ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 11/2/08 at 14:18 Reply With Quote

ข่าวศูนย์สงเคราะห์ ฯ (ธัมมวิโมกข์ กุมภาพันธ์ 2551) "เว็บตามรอยพระพุทธบาท"


ข้อมูลจาก..ธัมมวิโมกข์ ฉบับ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
"จามร, วิชชุดา" รวบรวม


เจ้าหน้าที่ศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ ๙
(ตั้งเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๑) จะออกแจกของแก่ราษฎรผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดารอีกครั้งหนึ่งในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ที่โรงเรียนกุยต๊ะ ต. แม่จัน อ. อุ้มผาง จ. ตาก

ในการที่พระครูปลัดอนันต์ ตกลงใจไปแจกสิ่งของ ณ ที่นี้ ก็สืบเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
ได้มาขอความช่วยเหลือให้ทางศูนย์สงเคราะห์ฯ จัดหากล้องตรวจเชื้อมาเลเรีย ซึ่งประชาชนแถวชายแดน อ. อุ้มผาง
เป็นไข้มาเลเรียกันมาก บางคนรักษาไม่ทันก็ถึงแก่ชีวิต พระครูปลัดอนันต์ก็จัดหาให้ ๓ เครื่อง มูลค่า ๑ แสนห้าหมื่นบาท เมื่อก่อนวันเข้าพรรษา

ต่อมาก็ได้รับทราบข่าวจาก ดร.ปริญญา นุตาลัย ซึ่งได้รับข้อมูลมาจากเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
ที่ทำงานอยู่ในชายแดน อ. อุ้มผาง บอกเล่าถึงความยากจนของราษฎรในท้องที่นี้ พระครูปลัดอนันต์ทราบแล้ว
จึงมีความสนใจจะไปแจกของ

เมื่อวันที่ ๒๔ - ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๐ หลังจากจัดงานธุดงค์เสร็จแล้ว พระครูปลัดอนันต์จึงให้พระเจ้าหน้าที่
และเจ้าหน้าที่ของศูนย์ ฯ ไปสำรวจพื้นที่ ต. แม่จัน อ. อุ้มผาง จ. ตาก ให้พิจารณาดูความยากจนและความต้องการ
ของราษฎรอย่างแท้จริง เมื่อพระเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ กลับมาแล้ว ก็รายงานให้พระครูปลัดอนันต์ทราบ
มีรายละเอียดดังนี้

ราษฎรที่ไปสำรวจแล้วและสมควรที่ได้รับของแจกในครั้งนี้เป็นชาวกะเหรี่ยงพุทธ เป็นผู้ที่มีความรักธรรมชาติยิ่งกว่าชีวิต พวกนี้ถือว่าต้นไม้มีความสำคัญต่อชีวิต ไม่ยอมตัดต้นไม้กันง่าย ๆ มี จำนวน ๑,๘๒๔ คน ๕๔๘ ครอบครัว ๗ หมู่บ้าน คือ

๑. บ้านกุยเลอตอ ๔๐๕ คน ๑๓๕ ครอบครัว หมู่ ๖

๒. บ้านกุยต๊ะ ๔๓๒ คน ๘๔ ครอบครัว หมู่ ๕

๓. บ้านกุยเคล๊อะ ๒๑๓ คน ๗๑ ครอบครัว หมู่ ๕

๔. บ้านหม่องกั๊ว ๒๒๕ คน ๗๕ ครอบครัว หมู่ ๗

๕. บ้านพอกะทะ ๒๓๔ คน ๗๘ ครอบครัว หมู่ ๗

๖. บ้านมอทะ ๒๐๗ คน ๖๙ ครอบครัว หมู่ ๗

๗. บ้านไกบอทะ ๑๐๘ คน ๓๖ ครอบครัว หมู่ ๗

รวม ๑,๘๒๔ คน ๕๔๘ ครอบครัว

นอกจากราษฎรที่ยากจนแล้วยังมีนักเรียน ๘ โรงเรียนที่ควรให้การสงเคราะห์ คือ


๑. ร.ร. กศน. กุยต๊ะ จำนวน ๑๓๒ คน

๒. ร.ร. กศน. กุยเคล๊อะ จำนวน ๘๐ คน

๓. ร.ร. กศน. พอกะทะ จำนวน ๘๔ คน

๔. ร.ร. ตชด. หม่องกั๊ว จำนวน ๒๖๗ คน

๕. ร.ร. กศน. ยูไนท์ จำนวน ๘๐ คน

๖. ร.ร. กศน. กรูโบ จำนวน ๘๐ คน

๗. ร.ร. กศน. ตะละโค่ง จำนวน ๗๐ คน

๘. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกุยต๊ะ จำนวน ๔๐ คน


นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่อีกหลายหน่วยงานที่ควรให้การสงเคราะห์ คือ

ครู มี ครูชาย ๑๑ คน, ครูหญิง ๑๒ คน
หมอตำแย ผู้ทำคลอดให้แก่ผู้หญิงที่มีครรภ์แก่ (ซึ่งชาวบ้านยังนิยมหมอตำแยอยู่) มี ๙ คน
เจ้าหน้าที่อบต. ที่ให้การช่วยเหลือชาวบ้านเป็นอย่างดี มี ๑๕ คน
ทหาร มี ๑ หมวด (๑๕ นาย) เป็นทหารจากค่ายจิรประวัติ เข้าไปปฏิบัติหน้าที่พัฒนาความยากจนของชาวบ้านผู้ยากจนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
เจ้าหน้าที่ป่าไม้ คอยสำรวจดูแลป่าในยามคำคืนร่วมกับชาวบ้านอาสาสมัคร มี ผู้ชาย ๕ คน
เจ้าหน้าที่หน่วยงานสืบ นาคะเสถียร ทำงานใกล้ชิดกับชาวบ้านดีมาก ให้ชาวบ้านรู้จักรักป่า และดูแลป่า มี ชาย ๑ คน หญิง ๒ คน
เจ้าหน้าที่อนามัย ให้การช่วยเหลือชาวบ้านและรักษาชาวบ้านยามเจ็บป่วย มี ชาย ๗ คน หญิง ๒ คน
รวม เจ้าหน้าที่ ชาย ๕๔ คน เจ้าหน้าที่หญิง ๓๖ คน รวมทั้งหมด ๙๐ คน

พระครูปลัดอนันต์รับทราบแล้วก็ให้จัดสิ่งของที่จำเป็นคือ เกลือ ให้แจกมากกว่าข้าวสาร และการแจกครั้งนี้ให้แจกเฉพาะครอบครัว ไม่แจกทุกคนเหมือนที่แล้วมา แต่ครอบครัวใดมีสมาชิกในครอบครัวหลายคนให้มารับของ ๓ คน เพราะของเรามีแจกเยอะ กลัวจะเอาไปไม่หมด สิ่งของที่จะนำไปแจกในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ มีดังนี้

๑. ข้าวสาร จำนวน ๘,๒๒๐ ก.ก (๘.๒๒ ตัน) สั่งซื้อ ๑๐ ตัน

๒. เกลือ จำนวน ๑๐,๙๖๐ ก.ก (๑๐.๙๖ ตัน)

๓. น้ำปลา จำนวน ๔๔ แกลลอน

๔. น้ำมันพืช ขวดละ ๒ ลิตร จำนวน ๓๘ ขวด กับ ๑๒ กล่อง

๕. เสื้อผ้า ชาย ๕๔๘ ชุด เสื้อผ้า หญิง ๕๔๘ ชุดเสื้อผ้า เด็กชาย ๓๖๔ ชุด เสื้อผ้า เด็กหญิง ๓๖๔ ชุด

๖. เสื้อกันหนาว ผู้ใหญ่ ๑,๐๙๖ ตัว เสื้อกันหนาว เจ้าหน้าที่ ๙๐ ตัว เสื้อกันหนาวเด็ก ๗๒๘ ตัว

๗. หมวกไหมพรม ผู้ใหญ่ ๑,๐๙๖ ใบ หมวกไหมพรม เด็กชาวบ้าน ๗๒๘ ใบ หมวกไหมพรม เจ้าหน้าที่ ๙๐ ใบ

๘. สบู่ - ยาสีฟัน - แปรงสีฟัน ของผู้ใหญ่อย่างละ ๑ ชุด รวม ๑,๐๙๖ ชุดของเจ้าหน้าที่๙๐ ชุด

๙. มาม่า มอบให้ราษฎร ๑,๘๒๔ คน ๆ ละ ๕ ซอง รวม ๙,๑๒๐ ซอง มอบให้นักเรียน ๘ โรงเรียน ๆ ละ ๒ กล่อง รวม ๑๖ กล่อง (๔๘๐ ซอง) มอบให้เจ้าหน้าที่ หน่วยต่าง ๆรวมทั้งสิ้น ๑๐,๕๕๕ ซอง (๗๐๔ กล่อง)

๑๐. ปลากระป๋อง ให้เป็นครอบครัว ๆ ละ ๕ กระป๋อง มอบให้โรงเรียน ๘ โรงเรียน และเจ้าหน้าที่หน่วยต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๔,๑๙๐ กระป๋อง

๑๑. ปลาร้า มอบให้ครอบครัวละ ๑ ก.ก

๑๒. ยารักษาโรค จัดให้อนามัย ๗ แห่ง คือ อนามัยหม่องกั๊ว ๑ ชุด

อนามัยกุยต๊ะ ๑ ชุด

อนามัยแม่จันทะ ๑ ชุด

อนามัยเลตองคุ ๑ ชุด

อนามัยตะละโค่ง ๑ ชุด

อนามัยกรูโบ ๑ ชุด

มอบให้ ร.ร. กศน. พอกระทะ ๑ ชุด มอบให้ท่าน สจ. บุญยืน ไปทำปจว. เพื่อมอบให้แก่อนามัยหนองหลวง ๑ ชุด
ยาสามัญประจำบ้าน มอบให้ทหาร หมอตำแย หน่วยป่าไม้ ครู หน่วยงานสืบ นาคะเสถียร รวมทั้งสิ้น ๕๕ กล่อง


๑๓. อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน และหนังสือเรียน ชั้น ป.๑ - ป.๖ มอบให้โรงเรียน ๗โรงเรียน ๆ ละ ๑ ชุด

๑๔. อุปกรณ์กีฬา มอบให้โรงเรียน ๗ โรงเรียน ๆ ละ ๑ ชุด (เป็นลูกฟุตบอล ๒ ลก ูและ ตะกร้อ ๒ ลูก)

๑๕. มุ้ง ให้เป็นครอบครัว ๆ ละ ๑ หลัง มี ๕๔๘ ครอบครัว รวม ๕๔๘ หลัง มอบหน่วยงานสืบ นาคะเสถียรเป็นของส่วนกลาง ๑๐ หลัง (และมอบเทียนไขเพื่อใช้ในภาคสนามออกป่าอีกด้วย)

๑๖. ของเล่นสำหรับเด็กชาวบ้าน

๑๗. รองเท้าทุกชนิด

๑๘. เครื่องกรองน้ำดื่ม มอบให้โรงเรียน ๗ โรงเรียน และมอบให้ ร.ร.กศน. เลตองคุ ๑ เครื่อง

๑๙. ชุดนักเรียน มอบให้ ๑ โรงเรียน คือ คือ ร.ร. ตชด. หม่องกั๊ว

๒๐. ผ้าห่ม มอบให้ หน่วยงานสืบ นาคะเสถียร

๒๑. เครื่องครัว สำหรับทำอาหารกลางวัน มอบให้ ๗ โรงเรียน ๆ ละ ๑ ชุด มี

หม้อเบอร์ ๕๐

หม้อเบอร์ ๔๐

กะทะ เบอร์ ๒๔ตะหลิว - กระบวย

๒๒. นมกล่อง มอบให้เด็กชาวบ้าน รวม ๗๒๘ คน

๒๓. ธงชาติ - ธงธรรมจักร มอบให้ ๘ โรงเรียน ๆ ละ ๒ ผืน รวม ๑๖ ผืน



นอกจากบริจาคสิ่งของแล้วยังให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่ คือ
๑ . สนับสนุนหน่วยงานของทหารค่ายจิรประวัติที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่พัฒนาความยากจนของชาวบ้านผู้ยากจนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพร ะเจ้าอยู่หัวฯ ในขั้นต้นนี้แนะนำชาวบ้านเรื่องการปลูกผักในแปลง เพื่อไว้กินและขายได้ แนะนำเรื่องการทำปุ๋ยหมักแก่ชาวบ้าน โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ทางศูนย์ ฯ ก็ให้การช่วยเหลือเรื่องเมล็ดพันธ์ผัก และอุปกรณ์ทำสวน คือ จอบ พลั่ว มีดดายหญ้า

๒. ที่โรงเรียนกศน.บ้านพอกระทะ ของครูไก่ แนะนำเรื่องการทอเส้นไหม แล้วให้ชาวบ้านนำไปทอที่บ้าน แล้วนำผ้าไปจำหน่ายใน อ.อุ้มผาง ให้กับนักท่องเที่ยว เป็นการกระจายรายได้เข้าชุมชน ทางศูนย์ฯ ได้ให้การสนับสนุนโรงย้อมที่มีมุ้งกันแดดฝน ใช้งบประมาณ ๑๕,๐๐๐ บาท

๓. ธนาคารข้าว ของชาวบ้านฤาษีหม่องกั๊วะ ผู้รักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ชาวบ้านจะนำข้าวและผลผลิตมารวมกันแล้วเก็บไว้ในยามขาดแคลน เมื่อไม่พอกิน จึงมายืมส่วนกลางไปใช้ เมื่อมีผลผลิตแล้วจึงนำกลับมาคืน

๔. ธนาคารเกลือ ที่บ้านกรูโบ ที่นี่ขาดแคลนเกลือมาก ทางศูนย์ ฯ บริจาคเกลือให้ ๑ ตัน เพื่อให้ชาวบ้านยืมไปใช้ แล้วมาใช้คืนภายหลัง ทั้งนี้ให้คนในหมู่บ้านควบคุมดูแลกันเอง

๕. ธนาคารน้ำเกลือ ไอโอดีน ที่บ้านตะละโค่ง อันนี้ชาวบ้านที่นี่ก็ขาดแคลน ทางศูนย์ฯก็ให้การช่วยเหลือ



การไปแจกของครั้งนี้เมื่อลูกศิษย์ลูกหลานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ทราบข่าว ก็ให้การสนับสนุนเรื่องการเงินและสิ่งของ ขอนำรายชื่อประกาศโมทนาให้ทราบ ดังนี้
๑. พระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ศูนย์สงเคราะห์ฯ ตอนไปสำรวจได้เห็นนักเรียนขาดแคลนน้ำ เนื่องจากนำไหลไม่พอใช้ จึงร่วมกันบริจาคเงิน จำนวน ๑๖,๕๐๐ บาท เพื่อเดินท่อนํ้าประปาภูเขา ระยะทาง ๕๐๐ เมตร ใช้ท่อ ๒" เดินต่อจากถังนํ้าคอนกรีตของ ชาวบ้าน ที่มีอยู่แล้วเข้า ร.ร.กุยต๊ะ ใช้ท่อ ๑ " เดินจาก ร.ร.กุยต๊ะ เป็นท่อ ๑.๕ " กระจายตามจุดต่าง ๆ ในโรงเรียน สถานที่โรงเรียนกุยต๊ะ มีสนามกว้างขวาง เหมาะที่จะเป็นจุดแจกของ แต่พิจารณาดูแล้ว ถ้าพวกเราเดินทางไปกันมาก ห้องน้ำห้องส้วมไม่พอใช้ จึงร่วมใจกันบริจาคเงินทำห้องน้ำอีก

๒. ผู้บริจาคร่วมทำบุญช่วยสร้างห้องน้ำ ใน ร.ร.กุยต๊ะ ๒ จุด รวม ๘ ห้อง มีดังต่อไปนี้
พระนิติ ๑ ห้อง เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท
พระสมนึก-พระสำออย ๑ ห้อง เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท
พระพิษณุ-พระอิศเรศ ๑ ห้อง เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท
คณะหมอชุดสำรวจ พ.ท. ๑ ห้อง เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท
คณะแม่ครัวชุดสำรวจ พ.ท. ๑ ห้อง เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท
พระทองหล่อ ๑ ห้อง เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท
คุณป้อมและคณะ กทม. ๑ ห้อง เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท
พระประทีป-พระบุญมา ๑ ห้อง เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท
พระสุรเชษฐ์ สีลเตโช ๕๐๐ บาท
พระอาจินต์ และคณะ ๑ ห้อง (แยกรายละเอียด)

๓. พระใบฎีกาประทีป บริจาคถังพักนํ้า ขนาด ๒,๐๐๐ ลิตร จำนวน ๑ ใบ ราคา ๗,๘๐๐ บาท

๔. รายชื่อผู้ร่วมทำบุญค่ารถและค่าอาหาร ที่ไปสำรวจพื้นที่แจกของของศูนย์สงเคราะห์ ฯ มีดังต่อไปนี้
คุณเปี๊ยก และคุณยุวดี ๓,๐๐๐ บาท
คุณปรานอม จ.ราชบุรี ๒,๒๐๐ บาท
คุณนงลักษณ์ ๒,๐๐๐ บาท
คุณตุ๋ย ประเทศเยอรมัน ๒,๐๐๐ บาท
คุณนิด จ.โคราช ๓๐๐ บาท

๕. รายชื่อผู้บริจาคท่อนํ้า - ถังน้ำ - ห้องน้ำ ที่ ร.ร.บ้านกุยต๊ะ และ ร.ร.บ้านพอกะทะ มีดังต่อไปนี้
พระครูสมุห์พิชิต และคณะทองจุนพึ่งพระเกียรติ อดิศา หุ่นอารักษ์ ๒๐,๐๐๐ บาท
คุณพงษ์พันธ์ เจียมจันทร์คุปต์ ๑๐,๐๐๐ บาท
พระภูรินทร์ ๘,๕๐๐ บาท
เฮียกวง ๘,๑๐๐ บาท
พระอนุชิต ๖,๔๐๐ บาท
คุณทิพย์ ๖,๐๐๐ บาท
พระธวัช ๔,๓๐๐ บาท
พระบุญมา ๒,๔๐๐ บาท
พระสมนึก ๒,๔๐๐ บาท
พระมหาสุรสิทธิ์ ๑,๔๐๐ บาท
พระอนุชิต และพระมงคลเวทย์ ๑,๔๐๐ บาท
หมอเล็ก ๑,๔๐๐ บาท
พระสุรเชษฐ์ ๑,๒๐๐ บาท
พระชาญชัย ๑,๐๐๐ บาท
พระวันชัย ๑,๐๐๐ บาท
พระวารีสมบูรณ์ ๗๐๐ บาท
พระธวัชชัย ๕๐๐ บาท
พระธีระ ๕๐๐ บาท
พระเอกชัย (๒) ๕๐๐ บาท
พระอวยพร ๕๐๐ บาท
พระวิเชียร (๑) ๓๐๐ บาท
คุณสุขสันต์ ๒๘๐ บาท

๖. คุณสุขขา อ่อนจิตต์ และ คุณสุมาลี อนันต์พลังใจ บริจาคเงินสร้างโรงย้อมผ้า ร.ร.บ้านพอกะทะ เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท

๗. ผู้บริจาคร่วมทำธนาคารข้าวเปลือก มีรายนามดังนี้

คุณสุดา เสริมศรี ๔,๐๐๐ บาท
คุณสุมาลี อนันต์พลังใจ ๔,๐๐๐ บาท
คุณนิวัฒน์-จิตรอนงค์ พฤกษ์องค์วาน ๔,๐๐๐ บาท
คุณณชญาดา ชูชัยศรี (อุ้ย) ๔,๐๐๐ บาท
คุณโกวิทย์ โชติรัตนากุล และครอบครัว ๔,๒๐๐ บาท
ไม่ประสงค์ออกนาม ๔,๐๐๐ บาท
ไม่ประสงค์ออกนาม ๔,๕๐๐ บาท
ครอบครัวร้านยงค์อรุณและร้านยงสวัสดิ์นนทบุรี ๔,๐๐๐ บาท
๘. รายชื่อผู้บริจาคเงินช่วยทำห้องน้ำ-ถังพักน้ำ ๒,๐๐๐ ลิตร และอุปกรณ์ต่อท่อน้ำประปา
มีดังนี้

พระอาจินต์ ธมฺมจิตฺโต ๑,๐๐๐ บาท
คุณนิด และคุณแม่ ๑๐,๐๐๐ บาท
คณะลูกแม่ตุ๋ย กม.๒๗ ๘,๐๐๐ บาท
คณะศิษย์ กม.๒๗ ๓,๑๐๐ บาท
คณะคุณหมวยใหญ่ ๒,๒๓๐ บาท
คุณน้ำฝน แซ่ลิ่ม ๒,๐๐๐ บาท
คุณภัชลี ศรีเมือง ๒,๐๐๐ บาท
ครอบครัวเป็งทอง, ครอบครัวแย้มสำรวล,ครอบครัวสร้องทอง, ครอบครัวกระสันต์ ๑,๑๐๐บาท
แม่ค้าตลาดนัดเจริญสิน ๑,๐๖๑ บาท
พระสุรเชษฐ์ สีลเตโช ๒๐๐ บาท
คุณวิไล หีบพร ๒๐๐ บาท
คุณวิชชุดา ชัยกูล ๑๐๙ บาท
๙. คุณพรทิพย์ พวงภู่ และเพื่อน ๆ ร่วมกันหาเงินซื้อสิ่งของบริจาค มีรายการดังนี้
มาม่า ๒,๓๔๐ ซอง
น้ำปลา ๑ กล่อง
น้ำส้ม ๑ ถุง
ถังพลาสติก ๓๐๐ ใบ
ขันนํ้าพลาสติก ๒๐๐ ใบ
ยาสามัญประจำบ้าน ๓๐๐ กล่องเล็ก
ข้าวสาร ๕ กระสอบ ๆ ละ ๕๐ ก.ก. รวม ๒๕๐ ก.ก.
น้ำปลา ๑ ถุง
ปลากระป๋อง ปลากรอบ ๑ ถุง
เสื้อกันหนาวผู้ใหญ่ ๖๐ ตัว

ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง


๑๐. คุณทองพูน ศรีวรนาถ เจ้าของนาเกลือ บริจาคเกลือ จำนวน ๑๔ ตัน ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง
๑๑. คุณมาลินี โชติเลขา บริจาคมาม่า ๒๐๐ หีบ (หีบละ ๑๘๐ ซอง) ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง
๑๒. แม่ชี...จาก จ. ชัยภูมิ บริจาคปลาร้า ๖๐๐ ก.ก. ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง
๑๔. คุณพรทิพย์ พวงภู่ และพี่ ๆ เพื่อน ๆ บริจาคนมกล่องสำหรับเด็ก ๗๒๘ คน ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง
๑๕. อาจารย์บุปผาชาติ พงษ์ประดิษฐ์ บริจาคธงชาติและธงธัมมจักร ๑๖ ผืน

ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง


นอกจากนี้ยังมีผู้บริจาคเงินเพื้อซื้อขาวสาร และมุ้งที่บ้านซอยสายลมกับพระครูปลัดอนันต์ (รายการนี้ไม่ได้จดชื่อไว้) ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง

จนถึงบัดนี้สิ่งของต่าง ๆ ที่เตรียมไปแจกได้จัดหาเกือบครบแล้ว ถ้าหากท่านผู้ใดต้องการบริจาคเพิ่มเติม โปรดติดต่อสอบถาม พระอนุชิต (พระต้อม) โทร. ๐๘๑๘๘๙๐๖๐๖ ถ้าต้องการบริจาคเงิน โปรดบริจาคได้ที่ พระครูปลัดอนันต์ เจ้าอาวาส

เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พระเจ้าหน้าที่ ของศูนย์ ฯ ๔ องค์ มี พระสมนึก พระอนุชิต พระพิษณุ พระมงคลเวทย์ และ จ่าตุ๋ย ได้เดินทางไปดูงานที่สั่งทำห้องน้ำไว้ และติดต่อรถเพื่อไปรับของที่แม่สอด

ขอแจ้งให้ท่านที่จะติดตามไปร่วมแจกของกับทางศูนย์สงเคราะห์ทราบว่า เส้นทางไปคราวนี้ค่อนข้างจะลำบากมากกว่าทุกครั้งที่ไปแจกมา เส้นืางจากแม่สอดถึงอุ้มผาง ระยะทาง ๑๖๙ ก.ม. แต่ต้องวิ่งลัดเลาะไปตามภูเขา ผ่านโค้ง ๑๒๑๙ โค้ง จากอุ้มผางก็ต้องวิ่งเข้าไป ต. แม่จัน อีก ๘๔ ก.ม. เส้นทางช่วงหนึ่ง ระยะทาง ๑๒ ก.ม. ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อมาก เมื่อเลี้ยวเข้าหมู่บ้านไปจุดแจกของ ระยะทาง ๔ ก.ม. ก็เป็นทางดิน ไม่ใช่ทางลูกรัง ผ่านป่าไม้ไผ่ขึ้นๆ ลง ๆ

รถที่ควรนำไปต้องตรวจสอบสภาพรถให้ดี ชุดสำรวจไปมาเกือบยางระเบิดเพราะเบรคจวนจะไหม้ต้องจอดรีบเอาน้ำราด ถ้าไปรถตู้ไม่ควรนั่งแถวหลังสุด เพราะจะเวียนหัวมาก และควรจอดที่ตัว อ. อุ้มผางแล้วเช่ารถสองแถวเข้าไปที่จุดแจกของ เพื่อถนอมรถ ถ้าจะไปพักค้างคืนควรเตรียมเสื้อผ้าป้องกันความหนาวไปด้วย เพราะอากาศเย็นกว่าทางภาคกลาง
ขอโมทนาทุก ๆ ท่านที่ร่วมแรงร่วมใจและมีความเสียสละทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ช่วยงานศูนย์สงเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง เป็นมหาทานอย่างยิ่งที่ได้ช่วยคนให้พ้นจากความทุกข์ คงจำกันได้ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพูดไว้ว่า.....

"....ถ้าพวกลูกๆยังรักษาปฏิปทาสาธารณประโยชน์และรักษาอภิญญสมาบัติไว้ได้
ก็ชื่อว่าพ่ออยู่ใกล้ลูกตลอดเวลา ลูกไปไหน ชื่อว่าพ่อไปด้วย ช่วยลูกทุกประการ...."


:D:D:D:D:D




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2042
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved