ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 15/11/10 at 14:55 Reply With Quote

นิทานชาดก (เรื่องที่ 34) วานรินทชาดก - ชาดกว่าด้วย "ธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู"


...นิทานชาดกนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ "พระพุทธเจ้า" ขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ได้บำเพ็ญพระบารมีมาในแต่ละชาติ จะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น แล้วได้ตรัสเล่าบุพกรรมเหล่านี้ ซึ่งมีมาในพระไตรปิฎกมากมายหลายเรื่อง

ในตอนนี้ จะขอนำการ์ตูนเรื่องที่ 34 มีชื่อว่า "วานรินทชาดก" (อ่าน..วานะรินทะชาดก) เป็นเรื่องของการเอาตัวรอดโดยธรรม โดยพระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น "พญาวานร" จึงขออนุโมทนาไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

.....This story is a fable about "Buddha" While still a Bodhisat. He has to perform the prestige of each nation. Is a true story that occurred.

Then spoke told these deeds. Which in many Tripitaka on. At this will be cartoon chapters No.34 called "Vanarintha Jataka" The come into the Buddha "Monkey Paya"

วานรินทชาดก : ชาดกว่าด้วย "ธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู"


มูลเหตุที่ตรัสชาดก

....พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ ความตะเกียกตะกายขวนขวายเพื่อการฆ่าของพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ในสมัยนั้น พระศาสดาทรงสดับข่าวว่า พระเทวทัตกำลังตะเกียกตะกายเพื่อปลงพระชนม์ จึงตรัสว่า

......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อฆ่าเรา แม้ในกาลก่อน ก็เคยตะเกียกตะกายแล้วเหมือนกัน แต่ไม่อาจกระทำเหตุเพียงความสะดุ้งแก่เราได้เลย. แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้



เนื้อความของชาดก

......ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นกระบี่

ครั้นเจริญวัย มีร่างกายเติบโตขนาดลูกม้า สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง เที่ยวไปตามแนวฝั่งน้ำ ลำพังผู้เดียว. ก็กลางแม่น้ำนั้น มีเกาะแห่งหนึ่ง อุดมสมบูรณ์ด้วยต้นไม้อันมีผลนานาชนิด มีมะม่วงและขนุน เป็นต้น.

พระโพธิสัตว์มีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง โจนจากฝั่งแม่น้ำข้างนี้แล้ว ก็ไปพักที่หินดาดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่กลางลำน้ำ ระหว่างฝั่งแห่งเกาะ โจนจากแผ่นหินนั้นแล้ว ก็ขึ้นเกาะนั้นได้

ขบเคี้ยวผลไม้ต่างๆ บนเกาะนั้น. พอเวลาเย็น ก็กระโดดกลับมาด้วยอุบายนั้น กลับที่อยู่ของตน. ครั้นวันรุ่งขึ้น ก็กระทำเช่นนั้นอีก พำนักอยู่ในสถานที่นั้น โดยนิยามนี้แล.

ก็ในครั้งนั้น มีจระเข้ตัวหนึ่งพร้อมกับเมีย อาศัยอยู่ในน่านน้ำนั้น. เมียของมันเห็นพระโพธิสัตว์โดดไปโดดมา เกิดแพ้ท้อง ต้องการกินเนื้อหัวใจของพระโพธิสัตว์

จึงพูดกะจระเข้ผู้ผัวว่า ทูลหัว ฉันเกิดแพ้ท้อง ต้องการกินเนื้อหัวใจของพานรินท์นี้.

จระเข้ผู้ผัวกล่าวว่า ได้ซี่ เธอจ๋า เธอจะต้องได้. แล้วพูดต่อไปว่า วันนี้ พี่จะคอยจ้องจับ เมื่อมันกลับมาจากเกาะในเวลาเย็น. แล้วไปนอนคอยเหนือแผ่นหิน.

พระโพธิสัตว์เที่ยวไปทั้งวัน ครั้นเวลาเย็น ก็หยุดยืนอยู่ที่ชายเกาะ มองดูแผ่นหิน แล้วดำริว่า บัดนี้ แผ่นหินนี้สูงกว่าเก่า เป็นเพราะเหตุอะไรหนอ?

ได้ยินว่า ประมาณของน้ำ และประมาณของแผ่นหิน พระโพธิสัตว์กำหนดไว้เป็นอย่างดีทีเดียว ด้วยเหตุนั้น จึงมีวิตกว่า วันนี้ ก็ไม่ลงและไม่ขึ้นเลย ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ หินนี้ดูใหญ่โตขึ้น จระเข้มันนอน คอยจับเราอยู่บนแผ่นหินนั้น บ้างกระมัง.

พระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักทดสอบดูก่อน คงยืนอยู่ตรงนั้นแหละ ทำเป็นพูดกะหิน พลางกล่าวว่า แผ่นหินผู้เจริญ ยังไม่ได้รับคำตอบ ก็กล่าวว่า หินๆ ถึง ๓ ครั้ง หินจักให้คำตอบได้อย่างไร?

วานรคงพูดกะหินซ้ำอีกว่า แผ่นหินผู้เจริญ เป็นอย่างไรเล่า วันนี้ จึงไม่ตอบรับข้าพเจ้า.

จระเข้ฟังแล้วคิดว่า ในวันอื่นๆ แผ่นหินนี้คงให้คำตอบแก่พานรินทร์แล้วเป็นแน่ บัดนี้ เราจะให้คำตอบแก่เขา พลางกล่าวว่า อะไรหรือ พานรินทร์ผู้เจริญ.

พระโพธิสัตว์ถามว่า เจ้าเป็นใคร?
เราเป็นจระเข้.

เจ้ามานอนที่นี่ เพื่อต้องการอะไร ?
เพื่อต้องการเนื้อหัวใจของท่าน.

พระโพธิสัตว์ดำริว่า เราไม่มีทางไปทางอื่น วันนี้ ต้องลวงจระเข้ตัวนี้. ครั้นคิดแล้ว จึงพูดกะมันอย่างนี้ว่า จระเข้สหายรัก เราจะตัดใจสละร่างกายให้ท่าน ท่านจงอ้าปากคอยงับเรา ในเวลาที่เราถึงตัวท่าน.

เพราะหลักธรรมดามีอยู่ว่า เมื่อจระเข้อ้าปาก นัยน์ตาทั้งสองข้างก็จะหลับ. จระเข้ไม่ทันกำหนดเหตุ(อันเป็นหลักธรรมดา) นั้น ก็อ้าปากคอย. ทีนั้น นัยน์ตาของมันก็ปิด. มันจึงนอนอ้าปากหลับตารอ.

พระโพธิสัตว์รู้สภาพเช่นนั้น ก็เผ่นไปจากเกาะ เหยียบหัวจระเข้ แล้วโดดจากหัวจระเข้ ไปยังฝั่งตรงข้าม เร็วเหมือนฟ้าแลบ.

จระเข้เห็นเหตุอัศจรรย์นั้น คิดว่า พานรินทร์นี้กระทำการน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก พลางพูดว่า พานรินทร์ผู้เจริญ ในโลกนี้บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมครอบงำศัตรูได้ ธรรมเหล่านั้น ชะรอยจะมีภายในของท่านครบทุกอย่าง. แล้วกล่าวคาถานี้ ใจความว่า :-

พานรินทร์ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ สัจจะ ธรรม ธิติ และจาคะ มีแก่บุคคลใด เหมือนมีแก่ท่าน บุคคลนั้นย่อมพ้นศัตรูไปได้ ดังนี้.

จระเข้สรรเสริญพระโพธิสัตว์อย่างนี้แล้ว ก็ไปที่อยู่ของตน. แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัต มิใช่เพื่อจะตะเกียกตะกายจะฆ่าเรา ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ตะเกียกตะกายเหมือนกัน ดังนี้.

.......พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก.
จระเข้ในครั้งนั้น ได้มาเป็น เทวทัต ในครั้งนี้
เมียของจระเข้ได้มาเป็น นางจิญจมาณวิกา
ส่วนพานรินทร์ คือ เราตถาคต นี้แล.


ที่มา - 84000.org

ข้อคิดจากชาดก

.....๑ . สิ่งที่คนเราต้องพยายามฝึกให้ได้คือ ความช่างสังเกตเพราะคนช่างสังเกต มักรู้ถึงความผิดปกติได้โดยง่าย จึงสามารถป้องกันเหตุร้ายได้ทันท่วงทีเสมอ แม้จะตกอยู่ในอันตราย ก็ยังสามารถเอาตัวรอดได้

.....๒ . การนั่งสมาธิให้ได้ผล ต้องฝึกตัวให้มีคุณธรรม ๔ ประการด้วย คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ



ที่มา - kalyanamitra.org



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved