ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 26/12/08 at 17:21 Reply With Quote

นิทานชาดก (เรื่องที่ 17) ติปัลลัตถมิคชาดก - ชาดกว่าด้วย "ความว่านอนสอนง่าย"


...นิทานชาดกนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ "พระพุทธเจ้า" ขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ได้บำเพ็ญพระบารมีมาในแต่ละชาติ จะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น แล้วได้ตรัสเล่าบุพกรรมเหล่านี้ ซึ่งมีมาในพระไตรปิฎกมากมายหลายเรื่อง

ในตอนนี้ จะขอนำการ์ตูนเรื่องที่ 17 ชื่อว่า "ติปัลลัตถมิคชาดก" (อ่านว่า ติปัลลัตถะมิคะชาดก) จึงขออนุโมทนาไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

ติปัลลัตถมิคชาดก : ชาดกแสดงคุณของ "ความว่านอนสอนง่าย "


มูลเหตุที่ตรัสชาดก

.....ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดพทิรการาม เมืองโกสัมพี ทรงปรารภพระราหุลเถระ ผู้ใคร่ต่อการศึกษา เรื่องมีอยู่ว่า

สมัยนั้น พระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับอยู่ในอัคคาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวี มีอุบาสกอุบาสิกา ภิกษุและภิกษุณีจำนวนมาก ไปฟังธรรมทั้งกลางวันและกลางคืน

เมื่อฟังธรรมเสร็จสิ้นแล้ว ภิกษุที่เป็นพระเถระก็พากันไปยังที่พักของตน ส่วนภิกษุหนุ่มและอุบาสกพากันนอนที่โรงฉัน

พอเข้าสู่ความหลับมีภิกษุบางรูปนอนกรน บางรูปนอนกัดฟัน ก่อความรำคาญให้แก่พวกอุบาสก พวกเขาพากันนอนครู่เดียวจึงลุกขึ้นหนีไป

วันต่อมา พวกอุบาสกกราบทูลเรื่องนี้แด่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบทว่า

" ก็ภิกษุใด นอนร่วมกับอนุปสัมบัน ภิกษุนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ "

แล้วเสด็จไปยังเมืองโกสัมพี ก่อนมีสิกขาบทนี้ สามเณรราหุล มักจะได้รับการสงเคราะห์จากภิกษุให้พักร่วมกุฏิเสมอ

เมื่อพระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้แล้ว จึงไม่มีภิกษุรูปใดอนุเคราะห์แก่เธอ สร้างความเดือดร้อนแก่ "สามเณรราหุล" ท่านจึงเลือกไปอาศัยที่เวจกุฎี (ส้วม) ของพระพุทธองค์เป็นที่อยู่อาศัยแทน

ครั้นรุ่งเช้า พระพุทธองค์ เสด็จมาถึงเวจกุฎีแล้วไอขึ้น สามเณรราหุลก็ไอขึ้นเช่นกัน พระพุทธองค์จึงทรงทราบความเดือดร้อนเพราะการบัญญัติสิกขาบทนี้

ทรงดำริถึงคราวต่อไปเมื่อสามเณรมีมากขึ้น จะให้ภิกษุปฏิบัติเช่นใด จึงตรัสเรียกประชุมสงฆ์แต่เช้าตรู่ แล้วทรงทำอนุบัญญัติสิกขาบทนี้ว่า

" ตั้งแต่นี้ไป ท่านทั้งหลาย จงให้อนุปสัมบันอยู่ในที่พักของตนได้สองวัน ในวันที่สามให้อยู่ภายนอกเถิด "

ต่อมาเย็นวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันถึงเรื่องสามเณรราหุลเป็นผู้ตั้งอยู่ในโอวาท เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา พระพุทธองค์จึงได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า


เนื้อความของชาดก

...... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเนื้อสองพี่น้องคู่หนึ่ง มีบริวารแวดล้อมมาก อยู่ในป่าใกล้เมืองราชคฤห์

วันหนึ่ง เนื้อผู้น้องสาวนำเนื้อลูกชายมาฝากให้ศึกษามารยาทของเนื้อกับพี่ชาย เนื้อผู้หลานชาย ได้ศึกษามารยาทของเนื้อกับลุงจนหมดสิ้น

วันหนึ่ง ออกหากินในป่าติดบ่วงนายพราน จึงร้องบอกหมู่เนื้อให้หนีไปบอกมารดา ส่วนมารดารีบไปบอกพี่ชายด้วยความห่วงใย พี่ชายจึงพูดปลอบใจว่า

" น้องหญิง พี่ให้เนื้อหลานชาย ผู้มีกีบเท้า ๘ กีบ เรียนท่านอน ๓ ท่า เรียนมีเล่ห์กลมารยาหลายอย่าง และการดื่มกินน้ำในเวลาเที่ยงคืน

เนื้อนั้น เมื่อหายใจทางจมูกข้างที่แนบติดอยู่กับพื้นดิน ก็จะลวงนายพรานได้ด้วยอุบาย ๖ ประการ "


เล่ห์กลลวงนายพรานด้วยอุบาย ๖ ประการ คือ

๑. นอนตะแคงเหยียดเท้าทั้ง ๔
๒. ใช้กีบเท้าตะกุยหญ้าและดินร่วน
๓. ทำลิ้นห้อยออกมา
๔. ทำให้ท้องพองขึ้น
๕. ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะออกมา
๖. กลั้นลมหายใจไว้

ฝ่ายเนื้อผู้หลานชาย ได้แสดงอาการทำทีเป็นตายแล้ว มีแมลงวันหัวเขียวบินตอมตัวว่อน นายพรานพอเห็นอาการเช่นนั้นเข้าใจว่าเนื้อตายแล้ว เลยแก้เชือกผูกเนื้อออก หวังจะแล่เนื้อในที่นั้น เดินหักใบไม้ไปมา ฝ่ายเนื้อได้โอกาสจึงลุกขึ้นวิ่งหนีกลับมาได้ ด้วยความปลอดภัย

ประชุมชาดก

.....เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสชาดกจบแล้ว ทรงแสดงอริยสัจ ๔ โดยอเนกปริยายให้ลุ่มลึกยิ่งขึ้นไปตามลำดับ

พระภิกษุจำนวนมาก ได้ส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนา บ้างก็สำเร็จเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ตามแต่กำลังบารมีที่สั่งสมอบรมมา แล้วสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกว่า

ลูกกวางน้อย ได้มาเป็น สามเณรราหุล
แม่กวาง ได้มาเป็น พระอุบลวรรณาเถรี
พญากวาง ได้มาเป็น พระองค์เอง


ข้อคิดจากชาดก

๑ . ปกติคนเราถ้าไม่ได้ฝึกสติมาดีแล้ว เมื่อนอนหลับ มักจะมีอาการต่างๆ เช่น กัดฟัน ละเมอ วางมือวางเท้าไม่เรียบร้อย ผมเผ้ารุ่งรัง นอนกรน น้ำลายไหล เป็นต้น

ภาพเหล่านี้ย่อมไม่น่าดู และเป็นที่รังเกียจแก่ผู้พบเห็น ดังนั้น บางครั้งหากมีความจำเป็นต้องนอนในที่เดียวกับคนอื่น เช่น ในโอกาสไปพักแรมต่างจังหวัด หรือไปค้างคืนบ้านเพื่อนฝูง จึงควรระมัดระวังให้เรียบร้อย ตั้งแต่ผมเผ้าไปจนถึงเสื้อผ้า และท่านอน

๒ . เมื่อเราได้ร่ำเรียนวิชาจากครูบาอาจารย์แล้ว ควรหมั่นจดจำไว้ อย่าละเลย หลงลืม หมั่นพิจารณาอยู่เสมอ จึงจะมีความรู้แตกฉาน นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิต หรือแม้กระทั่งรักษาชีวิตของตนได้ ดังคำของกวีสุนทรภู่ ที่กล่าวว่า

“ รู้สิ่งใดที่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ”

การรักษาตัวรอดในความหายของนักปราชญ์หรือบัณฑิตนั้น หมายถึง รอดพ้นจากภัยพาล หรือความชั่วร้ายทั้งหลาย มิใช่ในความหมายของการหนีเอาตัวรอดแล้วทิ้งให้ผู้อื่นลำบาก ซึ่งเป็นวิสัยของผู้มีจิตใจคับแคบ

๓ . ศิษย์เมื่อมีความศรัทธา มีความเคารพในครูบาอาจารย์อย่างเต็มเปี่ยมแล้ว จะมีความเคารพในคำสั่งสอนของท่าน และปฏิบัติตามคำสั่งสอนโดยไม่โต้แย้งหรือบิดพลิ้ว

ทำให้ครูบาอาจารย์มีความเมตตา เอ็นดู ปรารถนาจะถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป




ที่มา - kalyanamitra.org



kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 24/5/18 at 10:57 Reply With Quote


.


webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved