มติชน
นับเป็นข่าวร้ายของคนทั้งโลก เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติ (National Snow and Ice Data
CenterNSIDC) มหาวิทยาลัยโคโรลาโด ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ของนาซาและมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เผยผลการศึกษาว่า แผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติก
ขั้วโลกเหนือกำลังละลายอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา
เป็นผลทำให้แผ่นน้ำแข็งเกือบ 7 ล้านตารางกิโลเมตรหดตัวเหลือเพียง 5.32 ล้านตารางกิโลเมตร ลดลงไปประมาณ 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร
หรือขนาดสองเท่าของรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมาก
การละลายที่รุนแรงนี้เปิดเส้นทางเดินเรือ "Northwest
Passage"
เส้นทางซึ่งเชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชียที่สร้างตำนานการผจญภัยของนักบุกเบิกซึ่งสูญเสียลูกเรือหลายคนในความพยายามแล่นเรือฝ่าแผ่นน้ำแข็งที่มีความหนาและสภาพ
อากาศที่หนาวจัดเมื่อต้นศตวรรษที่ผ่านมา
แผ่นน้ำแข็งอาร์กติก คือ
บริเวณมหาสมุทรอาร์กติกที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งอย่างน้อยที่สุด 15% น้ำแข็งจะเริ่มละลายในฤดูใบไม้ผลิ
และจะละลายมากที่สุดในเดือนกันยายนซึ่งเป็นปลายฤดูร้อน และจะฟื้นคืนสภาพเป็นน้ำแข็งอีกครั้งในช่วงฤดูหนาว
นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าปรากฏการณ์นี้มีความสำคัญต่อทุกคนบนโลกซึ่งกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อนและผลกระทบที่ตามมาหลายอย่าง เช่น
พายุที่รุนแรงและความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ของโลก การละลายของธารน้ำแข็งที่ทวีปแอนตาร์กติกซึ่งทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ NSIDC และนาซาทำการศึกษาการลดลงของแผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติกโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมตั้งแต่ปี 1978 จนถึงเดือนกันยายน 2005
พวกเขาพบว่าแผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติกลดลงในอัตราเร่งในช่วงปี 2002-2005 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการลดลงในช่วงเวลาก่อนหน้าปี 2002
ข้อมูลจากดาวเทียมในช่วงปี 1979-2001 บ่งชี้ว่าอัตราการลดลงของแผ่นน้ำแข็งต่อทศวรรษมากกว่า 6.5% เพียงเล็กน้อย แต่ปี 2002 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 7.3%
และปี 2005 ขยับขึ้นไปอีกเป็น 8%
ในขณะที่ปริมาณน้ำแข็งที่คืนสภาพในช่วงฤดูหนาวของปี 2004-2005 มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
นอกจากนั้นยังพบว่า ตั้งแต่ปี 2002
เป็นต้นมาช่วงเวลาน้ำแข็งละลายในฤดูใบไม้ผลิเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติในบริเวณทางตอนเหนือของอลาสกาและไซบีเรีย และในปี 2005
ช่วงเวลาน้ำแข็งละลายทั่วอาร์กติกเร็วขึ้นถึง 17 วัน
อุณหภูมิบริเวณอาร์กติกสูงขึ้นในสองทศวรรษที่ผ่านมาเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อ 50 ปีที่แล้ว
นักวิทยาศาสตร์พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2005 สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติกประมาณ 2-3 องศาเซลเซียส หรือ 3.6-5.4
องศาฟาห์เรนไฮต์
จูเลียนเน สโตรเฟว นักวิทยาศาสตร์ของ NSIDC
บอกว่า เมื่อดูจากปริมาณน้ำแข็งในปี 2005 จนถึงเดือนกันยายน มีปริมาณน้ำแข็งน้อยกว่าในปี 2002 ซึ่งเป็นปีที่น้ำแข็งมีปริมาณน้อยที่สุดมานานกว่าศตวรรษ
และว่า ถ้าน้ำแข็งลดลงในอัตราเช่นนี้ต่อไป จะไม่พบน้ำแข็งในฤดูร้อนของอาร์กติกอีกเลยก่อนสิ้นศตวรรษนี้
ดร.มาร์ค เซอร์เรซ
นักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งของ NSIDC บอกว่า น้ำแข็งที่อาร์กติกมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคำอธิบายที่ดีที่สุดก็คือเพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น
นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า แนวโน้มการลดลงของน้ำแข็ง
การไม่คืนสภาพของน้ำแข็ง
การละลายที่เร็วขึ้นในช่วงดูใบไม้ผลิและอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยเป็นฟีดแบ๊คต่ออินพุตของระบบซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
ฟีดแบ๊คที่สำคัญคืออุณหภูมิที่สูงขึ้น เซอร์เรซอธิบายว่า การลดลงของน้ำแข็งก็เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น
และการลดลงของน้ำแข็งจะทำจะให้น้ำแข็งลดลงมากขึ้นไปอีก เพราะน้ำแข็งสีขาวสะท้อนรังสีหรือพลังงานจากดวงอาทิตย์กลับไปยังอวกาศ
ขณะที่น้ำทะเลสีเข้มในมหาสมุทรดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้มันจึงทำให้มหาสมุทรจะร้อนขึ้น
เมื่อมหาสมุทรร้อนขึ้นก็ยากที่น้ำทะเลกลับคืนสภาพเป็นน้ำแข็งอีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว
ในที่สุดการสะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์ของโลกทั้งใบก็ลดลงด้วยขณะที่โลกดูดกลืนพลังงานมากขึ้น โลกก็จะร้อนขึ้น
ผลกระทบจากน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายได้เกิดขึ้นแล้วในระดับท้องถิ่น
น้ำทะเลกำลังกัดเซาะชายฝั่งไซบีเรียและอลาสกาทำให้ประชาชนที่อาศัยตามแนวชายฝั่งต้องอพยพ ในขณะเดียวกันน้ำแข็งที่ปกคลุมพื้นดินก็กำลังละลายเช่นกัน
ความแห้งแล้งอย่างยาวนานที่เกิดขึ้นในรัฐทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาก็อาจจะเป็นผลกระทบอย่างหนึ่งซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังหาคำตอบกันอยู่
<
/STRONG>
Northwest Passage |
นอกจากผลกระทบต่อมนุษย์แล้ว
หมีขั้วโลกก็จะสูญพันธุ์ไปในเวลาไม่เกินศตวรรษนี้เพราะพวกมันอาศัยอยู่บนแผ่นน้ำแข็ง
สิ่งที่หลายคนอยากรู้ก็คือ การเกิดพายุเฮอร์ริเคน
"แคทรีนา" และเฮอร์ริเคน "ริตา"
ที่มีกำลังรุนแรงเชื่อมโยงกับการละลายของน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือซึ่งเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของความชื้นและลมหรือไม่
ยังไม่มีคำตอบในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าทั้งสองปรากฏการณ์เกิดจากสาเหตุเดียวกันคือสภาวะโลกร้อนจาก "ปรากฏการณ์เรือนกระจก"
ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าสภาวะโลกร้อนอาจเกิดจากจุดดำของดวงอาทิตย์
โลกร้อนทำให้เกิดพายุเฮอร์ริเคนอย่างไร? คำอธิบายมีอยู่ว่า พายุเฮอร์ริเคนเกิดในบริเวณที่อุณหภูมิสูง
เรือนกระจกทำให้มหาสมุทรร้อนขึ้นซึ่งก็เท่ากับว่าเติมเชื้อให้กับพายุเฮอร์ริเคนและทำให้มีกำลังแรงขึ้นด้วย
ดร.คลอส วอลเตอร์
นักวิทยาศาสตร์ของ NOAA"s Climate Diagnostics Center มหาวิทยาลัยโคโลราโด บอกว่า เมื่อเดือนสิงหาคม 2005
ก่อนที่พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาจะถล่มอเมริกาในวันที่ 29 สิงหาคม 2005 นั้น อุณหภูมิของผิวทะเลในอ่าวเม็กซิโกสูงที่สุดในรอบ 100 ปีเลยทีเดียว
ยิ่งไปกว่านั้นยังไม่เคยเกิดเฮอร์ริเคนที่มีกำลังแรงระดับ 5 สองลูกซ้อนในฤดูเดียวกันและในที่เดียวกันอีกด้วย "มันเป็นเรื่องที่พิเศษมากที่มีเฮอร์ริเคนสองลูกที่มีความแรงระดับ 5 มาด้วยกันและจากที่เดียวกัน แต่น้ำทะเลทางตะวันตกของฟลอริดาร้อนจริงๆ
และร้อนในระดับลึกด้วย เราวัดได้ 79 องศาฟาห์เรนไฮต์ที่ความลึก 150 เมตร"
ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ความเชื่อมโยงระหว่างการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเหนือกับการเกิดพายุเฮอร์ริเคน
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้ในขณะนี้ก็คือโอกาสที่จะเกิดพายุเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงและมีจำนวนมากขึ้นในอนาคตมีสูงมาก
ดร.เคอรี
เอ็มมานูเอล นักฟิสิกส์ของเอ็มไอที เผยผลการวิจัยในวารสารเนเจอร์ฉบับเดือนสิงหาคม 2005 ว่า ความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนเพิ่มขึ้นในระยะ 30
ปีที่ผ่านมา ความเสียหายที่เกิดจากอำนาจการทำลายล้างของพายุเฮอร์ริเคนทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกมีมากกว่าเกือบเท่าตัวกับที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1970
และพายุเฮอร์ริเคนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกก็มีกำลังเพิ่มขึ้นด้วย
และล่าสุด ผลงานวิจัยของศาสตราจารย์ ปิเตอร์ เว็บสเตอร์ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร เจอร์นอล ไซนซ์ ฉบับเดือนกันยายน 2005 ระบุว่า
จำนวนพายุเฮอร์ริเคนในมหาสมุทรซึ่งมีความรุนแรงระดับ 4-5 เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในระหว่างปี 1990-2005
สถิตินี้บอกแนวโน้มว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต