ตามรอยพระพุทธบาท

ภาพข่าว...การเดินทางไปประเทศจีน (แผ่นดินใหญ่) ครั้งที่ 2 ปี 2544
praew - 13/7/08 at 00:10

(ขอเชิญชมคลิปวีดีโอเพลงจีนประกอบดนตรี จาก oknation "คลิก" แล้วรอโหลดสักครู่ก่อน)



การเดินทาง ครั้งที่ ๒

วันที่ ๑๙ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๔


๑. วัดว่านเหนียน บนภูเขาง้อไบ้ เมืองเฉินตู
๒. หลวงพ่อโตเล่อซาน
๓. วัดเล่อซาน (วัดอูหยิว)
๔. เจดีย์ต้าเยี้ยน (พระถังซำจั๋ง) เมืองซีอาน
๕. วัดเส้าหลิน เมืองหลั่วหยาง
๖. วัดม้าขาว (วัดแห่งแรกในประเทศจีน)
๗. ถ้ำหลงเหมิน เมืองหลั่วหยาง
๘. ศาลอู่โหวฉือ หรือศาลเจ้าสามก๊ก
๙. วัดเหวินซูเยี้ยน เมืองเฉินตู
๑๐. วัดเจาเจี้ยซื่อ เมืองเฉินตู
๑๑. จตุรัสเทียนฝู เมืองเฉินตู



มณฑลเสฉวน - มณฑลเหอหนาน

เดิมทีผู้เขียนไม่ค่อยสนใจเท่าใดนัก ในการเยือนจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะถือว่าเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ในสมัยอดีต มีการปฏิวัติวัฒนธรรม ทำลายพุทธสถานที่สำคัญไปมากมาย แต่ครั้นได้เดินทางไป ซึ่งได้ประสบการณ์จากที่เล่าผ่านไปครั้งแรกนี้ จะเห็นได้ว่าสถานที่เหล่านี้ ยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์น่าเลื่อมใส

เริ่มต้นจาก หลวงพี่โอปรารภว่าอยาก จะเดินทางไปประเทศจีนอีก โดยมอบหมายให้ ผู้เขียนเป็นผู้ประสานงานกับบริษัททัวร์ แล้วได้จัดรายการที่สำคัญ คือ เลือกไปที่ ง้อไบ้โดยตัด จิ่วไจ้โกว ออกไป ทั้งๆ ที่ใครๆ ก็บอกว่าสวยน่าไป จุดต่อไปที่อยากไปมากคือ หลวงพ่อโตเล่อซานเพราะเคยเห็นรูปภาพบ่อยๆ ว่ามี การแกะสลักพระพุทธรูปบนภูเขาอยู่ริมแม่น้ำ



ยอดเขาง้อไบ้ เมืองเฉินตู

วันแรกของการเดินทาง วันที่ ๑๙ มี.ค. ๔๔ มีพระ ๒ รูป กับญาติโยมอีก ๑๘ คน รวม ๒๐ คนพอดี ออกเดินทางสู่เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน ซึ่งมีภูมิอากาศดีมีฝนตกบ่อย ว่ากันว่าปีหนึ่งจะมีโอกาสได้เห็นพระอาทิตย์น้อยมาก ส่วนใหญ่จึงมีอาชีพในการเกษตร

เมืองเฉินตูเป็นศูนย์กลางของการเดินทางทางอากาศ โดยมีเที่ยวบินติดต่อกับเมือง อื่นๆ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางเจา ซีอาน และคุนหมิง เป็นต้น เมืองเฉินตูมีวัดสำคัญ หลายแห่ง โดยเฉพาะจุดสำคัญที่พวเราจะไป กันนั่นคือ เทือกเขา เอ๋อเหม่ยซาน (เขาง้อไบ้) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของลุ่มน้ำ เสฉวน ห่างจากเมืองเฉินตูไปประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร

ตอนเช้าวันที่ ๒๐ มี.ค. ๔๔ จึงได้ออก เดินทางโดยรถโค้ชสู่เขาง้อไบ้ ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ ๓ ชั่วโมง จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นรถ บัสท้องถิ่นขึ้นสู่ยอดเขา ในระหว่างนั่งรถไล่ เลาะไปตามไหล่เขา คนขับรถได้เปิดทีวีชมเทป บันทึกภาพบนยอดเขาง้อไบ้

มีอยู่ตอนหนึ่งได้เห็นภาพแสงสีรัศมี แบบรุ้งขึ้นที่หน้าผา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ ใช่เกิดขึ้นบ่อย แต่ดูแล้วก็ไม่ได้สนใจ เพราะในใจก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าไร ถือว่าเมือง จีนเป็นดินแดนของพระโพธิสัตว์เท่านั้น ยังไม่ สำคัญเท่ากับบ้านเรา ซึ่งได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าไปแล้ว

คนขับรถบัสท้องถิ่นมีความชำนาญมาก สามารถขับรถเลี้ยวโค้งสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง ประตูเขาง้อไบ้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ วัดเป่ากัวสือ เขาเอ๋อเหมยได้ชื่อมาจากรูปทรงของตัวมันเอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคิ้ว ผู้นับถือลัทธิเต๋าได้ สร้างวัดเต๋าขึ้นที่นี่ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๒ เขานี้ จึงเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ ๑ ใน ๔ ของจีน (อู่ไถ ซาน, จิ่วหัวซาน, ผู่ถัวซาน) กล่าวกันว่าที่นี่ เคยมีอารามต่างๆ อยู่ถึง ๑๕๑ แห่ง

จากวัดเป่ากัวสือมีเส้นทางเดินขึ้นเป็น ขั้นบันได และมีกระเช้าไฟฟ้าขึ้นไปจนถึงศาลา เจียหยินเตี้ยน อยู่ระดับความสูง ๒,๖๗๐ เมตร แล้วนั่งกระเช้าไฟฟ้าต่อไปยัง ยอดจินติ่ง หรือยอดเขาทอง ความสูง ๓,๑๐๐ เมตร บริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของ วิหารทอง ทำจากโลหะสัมฤทธิ์ ถ้าอากาศดีๆ จะมองเห็นได้จากเบื้องล่าง

ในหนังสือ หน้าต่างสู่โลกกว้าง ประเทศจีน แปลโดยชุติมา ศิริสมรรถการ เล่าว่า

“ในวันที่มีสภาพอากาศดีๆ อาจมีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แปลกของเขานี้ ในช่วงที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ในจุดที่พอ เหมาะ เงาของผู้ที่อยู่บนยอดเขา จะสะท้อน อยู่บนก้อนเมฆที่อยู่ต่ำจากยอดเขาลงไป และ เงานี้มีแสงสีรุ้งล้อมรอบตัวเรา

พุทธศาสนิกชนที่จาริกมายังเขานี้ เชื่อ ว่าปรากฏการณ์นี้มีนัยเชิงสัญลักษณ์ที่สำคัญ แอบแฝงอยู่ ในอดีตผู้แสวงบุญบางคน ถึงกับ กระโดดจากยอดเขานี้ลงมา ด้วยเชื่อว่าปรากฏ การณ์ที่เห็นเป็นเครื่องชี้หนทางไปสู่นิพพาน” (ซึ่งมีคนไทยไปหลายคนแล้ว บอกว่าโอกาสที่ จะเห็นนั้นยากเหลือเกิน)


ถ่ายภาพร่วมกับเจ้าอาวาสวัดว่านเหนียน เขาง้อไบ้


หากจะเลือกเดินขึ้นบันได จะกินเวลาประมาณ ๒ วันครึ่ง เราสามารถเข้าพักและหาอาหารรับประทานได้ในอารามใหญ่ๆ ต่ำลงมา จาก ศาลาเจียหยินเตี้ย ประมาณ ๑๐ กม. เป็นที่ตั้งของ สระอาบน้ำช้าง (ซิเซียงสือ) เป็นวัดใหญ่ที่สร้างพิงกับหินใหญ่ก้อนหนึ่ง ตำนาน กล่าวไว้ว่า ช้างที่ประทับของโพธิสัตว์ สมานตะ ภาฑรา หรือ ผู่เสียน ได้มาหยุดอาบน้ำที่นี่

ถัดจากซิเซียงสือลงมา ทางลงแยกเป็น สองเส้นทาง ทางแรกเป็นทางลัดไปยัง วัดว่านเหนียน (วัดอมตะนิรันดร์) ส่วนอีกทางหนึ่ง ไปยัง ศาลาเสียงบริสุทธิ์ (ซินหยิงเก้อ) เส้นทาง นี้เต็มไปด้วยฝูงลิงที่แสนเชื่อง ป่าสน ป่าไผ่ ต้นเมลเปิล เป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่ยังมีสัตว์ป่าหายากหลายชนิด

และที่น่าสนใจและแปลกตาต่อผู้พบเห็นคือ ราวบันไดระหว่างที่ขึ้นสู่วัด จะพบเห็นแม่กุญแจที่คล้องรวมกันไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งมี คนเชื่อกันว่า ถ้าคู่รักคู่ใดที่ขึ้นสู่ยอดเขาแห่งนี้ และนำแม่กุญแจมาใส่คล้องราวบันไดร่วมกัน แล้ว คู่นั้นจะรักกันยั่งยืนนานตราบชั่วนิรันดร์

คณะของเราไม่ทราบมาก่อน จึงหากุญแจคล้องไม่ทันและจะต้องรีบไปฉันเพลในห้องอาหารบนยอดเขานี้ก่อน พอเดินออกมาใกล้ ที่จะถึง วิหารทอง บนยอดเขาจินติ่ง ได้ชี้มือให้หลวงพี่โอดูว่า ปกติบนยอดเขาสูงจะมีเมฆมาก แต่ตอนนี้เห็นก้อนเมฆม้วนกลับออกไป ตลอดเวลาจนท้องฟ้าแจ่มใส มองเห็นทิวทัศน์ ได้ไกลสุดสายตา

จึงพากันเดินไปบนศาลาทองยอดสูงสุดแห่งขุนเขาง้อไบ้ เราได้มายืนสมความปรารถนาแล้ว จึงพากันเดินชมเล่นตามอัธยาศัย ในขณะที่หลวงพี่โอกับผู้เขียนเดินเลยไปแล้ว มีโยม บอกว่าหลวงพี่กลับมาดูอะไรก่อน แล้วให้คนวิ่งไปตามหลวงพี่โอมาด้วย บริเวณนี้เป็นหน้าผาที่อยู่ต่ำกว่าวิหารทองเล็กน้อย มีราวเหล็ก กั้นอยู่เพื่อความปลอดภัย

ในระหว่างที่รอหลวงพี่โออยู่นี้ได้ยืน ก้มมองลงไปที่หน้าผาลึกสุดสายตา จะเห็นแสง สีรุ้งเป็นวงกลม แต่ยังเห็นไม่ชัดเจนเหมือน กับที่เห็นในรถบัส ในใจก็คิดไม่ถึงว่าพวกเราจะโชคดี ที่จะมีโอกาสมาเห็นกับเขาด้วย เพราะไม่ได้สนใจเท่าใดนัก

ตอนนี้สังเกตได้ว่า มีก้อนเมฆมาบังพระอาทิตย์ที่หลังตัวเรา จะส่องเอาเงาของเรา ลงไปที่หน้าผานั้นมันก็หายไป ครั้นก้อนเมฆผ่านไป แต่หมอกที่ลอยอยู่ข้างล่างไม่มี มันก็ไม่สามารถรับเงาของเราได้ นับว่าหาจังหวะได้เห็นกันยากมาก พอหลวงพี่โอมาถึงพร้อมกันหมดทุกคน จึงได้เป็นปรากฏการณ์นี้ชัดเจน แจ่มใส เหมือนกับที่เห็นในทีวีมาก่อน


หลวงพ่อโตเล่อซาน สูง ๗๑ เมตร


ทุกคนตื่นเต้นและดีใจ ต่างพนมมือไหว้ แสงสีรัศมีที่ส่องสว่างรอบเงาตัวเราเอง บางคนก็ยกมือขึ้นเงาที่เห็นก็ยกมือขึ้นด้วย อยู่ในท่ามกลางวงกลมรัศมีสีรุ้งสดสวยตระการตานั้น สักครู่หนึ่งจึงเดินลงไป ในภายหลังกลับมาจากหลั่ว หยางได้พบกลุ่มคนไทยที่เพิ่งกลับมาจากเขา ง้อไบ้เช่นกัน ทุกคนบ่นว่าข้างบนหนาวเหลือ เกิน ต้องเช่าเสื้อกันหนาว แล้วมองไม่เห็น อะไรเลย ก้อนเมฆบดบังเต็มไปหมด

พวกเราได้แต่ยิ้มนึกในใจว่า นับเป็นบุญตาที่ได้เห็นปรากฏการณ์พิเศษ หัวหน้าทัวร์ของเรา คือ คุณวิไล บอกว่าพาลูกทัวร์มาที่นี่หลาย ครั้งแล้ว เพิ่งจะได้เห็นเหมือนกัน เป็นอันว่า บุญกุศลที่เราตัดใจไม่ไป จิ่วไจ้โก นั่นเอง จึง ได้ประสบพบกับของดีเช่นนี้อย่างไม่มีวันลืม

ต่อจากนั้นก็กลับมาขึ้นกระเช้าไฟฟ้า พาแวะที่ วัดว่านเหนียน อันมีรูปปั้นของพระ โพธิสัตว์ ผู่เสียน มีช้างหกงาเป็นพาหนะ ทำ ด้วยทองเหลืองหนัก ๖๒ ตัน ชาวจีนมีความ เคารพนับถือกันมาก เจ้าอาวาสยังหนุ่มอยู่ได้ ออกมาต้อนรับ พร้อมกับอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สำคัญอันล้ำค่า ๓ อย่างของวัด มาให้พวก เราได้ชื่นชมด้วย นั่นก็คือ

๑. พระทาฏธาตุ (ฟันกราม)
๒. ตราพระราชลัญจกรของฮ้องเต้ว่านลี่
๓. พระคัมภีร์ใบลานจารึกพระไตรปิฎก

ปัจจุบันทราบว่าทางวัดจะไม่นำออกมาให้ชมกันแล้ว เพราะเป็นสมบัติของวัดมานาน เกรงจะเกิดอันตรายขึ้นได้ วัดนี้สร้างมาตั้งแต่ ราชวงศ์จิ๋น แต่เดิมชื่อ วัดไป๊สุ่ย ต่อมาฮ้องเต้ ว่านลี่ ในราชวงศ์ถัง ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดว่าน เหนียน ในโอกาสวันครบรอบ ๗๐ ปี ของ พระมารดา เพื่อให้มีอายุยืนยาว

หลังจากพวกเราได้กราบไหว้ พระทาฏธาตุ (ฟันกรามของพระพุทธเจ้า) ซึ่งได้มาจากประเทศศรีลังกามานานแล้ว จึงได้กราบไหว้ และร่วมทำบุญกับท่านเจ้าอาวาสได้เลี้ยงน้ำชา และมอบของเป็นที่ระลึกแก่ทุกคนแล้ว จึงเดินทางกลับด้วยความประทับใจ

นมัสการหลวงพ่อโต เมืองเล่อซาน

เช้าวันที่ ๒๑ มี.ค. ๔๔ ออกเดินทางสู่ เมืองเล่อซาน เมืองนี้มีอายุกว่า ๑,๓๐๐ ปี ตั้ง อยู่ที่สบน้ำ ๓ สาย คือ แม่น้ำซิงหยี แม่น้ำ หมิน และแม่น้ำต้าตู่ การชมพระใหญ่ริมหน้าผา สามารถไปล่องเรือและเดินขึ้นเขาไปก็ได้

เริ่มแรกล่องเรือชม เกาะเล่อซาน กัน ก่อน ซึ่งมีรูปพรรณคล้ายพระนอนอยู่กลางทะเล มองเห็นหลวงพ่อโตเล่อซาน ซึ่งเป็นผลงานสลักหน้าผาของ “หลวงจีนไห่ทง” บนเขาอู่หลงและเขาหลิงหยุ่น ใช้เวลาการทำงานร่วม ๙๐ ปี (พ.ศ. ๑๒๗๔ - ๑๓๔๖) สูง ๒๓๓ ฟุต เนื่องจากบริเวณนี้ถูกน้ำท่วมอยู่เสมอ ท่านจึง ได้ทำไว้เพื่อเป็นสิริมงคลและปกป้องภัยน้ำท่วม

เมื่อขึ้นจากเรือแล้ว จึงนั่งรถขึ้นสู่บนภูเขา ตรงไปที่ วัดหยิงหยุ่น สร้างสมัยราชวงศ์ถัง เจดีย์หลิงเป่าถ่า (เจดีย์จิตวิญญาณ) และ วัดอู่โหย่ว ภายในวัดมีรูปปั้นหลวงจีนไห่ทง ผู้มีความเพียรยิ่ง ภายในตัวอาคารเป็นที่ประ ดิษฐานพระศากยมุนี พระมันจูสรี และ พระ สมานตะภาฑรา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปไม้ลงทอง

เดินขึ้นข้างบนนี้มองเห็นพระพักตร์ หลวงพ่อโตได้ชัดเจน ด้านข้างขององค์พระ มีบันไดลงไปที่พระบาทด้วย พวกเราจึงได้ นำพานบายศรีไปถวายไว้ด้านล่างระหว่างพระ บาท ขณะนั้นมีฝนโปรยลงมาเป็นฝอยๆ ชั่วครู่ เดียว คุณพจมาน ที่เคยไปด้วยกันครั้งแรก ถึง กับยิ้มด้วยความปลื้มใจ



เฉินตู - ซีอาน

หลังจากนั้นก็เดินทางกลับเมืองเฉินตู ในตอนเย็นนั่งเครื่องบินภายในประเทศสู่เมือง ซีอาน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลฉานซี ตั้งอยู่หุบเขาบนฝั่งแม่น้ำเว่ย ซึ่งอยู่ห่างจากจุด ที่แม่น้ำเว่ยและแม่น้ำเหลืองบรรจบกันเพียงไม่ กี่ไมล์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการขุดค้น พบ สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้


พระเจดีย์ระฟ้า (ซีหยุนถ่า) วัดม้าขาว


ซึ่งเป็นจักรพรรดิที่ทรงรวบรวมแผ่นดิน จีนให้เข้าด้วยกันเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว เมือง ซีอานยุคนั้น เรียกว่า “เมืองฉางอาน” เช้าวันที่ ๒๒ มี.ค. ๔๔ จึงเดินทางไปชมรูปปั้นดินเผา ทหารจีนโบราณ ที่มีอยู่เป็นกองพลใต้ดินที่เพิ่งขุดพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ มีหลุมฝังศพขบวน ทหารม้าขนาดใหญ่ ทางทิศตะวันออก เป็น สุสานของจิ๋นซีฮ่องเต้ ตลอดจนอาวุธสงคราม

ตอนบ่ายได้ไปนมัสการ พระเจดีย์ต้าเยี้ยน (ห่านป่าใหญ่) ที่สร้างในช่วงต้นของ ราชวงศ์ถัง ราวศตวรรษที่ ๗ พระถังซำจั๋ง ได้ อัญเชิญพระไตรปิฎกมาจากอินเดีย เมื่อ พ.ศ. ๑๑๗๒ แล้วนำมาเก็บไว้ที่พระเจดีย์นี้ ซึ่งมี ๗ ชั้น สูง ๒๔๐ ฟุต (๗๓ เมตร) ซึ่งเป็นแหล่ง สะสมหลักฐานสำคัญประวัติศาสตร์ของจีน มี ดงศิลาจารึก ซึ่งในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ได้รวบ รวมศิลาจารึกต่างๆ ดังเช่นคราวที่พระถังซำ จั๋งจาริกไปประเทศอินเดีย เป็นต้น



ซีอาน - หลั่วหยาง

คืนนี้ต้องเดินทางไปที่สถานีรถไฟ เพื่อ เดินทางสู่หลั่วยาง ตามโปรแกรมจะต้องเป็นตู้ นอน แต่พอเวลาขึ้นไปจริง ปรากฏว่าคนเต็ม ไปหมด อย่าว่าแต่ที่นอนเลย แม้ที่นั่งยังต้อง แย่งกัน แต่ก็ต้องอดทนนั่งไป ๗ ชั่วโมงจนเช้า รถบัสก็ได้รับไปที่ วัดเส้าหลิน เมืองหลั่วหยาง


ถ้ำหลงเหมิน เมืองหลั่วหยาง


ซีอานเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ฮั่น ตะวันตก ในยุคอาณาจักรฮั่นตะวันออก ซึ่งเป็น ราชวงศ์ต่อมา เมืองหลวงได้ย้ายมาอยู่ที่เมือง หลั่วหยาง เมืองนี้มีวัดสำคัญหลายแห่ง พวกเรา ไปที่ วัดเส้าหลิน แห่งเทือกเขาซงซาน กัน ก่อน เพราะดังมาจากหนังกำลังภายใน

วัดเส้าหลินเป็นวัดเก่าแก่มานาน ผู้ก่อ ตั้งพุทธนิกายเซน คือ พระโพธิธรรม (ปรมา จารย์ตั๊กม้อ) เป็นเชื้อพระวงศ์ของอินเดียมาก่อน ในปี พ.ศ. ๑๐๗๑ กล่าวกันว่าท่านได้บำเพ็ญเพียร สมาธิบนหินก้อนหนึ่งเป็นเวลา ๑๐ ปี จึงเป็น เหตุให้มีเงาของท่านปรากฏอยู่บนหินก้อนนั้น

วัดนี้มีการฝึกลมปราณประกอบด้วยท่ารำมวยจีนไปด้วย จนเกิดกำลังภายในอย่างมหาศาล ภายในมีสถูปเจดีย์มากมาย ซึ่งเป็นที่เก็บ อัฐิของปรมาจารย์ต่างๆ ในอดีต ขณะที่เราเข้าไป ทางวัดมีการแสดงกังฟูให้ชมด้วย จากนั้น ก็เดินทางกลับมาพักที่เมืองหลั่วหยาง

วันที่ ๒๔ มี.ค. ๔๔ ออกเดินทางไป ไหว้พระกันต่อที่วัดม้าขาว (ไป่หม่าซื่อ) ถือ เป็นวัดแรกที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศจีน สร้าง ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๖๑๑ ทางตะวันออกของเขตวัด คือ เจดีย์ระฟ้า (ซีหยุนถ่า) สมัยราชวงศ์ซ่ง

หลังจากนั้นได้ไปชมแหล่งวัฒนธรรม สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่มีประวัตินานกว่าพันปีมี ชื่อว่า หลงเหมินซึคู หรือ ประตูมังกร ที่ใช้แรงงานมากมายในการแกะสลักหินผา ทั้งใน และนอกถ้ำให้เป็นภาพต่างๆ กว่า ๑ แสนภาพ มีทั้งภาพประวัติศาสตร์และภาพที่เกี่ยวกับพระศาสนาที่มีแต่โบราณ บริเวณที่มีการแกะสลักนี้ มีความยาวต่อเนื่องถึงกว่า ๑,๑๐๐ เมตร

ถ้ำประวัติศาสตร์นี้ อยู่ห่างจากตัวเมือง ไปทางใต้ประมาณ ๑๓ กม. สร้างขึ้นในราว ศตวรรษที่ ๕ - ๗ เป็นที่ตั้งของเจดีย์กว่า ๔๐ องค์ พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดมีความสูง ๑๗ เมตร ส่วนองค์เล็กที่สุดสูงเพียงไม่ถึง ๑ นิ้ว ส่วนที่สวยเด่นที่สุดก็คือ พระพุทธรูปประทับ นั่ง จีวรคลุมไหล่ทั้งสองข้าง มีผู้เล่ากันว่า พระนางบูเช็กเทียน รับ สั่งให้ช่างแกะสลักพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้ ให้เหมือนพระพักตร์ของพระนาง ด้านข้างแกะสลักเป็นรูปพระโพธิสัตว์และองครักษ์ แห่งสวรรค์ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๑๒๑๙ ในรัชกาล จักรพรรดิเกาจง แห่งราชวงศ์ถัง

ออกจากที่นี่แล้วก็ได้ไปชม เขื่อนตู้เจียง เยี่ยน ซึ่งเป็นเขื่อนชลประทานแห่งแรกของโลก ซึ่งสร้างขึ้นด้วยแรงงานของมนุษย์ในอดีตยุค ของ จิ๋นซีฮ่องเต้ เมื่อสองพันปีก่อน ในสมัยราชวงศ์เจ้ากั๋ว โดยเจ้าเมืองเสฉวนชื่อ หลีปิง ปัจจุบันนี้ยังใช้งานได้อยู่

ต่อจากนั้นก็ไปเที่ยว ศาลอู่โหวฉือ หรือื ศาลเจ้าสามก๊ก ภายในศาลเจ้ามีรูปปั้น เล่าปี่ ขงเบ้ง กวนอู เตียวหุย พร้อม ๑๔ ทหารเอก และ ๑๔ เสนาบดีของเล่าปี่ สุสานของเล่าปี่ และมเหสี ๒ องค์ ใครที่อ่านเรื่อง “สามก๊ก” คงพอจะรู้เรื่องได้ดีนะ



ร่วมทำบุญบูรณะพระเจดีย์ พร้อมกับถ่ายรูปร่วมกับเจ้าอาวาสวัดเจาเจี้ยซื่อ

ครั้นได้เยี่ยมชมเรียบร้อยแล้ว จึงเดินทางต่อไปที่ วัดเหวินซูเยี้ยน (วัดเป่ากวง) เป็นวัดที่สำคัญในเมืองเฉินตู เพราะเป็นที่ประชุมทำสังคายนาพระไตรปิฎกฝ่ายมหายาน ภายใน วัดมีพระพุทธรูปหยกที่แกะสลักมาจากพม่า จากนั้นก็ได้ไปที่ วัดเจาเจี้ยซื่อ สร้างมา ไม่นานแต่เป็นวัดใหญ่ ทางวัดกำลังบูรณะพระเจดีย์เหล็ก จึงได้ร่วมทำบุญกับเจ้าอาวาส แล้วไปเที่ยวชม สวนสัตว์หมีแพนด้า แห่งมณฑล เสฉวน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของหมีแพนด้าฝาแฝด ๑ คู่ ต่อจากนั้นก็ไปชม “จตุรัสเทียนฝู” เป็นอันจบรายการเดินทาง ครั้งที่ ๒ นี้ ฯ

คลิก..ติดตามการเดินทาง ครั้งที่ 3 http://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=446