขียวยกท่อนไม้รับ ด้วยกําลังแรงจึงเซล้มลง ขุนอินเงื้อท่อนไม้จะฟาดลง นางกวักร้องว่า
"อย่าทำอ้าย...(พ่อ) เอม...(แม่)"

ขุนอินหยุด ขุนเขาเขียวลุกขึ้นได้ยกพลอง จะตีขุนอิน นางกวักร้องว่า "อย่าเหี้ยมผัว"
"เอม" (แม่ขวัญทองมา) ถามว่า "ผัวเจ้า?" นางบอกรับต่อหน้าพ่อและแม่ว่า นางได้เสียกับขุนอินมากครั้งแล้ว ขุนเขาเขียวจึงตกลงยอมรับขุนอินเป็นลูกเขยด้วย "พิธีการ" คือเอาชื่อตัวต่อเข้ากับขุนอินว่า ขุนอินเขาเขียว

จากนั้นมา "ขุนอิน" จึงมีชื่อเต็มว่า "ขุนอินเขาเขียว" ทั้งหมดได้พากันเข้าเมืองแผน จัดแจงเลี้ยงดูกัน เป็นการแต่งงานในคราวนั้น แล้ว "ขุนเขาเขียว" และ "ขวัญทองมา" กับพวกต่างพากันกลับไปยัง "เมืองอิน" เดิม ขุนอินเขาเขียวอยู่เป็นคู่ครองกับนางกวักทองมา ครั้งแรกได้นับปีที่ได้กวักทองมานั้นเป็น "ปีอิน ๑" เป็นการเริ่มปีไทย หรือศักราชไทย และเปลี่ยนชื่อเมืองแผนว่า "เมืองแมน" ซึ่งเป็นการเริ่มสมัยเมืองแมน

ส่วนน้องสาว "ฟ้าอยู่เรือน" นั้น ไม่ได้กล่าวว่า มีผัวชื่ออะไร ต่อไปมีลูก จึงแน่ว่าคงได้แต่งงานกับคนอื่น ซึ่งยืนยันว่าไม่ใช่มีอยู่เพียงพวกเดียว คนอื่นหรือหมู่อื่นก็มีอยู่แล้ว ขุนอินเขาเขียวอยู่ร่วมกับนางกวักทองมา หรือขุนหญิงกวักทองมา ตอนนั้นอาจไม่ต้องทําอะไรอื่นเพราะคนมีน้อย ข้าวทั้งข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ขึ้นเอง เผือก มัน ลูกไม้ วัว ควาย ช้าง ม้า เป็ด ไก่ ปู ปลา มีตามธรรมชาติมากมาย ต้องการเมื่อไรก็ออกไปเก็บ จับเอา ซึ่งไม่ต้องทําเลี้ยง รักษา ก็มีเวลาว่างมาก

จึงคิดว่า "เมืองแผน" คับแคบ จึงย้ายไปหาที่อยู่ ใช้ช้างล้มต้นตะเคียนนํามาตั้งเรียงกัน เข้าสิบต้น สองแถว เอาไม้ไผ่เรียงลํา เอาใบโตนดมุงหลังคา นางกวักทองมาเอาหญ้ารองพื้น ใช้นุ่นแแทรก ก็เป็นพื้นนอนอ่อนนุ่ม เป็นถิ่นสุขสําราญสําเริงรสรัก จึงเป็น "เมืองแมน แดนสวรรค์"

ขุนอินได้เพิ่มชื่อเรียกใหม่ว่า ขุนหญิงกวักทองมา ปีอินได้ ๒ นางมีครรภ์ คลอดลูกชายคนแรกให้ชื่อลูกว่า "อู่ทอง" พ่อขุนเขาเขียวและแม่ขวัญทองมา มาขอเอาไปเป็น "ละอ่อน" คือ "ลูกเล็ก" คราวแรก "ขุนอินเขาเขียว" ไม่ยอมให้ นางเล่าว่า

"ขุนและข้อยยังอยู่ มื้อค่ำเมื่ออยู่เดียว มิมีละอ่อน เอาผัว รู้เอา นี่พาข้อยรู้สอดเสิงสรวง ออยรอยเริงใจ เลื้อเทื้อมิมีอิ่ม มีละอ่อน เมียผัวรวมใจก่อลูก เอาหลายมะ (คงมีอีกมาก) ขอ "ขุนอิน" ให้ยกลูก "อู่ทอง" ให้ "อ้าย-เอม" พ่อแม่ขุนอินยอมจึงมอบให้ไป นางชวนขุนอินว่า เมียผัวเสิงสะออนใจ มีลูกชาย ๑๓ คน และมีลูกหญิง ๗ คน

จดเล่าเพียงว่า จาก "ขุนอู่ทอง" อีกปี "เดือนอ้าย-ปีชวด" มีลูกชายตั้งชื่อว่า อ้ายชวดขุนชาย
อีกปีมี "เดือนยี่-ปีฉลู" ตั้งชื่อว่า ยี่ฉลู ขุนชาย
อีกปี "เดือนสาม-ปีขาน" มีลูกชายตั้งชื่อว่า สามขานขุนชาย
อีกปี "เดือนสี่-ปีเถาะ" มีลูกชายตั้งชื่อว่า สี่ฐอขุนชาย
อีกปี "เดือนห้า-ปีมะโรง" มีลูกชายตั้งชื่อว่า ห้ามะโรงขุนชาย
อีกปี "เดือนหก-ปีมะเส็ง" มีลูกชายตั้งชื่อว่า หกมะเส็งขุนชาย
อีกปี "เดือนเจ็ด-ปีมะเมีย" มีลูกชายตั้งชื่อว่า เจ็ดมะเมียขุนชาย
อีกปี "เดือนแปด-ปีมะแม" มีลูกชายตั้งชื่อว่า แปดมะแมขุนชาย
อีกปี "เดือนเก้า-ปีวอก" มีลูกชายตั้งชื่อว่า เก้าวอกขุนชาย
อีกปี "เดือนสิบ-ปีระกา" มีลูกชายตั้งชื่อว่า สิบระกาขุนชาย
อีกปี "เดือนสิบเอ็ด-ปีจอ" มีลูกชายตั้งชื่อว่า เอ็ดจอมขุนชาย
อีกปี "เดือนสิบสอง-ปีกุน" มีลูกชายตั้งชื่อว่า สิบสองกุนขุนชาย

อีกปีมีลูกสาว "วันอา" ตั้งชื่อว่า อาขุนนางสาว
อีกปี "วันอัน" มีลูกหญิงสาวตั้งชื่อว่า อันขุนนางสาว
อีกปี "วันอาง" มีลูกหญิงสาวตั้งชื่อว่า อางขุนนางสาว
อีกปี "วันอุ่น" มีลูกหญิงสาวตั้งชื่อว่า อุ่นขุนนางสาว
อีกปี "วันเอื่อย" มีลูกหญิงสาวตั้งชื่อว่า เอื่อยขุนนางสาว
อีกปี "วันอู่" มีลูกหญิงสาวตั้งชื่อว่า อู่ขุนนางสาว
อีกปี "วันอี่" มีลูกหญิงสาวตั้งชื่อว่า อี่ขุนนางสาว



เมื่อรู้ทําเจริญ

ต่อมา "ชื่อ" ที่คงอยู่ ขุนอิน ได้นําชื่อ ลูก ๆ ตั้งชื่อ "ปี เดือน วัน" คือ...
ปีชวด ปีฉลู ปีขาน ปีเถาะ ปีมะโรง ปีมะเส็ง ปีมะเมีย ปีมะแม ปีวอก ปีระกา ปีจอ ปีกุน
เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ เดือนห้า เดือนหก เดือนเจ็ด เดือนแปด เดือน เก้า เดือนสิบ เดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง
วันอา (อ่า-อาทิตย์) วันอัน (อั๋น-จันทร์) วันอาง (สะอาง-อังคาร) วันอุ่น (พุธ) วันเอือย (พฤหัสบดี) วันอู่ (ศุกร์) วันอี่ (เสาร์)

ชื่อ "ปี" และ "เดือน" ยังคงอยู่ในไทย ส่วนชื่อ "วัน" นั้น เมื่อสันสกฤตเข้ามา จึง เปลี่ยนเป็นชื่อภาษาสันสกฤต ชื่อไทยเดิมจึงหายไป

ขุนอิน และ นางกวัก ก่อไฟสุมไว้ในที่มี "แร่ขี้นก" มาก ๆ เห็นเหลวละลายได้ จึงนํามาเผารวมกัน ได้ความคิดรู้จักหล่อเป็นมีด ขวาน เสียม จอบ ใช้หินลับด้านบางขึ้นคม ใช้ฟัน ปาด เจาะ ริด หั่น เฉือน เจียนได้ หล่อให้เป็นซี่ เป็นฟัน ทําเลื่อย...เลื่อยไม้ได้ หล่อเป็นห่วง เอาเข้าร้อยกันเป็นโซ่ใช้ผูกล่ามได้ ทําให้แหลมเป็นหอก แทง เจาะ ปักได้

นางกวัก สุมไฟไว้ได้เก็บก้อนสีเหลืองใส่กองไฟ เห็นละลายเรียกชื่อว่า "ทอง" ก้อนขาว สีขาวเรียก "เงิน" ที่อ่อนเรียก "ตะกั่ว" และกับ "อา" ลูกสาวเอาทองคํา เงิน หล่อละลายทําเป็นเส้น ทําปล้องเป็นสร้อย ทําแผ่นเป็นจําบัง เป็นกําไลทอง กําไลเงิน นางกวัก นําลูกนุ่นฉีก เอาปุยทําแผ่น

"เอือย" ลูกสาวบอก ดอกฝ้ายสําลีเหนียวกว่า เอาม้วนฟั่นแล้วสานเป็นผืนผ้า
"อี่" คิดปั่นฝ้ายและกรอด้าย ทําฟืม ทอผ้า และจับไหมสาวเอาใย ควบทอเป็นแพรไหมใช้กันมา
"อาขุนสาว" เอาดินเหนียวปั้นเป็นก้อน ใส่กองไฟ เห็นแข็ง จึงเอาดินดานประสมทราย ละเอียดปั้นหม้อ กระทะ กา เอาเข้าเผาไฟสุก แล้วใช้หุงต้มขังน้ำได้ และได้ช่วยกันทําสิ่ง อื่น ๆ เช่น โอ่ง ไห กระถาง ฯลฯ

◄ll กลับสู่ด้านบน




ขุนอู่ทอง (ผู้สร้างเมืองพงตึก)

นายอู่ทอง หรือ ขุนอู่ทอง ไปเป็นลูกของ ขุนเขาเขียว และ นางขวัญทองมา ใหญ่ขึ้นรู้จักเอาดินประสมแกลบ ปั้นแผ่นสี่เหลี่ยม หนา บาง แล้วเผาไฟแข็งแล้วก่อเป็นตึก ใช้ดินดานเป็นเครื่องประสานซ้อนขึ้นรูปเป็นห้อง เรียกชื่อว่า "ตึก" ชวนตายายออกจากถ้ำมา อยู่ใกล้น้ำ ตายายได้ขอ "นางเทียนก้อนทอง" ให้มาอยู่ด้วย จึงตั้งชื่อที่นั้นว่า พงตึก (ตั้งชื่อ ตรงนั้นว่า "นองทอง" "โกสินราย") เป็นต้นชื่อ "อู่ทอง" และ "ตึก" (กาญจนบุรี เรียกกันว่า "อู่ทอง" ก็มี)




ขุนอินสิบสองพัน (ผู้คิดใช้ช้าง)

ขุนชวด หรือ (ที่เหนือเมืองราชบุรี มีภูเขาในเทือกพืด "เขาหลวงเหนือ" ชื่อ อ้ายช่วย หรือ อ้ายชวด อาจมาอยู่ที่ตรงนี้ก่อนจึงมีชื่อติดมา ข้าง ๆ นั้นมีภูเขาชื่อ อ้ายจอ อีกด้วย) อ้ายชวดขุนชาย เมื่อใหญ่ชอบขึ้นต้นฌอ ซึ่งช้างชอบมาชุมโขลงอยู่ ขุนชวดคิดว่าพอจะจับได้ จึงกระโจนลงกอดคอ ช้างหัวฝูงวิ่งไปได้หน่อยเดียวก็หยุด ขุนลูบคลํามันเล่นจนช้างเชื่อง มันพามาเข้าฝูงได้เอาช้างเป็นเพื่อน ช้างพาบุกป่าฝ่าดงไปถึง "เมืองเนืองทอง"

(ได้พบแผ่นหินรอยเฉาะมีเค้าลายสือไทย อ่านได้ว่า "เมืองเนืองทอง" ที่วัดใหญ่ชัยมงคล จึงรู้ว่าเมืองเนืองทองคือ "กรุงเก่า อยุธยา")

เมื่อได้พบ งามดอกไม้ และ อู่ทองงาม พูดจารักกันแล้ว มาบอกนางกวักทองมา พาแม่ขึ้นช้างไปขอและแต่งงานกันแล้ว พาแม่กลับมา "เมืองแมน" จึงกลับไปครอง "เมืองเนืองทอง" อยู่ด้วยกัน แต่แม่เป็นคนปากร้าย ดุด่ากระทั่งจนทนไม่ไหว ขุนชวดคว้ามีดจะฆ่าแต่เมียห้ามไว้ เมื่อดุด่าให้ขึ้งแค้นอีกจึงหนีออกจากบ้านเมือง ช้างพาเข้าป่าเขา พบบ้านเมืองก็เข้าไปอยู่ด้วย แล้วก็ไปต่อไปถึง "สิบสองพันแห่ง" (จะใช่ "สิบสองพันนา" หรือไม่...ไม่แจ้งชัด อาจใช่ ก็ได้) และได้ครองอยู่ที่นั้นถึง ๔๐ ปี

"อิน" คิดถึงพ่อแม่พี่น้องและเมีย กู่หาเรียกช้างเพื่อนร่วมทางมาบอกให้ทราบ ช้างโขลงนั้นพามาถึงเมืองแมน พ่อขุนอินเขาเขียวและกวักทองมาได้ต้อนรับ มีงานฉลองรับ และตั้งชื่อตามที่ชื่อ ขุนอินสิบสองพัน

เมื่ออยู่ตามสมควรแล้ว ขี่ช้างไปเมืองเนืองทอง รู้ว่า นางอู่ทองงาม มีผัวใหม่ขึ้งแค้นจะฆ่า นางงามดอกไม้ เข้ามาห้าม แล้วรับคําจะไปอยู่ด้วย ยอมไปตายด้วยกัน จึงพาไปเป็นต้น "ห้องทอง" มีข้านาง ๑ แสน ขุนอินสิบสองพัน ตั้ง "งามดอกไม้" เป็น "ขุนหญิง"

ขุนหญิงงาม จึงทําผ้า ทอผ้า ทําไหมแพร (คล้าย อึ่งตี่ฮ่องเต้ และ ง่วนฮองเฮา ซึ่ง "อึ่ง" ก็คือ "ขุนเหลือง" หรือ "อ้ายเหลือง" ซึ่งเป็นคนต้นเจริญของ "ตงกก" ประเทศจีน ขุนอินสิบสองพันรู้จักใช้ช้างเป็นต้นตระกูลพลาย และชื่อ "งาม" กับ "ง่วน" ก็ใกล้เคียงกัน)




ยี่ฉลูขุนชาย (ผู้คิดทำเรือ)

ยี่ฉลูขุนชาย กับ อู่ขุนนางสาว เมื่อเยาว์และรุ่นชอบเล่นทําเรือ ใช้ไม้ระกําซึ่งอ่อนเจาะ ง่าย ใช้หนามไผ่จิ้มต่อกันหลาย ๆ ต้น เอาเถาวัลย์มัด เอาดินประสมรังผึ้งอุด เอาลงลอยน้ำได้ เมื่อใหญ่เข้าหนุ่มสาว จึงใช้ต้นไม้แห้ง เอาเลื่อย...เลื่อย ใช้ขวานถาก ใช้เหล็กแหลมคิดเป็นสว่านเจาะ ใช้ลูกปะสักประสานเข้ากับโกรนขึ้นเป็นเรือ

เที่ยวเก็บรังผึ้งผสมดิน หาครั่งและยางไม้ ยางประสมกัน ลนไฟให้อ่อน อุด ยา ตลอดแล้ว ไม่รั่วจึงตั้งเสา เอาไม้ไผ่ทําประทุน เอาใบโตนดมุงเป็นร่ม ใช้ไม่ถ่อ ใช้กระดานพาย ต่อมาจึงทําเป็นพาย ทําให้ยาว แจว ลมแรง ๆ ก็ใช้ใบมะพร้าวตั้งทําใบแล่น ทวนน้ำได้ จึงชวนน้องสาว "นางอู่" ไปด้วยกัน

คราวแรกก็ไปใกล้ ๆ ต่อมาไปไกล ๆ บ้าง กระทั่ง "อู่ขุนนางสาว" เป็นสาวเต็มที่ อยู่กันในเรือนั้น เย้าหยอกกันต่าง ๆ ตามเยี่ยงพี่น้อง เพราะไม่รู้เรื่องอะไร เมื่อ "อู่" มีนมใหญ่ขึ้น จึงให้พี่ "ยี่ฉลู" ลองจับลูบคลําเล่น ต่างก็รู้สึกว่านุ่มนวลสดชื่นดี เมื่อบ่อย ๆ เข้าก็กลายเป็นเรื่องเพศและความรักขึ้น จึงได้เปลี่ยนจากพี่น้องเป็นผัวเมียกัน

ครั้งแรกรู้สึกเอร็ดอร่อยเต็มสุขใจ จึงพากันไปหาและถามพ่อแม่ว่า นี่อะไรใดเล่า...และ เล่าเรื่องทั้งวิธีรู้รสให้ฟังตลอด นางกวักทองมา และ ขุนอินเขาเขียว รู้เรื่องดีก่อนแล้วจึงกล่าวว่า มึงเข้าที่เป็นเมีย ยี่ฉลูขึ้นที่ผัวแล้ว บอกให้ไปหาที่อู่อยู่เป็นผัวเมียกัน จะได้มีลูกชายหญิงสืบต่อกันไป และสอนวิธีมีลูก เลี้ยงลูกให้นมลูกกิน ไม่ใช่เพียงให้ผัวจับคลึงเคล้าเท่านั้น

"ยี่ฉลู" จึงพา "อู่ขุนสาว" ลงเรือพายแจว ถ่อไป หาที่อู่อยู่ไปตาม "คลองลว้า" เมื่อ "อู่" คิดถึงเมืองแมน พี่น้อง พ่อแม่ ก็คร่ำครวญร้องไห้ ยี่ฉลูเข้ากอดปลอบน้องชวนคุย ชวนให้สุขสดชื่น และชวนรื่นรมย์รสรัก นางหยุดสะอื้นไห้อย่างนี้ ตลอดทางไปถึงที่ดี จอดเรือพากัน ขึ้นจากเรือ ตัดไม้จริงมาทําเสา ปลูกเรือนอยู่ และทําให้งัวควายอยู่ จึงตั้งชื่อที่นั้น โดยเอาชื่อ "อู่" น้องสาวขนานว่า อู่ทอง

ต่อมามีลูกชายชื่อ อินอู่ทอง ได้พามาหา ปู่ ย่า ตา ยาย ขุนอินให้สายเหล็ก แม่กวักทองมาให้สายสร้อยทอง เป็นของขวัญแก่หลานชายพอสมควรแล้ว "ขุนยี่ฉลู" และ "ขุนหญิงอู่" ก็กลับไป "อู่ทอง" มีลูกชายหญิงอีกคือชาย ชื่อ ฉนูทอง หญิงชื่อ สลากทอง ชายชื่อ เฉลิมทอง หญิงชื่อ สลองทอง ชายชื่อ ฉกอทอง หญิงชื่อ ฉไม้ทอง เป็นต้นตระกูล "งัว" หรือ "งั่ว"



"ชื่อ" และ "รูป" ปรากฏ ต้นรู้ชื่อกาลเวลา

"ชื่อ" นอกจากที่ปรากฏเป็นชื่อ "ปี เดือน วัน" ตามเสียงกล่าว และที่รู้จักในหมู่คนไทยแล้ว ยังมีติดอยู่ตามสถานที่เช่น ที่ตอนเหนือราชบุรี มีภูเขาชื่อว่า "อ้ายช่วย, (คืออ้ายชวด) อ้ายจอ" ที่คูบัวว่า "บ้านหมอเส็ง, บ้านนาวอก, บ้านสามขาน" ที่เพชรบุรีมี "ห้วยโรง ห้ามะโรง" "บ้านพระอนุกูล" (หรือ "แม่กุน" หรือ "มะกุน" คือ "กุน") และมี "รูป" ที่ทํากันไว้ เช่น "รูปคเณศวร" ทําเป็นเศียรช้างและขี่หนู อันอาจเป็นรูปขุนชวด (หนู) และขุนชวดนี้ เริ่มใช้ช้างเป็นกองทัพขึ้นไปยึดเมืองได้ถึง ๑๒ พัน จึงขึ้นชื่อว่า "ขุนอินสิบสองพัน"


"คเณศวร" แปลว่า "ใหญ่ในคณะ" และ มี "หนู" อันหมายถึง "ชวด" เพราะเหตุว่า อ้ายชวด รู้จักจับช้างมาใช้ได้ กับต่อมาได้ฝึก หัดกระทั่งรู้จักรบทัพได้ยุทธหัตถีนี้ มีอยู่ในแหลมทองนี้ โดยเฉพาะในตํารารบไทย "อ้าย ชวด" เมื่อขึ้นเป็น "จ้าวพ่อช้าง" จึงสร้างรูปหัวช้าง



สามขาน (ผู้ประดิษฐ์เครื่องใช้ต่าง ๆ)

สามขานขุนชาย กับ อาขุนสาว เมื่อ "ขุนอิน" สุมแร่หล่อเหล็กก็ช่วยทำ รู้ทำมีด ขวาน จอบ เสียม ดาบ หอก แหลน หลาว "อาขุนสาว" ช่วยแม่นำไฟจุดสุมขอน เอาดินปั้นโยนใส่จนแข็งแล้ว จึงปั้นเป็นกระบอกเผาไฟ สุกแล้ว แช่น้ำไม่เปื่อย จึงทําเป็นหม้อ หุงต้ม ข้าว ปลา ผัก กินง่าย จากนั้นก็คิดประดิษฐ์ เครื่องดินเผาต่าง ๆ

เมื่อเห็น "ยี่ฉลู" และ "อู่" น้องสาวได้ผัวเมียกัน จึงอยากได้บ้าง ตอนนั้นยังไม่มีใครอื่นมากนัก และพี่น้องก็สนิทสนมคุ้นเคยกัน ซึ่งความรักฉันท์พี่น้องมีอยู่แล้ว จึงแจ้งแก่พ่อแม่ พ่อแม่ก็กล่าวว่า มีความรู้พอจะทําที่อยู่ หากินได้แล้ว จึงอนุญาต "อาขุนสาว" พา "พี่สามขาน" มาอยู่ที่ใต้ลงมา สร้างเรือนอยู่ตั้งชื่อพี่เป็นเจ้าของว่า บ้านสามขาน (เวลานี้เรียกว่า บ้านขัน หรือ สามขัน)


อาขุนสาว" เมื่อให้ "สามขาน" เป็นผัว ก็ให้ร่วมรสเพื่อมีลูก จนถึงสิบปีก็ยังไม่มีลูก นางขึ้งเคียดมากจึงด่า สามขานจึงว่า
"มึงทํามิดี...มิมีลูก...พี่ขึ้งเหลือ!" จับก้อนหินเงื้อจะฟาด ซึ่งอาขุนหญิงก็ขึ้ง จึงยืนยื่นหน้าอกให้ ขุนหยุดประกาศเลิกแล้ว ทิ้งวิ่งหนีออกจากบ้านไป เมื่อสามขานออกจากบ้านไปแล้ว นางรู้สึกตัวว่าถูกทิ้งไปแล้ว กลับคิดถึงและเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้ระงมอยู่ไม่เป็นอันกินนอน กระทั่งรู้ทั่วไป คนอื่นก็ได้ปลอบ

ขุนห้ามะโรง รู้เรื่องอยู่แล้ว จึงไปถึง "บ้านสามขาน" ชวนนางไปอยู่ด้วย นางก็นอนร้องไห้ระงมอยู่ "ขุนมะโรง" จึงเข้ากกเช็ดน้ำตา และจูบปลอบน้องอย่าร้องไห้ จะให้ความสุขแทน "สามขาน" นางหยุดร้องไห้ บอกให้... ให้ทําความสุขใจให้จะไม่ร้อง

ขุนมะโรงเพื่อปลอบและเอาใจ จึงประเล้าประโลมและให้ความสุขตามที่น้องบอก นางหยุดร้องไห้และหัวเราะได้ และให้ขุนห้ามะโรงอยู่เป็นเพื่อนนอนสามวัน และบอกว่า "อาง" ดุร้าย ขออยู่บ้านสามขาน และพี่มากกจะได้ไม่ร้องไห้อีก ซึ่งขุนห้ามะโรงรับคํา ก็มาร่วมด้วยเสมอ ได้สามปีนางมีลูกหญิงชื่อ มลิลา และมีชายชื่อ ออหลวง

"สามขานขุนชาย" หนีออกจากบ้านแล้ว ก็ขึ้นช้างเดินทางจากไปกระทั่งถึง เขาพนม ในบ้านเมืองพนมนั้น มีขุนหญิงชื่อ ขนมดวงฟ้า ซึ่งขุนสามขานไปได้เป็นเมีย มีลูกชายชื่อ ขุนเสือไทยฟ้า (ซึ่งเป็นต้นตระกูล "เสือ" และ "สมิง" เช่น เสือสมิง)



สี่ฐอขุนชาย (ผู้คิดทำแพ)

สี่ฐอขุนชาย (เถาะ) เมื่อเด็กชอบเล่นน้ำ จับปลา กุ้ง อยู่ดินบก ชอบไล่จับละมั่ง ละอง เก้ง กวาง ฟาน เมื่อหนึ่งได้เพื่อนกระต่าย มันวิ่งเร็ว วิ่งจับได้ ไม่ฆ่า เอาเข้ากอหญ้า กลางวันเอาลงเล่นน้ำ เอาลําไผ่แห้ง เอาเถาหวายพันลอยน้ำเล่น

เมื่อหญิงชื่อ สินบ้านฟ้า ลูกอา "ฟ้าอยู่เรือน" มาร่วมเล่นกระต่าย เล่นแพ เมื่อหนึ่งเล่นเมียผัว สินบอกว่า
"แมวผู้ขึ้นทับแมวเมีย เอาสินออยรอย เมียผัว ให้เล่น รอทุกมื้อวัน ค่ำ เช้า..."
เมื่อหนึ่งสินอู่ แม่กวักทองมาว่า "มันขึ้นเมียผัวกันแล้ว ให้เอาที่อู่อยู่ เอาเมื้อน้ำที่เถาะ ชื่อบ้านฐอ (ปากฐ่อ ปากธ่อ) ที่เอาที่อยู่ มีข้าว มีนก ปู ปลา กัดกินได้.."

เมื่อสินบ้านฟ้าท้อง เมื่อเฝ้าหอ ข้าออกเอา กุ้งปลา กล้วย อ้อย พร้าว โตนด ดินดอก เอาให้กิน ออกชายชื่อ ถมฟ้าเมือง ออกญิงชื่อ เถิมแสงฟ้า ออกญิงชื่อ เสิมถิ่นฟ้า ออกญิงชื่อ สุกสีฟ้า ชายชื่อ ส้างสั่งฟ้า ชายชื่อ ถ้อสินฟ้า (ซึ่งเป็นต้นตระกูล หรือ "นักษัตร์" กระต่าย)



ห้ามะโรง (ผู้รู้วิธิทำฟูกหมอน)


ห้ามะโรงขุนชาย หัวร่วง หลวง ฬวง (นาค งูหงอน) เมื่อเป็นเด็กชายช่วยพ่อแม่คุม พี่น้องทําโรงอู่อยู่ ทําหอนอน อางขุนสาวเอาผ้าสาน ผ้าทอหุ้มนุ่นสําลี เอาเถาวัลย์ร้อยเป็นฟูก หมอน นอนทับ หนุนหัวได้ เอาเข้าห้อง หอนอน

เมื่อห้ามะโรงเข้าไปดู อางให้ลองนอน หนุนหมอนก็อ่อนนุ่ม ให้อางทําให้บ้าง อางขุนสาวบอก นางขึ้นสาวแล้ว นมใหญ่แล้ว ทําไว้ในหอนี้ เอาไว้นอนเป็นเมียผัวกัน

เมื่อแม่กวักออก (คลอด) "เอือย" แล้ว พ่อขุนนอนกก พี่มากกทับน้องเหมือนพ่อ ฟูกหมอนอ่อนนิ่มเหมือนกัน ขุนห้ามะโรงทําตาม จึงได้กันและรู้รสรัก จึงมีบ่อย ๆ กระทั่งพ่อแม่เห็นเข้าบอก ขึ้นผัวเมียกันแล้วให้ไปหาที่อู่อยู่ใหม่ แต่ทั้งคู่ไม่ไป อยู่กันที่นั้น มีลูกด้วยกัน เป็นชายชื่อ มะร่วงไทยลว้า

เมื่อขุนอินตาย ขุนห้ามะโรงจึงเปลี่ยน เป็นปีอิน ๓๕๐ และเป็นต้นชื่อ ฬวง คือ นาค งูหงอน งูใหญ่ และหลวง เป็นผู้สืบ "วงหลวง" หรือ "พระร่วง" ต่อมาเป็นต้นตระกูลงูใหญ่ หรือนาค (นักษัตร์มะโรง) และอาจไปอยู่ หรือไปพักที่ ห้วยโรง จึงมีชื่อ "ห้วยโรง ห้ามะโรง" ติดต่อมา



หกมะเส็ง (ผู้รู้วิธีรักษาโรค)

หกมะเส็งขุนชาย และ เอือยขุนสาว มะเส็ง (ม่อ=หมอ) (เส็ง แปลว่า แข่ง) อาจรู้ ยาบําบัดพิษงูและงูสวัด จึงเป็นต้นตระกูลงูเล็ก (นักษัตร์มะเส็ง) เมื่อใหญ่ชอบเล่นปลูกต้นไม้ ชิมรสรู้ต้น ราก ใบ ดอก ลูก เปลือก แก่น แก้ไข้ ทํายาแก้ป่วยไข้ รู้เอาหินบด เอาหม้อต้ม เผาไฟ ย่างไฟ ตากแดด จึงขึ้นชื่อ "หมอเส็ง"

เอือยขุนสาวมาช่วยปลูก เก็บประสม ต้ม ตาก เมื่อพ่อแม่พี่น้องป่วย ก็เอามาช่วยแก้ไข รักษาให้ แม้ที่อื่นก็มาหา มาเรียนจําเอาไป เอือยขุนสาวก็ไปด้วย เรียนด้วย รักษาด้วย จึงรู้และขึ้นชื่อเป็น "หมอหญิง" นางรู้สึกรัก เคารพนับถือพี่คนนี้มาก ไม่อยากให้จากไปอื่น ต้องการให้อยู่เป็นพี่และเป็นผัว

เมื่อไปรักษาคนอื่น เห็นมีพวกผีเข้า เมื่อหนึ่งจึงทําเป็นผีเข้า เมื่อหมอเส็งเอาต้นข่าจะเฆี่ยน นางบอกว่าไม่ต้องเฆี่ยน นางอยากได้เป็นผัว ให้เป็นผัว ถ้ายอมเอาขุนหินบด บดยา "มดมาบ" ผสมน้ำกระสายเมื่อดื่มกินแล้ว จะออกเอง หมอเส็งบดยาให้ดื่มแล้ว เมื่อมีอาการให้ดื่มอีก พ่อแม่เห็นแล้วบอกให้อยู่บ้านหมอ (ที่คูบัว) ตั้งท้องมีลูกชื่อ มดเมืองฟ้า นางทําความรู้กล่อมท้อง คลอดลูก ประหงม สมาน อยู่ไฟ เลี้ยงลูก ให้นม ให้ยา เกลือ กล้วยเผา นางจึงมีชื่อ เอือยแม่มด (หมอคลอด)

หกมะเส็งขึ้นชื่อ หมอเส็ง ก่อนอื่นเป็นต้นตระกูล "หมอ" และรู้ยาดับพิษงูได้ จึง เป็นต้น "นักษัตร์งูเล็ก"




เจ็ดมะเมีย (ผู้ตั้งชื่อรส)

เจ็ดมะเมียขุนชาย (น่าจะไปอยู่และตั้งชื่อที่อู่ว่า "เจ็ดมะเมีย" ซึ่งเลือนมาเป็น "เจ็ดเสมียน" ในกาลนี้) เมื่อขึ้นใหญ่ หัดขึ้นปีนต้นไม้ ดูนกกินมะ (ลูกไม้) กินแล้วรู้รสจืด เปรี้ยว มัน หวาน และรู้ขื่น ขม เผ็ด ร้อน เอาให้ พ่อแม่กินดี กินได้
"พ่อแม่ว่า ข้ารู้ดี รู้หิน ดิน ลม น้ำ ไฟ ให้ไปหาที่อยู่ มีเมีย มีเด็ก มีลูก ออกข้ามผา ป่า แม่น้ำ เจอหญิงเขาใหญ่ เริงเล่นป่า เข้าหา พูดด้วยมิรู้เรื่อง ข้าเข้าช่องเขาเอาสี่คนเป็นเมีย สอนกิน สอนทํานา ชื่อ เมืองเจ็ด เมืองมะเมีย (ลูกเมีย)

ข้าออกห่างเมือง มาพาเอาลูกขุนอู่ทอง ตาขุนเขาเขียว ชื่อ เลื่อนเฟื่องฟ้า แลเอาไปสอน นา ข้าว ผ้า อู่ ไฟ เอาหินก่อหอบังลม ฝน แดด หญิงชายรู้อู่นอน เมื่อมีอู่คู่ชายหญิง เมื่อถูก ถ้ามันผิด เฆี่ยน เกิดลูกให้เลี้ยง ข้าเอาญิงใดเป็นเมียมิยอม ฆ่ากิน มีทั้งลูกตัว และคู่อื่นรวมพันคนตั้งเมืองเจ็ด..."

(อาจเป็นเมืองเจ็ดเสมียน หรือเมืองเชตพัน หรือเชียงแสน เป็นต้นตระกูลม้า อาจไปถึง "จีน" จึงมีแซ่เบ๊ (ม้า) อยู่ที่นั้น เป็นต้น "นักษัตร์มะเมีย" ม้า)



แปดมะแม (ผู้คิดวิธีจุดไฟ)

แปดมะแม เมื่อขึ้นใหญ่ เห็นหินคม สับเข้า แทงเข้า หินตอกหินกอกไฟ เมื่อเอาไฟ เอาหินตอกกอกไฟจุดนุ่นสําลี สุมใบไม้ ท่อนไม้ เผาหินสุก ดินแข็ง ผิงเนื้อ ปู ปลา สุก พ่อว่า ชื่อ "แปดมะแม" มีดี รู้หิน ดิน น้ำ ไฟ ลม เลี้ยงคนได้ ให้เข้าป่า เอาเมียมีลูก เซ่น ปู่สรวง ย่าสาง

"ข้าไปเถิงสิบป่า เจอฝูงญิงเข้าเล่นจับได้ เอาขึ้นเมีย มีลูกสิบผู้มีชื่อ "เมืองมะแม" มิได้มา "เมืองแมน" จําเมืองอื่น มิจําทางเมืองพ่อ เมื่อตายแล้วขึ้นสางมาได้เอง..."

