ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 14/5/11 at 15:00 Reply With Quote

นิทานชาดก (เรื่องที่ 48) โมรณัจจชาดก - ชาดกว่าด้วย "ผู้ขาดหิริโอตัปปะ"


...นิทานชาดกนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ "พระพุทธเจ้า" ขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ได้บำเพ็ญพระบารมีมาในแต่ละชาติ จะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น แล้วได้ตรัสเล่าบุพกรรมเหล่านี้ ซึ่งมีมาในพระไตรปิฎกมากมายหลายเรื่อง

ในตอนนี้ จะขอนำการ์ตูนเรื่องที่ 48 มีชื่อว่า "โมรณัจจชาดก" (อ่าน..โมระณัจจะชาดก) เป็นเรื่องของ "ผู้ขาดหิริโอตัปปะ" โดยพระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น "พญานกยูง" จึงขออนุโมทนาไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

.....This story is a fable about "Buddha" While still a Bodhisat. He has to perform the prestige of each nation. Is a true story that occurred.

Then spoke told these deeds. Which in many Tripitaka on. At this will be cartoon chapters No.48 called "Moranacca Jataka" The come into the Buddha "Peacock Paya"

โมรณัจจชาดก : ชาดกว่าด้วย "ผู้ขาดหิริโอตัปปะ"



มูลเหตุที่ตรัสชาดก

....ครั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาแล้ว เวลานั้นกุลบุตรจากทุกตระกูลหลั่งไหลกันเข้าบวชในพระพุทธศาสนา เพราะสัจธรรมอันวิเศษเป็นจำนวนมาก

เช่นกันกับชายตระกูลพราหมณ์คนหนึ่ง เมื่อมีโอกาสมาฟังธรรมเทศนาก็รู้สึกสงบมีความสุขใจ จึงรอโอกาสมาบวชอยู่เช่นกัน พราหมณ์ผู้นี้มีฐานะดี กินอยู่สุขสบายจนเป็นนิจ จึงเตรียมเครื่องอำนวยความสะดวกไปใช้เป็นอย่างมาก

นอกจากเตรียมเครื่องบริขารเกินจำเป็นแล้ว ก่อนเข้าเฝ้าขออุปสมบท พราหมณ์ยังนำช่างไปก่อสร้างกุฏิ โรงครัวส่วนตัว รอไว้ครบถ้วน

เมื่อใกล้ฤดูพรรษา พราหมณ์ผู้มีนิสัยสำรวยก็ได้รับพระกรุณาเป็น "เอหิภิกขุอุปสมบท" และอยู่จำพรรษาในกุฏิใหม่ของตน ภิกษุผู้รักสบายเมื่อบวชแล้ว

นอกจากมีจีวรสวยงาม มีบริขารอุดมสมบูรณ์แล้ว ภิกษุใหม่รูปนี้ยังสั่งให้คนรับใช้ที่บ้านมาคอยบริการทั้งกลางวันกลางคืน

ความประพฤติของภิกษุสงฆ์รูปนี้ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากมายในหมู่สงฆ์ด้วยกัน ภิกษุผู้หลงในทรัพย์บริขารของตน จึงถูกนำตัวไปเฝ้าพระบรมศาสดาในธรรมสภา เพื่อให้องค์ศาสดาทรงตำหนิและให้สติเพื่อปลุกสำนึกในพระวินัยอันดี

ภิกษุใหม่เคยต่อความสุขสบายมานาน เมื่อถูกทำให้อับอายก็โกรธจนลืมตัว ถอดจีวร ถอดอังสะ ยืนอุจาดกลางที่ประชุมอย่างขาดหิริโอตัปปะ การกระทำที่น่าอับอายนี้

อุบาสกอุบาสิกาและพระภิกษุทั้งหลายในธรรมสภาต่างไม่พอใจ จึงว่ากล่าวและบริภาษอย่างรุนแรงจนต้องหนีออกจากพระเชตวันไป

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงตรัสอดีตชาติของพระภิกษุผู้ไม่ละอายขึ้นเป็นอุทาหรณ์ ใน "โมรณัจจชาดก" ดังต่อไปนี้...


เนื้อความของชาดก

....ในอดีตกาลย้อนไปแต่ครั้งต้นกัป ครั้งที่โลกยังสวยงามและอุดมสมบูรณ์ หมู่สัตว์ทั้งหลายต่างเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ล่วงเกินกล่าวร้ายกัน เช่นคนในวันนี้ ในหิมพานต์ป่าใหญ่ครั้งนั้น ยังมีพญาหงส์เป็นหัวหน้าหมู่นกทั้งปวง

คราวหนึ่งถึงเวลาการมีคู่ครองของธิดาพญาหงส์ ซึ่งเจริญวัยเป็นสาวและสวยงามกว่าวิหกใดๆ เมื่อพญาหงส์ประกาศให้นกหนุ่มๆ ทั้งหลายมาชุมนุมกันเพื่อเลือกคู่

ธิดาซึ่งเป็นสาววัยกำดัด ก็ยิ่งงดงามจนชื่อเสียงกำจรขจาย เป็นที่ใฝ่ปองของนกทั้งหิมพานต์ เมื่อเวลาผ่านไปพอสมควร ธิดาพญาหงส์ก็แสดงความพึงพอใจนกยูงหนุ่มตัวหนึ่ง

อันนกยูงนั้น มันลำพองในความงามของขนหางอยู่แล้ว ครั้นได้รับเกียรติได้รับคำเยินยอเข้า นิสัยอยากอวดก็กำเริบขึ้น นกยูงหนุ่มเชิดคอตั้ง ออกไปกลางลานโล่ง แล้วโชว์ขนหางออกลำแพน หันไปหันมา อวดของดีในตัวอย่างไม่อายใคร หันก้นไปทางโน้นทางนี้

“อุ้ย น่าเกลียดจริงๆ นกอะไรไม่รู้จักกาลเทศะเลยนะเนี่ย" พญานกเมื่อเห็นพฤติกรรมนกยูงก็ทนขัดเคืองไม่ไหว

“เธอขาด หิริ คือความไม่ละอายใจ ขาดโอตัปปะ คือความไม่เกรงคำนินทา จึงทำให้ประจานตนอย่างนี้ เธอคงไม่เหมาะที่จะเป็นคู่กับธิดาของเราแล้วล่ะ”

นกยูงถูกขับไล่ออกไป แต่บัดนั้น หงส์น้อยแสนสวย ถูกยกให้เป็นคู่กับหงส์หนุ่มที่มาเลือกคู่ด้วยความเหมาะสม ได้ครองรักกันไปจนสิ้นอายุขัย


ประชุมชาดก

ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า "นกยูง" ได้กำเนิดเป็น ภิกษุผู้ขาดหิริโอตัปปะ ส่วน "พญานก" ได้มาเป็นเราตถาคตแล.

ที่มา - dharma-gateway.com

ข้อคิดจากชาดก

บุคคลเห็นแก่ความสุขสบาย ย่อมไม่ละอายใจต่อบาป ไม่เกรงผลของความชั่ว ผลที่สุดย่อมเกิดความเดือดร้อนภายหลัง




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2041
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved