ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 17/4/08 at 17:30 Reply With Quote

เพราะเหตุใด..จึงมี "บั้งไฟพญานาค" ในวันออกพรรษาทุกปี (ตอนที่ 22)


(Update 4 ต.ค. 51)

« | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
| 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | »


ตอนที่ 22

รายการ "สารคดีแม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต" ตอนที่ 10




สารคดีแม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต

ตอนที่ 10 เทศกาลแข่งเรือ

ออกอากาศเมื่อ : 2008-07-07



"........เมื่อตอนที่แล้วได้เล่าเรื่องที่ "พ่อท้าวคำบาง" และพระมเหสี ทั้งสองมีความยินดี จึงให้เสนาอำมาตย์จัดการพิธีสมโภช ยกบุรีจันทร์ อ่วยล้วย เป็น "เจ้าบุรีจันทร์" พร้อมทั้งมอบบ้านเมืองให้ครอง โดยมี เทวดามัจฉนารี รักษาเจ้าบุรีจันทร์ และข้าทาสบริวาร แล้วให้บอกกล่าวแก่ เงือก งู ที่เป็นบริวาร ไม่ให้ทำร้ายแก่ผู้ใด ให้พากันรักษาพระพุทธศาสนา บ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ รักษากงจิตแก้วของพระพุทธเจ้าไว้

..........ฝ่าย พญาสุวรรณนาคราช ได้รับคำสั่งดังนั้นจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงแต่งตั้งให้นาค 4 ตัว คอยดูแลเมือง ราษฎรควรทำโทษจึงทำ โดยมี กายโลหนาค เอกจักขุนาคราช สุคันธนาคราช และ อินทจักขุนาคราช โดยมี เทวดาอินผยอง และ เทวดาสวาสนิท เป็นผู้เที่ยวตรวจดูตามตำบลต่าง ๆ เมื่อเห็นคนกระทำให้บอกแก่นาคทั้ง 4 เป็นผู้ตัดสินลงโทษ

ครองเมืองอย่างเป็นธรรม

เมื่อเจ้าบุรีจันทร์ อ่วยล้วย ได้ครองเมือง ก็ให้กรุบ่อน้ำด้วยไม้ประดู่ แล้วสร้างมณฑลครอบไว้ สร้างสะพานจากพระนคร ข้ามบึงไปถึงบ้านเดิมที่ร่องสะแกริมหนองคันแทเสื้อน้ำ แล้วสร้างวัดขึ้นชื่อ วัดสวนอ่วยล้วย สร้างวิหารอีก 2 หลังถวายพระอรหันต์ป่าใต้ และป่าเหนือ ต่อมาวัดแห่งนี้ ท่านมหาพุทธวงศา ได้นำพระธาตุอรหันต์มาบรรจุไว้ ปัจจุบันชื่อว่า วัดโศกป่าหลวง ในเวียงจันทน์

ในครั้งพุทธกาล ได้มี พระมหากัสสปะเถระ ได้เข้ามาประกาศศาสนาในแคว้นนี้ แล้วนำเอา พระพุทธอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า คือ พระธาตุพนม ไว้แล้วกลับสู่เมืองราชคฤห์ ต่อมาได้พิจารณาเห็นสามเณร 3 องค์ ตั้งอยู่ในคำสอน มีความเพียรในการทำสมถะวิปัสสนา เมื่อสามเณรทั้ง 3 ได้อุปสมบทแล้ว ก็ไก้สำเร็จพระอรหันต์ คือ พระพุทธรักขิต พระธรรมรักขิต พระสังฏรักขิต ทั้ง 3 ได้ออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาในแคว้นนี้ จนมีลูกศิษย์เกิดขึ้น 5 องค์ คือ พระมหารัตนะเถระ มหาสุวรรณปราสาท จุลสุวรรณปราสาท สังขวิชัยเถระ