(อาจตั้งชื่อเมืองแปดมะแม ซึ่งเลือนมาเป็น "เมืองแปบ" คงเลี้ยงแพะ จึงขึ้นชื่อนักษัตร ว่า "มะแม" แพะ)



เก้าวอก (ผู้ตั้งชื่อวันเวลา)

เก้าวอกขุนชาย และ อันขุนสาว เมื่อใหญ่ อันขุนสาวช่วยแม่สานผ้า เอาฝ้ายสานผ้า หานุ่นยัดกลางผ้า เอาผ้าซ้อน นอนอ่อนดี ตั้งชื่อ "ฟูก" ฝ้ายฟั่นปั่นเส้น เข็นเข้าที่ทอผ้าไหม และเอาสินเหลืองชื่อ "ทอง" สินขาวชื่อ "เงิน" ทํา เส้นเข้าลาย ข้าว ลูกไม้ ต้มกิน ช่วยพ่อแม่ดี เมื่อนมใหญ่ พ่อว่ารู้แล้ว เป็นสาวแล้ว เอาผัว มีลูก นางว่า

"เอาพี่วอกขึ้นผัว พามาด้วยพี่ขาน ที่อาเอานาวอก มีน้ำ มีดินบก มีปลา มีนก กินได้ พี่วอกรักน้องมาก.."
"วอก" ตั้งชื่อว่า นาวอก (อยู่ที่คูบัว) รักกัน สนุกสนาน รื่นเริง เมื่อฝนตก วอกอุ้มออกเต้นรําอาบสายฝน ร้องเพลงฝนตกว่า "แผละ อุ...แผละ..!" เป็นชื่อ "เพลง" อันร้องว่า "ฟ้าร้อง ก้องเสียงเพียงดังเรียกร้องพาข้อยร่ารํา เอาก้านไขว้ใบบัวปิดอก...แล...แล... ตัวร่ารํา นมเพื่อม พี่รัว บัวใบบัง ตั้งดอกกระเพื่อม ข้อยอู่วอกมีลูกชื่อ "เอ่ยเชิญขวัญ" ผู้เดียว

เมื่อลูกเขื่อง อุ้มดูต้นข้าวอ่อน เมื่อลมโยก เอนอ่อน ให้เอนตัวอ่อน เมื่ออ่อนช้าแล ร้องเพลงเรื่อง "ขุนอินเขาเขียว แม่กวักทองมา" สอนชื่อ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตาขุนเขาเขียว ยาย ขวัญทองมา

และเก้าวอกขุนชายมองเห็น ตะวัน เดือน เคลื่อนที่ เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น ค่ำคืน เที่ยงคืน ดึก สาง รุ่ง ให้ชื่ออย่างนั้นว่า "มื้อ" "เช้า" "สาย" ฯลฯ ใช้เรียกกาลเวลากันมา และอันเป็นชื่อ "วันจันทร์" เก้าวอกเป็นชื่อ "เดือน ๙ ปีวอก" (เป็นต้นกระกูลกระโดดโลดแล่น เต้นรํา จึงเป็นต้นชื่อ "นักษัตรปีวอก" ลิง)



สิบระกา (ผู้ตั้งชื่อมาตราส่วน)

สิบระกาขุนชาย อี่ขุนสาว เมื่อน้อย เอา "ไก่" มีลูกอ่อนเข้านอนกอไม้ ไก่อีกหลายเข้าหลบใบไม้ แม่ไก่ออกไข่ เอากิน มันไม่หวง อี่เข้าช่วยเก็บไข่ แลเป็ดฝูงมันอยู่ในบึง ต้อนเข้าอู่หนอง เมื่อออกไข่มันมีอยู่ เอาเข้าวางบังกอย่า (หญ้า) มื้อหิวเอากินได้ เอามาบอกพ่อแม่ พี่น้องกินได้ เมื่อใหญ่ อี่มีนมแล้ว เอาขนไก่ เป็ด นก ถักผืนพันนม พันเอว ห่มเอว ห่มอุ่น

พ่อแม่ว่าเขื่องรู้แล้ว ไปหาเมียผัว ที่อู่เมืองอยู่ อี่ว่าเอาพี่ระกา ข้าว่าเอาอี่ พากันเข้าอู่หมู่สะพัง ป่ามีไก่ เป็ด ห่าน มื้อไข่ เดินเอากินง่าย มื้ออี่มีนมใหญ่ ให้คลําว่าเสิงอกกก กอด มื้อคืนขึ้นเมียผัวเสิงรักรอดออยรอยใจ อี่ชอบชวนเอามิอิ่ม เกิดมีท้องโต บอกแม่ว่า มีลูกแล้ว มีชายชื่อ ไก่ฟ้า มีญิงชื่อ ออน่าฟ้า มีชายชื่อ กอเสิ่งฟ้า เกิดชายชื่อ กุมเลืองฟ้า มีญิงชื่อ อ่อนสีฟ้า ญิงชื่อ เอี่ยมนูนฟ้า

เมื่ออ่อนนมเลี้ยง เข้าใหญ่ กินไข่ แม่กวักทองมาเอาสายสร้อยทองเงินเข้าผูกมือ เมื่อพ่อแม่ดับ พาไปไหว้หน้าผี อู่ที่บ้านไก่ (ปัจจุบัน ป่าไก่) ต้นตระกูลไก่ (ต้นนักษัตร "ปีระกา" ไก่) และสิบระกาขุนชายยังคิดรู้ ดิน ทาง นา ที่ ตั้งชื่อมาตราว่า นิ้ว คืบ ศอก วา เส้น งาน ไร่ ผืน ร้อยไร่ เป็น ผืน ๑



สิบเอ็ดจอมขุน (ผู้ตั้งชื่อทิศ)

สิบเอ็ดจอมขุนชาย หรือ "เอ็ดจอ" เมื่อขึ้นเขื่อง เห็นเดือน ตะวัน ดาว ออกมาเดิน (ข้าม) ตกหาย เอาว่าคําชื่อรู้ว่า "ตะวันออก" "ตะวันตก" "ทางเหนือ" "ทางใต้" และ "เฉียง" พ่อขุนอินว่า เอาชื่อ "ดิน ฟ้า" ชื่อว่า "ฟ้ากลม ดินกลม" (คือว่า "ตะวัน" "เดือน")

แม่กวักทองมาว่า จอมเป็นผู้รู้แล้ว พ่อแม่ให้ไปหาเมียต่างเมือง เที่ยวไป เมื่อเข้าเมือง แม่ญิงเวียงเปง แลน้องญิงชื่อ ดาวเวียง เอาคู่เมีย ไปหาถิ่นดี ส้างบ้านเมืองชื่อ จอมทอง เมื่อหนาว ส้างผ้าสานไหมมีลูกชายหญิงสิบสอง

เมื่อกลับมาหาพ่อแม่ที่เมืองแมน ให้ชื่อว่า อินจอมเวียง แลเข้าแก่ เอาลูกขึ้นชื่อ จอมอินลว้า "เอ็ดจอ" เป็นชื่อเดือน ๑๑ ต้นตระกูลสัตว์ เลี้ยงเพื่อนบ้านคือ จอ=หมา ต้นนักษัตรปีจอ



สิบสองกุน (ผู้ตั้งชื่อดวงดาว)

สิบสองกุนขุนชาย เมื่อขึ้นเขื่อง ชอบดู ดาวและท้องฟ้า ย้ายบ้าง ตั้งที่นิ่งบ้าง เห็นดวง "ตาวัน" กลมใหญ่ ดวงเดือนเล็กลงไป ตั้งชื่อ ดาวเหนือว่า ดาวเฆ่ (จระเข่) ดาวใต้ว่า ดาวว่าว ดาวเคลื่อนที่ช้า ๆ เอาชื่อน้องตั้งชื่อว่า ดาวอา (อาทิตย์) ดาวอัน (เดือน จันทร์) ดาวอาง (อังคาร) ดาวอุ่น (พุธ) ดาวเอือย (พฤหัสบดี)
ดาวอู่ (ศุกร์) ดาวอี่ (เสาร์)

และกับน้อง "อุ่นขุนสาว" เที่ยวเดินดูเดือนเพ็ญ ดาวพราวฟ้า มองดูดวงดาวที่สุกใส มักขึ้นหัวค่ำและเช้ามืด จึงชื่อว่า ดาวเมือง หรือ ดาวประจําเมือง (ที่เรียกกันในเวลานี้ว่า "ดาวค่ำ" "ดาวประจําเมือง" "ดาวรุ่ง" "ดาวประกายพริบ" หรือ "ประกายพรึก")

ครั้นพ่อขุนอินและแม่นางกวักทองมาให้ไปหาคู่และที่อยู่ จึงตกลงไปด้วยกัน ตั้งชื่อที่อู่ว่า กุนอุ่นไทย เมื่อมีลูกชายก็ได้ตั้งชื่อว่า มกุนอุ่นไทย และยังไปเป็นช่างลาย เช่นลายกุ้น ฝา ปะกน และอาจไปจับหมูป่ามาเลี้ยงด้วย (จึงเป็น ต้นชื่อ "นักษัตรปีกุน" หมู) บางทีก็เขียน "กุญ" เป็นปีช้างบ้าง

"วอก" กับ "อัน" เมื่ออยู่ด้วยกัน สนุกสนานรื่นเริงเล่นเพลงทั้ง แดด ลม ฝน ร้อง รํา จึงตั้งชื่อ "เพลง" ครั้นมีลูกสาวให้ชื่อ เอ่ยเชิญขวัญ พอรุ่น อันพาลูกดูต้นข้าว ซึ่งอ่อนโอนเอนไปมาตามกระแสลมพัด จึงหัดลูกให้รําให้ร้อง เมื่อสอนกล่าว "เอย..." ทําอย่างนี้ ร้อง อย่างนี้ขึ้น "เอย..." เสมอ จึงเป็นต้นเพลงว่า "เอย...ฯ"

ขณะหัดร้อง หัดเดินนั้น ขุนวอกเอา หนังกบขึ้งหม้อทํากลองเคาะ เอาไม้ทํากรับ เอากระโหลกมะพร้าวทําซอ เอาไม้ไผ่ทําแถวตีขึ้นเสียง (ระนาด) อันสอนรําตั้งชื่อไว้ว่า "บังคม ก้มไหว้ ไกวแขน แล่นเคล้า ก้าวเดิน เชิญชัด ผัดหน้า อาบน้ำ แต่งตัว ยั่วเย้า เข้ารบ แนบนาง หวนนอน..."

ขุนหัวมะโรงกับอางขุนสาว มีลูกชายชื่อ มะร่วงไทยลว้า เมื่อขุนอินตาย ขุนห้ามะโรงครองต่อ ตั้งปีขุนอินตายว่า ปีอิน ๓๕๐ ซึ่งอาจนับเลยเข้าไปในกาล "เมืองแผน" หรือ ขุนแผนนั้น เคยตั้งชื่อมาแล้วว่า "เมืองแมน" ก็ได้





◄ll กลับสู่ด้านบน



kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 21/11/08 at 20:02 Reply With Quote



"เอ่ยเชิญขวัญ" (ผู้คิดร้องรำทำเพลง)

เอ่ยเชิญขวัญ เข้าทรง ไทยงาม (เมียพ่อ ขุนสือไทย) เล่าเรื่องให้ ขุนสือไทย เขียนลง กเบื้องจารว่า
"ข้าเกิดมาเมื่อนมเบิกหัว แม่สอนรําบังคม ก้มไหว้ ฯลฯ นกบิน ผินก้ม ซมเศร้า ก้าวขว้าง ย่างยิง ชิงของ มองหา กรับ กลอง ร้องรํา ชื่อข้าว่า "เอย...เชิดเอย...รบเอย" แม่เรียก เอ่ยเชิญขวัญ เอาสั้นว่า เอย เมื่อข้าสอนขึ้น "เอย..." (นี้ต้นคําว่า "เอย..ฯ" มา)

เมื่อปีอิน ๓๓๑ ว่าตามเดิม ตามที่ขุนมะโรงเพิ่มขึ้นจะได้ปีอิน ๓๗๑ ขุนหัวมะโรงตาย ขุนมะร่วงไทยลว้าครอง ให้มีเพลงเรื่อง "ขุนอินและนางกวัก" ให้ซ้อมร้องรําเพลง
"ข้าเมื่อรํายั่วเย้าเข้ารบแอ่นนมให้มะร่วงดู รําร้องเพลงว่า "สวยนะ..วี่วาม งามนะ..พี่มอง" ยื่นอกให้มะร่วงจ้องดู ดึงนม ข้าจับปรับขึ้นผัว"

เมื่อมะร่วงไทยลว้ากับเอ่ยเชิญขวัญอยู่ครองด้วยกันมี มะเลืองขวัญไทย ปี ๓๗๖ หรือ (ชื่อว่า) "เลืองขวัญไทย" เลืองขวัญไทย เมื่อเกิดมาแล้ว โตขึ้น ชอบน้ำ เล่นล่าปลาเอาปลากิน และให้พ่อแม่ พี่น้อง เที่ยวจับนก เก้ง กวาง ช้าง ม้า ฝ่ายแม่เอ่ยเชิญขวัญก็หัดเพลงแก่ลูกหลาน ว่านเครือให้ รํา ร้อง และเครื่องเล่น (ดนตรีปีพาทย์)




"เลืองขวัญไทย" (ผู้รู้วิธีทำน้ำตาล,เกลือ)

ขุนเลืองขวัญไทยป่ายปีนต้นโตนด ต้นมะพร้าว เที่ยวจับนก กระรอก กระแต เห็นมันเอาฟันหน้าเจาะกินน้ำได้ จึงเอากินบ้าง ก็กินได้ รู้นวดอัน ปาด และรองน้ำหวาน ตั้งชื่อ น้ำตาล (ตาโหนด) ทําได้ทั้งโตนดและมะพร้าว เรียก "น้ำตาล"

ยังไปเห็นน้ำเค็มขังแห้งเป็นก้อน กินเค็ม เอาใส่ปลา เนื้อ กินอร่อย ได้กั้นดินทําคันขังน้ำเค็มให้มาก ก็ได้ก้อนเค็มมาก แล้วเรียก "เกลือ" แต่นั้นรู้จักทําน้ำตาลโตนดน้ำตาลมะพร้าว แต่น้ำตาลหรือน้ำอ้อยนั้น กินเป็นมานาน แต่ก่อน เมื่อทํา ก็เที่ยวไปเก็บเอามากัดกิน เอาไม้กด บีบ หีบ ให้น้ำออกมาก็กินได้ ต่อมารู้เอาต้ม เคี่ยวให้แค่น แข็ง ทํางบใส่หม้อ ทําปึก เก็บนานได้




ผู้เป็นต้นเอ็นดู รักเลี้ยงช้าง

เลืองขวัญไทย จับ นก เก้ง กวาง ช้าง ม้า งัว ควาย ศอ (สมเส็จ คชสีห์) แรต ช้างใหญ่ ๕ ตัว พอกินมื้อ (เมื่อคราว) หนึ่ง เมื่อคัดช้าง แม่ช้างลูกอ่อนเข้าหลักไฟยังมิก่อไฟ แม่ช้างร้องไห้แรง ชูงวง ดูลูก เมื่อก่อนหลายมื้อ มันเอาขึ้นหลัง ออนซอนซ่างมันนักแล้ว ร้องไห้ ดอมมัน แก้มัน ให้มันไปป่า มันจูงลูกมาหา เอาเป็นเพื่อน จึงไม่ฆ่า ไม่สับ ไม่กิน

ช้างเอาช้างทําเพื่อน มันมีหนัง ขน แม้น เนื้อเผือก กูเอาชื่อมันว่า "แม่เผือก" มันพากู เที่ยวหลาย เมื่อกลับมา พ่อมะร่วงไทยดับ ปีอิน ๔๓๕ ครองต่อพ่อ

เลืองขวัญไทย ให้มีเพลงเรื่อง "ขุนอินเขาเขียว-กวักทองมา" ให้เอาสาวที่แม่เอ่ยเชิญขวัญ หัดไว้มาเล่น นางมิ่งขวัญใจ เป็น "กวักทองมา"

"ลือขวัญไทย" พ่อเลืองขวัญไทยตายปีอิน ๔๘๘ ได้ครองต่อ ปีอิน ๔๙๑ แต่งงานกับลูกลุง ชื่อ แก้วสีทอง และ บัวสีทอง แก้วสีทองมีลูกชายชื่อ เลืองสีไทย ปี ๔๙๕ บัวสีทองมีชายชื่อ ไทยสีเมือง ปี ๔๙๖

ในกาลนั้น คราวหนึ่ง เดินไปพบเห็นผีพ่อเลืองขวัญไทย เที่ยวเร่ร่อนไม่มีที่อยู่ได้คิดตลอด ไปถึงปู่ขุนมะร่วงไทย ชวดขุนหัวมะโรง และ พ่อทวด คือขุนเขาเขียวและขวัญทองมา เฉพาะ ขุนอินและกวักทองมา ขุนทองทับฟ้าลูกขุน อู่ทองเขาเขียว ทําเรือนน้อยให้อยู่กับขุนเขาเขียว และขวัญทองมา

จึงคิดใคร่สร้างเรือนน้อยให้ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ชวดชาย ชวดหญิงอยู่ สร้างเรือนให้อยู่คนละหลัง เรียกว่า "เรือนสาง" หลังหนึ่งให้อยู่ ปั้นรูปคู่กัน ใช้ไม้นิ้วเสียบฝา เอาดินสีแดงขีดลายบอก ตอนนั้นยังไม่มีลายสือ กําลังทําอยู่ ให้เอาเครื่องแม่เอ่ยเชิญขวัญจัดไว้ เซิดบายศรี พวงคอ สร้อยสะพาย ผ้าทอชายห้อย ๔ คือ หน้า ข้าง ขวา และหลัง ทับผ้านุ่ง

เมื่อมิ่งขวัญใจเป็น "นางกวัก" อาบน้ำ ขุนเลืองขวัญไทยเป็น "ขุนอินเขาเขียว" เข้าไป ช่วยอาบน้ำถูหลังตัวและจับอก เมื่อเสร็จงาน ฉลองแล้วจึงอยู่ร่วมกัน ปีอิน ๕๓๘ มีลูกชาย ชื่อ "ลือขวัญไทย"

ขุนสรวงและนางสางมาบอกให้สร้างให้ต้นด้วยจึงสร้างอีก และปั้นรูปต้นนั้น ทําตัวชาย หญิง ขึ้นชื่อ "เรือนสาง" ได้ทํารั้วกั้นเขตไว้ ส่วนหนึ่ง เรียกว่า "วัด" ทําให้เตียนไว้ ต้นไม้ใหญ่ ๆ ให้ร่ม เรียกว่า "สวน" เวลาเย็นไปเยี่ยม ได้คุยกัน จึงมีเรือนสางกันมา

เลืองสีไทย ครองเมืองแมน ปีอิน ๕๕๘ เมียชื่อ เลืองห้องเรือนทอง และ สีห้องทอง ห้องเรือนทองมีลูกชาย ปีอิน ๕๖๒ ชื่อ เลืองห้อง ทองไทย สีห้องทองมีลูกหญิงชื่อ ทองงามตา ปีอิน ๕๖๘

เลืองห้องทองไทย ครองเมืองแมนปีอิน ๖๑๕ เมียใหญ่ชื่อ ดาวค่าฟ้า มีลูกชายชื่อ ไทยจอมฟ้าพระยาเมืองแมน เมียน้อยชื่อ คู่ขวัญใจ มีลูกหญิงชื่อ เลืองคู่ใจ ปีอิน ๖๒๔

◄ll กลับสู่ด้านบน

(ขอสิ้นสุดเรื่องราวเพียงแค่นี้ก่อน ไว้พบ กันในตอนหน้า...สวัสดี)



kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 24/12/08 at 08:52 Reply With Quote



Update 24 ธ.ค. 51

บทที่ ๓๐


ก่อนจบจากตอนที่แล้ว เป็นเรื่อง "ต้นผีไทย" คือเป็นต้นคิดสร้าง "เรือนสาง" หรือ "ศาลพระภูมิ" หรือ "วัด" เมื่อหลายพันปีมาแล้วนั้น ผู้ที่เป็นต้นคิดเดิมนั้นชื่อ "ลือขวัญไทย" ซึ่งครองเมืองแมนเมื่อ ปีอิน ๔๘๘ และลูกชายได้ครองสืบ ๆ กันมา คือ "เลืองสีไทย" ครองต่อมาเมื่อปีอิน ๕๕๘ ต่อมา "เลืองห้องทองไทย ครองปีอิน ๖๑๕

ต่อมา ไทยจอมฟ้า ครองเมืองแมนปีอิน ๖๗๑ เมียชื่อ เพญเดือนแจ่มฟ้า และนางมีลูกชายชื่อ เลืองอินไทย ปีอิน ๖๗๓ เลืองอินไทย ครองเมืองแมนปีอิน ๗๒๓ เมียใหญ่ชื่อ เสิมสีทอง เมียน้อยชื่อ ออขวัญมา ปีอิน ๗๒๔ เสิมสีทอง มีชายชื่อ ไทยสีทอง และออขวัญมา มีลูกหญิงชื่อ สีพวงทอง

ไทยสีทอง ครองปีอิน ๗๙๕ เมียใหญ่ชื่อ นางบุนหญิงไทย เมียน้อยชื่อ สินทองไทย บุนหญิงไทย มีลูกชายชื่อ สีบุนไทย ปีอิน ๗๙๙ นางสินทองไทย มีลูกหญิงชื่อ มิ่งมาไทย มีชายชื่อ สมฟ้าไทย

สีบุนไทย ครองเมืองแมน ปีอิน ๘๒๑ เมียใหญ่ชื่อ เสิมสีไทย ปีอิน ๘๒๒ มีหญิงชื่อ แสงเสิมฟ้า ต้องการลูกชาย จึงมีเมียอีก ๒ คนชื่อ แสงสีทอง และ สีเงินฉาย แสงสีทองมีชายชื่อ สองฟ้าไทย ปลายปีอิน ๘๒๓ และปีอิน ๘๒๔ สีเงินฉาย มีลูกหญิงชื่อ แสงงามสี

ต่อมา ปีอิน ๘๒๕ เสิมสีไทย มีชายชื่อ สูงเสิมฟ้า และมีหญิงชื่อ แสงส่องฟ้า แสงสีทอง มีหญิงชื่อ ฟ้าใสแสง สีเงินฉาย มีหญิงชื่อ ฉายสีฟ้า สูงเสิมฟ้า (ผู้นี้แปลก เข้าทรงเล่า ขุนสือ ไทย จารึกไว้คัดมาตรง) พ่อชื่อ "สีบุนไทย" แม่ชื่อ "เสิมสีไทย" พี่หญิงชื่อ "แสงเสิมฟ้า" แม่อื่นชื่อ "แสงสีทอง และ "สีเงินฉาย"

แม่แสงสีทอง มีชายชื่อ "สองฟ้าไทย" หญิงชื่อ "ฟ้าใสแสง" แม่สีเงินฉาย มีหญิงชื่อ "แสงงามสี" น้องหญิงชื่อ "ฉายสีฟ้า"
แม่เสิมสีไทย มีน้องหญิงชื่อ "แสงส่องฟ้า" พ่อตายปีอิน ๘๔๒ แม่ พี่ เอาขึ้นต่อ (อาจกลัวพี่สองฟ้าไทย ซึ่งเป็นลูกของแสงสีทอง ไม่ยอม)

"กูไม่เอา จับขัง มัด ตี เช้า เย็น คืน นอนร้องครวนครางอยู่ พี่สาวแสงเสิมฟ้า (พี่ร่วมพ่อแม่ อาจเคยเลี้ยง อุ้ม กกกอด กล่อมมาตั้งแต่ เล็กจึงเกิดสงสาร เข้าไปแก้ ปลอบน้อง) พี่เข้านอนกก (สอนให้รู้เป็น "ขุน" ต้องมีเมียและรู้จัก) สอนให้เอาเมีย นอนอกพี่ เอาพี่แสงเสิมฟ้า มื้อนั้น พี่ให้เอาขุน แล้วให้อีก เอาขุนและเอา พี่เป็นเมีย..."

แสงเสิมฟ้า มีชายชื่อ ส้างเสิมฟ้า ปีอิน ๘๔๓ มีหญิงชื่อ แสงส่องฟ้า พี่ว่ามีลูกเจ็บนักหนา พา อุ่นเรือนทอง อ่อนขวัญหอ มาให้มิเอา พี่ให้เอาขุน เอาพี่ให้ ว่ามื้อมีลูก เอาสองนั้นมีลูกหญิงชื่อ สร้อยทองไทย อีกปี อุ่นเรือน ทอง อ่อนขวัญหอ มีชายคู่ ชื่อ สากอไทย และ สูหานไทย เป็นไข้ (พี่เข้าพยาบาล พอหายป่วย) เอาพี่ ตายบนอกพี่

ส้างเสิมฟ้า ครองเมืองแมน ปีอิน ๘๕๐ มีอายุเพียง ๘ ขวบ จารึกเล่าว่า มิรู้มิเป็นบ้านเมือง พอขึ้น ๑๙ เข้า (ปีอิน ๘๖๒) นั้น ผีฟ้าก่อฝีแถว (ฝีดาษ) เจ็บเหลือล้นทนมิได้ ตายปีนั้น ขึ้นสู่ผีฟ้า

สากอไทย ครองเมืองปีอิน ๘๖๒ กับ น้องชายชื่อ สูหานไทย ซึ่งมีอายุเพียง ๑๖ ปี จะคิดอย่างไรไม่ทราบ เพราะไม่ได้จารึกไว้อยู่ เพียง ๑๕ วัน ร่วมกับน้องชาย คือ ทั้ง "สากอ ไทย" และ "สูหานไทย" ทั้งคู่ ได้ออกในเวลากลางคืน จารึกเล่าว่า

"สองผู้ต้นทิ้งเมือง ให้พี่และลุงชาย "สอง ฟ้าไทย" ขึ้นเมืองแมน ครั้นเดินถึง เมืองหิมวันต์ พบคนเขาใหญ่ชื่อ "ยักข์" เข้าหาลูกหญิง เอาเป็นเมีย มีน้องญิง นับต่อน้องสูหานไทย เมื่อเข้าหา ข้าเอายาสุมหลับทั้งเมือง ข้าแลสูหาน ไทยเข้าเมืองได้เมีย ขึ้น ขุนอินสากอไทย (อินทสากราชา)



(๑) พวกนี้อาจไปเป็นต้นแรกของคนไทย เพราะการไปคราวนี้ แม้เป็นนิทานที่ "ผีทรง" เล่าก็ตาม บังเอิญมีชื่อ "สากอไทย-สูหานไทย" เมื่อดูตามแผนที่ตอนตะวันตกเหนือพม่า เห็นชื่อ "อัสสัม-อาหม" "ภูฐาน" "เนปาล"

"อัสสัม-อาหม" จริงอยู่ดูจะเป็นคำมคธว่า "อะสะมะ" (ไม่มีใครเสมอ) แต่นั่นคนไทยตระกูล "เสือ" ใช้ จึงน่าจะเป็นคำไทยและชื่อไทย อ. อา เฉพาะ อ. นี้ ตรงกับคำไทยว่า "ออ" อันแปลว่า "คุณ" ก็ได้ แปลว่า "นาย" ก็ได้ เช่น "ออแก้ว" และเป็น "อา" ได้ เช่น พี่อา ออ. อา จึงมีความหมายว่า "คน" ได้ อาหมคือ "คนหาญ" หรือ "ฮวน" อัสสม คือ "คนสม""คนเสียม" หรือ "เซียม" ตามเสียงจีน แต่เสียงไทยแท้ของเผ่านั้น อาจออกว่า "ออสม"

"ภูฐาน" จริงอยู่คำว่า "ภู" ภาษามคธแปลว่า "เป็น" แต่ "ภู" คำไทยว่า "ภูเขา" ก็มีอยู่ ทั้งภูฐานก็อยู่บนภูเขาหิมาลัย จึงเป็นคำชื่อไทย
"เนปาล" เมื่อก่อนและสมัยพุทธกาลมีชื่อว่า กบิลพัสดุ์ "กปิล" เป็นนามก็คือชื่อของดาบส อันใกล้คำไทยว่า ระบิล กระบิล (เมือง) ทั้งชื่อ ก-ปิ-ล เนปา ปา-ล มีเสียง ป.ล. อยู่ ถ้า ก.น. ในภาษาของเนปาลใช้แทนกันได้ก็เป็นชื่อเดิมมา



สองฟ้าไทย เล่าว่า พ่อตาย น้องสูงเสิมฟ้าครอง ได้ช่วยเหลือกระทั่งตาย แม้ครั้งหลานส้างเสิมฟ้าตายแล้ว สากอไทยขึ้นครอง ๑๕ มื้อ สากอไทยแลสูหานไทยชวนกันหนีไปมิรู้ พี่แสงเสิมฟ้าแลแม่แสงสีทอง เอาขึ้นครอง เมืองแมน ปีอิน ๘๖๒

แม่แลพี่ให้เอาอีสาวสามขึ้นเมีย ได้ห้ามแล้วเอาแสงงามสีให้ไทยอุ่นฟ้า ลูกขุนเถือมทองเอาฟ้าใสแสงให้อออู่ทอง แสงส่องฟ้าให้ขุนพรานพริบพลี ได้แต่งกับทองพริบพลี งามอู่ทองหนอมตนงาม ปีอิน ๘๖๓ ทองพริบพลี มี สีไทยฟ้า

สีไทยฟ้า ครองเมืองแมน ปีอิน ๘๘๔ แม่หา สีทองงาม มิ่งขวัญฟ้า แสงฟ้าส่อง ให้เป็นเมีย ปีอิน ๘๘๕ สีทองงาม มีชายชื่อ เสิม ฟ้าเฟื่อง ปลายปีอิน มิ่งขวัญฟ้า มีญิงชื่อ สีสองขวัญ ฯลฯ

เสิมฟ้าเฟื่อง ครองเมืองแมน ปีอิน ๙๐๕ แต่งกับ สีสองขวัญ และ สมแสงฟ้า ปีอิน ๙๐๖ สีสองขวัญ มีชายชื่อ แสงขวัญฟ้า ปีอิน ๙๐๙ สมแสงฟ้า มีญิงชื่อ สีเสิมฟ้า และปีนี้แม่ป่วยนอนให้เอา สดสีทอง เข้าที่เมีย พี่น้องรับแล้ว แม่ดับ ฯลฯ

แสงขวัญฟ้า ครองเมืองแมนปีอิน ๙๒๕ ได้ลูกขุนพริบพลี ๒ คน ชื่อ เสืองงามแมน และ สีงามฟ้า ปีอิน ๙๒๖ เสืองงามแมน มีชายชื่อ เสิมเสืองไทย ปีอิน ๙๓๐ สีงามฟ้า มีญิงคู่ชื่อ ยิ่งทองงาม และ ยอดทองงาม

เสิมเสืองไทย ครองเมืองแมน ปีอิน ๙๔๑ มิใจ มิรู้เมืองบ้าน น้าอบอุ่นใจ ลูกขุนอู่ ทอง เมียพ่อ พ่อว่าเลิกให้เลี้ยงข้า พาเที่ยว เมื่อขึ้นขุนแล้ว เมื่อคืนหนึ่งสอนให้รู้เมียแล้ว เอา เอิบเอี่ยมฟ้า น้องน้าขึ้นเมีย ปีอิน ๙๔๒

อบอุ่นใจมีชายชื่อ สีชายไทย มีญิงชื่อ เอมผ่องสี เอิบเอี่ยมฟ้า มีชายชื่อ แสงส่องฟ้า ญิงชื่อ เพ็ญผ่องฟ้า ญิงชื่อ สาเสิมฟ้า และ ญิงชื่อ ผุดผ่องสี

สีชายไทย ครองเมืองแมน ปีอิน ๙๖๑ ขึ้นขุนแล้ว ยังไม่มีเมีย แม่อบอุ่นใจเอาเอมผ่อง สีเข้างายว่าผัวทําเมียเทื้อ และแม่เอิบเอี่ยมฟ้า พาเพ็ญผ่องฟ้ามาให้ ปีอิน ๙๖๔

เอมผ่องสีมีชายชื่อ สินอินไทย ปี ๙๖๘ เพ็ญผ่องฟ้ามีญิงชื่อ เสิมผ่องฟ้า ปีอิน ๙๗๑ เอมผ่องสีมี ชาญเสิมฟ้า เพ็ญผ่องฟ้า มี แสงช่อฟ้า
สินอินไทย ครองเมืองแมน ปีอิน ๙๙๕ กับ เสิมผ่องฟ้า กับ ผุดผ่องสี แสงช่อฟ้า ปีอิน ๙๙๖ เสิมผ่องฟ้ามีลูกชายชื่อ สวงอินไทย ผุดผ่องสี มีชายชื่อ สมสีฟ้า ปีอิน ๙๙๙ เสิมผ่องฟ้า มีญิงชื่อ สอแสงฟ้า ฯลฯ

สวงอินไทย ครองเมืองแมน ปีอิน ๑๐๒๕ เมียชื่อ ห้อมเรือน เมียน้อยชื่อ บัวทอง ปีอิน ๑๐๒๗ ห้อมเรือน มีลูกชายชื่อ สีห้อมไทย

สีห้อมไทย ครองเมืองแมน ปีอิน ๑๐๕๓ เมียใหญ่ชื่อ สมพูนเพ็ญ เมียน้อยชื่อ มิ่งมอง งาม ปีอิน ๑๐๕๔ สมพูนเพ็ญ มีลูกชายชื่อ สีเลืองไทย




แผ่นจารึกระบุตัวเลขไว้ชัดเจน
สมัยขุนโลลาย
ปลายปีอิน เมืองแมนระบุ ปีอิน ๑๐๗๓ ไว้ (ตัวเลขบอก จึงเอาไว้ตอนนี้)






โลลาย เล่า ขุนอินกวักทอง (มา) ปีอิน ๑๐๗๓ สีเลืองไทย ครองเมืองแมน (๓๓๗/๑-๒) เมียชื่อ แสงส่องฟ้า เมียน้อย เลืองรื่น ฟ้า ปีอิน ๑๐๗๕ แสงส่องฟ้า มีลูก (ชายชื่อ) เสืองฟ้าฉาย

เสืองฟ้าฉาย ครองเมืองแมน ปีอิน ๑๑๐๕ เมียใหญ่ชื่อ ทองคําสี เมื่อเข้าปีอิน ๑๑๐๗ ทองคําสี มีลูกชายชื่อ เสืองทองฟ้า

เสืองทองฟ้า ครองเมืองแมนปีอิน ๑๑๓๓ เมียใหญ่ชื่อ นางสีตัวทอง เมียน้อยชื่อ เลืองร่างทอง ปีอิน ๑๑๓๕ เลืองร่างทอง มีลูกชาย ชื่อ สินเสืองไทย ปีอิน ๑๑๓๗ สีตัวทอง มีลูกญิงชื่อ สีขวัญใจ สินเสืองไทยครองเมืองแมนปีอิน ๑๑๕๕ เมียชื่อ ทองผ่องฟ้า ปีอิน ๑๑๕๖ ทองผ่องฟ้า มีลูกชายชื่อ เสืองฟ้าไทย




ขอมต้นปีอิน ๑๑๗๘ ก่อน พ.ศ. ๕๑๖๓ (เมื่อ ๖๖๘๐ ปีมาแล้ว)
ขุนเสืองฟ้าไทย


"ขุนสรวง" และ "นางสาง" สั่งให้เข้าทรง "ไทยงาม" เล่าเรื่องให้ "ขุนสือไทยฟ้า" ฟังแล้ว จารึกไว้ เรื่องจึงปรากฏเมื่อเกิด ปีอิน ๑๑๕๖ เป็นลูก "ขุนสินเสืองไทย-แม่ทองผ่องฟ้า" พี่สาว ชื่อ "สินแสงฟ้า" (อาจเกิดก่อนพ่อเป็นขุน) น้องชายชื่อ "เสินแสงฟ้า"

เมื่อปีอิน ๑๑๗๖ อายุเข้า ๒๐ ออกเที่ยวไปในป่า ได้พบเด็กหญิงคนหนึ่งชื่อ พวง หรือ พวงมะลิ กําลังลงน้ำในบ่อ หนอง งมเอาปู ปลา เนื้อ กุ้ง จึงลงไปเล่นน้ำด้วย รู้จักกันแล้ว ถามรู้ว่าพ่อแม่ถูกงูกัดตายหมดแล้ว นางอยู่คนเดียว ไปไหนก็ไม่ถูก ได้งมกุ้ง ปลา เง่าบัว ฝักบัวกิน



(๑) ชื่อ "ขอม" หรือคำว่า "ขอม" ซึ่งถนัดปากคำไทยตลอดมา อาจมีมาก่อนนานเท่า ๆ ที่คนไทยตั้งคำไทยใช้ ซึ่งขุนเสืองฟ้าไทยเอามาตั้งชื่อลูกชายคนแรกว่า "ขอม" คำชื่อว่า "ขอม" ลาวเดิม (ราชบุรี) เรียกขอบกระบุง (กะเซอ) โกรนว่า "ขอม" เมื่อแต่งเรียบร้อยแล้วจะเข้า หรือเข้าติดกระบุงเรียก "ขอบ" และใช้เป็นกิริยาว่า "ขอบกระบุง"
คำคนท้องถิ่นราชบุรี เก่าเมื่อ ๕๐ ปีมา และคำตะวันออกเฉียงเหนือ ขอมก็คือ "คลุม" หรือ "โพกหัว" เช่นขอมหัว ได้รูปขอมทองเพลง หรืออาจ เป็นรูปขอมฟ้าไทย ซึ่งขอมทองเพลงอาจทำปรารภ "ขอมต้น" นั้น จึงทำรูปขึ้นครูไว้ก็เป็นได้

ปรากฏว่ามีขอมหัว ซึ่งทำเป็นบายศรีวงเป็นแบบรัดเกล้าของขอม อันผิดจากแบบรัดเกล้าขุน ทั่วไปเรียกว่า "ขอมขนนก" หรือ "เซิดขนนก" อันเป็นของทะเลใต้และเผ่าแดง ความจริงเป็นบายศรี หมายถึงขึ้นครู หรือครอบขึ้นครูแล้ว ถ้าเป็นเพลง หรือตัวเพลง มีกรวยยอดแหลมอยู่กลาง

แต่ขอมฟ้าไทยนี้ เป็นคนดีต่อพี่น้องพ้องพวก เป็นครูที่ปรึกษาขุน ช่วยขุนที่ดี จึงมีชื่อดีตลอดมากระทั่งกลายมาเป็นตำแหน่งประจำเมืองทั่วไปมาหลายพันปี และเสืองฟ้าไทยไม่ได้บอกว่า ขอมฟ้าไทยเกิดปี เท่าไร ที่จดไว้คือปีครอง จึงเข้าใจว่ามีก่อน เพราะเป็นรักครั้งแรก ที่ขอมฟ้าไทยจดไว้ก็เพียงเล่าว่า มีแล้วขวบครึ่งจึงมีน้อง อาจมีก่อนปีครองเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นเหตุให้พี่โกรธขึ้ง ถึงด่าต้นขุนเป็นเหตุให้ฟาดฟันกันตาย




ขุนเสืองฟ้าไทยเกิดสงสาร จึงอุ้มนางมา อยู่โรงเดิมและนอนค้างด้วย ได้ไปขนเสื้อผ้า เครื่องใช้ของตนมา ให้เที่ยวไปเก็บรวงข้าวเอามาขั้ว บด ตํา ไว้หุงกิน อยู่ด้วยกัน เล่นด้วยกัน นอนด้วยกัน นางขึ้นสาวแล้ว อกดก คงจะเป็นทั้งรักและสงสารที่ไม่มีพ่อแม่พี่น้อง ทั้งนางก็มี ตัวคนเดียว จึงไม่มีทางอื่นมากไปกว่าธรรมชาติ ได้เป็นคู่ครองกัน และมีชายเมื่อเดือนขึ้นขอบฟ้า ตั้งชื่อ ขอมฟ้าไทย มีญิงชื่อ มะลิฟ้า และ สีแจ่มฟ้า

มื้อพ่อตาย สาวพี่ใฝ่ใจใคร่เป็นเมีย เข้ามาหาเล่าบอกแล้ว ขุนเสืองฟ้าไทยปฏิเสธห้าม ว่าไม่เอา พี่สินแสงฟ้าโกรธมาก คงต่อว่ามากมายก็ไม่ยอม จึงด่าแช่งถึงต้น "ขุนอิน" และต้น "ขุนญิงกวักทองมา" ขุนเสืองฟ้าไทยโกรธขึ้งมาก จึงคว้าดาบขุนอินที่ทําไว้ตกทอดมาถึง ฟันตัว พี่สาวตาย ซึ่งทําให้ญาติพี่น้องกลัวเกรงขาม

ปีอิน ๑๑๗๘ ขึ้นขุนแล้ว จึงประกาศ เอา "พวงมะลิ" เป็นเมียกลาง ควบคุมทั่วไป แต่นางบอกว่าขออยู่นอกเมือง ตั้ง "นางทองหล่อ ตน" เป็นเมียขวา ตั้ง "นางส้างพาดี" เป็นเมียซ้าย ยก "ขอมฟ้าไทย" "มะลิฟ้า" และ "สีแจ่มฟ้า" ขึ้นเป็นลูกพ่อขุนเมืองแมน

ปีอิน ๑๑๘๙ เมียน้อย "ส้างพาดี" มีลูกชายชื่อ สือไทยฟ้า ปีอิน ๑๑๙๑ เมียขวา "ทองหล่อตน" มีญิงชื่อ ไทยงาม และเพราะ บังเอิญให้มีเหตุการณ์เช่นนี้ ต่อไปจึงปรากฏ การณ์ยุ่ง ๆ ซึ่งมีเรื่องมาก

ขอมฟ้าไทย ขุนสือไทย ไทยงาม เลกไทย สีงามตน หรือ งามตน ได้ร่วมกัน สร้างสิ่งของไทยเริ่มด้วยการทํา "ลาย" ขอมฟ้า ไทยทําเป็นลายสาน ลายปั้น แกะ สลัก ฟัก ปัก ถัก ยก หรือ จก ได้สอนไทยงามให้เอาเข้าเป็นลายผ้า ทั้งเป็นลายทอ ลายยก ลายเขียน หรือพิมพ์ และแล้วขุนสือไทยได้มีความคิด เอาเป็นลายอ่านรู้ความครั้งแรก อ่านว่า "เมือง" ก่อน และคิดเอาลายอื่นอ่านเป็น "บ้านเรือน" ร่วมกับขอมฟ้าไทยและไทยงาม ได้คิดสร้าง ลายอ่านรู้ความได้ จึงตั้งชื่อว่า "ลายสือไทย" ต่อจากนั้น ขอมฟ้าไทยก็ได้คิดเป็น "ลาย สือขอม" อีก ก็คิดสร้างได้สําเร็จ และได้ตั้งชื่อ ว่า "ลายสือขอม"

ครั้นได้คิดว่าจะทําเรื่องไทยให้คงอยู่ ได้ เข้าไปดูเรือนสางที่ "ขุนลือขวัญไทย" ได้กระทําไว้ ได้เห็นลายขีดและไม้วางไว้ก็ไม่รู้เรื่อง จึง เชิญ "จ้าวพ่อขุนสรวง - จ้าวแม่ขุนนางสาง" เข้าทรง "ไทยงาม" พ่อจ้าว-แม่จ้าว รับว่าจะ ให้พวกนั้นมาเล่าให้ฟัง แต่เกรงว่าจะจดจําไม่ทัน จ้าวพ่อขุนสรวงเข้าทรง "ไทยงาม" และสอน "งามตน" ให้เรียนลายย่อ ๑,๒,๓,๔,๕,๖,๗,๘,๙, ๑๐,๑๐๐,๑,๐๐๐, ฯลฯ

ต่อมา ขุนเลกไทย ได้เห็นว่าย่อดี จึงได้ นํามาจดจํานวน แต่ยังไม่มีชื่อเรียก ได้เอาชื่อ "งามตน" กับชื่อตัวเองควบกัน ตั้งเป็นชื่อว่า "ตนเลกไทย" ในบัดนี้เปลี่ยนเป็น "ตัวเลขไทย"

ขอมฟ้าไทยเป็นลูกขุน หรือลูกพระลูกเจ้าอยู่แล้ว ทั้งยังได้ดํารงขุนอยู่ถึง ๕ ปี และชื่อก็เป็นขอมอยู่แล้ว ผู้ได้รู้และทํา แกะ สลัก สาน ปั้น เขียนเป็น "ลาย" จึงเป็นช่าง เมื่อคิดสร้าง ลายสือไทย และสายสือขอมแล้ว จึงขึ้นเป็น ต้นช่างลายไทย ลายสือไทย-ขอม จึงเป็นที่เชื่อ ฟัง คือเป็นทั้ง "บา-ขอม" ทั้งที่ปรึกษาใหญ่ ได้ทําแบบพิธีไหว้ครู และ "ครอบ" ความรู้ขึ้น สอนและสั่ง จึงเป็นต้นแบบไหว้บา ทําโทษผู้ผิด เช่นสอบตก รับรองความรู้ และยกย่องผู้ทําถูก เช่นสอบได้หรือเลือกให้ได้ จึงเป็น "บา" และ "ขอม"

ได้ทําเซิดบายศรี หรือรัดเกล้ายอดกับ เครื่องแบบ คือเสื้อคลุมและถุงเป็นอีกแบบอย่างหนึ่ง อันเป็นแบบเฉพาะหมายให้รู้จักว่า "บา" "ขอม" เป็นเครื่องแบบจําเพาะ ทั้งชายและหญิงเป็นที่รู้จักได้ จะเห็นได้จากรูปขอมชายและขอมหญิง "เอ่ยเชิญขวัญ" จึงต่างเป็นต้นไทย และต้นผี เมื่อตายไปก็ขึ้นเป็นที่ ต้นผีบา-ขอม คือครูบาอาจารย์ศิลปะวิทยาการทุกชนิด

และก็เพราะเหตุที่คิด "ชื่อ" และ "คําพูด" เป็นลายเส้นหมายความรู้อ่านได้ อันเป็น "ลายสือ" และ "ลายเลข" ตลอดจนกระทั่งเส้นร่าง รูปต่าง ๆ เป็นความหมายขึ้น ไทยสมัยนั้น จึง เกิดความคิดรู้ชื่อต้นไม้ต่าง ๆ และความหมาย ตามความเป็นจริงได้ เช่น "หญ้าแพรก" ซึ่งทน แล้งร้อนหนาว งอกงามยืดยาวไปได้เร็ว

"แห้วหมู" งอกขึ้นได้ทุกแห่ง แม้ต้มจนสุก และน้ำท่วมตายแล้ว อยู่ ๆ ไปก็กลับงอกฟื้น ขึ้นเป็นอีกได้ จึงถือกันว่าไม่ตาย คืออมตะ
"มะเขือ" มีดอกลูกออกสะพรั่งต้นและ ตลอดกาล
"เข็ม" เป็นไม้กอพุ่มแข็งแรงมีดอกตลอด ทั้งชื่อว่า "เข็ม" ก็หมายรู้ว่าเฉียบแหลม
"พญาไม้ผุ" รากกินเข้าไปจะดลผิวให้หื่น ขลัง เหนียว มีดฟันไม่เข้า ฯลฯ

จึงเอามาเป็นนิมิตหมายในกาลบําบวงบูชา สักการะ เคารพนับถือ ไหว้ครูบาอาจารย์ขอม เป็นเครื่องหมายบอกแก่ศิษย์ผู้เรียนว่า "หญ้า แพรก" หมายความให้รู้เจริญงอกงาม "แห้วหมู" หมายความว่า ความรู้ทุกชนิดไม่ตายเป็นอมตะ "มะเขือ" หมายความให้รู้ดกดอกออกผลลูกได้

"เข็ม" หมายความให้เห็นและเฉียบแหลม ฯลฯ จึงนําสิ่งนั้น ๆ มาเป็นเครื่องบําบวงบูชา สักการะ เคารพนับถือ ไหว้ครูบาอาจารย์ขอมกันมา และมีอยู่เฉพาะคนไทยเท่านั้น จึงเป็นของ ไทย เป็นระบบแบบของไทยตั้งแต่ต้น จนกาล บัดนี้





ได้จาก วัดเพลงมาลาธาตุ ราชบุรี พ.ศ. ๗๑๕ สุวัณณภูมิ "ขอมทองเพลง" หล่อขึ้นเป็นรูป (ครูบาอาจารย์) และยังมีพระพุทธรูปกับเทวรูป เช่น คเณศวร อีกมาก ได้ขัดดูเนื้อเป็นทองสําริดมีน้ำหนัก ยืนยันอยู่ ขอมทองเพลงและศิษย์อาจร่วมกัน ออกแบบ หรือเลียนแบบเดิมที่ออกแบบ คือ พระพุทธรูปปางลีลา และปางอุ้มบาตรบิณฑบาต เป็นแบบลีลาต่างไปจากท่านางลีลานี้

เอ่ยเชิญขวัญ ทําในท่าก้าวเดิน บนหัวใส่ เซิดบายศรี มีขอบคอเสื้อและขอบแขนเสื้อ นุ่งผ้า ลายหน้านางมีลายเชิงชาย มือขวาถือหอยยอด มือซ้ายถือดอกบัว เครื่องหมายขุนหญิง

ขอมฟ้าไทย ใส่เซิดบายศรีเครื่องแต่งตัว คลุมยกมือทั้งสอง เปิดเผยวิชา

นางเภา เพราะไม่ใช่เจ้า จึงใส่เซิดบายศรี ไม่มียอด แต่เล่นเพลงเป็นตัวนางกวัก จึงใช้มือขวาถือหอยยอด มือซ้ายถือดอกบัว ที่ผ้านุ่งทํารูปเรือสําเภาบอกชื่อ

"เพลง" เป็นชื่อเพลงและวิชาการ เช่น เพลงมวย เพลงดาบ เพลงหมอ ตามเพลงซึ่ง พวกไทยละว้า หรือลาวเดิม เคารพนับถือครู อาจารย์ผู้ตั้งวิชา เมื่อเรียนแล้ว มีครูกล่าวคํา ขวัญที่เรียกว่า "ทําขวัญ" เครื่องบูชาก็มีบายศรี เช่น "เพลง" ก็ทําบายศรีเซิด "บวชนาค" ทําบายศรีต้น

สําหรับเพลง พอกล่าวคําขวัญเสร็จก็ยกบายศรีเซิดนั้นครอบหัว ซึ่งเดิมเรียกว่า "ขอม" "หัว" นี่ พิธีครอบวิชาของไทยละว้า จะเห็น "เซิดหญิง" ทําอย่างหนึ่ง "เซิดชาย" ทําอย่างหนึ่ง ดูที่กลีบจะเห็นเป็นกลีบบายศรี บัดนี้ใช้บาตรพระครอบ

เมื่อครอบแล้วจึงชื่อ "ขอม" (ครูบาอาจารย์) ตามชื่อ "ขอมฟ้าไทย" ชื่อ "ขอม" จึง สืบกันเรื่อย ๆ มาอย่างนี้ จะเห็นตัวหนังสือ ขอมก็มีลายเส้น (คร่อม ขอม เป็นส่วนมาก)

"ต้น" ที่เริ่มกันมา คือ ขุนวอก และ ขุนหญิงอัน กับ เอ่ยเชิญขวัญ เป็นพ่อเป็นแม่ จึงมีชื่อ "พ่อเพลง-แม่เพลง" ครั้นต่อมามีหลาย อย่างขึ้น จึงเปลี่ยนเป็น "ขอม" คือ "ครูอาจารย์" ฉะนี้

ขุนวอก และ ขอมฟ้าไทย จึงเป็น "ต้นครู" ขุนหญิงอัน และ เอ่ยเชิญขวัญ จึง เป็น "ต้นขอมหญิงเพลง" และวิชาการเช่น ช่างปั้นทํา ทั้งนี้จึงเป็น "ต้นผี" กันมา

◄ll
กลับสู่ด้านบน





ขุนสือไทยฟ้า หรือ "สือไทย" และ ขุนหญิงไทยงาม ตามฐานะเผ่าชาติตระกูลก็เป็น พระลูกเจ้า กับทั้งได้เป็น "ขุน" และ "ขุนหญิง" ประจําเมือง หรือประจําเผ่าชาติไทย เมื่อค้นคิด เอา "ลาย" เป็นลายผ้า และเป็นลายอ่าน คือเป็น ลายสือไทย สําเร็จแล้ว ในฐานะต้นขุนและต้นขุนหญิง มีอํานาจกระทํา และสอนให้รู้ ทั้งลูก, ลูกศิษย์ กับเผ่าพ้อง และลูกน้อง ทั่วไป ได้ประนมมือรับเอาใส่ในหัว จึงเป็นต้นสร้างระบบแบบประนมก้มเกล้า-ไหว้รับสั่ง รับสั่งใส่เกล้า-หัว

ถ้าขัดก็ทําร้ายทําโทษ ถ้าทําถูกก็รับรอง ยกย่องแต่งตั้งให้เป็นที่ต่าง ๆ จึงเป็นต้นกฎ และต้นกฎหมาย - แบบระบบประเพณีนั้น ๆ และก็ขุนสือไทยได้รู้แบบไหว้ผีประเพณี การปกครอง การทําไร่นา เครื่องนุ่งห่ม ได้คิดสร้าง ลายสือไทยได้สําเร็จ จึงเป็นต้นคิดสร้างลายสือ ไทย กับทั้งเป็น "ขุน" และ "ขอม"

โดยได้คิดสร้างรัดเกล้ายอดหรือเซิดยอด คือบายศรีกรวยยอดแบบ "ขุน" และ "ขุนหญิง" ต่อมาได้ใช้ฟางสาน ใช้ใบลานถักเย็บติดรัง กับรู้เอาโลหะมีทองคํา เป็นต้น หล่อทําขึ้นของ ชายเรียก "หมวก" ของหญิงเรียก "งอบ"

ถ้าเป็นขุนก็เรียก "หมวกยอด" "งอบ ยอด" ถ้าเป็นสามัญชนหมวกก็กดยอดลง งอบก็ตัดยอด เพื่อไม่ให้เท่าเทียมขุน พร้อมกันก็ได้ สร้างเครื่องแบบขุน และขุนหญิงขึ้นอีก ดูตาม รูปปรากฏก็เหมือนคนธรรมดา ต่อมารู้จักหล่อทําทองคําและเงินเป็นรูป แบบลวดลาย รู้จักเอาหินแก้วมาเลาะแล่งขัด เจาะเป็นรูปแบบต่าง ๆ เอาเข้าติดเป็นแบบ ขอบคอ ขอบแขน ขอบชายเสื้อ ขอบไถ้ ขอบ ล่างเข็มขัด หรือปั้นเหน่ง กับเป็นขอบหน้าและ ขอบเชิงชาย

จึงเป็นต้น "ครูบาอาจารย์วิชาการ" เป็น "ขุน" ปกครอง กับเป็น "ครูบาอาจารย์ลายสือ ไทย" หรือ "หนังสือไทย" เมื่อตายแล้ว ขุนสือไทย ก็ขึ้นเป็น "ต้นผีบาลายสือไทย" หรือจ้าวพ่อ ครูบาสรรพศิลปวิทยานายก จ้าวพ่อคเณศวร สันดุสิตเทวาธิราช พระเทพบิดรสวรรค์ชั้นดุสิต


ขุนหญิงไทยงาม เมื่อยังเป็นคนอยู่ ได้รู้ทอผ้าไหม เรียนรู้ลาย จึงนําเอาเข้าสู่ลายทอ ลายยก ลายถักผ้า กับทั้งลายเย็บ เช่นลาย เย็บเผชิญหน้า ลายใยจูงหลาน ฯลฯ ขึ้นเป็น แม่ขวัญลายไทยงาม ลายทอแล้ว จึงเป็นต้น "ขอมหญิง" คือเป็น "ครูบาอาจารย์เครื่องแต่ง ตัว" เครื่องทอ และทอผ้าไหม กับลวดลายผ้า เพราะเป็นขุนหญิงจึงใช้เครื่องแบบขุนหญิง

ทั้งหมดนี้ได้เป็นต้นแบบพิธีการไหว้ต้น ขึ้นครู ครอบวิชาความรู้ เช่น ในกาลเริ่มทอ มักทําพิธีวางดอกไม้ จุดธูปเทียน บําบวงบูชา "แม่กี่" หรือ "ฟืม" ก่อน อย่างน้อยก็ประนม มือไหว้ระลึกดี ๆ แล้วจึงทอ ในกาลตายไปแล้ว ก็ขึ้นเป็นต้นผีบาลาย ลายทอ ลายผ้า หรือเป็นจ้าวแม่มิ่งขวัญศรีศิริ สุมงคลเฉลิมขวัญศิลปวิทยาการทุกชนิด หรือ จ้าวแม่สุนันทาวดี พระนางสันดุสิตาเทวี พระ เทพมารดาสวรรค์ชั้นดุสิต




ขุนสือไทยฟ้า

พ่อขุนเสืองฟ้าไทย ตายปีอิน ๑๒๑๕ ขุนสือไทยฟ้าถึงวาระ "เมืองแมน" เขียนเล่าไว้ว่า เมื่อต้นหนุ่ม ชอบ ช้าง ม้า งัว ควาย กวาง เก้ง ลา ล่อ ขี่มัน เที่ยวเมืองไกล เมื่อพ่อตาย แม่ พี่ น้องจึงให้ครองต่อ คงคิดว่าเป็นลูกเมียน้อย เมืองควรตกเป็นของ "ไทยงาม" หรือ "ขอมฟ้าไทย" ผู้เป็นพี่ใหญ่ ถึงกระนั้นก็พยายามให้ดีที่สุด จึงให้ขอมฟ้าไทยเป็นที่ปรึกษา หรือ "ขอมเมือง" เอาไทยงามขึ้นเป็นเมียคนเดียว ขุนสือไทยจะคิดอย่างไรไม่ทราบได้ ตกกลางคืนคืนหนึ่งจึงหนีออกไป ทิ้งเมือง แมนไว้ ๕ ปี




ขอมฟ้าไทย

เมื่อขุนสือไทยทิ้งเมืองแมนหนีไปนั้น พงพ้องพี่น้องและแม่ ๆ ทั้งหลายได้ยกขึ้นครอง ขอมฟ้าไทยรับเพียงว่าจะครองไว้คอย รอน้องเท่านั้น เมื่อขุนสือไทยกลับมาเมื่อไรจะคืนให้น้อง และรับว่าจะเป็น "ขอม" ที่ปรึกษาต่อไป เมื่อคิดสร้าง "ลายสือไทย" แล้ว ได้จารึกเล่าไว้เอง และดีที่สุดก็คือจารึกไว้ตรง ๆ จึงรู้ เรื่องและธรรมเนียมประเพณีครั้งนั้นได้

ขอมฟ้าไทย เมื่อเกิดได้ขวบครึ่งแล้ว แม่มี มะลิฟ้า และ สีแจ่มฟ้า เมื่อพ่อขึ้นขุน เอาแม่ขึ้นเมียกลาง เมื่อพ่อตาย สือไทยฟ้า ขึ้นขุนแล้วไม่อยู่ ได้ช่วยไทยงามคุมบ้านเมือง แม่ว่าเอาสองน้องเป็นคู่เมีย ถ้าน้องเอาผัวอื่น ผัวจะฆ่ากิน พี่น้องกันไม่ฆ่ากันกิน แม่ให้มะลิฟ้า สีแจ่มฟ้า เป็นคู่เมีย ปีอิน ๑๒๑๖ อยู่กันอย่างพี่น้อง ๑ เดือน ไม่รู้เมียผัว แม่สอนมะลิฟ้าแล้ว มะลิฟ้าบอกรู้แล้ว สีแจ่มฟ้าใฝ่ใจใคร่รู้บ้าง สอนสีแจ่มฟ้าแล้ว มื้ออื่น แม่พวงมะลิและแม่เลี้ยงบอกว่า นั่นคือได้ผัวเมีย เป็นที่แท้แล้ว

ไทยงาม เมื่อรู้พี่ๆ ให้ทํางานเลี้ยง บอกว่าเอาน้องขึ้นเมียดอม ขอมห้าม ต้องรอพี่สือ ไทยฟ้ากลับไทยงาม (เกิดปีอิน ๑๑๙๑ ถึง ปีอิน ๑๒๑๖ จึงมีอายุ ๒๖ ยังเป็นเด็กไม่เดียงสาอยู่ จึงสนุกใจ) ว่า แม่เล่า มื้อมีผัว สนุกเพลิดเพลินผัว มิรู้คืนวัน เมื่อพี่สือไทยกลับ มื้อน้องมีผัว น้องรู้เองมื้อนั้น ขอมว่าจะ มีผัวต้องหัดทอผ้างาม ผัวเห็นงามรักมาก มีลูก ได้เอาแต่งให้ลูก

เมื่อขุนสือไทยกลับมา ไทยงามเอาขึ้นผัว แล้วมาเล่าว่า "ญิงเมียน้อง ชายผัวพี่ นี้ดียิ่งใจมื่นชื่น หวานมันนัก คนรักใจชูชื่น ชมเชย ช่ำฉ่ำ เช่น ผัวเสี้ยเมียสินมิมี ญิงชายไม่รู้เอาเมียผัว ไม่เกิด ดีกว่า..."

ขอมฟ้าไทย จารชื่อลูกไว้ว่า ปีอิน ๑๒๑๙ มะลิฟ้ามีชายชื่อ ขอนฟ้าไทย ปีอิน ๑๒๒๐ สีแจ่มฟ้ามี สีงามตน ปีอิน ๑๒๒๑ มะลิฟ้ามี ชายชื่อ ขานเลืองไทย ปีอิน ๑๒๒๓ สีแจ่มฟ้า มีชายชื่อ ขุมฟ้าไทย ปีอิน ๑๒๒๔ มะลิฟ้ามีญิงชื่อ ไขเลืองฟ้า ปีอิน ๑๒๒๖ สีแจ่มฟ้ามี ชายชื่อ เข้มไทยฟ้า ปีอิน ๑๒๒๙ มะลิฟ้ามีชาย ชื่อ เขื่อนฟ้าไทย ปีอิน ๑๒๓๐ สีแจ่มฟ้ามีญิง ชื่อ สีงามตน ปีอิน ๑๒๓๕ สีแจ่มฟ้ามีญิงชื่อ อินตัวทอง

ขุนสือไทย เมื่อสร้างลายสือไทยแล้ว ได้ จารเล่าเรื่องไว้ ส่องให้เห็นพฤติการณ์และความ เป็นอยู่ในครั้งที่ยังไม่มีการศึกษากฎหมาย และ ศีลธรรม ก็มีการเป็นอยู่ได้อย่างคนและรู้คิดรู้ ทําเอาเอง จึงลอกมาเป็นสํานวนใหม่เข้าใจกัน ง่าย




(๑) เรื่องฆ่าเมียกินนี้ ตอนนั้นยังไม่มีกฎหมายและศีลธรรม...มีได้ ทั้งคนทุกเผ่าในแหลมทองสมัยนั้นยังกินคนกัน และ "ไทยะ" หรือ "ไทยลวะ" ที่ไปอยู่ในเมืองจีน พวกที่มีชื่อว่า "ไตหย่า" และที่ลงไปทางใต้ซึ่งมีเสียง "ด" ชื่อ "ดยัก" หรือ "ไดยัก" ยังมีประวัติถึงปัจจุบันว่า "กินคน" ด้วยเหตุนี้เอง พี่น้องจึงนิยมได้กัน อย่างพวงมะลิว่า "พี่น้องไม่ฆ่ากันกิน.." ซึ่งไม่น่าตำหนิติเตียนเลย อย่าง "คลีโอพัตรา" ก็ว่าได้ กับพี่ชายมาก่อน แม้ฝรั่งก็ปรากฏพ่อเอาลูกสาว แม่เอาลูกชาย พี่เอาน้อง น้องเอาพี่ก็มีมาก แม้ชมพูทวีป จีน ไทย ก็มีเรื่องมาก ฯ




ขุนสือไทย มีอายุได้ ๓๐ ปีอิน ๑๒๒๐ กลับมาเมืองแมน ขอมฟ้าไทยเป็นหัวหน้ายกขึ้นเป็นขุนอย่างเก่า ไทยงามในตําแหน่งเมียเดียว ก็คงอยู่กันอย่างพี่น้อง ซึ่งไม่ได้ความอย่างที่แม่และพี่ ๆ (มะลิฟ้าและสีแจ่มฟ้า) เล่าเรื่องให้ฟัง จึงเข้าไปนั่งใกล้ ๆ แล้วบอกว่า พ่อแม่ให้ครองเมือง เมื่อเที่ยว เผื่อมีศึกมาปล้น ใครผู้ชายต่อสู้ป้องกัน พ่อ แม่ บ้าน เมือง ชาย ญิง ขุนสือไทยไม่ว่าอะไร

สือไทย อยู่เมืองแมน ขึ้นเพ็งเดือนหงาย อู่นั่งดิน ดูเดือนเพ็ญ ไทยงามเข้ามานั่งใกล้ว่า พี่ครองเมือง ไม่มีเมียและลูกไม่ดี สือไทยว่า บ้านเมืองของน้อง พี่ลูกเมียน้อย ใคร่เข้าป่า สร้างเมืองอื่น ไทยงามว่า น้องเป็นญิงสาวแล้ว พี่เอาทําเมียได้ สือไทยว่า พี่ว่าไม่ดี

ไทยงามว่า บ้านเมืองของน้องก็จริง พี่ได้น้องก็ได้ทั้งหมด ให้มีเยี่ยงผัวเสี้ยเมียสิน สือไทยว่าพี่ใจม้าน ย้านไพ... (พี่ใจละอาย กลัวไยไพ และ "เสี้ย" แปลว่า ฉลาด อีสานยังใช้ว่า "เสียว" แปลว่า ฉลาด ดีงาม เรียบร้อย)

ไทยงาม เล่า เมื่อต้นสาง "ขุนสรวง" และ "แม่นางสาง" มีลูกชายสี่ หญิงสี่ เมื่อหนุ่ม สาวมิมีใครผู้อื่น แม่สางให้ "จอมฟ้า-แก้วสี" คู่พี่ใหญ่เอากันยอดเขาเทียมถิ่นฟ้า คือ "จอมฟ้า" ให้ "จอมดินทอง-กอทอง คู่สองเอากันกลางดินคือ "จอมดิน" ให้คู่สาม "จอมลมฟ้า-ดงทอง" เอากันกลางลม คือ "จอมลม" ให้คู่สี่ "จอมไฟฟ้า-น้ำทอง" เอากันกลางฝนคือ "จอมน้ำ" พี่น้องเอากัน มีลูกปลูกหลาน สานเหลน เป็นลื่อ ต่อ-ต่อกันมาถึงเรา สือไทยว่า ใครว่า ไทยงามว่า แม่ให้สอนพี่แล้ว เอาพี่ทําผัว

ไทยงามว่า เมื่อต้น "ขุนอินเขาเขียว-แม่กวักทองมา" มีลูกชาย ๑๓ ลูกหญิง ๗ อาขุนสาวเอาขานขุนชาย อันขุนสาวเอาวอก ขุนชาย มะโรงขุนชายเอาอางขุนสาว อุ่นขุนสาวเอากุนขุนชาย เอือยขุนสาวเอาหมอเส็งขุนชาย อู่ขุนสาวเอายี่ฉลูขุนชาย และอี่ขุนสาวเอาระกาขุนชาย พี่น้องหญิงชายได้กันเอง เรานี้ก็ชายหนุ่มหญิงสาว คือกัน ข้อยนมใหญ่เต็มอก ทั้งสองข้าง ขึ้นสาวแล้ว

แม่ใหญ่ แม่เล็ก (แม่กลาง) ยังว่า พี่ไป อื่นแล้ว พ่อแม่ ผีสาง บ้าน เมือง ผู้คนไม่มีชายคุ้มกัน ให้เอาตัวปกป้องบ้านเมือง เอาพี่ ป็นผัวไว้ให้อยู่นาน

สือไทย เมื่อเข้า ๔ เดือน ไทยงามเข้ามา (ถึงหอนอน) ว่า แม่ให้มาเป็นเมียพี่มื้อนี้ พี่เอา น้องเป็นเมียแล้ว ให้อยู่ป้องกันบ้านเมือง แม่ พ่อ คน ชาย หญิง หากิน เป็นอยู่ในบ้านเมืองตัว สือไทยว่า เรื่องเมียผัว น้องทําเป็นหรือ ไทยงาม ว่า เป็นมาแต่ครั้งแม่นางสาง มีลูกชายหญิง แปดคน สอนลูกทําเป็นมาแต่พู้น

สือไทยว่า น้องเห็นเมื่อไร ไทยงามว่า เมื่อเข้าปียิบห้า (ยี่สิบห้า) เมื่อมีนมแล้ว หลับฝันเห็น "ขุนสรวง" หนุ่มตัวทองบอกว่า เจ้าเป็นสาว กูจะสอนรักให้แล้วกอดจมดม ขึ้นทับไม่หนัก มื้อแรกตื่นขึ้น เปียกชุ่มน้ำ เมื่อถามแม่ว่า พ่อขุนสรวงสอนรักให้รู้ เมื่อแม่สาวฝันชายสอนรัก ยายพามาให้พ่อทํารักเทื้อช้านาน แม่สางเอาดอกบัวขาวมาส่งให้ มีน้องให้ชื่อ "ไทยงาม" และไทยงามถามว่า พี่ไม่เคยเห็นเลยหรือ

สือไทยว่า เมื่อขึ้นขวบยี่สิบห้า นอนหลับ เจอสาวสีดอกเช่นบวบ หอมชื่นใจ ให้ดม ให้จับนม ให้ดม จูบหอมดี สอนให้นอนบนว่า แม่สอนให้รู้เมีย มีลูก ตื่นไม่พบอันใด รู้รัก มีสนุกชุ่มชื่น มื้อหลังมาให้อีกแล้ว ให้เห็นเป็นคนแก่หมดดีแล้ว

ไทยงามถาม พี่ยังรู้รอด หรือลืมแล้ว สือไทยว่า ยังจําได้ไม่หมดใจเหมือนมื้อนี้ ไทยงามว่าหารู้รอดใหม่ได้ ญิงชายไม่หาย เมื่อน้อย พี่อุ้ม จับ ลูบ คลํา น้อง พี่ยังว่าเนื้อน้องนุ่มนิ่มดี มื้อสาวนิ่มดีกว่า จับดูรู้นิ่ม มื้อนี้ให้พี่ลองจับดูได้ ให้หลัง ดึงมือจับท้อง ถามว่านิ่มมือดีไหม ให้คลํานม คลําเหนา ขา ไทยงามว่า มื้อนี้มือพี่แม้นไฟ ถูกแห่งไหน ร้อนทั่วตัว สือไทย ว่า ตัวน้องแม้นไฟฟู่ฟ้า ร้อนมือตัวทั่วทุกหน

ไทยงามว่า เมื่อน้องเย้มพี่ดูดี แม้พี่ถูกเสิงใจ เมื่อคลําซ่านตัว เมื่อลูบเสียวใจ แม้กอด สออนใจ แม่สางมาสอนให้พี่นอนทับ พ่อสรวงสอนน้องให้นอนหงาย-หงายมึนดียังงี้ พาขึ้นทับเนื้อตัวนอน สือไทยทับไทยงาม ขึ้นผัวเมีย แต่เพ็งเดือน ๖ สือไทยว่า ผัวเมียดีหรือ ไทยงามว่าดีสุดใจ เกือบขาดใจตาย พี่อยู่มีเมีย เป็นผัวน้อง ปกป้องบ้านเมือง ญิงชาย ผีสาง ให้ทํามาหากินเสิงสราญ และพี่ทําน้อง ให้มีลูกสักสิบคน

ไทยงามว่า เมื่อขึ้นผัวเมียกันแล้ว ต้องให้ ผีดิน น้ำ ลม ไฟ รู้ ผีดินรู้เห็นที่นี้ ผีน้ำนี่รู้แล้ว ไฟร้อนลมพัดเทื้อ นําเอาไปทั้งเปื้อนนี้ อาบชะ ให้เห็นอีก บ่ายมื้อนั้น ไทยงามหาเป็ด ไก่ งัว ควาย พันตัว (อาจมีหมู เก้ง กวาง สมัน ละมั่ง ม้า ลา ล่อ และนกต่าง ๆ) บําบวงขุน ผีฟ้าว่า ข้าผัวเมียเอากันตามพ่อสรวงแม่สาง สอน ชุมหมู่พี่น้อง แม่สอง ขอเอาเข้าเลี้ยงกัน

สือไทย เมื่อเข้าห้าวัน ไทยงามว่า พี่... ผัวเมีย ไม่เข้าหาผีต้นขุนไทยลวะ อันผีชังหมู่ เราหาย เมื่อผัวเมียผู้พ่อแม่เมืองไหว้เป็นเซ่น ถูก เราเสิง (เสริง) สราญ ทํานาหากิน มมา ปลาเข้า ข้าวงาม บ้านเมืองเที่ยงเสิงสรวง

สือไทย ดอมไทยงาม แม่สอง ลุง ป้า อา น้า สู่เรือนชวด ลือขวัญไทยสร้าง ไหว้กราบ ผีพ่อแล้วหาพ่อปู่ทวดสรวง ย่าทวดนางสาง ไหว้ ถึงหัว กราบแล้วว่า ข้าปู่จ้าว ปกป้องผู้คน เมือง บ้าน เที่ยงตรง ไม่เบียดไม่เบียน ไม่กิน คน ไม่ฆ่าหมู่เรา




(๑) "ตอน" หรือ "แผ่น" เหล่านี้ คราวแรกเมื่ออ่าน พยายามจะอ่านให้เป็นอย่างอื่น แต่บางเส้นบางลายชัดเจน ไม่รู้จะเลี่ยงอย่าไร ได้ และนึกว่าจะเอาออก เพราะอาจเป็นเรื่องหยาบคาย ครั้นคิดเห็นว่าเป็นเรื่องต้นเกิด ต้นชื่อที่ปรากฏมา ทั้งเราก็ไม่เคยรู้กันด้วยว่า มีระยะ กาล ๖,๖๐๐ ปีกว่ามาแล้ว ซึ่งยืนยันว่า เรารู้กันมาเอง ไม่จำเป็นต้องอาศัย "ศิวอุมาลิงค์" อย่างปราชญ์ปัจจุบันแต่ง ซึ่งยกต้นพืชไปให้แขก

(๒) พี่น้องหญิงชายหรือหนุ่มสาว ที่เกิดเป็นอยู่ด้วยกันมาอย่างบริสุทธิ์ใจ ซึ่งไม่มีใครเข้าปะปน ก็ไม่มีอะไรกัน ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๖ เคยไป ณ บริเวณหลังเขาแก่นจันทน์ เขาแง้ม ฯลฯ จังหวัดราชบุรี ในหน้าร้อน สาว ๆ นั่งทอผ้าใต้ถุนบ้านไม่ใส่เสื้อ ไม่ ห่มผ้าเป็นส่วนมาก เพราะร้อน และไม่มีใครไปมาหาสู่ ถ้ากลางคืน เห็นเขาใส่เสื้อตลอด เนื่องจากมีหนุ่ม ๆ ไปแอ่ว

สือไทยกับไทยงามก็คงเช่นเดียวกัน เมื่อยังไม่รู้เรื่องเพศก็คงอยู่กันอย่างบริสุทธิ์ใจ ครั้งก่อนเคยจับ เคยถูกต้อง เคยเห็น ก็ไม่มีอะไร สมัยรู้เรื่องแล้ว จึงถึงลองจับกัน เมื่อรู้ถึงการณ์แล้ว จึงเกิดความรู้สึกเรื่องเพศอย่างนั้น คงเป็นของแปลก ถึงกับคุยกัน ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน

(๓) อาจมีมาก่อน การนับถือผี ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นใหญ่ ซึ่งตกทอดมาถึง แม้ในกาลปัจจุบันก็ยังมีการพร้อม ดิน น้ำ ลม ไฟ เพียงเปลี่ยนกาลเวลา บางคู่อาจเสร็จแล้วอย่างนี้ เฉพาะที่ประกาศกันในกลุ่มประชาชน เช่น ในเวลาหลั่งน้ำสังข์ คือตัวสังข์เป็นส่วนดิน น้ำ ที่หลั่งเป็นส่วนน้ำ น้ำก็ใช้น้ำมนต์ ซึ่งมีน้ำตาเทียนอันมาจากไฟ ส่วนลมมีทั่วไป อย่างประเพณีจูบกัน ก็คือสูดลมเข้าอย่างนี้ ทำในเวลาแต่งงาน คือก่อน บางคู่มีก่อนแล้วแต่งงานทีหลัง หรือให้ ดิน น้ำ ลม ไฟ รู้ในที่เปิดเผยทีหลัง อย่างนี้มีมาก และประเพณีให้ผีรู้

ปัจจุบันประเพณี แต่งงานไทย ก็ยังมีพิธีไหว้ผีกันอยู่ เฉพาะเรื่อง "น้ำ" และ "หอยสังข์" ได้เจอพระพุทธรูปมีหอยสังข์ในพระหัตถ์ สร้าง พ.ศ.๘๘๘ มีหอยยอดหรือหอยสังข์ในพระหัตถ์ อันเป็นปางหลั่งอมตธรรม "อมตะ" แปลว่า "ไม่ตาย" ซึ่งกลายมาเป็น "อมตสังข์" หรือ "อมตรัก" ซึ่งไทยได้ นับถือกันมานาน กระทั่งเป็นประเพณีซึ่งยังคงอยู่ในหมู่ไทย

สังเกตดูตามนี้ ขุนสือไทยไม่ค่อยรู้อะไรมากนัก ไทยงามต้องบอกให้ทำทุกอย่าง หรืออาจทั้งรักทั้งนับถือ ทั้งเกรงกลัว เมื่อบอกให้ ก็กระทำทุกอย่าง และขุนสือไทยจารเรื่องไว้อย่างตรง ๆ เป็นคำซื่อ ๆ สั้น ๆ ไม่มีสำนวนใด ๆ ทั้งเรื่องในที่ลับ กับค้นเคยพฤติกรรมต่างๆ อันแสดงว่าจดจารแต่เรื่องจริงเท่านั้น




เริ่มคิดลายผ้าและลายสือไทย

สือไทย เริงสนุกกับไทยงาม แม้ในมื้อ ทอผ้าก็เข้านั่งดูไทยงามทอยกลายผ้า ดูเส้น ลายอ่าน เมืองบ้าน พ่อแม่ ได้เป็นเส้นยาว บ้างสั้นบ้าง อ่านนึกแต่ในใจ เมื่อถามไทยงามว่า

"อสัง... (ต้นชื่อ "อสัม" อะไร อิสังบ้าง อสงบ้าง คนอื่นจึงเรียกว่า "ไทยอิสัง" ที่ออกเป็น เสียง "ฉ" ก็เป็นไทยเฉียง) ไทยงามเล่า ยังมิมีชื่อ "ต้นขุนกุน" คิดขีดขึ้นลายหม้อ ลายโอ่งอ่าง เรียกว่า "ลายกุน" และว่าพี่ขอมเอามาสอน ทอลาย ยกลาย และตั้งชื่อไว้มาก

สือไทย ร่วมนั่งกับไทยงาม ทอผ้า ยก ลายผ้า ดูลายคิดและอ่านในใจและอ่านไป จะ ทําลายอ่าน ไทยงามอยากมีลูกมาก ๆ อยู่กันมา ๑๕ ปี มี ๙ คน ตาย ๓ ที่อยู่ ๖ คน ลืมวัน เดือน ปีเกิด จึงอยากมีลายเขียนจดไว้ คงจะ อยู่ได้นาน และอาจใช้จดเรื่องอื่น ๆ ได้ขยัน หมั่นคิดดูก็ยังไม่ได้ กระทั่งวันเพ็ญกลางเดือน ๕ มีพิธีประเพณีเสร้นสรวงที่วัดเรือนสาง

สือไทยเริงสําราญด้วยไทยงามในถิ่นหน้า เรือนสาง ไทยงามฟ้อนรําท่าญิงชาย มีคู่พี่ชาย คู่น้องญิง พี่ญิงคู่น้องชาย ฟ้อนมื้อแรงเย็นขึ้น เพ็ญเดือน ๕ พันห้าร้อยคู่ ให้สือไทยนั่งต้นดู ว่ากล่าวคําเชิญฟ้อนรําบวงสรวง เมื่อมื้อฟ้อน ร้องว่า


"เชิญเอย...แม่เอ่ยเชิญขวัญ นั่งถนม บังคม ก้มไหว้ ไกวแขน แล่นเคล้า ก้าวเดิน เชิดชัด ผัดหน้า อ่าอาย กรายเดิน เชิญชม อาบน้ำ แต่งตัว ยั่วเย้า เข้ารบ นําเกี้ยว แนบ นวล หวนนอน ฟ้อนรัก พักผ่อน..."

สือไทย นั่งดูญิงชายฟ้อนบวงสรวง เชิญชวดปู่นั้น ปู่ชวดสรวง ย่าชวดสาง ออกมานั่งบ่า ไทยงาม ปู่ขวา ย่าซ้าย สางปู่สรวงให้ไทยงาม เดินเข้า เอิ้นว่า "ลูกหลานเหลนหลาย ชวดชายหญิงพู้น ต้นมาเย้มหมู่เจ้า เสิงแซบสราญมมา ปลาล้น ฝนพราว ข้าวเฟื้อ เนื้อชุม อันเอ่ยมาหมู่เจ้าเสิงสราญกัน (เถิด)..."

สือไทย มื้อค่ำคืนให้สุมไฟ ตั้งคบไฟ โอยสรวง ให้หาของ ข้าว ปลา เป็ด ไก่ หมู งัว ควาย บวงผีแล้วขอผีเลี้ยงกัน ขุนสรวง ขึ้นหัว "ไทยงาม" ให้เห็นเงาขาวในแสงเดือน (สือไทยไม่ค่อยเชื่อถือนัก จับไทยงามปล้ำจะ เอา ขุนสรวงออกเสียงโดยปากไทยงามว่า)

"เจ้าขุนสือไทย..กูชื่อ ขุนสรวง ผู้สางต้น ผีไทยลว้า เมียชื่อ นางสาง แม่ผีเรือนสางของ กู ลือขวัญไทยสร้างต้น ซ่อมกันมา เมื่อนี้ ผุพัง รอยขีดเว้าต้นลบลื้มหาย มึงสร้างขึ้น "ลาย" เล่ารู้ใหม่..."

สือไทยใคร่ลอง ว่า ให้พี่เอาสักเทื้อ สรวงว่า กูยังอยู่ มึงไม่เชื่อเย้มไว้ สรวงให้ ไทยงามยืนนิ่งตรง เงาชายขาวมีให้ดู เห็นมี ของชาย ไทยงามนุ่งห่มผ้า เงาขาวเห็นชายตัว เปล่า แล้วเป็นสองเงาขาว ญิงมาคู่ มีหัวยอด แหลม เสียงชายว่า กูขุนสรวง ญิงว่า ข้าแม่ นางสาง เป็นผีคุ้ม

สือไทยถาม ต้นอยู่ในไหน สรวงว่ากูอยู่ฟ้าพู้น ยังเป็นสางฟ้า ในเมื่อล้านล้นหลายพันปี ยังอยู่ที่นี้ เฝ้านานดูหมู่มึง ล่วงลุถึงผู้หลอน เมื่อนี้ ยังน้ำเลือดขาวของสองกูสรวงสาง เข้าเสิง ในอู่ญิงเลี้ยงเลิ้ง มึงชายมีส่วนสรวงชาย "ยี่สิบ" ส่วนสางญิง "สิบสอง" ไทยงามญิงมีส่วนสาง ยี่สิบ ส่วนสรวงสิบสอง

สือไทย ฟังขุนสรวงแล้วถามว่า ให้ทําอันใด ขุนสรวงเล่า ไม่ต้องทําหลายที่ดังก่อน ทําอันหนึ่งให้กูนั่งที่ต้น แล้วผู้อื่นให้ตั้งเรียงกันไป หมู่กูไม่มีผ้า มึงเอาตนมิมีผ้าตั้งต้น มึงเอาลาย ผ้าไทยงามทอตามแม่สางขึ้น สิงใจสอนให้ทอ ทําลาย เขียน อ่าน จํา ได้ มึงเอาเขียนแทนขีด (ซึ่ง) ไม่มีคนรู้ถึงมื้อนี้

แม้มึงให้ชื่อลายผ้าตามชื่อไทยงามว่า ชื่อ ลายไทยงาม เอาลายดูรู้เรื่อง ชื่อลายผ้าตาม ชื่อเจ้าว่า "ลายสือไทย" สอนลูกหลานต่อไป ชื่อลายอันนี้จะยั่งยืนเท่ามีคนอยู่หล้าฟ้านี้

ขุนสือไทย เมืองแมน ปีอิน ๑๒๓๐ ผัวนางไทยงาม นางทอผ้า มะลากเส้นเป็น "ตัวเมือง" ไทยอ่านได้ความ คิดความทาง ก.ข. เอา "ตัวบ้าน" เป็นตัวตาม และ หน้า หลัง เหนือ ใต้ เข้ารวมอ่านออกชื่อ ลายสือไทย ได้เชิญ ขอมฟ้าไทย มาช่วยกันคิดและสร้าง ลายอ่านเอาลายเส้นปรากฏ ใช้เวลาทําอยู่ ๕ ปี ตั้งแต่ปีอิน ๑๒๓๐ ถึง ๑๒๓๕

เมื่อสร้างเรือนสางและปั้นทํารูปต้นต่าง ๆ เสร็จแล้วจึงคิดทํากเบื้องจารึกเรื่อง เมื่อจารึกเรื่อง เข้าอ่านลายขีดไม่รู้เรื่อง จึงเชิญ ขุนสรวง มาทรง "ไทยงาม" แล้วถาม ขุนสรวงเกรงว่า จะเขียนจํานวนไม่ทัน จึงสอนลาย เลขไทย ย่อ บอกวิธีอ่าน เขียน ให้ งามตน เรียนจําไว้ ปีอิน ๑๒๔๕ ได้จารึกเรื่องลงกเบื้องจาร เมื่อ ปีอิน ๑๒๕๐

ขอมฟ้าไทย ได้คิดและสร้าง ลายสือขอม อีกชุดหนึ่ง ลายสือไทยคิดสร้างทางสาย กอ ขอฯ ลายสือขอมคิดสร้างทางสาย กะ ขะฯลฯ ทั้งได้ลงกเบื้องจารไว้ กเบื้องจารชุดนี้เหลือมาถึง ๑๖๐ กว่าแผ่น อาจเสียหายไปบ้าง จึงนําลง เพียงตัวอย่าง จากนั้นจะกล่าวเพียงสัญลักษณ์ ชื่อเท่านั้น ถ้าต้องการดูละเอียด และไปปรากฏ ถึงต่างประเทศ ก็หาดูได้จากหนังสือจารึก ลายไทย ลายสือไทย ฯลฯ (ครั้งนี้...ได้ใส่มา ทั้งหมด ได้ใช้หมึกลงทับเส้นให้เห็นได้ชัดด้วย)

รูปลายเสียงอ่าน ที่ขุนสือไทยและขอม ฟ้าไทยคิดขึ้นได้ เขียนไว้เมื่อ ๖๘๓๕ ปีมาแล้ว หรือเมื่อปีอิน๑๒๓๐-๑๒๓๕ ได้ที่ คูบัว ที่ "พวกสับประทุน" ประกาศว่าของปลอมทําด้วย ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ นํามาทําแบบเพียงที่เห็น ชัด ๆ ทั้งหมด ทั้งมีทุนทําได้แล้ว..."



พจนานุกรมไทย

ดอม = ด้วย, ราว, แนว, แถว
มื้อ = คราว, ครั้ง, หน, วัน
พู้น = นู้น, โน้น





◄ll กลับสู่ด้านบน

โปรดติดตามอ่านต่อต่อไป



kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 7/6/09 at 10:52 Reply With Quote



Update 7 มิ.ย. 52

บทที่ ๓๑


ความเดิมได้เล่าไว้ในฉบับที่แล้วว่า บรรพบุรุษของไทยได้แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปไกล โดย ในกระเบื้องจารระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อปีอิน ๘๖๒ (คือเกือบ ๗ พันปีมาแล้ว) "สากอไทย" และ "สูหานไทย" หลังจากครองเมืองแมนได้เพียง ๑๕ วันเท่านั้น ได้หนีออกไปตอนกลางคืน พี่ น้องสองคนเดินทางไปถึง "หิมวันตประเทศ" ต่อมาได้ขึ้นครองเมืองตั้งเป็น ขุนอินสากอไทย โดยนำชื่อ ขุนอินเขาเขียว ซึ่งเป็น บรรพบุรุษของตนขึ้นนำหน้า ดังจะสังเกตได้ ในปัจจุบันนี้ ประเทศอินเดียยังคงใช้คำว่า "อิน" นำหน้าอยู่ ส่วนคำว่า "สากอ" ใกล้เคียงกับคำว่า "สากยะ" เช่นกัน

อีกทั้งพระเดชพระคุณหลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังกันแล้วว่า พระพุทธเจ้าเป็นชาวไทยอาหม เมื่อครั้ง ท่านหมอชีวกโกมารภัจ กลับมาจากเมือง ทวาราวดี (นครปฐม) พบว่าคนที่นั่นพูด เป็นคำโดด ๆ ไพเราะมาก พระพุทธองค์จึงตรัสเป็นภาษาทวาราวดี จนเป็นที่แปลกใจแก่ท่านหมอชีวกโมารภัจเป็น อย่างยิ่ง จึงได้กราบทูลถามสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระองค์ตรัสได้เพราะความเป็นพระ พุทธเจ้าหรืออย่างไร องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า ชาวกรุงกบิลพัสดุ์ต่างก็พูดภาษานี้ ซึ่งจะมีเรื่องราวที่จะกล่าวต่อไปในกาลข้างหน้า

ต่อมาเข้ายุคสำคัญของประวัติศาสตร์ ชาติไทยในสมัยดึกดำบรรพ์ คือเมื่อประมาณ ๖ พันกว่าปีมาแล้ว ขุนสือไทย ได้เป็นผู้คิด ลายสือไทย และ ขุนขอมไทย เป็นผู้คิด ลายสือขอม และ ขุนเลกไทย เป็นผู้คิด ตัวเลขไทย อีกทั้งเป็นต้นครูบาอาจารย์ คือมีการไหว้ครูกันด้วย "หัวแห้วหมู มะเขือ และหญ้า แพรก" อันเป็นต้นกำเนิดมาจนถึงบัดนี้

จึงเป็นอันว่า หนังสือขอม มิได้มาจาก คนชาติขอม แต่เป็นคนไทยชื่อ ขอม โดย เฉพาะ ขุนสือไทย เป็นต้นคิด ลายสือไทย มิใช่ พ่อขุนรามคำแหง อย่างที่เข้าใจกัน แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดี ก็ได้วิเคราะห์ กันแล้วว่า พ่อขุนรามคำแหงเป็นแต่เพียงคัด เลือกอักษรต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว พร้อมกับได้บัญญัติขึ้นมาใหม่ว่า ให้ใช้เขียน-อ่านเหมือนกันตามนี้



ประวัติพ่อขุนสือไทย

ขอย้อนประวัติตามที่เล่าไว้ว่า ขุนสือไทย เป็นลูก ขุนเสืองฟ้าไทย กับ นางสร้างพาดี เกิดเมื่อปีอิน ๑๑๘๙ เมื่อต้นหนุ่มชอบช้าง ม้า และได้ขี่ไปเที่ยวไกล เมื่อพ่อตาย แม่ พี่ น้อง จึงให้ครองเมืองต่อ คงคิดว่าเป็นลูกเมียน้อย เมืองควรตกเป็นของ ไทยงาม หรือ ขอมฟ้าไทย ผู้เป็นพี่ใหญ่ ถึงกระนั้นก็พยายามให้ดีที่สุด จึงให้ขอมฟ้าไทยเป็นที่ปรึกษา หรือ ขอมเมือง เอาไทยงามขึ้นเป็นเมียคนเดียว

แล้วในคืนหนึ่งจึงได้หนีออกไป ทิ้งเมืองแมนไว้ ๕ ปี ในระหว่างนั้น ขอมฟ้าไทยได้ครองแทน เพื่อรอน้องกลับมา ครั้นขุนสือไทยจากไป ๕ ปี จึงได้กลับมาในปีอิน ๑๒๒๐ ในขณะนั้นมีอายุ ได้ ๓๑ ปี ได้กลับมาครองรักกับไทยงาม ๑๕ ปี มีลูก ๙ คน ตาย ๓ เหลือ ๖ คน ต่อมาขุนสือไทยจำวัน เดือน ปี เกิดของลูกแต่ละคน =ไม่ได้ จึงเริ่มคิดลายสือไทย เพื่อใช้จดเรื่องราว และวัน เดือน ปี เกิด

ในคราวหนึ่งเห็น นางไทยงาม ผู้เป็นภรรยากำลังทอผ้า-ยกลาย ได้มองดูลายผ้า แล้วอ่าน "เมือง , บ้าน" ได้เท่านั้น จนกระทั่ง ขุนสรวง มาเข้าทรงไทยงาม แล้วบอกให้คิดทางสาย ก. ข. ค. ฆ. บอกขอมฟ้าไทยให้สร้าง ลายสือขอม ทางสาย กะ ขะ คะ เป็นต้น ทั้งสองช่วยกันคิดและสร้างลายอ่านเอาลายเส้นปรากฏ ใช้เวลาทำอยู่ ๕ ปี ตั้งแต่ปีอิน ๑๒๓๐ ถึง ๑๒๓๕ แล้วจารึกไว้ในกเบื้องจารเมื่อ ปีอิน ๑๒๕๐ เพื่อให้คนไทยรุ่นหลังได้ทราบไว้ นับเป็นเวลาเกือบ ๗ พันปีล่วงมาแล้ว จึงขอเชิญพบกับตอนต่อไป

ลายสือในโลกเท่าที่พบเห็น

ฝรั่งทําไว้เป็นแบบ รู้กันมี ๔ แบบระบบ เป็น ๕ ทั้ง ๐ คือ
๑. ลายสือไทย ตัวสือไทย
๒. ลายสืออ่าน
๓. ลายสือแจง
๔. ตัวหนังสือ
๕. ตัวหมายรู้ (ตัวโน้ตเพลง)
ลายสือไทย หรือ หนังสือไทย และ ขอม เป็นตัวคิดที่ยังเป็นลายอยู่นั้น ซึ่งมีชื่อ ว่า ตัวเมือง คือ พยัญชนะ เป็นอย่างหนึ่ง ตัวบ้าน คือ สระ เป็นอย่างหนึ่ง ซึ่งฝรั่งยัง ไม่ได้พบ จึงยังไม่ได้ยกเข้าสู่วิทยาการของเขา จึงไม่มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง และมีชื่ออยู่ในคนไทยนี้ จึงใช้ชื่อเป็น "ลายสือไทย" มีระยะกาลเกิดมา ๖๘๓๕ (พ ศ ๒๕๓๐) ปีแล้ว อาจเป็นแบบต้นสุดก็ได้ แต่เมื่อเป็นตัว "พยัญชนะ" มี "สระ" และ "ไม้ บังคับให้อ่านไปตามคําไทย

จึงอยู่ในแบบลายสืออ่านได้นํามากล่าวก่อน เพราะยังไม่รู้กันจึงอยู่ในระดับ ตัวลายสือไทยกับมี เลขไทยอีกด้วย ที่ยิ่งกว่านี้ก็คือ ตัวสือไทย และเลขไทย คือ ด.อ. หรือ ๑.๖. หรือ ๑ ๒ และมีตัวสือไทยว่า "ต้นคนอินฟ้า" กับ "แม่ญ่านางไทย" ปรากฏที่ ปราสาทมายา หรือ มายัน ณ เมกซิโก กัวติมาลา และแหลมยูทาแคน อีกทั้งตัวสือจารึกว่า "อินคา กับแบบปฏิทิน สุริยคติ (วันที่) และจันทรคติ (ขึ้นแรม) ณ ยูทาแคน เปรู อเมริกาใต้

๑.ลายสืออ่าน ลายรู้อ่าน(HIEROGLYPHSและHIEROGLYPHICS) คือตัวหนังสือที่เขียน ขยุกขยิก ยังเห็นเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ตัวหนังสืออียิปต์โบราณ ซึ่งยังใช้เป็นรูป เช่นรูปสามเหลี่ยม อ่านเป็น รูปสิงโตหมอบซ้ายอ่านเป็น และรูปเสาโคมห้อยซ้ายอ่านเป็น โอ แม้กลุ่มหนังสือยุโรปตั้งแต่สมัยคนานไนท์ (CANNAANITE) ที่ชื่อว่า อัลฟาเบท (ALPHABET) ก็เช่นเดียวกัน เช่น A มาจากรูป อัลฟ่า R มาจากรูปหัวคน ๒ คนหันหน้าเข้าหากัน หรือรูปม้าน้ำ ชื่อว่า ราโด เป็นต้น

อย่างนี้ลายสืออ่านเขียนระบบฮายโรกลีฟฟิคซ์ไม่ได้แปลงมาเป็นระบบแบบอัลฟาเบท (HIER0GLYPHIC WRITING NEVER BECAME ALPHABETIC) ส่วนตัวหนังสือ ซูเมอเรี่ยน ไม่ได้เห็นคํา อธิบาย จึงทราบเพียงว่า เป็นลิ่ม เป็นรูปต่างๆ เช่น ม้าไม่รู้จะใช้เป็นพยัญชนะ และสระหรือเปล่า ส่วนตัวลายสือไทยนั้น เช่น ทํามาจากเสียง กอ ในชื่อว่า กอไผ่ อู ก็เอามาจากเสียงกล่าวคําชื่อ อู คือ ไก่อู เป็นต้น

รวมความว่า ลายสืออ่านหรือหนังสืออ่านนั้น เดิมต่างเอามา จากคําชื่อในคําของตน ๆ ได้เอาขึ้นเป็นตัว พยัญชนะ และสระประสมอ่านเป็นเสียงคํากล่าว ชื่อว่า ลายสืออ่าน หรือ หนังสืออ่าน ลายสืออ่านนี้ ยกเว้นไทยอื่น ๆ ไม่ปรากฏว่ามีตัวเลข และลายรู้อ่านที่เขียนเป็น รูปให้รู้อ่าน เช่น สลักเป็นรูปมือ ปั้นเม็ดเชื้อ เป็นรูปเกิด ที่เรียกว่า ผีปั้น

๒.ลายสือแจง(IDOGRAPHและIDOGRAPHIC) คือตัวหนังสือซึ่งใช้ลายเส้น เป็นรูปภาพแจ้งความหมายชื่อคําอังกฤษ ทั้งนี้ ไม่ใช่ชื่อเดิม จึงเป็นคําชื่อตั้งใช้ใหม่ ลายสือแจงนี้ เช่น ตัวหนังสือกลุ่มจีน ซึ่งคําจีนกลางว่า หยี่ แต้จิ๋วว่า จื้อ เช่นคน เขียนรูปขา ๒ ข้าง อย่างนี้ อ่านว่า นั้ง แปลว่า คน ผู้หญิง ก็เขียนรูปคน ๒ คนกอดกันอย่างนี้ อ่านว่า หนึ่ง แปลว่า ผู้หญิง ถ้าตัวเดียวอย่างนี้ อ่านว่า จื้อ แปลว่า เด็ก ถ้าเขียนรวม กันอย่างนี้ อ่านว่า ฮ้อแปลว่า ดี ฉะนี้ "ความดี" ตามคําหนังสือจีนให้ความหมายไว้ว่า "มีเมียและลูกเป็นความดี" และก็หนังสือจีนนี้เป็นคําอ่านอย่างนั้น ไม่มีตัว พยัญชนะและสระ บังคับเหมือนลายสืออ่าน ซึ่งเป็นลายเส้นแจงในตัวเอง ลายแจงนี้หมาย ไปถึงรูปแสดง ซึ่งชาวอินเดียแดงเขียนแจ้ง ความต่าง ๆ ได้กับที่สลักไว้ ณ หินต่าง ๆ ที่ถือกันว่า "หินเล่าเรื่อง" (STONES THAT SPEAK) จึงใช้ชื่อคําเดิมว่า ลายสือแจง และ มีลายตัวเลขด้วย

๓.ตัวหนังสือ หรือ ลายตัวสือ (DEM0TIC) คือ ตัวหนังสือที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง กระทั่งจําง่าย เขียนง่าย หรือเป็นตัวปัจจุบัน เช่น ตัวลายสือที่ได้พบตัวดั้งเดิมมาแล้ว เช่น ลายสือไทย ลายสืออียิปต์ ลายสือกลุ่มยุโรป ลายสือกลุ่มจีน ฯลฯ สําหรับ ลายสือจีน นั้น มีหลักฐานว่า ไม่มีพยัญชนะและสระ ลายสืออียิปต์ และ อัลฟาเบท กลุ่มยุโรป มีตัวพยัญชนะ ที่เป็นสระ คือพยัญชนะนั่นเอง แต่อ่านเป็นสระประกอบได้ และเรียงเป็นบรรทัดเดียวกัน

ส่วน ลายสือไทย หรือหนังสือไทยนั้น ได้พบตัวดั้งเดิม หรือตัวมูลฐานที่ยังเป็น ลาย อยู่นั้น มีทั้ง ตัวเมือง คือพยัญชนะ และ ตัวบ้าน คือสระและตัวสะกด เช่น ะ า ิ ี เป็นอีกอย่างหนึ่ง เวลาเรียงประกอบก็เรียงไว้ หน้าบ้าง หลังบ้าง บน ล่าง จึงเป็นพิเศษ และ ๓ บรรทัด แม้ลาย ตัวเลขไทย ก็เช่นเดียวกัน เช่น เลข ๑ ไทย ใช้เส้นเดียวก็จริง แต่เขียนแบบ เวียนขวา ส่วน เลขจีน เขียนเส้นเดียวแต่เป็น เส้นนอน เลขโรมัน ก็เขียน ตั้งตรง แม้ เลขอาหรับ ก็เขียน ตั้งแต่มีหัว ฉะนี้ ลายสือ และ เลขไทย จึงเป็นแบบไทยแท้ ซึ่งยืนยันเป็นต้นแบบ ตลอดอักษรพยัญชนะ ทุกชนิดที่มี พยัญชนะ และ สระ เป็นส่วนหนึ่ง ทั้งเรียงหน้า หลัง บน ล่าง โดยเฉพาะเช่น กลุ่มหนังสือชมพูทวีป หรืออินเดีย เช่น ตัวเทวนาครี ตัวพราหมิน ตัวสีหล ฯลฯ

๔.ตัวหมายรู้ คือ ตัวโน้ตเพลง ตัวชวเลข ตัวชื่อดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์ ตัวประดิษฐ์ เหล่านี้เป็นของใช้เฉพาะ เช่นชื่อต่าง ๆ สําหรับ ตัวลายโน้ตนั้น กล่าวเฉพาะชื่อแล้วไม่รู้เรื่อง ถ้ากล่าวในเสียงเพลงแล้ว หรือให้เครื่องทําก็รู้ ได้ในทํานองเพลง หมายไปถึง ชวเลข หมายถึง ลายขีด เสียงเคาะสั้นยาวเป็น โทรเลข หมายถึงเสียงกลองที่ส่งถึงกัน ซึ่งทําลายหมายรู้สําหรับเรียนในรุ่นใหม่นี้ ก็หมายถึงรอยกลุ่มบันทึก ข้อมูล สมองกล กับ ลายรูปภาษา สมองกล และหมายถึง รอยบันทึกจานเสียง แถบเสียง และภาพ ตลอดถึงภาพยนตร์ อันเป็นเครื่องหมายรู้ในรูป แบบต่าง ๆทั้งนี้ล้วนเป็นสิ่งที่คนทําขึ้น และเป็นเครื่องใช้กัน ซึ่งมีวิวัฒนาการกันมา

สืบต้น

(ก่อน พ ศ ๒๔๖๖-๒๔๖๗ ก่อนที่ ฝรั่ง เอาของไทย ยกให้แก่ แขกทมิฬ ก็แค่นี้เอง) ตามพื้นเพของเผ่าไทยเดิม ลูกผู้ชายอายุ ๖-๘ ขวบ ออกเลี้ยงวัวควาย อายุ ๙-๑๕ ขวบ เรียนหนังสือ ๑๖-๒๕ เที่ยวไปอยู่วัด บวช เที่ยวต่างเมืองเพื่อหาเมีย หญิงอายุ ๖-๘-๑๘ เลี้ยงน้อง หัดทอผ้า หรือเรียนหนังสือ หัดการครัว ๑๘-๒๕ ขวบ วัยมีครอบครัว เมื่อเรียนหนังสือวัย ๙-๑๐ พ ศ๒๔๖๖ -๒๔๖๗ เมื่อ ๕๘ ปีมาแล้ว ได้เรียนแบบเรียน ในครอบครัว ครู อาจารย์ สอนก็คือพ่อและปู่ ท่านหากระดานไม้และดินสอ

พอถึงวัน พฤหัสบดีข้างขึ้น ดูจะเป็นเดือน ๕ ได้อาบน้ำ แต่งตัว ทาขมิ้น ให้ใช้เสื้อชุดใหม่ ใช้พระเครื่อง ที่แขวนคอนั้นวางบนพานรงหิน ตั้งบนหิ้ง เก็บ ดอกมะลิ ว่าหอม ดอกดาวเรืองว่ารุ่งเรือง ดอกมะเขือ ว่ากินได้ ดอกหญ้าแพรก ว่างอกงาม ดอกเข็มจากวัด ว่าเฉียบแหลม วางหน้าพวงพระ จุดธูปเทียนปักในชามแกง ซึ่งใส่ข้าวสาร ที่นําออกมาจากโอ่งข้าวในครัวบ้าน เรียบร้อย แล้วนํากระดานและดินสอวางตรงหน้าพระ ดึงแขนให้เข้าไปนั่งตรงกระดาน ได้ใช้ผ้าขาวม้า เฉวียงไหล่แล้วกล่าว นะโม นําให้ว่าตามจบ ๓ ครั้งแล้ว บังคับให้ก้มกราบตรงกระดานนั้น ๓ ครั้ง แล้วสอนให้เล่า คือ อ่าน ก. ข ฯลฯ อ. ฮ จึงจับมือขวาซึ่งจับดินสอแล้วให้เรียน คือเขียน ก. ข. แล้วบอกให้ดูตัวพิมพ์ในหนังสือประถม

ก.กา เมื่อเขียนอ่าน ได้อ่านดัง ๆ บังเอิญ ความจําดีก็จําได้หมดรวดเร็ว แต่ก็จําเท่านั้น ปู่โต เสาวดี (วงศาโรจน์เดิม) ได้เข้ามาสอน แบบเก่ากว่า ขณะนั้นอายุประมาณ ๗๐ ปี จึงทราบแบบเรียนเมื่อ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ในการเรียนคราวนั้น ได้ทราบว่ามีหนังสืออยู่ ๓ ชนิด คือ หนังสือเล็ก คือ ไทย หนังสือใหญ่ คือ ขอม หนังสือกลาง คือ ไทยเดิม

ในการสอนคราวนี้ ปู่โต สอนแบบเก่าไว้ว่า ก. ข.ฃ้. ค. เฆาะ (ออกเสียง หนัก) ง. จ. ฉ. ช่. ซ. เฌาะ ญ ( ออกเสียงหนัก ญ. ออกเสียงขึ้นจมูกเหมือนเสียงลาวและมคธไทย) ฎ. ฏ. ฐ. ฑ. เฒาะ. ณ. ด. ต. ถ. ท. ธ่. น. บ. ป. ผ. ฝ. พ่. ฟ. เภาะ ม. ย. ร. ล. ว. ศ.คอ ษ.บอ ส.ลอ ห. ฬ่. อ. ฮ้.ได้เล่า คือเรียนเสียงอ่านเมื่อ ๑๐๐ ปี กว่ามานั้น จําได้มา ๕๐ ปีกว่ามาแล้ว พอมา เจอลาย ตัวเมือง-ตัวบ้าน จึงนึกเสียงเล่า ชื่อเหล่านี้เข้าจับก็อ่านในลายต้นได้ จึงทําไว้เพื่อ สืบต่อแบบเล่าเรียนลายสือไทย

ต้นเดิมลายสือไทย

รูปลายเสียงอ่านที่ ขุนสือไทย และ ขอมฟ้าไทย คิดขึ้นตามชื่อคําไทยแล้วได้เขียนไว้ เมื่อ ๖๘๐๐ ปีมาแล้ว หรือ ปีอิน ๑๒๓๐-๑๒๓๕ ได้ที่ คูบัว ได้มาครบ แผ่นหินทรายยาว ๑๐ นิ้ว กว้าง ๙ นิ้ว เกือบทุกแผ่นมีรอย ลเลื่อยทําแผ่น แสดงว่าไทยมีเลื่อยใช้มาแล้ว ๖ พันปีกว่า ทั้งมีลงรักประสมทองผง ที่เห็นเขียน ตัวเต็มแผ่น และแผ่นละตัว ได้นํามาเรียงตามลําดับปัจจุบัน แน่ใจว่า ลําดับคงสืบมาตลอดถึงปัจจุบันจึงปรากฏอยู่

จริงอยู่ บางแผ่นมีลักษณะเรียบ ซึ่งยืนยัน ว่าทําในระยะหลัง เห็นชัดว่าทําซ่อมที่แตกหัก เสียหาย คงเขียนสืบลายต้นเดิมนั้น และรูป ลายสือต้นเดิมนี้ ยืนยันหลักฐานว่าไทยเขียน, ทํา, สร้างรูปต่าง ๆ ได้มานานแล้ว ทั้งแผ่นหิน ทราย ทองผง ยางรักประสมดํา และมีทองคํา ผงประสม ก็เป็นหลักฐานยืนยันกรรมวิธีของ ไทย เพราะเป็นลายสือไทย และของไทย มีอยู่ ในไทยนี้แห่งเดียว ก็ตัวลายสือไทย หรือ ตัวหนังสือไทย ทั้ง ตัวเมือง (พยัญชนะ) และ ตัวบ้าน หรือ ไม้ (สระ และ ตัวสะกด) นั้น ๆ แต่ละล้วนมี อยู่ในคํากล่าวชื่อไทยทั้งนั้น เช่น

ก. ก็เป็นเสียงในคํากล่าวว่า กอ. คือ กอไม้, กอหญ้า, เหล่ากอ, กอวง,
ขอ. ก็คือ ขอชัก, ขอเกี่ยว, ขอข้าวทอง,
ค. ก็คือ คอ คอคน เป็นต้น กับ ตัวบ้าน หรือ ไม้ ก็คือ สระ นั้น ต่างก็เอามาจากเสียงคําไทยทุกตัว เช่น ไ. ใ. ก็เอามาจากไอน้ำ ก็ลําไอน้ำซึ่งพุ่งเฉียงซ้าย เป็น ไ.ที่พุ่งม้วนก็เป็น ใ. อู ก็เอามาจากเสียงว่า ไก่อู เป็นต้น

ซึ่ง พ่อขุนสือไทย, พ่อขุนขอมฟ้าไทย ได้กระทําไว้ แล้ว ทั้งแต่ละล้วนก็มีอยู่ในคํากล่าวของคนไทย ตลอด และก็ ขุนขอม ได้เอาคําเสียงกล่าว พูดกันขึ้นเป็นลายหมายรู้อ่าน เช่น เอาลายกอไผ่ เป็นตัว ก. เอาลายรูปตาขอ เป็นตัว ข. ถ้า เสียงหนักก็ขยักที่หัวเป็น เช่น ไทยกลาง กล่าวพูดว่า ข้าว เสียงเบา แต่พวกหมู่ไทยเฉียงออกเสียงหนักจึงใช้ ว่า กินฃ่าว ซึ่งลายทั้งนี้ได้ใช้เป็นตัวลายสือไทยตลอดกาล

ซึ่ง พ่อขุนพระรามคําแหง ได้ จารึกไว้ในหินจารึกหลักหนึ่ง พ.ศ.๑๘๒๖ จึง รู้กันได้ในกาลนี้ ต่อมาได้เลิกกันไปแล้ว และใช้ชื่อเป็นภาษาสันสกฤตแทนเป็นส่วนมาก มาในสมัยรัตนโกสินทร์จึงใช้ชื่อว่า "อักษร, สระ, พยัญชนะ" และรวมกันยกไปให้ชมพูทวีปแล้ว ยังมีคําโคลงยืนยันว่า อักษรไทยอย่างนี้ เดิมพราหมณ์จรจากแต่เมืองรามราษฎร์โพ้น มายั้งอยู่ยังสยามประเทศนี้นา จึงยักย้าย อย่างโน้น เพื่อให้ไทยเรียน

และแต่ พ ศ๒๔๖๘ โปรเฟชเซอร์ ฝรั่งเศส ทําประวัติจารึก ถ้ำฤษีเขางู (ราชบุรี) กล่าวไว้ว่า "อักษรไทยนี้ มีลักษณะคล้ายกับ อักษรอินเดียใต้" จึงยกไปให้อินเดียใต้ และได้ ใช้ชื่อว่า อักษรคฤนถ์ หรือ มคธ ว่า อักษรคันถะ

ซึ่งเสียงคําพูดไทยนี้ไม่มีในชมพูทวีป เช่น
กอ (คือกอไม้) มคธและ สันสกฤตว่า คุมพะ
ขอ ถ้าเป็นขอเกาะ ขอช้างว่า อังกุ
คอ มคธว่า คีวะ สันสกฤตว่า คฺรีวะ ถึงจะมีเสียง ค. แต่ก็ออกว่า คี, คฺรีวะ จึง ไม่เป็นเสียงกล่าวว่า คอ แท้อย่างไทย

และอีกศัพท์หนึ่งว่า กัก ก็ไม่เหมือนคําไทยเลย จึงเป็นไปไม่ได้ที่เสียงคํากล่าวในลายสือไทยจะมาจากอินเดีย หรือชมพูทวีปฉะนี้ จึงแน่ใจต่อหลักฐานแต่ต้นนั้น ซึ่งมีขึ้นได้เพราะ ไทยได้สร้างขึ้นตามความรู้ประจําตัวไทยเท่าที่ มีอยู่ในสมัยนั้น จึงตั้งชื่อเป็นไทยว่า ลายสือไทย, ตัวสือไทย, หรือ ตัวเมือง, ตัวบ้าน, และ ไม้ นั้น ซึ่งเป็นไทยตลอดทุกประการ

ลายตัวเมือง (พยัญชนะ) – ลายตัวบ้าน (สระ และ ตัวสะกด) – ตัวเมือง (พยัญชนะ) คลิ๊กที่นี่


ต้นกำเนิดลายสือขอม

ลายสือขอม (หนังสือขอม หนังสือใหญ่) ซึ่ง ขอมฟ้าไทย เป็นต้นชื่อและสร้างไว้เมื่อปีอิน ๑๒๕๐ คือเมื่อ ๖๘๐๐ ปีมาแล้ว เมื่อร่วมกับ ขุนสือไทยฟ้า สร้างลายสือไทยแล้ว ก็เกิดมี ความคิดขึ้น จึงสร้างลายสือขอมขึ้นอีก ทั้งลายสือนี้เป็น คํา "ขุน" (พระราชโองการสั่งใส่เกล้า) และเป็นคํา "ขอม" (คําสอนของครูอาจารย์ซึ่ง ศิษย์ต้องเคารพนับถือเชื่อฟังไว้ในหัวเกล้า) จึงเป็นประเพณีขึ้นครู-ไหว้ครูกันมา ลายขอมนี้ จึงมีชื่อว่า หนังสือใหญ่

ลายสือไทยเป็นของ ขุน ซึ่งเป็น ศิษย์ขอม จึงมีชื่อว่า ลายสือน้อย ต่อมาต่างก็แก้ลาย ให้เขียนง่ายหรือเส้นตรง ซึ่งน้อยหรือหลังมา อีก ลายสือไทยเดิมจึงมีชื่อว่า หนังสือกลาง สําหรับตัวไทยน้อย ก็คือตัวหนังสือปัจจุบัน หนังสือใหญ่ หรือขอมนี้ เดิมเข้าใจว่ามีครบและคงมีหลายชุด ที่ได้มาไม่ครบ ถึงกระนั้นก็ยังดี พอมีหลักฐานให้ทราบได้

ในขณะที่คิดสร้างขึ้น ได้ใช้สติปัญญาร่วมกันมา ลายสือไทย คิดสร้างทาง กอ. ขอ. ฯลฯ ลายสือขอม คิดสร้างทาง กะ ขะ ฯลฯ ซึ่งมีอยู่ในเสียงคําชื่อไทยเช่นเดียวกัน กับทั้ง ขอมฟ้าไทย เมื่อคิดลายสือขอมนั้น หลังจากคิด ลายสือไทยมาแล้ว ๑๕-๒๐ ปี จึงมีความรู้ ชํานาญลายเส้นอยู่แล้ว จึงเอาลายอะไรก็ได้ แล้วตั้งชื่ออ่านว่า กะ ขะ ยังวางฝีมือช่างไว้ที่ ลายเส้นสวย วางฐานะขอมไว้ด้วยมีลายเส้น ครอบ หรือ หนามเตย คือ ขอม

เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวัณณภูมิ ไทย พระเถระโบราณาจารย์ และโบราณาจารย์ หรือ ขอม ได้ร่วมกันใช้ ลายสือขอม จารึก พระไตรปิฎก อัฏฐกถา ฎีกา คัมภีร์ ปกรณ์ เข้าใบลานเป็น โปฏฐปาฐะ พระธรรมรัตนะเป็นที่เคารพกราบไหว้บูชา และยิ่งถูกปรับปรุงเป็นตัวเลขยันต์ก็ขึ้นสู่ขลังศักดิ์สิทธิ์ ตัวขอมจึงเป็นหนังสือใหญ่ชั้นตัวครูอาจารย์ เนื่องจากได้ตัวเดิมมาไม่ครบ จะนําตัวสมัยปลายมาทําแบบพิมพ์ใส่เข้ามาด้วย และขอได้พิจารณาดู ในการทําคราวนี้ ได้นําลายสือขอมเดิม ซึ่งเป็นต้นแบบมานั้น ใช้เส้นหมึกใส่ทับลงไป เพื่อเห็นเค้าตัวลายสือ หรือตัวหนังสือขอมได้ชัดเจน ซึ่งก็ไม่ค่อยตรงกับตัวขอมแน่นอนนัก

ถ้าต้องการดูให้แน่นอนก็เปิดดู ตัวขอม ซึ่งได้ทําแบบพิมพ์เข้ามาในหนังสือนี้ อันพอเห็นเค้าลายเดิมได้ และตัวขอมนี้มีหลายตัวที่มีเค้าลายสือไทยปรากฏอยู่ เช่น พ.ขอม ก็คือ ผ.ไทย แต่เขียนคว่ำลง ส่วน ล. นั้นคือ ญ. ขมวดหาง เป็นต้น เท่าที่กล่าวอย่างนี้ เพื่อยืนยันว่า "ลายสือ ขอม" นี้มีมาพร้อมกับ" ลายสือไทย" และมี มานานตั้ง ๖๘๐๐ ปีกว่าแล้ว พร้อมกับชื่อ ก็ยังเป็นชื่อไทย

คือคําว่า ขอม นั้น คําขะแมแท้ เขาแปลว่า หลอก ส่วนชื่อไทยนั้น ใช้ตั้งเป็นชื่อคนกันมา เช่น จารึก วัดมหาธาตุ เมืองยโสธร มีระบุว่า "ขอม เอียงเวธา" จารึกสุโขทัยหลัก ๒ มีระบุว่า ขอมสมาส โขลญลําพงเครื่องปั้นดินเผาทางอีสาน ก็มีว่า ไหขอม เป็นของมีชื่อเสียงโด่งดังมาก และใช้ในคํากล่าวว่า ขอมหัว ขอมตัว คือ คลุม หรือ ครอบ

ในทางส่วนกลาง มีคําว่า "หนังสือขอม" เป็นชื่อเพลงต่าง ๆ เช่นเพลง ขอมทรงเครื่อง ขอมกล่อมลูก ต่อมาแต่งใหม่ใช้ชื่อว่า เขมรไทรโยค เกือบทั่วดินแดนไทย ถ้ามี ของขอม จะต้องมี สระเพลง บัดนี้ใช้ว่า สระเพรง เพรง ตัวนี้แปลว่า เก่า ก็สระนั้น ๆ เป็นของเก่าในสมัยนี้

แต่สมัยที่ทําสระหรือสร้างบ้านเมืองกันนั้น ยังไม่เก่าจึงเป็นของที่พวกนักเพลงสมัยนั้นทําขึ้นใช้ ซึ่งได้เรียกกันว่า สระเพลง กันตลอดมา ที่ใช้เดิมมานั้น จึงมีชื่อว่า สระเพลง อันเป็นของคู่กัน ขอม คือ ครูบาอาจารย์วิชาการต่าง ๆ เพราะ ขอม กับ เพลง นี้มีอยู่ในเมืองและ คนไทย จึงเป็นของไทย ในเมืองไทยนี้

คนไทยยังมีชื่ออีกชื่อหนึ่งคือ ขอมเดิม เขมรลาวเดิม พวกนี้ก็คือไทยเดิมนั้น ที่โคราชและชัยภูมิออกเสียงว่า ไทยเดิ่ง ในแถบนั้นมี ชื่อว่า ลวู ละเวียะ ลวะ ลาว ตลอดไป ถ้าพวก นั้นเขาออกเสียงว่า "ขอม" เช่นช่างทําหม้อ ทําไห เขาหมายถึงคนไทย และยังเป็นคําประจําของชาวลาวว่า "ลาวไปใส ไท-มาแข"

ซึ่งยืนยันชื่อว่า "ลาว" คือ เราเป็นเจ้าของบ้าน ส่วน "ไท" นั้น หมายถึงว่า ผู้ไปหา แม้พวกลาวด้วยกันก็กล่าวว่า "ไท" หมายถึง ว่า ผู้ไปเยี่ยม คือเป็นแขกไปหา ฉะนี้ ขอมเดิม ลาวเดิม เขมรลาวเดิม จึงเป็น คนไทย พวกนี้มีอยู่ ณ จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ฯลฯ ตลอดทั่วเมืองไทย

นับได้ว่าเป็นสิ่งสูงสุดยอด ที่ได้พบตัว ดั้งเดิมที่ยังเป็น "ลาย" อยู่คือ ลายสือขอม หรือ หนังสือใหญ่ ที่ไทยเรียกกันมา ได้พบทั้ง ตัวเมือง คือ พยัญชนะ ตัวบ้าน คือ สระ และ ตัวสะกด ทั้งหลักฐานไม้เอก ไม้โท ที่ไทยได้สร้างใช้กันมา และในกาลต่อมาได้ แผ่นเงินจารึก ลายสือขอม ณ วัดค้างคาว เพชรบุรี ปรากฏไม้เอกไม้โท ไม้ผัดไม้คด (การันต์)ฯลฯ มีระบบวิธีลายสือไทยครบ ทั้งลงปี พ ศ ๓๔๕ ไว้ด้วย จึงเป็นหลักฐานได้ตลอด

ลายสือขอม ซึ่ง ขอมฟ้าไทย คิดสร้าง ขึ้นนั้น หลังจากสร้างลายสือไทยมาแล้ว ๑๕ ปี จึงชํานาญลายเส้นอ่านอยู่แล้ว สร้างลายอะไร ก็ได้แล้วตั้งอ่านสําเร็จขึ้น เพื่อให้ต่างจากลายสือไทย จึงสร้างทางสาย กะ ขะ ได้สร้าง ตีน คือ ตัวซ้อน เป็น ตัวบ้าน ที่นํามาแสดงพอเป็น ตัวอย่างลายสือขอม ตัวเมือง ตัวบ้าน "ขอม"

เท่าที่ได้มายังไม่ครบตามที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ลายสือไทย และขอม ไทยได้รักษา คือเล่าเรียนกันมาได้ถึง ๖๘๐๐ ปีแล้ว จึงมีจารึกและเขียนไว้ตลอด กาลมา และยังแพร่ออกไปปรากฏถึงต่างประ เทศใกล้เคียง อาจออกไปเป็นต้นแบบของลาย สือของชาติต่าง ๆ ทั่วไป บังเอิญ พ่อขุนสือไทย และ ขอมฟ้าไทย ได้กระทําแบบไว้ มิฉะนั้นคง ไม่ได้รู้เรื่อง ทั้งไม่มีหลักฐานที่จะคัดค้านหรือ เถียงฝรั่งได้

สําหรับ ลายสือขอม เวลานี้ได้ยกเลิก ไปแล้ว แม้ในการทำ วิทยานิพนธ์ สอบเปรียญ ชั้น ป ธ ๔ ถึง ป ธ ๙ ก็ยกเลิกไปแล้ว ตั้งแต่พ ศ๒๔๘๕-๒๔๘๖ น่าชื่นใจมากต่อ อาจารย์สมาน โซ๊ะเหม แห่งวิทยาลัยครูเพชรบุรี ซึ่งได้พยายามเรียน ตัวหนังสือขอม กระทั่งอ่านออกเขียนได้ ยังเล่าให้ฟังต่อไปว่า มารดาเป็นโซ่งผู้ไทย พูไทย ทั้งได้ไปขึ้นครู-ครอบครูแล้ว ในฐานะที่ผู้เขียนนี้ก็เป็นเผ่าลัวะ ลว้า คือ ลาวเดิม ซึ่งโคราชออกว่า ไทยเบิ้ง ชัยภูมิออกว่า ไทยเดิ่ง ผู้ออกคําพูดว่า อีสัง เหมือนกัน

ต้นของพวกเรามีสติปัญญา คิดสร้างลายสือไทย ลายสือโซ่ง(ผู้ไทย) ได้เหมือนกัน นับว่ามีสติปัญญาพอสมควร ครั้นสร้างได้แล้ว ยังแฝงสอนลูกหลานเหลนต่อมาตลอดถึง ปัจจุบัน เรามีการยกครู ขึ้นครู ครอบครู ไหว้ครู วิชาการนั้น ๆ ตลอดอย่างน้อยก็มี ดอกไม้ธูปเทียน ซึ่งทั้งนี้มีอยู่เฉพาะคนเผ่าไทย ในชื่อต่าง ๆ และในไทยนี้พวกเดียว ทั้งยั่งยืนอยู่ตลอดมา

ตัวขอม ซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบัน เวลานี้ไทยเลิกกันหมดแล้ว และที่เขียนเป็นแบบเรียน จึงยังเป็นลายเส้นของนักจารอยู่ มีครบทั้ง ตัวเมือง ตัวบ้าน คือ พยัญชนะ และ สระ ตัวขอมนี้ที่นําไปใช้ใน ขะแม เรียกชื่อว่า ตัวชะเลียง หรือ ตัวจะเรียง เล่ากันว่านําไปในราว พ ศ ๖๐๐ และชื่อก็ใกล้กับ ตัวจเลละ กับทั้งใช้ตัวก็ปรากฏคล้ายคลึงกัน จึงเข้าใจว่าเป็นแบบเดียวกัน

ลายขอมที่เขียนไว้แต่ พ.ศ. ๒๕๐-๕๐๐ คลิ๊กที่นี่

◄ll กลับสู่ด้านบน

<โปรดติดตามที่อ่านต่อไป ตอนที่ ๓๒>



kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 31/5/10 at 12:54 Reply With Quote



Update 31 พ.ค. 53

บทที่ ๓๒


ประวัติความเป็นมาเรื่องการสร้าง อักษรไทย และ อักษรขอม บัดนี้ได้เปิดเผยออกมาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูก ปกปิดมานานนับเป็นพัน ๆ ปีมาแล้ว จึงอดที่จะภูมิใจเสียมิได้ ที่เราคนไทย ได้วิวัฒนาการในด้านอักษรเป็นของตัวเอง มิได้นำมาจากชนชาติอื่นใด อย่างที่ นักปราชญ์บางท่านสมัยนี้เข้าใจกัน จึงเป็นการทำลายเกียรติภูมิบรรพบุรุษของตนเองโดยแท้ ทั้ง ๆ ที่เรามีหลักฐานชัดเจน ดังที่ได้นำลงใน ตอนที่แล้ว หวังว่าคงจะยอมรับความสามารถ ของคนไทยกันบ้าง

โดยเฉพาะ อดีตท่านเจ้าคุณราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) ท่านเป็นผู้มีความอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง ได้นำข้อความที่จารึกไว้มาให้พวกเราได้รับทราบ ตัวท่านเองก็เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญใน ด้านอักษรศาสตร์มากมาย ดังเรื่องที่ผ่านมา ท่านได้ดำเนินเรื่องประวัติการสร้าง อักษรไทย และ อักษรขอม สำหรับตอนนี้จะเป็นเรื่องอะไร ขอได้โปรดติดตามตอนต่อไป



"ร่องรอยไทย" ทั้ง "ตัวสือไทย"

ร่องรอยไทย" ทั้ง "ตัวสือไทย ได้มีปรากฏไปตลอดแถบเหนือโลกและแถบใต้ ที่ปรากฏในทางตะวันตก หรือยุโรปนั้น เท่าที่พบเห็นมีปรากฏทั้งสิ่งของเครื่องใช้และ ตัวสือโบราณ ได้ไปปรากฏถึงกรีก, อียิปต์ และ มอตย่า ชิชิลี, อันเป็นบริเวณโรมันเดิม ณ ครั้งหลัง ซึ่งเป็นระยะกาลประวัติศาสตร์ก็มี ณ ฮอลันดา-เนเธอร์แลนด์, อังกฤษ, ฯลฯ ที่ เป็นร่องรอยไทย แต่ไม่มีสือไทยนั้น ได้มีไปถึง นอรเว, สวีเดน, ฟินแลนด์, แถบเหนือสหภาพ โซเวียตฯ ถึงอลัสกา โดยเฉพาะ ชาวลวะ, ลพ, ลบ, และไวกิง

ก็ ณ ส่วนใต้อันเป็นบริเวณโรมันเดิมนี้ มี "พวกไวกิง" สลัดท่องเที่ยวลงมา และขึ้นไปเสมอ ได้เคยเห็นเรือสลัดที่ทําเป็นรูป แม่ย่านาง ประจํา ณ ห้องคอเรือ และ ณ มอตย่าได้เห็น รูป แม่โพสบ สองมือกํารวงข้าวชูขึ้น มีแพะทั้งสองโผขึ้นจะกินข้าวนั้น เพราะถิ่นนั้นได้มี แพะไว้ให้นม และก็ข้าวนี้เป็นดอกหญ้าสะเทิ้น บกน้ำ ฉะนี้ แม่โพสบจึงเป็นแม่ย่านางได้ ทั้งแม่โพสบก็ยกย่องว่า "จ้าวแม่" (GODDESS) เป็นของชาวเมืองคะนานไนท์ มีมาแต่ศตวรรษที่ ๑๓ ก่อนคริสต์ ก็ประมาณ ๓,๓๐๐ ปีแล้ว

ยังเล่าว่าที่เปลือยเต้านม และลวดลาย กลีบถุงทรงเป็น พากพูมประจําจ้าวแม่ (GODDESS SHOW) กับทั้งแม่ย่านางก็ได้ทำเป็นรูป อยู่ในห้องเยี่ยมหน้าต่างตึก อันอยู่ประจําที่ ก็คงเป็นรูปจ้าวแม่ดิน หรือพระนางธรณีได้ ซึ่งถูกยกย่องแล้วว่า พระจ้าวแม่ หรือ จ้าวแม่พระ (SHE WAS GODDESS PRIESTES) ครั้งนําไปอยู่กับเรือก็เป็นแม่ย่านางได้ ส่วน ไวกิง หรือ ไวจิง (จริง) นั้นได้เห็นพิธีการที่เรียก จ้าวพ่อ-จ้าวแม่ช่วย คือถูกทำโทษต้องรับโทษ



จ้าวแม่โพสบ - จ้าวแม่ขวัญข้าว - จ้าวแม่ข้าว


แม่โพสบ ซึ่งเป็นรูปสลักงานี้มีส่วนสูงเกือบ ๕ นิ้ว ได้พบ ณ ที่ใกล้เมือง ยุการิต (UGALIT) เมืองท่านี้อยู่ก้นอ่าวทะเลเมดิเตอร์เรเนียนก่อนขุดคลองสุเอซ ได้สลักเป็นรูปแม่โพสบ มีมือทั้งสองข้างกํารวงข้าวชูขึ้น ให้รวงข้าวห้อยลงทั้งสองข้าง มีแพะสองตัวโผขึ้นจะกินข้าว ประมาณกาลศตวรรษที่ ๑๓ ก่อน ค ศ (ก็เมื่อ ๓,๓๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นระยะกาลก่อน การล่มจมแห่งวัฒนธรรมอายุโลหะประสม(BRONZE) ของชาวเอเจน (AEGEAN)

ชาวเอเจนเป็นชาวเกาะกลางทะเลเอเจน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของกรีก ได้มีวัฒนธรรม ตั้งแต่ ๓,๐๐๐ ถึง ๑,๑๐๐ ปี ก่อน ค ศ ) แม้ชาวคะนานไนท์ก็ยังได้รับอิทธิพลแนวการสร้าง ของชาวเอเจนนี้ เช่น การเปลือยอก และ กลีบถุงนุ่ง อันเป็นคุณลักษณะประจําจ้าวแม่นั้นชัดเจนอยู่

ก็จ้าวแม่โพสบนี้เป็นจ้าวแม่ข้าว และรูปนี้ เป็นหลักฐานว่ามีตลอดไปถึงยุโรปด้วย กับทั้ง ต้องขึ้นไปถึงถิ่นแดนเหนือ ซึ่งมี ชาวลพ และ ไวกิง ประจํานั้น เพราะทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนี้ มีช่องอ่าวทะลุถึงกัน จึงออกไปมหาสมุทรแอตแลนติกได้ ก็มหาสมุทรนี้ทางเหนือ นอรเว, สวีเดน ก็มีชาวลพและไวกิงอยู่ประจํานั้น ข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งก็ถึง ลบราโดรฺ ณ อเมริกาเหนือใต้ แม้ทางบก จากนี้ไปถึงถิ่นเหนือ และเหนือรัสเซียก็ไปถึงอลัสกาจึงไปถึงกันได้ (จากหนังสือTHE SEA TRADERS)

ส่วน “ไวกิง”หรือ “ไวจิง” (จริง) นั้น ได้เห็นพิธีการที่เรียก “จ้าวพ่อ-จ้าวแม่” ช่วย คือถูกทําโทษต้องรับโทษ ถูกนําตัวไปมัดกับเสาในน้ำ ซึ่งน้ำจะขึ้นท่วมจมน้ำตาย พอน้ำขึ้นเขาก็ร้อง เรียกให้มาช่วย ร้องออกชื่อว่า "โอ-ดิน" ก็คือ “ออดิน” หรือ “พ่อดิน-แม่ดิน” ก็มีหญิงแก่คลุมผ้าขาวถือไม้เท้าออกมาบอกว่า มาช่วยแล้ว เมื่อน้ำขึ้นเชือกมัดจะขาดเอง ก็เป็นเช่นนั้น คําชื่อว่า "โอดิน" ก็คือ “พ่อดิน” หรือ “ แม่ดิน” ก็ได้ เป็นชื่อไทย แต่ไทยที่นี่ได้เปลี่ยนเป็น พระธรณี และ แม่ธรณี ดังที่ได้บรรยายมาแล้ว

ณ นอรเว และสวีเดน ตลอดถึงฟินแลนด์ แถบเหนือสหภาพรัสเซีย มีชาวลวะ, ลพ, และไปฟากอเมริกา โดยเฉพาะที่ซึ่งมีชื่อว่า ลบ ราโดรฺ (LABRADOR) อันอยู่แถบมหาสมุทรแอตแลนติค ซึ่งมีชื่ออย่างเดียวกัน แผกเพียงตัว สะกดเป็น พ. (P) และ บ. (B) เท่านั้น ณ ไทยมีชื่อว่า ลวะ และ ลพ คําตัวสือและสระอังกฤษว่า ลบ, ลพ, ไม่มี มีว่า..แล็พ, แล็บ

สําหรับตัวหนังสือนั้นเปลี่ยนกันได้ แต่เสียงอ่านทั้ง พ. และ บ. สะกดนั้นเหมือนกัน ในที่นี้จะเห็นมีชื่อว่า ชาวลพ และ ลบ เหมือนกันทั้งสองแห่งนั้น เฉพาะ "ลพ" ณ นอรเว และสวีเดน กับ ฟินแลนด์นั้น ที่ถ่ายรูปมาจะเห็นว่าใช้ผ้าเหมือนไทย และทําบ้านหรือโบสถ์มีช่อฟ้าหางหงส์ หรือมียอดแหลมอย่างเดียวกับไทย

ส่วน “ไวกิง” หรือ “ไวจิง” (จริง) ในที่ๆ หรือหัวเรือใช้ และเรือที่ใช้เดินท่องเที่ยวไปนั้น บางลํามีทํารูปหญิงทรวงอกใหญ่นั่งประจํา ณ ห้องหับเผยคอเรือ หรือยืนใต้ร่มหัวเรือก็มี ต้องเป็น แม่ย่านางเรือ เช่นเดียวกับไทยแท้ ในพิธีการก็มีการเรียก “จ้าวพ่อ-จ้าวแม่” ว่า "โอดิน" หรือ “พ่อดิน-แม่ดิน” ทั้งนี้ก็เป็นหลักฐานได้บ้างแล้ว

สําหรับ ชาวลพ ที่มีประเทศเป็นถิ่นแดนของตัว ทั้งมีชื่อเป็นอย่างเดียวกันว่า ลบราโดรฺนั้น ก็เป็น ชาวเอสกิโม ไปแล้ว กระนั้นก็อยู่ในถิ่นแถบเดียวกัน เครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้จึงเหมือนกัน อันยืนยันได้ว่าเป็นชนิดเดียวกัน ก็พอเป็นหลักฐานได้แล้ว ถ้ามีโอกาสได้พบเห็นสิ่งของ ชาวลพ และ ชาวลบ อีกแล้วก็จะได้ใส่เพิ่มเติมในคราวหลัง คราวนี้อ้างพอเป็นตัวอย่างก่อน คงพอจะเป็นแนวทางให้ได้พบต่อไปได้



จ้าวแม่พระ จ้าวแม่ขวัญเมือง แม่เลี้ยง


"รูปหญิงเยี่ยมหน้าต่าง" นี้ เป็นธรรมดาอย่างหนึ่งที่เข้าไปปรากฏในเครื่องงาชิ้นเล็ก ๆ ของชาวโฟนีเชียน รูปแกะสลักงานี้ได้เป็น จ้าวแม่ จ้าวแม่พระ หรือเป็น จ้าวแม่ขวัญเมือง ที่ทําเยี่ยมหน้าต่างมองออกมานั้น ยืนยันว่าเป็น จ้าวแม่พระ จ้าวแม่ขวัญเมือง จ้าวแม่ธรณี (SHE WAS GODDESS PRIESTESS OR PRIVATE CITIZEN) ที่ได้มองออกไป ณ พื้นบนหน้าต่างแนวเดียวกับเสาหินค้ำเล็ก ๆ ใต้ธรณีหน้าต่าง ซึ่งโผล่ขึ้นยันรับตามรูปแบบของชาวอัสซีเรียน แต่ปรากฏในเขตแดน ชาวโฟนีเชียน ซึ่งมีตลอดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนถึงทั่วแถบฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติค

เหตุนี้จ้าวแม่พระนี้ถ้าอยู่บกก็เป็น จ้าวแม่พระธรณี ถ้าประจําเมืองก็เป็น จ้าวแม่ขวัญเมือง หรือ แม่ทรื้อ ถ้านําไม้ตะเคียนมาทําเรือน, ตําหนัก, วัง, ก็เป็น จ้าวแม่เรือน, แม่เลี้ยง ถ้านําไปทําเรือก็เป็น แม่ย่านาง

“จ้าวแม่พระไทย” ได้ไปเป็นเจ้าแม่รูปแบบชาวอัสซีเรียน ณ เขตแดนชาวโฟนีเซียน จึงมีรูปแบบเป็นอย่างนั้น มีเครื่องประดับคลุมลงมาอย่างนั้น หรือมีเครื่องทรงรัดเกล้าอย่างนั้น แต่หน้าตาก็ยังสวยงามอย่างที่ปรากฏให้เห็น





ชาวลพ หรือ ลวะ ลโว้ ลัวะ ล้อ นั้นซึ่งได้ไปอยู่ ณ นอรเว และสวีเดนนานแล้ว อาจเป็นพวกบกและยังมีอีกอย่างหนึ่งคือ ไวกิ้ง พวกนี้อาจเป็นชาวทะเล หรือชาวน้ำ จึงมีความชํานาญในทางเรือมากจึงรู้จักทะเลหลวงทั่วไป ซึ่งอาจเป็นพวกเดียวกัน ถ้าชอบอยู่บกก็เรียกว่า ชาวลพ ถ้าหากชอบทะเลหรือชอบอยู่น้ำ เช่นทําเรือทุ่น หรือปลูกบ้านในน้ำ และชอบออกทะเล หรือหากินในทะเล ในแม่น้ำลําคลองก็เรียกว่า ไวกิ้ง หรือ ไวจริงหรือ ว่ายเก่ง หรือ ไวกลิ้ง หรือ ไวกริ่ง จึงเป็นชื่อไทยแต่แปล่งไปจนกระทั่ง ไม่รู้จักว่า ไทย


และยิ่งกว่านี้ทั้ง “ชาวลพ” และ “ชาวไวกิ้ง” มี จ้าวฟ้า เหมือนกัน ต่างเพียงชื่อเท่านั้นคือ พวกลพนั้นมีชื่อว่า (อิน) ปู่รุ หรือ ผู้รั่วฟ้า ส่วนพวกไวกิ้งนั้นมีชื่อว่า “โอดิน” หรือ จ้าวพ่อดิน-จ้าวแม่ดิน ยิ่งเรือชาวไวกิ้งมีรูปหญิงสถิต ณ ห้องหับเผยหัวเรือนั้นก็คือ แม่ย่านาง นั่นเอง

ส่วน พวกลพ นั้นเข้าใจว่าจะเรียกเป็น แม่ดิน หรือ นางธรณี แต่ไม่รู้ว่า “ลพ” รุ่นนั้นออกว่าอะไร ถ้าออกว่า “โอนิ ” ละก้อตรงกับแม่ธรณีทีเดียว รวมความทั้งสองนั้น มีของไทยและท่าทางไทยอยู่ กับมีคําพูดยังเป็นไทยอยู่มาก อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้ว จึงว่าเป็นไทย ตามที่ปรากฏนั้น ๆ และเป็นหลักฐานได้แน่นอนแล้ว



ร่องรอยไทยที่ปรากฏ แต่ไม่พบตัวสือไทย

เป็นท่าทางไทย, เป็นเครื่องแต่ง, เป็นเครื่องใช้ ใช้ชื่อเป็นถ้อยคําไทย ซึ่งปรากฏในชื่อว่า "อินเดียน" มีตลอดอเมริกาใต้, กลาง, เหนือ, และ คานาดา ถึง อลัสกา ได้พบเห็นในหนังสือหลายเล่ม ซึ่งได้เล่าถึงเผ่าอินเดียนในชื่อต่างๆกัน ซึ่งได้ไปอยู่ ณ ทวีปอเมริกาแล้วตลอดไป ตั้งแต่ยุคน้ำแข็งคือ ปลีสโตซีน PLESTOCENEE (ICE AGE) ก็คือเมื่อประมาณ ๒ ล้านปีมาแล้ว เท่าที่ทําไว้ให้พบเห็น ดูจะมีตลอดทวีปอเมริกา เห็นทําเรือนแบบลอมฟาง แบบกระโจม แบบเรือนกระท่อม ๒ ชั้น ทําตึกก่ออิฐปูนขาว ทําเมืองบนเทือกเขา จะกล่าวเพียง ๒ เผ่า คือ เผ่าลาวจ้าว, นาวจ้าว หรือ จ้าวลาว, จ้าวนาว และ เผ่าสู้ คือ เผ่าซู

โดยเฉพาะ เผ่าจ้าวนาว (นาวาโจ) ได้ทิ้งร่องรอยไว้คือ ได้ทําเตาเผาทึบมีช่องไฟเหมือน เตาเผาถ่านไทย ทําเครื่องปั้นดินเผา รู้จักทําหยก และทําทองเป็นเครื่องประดับ และเครื่องใช้ ทําผ้าสี และลายเหมือนไทย ที่ถ่ายรูปมาให้เห็นนั่งพับเพียบเป็นทั้งหญิงและชาย ทั้งมีพวงลูกปัดหินคล้องคอ อาจใช้เป็นของขลังศักดิ์สิทธิ์ป้องกันตัว ที่มีนี้ก็เหมือนไทย จึงว่าเป็นไทย เผ่าจ้าวนาว หรือ จ้าวลาว (เจ้าเรา เจ้ากู)


เผ่าสู้ หรือ ซู นั้น เฉพาะพวกนี้ได้ฟังเขาพูดกันส่วนมาก มีเสียงพูดเป็นถ้อยคําไทยเช่น น้ำ ว่า “นำ”, ตาย ก็เหมือนกัน, ฟันว่า “แข่ว ”, ผู้หญิง ก็เหมือนกัน ที่เป็นประโยควลีว่า "ข้าชื่อออก้า" ก็คือ “ข้าชื่อนายกล้า” หรือ “ข้าชื่อพ่อกล้า” หรือ “ไอ้กล้า” ทั้งเวลาเขาบอก ชื่อเผ่าว่า ชาวสู้ ฉะนี้ จึงแน่ว่าคนไทย ทั้งเผ่านี้มีทั่วไปตลอดถึง คานาดา และ อลัสกา อาจเป็นพวกเดียวกับเผ่า ชาวเอสกิโม เพราะมีหลายอย่างเหมือนกัน

ในหนังสือชาวอเมริกันรุ่นแรก (THE FIRST AMERICANS) ได้เล่าถึงชาวอินเดียนตลอดถึง อลัสกา และกรีนแลนด์ มีชาวเอสกิโมอยู่ตลอด ชาวนี้คราวแรกก็ไม่ได้คิดอะไร เพราะชื่อว่า เอสกิโม (ESKIMO) ไม่ใกล้ไทยเลย ครั้นมาเห็นหนังสือเล่มนี้มีถ่ายรูปเครื่องเจาะคือ สว่านสาย หรือ สว่านชัก และ เรือมาดกะสวย ก็เห็นเป็นอย่างเดียวกับสว่านไทย เรือมาด กะสวยไทย จึงเรียกชื่อ ไทย ทั้งทําให้คิดหา คําไทยที่ใกล้เคียงกับชื่อ “เอสกิโม”

ครั้นอ่าน "โม" (mo) เป็น "มอ" แล้ว ก็พอจะได้ความว่า งัวไทย นั้น อีกชื่อหนึ่งมักกล่าวว่า "มอ" หรือเป็นชื่อภูเขาเล็กมียอดก็เรียกชื่อว่า มอ อย่างพระพุทธเจ้านั้นเป็น เผ่างัว จึงเป็น “โคตมโคตร”

โคตมะ นั้น เสียงสุดท้ายก็ออกว่า ม. โมเช่นเดียวกัน ก. ข. ไทย และชมพูทวีปออกแทนกันได้ เช่นไทยว่ากะหม่อม ขะหม่อม กนัด ขนัด กวักมือ มคธ สันสกฤต สังการ สังขาร ขม กษม เขม เกษม ฉะนี้

เอสกิโม จึงพอได้เค้าคําไทยว่า เอ็ดขี่มอ คือ “หนึ่ง-นักขี่มอ” ซึ่งพอได้ความไทยอย่างเดียวกับ พลายแก้ว เสือก้าฟ้า หลวงฟ้า ฬวงฟ้า ฬวง ที่ตรงกับ“ เล้ง” หรือ “มังกร” คําอีสานออกว่า ฬวง นั้นหมายถึง “งูใหญ่” คือพระยานาค อันผิดจากคําชื่อว่า “แลน” แต่เวลานี้ “แลน” หรือ “เหี้ย” “ตะกวด”นั้นมีขาย ได้ราคามากแล้ว อาจเป็นของมีค่าขึ้นได้บ้าง








ลายสลักหิน และ ลายตัวสือไทย

ที่ปราสาทมายา (มายัน) กับ อินคา ณ อเมริกากลางและใต้

ลายสลัก ลายตัวสือ ลายรู้อ่าน ที่ปรากฏนั้น นักปราชญ์ทั้งตะวันตกและตะวันออก ทั้งไทยด้วย ต่างประเทศเหมือนกันหมดว่า อ่านไม่ออก ได้มาอ่านออกที่กรุงเทพฯ ไทยนี้จึงได้รู้จักคนไทย "แม่ย่า" และ "อินคา" ในการรู้จักไทย และระบุไทยนี้ คงจะเป็นหลักฐานไทยที่ไปอยู่ ณ อเมริกากลาง และ อเมริกาใต้ ได้

ตามเรื่องเก่าแก่ของอเมริกาและเมกซิโก เล่าไว้ว่าได้พบรูปขบวนวิ่งสื่อสาร ซึ่งถูกเขียนไว้กับเครื่องดินเผา และพบชาวเมืองลับแลชื่อ โอลแมคซ์ (OLMECS, AN ENIGMATIC PEOPLE) ผู้อยู่ ณ แดนป่าชัฎที่ยาวเหยียด ตลอดอ่าวเมกซิโก ได้ปรากฏก่อน ค ศ ๑๒๐๐ ปี รู้จักสร้างหินดินลูกรัง และเจียนสลักหินหยก เป็นรูปเคารพชื่อจ้าว ทํารูปลักษณะหัว กระโหลกสูง มีเบ้าตาและปาก เหมือนคนชวา และคนปักกิ่ง ได้ฝังรกรากปรากฏอยู่ ณ โลกใหม่ ซึ่งหยั่งลึกลงไปถึงชั้นต้นเริ่มขึ้นเมื่อ ๒ ล้านปีมาแล้วคือ PLEISTOCENE (ICE-AGE) ยุคต้นเริ่มเจริญ (ยุคน้ำแข็ง)

ครั้นได้พบท่อนหินเลาะและเซาะคม เป็นเครื่องมือและอาวุธอันเป็นยุคหินเก่า จึงได้กาลเวลา ๑๒,๐๐๐ ปี ลึกเข้าไปถึง ๔๐,๐๐๐ ปี และอาจทอดเข้าไปถึง ๘๐,๐๐๐ ปี เฉพาะรูปเคารพนี้มีกาลเวลา ๑,๒๐๐ ปีก่อนค ศ จึงเป็นวัฒนธรรมโบราณของเม็กซิโกและอเมริกา ซึ่งเป็นยุคเก่าแก่ก่อน "มายา"และ" อินคา"

เมื่อเผ่า มายา และ อินคา ได้มีขึ้น และเจริญรุ่งเรืองขึ้น ได้ร่วมประสมประสานเข้ากัน จึงเป็นสัญลักษณ์หรือเอกลักษณ์ของตัวเองขึ้น อันเป็นเครื่องส่องให้รู้เรื่องอันเก่าแก่นั้น ๆ ได้ จึงได้เป็นเรื่องประวัติการณ์ขึ้นและเป็นประวัติศาสตร์ด้วยเท่าที่รู้กันแล้ว ก็เริ่มขึ้นด้วยจักรวรรดิแอซเทค (AZTEC) ณ อเมริกา เมกซิโก กัวติมาลา และจักรวรรดิโอลเมคซ์ (มายา) ณ เมกซิโกใต้ แหลมยูคาทาน (กัวติมาลา) เอลซาวาดอร์ ตลอดไปถึงนัซคา โมชิคา อินคา ณ เปรู โบลิเวีย อาเยนตินา และชิลี

อันมี " จ้าว" เป็นรู้เคารพมากอย่าง ยืนยันระบบแบบประเพณีวัฒนธรรมที่สําคัญ และตลอดไปก็คือรูปเคารพ จ้าวจากัว WORSHIP OF JAGUAR GODS เป็นเทพจ้าวรูปแมว คือ เสือประสมช้าง เป็นเทพจ้าวรูปงู และหน้ารอบนอกมี ๑๔ รวมหน้ากลางด้วยเป็น ๑๕ คงหมาย ถึงเดือนข้างขึ้นมีหัว ๑๕ หน้า (วัน) ข้างแรมเดือน ขาดมี ๑๔ หน้า (วัน) เป็นรูปเทพกายคน (สุริยเทพ หรือจ้าวตะวัน) ทั้งมีลายสือไทย อ่านได้ว่า อินคา อินค (อินคะ) ฉะนี้

"มายา" ก็คือ แม่ย่า หรือ แม่ย่านางไทยที่ปราสาทมีลายสือไทยอ่านได้ว่า "ต้นคนอินฟ้า" และ "แม่ญ่านางไทย" และ เผ่าอินคา ก็คือ อินค่า (ฟ้า) ทั้งได้ลงกาลเวลาไว้ว่า ค ศ๓๐๐ ถึง ๑๒๐๐ ด้วย เป็นหลักฐานได้ว่าไทยไปอยู่ อเมริกามาก่อนฝรั่ง (พ ศ ๘๔๓ ถึง ๑๗๔๓)



ตึกปราสาทนี้ "ช่างมายัน" สร้างไว้ ณ เมือง ยูคาทาน ประมาณ พ ศ ๑๕๐๐ (คริสต์ศตวรรษที่ ๑๐) เป็นรูปโค้งลูกหน้าไม้ (ลูกศรธนู) อันนี้ประจักษ์แจ้งมากเพราะมี ลายสือไทย และ คําไทย กับ ชื่อไทย ปรากฏอยู่ว่า "ต้นคนอินฟ้า" ซึ่งกาลนั้น คนไทยได้ไปอยู่ที่ใหม่ ไม่ใช้ชื่อหัวหน้าเผ่าว่า ขุน หรือ กษัตริย์ หรือ ราชา ใช้ชื่อว่า ต้นคน คือ คนต้นที่ ๑ อย่างสมัยนี้ใช้ว่า ประธานาธิบดี ฉะนี้จึงได้ ความว่า "ต้นคน" หรือ "อินฟ้า" ได้สร้างไว้และจารึกชื่อไว้ด้วย

อันแสดงว่ามีความรู้ทั้งทางก่อสร้างและรู้หนังสือ กับรู้จักตั้งคําไทยใช้กันมา จึงกระทําไว้ที่ตึกก่อนนั้น ที่ปรากฏลายเลข และลาย อ.ด. ถ้าอ่านเป็นตัวเลขก็ได้กาลเป็นพ ศ๒๖๑ (คงไม่ใช่ต้องอ่านตัวบนคือ ด. หรือ จึงได้ พ ศ๑๒๖๑ ใกล้กับที่ฝรั่งเขียนไว้)


จริงอยู่ ตึก ปราสาทเหล่านี้ ได้สร้างประมาณ พ ศ ๑๕๐๐ หรือคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ เท่าที่กล่าวเช่นนี้ ก็เพราะในหนังสือเขากล่าวเล่าไว้ แต่ตามที่นักทําภาพยนตร์สารคดีเขาเล่า ร่องรอยยืนยันไว้ว่าไปก่อน ค ศ ประมาณ ๕๐๐ ปีเช่นนี้ เผ่ามายา หรือ มายัน นี้ก็คือหมู่คนไทย ที่บําบวงบูชา จ้าวแม่น้ำ หรือ จ้าวแม่ทะเล ที่มีชื่อว่า "แม่ย่านาง"
เมื่อสร้างเรือใหญ่หรือสําเภาออกทะเลหลวงได้ จึงต้องบําบวงเป็นการใหญ่ จึงรอดไปได้เมื่อถึงและขึ้นฝั่งได้ ครั้นตั้งรกรากได้ จึงตั้งชื่อพวกเผ่าตัวว่า แม่ย่า ตามสัญชาตญาณประจําตนนั้น

คนไทยมีปกติรู้ และชอบประดิษฐ์ก่อสร้างทําอยู่แล้ว เมื่ออยู่นานเข้ามีการสืบต่อกันมากเข้าก็มีเพิ่มขึ้นมาก ได้สอนกันต่อ ๆ มาจนมีความรู้และมีความชํานาญพอ จึงสร้างจักร-วรรดิขึ้น ได้สร้างตึกปราสาทกับทั้งรูปเคารพขึ้น นําเข้าไว้เป็นที่บําบวงบูชาเป็นหลักฐานรับนับถือ ว่าเป็นต้นให้เกิดในรูปต่อไปจะเห็นเป็นรู้แบบ "ลายรู้อ่าน" หรือ ลายหินเล่าเรื่อง (HIERO-GLYPHICS, STONES THAT SPEAK) ได้เล่าเรื่องไว้ตลอด และเห็นตามแบบความรู้ ไทยที่ว่าไว้แต่โบราณว่า "ผีปั้น" ชัดเจน

ชาวมายา และ อินคา นี้ตามที่รู้กัน ทั่วไปว่าชื่อ อินเดียน และเมืองไทยหรือแหลมทองไทยนี้ก็มีชื่อว่า อินโดจีน ลงไปถึงอินโดนีเซียก็นับได้ว่าเป็นอินเดีย อินเดียนด้วยกันเคยสนใจรู้อินเดียนบ้างแล้ว โดยเฉพาะ เผ่าซู เขาพูดกันออกเสียงว่า สู้ กล่าวเรียก ฟัน ว่า" แข่ว" ตาย ก็ว่า "ตาย" เหมือนไทย และท่านพลตรี(ไม่ได้ขออนุญาตระบุชื่อ) ได้ไปพบและคุยกันเขาเรียก น้ำ ว่า "น่ำ"

แม้ พวกลพ (LAPP ลพ) ณ สวีเดน ม.ล.สุรพันธุ์ สุประดิษฐ์ ได้ไปพบคุยและถาม คำว่า "กาน้ำ" ลพ ออกเสียงว่า แกแน่ม,กา ออกเสียงว่า "แก" นกกาเหว่า เรียก " ตู้วู้" ทั้งนี้ยืนยันเป็นหลักฐานได้ว่า คนไทยได้ไปอยู่ก่อนแล้ว กับทั้งที่อเมริกาใต้ก็ได้ไปอยู่ และสร้างความเจริญไว้ก่อนฝรั่ง

ภาพ "ลายสืออ่าน" หรือ "ภาพลายรู้อ่าน" ของชาวมายา (MAYA HIEROGLYPHS) (ลายรู้อ่าน) ชนิด หินเล่าเรื่อง (STONES THAT SPEAK) ทั้งนี้คล้ายภาพลายสลักอย่างงดงามจากทาง ประตูวิหารแห่งหนึ่งที่ ปาเลนควี เมกซิโก เป็นชาวกรุงชั้นสูง จากลายวาดเขียน ระบุถึงอเมริกาโบราณ เป็นระเบียบชนิดหนึ่งแห่ง การแต้มจุดต่าง ๆ, เส้นตอน, หน้า, และ มือ

ซึ่งนักวาดเขียนสามารถกระทําได้ เพื่อบันทึก วันกําหนดและเหตุการณ์ ก็สัญลักษณ์ต้องถอดออกเป็นส่วนความหมายรู้อย่างแท้จริงได้ "ลายความรู้" อ่านลายเขียนเล่าเรื่องไว้ ตามความเล่าระบบการเกิดของไทย เฉพาะเป็นภาพเขียนเต็มและชัดเจนเพียง ๖ รูป คือด้าน ซ้าย ๓ รูป ด้านขวาอีก ๓ รูป






เงื่อนงําที่ข้ามแปซิฟิกไปได้

อย่างไร จึงจะแยก อเมริกาโบราณ ได้ เร็ว ๆ นี้ หมู่นักโบราณคดีได้แน่ใจจึงบันทึกไว้เหมือนกัน ระหว่างวัตถุโบราณที่ชาวเอเชียตะวันออก กับชาวอเมริกากระทําขึ้น และแนวความคิดสร้าง "ศิลปะ" กับ "ทฤษฎี" ได้เป็นประกายส่องแสงร้อนให้โต้แย้งกันขึ้น ระหว่างนักเรียนเป็นประชาชนชาวเอเชีย ในการเดินทางไปตะวันออกข้างหน้า ได้ร่วมกันช่วยเหลือกระทําการเขียนวัฒนธรรมโลกใหม่ไว้



ตึกอินคา บนภูเขาแมชชู ปิคชู เมืองอินคา ประเทศเปรู ที่ยังคงอยู่จะเห็นชั้นก่อรูปกําแพง ขั้นบันไดนี้สูง ๖,๗๕๐ ฟุต เมื่อสังเกตจะเห็นแบบทําและก่ออิฐแลงหรือหินผุได้เหมือนไทย ไม่ปรากฏลวดลายหรือแกะ, สลัก, เขียน อย่าง ชาวมายัน จึงอาจเก่ากว่า ดูวิธีตัดหินเป็นแผ่น ทําชั้น, ขั้น ฯลฯ ยืนยันผีมือ

เมื่อได้พบรูปหล่อ ปั้น เขียน ฯลฯ มี ลวดลายและ "ลายสืออ่าน" กับ "ลายสือแจง" เป็นหลักฐานยืนยันว่า มีความรู้ทั้งก่อสร้าง เพาะ ปลูก คิดคํานวณ ได้ตลอด และรู้จักสร้างอาณาจักรวรรดิ "อินคา" โดยใช้ภูเขาเป็นเทือก ๆ เป็นฐานปราสาทราชวัง วิหาร โบสถ์ เป็นฐาน ถนน และแม่น้ำ ลําห้วย คลอง รู้จักสร้างระบบ การปกครองแบบ เทพเจ้าอินคาผู้ทรงอํานาจ

"อินคา" เป็นเผ่าชาวเขาแอนดีน (AN-DEAN PEOPLE) ได้สถาปนาจักรวรรดิอินคาขึ้นประมาณ พ ศ ๑๕๐๐-๑๖๐๐ คริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ได้สร้างเมืองภูเขาตั้งแต่เปรู โบลิเวีย ชิลี อาเยนตินา เช่น แมชชู ปิคชู และที่ภูเขาทะเลสาบ ติติคะคา ซึ่งสูง ๒๐,๖๕๐ ฟุต ทะเลสาบมีส่วนยาว ๗๕ ไมล์ กว้าง ๔๘ ไมล์ เป็นพื้นที่บริเวณ ๓,๒๐๐ ตารางไมล์

โดยสร้างถนนบนภูเขาระบบขนานทะแยง จากโคลัมเบียของเปรูจรดชิลี เป็นระยะถนน ๗,๐๐๐ ไมล์ เช่นนี้ จะต้องไปอยู่กันนานก่อนนั้น เพราะจะต้องบุกป่าทึบ ถางทางพากันขึ้นไปบนภูเขามากมายอย่างนั้น ต้องใช้เวลานานจึงอาจไปอยู่ก่อนนานแล้ว จึงจะมีกาลเวลาและผู้คนพลเมืองมากเพียงพอ และมีรูปนิมิต จากัวก๊อด หรือ "เทวรูปแมว" นั้น ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์สมัยราชวงศ์ "ช้าง" ของจีน ก็ก่อน พ ศ ๑,๒๐๐ ปี และไทยก็ใช้เป็นตระกูล "พลาย"

ช้างพลายกับใช้เป็นนักษัตร์ปีขาน คือเป็นเทพจ้าวกาลเกิด เป็น "ชื่อตัว" และ "นามสกุล" และเป็นนิมิตสัญลักษณ์เดชอํานาจมานานแล้ว เพราะได้อยู่กันมานานได้มีวงศ์วานว่านเครือมาก กับมีกาลเวลานานพอจึงมีกําลังสามารถสร้าง อาณาจักรวรรดิอินคาได้ และได้คงอยู่มาให้พบเห็น

ส่วนปลีกย่อยคงมีอีกมาก คงจะถูกฝัง หรือบรรจุไว้ตามสัญชาตญาณไทย เมื่อได้พบก็ทราบว่าเป็นของ "ไทย" ตาม แบบไทย ที่ทําสําเร็จแล้วก็เก็บฝังบรรจุไว้ ฝากเป็นมรดกแก่อนุชน เพื่อให้รู้ว่าต้นบุรพชนนั้น มีอยู่ได้กระทําไว้เป็นหลักฐานนี้



รูปจ้าวพ่อข้าวโพด หรือจ้าวพ่อโคสบ


เท่าที่ว่าอย่างนี้ ก็ด้วยเหตุรูปนี้มีฝักข้าวโพด ปรากฏหน้าบ่าทั้งซ้ายและขวา ชาวมายา และอินคาที่ไปนั้น คงเอาติดไปทั้ง ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง และ ข้าวโพด อย่างอื่นคงหมด อาจเหลือเพียงข้าวโพด จึงนําไปปลูกเป็นไร่ข้าวโพดเลี้ยงกันมา ฉะนี้จึงทําแต่ จ้าวพ่อข้าวโพด มีฝักข้าวโพดประดับอย่างนี้

ในชวาได้เห็นรูป แม่โพสบ ทําเป็นหญิงถือรวงข้าวฟ่างเม็ดกลม ในไทยนี้ทํารูป แม่โพสบถือรวงข้าว ครั้นเห็นรูปนี้ทั้งเป็นชายด้วย จึงเรียก จ้าวพ่อโคสบ คือ "จ้าวพ่อพบงัว" นํางัวมาใช้งานได้ คู่กับแม่โพสบรู้จักทําข้าว ฉะนี้จึงเป็นหลักฐานไทยได้อีกอย่างหนึ่ง




"เทพจ้าว" หรือ "จ้าวอินคา" นี้สร้างด้วย ทองคําแท้ เป็นพระจ้าวน่าเกรงขามองค์หนึ่ง ได้แสดงส่วนประสมกันแห่งจ้าวความตาย และจ้าวความมืด (มัจจุราช, พระกาฬยมราช) สัญลักษณ์บนไหล่เป็นเครื่องหมายปฏิทิน เป็นพระจ้าวที่ดลดาลขึ้นจาก จ้าวจากัว และองค์นี้ยกขึ้นเป็นคนชั้น จ้าวอินคา คือ "พระสุริยเทพ" หรือ "พระบุตรสุริยเทพ" ที่พวกอินคาเรียกว่า "พระลูกจ้าวตะวัน"

และก็ พระสุริยเทพ นี้ได้ออกแบบไปอีกอย่างหนึ่ง เป็นนิมิตหมายให้ทั่วไปรู้จักว่า จ้าวพ่ออินคา ทรงอํานาจให้มีกลางวัน กลางคืน จึงสร้างสัญลักษณ์ปฏิทินไว้บนไหล่ เมื่อมีชื่อว่า "สุริยะ-ตะวัน" จึงบ่งบอกว่า ปฏิทิน นั้นเป็นแบบ สุริยคติ คือแบบวันที่ ที่ฝรั่งคิดทําขึ้นใช้กัน กระทั่งกาลบัดนี้

แบบที่เห็นนี้ ที่ว่าเป็นของไทยนั้น รูปซ้าย วงขอบหน้าภายในรัดเกล้า ๔ เหลี่ยมนั้น มี "ลายสือไทย" หรือ "ตัวหนังสือไทย" อ่านได้ว่า "อินคา" ชัดเจน คือ ิ ลายอย่างนั้นอยู่บน อ. ชัดเจน ต่ำลงมาเป็นรูปใบหู ที่เป็นรูปคนยืนไขว้ขานั้นคือ น. จึงอ่านได้ว่า "อิน"

ขวา ลายตัว ค.ชัด ถ้าอ่านเส้นวงซ้ายจะเป็น ด. ถ้าอ่านวงขวาจะเป็น ค. และช่วงต่อไปจะเห็นเป็น า. ชื่อ "อิน" นี้ก็ตรงกับ ขุนอินไทย ที่ฝรั่งเขียนไว้ว่า อินคา พวกไทยอาหมมีคําว่า "พ่อขุนเสือค่าฟ้า" อินคานี้ก็คงเป็น อินค่า (ฟ้า) เช่นนี้ ต้นคนอินฟ้า ณ ปราสาทมายานั้น เมื่อตายไปก็คงเผาส่งไปเป็น จ้าวพ่อตะวัน จึงขึ้นไปเป็น อินคาฟ้า หรือ อินค่าฟ้า จึงเป็นรูป ปรากฏนี้ว่า "จ้าวอินคา"


จ้าวอินคา รูปแบบนี้สร้างด้วยทองคําแท้ เป็นพระเจ้าวงกลม ดูเป็น "ดวงเดือน" หรือ "วงกลมพระจันทร์"แต่ในหนังสืออเมริกาโบราณ เล่าว่า" เหงื่อ" หรือ "ลูก"ของตะวัน เช่นเดียว กันคือเป็น "สุริยเทพ" ถึงกระนั้นรูปนี้ได้ออกแบบเป็นอีกอย่างหนึ่ง เป็นรูปวงกลม ทํารูปหน้าตาและปากกับฟันคนไว้ในวงกลาง มีเส้นลงล่างและบนมี ๒ รูป อันหมายถึง "ฟ้า-ดิน" หรือ "ดิน-ฟ้า" ส่วนรูปอยู่กลางก็คือ" ตะวัน-เดือน"

สําหรับวงนอกปรากฏเป็นรูปหัวหน้าตางู มีลําตัวยื่นออกมาข้างละ ๗ จึงเป็น ๑๔ รวม หน้ากลางด้วยเป็น ๑๕ ฉะนี้รูปนี้จึงเป็นดวงเดือนคือ ดวงจันทร์ และเป็นปฏิทินแบบ จันทรคติ ปฏิทินจันทรคตินี้ เป็นแบบที่ใช้ในทางตะวันออก คือ "ไทย" ไทยใช้เดือน วัน ทางจันทรคติ นับเดือนคี่มี ๒๙ วัน คู่มี ๓๐ วัน

รูปนี้จะเห็นเส้นลงนั้นเป็นคี่ คือเดี่ยวออก จากหน้ากลางก็นับด้วยจึงเป็น ๑๕ เป็นข้างขึ้น ที่ ๒ ไม่มีหน้ากลาง จึงเป็น ๑๕ เป็นข้างแรม ทุกเดือนคี่ มี ๒๙ วัน เดือนคู่ทุกเดือน จะเห็น ข้างบนมี ๒ หน้า จึงนับทั้งข้างขึ้นข้างแรมทั้ง ๒ ข้าง ข้างละ ๑๕ วัน จึงเป็น ๓๐ วัน ทุกเดือนคู่

ปฏิทินแบบ "จันทรคติ" ทางตะวันตก ไม่ปรากฏว่ามีใช้กัน จึงถือว่าเป็นแบบทางตะวันออก โดยเฉพาะที่มี "ข้างขึ้น-ข้างแรม" ก็มีแต่ "ของไทย" หรือ "แบบไทย" ทาง "จีน" มีเป็น วันที่ ๑ ๒ ถึง ๑๕ ๑๖ ทาง "ชมพูทวีป" มีปักษ์ขาว-ข้างขึ้น ปักษ์ดํา-ข้างแรมก็จริง นับวันจันทร์ เสวยฤกษ์เอามาตั้งเป็นชื่อเดือนจึงไม่มี "คี่-คู่" อยู่ในไทย ฉะนี้ ปฏิทินจันทรคติของอินคานี้ จึงยืนยันว่าเป็นแบบเดียวกับของไทย เป็นหลักฐาน เป็นชาติไทยด้วยกัน แต่รูปนี้ไม่ปรากฏมี




บ้านเรือนชาวเมารี ที่เป็นของสืบทอดกันมา ในแดนแถบร้อนแห่ง โรโตรัว เกาะนิวซีแลนด์ หรือ "ไนไตละนี "ซึ่งปรากฏเป็น เรือนไม้ มีลวดลายสลัก ณ เสา และใบบัน หรือใบระกา นมสวรรค์ กับไม่มีช่อฟ้า ได้ตัดตัวลายด้านซ้ายขยายไว้กลางอย่างที่เห็นนั้น มี เค้าให้อ่านได้ว่า "สือไทย"

ในลวดลาย "ใบบัน" นั้น ด้านซ้ายจากเสาด้านในจะเห็นมีลายอ่านได้ว่า "สือไทย" สำหรับเขียนสลักเป็น "ลายสือขอม" ประสม "ลายสือไทย" ประดิษฐ์อย่างนั้น ื เขียนสลักลาย อย่างนั้น อ. ชัดเจนเขียนแบบไทยชาว-ดํา ย. ก็ชัดเจน ได้ขยายตัวไว้แล้ว ส่วนด้านขวารูปตัวหนังสือไทย ปรากฏรูปสัญลักษณ์ให้อ่านเป็นปฏิทิน "จันทรคติ" แบบไทยเท่านั้น ยืนยันเป็นของไทยได้ ตัวลายกลับกัน แต่ "ไท" ท้ายชัดเจน

เรือนนี้ คงเป็นเรือนอยู่ ส่วนใน "สวนสวรรค์" หรือ "สวนสรวง" มี "เรือน" หรือ "เรือนสาง" มีป้านลมเป็น "ผีคุ้ม" หรือ "เทพารักษ์" แบบไทย พวก "ชาวเมารี" นี้เรียกว่าเป็น พวกไวกิ้ง หรือ "ลบ" เมื่อ ๑,๒๐๐ ปีมาแล้วบ้างว่าเป็น" พวกเมารี-รัสเซีย" ไปอยู่เมื่อประมาณ ๘๐๐ ปีมาแล้วบ้าง ถ้าจริง เมื่อไปเป็นชาวทะเลใต้ด้วยกัน ก็คงติดต่อจํา "ลาย" ไปสร้างหรือแกะสลักไว้ ลายสือไทย หรือชื่อ สือไทย จึงปรากฏ

ได้เคยเห็น "โบสถ์" หรือ "เรือนสาง" ในสุสานของ" เผ่าเมารี" ครั้งเสด็จประพาส นิวซีแลนด์ เห็นรูปโบสถ์หรือเรือนสาง ก็มีช่อฟ้า ป้านลม แต่เขาทําเป็นรูปเทพพนมคุกเข่า หรือนั่งกุมอาวุธรักษาอยู่ เรียกตามสมัยใหม่ว่า เทพารักษ์ คือทําเป็นคุ้มอย่างไทย

แต่ก็มีแบบไปอีกอย่างหนึ่ง หรือก่อนเผ่าเมารีนั้น มีผู้ไปอยู่ก่อนแล้ว ครั้นเมารีไปอยู่อีก ก็ประสมทําให้เผ่าเดิมหมดไป ถ้าจริงแล้ว เผ่าเดิมอาจเป็นไทย ในชื่อว่า ไทยะ ที่กินคนอยู่ได้ไปเป็น ไดยัค ในชวา ได้ไปเป็น ปาปัว ณ ออสเตรเลีย และไปอยู่นิวซีแลนด์


สำหรับสาวเมารี ๒ คนนี้ แต่งตัวตามประเพณี คนขวาได้คาดผ้าเคียนหรือผ้าไถ้ มีลายพออ่านหนังสือไทยว่า "บ้าน" ตัว น. นั้น ที่หางถูกแขนบังไว้ ถ้าดูจากลายที่เส้นขยักคล้าย ย. นั้นอ่านได้ว่า เมอง คือ เมือง และ บ้าน ซึ่งยังเป็นลายสืออ่านได้ ณ หมู่เกาะฟิลิปปินส์ นิวกินี ออสเตรเลีย ฯลฯ ก็เลยเห็นมีลายสือไทย แต่เห็นในภาพยนต์ สารคดี และข่าว ฉายทางทีวีจึงเก็บภาพไม่ทัน ได้กล่าวอ้างไว้ก่อน เผื่อมีโอกาส หรือคนไทยแท้ใดได้พบเห็นอาจเอามาเป็นหลักฐาน อ้างเป็นวัฒนธรรม หรือเป็น แบบไทย ได้

◄ll
กลับสู่ด้านบน

<โปรดติดตามอ่าน ตอนที่ ๓๓>



kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 4/6/10 at 11:54 Reply With Quote




Update 4 มิ.ย. 53

บทที่ ๓๓


ขอย้อนความเดิมจากบทที่แล้วว่า ลายสือไทยได้ปรากฏไปตลอดแถบขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ ตามหลักฐานที่ท่านได้อ้างอิงจาก หนังสือสารดคีต่าง ๆ ซึ่งพอจะเป็นเค้าได้ว่า ยังมี "ร่องรอย...ไทย" ได้ไปอาศัยอยู่ในดินแดนเหล่านี้มาก่อน ทั้งเป็นชนชาติที่มีศิลปกรรมใน การก่อสร้าง เช่น ปราสาทมายา แถวอเมริกากลาง และ ตึกอินคา ประเทศเปรู เป็นต้น สำหรับบทนี้ เราจะค้นหา ร่องรอยไทย ในประเทศอื่นกันต่อไป

"ภู" พุ่มคู่ทรวง หรือ ภูหุบผาสถูปลอมฟาง ซึ่งธรรมชาติสลัก-จารึกไว้

(Monuments Sculpted by Nature)


"ภู" พุ่มคู่ทรวง แห่งนี้ ซึ่งธรรมชาติสลัก จารึก "สือไทย" ไว้นี้ ได้ผิดกว่าที่อื่นทั้งหมด และมีอยู่แห่งเดียวในโลก ในจํานวนที่ได้มี ประจําอยู่ใน ทวีปออสเตรเลีย อันไม่ใช่เป็นของโบราณ ที่คนกระทําขึ้นเป็นอนุสาวรีย์ถาวรวัตถุ ที่จะเปรียบเทียบให้เท่าเทียมกันได้ อย่างที่อ้างกันถึงท่อนหินที่วางเป็นขอบวนเป็นวงกลม ณ เกาะอังกฤษ กับหน้าผาหินอันเป็นที่อยู่อาศัยของ ชาวอินเดียน-อเมริกันเหนือ อันเป็นต้นเรื่องที่ "ฝรั่ง" เล่าไว้

และยังกล่าวว่า ก็หุบห้วงส่วนโค้งคู่ทรวง หญิง อันเป็นคู่พูนี้ซึ่งยาว ๕๐๐ ฟุต สูง ๕๐ ฟุต ซึ่งได้แยกออกจากกันก็พอเห็นได้ (AYERS ROCK) ซึ่งธรรมชาติได้ลงลายเส้นเป็นชื่อ จากเทพนิยายของชาวพื้นเมืองเดิม จึงเป็นช่องแคบ ผ่ากลางเป็นสองเส้นขนานไปรอบพูโดมเดิมนั้น และด้านหน้าพูโดมจึงเป็นแนวฝากะเปาะ ผาถ้ำ ซึ่งถูกขุดโดยฝนและลมในท่วงท่าที่อ่อนละมุน ซึ่งเลื่อนไล้ไปตามพื้นหินทราย ความเบาะเบา ค่อยกระพือพัดทรายให้ปลิวไปตามฐานที่ต่ำลง จึงเป็นแหล่งหมู่ไม้เนื้อแข็ง และละเมาะไม้เล็ก ณ พื้นดินนั้น

เท่าที่เห็นรูปหุบผาภูเขาหินทรายทั้งคู่นี้ มีรอยลายเส้นขีดขนานคู่กันไป ๒ เส้นบ้าง ๓ เส้นบ้างรอบไปทั้งสองพูโดมนั้น ทั้งมีรอยลาย เส้นพออ่านเป็นตัวสือไทย และเป็นชื่อคําไทยได้ ซึ่งยืนยันว่า…"คนทํา" แม้ที่เขียนไว้ก็ยังกล่าวว่า ลงลายเส้นเป็นชื่อจากเทพนิยายชาวพื้นเมือง เดิม (ITS NAME FROM ABORIGINAL MYTHOLOGY)

ถึงจะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต้องมีคนก่อน จึงจะมีเทพนิยายได้ ฉะนี้ จึงยืนยันว่าเป็นของกระทํา ไว้ โดยเฉพาะที่เป็นลายเส้นนั้น ยิ่งเป็นลายเส้นเป็น ตัวสือไทย กับเป็นถ้อยคําไทยด้วยแล้ว ก็ยิ่งแน่นอนมากขึ้น
ถ้าดูตามรูปภูเขาทั้งสองพูนั้น ซึ่งมีส่วน โล้นทั้งหมด จะทํากันอย่างไร ที่บันทึกไว้ว่ามี ส่วนสูง ๕๐ ฟุต และยาว ๕๐๐ ฟุต ก็พอ มีทางทําได้ เพราะว่าคนไทยนี้มีสัญชาตญาณ ชํานาญในเรื่องทําหินอยู่แล้ว เช่น พวกไทย "แม่ญ่า" และ "อินคา" ณ อเมริกากลางและใต้ ได้กระทําเมืองอิฐก่อถือปูน และเมืองหินตลอด ทิวเทือกเขาอันยาวเหยียดได้ ทั้งคนไทยนี้ขวั้น พวนทําสาแหรกห้อย หรือทําร่างร้านไม้ได้ ชํานาญมาตลอด เช่น

สร้างกําแพงเมืองจีน, ปราสาทลกไต๋ เพราะเป็นที่เลื่องลือว่าฝีมือดีจึงถูกเกณฑ์ไป ได้มีโอกาสวางฝีมือไว้ ฉะนี้ พวกไทยลวะ หรือ ชาวว้า เผ่านี้ไปอยู่ ณ ออสเตรเลีย (โปลา) ซึ่งเป็น ชาวปาปัว คือ พ่อพู พ่อพัว หรือคําจีนว่า ซัวปา คือ พ่อภูเขา (คําท้องถิ่น เดิม พ่อ ว่า" ป้อ" พ้อ ว่า "ป๊อ" ก็คือ พ.ป. ออกแทนกันได้) ฉะนี้


เมื่อไปอยู่ได้เห็นภูเขานี้เหมาะสม จึงปรับปรุงขึ้นเป็นป่าช้าฝังกระดูกหรือศพไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งภูเขานี้เป็นรูป" พู" อยู่แล้วจึงเป็น "กรุลอมฟาง" หรือ "สถูปลอมฟาง" ได้ เมื่อกระทําเพื่อให้รู้ ตามแบบไทย จึงใช้ร่างร้านหรือใช้พวกทําบันได เชือกห้อยลงไต่ลงมากระทําหรือสลักก็ได้
หินทรายทั้งภูนั้นสลักง่าย พร้อมกับเซาะ ให้เป็นรอยเส้นคู่ยืนยันการกระทําไว้ ทั้งสลัก เซาะลายเส้นเป็น ลายตัวสือไทย เป็นหลักฐาน ไทย และเป็นชื่อถ้อยคําไทยไว้ให้เห็นประจักษ์ ชัดเจนอีกด้วย

หลักฐานทะเลใต้ "ชวา" และ "หมู่เกาะ"

"เกาะสุมาตรา" ครึ่งตะวันตกจะเห็น PADANG LAWAS "ปดังลว้า" ทั้งหลาย คือ "ป่าทุ่งลว้า" ชาวใต้ ท. ออก เช่น ทุเรียน เป็น ดุริยัน ไทย เป็น ไดยัก และภาษาอังกฤษ ทะเลใต้ DAY เขาอ่าน ได หรือ ดาย ฉะนี้ ต่อไปจะเห็น "DAYAK" จะอ่านตามเขาไม่อ่านตามไทย ที่เคยอ่านให้ฟังว่า ได-แอค ซึ่งไม่ตรงกับชื่อจริงชื่อว่า ได-ยัก
(แผนที่นี้ถ่ยทอดจากหนังสือ ANCIENT INDONESEAN ART ซึ่งจัดทำโดย DR. A.J. BERNET KEMPERS จะเห็นแหลมทองตลอดแหลมมลายู)


และที่ "ชื่อไทย" กับ "คําไทย" ไปปรากฏอยู่ใน มลายู สุมาตรา ตลอดไปถึง ชวา และ บาหลี เช่น ปหัง = ป่าห้าง, ปดัง = ป่าทุ่ง บันดุง = บ้านทุ่ง ในลำดับต่อไปจะเห็นแผนที่ชวา โบราณปรากฏชื่อ ลวู, สุขุ, ตฺเจ-ลา, ร่วงเมรปิ, เขาพระร่วง แม้แต่คําชื่อไทยได้เป็นคําพื้นเมืองชวา เช่น ไทยเรียกว่า ประตู ชวาเรียก ปินตู ไทยเรียก ตา ชวาว่า มาตา ฯลฯ ทั้งนี้ ยืนยันว่าไทยลงไปอยู่ตลอดไป จึงมีสิ่งต่าง ๆ ปรากฏอยู่มาถึงปัจจุบัน
แผนที่ประเทศชวาโบราณ

ภูเขาและอนุสาวรีย์ถาวร ลําดับเลขโรมันที่ ๘ ปรากฏ ๓ ชื่อ คือ ลวู (LAIVU) สุขุ (SUKUH) ตเจลา (TJELA) คือ ลโว้, สุโขทัย, จเลล หรือ เจริญ ลําดับที่ ๑๗ ร่วง, เมรปิ, ภูเขาพระร่วง เหนือบาหลี
"ชวา" เป็นทั้งชื่อเกาะประเทศชวา และคน ชาวชวา ถ้าพูดแบบคําพูดไทย ระบุชัดว่า ชวา ก็คือ ชาวว้า ฉะนี้คําชื่อ ชวา ก็คือคําพูดชื่อไทย ว่า ชาวว้า ออกไปเป็น ลว้า ไทยลว้า ไทยลัวะ ทวู ไทยพู ผู้ไท
และ " ชวา " ยังเรียกว่า "ชวก" (อ่าน ชะวก) ชาวก ชาพก ชาวบก ซาบาก ก็และ " ชาวบก " หรือ "ซาบาก " นี้ (ที่ปรากฏเป็น แคว้นซาบาก-บอเนียว) เป็นชื่อคู่กับ ชาวน้ำ หรือ ชาวเล คือ ชาวเซมัง เซม เซียม เป็น สยาม สาม สัม สาน ชาน
และ เชียง เช่น เชียงตุง และ เชียงใหม่ เชียงราก ฯลฯ สําหรับ ไทย หรือ ไทยะ มีคําชื่อ ไดยัก ยืนยันชัดเจนแล้ว ส่วนชวา กับ ชาวว้า หรือ ลว้า นั้น มีเค้าสําคัญอยู่ในตัว แล้ว อีกหลักฐานหนึ่งก็คือ คําพูดของชาวชวา นั้นตรงกับไทยมาก เช่น ไทยว่า ประตู ชวาว่า ปินตู ไทยว่า ดวงตา ชวาว่า มาตา ฯลฯ
เมื่อฮินดูเข้าไปก็ถูกเปลี่ยนไปตามความ นิยมของใหม่ แต่คำชื่อพื้นเมืองเดิมมีประจำ อยู่แล้ว จึงนำมาเป็นหลักฐานไทย

แบบโครงสร้างเรือ เรือน ตึกก่อขึ้น
หลักฐาน "ไทย" ปรากฏที่ "ชวา" และที่อื่นๆ




ก็และ ชวา เป็น ชาวว้าแล้วระบุชัดว่า "ไทยลวะ" หรือ "ไทยลว้า" หรือ "ไทยทวาลาว "ซึ่ง ไทยะ มีคําชื่อเผ่าว่า ไตหย่า และ ไดยัก เฉพาะ ไดยัก นี้ก็มีอยู่ตั้งแต่มาเลเซีย ลงไปถึง ชวา-อินโดนีเซีย คงทั่วถึงทั้งบอเนียว และ นิวกีนี ซึ่งมีชื่อว่า ชาวบก หรือ ซาบาก อยู่ อาจไปถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ทั้งบัดนี้ได้พบหลักฐานว่าไปถึงคานาดาใต้ อเมริกา ได้ยิน เผ่าซู พูดคําไทยว่า "ข้าชื่อ ออก้า" กับอเมริกากลางคือ พวกมายา หรือ แม่ย่า และใต้ คือพวก อินคา มีทั้ง" ชื่อไทย" กับจารึกเป็น" ตัวสือไทย" เป็นคําชื่อไทย เป็น รูปปรุ ปั้น สลัก และหล่อไว้อีก จึงชัดเจนว่า ไทย นี้มีอยู่ตลอดกาลมา ทั้งได้สร้างสิ่งต่าง ๆ ไว้มากจึงปรากฏตลอด อาจไปถึงแอฟริกา เพราะมี ระนาด ของไทยไปอยู่แล้ว เฉพาะชวานี้มีหลักฐานอยู่มากมายพร้อมอยู่ตลอดไปด้วย


ถาวรวัตถุพระพุทธศาสนาและจารึกไทย ณ ทะเลใต้



ทั้งสององค์นี้ ทําเหมือนกันหรือแบบ เดียวกัน องค์ซ้ายพระพักตร์ "ไทย" องค์ขวา พระพักตร์ "ชวา" มองเห็นชัด ส่วนอื่นเหมือนกันหมด ณ ขอบประภามณฑล แม้กระทั่งทํามือทั้งสองก็เหมือนกัน รอบนอกซ้ายลายเลข ๙ ขวาลายเลข ๖ แม้ฐานกลีบบัวคว่ำ-หงายก็เหมือนกัน จึงแน่ใจว่าเอาแบบไปจากไทย หรือ ว่าช่างไทยลงไปกระทําไว้
และพระจีวรเรียบอย่างนี้ จะดูกันอย่างไรไม่รู้ ถึงกับกล่าวกันว่าเป็นแบบมหายาน คือ พระธยานิพุทธจะเห็นไม่ครองผ้า หรืออย่างไรไม่รู้ได้ และได้กล่าวมาแล้ว ทั้งได้นํามากล่าวในที่นี้ เพื่อยืนยันเป็นทางฝ่ายเถรวาทของไทย แต่ว่าทําด้วยหิน ก็ทําได้เรียบขนาดนั้น เป็นฝีมือช่างทั่ว ๆ ไป กับทั้งมหายานไม่เคยมีในไทยและทะเลใต้ ถ้ามีพระสงฆ์ไทยคงมีเมีย ได้ไปแล้ว



กําแพงหินมีลายสลักจิตรกรรม

สําหรับแผ่นที่ ๓๔๒ นี้ มีชื่อบอกไว้เป็น คําชวา แน่ใจว่าอ่านไม่ถูก แต่มีคําบอกว่า ลายจิตรกรรมกําแพงฝาผนังทั้งซ้ายและขวา มีลาย ดัด หรือ ๑๑ น่าจะเป็นลายสือไทย ช่างผู้ทําคงชื่อ "ดัด" ได้ทําลายเป็นลายสือจารึกชื่อตัวเองไว้ การคิดสร้างลายอย่างนี้ ไทย ชํานาญมาตลอด จึงคิดสร้างออกแบบลวดลายไว้ แม้จะเป็นลายสลัก สาน ปั้น เขียน หล่อ ผูก แกะ ปัก ฟัก เย็บ ก็กระทํากันได้ทั้งชาย และหญิง
สําหรับจิตรกรรมลายไทยชิ้นนี้ ณ ส่วน บนได้ทํารูปหน้าจั่วไทยไว้ ที่รูป, ป้านลมซ้าย ทํายื่นอย่างนั้นเป็นรูปใบไม้ยอดขึ้นอย่างนั้น จะ เห็นเป็นป้านลมชัดเจนและขวาก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เป็นสิ่งของไทย และ "ไทย "ได้ไปกระทําไว้ ให้มีสัญลักษณ์ไทย เพื่อให้ "ไทย" รู้จึงได้อย่างที่ ได้เล่ามานี้



หินสลักใบสีมา มีลายสือไทย

ส่วนแผ่นที่ ๓๔๓ นี้บอกว่า เป็นหินจารึก หลุมศพของชาวอิสลามที่ ตราลาจา พ ศ ๒๐๐๐ (ค ศ ๑๔๕๗) แต่เป็นรูปแบบอย่างนี้ เป็นใบสีมา บอกเขตพระอุโบสถของไทย แต่ทางอีสานมี ใบสีมาปักไว้ บางทีซ้อนกัน ๓-๕ ใบ เป็นหลัก ฝังกระดูกศพเหมือนกัน ณ ลายเส้นกลางนั้น เป็นลายสือไทย อ่านได้ความว่า พ่อขุนฟ้าชวสี
สําหรับลวดลายรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมัย "สุโขทัย" คงเป็นใบสีมาเขตพระอุโบสถที่ "พ่อ ขุนฟ้าชวสี "สร้าง เมื่ออิสลามิกเข้าครอง เห็นว่า สวยงามดี ก็เอาไปปักเป็นหินจารึกหลุมฝังศพ ณ พ ศ ๒๐๐๐ นั้น
สําหรับใบสีมานี้ ลายสือที่จารึกไว้นั้น ปรากฏ "ภ่อ"อ จะอยู่ล่างตามแบบลายสือ ภาคกลางส่วนใต้ ช่วงใต้ทั้งซ้ายและขวา รูป อ. และ ด. ยอดจะเป็นรูปป้านลมเห็นได้ชัด

"ลายสือไทย" ปรากฏที่ทะเลใต้


รูปคเณศวรนี้ ได้ให้ถ่ายจากหนังสือ ANCIENT INDONESIAN ART ทําโดย DR. A.J. BERNET KEMPERS
พระญาคเณศวร
ถ้าชาวอินโดนีเซี่ยนไม่ได้เรียนหนังสือไทย ก็ต้องช่างและ ขอม หรือ บาไทยไปทําและเขียนไว้ ยิ่งรูปคเณศวรแล้ว ตรงงวงม้วนจะเห็นลายอ่อน ฝีมือไทยแท้บอกว่าค.ศ.๑๒๓๙ พ.ศ.๑๗๘๒ ก่อนจารึกหลัก ๑๔๔ ปี
ลายสือว่า"พญาฆเณสยํา" ออกเสียงอินโดนีเซี่ยนอย่างไรไม่รู้ ที่อ่านนั้นตามเสียงไทยเห็นชัดว่า พญา คือลายสือไทย ฆ เณ เป็นตัวขอม สระ เอ เลือนหายไป ส.ไทยเอาล่างขึ้นบน ยํา ชัดเจน ลายสือไทย

ฐานด้านหลังมีลายสือไทยปนลายสือขอม ซึ่งลงไปมีที่ขวา ในแผนที่ยังมีเขาพระร่วง เขาวลูและชื่อสุโขทัยพิมพ์แผนที่และชื่อไว้แล้ว

ลายสือไทย ที่หล่อไว้บนหัวตัวคนทําชื่อ "ลาย" เป็นชื่อตัวหนังสืออาจทําเป็นตัวหนังสือเชิดสอนอันเป็นต้นเหตุที่เปลี่ยนชื่อ "ลายสือไทย" เป็น" หนังสือไทย"


บนจากซ้าย (๑) ลายรูปตัว อ. (๒) ลายรูปตัว ศ. (๓) ลายรูปตัว ว.(๔)ลายรูปตัว พ.
ล่างจากซ้าย (๑) ลายรูปเลขและ(๒) ลายรูปตัว ถ. (๓) ลายรูปเลข(๔) ลายรูปตัว ผ. (๕) ลายรูปตัว อ.
ที่พบมีเท่านี้ พอเป็นเค้าให้รู้ ที่มีซ้ำกัน ยืนยันว่ามีหลายชุด
(พ.อ.ประดิษฐ์ ถ่ายทอดจากหนังสือ Ancient indoesian Art ทำโดย ด๊อกเตอร์เบอเนต เคมเปอร์ส ว่าเป็นสำริดศิลปะก่อนฮินดู อาจก่อนศรีวิชัย หรือสมัยศรีวิชัย


ลาย"ไดยะ" หรือ "ไทย" ที่ไดยัก (Dayak) ทําไว้

สาว "ไดยัก"หรือไดยัคซาราวัค (ADAYAK DEAUTY SARAWAK) ถ่ายทอดจากโปสการ์ดมีขายในมาเลเซียทั่วไป ซึ่งฝรั่งจ้างให้ถอดเสื้อ ที่รู้จักเพราะมีเงาชั้นในปรากฏ บังเอิญแต่งตัวตามประเพณีนุ่งถุงซึ่งเรียกว่าโสร่ง หรือ สะรอง (In Sarong) ซึ่งเป็นชื่อ ชื่อเดียวกับโสร่ง,สะรอง,ฉลององค์ไทยและลายผ้านั้นเป็นลายชื่อ" ลายสือไทย" เป็นชื่อลายผ้ายกซึ่งช่างยก "คูบัว" เขาบอกว่าเป็นชื่อ "ลายยก" ชื่อหนึ่ง


ที่ลายผ้าจะเห็น "สือ" ชัดเจน ที่นุ่งเอามือซ้ายทับ อ. จึงตัดรูปที่ พ.อ.ประดิษฐ์ ถ่ายให้ ตัดมาเรียงกันก็เห็นชัดว่าลาย"สือ" เป็นเครื่องยืนยันอีกชั้นหนึ่งว่า ไทย ะ (ลวะ) ได้นําชื่อ โสร่ง ฉลอง และ ลายสือไทย ลงไปแต่ชาวทะเลใต้ไม่ออกเสียง ท.ออกเป็น ด. จึงชื่อไดยักหรือ ไทยะ
หน้าตา รอยยิ้ม เครื่องประดับผม ช่วงตัว ตลอดถึงส่วนสัดที่ไทยถือเป็นตําราว่า "ดอกบัวตูม" หรือ "ถุงทอง" นั้นตรงกันหมดคือไทยๆนี่เอง ดีใจยิ่งที่เห็น ไดยัก หรือ ไทยะ กับ ไทยลวะ เป็นพวกเดียวกัน และสูงเกียรติที่ "กินคน" มาเหมือนกันเกินกว่าเกียรติที่ร่วมกับ "พวกไต" ที่วิ่งหนีเขามาตลอดนั้น พวกนี้ยังฉลาด รู้ลายสือทําผ้าเป็น ดีกว่า "พวกไต" ที่โง่เขลาทําอะไรไม่เป็นสักอย่าง
และยังมีลายซึ่งพวก เผ่าไดยะ ทําลายสือไทยได้ ซึ่งปรากฏในเครื่องใช้ต่างๆ เช่นลายผ้า ลายปักงอบ ลายเครื่องเงิน และลายไหซอง หรือโพล่น้ำ ที่นี้ได้ลายไหซองน้ำ จากหนังสือ PAGANINNOCENCE


ลายที่ไหซอง ซ้ายบนลายกลุ่มเมฆแต่ประดิษฐ์เส้นเป็นลาย ด อ หรือ ๖ ๑ ขวา= ทั้งบนและล่างตังมังกรลอย ซ้ายหางชี้ซ้าย ลายสือ กลางตัวและหัวยกขาซ้ายขึ้น มีเล็บชี้ซ้าย จะเห็นเป็น ด.ท.ขาขวายกขึ้น มีเล็บออกชี้ขวา จะเห็นเป็น กลุ่ทเมฆซ้ายสุดจะเห็นข้างในบนลาย และ ล่าง และ ดูจะเป็น อะ รวมได้ว่า ไดยะ ไทยะ

ที่จีนไต้มี พวกไตหย่า อยู่ พวกไตหย่านี้ จีนบอกว่ายังกินคนอยู่ และสักขาลายเรียกว่า "แชคาฮวน" บ้าง กับทั้งพวกไตหย่าเหล่านี้ เป็นพวกชาวเขาซึ่งเป็นชื่อเดียวกับพวกชาวป่าสําหรับผ้านุ่งและเสื้อ ผ้าโพก ก็ทําแบบเดียวกัน จึงยืนยันได้ว่าไดยะ ไทย ไตยาเป็นพวกเดียวกันทั้งหมด



บ้านแม่นางกอบัว หรืแม่นางกะเบา ณ ศูนย์กลางประเทศ เกาะสุมาตรา




ยุ้งฉางข้าวเปือกชาวแม่นางกอบัว ณ ทุ่งราบใหญ่ เกาะสุมาตรา


ทั้งหมดนี้ จะเห็นหลังคาแอ่นลง หรือ สันอ่อนท้องช้างทุกหลัง
รูปถ่ายและชื่อนี้ พบในหนังสือ The People Malasia เห็นว่าลักษณะคล้าย ไทย ต่างเพียงไม่มีป้านลมและจั่วเท่านั้น ดู ลักษณะการทำเสาดั้งไม่ตัด เฉพาะยุ้งหรือฉางข้าวเปลือก มักทำห้องเดียวใช้เสา ๔ ต้น ที่แผกจากสัดส่วนไทย คือข้างบนใหญ่ ข้างล่างเล็ก สัดส่วนไทยนั้นข้างบนเล็ก ข้างล่างใหญ่ ที่แยกกัน "สอบบน" ซึ่งแน่ใจว่าเป็นคนไทย


ลายปักงอบ ลายขาววงใน บนล่าง "อ" และ "๖" ลายล่าง "ด" และ "๑" เมื่อดูจากลายขาว ซ้ายจะเห็นลาย "ไ" "ด" และ "๑" ทำหางอย่างนี้ จะเห็นเป็นรูปสิงโต และ "ท" และ "ย" นอนหงายคือ ไทย

เมื่อลงไปในที่นั้นๆ ได้สร้างเครื่องของไทย จึงคิดสร้างทำส่วนสัดให้แผกออกไป อันเป็นเครื่องอ้างของพวกตน พร้อมกับใช้ชื่ออย่างนั้น ซึ่งอ่านเป็นชื่อไทยได้ทั้งสองอย่าง อย่างหนึ่งคนไทยที่ลงไปอยู่มักปลูกต้นโตนดตาล กับมะพร้าวไว้ เพื่อทำน้ำตาลกิน
ในที่นี้เห็นเพียงต้นมะพร้าวเท่านั้น และ ที่ทำน้ำตาลเมาและน้ำตาลปึก น้ำตาลหม้อนั้น ทำได้เพียงคนไทยเท่านั้น จึงเชื่อว่าเป็นคนไทย ได้อ่านเป็นคำไทยว่า แม่นางกอบัว หรือ แม่นางกะเบา คำชื่อไทยซึ่งได้อยู่และตั้งชื่อไว้ พร้อมกับได้สร้างและทำไว้




"สือไทย" และ "คําไทย"

ปรากฏ ณ อียิปต์


เสาหินทึบใหญ่โตทั้งนี้ กลมรอบ ๓๓ ฟุต และสูง ๖๙ ฟุต ส่วนสัดอันเหมาะสม เป็นตัวอย่างดลบันดาลให้มีโบสถ์ แอมมอน ณ กานัก (Amon’s at karnak) ปราสาทโบสถ์นี้ พระเจ้าฟาโรหฺซฺ ๒ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ได้ทรงโปรดให้สร้างขึ้น ซึ่งมีเครื่องตกแต่งประดับ แสดงถึงพระองค์ เป็นกษัตริย์ทรงสร้างถวาย
พระเจ้าฟาโรหฺซฺ กษัตริย์ใหม่ ๒ พระองค์เป็นพระราชวงศ์ที่ ๑๔ ก่อน ค.ศ. ๑๓๐๐ ปี (ประมาณ ๓๒๔๐ ปีมาแล้ว) ที่ทรงสร้างโบสถ์นี้ คือ พระเจ้าฟาโรหฺซฺเซติเป็นที่ ๑ พระเจ้าฟาโรหฺซฺแรมเซซ เป็นที่ ๒

ที่สําคัญมากที่สุด และมีคุณค่ามาถึงไทยอย่างเด่นชัด ก็คือเสาหินต้นแรกซ้ายนั้น นับขึ้นเป็นแถวที่ ๒ ชั้นบนกอบัวนั้น มีตัวสือไทย อ่านเป็นคําไทยได้ชัดเจนว่าเพื่อนรัก สนุกัน(สนุกกัน)แม้ที่อื่นๆ เช่นเสาแรกขวานั้น ก็ดูจะเป็นตัวสือไทย แต่อ่านไม่ได้ความด้วยเหตุ เป็นลายเลือนลางไม่ชัดเจน และต้นแรกซ้ายนั้น บรรทัดใต้ลงมา อ่านได้ความแจ่มแจ้งเลย

ตัวลายนี้ อ่านได้ว่า ไทยฟ้ารุ่ง และ ขุนญิงขวัญฟ้า เข้าใจว่า ไทยฟ้ารุ่ง คงเป็น" พ่อขุนใหญ่" ส่วน ขวัญฟ้า เป็นชื่อ "พระนางขวัญฟ้า" "หม่อมแท่นคํา" คือ "พระอัครมเหสี" หรือ "ราชินีนาถ" ในบัดนี้ และชื่อทั้งคู่นั้นยืนยันว่าเป็น "ไทย" เฉพาะเท่านี้ก็พอได้ความแล้ว

(ลายสือไทยที่ปรากฏ ณ เสาหินนั้น ตัดออกมาล่างได้เขียนลงเส้นให้ชัด พอได้เห็น)
( ท่อนล่างที่ปรากฎไทย-ย จะเห็นชัดเจนล่างได้เขียนลงเส้นให้ชัด พอได้เห็น)



ขวา-ฟ้า ซ้อนกันบนอ่านเป็นไม้โท ขุนญิง กับ ขวัญ ก็ซ้อนกัน ต้องตัดเส้นพอจะเห็นได้ ญ ใช้แบบ ๒ ห้อง

ตัว ส. และ น.ที่ สนุกกัน นั้นชัดเจนและที่ ไทยฟ้ารุ่ง กับ ขวัญฟ้า นั้น ไทย ถึงแม้จะไม่ชัดเจน แต่ ย. อยู่หลังไทยนั้น เห็นชัดเจน ส่วน ขวัญฟ้า นั้น ข. กับ ว. ก็เห็นชัดจึงพอได้ความแน่นอน
ทั้งนี้ ซึ่งยืนยันว่าต้องเป็นคนไทย และรู้ สือไทยดี หรือหนังสือไทยดีด้วย ได้ไปอยู่อียิปตฺทั้งเป็นช่างฝีมือดีอีกด้วย จึงสลักตัวสือไทยเป็นถ้อยคําไทย และเป็นชื่อไทยไว้ได้ คงดัด แปลงให้คล้ายตัวสืออียิปตฺ หรือพระเจ้าฟาโรหฺซฺ ทรงโปรดให้จารึกไว้เป็นที่ระลึกก็ได้

ก็ส่วนที่ปรากฏเป็นหลักฐาน ว่าคนไทย ได้ไปอยู่อียิปตฺ และยืนยัน สือไทย ว่ามีมาแต่ ๓,๒๐๐ ปีแล้ว จึงยืนยันและสมคล้องหลักฐานสือไทยที่ปรากฏ ณ เมืองจีนสมัย ราชวงศ์ช้าง ก็ประมาณ ๓,๗๐๐ ปี ลงมาถึง ๓,๒๐๐ ปี เช่นเดียวกันแท้ และตัวสือไทยนี้ ใกล้กับตัวสือไทยบัดนี้ มากกว่าตัวลายสือไทยสมัยสุโขทัย หรือตัวสุโขทัย กับทั้งยืนยันกาลเวลาอีกด้วย
ก็ชาวอียิปตฺสมัยนั้น คงไม่ได้เรียนสือไทย หรือหนังสือไทย และไม่รู้คําไทย หรือภาษาไทย จึงแน่นอนว่าเป็นคนไทย หรือคนไทยได้ราชาภิเษกเป็น "พระเจ้าฟาโรหฺซฺ" เอง พระนามว่า กษัตริย์ใหม่ (New Kingdom) ยืนยันอยู่
และพระนามว่า ฟาโรหฺซฺ นี้ ตามเสียง กล่าวก็เป็นอย่างเดียวกับคําชื่อไทยว่า ฟ้าโร่ พระนามว่า ฟาโรหฺซฺ พระองค์ที่ ๑ เห็นมีต่อว่า ฟาโรหฺซฺเซติ (Pharaohs Seti)

เซติ (Seti) อ่านอย่างคําไทยว่า สีไท ก็ได้ ครั้นได้พบจารึกว่า ไทยฟ้ารุ่ง ชัดเจนแล้ว พระองค์อาจสถาปนาพระนามว่า ไทยฟ้ารุ่งสีไท ต่อมา พระนามหน้าจึงสถาปนาเป็นชื่อพระราชวงศ์กษัตริย์ใหม่ว่า ไทยฟ้ารุ่งสีไท ตามลําดับพระนามปรากฏเพียงว่า ฟาโรหฺซฺสีไท เท่านั้น
เฉพาะพระนามว่า ฟาโรหฺซฺ หรือ ฟ้าโร่ ซึ่งตามจารึกปรากฏว่า ฟ้ารุ่ง นั้นชาวอียิปตฺอาจออกเสียง ฟ้ารุ่ง ไม่ได้ออกได้ว่า ฟาโรหฺซ, ฟ้าโร่ อย่างนี้ก็เหมือนกับไทยเราก็ เช่น
ช.ไทยเรียก ช้าง
ชาวอีสานออกเสียง ซ. ว่า ซ่าง
ชาวลําปาง,เชียงใหม่ออกเสียง จ.ว่า จ๊าง
ใช้ อีสานว่า ไซ่
ลําปาง,เชียงใหม่ว่าใจ้
ชาวสงขลาก็ออกเสียง ง.งู ไม่ได้ ออกได้เป็น ห.ฮ.เช่น เดือนหงาย ออกว่า เดือนหาย, งัว ออกว่า ฮัว เป็นต้น หรือว่า ฟ้ารุ่ง ฟ้าโร่ มีความหมายตรงกับคําชาวอียิปตฺว่า ฟาโรหฺซฺ พอดีกันแล้ว จึงทรงใช้เป็นอย่างเดียวกัน จึงปรากฏเช่นที่เป็นอยู่นั้น

พระเจ้าฟาโรหฺซฺ พระองค์ที่ ๒ ทรงพระนามว่า แรมเซซ ยังดํารงรักษาพลานุภาพอาณาจักรชาวอียิปตฺไว้ได้ก็นามว่า Ramses (แรมเซซ) ออกอย่างคําไทยได้ว่า แรมเสร็จ อันหมายความว่า แรมรอนรานสําเร็จแล้ว เป็นได้แล้ว พระองค์ไม่ลืมไทยจึงให้จารึก ตัวสือไทย เป็นถ้อยคําไทยไว้เป็นหลักฐาน ยืนยันตลอดกาลนานมานั้น
แต่เพราะประชาชนชาวอียิปตฺมีมากมาย จึงใช้ตัวสือและภาษาอียิปตฺเพื่อรู้และเข้าใจง่าย ต่อกัน กับทั้งชาวอียิปตฺและดินแดนอียิปตฺต่าง มีอะไรๆ เหมือนไทยมากมายเช่น การเล่นจูงนางเข้าห้อง และเครื่องเล่นเพลง เช่น ระนาด ก็มีเหมือนกัน


(ซ้าย) พระจีวรกลีบ ถ่าย ด้านหน้าเพื่อเป็นลายเส้นที่ทำนั้นจริงอยู่ กาลห่างกัน ๓๐๐๐ ปี แต่ก็มีลายไทยปรากฏอยู่ด้วย จึงยืนยันได้ว่าไทยเรามีสัดส่วนไทยเหมือนกัน
(ขวา) รูปแม่เจ้าชาวอียิปตฺ เขาถ่ายด้านหลังเห็นลายผ้าห่มคลุมอย่างนั้น จะเห็นเหมือนกันหรือแบบเดียวกันกับลายไทย และนิ้วมือก็เป็นแบบนิ้นลำเทียนไทย

กับปฏิมากรรม จิตรกรรม ซึ่งสร้าง หล่อ สลัก ปั้น รูปชาย-หญิง คนสัตว์ ฯลฯ ก็เหมือนกันคือ ไม่มีกายวิภาค ทําส่วนสัดสวยงามเหมือนกัน เช่น แขนงวงช้าง สะโพกกลมดอกบัวคว่ำ ลายผ้านุ่งห่มแบบกลีบระยับฯลฯ เป็นต้น จึงสมคล้องเป็นแบบเดียวกับแบบไทยได้ คงเป็นหลักฐานไทยได้อีกเช่นกัน


(ซ้าย) รูปแม่กุน ขุนหญิงเพชรบุรีด้านหน้า เฉพาะสะโพก หน้าขา จะเห็นเป็นรูปดอกบัวหลวงคว่ำอันเป็นสัดส่วน ชัดเจนซึ่งเห็นแล้ว จะเป็นแบบเดียวกับอียิปตฺ
(ขวา) หญิงอียิปตฺ ได้ถ่ายส่วนหลังมาให้เห็นส่วนสะโพกลงมาถึงขาอ่อนทั้งคู่ จะเห็นเป็นรูปดอกบัวหลวงคว่ำอันเป็นสัดส่วนชัดเจนยืนยันว่าแบบเดียวกัน

ลายสือไทยที่ปรากฏในต่างๆประเทศ (คือจีน)


เท่าที่ได้พบ ได้เก็บรวบรวมไว้ในตอนนี้เพื่อง่ายที่จะดู และเป็นหลักฐานจะเห็นในหนังสือชื่อนั้นๆ ที่อ้างไว้ เนืองจากลายสือไทยนี้มีมานานถึง ๖๘๓๕ ปีมาแล้ว (พ.ศ. ๒๕๓๐) จึงแพร่ออกไปมากบังเอิญท่านทำกันไว้และเหลือมาถึงปัจจุบัน และชาวต่างประเทศนั้นๆพบ นำมาพิมพ์ในหนังสือ จึงปรากฏให้พบเห็นได้ ที่สูญหายไปแล้วหรือไม่ได้เข้าสู่หนังสือ ก็คงไม่มีโอกาสได้ทราบ
รูปมีดประแดะหรือประแตะนี้ ของคนไทยลวะทั่วไป โดยเฉพาะที่ราชบุรี ถ่ายทอดจากหนังสือประวัติการสัมพันธ์ระหว่างชาติไทยกับชาติจีน ของท่านลิขิต ฮุนตระกูล เล่าว่าเวลานี้มีดเล่มนี้อยู่ไต้หวัน



รูปถ่ายเหล็กกล้าสีน้ำเงิน สมัยราชวงศ์เชียง อันดับราชวงศ์ที่ ๕ เมื่อ ๑๒๒๒ ถึง ๕๗๘ ปี ก่อนพุทธศักราช



ลายสือไทยที่ปรากฏ ณ ประเทศจีน

เส้นดำที่ด้ามขยายใหญ่ คือลายสือไทย บนอ่านว่า เรือง ล่าง อ่านว่า เลอลว้า เห็นชัดว่ามีดเล่มนี้ พระเจ้าเรืองเลอลว้าทำส่งไปถวายราชวงศ์เชียง ก่อน พ.ศ. ตามที่เขียนไว้ว่า ราชวงศ์เชียงหรือช้าง ลำดับราชวงศ์ที่ ๕ สมัย ๑๒๒๒ ถึง ๕๗๘ ก่อน พ.ศ.ตรงกับสมัยเมืองทองไทย จารึกเล่าว่า ขุนโลลายสร้างและตั้งชื่อเมืองทอง เมื่อปีอินเต็ม ๔๑๕๐ เป็นปีโล ๑ ก่อน พ.ศ.๑๑๙๐ปีโลได้ ๑๖๐ ไม่ได้จารึก ปีโลได้ ๓๑๕ ปรากฏชื่อขุนเลืองยงไทย ขุนเรืองเลอลว้านี้ คงครองเมืองปีโลระหว่าง ๒๐๐ ถึง ๓๐๐ คือก่อน พ.ศ. ๑๐๑๐ – ๘๕๐ รู้ว่าราชวงศ์ช้าง คือ ไทย จึงทำมีดพกส่งไปถวายพร้อมกับจารึกชื่อไปด้วย ราชวงศ์ช้างจึงถือเป็นประจำตลอดมาถึงองค์สุดท้าย

เครื่องใช้-สำริด

(สมัย-ราชวงศ์ช้างและราชวงศ์จ้าว เมืองจีน (ห้องสิน เลียดก๊ก ก่อน พ.ศ.๑๒๒๒ ถึง พ.ศ. ๒๙๗)


กาเหล้าหรือกาน้ำ สำริด หล่อเป็น-ช้างยกงวงนี้ ทำปลายให้โค้งลงจึงเป็นพวยกา ที่ฝามีจุกเปิด เป็นรูปช้างอีก ตัวหนึ่ง ส่วนลายนั้นได้สร้างให้เป็นลายอ่อน กับ ลายบนที่ฐานใต้เท้าช้าง จุกเปิดนั้น และลายเส้นหลังช้างนั้น มีอย่างนี้ ซึ่งอ่านเป็นลายสือไทยได้ว่า "ช้าง" เป็นทั้งคำไทย ชื่อไทย และ ลายไทย ใต้ลงมาอ่านว่า ทองรวม หรือช้างทอง

คำชื่อไทยว่า – ช้าง เป็นชื่อคน ซึ่งขึ้นไปเป็น-พระราชสกุลวงศ์ เป็นชื่อ "สัตว์" คู่ชาติไทย ทังเป็นศักดิ์สูงสุด กับ ใหญ่โตที่สุด จึงมีชื่อไทยว่า –ช้างแก้ว คือ คชรัตน ซึ่งประจำพระองค์พระเจ้าจักรพรรดิ ลวดลายสัดส่วนก็เป็นไทย กับ มีลายสือไทยบอกชื่อคำไทยว่า –ช้าง อีกด้วย ซึ่งยืนยันว่าชื่อไทย ของไทย กับ ลายตัวสือไทย มีมาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. ถึง ๑๒๒๒ ปีมาแล้ว


ถังเหล้า หรือถังน้ำกิน ๔ ขา มีจุกฝา สำริด ใบนี้ เป็นของในราชวงศ์ช้างเช่นเดียวกัน มีลวดลายวิจิตรตลอด กับ มีลายตัวสือไทยอีกด้วย ทีหล่อเป็นลายให้เห็นได้อย่างนี้อ่านได้ว่า เด่นอวดดี ซึ่งช่าง ผู้สร้างรูปแบบหล่อ ชื่อ เด่น ได้อวดฝีมือดีไว้ ตามธรรมดาคนไทยที่มีฝีมือ และมีความรู้ทั้งสามารถได้กระทำอะไรไว้ ก็มักใส่ชื่อและประดิษฐ์ให้กลมกลืนเป็นศิลปะ เพื่อไม่ให้ใครผู้มีความรู้ไม่ถึงรู้ได้ หรืออาจมีพระราชโอการให้ใส่ชื่อไว้ เพื่อเป็นความชอบ และทรงจำได้เป็นหลักฐาน
เครื่องสำริดนี้ อยู่ที่จีนเกือบ ๔๐๐๐ปีแล้ว กับมีตัวสือไทย ซึ่งหล่อไว้ทั้งตัว ไม้ แบบปรากฎเกือบเหมือนตัวเดี๋ยวนี้ จึงนำมาเป็นหลักฐานไทย และฝรั่งรับรอง จึงได้พิมพ์ออกเป็นหลักฐานแล้ว

HISTORICAL RELICS UNEARTHED IN NEW CHINA
รูปที่ ๔๒ และ รูปที่ ๒๐๒



โถน้ำสำริด ใบนี้ สมัยราชวงศ์เชียง ช้าง หรือช่างทำลวดลายหล่อไว้ชัดเจน ที่ทำลูกศรชี้ไว้นั้น ทำลายเส้นเป็นลายสือไทยว่า คนดี ค และ น ด เห็นได้ชัดเจน และลวดลายอย่างนี้ก็บอกว่าเป็นลวดลายไทย เพราะลายอ่อน ณ ที่ลายสือไทยนั้นมีเงาบังจึงไม่ค่อยชัดเจน


โถฝาเนื้อหินลูกนี้ เพราะเป็นสีจึงเข้าใจว่าที่หลังนาน เข้าใจว่าเป็นสมัยสุโขทัย ลายเส้นที่หัวลูกศรตอนล่างทั้งสองข้างนั้น จะเห็นสือไทย ทำลายสือ อ่านได้ว่า เดือน เฉพาะ ด. อ. เห็นชัด เอื-น สร้างเป็นลายยันต์ไทย ภาพเดิมเป็นสี และชัดเจน เป็นของเก่าสมัยสุโขทัย แต่ลายตัวหนังสือนั้น อาจจะเป็นสมัยรัตนโกสินทร์ก็ได้ จึงเป็นสมัยสุโขทัยแน่นอน

กลับสู่ด้านบน


<โปรดติดตามอ่าน ตอนที่ ๓๔ ต่อไป>



kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 3/2/11 at 14:42 Reply With Quote


Update 3 ก.พ. 54
บทที่ ๓๔


ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว ได้เล่าเรื่องที่มี "ลายสือไทย "อันปรากฏไปในหลายประเทศ ซึ่ง ได้ลงภาพประกอบไปด้วย จากหนังสือ "พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์" มีผู้อ่านบางท่านคิดว่า เนื้อเรื่องที่ผ่าน อาจจะลงมากไปสักหน่อย และรู้สึกว่าจะอ่านยาก อีกทั้งมีผู้อ่านหลายท่าน มี ความประสงค์อยากจะให้พิมพ์รวมเล่มด้วย

ผู้เขียนจึงขอชี้แจงให้ทราบว่า ขอขอบคุณ และอนุโมทนาท่านสมาชิกทุกท่าน ที่รู้จักแต่ นามปากกาก็ดี หรือที่รู้จักด้วยตนเองก็ดี แต่ละท่านมีความสนใจทางด้านประวัติศาสตร์ โดย เฉพาะหนังสือต้นฉบับที่นำมาลงแต่ละตอนนี้ สำนวนเป็นของคนโบราณ แต่ก็มีหลายท่านที่ พยายามอ่านช้า ๆ และทบทวนหลาย ๆ ครั้งเพื่อความเข้าใจ

ในตอนที่แล้วที่จำเป็นต้องลงไปมาก ก็เป็นเพราะมีเรื่องเกี่ยวพันกัน อีกทั้งเป็นภาพ ประกอบเสียเป็นส่วนมาก ส่วนที่จะพิมพ์รวมเล่มนั้น คงจะทำได้ยาก เพราะค่าใช้จ่ายสูง
สำหรับฉบับนี้จะเป็นการเข้าหาเนื้อเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากผู้อ่านจะได้ ทราบเรื่อง "ต้นกำเนิดลายสือไทย" มาแล้ว ต่อไปจะได้ทราบเรื่อง "ต้นกำเนิดตัวเลขไทย" ซึ่งผู้เขียนจะนำเรื่องที่จารไว้มาให้ทราบดังนี้


ต้นเลกไทย
ปีอิน ๑๒๔๕-๑๓๒๒ ก่อน พ.ศ.๔๐๙๕ เมื่อ ๖,๘๒๐ ปีมาแล้ว (พ.ศ.๒๕๑๘)


ขุนขอมฟ้าไทย ได้เข้าร่วมกับ ขุนสือไทย ซึ่ง ต้นชวดขุนสรวงย่าชวดนางสาง มาสั่งให้เอาเรื่องต้นผีอัน ลือขวัญไทย สร้างก่อน เข้าลายสือ จารกระเบื้องเมื่อปีอิน ๑๒๔๕ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๕
เมื่อขุนสือไทยรู้แล้วจึงชวน "ขอม" (ครู) ไปหาโคลนสอทรายมาทำแผ่นกระเบื้องหินสอ แล้วเข้าไปที่ "เรือนสาง" (ศาลพระภูมิบรรพบุรุษ) แต่ดูไม่รู้เรื่องแล้ว ขุนสรวงนางสางจึงมาเข้าทรง นางไทยงาม ซึ่งเป็นภรรยาของขุนสือไทย
เมื่อทุกคนมาถึงเรือนสาง และสอน สีงามตน (ภรรยาขุนเลกไทย) เขียนตัวย่อ ตัว เขียนคํานับ แล้วบอกให้งามตนเขียนเอาจดคํานับว่า ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐ ไปจนถึง ๑๐๐๐ ฯลฯ

ในปีอิน ๑๒๕๑ ขุนขอมฟ้าไทยคิดสร้าง ลายสือขอม คิดค้นมาได้หนึ่งปีขุนสรวงจึงมา เข้าทรงบอกว่า ลายสือไทยทางสาย กอ ขอ คอ ลายสือขอมเอาสาย กะ ขะ คะ ก็แล้วกัน
ตามประวัตินั้น ขุนขอมฟ้าไทยเป็นลูก ขุนเสืองฟ้าไทย แม่ชื่อ พวงมะลิ (เป็นลูกพ่อ เดียวกันกับ ขุนสือไทย แต่คนละแม่) เกิดเมื่อปีอิน ๑๑๗๔ เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ

ต่อมาขุนขอมฟ้าไทยและขุนสือไทย ได้สอน "ลายสือไทย" และ "ลายสือขอม" แก่ลูกชายหญิง สีงามตน นําตัวเลขไปเขียนในผืนผ้าและสอนให้รู้ทั่วกัน ขุนสือไทยจึงขอสีงามตนให้ แก่ขุนเลกไทยฟ้า ให้ขอมฟ้าไทยสอนลูกชาย หญิง ไทยงามสอนทอผ้าและยกลาย ขุนสือไทยสอนตีเหล็ก นำเอาหินและไม้มาทำเป็นของใช้



ต่อมาขุนขอมฟ้าไทยพา แสงแจ่มฟ้า ผู้เป็นภรรยา เดินทางไปเยี่ยมเยียน ปู่ชวดขุนอินสิบสองพัน พาคู่ใจ (ขี่ช้าง) ถึงเมืองสิบสองพัน เมื่อกลับมาถึง "ไทยลว้าเมืองแมน "ปีอิน ๑๒๖๙ ขุนสือไทยตั้งชื่อเป็น "ขุนอินอู่ไทย" แล้ว ขุนขอมฟ้าไทยจึงเอา "ลายสือไทย-ลายสือขอม" ไปพร้อมกับช้าง ๕ ตัว เพื่อให้ลูก ของตนแต่งงานกับลูกขุนสือไทย
ขอมฟ้าไทยขอ เสืองร่วงไทย เข้าคู่ใจกับ แสงช่อเทียน ขอ สีงามไทย เข้าคู่ใจกับ ขุมฟ้าไทย ขอหญิงคู่แฝดลูกขุนสือไทย-ไทยงาม ชื่อ เสิมงามไทย เข้าคู่ใจกับ เข้มฟ้าไทย ขอหญิงชื่อ สมงามไทย เข้าคู่ใจกับ เขือมฟ้า ไทย ให้ ขานเลืองไทย เข้าคู่ใจกับ ไขเลืองฟ้า แล้วให้เอาทองที่เก็บได้ทําสร้อยหมั้นให้หญิง ส่วนหญิงให้นําผ้าทําทอเองให้ชาย ปีอิน ๑๒๖๔

ขุนสือไทย กับ ไทยงาม มีลูก ๙ คน ตาย ๓ เหลือ ๖ ที่เห็นชื่อนี้ คือชาย "ขุนเลกไทยฟ้า" หญิงแฝดคู่คือ" เสิมงามไทย-สมงามไทย" ชายคือ "เสืองร่วงไทย" และหญิง "แสงช่อเทียน, สีงามไทย"
ขอมฟ้าไทย มีเมีย ๒ คน มีลูกรวม ๙ คน กับเมีย มะลิฟ้า มี ๔ คน ลูกชายคือ "ขอนฟ้าไทย, ขานเลืองไทย" ลูกหญิงคือ "ไขเลืองฟ้า" และชายคือ "เขือมฟ้าไทย" กับ สีแจ่มฟ้า มี ๕ คน หญิงคือ "แสงแจ่มฟ้า" ชาย ๒ คน คือ "ขุมฟ้าไทย, เข้มฟ้าไทย" หญิงอีก ๒ คน คือ "งามตน หรือ สีงามตน" และ "อินตัวทอง"

ขอมฟ้าไทยจัดงานลูกเข้าคู่ปีอิน ๑๒๖๑ เดือน ๔ เพ็ญเดือน ๕ ให้รําบวงผี เหลือ "สีงามตน" กับ "อินตัวทอง" เข้าขวบ ๓๐ และ ๒๙ มิรู้ผัวเมีย รู้เล่นน้ำ เล่นดิน อู่ เรือน มิรู้สือไทย ขอมว่ายังเล็ก มื้อนมแค่มีนิด
ขอมฟ้าไทย สือไทย มะลิฟ้า ไทยงาม สีงามตน รออยู่แต่ก่อน เมื่อปีอิน ๑๒๖๔ ขุนสือไทยไข้หนัก เมื่อซาไข้ ให้เชิญผี บําบวงผี ให้ เลกไทยสีงามตน คู่สู่เมียผัว อินตัวทอง ยังเด็กน้อย สือไทยว่าได้ทันเห็นมันมั่นคง

(ท่านเจ้าคุณราชกวี อธิบายว่า พิธีหมั้น และ พิธีไหว้ผี นี้ ขอมฟ้าไทยจารึกไว้ ซึ่งให้รู้ ได้ว่า ไทยมีมาแล้ว ๖ พัน ๘ ร้อยปี หรืออาจมีมาก่อนนั้นนานแล้ว พิธีหมั้นหรือให้ของกันในปัจจุบัน เมื่อเป็นเรื่องส่วนตัวของหนุ่มสาว ก็ยังมีอยู่ที่เป็นประเพณียืนยาว คือสินสอด ทองหมั้น ขันหมาก ไหว้ผี ยังกระทำกันอยู่ใน หมู่คนไทยแท้
เคยเห็นมีพิธีทำขวัญบ่าวสาวในตำราไทย ในพระราชพิธีอุปภิเศก ซึ่งเขียนไว้ ณ ผนังวิหาร วัดโสมนัสนี้ เห็นมีตั้งบายศรีต้น ในปัจจุบันแท้ "สินสอด-ทำขวัญ" หายไปหมดแล้ว เหลือแต่ "แหวนหมั้น" ซึ่งตรงกับประเพณีฝรั่ง ส่วนพิธี "ไหว้ผี" จวนจะไม่มีแล้ว เวลานี้มีแต่พิธีนอกผี คือ "นอกประเพณี" )

เลกไทย "ตนเลกไทย"

ขุนเลกไทยขุนหญิงงามตน

ปีอิน ๑๒๗๑ (ก่อน พ.ศ. ๔๐๖๙ ปี) เมื่อ ๖,๘๘๗ ปีมาแล้ว


ดูตามกระเบื้องจารสมัย "ขุนสือไทย" ตัวเลขเขียนเป็นแบบลายอ่านเป็นหนังสือก็ได้ "ขุนหญิงงามตน" ได้นําลายเลขไทยมาขีดผืนผ้า ต่อมา "ขุนเลกไทย" ผู้เป็นผัวได้เห็นและคิดว่า ย่อสั้นดี จึงเอาชื่อเมียต่อกับชื่อตัว ให้ชื่อว่า "ตนเลกไทย" ประกาศใช้ปีอิน ๑๒๗๗ (ก่อน พ.ศ. ๔๐๖๒) เมื่อ ๖,๘๘๔ ปีมาแล้ว


๑.ขุนเลขไทย (ได้ที่ถ้ำเทือกเขางูด้านวังสะดึง ราชบุรี) มือขวาถือดินสอ หรือเหล็กจาร มือซ้ายถือกระดานชนวนมีดวงกลม และตัวเลข สัญลักษณ์สร้างเลข และตำราเลขไทย
๒.ขุนหญิงงามตน มือขวาถือแวกหรือแว ปั่นฝ้าย มือซ้ายถือกลุ่มด้าย สัญลักษณ์ทอผ้า ทั้งคู่ทำหน้าก้มเป็นท่าใช้ความคิด ใช้รัดเกล้าแบบทำงาน

ขุนเลกไทย และ ขุนหญิงสีงามตน หรือ "งามตน" ในฐานะเผ่าชาติตระกูลต่างก็ เป็นพระลูกเจ้าอยู่แล้ว ครั้นต่อมาได้เป็น "ขุน "และ "ขุนหญิง" งามตนได้เรียนลายตัวเลขจาก "จ้าวพ่อขุนสรวง" ซึ่งเข้าทรงไทยงามสอนให้ ได้นํามาเขียนจํานวนผืนผ้าที่ทอแล้ว ขุนเลก ไทยเห็นแล้ว จึงนํามาประกาศใช้เป็นตัวเลข คราวแรกยังไม่มีชื่อ เรียกเพียงว่า "ลายย่อ" ขุนเลกไทยจึงคิดเอาชื่องามตน ซึ่งเป็นที่ขุนหญิง เมียหลวงอยู่แล้ว ต่อเข้ากับชื่อตนเองจึงเป็น ชื่อว่า "ตนเลกไทย" ได้เป็นชื่อประจํามาว่า "เลก" ต่อมาถึงบัดนี้เปลี่ยนเป็น "ตัวเลขไทย"



ความเป็นมาของ "ตำราพรหมชาติ"

ชื่อเฉพาะที่บอกหมายรู้นี้มีอยู่เพียงไทย เท่านั้น เพราะตัวเลขที่เป็นที่หมายรู้จํานวนนับ แน่นอน จึงได้เกิดเป็นตําราหมอดูขึ้น เช่นกล่าวกันว่า "เลขบอก" และเป็นตําราเลข ๗ ตัว เลข ๑๐ ตัว เลข ๑๖ ตัว หรือโสฬส แต่ชื่อก็ได้ ถูกเปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งกาลนี้รู้จักกันว่า "ตําราพรหมชาติ"

ครั้งเป็นคนก็เป็น "ขุน" และ "ขุนหญิง" อยู่แล้ว ทั้งยังได้เป็น "ต้นบาตําราเลข" ดูรู้ และคํานวณนับ บอกจํานวนรู้แน่นอน กับเรียน เขียน จดจํานวนคงอยู่ เช่นคํานวณขวบปีวัยเด็ก ได้กระทําระบบโกนผมไฟ และกระทําบุญวันเกิด กาลผ่านวัยเด็ก เริ่มวัยรุ่น มีระบบ แบบโกนจุก สําหรับชายก็คํานวณขวบปีขึ้นพาน หรือขึ้นหนุ่ม หญิงก็คํานวณขวบปีขึ้นผลิรุ่นขึ้นสาวมีเลือด (ประจำเดือน) มีพุ่มทรวงอก

ครั้นตายไปแล้วก็ขึ้นเป็น "ผีบาเลขไทย" และคํานวณนับจึงเป็นต้น "ผีหมอดู" ดูรู้จํานวนนับ ทํานายวัยที่เป็นเช่นนั้น ทั้งชะตาราศีดีเมื่อไร ไม่ดีเมื่อไร
สําหรับ "งามตน" เมื่อตายไปก็ขึ้นเป็น "ผีบาแม่จ้าว" เช่นแม่หมอชะตาราศี แม่หมอสินสาว "แม่มด" หรือ "หมอมดลูก" หรือ" หมอคลอด"

ถ้าดูตัวเลขเช่น ๔ และ ๖ ถ้าเขียนให้ติดกันอย่างนี้ ๔๖ จะเห็นเค้าพุ่มทรวงอก เช่นนี้ ตัวเลขคํานวณทายคู่ครองมีลูกและหลักฐาน ฯลฯ ฉะนี้ไทยจึงมีระบบแบบไหว้ผี ไหว้ครูบา ไหว้บําบวงบูชาต้นไทยกันมา และ ขุนเลกไทย กับ งามตน จึงขึ้นเป็น "ต้นบา-ขอมเลกไทย" และตำรา "หมอดูไทย"
ด้วยเหตุนี้ ขุนเลกไทย นําเลขไทยมาใช้ โดยที่เป็น "ขุน" และ "ขอม" ในตัวเอง ด้วยอํานาจ "ขุน" และ "ขอม" ก็ได้บงการให้ "ตัวเลข" เป็น "ตัวลาย" กําหนดหมายจํานวน แน่นอน จึงเป็นลายศักดิ์สิทธิ์ หรือขลังในตัวเอง ตัวเลขจึงเป็นตัวทํานาย หรือให้แจ้งเหตุดีร้าย เช่นอย่างที่กล่าวกันว่า" ตัวเลขบอก" จึงเป็น หมอ หรือ ตําราเลข ๗ ตัว หรือที่เรียกกันว่า "พรหมชาติ"

ที่เป็นตัวขลังนั้น เช่น เลข ใช้ในพิธี สูญฝี ตัวเลข ใช้เป็นรอยเจิมหน้า และตาม ตําราฤกษ์ หรือตําราทายเลข ตัวเลขคี่มักไม่ดี ส่วนเลขคู่มักดี เช่น เลข ถ้าเป็นเลขฤกษ์ที่ ๑ ชื่อว่าฤกษ์ "คนจน" หรือ "ขอทาน" ถ้าเป็น วัน ๑ คือ "อาทิตย์" มีคําพยากรณ์ว่า " คนเกิดวันอาทิตย์ จิตใจมักง่าย ทําคุณแก่ใครเหมือนไฟตกน้ำ "ฉะนี้

พ่อขุนเลกไทย จึงขึ้นต้น "ครูอาจารย์เลขไทย" ทั้งทางศักดิ์สิทธิ์ และทางทํานาย ก็กําหนด จํานวนนับ จํานวนรู้
ส่วนขุนหญิงงามตนนั้น ด้วยการนําเลข มาใช้บอกจํานวนผืนผ้า ถึงแม้ชื่อจะเปลี่ยนเป็น "ตัว" ก็ยังระบุถึงอยู่ จึงขึ้นเป็นต้น "แม่จํานวนเลข" เป็น "แม่กี่" หรือ "แม่ฟืม" ตามแบบไทย เก่าก่อน เมื่อจะเริ่มทอผ้า มักมีพิธีบูชาไหว้กี่ หรือฟืมนั้น ซึ่งยืนยันหลักฐานนึกระลึกถึง "แม่งามตน" คือ "แม่ต้นทอ" และจํานวนนับนั้น แม่งามตนจึงขึ้นเป็นต้นทอ หรือแม่ต้น หรือ ผีต้นนั้น และยังยืนอยู่ในหมู่ไทย จึงยังเป็นไทยต่อมา

ขุนขอมฟ้าไทยสอนลูก สั่งมะลิฟ้าและไทยงาม ให้สอนหมู่หญิงชาย เมื่อมีเมียผัวมีลูกแล้ว สือไทยคู่ไทยงาม มะลิฟ้าคู่ขอมฟ้าไทย ขึ้นที่นอนสอนการอยู่ร่วมกันเป็นผัวเมีย แล้วไปนอนรวมกันในที่นอน แม้สือไทยและไทยงาม นําเลกไทยและงามตน ชวนเข้าห้องงามตนเข้าเมียผัว ครั้นสือไทยให้อินตัวทองอีกคน เลกไทยยังมิเอา

เมื่อขุนสือไทยตายปีอิน ๑๒๗๑ ขอมฟ้าไทยให้เลกไทยครองเมืองแมนต่อ เอาสีงามตน ขึ้นเมียที่ขุนหญิง และมิยอมเอาน้องของตัวเอง เมื่อสีงามตนหมั้น ให้อินตัวทองเข้าที่ขุนหญิง เมียน้อย มีลูกชายเมื่อเดือน ๖ วันเอือย(พฤหัส) ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีอิน ๑๒๗๘ ชื่อ ลืออินไทย ขอมฟ้าไทยมีขวบ ๑๐๓ ปี จานเบื้องไว้

เลขไทย ผู้ลูกขุนสือไทยครองต่อพ่อเมื่อ เข้าปีอิน ๑๒๗๑ เมื่อเมียชื่อนางงามตนกี่ผ้าขีด ผ้าทอจํานวนผืนที่ ๑,๒,๓,๔,๕,๖,๗,๘,๙,๑๐ เมื่อเข้าปีอิน ๑๒๗๗ เลกไทยให้เอาตัวลายขีด เขียนชื่อ "ตนเลกไทย" ใช้เพื่อจําไม่ผิดเพี้ยนจด วัน เดือน ปี ต้นปู่ขุนอินเมืองแมนแดนทอง ขุนเลกไทย เอาลายสือพ่อ-แม่ไทยงาม ทอขึ้นลายให้ชื่อ "ตัวเมือง" ต่อตัวบ้านเรือน และเมียงามตนทอฟ้าขีดต้นผ้า นับรู้ชื่อ "ตนเลกไทย"



กฎหมายผัวเมียฉบับแรกของไทย

ปีอิน ๑๓๓๓ ก่อน พ.ศ.๕๐๐๗ ปี เมื่อ ๖,๕๓๗ ปีมาแล้ว (พ.ศ.๒๕๓๐)



๑. ขุนลืออินไทย ผู้ออกกฎหมายผัวเมียฉบับแรก ของไทย ท่ามือซ้ายประคองขึ้น มือขวา "กด" ในชื่อกฎหมาย เดิมเห็นเขียนเป็น "กดหมาย" และท่านนี้ได้ขึ้นเป็นต้น "กฎหมายไทย"
๒. ขุนหญิงรินเลืองระรื่น ทำงานแม่บ้าน หรือแม่มือซ้ายถือหอยยอดหรือหอยสังข์ มือขวาถือดอกบัว สัญลักษณ์หรือเครื่องยศขุนหญิง และได้ขึ้นเป็นต้น กฎหมายผัวเมียไทย
รูปขุนผู้ออกกฎหมายมักทำอย่างนี้ ขุนหญิงผู้ทำ งานแม่บ้านก็ทำอย่างนี้ ฉะนี้ "ขุน" และ "ขุนหญิง" แบบนี้ อาจเป็นทุก ๆ ท่าน ผู้ออกกฎหมายต่อไป เช่น ขุนอินมาไทย-ขุนหญิงคู่เลืองเมือง

ลืออินไทย ครองเมืองแมน ปีอิน ๑๓๒๒ เมียชื่อ รินเลืองระรื่น ปีอิน ๑๓๒๗ รินเลืองระรื่นออกลูกชายเมื่อวันอู่ (ศุกร์) ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ขึ้นชื่อว่า เลอตนไทย

กฎหมายผัวเมีย


ลืออินไทย เมืองแมน ขึ้นปีอิน ๑๓๓๓ เดือนอ้าย ขึ้น ๑ ค่ำ ออก "กดไทย" ว่า คนชายญิงรักกัน เอากันเปนผัวเมีย ให้อยู่ ร่วมกัน ชื่อ "ผัวเมีย" ของตน ลืออินไทยต่อกดเรื่องผัวเมีย ถ้ามันอยู่ด้วยกัน ห้ามพ่อแม่พี่น้องพรากทําลาย แม้ผู้พรากทําลายมัน ให้เฆี่ยน แม้ตาย ให้ฆ่าให้ตายตามกัน
ลืออินไทย ว่า ชาย ญิง อย่าอยู่ห้อง เดียวกัน แม้ผู้ชายจับญิง ประคองร่าง ตัวนม ต้องเสียผ้าไหม ชายข่มขืนญิงจนต้อง เสียสินสาว ควรตัดควยทิ้ง แม้ญิงตาย ฆ่าให้ตายตามกัน ญิง ทําเปิดผ้าให้ชายดู ชายจับตนเล่น ไม่เปนผิด ผ้า ญิง นุ่ง ห่ม แม้ว่าญิงมีลูกแล้ว ไม่ห่มผ้า มิใช่เปิดให้ชายดู ผู้ชายถูกต้อง จับ ดึง เว้นผัวทําต้องผิด ต้องให้ทุบมือที่ซนนั้น

เลอตนไทย ครองเมืองแมน ปีอิน ๑๓๕๑ มีเมีย ๒ คน ขวาชื่อ เอื้อนขวัญไทย ซ้ายชื่อ เอิ้นสาวไทย ปีอิน ๑๓๕๘ เอื้อนขวัญไทย มีลูกชายชื่อ ลือต้นไทยทอง (มีวิญญาณมาทรงคนบอกว่าชื่อ "ทองลือ" ยังเอาชื่อตั้งชื่อข้าวว่า "ข้าวทองลือ" บ้าง) ปีอิน ๑๓๖๐ เอิ้นสาวไทย มีลูกญิงชื่อ สีเสิมไทย



ขุนต้น จ้าวแม่โพสพ

ชื่อข้าว และ กฎหมายนาฉบับแรกของไทย

ปีอิน ๑๔๐๒ ก่อน พ.ศ. ๓๙๓๘ ปี เมื่อ ๒๔๖๘ ปี มาแล้ว (พ.ศ. ๒๕๓๐)



๑.ขุนลือต้นไทยทอง (ถ้ำเทือกเขางู ด้านวังสะดึง) มือขวาถือไถ มือซ้ายถือคราด สัญลักษณ์สร้าง ระบบทำนา (จ้าวพ่อนา) ต้นผีไทย
๒.ขุนหญิงโพสพ มือขวาถือเคียว มือซ้ายถือรวงข้าว สัญลักษณ์ทำนา (จ้าวแม่ข้าว) ต้นผีไทย

ลือต้นไทยทอง หรือต้นไทยนี้ ในพิธีแรกนาขวัญแม้เป็นพระราชพิธี มีคําว่า "แรก" ก็คือ "ต้น" นี่เอง อีสานมี" ผีตาแฮก" คือ "แรกในนา" เหมือนกัน (ไม่เคยเห็นรูป) และทั้งชาวอีสาน และภาคกลางนี้ยังกระทํา "บวง" หรือ "ข้าวบิน" บูชากันเมื่อเริ่มต้นทํานา
"โพสบ" มีรูปเคารพมากเป็นที่ ๒ ของ "นางกวัก" เมื่อข้าวมีท้องไทยทั่วไปกระทําบวง บูชา หรือแบบบริหารครรภ์ ไม่เคยรู้กันว่ามี เรื่องเป็นคน มีผัว มีลูก และนี่เป็นเรื่องของ การเคารพผี (คือคนตาย) กันมา กับยืนยันว่าผีดี และทั้งสองนี้เมื่อเป็นคน ได้เริ่มทํานา ทําข้าว ก็ขึ้นเป็นต้นไทย ครั้นตายไปอยู่สรวงสวรรค์ แล้ว ได้เป็นจ้าวพ่อจ้าวแม่ ก็เป็นต้นผีไทย ไทยได้เคารพบวงสรวงกันมาถึงกาลบัดนี้

ลือต้นไทยทอง เมืองแมน ครองเมือง ขึ้นปีอิน ๑๔๐๒ เมียชื่อ โพสบ นางอยู่ในบ้าน ขุนเถือมทอง (กาญจนบุรี) เพาะข้าวงอกงามดี เข้าหาขุนเมืองพ่อ เห็นชอบให้ตนเป็นเมีย โพสบ ทํากร้าข้าวมาแต่นั้น ปีอิน ๑๔๐๕ มีลูกชื่อ เลืองโพไทย

โพสพเอา ถุงเงิน-ถุงทอง (ผู้สองน้อง) เป็นเมียกลาง-เมียน้อย ปีอินลุเข้า ๑๔๐๘ เข้าปีอินใหม่ ถุงเงินมีลูกญิงชื่อ อินต้นเงิน ถุงทองมีลูกญิงชื่อ อินต้นทอง ลือต้นไทย อวยโพสบให้หาพงกอข้าวค้น ตั้งชื่อนําปลูก สอนคนไทยลวะ ปีอิน ๑๔๑๐เมื่อโพสบมีลูกชื่อ สิขวัญข้าว ปีอิน ๑๔๑๐ เมื่อเฉลิมขวัญ ข้าวเส้น (ข้าว) ตอกวาง

ลือต้นไทย ออกกดหมายที่นาปจําเมือง แมน เมื่อวันอาง (อังคาร) ขึ้น ๑ (ค่ำ) เดือน ๖ ปีอิน ๑๔๑๑ ให้คนเมืองแมนนี้ เอาที่ดินปลูกข้าว ๒๐ หรือ ๓๐ ไร่ อันเปน ของมัน ห้ามผู้อื่นเข้าเอาซ้อน
ลือต้นไทย ต่อกดหมาย ที่ ดิน ไร่ นา ที่ของคนเมื่อตาย ดินเปนดบดอก๑ตกต้อง ลูกเมียผู้ตาย ลือต้นไทยว่า เมียลูกไม่มี ให้ พี่น้อง เมื่อพี่น้องตนไม่มี เอาไว้ เมื่อมีใคร หวังเอาทําเปนนาตน ให้แก่คนผู้นั้น

ลือต้นไทย โพสบ ถุงเงิน ถุงทอง รับ สั่งผัว จัด ไร่ ที่ นา แบ่งคน เดือน ๓ ทุ่งหลวงไว้เพื่อต้น (ขุน) ทําต้น ชายทําไร่ นา ญิงทอผ้า โพสบ ถุงเงิน ถุงทอง สอเอา เหล่าข้าว ตั้งชื่อว่า "ขาวพวง"เหลืองทองอ่อน"ปิ่นแก้ว"ถุงเงินมีข้าวหอม ให้ชื่อ "ข้าวหอมเงิน" ถุงทองมีข้าวหอมแดงมัน (ให้) ชื่อ "ข้าวหอม ทองแดงมัน"

ลือต้นไทย ให้แม่โพสบทําไร่นา หาข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง เดือย ข้าวโพด ข้าวละมาน ลือต้นไทย ให้แม่โพสบ ถุงเงิน ถุงทอง ทําถุงเงิน ถุงทอง ถุงข้าว เมื่อใคร่เก็บข้าว ทําถุงใหญ่ ยุ้ง และฉาง

๑ ดบดอก คือมรดก เพิ่งเจอคำไทยแท้ที่นี่ "ดบดอก" คงหายไปเมื่อคำว่า "มรดก" เข้ามา ขุนลือต้นไทยผู้ให้กำเนิด กฎหมายนา เป็นต้นให้จับจองที่นา จึงเป็นประเพณีที่เรียกว่า "จ้าวทุ่ง" เมื่อเริ่มทำนา เวลานี้เรียกกันว่า "แรกนาขวัญ" และ "แม่โพสบ" ไทยมีรูปเคารพเกือบทั่วราชอาณาจักร ทั้ง รู้จักชื่อสืบๆ กันมา เมื่อทำนาได้ข้าวแล้วมักมีพิธีบูชาแม่โพสพ



กฎหมายห้าม, ด่า, ฆ่าเมีย และมีเมียได้หลายคน


เมื่อปีอิน ๒๑๙๕ อินเมืองไทย ผู้เป็น ลูกหลานขุนต้นและโพสบ ครองเมืองแมน ถึง ปีอิน ๒๒๒๔ พ่อฆ่าแม่เพราะด่าว่าต้นขุนจึง ได้ออกกฎหมายดังนี้ว่า "ห้ามเมียด่าว่าถึงต้นขุน และผัวของตัวเอง มีโทษให้เฆี่ยนตี ไม่ต้องถึงกับฆ่า เพราะแม่ต้องเลี้ยงลูก" "ว่าเรื่องผัวเมีย อันผู้หญิงมีความอ่อนแอ ให้มีเพียงผัวเดียวพอแท้ ผู้ชายมีร่างกายแข็งแรงดีมีเมียได้หลายคนถ้าเลี้ยงดีมี ผ่องใส ให้มีได้"

๑. เหตุเกิดกฎหมายนี้ ชี้ให้เห็นถึงประเพณีไทยที่ เคารพต้นไทย คือบรรพบุรุษของตน จึงไม่นิยมด่าว่ากัน แม้เมียด่าก็ยังฆ่า
๒.แน่นอนว่าเป็นธรรมเนียมตั้งแต่นั้นมา ที่ผัวไม่ฆ่าเมียเพียงเหตุด่าว่ากัน
๓. จากกฎหมายเก่าแก่ฉบับนี้เอง ที่เป็นธรรมเนียม มา ผู้ดี หรือ ผู้มีอำนาจยศศักดิ์ มีเมียหลายคนได้




ต้นพระร่วง จ้าวแม่เบิกไพร ทองสีไพล

เลี้ยงสัตว์ ตั้งชื่อต้นไม้บก-ไม้น้ำ

ปีอิน ๒๔๖๔ ก่อน พ.ศ.๒๘๗๖ เมื่อ ๕,๔๐๖ ปีมา แล้ว (พ.ศ.๒๕๓๐)



ขุนร่วงลายไทย (จ้าวพ่อป่า จ้าวป่า) ถ้ำเทือกเขางู (ด้านวังสะดึง) "ร่วง"มือขวาคว่ำกดลง มือซ้ายหงายซ้อนขึ้น สัญลักษณ์ ยกและกดประทับมือ ตามคำที่ชื่อพระร่วงต้น ให้เลี้ยงไม่ให้ฆ่าสัตว์ใช้งานได้ ให้ตั้งชื่อต้นไม้
ขุนหญิงทองสีไพล (จ้าวแม่เบิกไพร) มือขวาถือดอกบัว มือซ้ายถือลูกขนุน สัญลักษณ์ตั้งชื่อ ไม้น้ำ ไม้บก เช่น ต้นสัก ต้นทอง ฯลฯ ชื่อต้นไม้ จึงมีชื่อไทยอยู่ตลอดมา

ร่วงลายไทย ครองเมืองแมน ปีอิน ๒๔๖๔ ยังไม่มีเมีย ได้ยินข่าว "ทองสีไพล" จึง ไปพบถึงถิ่น นางได้พาหาพ่อขุนทองดาวผาและ แม่นางเอมแสงทอง แล้วยอมเป็นเมีย ทองสีไพลมีลูกคนแรกชื่อ ร่วงเมืองไทย เมื่อวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีอิน ๒๔๖๗ ทั้ง สองช่วยกันสร้างโรงช้าง ม้า งัว ควาย ลา ล่อ เพื่อเอาใช้งานเมืองและไถนา ร่วงลายไทยกล่าวว่า อันตัวช้างมีกำลังมาก เหมาะขนของ ม้าห้อเร็วควรขี่ไปมา งัว ควายควรไถนา ลา ล่อ ควรขี่และขนของ จึงได้ออกกฎหมายดังนี้ว่า

"กดคำหมาย เมืองแมน ร่วงลายไทยว่า ปีอิน ๒๔๖๗ เดือนอ้าย ขึ้น ๑ ค่ำ คนเลี้ยง ควาย งัว ช้าง ม้า ลา ล่อ และคนผู้ใช้งานม้า ช้าง งัว ควาย ลา ล่า แลอื่น ควนเลี้ยง ไม่ฆ่ากิน ผู้ฆ่ามันหรือให้ฆ่า ควรให้ฆ่าให้ตาย ตามกัน และเมืองแมนมีไม้มาก แต่ยังไม่มีชื่อ จึงให้ทองสีไพลเรียกชื่อต้นไม้ว่า ต้นทอง ตะเคียน เตง ตูม ยูง ยาง เหียง มาฆ่า ดู่ สัก มูก โมง ไผ่ พล้าว พลวง"

๑. ทองสีไพล จะเป็นชื่อเดียวกับ "จ้าวแม่เบิกไพร" หรือเปล่าไม่รู้ที่บริเวณหน้าเขางู จ ราชบุรี มีศาลเรียก กันว่า "ศาลเจ้าแม่เบิกไพร" และจังหวัดกาญจนบุรีก็มี "จ้าวแม่เบิกไพร" เมื่อเวลาออกล่าสัตว์มักมีการบูชาบอกกล่าว
ดูตามกระเบื้องจารนี้ ขุนร่วงลายไทยและทองสีไพล เป็นต้นเลือกสัตว์ใช้งานให้ถูกกำลัง และเป็นต้นสัตว์เลี้ยง ทั้งเป็นผู้ริเริ่มแบบอย่าง เอ็นดูสัตว์ วัวควายที่เลี้ยงใช้งาน ถือกันว่ามันมีบุญคุณ และทั้งสองเป็นผู้สนใจป่า ตั้งชื่อต้นไม้ ในลักษณะ "จ้าวป่า" ต้นไม้จึงมีชื่อเป็นคำไทยเป็นพ้นๆ ปีแล้ว



พระร่วงเมืองไทย จ้าวแม่ย่าซื้อนาง

ต้นเลี้ยง หรือเมตตา คือระบบทารกสงเคราะห์

ปีอิน ๒๔๙๐ ก่อน พ.ศ. ๒๘๕๐ ปี เมื่อ ๕,๓๘๐ ปีมาแล้ว (พ.ศ.๒๕๓๐)



ขุนร่วงเมืองไทย (ทั้งคู่นี้อยู่ในถ้ำเทือกเขางู ดานวังสะดึง ราชบุรี) มือขวาท่าปกหัว มือซ้ายท่าประคอง สัญลักษณ์ ประคองปกป้อง (เลี้ยงลูก และลูกเลี้ยง) ตามธรรมเนียมเลี้ยงลูกของไทยลว้า พระร่วงมักถูกเรียกมาช่วย เมื่อลูกตกใจ
ขุนหญิงย่าซื้อนาง มือขวาทำปกหัว มือซ้ายท่าประคอง สัญลักษณ์ประคองปกป้อง(เลี้ยงลูกและลูกเลี้ยง) ในชื่อแม่ย่านาง เป็นผีเรือ แม่ซื้อเป็นผีแม่เลี้ยงเมื่อมีลูก แม่ไทยลว้าต้องออกปากฝากแม่ซื้อแม่ย่านาง แม่ซื้อและพระร่วงยืนยันผีดีชั้นผีฟ้า

ทั้งคู่นี้อาจเป็น "ขุนหญิงย่าซื้อนาง" ก่อนได้เลี้ยงเด็ก ปีอิน ๒๕๑๘ ขุนร่วงออกกฎหมายให้เลี้ยงลูก ถ้าไม่เลี้ยงนำมาให้ย่าซื้อนางเลี้ยง ถ้าปล่อยหรือฆ่าให้ตายก็ลงโทษประหารชีวิต
ทั้งสองนี้ ขุนร่วงเมืองไทย ตามหน้าที่ ได้ปกครอง ในฐานะพ่อเมือง ทั้งยังทำหน้าที่พ่อของลูก คือออกกฎหมาย ให้เลี้ยงลูกและลูกเลี้ยง จึงมีศักดิ์ขึ้นทั้งในฐานะพ่อเมือง และพ่อของลูก ครั้นตายไปก็ขึ้นเป็นต้นผีฟ้า เป็นพ่อเลี้ยงไทยเดิมจึงนิยมถวายลูกแก่ "พระร่วง" เมื่อตกใจจึงฝาก พระร่วงให้ช่วยปลอบใจและเลี้ยงรักษา
แม่ย่าซื้อนาง ในหน้าที่เป็นขุนหญิง และเป็นแม่ ของลูก และชอบเลี้ยงลูกกำพร้า ทั้งต่อมามีกฎหมายออก ให้รับเลี้ยง ลูกเลี้ยง ครั้งเป็นคนก็เป็นแม่และเป็นแม่เลี้ยง จึงเป็นต้นทารกสงเคราะห์ เมื่อตายไปก็ขึ้นเป็นต้นผีแม่เลี้ยง ซึ่งมีชื่อประจำว่า "แม่ซื้อ" และยังเป็นต้นผีเรือ ต้นผีแม่น้ำ อันมีชื่อประจำว่า "แม่ย่านาง"

ตามคำจารึกในกระเบื้องจารเล่าว่า
ขุนร่วงเมืองไทยครองเมืองแมนเมื่อปีอิน ๒๔๙๐ เมียชื่อ ย่าซื้อนาง เมียน้อยชื่อ ทอง เทินฟ้า เข้าปีอิน ๒๔๙๒ ย่าซื้อนางมีลูกชื่อ ร่วงซื่อไทย ต่อมาปีอิน ๒๔๙๕ ทองเทินฟ้ามีหญิงหาย มีชายชื่อ ร่วงเทินไทยยง
ครั้นถึงปีอิน ๒๕๑๖ วันขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ ร่วงเมืองไทยจึงได้ออกข้อกฎหมาย ให้คนเมืองแมนเลี้ยงแพะ แกะ ปลา ปู ห่าน เป็ด ไก่ นก กวาง สมัน เก้ง ฆ่ากินได้
ปีอิน ๒๕๑๘ เดือนอ้ายขึ้น ๒ ค่ำ ชาย หญิง ผู้มีลูกชายหญิง ต้องเลี้ยงดูให้ดี ผู้มีลูก ไม่เลี้ยง ควรให้ย่าซื้อนางเลี้ยง ห้ามฆ่าและทิ้ง ให้ตาย ผู้ฆ่าลูกตาย หรือทิ้งลูกตาย ต้องฆ่า มันให้ตายตามกัน

ที่ปรากฏนี้ ขุนร่วงเมืองไทยและแม่ย่าซื้อนาง ได้กระทำการเลื้ยงลูก กับได้ออกกฎหมายบังคับไว้ด้วย จึงได้เป็นประเพณีตกทอดมาถึงกาลบัดนี้ เพียงว่าเปลี่ยน ชื่อเป็น "ทารกสงเคราะห์" หรือ "อนุบาล" เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามา พระภิกษุรับเป็นศิษย์ได้สอนวิชาความรู้ต่างๆ ฝ่ายหญิงก็มีแม่ชีหรือแม่เลี้ยง ชั้นสูงก็เข้าไปอยู่ในวัง ดังนี้

ร่วงซื่อไทยครองเมืองแมน ปีอิน ๒๕๒๕ เมียชื่อ สร้อยรย้า เมียน้อยชื่อ เฟื่องลย้า ปีอิน ๒๕๒๗ เดือน ๗ ขึ้น ๕ ค่ำ สร้อยรย้า มีลูกชายชื่อ อินร่วงไทยลย้า ปีอิน ๒๕๓๗ วันขึ้น ๒ ค่ำ เดือนอ้าย ขุนร่วงซื่อไทยออกกฎหมายคนเมืองแมนว่า
ชาวแมนผู้มีแพะ แกะ ม้า ช้าง ลา ล่อ ควาย งัว เป็ด ห่าน ไก่ ปลา ปู หอย นก เลี้ยงใช้งาน หรือเลี้ยงไว้กิน ห้ามขโมย แม้ ขโมยให้ฆ่ามัน อันผู้มีช้าง ม้า ลา ล่อ งัว ควาย เก้ง กวาง หมา หมู ควรเลี้ยง ขังให้ดี ของสิน อื่นควรเก็บไว้ในบ้าน ผู้ใดเห็น งัว ควาย ช้าง ม้า ลา ล่อ เก้ง กวาง และของใดอื่น ควรเก็บหรือเอาไว้รอเจ้าของ ไม่ใช่ขโมย มัน ไม่ผิดแม้ซ่อน บัง จึงผิด

"ร่วง" และ "ซื่อ" อาจเป็นประเพณีนี้มา บังเอิญ ท่านผู้ออกกฎหมายห้ามคดโกงลักขโมยกัน ชื่อ "ซื่อ" หรือ ชื่อเต็มว่า "ร่วงซื่อไทย" ก็ความซื่อตรงนี้ ย่อมเป็นที่นับถือ กันในหมู่ไทยลว้า แม้กระทั่งสัตย์สาบานก็หมายความถึงว่าซื่อตรงต่อกัน ได้เป็นประเพณีในหมู่ไทยลว้ามานานแล้ว




พระเจ้าอินร่วงไทย จ้าวแม่ทับทิมทอง

ต้นมูลค่าและซื้อขาย ตลาดนัดทางบกและน้ำ ปีอิน ๒๕๕๑

ก่อน พ.ศ. ๒๗๖๘ เมื่อ ๕,๓๑๙ ปีมาแล้ว (พ.ศ.๒๕๓๐)



๑.ขุนอินร่วงไทย มือขวาถือดอกบัว ๕ ดอก สัญลักษณ์ตั้งของ ๕ อย่าง มือซ้ายถือหอยยอด หรือหอยสังข์ เครื่องหมายมหาขุนผู้ทำประโยชน์ไว้ ร่วงนี้ที่สั่งเงินทองเป็นของมีค่าเหล่านั้นๆ ใช้แลกเปลี่ยน ซื้อขายกันได้และนี่ก็ยืนยันผีดี ต้นชื่อพระร่วง ปากศักดิ์สิทธ์
๒.ขุนหญิงทับทิมทอง
๓.ขุนหญิงทับทิมทอง ท่ายืน มือขวาถือลูกทับทิม (ต่อมาใช้เป็นตราประทับ) มือซ้ายถือหอยยอด เครื่องหมายมหาขุนหญิง หรือเครื่องหมายการค้าน้ำค้าบก บังเอิญรูปนี้ได้มาทั้งท่านั่งและท่ายืน จึงรู้ว่ามี ๒ ชุด จ้าวแม่ทับทิม มีศาลอยู่ตามแม่น้ำชายทะเลทั่วไป

เรื่องเล่าไว้ว่า ขุนอินร่วงไทย ออก " กฎ " และ " กฎหมาย " คือ
๑. อนุญาตให้ย้อมผ้าใช้ได้
๒. บัญญัติค่าทั้งเงินและทอง
๓. ออกกฎหมายให้ชื่อ และค่าเงินทอง กับชำระหนี้
๔. จัดซื้อ, ขาย, ระบบการแลกเปลี่ยน เช่น "แลกข้าว" เปลี่ยนของ"
๕. ให้ตั้งตลาดนัด ทั้งทางบกและทางน้ำ
ทั้งหมดนี้มีปรากฏมาจนถึงปัจจุบัน

เนื่องจาก ขุนอินร่วงไทย กับ จ้าวแม่ทับทิม ได้ร่วมกันสร้างสิ่งของไทยไว้ โดยเฉพาะ จ้าวแม่ทับทิม หรือ " ทับทิมทอง " ได้สร้างระบบ มาตราเงินทอง ซื้อ-ขาย แลก-เปลี่ยน ทั้ง ตลาดน้ำ-บก และรู้จักย้อมผ้าให้สวยงาม จึง ขึ้นเป็นจ้าวแม่ มีศาล หรือ " เรือนสาง " มากและมักมีอยู่ริมคลองแม่น้ำ ชายทะเล เกือบทั่วดินแดนไทย บางที่เป็นศาลแบบจีน เช่นที่เชิง สะพานกรุงธน คนเฝ้าเขาบอกว่า เดิมเป็นศาล จ้าวแม่ทับทิมของไทย จีนบูรณะสร้างใหม่จึงเป็นของจีน

ขุนอินร่วงไทยครองเมืองแมน เมื่อปีอิน ๒๕๕๑ ยังไม่มีเมีย แม่จึงไปหา ขุนอู่เหิมหาญเห็น ทับทิมทอง ลูกแม่ แสงทอง แม่ว่าเมื่อเกิด ได้ลูกทับทิมเหลืองทอง จึงได้ตั้งชื่อว่า " ทับทิมทอง " เมื่อเติบโตขึ้นชอบย้อมผ้าสีเข้ม เอาดิน แดงผสมฝาง แล้วเอาต้มเคี่ยวเกลือ ผ้าจึงมีสีปีอิน ๒๕๕๕ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ทับทิมทองมีลูกชายชื่อ ร่วงอินไทย

ขุนอินร่วงไทยออกกฎหมายว่า
ปีอิน ๒๕๕๘ ให้ทับทิมทองหาสีย้อมผ้า ให้เป็นตัวอย่างแก่ชายหญิงใช้ทั่วเมืองชาย หญิงเมืองแมน ให้เอาสีย้อมผ้านุ่งห่มได้
ปีอิน ๒๕๖๕ เชิญ "ขอมหาญอิน" "แม่ทับทิมทอง" มีทุ่งเงิน-ทุ่งทอง ต้องหาหล่อ ก้อนทอง-ก้อนเงิน แลกเปลี่ยนสิ่งของกันได้ พลิบพลี พลอย เอาแต่งตัวตน ควรให้คน เมืองแมนเอาทอง-เงิน ซื้อ-เปลี่ยนสิ่งของกัน


เงิน ทอง ค่า มาตรา


เงิน, ทอง, และแก้ว ไทยรู้คุณค่ามานาน แล้ว จึงเอามาตั้งเป็นมาตราค่าใช้ซื้อขาย แลก เปลี่ยนกันได้ ได้ประดิษฐ์หล่อเป็นรูปใช้กันมา จึงตั้งชื่อรู้ว่า ต้น, ไพ, เฟื้อง, สลึง เป็นต้น มีมานานแล้ว ที่เขียนกันว่ามีการติดต่อค้าขาย กันกับต่างประเทศ เมื่อไม่มีเงินทองใช้ จะมีการ ค้าขายกันได้อย่างไร จึงมีการทำใช้กันมาแล้วแต่ ดึกดำบรรพ์ ชื่อต่าง ๆ มีขึ้นเท่า ๆ กับที่มีคนไทย

เมื่อได้เจอขุนอินร่วงไทย ขุนหญิงทับทิมทอง ขอมหาญอิน ร่วมกันสร้างขึ้น ที่ได้มานี้ (ภาพอยู่หน้าถัดไป) อาจทีหลังมานาน นำมา รวมกันไว้เท่าที่พบ นับว่าเป็นหลักฐานอันมีอยู่ ในไทย ที่จะไม่ยอมเชื่อกันนั้น อาจมีได้เฉพาะ ผู้ที่ไม่เคยเป็นไทยมาแต่ต้น ที่จะมีคนไทยใน กาลนี้รู้ว่า เป็นหลานเหลนของต้นนั้นได้พบเห็น รู้แล้ว เก็บเอามาคิดรู้แล้วประกาศสิ่งมีเหล่านั้น ซึ่งพอจะเป็นข้อยืนยันได้ว่า เป็นหลานเหลน- อนุชนที่ดี ย่อมเป็นอุดมเกียรติไทยอย่างแท้จริง

อินร่วงไทย เมืองแมน หาขอมหาญอิน หล่อเงินทอง เงินอันต้นสลึง ดำรอง ตำลึง ทอง อันละชั่ง และอันละร้อย
หาญอินหล่อเงิน ทอง ตามคำอินร่วง ไทย และทับทิมทอง อินร่วงไทยสั่งเป็นเงิน ทอง วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย ปีอิน ๒๕๖๖
ทับทิมทองสอนขาย ซื้อ ทั่ว สิ่ง ของ ข้าว ผัก ปลา งัว ควาย ช้าง ม้า ให้คนเมือง แมนทำได้ในปีอิน ๒๕๖๗ ทับทิมทองซื้อของ เข้าเมือง จ่ายเงินทั่วแล้ว ให้คนขายแก่คน เมืองไทย หญิงชายให้ซื้อขาย

ปีอิน ๒๕๗๘ ขุนอินร่วงไทย ผู้ผัวตาย จึงครองเมืองแมนคอยท่าลูกใหญ่ ต่อมา ร่วงอินไทย ลูกชายขึ้นครองเมืองเมียชื่อ ดวงตวัน ปีอิน ๒๕๙๘ ดวงตวันมีลูกชื่อ อินตวันไทย ปีอิน ๒๕๙๙ เดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ


๑. ต้น สตางค์ ตรากวางนอนเงยหน้า
อันต้น คือ สตางค์ ตะกั่ว วัดผ่าศูนย์ กลาง ๑๐ ม ม(คูบัว จ ราชบุรี)
อันต้นนี้ เอาตะกั่วอ่อนหล่อรูป " ตรากวาง นอนหงายหน้า " เลาะเลือนอย่างนี้ ได้ให้ถ่ายพอ มองเห็นเค้าได้ ได้มาจึงรู้ นำมาลงไว้ให้รู้ทั่วกัน










ขุนถิ่นทอง เมืองแมน

ต้นเห็นคนมีค่ามากกว่าสัตว์เนื้อ จึงออกกฎหมายห้ามกินคน

ปีอิน ๒๗๕๐ ก่อน พ.ศ. ๒๕๙๐ ปี เมื่อ ๕,๑๒๐ ปีมาแล้ว (พ.ศ. ๒๕๓๐)



๑.ขุนถิ่นไทย ผู้ออกกฎหมายห้ามฆ่าคนเป็นๆกิน ท่ามือซ้าย ประคองขึ้นมือขวา "กด" ใน ชื่อกฎหมายเดิมเห็นเขียนเป็น "กดหมาย" (ถ้ำเทือกเขางูด้านวังสะดึง)
๒.ขุนหญิงดอกไม้ทอง ทำงานแม่บ้าน มือซ้ายถือหอยยอด หรือหอยสังข์ มือขวาถือดอกบัว สัญลักษณ์ หรือเครื่องยศขุนหญิง

ขุนถิ่นทอง ขึ้นครองเมื่อปีอิน ๒๗๕๐ เมีย นางดอกไม้ทอง นางเป็นผู้หา ดวงแก้วตา มาเป็นเมียน้อย เมื่อนางดอกไม้ทองท้องเดือน ๓ ปีมเส็ง ปีอิน ๒๗๕๕ คลอดลูกชื่อ ขุนไทยงามทั่ว ส่วนนางดวงแก้วตามีในปีจอชื่อ แก้วกองเมือง
ถิ่นทอง (เมืองแมน) ผู้ออกคำสั่งห้าม คนในเมืองแมนกินคนเป็น ๆ ถ้ามันพูดไม่ ฟัง มันฆ่าคนกิน ให้ฆ่ากิน ท่านให้ฆ่ามันให้ ตัวตายตาม ๆ กัน ผู้ขืนกินคน หรือแกล้งคน ตาย ท่านว่ามันเป็นผู้ผิด มันฆ่า ให้ฆ่าตนมัน ให้ตาย สมผิด

กฎหมายฉบับนี้ จึงเป็นกฎหมายห้ามกิน คนฉบับแรกของไทย หรืออาจเป็นฉบับเดียว ในโลก เพราะที่อื่นไม่เคยได้ยินว่า "มี" และ ก่อน พ ศ ๒๕๗๘ ปี หรือประมาณ ๕,๐๘๘ ปีมาแล้ว ที่คงทนมาได้นั้นไม่ใช่ของแปลก เพราะ ที่ อียิปต์ ยังคงอยู่ได้
กฎหมายห้ามกินคน ฆ่าคนกิน คุ้มครอง ชีวิตคน ขุนถิ่นทองเขียนประกาศไว้แต่ปีอิน ๒๗๗๒ ประกาศใช้ตั้งแต่ปีอิน ๒๗๗๓ (ก่อน พ ศ ๒๕๖๗ หรือเมื่อ ๕,๐๗๕ ปีมาแล้ว) นำมาเพียงหน้า ๑ (แผ่นลำดับอ่านที่ ๒๓๖)





กฎไทยไหว้-น้อม


ปีอิน ๓๓๗๕ ต้นปีชวด เลืองหาญกรุงออกกฎไทยว่า "คนไทยทุกคนควรไหว้ น้อม ขุน บา ขอม เหมือนพ่อแม่ ควรให้ดอกไม้ ขวัญข้าว ผ้า ทอง เงิน"
เป็นอันว่า ขนบธรรมเนียมการกราบไหว้ การเคารพนบนอบ ต่อองค์พระมหากษัตริย์ ต่อครูบาอาจารย์ ควรบูชาด้วยเครื่องสักการะ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ เสมือนท่านเป็นบุพการีของเรา ประเพณีการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ นั้น ได้สืบทอดวัฒนธรรมมานานนับพันปีแล้ว ควรที่พวกเราจะได้อนุรักษ์ไว้สืบต่อไป...สวัสดี

โปรดติดตามอ่าน ตอนที่ ๓๕ ต่อไป



kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved