|
|
|
posted on 7/9/10 at 15:00 |
|
ตามรอยพระพุทธบาท "จังหวัดตาก" เมื่อปี พ.ศ. 2540
การเดินทางไปจังหวัดตาก เมื่อปี ๒๕๔๐(จาก หนังสือตามรอยพระพุทธบาท เล่ม ๑)
เมื่อปี ๒๕๔๐ ผู้เขียนพร้อมด้วยคณะได้มีโอกาสไปจังหวัดตากถึง ๒ ครั้ง คือครั้งแรกเดินทางไปเมื่อ วันที่ ๑๔ - ๑๕ มิ.ย.
๒๕๔๐และครั้งที่ ๒ เมื่อ วันที่ ๒๖ - ๒๗ ต.ค. ๒๕๔๐
ความจริงตั้งใจจะไปเพียงครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น แต่ก็มีเหตุบังเอิญจะต้องไปอีกเป็น ครั้งที่ ๒ จะเป็นด้วยเหตุผลประการใด
จำต้องขออภัยท่านผู้อ่านทั้งหลาย ด้วยอาจจะเล่าเปิดเผยจนเกินไป แต่ก็จำเป็นจะต้องเล่าไปตาม ความเป็นจริง ถ้าอ่านแล้วเห็นว่าเป็นการไม่สมควร
ผู้เขียนก็ยินดีที่จะรับคำท้วงติงเสมอ
การเดินทางไป จังหวัดตาก ครั้งแรก เมื่อ วันที่ ๑๔ - ๑๕ มิ.ย.
๒๕๔๐ เป็นการ ไปกับเจ้าหน้าที่จัดงานเพียง ๕๐ คนเท่านั้น เพราะเห็นว่าจะต้องไปปีนเขากัน จึงมิได้ชักชวนบุคคลอื่นร่วมด้วย
เกรงไปว่าจะทนความยากลำบากไม่ไหว...
รอยพระพุทธบาท พระธาตุหินกิ่ว (ดอยดินจี่)
สำหรับสถานที่แห่งแรกที่ไปถึงนั่นก็คือ ศาลพระวอ หลังจากทุกคนเข้าไปกราบไหว้ เจ้าพ่อพระวอ แล้วจึงเดินทางต่อไปที่ แม่สอด ต้องขึ้นบันไดไปถึง ๙๐๐ ขั้น
จึงจะถึง มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท ซึ่งอยู่บนยอดเขาสูงริมแม่น้ำเมย ระหว่างชายแดนไทยกับพม่า
ทิวทัศน์ธรรมชาติเบื้องบนสวยงามมาก และมองเห็น แม่น้ำเมย คดเคี้ยวอยู่เบื้องล่างไปจนไกลสุดสายตา
หลังจากนำบายศรีและผ้าห่มบูชารอยพระพุทธบาท (เบื้องซ้าย) แล้วจึงได้เปิดเทปหลวงพ่อบวงสรวง เพื่ออธิษฐานขอให้เทพยดาอารักษ์
และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ได้โปรดปกปักรักษาชายแดนทิศตะวันตกของประเทศไทยนี้ ให้รอดปลอดภัยจากผู้คิดร้ายทั้งหลาย
ขณะนั้นเป็นเวลา ๑๑.๐๐ น. พระภิกษุ ทั้ง ๕ รูป จึงพักฉันอาหารเพลกันบนยอดเขา เสร็จแล้วจึงพากันไปที่ พระธาตุหินกิ่ว
บ้านวังตะเคียน ได้มองเห็นหินก้อนหนึ่งที่วางอยู่ใกล้ไหล่เขา ทำท่าเหมือนว่าจะหล่นลงไป โดยมีพระเจดีย์ทรงมอญอยู่ข้างบนก้อนหินนั้น
ซึ่งมีลักษณะรูปทรงทั้งก้อนหินและพระเจดีย์ที่มียอดฉัตรเหมือนกับ พระธาตุอินทร์แขวน ประเทศพม่า
ครั้นสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ภายใน พระธาตุหินกิ่ว หรืออีกชื่อ หนึ่งคือ พระธาตุพญาถ่อง ซึ่งอยู่บนชะง่อนผานี้แล้ว จึงเดินกลับลงมาจากยอดเขา เพื่อนำญาติโยมไปทานอาหารกลางวันที่ตลาดแม่สอด
เมื่ออิ่มหนำสำราญกันแล้ว จึงออกเดินทางกันต่อไป (ขณะนั้นเขาปิดสะพาน เพราะมีปัญหาเรื่องชายแดน) ก็ได้มาถึง เขื่อนยันฮี หรือ เขื่อนภูมิพล ในเวลาเย็น คุณนลิน ทรัพย์สุจริต พร้อมด้วยเพื่อนๆ ที่ทำงานอยู่ที่เขื่อนฯ ซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อได้มารอต้อนรับ พร้อม
กับติดต่อบ้านพักรับรองไว้ด้วย
ต่อมาก็ได้ขนกระเป๋าเข้าที่พักแล้ว พวก เราก็ได้ออกมาชมทิวทัศน์บริเวณนั้น โดยเฉพาะ ผู้เขียนได้เดินตรงไปที่เรือนรับรอง
อันเป็นสถานที่เคยมากับพระเดชพระคุณหลวงพ่อ แต่คุณนลินได้บอกว่า เวลานี้เขาได้รื้อไปแล้ว และได้สร้างเป็นสวนหย่อมแทน พวกเราจึงยืนถ่ายรูป
ไว้เป็นที่ระลึกแล้ว ผู้เขียนจึงบอกว่าในเวลา ๒ ทุ่ม เราจะไปชม พระพุทธฉาย กัน
เมื่อพวกเรารับประทานอาหารเย็นกัน แล้ว จึงได้นั่งรถออกไปที่บริเวณสันเขื่อน โดยมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ไว้ล่วงหน้าแล้ว
ทุกคนต่างก็ช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ พร้อมทั้งจัดเครื่องบายศรีไว้พร้อม และได้มานั่งรวมกัน บนถนน ซึ่งอยู่ใกล้กับหน้าผาที่จะปรากฏเป็น
ภาพพระพุทธฉายในยามค่ำคืน ในขณะนั้นเป็นเวลาที่พระจันทร์กำลังขึ้นมาพอดี
แต่ก่อนที่จะทำพิธีบวงสรวง ผู้เขียนก็ได้ย้อนเล่าประวัติความเป็นมาว่า เพราะเหตุใดจึงได้เดินทางกันมา ณ สถานที่นี้...
ประวัติพระพุทธฉาย ณ เขื่อนยันฮี จ.ตาก
สำหรับการเดินทางมาในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการมาเป็นกรณีพิเศษ แต่ก็เป็นงาน ภาคเหนือ ที่
ต่อเนื่องจากงานคราวที่แล้ว ถือว่าเป็น ภาคเหนือ ตอนที่ ๓ ตอนสุดท้ายจริงๆ ที่มิได้จัดรวมกับ
งานคราวที่แล้ว เนื่องจากสถานที่นี้หรือที่จะไป อีกนั้น ถ้ามีคนเป็นจำนวนมากมาด้วยจะไม่ สะดวก จึงได้จัดเป็นการภายใน แต่นับเนื่องต่อ จากงานที่แล้ว
ถือเป็นการฉลองอายุพุทธศาสนา ครบ ๒,๕๔๐ ปีเช่นกัน และนับว่าเป็น รอยพระพุทธบาท ภาคตะวันตก ก็ได้
ทิศนี้จึง เป็นทิศสุดท้ายที่จะต้องรอเวลานานพอสมควร
ความจริงถ้าเราจะติดตามเส้นทางที่หลวงพ่อเคยไปภาคเหนือแล้ว หลังจากท่านล่องลงมา ท่านจะแวะที่ เขื่อนยันฮี เป็นสถานที่สุดท้าย ต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ งานทางเหนือคราวที่แล้ว นั้น พวกเราไม่สามารถจะแวะได้
เนื่องจากคนมากเหลือเกิน แล้วเวลาก็มีจำกัด
เพราะฉะนั้น ท่านที่มาได้ในโอกาสนี้ ถือว่าโชคดี เพราะคงจะหาโอกาสมาอีกยากมาก จึงขอย้อนเล่าเรื่องของหลวงพ่อว่า ท่านเคยเดิน ทางมาที่นี่ทั้งหมด
๓ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๑๖ - ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๖
ครั้งนั้น ท่านมาสร้างพระพุทธรูปขนาด หน้าตัก ๒๔ นิ้ว ๑ องค์ ให้แก่ผู้ที่เคยทำศึก สงครามกันมาในอดีต นับตั้งแต่สมัย พระเจ้าศรีทรงธรรม บ้าง สมัย พ่อขุนรามคำแหง บ้าง ประมาณหมื่นคนเศษ
นั่นเป็นการมาครั้งแรกของท่าน ต่อมาก็ เป็นการเดินทางมาครั้งที่ ๒ โดยล่องกลับมาจาก ลำพูนเมื่อ วันที่ ๒ พฤศจิกายน
๒๕๑๙ กับ หลวงปู่ครูบาธรรมชัย และ ท่านหญิงวิภาวดี
รังสิต ครั้งนั้นผู้เขียนยังไม่ได้บวช จึงได้มีโอกาส มากับท่านด้วย ท่านได้พาไปล่องเรือในเวลา กลางวัน ส่วนในตอนกลางคืนท่านก็ได้พาไป
ชมพระพุทธฉาย พร้อมทั้งเล่าประวัติความเป็น มาให้ฟังกัน
หลังจากที่ผู้เขียนอุปสมบทแล้วในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ หลวงพ่อก็ได้มาอีกเป็นครั้งที่ ๓ เมื่อ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม
๒๕๒๓ แล้วท่านก็มิได้มา ณ สถานที่นี้อีก จนกระทั่งมรณภาพไปใน ที่สุด ควรที่พวกเราจะภูมิใจ ในการที่จะมาย้อน รำลึกนึกถึงท่าน
ที่ได้เคยมานั่งคุยกับลูกหลาน ในอดีต ณ สถานที่นี้
ผู้เขียนเองก็ไม่ทราบว่าจะมีชีวิตอยู่ยืนยาวเท่าไร แต่ถ้ามีโอกาสเมื่อใด ก็จะถือโอกาสนั้นมาทันที เพื่อเป็นการสืบสานเรื่องราวของ ท่านไว้
พวกเราที่มาภายหลังจะได้รู้ว่าหลวงพ่อเคยมาทำอะไรในสถานที่นี้บ้าง จึงขอนำคำบอก เล่าที่ได้บันทึกเสียงของท่านไว้ตั้งแต่สมัยนั้น ทั้ง ๓ ครั้ง
โดยเริ่มตั้งแต่ครั้งแรกกันเลยนะ...
หลวงพ่อเล่าเมื่อ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๖
...ที่ตรงยันฮีนี้ เป็นที่มีความสำคัญอยู่เยอะ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จผ่านมาหลายพระองค์
๑. พระพุทธทีปังกร
๒. พระปทุมุตตระ
๓. พระกกุสันโธ
๔. พระโกนาคม
๕. พระพุทธกัสสป
๖. พระสมณโคดม
ท่านบอกว่า เขาลูกที่ ๓ จากนี้ไปน่ะ เป็นแดนที่ประทับของพระพุทธเจ้าที่ท่านเสด็จมาโปรด อีแถวนี้มันเจริญ..ไม่ใช่ป่า ตอนนั้นเป็นเมืองใหญ่ เจริญมากนะ
เวลาจะขึ้น ปุริมัญจะ ทิสังราชา... (บวงสรวง) จะหัวเราะให้ได้เลย เพื่อน มิสเตอร์ เหม่ เขามา..เป็นคนที่เคยฟาดฟันกันมานะ เขา มาชี้บอกว่า
ไอ้ระยำนี่น่ะ..ฟันหัวมันไม่ได้สักที มันหลบเก่ง แล้วมันใช้ผ้าโพกหัวหนาๆ ฟันทีไร ติดผ้าทุกที..!
วันนี้มากันหมื่นกว่า แต่ว่าเขาไม่ได้จองเวรนะ เลยไม่ได้พูดถึงเรื่องเวรกรรมกัน พอพูดเสร็จแล้ว ท่านท้าวมหาราช ก็มากางบัญชีกันบอกว่า พวกเราที่ต้องทำบุญอุทิศให้เขานี่น่ะ ตั้งแต่สมัย พระเจ้าศรีทรงธรรม แล้วก็สมัย พระเจ้าขุนรามคำแหง ไล่ฆ่าเขาแถวนี้
เขามากันหมื่นเศษ ถามเขาว่า
เวลาทำบุญที่วัดทำไมไม่ไปทวงเอาที่โน่น ล่ะ..?
เขาบอกว่ากฎของกรรมมันปิด..ไปไม่ได้ ก็เลยถามเขาต่อไปว่า คนที่มาอยู่ ยันฮี นี่ก็มาก
พวกแกไม่ได้บุญบ้างเรอะ เขาบอกว่าไม่ได้ ส่วนมากเขามาสนุกกันครับ ไม่ได้มาทำบุญ นี่เป็น คำตอบจากพวกชั้นหัวหน้าๆ สัก ๑๐๐ กว่าที่
ท้าวมหาราชท่านอนุญาตให้เข้ามานะ เขาก็แหง..อยู่อย่างนี้ คอยจะเอาอะไรจากคนอื่นมันก็ ไม่ได้ เห็นพวกท่านมาวันนี้ แหม..ผมดีใจจังเลย
ถามเขาว่ามาทวงหนี้เรอะ..ตอบว่าไม่ทวง หรอกครับ เรื่องของสงครามไม่ทวงหรอก สงครามนี่ส่วนใหญ่ไม่มีเจตนาจะฆ่าฟันกัน เป็นการทำตามหน้าที่
เพื่อรักษาพื้นที่กันทั้งสองฝ่าย ทีนี้เลยถามว่าพวกเรานี่.. ใครเคย เกิดในสมัยสุโขทัยกันบ้าง
สมเด็จฯ ท่านมา..ท่านก็ดุเอาเลยว่า
จะพูดอะไรกันล่ะ เรื่องสมัยน่ะ เรื่องบุญเรื่องบาปควรจะพูดไม่พูดกันเลย ควรจะพูดอย่าง เดียวว่า
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายที่เราจะพึงอยู่...
สมัยสมเด็จพระพุทธทีปังกร
แล้วท่านก็เล่าว่า ดินแดนแถวนี้ พวกเรา เคยมาบำเพ็ญทานบารมีกันมาก ตั้งแต่สมัย สมเด็จพระพุทธทีปังกร
โน่นแน่ะ..! เวลานั้นพวกเรากิน แดนไปถึง อินเดีย แต่ตอนนั้นไม่ใช่ ชาติไทย นะ ชาติอะไรก็ไม่รู้ ปลายสุดอยู่ที่ ตาก เป็น เมือง ๑๐ เมือง
เป็นสัมพันธมิตรกันด้วยธรรมสามัคคี คือเขามาขอขึ้นด้วย ไม่ใช่เที่ยวไปไล่ตัดหัวเขานะ เห็นจะเป็นด้วยเขาอยากจะมาขอทองคำไปใช้กันนั่นแหละ
สมัยนั้น พวกเราบำเพ็ญกันหนักนะ ในด้าน ทานบารมี แต่ท่านตำหนิอยู่นิดหนึ่งว่า
ที่ใครต่อใครทำบุญกันตอนนั้นน่ะ ที่ตั้งความปรารถนาที่จะไปนิพพานในชาตินั้นกันน่ะ.. ไม่มี เลย มีแต่ขอกันว่า..
ให้ได้พระนิพพานในชาติ อนาคตกาลเถิด กันหมด นี่ไหมล่ะ..ถึงได้ถูก เตะโด่งมาจนถึงเวลานี้ ท่านบอกว่าถ้าปรารถนา นิพพานในชาตินั้น
มันก็จะได้นิพพานในชาติ นันกันเยอะแล้ว นี่.. สมเด็จพระพุทธทีปังกร ท่านยืนยันเองนะ
ต่อมาในสมัย สมเด็จพระปทุมุตตระ พวก เราก็เกิดอีกทันพระพุทธเจ้าอีก สมัยนั้นก็ตั้ง ท่าแบบนั้นตามเคย
มีคนปรารถนา พุทธภูมิ เป็นหัวโจก พอปรารถนาพวกเราก็เกาะหางตาม กันมาเรื่อย เลย
ไม่ได้นิพพานกันสักที..!
ต่อมา สมัยพระกกุสันโธ พระโกนาคม พระพุทธกัสสป ก็เกิดทันกันมาทุกสมัย จนถึง สมัย พระสมณโคดม นี่ส่วนใหญ่ก็ทำด้าน ทานบารมี กัน แล้วก็มาขอให้นิพพานในอนาคต
กาลกันอีก ฉันก็โง่แบบนั้น แล้วก็ พระราชาช้าง ด้วย ไม่ใช่ฉันคนเดียวหรอก..!
ทีนี้ก็ทูลถามท่านว่า ถ้าอย่างนั้นเวลานี้ หากทุกคนเขามีความตั้งใจไปนิพพานกัน จะ มีหวังไหม ท่านก็หัวเราะ..บอกว่า
เอ..ฉันก็พูดแล้วนะว่า ถ้าปรารถนาพระ นิพพานตั้งแต่ชาติโน้นมันก็ได้ ชาตินี้ถ้าตั้งใจ จริงๆ ทำไมจะไม่ได้ล่ะ..ได้แน่..! ขอให้เรา ตั้งใจจริง
หวังจริงๆ เถอะ แล้วทำเพื่อตัด ไม่ใช่ ทำเพื่อเกาะ จะไปสาวประวัติกันทำไม ว่าใคร เป็น สุโขทัย ใครเป็น ลพบุรี...
เพื่อน ตาเหม่ ที่เขามาชี้หน้าน่ะ ขาวๆ สวย เจ้าคนนี้สวยมาก รูปร่างหน้าตาสวยจริงๆ
ขาวค่อนข้างโปร่ง ไม่สูงนัก ท่าทางคล่อง แล้ว ก็มีคู่สงครามของ ท่านเจ้ากรมเสริม คนหนึ่ง บอกว่า
แทงพุงหลายหนไม่เข้าสักที....เหนียว.... เหนียวมาก อีตาพระราชาช้างนี่...เหนียว..!
ขัดคอแกว่าหอกแกไปติดเกราะเข้ากระมัง เขาตอบว่าไม่ใช่ครับ ไอ้หอกประเภทนี้ เวลาจะ แทง เขาต้องรู้จังหวะ จะก้มหรือหงาย เกราะจะ เปิดตรงไหน
พวกนี้รู้กัน ปั๋ง..เข้า..ก็ถูกเนื้อทุกที แต่ไม่เคยเข้า ถามว่าจองเวรเขาหรือเปล่า.. ตอบ ว่าไม่จองครับ..สงคราม..!
มีเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งคือ เจ้าพวกนี้รวมกัน ขอพระ ๒๔ นิ้ว องค์เดียว จะสร้างได้ไหมนี่.. ช่วยกันนะ ต้องฉันด้วย..หัวโจกใหญ่..! ที่เขาขอ
พระนี่ไม่ใช่เพราะจองเวรนะ ท้าวมหาราชก็ยืน ยันว่าไม่ใช่ จึงถามเหตุผลท่าน
ท่านบอกว่าเจ้าพวกนี้..เวลาทำสงครามมันผ่านแดนสงฆ์ แล้วก็ไปทำลายของสงฆ์เข้าบ้าง นี่ไม่ใช่เราใช้หนี้นะ เราสงเคราะห์น่ะ ท่านบอก
ว่าเจ้าพวกนี้คอยเรามานาน ไอ้เราก็มากันจน ได้นะ คนที่ไม่ตั้งใจจะมาก็มา นี่มันเกี่ยวข้อง กันมาตั้งแต่สมัย
พระเจ้าพรหมมหาราช แล้ว ก็สมัยรบพม่าอีก
อานิสงส์ถวายเครื่องประดับ
ถามท่านว่า ไอ้ ๑๐ เมืองนี้น่ะ มันมีดี อะไร.. ถึงได้มีทองมาก มันต้องมีดีซิ..ไม่งั้นทอง มันมารวมกันไม่ได้หรอก ท่านบอกว่า...
...ถอยหลังไปอีก ไปสืบสาวราวเรื่อง เอาตั้งแต่พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ที่ ๖ นี่..พวกเรา มักจะทำบุญกันด้วยเครื่องประดับ
คือถอดเครื่องประดับทั้งหมดออกถวายเป็นพุทธบูชา...
ตอนนั้นเป็นพระราชากันบ้าง เป็นเศรษฐี กันบ้าง ใหญ่โตมาก เวลาฟังเทศน์พระพุทธเจ้าแล้ว มีสร้อย มีทองคำ มีเพชร อะไรต่อ อะไร...ก็ถวายไปเป็นพุทธบูชา
ปรารถนาพระ นิพพานในอนาคตกาล อาศัยบารมีอันนั้นแหละ เป็นเหตุให้เกิดทรัพย์สินมหาศาลขึ้นด้วยอำนาจบุญญาธิการ ทองซึ่งเป็นทรัพย์แผ่นดินมันจึงมา
รวมตัวกันมาก ได้แจกจ่ายกันเป็นการใหญ่ ไปขุดกันเอาเองไม่รู้จักหมด
นี่ที่เราได้พบพระพุทธเจ้ามาหลายองค์ นี่ก็แสดงว่าเราไม่ได้ตกนรกกันมานานแล้ว แต่ ว่าไม่ใช่ว่าพบพระพุทธเจ้าแล้วจะตกนรกไม่ได้ นะ
บางทีก็เสด็จลงไปเยี่ยมเขาเหมือนกัน หนาวๆ หน่อยก็ย่องลงไปผิงไฟเสียที แต่ที่ไม่ตกนรกก็กว่า ๑,๐๐๐ ชาติแล้ว
วันนี้พระพุทธเจ้าเสด็จมา ๓ พระองค์ ท่านบอกว่าไม่ต้องห่วงพวกนี้ ทำใจให้สงบ พระอินทร์
ท่านก็บอกว่าควรสงเคราะห์ เรา สงเคราะห์เขา เราเองก็คล่องขึ้น เพราะเมื่อเรา สงเคราะห์เขา เขาก็จะสงเคราะห์เรา เราจะมีเทวดาเป็นพวกมาก
ที่ว่า ๓ องค์ตะกี้นี้ ก็มี พระพุทธทีปังกร พระพุทธกัสสป พระพุทธกกุสันโธ หลวงพ่อ
กกุสันโธไม่เคยมาเลยนะ ท่านชี้บอกว่า ภูเขา ลูกที่ ๓ เป็นแดนที่ประทับ ท่านทำให้เห็นภาพ บ้านเมืองสวยงาม บ้านสูงปรี๊ด..! อุดมสมบูรณ์ มีนักบุญมาก
ทูลถามท่านว่า ชมพูทวีป มีเขต ถึงไหน..? ท่านตอบว่าแถวๆ นี้แหละ...
ผู้เขียนขอนำเรื่องความเป็นมาของสถานที่นี้แต่เพียงเท่านี้ นับเป็นครั้งแรกที่หลวงพ่อเดิน ทางมา ส่วนจะมีใครติดตามไปด้วยกี่คนก็ไม่ ทราบ
แต่ที่ทราบตามที่ท่านเอ่ยชื่อมานั้น รู้สึก จะมีผู้ใหญ่หลายท่านที่หลวงพ่อเอ่ยถึง เช่น ท่านเจ้ากรมเสริม
(พระราชาช้าง) เป็นต้น
สำหรับการมาครั้งที่ ๒ ของหลวงพ่อนั้น ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับท่านด้วย โดยออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๙
หลวงพ่อได้นำคณะศิษย์ไป ทอดกฐินกับ หลวงปู่คำแสน (เล็ก) วัดดอนมูล จ.เชียงใหม่ แล้วไปงานศพ
หลวงปู่คำแสน (ใหญ่) ที่ วัดสวนดอก หลังจากนั้นจึงค้างคืน
กันที่วัดพระสิงห์ฯ
วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ หลวงพ่อเดินทางแวะที่ ค่ายทหารกองพลที่ ๔ อ.เชียงคำ จ.พะเยา
(แต่สมัยนั้นยังขึ้นอยู่กับ จ.เชียงราย) แล้วเดินทางต่อไปที่ ค่ายทหารเม็งราย จ.เชียงราย
โดยร่วมกันสมทบทุนเพื่อเป็นค่าสวัสดิการทหารทั้งสองแห่ง
ในตอนเช้าของวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ ทางเจ้าหน้าที่ทหารนำเฮลิคอปเตอร์มา ๒ ลำ เพื่อเดินทางไป วัดพระธาตุจอมกิตติ
ลำแรกได้รับหลวงพ่อไปพร้อมกับคณะ ส่วน ลำที่สองผู้เขียนได้ไปร่วมกับ หลวงปู่คำแสน (เล็ก)
เพื่อคอยดูแลท่าน ครั้นเมื่อไปถึงวัดพระธาตุจอมกิตติแล้ว หลวงพ่อได้ทำพิธีบวงสรวงสักการบูชา ต่อจากนั้นพวกเราก็ได้ทำบุญกับ หลวงพ่อฯ หลวงปู่คำแสน (เล็ก) และ หลวงปู่ ธรรมชัย ในขณะที่ออกจากสมาบัติ
ในเวลาเดียวกันนั้น ได้ข่าวการขุดพบพระพุทธรูปโบราณที่ฝังอยู่ใต้ดิน หลวงพ่อจึงได้นำคณะฯ อันมี ท่านหญิงวิภาวดี
รังสิต และ คุณโยมอ๋อย ภรรยาท่านเจ้ากรมเสริม เป็นต้น เดินทางไปตามถนนเลียบแม่น้ำโขง
เมื่อไปถึงจึงเข้าไปกราบนมัสการ พร้อมกับร่วมกันทำบุญสร้างพระวิหาร ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกว่า หลวงพ่อผาเงา
วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ หลวงพ่อ พร้อมกับคณะฯ เดินทางกลับมาพักที่ เขื่อนยันฮี จ.ตาก ในตอนกลางวัน
เจ้าหน้าที่ของเขื่อนได้ นำไปล่องเรือชมความงามตามท้องน้ำ ระหว่าง ที่เรือแล่นไปนั้น หลวงพ่อจะเล่าประวัติความ เป็นมาให้ฟังว่า
มีทรัพย์สมบัติซ่อนอยู่ในถ้ำ โน้นบ้างถ้ำนี้บ้าง
พวกเราต่างก็มองตามที่ท่านชี้บอก เห็นทิวเขาที่อยู่ไกลลิบ มีต้นไม้เขียวชอุ่มไปทั่ว บริเวณนั้น บางครั้งท่านก็ชี้ลงไปข้างล่างใต้น้ำ
พร้อมกับพูดว่า ถ้าใครไม่เชื่อก็ลองดำลงไปดู พวกเราฟังแล้วก็ได้แต่หัวเราะ เพราะเห็นท้อง น้ำใสลึกลงไปหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ความสุขใจจึงเกิดขึ้น
พร้อมทั้งกระแสลมที่กำลังพัดเย็น สบายตามธรรมชาติ
การเดินทางไปกับหลวงพ่อในครั้งนั้น ยากที่จะลืมเลือนไปจากจิตใจได้ มีความอิ่มใจ ในด้านทิวทัศน์ของธรรมชาติ และได้รับความ
ประทับใจที่หลวงพ่อให้ความรู้เกี่ยวกับอดีตของ สถานที่นี้ ซึ่งยากที่จะมีโอกาสได้รับฟังกันอย่าง เปิดเผย เพราะในตอนนั้นจะสังเกตได้ว่า
หลวงพ่อมีความสุขมาก เนื่องจากร่างกายของท่านได้ พักผ่อนอย่างเพียงพอ
ฉะนั้น การถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ จึงเหมือนกับท่านตั้งใจจะเล่าไว้เผื่อคนรุ่นหลังใน สมัยนี้ ที่มิได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับท่านได้
ทั้งได้เก็บเทปบันทึกเสียงนี้ไว้นานถึง ๒๑ ปี จึงควรสังเกตคำพูดบางคำของท่านให้ดี ซึ่งจะมีตอนที่เล่าถึง
ประวัติพระพุทธฉาย
ขอท่านผู้อ่านอย่าได้น้อยใจเลย เพราะ ผู้เขียนก็ได้นำท่านไปย้อนอดีตรำลึก ย้อนภาพความทรงจำถึงเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วนั้น
แม้แต่เสียงของท่านก็ยังได้นำกลับมาย้อนเล่ากันอีก ถึง แม้บางท่านจะมิได้ร่วมเดินทางไปกับผู้เขียนทั้ง ๒ ครั้งที่ผ่านมา แต่ผู้เขียนก็อุตส่าห์นั่งทนเมื่อย
เพื่อนำเรื่องราวมาถ่ายทอดให้ผู้อ่านจนถึงบ้านกันเลย เว้นไว้แต่ท่านที่มิได้เป็นสมาชิก ธัมมวิโมกข์
คราวนี้มารับฟังเรื่องราวกันต่อไปว่า หลังจากที่คณะของหลวงพ่อกลับมาจากล่องเรือแล้วก็ ได้รับประทานอาหารเย็นกัน พอถึงเวลากลางคืน หลวงพ่อ และ หลวงปู่ธรรมชัย (หลวงปู่คำแสน ไม่ได้ติดตามมาด้วย)
ได้นำคณะศิษย์ไปที่บริเวณสันเขื่อน เพื่อชมภาพพระพุทธฉายในยามค่ำคืน
แต่ก่อนที่ฟังหลวงพ่อเล่าประวัติพระพุทธฉายไว้เมื่อ ๒๑ ปีก่อนนั้น ผู้เขียนก็จะเล่าย้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนี้ ตามที่ได้เล่าไป แล้วว่า
ผู้เขียนได้เดินทางไปอีก ๒ ครั้ง เมื่อปี ๒๕๔๐ คือ ครั้งแรก วันที่ ๑๔ มิถุนายน และ วันที่ ๒๖ ตุลาคม ครั้งที่ ๒ นี้ นับเป็นกรณีพิเศษ จำนวน ๓๐๐ กว่าคน จนที่พักเต็มหมดทุกหลัง ต้องลงไปนอนที่แพริมน้ำกัน
เพราะอะไรคนจึง ไปมาก จะเล่าต่อไปข้างหน้า
สำหรับการเดินทางไปครั้งแรกนั้น มิได้นำคณะไปล่องเรือ ต่อเมื่อได้เดินทางอีกเป็น ครั้งที่ ๒ จึงมีโอกาสชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำ กันอย่างเต็มที่
พร้อมทั้งได้ย้อนเล่าถึงเหตุการณ์ ที่ผ่านมา ถึงแม้สมัยนั้นจะไม่ได้บันทึกภาพไว้ แต่ก็ได้เล่าถ่ายทอดกันฟัง ตามความทรงจำที่จะพอยังเหลืออยู่บ้าง
ขณะที่พวกเราคณะศิษย์รุ่นหลัง ต่างก็รับฟังกันอย่างสนใจ แต่บางท่านก็ต้องนั่งหลับไป เพราะเหน็ดเหนื่อยจากการไปทอดกฐินที่ วัดพระพุทธบาทดอยโล้น ซึ่งจะต้องขึ้นเขาสูงชันมาก แล้วจะเล่าให้ฟังภายหลัง ในตอนนี้ จะขอเล่า เรื่องราวที่ เขื่อนยันฮี กันก่อน
เป็นอันว่า ท่านทั้งหลายที่มาภายหลังอย่า เสียใจว่าไม่ทันท่าน แต่ครั้งนี้ผู้เขียนจะย้อนอดีต ให้เข้ากับบรรยากาศ เหมือนกับสมัยที่ท่านยังมี
ชีวิตอยู่ (ไม่ใช่ไปเลียนแบบท่านนะ) แต่มีความ ต้องการที่จะพรรณนาถึงความประทับใจ ตั้งใจ ที่จะให้ผู้คนที่ได้ยอมรับนับถือท่านเป็นครูบาอาจารย์
ไว้เป็นที่พึ่งที่เคารพยิ่งในดวงใจ จะได้ช่วยกันรับรู้ว่า...สถานที่นี้ก็เป็น อีกสถานที่หนึ่ง ที่พระผู้ทรงคุณประโยชน์ขอ แผ่นดิน ท่านได้มาเหยียบย่างถึง
ณ ที่นี้ พวก เราก็ได้ติดตามรอยเท้าของท่านตลอดมานับตั้งแต่ภาคเหนือ เพื่อเชื่อมงานของท่านไว้
พวกเราทุกคนจึงควรจะรับทราบ เป็นการสืบสานเรื่องราวกันต่อไปว่า ณ สถานที่นี้ ครั้ง หนึ่ง หลวงพ่อได้มานั่งคุยกับลูกหลาน โดยได้
มาถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ไว้ ซึ่งผู้เขียนก็ได้ เปิดเทปบันทึกเสียงการบอกเล่าของท่าน เป็น การย้อนเหตุการณ์ให้เหมือนไปกับท่านจริงๆ
แต่สมัยที่ไปกับหลวงพ่อนั้น หลังจากบูชา พระและชมภาพพระพุทธฉายกันพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้กลับมาเล่าประวัติกันที่เรือนพักรับรองนั้น จนถึงเวลา ๒๒.๐๐ น.
ผู้เขียนก็ต้องเดินทางกลับพร้อมกับคณะอีกหลายคน ส่วนบางท่านก็ยังอยู่กับหลวงพ่อต่ออีกวันหนึ่ง
อานุภาพแห่งพระพุทธฉาย
ในตอนนี้ จะขอเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันนี้ ว่าทำไมครั้งแรกมีคนไปด้วยเพียง ๕๐ คน แต่มาครั้งที่ ๒ จึงมีคนไปด้วยถึง ๓๐๐ กว่าคน
จึงจะขอเล่าว่าเป็นด้วยพระพุทธบารมี แห่งพระฉาย เพื่อจะสงเคราะห์บรรดาลูกหลานของหลวงพ่อ ให้มีความศรัทธามั่นคงในพระ พุทธศาสนานั่นเอง
เนื่องจากการเดินทางไปครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๐ นั้น เป็นจังหวะที่ตรงกับ วันขึ้น ๑๐ ค่ำ ในตอนหัวค่ำ
ขณะที่ทำพิธีบวงสรวงอยู่นั้น พระจันทร์ได้ขึ้นมาอยู่ตรงข้ามกับ หน้าผาพอดี ครั้นเจ้าหน้าที่ของเขื่อนได้ดับไฟสปอร์ตไลท์แล้ว
ทุกคนที่นั่งอยู่บริเวณนั้นจึง ได้แหงนหน้าขึ้น
เมื่อมองผ่านความมืดขึ้นไปบนหน้าผา เห็นแสงจันทร์สาดเข้าหน้าผา สะท้อนให้เห็นเงาของพระฉายตรงกลางหน้าผาในพุทธลักษณะต่างๆ กัน
แล้วแต่การตั้งสัจจะอธิษฐานและอานุภาพ ที่ท่านจะแสดงให้ปรากฏ บ้างก็เห็นเป็นประทับนั่ง บ้างก็เห็นประทับยืน เป็นต้น
แต่ในขณะที่ทุกคนกำลังชื่นชมด้วยความเพลิดเพลินอยู่นั้น แทบไม่เชื่อกับสายตาของตนเอง เพราะมีสิ่งหนึ่งปรากฏส่วนบนหน้าผา คือมีลำแสงพุ่งขึ้นเป็น ๓ ลำ
โผล่ออกมาจาก ยอดหน้าผาอย่างช้าๆ แต่แสงนั้นไม่สว่างจ้ามากนัก
พวกเราต่างก็มองกันด้วยความพิศวง เพราะนึกไม่ถึงว่าท่านจะแสดงให้เห็นกับตาเนื้อ ต่อหน้าคนประมาณ ๕๐ คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของเขื่อนอีกหลายคน
ไม่มีใครสงสัย มีแต่ความมั่นใจในพุทธานุภาพ ทุกคนจึงพนมมือสาธุกัน ตลอดเวลา ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้านั้น ลำแสง ตรงกลางได้พุ่งสูงขึ้นไปเบื้องบนท้องฟ้า
พุ่งขึ้น เรื่อยๆ ผ่านความมืดในยามค่ำคืนนั้น
ส่วนลำแสงซ้ายและขวานั้น ได้แยกออกจากกัน แล้วค่อยพุ่งอย่างช้าๆ เข้าไปหาพระจันทร์ โอบล้อมทั้งสองด้านพร้อมกัน กลายเป็นวงรัศมี รอบพระจันทร์พอดี
มองแล้วจะเป็นพระจันทร์ทรงกลด แต่ที่น่าแปลกใจก็คือว่า พระจันทร์ ทรงกลดในลักษณะที่ไม่เต็มดวง จะเรียกว่าพระ จันทร์ครึ่งเสี้ยวทรงกลดก็ว่าได้
เมื่อทุกคนได้เห็นเป็นประจักษ์พยานเช่น นั้นต่างก้มกราบลงกับพื้นด้วยความปลื้มปีติเป็นที่ สุดบางคนมีหยาดน้ำตาไหลรินออกมาด้วยความ
ปลื้มใจทุกคนมีความมั่นใจในคุณพระรัตนตรัย หวังที่จะประกอบคุณงามความดีเบื้องสูงต่อไป แน่ละ..พวกเรามีความมั่นใจในพระนิพพานยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้เอง ผู้เขียนจึงต้องมีหน้าที่นำคณะญาติโยมเดินทางไปอีกเป็นครั้งที่ ๒ ซึ่งมีคนเป็นจำนวน ๓๐๐ คน เพราะเหตุการณ์เช่นนี้
เป็นการบอกเหตุไว้หลายครั้งแล้วว่า ถ้าหากมี ปรากฏการณ์ที่ไหน.. แสดงว่าสถานที่นั้น จะต้องไปชวนคนกลับมาสักการะอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับการเดินทางไปครั้งนั้น นอกจากที่เขื่อนยันฮีแล้ว ท่านยังได้แสดงปาฏิหาริย์เกือบทุกแห่ง คือที่ เจดีย์ยุทธหัตถีพ่อขุนราม และที่ พระพุทธบาทดอยโล้น จังหวัดตาก
ซึ่งจะเล่าในโอกาสต่อไป
ในตอนนี้ จะขอนำคำบอกเล่าของหลวงพ่อและหลวงปู่ธรรมไชยที่ท่านได้เล่าไว้ หลังจากกลับมาจากการบูชาพระพุทธฉาย ซึ่งมี พวกเรานั่งรับฟังกันอย่างสนุกสนาน
โดยมีผู้ใหญ่ หลายท่านในสมัยนั้นอย่างเช่น ท่านหญิงวิภาวดี รังสิต คุณเฉิดศรี ศุขสวัสดิ์ และ
พล.ร.อ.จิตต์ - คุณหญิงสุวรรณาภา สังขดุลย์ เป็นต้น
หลวงพ่อเล่าเมื่อ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๙
ภาพในอดีต : หลวงปู่ธรรมไชยถวายผ้ากฐินแด่หลวงพ่อฯ ที่ศาลา ๒ ไร่ วัดท่าซุง
ต่อมาหลวงพ่อก็ได้ถวายผ้าไตรจีวรแด่หลวงปู่ธรรมไชยบ้างที่ ศาลา ๒ ไร่ วัดท่าซุง
...การที่เราไปบูชาพระเมื่อกี้นี้ ฉันกับ หลวงปู่ธรรมชัย เดินกันคนละสาย หลวงปู่ท่าน
ก็เข้าถ้ำไปบ้างตามเรื่องของท่าน ฉันอยู่แต่หน้า ถ้ำ ดินแดนแห่งนี้ ความจริงนี่ก็ทราบกันมาแล้ว แต่ทว่าเดี๋ยวเราเปิดกันคนละฉาก ปรากฏว่า
หลวงปู่มุดหินมุดดิน.. ฉันก็เล่าเรื่องของฉัน..!
พอพวกเราเริ่มบูชาพระ รูปพระก็ปรากฏ ก็เพราะว่าในสมัยนั้นที่ตรงนี้เป็นเมืองๆ หนึ่ง ที่ พระพุทธกัสสป
เสด็จเป็นประจำ ถือว่าเป็นเมือง ลูกหลวง ท่านไม่จำกัดในนี้
อ้อ..แต่ท่านบอกไว้ตอนท้าย อย่าลืมนะว่า พระศรีอาริยเมตไตรย จะตรัสตรงออกไปจากนี้
เลยจากดินแดนไทยปัจจุบันออกไป ๑๐ กิโลเมตร เป็นที่อุบัติในเขตพม่า สมัยโน้นพม่าไม่มีแล้ว มีแต่พะหมา.. ใช่ไหม.. คนละสมัย..!
พอเราดับไฟลงไปท่านก็ปรากฏ..ที่ปรากฏ ก็คือ พระพุทธกัสสป เป็นเจ้าของภาพ ภาพใน
สมัยนั้นที่ปรากฏขึ้นก็เพราะว่าท่านเสด็จมาเมือง นี้บ่อยๆ แล้วก็ถ้าเราจะเทียบเอากับพระพุทธเจ้า องค์ปัจจุบัน คือเมืองของ พระเจ้าปเสนทิโกศล (เมืองสาวัตถี) และเหมือนเมืองของ พระเจ้าพิมพิสาร
(เมืองราชคฤห์) เสด็จเป็นปกติ และ เมืองนี้ก็เป็นเมืองอุปัฏฐาก
ที่เมื่อเช้าที่บอกว่า มีพระราชาองค์หนึ่ง ชื่อ ว่า พระเจ้าปทุมมหาราช นั่นก็คือ พระอินทร์ องค์ปัจจุบันนะ ท่านมาถึงเป็นองค์แรกแล้ว ท่านก็ถามว่า ไอ้เจ้าเมืองปาตลีบุตรมันมาด้วยรึ? ไอ้เราก็งง ฉันงง..
ตั้งแต่เชียงแสนปีก่อนโน้น ตอนนี้ถามว่าใคร บอกว่าก็มันมานั่งหลังแก.. ทำไมไม่จำ..!
หลังจากนั้นก็มีพระมาเยอะ แล้วก็มีพรหม มีเทวดาเยอะ มีตอนหนึ่งที่พวกเราอุทิศส่วนกุศล ขอให้เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรม แต่ความจริง
วันนี้เจ้ากรรมนายเวรไม่มีมาเลย มีแต่พวกเก่าๆ ที่เรามาคราวแรก แล้วก็สร้างพระให้เขา เขามาเป็นหมื่น แต่งตัวสวยแพรวพราว
บอกว่าขอให้เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรม เขาบอกว่าเจ้ากรรมนายเวรไม่มี..มีแต่พวก วันนี้มี แต่พวก..ไม่มีเจ้ากรรมนายเวร ใครเห็นใครได้ยิน ตกใจวิ่งหนีกันหมด
แกร้องพร้อมกันหมดเลย
ทีนี้ท่านก็เล่าถึงประวัติเดิมว่า ภาพนี้จะปรากฏขึ้นมาได้อย่างไร...ก็เพราะอาศัย พระเจ้าปทุมมหาราช
ท่านมีความเคารพในพระพุทธกัสสป การเสด็จมาของพระพุทธกัสสปก็นานๆ ครั้ง แต่เสด็จประทับครั้งหนึ่งไม่น้อยกว่า ๑ เดือน
บรรดาประชาชนทั้งหลายก็พากันมีความเคารพ เพราะว่าพระราชาบูชานี่ ประชาชนเขา ก็เคารพด้วย ทีนี้มีครั้งที่ ๓ ที่ท่านเสด็จมา คือปี หนึ่งมาครั้ง
เพราะนานวัน พระเจ้าปทุมมหาราช จึงได้ขอให้พระองค์ทรงแสดงอะไรซักอย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอนุสรณ์.. เป็นที่ระลึก
ท่านจึงแสดงเป็นพระรูปฉายเข้าไว้ พร้อมไปด้วยพระอัครสาวก แล้วก็สาวกหลายท่านด้วย กัน แต่ว่านี่สมัยมันเลยมาแล้วนะ.. จึงเลือนไป
ถ้าสมัยก่อนโน้นก็ยังมีภาพคล้ายๆ พระฉาย เพียง แค่เดินผ่านมาก็จะเห็นเป็นรูปพระพุทธเจ้า คล้าย กับใครเขียน แต่นูนๆ ขึ้นมาหน่อยปรากฏชัด
แล้วนอกจากนั้นก็แสดง รอยพระบาทไว้ด้วย แต่รอยพระบาทถูกหินทับไปหมดแล้ว เพราะว่าคนละสมัย
ที่ท่านแสดงภาพพระไว้ที่ใกล้แม่น้ำ ก็เป็นเพราะว่า เป็นความต้องการของพระเจ้าปทุมมหาราช ว่าในที่น้ำไหล..มีความเย็น เวลาว่างในตอนเย็นๆ
หรือในตอนเช้าๆ ก็พากันมาไหว้ พระพุทธเจ้าเป็นที่ระลึก
เป็นอันว่า คนสมัยนั้นมีความเคารพมาก แล้วก็เป็นนักบุญมาก แล้วก็นักบุญสมัยนั้นก็มา เกิดในสมัยนี้ที่เดินมาเป็นแถวๆ นี่ละ
แล้วยังมี มากกว่านี้นะ ที่ยังมาไม่ครบ นี่..เรื่องฉันไม่มี มาก เพราะฉันไม่มุดภูเขาเข้าไป ไม่เหมือน
หลวงปู่ธรรมชัย.. (เสียงหัวเราะ)
ก่อนที่จะฟังเรื่องราวกันต่อไป ผู้เขียนขอขัดจังหวะตรงนี้สักนิด.. ตรงคำที่ว่า...
นักบุญสมัยนั้นก็มาเกิดในสมัยนี้ ที่ เดินมาเป็นแถวๆ นี่ละ.. แล้วยังมีมากกว่านี้นะ.. ที่ยังมาไม่ครบ..!
ท่านผู้อ่านทั้งหลายจะสังเกตได้ว่า หลวงพ่อท่านเล่าเป็นปริศนาไว้ตั้ง ๒๐ กว่าปี เพราะตามธรรมดาท่านไปเล่าเรื่องอดีตไว้ที่ไหน ไม่ว่าที่
ดอยตุง หรือ พระธาตุจอมกิตติ เป็นต้น จะไม่มีคำพูดเช่นนี้
เพราะคำว่า คนที่ยังมาไม่ครบ นั้น ในสมัยปัจจุบันนี้ ผู้เขียนไม่นึกเลยว่าจะ ต้องกลับไปที่นั่นอีก ๒
ครั้ง ซึ่งรวมเป็น ๓ ครั้ง ทั้งการไปครั้งแรกกับหลวงพ่อ และคงจะไม่มี โอกาสอีกแล้ว เพราะเป็นภาระที่หนักมากกับ ปริมาณของคน
เรามารับฟังเรื่องราวของท่านต่อไป หลังจากที่หลวงพ่อเล่ามาถึงตอนนี้แล้ว ท่านก็หันไป พูดกับหลวงปู่ธรรมชัย ซึ่งหลวงปู่ก็พนมมือแล้ว ได้แต่ยิ้ม
แต่ท่านไม่ได้หัวเราะเต็มที่อย่างพวกเรา เพราะกำลังเคี้ยวหมากอยู่พอดี ความจริงพวกเราที่กำลังนั่งแวดล้อมหลวงพ่อและหลวงปู่ อยู่นั้น
ก็อยากจะฟังหลวงปู่เล่าบ้าง แต่เมื่อหลวง พ่อเห็นหลวงปู่ยังฉันหมากอยู่ ท่านก็เล่าต่อไปว่า
ทีนี้ท่านก็เดินตรวจ พระทุกองค์ท่านก็เดินตรวจ พวกเทวดากับพรหมก็อยู่ห่างออกไปอยู่ล้อมรอบๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่เราสร้างพระให้
เขาอยู่ทางแถบน้ำไกลลิบแพรวพราว เหมือนกับเพชรต้องแสงดวงพระอาทิตย์.. แพรวไปหมด...!
|
|
|
|
Posts: 462 |
Registered: 12/3/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
posted on 7/9/10 at 15:28 |
|
พระพุทธพยากรณ์
แล้วตอนหลังสุดท่านก็พยากรณ์ ท่านเดินตรวจไปตรวจมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระพุทธกัสสป ท่านบอกว่า...
คนที่มานี่ทั้งหมดให้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ตายไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเสียส่วนหนึ่ง.. ชาตินี้นะ
ท่านว่าอย่างนั้นนะ ว่าไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด ๑ ส่วน เพราะว่าฉันเอาไป ๑ ส่วน ท่านว่าอย่างนั้น
แล้วเหลืออีก ๒ ส่วน ให้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนเหมือนกัน ท่านบอกว่าเมื่อตายแล้ว ไปสวรรค์นะ ไม่ได้กลับเสีย ๑ ส่วน
แล้วเหลือ ส่วนที่ ๒ ที่แบ่งนั้น ก็จะไปหมดในสมัยพระศรีอาริย์...
เพราะอะไร.. เพราะพวกที่เหลืออยู่นี่นะ มีส่วนในการปรารถนาพุทธภูมิมาก่อน นี่ก็ต้องเตะโด่งไปอีกนิดหนึ่ง ทำงานแก้ตัว..ใช่ไหม ใครดีใจไหม..
ดีใจเอามาคนละบาท บาท.. บิณฑบาตนะ
นี่...คนที่มองหน้านี่....ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด หรอก..คนใส่เสื้อดำ (ท่านพูดแล้วท่านก็หันไปที่ คุณหญิงสุวรรณาภา) มีหลายคนนะ ๑ ใน ๓ นะ
ในจำนวนที่มาอยู่นะ แต่ว่าท่านที่มาทั้งหมดนี่ ถ้าหากที่ว่าท่านพูดกำลังใจที่มีอยู่ในเวลานี้ แล้ว ท่านก็ขมวดท้ายเข้าไปอีกทีว่า...
คำว่า มรรคผล นี่..ไม่มีใครสามารถจะ พยากรณ์ได้จริงจัง คนที่ว่าจะล้าหลัง..ไม่แน่ ถ้า รวบรวมกำลังใจเข้มข้น
ก็ไปได้หมดเหมือนกัน"
นี่เราพูดกันถึงว่า กำลังใจ ที่เรากำลัง ทำกันอยู่เวลานั้น ที่นั่งอยู่เวลานั้น กำลังใจเรา
เข้มข้นขนาดไหน ท่านดูกำลังใจเฉพาะเวลา แล้วท่านก็บอกต่อไปว่า...
ถ้าหากว่าเขาเร่งรัดตัวเอง ใช้จังหวะเวลา ให้ถูก ใช้กำลังใจให้ถูก คือไม่เคร่งเครียดเกินไป ไม่ย่อหย่อนเกินไป ทำใจสบาย
จับ สักกายทิฏฐิ เป็นปกติ ทุกคนก็อาจจะไปหมดได้ในชาตินี้
นี่..ท่านว่าอย่างนั้น ท่านพูดตามกำลังใจที่ ประสบในเวลานั้น เอา..เรื่องของฉันจบแค่นี้ละ..! หลวงปู่ธรรมชัย
มุดดินเข้าไปให้ท่านเล่าบ้าง องค์นั้นล่อ หมาก เข้าไปพูดไม่ได้ คนกิน หมาก หรือว่า หมากกินคน อย่างนี้เขาเรียก หมากกินคน
เอ้า..ยังเคี้ยวอยู่..เราก็คุยกันต่อไป
เป็นอันว่า สมัยนั้น..พวกเราที่มานั่ง ทั้งหมดนี้ก็เป็นคนสมัยนั้น คนสมัยนั้นเขา แต่งตัวสวย แล้วคนสมัยนั้นเขาร่ำรวยเพราะ อะไร..? เพราะเขามี
พุทธานุสสติ เป็นปกติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
เป็นปกติ..เป็นเมือง นักบุญ แต่ทว่าเวลาจะทำบาปขึ้นมาก็ทำกันเต็ม ที่เหมือนกัน เพราะอะไร.. ถ้าใครข่มเหงเมื่อไร เรารวมตัวกันไม่ว่าผู้หญิงผู้ชาย
ถือดาบถือธนูจัด การกันหมด ปรากฏว่าเราถูกรุกรานหลายวาระ
แต่การรุกรานของข้าศึก เราก็ใช้วิธีปราบ ข้าศึกแบบปัจจุบัน ยันหน้า..ยันหลัง ใช้เป็นกำลัง ของกองโจรบ้าง ถ้าไม่สำเร็จเราก็ยกทัพใหญ่เข้า ประชิด
แต่หักล้างข้าศึกได้ทุกคราว เพราะอาศัย ที่เราเป็นนักบุญด้วย แล้วก็นักบาปด้วย ถึงไป นิพพานไม่ได้ นั่งป๋ออยู่นี่..ใช่ไหม เอาเข้าหรือ เปล่า..
หลวงปู่นะ..?
เมื่อหลวงปู่ได้ยินหลวงพ่อหันมาพูดกับท่านเช่นนั้น ก็ได้แต่นั่งอมยิ้มอีกเช่นเคย แสดง ว่าหลวงปู่ยังไม่พร้อม หลวงพ่อจึงเล่าต่อไปอีกว่า
...เสร็จแล้วก็หัวหน้านักบาปก็คือฉันล่ะ นะ..เดี๋ยวเขาจะหาว่าดีเสียคนเดียว หัวหน้าใหญ่ นักบาป ตอนนั้นหนัก..ถูกเขารุกรานหนัก..!
พระเจ้าพ่อแก่แล้วท่านเป็นนักบุญ ท่านบูชาพระ ทุกวัน ท่านบอกว่า...
เรื่องรบกัน..กูไม่เอาเว้ย..! เอ็งเป็นพระ ราชา..ข้าเลิก..ข้าเป็นพ่อพระเจ้าแผ่นดินดีกว่า..!
ท่านเป็นพ่อพระเจ้าแผ่นดิน ปล่อยให้ตัว ระยำขึ้นมา..พ่อตีพัง.! นี่..พวกนี้ทั้งนั้น อย่านึก
ว่าแกดี.. ฉันเป็นหัวหน้าคนเดียว.. แกด้วยนะ...
ลักษณะการแต่งกาย
หลวงพ่อท่านเล่าพร้อมกับชี้หน้าพวกเราที่ นั่งรับฟังอยู่ด้วย พร้อมกับอธิบายต่อไปว่า...
เราก็ไม่อะไร..แต่งตัวเหมือนกัน เมื่อ เวลาข้าศึกประชิดพระนคร ผู้หญิงผู้ชายแต่งตัว เหมือนกัน ตัดผมเหมือนกันหมด แต่ในยามปกติ
ผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุงยาวขลิบหน้า ใส่เสื้อแขนกระ บอก พวกเราฉลาดในการสร้างผ้า โดยมากมี แพรกับไหม
ในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เขาถือว่า ผ้าแคว้นกาสี เป็นผ้าที่มีเนื้อดีราคาแพงที่สุด ใน สมัย
พระพุทธกัสสป ผ้าของเราก็เป็นผ้าที่มีราคา แพงที่สุดเป็นที่นิยมของโลก และนอกจากนั้น
เราก็ฉลาดในการหาทองคำกันกับหาเงินใช้ โดย เฉพาะอย่างยิ่งดินแดนแห่งนี้มีทั้งทองทั้งเงิน
เวลานี้น้ำทับไปเสียเยอะแล้ว ใครอยากจะ ได้ทองและเงินไปวิดน้ำกันมา น้ำแห้งฉันจะชี้ให้ดู ใครอยากจะเป็นพ่อค้าเพชร ไว้ถามท่านธรรมชัย
เมื่อกี้ท่านย่องไปดู.. องค์นี้ไม่มีเรื่องอะไร ไป ไหนหาแต่เพชรแต่พลอย ถ้าจะให้ดีต้องเจ้า กรมสื่อสารทหาร (ท่านเจ้ากรมเสริม) ไปด้วย
ก็จะเหมาะ..ไม่มาเสียด้วย..!
หลวงพ่อเล่าจบก็ส่งไมโครโฟนไปให้หลวงปู่ธรรมชัยเล่าบ้าง พอหลวงปู่ขยับเพียงนิดเดียวเท่านั้นเอง พวกเราก็หัวเราะกันตึง...
เพราะเป็นจังหวะที่หลวงปู่รับเรื่องมาจากหลวงพ่อพอดี
...พวกแก้วแหวนเงินทอง.. เพชรพลอยนี่ บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายที่ติดตามองค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้า ก็ได้กราบนมัสการโดยศรัทธาอันแรงกล้า ได้ถอดแหวน
เพชร พลอย ทุกอย่าง..ทุกคน เอาบูชาพระพุทธ แล้วก็เอากองไว้สถานที่นั้น เป็น สักขีพยานพวกเราทั้งหลายที่ได้มานมัสการครั้งนี้
หลวงปู่ท่านเล่าจบ ก็ได้ส่งไมค์กลับคืนมาให้หลวงพ่อ ท่านจึงได้ถามหลวงปู่ต่อไปว่า..
อยู่ตรงไหน...เขาอยากจะได้..! ตอนนั้น ถอดหนัก..เพราะว่าที่ถอดหนัก..เอาตอนที่ขอให้ท่านฉายพระรูป แล้วก็แสดงรอยพระบาท พอฉายพระรูป แสดงรอยพระบาท
ภาพติดกับผนัง แล้วนูนขึ้นมาคล้ายๆ กับคนปั้นพระครึ่งองค์.. ครึ่งตัว..ตั้งเอาไว้ พอตอนกลางคืนมาบูชาก็มี รัศมีปรากฏ ตอนนี้แหละ..หมดตัวกันไปตามๆ กัน
หมดตัว..ไม่ใช่ตัวหมดนะ บูชากันหนัก.. ทั้งนี้เพราะอะไร..?
เพราะว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระสาวก คำว่า พระพุทธเจ้านี่..ไม่ใช่พระสาวก ก็เพราะ ว่าพระพุทธเจ้าย่อมมีพุทธปาฏิหาริย์มาก เวลา
จะไปทางไหนทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการ เราก็จะแลดูสวยงาม
ตามธรรมดาพระพุทธเจ้าท่านสวยเป็น พิเศษอยู่แล้ว นางงามประจำประเทศ นางงาม จักรวาล นางงามที่ไหนๆ จะไปวัดหนึ่งในร้อย ของพระพุทธเจ้านั้นไม่ได้
เพราะว่าพระองค์ มีอาการ ๓๒ บริสุทธิ์บริบูรณ์หมด..เพียบพร้อม และมีลักษณะอีก ๘๐ ที่เรียกกันว่า อนุพยัญชนะอีก ๘๐ ส่วน
คือเป็นส่วนย่อยของร่างกาย สมบูรณ์บริบูรณ์หมด นี้ส่วนใดของพระพุทธเจ้า ที่จะเห็นว่าไม่สวยนั้น... ไม่มี..ใช่ไหม..?
เมื่อมีความสวยสดงดงามอย่างนี้ เขาเรียก รูปัปมาณิกา พระพุทธเจ้ามีรูปร่างสวยเป็น กรณีพิเศษ
เมื่อยังไม่พอก็ยังมีรัศมี ๖ ประการ ประกอบอีก เวลาที่จะแสดงพระธรรมเทศนา ที่ไหน ถ้าดูว่าคนมีกำลังใจต่ำ..ต่ำไปหน่อยหนึ่ง หรือว่ามีกำลังใจสูง
พอจะกระตุ้นให้เป็นอรหันต์ ได้ทันที พระองค์ก็จะทรงใช้ฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการประกอบด้วย คล้ายๆ พระอาทิตย์ทรงกลด
เมื่อพระองค์มีรูปร่างหน้าตาสวย มีผิว พรรณสวย เมื่อแสง ๖ ประการปรากฏขึ้น สะท้อนเข้ามายังพระวรกายก็จะสวยมากขึ้น ตัวก็สวย.. แสงก็สวย
ตอนนี้แหละ...เป็นการสร้างศรัทธาแก่พุทธบริษัทให้เกิดศรัทธาเลื่อมใส
ฉะนั้น คนส่วนมาก ที่มานั่งจ๋ออยู่ที่นี้บ้าง ยังไม่มาบ้าง ตายไปแล้วบ้าง ไปอยู่ที่พรหมบ้าง อยู่เทวดาบ้าง พวกนี้พอใจในความเป็นพระพุทธเจ้า
นั่งไปนั่งมา.. บูชาไปบูชามา.. นึกว่า เอ..กู เป็นพระพุทธเจ้าก็ดีนี่หว่า.. สวยดีนี่.. เลยไป กันไม่ได้ ต้องมานั่งติดแหง๋แก๋อยู่นี่แหละ..!
เขาเรียกว่า โรครักความเป็นพระพุทธเจ้า แต่ก็ดี..โรครักความเป็นพระพุทธเจ้านี้ ก็
เป็นปัจจัยให้พวกเราไม่ต้องลงอบายภูมิกันมากว่า พันชาติเศษแล้ว นี้เราก็ขี้เกียจตกนรกกันมานาน แล้วนะ ใครจะขยันชาตินี้ก็ตาม ใครไปบ้างล่ะ
เดี๋ยวต้องถามท่านเจ้าเมืองปาตลีบุตร ท่านจะพา ใครไปมั่ง...
คุณภาพของจิตเพียงนิดเดียว
เมื่อหลวงพ่อท่านพูดถึงเจ้าเมืองปาตลีบุตร ท่านก็หันหน้าไปทาง พล.ร.อ.จิตต์ สังขดุลย์
ซึ่งนั่งอมยิ้มอยู่ใกล้ๆ บริเวณนั้น พวกเราต่างก็ สนใจรับฟังเรื่องราวจากท่านต่อไปว่า...
วันนี้เราไปนั่งกันประเดี๋ยวเดียว แต่ถือ ว่าเป็นคุณค่ามหาศาล การเจริญพระกรรมฐาน เราก็ต้องฝึกใจให้เข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
ให้เข้าถึงความดี
การเจริญกรรมฐานเวลานั่งเป็นการฝึก เราจะใช้เวลามาก..เวลาน้อย..อันนี้ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่คุณภาพของจิต ถ้าจิตเราสงบสงัด จากกิเลส คือวินาทีเดียว
พระพุทธเจ้าก็ทรง สรรเสริญ เคยตรัสกับพระสารีบุตรว่า
สารีปุตตะ..สารีบุตร! บุคคลใดมีเมตตาจิตก็ดี หรือบุคคลใดทำให้จิตว่างจากกิเลส หรือ จิตมีสมาธิชั่วขณะจิตเดียวต่อ ๑ วัน (วันหนึ่งทำ ได้นิดเดียว
อย่าว่า ๑ วินาที ก็รู้สึกว่าจะช้าไป ชั่วขณะจิตหนึ่งต่อ ๑ วัน แต่ทำได้อย่างนี้ทุกวัน) เรากล่าวว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตที่ไม่ว่างจากฌาน
คำว่า ไม่ว่างจากฌาน เป็นปัจจัยให้ ไปเกิดเป็นพรหมได้ ถ้าบุคคลใด ถ้าจิตมีฌาน วิปัสสนาญาณก็เกิด คือ
ปัญญา เป็นปัจจัย ให้เข้านิพพานได้ นี้เวลานิดเดียวเท่านี้ พระ พุทธเจ้าทรงสรรเสริญ
เวลาเจริญพระกรรมฐาน ก็ขอทุกคน อย่าใช้ปริมาณของเวลาเป็นสำคัญ ขอให้ใช้ปริ มาณคุณภาพของจิตเป็นสำคัญ จะนั่งหลับตา จะเดินอยู่ จะนั่งลืมตา
ทำการงานอยู่ กำลังเขียน หนังสือ วางปากกาปั้บ..! จิตจับอารมณ์นึกถึง พระพุทธเจ้า จิตสบายนิดหนึ่งชั่วขณะนั้น ที เดียวใช้ได้ เป็นอานิสงส์ใหญ่
หลวงพ่อชวนลา พุทธภูมิ
ที่แนะนำเรื่องพระพุทธเจ้า ก็เพราะว่าพวก เรานี้ ติดอำนาจ พุทธานุสสติ มาหลายแสนกัป ทำ อย่างไรๆ ก็ตาม
ถ้าเราทิ้ง พุทธานุสสติ เมื่อไร พวกเราก็พลาดทางเมื่อนั้น การที่พวกเรายึด พุทธานุสสติ เป็นปัจจัย ฉะนั้น พวกเราจึงมีความ มุ่งมั่นกันในขณะนั้น คือหลายสมัยผ่านมา คือ อยากเป็นพระพุทธเจ้า
ตัวนี้แหละสำคัญมาก ความอยากเป็น พระพุทธเจ้า การบำเพ็ญบารมีต้องใช้ระยะยาว นี้เมื่อใช้การบำเพ็ญบารมีระยะยาว การสั่งสม บารมีก็มีมาก
มาในชาติปัจจุบัน.. พวกเราเห็นว่า การเป็นพระพุทธเจ้าลำบาก ต้องบำเพ็ญบารมี กันนานๆ
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบำเพ็ญบารมี เป็นพระพุทธเจ้าในสมัย ปรมัตถบารมี นี่เรา
จะต้องประสบกับความทุกข์ยากอย่างหนัก ที่ชาว บ้านธรรมดาเขาไม่มีกัน ถึงแม้ว่าจะมีเงิน จะ มีทอง จะมีของใช้เพียบพร้อมอย่างใดก็ตาม
แต่ว่าอันตรายทางใจมันจะมีมาก จะต้องใช้ ขันติ มาก
ขันติบารมี ต้องสูง เมตตาบารมี ต้องสูง
ในเมื่อเราเห็นความยากลำบากมันจะเข้า มาถึงขนาดนี้ แล้วต้องมาดูตัวนะ..ว่าเวลานี้ ตุ่ม น้ำ คือบุญ คือกำลังใจที่ขังบุญ เหมือนกับตุ่ม
ที่ขังน้ำมันก็ใกล้จะเต็มปากเข้ามาแล้ว แต่หาก ว่าจะต้องการเป็นพระพุทธเจ้า เราจะต้องใช้ตุ่ม ให้มันโตเข้าไปกว่านี้มาก เราต้องตวงกันเป็น
ชาติมันถึงจะเต็ม ถ้าเราจะหันมาเป็น พระ สาวก ไม่เอาแล้วแบบวิชาครู..ไม่เอา..! มาเป็น เสมียนเสียดีกว่า แล้วก็เห็นว่าน้ำในตุ่มนี่ ถ้า
เราจะถ่ายลงตุ่มย่อม คือตุ่มพระสาวก..มันก็จะ เต็ม ยังจะขาดอยู่บ้างก็เล็กน้อย
ฉะนั้น เราจึงกลับใจกันเสียใหม่ เราบำเพ็ญ พระสาวก กันดีกว่า ถ้าหากเราจะพูดกันโดยเวลา เราก็เสียเวลามามาก ถ้าเราตั้งใจเป็น พุทธสาวก
มาเสียนานแล้ว เราก็ไปนานแล้วเหมือนกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเรานี่ที่เขาไปนิพพานกันนับไม่ถ้วน มันมากกว่า ปริมาณที่มีอยู่โดยปัจจุบัน
ที่เขาไปกันแล้ว..เขา ขยันนะ แต่คนขี้เกียจอีกนานหน่อยนะ..!
แต่ดินแดนแห่งนี้เป็นอะไร.. ภาคเหนือก็ดี ดินแดนจุดนี้ก็ดี เป็นดินแดนดั้งเดิมของพวกเรา ฉะนั้นเราจะเห็นว่าการเดินทางน่ะ เราจะมา สายเหนือกันมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาตมาคนเดียวสำคัญมาก เป็นจอมอันธพาลมาหลายชาติ ฮะ..ท่านเจ้าเมืองปาตลีบุตร..ด้วยกันนะ..พ่อคนนี้ นั่งยิ้มๆ
นะ..ไม่ค่อยพูด..พ่อฉะไม่เลือก..ไม่พูด หรอก.. เอาเป็นเอากัน..!
ตรงนี้ถ้าเราจะวัดเขตประเทศไทย ทาง แถวนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราเคยใช้ และโดยเฉพาะ อย่างยิ่งมีความสำคัญมากกว่าภาคเหนือ โดย
มากก็ภาคเหนือเป็นแดนที่เราผูกพันกันมาก เพราะเป็นที่อยู่อาศัยกันมาเดิม เป็นอันว่าพึงรู้ว่า พวกเรานี่.. ไม่ได้ลงนรกกันมาคนละพันชาติเศษ
แต่ว่าหลังจากการสร้างบาป เราก็ทำบุญกันอย่างหนัก ไม่ใช่ทำกันอย่างเบานะ..ทำอย่างหนัก..!
เรื่องการถอดเครื่องประดับบูชาพระรัตนตรัย เราทำกันมามาก การส่งเสริมพระสงฆ์ใน พระพุทธศาสนา เราก็ทำกันมามาก สร้างวัดวาอาราม เราก็ทำกันมามาก
การสงเคราะห์กับบุคคลผู้ตกทุกข์ได้ยาก เราก็ทำกันมามาก
ฉะนั้น เราจึงหลีกบาปกันได้ เพราะอาศัยการเจริญ สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน ช่วย ถ้าหากว่าเราจะ ให้ทาน อย่างเดียว หรือว่า
รักษาศีล อย่างเดียวอย่างนี้ พระพุทธ เจ้าถือว่ายังเป็น อนิยตบุคคล เป็นบุคคลที่ไม่ แน่นอน กำลังใจยังไม่มั่นคงนัก
ส่วนที่จะช่วยคุมกำลังใจไม่ให้ลงนรกไป ได้ คือ สมถะ และ วิปัสสนา บุญบารมีทั้งหลาย เหล่านี้ เราทำกันมานับเป็นอสงไขยกัป ไม่ใช่ เวลาเล็กน้อย เมื่อเราทำกันมามาก ความดีก็มี มาก
การสั่งสมตัวก็มีมาก ฉะนั้น การศรัทธา ปสาธะ ความเชื่อความเลื่อมใสในพระพุทธ ศาสนา พวก เราจึงมีความมั่นคง
ในเมื่อจิตมีความมั่นคงอยู่ในด้าน อนุสสติ ตามที่กล่าวมานี้ การเป็น สัตว์นรก ย่อมไม่มีสำหรับพวกเรา แต่ใครอย่าประมาทนะ ประมาทเมื่อไร... ลงเมื่อนั้น..! แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
วันนี้ก็ที่ได้รับพุทธพยากรณ์ว่า พวกที่ มาทั้งหมดนี่แบ่งเป็น ๓ ส่วน ๑ ส่วนไป นิพพานได้..ในชาตินี้..!
เหลืออีก ๒ ส่วน แบ่งออกเป็น ๓ แล้วก็ ๑ ส่วนในส่วนนั้นตายเป็นเทวดา.. จะไป นิพพาน เหลือจากนั้นจะไปนิพพานในศาสนา พระศรีอาริย์ ท่านบอกว่านี่เป็นกำลังใจที่สร้างความดีทำบุญในขณะเมื่อกี้นี้..นั่งสมาธิกัน..!
แต่ทว่าบุคคล..คำว่า การบรรลุมรรคผล จะไม่มีใครสามารถพยากรณ์ได้แน่นอนนัก ถ้า
ทุกคนทำจิตของตนให้ตรงต่อเรื่องของบุญกุศล พิจารณา สักกายทิฏฐิ เป็นปกติ ทำกำลังใจ ให้มั่นคง
ไม่เกียจคร้านจนเกินไป ไม่ขยันจนเกินไป ทำใจให้เป็นปกติ คือเวลาที่ปฏิบัติภาวนา ไม่นึกอยากอย่างนั้น นึกอยากอย่างนี้ มุ่งหน้า
อย่างเดียวเพื่อจิตบริสุทธิ์ อย่างนี้ท่านบอกว่า.. ไปได้หมดทุกคนในชาตินี้..!
พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้เล่าไว้เพียง แค่นี้ แต่ที่ไม่ได้นำมาลงก็เป็นเรื่อง พระเจ้าพรหมมหาราช
ซึ่งพวกเราก็ทราบเรื่องกันดี อยู่แล้ว เพราะหลังจากท่านเล่าจบ พวกเราที่ยัง มีหน้าที่การงานอยู่ ก็จำใจจำจรจากลาท่านด้วย ความอาลัย
เพราะความซาบซึ้งตรึงใจในบรรยากาศของค่ำคืนนั้น
ถึงแม้เหตุการณ์จะผ่านมานาน ๒๐ กว่าปี แต่ก็ยังมีความประทับใจตลอดมา ทุกอากัปกิริยาของหลวงพ่อและหลวงปู่ธรรมชัย
รวมทั้งผู้ที่นั่งรับฟังอยู่รอบข้างทั้งหลาย มีทั้งเสียงคุยเคล้า เสียงหัวเราะบ้างในบางครั้ง ผสมผสานกับเสียง จั๊กจั่นเรไรกรีดร้องในยามค่ำคืน
ยังปรากฏอยู่ในความทรงจำตลอดเวลา ซึ่งในปัจจุบันนี้บุคคลที่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น ได้ละสังขารไปกันหลายท่านแล้ว
ถึงอย่างไรก็ตาม..ผู้เขียนก็ยังระลึกถึง ความทรงจำในครั้งกระนั้น จึงได้มีโอกาสนำคณะศิษย์ของหลวงพ่อรุ่นหลัง
ซึ่งมีคณะศิษย์รุ่นเก่าบางท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่ได้เคยร่วม เดินทางไปกับหลวงพ่อด้วย ต่างก็ช่วยกันนำไป ณ สถานที่นี้
เพื่อช่วยกันย้อนความทรงจำอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งได้เปิดเทปที่บันทึกเสียงไว้ ดังที่ได้นำมาลงให้อ่านกันนี้ เพราะฉะนั้น เหตุการณ์ของค่ำคืนวันที่ ๒
พฤศจิกายน ๒๕๑๙ จึงได้นำมาถ่ายทอด เพื่อเป็นการย้อนรำลึกถึง ความหลังกัน ดังที่หลวงพ่อท่านกล่าวไว้ว่า
คนสมัยนั้นมาเกิดในสมัยนี้ ยังมีมากกว่านี้.. ที่ยังมาไม่ครบ..!
ครั้นได้กำหนดของวันที่ ๑๔ มิ.ย.๒๕๔๐ จึงได้มีโอกาสเดินทางไป หลังจากเวลาผ่านมา ๒๐ กว่าปี ซึ่งครั้งนี้ก็ได้ไปชี้สถานที่ที่หลวงพ่อ เคยมาพัก
กลางคืนก็ไปกราบพระฉายกัน หลัง จากนั้นจึงมานั่งฟังเทปเสียงหลวงพ่อเล่า พร้อมทั้งเสียงหัวเราะของผู้รับฟัง ผสมกับเสียงจั๊กจั่น เรไรในขณะนั้น
ได้นำมาถ่ายทอดสู่บรรยากาศ ของค่ำคืนนั้นอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งพุทธานุภาพ ที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์พยานว่า...
การทำความดีของพวกเราทุกคน ถึงแม้ ครูบาอาจารย์จะล่วงลับดับสังขารไปแล้วก็ตาม แต่ลูกหลานของท่านทุกคน ยังไม่ละทิ้งความดี
ตามที่ท่านได้เมตตาสั่งสอนไว้ ทำให้เกิดกำลัง ใจที่จะสร้างสมความดีต่อไป เพราะการกระทำ ทุกอย่างเหมือนกับอยู่ในสายตาของท่านเสมอ
ฉะนั้น การที่นำมาเล่ากันอย่างเปิดเผยนี้ มิได้มีเจตนาที่จะโอ้อวด แต่หวังที่จะนำมาเล่า สู่กันฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านจะเดินทางร่วม
ไปด้วยหรือไม่ก็ตาม เพียงท่านส่งกระแสจิต น้อมนึกไปตามตัวอักษรนี้ ก็เหมือนกับท่าน ได้ไปอยู่ในเหตุ การณ์เหล่านั้นด้วยตนเอง เช่นกัน
เพราะจิตใจของผู้อ่านทุกท่าน ย่อมเกิดผลานุ ภาพแห่งบุญกุศล คือ อนุโมทนาจิต นั่นเอง
เป็นอันว่าคืนวันที่ ๑๔ นี้ กว่าจะได้พัก ผ่อนหลับนอนกันก็ดึกดื่นเที่ยงคืน แต่จิตใจก็ ชุ่มชื่นด้วยธรรมปีติ หลังจากนั้นก็แยกย้ายกัน
หลับนอนไปด้วยความอ่อนเพลีย เพราะมีนัดกันว่าจะต้องออกเดินทางในตอนเช้ามืด
เจดีย์ยุทธหัตถี
ครั้นถึงเวลาตี ๕ ของวันอาทิตย์ที่ ๑๕ มิ.ย.๔๐ จึงได้ออกเดินทางมาที่ เจดีย์ยุทธหัตถี
ซึ่งใช้เวลาเดินทางเพียง ๓๐ นาทีเท่านั้น เดิมที คิดว่าคงจะมีรถของพวกเราเท่านั้น พอไปถึงที่ ไหนได้...เห็นรถตู้จอดเต็มรอบๆ บริเวณนั้นไป
หมดประมาณเกือบ ๒๐ คันเห็นจะได้ แต่ก็ฉุก คิดได้ว่าวันนี้เป็นวันที่ ๑๕ อันเป็นเวลาหวยใกล้ จะออกพอดี..!
พระเจดีย์องค์นี้ จะมีความเกี่ยวข้องกับ เรื่องนี้ได้อย่างไร ลองมาอ่านเรื่องราวกันต่อไป จาก แผ่นศิลาจารึก ด้านหน้าองค์พระเจดีย์ ตามที่นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสถานที่ พ่อขุนรามคำแหง ชนช้างกับ ขุนสามชน เจ้า เมืองฉอด
ฉะนั้น พระเจดีย์องค์นี้จึงมีลักษณะการ สร้างแบบสุโขทัยแท้ คือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ อยู่ริม ถนนตรงข้ามกับ วัดพระบรมธาตุ แต่จะมีความศักดิ์สิทธิ์แค่ไหน สังเกตได้จากการที่มีรถตู้จอด อยู่ก่อนที่พวกเราจะไปถึงมากมาย ได้ยินเสียง
แม่ค้าที่ขายธูปเทียนอยู่แถวนั้นพูดว่า เขามากัน ตั้งแต่เที่ยงคืนแล้ว
ท่ามกลางกลิ่นธูปและควันเทียน พร้อมทั้งเสียงผู้คนที่กำลังกราบไหว้บูชา บริเวณนั้นจึง มิได้เงียบสงบอย่างที่เราคิด ทั้งที่พระเจดีย์ก็ตั้ง
อยู่โดดเด่นท่ามกลางป่าเขา นับเป็นที่แปลกใจ สำหรับพวกเราทุกคน ที่เห็นผู้คนมามากมายทั้งชายหญิงต่างก็จุดธูปเทียนบูชา
บ้างก็ใช้ไฟฉายที่เตรียมมาส่องไปตามบริเวณรอบองค์พระเจดีย์นั้น
เรื่องอย่างนี้ไม่ต้องมีใครสอน ก็รู้ได้ว่าเขา กำลังส่องหาตัวเลขเด็ดๆ กัน แต่ก่อนที่เราจะ ส่องหากันบ้าง ต้องไม่ลืมการบูชากราบไหว้ตาม พิธีกรรมก่อน
เพื่อเป็นการเคารพนบนอบต่อสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยเฉพาะภายในพระเจดีย์ อาจจะมีสิ่งสำคัญบรรจุอยู่
ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้สว่างพอดี ยังพอที่ จะเห็นเงาตัวเลขบ้าง มีหลายคนที่ส่องไฟฉาย ขึ้น ไปถึงยอด แต่จะพบเลขอะไรกันบ้างนั้น ผู้เขียน ไม่อาจจะทราบได้
แต่ก็มีบางคนมาบอกว่าเห็น เลขนั้นเห็นเลขนี้ ผู้เขียนจึงอยากจะเห็นบ้าง จึงได้ส่องไฟขึ้นไปตั้งแต่ยอดลงมาถึงฐาน แล้ว ย้อนขึ้นไปที่บัวใกล้ยอดพระเจดีย์
ก็ได้เห็นเลข 1 6 ปรากฏอยู่
จึงได้บอกกับคนที่อยู่ข้างๆ ให้ช่วยกันดู พระจำเนียร ที่ไปด้วยก็เห็นเหมือนกัน ขณะนั่ง
รถกลับออกมาจึงได้บอกคนที่ไปด้วยว่า ถ้าจะ เล่นหวยก็ให้ซื้อ 16 หรือ 61 และ 19 หรือ 91 ทั้ง
บน และ ล่าง พอหลังจากกลับมาแล้ว หวย งวดนั้นออกเลข
61 พอดี นับเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง
แต่ก็มีบางคนเห็นแล้วไปแทงไม่ถูก ทั้งนี้ แล้วแต่โชคลาภของแต่ละคน แต่คณะของพวก เราก็ไม่มีใครได้โชคลาภจากตัวเลขดังกล่าวนี้
ท่านคงจะทำให้ผู้เขียนเห็นเป็นการยืนยันเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะอะไร เพราะว่าหลังจากออกมาจาก เจดีย์ยุทธหัตถี
เป็นวลา ๖ โมงเช้าแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นอีก
ในขณะที่รถกำลังวิ่งไปตามถนน เพื่อจะเดินทางต่อไปที่ วัดพระพุทธบาทดอยโล้น ผู้เขียน ได้มองออกไปจากตัวรถ
ได้เห็นเมฆสีขาวคล้าย หิมะตก ได้ทอดตัวไปตามแนวสันเขายาวเหยียด จึงได้จอดรถข้างถนน แล้วบอกให้พวกเราที่ขับรถ ตามกันมาจอดรถลงไปดู เห็นก้อนเมฆมีลักษณะ
คล้าย หิมะ ปกคลุมยอดเขา อย่างที่ไม่เคยเห็น ลักษณะนี้มาก่อน จึงได้ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกกัน
เมื่อออกเดินทางไปถึงวัดพระบาทดอยโล้นแล้ว จึงทราบว่าทิวเขาอันยาวเหยียด ที่มีปุยเมฆ ขาวเหมือน หิมะ คลุมเฉพาะยอดเขานั้น เป็น
ทิวเขาที่ทอดยาวมาถึงสถานที่ประดิษฐานรอย พระพุทธบาท มองเห็น พระมณฑป ครอบรอย
พระพุทธบาทไกลสูงลิบอยู่บนยอดเขา ซึ่งบริเวณ นั้นไม่ค่อยจะมีต้นไม้นอกจากก้อนหิน จึงเรียก กันว่า ดอยโล้น
หลังจากกราบนมัสการเจ้าอาวาสแล้ว ท่านก็ได้จัดเลี้ยงข้าวต้มเช้าจนอิ่มหมีพีมันกันแล้ว ก็เตรียมตัวขึ้นยอดเขาเพื่อนำบายศรีไปสักการบูชา
ด้วยพลังข้าวต้มบวกด้วยความศรัทธา พวกเรา ทั้งพระและฆราวาส ต่างก็ได้พิชิตยอดเขากันจนเป็นผลสำเร็จ ใช้เวลาประมาณเกือบ ๑ ชั่วโมง
ขณะที่ขึ้นไปข้างบนลมแรงพอสมควร มองเห็นทิวทัศน์ได้โดยรอบ เผอิญมองไปทาง ทิวเขาที่ติดต่อกันไป ก็เห็นปุยเมฆสีขาวยังคง นอนทอดตัวปกคลุมยอดเขายาวเหยียด
ตั้งแต่ ๖ โมงเช้าจนกระทั่งถึงเวลาที่ขึ้นถึงยอดเขา คือ ๙ โมงเช้าแล้ว ทั้งที่มีแสงแดดเจิดจ้า ก้อนเมฆก็ยัง มิได้ละลายหายไปกับความร้อนแต่อย่างใด
พระพุทธรูปใหญ่ ขนาดหน้าตัก ๓๙ ศอก หลังจากพวกเราไปร่วมกันสร้างต่อจนสำเร็จ
ครั้นกราบไหว้บูชารอยพระพุทธบาทและรอยพระหัตถ์เบื้องขวาแล้ว ต่างก็ทยอยกันลงมาจากยอดเขา เดินผ่านมาที่เชิงเขาที่กำลังสร้าง พระพุทธรูปใหญ่ ขนาดหน้าตัก ๓๙ ศอก มองเห็น นั่งร้านล้อมรอบองค์พระ แสดงว่ากำลังสร้างค้างอยู่
พวกเราจึงเดินลงมารวมกันที่ศาลา เพราะนัดกันไว้ว่าจะมาทอดผ้าป่ากัน จึงได้ร่วมกันทำบุญเพื่อเป็นทุนในการสร้างต่อไป
โดยได้มอบให้เจ้าอาวาสเป็นเงินทั้งสิ้นเกือบ ๕ หมื่นบาท ต่อจากนั้นท่านก็เล่าประวัติความเป็นมาต่างๆ ของสถานที่นี้
โดยมีคนเฒ่าคนแก่มานั่งเล่าให้ฟังด้วยว่า สถานที่นี้เดิมทีเรียกว่า ดอยโล้นเชียงรุ้ง
เป็นเพราะสมัยก่อนมีคนเห็น แสงสีรุ้ง ขึ้นบนท้องฟ้าในวันพระกลางเดือน
ในตอนกลางคืนบางทีก็เห็นเป็นดวงไฟลอยขึ้นจากยอดเขาพระพุทธบาท
ครั้นรับฟังเรื่องราวจบแล้ว จึงได้รับประทานอาหารกลางวันกัน จนกระทั่งเวลา ๑๒.๐๐ น. จึงลาเจ้าอาวาสและญาติโยมที่มาจัดเลี้ยงอาหาร ในขณะที่กำลังขึ้นรถ
ได้ยินเสียงประทัดดังขึ้น สนั่นหวั่นไหว เป็นการบอกลาท่านผู้รักษาอาณาเขตนี้ พลันก็ได้เห็นพระอาทิตย์ทรงกลด โดยมีวงรัศมีเป็น แสงสีรุ้ง อยู่ใกล้พระอาทิตย์ทรงกลดแบบนี้ยังไม่เคยเห็นมาก่อน ส่วนมากจะได้เห็นแต่วงรัศมีอยู่ห่างพระอาทิตย์
คือเป็นวงใหญ่ แต่เห็นที่นี่กลับเป็นวงเล็ก
ขณะนั้นเป็นเวลาเที่ยงวัน ท้องนภากำลังเจิดจ้า ถ้าใช้แว่นตาดำมองดู จะเห็นแสง ๖ สีได้ ชัดเจนสวยงามมาก
มีโยมผู้หญิงที่นั่นคนหนึ่งที่ได้เห็นแสงพุ่งขึ้นจากยอดเขาพระบาทด้วย เป็น เพราะความตื่นเต้นดีใจ ถึงกับเป็นลมล้มพับไป เลย..! เมื่อฟื้นขึ้นมาแล้วบอกว่า
ในชีวิตไม่เคยเห็นอย่างนี้มาก่อน ทำให้เกิดความศรัทธาในรอยพระพุทธบาทยิ่งขึ้น
ในขณะที่พวกเราต่างแหงนดู กันอยู่นั้น เจ้าอาวาสและพระที่นั่นทราบเรื่อง ต่าง ก็พากันออกมาดูด้วย จึงได้เห็นเป็นประจักษ์พยานทุกคน
ตรงกับที่เคยปรากฏขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วย พระพุทธานุภาพ
ท่านจึงได้ทรงแสดงให้ปรากฏขึ้นในสมัยปัจจุบันนี้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพวกเราที่ไปก็ดี หรือผู้ที่อยู่ที่นั่นก็ตาม ต่างก็มีความมั่นใจว่า
จะต้องเป็นรอยพระพุทธบาท จริงแท้อย่างแน่นอน ทุกคนไม่มีความสงสัยหรือลังเลใจอีกเลย
ฉะนั้น ด้วยเหตุที่เกิดขึ้นเป็นอัศจรรย์เช่น นี้ จึงต้องมีการเดินทางครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง คือ
ต่อมาเจ้าอาวาสและญาติโยมได้มาขอให้ไปช่วยทอดกฐินอีกครั้ง จึงได้เดินทางไปเมื่อ วันที่ ๒๖ ต.ค. ๒๕๔๐
เพื่อสมทบทุนก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ นี้ให้แล้วเสร็จ ซึ่งการสร้างมีลักษณะได้สัดส่วน สวยงามมาก โดยเฉพาะขนาดหน้าตัก ๓๙ ศอกนี้
ผู้ที่ชอบตัวเลขนี้ได้นำไปแทงหวยถูกกันหลายคน พอที่มีทุนไปร่วมบุญกันต่อไป ส่วนใต้ฐานองค์พระนั้น ได้ยกพื้นขึ้นทำเป็นพระอุโบสถต่อไป
งานทอดกฐินในครั้งนั้น ได้เงินรวมทั้งสิ้น ๓๔๐,๐๐๐บาท ในเวลาต่อมา เดือนสิงหาคม ปี ๒๕๔๑ เจ้าอาวาสได้เดินทางมาขอให้ช่วยค่าทาสี
เพื่อเร่งทาองค์พระให้แล้วเสร็จ ผู้เขียนจึงได้มอบเงินเป็นค่าสีอีก ๕๐,๐๐๐ บาท
เป็นอันว่า พระพุทธรูปองค์นี้จึงได้เสร็จสมบูรณ์ ด้วยน้ำใจจากลูกหลานหลวงพ่อฯ รวมเงินที่ทำบุญกับ วัดพระบาทดอยโล้น ทั้งหมด ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐บาทเศษ โดยมี พระวันชัย,
ช่างเหรียง, และ คณะพิษณุโลก ไปช่วยทาสีโดยไม่คิดค่าแรงอีกด้วย
การเดินทางไปทอดกฐินในครั้งนั้น เป็นวันที่ตรงกับงานทอดกฐินวัดอื่นๆ อีกหลายวัด แต่ก็จำเป็นต้องจัดไปในวันนั้น เพราะวันอื่นก็ไม่ว่างกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปครั้งแรกนั้น มีปรากฏการณ์พิเศษเกือบทุกแห่ง ด้วยสัญลักษณ์อย่างนี้ จึงเป็นที่แน่นอน ว่าจะต้องพาคนไปอีกครั้งหนึ่ง
ตามที่เคยมีปรากฏการณ์มาหลายครั้งแล้ว ซึ่งการเดินทางครั้งหลังนี้ จึงมีรถตู้รถเก๋งเกือบ ๔๐ คัน จำนวนคน ๓๐๐ คน
ประการสำคัญ นอกจากจะไปไหว้โบราณ สถานที่สำคัญแล้ว เรายังไปตามรอยครูบาอาจารย์ อีกด้วย ที่นั่นก็คือ เขื่อนยันฮี หลังจากทอดกฐิน เสร็จแล้วทายกของวัดดอยโล้น คือ คุณสมบัติ ดอกสน
และภรรยา ซึ่งทำงานอยู่ที่เขื่อนฯ ก็ได้ติดต่อที่พักในบริเวณเขื่อนเช่นเดียวกับคราวก่อน แต่คราวนี้มีผู้เดินทางไปเป็นจำนวนมาก
ที่พักจึงเต็มไปหมด ต้องแยกย้ายกันไปพักที่ บ้านพักหน้าประตูเขื่อนบ้าง ส่วนผู้ที่พักเรือน แพริมน้ำ คิดว่าจะไม่ดี.. แต่ที่ไหนได้..
กลับได้รับอากาศสดชื่นจากธรรมชาติกันเป็นพิเศษ
และความสดชื่นที่สุด คงจะเป็นเพราะได้ยินเสียงที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเคยไปเล่าให้ฟังนั้น นับเป็นที่น่าสนใจในประวัติความเป็นมาของสถานที่นี้
ควรที่ลูกหลานหลวงพ่อจะได้ศึกษาไว้ประดับความรู้ ซึ่งหลวงพ่อได้ เล่าไปครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๑๖ พ.ย. ๒๕๑๖
และ ครั้งที่ ๒ เมื่อ วันที่ ๒ พ.ย. ๒๕๑๙
ในตอนนี้จะเป็นตอนที่หลวงพ่อไปครั้งที่ ๓ เมื่อ วันที่ ๒๓ พ.ค. ๒๕๒๓ ถือว่าเป็นการ ไปครั้งสุดท้าย
เพราะว่าหลังจากนั้น ท่านไม่ได้เดินทางไปที่นั่นอีกเลย การเล่าในครั้งนี้จึงยังไม่ เคยลงหนังสือเล่มไหนมาก่อน แต่ก่อนที่จะถึงตอนนั้น
ผู้เขียนอยากจะเล่าเรื่องในปัจจุบันก่อน
วัดพระพุทธบาทเขาหนาม ตั้งอยู่ที่กลางทะเลสาบแม่ปิง ในบริเวณเขื่อนภูมิพล
ขอย้อนกล่าวถึงเหตุการณ์ วันที่ ๒๖ ต.ค. ๒๕๔๐ หลังจากทอดกฐินเพื่อร่วมสมทบทุนสร้าง พระพุทธรูปองค์ใหญ่
หน้าตักกว้าง ๓๙ ศอก ณ วัดพระพุทธบาทดอยโล้น แล้ว พวกเราทั้ง ๓๐๐ คน จึงได้ออกเดินทางมาถึง
เขื่อนยันฮี ในตอนบ่าย ขบวนรถได้ไปจอดที่ท่าน้ำเลยสัน เขื่อนไปหน่อยหนึ่ง ขณะนั้นเรือของเขื่อนฯ ได้
วิ่งมารับพวกเราไปที่ วัดพระบาทเขาหนาม ซึ่ง อยู่บนเขาไม่สูงนัก ท่ามกลางอ่างน้ำในเขื่อนฯ
เรือบรรทุกผู้โดยสารได้วิ่งไปตามลำน้ำ ท่ามกลางกระแสน้ำที่เงียบสงบ ผ่านกระแสลมที่สะอาดบริสุทธิ์ พวกเราต่างก็สูดลมเข้าไปในปอด อย่างเต็มที่
เพราะร่างกายกำลังอ่อนเพลีย เนื่องจากเพิ่งผ่านการเดินขึ้นเขาที่ ดอยโล้น กัน
ในขณะที่เรือกำลังวิ่งไประหว่างแม่น้ำกับขุนเขา บางคนก็ยืนถ่ายรูปกัน บ้างก็มองไปยังจุดหมายข้างหน้า และบางคนที่เคยเดินทางมากับหลวงพ่อในครั้งกระโน้น
ครั้นได้พบกับบรรยากาศการลงเรือชมทิวทัศน์ในบริเวณเขื่อนครั้งนี้อีก
พลันก็หวลคิดถึงบรรยากาศในอดีต ตอนที่หลวงพ่อเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟังเสียงหัวเราะและเสียงเป่ายานัตถุ์ ยังก้องอยู่ในโสตประสาทตลอดเวลา
จึงจำต้องนำเทปที่บันทึกเสียงไว้ แล้วนำมาเปิดฟังกันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากต้องรอเวลากันมานานแสนนาน...โดยไปเปิดฟังกันที่ วัดพระบาทเขาหนาม หลังจากที่ได้นำบายศรีไปกราบไหว้บูชากันแล้ว พวกเราก็มานั่งรวมตัวกัน เพื่อจะย้อนอดีตรำลึก
เหมือนกับได้อยู่ในเหตุการณ์ครั้งกระโน้นเช่นกัน
|
|
|
|
Posts: 462 |
Registered: 12/3/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
posted on 8/9/10 at 08:44 |
|
|
|
|
Posts: 462 |
Registered: 12/3/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
posted on 19/9/10 at 10:27 |
|
ทรงเสียสละความรักเพื่อประชาราษฎร์
คะยะวะอำมาตย์ ทูตจากนครหริภุญชัย กราบทูลพระเจ้ากรุงละโว้
(ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระวิหาร วัดศรีบุญเรือง จ.ลำพูน)
ในปลายปีพุทธศก ๑๒๐๐ พระเจ้ารามราช กษัตริย์ละโว้พระองค์ใหม่และพระมเหสี คือ พระแม่เจ้าจามเทวี ก็ได้ต้อนรับทูตจากนครหริภุญชัย และทรงทราบเรื่องราวโดยตลอด แล้วก็ทรงตัดสินพระทัยมิถูก
ต่อเมื่อได้พระสติ จึงได้พากันไปกราบทูลสมเด็จพระชนกชนนี พร้อมทั้งประชุมมุข อำมาตย์ราชมนตรี หมู่ไพร่ฟ้าประชาราษฏร์ ทั้งปวงเมื่อได้ทราบเรื่องราว
ต่างพากันมาฟัง ข้อตกลงกันล้นหลามภายนอกพระราชวัง ณ ท้องพระโรง สมเด็จพระชนกชนนี ทรง เป็นประธาน หมู่มุขมนตรีทั้งหลายได้ให้ข้อกราบบังคมทูลว่า
ควรจักให้ผู้อื่นไปแทน เพราะถ้า ทางนี้ขาดพระราชินี เหล่าอริราชศัตรูก็จะกำเริบ เสิบสาน พลเมืองทั้งหลายจะพากันเสียใจ สมเด็จพระราชบิดาได้ตรัสว่า
ความเห็นของมุขมนตรีก็ชอบด้วยแล้ว แต่ทว่าการนี้เป็นการสำคัญ แล้วแต่การตัดสิน ใจของพระราชธิดา เพราะทางฝ่ายโน้นก็เป็น บิดาเลี้ยง
จึงที่ประชุมก็รอการตัดสินพระทัยของ พระราชินี ความเงียบได้เข้าปกคลุม ทุกคน หัวใจเต้นระทึก ครั้นแล้วความเงียบได้ถูกปลุก
โดยพระกระแสเสียงแหลมเล็กปานเสียงดนตรี ก็สั่นเครือขึ้น
ข้าแต่พระชนกและชนนี ทั้งพระราชสวามี อันเป็นที่เคารพและรักยิ่ง ถึงแม้ว่าคำใดที่หม่อม ฉันกราบทูล ณ บัดนี้ เป็นที่ไม่สบพระอารมณ์
และขัดพระราชหฤทัยแล้ว ขอจุ่งได้โปรดพระ เมตตาอโหสิ ในความมิเดียงสาของหม่อมฉัน ด้วยเถิด
(ฤาษีสองตน เป็นผู้สร้างนครหริภุญชัย)
จำเดิมหม่อมฉันถือกำเนิดแต่ที่ใดตนเองก็มิได้แจ้ง ต่อเมื่อท่านพ่อฤาษีเลี้ยงไว้จนจำความได้ ก็ได้ทราบมูลเหตุแห่งกำเนิด
ครั้นเมื่อท่านพ่อฤาษีได้อุปการะเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ได้ให้ความรู้สรรพสิทธิ์วิทยาการต่างๆ และ ก็มิได้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ได้ส่งหม่อมฉัน
พร้อมทั้งฝูงวานรมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของ สมเด็จพระชนกชนนี ในฐานะเด็กหญิง วี ผู้ไร้เดียงสา
ซึ่งมีค่าควรแก่เป็นเพียงแค่พล เมืองผู้สนองพระบาทผู้หนึ่งเท่านั้น
แต่ด้วยพระเมตตาของทั้งสองพระองค์ ได้ทรงพระกรุณาธิคุณทรงรับหม่อมฉันเข้าไว้เป็นเอกราชธิดา และยังอภิเษกให้หม่อมฉันเป็น ราชินีแห่งนครละโว้อีก
อันน้ำพระทัยของสม เด็จพระชนกชนนีนี้ หม่อมฉันสุดที่จักทดแทน ด้วยสิ่งใดก็มิมีสิ้นสุด แม้ชีวิตและร่างกาย
แต่หม่อมฉันขอระลึกอีกว่า ชีวิตแต่ปฐมวัยถูกปลุกปั้นให้เป็นตัวตนด้วยความเมตตา จากอีกหนึ่งท่าน ท่านผู้นั้นก็คือ ท่านพระฤาษี สุเทพ ผู้เป็นบิดาเลี้ยง ซึ่งท่านได้ต่อชีวิตของ หม่อมฉันไว้จากพญาสกุณา ถ้าท่านมิได้ต่อชีวิต หม่อมฉันไว้แล้ว
ก็มิอาจทราบได้ว่า หม่อมฉัน จะเป็นอย่างไร และหม่อมฉันก็ยังมิได้ทดแทน พระคุณท่านแต่อย่างใด
ในครั้งนี้ ท่านได้รับความเดือดร้อน จึง จำเป็นที่สุดแล้วที่หม่อมฉันจะต้องกระทำการทด แทนพระคุณท่าน ปลดเปลื้องภาระความยุ่งยาก ที่ท่านกำลังได้รับ
หม่อมฉันได้ตริตรองแล้ว เห็น ว่าเป็นเวลาที่หม่อมฉันควรสละความสุข ความ ยิ่งใหญ่ ความสบาย ไปรับใช้ท่านพ่อฤาษี และ เป็นการแผ่พระเดชานุภาพของสมเด็จพระชนก
ชนนี และพระราชสวามี
ในเมื่อตราบใดหม่อมฉันยังคงเป็นราชธิดาและอัครมเหสีของ ละโว้ อยู่ตราบนั้นจนสิ้นลมปราณ หม่อมฉันขอปฏิญญาณว่า
จะมิมีน้ำใจออกห่างจากสมเด็จพระชนกชนนีและพระสวามี และทวยราษฎร์แห่งละโว้ไปแม้แต่วินาที เดียว การตัดสินใจของหม่อมฉันวันนี้
ขอพระราชทานอภัยโทษจากสมเด็จพระชนกชนนีและ พระราชสวามี ถ้าแม้นว่าถ้อยคำใดมิเป็นที่สบ พระราชหฤทัยด้วยเถิดเพคะ
ครั้นจบกระแสพระราชดำรัสที่สั่นเครือ เสียดแทงเข้าไปในดวงพระราชหฤทัยของกษัตริย์ และหมู่มุขมนตรีทั้งหลายที่ประชุมอยู่ ณ ที่นั้น
เรียกน้ำพระเนตรของกษัตริย์และหยาดอสุชล ของทุกผู้คนให้ไหลซึม เฉพาะพระราชชนนีถึง กับสะอื้นไห้ เป็นที่น่าปริเวทนายิ่งนัก ตรงเข้า
สวมกอดพระธิดาสุดที่รักแล้วพร่ำรำพันว่า
โอ้...ลูกของแม่..ดวงใจของแม่มีดวงเดียว ลูกจากแม่ไปก็เท่ากับแม่นี้ตายทั้งเป็นแล้วลูก เอ๋ย...!
พระมหากษัตริย์แห่งละโว้นิ่งตะลึงตรัส คำใดมิออก เมื่อได้พระสติก็ตรัสว่า
ยอดหญิงของพี่ เราทั้งสองได้สร้างกรรม สิ่งใดไว้หนอ?
ขณะนั้นอำมาตย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ได้กราบ บังคมทูลขึ้นว่า
ขอเดชะ..พระมหากษัตริย์ผู้มีพระเดชานุภาพ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายความ เห็นว่า อันผู้ไปครองนครหริภุญชัยนั้น มิจำเป็น
ถึงกับจะต้องให้สมเด็จพระราชินี ต้องลำบาก ตรากตรำไปเลย ควรจะจัดผู้อื่นไปแทน ขอ พระองค์จุ่งได้รับฟังคำกราบบังคมทูลของเหล่าข้า
พระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า
จึงสมเด็จพระราชบิดาได้ตรัสให้ที่ประชุมฟังว่า
ท่านเสนาข้าราชการทั้งหลาย อันความ เห็นของท่านเราก็คิดว่าชอบแล้ว แต่การเรื่อง นี้อยู่กับพระราชธิดาแห่งเรา อันความดำริของ เขาก็สมควรอยู่
ด้วยพระฤาษีก็เป็นบิดาของ เขาเหมือนกัน ทั้งนครหริภุญชัยก็เป็นบ้านเกิด เมืองนอนของเขา เราเองถ้าขาดราชธิดาก็เท่า กับว่า ดวงใจของเราถูกทำลายไป
ยิ่งพระมเหสี ของเราแล้ว ท่านทั้งหลายก็เห็นแล้วว่า เขา โทมนัสเพียงไร แม้กษัตริย์ผู้เป็นประมุข
แต่ทว่าการนี้เป็นการเมืองที่สำคัญที่สุด มีทั้งได้และเสีย พระราชธิดาแห่งเราทรงเป็น ขัตติยนารีอยู่ในเศวตฉัตร ย่อมเห็นแก่ไพร่ ฟ้าข้าแผ่นดิน
ยิ่งไปกว่าความสุขส่วนตัว ท่านทั้งหลายจงภูมิใจ ไม่มีครั้งใดในประวัติศาสตร์ ที่จะต้องจารึกการเป็น จอมคน ของราชธิดา เรานี้ไว้ในแผ่นสุวรรณบัฏ
ให้เป็นตัวอย่างแห่ง กษัตริย์พระองค์อื่นต่อๆ ไปด้วยเถิด
บรรยากาศในท้องพระโรงมีแต่เสียงพิลาป ร่ำไห้ จึงกษัตริย์แห่งละโว้ก็ให้ประกาศให้ทวย ราษฎร์ทั้งหลายรู้ว่า พระราชินีจะเสด็จไปครอง นครหริภุญชัย
แต่ขณะนี้พระราชินีทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ จึงให้ทรงยับยั้งการเสด็จไป ไว้ก่อน
ในคืนวันนั้น พระมหากษัตริย์และพระ มเหสีทรงปรึกษากันด้วยความระทมพระทัย พระ ราชินีทรงสะอึกสะอื้นพิลาปร่ำไห้อาลัยพระสวามี
พระเจ้ารามราชทรงรำพึงรำพันด้วยความตรอม พระทัย พระราชินีได้ถวายคำมั่นแห่งดวงใจว่า จะขอซื่อสัตย์ต่อพระสวามี ไม่มีที่จะเปลี่ยนใจ ไปมีพระสวามีใหม่
ฝ่ายพระเจ้ารามราชตรัสว่า พระองค์จะขออุปสมบทในพระบวรพุทธศาสนา ต่อไป ต่างก็รำพันกันมิใคร่จักบรรทมได้
พระราชโอรสทั้งสอง
(ภาพวาดประวัติ พระแม่เจ้าจามเทวีประสูติพระราชโอรสแฝดทั้งสอง)
กาลเวลาล่วงมาจนกระทั่ง วันพุธ เดือน ยี่ ปีมะโรง พุทธศก ๑๒๐๐ พระราชินีจามเทวีฯ
ทรงประสูติพระราชโอรสแฝดเป็นชายทั้งคู่ จึงทางละโว้ให้มีพระราชพิธีฉลอง ๗ วัน ๗ คืน และพระราชทานพระนามพระราชโอรส ผู้พี่ว่า เจ้ามหันตยศราช ศรีสุริยวงศ์ พงศ์ นรินทร์ ปิ่นธานีลวะบุรีราเมศวร และให้พระนามพระราชโอรสผู้น้องว่า เจ้าอนันตยศราช ศรีสุริยวงศ์ พงศ์นรินทร์ ปิ่นธานีรามรัตนา
ครั้นพระราชโอรสทรงมีพระชนมายุได้ ๓ เดือน ก็ทรงฉลองอีกครั้ง และคราวนี้ละโว้ได้ มีการประชุมถึงเรื่องการเสด็จไปครองนครหริ ภุญชัยของพระราชินี
พระราชินีทูลขอพระราช โอรสไปด้วยทั้งสองพระองค์ เพราะว่ายังเยาว์วัย และเพื่อพระราชินีจะได้เป็นสุขบ้าง เมื่อมีพระ ราชโอรสอยู่ด้วย
พระมหากษัตริย์จึงต้องอนุโลมตามพระทัยขณะที่สมเด็จพระชนกตระเตรียมสิ่งของที่จะ มอบให้พระราชธิดาไปครอบครองเวียงวัง ได้
ทรงให้ช่างทำพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ตั้งแต่การ ประชุมครั้งก่อน ครั้งนี้ทรงตระเตรียมผู้คน ช้าง ม้า แก้วแหวน เงินทอง พร้อมทั้งแจ้งให้บรรดา เจ้าเมืองต่างๆ
พร้อมทั้งประเทศต่างๆ ด้วย
วันสำคัญแห่งการลาจากละโว้ได้มาถึง จึง วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง พุทธศก ๑๒๐๑ หมู่เจ้าเมืองต่างๆ มาส่งเสด็จกันพร้อมเพรียง เจ้าหญิงแห่งโกสัมพี ก็อุตส่าห์มาส่งพร้อมทั้งเพชรนิลจินดามากมาย บรรดาของที่ส่งมา จากนครต่างๆ เหลือจักประมาณค่าได้ พระ
ราชธิดาก็ได้เตรียมไว้มากมายเช่นกัน
ได้เวลา ๘.๐๐ น. ถึงเวลาอุดมฤกษ์ฆ้องชัยก็ครางกระหึ่ม สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้สวดปริตตคาถา พราหมณ์ปุโรหิตก็อ่านโองการพระศิวะ
ทันใดนั้นเบื้องบนนภากาศก็คละคลุ้งไปด้วยเมฆ แล้วพระพิรุณได้โปรยซึ่งธารทิพย์ พอเป็นละอองชุ่มชื่นในดวงใจของทุกคน
พระราชินีได้เสด็จดำเนินประคองพระราชมารดา พร้อมทั้งกษัตริย์ทั้งปวงล่วงออก จากพระราชฐานชั้นใน และจะได้ทรงปราศรัย กับปวงประชา
ครั้นได้เสด็จพระราชดำเนินล่วง จากประตูชั้นนอกพระบรมมหาราชวังมายังปวงชน ฝูงชนทั้งหลายได้หมอบราบกราบลงยังเบื้องพสุธาด้วยความรันทด ต่างก็ฟูมฟายด้วยน้ำตา
บ้างก็สะอื้นรำพึงรำพันว่า
พระราชินีของข้าบาททั้งหลาย อีกเมื่อไร จะได้ทรงพระเมตตามาปกเกศเหล่าข้าบาทให้ ร่มเย็น นับแต่นี้เหล่าข้าบาททั้งปวงจักได้รับ แต่ทุกขเวทนา
มิมีโอกาสที่จะได้ยลพระพักตร์ อันซึ้งไปด้วยพระเมตตา และพระพักตร์ที่ทรง พระสิริโฉมงดงาม เหนือกว่าเทพธิดาในสรวง สวรรค์แล้ว ถ้าชาติหน้ามีจริง
ขอให้เหล่าข้า บาททั้งหลายได้ไปเป็นข้าบาทบริจาริกาด้วยเถิด
รักเสียสละ
ณ ท่าน้ำชัยมงคล คราคร่ำไปด้วยฝูงชน ที่มาส่งเสด็จ ครั้นแล้วขบวนเสด็จได้ใกล้เข้ามา ทวยราษฎร์ทั้งหลายได้พากันหมอบกราบ กระทั่ง
กษัตริย์ทั้งหมดเสด็จถึงท่าน้ำ ภายในที่ประทับ ล้อมรอบไปด้วยเจ้าต่างนครและต่างประเทศ จึงสมเด็จพระราชบิดาทรงมีพระกระแสรับสั่ง
ด้วยพระสุรเสียงอันกังวานว่า
เนื่องด้วยนครหริภุญชัย ซึ่งท่านฤาษีสุเทพและบรรดาฤาษีทั้งหลาย ได้สร้างขึ้นใหม่แทน บุรพนคร ซึ่งได้ถูกทำลายด้วยแม่พระคงคาจน
เป็นนครร้างนั้น บัดนี้ นครที่กล่าวมานี้ได้สร้างเสร็จ
เรียบร้อยแล้ว แต่ขาดพระมหากษัตริย์ผู้จักครองนคร จึงท่านสุเทพฤาษีได้มีสาส์นมา ถึงเราและพระมหากษัตริย์ละโว้ว่า จักขอเอกราชธิดาจามเทวีฯ ของเรา
ซึ่งเป็นราชินีของละโว้ ไปเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองไพร่ฟ้า
เราและพระมหากษัตริย์แห่งละโว้ ได้ตริ ตรองและประชุมเสนาอำมาตย์ทั้งหลายโดยถี่ ถ้วนแล้ว ได้เห็นใจในความลำบาก
ที่ประชาราษฎร์ในแคว้นหริภุญชัยขาดพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชา ทั้งนี้เพื่อมนุษยธรรม เราและ พระมหากษัตริย์แห่งท่านทั้งหลาย จำต้องสละ ความสุข
ความอาลัย ความรัก ให้พระราชินี ของท่านทั้งปวงได้เสด็จไปเป็นพระมหากษัตริย์ เพื่อจรรโลงชาวหริภุญชัยให้วัฒนาถาวรและมั่น คงสืบไป
แต่ด้วยเหตุที่เอกราชธิดาแห่งเราผู้นี้ เป็น ผู้ที่ประชาชนทั้งหลายเคารพและภักดี ทั้งได้มี บุญคุณแห่งเรา และชาวละโว้ทั้งมวล
จะต้องไปเป็นพระมหากษัตริย์ครอบครองนครใหญ่ เราและพระมหากษัตริย์แห่งพวกท่านจึงได้ดำเนิน การมอบคน ช้างม้า ให้สมพระเกียรติแห่งการ เป็นเอกราชธิดาแห่งเรา
จึงขอประกาศต่อเทพยดา และอดีตประมุข ของชาติว่า นับแต่เวลานี้ไปคือ วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง พุทธศก ๑๒๐๑ เรา
และพระมหากษัตริย์แห่งละโว้องค์ปัจจุบัน ขอ ให้พระนางจามเทวีฯ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ปกครองนครหริภุญชัย และพร้อมกันนี้ เราขอ มอบพระแสงดาบอาญาสิทธิ์
และแก้วแหวนเงิน ทอง ผ้าแพรพรรณ อีกทั้งทวยโยธาคือ
ช้าง ๕๐ ม้า ๕๐๐ ช่างเงินช่างทอง เพชรพลอย ๕๐๐ ช่างไม้ ๕๐๐ ช่างเหล็ก ๕๐๐ เศรษฐีและนักปราชญ์ปุโรหิต ๕๐๐ เสนา ข้าราชบริพาร ๕๐๐ พลเท้า ๑,๕๐๐ ทหาร
หญิงอีก ๒๐๐ พระสงฆ์สามเณร ผ้าขาว ๕๐๐ พระมหาเถระ ๕ รูป เกวียน ๕๐ ตามศักดินาลูกหลวง
และขอประกาศด้วยสัจจะวาจาว่า สืบแต่ นี้ไปภายภาคหน้า ผิว์ว่าพระมหากษัตริย์แห่ง ละโว้พระองค์ใด กระทำสิ่งที่ทำลายตนเอง ด้วย
การไปเบียดเบียนประทุษร้ายต่อเอกราชธิดา จามเทวีฯ แล้วไซร้ ขอให้ผู้นั้นพบแต่ความ วิบัติทุกประการ จึงเพลานี้นับเป็นอุดมฤกษ์
จึงขอเฉลิมพระนามพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ว่า
พระนางจามเทวี บรมราชนารี ศรีสุริยวงศ์ องค์บดินทร์ ปิ่นธานีหริภุญชัย"
เป็นปฐมกษัตรีย์ผู้ครองนครหริภุญชัย โดยหมายไว้ในสุพรรณบัฏ
เมื่อจบกระแสพระราชดำรัสของพระราชบิดา มโหรีปี่พาทย์บรรเลงเพลงสาธุการ พระ สงฆ์เจริญพร ชยันโต พราหมณ์ปุโรหิตก็อ่าน โองการพระศิวะผู้เจ้าโลก
ประชาราษฎร์ได้ถวาย พระพรกันเซ็งแซ่ และทันใดนั้นเสียงระฆังเงิน ได้ครวญแหวกสายลมกระทบโสตของทุกผู้ว่า
ข้าแต่สมเด็จพระราชบิดามารดา และองค์ราชะผู้เป็นพระราชสวามี และมวลหมู่ประชา ราษฎร์ทั้งปวง หม่อมฉันรู้สึกซาบซึ้งในพระมหา กรุณาธิคุณ
ที่ทรงอุปการะให้หม่อมฉันเป็นเอก ราชธิดาและเป็นราชินี ขณะนี้ก็ยังทรงโปรดให้ หม่อมฉันไปเป็นพระมหากษัตรีย์ พร้อมทั้งผู้คน ช้างม้า ทรัพย์สินเงินทองต่างๆ
เพื่อไปครอบ ครองเอกนคร คือนครหริภุญชัยอีก
อันพระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้ หม่อมฉันขอจารึกไว้ภายในดวงใจ หม่อมฉันขอปฏิญญาณ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า หม่อมฉันขอซื่อตรง ต่อพระราชบิดามารดา
ทั้งพระราชสวามี ตลอดทั้งประชาราษฎร์ทั้งปวง ผิว์ว่ายามใดนครละโว้บังเกิดอริราชศัตรูแล้ว หม่อมฉันขอพลีชีวิต เพื่อสนองคุณพระ ราชบิดามารดาและพระราชสวามี
และขอวิงวอน ทวยเทพตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงดลบันดาล ให้พระราชบิดามารดาและพระราชสวามี ได้ทรง พระเกษมสำราญ และทรงมีพระชนมายุยืนยาว นานตลอดไป
อีกบรรดาทวยทหารและประชา ราษฎร์แห่งละโว้ทุกผู้ จุ่งได้รับความร่มเย็นสุข สบายด้วยเทอญ
สิ้นพระกระแสเสียงก็ได้ยินแต่สำเนียง ถวายพระพรกันเซ็งแซ่ว่า ขอให้พระมหากษัตรีย์ ผู้ทรงพระโฉม ทรงพระเจริญ ๆ ๆ ๆ
ขณะนี้ของพระราชทานและของบรรณาการจากนครต่างๆ ได้ขนถ่ายลงนาวา กองม้า กอง ช้าง ก็เตรียมรอฤกษ์ยามในการตามเสด็จทาง ชลมารค พระมหากษัตรีย์จามเทวีฯ และสอง
พระพี่เลี้ยง (พระนางปทุมวดี และพระนาง เกษวดี) ย่อพระวรกายลงแทบพระบาทสมเด็จ พระราชบิดามารดา ประนมกรก้มกราบ
พอดียาม ๑ (กลางวันเวลา ๙.๐๐ น.) ตรงกับอิศวรฤกษ์ องค์พรหมเสด็จอยู่เบื้องขวา องค์นารายณ์เสด็จอยู่เบื้องซ้าย พระมหามงกุฎปลายแหลม
ส่วนยอดประดับเพชรลูกตรีรัตน์ สีแดงอยู่กลาง สีดำอยู่เบื้องขวา สีฟ้าอยู่เบื้องซ้าย ทุกๆ ชั้นถูกประดับด้วยอัญมณีหลากสี ก็สวมเบื้องบนพระเศียรของพระนาง
โดยพระ หัตถ์ของสมเด็จพระราชบิดา พระสงฆ์เจริญพระ พุทธมนต์ พราหมณ์ได้สวดพระบัญชาแห่งศิวเจ้า ปี่พาทย์มโหรีคลอเสียงสรรเสริญพระบารมี ทวยราษฎร์ต่างถวายพระพร
เบื้องนภากาศพระ พิรุณโปรยม่านละอองดับแสงพระสุริยเจ้า
จึงพระมหากษัตรีย์แห่งหริภุญชัย พระราชสวามี สองพระพี่เลี้ยง พร้อมทั้งสองพระ ราชโอรสแฝด ได้เสด็จพระราชดำเนินลงนาวา พระที่นั่ง พญาปราบสามภพ (กากะวานร) ก็ พาคณะวานรติดตามด้วย สมเด็จพระราชมารดาทรงพระกันแสงเพียงจักขาดใจ
สมเด็จพระราชบิดาแทบสิ้นพระสติ นาวาพระที่นั่งค่อยๆ เคลื่อนช้าๆ เสมือนดุจ วิญญาณภูติพรายมารั้งดวงจิตของทุกๆ ผู้ที่ มาส่งเสด็จให้ขาดสลาย
เสียงคร่ำครวญรำพึง รำพันกันจวบกระทั่งเรือพระที่นั่งลับจากสายตา
ครั้นขบวนเรือถึงนครสุวรรณบรรพต ทรงหยุดยั้งเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยัง นครงามฟ้า (นครสวรรค์)
ซึ่งเป็นนครที่สวยงาม โอ่อ่า มีปราสาทราชวังดุจเมืองสวรรค์ ทรง ถวายไตรจีวรแก่พระมหาสมณะยังพระอาราม หลวง และทรงอำลาพระประธานคู่เวียง
เสร็จแล้วได้เสด็จต่อไปกระทั่งถึง นครชุมรุม (เดิม ชื่อนครเขื่อนขันธ์ ภายหลังเปลี่ยนเป็นนครชุมรุม
ปัจจุบันเรียก นครชุม)
เมื่อทรงปราศรัยแก่ประชาราษฎร์ที่มาส่งเสด็จ แล้ว ได้เสด็จต่อไปจนกระทั่งถึง วังเจ้า (ตาก)
ทรงหยุดไหว้เจ้าทั้งมวล แล้วจึงได้เสด็จต่อไปเรื่อยๆ ตามรายทางที่มีหมู่บ้าน ชาวประชา ที่อาศัยอยู่ริมน้ำได้มาเฝ้ารับเสด็จ และถวายแก้วแหวน อัญมณีต่างๆ
(พระนางจามเทวีเสด็จมาถึงผาสามเงา)
ขบวนเสด็จรอนแรมไปจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านมีแต่เซื่องซึมง่วงเหงาไม่ร่าเริงแจ่มใส จึงขนานนามว่า
เวียงเทพบุรี (ฝูงชนเรียกว่า จำเหงา ปัจจุบันเป็นเขต อ.สามเงา จ.ตาก) นับเวลาที่ได้เสด็จรอนแรมมาได้ ๑ เดือนเศษ ได้บรรลุถึงสถานที่หมู่บ้านกว้างขวาง
จึงได้หยุดยั้งพักแรมไพร่พล และก็เห็นสถานที่นี้ประหลาดนัก จึงได้ทรงถามผู้นำทางว่า อีกสักเท่าไรจึงจะถึงนครหริภุญชัย
ผู้นำทางได้กราบบังคมทูลว่า ถ้าเสด็จทางบกก็ประมาณเดือนเศษ ถ้าทางเรือก็สองเดือนเศษ เพราะจวนฤดูน้ำมาก น้ำไหลเชี่ยว
ครานั้นพระนางจึงกราบทูลพระราชสวามีว่า จ ต้องสร้างนครไว้ที่นี้ ให้เป็นที่ระลึกในการที่ เราทั้งสองจะต้องจากกันด้วยภารกิจ และมิ
ทราบว่าวิถีชีวิตจะได้บรรจบหรือไม่
ครั้นแล้วการสร้างเวียงก็เริ่มขึ้น ทรงสร้างอาราม ๔ อาราม สร้างพระประธานและพระเจดีย์ทุกอาราม
มีอารามหนึ่งสร้างพระเจดีย์ทองคำไว้ภายในพระเจดีย์ใหญ่ด้วย นับเวลา สร้างได้ ๔ เดือนเศษ จึงทำการสมโภชในวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง พุทธศก ๑๒๐๑
ได้ทรงขนานนามว่า พิสดารนคร (ปัจจุบันอยู่ใน อ.ฮอด
จ.เชียงใหม่) สมโภชอยู่ ๗ วัน ๗ คืน จากนี้พระมหากษัตริย์ทั้งสองก็จะต้องจากกัน
ขณะชั่วยามรัตติกาล คืนที่เสร็จจากการ สมโภช ทั้งสองพระองค์ทรงน้อยพระทัยในโชควาสนาชะตากรรม หัวใจทั้งสองเสมือนถูกเชือด เฉือน
ผู้ใดหนอจะเศร้าเยี่ยงเราทั้งสอง แต่ฉับ พลันในดวงพระหฤทัยของพระมหากษัตริย์ทั้ง สองก็สนองตอบว่า
มีซิ..ประชาราษฎร์ทั้งหลาย ทั้งสูญเสีย บ้านช่อง ทรัพย์สิน พ่อ - แม่ สามี - ภรรยา และบุตร จะต้องตายไปต่อหน้า จริงสิ..อัน ตัวเราทรัพย์สมบัติก็ยังมี
ความเป็นอยู่ของคู่ ร่วมชีวิตก็ยังมีพร้อม..
หัวใจของกษัตริย์ทั้งแปดห้อง ต่างก็ถกเถียงกันอึงคนึง ทำให้เจ้าของร่างกายมิสามารถ บรรทมหลับสนิทได้ ล่วงเวลายาม ๑ ของ รัตติกาลก็ผ่านพ้น ยาม ๒
กำลังอ้อยอิ่งย่าง เข้ามา เสียงมโหรีปี่พาทย์ที่บรรเลงถวายยาม บรรทม กลับครวญครางเพลง พญาโศก อย่างช้าๆ เนิบนาบ ครางดุจเสียงสะอื้น ราว
กับจะบรรจงเป็นอักขระว่า
ชะรอยกรรมจำพรากต้องจากไกล..จะ ผ่อนผันฉันใดนะอกเอ๋ย โอย..หัวใจของเราถูก ใครนำเข็มพิษมาเสียบไว้ ทำฉันใดจึงจะมีแพทย์ มาถอนออกได้
โอสถขนานใด..ผู้ใดแจ้งบ้าง?
แต่แล้วเสมือนมีเสียงครางมาในนภากาศ ลืมแล้วหรือ..หน้าที่ไงเล่า..?
จริงแล้ว..หน้าที่..ใยเราจะมาเมามัวแต่สุขส่วนตัว ประชากรเขามีทุกข์ยิ่งกว่า หัวใจทุกๆ ห้องทุ่มเถียงกันอยู่จบกระทั่งร่างกายมิสามารถ
หยุดหลับอย่างสบายได้ ณ ครั้งนั้น พระแม่ เจ้าจามเทวีฯ ผู้จะเข้าปกครองนครหริภุญชัย ได้ทูลพระราชสวามีว่า
เวลาที่จะจากกันก็ใกล้เข้ามาแล้ว หม่อม ฉันขอเข้าสู่ความเป็น ชีผ้าขาว เยี่ยงเขาทั้ง หลายเถิด
อารมณ์ทั้งมวลจักได้ยุติ
ด้วยเหตุฉะนี้ จึงทูลขอให้พระมหาเถระที่มาด้วย ให้อนุญาตให้พระนางเป็นชีผ้าขาว ณ วันแรม ๘ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง พุทธศก ๑๒๐๑
ซึ่งวันรุ่งขึ้นพระเจ้ารามราชทรงถวายไทยทานแด่ชีผ้าขาว แล้วก็จากเสด็จกลับละโว้ เพลานั้น (สมัยนั้นปีใหม่เริ่มเดือน ๖)
(พระราชพิธีอภิเศกพระนางจามเทวี ขึ้นครองนครหริภุญชัย เป็นปฐมกษัตรีย์แห่งหริภุญชัย)
ส่วน แม่ชีจามเทวี ได้เสด็จพระราชดำเนินต่อไป ในระหว่างทางได้ทรงสร้างพระเจดีย์ และพระอาราม
แล้วได้ทำการลาสิกขา ณ พระ อารามแห่งนั้น ต่อจากนั้นได้เสด็จถึงพระนคร แล้วเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ นับเป็นปฐม กษัตรีย์แห่งหริภุญชัยพระองค์แรก
ในวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย พุทธศก ๑๒๐๒
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
จำใจละฐานกรณ์ ละบิดรพระมารดา
แสนโศกวิโยคหา จิตห้อยระริกไหว
ทุกข์ล้ำพระแม่เจ้า จรเจ้าละพูนชัย
ลาแล้ววนาลัย ธ ประพาสก่อนกาล
แต่นี้มิได้เห็น กิจเป็นเพราะมีงาน
อกโอ้ระโหฐาน บจถรณผทมนอน
ถึงกาลต้องไป อรทัยมิอยากจร
หลั่งน้ำพระเนตรวอน บุพกรรมกระทำมา ฯ
วัดพระบรมธาตุ อ.บ้านตาก จ.ตาก
เป็นอันว่า ขอจบเรื่องราวของท่านไว้เพียง แค่นี้ก่อน เพราะยังมีเรื่องเล่าต่อไป หลังจาก ทำพิธีบวงสรวงสักการบูชาเสร็จแล้ว
พวกเราได้ร่วมทำบุญสร้างพระอุโบสถ วัดสามเงา เป็นเงิน ๒๖,๐๐๐
บาท แล้วก็กราบลาพระแม่เจ้าฯ ด้วยความเศร้าสร้อย บ้างก็ค่อยเช็ดน้ำตาไปด้วย
ต่อจากนั้นก็ได้เดินทางกลับมาทำพิธีบวงสรวง ณ วัดพระบรมธาตุ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ เจดีย์ยุทธหัตถี ได้ถวายเงินสร้างกุฏิกับท่านเจ้า อาวาส เป็นจำนวนเงิน ๓๐,๐๐๐
บาทเศษ
พระครูพิทักษ์บรมธาตุ เจ้าอาวาสวัดนี้ ท่านได้เรียบเรียงประวัติ วัดพระบรมธาตุ จาก ตำนานพระเจ้าเลียบโลก
ว่าสมัยสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น พระพุทธองค์ได้เคยเสด็จมาเมืองตากถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรกเสด็จมาเมื่อพระชนมพรรษาได้เท่าไหร่
ไม่ปรากฏในตำนาน
ส่วนครั้งที่ ๒ พระองค์เสด็จมาเมื่อพระ ชนมพรรษาได้ ๖๐ พรรษา ตามตำนานได้เล่า เป็นภาษาไทยเหนือว่า
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์ที่เชียงใหม่ก่อน แล้วล่อง ลงมาตามลำน้ำปิงจนมาถึงเมืองตากเก่า (บ้านตาก) พระองค์ได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้
ณ ดอยโล้น แล้วจึงเสด็จมายังที่นี่
แต่รายละเอียดของดไว้แค่นี้ เพราะไปพบใน ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ตามประวัติบอกว่าเป็นของ พระธาตุจอมยอง เมืองยอง ประเทศพม่า ฉะนั้น สถานที่นี้จะมีประวัติอย่างไร เราก็ไม่อาจทราบได้
ทราบแต่ที่เจ้าอาวาสเล่าอีกว่า
พระเจดีย์องค์เก่านั้น เดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ๘ เหลี่ยม อยู่ภายในองค์ปัจจุบันนี้ เหมือนกับองค์ที่อยู่ข้างนอก คือเจดีย์ยุทธหัตถี เพราะว่า
หลวงพ่อทองอยู่ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ เดิมที่สร้างมณฑปครอบ พระพุทธบาทดอยโล้น ท่านได้ไปที่ พระธาตุชะเวดากองกลับมา จึงได้
สร้างครอบพระเจดีย์องค์เดิมไว้ พร้อมทั้งสร้างเจดีย์บริวาร
ฉะนั้น พวกเราจะได้ทันสร้างในครั้งแรก หรือไม่ก็ตาม แต่พระเจดีย์ก็ยังทรงสภาพอยู่ อย่างสวยงาม จึงขอให้ทุกคนตั้งจิตอนุโมทนาใน กุศลผลของความดี
นับตั้งแต่ผู้เริ่มสร้างจนถึงผู้ ร่วมบูรณะ ขอให้ได้มีส่วนร่วมกับทุกท่านในกาล ก่อนทุกประการ โดยเฉพาะการบูรณะในครั้งนี้
ส่วนประวัติศาสตร์เมืองตากนั้น เราคงจะทราบแล้วว่า มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์หลายเรื่องที่เกี่ยวกับ สมเด็จพระนเรศวร ก็ดี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ก็ดี
นั่นเราก็คงพอจะทราบกันบ้าง แต่ถ้าจะย้อนกลับไปตั้งแต่ ตอนต้น พอที่จะค้นมาได้ในหนังสือ พงศาวดารชาติไทย
เล่าว่า
เมืองตากเป็นพวกไทยที่อพยพมาจาก เมืองมอญเดิม แล้วเข้ามาทางแม่ฮ่องสอน ตั้งเมืองตากขึ้นเมื่อก่อน พ.ศ. ๓๐๖ มีอำนาจได้เป็นราชธานีของเมืองเหนือ
มีกษัตริย์สืบราชบัลลังก์ต่อมาถึง พระเจ้าสักดำ ผู้เป็นมหาราชเรืองพระนาม พระองค์หนึ่งที่คนยังไม่เคยรู้จัก
เพราะประวัติศาสตร์มิได้เล่าย้อนลึกไปถึงรัชสมัยของพระองค์
พระราชาองค์นี้เสวยราชสมบัติใน พ.ศ. ๕๖๐ ครองราชย์ได้ ๗๒ ปี จึงสวรรคตใน พ.ศ. ๖๓๑ ในปีสวรรคตนั้น พระองค์ประกาศให้ใช้
มหาศักราช ของอินเดีย เริ่มปีใหม่ วันพฤหัสบดี แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ (๒๒ เม.ย.)
เป็นการเปลี่ยน แปลงปีใหม่ของไทย ซึ่งใช้มาแต่โบราณกาล ที่ เริ่ม เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง นั้นเสีย
(ธ.ค.)
และในพงศาวดารเหนือกล่าวถึงตอนนี้ว่า พระเจ้าสักดำมหาราช ครองกรุงตักศิลา
สมัยนั้นมิได้เรียกว่า เมืองตาก แต่เรียกว่า ตากศิลา
พระเจ้าสักดำมหาราชก็คือคนไทย ซึ่ง สักพระองค์จนดำไปทั้งพระวรกาย จึงมีนามว่า พระเจ้าสักดำ
เพราะฉะนั้นคำว่า ตาก ซึ่ง ลากเสียงยาว อันมาจากคำว่า ตัก และบริเวณ เมืองตาก ก็มีศิลาที่มีค่ามาก พอนานๆ ไปคำว่า ศิลา
จึงหายไปเหลือแต่คำว่า ตาก เท่านั้น ส่วนศิลาหรือหินแข็ง หินอ่อน ยังมีอยู่จริง ณ ที่นี้ ซึ่งตรงกับคำของหลวงพ่อบอกว่า เมืองตักศิลา นั้นอยู่ที่ กำแพงเพชร
ถ้าเราดูแผนที่จะเห็นได้ว่าบริเวณเมืองกำแพงเพชรกับเมืองตากอยู่ใกล้ชิดติดกัน นี้เป็นการยืนยันคำของหลวงพ่อว่าท่านรู้จริง คือรู้ตรงกับตำรา
ซึ่งได้ค้นหามาเป็นประจักษ์พยานแก่ท่านทั้งหลายในโอกาสนี้ด้วย และในเมืองตากเก่า (บ้านตาก) เคยมีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง ในประวัติศาสตร์สมัย
พระแม่เจ้าจามเทวี เล่าว่า
เมื่อพระแม่เจ้าขึ้นไปครองหริภุญชัยได้โปรดให้ พระเจ้าสุธรรม ครองราชสมบัติในเมืองตาก ได้ยินว่า
ครั้งนั้น พระเจ้าสุธรรม เมื่อครองราชสมบัติอยู่ในเมืองตาก
ได้อัญเชิญพระปฏิมาหินองค์หนึ่งที่พระองค์รักษาไว้นั้นมาจากเมืองสุธรรม ด้วย แล้วประดิษฐานไว้ใน
วัดสุธรรมาราม ในเมืองตาก
พระองค์มีพระราชประสงค์จะให้พระพุทธรูปองค์นี้ยั่งยืนถาวร ทรงสักการะและขออนุญาตแล้ว จึงเอาเสียมทะลวงพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้
แล้วเอาพระปฏิมากรหินดำองค์นั้น บรรจุไว้ในพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ แล้วเอาปูนขาวพอก ทำให้เป็นรูปปกติตามเดิม ตั้งแต่นั้นมา พระปฏิมาหินดำองค์นั้น
จึงเป็นสิ่งที่ควรสักการบูชาของ เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายตราบเท่าถึงทุกวันนี้
ประวัติพระสิขีพุทธปฏิมา
พระรอดหลวง หรือ พระสิขีพุทธปฏิมา (อยู่ระหว่างงาช้าง)
สำหรับประวัติพระพุทธรูปองค์นี้ ตามหนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ ท่านได้เล่าว่า ได้ยิน ว่ายังมี
หินดำก้อนหนึ่ง ทางด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ไม่ไกลจาก อโยชปุระ (อยุธยา)
ครั้งหนึ่ง องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เมื่อดำรงพระชนม์อยู่ ได้แวดล้อมด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย เสด็จมาทางอากาศแล้วลงมายังที่นั้น
ประทับนั่งบนก้อนหินดำนั้น แล้วจึงตรัสเทศนา ทารุกขันธูปสูตร (สฬายตนวรรค สังยุตตนิกาย)
แก่พระภิกษุทั้งหลาย
ตั้งแต่นั้นมาหินดำก้อนนั้น เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันกราบไหว้บูชาตลอดมา เพราะฉะนั้น หินดำก้อนนั้น จึงมีชื่อปรากฏว่า อาทรศิลา ซึ่งแปลว่า หินที่เขานับถือ
ต่อจากนั้น มีพระราชาองค์หนึ่งในรัมนะประเทศ (เมืองรามัญ) ทรงดำริว่าหินก้อนนี้ แม้เป็นเพียงที่รองรับพระพุทธองค์ แต่ก็ยังเป็นไปเพื่อบุญใหญ่หลวงนัก
อย่ากระนั้นเลย เราจะทำหินก้อนนั้นให้เป็นพุทธปฏิมา จะได้เป็นไปเพื่อบุญใหญ่หลวงยิ่งๆ ขึ้นไป
ครั้นดำริดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสสั่งให้ช่างประติมากรรมทั้งหลาย ทำหินก้อนนั้นให้เป็น พระพุทธรูปจำนวน ๕ องค์ แล้วโปรดให้ไปประดิษฐานอยู่
มหานคร ๑ อยู่ในละโว้ ๑ อยู่ใน เมืองสุธรรม ๑ อีก ๒ องค์ อยู่ในรัมนะประเทศ
สมัยต่อมาองค์ที่อยู่มหานคร พระเจ้าอนุรุทธ กษัตรย์พม่าก็ได้นำมาถวายพระแม่เจ้าฯ
ในขณะกำลังเสด็จไปนครเขลางค์ พระเจ้าอนันตยศ เจ้าผู้ครองนครขณะนั้น จึงทรงรับพระสิขีปฏิมาจากพระมารดา
แล้วได้ประดิษฐานอยู่ที่ วัดกู่ขาว จนสมัยต่อมา กษัตริย์อโยชปุระ ก็ได้ยกทัพมายึดเอาพระสิขีปฏิมาไป
แต่ในตำนานพระธาตุลำปางหลวงเล่าว่า เมื่อ พ.ศ.๑๒๐๐ เศษ พระเจ้ากรุงละโว้ ได้มาสร้าง
พระวิหารไว้หลังหนึ่ง เพื่อประดิษฐานพระศิลา ซึ่งเป็นหินสีเขียว หน้าตัก ๑๙ นิ้ว สูง ๑ ศอกเศษ ปางนาคปรก เพื่อให้พระเจ้าหลาน
คือพระเจ้าอนันตยศไว้สักการบูชา พระวิหารหลังนี้เดิมเรียก ว่า วิหารพระยาละโว้ หรือ วิหารจามเทวี ปัจจุบันนี้เรียกว่า วิหารพระศิลา ยังปรากฏอยู่
แต่ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์เล่าว่า พระแม่เจ้าทรงอัญเชิญพระปฏิมาหินดำจากเมืองละโว้มาที่หริภุญชัย แล้วโปรดให้สร้างวัดเป็นที่ ประดิษฐานชื่อว่า
วัดลมักการาม ตามประวัติได้ กล่าวว่า พระพุทธปฏิมาทั้ง ๕ องค์นี้ มีฤทธิ์เดชยิ่งนัก
พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแต่ละประเทศ ทรงสักการบูชาเป็นอันมาก พระปฏิมาหินดำ องค์นี้ มีพระนามว่า พระสิขีพุทธปฏิมา
แล้ว ปรากฏว่าเป็นสมบัติของชาวไทยตั้งหลายองค์ จึงขอนำมาเล่าไว้เพียงแค่นี้
สรุปการเดินทางในครั้งนี้ ก็ได้ไปปิด ท้ายที่ วัดพระบาทดอยงู โดยทำบุญสร้างวิหาร ๑๓,๑๐๐ บาท ส่วนที่ วัดพระพุทธบาทเขาหนาม สร้างพระพุทธรูปนอน
รวมยอดเงินที่ได้ทำบุญ ทั้งสิ้น ๕ แห่ง ตั้งแต่ทอดกฐินที่วัดพระบาทดอยโล้น จนกระทั่งถึงวัดพระบาทดอยงู จำนวนเงินทั้งสิ้น
๔๑๐,๐๐๐ บาท
จึงขอให้ทุกท่านพึงอนุโมทนาร่วมกันแล้วไว้พบกันตอนหน้า งานฉลองชัย ณ กรุงสุโขทัย การเล่าเรื่อง
ตามรอยพระพุทธบาท ที่จังหวัดตากก็คงจะจบตอนเพียงแค่นี้...สวัสดี.
( โปรดติดตามตอน งานฉลองชัย ณ กรุงสุโขทัย ต่อไป)
|
|
|
|
Posts: 2037 |
Registered: 8/1/08 |
Member Is Offline |
|
|
|
|
|
"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player
ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป
ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved
|
|
|
|