เมื่อลูกศิษย์ตามไปเมืองราชคฤห์ ก็นำเอาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้ากลับคือ พระบรมธาตุหัวเหน่า 29 องค์ มาประดิษฐานไว้ที่เขาลวง (พระธาตุบังพวน) พระบรมธาตุฝ่าพระบาทขวา 9 องค์ บรรจุไว้ที่เมืองหล้าหนองคาย (พระธาตุกลางน้ำ) พระธาตุเขี้ยวฝาง 7 องค์ แบ่งประดิษฐานไว้ที่ โพนจิกเวียงงัว 3 องค์ (พระธาตุบุ บ้านโคกป่าฝาง) และบรรจุไว้ที่หอแพ (เวียงจันทน์) แต่ก่อนที่พระอรหันต์ทั้ง 5 จะนำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานได้อธิษฐานว่า

"หากพระบรมธาตุ จะสถิตย์อยู่ที่ภูเขาลวงนี้ตลอด 5,000 พระวรรษา ขอแผ่นดินจงแยกออกเป็นหลุมให้ลึก 8 วา กว้างด้านละ 10 วา ทั้ง 4 ด้านเทอญ"

ทันใดนั้นแผ่นดินก็แยกออกตามคำอธิษฐาน พระยาบุรีจันทร์ ทอดพระเนตรเห็น จึงตรัสสั่งให้เสนาอำมาตย์ก่ออุโมงค์หินเรียงกันขึ้น และหินที่ก่อขึ้นนั้นกลับหมด เมื่อเสนาอำมาตย์เที่ยวหาหิน แต่ก็ไม่พอ

สร้างพระธาตุบังพวน

".........ทันใดนั้น พญาปัพพาละนาคราช จำแลงเป็นตาผ้าขาว ถือไม้เท้าเดินมา แล้วบอกแก่คนทั้งหลายว่า หินของเรากองอยู่ทางทิศตะวันตกมากมาย จงเอามาเถิด เมื่อเสนาอำมาตย์ถามว่า อยู่ไกลแค่ไหน ตาผ้าขาวบอกว่า อยู่ห่างจากนี้ 1,000 เท่าของไม้เท้านี้ เมื่อเสนาบอกว่า ยาวเกินไปเราไม่ไปหรอก ตาผ้าขาวจึงทำให้ไม้สั้นลงเหลือ 2 วา เมื่อเสนาเห็นดังนั้นก็เกิดอัศจรรย์ยิ่ง เพราะหินกองเต็มไปหมด จึงไปไหว้พระอรหันต์ และกราบทูลพระยาจันทบุรีว่า "ตาผ้าขาวทิ้งไม้เท้านั้นไว้ แล้วก็หนีไป"

พระอรหันต์จึงบอกแก่เสนาอำมาตย์ว่า นั่นคือ "ปัพพาละนาคราช" ที่อาศัยอยู่ใกล้ภูเขานี้มาช่วย ต่อไปการหาหินก็จะไม่ยากอีกแล้ว เมื่อเสนาอำมาตย์ทราบดังนั้น จึงได้นำไม้เท้านั้นไปวัดระยะแล้วหาหิน วัดไปได้ 1,000 ชั่วไม้ ก็พบหิน 3 ก้อนงามนัก เมื่อมีคนพูดไม่เอา ควรจะวัดให้แน่นอนก่อน พญานาคบอกว่ามีหินมาก แต่นี่เห็นมีเพียง 3 ก้อน อีกคนพูดขึ้นว่ามีเท่าไหร่ก็เอาไปก่อน จากนั้นจึงได้นำเอาหิน 3 ก้อนไป

เมื่อนำเอาไป 3 ก้อน กลับมีเพิ่มอีก 6 ก้อน และหินนั้นก็เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเห็นว่า การสร้างสุดท้าย เมื่อขนหินออกไป ขนอย่างไรก้อนหินก็เกิดขึ้นเรื่อย ๆ ไม่รู้จักหมด ต่อมาพวกเขาเหล่านั้นจึงได้สร้างรอยเท้าพระอรหันต์เพื่อให้เป็นเครื่องหมายเอาไว้ พร้อมจารึกไว้ว่า "บาทลักษณะพระอรหันต์พันคำ" (เป็นรอยเท้าพระอรหันต์ เวลานี้อยู่ริมห้วยบังพวนระหว่างบ้านวังเทียม กับบ้านหนองนาง)

หลังจากที่สร้างอุโมงค์เสร็จสิ้น พระอรหันต์จึงได้นำเอา พระบรมธาตุหัวเหน่า 29 องค์ ถวายพระยาจันทรบุรี แล้วบรรจุเข้าในขวดไม้จันทร์ ที่สุคันธนาคราชให้ 10 องค์ บรรจุในขวดแก้วผลึกที่ประสิทธิสักการะเทวดาให้ 10 องค์ และนางทั้งสามรับเอาพระบรมธาตุที่เหลือ 9 องค์ บรรจุเข้าในผอบทองคำนางละ 3 องค์ แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในอุโมงค์ทองคำ ที่ตั้งอยู่บนหลังสิงห์ทองคำ แล้วตั้งยนต์ถือง้าวไว้ทั้ง 4 ด้าน หลังจากที่บรรจุเสร็จแล้วพระอรหันต์ก็กลับสู่พระนคร

รูพญานาค(ปล่องพญานาค)

ที่บ้านดงโพสี เมืองหาดทรายฟอง สปป.ลาว สถานที่แห่งนี้มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งของลาว ที่เป็นสถานที่รวบรวมเอาวัฒนธรรม การเป็นอยู่ของชาวลาวเผ่าต่าง ๆ มารวมไว้ที่นี่ ที่มีการจำลองบ้านพักของลาวเผ่าต่าง ๆ เช่น ลาวสูง ลาวเทิง ลาวลุ่ม มาไว้ที่สวนวัฒนธรรมแห่งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า การดำรงชีวิตของชาวลาวเผ่าต่าง ๆ นั้น มีลักษณะการทำที่พักอาศัยแตกต่างกันตามสภาพท้องที่ อากาศ

และที่สำคัญหอแสดงกลางแจ้ง ได้จำลองเอา "วัดภู" แขวงจำปาสัก มาไว้ และทำได้อย่างสวยงามปราณีต ตลอดจนมีการแสดงรูปปั้นของไดโนเสาร์พันธุ์ต่าง ๆ เอาไว้ พร้อมกับจัดอีกส่วนหนึ่งเป็นสวนสัตว์เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ดู ก่อนที่จะสูญพันธุ์ไปก่อนในเวลาอันสมควร

และที่สำคัญสวนวัฒนธรรมแห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ด้านหน้าศาลาด้านริมฝั่งแม่น้ำโขงจะมี "รูพญานาค" และต่อมาทางการลาวได้ทำรูปจำลองของพญานาคเอาไว้ เพื่อให้คนรุ่งหลังได้รับทราบว่าสถานที่แห่งนี้ เคยเป็น "รูพญานาค" ที่ออกมาจาก พระธาตุหลวง ในเวียงจันทน์ เพื่อไปนมัสการ พระบาทบัวบก ที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี แล้วโผล่ขึ้นหายใจก่อนที่จะไปถึงพระบาทบัวบก ที่แห่งนี้มี "รูพญานาค" ปรากฏให้เห็น

".........สมัยก่อนที่ยังไม่เจริญ ชาวบ้านแห่งนี้เมื่อกลับจากไปธุระมา พอตกค่ำก่อนจะมืด ก็จะพบเห็นงูใหญ่สองตัว นอนขวางถนนเอาไว้เป็นประจำ แต่หากชาวบ้านที่รู้แล้วก็จะบอกกล่าวให้งูใหญ่ "พญานาค" ว่า ลูกกลับจากไปทำนา ทำไร่ ไม่ได้ไปทำอะไรผิด หรือทำบาปมา สุดท้ายงูใหญ่ 2 ตัวนั้นก็จะค่อย ๆ หายไป เป็นอยู่อย่างนี้ประจำ จนชาวบ้านเกิดความเคยชิน ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญ มีคนมากขึ้น ก็ทำให้สถานที่ เหตุการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป

..........รูพญานาค ที่สวนวัฒนธรรม ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า เมื่อก่อนนั้น เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ บริเวณปากรูจะมีสีเขียวเรือง และมีลูกไฟ 2 ดวงลอยไปมาเหนือบริเวณนั้น มองเห็นแต่ไกล เชื่อว่าน่าจะเป็น "พญานาค" ขึ้น ล้อมปากรูที่ริมฝั่งโขงเอาไว้ สามารถไปดูได้และบางคนบอกว่า รูพญานาคนี้ยังสามารถทะลุถึงรูที่หน้า โรงแรมแม่โขงรอยัล จ. หนองคาย

บริเวณหน้าโรงแรม โดย คุณจำรัส ชูกลิ่น ประธานกรรมการ บริษัท แม่โขงรอยัล จำกัด ได้สงวนที่เอาไว้เพื่อทำเป็นศาลา ให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และทำเป็นหอไว้เพื่อให้พญานาคพักเมื่อเวลาขึ้น-ลงจากสวนวัฒนธรรม ฝั่งลาว ก่อนจะไปที่พระบาทบัวบก บริเวณนี้ คุณจำรัส บอกว่าสมัยก่อนเป็นวัดร้าง เมื่อขึ้น 15 ค่ำ ชาวบ้านก็จะมาคอยดูดวงไฟขนาดเท่าลูกมะพร้าวลอยไป มา ในบริเวณนี้เป็นประจำ บางครั้งก่อนค่ำก็จะเห็นงูใหญ่ 2 ตัว นอนขดอยู่ที่บริเวณนี้บ่อยครั้ง

พญานาคคายพิษ

เมืองเปงจาน ต.โพนแพง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย เมื่อก่อนเคยเป็นที่ พญานาค ขึ้นมาพ่นพิษ (คายพิษ) อยู่เป็นประจำ โดยมีเรื่องเล่าว่า สมัยนั้นเคยมีนาคราชตนหนึ่งได้อาศัยอยู่ใต้บาดาล และได้ทำรูขึ้นมา เรียกว่า "ปล่องฟ้า" เมื่อถึงวันพระ (ครบ 15 วัน) นาคราชนี้ก็จะโผล่ขึ้นมาพ่นพิษ (คายพิษ) และแต่ละครั้งที่นาคราชคายพิษ ก็จะทำให้ประชาชนชาวเมืองเปงจานเจ็บป่วย นอกจากนั้นบางครั้งก็ไก้เกิดพายุใหญ่พัดบ้านเมือง ผู้คนล้มตาย บ้านเรือนเสียหาย พลเมืองต้องย้ายหนี อพยพแยกย้ายกันไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ โดยไปทางหนองบ้าง เวียงจันทน์บ้าง ทิ้งให้เมืองเปงจานกลายเป็นเมืองร้าง

(หมายเหตุ : ท่านผู้อ่านโปรพจำชื่อ "โพนแพง" ไว้ด้วย เพราะมีความสำคัญมาก ส่วนใหญ่ไม่มีใครรู้จัก แต่กลับมีปรากฏอยู่ใน "อุรังคนิทาน" (ตำนานพระธาตุพนม) และมีชื่อพญานาคตนนี้ด้วย แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก ซึ่งเราจะนำมาเฉลยกันในตอนสุดท้าย)

ในที่สุดเจ้าเมืองก็ประกาศหาคนที่จะปราบนาคราชตนนี้ และมีชายหนุ่มรูปงามที่ประกอบด้วยวิชา คาถา อาคมวิเศษ ที่มีความสามารถปราบนาคราชได้ โดยใช้ฆ้องคำปิดรูพญานาคเอาไว้จนสำเร็จ แต่นั้นมาบ้านเมืองก็เกิดความสงบสุข ร่มเย็นตลอดมา บ่อน้ำแห่งนี้เรียกว่า "ปล่องฟ้า" ยังปรากฏอยู่ที่วัดเปงจานใต้

ปัจจุบันหน้าแล้งน้ำแห้งขอด น้ำจะมีสีเหลือง คล้ายสีทองคำ หน้างานสงกรานต์เคยมีผู้นำน้ำนี้ไปอธิษฐานรักษาโรคได้ ตลอดจนมีคนคิดที่ลงไปนำเอาฆ้องทองคำไปขาย เมื่อลงไปก็พบว่าเป็นฆ้องทองคำจริง แต่เอาขึ้นมาไม่ได้ เมื่อขึ้นมาจากบ่อก็จะมีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา และทุกวันนี้จึงไม่มีใครคิดที่จะลงไปเอาฆ้องทองคำขึ้นมา และทางบ้านเปงจานได้อนุรักษ์ให้เป็นโบราณสถาน ปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอต่อไป

บวงสรวงพ่อพญานาค

"........ในวันออกพรรษาของทุกปี พอตกกลางวันที่บริเวณ หอเจ้าแม่สองนาง ปากห้วยหลวง อ.โพนพิสัย จะมีคนเฒ่า คนแก่ ผู้หญิงจัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำขึ้นแบบง่าย ๆ ไม่ต้องพิถีพิถันอะไร แต่จะต้องมีเครื่องครบ ที่ทำขึ้นจากใบตอง ที่ประกอบไปด้วย ของคาว หวาน ผลไม้ เพื่อใส่ในกระทง เพื่อนำไปลอยบวงสรวงพ่อพญานาค

........."พ่อพญานาค ที่ปกปักษ์รักษาคุ้งน้ำแห่งนี้ ลูกได้นำเครื่องเซ่น มาบอกกล่าวเช่นทุกปี และปีนี้มีคนเดินทางมามากกว่าทุกปี เพื่อมาดูอภินิหารบั้งไฟ พ่อพญานาคคงจะแสดงให้ประจักษ์ ขอให้ขึ้นให้เห็นมาก ๆ ชัด ๆ ขอให้พ่อพญานาคปกปักษ์รักษาให้ความปลอดภัยแก่ผู้คนที่เดินทางมาด้วย อย่าให้มีอุบัติเหตุเช่นทุกปีที่ผ่านมา ลูกที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแห่งนี้จะทำทุกอย่างให้ดีที่สุด"

เสียงนี้เป็นคำอธิษฐานของหญิงชราคนหนึ่งที่พูดด้วยภาษาพื้นบ้าน คือ ยายดวงจันทร์ ณ อุบล อายุ 66 ปี บ้านอยู่คุ้มวัดศรีเกิด อ.โพนพิสัย (ปี 40) ได้กล่าวถึงเรื่องราวต่าง ๆ หลังทำพิธีเสร็จแล้ว (เมื่อปี 2537) ว่า...ชาวลุ่มน้ำโขงให้ความเคารพพญานาคที่ปกปักษ์รักษาแม่น้ำโขง ให้ความสงบร่มเย็นตลอดมา ท่านอยู่คนละภพกับเรา แม้จะไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ แต่ด้วยปาฏิหาริย์ "บั้งไฟ" ที่เกิดขึ้นทุกปีที่นับว่าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นขึ้นทุกปี เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้จะมีคนจำนวนมากที่ไม่เชื่อ ว่าสิ่งนี้เป็นจริงหรือไม่ แต่ก็จะไม่โต้เถียง เพราะเป็นความเชื่อของเรา.

ที่มา - คุณอภิรัตน์ชัย จอมศรี www.kunkroo.com

« | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
| 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | »



kittinaja
Super Administrator
*********
Posts: 192
Registered: 10/2/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved